Filtrar por género

1 สมการชีวิต

1 สมการชีวิต

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org


Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

317 - ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u]
0:00 / 0:00
1x
  • 317 - ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u]

    ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไป

    A: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น

    ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

    วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้

    1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง

    - “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ

    = ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม

    = ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4

    - เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

    2. เจริญอิทธิบาท 4

    (1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน

    (2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ

    (3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ

    (4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า

    - ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้

    3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ

    - "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา

    - “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม

    - “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่

    (1) กามฉันทะ = ความพอใจในกาม สิ่งของภายนอก

    (2) พยาบาท = ความคิดอาฆาต ปองร้าย ให้เขาได้ไม่ดี

    (3) ถีนมิทธะ = ความง่วงซึม ความหดหู่ ท้อแท้ท้อถอย

    (4) อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกวิจารณ์

    (5) วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลง ไม่ลงใจ

    4. ลดความเครียดในการทำงาน

    - วิธีสังเกตว่ามีความเครียดในการทำงาน คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น

    - วิธีคลายความเครียด เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนสายตา ออกกำลังกาย สวดมนต์ นอน เดิน

    - วิธีที่ไม่ใช่การคลายความเครียด คือ ไปหากาม เช่น การเล่นโทรศัพท์

    - “การเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ” คือ การนำธรรมฉันทะมาเพื่อละกามฉันทะ

    - เราต้องมีวิธีการลด ละความเครียดในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

    โดยสรุป:

    “ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานให้สำเร็จและสามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้ได้ โดยต้องเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง เจริญอิทธิบาท 4 คงไว้ซึ่งสมาธิ และลดความเครียดในการทำงาน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้”



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 17 Nov 2024 - 56min
  • 316 - การเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์ [6746-1u]

    Q1: ชีวิตที่พลิกผันกรณี The icon

    A: เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เห็น

    1. เห็นโลกธรรม ความไม่เที่ยง คือ สุขทุกข์ ได้ลาภเสื่อมลาภ สรรเสริญนินทา

    2. เห็นการตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อมีสุข ไม่ได้สังเกตเห็นความไม่เที่ยงของความสุขนั้น เมื่อความสุขนั้นเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดทุกข์มาก

    3. ค่านิยมของคนสมัยนี้ คือ ความสำเร็จทางวัตถุ ทางกายภาพ แต่ค่านิยมของคนสังคมที่ควรจะมี คือ ความเป็นผู้มีศีล ซึ่งเครื่องหมายของผู้มีศีลคือ ดูว่าเมื่อถูกกระทำ แนวความคิด การกระทำทางกาย คำพูด เป็นไปในทางที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีโจรเสื้อนอก คือ สร้างภาพภายนอกว่าเป็นคนดีแต่ความจริงกำลังหลอกคนอื่นอยู่ เราจึงต้องป้องกันตัวเราเอง ด้วยการเข้าใจความไม่เที่ยงของสุขทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ได้เร็ว ถือเป็นบทเรียน ไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่อาฆาตใคร

    Q2: การเทศน์ของพระสงฆ์

    A: ด้านภายนอก: ไม่เทศน์ให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมในการฟังธรรม เช่น ถืออาวุธในมือ สวมหมวก สวมรองเท้า อยู่ในที่สูงกว่า หรือแสดงถึงความไม่เคารพ

    - ด้านเนื้อหาในการเทศน์: ไม่พูดเรื่องโลก ให้พูดเรื่องอริยสัจ 4

    - การประทุษร้ายสกุล เป็นอาบัติของพระข้อหนึ่งหากมีคนมาโจทก์ คือ การทำให้บุคคลนั้นมาศรัทธาในตัวเองคนเดียวมากกว่าศรัทธาในระบบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    - ปัจจุบันมีการตัดคลิปบางช่วงของการเทศน์ จึงควรฟังเทศน์ทั้งหมด ไม่ฟังฉาบฉวย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด

    Q3: ฆราวาสติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่

    A: ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม ให้ “ยกย่อง” บุคคลที่ควรยกย่อง ในสิ่งที่ควรยกย่อง และ “ติเตียน” บุคคลที่ควรติเตียน ในสิ่งที่ควรติเตียน

    - คนเราไม่ได้ดีหรือชั่วโดยส่วนเดียวทั้งหมด มีทั้งเรื่องที่ทำดีและทำไม่ดี ดังนั้น จะเหมาว่าเขาดีหรือไม่ดีไม่ได้ จึงต้องแยกแยะแต่ละเรื่อง

    - การติเตียนไม่ใช่การด่าบริภาษ (ด่าด้วยคำหยาบคาย จิตอาฆาต ต้องการให้เขาได้ไม่ดี) การติเตียนจะดูไปตามแต่ละสถานการณ์ ด้วยจิตเมตตา ชี้โทษให้เห็นว่าไม่ตรงตามคำสอนอย่างไร

    - การยกย่องไม่ใช่การสรรเสริญเยินยอ การยกย่อง คือ การพูดถึงอานิสงส์ในสิ่งที่เขาทำดีนั้น

    Q4: การทำคุณไสย

    A: พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้พระสงฆ์ทำคุณไสย เพราะจะเป็นการหลอกผู้อื่นให้ไปทางสุดโต่งทั้งสองข้างที่ไม่ใช่ทางสายกลาง (มรรค) ทำให้หลุดออกจากทางไปสู่นิพพานอันเป็นทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง

    Q5: การเลี้ยงสัตว์

    A: การเลี้ยงสัตว์อย่าเบียดเบียนเขา อย่าต่อว่าเขา อย่าทำร้ายเขา ส่วนสัตว์จะได้รับการเลี้ยงดูได้ดีแค่ไหนก็เป็นไปตามกรรมของเขา

    Q6: เตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์

    A: พระพุทธเจ้าเปรียบตัวเราเป็นเมือง ที่มี “จิต” เป็นเจ้าเมือง เพื่อการรักษาเมืองไว้ ต้องกระทำดังนี้

    1. มียามเฝ้าไว้หน้าประตู = เปรียบได้กับ “สติ” เป็นนายทวารเฝ้าไว้ เพื่อระวังบาปอกุศลธรรม ที่จะผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเกิดจากผัสสะที่น่าพอใจ (ความเพลินความลุ่มหลง) และผัสสะไม่น่าพอใจ

    2. มีเสบียง = เปรียบได้กับ “สมาธิ” เพื่อเลี้ยงดูในเมืองให้เหมาะสม

    3. มีกองกำลัง = เปรียบได้กับ “ความเพียร”

    4. มีอาวุธ = เปรียบได้กับ “การฟังธรรม”

    - เมื่อเตรียม 4 อย่างข้างต้นไว้แล้ว เราจะมีความกล้า ไม่กลัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามา

    - โดยสรุป : เราต้องรักษาจิตใจของเราให้เหมือนเมืองกายเมืองใจ เพื่อเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะเข้ามา ผู้ที่มีชีวิตอย่างนี้เรียกว่าเป็น “ผู้ไม่ประมาท”

    Q7: นิพพาน กับการไม่แต่งงาน ไม่มีลูก

    A: เหตุปัจจัยที่จะไปนิพพาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    - ชีวิตความเป็นอยู่ในโลกไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม หากมีศีล สมาธิ ปัญญา ก็สามารถไปนิพพานได้



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 10 Nov 2024 - 56min
  • 315 - ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาดและสมบัติ 3 ประการ [6745-1u]

    ช่วงไต่ตามทาง : ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาด

    - คุณแม่สมบูรณ์อายุ 80 ปี ทางด้านร่างกายได้รับการดูแลอย่างดีจากลูกหลาน แต่ด้านจิตใจมีความร้อนใจ มีความกังวลใจในลูกหลานมาก จึงให้สมาทานพระรัตนตรัยและสมาทานศีล เมื่อมีศีลแล้วก็จะไม่มีความร้อนใจ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ จึงให้ภาวนา “พุทโธ” เพื่อเป็นหลักกำหนดสติ ให้จิตมีสติตั้งไว้ พร้อมกับให้มีปัญญาร่วมด้วย ศีลกับปัญญาจะทำให้เกิดสมาธิได้


    - วิธีขจัดความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ

      (1) กังวลใจในสิ่งของ = ให้เข้าใจว่า “สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง”ให้คลายความกังวลผูกพันต่อสิ่งนั้น

      (2) กังวลใจในบุคคล = ให้เข้าใจว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ให้คลายความกังวลในบุคคลนั้น

      (3) กังวลใจในกายของตน = ให้เข้าใจว่า“กายนี้เป็นของที่เกิดมาจากธาตุดินน้ำลมไฟ มีความแตกไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา อย่าไปยึดถือกังวล เปรียบเหมือนภาชนะหม้อดินที่เก่าแล้วมีรอยรั่ว หันไปเอาภาชนะทองคำดีกว่าซึ่งเปรียบได้กับกายของเทวดา”

      (4) กังวลใจในชาติภพหน้าของตน = ให้เข้าใจว่า “ถ้ามีกรรมดี ก็จะไปในที่ที่ดี”ก็จะไปสวรรค์ได้ ให้นึกถึงทาน นึกถึงศีลที่ตนเคยทำไว้ และหากเจริญ “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ก็จะไปพรหมโลกได้ เมื่อจิตชุ่มเย็นไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว ให้เห็นว่า “กายและใจ รูปและนาม ในตัวของเรา มันไม่ใช่ของเรา ให้ปล่อยวาง”

    - การทำความเข้าใจเป็นขั้นตอนในเรื่องเหล่านี้ ผลที่ตามมาคือจะมีธรรมะเป็นเครื่องป้องกันความขลาดทำให้จิตไม่มีความกลัว ไม่มีความกังวลได้ 

     

    ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : สมบัติ 3 ประการ

    - ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ยังมีสมบัติอื่นที่มีคุณค่ามากกว่า และคุณค่านั้นไม่แปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม ความเข้าใจในเรื่องคุณค่าของสมบัตินี้จะทำให้เราไม่ถูกหลอก

    - สมบัติแบ่งเป็น 3 ระดับ

      (1) มนุษยสมบัติ (เสื่อมได้) = รัตนะ 7 อย่าง ฤทธิ์ 4 อย่าง ได้มาโดยการทำมาหากินหรือลงทุน

      (2) ทิพยสมบัติ (เสื่อมได้) = อาหารทิพย์ อากาศเย็นสบายตลอดเวลา ได้มาโดยการทำทาน รักษาศีล

      (3) นิพพานสมบัติ (ไม่มีความเสื่อมปรากฏ) = เป็นสมบัติที่มีคุณค่ามาก ประณีตกว่า และยั่งยืนกว่า ได้มาโดยการเจริญภาวนาเห็นความไม่เที่ยง 


    - อริยทรัพย์ 7 ประการที่จะนำมาซึ่งทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติ อันเป็นทรัพย์ที่ไม่เป็นสาธารณะกับผู้อื่น ได้แก่

      (1) ศรัทธา = ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

      (2) ศีล

      (3) หิริ = ความละอายต่อบาป

      (4) โอตตัปปะ = ความเกรงกลัวต่อบาป

      (5) พาหุสัจจะ = การศึกษาเล่าเรียน 

      (6) จาคะ = การสละออก ซึ่งจะได้รับผลมากหรือน้อย พิจารณาจากทานสมบัติ 3 ประการ คือ 1. ผู้รับมีคุณธรรมดีเป็นเนื้อนาบุญ 2. สิ่งของที่ให้บริสุทธิ์ และ 3. มีจิตตั้งใจให้

      (7) ปัญญา

    - ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราสามารถสร้างอริยทรัพย์เพื่อเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติได้อยู่ตลอด ซึ่งสามารถทำไปพร้อมกับการสร้างมนุษยสมบัติได้




    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 03 Nov 2024 - 57min
  • 314 - แก้อาการเสพติด Social Media [6744-1u]

    Q1: เสพติดการเล่นมือถือ social media แก้อย่างไร

    A: อาการเสพติด ไม่ว่าอะไรก็ตาม คือ การเสพติดเวทนา (ความรู้สึกที่เป็นสุข) วิธีแก้ในทางธรรมะ คือ ต้องมีปัญญาเห็นว่า ตัณหาทำให้เกิดความพอใจในเวทนานั้น และเห็นตามความเป็นจริงว่า “เวทนาเป็นของไม่เที่ยง” ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีในเวทนานั้นได้

    - การเสพติด Social Media แยกเป็น 2 ระดับ

    (1) ระดับความเพลินที่ยังควบคุมตัวเองได้ = แก้โดยวางแผนล่วงหน้าและแบ่งเวลาให้ชัดเจนว่าจะใช้เวลาทำสิ่งใดกี่นาทีโดยไม่เล่นมือถือ การวางแผนล่วงหน้าจะทำให้มีกำลังใจในการทำสิ่งนั้น ณ เวลานั้น ซึ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอก็จะเกิดความมีระเบียบวินัยขึ้นมา

    (2) ระดับความเพลินที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ถ้าไม่ได้เล่นจะอารมณ์เสีย ก้าวร้าว = แก้โดยต้องงดการเล่นเลย ร่วมกับปรึกษาแพทย์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยมาทำความเข้าใจว่าเวทนาเป็นของไม่เที่ยง

    - การเสพติด Social Media เป็นการเสพติดความรู้สึกที่เป็นสุข อาจมีปัญหาอื่นที่เป็นสิ่งไม่น่าพอใจแฝงอยู่ก็เป็นได้ เช่น ปัญหาครอบครัว การเรียน ความสัมพันธ์ เป็นต้น ก็ต้องหาสาเหตุแล้วตามไปแก้ปัญหาเหล่านั้น

    Q2: วิธีสร้างวินัย ไม่ให้ผัดวันประกันพรุ่ง

    A: ต้องใช้สมาธิ + อิทธิบาท 4

    - ให้สำรวจตัวเองว่าช่วงเวลาใดที่จะมีสมาธิมาก ก็ใช้ช่วงเวลานั้นจดจ่อกับการทำงาน

    - อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมให้การงานบรรลุผลสำเร็จได้ ช่วยให้ไม่ผัดวันประกันพรุ่งได้

    Q3: วิธีสร้างพลังจดจ่อในงาน

    A: ต้องใช้การตั้งเป้าหมายประกอบกับสมาธิ + อิทธิบาท 4

    - โดยตั้งเป้าหมายในเรื่องประโยชน์ที่จะได้รับทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่าย ความดี คุณธรรม ปัญญา ความอดทน ความเมตตา เป็นต้น เช่น การมีบ้าน เป้าหมายไม่ใช่บ้าน แต่เป้าหมาย คือ เพื่อความรัก ความเมตตาต่อคนในครอบครัว

    - หลีกเลี่ยงการตั้งเป้าหมายทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เพราะสมาธิไม่อาจตั้งอยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้

    - สมาธิ กับนิวรณ์ (ความสุขที่เกิดจากกาม) ไม่อาจเข้ากันได้

    Q4: โดนนินทาลับหลัง ควรทำอย่างไร

    A: คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก ให้เอาชนะความเท็จด้วยความจริง

    - ถ้าถูกบัณฑิตนินทา เข้าใจผิด = ให้เอาความจริงมาเปิดเผย

    - ถ้าถูกคนพาลนินทา เข้าใจผิด = ปล่อยไป ไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องโต้ตอบ แต่ไม่ต้องหนี ให้เรื่องราวนั้นระงับไปก่อนจึงจะค่อยไป ให้เอาชนะความเท็จด้วยความจริง

    Q5: พระสงฆ์ถูกลอตเตอรี่

    A: พระสงฆ์มีลอตเตอรี่ในครอบครองไม่เป็นไร แต่ถ้าได้มาโดยการใช้เงินซื้อก็ผิดอาบัติปาจิตตีย์

    - ถ้าถูกรางวัลได้เงินมา ถ้ายินดีในความเป็นปัจจัย 4 ได้ แต่ถ้ายินดีในเงินทองอันนี้ผิด

    Q6: ข้อดีข้อเสียของความอดทน

    A: ความอดทนมีข้อดีอย่างเดียวไม่มีข้อเสีย ยิ่งใช้ ก็ยิ่งมีมาก และยิ่งมีมาก ยิ่งดี

    - ความอดทน คือ การอดกลั้นต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น ไม่ให้อกุศลธรรมเกิด แต่ถ้าอกุศลธรรมเกิดแล้วต้องมีความสามารถในการละอกุศลธรรมนั้นด้วย

    - กิเลสบางอย่างต้องใช้ความอดทน กิเลสบางอย่างต้องใช้การละ เป็นคนละทักษะกัน

    - การเก็บกดกับความอดทนไม่เหมือนกัน



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 27 Oct 2024 - 56min
  • 313 - ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์ [6743-1u]

    ช่วงไต่ตามทาง:

    - ผู้ฟังท่านนี้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เมื่อปี 2560 สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ได้ปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิ จิตเกิดความสงบ ได้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบุญกุศลของตนขอให้มีงานเข้ามา ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์ มีงานเข้ามาเป็นโครงการใหญ่ หลังจากนั้นชีวิตก็พลิกผันไปในทางที่ดีหลายเรื่อง มีเงินเหลือเก็บ

    - คนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ไม่คดโกง บุญก็จะส่งผล ให้สามารถรักษาตัวได้

    ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์

    - ธรรมะ 14 ประการนี้ จะทำให้ผู้ครองเรือนซึ่งยังยินดีด้วยเงินทองไม่ตกเป็นทาสของเงิน รู้จักใช้เงินให้เป็น และกำจัดอะไรที่ไม่ดีเกี่ยวกับเงินทองออกไปได้

    1. อาหารของโภคทรัพย์ = ต้องมีความขยัน จะทำให้มีโภคทรัพย์มากขึ้น อย่าขี้เกียจ

    2. บริหารจัดการทรัพย์ = สัมปทา 4 ได้แก่ การทำการงานปกติด้วยความขยัน, รักษาทรัพย์ (เก็บออม ลงทุน), มีกัลยาณมิตร (ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา) และมีสมชีวิตา (ใช้จ่ายทรัพย์อย่างเหมาะสม มีความสมดุล รายรับต้องท่วมรายจ่าย)

    3. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) บริหาร 3 เวลา = ทำการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเช้า กลางวัน เย็น

    4. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) มีตาดี 3 ตา = เห็นว่าสิ่งใดจะขายได้กำไร, ฉลาดในการซื้อขายสิ่งที่ตนจะพึงซื้อขายได้ และถึงพร้อมด้วยบุคคลที่จะเป็นที่พึ่งได้

    5. ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ (ปิดทางน้ำออก) = อบายมุข 6 ได้แก่ ดื่มน้ำเมา, เที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน, การพนัน, คบคนชั่วเป็นมิตร, ความเกียจคร้าน และการเที่ยวดูมหรสพ หรือ อบายมุข 4 ได้แก่ นักเลงเจ้าชู้, นักเลงสุรา, นักเลงการพนัน และคบเพื่อนชั่ว

    6. ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ (เปิดทางน้ำเข้า) = มีสัมปทา 4 และปิดทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์

    7. ตระกูลที่มีความมั่นคง มั่นคั่ง ตั้งอยู่ได้นาน = มีองค์ประกอบ 4 ข้อ คือ แสวงหาพัสดุที่หายไป, ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า, รู้จักประมาณในการบริโภค และแต่งตั้งบุรุษหรือสตรีผู้มีศีลให้เป็นแม่เจ้าเรือนหรือพ่อเจ้าเรือน

    8. โทษของการมีโภคทรัพย์ = โทษ 5 อย่าง ได้แก่ ถูกทำลายได้ด้วยไฟหรือน้ำ ถูกเอาไปได้ด้วยพระราชา โจร หรือทายาทที่ไม่เป็นที่รัก

    9. ประโยชน์จากการมีโภคทรัพย์ = เลี้ยงตนให้เป็นสุข เลี้ยงมารดาบิดา เลี้ยงบุตรภรรยา เลี้ยงมิตรสหาย และบำเพ็ญทานแก่สมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นทางสู่สวรรค์หรือนิพพานได้ หรือ บำรุงเลี้ยงคนภายในให้อยู่เป็นสุข บำรุงเลี้ยงคนภายนอก ใช้ป้องกันภัย ทำพลีกรรม และบำเพ็ญบุญกับผู้ที่จะไปนิพพานเพื่อให้ตนได้อานิสงส์

    10. การใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ = ใช้เลี้ยงตนและครอบครัว, เก็บ, สงเคราะห์ และให้เพื่อหวังเอาบุญ

    11. การสิ้นทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์ = เป็นผลมาจากไม่ใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่

    12. ความเป็นผู้ประมาทในการมีทรัพย์มาก = ยกตน ประพฤติผิดศีล

    13. โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา แต่จะฆ่าคนมีปัญญาไม่ได้

    14. ผู้ที่ยังบริโภคกาม 10 ประการ = กามโภคี 10 ประการ ซึ่งแบ่งผู้ที่ยังบริโภคกามออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หาได้โดยไม่เป็นธรรม กลุ่มที่หาได้โดยเป็นธรรมบ้างไม่เป็นธรรมบ้าง และกลุ่มที่หาได้ตามธรรมเท่านั้น



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 20 Oct 2024 - 56min
Mostrar más episodios

Podcasts similares a 1 สมการชีวิต