Nach Genre filtern

1 สมการชีวิต

1 สมการชีวิต

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org


Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

292 - เพื่อนร่วมงานกับความเป็น "มิตร" [6722-1u]
0:00 / 0:00
1x
  • 292 - เพื่อนร่วมงานกับความเป็น "มิตร" [6722-1u]

    หลักธรรมเกี่ยวกับ “มิตร”

    - มิตรมี 2 ประเภท

    1) กัลยาณมิตร = เพื่อนดี มี 4 ลักษณะ

    (1) มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ รักษาเราเมื่อประมาท คอยตักเตือน รักษาทรัพย์ให้ เมื่อเราประมาท เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นเดือดร้อน เป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้

    (2) มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้

    (3) มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้

    (4) มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน

    2) ปาปมิตร = เพื่อนชั่วที่จะนำความไม่ดีมาให้ มี 4 ลักษณะ

    (1) มิตรปอกลอก = เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสีย ให้นิดเดียว

    (2) มิตรดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้น แสดงความขัดข้อง

    (3) คนหัวประจบ = เราจะทำดี ก็คล้อยตาม เราจะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา

    (4) มิตรที่ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนไปเที่ยวตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนไปดูมหรสพ ชวนเล่นการพนัน

    Q1: เพื่อนร่วมงานที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก ไม่ฟังคนอื่น

    A: คนแบบนี้ไม่ใช่คนไม่ดี (ปาปมิตร) เพียงแต่เขาไม่มีทักษะในการทำงานกับผู้อื่น เราอาจต่างคนต่างอยู่กับเขาก็ได้ หรืออาจเป็นมิตรแนะประโยชน์ก็ได้

    1) ต้องไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง ไม่หงุดหงิด ไม่พอใจเขา

    2) แนะนำวิธีให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี

    3) ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา ให้เขามีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง

    - ถ้าหากว่าเราสามารถนำธรรมะ เข้าไปสู่องค์กรได้ พฤติกรรม และทัศนคติของคนในองค์กรที่มีศีล สมาธิ ปัญญา จะมีจิตใจที่นุ่มนวลลง จะเป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร

    Q2: ลูกน้องลางานบ่อย

    A: หน้าที่ของเจ้านายอย่างหนึ่ง คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของลูกน้องลดลง เจ้านายก็ต้องปรับงานในสิ่งที่เขาทำได้ ให้ทำงานลดลงตามความสามารถ และให้เงินเดือนลดลงตามความสามารถนั้น, ให้พูดคุยทำความเข้าใจกับลูกน้องว่ามีปัญหาอื่นหรือไม่

    Q3: ลูกน้องดื้อรั้น

    A: ลูกน้องหากไม่ทำตามหน้าที่ จะเป็นภัยต่อองค์กรทันที และจะมีการกระทบกระเทือนกันตามมาอย่างแน่นอน ก็ต้องให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับงานของลูกน้องไม่ให้กระทบกระเทือนกับคนอื่น ให้ลูกน้องคนนั้นออกจากงาน

    - คนที่มีจิตใจที่แข็งกระด้าง จะทำให้มีจิตใจนุ่มนวลอ่อนลงได้ ต้องมีการฝึกสมาธิ ฝึกจิตให้เป็นอารมณ์อันเดียว บางบริษัทจึงมีการให้พนักงานไปฝึกสมาธิปีละครั้ง จัดกิจกรรมฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม

    Q4: ลูกน้องมีปัญหาส่วนตัวมาก ส่งผลต่อการทำงาน

    A: ดูก่อนว่าพื้นฐานจิตใจเขาเป็นคนดีหรือไม่ (เทวดา พรหมโลก สัตว์นรก) เกิดมามืดหรือสว่าง หากเราจะเป็นมิตรมีอุปการะ แนะประโยชน์ให้เขาไปทางดี ทำได้โดย

    - ทางกาย – ให้ทรัพย์

    - ทางวาจา - พูดดีด้วย

    - ทางใจ – มีกรุณา (ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์) และอุเบกขา

    Q5: กรรมของผู้ที่ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่น

    A: การพูดที่มีเจตนายุยงให้เขาแตกกัน ถ้าทำมาก ๆ ก็จะไปตกนรก โทษเบา ก็จะทำให้เป็นคนที่แตกจากมิตร ไม่มีใครคบด้วย อย่าไปแช่งเขา เพราะโทษจะเกิดกับเราเอง อย่าไปนินทาตอบ ให้อดทน เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง เอาชนะคำนินทาลับหลัง ด้วยการพูดอ่อนโยน จะเป็นการเอาชนะได้อย่างยั่งยืน

    Q6: เด็กเส้นในที่ทำงาน

    A: อย่ามีอคติกับเขา จะเป็นการไม่ปฏิบัติตามธรรม จะมีช่องให้มารเข้ามาได้ บาปกรรมก็จะให้ผลกับเรา ควรรักษาความดีของเราไว้ แนะนำให้เขาไปในทางดี องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีได้



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 26 May 2024 - 52min
  • 291 - ทำชีวิตให้รุ่งเรืองด้วย “จักร 4” [6721-1u]

    วิธีแก้ปัญหาทะเลาะกับเพื่อนบ้าน

    - ผู้ฟัง 2 ท่าน ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน แต่เมื่อได้ฟังธรรมะ ได้ฝึกแผ่เมตตาให้กับเพื่อนบ้าน และตนเอง ได้ฝึกกรุณา และอุเบกขา อยู่ 6 ปี สถานการณ์ก็ดีขึ้น ไม่มีการเพ่งโทษกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    - ถ้าเรามีธรรมะอยู่ในจิตใจแล้ว ลักษณะการแก้ปัญหาจะเป็นไปในลักษณะที่ไม่สุมความแค้นให้กันและกันมากขึ้น วิธีการที่พระพุทธเจ้าแนะนำ คือ ให้เราแผ่เมตตา และวางอุเบกขาเมื่อเขาทำอะไรให้เราไม่พอใจ นั่นประกอบด้วยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญาศาตราในการแก้ปัญหา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จิตใจคนเรามันเปลี่ยนแปลงกันได้ เรียกว่า เป็นการแก้ปัญหาโดยธรรม ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน และเป็นผลดีทั้งสองฝ่าย

    - เมื่อถูกทำร้ายหรือถูกเบียดเบียน ให้ตอบโต้ด้วยวิธีการ 4 อย่าง ดังต่อไปนี้ จะเป็นการรักษาทั้งตนเอง และผู้อื่นด้วย

    1) อดทน 2) มีเมตตาจิต 3) มีความรักใคร่เอ็นดู 4) ด้วยความไม่เบียดเบียน

    “จักร 4” ธรรมที่ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง

    - จักร 4 เป็นธรรมะ ที่จะทำให้เรารักษาตนในชีวิตประจำวัน ให้มีธรรมะที่ประกอบไปด้วยสัมมาอาชีวะ รักษาให้จิตให้ดีอยู่ได้ หากการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เดือน ปี ของเรา วนอยู่กับ 4 เรื่องดังต่อไปนี้ ชีวิตจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

    - “จักร 4” เหตุ 4 ประการ ที่จะทำให้คนที่ประกอบถึงธรรมพร้อมแล้ว หมุนไปเรื่อย ๆ ถึงความเป็นใหญ่ ถึงความไพบูลย์ เจริญรุ่งเรืองในโภคะทั้งหลาย (ทรัพย์สินเงินทอง) ต่อกาลไม่นานนัก ได้แก่

    1) การอยู่ในถิ่นที่ดี

    2) การสมาคมกับคนดี

    3) การตั้งตนไว้ชอบ

    4) ความเป็นผู้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 19 May 2024 - 57min
  • 290 - การเชื่อมจิต [6720-1u]

    Q1: การเชื่อมจิต

    A: ปาฏิหาริย์มี 3 อย่าง

    1) อิทธิปาฏิหาริย์ = การเหาะเหินเดินอากาศ ทะลุกำแพง

    2) อาเทศนาปาฏิหาริย์ = รู้วาระจิต ลักษณะนิสัย ความคิด

    3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถทำตามได้และเกิดผลตามนั้นได้จริง เช่น สมาทานศีลแล้วผู้นั้นรักษาศีลห้าได้ เกิดความสบายใจ ไม่ร้อนใจ การทำสมาธิแล้วเกิดความสงบขึ้นในใจ นี่คือปาฏิหาริย์

    - “การเชื่อมจิต” อยู่ในหมวดอาเทศนาปาฏิหาริย์ มี 3 แบบ

    1) พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ จะรู้สังเกตดูจากชั้นเชิงของมหาชน = รู้ว่าคนนี้เป็นคนธรรมดา ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เป็นคนพิเศษ ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เหมาะสมกับงานอะไร ต้องการอะไร รู้อุปนิสัย การกระทำ สิ่งที่เขาชอบ ซึ่งสามารถรู้ได้โดยอาศัยการสังเกต

    2) รู้วาระจิตของคนอื่น (เจโตปริยญาณ) = รู้ว่าในใจเขาคิดอะไร ทั้งก่อนหน้าและปัจจุบัน ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกลกัน

    3) หูทิพย์ = ได้ยินเสียงในที่ไกล เสียงทิพย์หรือเสียงของมนุษย์

    - พระพุทธเจ้าเตือนไว้ว่าอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ไม่ให้แสดง เพราะจะเกิดประโยชน์น้อย โทษมาก แต่ทรงสนับสนุนให้แสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์

    - ดังนั้น เวลาที่ได้ยินเรื่องราวปาฏิหาริย์เหนือมนุษย์ ก็ให้ฟังไว้ มีทั้งจริงและไม่จริง สิ่งที่ควรสนใจคือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทำให้เราหลุดพ้นได้จริง (อนุสาสนีปาฏิหาริย์) จึงจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา

    Q2: ผู้ที่ไม่นับถืออะไรเลย

    A: คนมี 3 ประเภท

    1) คนไม่มีที่พึ่ง = ไม่สนใจใคร อยากทำร้ายใครก็ทำ

    2) คนที่มีที่พึ่งที่ไม่เกษม = มีที่พึ่งแต่ยังไม่ถูกต้อง ยังไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้จริง เช่น พึ่งภูเขา ท้องฟ้า ผ้ายันต์ เครื่องรางของขลัง จะมีความยับยั้งชั่งใจบ้าง มีความกลัวละอายต่อบาปตามที่ที่พึ่งนั้นเขาบัญญัติขึ้นมา แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง หรือผู้ที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้อริยสัจสี่ (สีลัพพตปรามาส)

    3) คนที่มีที่พึ่งอันเกษม = มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และเห็นอริยสัจสี่ด้วยปัญญาที่ชัดเจน พ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

    - ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหา คือ ต้องให้ปัญญากับสังคม เพื่อปรับทัศนคติให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้องให้มาในหนทางอันเกษม เช่น บอกต่อธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมา

    Q3: บรรลุธรรมจากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว

    A: ได้ เพราะจุดที่จะบรรลุธรรม มีเหตุปัจจัย คือ มีสมาธิ (เจโตวิมุตติ) และปัญญา (ปัญญาวิมุตติ) มีลักษณะที่อาสวะจะตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้จาก 5 สาเหตุ 1 ในนั้น คือ การฟังธรรม

    - เหตุ 5 ประการที่ทำให้เกิดการบรรลุธรรม

    1) เกิดเมื่อได้ฟังธรรม

    2) เกิดเมื่อนั่งเงียบๆ แล้วนำสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาใคร่ครวญพิจารณา

    3) เกิดขณะกำลังสอนคนอื่น แล้วตนเกิดความเข้าใจเอง

    4) เกิดเมื่อได้ท่องธรรมะที่เคยได้ฟังมา (สวดมนต์) จิตใจมีความสงบ

    5) เกิดเมื่อได้ตรึกตรองตามธรรมะที่เคยได้ฟังมา

    - ถ้าเหตุแห่งการบรรลุธรรมมีอยู่ ผลแห่งการบรรลุธรรมก็ต้องมี เว้นแต่ ได้ทำอนันตริยกรรม 5 อย่าง ก็จะบรรลุธรรมไม่ได้

    Q4: การไม่เกิดดีสุด แต่ยังมีการขอพรให้เกิดชาติหน้าเป็นสิ่งที่ดีกว่าชาตินี้ เช่น เทวดา เศรษฐี

    A: พระพุทธเจ้าสอนว่า การเกิดเป็นทุกข์ (ชาติปิทุกขา) แต่เป็นเพราะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คิดว่าความเกิดเป็นสุข การเกิดไม่ได้มีสุขอย่างเดียว แต่มีทุกข์มาด้วย ทุกข์จะมาตอนที่ความเกิดแปรเปลี่ยนเป็นความตาย ดังนั้น ทุกข์ที่มาในสุข จึงไม่ใช่สุข

    - เหรียญมีสองด้านเสมอ “เวลาเจอ ก็ต้องจาก” “เวลาได้ ก็ต้องเสีย” “เวลาสุข ก็ต้องทุกข์” “เวลาเกิด ก็ต้องตาย” วันหนึ่งเราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, สุขเวทนาวันหนึ่งจะแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

    - ถ้าเข้าใจทุกข์ได้อย่างถูกต้อง ก็จะอยู่เหนือความทุกข์ได้

    - ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเวลาที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป ก็จะยังเป็นผู้ที่มีความผาสุกอยู่ได้ เป็นผู้อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ได้

    Q5: วิธีกำหนดจิตให้เข้มแข็ง

    A: เมื่อเจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจ การรักษาจิตให้มีความผาสุกอยู่ได้ ต้องมี “สติ และสมาธิ” เปรียบเหมือนกับเยื่อบาง ๆ ที่หุ้มดอกบัวหรือใบบัว แม้โดนโคลนตมก็ไม่เปื้อนเพราะมีเกราะป้องกัน จิตของเราก็เช่นกันต้องมีเกราะป้องกันด้วย “สติ และสมาธิ”



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 12 May 2024 - 55min
  • 289 - นิสัย 22 อย่าง ที่ควรละ [6719-1u]

    อุปนิสัยของคนที่เคยบวชแล้วสึกออกไป (ทิด)

    - หลังจากสึกแล้ว ออกไปอยู่ครองเรือน จะมีความรับผิดชอบขึ้น ใจเย็นขึ้น มีอุปนิสัยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าก่อนบวช แต่อุปนิสัยดี ๆ เหล่านั้น อาจจืดจางได้ ขึ้นอยู่กับว่าได้สร้างเหตุเพื่อรักษาความดีนั้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เช่น นั่งสมาธิ การคบเพื่อน เป็นต้น

    นิสัย 22 อย่าง ที่ทำให้ชีวิตตกต่ำลง

    1) ไม่ยอมตื่น–นอนในเวลาที่ไม่ควรจะนอน

    2) เสพความบันเทิงมากเกินไป

    3) ไม่เข้าหาบัณฑิต

    4) แวดล้อมด้วยคนเทียมมิตร–เอาแต่ได้ มีภัยไม่ช่วย ปอกลอก ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง หัวประจบ ชักชวนไปในทางไม่ดี

    5) อยู่กับศพ–อยู่กับคนไม่มีศีล

    6) ไม่เปิดทางน้ำเข้า–ปิดกั้นไม่ให้มีทรัพย์สินเข้า ไม่ขยันทำมาหากิน ไม่หาแหล่งรายได้อื่น

    7) ไม่ปิดทางน้ำออก–เปิดทางให้ทรัพย์สินไหลออก, อบายมุข 6 (ดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น การพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านในการทำงาน)

    8) ไม่ทำงบประมาณ–ไม่มีสมชีวิตา ไม่รู้รายรับรายจ่าย ทำให้ไม่รู้จักสมดุล ไม่รู้จักการใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ (ใช้จ่ายในครัวเรือน รักษาทรัพย์ สงเคราะห์ผู้อื่น ให้)

    9) ไม่ฝังทรัพย์–ไม่ทำบุญให้ทาน ไม่บริจาคในเนื้อนาบุญ

    10) ไม่จ่ายหนี้–ไม่ดูแลบำรุงเลี้ยงบิดามารดา

    11) ไม่ให้คนยืม–ไม่สงเคราะห์ผู้อื่น

    12) เติมเนื้อไม้ใหม่–ไม่ศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของตน ศึกษาหาความรู้ที่ไม่ถูกทาง

    13) มีตาเดียว–หาแต่ทรัพย์อย่างเดียว โดยไม่สนวิธีการได้มา (ตั้งอยู่ในศีลธรรมหรือไม่ เป็นกุศลธรรมหรือไม่ วิญญูชนติเตียนหรือไม่ ไม่มองเห็นอนาคตทางตรงด้วยสองตาขึ้นไป)

    14) หวั่นไหวในโลกธรรม–ทำให้เกิดทุกข์ (ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์)

    15) คำนึงถึงแต่สิ่งที่ล่วงไปแล้ว–จมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต

    16) มุ่งหวังในสิ่งที่ยังไม่มาถึง–กลัวผิดพลาดในสิ่งที่ยังไม่เกิด ทำให้ไม่ทำอะไร (ต่างกับการตั้งเป้าหมายที่จะต้องใช้สองตา)

    17) ไม่รับภาระ–ไม่สนใจใคร อยู่ใน comfort zone ไม่รู้จักพัฒนาตนด้วยการออกจาก comfort zone ทำให้ไม่เกิดความเจริญก้าวหน้า

    18) ไม่สนทนาธรรมตามกาล–ไม่ทำข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญา ไม่หาฟังสิ่งที่ดีดี เช่น ธรรมะ และไม่สอบถามคำถาม ชีวิตก็จะพัฒนาได้ยาก

    19) ไม่รู้ว่าวันนี้ชีวิตจะทำอะไร–ไม่มีแผนในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้

    20) คิดลบอยู่เรื่อย–มองโลกในแง่ร้าย (อิจฉาริษยา ระแวง เคลือบแคลง ขี้เกียจ)

    21) มีข้ออ้างทุกอย่าง–(ผัดวันประกันพรุ่ง) ชีวิตจะไม่สำเร็จ ก้าวหน้าไปไม่ได้

    22) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค–ไม่รักษาสุขภาพ ไม่ออกกำลังกาย จิตใจจะดีได้ก็ต้องอาศัยร่างกาย

    บทสรุป : นิสัยที่ไม่ดี 22 ข้อนี้ ถ้ามีแล้ว ชีวิตจะเสื่อมลง ต่ำลง ถดถอย แต่ถ้าปรับปรุงตัว ละนิสัยไม่ดี 22 ข้อนี้ได้ ชีวิตจะเจริญก้าวหน้า รุ่งเรือง เป็นมงคล มีแสงสว่าง อย่างแน่นอน



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 05 May 2024 - 59min
  • 288 - การบรรลุโสดาบันในโลกปัจจุบัน [6718-1u]

    Q1: โสดาบัน

    A: โสดาบัน หมายถึง ผู้ที่จะไปถึงกระแส อยู่บนกระแส อยู่บนทาง เปรียบเหมือนกับการล่องแม่น้ำให้ออกไปสู่ทะเล คือ ทางที่จะไปสู่พระนิพพาน

    - คุณสมบัติของโสดาบัน (โสตาปัตติยังคะ 4)

    (1)–(3) มีศรัทธาอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (อจลศรัทธา): โดยศรัทธาจะเต็มได้ต้องควบคู่ไปกับการมีปัญญาพอสมควร รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรไว้ ไม่ทำในสิ่งที่ท่านไม่ได้สอน ไม่งมงาย ตั้งมั่นในเรื่องของกรรม จิตใจจะไม่เคลื่อนคล้อยไปทางอื่น เช่น การอ้อนวอนบูชาขอร้อง เสี่ยงเซียมซี ดูหมอดู แก้เคล็ด เป็นต้น หากไม่สบายใจก็จะหาคำตอบจากในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ไปหาคำตอบนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า

    (4) มีศีล 5 ชนิดที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย

    - ความเป็นโสดาบัน (โสตาปัตติผล)

    (1) จะมีศีล ชนิดที่ไม่ใช่สีลัพพตปรามาส-จะไม่งมงาย ไม่ใช่สายมู ทุกอย่างมีเหตุมีผล

    (2) จะละสักกายทิฏฐิได้-เข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง

    (3) จะละวิจิกิจฉาได้-ละความเคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจไปได้

    - ประเภทของโสดาบัน 1. เอกพีชี (เกิดอีก 1 ชาติ) 2. โกลังโกละ (เกิดอีก 2-3 ชาติ) 3. สัตตักขัตตุงปรมะ (เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ)

    - การบรรลุโสดาบันในยุคปัจจุบัน แม้คุณสมบัติการเป็นโสดาบันจะไม่ง่าย แต่หากเราใช้ ความเพียรในการสร้างเหตุ ความเป็นโสดาบันก็จะเกิดขึ้นได้ ให้ตั้ง “ความเพียร” ในการสร้างเหตุที่จะเป็นโสดาบัน ก็จะได้โสตาปัตติผลอย่างแน่นอน แม้จะยาก แต่ผลที่จะได้มันมาก ความทุกข์จะลดลงไปอย่างมาก ผู้ที่เป็นโสดาบันแล้ว ท่านเปรียบกับเศษฝุ่นที่ติดปลายเล็บกับปริมาณหินดินบนเทือกเขาหิมาลัย ปริมาณความทุกข์ของโสดาบันที่จะหมดสิ้นไปมากเท่านั้น ที่เหลืออยู่มีเพียงนิดเดียว

    - การเป็นโสดาบันจะรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีเครื่องทดสอบให้ทำผิดศีล ให้ออกนอกเส้นทางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ก็จะทำไม่ได้ จิตใจจะไม่น้อมไป เมื่อคุณสมบัติโสดาบันครบตอนไหน ก็เป็นโสดาบันได้ตอนนั้น กรณีที่จะเป็นโสดาบันไม่ได้ คือ ได้ทำอนันตริยกรรม (ฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกกัน ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด)

    Q2: ความเห็นไม่ตรงกับคู่ครอง

    A: เป็นปัญหาของการใช้ชีวิตคู่ เป็นเรื่องยุ่งของการครองเรือน วิธีการป้องกันไม่ให้วุ่นวายไปกว่านี้ คือ อย่าทำผิดศีลและมีสัมมาวาจา หรือประพฤติพรหมจรรย์

    Q3: ให้ทานมากจนไม่เหลือไว้ใช้จ่าย

    A: การห้ามไม่ให้ผู้อื่นให้ทาน ไม่ใช่มิตรแท้แต่เป็นคนพาล และการให้ทานแล้วเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นก็ไม่ถูกต้อง

    - คนฉลาดในการให้ทาน 1) ด้วยศรัทธา 2) ด้วยความเคารพ 3) ในเวลาที่เหมาะสม 4) มีจิตอนุเคราะห์ 5) ไม่กระทบตนและผู้อื่น หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง บุญก็จะเศร้าหมองลง

    - วิธีแก้ปัญหาการให้ทานมากเกินไป ให้จัดทำงบประมาณกันเงินไว้สำหรับการทำทาน เพื่อไม่ให้กระทบตนและเพื่อผู้อื่น



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 28 Apr 2024 - 47min
Weitere Folgen anzeigen

Podcasts ähnlich wie 1 สมการชีวิต