Filtrar por género

3 ใต้ร่มโพธิบท

3 ใต้ร่มโพธิบท

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org


Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

539 - ความฉลาดในธาตุ และอายตนะ [6722-3d]
0:00 / 0:00
1x
  • 539 - ความฉลาดในธาตุ และอายตนะ [6722-3d]

    การทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา(ญาณ)รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้น

    วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ คือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆจนเหลือหน่วยเล็กที่สุดและพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ่ขึ้น

    วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ คืออายตนะภายใน และภายนอกเชื่อมต่อกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น โดยพิจารณาจากการที่อาศัยเหตุปัจจัยอื่นปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์

    เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆจะเกิด “กุสลตา”คือ ความฉลาดรู้แจ้งชัดซึ่งธาตุ และอายตนะ จะเป็นผลทำให้คลายกำหนัด และปล่อยวาง



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Tue, 28 May 2024 - 57min
  • 538 - ฐานะที่พึงพิจารณาเพื่อการหลุดพ้น [6721-3d]

    ปัญญาการรอบรู้ในทุกข์ของผู้ถึงซึ่งพระนิพพานหรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งได้ว่าเป็นปัญญาของพระอรหันต์นั่นเองโดยได้ยก “สัตตัฎฐานสูตร” ว่าด้วย ผู้มีปัญญาฉลาดรอบรู้ขันธ์ 5 ในฐานะ 7 ประการได้แก่

    1. รู้ชัดซึ่ง (รู้ลักษณะ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    2. รู้ถึงเหตุเกิดขึ้น ของ รูป...ฯ คืออาศัยเหตุเกิด

    3. รู้ถึงความดับ ของ รูป...ฯ คือ เมื่อเหตุดับ-ผลย่อมดับ

    4. วิธีข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ของ รูป..ฯ คือ มรรค 8

    5. รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย/ข้อดี) ของ รูป...ฯ คือ สุขที่เกิดขึ้น

    6. รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษ/ข้อเสีย) ของ รูป...ฯ คือ ไม่เที่ยง

    7. รู้ชัดซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องสลัดออก) จาก รูป...ฯ คือ ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Tue, 21 May 2024 - 56min
  • 537 - นิวรณ์ 5 [6720-3d]

    “นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิ

    การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้เช่นเดียวกัน

    ทั้งนี้ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อจิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญาได้อีกด้วย



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Tue, 14 May 2024 - 56min
  • 536 - แก้ปัญหาด้วยสัญญา 7 ประการ [6719-3d]

    ตัณหา ได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเป็นที่มาของปัญหาต่างๆในชีวิตของคนเรา การมาเจริญภาวนาในสัญญา 7 ประการนี้ คือเมื่อมีการพิจารณาให้มากในสัญญาเหล่านี้ จิตจะไม่หวนกลับกำเริบและมีนิพพานเป็นที่สุด

    ปัญหาของตัณหาและกิเลสแก้โดยสัญญา 7 ประการ ดังนี้

    ยินดีในเพศตรงข้าม(เมถุนธรรม) แก้โดย พิจารณา อสุภสัญญา

    รักตัวกลัวตาย (รักชีวิต) แก้โดยพิจารณา มรณสัญญา

    ติดในรสอาหาร แก้โดย พิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญา

    ความวิจิตรแห่งโลก แก้โดย พิจารณา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา

    ลาภสักการะ และความสรรเสริญ แก้โดย พิจารณา อนิจจสัญญา

    ความเฉื่อยชา เกียจค้าน ท้อถอย ประมาท ไม่ประกอบความเพียร แก้โดย พิจารณา อนิจเจทุกขสัญญา (ความเห็นทุกข์เป็นสิ่งไม่เที่ยงทั้งหลาย)

    ทิฐิ และมานะ แก้โดย พิจารณา ทุกเขอนัตตสัญญา (เห็นความเป็นอนัตตาในความทุกข์นั้น)



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Tue, 07 May 2024 - 57min
  • 535 - บทสวดธชัคคสูตร [6718-3d]

    ธรรม 4 ประการที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป หรือ สัทธรรมปฏิรูป คือ

    1.บทพยัญชนะ อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี

    2. ภิกษุเป็นคนว่ายาก

    3.ผู้เป็นพหูสูต ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ทายาท

    4.พระเถระเป็นผู้เดินในทางทราม

    หากมีการสืบทอดบทพยัญชนะ กันมาอย่างดีคือจำเนื้อหาได้ถูกต้อง ออกเสียงอักขระชัดเจน รู้ความหมายอย่างถูกต้องก็จะทำให้พระสัทธรรมแท้ยังคงอยู่และเจริญขึ้นได้ โดยการกล่าวสวดบทพยัญชนะนี้จะต้องแม่นยำทั้งบท(ตัวหนังสือ) และพยัญชนะ(การออกเสียง) การสวดมนต์นี้จึงเป็นรูปแบบของการรักษาศาสนาอย่างหนึ่ง

    บทสวดธชัคคสูตร(ธะชัคคะสุตตัง) เป็นบทสวดที่กล่าวถึงวิธีระงับความกลัว โดย พระพุทธเจ้ากล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้วที่เทวดารบกับอสูรโดยท้าวสักกะได้บอกกับเหล่าเทวดาว่า หากเกิดความกลัวหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าขึ้น ให้มองไปที่ยอดธงของหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 จะทำให้ความกลัวหายไป แต่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าความกลัวของเหล่าเทวดาก็ยังมีอยู่ เหตุเพราะหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 ยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวต่อภิกษุว่าหากภิกษุไปอยู่ป่า อยู่โคนไม้ อยู่เรือนว่าง หากระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภัยความกลัว ความสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าจะไม่มี เหตุเพราะผู้มีกิเลสสิ้นไปแล้ว ก็จะไม่สะดุ้งหวาดกลัวภัยอันตรายใดๆเลย



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Tue, 30 Apr 2024 - 47min
Mostrar más episodios

Podcasts similares a 3 ใต้ร่มโพธิบท