Filtrar por género
- 632 - 📚 กัณฑ์ที่ ๕๕ พุทธอุทานคาถา (ความเปล่งขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ลึกลับ)
ณ บัดนี้ อาตมาภาพจะได้แสดงพุทธอุทานคาถา วาจาเครื่องกล่าว ความเปล่งขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ลึกลับ ผู้แสดงก็ยากที่จะแสดง ผู้ฟังก็ยากที่จะฟัง เพราะเป็นธรรมอันลุ่มลึกสุขุมนัก เพราะเป็นอุทานคาถาของพระองค์เอง ไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งไปทูลถามแต่อย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์เมื่อเบิกบานพระฤหทัยโดยประการใด ก็เปล่งโดยประการนั้น ก็เปล่งอุทานคาถาขึ้นเป็นของลึกลับอย่างนี้ เหตุนี้เราเป็นผู้ได้ฟังอุทานคาถาในวันนี้ เป็นบุญลาภอันประเสริฐล้ำเลิศ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิเขปคาถาว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ นี่พระคาถาหนึ่ง ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย นี้เป็นคาถาที่ ๒ ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรอยู่ วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นกำจัดมารและเสนาเสียได้ หยุดอยู่ สูโรว โภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ ดุจดังดวงอาทิตยุ์ทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น นี้เป็นคาถาที่ ๓ สามพระคาถาด้วยกันดังนี้เพียงเท่านี้ ธรรมะเท่านี้เหมือนฟังแขกฟังฝรั่งพูด ฟังจีนพูด เราไม่รู้จักภาษา ถ้ารู้จักภาษาแขก ภาษาฝรั่ง เราก็รู้ นี่ก็ฉันนั้นแหละ คล้ายกันอย่างนั้น ฟังแล้วเหมือนไม่ฟัง มันลึกซึ้งอย่างนี้ จะอรรถาธิบายขยายเนื้อความคำในพระคาถาสืบไป
Thu, 05 Sep 2024 - 37min - 631 - ศาสนาของพระตถาคตเจ้าสอนอย่างไร
สรํ พุทฺธาน สาสนํ ระลึกถึงศาสนาของพระตถาคตเจ้า นี่แหละ สอนให้รู้จักหลักอย่างนี้แหละ
นี่แหละเป็นหลักฐานของพระศาสนาแท้ๆ ของพระตถาคตเจ้าละ
ไม่ได้สอนอย่างอื่น สอนให้เห็นธรรมกายเท่านั้น
ให้เดินทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นลำดับไป
ให้เข้าถึงกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
เข้าถึงกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด
กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด
กายธรรม กายธรรมละเอียด
กายโสดา กายโสดาละเอียด
กายสกทาคา กายสกทาคาละเอียด
กายอนาคา กายอนาคาละเอียด
กายอรหัต อรหัตละเอียด
ตามสายอย่างนี้เรียกว่า ศาสนะ แปลว่าคำสอนของพระศาสดาละ
รู้จักหลักอันนี้แล้ว ก็พึงปฏิบัติให้มี ให้เป็นขึ้น
แล้วก็ให้มั่นอยู่ในสันดาน สำเร็จสุข พิเศษ ไพศาลในปัจจุบันนี้และต่อไปในภายหน้าTue, 03 Sep 2024 - 02min - 630 - ความเห็นของบุคคลใดตรง นักปราชญ์ราชบัณฑิตย่อมกล่าวว่าบุคคลนั้นไม่จน
๔ ข้อด้วยกัน คือ เชื่อในพระตถาคตเจ้า อย่างหนึ่ง
ศีลอันดีงามข้อที่ ๒
เลื่อมใสในพระสงฆ์ ข้อที่ ๓
เห็นตรง เป็นข้อที่ ๔ทั้ง ๔ ข้อนี้แหละ มีอยู่ในสันดานของบุคคลใดแล้ว บุคคลผู้นั้นมีทรัพย์สิน เงินทองมากมายสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็สู้บุคคลผู้มีธรรม ๔ ข้อ ผู้มั่นใน ๔ ข้อนี้ไม่ได้
วางตำราทีเดียว อริยธนกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภถึงอริยทรัพย์ ว่ามีอริยทรัพย์เดียว ไม่ขัดสนไม่ยากจน เป็นคนมั่งมีทีเดียว นี้แหละทรัพย์ของพระของเณร
พระเณรมีทรัพย์อย่างนี้ ก็สบายสดชื่นเอิบอิ่มตื้นเต็ม อุบาสกอุบาสิกามีทรัพย์อย่างนี้ ก็เอิบอิ่ม ปลาบปลื้ม ตื้นเต็ม จะมีทรัพย์สักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็สะดุ้งหวาดเสียว
ยิ่งมีเพชรราคาแสนไว้กับตัว ก็สะดุ้งหวาดเสียวเห็นคนแปลกหน้ามา พาสะดุ้งหวาดเสียวกลัวจะมาหยิบเอาเพชรนั่นไปเสีย
ถ้าว่าความเชื่อในพระตถาคตเจ้า
มีศีลอันดีงาม
เลื่อมใสในพระสงฆ์
เห็นตรง
อย่างนี้ มีในสันดานของบุคคลใดแล้ว จะมาสักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ไม่กลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้งเลย เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าของเหล่านี้อยู่กับใจ
ธมฺโม นี้ลักไม่ได้ ปล้นไม่ได้ แย่งชิงไม่ได้ เอาไปไม่ได้ เป็นของจริงอยู่อย่างนี้Sun, 01 Sep 2024 - 02min - 629 - เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นเลื่อมใสอย่างไร
เหมือนเห็นพระสงฆ์ทุกวันนี้ เห็นหมู่มากๆ ก็เลื่อมใส กลับอิ่มเอิบตื้นเต็ม เหมือนมาเลี้ยงพระที่ศาลาการเปรียญ พระเณรก็มาก
เจ้าของทานได้เห็นพระสงฆ์มาก ก็เอิบอิ่มปลาบปลื้มตื้นเต็มว่า ทานของเรานี้ได้เป็นอายุศาสนามากมายอย่างที่กำลังของเรา ได้สั่งสมอบรมมา ต้องรักษาทรัพย์ไว้เป็นประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรมากอย่างนี้ เราก็ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ คิดแล้วก็เลื่อมใสอย่างนี้ก็เป็น สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกับเลื่อมใสในสงฆ์
การบวชเป็นพระสงฆ์นี้ มีอานุภาพล้นพ้น ทำประโยชน์ให้แก่ตัวฝ่ายเดียว ไม่ต้องประกอบกิจการงานด้วยประการทั้งปวงชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย ที่จะเป็นอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง ต้องประกอบ กิจการงานส่วนตัวทั้งนั้น ไม่ประกอบกิจการงานส่วนตัว ก็ไม่มีอาหารเลี้ยงท้องได้ด้วยกำลังปลีแข้ง ได้ด้วยกำลังอวัยวะของตนทั้งนั้น
ส่วนพระสงฆ์ไม่ได้ประกอบกิจการงาน ในการแสวงหาข้าวปลาอาหารเลย เล่าเรียนศึกษา คันถธุระ วิปัสสนาธุระ ไปตามหน้าที่ ตามการได้บริโภคอาหารเป็นอันดี อิ่มหนำสำราญที่ดีงาม ร่างกายก็สดชื่นดี
ถ้านึกว่าการเป็นพระสงฆ์นี่ดีจริง เข้าในหมู่สงฆ์นี่ดีจริง เมื่อเลื่อมใสจริงๆ หนักเข้า ก็ละครอบครัวลูกเมียได้ เหมือนพระวิลเลียม กปิลวฒฺโฑ พระกปิลวฒฺโฑ นั้น ก็เลื่อมใสในพระสงฆ์ แกเป็นฝรั่ง ลูกเมียแกก็มี แกทิ้งลูกทิ้งเมีย ละเพศฝรั่งมาบวชเป็นพระไทย เข้าในหมู่สงฆ์
นี้ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน แกเลื่อมใสในพระสงฆ์เข้า แกถึงได้มาบวชในพระธรรมวินัย ได้สมความปรารถนา
พวกพระภิกษุ สามเณรมาบวช นี้ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน ความเลื่อมใสในพระสงฆ์
อุบาสก อุบาสิกา ที่มาจำศีลภาวนา ฟังเทศน์ฟังธรรมที่นี้ ก็ สงฺเฆ ปสาโท เหมือนกัน
Fri, 30 Aug 2024 - 03min - 628 - ศีลจริงๆ นะเป็นอย่างไร
ศีลที่เห็นนะ ต้องทำสมาธิให้เป็นขึ้น ให้เข้าถึงธรรมกาย ทำสมาธิเป็นขึ้น เข้าถึงธรรมกายถึงจะเห็นศีล ตามส่วนศีลโลกีย์
กายมนุษย์ที่เป็นโลกีย์นี่ก็เห็น พอเป็นเข้าแล้ว
กายมนุษย์ละเอียดเห็น
กายทิพย์ก็เห็น กายทิพย์ละเอียดก็เห็น
กายรูปพรหมเห็น กายรูปพรหมละเอียดเห็น
กายอรูปพรหมเห็น กายอรูปพรหมละเอียดเห็น
หากว่าเห็นศีลเป็นโคตรภู แปดกายนะไม่เห็น
กายธรรมเห็น กายธรรมละเอียดเห็น
นี้ศีลเป็นโคตรภู เห็นเป็นดวงใส ขนาดดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่ในกลางดวงนั้น เห็นจริงๆ จังๆ ชัดๆ
นั้น ศีลเห็น นั้น เรียกว่า อธิศีล
เมื่อเข้าถึงอธิศีล ในกลางดวงอธิศีล นั้น นะมีดวงอธิจิต
เมื่อเข้าถึงอธิจิต ในกลางดวงอธิจิตมี ดวงอธิปัญญา เท่ากัน มีศีล สมาธิ ปัญญา อย่างนี้มีศีล
ศีลอย่างนี้ ได้ชื่อว่า ศีลเห็น ปรากฏอย่างนี้แหละ เอาตัวรอดได้ พ้นจากทุกข์ได้ เพราะว่าเห็นศีลเข้าเท่านั้นแล้ว
ศีลนั่นแหละเป็นทางมรรคผลทีเดียว พระอริยเจ้าเดินไปตามศีลที่เห็นนั้น ไม่ใช่ไปทางศีลที่รู้ แต่ว่าทางเดียวกันนั่นแหละ
ศีลที่รู้หยาบกว่า ศีลที่เห็นละเอียดกว่า ล้ำกว่ามาก
เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นั่นแหละที่เห็นเป็นปรากฏใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้านั้นแหละ
สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ ศีลของบุคคลใดดีงาม เป็นที่ใคร่ของพระอริยเจ้า เป็นที่พระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว
ปสํสิตํ สรรเสริญแล้ว นี่ศีลดีงามอย่างนี้ เมื่อเชื่อในพระตถาคตเจ้าดังนี้แล้ว ศีลอันดีงามนี้ เป็นศีลไม่ใช่ธรรม
แต่ว่าท่านจัดเข้าในพวกธรรมด้วยเหมือนกัน อยู่ในหมวดธรรม แต่ว่าเกิดในธรรมดวงนั้น
ดวงธรรมนั่นเป็นธรรมจริงๆ
ศีลนะเป็นศีล เป็นทางดำเนินไปของพระอริยเจ้าThu, 29 Aug 2024 - 03min - 627 - 📚 กัณฑ์ที่ ๕๔ อริยทรัพย์Sat, 03 Aug 2024 - 36min
- 626 - 📚 กัณฑ์ที่ ๕๓ พระพุทธภาษิต : ความไม่ประมาทFri, 12 Jul 2024 - 44min
- 625 - หาบุญได้ใช้บุญไม่เป็น
หาบุญได้ใช้บุญไม่เป็น นี่แหละ มาทอดกฐินได้บุญเป็ก่ายเป็นกองอย่างนี้แหละ ถ้ากระทบกระเทือนสิ่งที่ไม่ชอบใจ เอาเข้าแล้ว ไปด่าไปว่าเขาเข้าแล้ว ไปค่อนไปแคะเข้แล้ว เอาบาปใส่ตัวเข้าแล้วไม่รู้ตัวกันได้บุญเป็นกองสองกอง ไม่เอาใจไปจดอยู่ที่บุญเสียแล้ว เอาไปใช้สิ่งอื่นเสียแล้ว บุญนะเอาบาปมาทับถมหมด เอาไปใช้ไม่ได้เลย ใช้บุญไม่เป็นเหมือนอย่างเงินทองหาไปๆ มันหายไปหมด ไม่มีเลย มันใช้เงินไม่เป็นแบบเดียวกัน
Sat, 29 Jun 2024 - 01min - 624 - หาบุญได้ใช้บุญเป็น
พระสิทธิธัตถราชกุมาร เมื่อประทับอยู่ใต้ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์นะ เมื่อท่านใกล้บรรลุโพธิญาณนะ ครั้งนั้นมารเข้าผจญท่าน ว่าอะไรจะเป็นที่พึ่งของเราก็ไม่ได้ นอกจากบุญกุศลของเราที่ได้สั่งสมมาแล้วเป็นไม่มีเปล่งว่า อิธ โภนุโต ฯลฯ ท่านนึกถึงบารมี ทีเดียว นึกถึงบารมีเท่านั้น รับประกันพญามารทีเดียว รับทำลายพญามารทีเดียว นี่บุญช่วยอย่างนี้ ไม่จริงอย่าเราก็ต้องภัย ได้ทุกข์อย่างหนึ่งอย่างใด นึกถึงบุญที่เราสร้างสมที่ได้วันนี้ เป็นดวงใสอยู่ศูนย์กลางตัวนั้น ใจจดอยู่ตรงบุญนั้น พอจดอยู่ตงนั้นจะทำอย่างไรนะ นึกว่าบุญเราได้ดวงเท่านั้น ฟังเทศน์แล้วเราก็ไม่เห็นอะไร จำรอยใจวันนี้ ที่มาทอดผ้าป่าวันนี้ ปลาบปลื้มเอิบอิ่มเต็มอย่างไร นึกขึ้นมาเวลาไร ใจมันก็ปลาบปลื้มเอิมอิ่ม ตื้นเต็มเหมือนอย่างกับเรากำลังปีตินั้น นึงถูกส่วนเข้าเช่นนั้น เราก็หยุดอยู่ตรงนั้นแหละ หยุดนิ่งอยู่ก็ใจชื่นใจสบาย กินข้าวกินปลาก็ใจอิ่ม นึกถึงบุญอย่างนั้นแหละ พอนึกถึงบุญเช่นนั้นใจมันก็ดูด เหมือนที่ทำผลไม้ไว้อย่างไร อ้ายที่มันจะให้ผลน้อย ผลนี่บังคับให้ผลมาก ที่มันจะให้ดอกน้อย ผลมันก็น้อยที่จะให้ใบมาก บุญก็บังคับ ก็ผลิตใบมาก เหมือนสวนใบไม้ เหมือนสวนดอกสวนพลู สวนดอกไม้ที่เขาปลูกขายกันอย่างไรละ เหมือนผลไม้ที่เขาปลูกส้มขายอยางไรละ มะพร้าว ส้มโอสวนดอกสวนใบอะไรเหล่านี้ ยอดก็มียอดแคยอดตำลึง มีที่มากๆ หว่านแคเข้าไว้ หว่านตำลึงเข้าไว้ เก็บยอดแคเก็บยอดตำลึงก็เหมือนกัน เมื่อรู้เช่นนั้นแล้วก็ยอดดอกเหล่านั้นมันน้อยไป ถ้าว่าทำบุญขึ้นมันก็ยอดมากขึ้น เด็ดมายอดเดียวเท่านั้นแหละ มันก็เป็นสี่ยอดห้ายอดนะ บุญก็เหมือนกัน เด็ดมายอดเดียวก็แตกออกเป็นสี่ยอดห้ายอดโน่นแนะ แตกอย่างนั้นบุญส่งช่วยเรา เราฉลาดนะ ถ้าได้สิ่งของนั้นเรียกว่าหาเงินได้ใช้เงินเป็น ฉลาดหาเงินหาทอง หาเงินได้ใช้เงินเป็น หนักเข้าก็เป็นเจ้าเงินนายเงินได้ ให้ฉลาดอย่างนี้ซิ ฉลาดอย่างนี้เราก็เอาตัวรอดได้ นี่เขาเรียกว่า หาบุญได้ใช้บุญเป็น
Thu, 27 Jun 2024 - 04min - 623 - หาเงินได้ใช้เงินเป็น หาเงินได้ใช้เงินไม่เป็น
เราหาเงินมาได้ตั้งแต่หนุ่มๆ สาวๆ เราหาเงินได้มากเท่าไหร กระเหม็ดกระแหม่ทีเดียว กินต้มยำ ครั้นจะเอาเนื้อมาต้มยำก็เปลืองเงินเปลืองทอง ไม่เอา ทนเอาก่อน หนุ่มๆ สาวๆ พอทนได้ หาเงินได้ใช้ เก็บรวบรวมไว้กินต้มยำน้ำ อยากกินต้มยำก็ปรุงเครื่องต้มยำมันเข้า ตักน้ำใส มาดีๆ ตตั้งให้มันเดือนเข้า พอเดือนก็เทเครื่องต้มยำโครมลงไปในน้ำนั่น แล้วก็คนเสียให้ทั่วแล้วก็เอาขึ้นมา เค็มเปรี้ยวก่างมันเถอะต้มย้ำน้ำหละ เอามาราดข้าว ช้อนตักซดเชียวเปิดข้าวเข้าท้องได้ ช่างหัวมันเถอะไม่เป็นไร นี่เขาเรียกว่าต้มยำน้ำ นี่เขามีกันแล้วนะ โน่นแน่ เขาชื่อนายเล็กอยู่บ้านไผ่ อำเภอสองพี่น้องแน่ เขาเล่าให้ฟังว่า ผมนะเมื่อตั้งตัวผมกินต้มยำน้ำนะ มันบอกให้ฟังอย่างนี้แหละผู้เทศน์ก็ได้ยินเขาเล่าให้ฟัง เขาเป็นพ่อค้า ผู้เทศน์ก็เป็นพ่อค้าเหมือนกัน ไปคุยกันขึ้น เขาบอกว่าเขากินต้มย้ำน้ำ ทำไงเล่าต้มยำน้ำ เขาเล่าให้ฟังอย่างนี้แหละ เขากินอย่างนั้นแหละ เขาบอกว่าเราจะไปกินเนื้อไม่ได้ เดี๋ยวเงินทองหมดเข้าไปแล้วจะตั้งตัวไม่ได้ เอ๊ะ! อ้ายนี่ชอบกลอยู่เหมือนกัน
หลักนี้นะ การครองเรือนนะเป็นอย่างนี้ หาเงินได้ใช้เงินไม่เป็นนะ กินต้มยำเนื้อซิ เอ้าแล้ว! เงินทองหาได้เฟื้องหนึ่งสลึงหนึ่ง ซื้อเป็ดซื้อไก่เชียว นั่นแน่ไถลกินไม่เป็นขึ้นไปโน่นแน่ มันจะเป็นบ่าวเป็นทาสเขาจนตายแน่ ให้เงินไม่เป็นนั่นแน่ ใช้เงินตาย ใช้เงินตายนะ ใช้เงินอย่างไรเล่า หาเงินมาเท่าไรๆ ใช้หมด ไม่ให้เงินไปหาเงินหละ หาเงินมาได้เท่าไรๆ ใช้หมด ไม่ให้เงินไปหาเงินหละ อย่างนี้หาเงินได้ใช้เงินไม่เป็น ใช้เงินไม่เป็น แก่เฒ่าชราลงไปก็ทำงานหยุดไม่ได้ หยุดข้าวสารไม่มีกรอกหม้อ เพราะใช้เงินตาย ใช้เงินไม่เป็น
Tue, 25 Jun 2024 - 06min - 622 - ผู้แสวงหาบุญต้องฉลาด ต้องให้เห็นบุญ
วันนี้นะไม่ใช่ได้นิดๆ หน่อยๆ มาทอดผ้าป่านี้นะ คนหนึ่งๆ นั่น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางขนาด ๑,๐๐๐ วา เป็นดวงใสขนาดพันวา เขามีธรรมกาย เขาเห็นทั้งนั้นแหละ ขนาดพันวา วัดผ่าเส้นศูนย์กลางขนาดพันวากลมรอบตัวเรียบเหมือนหน้ากระจกเชียว นั่นแหละบุญมาติดอยู่กลางตัวทุกคนๆๆ แต่หย่อนบ้าง บางคนก็ถึง ๙๐๐วา บางคนก็ถึง ๘๐๐ วา ๗๐๐ วา ๖๐๐ วา ๕๐๐ วา ๔๐๐ วา ต้องได้ทุกคนเหมือนกันหมดแบบเดียวกันหมดทีเดียว ความจริงเป็นอย่างนี้แล้วก็เมื่อเราได้บุญขนาดนี้ เราจะทำอย่างไรเล่า เราไม่เห็นนี่ผู้มีธรรมกายเขาเห็น ใครมีธรรมกายแล้วก็ต้องเห็น วัดปากน้ำมีคนเห็นแยะ มีคนเห็นแยะ เห็นทั้งนั้น ถ้าเราไม่รู้ไม่เห็นแล้วเราจะทำอย่างไร? เราจะรู้เรื่องอะไร ได้อย่างไรก็ไม่รู้ หายไปอย่างไรก็ไม่รู้ เหมือนอย่างกับเราหาเงินหาทองในโลกนี้ ได้เงินมาแล้วเราก็เห็นซิ เก็บไว้ในตู้ในเซฟเราก็เห็นซิ เราจับถูกซิ บุญก็เหมืนกันเราเรียกว่า ปุญญกฺขเวสโก ผู้แสวงหาบุญนะต้องฉลาดนะ ต้องให้เห็นบุญนะ ถ้าไม่เห็นบุญแล้วเราจะรู้ว่าได้บุญอย่างไรกันละ ก็เบื่อกันละซิ ไม่อยากแสวงหาบุญละซี ถ้าเห็นบุญแล้วมันอยากหานักทีเดียว ไว้ใจได้ทีเดียว แน่นอนทีเดียว
Sun, 23 Jun 2024 - 03min - 621 - บุญเกิดอย่างไร บุญมาจากไหน
รูปพรรณสัณฐานบุญนะเป็นอย่างไร ติดอยู่ที่ไหน เออเรื่องนี้จนกันละซี เรื่องนี้เราจะจนกันละนะ บุญนะที่ได้จากการถวยผ้าป่า บุญเกิดอย่างไร บุญมาจากไหน เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ซิ งงงันไปตามกันหมด เรื่องนี้นะเมื่อทำบุญเข้าแล้วนะ เขามีอัตโนมัติ เขาเรียกว่าหม้ออัตโนมัติ มนุษย์นี่แหละไม่ว่าหญิงว่าชายว่าเด็กว่าเล็กมีหม้ออัตโนมัติเหมือนกันหมด เป็นดวงใส เท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้ายสะดือทะลุหลัง เจาะให้ตรงกลางเชียวนะ เป็นช่องปล่องไปทะลุหลัง ขวาทะลุซาย ตรงแบบเดียวกัน ตรงกลางจรดกัน เอาด้ายกลุ่มขึงเส้นหนึ่งตึงสะดือทะลุหลังตรง ซ้ายทะลุขวา ตรงแบบเดียวกัน ตรงกลางจรดกัน เอาด้ายกลุ่มขึงเส้นหนึ่งตึงสะดือทะลุหลังตรง ซายทะลุขวา ตรงเส้นหนึ่ง ขึงให้ตึง พอถึงก็ตรงกลางที่จรดกันนั่นแหละ เรียกว่า กลางกั๊ก ตรงกลางกั๊กนั่นแหละเป็นอัตโนมัติของบุญ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นกำเนิดอยู่ตรงนั้น อัตโนมัติอยู่ตรงนั้น สำหรับดึงดูดบุญ เหมือนหูเหมือนตาที่สำหรับดึงดูดเสียง สำหรับดึงดูดรูปติดที่ตา หูสำหรับดึงดูดเสียงติดที่แก้วหู จมูกสำหรับดึงดูดกลิ่นที่แก้วจมูก ลิ้นสำหรับดึงดูดรสติดอยู่ที่แก้วลิ้น กายสำหรับดึงดูดสัมผัสเครื่องถูกต้องติดอยู่ที่กายทั่วไป ใจสำหรับดึงดูดธรรมารมณ์ติดอยู่ที่ใจ ดึงดูดกันอย่างนั้นอัตโนมัติบุญนี่สำหรับดึงดูดบุญ ได้บุญเท่าไรดึงดูดมาติดอยู่ตรงนั้น ติดอยู่ตรงกลางนั้น เป็นดวงใส
Thu, 20 Jun 2024 - 03min - 620 - ต้นกำเนิดที่มาของผ้าป่า
ารทอดผ้าป่าน่ะเป็นประเพณีของพระพุทธศาสนา
พระบรมศาสดาเมื่อมีพระชนม์อยู่ พระองค์เองกำลังมีพระชนม์อยู่นั้น มีพระอนุรุทธเถระเจ้า มากราบลาพระองค์ เมื่อออกพรรษาแล้วจะไปแสวงหาผ้าบังสุกุล
พระองค์ก็ทรงอนุญาตแก่พระอนุรุทธ พระอนุรุทธลาไปแสวงหาผ้าบังสุกุล นางเทพธิดาอยู่ในดาวดึงส์เทวโลก เห็นด้วยทิพยเนตร เห็นด้วยตาทิพย์ว่า พระอนุรุทธเถระเจ้าแสวงหาผ้าบังสุกุล
เราเคยเป็นปุราณทุติยิกาเคยเป็นภรรยาพระอนุรุทธอยู่แต่ ชาติก่อนโน้น เราสมควรจะสงเคราะห์อนุเคราะห์พระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ ส่องทิพย์เนตรก็เห็นชัดว่าสมควรจะสงเคราะห์ แล้วก็ไปหยิบเอาผ้าทิพย์ที่มีเนื้อละเอียด เป็นผ้าทิพย์ที่สมควรแก่มนุษย์จะใช้ได้ หยิบเอาผ้าผืนใหญ่ที่จะเอามาทำเป็นไตรจีวรได้ เป็นสังฆาฏิก็ได้ ทำเป็นจีวรได้ ทำเป็นสบงก็ได้ตามความปรารถนา เอามาสงเคราะห์อนุเคราะห์พระอนุรุทธ
เอามาคล้องไว้ที่ค่าคบในป่าทึบ แล้วแสดงเทวฤทธิ์เบิกหนทางให้เป็นช่องไป เหมือนทางเกวียนเป็นช่องเดินเข้าไปได้ ในที่สุดในค่าคบประดู่ มีผ้าขาวผืนหนึ่งคล้องไว้แขวนไว้แล้ว ก็หนทางที่พระผู้เป็นเจ้าจะแสวงหาผ้าไตรจีวรนะ นี่ก็มานึกถึงว่าจำเพาะจะเดินไปทางนั้น
เพราะอะไร พระอรหันต์ ถ้าท่านจะต้องการอะไรจริงละก็ ท่านมีญาณ ท่านมองดูด้วยญาณ ท่านก็เห็นช่องว่างว่าท่านจะไปที่ไหน เห็นได้หมด เห็นปรากฏเชียว ผ้าบังสุกุลจะไปตกเรี่ยเสียหายอยู่ที่ไหนๆ มันจะเป็นอะไรท่านเห็นหมดนะ แต่ในเรื่องนี้ทางศาสนาก็มี ที่พูดกันก็มี ที่เห็นๆ อยู่อย่างนี้ก็มี
ท่านคงจะมีนัยรู้อยู่ ท่านจึงเดินไปถูก แต่ว่าในตำนานเขาว่าเป็นช่องไว้ เบิกหนทางไว้ให้เป็นช่องเข้าไป
พอพระผู้เป็นเจ้าเดินไปได้ พระอนุรุทธลงทางนั้นแล้ว ก็เดินไป เดินไปตามทางที่เขาทำไว้เป็นช่องนั้น พอไปสุดช่องนั้น ก็ไปเห็นชายผ้าที่ค่าคบต้นประดู่
เอ๊ะ นี่ใครมาคล้องไว้นี่ ใหม่เอี่ยมเชียว ของใครก็ไม่รู้ ก็นึกแต่ในใจว่าของมีเจ้าของ หรือไม่มีเจ้าของ
เอ้า ก็ไปมองๆ ดูมองๆ ดูแล้วก็ดูรอบๆ ต้นไม้ ก็ไม่เห็นมีเจ้าของที่ไหน ให้กระแอมกระไอก็ไม่มี เจ้าของที่ไหนมาปรากฏ เห็นจะไม่มีเจ้าของแน่ละนะ คิดแต่ในใจว่า
เปล่งวาจาว่า อิมํ วตฺถํ ปํสุกุลจีวรํ มยฺหํ ปาปุณาติ ว่า ผ้าอันนี้หาเจ้าของไม่มีเลย เป็นผ้าที่แปดเปื้อนอยู่ด้วย อ้ายที่ฝนตกถูกมันไคลมันดำๆ แปดเปื้อนเถ้าไคลอยู่อย่างนี้ เป็นของไม่สะอาด ของไม่สะอาดมาแปดเปื้อนกับของไม่สะอาด เรียกว่า ปํสุกุลจีวรํ มยฺหํ ปาปุณาติ ถึงแก่เราเป็นของเรา บัดนี้แล้ว ไม่มีเจ้าของแล้ว เป็นของเราแน่
พอนึกเช่นนั้นก็เอื้อมมือไปจับผ้า แล้วว่า อิมํ วตฺถํ ปํสุกุลจีวรํ มยฺหํ ปาปุณาติ อย่างนี้แหละ
เหมือนพระภิกษุไปชักผ้าป่าชักอย่างนี้แหละ แบบเดียวกันนี้แหละ แบบเดียวกันอย่างนี้แหละ ต้องพิจารณาว่าผ้าป่านี้เขาทอดธุระ เขาทิ้งแล้ว ไม่มีเจ้าของแล้ว ปล่อยธุระกันแล้ว ก็เปล่งอุทานวาจาดังนั้นว่า
ผ้านี้ อิมํ วตฺถํ ผ้านี้ อสฺสามิกํ เขาทอดธุระหมดแล้ว เป็นของเกลือกกลั้วด้วยฝุ่นฝอย อยู่ในที่ไม่สะอาด เอาใบไม้มาลาดไว้ เอาไปคล้องไว้ที่ค่าคบไม้ เป็นของไม่สะอาด มยฺหํ ปาปุณาติ ถึงแล้วแก่เรา นี้ผ้าผืนเดียว
ถ้าผ้าหลายผืนต้องใช้ อิมานิ วตฺถานิ อสฺสามิกานิ ปํสุกุลจีวรํ มยฺหํ ปาปุณาติ กิริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์
ถ้าว่าประธานเป็นพหูพจน์แล้วก็ กิริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์
ถ้าว่าประธานเป็นเอกพจน์ กิริยาจะต้องเป็นเอกพจน์ด้วย
นี่ภาษาเรียนเขา ภาษาเรียนบาลีเขา เอกพจน์นะ แปลว่า ของสิ่งเดียว เป็นเอกพจน์แปลว่าของสิ่งเดียว ถ้าพหูพจน์ของหลายสิ่ง ผ้าก็มีผ้าหลายผืน ให้เปล่งวาจาอย่างนี้
อิมานิ วตฺถานิ อสฺสามิกานิ ปํสุกุล จีวรํ มยฺหํ ปาปุณนฺติ
พิจารณาแบบเดียวกัน แล้วก็ไปหยิบเอาผ้านั้นมา
พระอนุรุธพอได้ผ้ามาแล้ว ท่านก็นำเอาผ้านั้นถวายพระบรมศาสดา
พระองค์ทรงรับสั่งว่า ผ้านี้กรานเป็นกฐินได้ ชักผ้าป่ามาเดี๋ยวนั้นแหละ
พระองค์ทรงรับสั่งว่ากรานเป็นกฐินได้ ก็ออกพรรษาไป ก็เลยเอาผ้านั้นกรานเป็นกฐินซะ เขาจึงว่าผ้าเป็นต้นกฐิน นี่เพราะอ้ายตัวเดิมมันได้มาจากผ้าป่ามาถวายพระบรมศาสดา พระองค์ก็รับสั่งว่ากรานเป็นกฐินได้ เอามากรานเป็นกฐินเสีย ผ้าป่าเป็นต้นกฐิน กฐินนะเป็นผลของผ้าป่า นี่เดิมเป็นมาอย่างนี้
Tue, 18 Jun 2024 - 07min - 619 - ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย เป็นหนทางอย่างไร
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย เป็นหนทางตายไม่เข้าถึงกายธรรมนั่นซิ
ถ้าถึงแต่เพียงกายมนุษย์ก็ตาย ไม่ช้าเท่าไรก็ตาย อายุของมนุษย์เวลานู้น อายุขัยมันก็ร้อยปีเท่านั้น ๗๕ ปีเศษๆ เท่านั้น ถึงกำหนดมันก็ตาย
เขาเผากันออกกลุ้มนั่นอย่างไรเล่า ต้นตระกูลหนึ่งจะเหลือสักคนเดียวไม่มี คนเดียวไม่เหลือเลย ตายหมด อายุ ๑๕๐ ไม่มีเลยสักคนเดียว ตายหมด ตายเกลี้ยง นี่แน่มันตายจริงอย่างนี้
เพราะอะไรเล่า เพราะประมาทนั้นซิ ความประมาทเลินเล่อเผลอตัวนั่นซิ จึงได้ตาย ปมาโท มจฺจุโน ปทํ นี่ตายก็มัจจุ ก็ตัวตายละ ความประมาทนะมีมากนัก ไม่ใช่พอดีพอร้าย
ถ้าว่าประมาทแล้วตาย ประมาทในอะไร
มนุษย์ประมาทในอะไร เพลินในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นะซิ นั่นแหละประมาทละ เลินเล่อ เผลอตัวเข้าใจว่าเป็นของจริง เป็นของหลอกของลวงทั้งนั้น
เราเข้าใจว่าเป็นสุข
เป็นทุกข์แท้ๆ เข้าใจว่าสุขอย่างไรนะ
ถ้าว่า ทุกข์แท้ๆ เขาก็ทิ้งกันหมดนะซิ นี่ตั้งบ้านกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นสุข เป็นทุกข์อย่างไรละ มันก็เป็นสุขแท้ๆ นี่ละสุขแท้ๆ ก็ทนไปอีก
นี่กิเลสหนา ปัญญาหยาบนะ
กิเลสบาง ปัญญาละเอียดละก็ เห็นว่าเป็นทุกข์จริงๆ ละ
ทุกข์อย่างไรละ เห็นร้องไห้ ร้องครางไปตามๆ กันทีเดียวละ ก็ไม่ใช่ทุกข์หรือนั่นนะ ร้องไห้ร้องครวญไปตามๆ กัน
ไปซิ บ้านหนึ่งหมู่หนึ่งเอามารวมกันเข้าซิ บ่นเรื่องสุขกันมากไหมละ ทุกข์กันทั้งนั้น ที่ไหนไม่มีสุขเลย ทุกข์ทั้งนั้นนั่นแหละ
Sun, 16 Jun 2024 - 07min - 618 - ศีลของพระภิกษุ มี ๓๐๐ ล้านกว่าสิกขาบท จะรักษาอย่างไร
ต่อแต่นี้ไปเมื่อไปเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
ศีลของภิกษุนะเป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล ไม่มีที่สุด ศีลของภิกษุ ไม่มีที่สุด
ศีลของภิกษุ ๒๒๗ สิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์
ในวิสุทธิมรรค ๓ ล้าน ๑๐๐ กว่าสิกขาบท
มาในพระไตรปิฎก ที่เรียกว่าวินัยปิฎกนี้ ๒๑,๐๐๐ กัณฑ์ เป็นสิกขาบทหลายข้อ
ถ้าจะนับสิกขาบทภิกษุ ศีลไม่มีที่สุด ศีลไม่มีที่สุดทีเดียว เรียกว่า อปริยันตปาริสุทธิศีล ขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์นิดเดียว ๒๒๗ สิกขาบทข้อสำคัญๆ ทั้งนั้น ที่ข้อลดหย่อนกว่านั้น ยังอยู่อีกมากมาย ไม่มีที่สุด
เมื่อภิกษุจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ในศีลไม่มีที่สุดเช่นนั้น จะรักษาอย่างไร? ภิกษุต้องเป็นภิกษุจริงๆ
ภิกษุเขาแปลว่าผู้ศึกษา ตั้งใจศึกษาในศีล
สีลมฺหิ สิกฺขติ ศึกษาในศีล
จิตฺตมฺปิ สิกฺขติ ศึกษาในจิต
ปญฺญมฺปิ สิกฺขติ ศึกษาในปัญญา
อธิสีลมฺปิ สิกฺขติ ศึกษาในศีล สมาธิ ปัญญา เข้าใจแล้วให้สูงขึ้นไปอีก
อธิสีลมฺปิ สิกฺขติ ศึกษาในอธิศีล
ศึกษาในอธิจิต
ศึกษาในอธิปัญญา
แล้วก็ค้นคว้าในศีล สมาธิ ปัญญา ให้เข้าใจ แล้วรู้จักหนทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ไปได้อย่างไร ไปแนวไหนให้รู้จักชัดแน่นอน ในการศึกษาของตัวอย่างนี้
เมื่อตั้งใจศึกษาอยู่เช่นนี้ละก็ได้ชื่อว่าภิกษุนั้นเป็นผู้ที่มั่นแล้ว ในศีล สมาธิ ปัญญา ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
แล้วก็เอาใจไปจรดอยู่ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องรักษาศีลไว้ให้มั่นคง อยู่ในสมาธิให้มั่นคงไว้ อยู่ในปัญญาให้มั่นคง จึงรวมในทางมรรคผลสืบต่อไปนั้น
ดั่งนี้ได้ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ของภิกษุ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จะให้ตรงแน่วละ
จากการปฏิบัติของตนนั้น มนุษย์มาฆ่าเสียก็ฆ่าไปเถอะ เป็นไม่ยอมกันเด็ดขาดเชียวเรียกว่า สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติเป็นเจ้าในข้อปฏิบัติของตนนั้น
อนุธมฺมจารี ประพฤติตามแนวปฏิบัติของตน ไม่ให้คลาดเคลื่อนนั้นได้ชื่อว่าประพฤติตามธรรมที่ให้ถึงที่สุดแล้ว ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ตามส่วนนี้นะ นี่เป็นภายนอก
Thu, 13 Jun 2024 - 04min - 617 - เสียทรัพย์เสียไป ศีลอย่าให้เสียTue, 11 Jun 2024 - 01min
- 616 - สามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติเป็นเจ้าในความบริสุทธิ์
สามิโก แขกแปลว่า เจ้า เจ้าในความบริสุทธิ์ สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติเป็นเจ้าในความบริสุทธิ์ จะมาแก้ไขทำอย่างไรอย่างหนึ่ง ตัดหัวคั่วแห้งเสีย ไม่ได้ ข้าไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว รักษาความบริสุทธิ์นั้นเสมอๆ ไป ประพฤติบริสุทธิ์อยู่ในศีล ๒๐ อย่าง ๓๐ อย่าง ดังกล่าวแล้วนั้น เป็นเจ้าทีเดียว ประพฤติอย่างนี้เรียกว่า สามีจิ-ปฏิปนฺโน
Sun, 09 Jun 2024 - 01min - 615 - หากพ่อแม่ประพฤติได้ดังนี้ เป็นตัวอย่างอันดีของลูกหญิงลูกชาย
มื่อเป็นฆราวาสเขาเรียกว่า ฆราวาสธรรม ปฏิบัติธรรมของตนให้แน่ นอนอย่าให้คลาดเคลื่อนเรียกว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน
เริ่มต้นทีเดียว ต้องปฏิบัติอยู่ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ทอดทิ้งอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเสีย ละอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเสีย
ประกอบกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ
ให้เกิดมีกายบริสุทธิ์ ๓
เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เว้นขาดจากการลักทรัพย์สมบัติของผู้อื่น
เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ๓ ละ
เว้นจากวจีกรรม เว้นจากการพูดปด ไม่จริง หลอกลวงต่างๆ
เว้นจากกล่าวคำส่อเสียด ให้เขาแตกร้าวจากกัน ให้สมัครสมานอยู่ ให้มีกับตน
เว้นจากกล่าวคำหยาบช้าทารุณ ด่าชาติ ด่าตระกูล
เว้นจากกล่าวคำเหลวไหลปราศจากประโยชน์ หาหลักฐานไม่ได้ ไม่มีเหตุผล กล่าวเลอะเทอะๆ
อย่างนี้ นี่เรียกว่า วจีกรรมบริสุทธิ์
แล้วเว้นจากการโลภอยากได้ของเขา
เว้นจากโกรธประทุษร้ายเขา
เว้นจากเห็นผิดจากคลองธรรม ได้ชื่อว่า ใจบริสุทธิ์
กายบริสุทธิ์ ๓ วาจาบริสุทธิ์ ๔ ใจบริสุทธิ์ ๓
รวมเป็นบริสุทธิ์ ๑๐ คือ กาย ๓ วจี ๔ ใจ ๓ รวมเข้าเป็น ๑๐ นี้ เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
ตัวเองบริสุทธิ์ ดังนี้แล้ว ตั้งใจให้แน่วแน่ เรียกว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
ชวนบุคคลผู้อื่นให้บริสุทธิ์เหมือนกับตนเอง บริสุทธิ์ ๑๐ อย่างชักชวนบุคคลผู้อื่นให้บริสุทธิ์ ๑๐ อย่างเหมือนกันบ้าง ชักชวนบุคคลผู้อื่นอีก ๑๐ เป็น ๒๐ ละ
ยินดีพวกบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ เช่นนั้น อีก ๑๐ นั้นแหละเป็น ๓๐
สรรเสริญพวกบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ เช่นนั้น เป็น ๔๐ นี่เขาเรียกว่า กุศลกรรมบถวิภาค แยกออกจาก ๑๐ ไปเป็น ๒๐ ๓๐ ๔๐ ให้แน่นอนอย่าให้คลาดเคลื่อนเชียว นี่เขาเรียกว่า ฆราวาสธรรม
ธรรมของฆราวาสให้แน่นอนอย่างนี้นะ หญิงก็เป็นหญิงที่ดี ชายก็เป็นชายที่ดี ถ้าปกครองเรือนละก็เป็นตัวอย่างได้ทีเดียว
Fri, 07 Jun 2024 - 03min - 614 - ถ้าสมภารประพฤติได้ดังนี้ อยู่วัดไหน วัดนั้นก็เจริญล่ะ
ถ้าสมภารประพฤติได้ดังนี้ อยู่วัดไหน วัดนั้นก็เจริญละ ภิกษุสามเณรอุ่นหนาฝาคั่ง
เหมือนกับพ่อกับแม่ มีอะไรแจกให้ทั้งนั้น วัดปากน้ำอย่างนั้น ผู้ที่ปกครองเป็นเจ้าอาวาสอยู่นะ ได้อะไรมาก็ตามเถิด
คิดว่าพระภิกษุ สามเณร ที่มาอยู่ด้วยเหมือนกับลูกกับเต้า ไม่ห่วงไม่เสียดายกัน ติดขัดอะไรมา แจกให้ทั้งนั้น ไม่ขัด
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุสามเณรก็เป็นสุขสบาย อุ่นหนาฝาคั่ง เหมือนอยู่กับแม่พ่อลูกเขา เขารักเหมือนแก้วตา
ถ้าแต่ว่าเขารู้ว่าภิกษุผู้ปกครองเอาใจใส่เหมือนเช่นนั้น ละก็ เขาก็เคารพนับถือ เขาก็เห็นว่าลูกเขาอยู่อุ่นหนาฝาคั่งเช่นนั้นดีแล้ว เขายิ่งเลื่อมใสศรัทธา เขาไม่ตระหนี่ถี่เหนียวอะไรหรอก
เขากลัวอยู่อย่างเดียวเท่านั้นแหละในพระพุทธศาสนา เมื่อทำแล้วเก็บเอาไปไถลเสียทางอื่นเท่านั้นแหละ
Wed, 05 Jun 2024 - 02min - 613 - เจ้าของนั้นได้เนื้อแต่ผู้รับนั้นได้กาก
เจ้าของมีจิตสามารถเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา น้อมมาถวายพระสงฆ์ กากที่เจ้าของให้นะเป็นกาก
เจ้าของนั้นได้เนื้อไปเสียแล้ว บุญกุศลติดอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ ดวงโตเท่าไหนแล้วแต่ศรัทธาของตน
นั่นเจ้าของกลั่นเอาเนื้อเสียแล้ว เอาเปลือกให้แก่ภิกษุ
ถ้าภิกษุโง่ ไม่ฉลาดทันเจ้าของ ก็ไปเก็บเอาใส่ตู้ห้องไว้ แมลงสาบหนูกัดเสียหายไปถ้าไม่ฉลาดพอ ถ้าฉลาดพอ เมื่อเจ้าของเขาสละเช่นนั้นแล้ว เมื่อเก็บก็เอาไว้แจกพระภิกษุสามเณร อัดเอาบุญเสียเหมือนกัน กากนั้นให้ไป ถวายไป แต่บุญเอาเสียอีกชั้นหนึ่ง นี่เรียกว่าฉลาด
ได้สองชั้นสามชั้น นั่นแน่ ต้องการเอาไว้ ผ้านุ่งพอห่มพอสมควรเท่านั้นแหละ ถ้าผู้ฉลาดรับแล้วก็เท่าไรให้หมด
ท่านผู้นี้ปรากฏว่าจะเป็นอายุพระศาสนาสืบต่อไป
Tue, 04 Jun 2024 - 02min - 612 - 📚 กัณฑ์ที่ ๕๒ ภัตตานุโมทนากถาThu, 30 May 2024 - 1h 28min
- 611 - การทีได้มาพบพระพุทธศาสนาเป็นของที่ได้ยากอย่างยิ่ง
ทุลฺลภา จ ขณสมฺปตฺติ ที่ จะถึงด้วยทานสมัย เป็นของได้ยากอีกประการหนึ่ง ที่ ๓ ถึงพร้อมด้วยทานด้วยสมัยเป็นอย่างใด พระพุทธเจ้ามาอุบัติตรัสขึ้นในโลกนี้พูดถึงทานสมัยนี้ เราไปเกิดเสียบ้านนอกเมืองดอนรอนแขมแรมไพรสิบวันพันปี ไม่พบภิกษุสามเณร ผ่านไปทางนั้นสักหนหนึ่ง นี่เป็นอขณะสมัยเสียข้อหนึ่งแล้ว พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดในโลกโน้นไปเกิดเป็นสัตว์นรกเสีย ก็เป็นอขณะสมัยเสีย ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเสีย พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในโลก ก็เป็นอขณะสมัยเสีย ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกายเสีย ก็เป็นอขณะสมัยอีกเหมือนกัน พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในโลก ก็ไปเกิดเป็นอรูปสัตว์ ชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้น หรือสัญญีสัตว์โน้น พระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดในโลก เขาเรียกว่าเป็นบ้าเสีย เอาเมื่องไม่ได้ นี้ก็เป็นอขณะสมัย พระพุทธเจ้ามาอุบัติในโลกเป็นคนดีบริสุทธิ์ ตัวกลับเฉลียวแลาด พูดจาปราศรัยไม่ได้กลัวใคร ไม่ได้ครั่นคร้ามผู้หนึ่งผู้ใด พระพุทธเจ้าก็ไม่กลัวเสียอีก กลับดูถูกดูหมิ่นพระพุทธเจ้าไปเสียอีกหาว่าตัวฉลาดกว่าพระพุทธเจ้าเข้าไป เสียอีก พูดจาปราศรัยไม่มีใครเทียมทันทั้งนั้น ผู้คนคนชนิดนี้เขาเรียกว่า เอฬมตฺตโก บ้า น้ำลายเอาจริงไม่ได้ ดูถูกดูหมิ่นคละไปเสียอีก เป็นเอฬมตฺตโก เป็นอขณะสมัย เหมือนกับไม่พบพุทธศาสนา ไม่พบพระพุทธเจ้าทีเดียวนั้นแหละ แบบดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เป็นมิจฉาทิฏฐิเสียก็ใช้ไม่ได้ ก็เป็นอขณะสมัยเสียอีกเหมือนกัน ไม่เอาจริง พวกนี้เหลวไหลทั้งนั้น อขณะสมัย พระพุทธเจ้ามาอุบัติตรัสขึ้นในโลก ตัวเองเป็นคนสมบูรณ์บริบูรณ์อยู่เลื่อมใสเหมือนภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ในบัดนี้ก็เหมือนกันละนะ ต่างพวกเป็นคนบ้าน้ำลายเหมือนกัน เอฬมตฺาตโก ดีแต่พูดไม่จริงซักอย่างหนึ่ง ไอ้ชนิดนี้เขาเรียกว่า บ้าน้ำลาย เป็นอขณะสมัย มาพบพุทธศาสนาไม่ได้อะไร เสียเวลาเปล่าให้เป็นโทษเสียอีก
ทว่าเลื่อมใสในศาสนาในพระศาสดาจริงๆ เหมือนกับ ท่าน ทั้งหลายที่ได้บริจาคทาน ได้ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ปรากฏอยู่เช่นนี้ ก็ได้ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยขณะ ด้วยสมัยไม่เสียทีที่เป็นมนุษย์ เกิดมาพบพุทธศาสนา ได้บริจาคทานในพุทธศาสนา ได้มารักษาศีลในพุทธศษสนาโดยน้ำใสใจจริง ได้เจริญภาวนาในพระพุทธศาสนา ทำไมว่ามีเจริญภาวนา มี ธรรมกาย ขึ้น เรียกว่าเข้าถึงรัตนตรัย เข้าถึงแก่นพุทธศาสนะทีเดียว มีธรรมกายดีขึ้น เหมือนวัดปากน้ำได้มีตั้ง ๑๕๐ กว่าคน มีธรรมกายทั้งหญิงทั้งชาย ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิการ มีธรรมกาย ๑๕๐ กว่าคน ไปนรก ไปสวรรค์ ไปนิพพาน ได้อย่างนี้ ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ ถึงพร้อมด้วยขณะ ด้วยสมัยแท้ๆ ทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วละก็นี้แหละที่พระงค์ทรงรับสั่งว่า ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ พร้อมด้วยขณะด้วยสมัยเป็นของได้ยาก เป็นประการที่ ๓
Tue, 28 May 2024 - 05min - 610 - ดวงบุญมากลั่นเป็นดวงบารมี ดวงบารมีกลั่นเป็นอุปบารมี อุปบารมีกลั่นเป็นปรมัตถบารมี
ดวงบุญใหญ่โตเล็เท่าไหร่ไม่ว่า สร้างไปเถอะ ทำไปเถอะ แล้วเอาดวงบุญนั้นมากลั่นเป็นบารมี ดวงบุญมากลั่นเป็นบารมีนะ บุญมีคืบหนึ่ง เต็มเปียมเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ทีเดคยว เอามากลั่นเป็นบารมีได้นิ้วเดียว เท่านั้นเอง กลมรอบตัวเท่านั้นแหละ กลั่นไปดย่างนี้แหละทุกบารมี ไปจนกว่าาบารมีนั้นจะเต็มส่วนแล้วก็บารมีที่จะเป็นอุปบารมี เอา บารมี นั่นแหละ คืบหนึ่งเต็มส่วนเอามากลั่นเป็นอุปบารมีได้นิ้วเดียว แล้วเอา อุปบารมี นั่นแหละ คืบหนึ่ง กลมรอบตัว เอามากลั่นเป็นปรมัตถบารมีได้นิ้วเดียว
Sun, 26 May 2024 - 02min - 609 - ทาสทาน สหายทาน สามีทาน และการให้ทานอย่างพระโพธิสัตว์
ถ้าให้ทาน ให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ของชอบใจไม่ให้เก็บเสีย ซ่อนเสียของไม่ดีที่ไม่เสมอใจให้เสีย ให้อย่างนี้มันเลือกให้ ให้ของไม่ดีเป็นทาน เป็นทาสทาน จัดว่ายังเข้าไม่ถึงสหายทาน เป็นทาสทานแท้ ๆ เพราะเลือกให้ หากว่ามีมะม่วงสักสามใบตั้งขึ้นก็จะให้ใบเล็กเท่านั้นแหละ เอามะม่วงสามใบเท่า ๆ กัน ก็จะให้ใบที่ไม่ชอบใจนั้นแหละ เอามะม่วงสามใบเสมอกัน ก็จะเลือกเอาอีกแหละ ลูกที่ไม่ชอบจึงให้ ลูกที่ชอบไม่ให้ หรือมันใกล้จะสุกแล้วไม่ให้ ให้ที่อ่อนๆ ไปอย่างนี่ อย่างนี้เป็นทาสทาน ไม่ใช่สหายทาน
ถ้าให้สหายทานจริงแล้ว ก็ตัววบริโภคใช้สอยอย่างไร ให้อย่างนั้นเป็นสหายทาน ถ้าว่าสามีทานละก็ เลือกหัวกระเด็นให้ เลือกให้ของที่ไม่ดีกว่านั้นต่อไป ถ้าเลือกหัวกระเด็นให้เช่นนี้ละก็ เป็นสามีทาน ลักษณะโพธิสัตว์เจ้า ให้ทานนะ ให้สามีทานนะ ให้สหายทาน สามีทานทีเดียว ทาสทานไม่ให้ นี้เราสามัญสัตว์ ชอบให้แต่ของที่ไม่ประณีต ไม่เป็นที่ของที่ชอบเนื้อเจริญใจละก็ให้มันก็เป็นทาสทานไป เสมอที่ตนใช้สอยมัน ก็เป็นสหายทานไป ยิ่งกว่าตนใช้สอย มันก็เป็นสามีทานไป แต่ว่าพวกเราที่บัดนี้ เป็นสามีทานอยู่ก็มี เช่นเลี้ยงพระสงฆ์องค์เจ้า ตบแต่ง สูปพยัญชนะเกินดว่าเราบริโภคทุกวันๆ ที่เกินใช้สอย เช่นนี้เป็นสามีทาน ประณีตบรรจงแล้วจึงให้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นสามีทาน
ทานนี้แหละเป็นข้อสำคัญนัก พระโพธิสัตว์จะได้เสด็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็อาศัยทานนี้แหละ ไม่ทานละก็เป็นไม่สำเร็จทีเดียว เพราะฉะนั้น บัดนี้วัดปากน้ำ ที่มีภิกษุสามเณรมารวมอยู่มาก ก็เพราะอาศัเจ้าอาวาสบริจาคทาน บริจาคมานาน ๓๗ ปี บริจาคมา บริจาคเรื่อยไม่ได้ครั้นคร้ามนะ ถ้าว่าใครไม่มาบริจาค ก็บอกผู้หนึ่งผู้ใดมาบริจาคด้วยละ ก็ทำไปถ้าว่าไม่พอละก็ เท่าใดก็ให้ทีเดียว เป็นหนี้เป็นสินยอมทีเดียว เขาจะบริจาคทานทำบารมีไปในอนาคตกาลข้างหน้ากันอย่างนั้น เรียกว่า ความเป็นพุทธเจ้า นะ ไม้ใช่เป็นของได้ง่าย ของได้ยาก
Thu, 23 May 2024 - 04min - 608 - การบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ เป็นของที่ได้โดยยาก
เมื่อบริสุทธิ์ ไม่พิรุธทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งในสามประการนี้แล้ว เรียกว่า เป็น หลักประธานของการประพฤติธรรม ที่จะทำให้เป็นมนุษย์ เมื่อบริสุทธิ์ไม่มีพิรุธ แตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์ ได้กลับเป็นมนุษย์อีกทันที เมื่อประพฤติขึ้นไปกว่านี้ ประพฤติดีขึ้นกว่าบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ประพฤติดีขึ้นไปกว่านี้ ก็ได้เป็นมนุษย์สูงขึ้นไปกว่านี้ เป็นมนุษย์เกินมนุษย์ขึ้นไป นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก ดังนี้นะ เมื่อเราปรับกับตัวของเราแล้วละก็ ขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์มากนัก ขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์จะไปเป็นอะไร เมื่อขาดธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ละก็แตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์ ต้องไปเกิดเป็นเปรตบ้าง อสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เกิดในนรก ๔๕๖ ขุมบ้าง ขุมใดขุมหนึ่ง อบายภูมิทั้งสี่ไม่เคลื่อนหละ ไม่พ้น พอเคลื่อนจากการเป็นมนุษย์และ ก็เป็นผู้ไปอบายภูมทั้งสี่ทีเดียว เพราะเหตุนี้การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก ไม่ ใช่เป็นของได้ง่าย เกิดเป็นมนุษย์ต้องประพฤติถูกธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ จึงได้ง่าย ถ้าเคลื่อนจากธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์ไม่ได้
เหตุนี้เราจะต้องคาดคั้นตัวเองเสียให้ดี ว่าเราได้อัตตภาพเป็นมนุษย์ด้วยความบริสุทธิ์เช่นนั้นแล้วละก็ ต่อแต่นี้ไปเราจะเป็นมนุษย์อีกหรือไม่ เราจะเป็นกับเขาอีก ต้องพินิจพิจารณา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ แค่เราเกิดนี้ยังเป็นมนุษย์ชั้นต่ำอยู่ หรือแค่เป็นมนุษย์ชั้นกลาง หรือเป็นมนุษย์ชั้นสูงเราก็รู้ได้ เกิดเป็นมนุษย์ชั้นสูงก็เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นผู้ปกครองประเทศ เป็นเศรษฐี พวกโน้นเป็นมนุษย์ชั้นสูง ลดส่วนกว่านั้นลงมา มนุษย์ชั้นกลางๆ สดส่วนจากพวกกษัตริย์ เศรษฐีลงมาเป็นมนุษย์ธรรมดา เขาเรียกว่าเป็นพลเมืองดี เป็นคนมั่งมี คหบดี มีทรัพย์สมบัติ มีบริษัทมีบริวารมาก เป็นคนสุจริตนั้น บริสุทธิ์สนิทดี เป็นมนุษย์ชั้นกลาง เป็นมนุษย์ชั้นต่ำ หาเช้ากินค่ำ หยุดทำงานไม่ได้ ข้าวสารไม่มีกรอกหม้อ พวกไหนหยุดทำงานไม่ได้ พวกไหนไม่มีงานทำ ไม่มีเวลาหยุด พวกนั้นแหละมนุษย์ชั้นต่ำ ไม่มีข้าวสารกรอกหม้อ หยุดทำงานไม่ได้ ข้าวสารไม่มีกรอกหม้อ นั้นเรียกว่ามนุษย์ชั้นต่ำ หรือต่ำลงไปกว่านั้น เป็นคนขอทานนั้นก็ต่ำมาก ชั้นต่ำก็ต้องจัดไปอีกมาก มนุษย์ชั้นต่ำของต่ำ มนุษย์ชั้นต่ำของกลาง มนุษย์ชั้นต่ำของสูง สูงในชั้นต่ำ กลางในชั้นต่ำ ต่ำในชั้นต่ำ แยกออกไป ดังนี้มากมายนัก เราอยากเป็นมนุษย์ชั้นไหน เราต้องแก้ไขตัวของตัวเรา ในเวลาเราจะเป็นมนุษย์อีก บริสุทธ์ด้วยกายดังกล่าวแล้ว บริสุทธิ์ด้วยวาจาดังกล่าวแล้ว บริสุทธิ์ด้วยใจดังกล่าวแล้ว เราจะต้องมีมารยาทเพิ่มเติมอีก เราต้องการเป็นคนดี เมื่อเวลาให้ทาน รักษาศีลเจริญภาวนา แต่อย่างใดอย่างหนึ่งต้องใช้มารยาทให้เรียบร้อย เวลาจะให้ทานต้องใช้มารยาทที่นุ่มนวลเป็นที่น่าดูน่าชม ใครเห็นก็นิยม เมื่อเราอยากจะทำเช่นนั้นบ้าง เมื่อมีมารยาทเช่นนั้นแล้วก็จะเป็นเหตุให้เกิดสกุลสูง มันจะให้เป็นมนุษย์ที่มีมารยาทดี ต้องแก้ไขตัวของตัว เช่นนี้ ส่วนวาจาเล่า จะพูดจาปราศรัยกับบุคคลผู้หนึ่งผู้ใด ผู้เฒ่า ผู้แก่ สมณพราหมณาจารย์ ก็พูดแต่ถ้อยคำที่นุ่มนวลชวนสดับ ถ้อยคำที่กักขฬะ ชั่วช้าหยาบคาย อย่าเอาไปใช้ ถ้าใช้เข้าแล้วมันเป็นนิสัยติดไป จะไปเป็นคนป่าเถื่อนเช่นนั้นบ้าง ให้ใช้วาจาที่นุ่มนวลชวนสดับทีเดียว เวลาให้ทาน จำศีล ภาวนา เมื่อใช้อยู่จนกระทั่งเคยติดกาย ติดวาจา ติดใจ เช่นนั้น แล้วก็จะเป็นคนดีได้ต่อไปในภายหน้า
ส่วนใจเล่า ใจก็ต้องให้นุ่มนวล ให้อ่อนโยน ต้องใช้ใจที่เป็นบุญเป็นกุศล ใจเป็นอกุศลไม่เอาเข้ามาใช้ ใจที่เห็นผิด เข้าใจผิด อย่าเอามาใช้ ในที่เห็นชอบเห็นถูก ก็เอาเข้ามาใช้อย่างชนิดนั้นเกิดไปในภายหน้าเป็นมนุษย์ชั้นสูง หรืออย่างต่ำพลาดพลั้งลงมา ก็ชั้นกลางของสูง พลาดพลั้งลงมาก็ชั้นต่ำของสูง เราจะไม่ตกไปเป็นมนุษย์ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ให้แก้ไขตัวดังนี้ ให้มั่นหมายทีเดียว ถ้าได้เช่นนั้นแล้วละก็ จะได้อัตตภาพว่า เป็นมนุษย์สมมาตรปรารถนา สมด้วยบาลีว่าทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ ได้เป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก เราก็ได้เป็นมนุษย์สมมาตรปรารถนา
Tue, 21 May 2024 - 05min - 607 - การบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ ต้องบริสุทธิ์ด้วยใจนั้นเป็นไฉน
ส่วน ใจ ละ ส่วนใจก็ด้วยเหมือนกัน ไม่โลภ อยากได้ของเขา คิดจะให้สมบัติของเราเป็นเบื้องหน้า คิดชักชวนบุคคลผู้อื่นให้สละสมบัติของตน ให้แก่บุคคลผู้อื่น นี่เป็นมโนสุจริต ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่พยาบาทด้วย เป็นคนเมตตาแก่ตนและบุคคลผู้อื่นทุกถ้วนหน้า รักใคร่ปรารถนาจะให้เขาเป็นสุข เขาเป็นสุขแล้วยินดีชอบอกชอบใจ แล้วก็ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้ดำเนินเช่นนั้น สรรเสริญพวกดำเนินเช่นนั้น ยินดีพวกดำเนินเช่นนั้น นี้เป็นมโนสุจริต ความเห็นผิดไม่กล่าวความเห็นผิดทางใจเลิกเสีย ให้ความเห็นถูก เห็นถูกด้วยตัวของตัวแล้ว ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้เห็นถูก ยินดีในการเห็นถูก สรรเสริญในการเห็นถูก สามข้อนี้ ข้อละ ๔ ๆ เป็น ๑๒ นี้เรียกว่า มโนสุจริต
Sun, 19 May 2024 - 02min - 606 - การบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ ต้องบริสุทธิ์ด้วยวาจานั้นเป็นไฉน
ส่วน วาจา ละ ไม่พูดปด พูดแต่ถ้อยคำที่จริงด้วยตนของตน ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้พูดคำที่จริงเหมือนตน ยินดีพวกกล่าวถ้อยคำจริงเหมือนตน สั่งสอนและสรรเสริญพวกที่พูดจริงเหมือนตน สี่ข้อนี้เป็นวาจาบริสุทธิ์ เว้นจากพูดกล่าวคำหยาบช้า ด่าชาติด่าตระกูล กล่าวคำไม่เป็นที่ไพเราะเสนะโสต คำหยาบช้าทารุณเช่นนี้ ตัวเองเว้นได้ดี ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้เว้นด้วย เหมือนอย่างตนบ้างยินดีพวกเว้นจากคำหยาบเช่นนั้น สรรเสริญพวกดำเนินด้วยการไม่กล่าวคำหยาบเช่นนั้นบ้าง นี้เรียกว่าเป็นดีส่วนหนึ่ง กล่าวคำสมาน ไม่กล่าวคำแตกร้าวฉาน แล้วกล่าวคำสมานให้กลมเกลียวสนิทชิดชมในกันและกัน แล้วชักชวนบุคคลอื่นให้กล่าวคำสมานเหมือนอย่างตนบ้าง ยินดีพวกกล่าวคำสมาน สรรเสริญพวกกล่าวคำสมาน นี้เป็นวาจาบริสุทธิ์ กล่าวคำเป็นหลักเป็นธรรมวินัย เมื่อต้องการหาความจริง สาวหาเหตุได้ ไม่ใช่ถ้อยคำเหลาะแหละเหลวไหล กล่าวคำเป็นหลักเป็นธรรมวินัยด้วยตนของตนแล้ว ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้กล่าวถ้อยคำเป็นธรรมเป็นวินัยเหมือนตนบ้าง ยินดีพวกกล่าวถ้อยคำเป็นธรรมวินัย สรรเสริญพวกกล่าวถ้อยคำเป็นธรรมเป็นวินัยเหมือนตน นี่เรียกว่า วจีสุจริต อีกอย่างหนึ่ง บริสุทธิ์ทั้งสี่ข้อนี้ รวมเป็นข้อละสี่ๆ เป็น ๑๖ ข้อ วาจาบริสุทธิ์ทั้ง ๑๖ ข้อนั้นแล้ว เรียกว่า วจีสุจริต
Thu, 16 May 2024 - 02min - 605 - การบังเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ ต้องบริสุทธิ์ด้วยกายนั้นเป็นไฉน
ในอัตตภาพเป็นมนุษย์ที่ได้ยากนั้นเป็นไฉน เพราะความบังเกิดขึ้นของมนุษย์ ต้องบริสุทธิ์ด้วยกาย บริสุทธิ์ด้วยวาจา บริสุทธิ์ด้วยใจ ไม่มีขาดตกบกพร่องเลย นั้นจึงจะได้อัตตภาพเป็นมนุษย์
ความบริสุทธิ์ด้วย กาย นั้น เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำลายชีวิตสัตว์ เว้นขาดจากถือเอาวัตถุที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมยและหลอกลวงต่างๆ ฉ้ อโกงต่างๆ คือเว้นจากถือพัสดุที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยเป็นของตน ชักชวนบุคคลอื่นไม่ให้ถือเอาพัสดุที่เจ้าของมิได้ให้ และยินดีในการที่ไม่ถือเอาพัสดุที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นจากประพฤติผิดในกาม และไม่สรรเสริญผู้ดำเนินด้วยกาย วาจาเช่นนั้น และไม่ยินดีพวกดำเนินพระพฤติเช่นนั้นตลอดไป นี้สามข้อแยกออกเป็นข้อละสี่ๆ เป็น ๑๒ ข้อนี้ เว้นขาดจากใจ ไม่ได้มีการกระทบจิตใจ ในกาย วาจา ตลอดถึงใจของตนเลย ดังนี้ได้ชื่อว่า บริสุทธิ์กาย
Wed, 15 May 2024 - 02min - 604 - 📚 กัณฑ์ที่ ๕๑ ของที่ได้โดยยาก ๔ ประการ
ทุลฺลภญฺจ มนุสฺสตฺตํ ความได้เป็นมนุษย์เป็นของได้ยาก พุทฺธุปฺปาโท จ ทุลฺลโภ ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นของได้ยาก เป็นประการที่สอง ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ ถึงพร้อมด้วยขณะด้วยสมัยเป็นของได้ยาก ประการที่ สาม สทฺธมฺโม ปรมทุลฺลโภติ พระสัทธรรมเป็นของได้ยาก อย่างนี้เป็นประการที่สี่
Thu, 09 May 2024 - 43min - 603 - สุขเลิศประเสริฐนัก ยอดสุขในภพมีเท่านี้ สูงกว่านี้ไม่มี
เมื่อหลุดขึ้น พอพ้นจากกามไปแล้ว ถึงรูปภพเข้าไปถึงรูปฌานทั้งสี่เข้า นึกถึงสุขของกาม ไอ้สุขของกามนั้นมันเศษสุข ไม่ใช่สุขจริงๆ เมื่อไปถึงอรูปฌานเข้า ไอ้สุขของรูปฌานนั่นนะ มันสุขอย่างหยาบนะ ไม่สุขละเอียดนุ่มนวล ชวนให้สบายอกสบายใจเหมือนอรูปฌาน เมื่อได้รับความสุขในอรูปฌานแล้ว สุขในอรูปฌานนี่มันสุขในภพ ไม่ใช่สุขนอกภพ นี่มันสุขต่ำทรามนะ พอไปถึงนิพพานเข้าก็ อ้อ! นี่มันสุขนุ่มนวล ชวนติดนัก นี่มันสุขจริง จะได้เล่าถึงสุขในพระนิพพานให้ฟังอีก เรื่องสุขในพระนิพพานนั้นมันสุขลึกซึ้งนัก พระพุทธเจ้ามีเท่าไรๆ ไปติดอยู่ในนั้นหมด พอติดเสียเช่นนั้น เหลวอีกเหมือนกัน ไปติดแต่นิพพานนั้น ต้องไม่ติดสุขแค่นี้ แล้วหาสุขต่อขึ้นไป ใคร่ที่จะหาสุขต่อขึ้นไป เขาเรียกว่า อปฺปสุขํ ไป ปหาย ละสุขอันน้อยเสีย ไปหาสุข สุขํ อาทาย ถือเอาสุขใหญ่ ปล่อยสุขขึ้นไป ไม่หยุดอยู่ในสุขแค่นั้น ถ้าไปหยุดแค่นั้น โง่ ไม่ฉลาด ถ้าปล่อยสุขขึ้นไปไม่มีที่สุดกันละก็ นั่นฉลาดละ อย่างพระพุทธเจ้า ผู้เป็นต้นธาตุ นี้ฉลาดเต็มที่ นี้แค่นี้ธรรมนั่นแหละนำความสุขมาให้นะ ผู้ใดถึงธรรม ผู้นั้นได้รับสุขด้วยประการดังนี้
Sat, 20 Apr 2024 - 05min - 602 - ผู้ประพฤติธรรมอยู่เสมอไม่ไปสู่ทุคติ
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรมเสมอ ไม่ไปสู่ทุคติ มีสุคติเป็นเบื้องหน้า ผู้ประพฤติธรรมเสมอ ไม่มีทุคติ มีสุคติเป็นไปในเบื้องหน้า เรียกว่า ธรรมนั้นนำความสุขมาให้ ธรรมนั้นนำให้ถึงสุคติเป็นเบื้องหน้า ไม่มีทุคติตลอดไป เมื่อเป็นผู้ประพฤติธรรมดังนี้แล้ว ผู้ประพฤติธรรมนะ รักษากาย วาจาใจ ให้บริสุทธิ์ไว้ ไม่ให้พิรุธไปได้ นี้ประพฤติธรรมให้บริสุทธิ์ ด้วยกาย วาจา ใจ ตลอดจนกระทั่งถึงใจเจตนา เจตนาก็บริสุทธิ์ ไม่มีพิรุธเข้าไปแทรกแซงได้ เข้าไปถึงใจ ใจก็ใส ไม่มีขุ่นมัวเศร้าหมองเข้าไปดองอยู่ในใจได้ ดังนี้เรียกว่าบริสุทธิ์ขั้นกายมนุษย์ บริสุทธิ์ขั้นกายมนุษย์ละเอียดเข้าไปอีก ละเอียดยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ที่สุดเข้าถึงกายทิพย์อีก ผู้ประพฤติธรรมนะ อุตสาหะให้ทาน รักษาศีล อุตส่าห์สดับรับฟังพระธรรมเทศนาอยู่เสมอ อุตส่าห์มีจาคะ สละสิ่งที่เป็นโทษ เป็นข้าศึกต่อคัมภีร์อยู่ร่ำไป มีปัญญารอบรู้รักษาตัว นี้ได้ชื่อว่าผู้ประพฤติธรรม
Thu, 18 Apr 2024 - 02min - 601 - สิ่งที่บุคคลทำได้ยาก
ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ กระทำกรรมที่บุคคลทำได้ด้วยยาก กระทำอะไร อะไรที่บุคคลทำได้ด้วยยาก นี่แหละภิกษุ สามเณร มาประพฤติตัวเช่นนี้แหละ เขายินดีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกัน นี่มันตัดห่วงตัดอาลัย มาบวชเป็นพระเป็นเณรเช่นนี้ หรืออุบาสก อุบาสิกาเขายินดีปรีดาในการครอบครองบ้านเรือนเคหา ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อยากหยอกหลอกลวง อะไรกันต่างๆ ดังนี้ ละมันเสีย ปล่อยมันเสีย นี้กระทำเช่นนี้ ที่บุคคลทำได้ด้วยยากเหมือนกัน ไม่ใช่ทางทำง่าย นี่ทำได้ยากทั้งนั้น เมื่อทำได้ยากเช่นนี้ ไม่ควรดูถูก ดูเบา อย่าประมาท เลินเล่อ อย่าเผลอตัว ทำให้ยิ่งหนักขึ้นไป ให้บรรลุธรรมที่พระองค์ทรงประสงค์ หนทางเบื้องต้นคือ ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ให้ปรากฏขึ้นในตัวของตัว จะได้เป็นที่พึ่งของตัว เหตุนี้ทำกรรมที่บุคคลทำได้ด้วยยากนะ อีกมากมายนัก ผู้ได้บรรลุผลศีล มีศีลบริสุทธิ์นี่ก็ทำได้ยาก ศีล ๕ บริสุทธิ์ ผู้ได้บรรลุศีล ๘ ศีลแปดบริสุทธิ์ นี่ก็ทำได้ยาก ผู้บรรลุศีล ๑๐ ศีลสิบก็บริสุทธิ์ เป็นเพศสามเณรก็ทำได้ยาก บรรลุศีล ๒๒๗ เมื่อบรรลุศีล ๒๒๗ ถ้ามีศีลบริสุทธิ์ ถ้าบรรลุปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา นี่ทำได้ยากทั้งนั้น ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ เหมือนกัน เป็นกรรมที่บุคคลทำได้ด้วยยาก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย ทำบริสุทธิ์อย่างเดียว ไม่มีพิรุธในกายวาจาใจเลย มีบริสุทธิ์กายวาจาใจอย่างเดียวนี้ ก็ทำได้ยากอีกเหมือนกัน ถ้าบุคคลใดทำได้ บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่า ทำกรรมอันบุคคลทำได้ด้วยยาก
Tue, 16 Apr 2024 - 03min - 600 - ให้เช่นนี้เรียกให้แบบแคบๆ ให้เช่นนี้เรียกให้แบบกว้างๆ
ที่เรียกว่าทานบารมีไม่ใช่ของให้ง่ายนะ คนเป็นพาล คนมีกิเลสหนาลามก ปัญญาหยาบ ลองหยิบขึ้นแล้วตัวสั่นเชียวหนา ทานที่มือถือไว้นะ เหงื่อแตกเหงื่อแตนเชียว มือเป็นเหงื่อเชียว ที่จะให้ได้แต่ละครั้งละคราน่ะ ต้องหัดจนกระทั่งชำนาญทีเดียว ให้เสียคล่องแคล่ว ให้เสียชำนาญในชาตินั้นแหละ จึงจะให้ได้ง่าย ถ้าว่าชาติเดียวภพเดียว ไม่ได้ให้ง่ายๆ ทีเดียว
บางคนเกิดมาไม่ได้เคยให้อะไรใครเสียเลย
บางคนก็เคยให้เสียจนชำนิชำนาญ ให้แต่เพียงว่าให้กับตัว
ให้กับลูกของตัว เพื่อความรุ่งเรืองแก่ตัว
ให้กับเมียของตัว เพื่อจะต้องการเอาไว้ใช้สอยตามชอบใจของตัว
ให้กับผัวของตัวให้ได้ เพื่อต้องการตอบแทน ถ้าไม่ตอบแทนก็ไม่ให้อีกเหมือนกันลูกนะเป็นเนื้อเป็นเลือดของตัวละ รักสนิทชิดชมเป็นประหนึ่งว่าดวงใจของตัวนั่น เป็นคล้ายๆ ทีเดียว จะได้ดำรงวงศ์ตระกูลต่อไป นี่ก็ให้มีความมุ่งหมายเหมือนกัน ให้มีความมุ่งหมายเหมือนกัน เพื่อจะได้เจริญในวงศ์ตระกูลต่อไป
ถ้าแม้ว่าเราให้เช่นนี้แคบ ไม่กว้าง
ถ้าให้ไว้เป็นกลางๆ กับภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา ให้เป็นตำราบุคคลดีต่อไป นี้ตัวไม่ได้มุ่งหมายอะไรเลย มิได้มุ่งหมายอะไรเลย หมายแต่บุญกุศลเท่านั้น จะสร้างบารมีของตนเท่านั้นให้อย่างนี้ เรียกว่าให้กว้าง ไม่แคบ ให้เป็นกลาง กว้างออกไป นี่คนมีปัญญาสูง
Sun, 14 Apr 2024 - 03min - 599 - 📚 กัณฑ์ที่ ๕๐ ปกิณกเทศนา
ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วย ปกิณกเทศนา เป็นเทศนาเรี่ยรายเบ็ดเตล็ดสำหรับเป็นเกร็ดของสัตบุรุษ อสัตบุรุษ เป็นเครื่องประดับสติปัญญาของเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ธรรมที่เป็นของสัตบุรุษอสัตบุรุษนี้ต่างกัน หาเหมือนกันไม่ เราจะได้รู้ได้เข้าใจว่า บัดนี้เราเป็นสัตบุรุษหรืออสัตบุรุษ ก็ไปฟังธรรมที่ผุดขึ้นในใจ หรือธรรมที่เป็นไปทั้งกาย เป็นสัตบุรุษก็รู้ว่าตัวเป็นสัตบุรุษ เป็นอสัตบุรุษ ก็รู้ว่าตัวเป็นอสัตบุรุษ หรือธรรมที่เป็นไปทางวาจา เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว กาย วาจาของเราก็จะรู้ว่าวาจาของเราเป็นสัตบุรุษ หรืออสัตบุรุษ หรือธรรมที่จะผุดขึ้นทางใจ ก็จะตัดสินตัวเองได้ว่า เป็นสัตบุรุษหรือ อสัตบุรุษ ความเห็นจะได้ไม่พิรุธ ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา
Wed, 10 Apr 2024 - 35min - 598 - ที่มันรบกัน ประเทศต่อประเทศต้องประหารกันอยู่นี่ เพราะเหตุมาจากอะไร
ความเห็นนั่นไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ รบกับเกาหลีนะ รบกับไต้หวันนะ เวลานี้นั่นนะรบกันยุ่งเหยิงหมด ยุ่งยากมากมายเทียวนะ นั่นแหละ นั่นเรื่องอะไรละ ทิฏฐาสวะ ความเห็นมันไม่ตรงกันหละ มันแก่งแย่งกันละ มันไม่ถูกต้องร่องรอยกัน อวดความเห็น อวดเชิดความเห็นกันหละ ต้องประหารซึ่งกันและกัน ไม่ใช่พอดีพอร้าย ทิฏฐิๆ นะ นั่งอยู่ดีๆ นะ ลุกขึ้นรบ ขึ้นต่อย ขึ้นยิง ขึ้นแทงกันทีเดียว นั่นเพราะอะไร ที่เป็นเช่นนั้นเพราะความเห็นของตัวไม่ตรงกัน ทำตามความเห็นของตัว ความเห็นมันก็มีรสมีชาติเหมือนกัน ไม่ใช่พอดีพอร้าย
Fri, 29 Mar 2024 - 01min - 597 - ภวาสวะ อาสวะของภพเป็นอย่างไร
อาสวะของภพนะ มีรสมีชาติแบบเดียวกัน ที่เราอาศัยอยู่นี้ สิ่งที่มี ที่เป็นแก่เรา นี้เรียกว่า ภพ รูปมามีมาเป็นแก่เรา ก็มีเป็นภพอันหนึ่ง ไม่ว่าอะไรหละ ถ้ามันมามีแก่เราผืน ก็เป็นภพอันหนึ่ง ไม่ว่าสิ่งอะไร ผ้านุ่งผ้าห่มมามีแก่เรา ก็เป็นภพ เรียกว่า ภพ ภพ แปลว่า มี ว่า เป็น มันมีปรากฏว่าเป็นภพขึ้น สิ่งที่มามีมาเป็น สิ่งนั้นที่มาปรากฏขึ้นแล้ว อยากได้บ้านเรือน บ้านเรือนมาปรากฏเป็นภพขึ้นแล้ว อยาก ได้ไร่ได้นา ไร่ นามาปรากฏขึ้นเป็นภพขึ้นแล้ว อยากได้อะไรสิ่งนั้นมาปรากฏเป็นภพขึ้น ที่มีเป็นเห็นปรากฏที่ เรากำหนดว่า เป็นเรา เป็นของเรา ก็นั่นแหละเป็น ตัวภพทั้ง นั้น กามภพ รูปภพ กามภพ ไอ้นั่นเป็นกามภพ รูปภพ ปรากฏ รูปภพ อรูปภพ สองประการนี้ กามภพติดอยู่ในกาม ติดอยู่กามนี้ รูปภพละ เอาพวกเทวดา พวกที่ได้ รูปฌาน อรูปฌาน ไปติดอยู่แกะไม่ออกอีกเหมือนกัน อรูปภพ ไปติดอยู่ในอรูปฌาน แกะไม่ออก ติดอยู่เหมือนกัน ต้องกลับมาเกิดเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่จบไม่แล้ว เพราะไอ้ที่ไปยินดีติดอยู่ในรูปภพ อรูปภพนะ นั่นอาสวะ มันตรึงเข้าไว้ ชาติมันมีอยู่ถอนไม่ออก ถอนเสียดายมัน จะทิ้งก็เสียดายมัน ถ้าจะถอนจริงๆ ก็เสียดายมัน มันไม่กล้าถอน เสียดายมัน ไอ้เสียดายนั่นตัวสำคัญนัก ถึงได้ติดอยู่ในภพ รูปภพ ก็ยิ่งติดอยู่ในรูปภพ อรูปภพ ติดแบบเดียวกันนั่น เพราะอาสวะมันดึงเข้าไว้ มันเป็นเครื่องเหนี่ยวเครื่องรั้งดึงดูดไว้ ผักเสี้ยนแท้ๆ ยังไม่ได้ดอง รสชาติไม่ดีเหม็นเขียว แต่เมื่อดองเข้า เปรี้ยวเข้า เค็มๆ ดีเท่านั้นแหละ มีรสอร่อยเกินผักเสี้ยน ผักเสี้ยนอร่อยเหลือเกิน น้ำพริกขี้หนูจิ้มให้ดีๆ หาแกล้มให้ดีๆ เข้า ว่าลืมอื่นหมดทีเดียว นั่นแหละรสของผักดอกหละ ไม่ใช่เล่น ตัวสำคัญ รสเหมือนกันหมดแบบเดียวกัน กามภพก็ดี รูปภพก็ดี ที่ติดอยู่ในภพนะ ติดอยู่ในรสชาติของภพนั่นเอง ในกามภพที่มีรสชาติของภพนั่นเอง ในกามภพที่มีรสชาติสำคัญนัก รูปภพ ก็มีรสชาติประเสริฐเลิศกว่ากามภพอีก อรูปภพก็เลิศประเสริฐๆ กว่ากามภพอีก ประเสริฐเลิศกว่ารูปภพอีก นี้ให้รู้ว่า อาสวะของภพนะเป็นอย่างนี้
Wed, 27 Mar 2024 - 04min - 596 - กาม กิเลสกาม อาสวะของกามแตกต่างกันอย่างไร
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ เป็นตัวพัสดุกาม ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นเป็นตัวกิเลสกาม ก็อาสวะของกามนะ อะไรละ ไอ้รูปที่เราแลเห็นนะ มันมีรสนา มันมีรสทีเดียวแหละ ถ้าตามไปเห็นถูกส่วนมันเข้าละก็ โอ้!เอาละ กินไม่ลง นอนไม่ลงละ กระสับกระส่าย ทีเดียว รสมันขึ้นแล้ว รสไอ้เห็นมันขึ้นแล้ว มันดึงดูดแล้ว ไอ้ดึงดูดเป็นรส นั่นแหละเป็นตัวอาสวะทีเดียว ไอ้เสียงละ ถ้าฟังๆ พอดีพอร้ายละไม่ถนัดถนี่ ไปฟังเข้าช่อง เข้ากระแสเข้าคูมันละ ก็ติดหมับทีเดียว ลืมไม่ได้ทีเดียว นั่งคิดนอนคิดทีเดียว ไอ้เสียงนั่นแหละมันเป็นอาสวะ เป็นรสของเสียง ของกลิ่น รสของรส ไอ้รสของกลิ่นนะ ไอ้พวกที่ไปถูกกลิ่นพอดีพอร้ายเข้า ก็พอดีพอร้ายอยู่ ไอ้เมื่อไปถูกกลิ่นไปถูกตัวกามมันเข้า ไปถูกอาสวะมันเข้า เอาหละตานี้ไปติดไอ้กลิ่นนั่นเข้าอีกแล้ว ไอ้รสก็เหมือนกัน ลิ้มรสไปเถอะ ถ้าว่าไปถูกอาสวะของกามเข้า เอาหละเข้าไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะเป็นจะตายหละ เพราะไอ้อาสวะนั่นมันบังคับอยู่ ติดในรสอยู่ สัมผัส สัมผัสละ อย่างไรก็สัมผัสไปเถิด ถ้าไปถูกอาสวะของกามเข้าละก็ เอ้าละถอนจากเรือนไม่ออกทีเดียว อยากจะให้ถึงเวลาสัมผัสอยู่ร่ำไป ว่าไอ้นี่ร้ายนักๆ ทีเดียว นี่สัมผัสนี่สำคัญนัก นี่อาสวะมันบังคับ เราอย่างนี้นะ
Wed, 27 Mar 2024 - 03min - 595 - ภิกษุสามเณรบวชเป็นสมภารอายุ ๔๐ ๕๐ สึกไปเพราะอะไร
ไอ้ใจไปเจอะกับรูป เสียง กลิ่น รส นั่น ถอนไม่ออกอีกเหมือนกัน ถอยไม่ออกอีกเหมือนกัน หนักเข้าถึงกับเตรียมเครื่องมือ ได้เงินได้ทองเก็บไว้ เก็บไว้ นี่พอสินสอดแล้วนี่ พอปลูกเรือนหอแล้ว อายุ ๔๐-๕๐ สึกหัวโด่ นั่นแน่จับได้ ติดอะไรละ ติดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ แก้มันไม่หลุด แกะไม่หลุด เพราะเหตุอะไรมันถึงแกะไม่หลุด เข้าไม่ถึงธรรมทางพุทธศาสนา ที่เข้าจริงเข้าไม่ถึงอะไร เข้าไม่ถึงศีล ดวงศีลจริงๆ เข้าไม่ถึง เป็นแต่รู้จักศีล รู้จักหลั่วๆ ไม่เห็นดวงศีลจริงๆ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไม่เห็น ทำไม่เป็น ไม่เห็นปรากฏก็ยังสงสัยไม่หมดสิ้นอยู่ร่ำไป ก็ต้องสึกออกมาเพราะเข้าไม่ถึงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
Mon, 25 Mar 2024 - 02min - 594 - ธรรมกายโคตรภูยังเป็นปุถุชนสาวก ไม่ใช่อริยสาวก
ถ้าว่ายังไม่ขาดจากโคตรภูบุคคล ยังไม่เข้าถึงอริยภูมิ ยังเป็นโคตรภูสาวกอยู่ หรือยังเป็นปุถุชนสาวกอยู่ นี้สาวกของพระพุทธเจ้ามีขีดแค่นี้ ถ้าเข้าถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ดังนี้แล้ว ก็ว่า ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค แต่ว่าชั้นสาวกชั้นเป็นโคตรภูนี้ ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนสาวก ไม่ใช่อริยสาวก
Sat, 23 Mar 2024 - 01min - 593 - ธรรมะของพระพุทธเจ้ามี ๕ ประการ มีห้านั้นคืออะไร
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
ตามตำราท่านวางไว้ว่า ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหา วิมุจฺจตีติ ผู้ใดมาพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ องค์นั้นคืออะไร สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัป_โป ๒ สัมมาวาจา ๓ สัมมากัมมันโต ๔ สัมมาวายาโม ๕ สัมมาอาชีโว ๖ สัมมาสติ ๗ สัมมาสมาธิ ๘ มี ๘ แล้ว สัมมาญาณ ๙ สัมมาวิมุตติ ๑๐ แล้ว มีองค์ ๑๐ อย่างนี้
องค์ ๘ นั้นย่น ลงเป็นองค์ ๓ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป นี่ย่นเข้าเป็นปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ย่นลงเป็น ศีล สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่นลงเป็น สมาธิ รวมเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ ถ้าได้ ๓ แล้วเติม สัมมาญาณ ๔ สัมมาวิมุตติ เป็น ๕
นี่แหละผู้ใดมาตามพร้อมด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล้ว ผู้นั้นจะพบหลักฐานของพระพุทธศาสนาอย่างแน่ นี่อาศัยดวงธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ได้เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ หลักนี้เป็นสำคัญนัก ต้องเข้าถึงหลักนี้ให้ได้ หญิงก็ดี ชายก็ดี คฤหัสถ์ บรรพชิตไม่ว่า ถ้าเข้าถึงหลักนี้ไม่ได้ จะไม่ถึงพระพุทธศาสนา จะบวชเป็นพระเป็นเณร เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็อย่างนั้นแหละ ไม่มีรสชาติอะไร
Thu, 21 Mar 2024 - 03min - 592 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๙ การแสดงศีล (สีลุทเทส)
ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในสีลุทเทส แสดงเรื่อง ศีลเป็นเหตุ มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิเป็นต้นเหตุ มีปัญญาเป็นอานิสงส์ ปัญญา เป็นต้นเหตุ อบรมจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ในข้อนั้นท่านทั้งหลายพึงกระทำโดยความไม่ประมาทเถิดประเสริฐนัก ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงวางตำรับตำราไว้ เป็นแบบแผนแน่นหนา ทรงตรัสเทศนาโปรดเวไนยสรรพสัตว์อยู่ ๔๕ พรรษา เมื่อรวบรวมธรรมวินัยไตรปิฎกของพระบรมศาสดาแล้ว ก็คงเป็น ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เรื่องนี้พระเถรานุเถระ มีพระมหาอริยกัสสปเป็นประธาน ได้สังคายนาร้อยกรอง ทรงพระธรรมวินัยเป็นหลักฐาน เรียกว่าพระวินัย พระสูตร พระปรมัตถ์
วันนี้ตั้งใจจะแสดงพระธรรมเทศนาถึงเรื่องอาสวะเหล่านี้ จะแสดงถึงเรื่องอาสวะ อวิชชาสวะ ตั้งใจจะแสดงอย่างนี้ กามาสวะ กามก็มีอาสวะเหมือนกัน ตัดออกเป็นสองบท กามอย่างหนึ่ง อาสวะอย่างหนึ่ง กามกับอาสวะ ภวาสวะ ตัดออกเป็น ภวอันหนึ่ง แต่ว่าภวนั่นตัดเป็นภพ อาสวะอีกอันหนึ่ง ภพกับอาสวะติดกันอยู่ แสดงอาสวะทั้ง ๔ ทีเดียว ทิฏฐาสวะ ความเห็นผิด ทิฏฐิอันนั้น แปลว่า เห็นผิด อาสวะมีอันหนึ่งอีกเหมือนกัน อาสวะในความเห็นผิด อวิชชาสวะ อวิชชา บทหนึ่ง อาสวะอีกบทหนึ่ง มันติดกันได้อย่างนี้ นี่ถ้าไม่ได้เรียนบาลีก็ไม่เข้าใจ เนื้อความเหล่านี้ก็เป็นอย่างเดียวกัน
Sun, 17 Mar 2024 - 56min - 591 - นี่ล่ะคนมีประโยชน์
ราตรีล่วงไป ชั้นของวัยละลำดับไป นั้นเป็นภัยในความตายเทียวนะ ตัวตายทีเดียวไม่ใช่ตัวอื่นละ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ เมื่อรู้ชัดจริงลงไปเช่นนี้แล้ว อย่างมุ่งอื่น มุ่งแต่บำเพ็ญการกุศลไป ที่จะนำความสุขมาให้แท้ๆ ไม่ต้องไปสงสัย เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ ผู้มีปัญญาได้รู้เนื้อความของบาลีแม้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว สาธุกํ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
Mon, 04 Mar 2024 - 02min - 590 - ผู้มีปัญญาพึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ไร้ประโยชน์
ผู้มีปัญญารู้ความของบาลีเพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ไร้ประโยชน์พึงปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตน ในวันหนึ่งๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ถ้าปล่อยความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก็ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่เป็นลูกศิษย์พระ บ่าวพระ เป็นลูกพญามารเป็นบ่าวพญามาร พึงปฏิบัติชีวิตของตน อโมฆํ ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เปล่าประโยชน์ จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอ ในความบริสุทธิ์ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราท่านทั้งหลาย แม้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราทานทั้งหลายอยู่ชัดๆ อย่างนี้ เราพึงปฏิบัติตามเถิด สมกับพบพระบรมศาสดา
Sat, 02 Mar 2024 - 02min - 589 - บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว มุ่งทำแต่กุศล
ชีรนฺติ เวยา ธนตฺถา สุจิติ วา อโถ สรีรญฺปิ สรํ อุปฺโปติ ปปญฺจธมฺโม สครํ อุเปติ ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ ราชรถอันงดงามย่อมถึงซึ่งความเสื่อมทรามไปแม้สรีระร่างของเราท่านทั้งหลาย นี้ละ สรีระร่างกายก็ย่อมเข้าถึงความทรุดโทรม ไม่ยักเยื้องแปรผันไปข้างไหน ทรุดโทรมหมดเหมือนกัน หมดเป็นลำดับๆไป ย่อมเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม ธรรมของสัตตบุรุษ ย่อมหาเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ดำรงคงที่อยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้น เป็นธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่สลาย ไม่เสียหาย ไม่เข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม
Thu, 29 Feb 2024 - 02min - 588 - ชนผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีแก่นสาร
หญิง ชายเหล่าใด เจริญด้วยศรัทธาความเชื่อมั่นในขันธสันดานละชั่วขาดแล้ว ไม่กลับกลอกแล้ว เหลือแต่ดีแล้วฝ่ายเดียวแล้ว เจริญด้วยศีลเจริญด้วยสุตตะ นี่ก็เป็นฝ่ายดี เจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยปัญญา หญิงชายเหล่าใดที่เจริญในทางจิตด้วยศีล ด้วยจาคะ ด้วยสุตตะ ด้วยปัญญาแล้ว สาตา สีสี ลภตี อุปฺปาติกา หญิงชายเช่นนั้น ชื่อว่าประพฤติเป็นปกติ หญิงชายเหล่านั้น ชื่อว่าประพฤติเป็นระเบียบเรียบร้อยดี มั่นในพระรัตนตรัยแท้ มั่นในพระรัตนตรัย อาทิยติ สารมิเทว อตฺตโน ได้ชื่อว่า ยึดแก่นสารของตนไว้ได้
Wed, 28 Feb 2024 - 01min - 587 - ธรรมที่ทำให้เป็นกายแต่ละกาย
กายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นได้ด้วยบริสุทธิ์ กาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโพหาริกไปด้วย บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ได้ธรรมดวงนั้น ธรรมที่ทำให้เป็นเทวดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ต้องเติม ทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ไปในความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อีก มันก็ได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายเทวดาเป็นลำดับไป ทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหมละ ได้ด้วยรูปฌาณทั้ง ๔ ได้ สำเร็จรูปฌานแล้ว ให้สำเร็จธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ธรรมเป็นอรูปพรหมเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็ได้ด้วย อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั่นแหละสำหรับเติมลงไป ในธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก จึงจะได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมขึ้น ทั้งหยาบทั้งละเอียดดังนี้
Wed, 28 Feb 2024 - 01min - 586 - ทิ้งทั้งนั้น ว่างเปล่า เอาอะไรไปไม่ได้เลย
วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตรู้ว่าไม่ใช่ตัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะความเป็นสภาพไม่เป็นไปตามอำนาจเลยและเป็นปฏิปักษ์แก่ตัวเสียด้วย อตฺตวิปกฺขภาวโต เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตน สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เป็นสภาพว่างเปล่าหมดทั้งสากลโลก เราก็ว่างเปล่า เขาว่างเปล่า ว่างเปล่าหมดทั้งนั้น เอาอะไรมิได้ หาอะไรมิได้เลย โบราณต้นตระกูลเป็นอย่างไรหายไปหมด ว่างเปล่าไปหมด หาแต่คนเดียวก็ไม่ได้ ว่างเปล่าอย่างนั้ไม่มีเจ้าของ เอ้า! ใครล่ะมาเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ คนไหนเล่าเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ ด้วยกันทั้งนั้น เป็นเจ้าของไม่ได้เลย ของตัวก็ต้องทิ้ง เอาไปไหนไม่ได้ ทิ้งทั้งนั้น ยืนยันว่าเหมือนของขอยืมเขาใช้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องส่งคืนทั้งนั้น เอาไม่ได้ เอาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น
Sun, 25 Feb 2024 - 02min - 585 - ดังของที่ยืมเขามา ในไม่ช้าต้องคืนเขาไป
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเสมอ ดับไปเสมอ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้นดับไป สพฺพนฺต นิโรธธมฺมํ ดับไป ถ้าย่นลงไปแล้วก็มีเกิดดับ นี่ตรงกับ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้ เมื่อเกิดดับดังนี้แล้ว เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาถ ตาวกาลิกตาทิโต เมื่อเป็นอย่างนี้ความเกิดและดับ ความดับ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมาร อนิจฺจาถ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง เพราะความเกิดขึ้นแล้ว เพราะความมีแล้วหามีไม่ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง เพราะความมีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นเหมือนดังของขอยืม เหมือนเราท่านทั้งหลายบัดนี้ มีเกิดมีดับเรื่อยไป รูปธรรมนามธรรมที่ได้มานี้ มีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นดังของขอยืมเหมือนกันทุกคนต้องขอยืมทั้งนั้น ผู้เทศน์นี่ก็ต้องคืนให้เขา เราๆ ทุกคนก็ต้องคืนทั้งนั้น ขอยืมเขามาใช้ ไม่ใช่ของตัวเลย ความเป็นจริงเป็นอย่างนี้
Thu, 22 Feb 2024 - 02min - 584 - ปฏิจสมุปบาท อวิชชานี่ล่ะ คือตัวเหตุด้วยปัจจัยด้วย
อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ความรู้ เมื่อมีความรู้ขึ้นแล้ว วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป มันก็ไปยึดเอานามรูปเข้า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะเข้าประกอบ อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะ เข้าแล้วก็รับผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหามีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไป กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อได้ภพแล้ว ก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์เดียรัจฉานก็ดี ที่กำเนิดเกิดด้วยอัณฑชะ เกิดจากสังเสทชะ อุปปาติกะ เกิดด้วยชลาพุชะ สังเสทชะ เหงื่อไคล อัณฑชะเกิดเป็นฟองไข่ ชลาพุชะเกิดด้วยน้ำพวกมนุษย์ อุปปาติกะลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรกนี่อุปปาติกะ นี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้ว เกิดไม่ได้ อวิชชา นะ เป็นเหตุด้วยแล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิงเป็นชายเป็นคฤหัสถ์บรรพชิตเกิดมาได้อย่างนี้
ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าอันใดทั้งสิ้นต้องมีเหตุเป็นแดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุเกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวารระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น
Wed, 21 Feb 2024 - 03min - 583 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๘ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา เริ่มต้นแต่ความย่อย่นธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา พระองค์ได้รับสั่งด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ไม่มีเหตุแล้ว ธรรมก็เกิดไม่ได้ นั้นเป็นข้อใหญ่ใจความทางพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญาจะพึงได้สดับในบัดนี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้ นี่เนื้อความของพระบาลีแห่งพุทธภาษิต คลี่ความเป็นสยามภาษาอรรถาธิบายว่า คำว่าเหตุนั้น ในสังคหะแสดงไว้ ฝ่ายชั่วมีสาม ฝ่ายดีมีสาม ดังพระบาลีว่า โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีเหตุสามดังนี้ เพราะท่านแสดงหลักไว้ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้นะ ท่านแสดงหลักยกเบญจขันธ์ทั้ง ๕ มี อวิชชาเป็นปัจจัย วางหลักไว้ดังนี้ อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ เวทนา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม เบญจขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชา เป็นต้น เกิดอย่างไร เกิดแต่เหตุ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นต้นดังในวาระพระบาลีที่ท่านวางเนติแบบแผนไว้ว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ดังนั้นเป็นต้น อวิชชาความรู้ไม่จริง มันก็กระวนกระวายนิ่งอยู่ไม่ได้ ความรนหาความรู้จริงนั่นแหละ มันก็เกิดเป็นสังขารขึ้น รู้ดี รู้ชั่ว รู้ไม่ดีไม่ชั่วเข้าไปว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ความรู้ เมื่อมีความรู้ขึ้นแล้ว วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป มันก็ไปยึดเอานามรูปเข้า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะเข้าประกอบ อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะ เข้าแล้วก็รับผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหามีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไป กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อได้ภพแล้ว ก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์เดียรัจฉานก็ดี ที่กำเนิดเกิดด้วยอัณฑชะ เกิดจากสังเสทชะ อุปปาติกะ เกิดด้วยชลาพุชะ สังเสทชะ เหงื่อไคล อัณฑชะเกิดเป็นฟองไข่ ชลาพุชะเกิดด้วยน้ำพวกมนุษย์ อุปปาติกะลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรกนี่อุปปาติกะ นี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้ว เกิดไม่ได้ อวิชชา นะ เป็นเหตุด้วยแล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิงเป็นชายเป็นคฤหัสถ์บรรพชิตเกิดมาได้อย่างนี้ ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าอันใดทั้งสิ้นต้องมีเหตุเป็นแดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุเกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวารระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น
Tue, 13 Feb 2024 - 42min - 582 - หาความสุขในความทุกข์
เราต้องการความสุขนัก แต่หาความสุขในความทุกข์
ไม่หาความสุข ในเหตุของความสุข
หาความสุข ในเหตุของความทุกข์
หาความสุขเป็นอย่างไรละ หาเงินให้มากๆ เข้า แต่พอได้เงินมากเข้าเป็นอย่างไรละวะ เดือดร้อนเป็นจ้าละหวั่นเทียว
ต้องรักษาเงินทองเหล่านั้น ก็ฉันว่าเป็นสุขหาเงินทองเหล่านั้น หามาเถอะ ถ้าว่าในป่าในดอนเป็นอย่างไร
หามาได้สักแสน สักล้าน มนุษย์มันก็รู้กันทีเดียว ก็คุมพวกปล้นฆ่าทีเดียว นั่นเห็นแล้ว เงินทองเป็นสุขซิ อ้าว..เงินทองเป็นทุกข์เสียแล้ว หาเป็นสุขไม่
เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ละก็ เอาเป็นมั่งมีละ เอ้า..ยกแผ่นดินให้ปกครองเสียทีเดียวเป็นอย่างไรบ้าง ?
โธ่! ถูกปกครองแผ่นดิน ผมไม่รู้เลยขอรับ ว่ามันจะเป็นอย่างนี้ ถ้ารู้อย่างนี้ละก็ไม่รับทีเดียว เดี๋ยวนี้มันขึ้นนั่งบนหลังราชสีห์แล้ว จะลงมันก็กัดตาย ก็จำเป็นต้องขี่มันไปอย่างนี้เอง กลัวก็กลัวมันเหมือนกันเพราะฉะนั้น ผู้ปกครองก็กลัวชีวิตเหมือนกับอยู่บนหลังราชสีห์ นั่นเหตุเป็นที่ตั้งของความทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่เหตุเป็นที่ตั้งของความสุข
เหตุเป็นที่ตั้งของความสุข ก็เหมือนพระสิทธารถราชกุมาร ทิ้งราชสมบัติแสวงหาพุทธการกธรรม พอได้พุทธการกธรรม ก็ได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้พบตัวยอดสุขทีเดียว
นี่ท่านรอดไปอย่างนี้
ถึงซึ่งความไม่เบียดเบียน
ถึงซึ่งความเป็นผู้ระวังในสัตว์ทั้งหลาย
ถึงซึ่งความเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี
ถึงซึ่งผู้ก้าวล่วงซึ่งกามทั้งหลายไป
เป็นผู้ถอนอัสมิมานะเสียได้เอตํ เว ปรมํ สุขํ นี่แหละเว้ย เป็นสุขอย่างยิ่ง ความจริงเป็นอย่างนี้
เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ก็จำไว้เป็นเนติแบบแผนสืบต่อไปWed, 07 Feb 2024 - 03min - 581 - จงพยายามให้มีธรรมกายขึ้นเถิด เลิศกว่าฌาณ
บัดนี้ ที่วัดปากน้ำนี่นะมีธรรมกาย สูงกว่าฌานนั่นอีก โอ้ย..นั่นสู้ไม่ได้ไกลกว่าฌานนั่นอีก เขามีธรรมกายกัน
ถ้ามีความกำหนัดยินดีเวลาใด แพร็บเข้าธรรมกายไป ความกำหนัด ยินดีทำอะไรไม่ได้เลย ล้อมันเล่นเสียก็ได้ มันทำอะไรไม่ได้ ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้
ที่เราเป็นผู้ครองเรือนน่ะ ความกำหนัดยินดีมันบังคับ เหมือนกับเด็กๆ ตามชอบใจมัน จะทำอะไรก็ทำตามชอบใจของมัน ความกำหนัดยินดีมันบังคับ มันบังคับเช่นนั้นแล้ว
เราเข้าธรรมกายเสีย ไม่ออกจากธรรมกาย ความกำหนัดยินดีที่มันบังคับนั่น หายแวบไปแล้ว เหมือนไฟจุ่มน้ำ
จงพยายามให้มี ธรรมกาย ขึ้นเถิด เลิศกว่าฌานMon, 05 Feb 2024 - 01min - 580 - เข้าปฐมฌาณเสีย กามทำอะไรเราไม่ได้
ติดอยู่กับกาม เหมือนกับนั่งอยู่ในกองไฟ หรือนั่งอยู่ในกลางแดดจัด ทนไม่ค่อยไหว ไม่สบาย
พอไปอยู่กับฌานเสีย เหมือนเข้าร่ม สบายจริง เหมือนเข้าร่มที่เย็นมีน้ำล้อมอยู่ข้างๆ ทั้งเย็น ทั้งชื่นมื่น ทั้งสบาย
ใจไปจรดอยู่กับรูปฌาน รูปฌานนะ ลักษณะเหมือนยังกับกงเกวียนเป็นเหมือนกระจก แผ่นกระจก หนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา กลมๆ ไม่ใช่กลมรอบตัว กลมเหมือนกับกงเกวียนวงล้อต่างๆ กลมๆ เป็นแผ่นเดียวเหมือนกระจก กลมรอบตัว แล้วก็ข้างๆ ก็เรียบร้อยเป็นอันดี ข้างหน้า ข้างหลังเรียบร้อยดี
ส่วนกายรูปพรหม ก็เข้านั่งอยู่บนกลางปฐมฌานนั่น พอขึ้นนั่งบนนั้นเท่านั้น เย็นอกเย็นใจสบายใจ ก็ติดอยู่กลางดวงปฐมฌานนั้น
พอใจจรดอยู่กับกลางดวงปฐมฌานได้ มันชื่นมื่น สบาย ความสบายของปฐมฌานนะวิเศษวิโสนักเขาเล่าเรื่องว่า มหากษัตริย์องค์หนึ่ง ได้บรรลุปฐมฌานแล้ว สละราชสมบัติให้ ราชโอรสปกครองไป ตัวไปเป็นฤาษี ชีไพรเสียภายนอกนั่น
ฝ่ายผู้ได้รับรัชทายาทนั้นไม่อาจจะปกครองได้ ให้ไปตามบิดามา มหาดเล็กเด็กชายก็ไปพร้อมกัน ผู้คนสกลโยธามากมายหลาม ไปทีเดียว ไปตามพระเจ้าแผ่นดิน
เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเดิมผู้สละราชสมบัติไปเสียนั่นนะ เป็นผู้ปกครองมีความสงบเงียบเรียบร้อยดี มหากษัตริย์ไปถึง กำลังเข้าฌานสมาบัติอยู่เข้าไปคอยอยู่ จนกระทั่งมีโอกาสออกมา ก็เข้าไปทูลว่า
พระองค์เชิญพระองค์เสด็จกลับเสวยราชสมบัติ ไม่มีใครสามารถจะปกครองได้
มหากษัตริย์ก็ลืมพระเนตรขึ้น ก็ไถ่ถามเรื่องราว รู้เรื่อง เอ็งกลับไปเถอะข้าจะเข้าฌานของข้า ข้าไม่ต้องการแล้วสมบัติ ข้าอยู่ในฌานของข้า สบายกว่า อยู่เป็นกษัตริย์ข้าไม่สบายเลย ข้าเดือดร้อนนัก
นั่นแน่ถึงขนาดนั้น ถึงขนาดนั้น อ้อ! การเข้าฌานนี่มันเลิศประเสริฐอย่างนี้หรือ ร่มเย็นเป็นสุขอย่างนี้
ที่จะละกามได้ต้องเข้าฌาน เข้าปฐมฌานเสีย กามทำอะไรเราไม่ได้Sat, 03 Feb 2024 - 04min - 579 - ก้าวล่วงเสียซึ่งกามทั้งหลาย
กามทั้งหลายนั้น คือ อะไรเล่า
รูปที่ชอบใจนะซิ
เสียงที่ชอบใจ
กลิ่นที่ชอบใจ
รสที่ชอบใจ
สัมผัสที่ชอบใจ
เรียกว่าปปัญจธรรม ธรรมที่ทำสัตว์ให้เนิ่นช้า ไม่เป็นอันที่จะให้มีเวลาให้ทาน จำศีล ภาวนาความยินดีในรูป ถอนไม่ออก
ยินดีในเสียง ถอนไม่ออก
ยินดีในกลิ่น ถอนไม่ออก
ยินดีในรส ถอนไม่ออก
ยินดีในสัมผัส ถอนไม่ออก
จะหยุดจะยั้งเสียก็ไม่ได้ เสียดายห่วงใยอาลัย ละไม่ได้ วางไม่ได้
ทำอย่างไรเล่าคราวนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
ก้าวล่วงไม่พ้นจมอยู่ในความสุข
จมอยู่ในปลักของความสุขนั่น ถอนไม่ออก
จมอยู่ในปลักของความทุกข์นั่น ถอนไม่ออก
เพราะธรรมนั่นทำสัตว์ให้เนิ่นช้า
ให้เดือดร้อน ทุรนทุราย กระสับกระส่ายต่างๆ นานา เป็นอยู่อย่างนี้ทั่วสากลโลก เพราะก้าวไม่ข้ามหามไม่พ้นยินดีในรูป ติดอยู่ในรูป
ยินดีในเสียง ติดอยู่ในเสียง
ยินดีในกลิ่น ติดอยู่ในกลิ่น
ยินดีในรส ติดอยู่ในรส
ยินดีในสัมผัส ติดอยู่ในสัมผัส
ธรรม ๕ อย่างนี้ ทำให้สัตว์เนิ่นช้า เรียกว่า ปปัญจธรรม
ปปัญจธรรมทั้งห้านี้เป็นตัวกามแท้ๆ เรียกว่าเป็นตัวพัสดุกาม และเป็นที่ตั้งของกิเลสกามด้วยรูปนั่นแหละเป็นตัวพัสดุกาม ที่สวยๆ งามๆ ก็เป็นพัสดุกาม ความยินดีมันก็ไปติดมากขึ้น
เสียงที่เพราะๆ งามๆ นั่นแหละเป็นตัวพัสดุกามแท้ๆ เป็นที่ตั้งของความยินดีหนักขึ้น
กลิ่นที่หอมๆ ที่จับใจ นั่นแหละเป็นตัวพัสดุกามแท้ๆ เป็นที่ตั้งของความยินดีมากขึ้น
รส เป็นที่ชอบอกชอบใจ คือรสชาติที่เลิศที่ประเสริฐ นั่นแหละเป็นพัสดุกามแท้ๆ เป็นที่ตั้งของความยินดีหนักขึ้น
สัมผัสทางกายเป็นที่ชอบใจของกาย นั่นแหละเป็นตัวพัสดุกามแท้ๆ เป็นที่ตั้งแห่งความยินดี หนักขึ้น
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ นี้เป็นตัวพัสดุกาม
ความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส และในสัมผัสนั้นเป็นตัวกิเลสกาม
ถ้าก้าวไม่พ้น ติดอยู่ในตัวพัสดุกามเหล่านี้แล้ว ต้องเป็นทุกข์เนืองนิตย์อัตรา หัวเราะบ้าง ร้องไห้บ้าง ต่างๆ นานา ไม่เสื่อมสร่าง
ต่อเมื่อใดก้าวล่วงปัญจวิธกามคุณทั้งห้า ทั้งตัวพัสดุกาม ทั้งตัวกิเลสกามนี้ ปล่อยวางเสียได้ ก้าวพ้นไปเสียได้Tue, 30 Jan 2024 - 04min - 578 - ความเบียดเบียน เริ่มตั้งแต่มนุษย์ต้นกัป
โลกก็เกิดขึ้นใหม่ๆ ยังมีมนุษย์น้อยอยู่ ลงมากินง้วนดินแล้ว ก็เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ก็จ๊อหลออยู่ในแผ่นดินนี้ ต่อไปๆๆๆ ก็ได้กายนั้นก็กลายมาเป็นมนุษย์เป็นลำดับไป
กลายไปอยู่สมัครสังวาสในกันและกัน ได้เกิดมนุษย์ขึ้น
เมื่อเกิดมนุษย์ในตอนต้น ก็มีน้อยคนไม่สู้จะเบียดเบียนกันนัก แล้วมนุษย์มากขึ้นเป็นลำดับ
มนุษย์เริ่มเบียดเบียนกัน ใกล้เคียงกันก็ทะเลาะบาดหมางให้ประหัตประหารกัน ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ก็เกิดเบียดเบียนกันขึ้น ทุบตีฆ่าฟันกัน
ครานั้นโลกได้รับความเดือดร้อน เพราะเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ด้วยการให้ประหัตประหารซึ่งกันและกัน ทุบตีฆ่าฟันซึ่งกันและกัน
ผู้ที่มีปัญญา ก็ต้องแก้ไขให้มนุษย์เลิกเบียดเบียนกันเสีย
เมื่อหยุดเบียดเบียนกัน ก็เป็นสุขทีเดียว
ต่อเมื่อเบียดเบียนกันอีก ความคับคั่งเข้ามากมนุษย์ด้วยกัน แย่งชิงอาหารในกันและกัน ฉกลัก หลอกลวงในกันและกันเป็นทุกข์อีก มนุษย์เหล่านั้นเกือบจะโลกแตกทีเดียว
ผู้มีปัญญาก็ต้องแก้ไข ให้เลิกฉกลัก หลอกลวง ล่อหลอนในกันและกันเสีย ฉะนั้นโลกก็เป็นสุขสงบไปอีกต่อมาอีกมากมนุษย์เข้า มีความกำหนัดยินดีกันเกินไป ประทุษร้าย สับสนกัน ไม่ว่าลูกใครเมียใครตามชอบใจของตัวเองอีกแล้ว โลกแตกอีกแล้ว
มนุษย์ผู้มีปัญญาก็แก้ไข ให้มนุษย์พวกนั้นเลิกประทุษร้ายในกัน และกัน เลิกผิดในกามเสีย ให้ยินดีเฉพาะคู่ครองของตนๆ มนุษย์พวกนั้นก็สงบเงียบได้รับความสุขไปอีกต่อมาอีก มนุษย์มากขึ้น เกิดขี้ปด ขี้โป้กันขึ้นแล้ว ไม่จริงแล้วถ้อยคำสำเนียง หลอกลวง ล่อหลอก ฉ้อโกงกันต่างๆ แล้ว เกิดถ้อยคำตลบแตลงไปแล้ว เดือดร้อนแทบจะถล่มทลายอีก
มนุษย์ผู้มีปัญญาแก้ไขอีกสงบเสีย มนุษย์พวกนั้นก็ได้รับความสุขใจ เพราะสงบในการเบียดเบียน ในการหลอกลวง ล่อหลอน พูดไม่จริง กลับพูด จริงกันเสียหมด มนุษย์ก็ได้รับความสุขครั้นต่อมา มนุษย์สนุกกันใหญ่ บริโภคสุรากันขึ้นหมด ไอ้ที่ข้อกฎหมายวางกันไว้ เท่าไรๆ ถล่มทลายหมด โลกจะแตกจะทำลายคราวนี้
ทำอย่างไรกันละ เกิดเหตุยกใหญ่ เกิดอลหม่านทีเดียว
ผู้มีปัญญาก็ต้องแก้ไข ให้สงบให้เลิกสุรากันเสีย งดสุราเสียให้ขาด ไม่บริโภคสุรากัน สิ่งที่ทำให้เมาเลิกกัน มนุษย์ก็ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขไป
นี่ต้นเดิมของมนุษย์นะ เดือดร้อนแล้วก็สงบกันได้ด้วยวิธีนี้Sat, 27 Jan 2024 - 04min - 577 - ต้องอาศัยพระพุทธศาสนาจึงจะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
ความเบียดเบียนนี้แหละสำคัญนัก ถ้าเลิกเบียดเบียนกันเสียได้ ตระกูลหนึ่งมารดาบิดาลูกหญิงลูกชาย ก็ไม่ต้องแตกแยกจากกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นหมู่เป็นพวกกัน อยู่ได้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวในกันและกันได้
เพราะไม่มีความเบียดเบียนในกันและกัน ขยายส่วนออกไปกว่านั้น กว้างออกไป ตระกูลหนึ่งๆ เต็มประเทศออกไป ขยายส่วนออกไปกว่านั้น ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
ประเทศหนึ่งๆ ไม่เบียดเบียนกันทั้งหมด ปรากฏว่าประเทศนั้นจะได้รับความรุ่งเรืองเจริญ เกิดจากความไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขด้วยกันทั้งนั้น
ไม่ต้องมีตำรวจเฝ้า ไม่ต้องมีใครรักษา ไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีตุลาการ
การที่จะไม่เบียดเบียนกันได้เช่นนี้ จะเป็นได้เช่นไร ?
ต้องอาศัย พระพุทธศาสนาแท้ๆ จึงจะไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันThu, 25 Jan 2024 - 02min - 576 - ปกครองลูกหญิงลูกชายไม่ได้ สัมหาอะไรที่จะไปปกครองผู้อื่น
ตั้งต้นแต่สกุลๆ เดียว บิดามารดาเดียวกัน อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ถ้าจะให้ได้รับความสุข บิดามารดาต้องไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันก่อน
ลูกหญิงลูกชายของบิดามารดาเดียวกัน ต้องไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
เมื่อมารดาบิดาไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันแล้ว มารดาบิดาก็ได้รับความสุขทั้งสองฝ่าย
ลูกหญิงลูกชายไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันแล้ว ลูกหญิงลูกชายก็ได้รับความสุข ตลอดจนกระทั่งมารดาก็ได้รับความสุข
ลูกหญิงลูกชาย เบียดเบียนกันขึ้นเวลาใด มารดาบิดาก็ได้รับความทุกข์เวลานั้น
ถ้าว่าลูกหญิงลูกชายไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เมตตาปราณีในกันและกัน รักใคร่ในกันและกัน สนิทสนมในกันและกัน กลมเกลียวในกันและกัน ได้ชื่อว่าไม่เบียดเบียนในกันและกัน
ถ้าว่าไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันดังนี้แล้ว มารดาบิดาสกุลนั้น ลูกหญิงลูกชายสกุลนั้นได้รับความสุข มีแต่ความเจริญเป็นเบื้องหน้า ความเสื่อมทรามไม่มี
ที่จะได้รับความเสื่อมทรามแตกสลาย เพราะบิดามารดาเบียดเบียนกันขึ้นก่อน เป็นอุทาหรณ์ให้ลูกเอาอย่างเบียดเบียนซึ่งกันและกันบ้าง เบียดเบียนกันแรงหนักเข้า ถึงตบตีให้ประหัตประหารซึ่งกันและกันหนักมือไปกว่านั้นแตกแยกจากกัน อยู่รวมกันไม่ได้ อยู่รวมกันก็ตีกันเท่านั้น พูดไม่ลงรอยกัน เพราะเบียดเบียนกันเสียแล้ว ก็ตั้งเป็นหมู่พวกไม่ได้ มารดาบิดาคู่นั้นเรียกว่าคุมความปกครองไม่อยู่ ไม่สามารถปกครองลูกหญิงลูกชายไว้ได้
เป็นคนมีปัญญาแต่เพียงให้ลูกหญิงลูกชายเกิดเท่านั้น เลี้ยงให้ใหญ่โตเท่านั้น ที่จะปกครองลูกหญิงลูกชาย ปกครองไม่ได้
สัมหาอะไรที่จะไปปกครองผู้อื่น ปกครองลูกหญิงลูกชายของตนก็ไม่ได้ช
Wed, 24 Jan 2024 - 03min - 575 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๗ พุทธโอวาท ว่าด้วยการไม่เบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน
อพฺยาปชฺชํ สุขํ โลเก ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก
ปาณภูเต สุสญฺญโม ความสำรวมระวังในสัตว์มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตเป็นเหตุให้รักษา
สุขา วิราคตา โลเก ความปราศจากจากความกำหนัดยินดีเป็นสุขในโลก
กามานํ สมติกฺกโม ก้าวล่วงเสีย ซึ่งกาม
อสฺสมิมานสฺส วินโย นำเสียซึ่งอัสมิมานะ
เอตํ เว ปรมํ สุขํ นี้ละเป็นสุขอย่างยิ่ง
ตรงนี้แง่นี้เป็นธรรมสำคัญ ๕ ข้อด้วยกัน
ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลกนั้นเป็นไฉน ?
มีอรรถาธิบายเป็นลำดับไป
ตนของตนไม่เบียดเบียนตนเองด้วยกาย หรือด้วยวาจา หรือด้วยใจตน
ตนของตนเองไม่เบียดเบียนบุคคลผู้อื่น ด้วยกาย หรือด้วยวาจา ด้วยใจของตน
ตนของตนเองไม่เบียดเบียนทั้งตนและทั้งบุคคลอื่น ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจของตนเอง
นี้เพียงเท่านี้ ตนก็เป็นสุขแล้ว
คนอื่นที่ไม่ถูกเบียดเบียน ก็เป็นสุขด้วย
ทั้งตนและบุคคลอื่น ก็เป็นสุขทั้งสองฝ่าย ไม่ยักย้ายไปไหน
ความเบียดเบียนนี่เป็นทุกข์ในโลก ไม่ใช่เป็นสุข
ความเบียดเบียน เป็นทุกข์ในโลก
บัดนี้โลกกำลังเบียดเบียนซึ่งกันและกันอยู่ เดิมก็ออกจากตนนั่นแหละ ไม่ใช่ออกจากไหน ความเบียดเบียนอันนี้
ถ้าว่าตนไม่คิดเบียดเบียนแล้ว ความเดือดร้อนก็จะมีเป็นไฉน ความเบียดเบียนอันนี้แสดงโดยข้อเค้าสำเนาความ ก็เพียงตนของตน กับบุคคลอื่น สองคนเท่านั้นในโลก
โลก คือ หมู่สัตว์ โอกาสโลก ขันธโลก
โอกาสโลก ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ นี้เรียกว่า โอกาสโลก
ขันธโลก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
สัตว์โลกที่ไปเกิดมาเกิดอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ทั้ง ๕ ก็อาศัยโอกาสโลก ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ อาศัยอย่างนี้ นี้เมื่อมีขึ้นเป็นขึ้นในโลกแล้ว เกิดเบียดเบียนซึ่งกันและกันหมู่มนุษย์ใดในสากลโลก ในประเทศใดหมดทั้งประเทศ ประเทศใดไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ประเทศนั้นได้รับความสุขแน่แท้
ประเทศใดเบียดเบียนในกันและกันเข้า ในสองประเทศนั้นที่เบียดเบียนซึ่งกันและกันเป็นทุกข์แน่
Fri, 12 Jan 2024 - 42min - 574 - นิพพาน พระนิพพาน อายตนนิพพาน
อายตนนิพพานนั้น เมื่อธรรมกายของพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เข้าไปมีอยู่ไหมละ มีอยู่เรียกว่า อายตนนิพพาน บาลีบริหารตำรับตำราไว้ว่า อตฺถิภิกฺขเว ตทายตนํ… ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานเป็นอายตนะมีอยู่อันหนึ่ง แต่ว่า พระ พุทธเจ้ายังไม่ได้เข้านิพพาน พระอรหันต์ยังไม่ได้เข้านิพพาน ก็เป็นอายตนะคอยรองรับอยู่ เหมือนอย่างกับตาของเรามีอยู่ ยังมิเห็นรูป รูป มันยังไม่มาถึง ตายังไม่มาถึงรูป รูปยังไม่ถึงตา ก็ไม่เห็นกัน ก็มีอายตนะอยู่แล้ว อายตนนิพพาน อายตนะคือหู เสียงมันยังไม่มาถึงก็ไม่ได้ยินกัน พอเสียงมาถึงก็ได้ยินกัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มีอายตนะเครื่องรับทั้งนั้น นี่เป็นอายตนะของโลกเขา อายตนนิพพานเป็นของละเอียด ละเอียดทีเดียว นั่นแหละ นิพพานที่พระพุทธเจ้าเข้าถึง ที่เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เข้าไปแล้วไม่กลับมานั่นแหละ นิพพานนั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นอายตนะ อยู่อันหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เฉยๆ ไม่เรียกว่า พระนิพพาน ธรรมกาย ของพระสีธาตุราชกุมาร เข้าไปอยู่ในนิพพานนั้น เรียกว่า พระนิพพาน ธรรมกายนั่นเรียกว่า พระนิพพาน แต่ว่า นิพพานที่ยังเป็นเครื่องรองรับนั้น เรียกว่า อายตนนิพพาน หรือเรียกว่า นิพพาน เฉยๆ พระนิพพาน คือ พระเข้านิพพาน ให้รู้จักหลักอย่างนี้นะ
Fri, 22 Dec 2023 - 02min - 573 - นิพพานแยกออกเป็น ๒
นิพพานแยกออกเป็นสอง สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
นิพพานแยกออกเป็นสอง สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เหมือนพระพุทธเจ้า ได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ว่า ขันธปัญจก ยังปรากฏอยู่ สั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่ ๔๕ ปี ในระหว่างนั้นเป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุทั้งนั้น เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน
ส่วน อนุปาทิเสสนิพพานละ เมื่อพระพุทธเจ้าครบอายุ ๘๐ พรรษาแล้ว ที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เดินสมาบัติทีเดียว ถึงกำหนดแล้วเข้าปรินิพพาน เดินสมาบัติ ปฐมฌาน…รูปฌาน…อรูปฌาน เดินถอยไปถอยมา นับครั้งนับหนไม่ถ้วน เมื่อสมควร ธรรมกายของท่านละเอียด สมควรแล้วก็ตกศูนย์มุบ พอตกศูนย์มุบ อายตนิพพานดึงดูดแล้ว เดี๋ยวโน่นธรรมกายของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ธรรม หาย ไปอยู่ในนิพพาน ศูนย์นั่นเข้าถึงกำเนิดนิพพาน กำเนิดนิพพานในกำเนิดนั้นมีว่าง ศูนย์เข้าไปตกอยู่ในนั้น กลับเป็นธรรมกายใหญ่มโหฬาร หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูมใส จะว่าเป็นธรรมกายที่โปรดสัตว์อยู่นี่หรือ ที่ไปนิพพานนั่นนะที่เข้านิพพานไปแล้ว นิพพานอยู่ข้างบน สูงจากภพสามนี่ขึ้นไปสามเท่าภพสาม โตเท่ากันกับภพสามนี่ สว่างเป็นแก้วไปหมดทั้งนั้น งดงาม โตเท่ากับภพสามนี่ แต่ว่า ตรงกลางนิพพานนะมีกำเนิด กำเนิดเหมือนกับกำเนิดของมนุษย์ ที่เดินสมาบัติเข้าไป เข้าไปถึงกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด รูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็นชั้นๆเข้าไป
นั่นมี อายตนะ ทั้งนั้น มีอายตนะรองรับเป็นขั้นๆๆ เข้าไป จนกระทั่งถึงอรูปพรหมถึงธรรมกาย ธรรมกายก็มีอายตนะรองรับเป็นชั้นๆๆไป จนกระทั่งถึงธรรมกายละเอียด โสดา โสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด มีอายตนะรองรับเป็นชั้นๆขึ้นไปทั้งนั้น มีอายตนะรองรับทั้งนั้นเป็นขั้นๆขึ้นไป ถึงธรรมกายอรหัตต์ อรหัตต์ละเอียดนั่นแหละ ในอาตนะของพระอรหัตต์ นั่นแหละ บริสุทธิ์ฉันใด นิพพานบริสุทธิ์ยิ่งกว่านั้น เป็นอายตนะอย่างนั้นพอไปถึงนิพพานก็เป็นธรรมกาย ธรรมกายที่เข้านิพพานไปนะ ธรรมกายองค์นี้ใช่ไหม ธรรมกายตกศูนย์แล้ว ดับไปแล้ว ตรงศูนย์นั้น ตกถึงศูนย์อายตนนิพพานก็กลับเป็ยธรรมกายใหญ่ยี่สิบวา สูงยี่สิบวา เกตุดอกบัวตูมใสนั่น จะเป็นธรรมกายใหม่ ไม่ใช่ธรรมกายเก่าหรือ ก็ถูก เป็นธรรมกายใหม่หรือ ก็ถูก ไม่ผิด ก็เอาธรรมกายเก่าไปไว้ที่ไหนเล่า ธรรมกายเก่าตกศูนย์เสียแล้ว ดับเสียแล้ว ตกศูนย์ดับธรรมกายเสียแล้ว กลับเป็นธรรมกายอีก ละเอียดกว่า สวยกว่าธรรมกายเก่านับเท่าไม่ถ้วน นั่นนิพพานอยู่โน่นนั่นเรียกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าถึงอายตนนิพพานนั่นแล้ว อยู่ในนิพพานแล้วขณะใด ขณะนั้นเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน เข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพานเสียแล้ว ไม่ใช่สอุปาทิเสสนิพพานเป็นอนุปาทิเสสนิพพานทีเดียว เข้าไปอยู่ในอายตนนิพพานนั้น
Wed, 20 Dec 2023 - 05min - 572 - นิพพานอยู่ที่ไหน เขาว่านิพพานอยู่ในใจหรืออย่างไรกัน
นิพพานนะอยู่อย่างไรกัน อยู่ที่ไหน เขาว่านิพพานอยู่ในใจ คำว่านิพพานนะ นิกฺขนฺตํ นิพฺพานํ ใจของเราออกจากกิเลสเครื่องร้อนได้เป็นตัวนิพพาน นี่นิพพานไม่อยู่กับใจเสียแล้ว ใจออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดไปเสียแล้ว ใจออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดไป ตัวใจที่ออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดนั่นหรือตัวนิพพาน กิเลสเข้าไปเย็บร้อยอยู่นั่น หลุดออกเสียจากกิเลส ขาดออกไปเสียจากกิเลส นั่นหรือเป็นตัวนิพพาน นั่นเป็นตัวออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัด เมื่อออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว จึงจะไปสู่นิพพานอีกครั้งหนึ่ง
Mon, 18 Dec 2023 - 01min - 571 - เป็นพระพุทธเจ้าได้ก็ด้วยความอดทน
ความอดทนติดอยู่กับขอบนิพพาน ความ อดทนอันนี้แหละ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มีละก็ ไม่มีในพระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็เป็นด้วยความอดทน นี่จะไปนิพพานได้ก็ไปด้วยความอดทนนี้ ถ้าอดทนไม่มีไปนิพพานไม่ได้ ขันตินี่แหละเป็นตัวสำคัญนะ จะเป็นภิกษุ สามเณรที่ดีได้ก็ด้วยขันตินี่แหละ จะเป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ดีได้ในธรรมวินัยของพระศาสดาก็ด้วยขันติความอดทนนี่แหละ รักษาเข้าไว้เถิด เลิศล้นพ้นประมาณทีเดียว เมื่อรักษาเอาไว้ได้แล้ว นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงรับสั่งว่า เป็นนิพพานอย่างยิ่ง ว่านิพพานนั่นแหละเป็นอย่างยิ่งทีเดียว นี่แหละขันตินี่เป็นตัวนิพพานหละ อดทนไม่ได้ไปนิพพานไม่ได้ อดทนได้ไปนิพพานได้
Sun, 17 Dec 2023 - 02min - 570 - อดทนคืออดใจ
พระพุทธเจ้าเป็นตำรับตำราเป็นประมุขของเรา เราต้องตั้งใจแบบเดียวกับพระพุทธเจ้า ท่านตั้งอย่างไรท่านสอนอย่างไร ท่านทำอย่างไร ท่านก็สอนว่า ท่านสอนพวกเราให้อดใจ ให้อดทน คืออดใจ อดใจเวลาความโลภหรืออภิชฌาเกิดขึ้น หยุดนิ่งเสีย รู้นี่รสชาติอภิชฌา อยากจะได้สมบัติของคนอื่น เป็นของๆตน อยากกว้างขวางใหญ่โต ไปข้างหน้า ต้องหยุดเสีย อดทนหรืออดใจเสีย ประเดี๋ยวก็ดับไป อ้ายความอยากนั้นดับไป ดับไปด้วยอะไร ด้วยความอดทน คืออดใจนั่นแหละ ความโกรธ ประทุษร้ายเกิดขึ้น นิ่งเสีย อดเสียไม่ให้หลุดออกมาได้ ให้ อยู่ในใจของตัวเอง ไม่ให้คนได้ยิน ไม่ให้คนอื่นรู้กิริยาท่าทางทีเดียว ไม่แสดงกิริยามรรยาทให้ทะเลิกทะลัก แปลกประหลาด อย่างผีเข้าสิงทีเดียว ไม่รู้ทีเดียว นิ่งเสียกะเดี๋ยวหนึ่ง ความโกรธ ประทุษร้ายหายไป ดับไป พยาบาทนั้นหายไป มิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้น มิจฉาทิฏฐินั้นแปลว่าเห็นผิดละ รู้อะไรไม่จริงสักอย่าง เลอะๆเทอะๆเกิดขึ้น หยุดเสีย ไม่ช้าเท่าไรกะเดี๋ยวดับไป
นั่นแหละความโลภเกิดขึ้น อภิชฌาเกิดขึ้นให้ดับไปได้ อภิชฌาเกิดขึ้นชั่วขณะ อดเสียให้ดับไปได้ ฆ่าอภิชฌาตายครั้งหนึ่ง นั่นเป็นนิพพานปัจจัยเชียว จะถึงพระนิพพานโดยตรงทีเดียว ความพยาบาทเกิดขึ้น ให้ดับลงไปเสียได้ ไม่ให้ออก ไม่ให้ทะลุลวงออกมาทางกายทางวาจา ให้ ดับไปเสียทางใจนั่นดับไปSun, 17 Dec 2023 - 03min - 569 - พยาบาท หมายมาดให้เขาถึงความวิบัติพลัดพราก
ถ้าดีกว่าตัว เกินตัว ก็ให้วิบัติพลัดพรากไปเสีย โดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเหลี่ยมโกงอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นจากความพยาบาท พยาบาทเข้าแทรกแซงคอยป้องกันไว้ ไม่ให้เขาสูงกว่าเราได้ ขออย่าให้คนอื่นถูกล๊อตเตอรี่เบอร์หนึ่งเสีย ให้เราถูกคนเดียวเถอะ นั่นแน่พยาบาท พออยากจะได้สมบัติก้อนใหญ่ก็เข้าป้องกันสมบัตินั้นทีเดียว คนอื่นอย่าให้ถูก ให้ถูกเราคนเดียว นั่นแน่ นี่พยาบาทให้คนอื่นตกจากสมบัติเสีย ให้ถึงความวิบัติพลัดพรากเสีย
Sun, 17 Dec 2023 - 01min - 568 - อภิชฌา ความเพ่งอยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นสมบัติของตัว
อภิชฌา เพ่ง อภิชฌา คือความเพ่งอยากได้สมบัติของบคนอื่นมาเป็นสมบัติของตัว โดยเราเพ่งว่าขอให้ถูกล๊อตเตอรี่ให้รวยสักทีเถอะ ให้ถูกล๊อตเตอรี่สักทีเราจะรวยยกใหญ่หละ นี่เพ่งอยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นของตัวอย่างนี้ นี่ก็เป็นอภิชฌาเหมือนกัน เพ่งอยากได้สมบัติก้อนใหญ่มาเป็นของตัว ได้มาลอยๆ ด้วยนี่แหละอภิชฌาแท้ๆ เชียว ไม่ให้ใครหละ
อภิชฌาอยากได้สมบัติของคนอื่น อยากได้อะไร ทำสวนใกล้กันก็คิดจะรุกรานนาเจ้า ค้าขายใกล้กันก็คิดจะเขม็ดแขม่ให้วงของเจ้าแคบเข้ามา ให้วงของเรากว้างออกไป ท่วมทับเข้าเสีย ค้าขายรุกกันอย่างนี้หนา ไม่ใช่รุกกันพอดีพอร้าย ทำนาค้าขายรุกกันอย่างนี้ ข้าราชการก็แก้ไขอีกเหมือนกัน ให้เราสูงขึ้น ให้เขาต่ำลง ให้เราดีกว่าเขาไว้ นี่พวกอภิชฌา
Sun, 17 Dec 2023 - 02min - 567 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๖ โอวาทปาฏิโมกข์
ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา ซึ่งมีมาใน โอวาทปาฏิโมกข์ บ้าง ในที่อื่นๆ บ้าง มาหลายแห่งด้วยกัน แต่ที่มาในโอวาทปาฏิโมกขคาถานั้น พระศาสดายกข้อสำคัญของพระพุทธศาสนาขึ้นประกาศแก่พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งเป็นปุราณกชฎิล ท่านเหล่านั้นที่จะประกาศพระศาสนาสืบต่อไป พระจอมไตรยกข้อสำคัญขึ้นให้ท่านที่มาประชุมนั้นเข้าเนื้อเข้าใจชัดเจน ว่าทางปฏิบัติหลีกลัดโดยตรงแต่คนละคน ไม่เชือนแชผิดทางไปได้ พระจอมไตรรับสั่งด้วยพระองค์เองว่า ขนฺตี ปรมํ ความอดทน ขันติ อันว่าความอดทน ตีติกฺขา กล่าวคือความอดใจ อดทนคืออดใจนั่นเอง ตโป เป็นความเพียร เครื่องแผดเผา ปรมํ อย่างยิ่ง ความอดทนคืออดใจเป็นความแผดเผาอย่างยิ่ง นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระ พุทธเจ้าทรงรับสั่งความอดทนนั้นว่าเป็นเครื่องดับ ไม่มีเครื่องดับอื่นยิ่งไปกว่าเป็นเครื่องดับอย่างยิ่ง ว่าความอดทนนั้นเป็นเครื่องดับอย่างยิ่งความอดทนนั้นเป็นนิพพานอย่างยิ่ง บาทที่หนึ่งและบาทที่สองรวมกันเข้าได้ความชัดอย่างนี้ น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี การเข้าไปฆ่าซึ่งสัตว์อื่น การเข้าไปฆ่าผู้อื่นสัตว์อื่น เรียกว่าเป็นบรรพชิตไม่ได้ หาเป็นบรรพชิตได้ไม่ สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต การเบียดเบียนสัตว์อื่น จะชื่อว่าเป็นสมณะก็ไม่ได้เหมือนกัน ถ้าเป็นบรรพชิตแล้วไม่เข้าไปฆ่าสัตว์อื่น ถ้าเป็นสมณะแล้วไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น จึงเป็นบรรพชิตได้ เป็นสมณะได้ ถ้ายังเบียดเบียนยังฆ่าสัตว์อื่นอยู่ เป็นบรรพชิตไม่ได้ เป็นสมณะไม่ได้ พวกเราเหล่านักบวชเป็นภิกษุสามเณร เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็เว้นขาดแล้วจากการเข้าไปฆ่า หรือการเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่นไม่มีแก่เราแล้ว จึงเป็นนักบวชได้ เป็นสมณะได้ ถ้าว่ายังมีข้าไปฆ่า เข้าไปเบียดเบียนอยู่ เป็นนักบวชเป็นสมณะไม่ได้ นี่ต้องจำเป็นตำรับตำราทีเดียว ข้อตายตัวทีเดียว ข้อสั้นที่สุดว่ายที่สุด ฟังแล้วไม่มีพิรุธละ เอาเป็นข้อวัตรปฏิบัติได้ทีเดียว
Sun, 17 Dec 2023 - 45min - 566 - ดวงจิตและดวงใจต่างกันอย่างไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร จิตนั่นอยู่ที่ไหน
ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายขยายความในเรื่อง จิต จิตนั่นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร คำที่เรียกว่า “จิต” นั่น ๑ ใน ๔ ของใจ ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นชัดอยู่อย่างนี้แล้วก็ ดวงจำ ก็โตไปอีกหน่อย อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงเห็น อยู่ในกลางกาย โตไปอีกหน่อย ดวงเห็นอยู่ข้างนอก มันซ้อนกันอยู่
ดวงเห็นอยู่ข้างนอก ดวงจำอยู่ข้างใน อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้อยู่ข้างในดวงคิด ดวงรู้ เท่าตาดำข้างใน นั่นแหละเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นเขาเรียกว่า ดวงจิต หรือ ดวงคิด โตออกไปกว่านั้น โตออกไปกว่าดวงจิต เท่าดวงตานั่นแหละ นั่นเขาเรียกว่า ดวงใจ หรือ ดวงจำ โตกว่านั้นอีกหน่อย เท่ากระบอกตานั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงเห็น ดวงเห็นนั้นคือดวงกายทีเดียว ๔ ดวงนั้นมีเท่านี้แหละ
Thu, 30 Nov 2023 - 02min - 565 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๕ มหาสติปัฏฐานสูตร อธิบาย กาย เวทนา จิต ธรรม
ณ บัดนี้ อาตมภาพจักแสดงใน มหาสติปัฏฐานสูตร ที่แสดงไปแล้วนั้น โดยอุเทศทวาร ปฏิเทศทวาร แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นอุเทศทวารนั้น ตามวาระพระบาลีว่า เอ กายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย แค่นี้ จบอุเทศทวารของมหาสติปัฏฐานสูตร แปลภาษาบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อยํ มคฺโค อันว่าหนทางนี้ เอกายโน เป็นเอก เอกายโน อยํ ภิกฺขเว หนทางนี้เป็น หนทางเอก ไม่มี ๒ แพร่ง เป็นหนทางเดียวแท้ๆ หนทางหนึ่งแท้ๆ เอกนะ คือหนึ่ง เอโก ทฺวิ ติ จตุปญฺจ เหล่านี้ เอโก เขาแปลว่า หนึ่ง หนทางนี้เป็นหนึ่งไม่มีสองต่อไป สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อความล่วงเสียซึ่งโศก ความแห้งใจ ความปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ ทุกฺขโมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่ออัสดงคต หมดไปแห่งเหล่าทุกข์โทมนัส ญายสฺสอธิคมาย เพื่อบรรลุซึ่งญาณ นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นี่แสดงดังนี้เพียงเท่านี้ เรียกว่า อุเทศทวาร จักได้แสดงเป็นปฏินิเทศทวารสืบต่อไป
Sat, 04 Nov 2023 - 42min - 564 - ให้นับหนึ่งต่อแต่นี้ไป เราจะต้องถึงที่สุดให้ได้
ให้หนึ่งไว้ในใจว่าต่อแต่นี้ไป เราจะต้องเข้าถึงที่สุด เข้าไปในกายที่สุดของเราให้ ได้เป็นกายๆ เข้าไป เมื่อเป็นกายๆ เข้าไปแล้ว ถ้าว่าทำเป็นแล้วไม่ใช่เดินท่านี้นะ เดินในไส้ทั้งนั้น เดินในไส้ทั้งนั้น ไส้เห็น ไส้จำ ไส้คิด ไส้รู้ ในกำเนิดของดวงธรรมที่ทำให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด เดินไส้ทั้งนั้น เดินไส้ไม่ใช่เดิน ท่าอื่น เดินในกลางดวงปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา เดินไปในกลางดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั้นเป็นทางเดินของพุทธเจ้าพระอรหันต์ เดินไปในไส้ ไม่ใช่เดิน ไปในไส้เพียงเท่านั้น ในกลางว่างของดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ว่างในว่างเข้าไป ในเหตุว่าง เหตุเปล่า เหตุดับ เหตุลับ เหตุหาย เหตุสูญ เหตุสิ้นเชื่อ ไม่เหลือเศษ หล่อเลี้ยง เป็นอยู่ ปราสาท รส ชาติ ไอ แก๊ส แก๊สกรด หนักเข้าไป เหตุสุด เหตุหมด ในแก๊สกรด หนักเข้าไปอีก ไม่ถอย กลับ นับอสงไขยไม่ถ้วน นับอายุธาตุอายุบารมีไม่ถ้วน ไม่มีถอยกลับกัน เดินเข้าไป อย่างนี้นะ
พระพุทธเจ้าพระอรหันต์นะ ไม่ใช่เดินโลเลเหลวไหลนะ ที่เรากราบเราไหว้เรา นับถือน่ะ ท่านวิเศษวิโสอย่างนี้ นี่แหละเป็นผู้วิเศษแท้ๆ นี่แหละเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก แท้ๆ ท่านเป็นผู้รู้จริง เห็นจริง ได้จริง เราจึงเอาเป็นตำรับตำราได้ เมื่อรู้จักหลักธรรมอัน นี้แล้ว อย่าเข้าใจว่าได้ฟังง่ายๆ นะ ตั้งแต่เราเกิดมาเป็น ภิกษุ สามเณร อุบาสกอุบาสิกาน่ะ อย่างนี้ไม่เคยได้ฟังเลยไม่ใช่หรือ ถ้าไม่เคยได้ฟัง ได้ฟังแล้วจำเอาไว้ ทำให้เป็นเหมือน อย่างแสดงนี้ทุกสิ่งทุกประการ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา
Sat, 21 Oct 2023 - 03min - 563 - เรื่องของพญามารทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัว
นี่เจอพุทธศาสนานี่แหละ เป้าหมายใจดำ อย่าไปทำแง่อื่น อย่าไปหลงเล่อ อย่า ไปหลงเลอะเทอะไหลเล่อ เอ้า! ต่างว่ามีครอบครัวละ แล้วได้อะไรบ้างล่ะ ลูกคนหนึ่ง แล้วเอามาทำไมล่ะ เอามาเลี้ยง ได้ ๑๐ คนเอ้า เอ้าไว้เลี้ยงไปยังไงก็เลี้ยงไป บ่นโอ๊ก แล้วพอได้ ๑๐ คน เอ้าได้ ๕๐ คน เอ้า! เอาล่ะสิคราวนี้ลงเปะปะล่ะสิ เอ้าอยากได้ลูก ใช่ไหมล่ะ ไม่จริง เหลว โกงตัวเอง โกงตัวเอง พาให้เลอะเลือนซะ ไม่เข้าไปค้นกาย ของตัวให้ถึงที่สุด ไม่ให้ตรวจตัวถึงที่สุด เป็นมนุษย์กับเขาทั้งที เพราะเชื่อกิเลสเหลวไหล เหล่านี้แหละพาให้เลอะเลือน จะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็ครองไปเถิด งานเรื่องของคน อื่นเขาทั้งนั้น เรื่องของพญามารทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัว ไม่ใช่งานของตัว ไปทำงาน ให้พญามารเขาทั้งวันทั้งคืน เอาเรื่องอะไรไม่ได้
เพราะอะไรล่ะ เพราะไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เกิดมาพบอย่างไงก็ไปอย่างนั้นแหละ เพราะไม่ได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ นี่ไม่ได้ฝึกใจในธรรมพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจของสัตบุรุษ ความเห็นก็พิรุธเหลวไหล ไปดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว นี่แหละ เป็นความจริงทางพระพุทธศาสนาตัวจริงทีเดียว นี่เป็นข้อที่ลึกซึ้ง
Thu, 19 Oct 2023 - 03min - 562 - ถ้าใครยังไม่ถึงที่สุดก็ยังไม่ฉลาดเต็มที่
ผู้เทศน์นี้ได้ทำวิชชานี้ ๒๓ ปี วันออกพรรษานี้ก็ ๓ เดือนเต็มละ ยังไม่หมด กายละเอียดเหล่านี้เลย ไม่ได้ถอยกลับเลย ยังไม่หมดกายละเอียดเหล่านี้เลย ยังไม่ ถึงที่สุด ไปทูลถามพระพุทธเจ้าองค์เก่าองค์แก่ที่เข้านิโรธเข้านิพพาน นิพพานไปแล้ว ถอยเข้าไปหากายละเอียดนี้น่ะ ไปถึงมั่งแล้วรึยัง แล้วไม่มีใครรู้เลยว่าไปถึงหรือไม่มีใคร ไปถึง เอาละซิคราวนี้ นี่ศาสนา ตัวจริงของกายมนุษย์เป็นอย่างนี้ เมื่อเป็นพระอรหันต์ ขึ้นก็ต้องไปตรวจของตัว เข้านิพพานแล้วต้องไปตรวจของตัว เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้น แล้ว เข้านิพพานก็ต้องไปตรวจกายของตัวอย่างนี้แหละ ว่าที่สุดอยู่ที่ไหน ต้องไปที่สุด ให้ได้ ไปบอกที่สุดให้ได้ นี่ความจริงเป็นอย่างนี้
เมื่อรู้จักความจริงอย่างนี้แล้วละก็ อย่าไหลเล่อ อย่าเลอะเทอะ ที่อื่นไม่ใช่ของตัว ให้เอาใจจรดอยู่ในของตัวนี้อย่าถอยกลับ ให้เข้าไปถึงกายที่สุดให้ได้ ว่ากายที่สุดของตัวอยู่ที่ไหน เมื่อไปถึงที่สุดของตัวได้ละ คราวนี้ตัวก็รักษาตัวได้ ไม่มีใครมาเป็นอิสระ ไม่มีใครมาบังคับบัญชา ถ้าว่ายังไม่ถึงที่สุดของตัวแล้วละก็อย่าหมายเลย เขาจะต้องบังคับบัญชาแกท่า เดียวเท่านั้นแหละ แกจะต้องเป็นบ่าวเป็นทาสเขา เวลานี้พญามารเขาบังคับ ใช้เป็น บ่าวเป็นทาส ให้ทำอะไรทำได้ ให้ด่า ให้ตี ให้ชก ให้ฆ่า ให้ฟันกันได้ มารบังคับ บังคับ ได้อย่างนี้นะ ให้เป็นบ่าวเป็นทาสเขา ให้เลวทรามต่ำช้า ให้เป็นคนจนอนาถา ติดขัด ทุกสิ่งทุกอย่าง เครื่องกินเครื่องใช้ขาดตกบกพร่อง เครื่องกันเครื่องใช้มากมีมูลมอง เครื่องใช้เครื่องสอยก็มี ทำได้ มารเขาทำได้ บังคับได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะตัวไม่เป็น อิสระในตัว เพราะตัวไม่เป็นใหญ่ในตัว เพราะตัวไม่รู้จักที่สุดของตัว
นี่มนุษย์โง่ขนาดนี้เห็นไหมล่ะ ไม่ใช่มนุษย์โง่เท่านั้น พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ท่านก็ไปยังไม่ถึงที่สุดเหมือนกัน ถ้าใครไปยังไม่ถึงที่สุดก็ยังไม่ฉลาดเต็มที่ ต่อเมื่อใด ไปถึงที่สุดกายของตัวไม่มีสุดต่อไปแล้ว นั่น ฉลาดเต็มที่แล้ว ตัวของตัวเองเป็นที่พึ่งแก่ ตัวได้แล้ว นี่เป็นข้อสำคัญอย่างนี้นะ
Tue, 17 Oct 2023 - 04min - 561 - จะความดีใจ จะความเสียใจ จะความดีใจ จะความเสียใจ
ความดีใจเสียใจนี้ร้ายนัก ไม่ใช่ร้ายแต่เมื่อเวลาปฏิบัติธรรมะ เห็นธรรมะ อย่างนี้นะ งนี้นะ ถึงเวลาเราดีๆ อยู่ ไอ้ความดีใจเสียใจนี่แหละ ตีอกชกใจล่ะ กินยาตาย ผูกคอตาย โดดน้ำตายล่ะ ดีใจเสียใจนี้ล่ะมันเต็มขีดเต็มส่วน ของมันเข้า บังคับอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความ ดีใจเสียใจนี่เป็นมารร้ายทีเดียว ถ้าว่าใครให้เข้าไปอยู่ในใจบ่อยๆละก็หน้าดำคร่ำเครียดสี ร่างกายไม่สดชื่นสิ ไม่เศร้าหมองไม่ผ่องใสหรอก เพราะอะไร เพราะมันดีใจเสียใจ มันบังคับใจ มันเดือดร้อนมันหน้าดำคร่ำเครียดทีเดียว บางคนไม่อ้วนทีเดียว ผอม ผอม กริวทีเดียว ไอ้นี่มันเอาความดีใจเสียใจหมกอยู่ทุกวันไม่ปล่อยมันออกไป
ถ้าว่าทำใจให้สบายให้ชื่นมื่น ให้เย็นอกเย็นใจสบายใจ จะมั่งมีดีจนอะไรก็ช่าง ทำใจเบิกบานไว้ ทำใจสบายไว้ ร่างกายมันก็ชุ่มชื่นสบาย นี่ไอ้ดีใจเสียใจมันฆ่ากาย มนุษย์อย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดก็ฆ่า กายทิพย์ก็ฆ่า กายทิพย์ละเอียดก็ฆ่า ฆ่าทั้งนั้น ทุกกาย ดีใจเสียใจน่ะคอยระวังไว้ ท่านถึงได้สอนนักว่า นำความดีใจและเสียใจในโลก เสียให้พินาศ ดีใจเสียใจในโลกเลยนะ ดีใจเสียใจในอัตภาพร่างกาย
Sun, 15 Oct 2023 - 02min - 560 - เห็นจิตในจิต เห็นอย่างไร
เห็นจิตในจิตล่ะ ดวงจิตตามส่วนของมัน ก็เท่าดวงตาดำข้างนอก ถ้าว่าไปเห็น เข้ารูปนั้นมันขยายส่วน วัดเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงจิตก็ขนาดเดียวกัน ไปเห็นจริงๆ เข้าเช่นนั้นขยายส่วนเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ดวงจิตปรากฏอยู่ในดวงจิต กายมนุษย์หยาบนี่แหละ แต่ว่าเป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด อยู่ในกายมนุษย์ ละเอียดโน่น แต่ว่าซ้อนอยู่ข้างในนี่แหละ
Thu, 12 Oct 2023 - 02min - 559 - เห็นเวทนาในเวทนา เห็นอย่างไรTue, 10 Oct 2023 - 02min
- 558 - กายเวทนาจิตธรรม เห็นกายในกาย เห็นอย่างไร
เห็นกายในกาย น่ะเห็นอย่างไร บัดนี้กายมนุษย์ที่ปรากฏอยู่ นั่งเทศน์อยู่นี่ นั่งฟังเทศน์อยู่นี่ นี่กายมนุษย์แท้ๆ แต่ว่ากายมนุษย์นี่แหละเวลานอนหลับฝันไปก็ได้ พอฝันออกไปอีกกายหนึ่ง เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด นี่รู้จักกันทุกคนเชียวกายนี้ เพราะเคยนอนฝันทุกคน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร เป็นเหมือนมนุษย์คนนี้แหละ คนที่ฝันนี่แหละ นุ่งห่มอย่างไร อากัปกิริยาเป็นอย่างไร สูงต่ำอย่างไร ข้าวของเป็นอย่างไร ก็ปรากฏเป็นอย่างนั้น ก็ปรากฏเป็นคนนี้แหละแบบเดียวกันทีเดียว คนเดียวกันก็ว่าได้ แต่ว่าเป็นคนละคน เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด เวลานอนหลับสนิทถูกส่วนเข้าแล้ว ก็ฝันออกไป ออกไปอีกคนหนึ่งก็เป็นกายมนุษย์คนนี้แหละ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้แหละ ถึงได้ชื่อว่าเป็นกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์คนที่ฝันออกไปนั่นแหละเขาเรียกว่า กายมนุษย์ในกายมนุษย์ นี่แหละกายในกาย แหละ เห็นจริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นตามเหลวไหล เห็นอย่างนี้ก็เป็นหลักเป็นพยานได้ทุกคน เพราะเคยนอนฝันทุกคน นี่เห็นในกายเห็นอย่างนี้นะ เมื่อเห็นกายในกายอย่างนี้แล้ว
Sun, 08 Oct 2023 - 02min - 557 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๔ สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์
ณ บัดนี้ อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยเรื่อง ธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกาย เป็นธรรมที่แน่แท้ในพระพุทธศาสนา จะแสดงตามคลองธรรมของ สติปัฏฐานสูตร ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธาน มหาสติปัฏฐานสูตรนั้น เป็นโพธิปักขิยธรรม เป็นไปในเรื่องฝ่ายเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เหมือนกันหมด ปรากฏดังนี้
Wed, 04 Oct 2023 - 41min - 556 - ไม่ติดสุขเล็กๆ น้อยๆ ไปหาสุขอันไพบูลย์
ถ้าหากว่าฉลาด รู้จักให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ถ้าแม้ว่ายังไม่ได้สูงขึ้นไปก็จะได้สุขในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เหล่านี้ มันก็เวียนอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั่นแหละ ในกามนั่นเอง มันยังเป็นกาม ไปทางโลกก็สุขนิดหน่อยเท่านี้ ไม่ได้อะไรหละ สุขอยู่ชั่วคราว มนุษย์นี่ก็สุขอยู่ชั่วคราว ประเดี๋ยวเดียว อายุร้อยปีเท่านั้นอย่างมาก หรือน้อยกว่านั้น ก็ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ถ้าเราได้เป็นเทวดาก็สุขตามส่วนขึ้นไป อายุก็ตามส่วนขึ้นไป จะนานหนักเข้า แต่ว่าถึงกระไรก็เถอะ ปรนิมมิตวสวัตตี สุขมากน้อยเท่าใดก็ช่าง สุขประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ไม่มากเท่าใด ไปถึงรูปพรหม ก็สุขเป็นกัลป์ๆ เหมือนกัน เป็นมหากัลป์ถึงอกนิฏฐาภพ ถึงเวหัปผลานั่นแน่ อสัญญีสัตตาโน่น ห้าร้อยมหากัลป์ ถึงห้าร้อยมหากัลป์ก็มีกัลป์มาอีก ก็สุขนิดเดียวอีกเหมือนกัน ไม่จริง หลอกๆ ไม่จริงหรอก สุขในชั้นเนวสัญญานาสัญญา อกนิฏฐาโน่น สุขสูงขึ้นไป สุขสูง ขึ้นไปขนาดนั้นก็ขนาดพันมหากัลป์เท่านั้น ไม่เท่าไรนัก สุขยิ่งขึ้นไป นี่ไม่ใช่สุขในทางนิพพาน มีชั้นสุขสูงสุดอย่างนี้ ถ้าสุขในภพถึง ๘๔๐,๐๐๐ มหากัลป์ในโลก เพราะติดสุขในภพเหล่านี้แหละเรียกว่า ติดสุขน้อยไม่ใช่สุขใหญ่
Sun, 01 Oct 2023 - 02min - 555 - ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่ได้ฟังธรรม
ถ้าเมื่อมาเจอกายมนุษย์แล้วมาสุขกับกายมนุษย์ มัวงมอยู่แต่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั้นแหละ มันก็ได้เท่านั้นจนแก่ตาย เอาดีไม่ได้เลย สุขแค่นั้นเอง นี่มันสุขน้อยอย่างนี้ เพียงนิดเดียว เพราะอะไร เพราะ รู้ไม่เท่าทันตัวเอง ไม่ฉลาด รู้ไม่เท่าทันตัวเอง ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในทางพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ความเห็นจึงพิรุธไปเช่นนั้น
Fri, 29 Sep 2023 - 01min - 554 - ทานศีลภาวนา เหล่านี้เป็นข้อสำคัญนัก
ก็เพราะอาศัยผลทานนั่นแหละเป็นข้อสำคัญของทานนะ ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี ถ้าบริจาคทานแล้วมีผลลัพธ์ ทานมโย บุญคือความบริสุทธิ์สำเร็จด้วยทาน ฉกามาวจโร เป็นเหตุให้เกิดในกามาวจร หกชั้น ทานเป็นเหตุให้เกิดในกามาวจรหกชั้น ได้รับความสุขยิ่งใหญ่ไพศาลขึ้นไปเป็นลำดับเพราะทานส่งให้ สีลมโย บุญคือความ บริสุทธิ์แล้วสำเร็จด้วยศีล ศีลสำเร็จแล้วเป็นเหตุให้เกิดในชั้นอกนิฏฐาภพ พรหมชั้นที่สิบหกโน้น ต้องวางหลัก อย่างนี้ ภาวนามโย บุญคือความบริสุทธิ์สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา อมตผโล เป็นผลที่จะให้บรรลุถึงชั้นนิพพาน สำเร็จภาวนาแล้วเป็นผล จะให้มนุษย์ถึงชั้นนิพพาน ทานให้สำเร็จในสวรรค์หกชั้น ศีลให้สำเร็จในพรหมสิบหกชั้น ภาวนาให้สำเร็จนิพพาน ให้สำเร็จผลนิพพานทีเดียว นี่ต้องวางหลักไว้อย่างนี้ เมื่อได้รู้หลักอย่างนี้เป็นข้อสำคัญ ทาน ศีล ภาวนา เหล่านี้ เป็นข้อสำคัญนัก
Wed, 27 Sep 2023 - 02min - 553 - ถ้าเป็นคนจนเสียแล้ว เราจะทำความดีก็ไม่ได้เต็มที่เต็มส่วน
เมื่อรู้ว่าสุขเช่นนั้นแล้ว ทำอย่างไรต่อไป วิธีจะละตั้งแต่มนุษย์นี่ จะละสุขในมนุษย์หละ เราจะละท่าไหน ต้องแก้ไขวิธีละทีเดียวต้อง ใช้ละด้วยกาย ละด้วยวาจา ละด้วยใจ ต้องใช้ ทาน ศีล ภาวนา เป็นฆราวาสครองเรือนให้หมั่นให้ทาน ให้ละสุขน้อยโดยการบริจาค ทาน ที่ มีสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาลในมนุษยโลกดังนี้ ถึงมีพอประมาณหรือมีเล็กน้อยก็ช่าง อุตส่าห์ละเถิด จงให้ทานให้ความสุขในภพนี้ และภพหน้าต่อไปนับภพไม่ถ้วน ให้อุตส่าห์ให้ทาน ทานนี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก ท่านยืนยันตามตำรับตำราว่ามนุษย์จะได้รับความสุขในมนุษยโลก ก็เพราะอาศัยการให้ทานกัน ด้วยเหตุนี้ พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีมาเกิดในมนุษยโลกก็ย่อมให้ทานในเบื้องหน้า ท่านเป็นผู้เก็บหอมรอมริบ สนับสนุนอุปถัมภ์ค้ำชูแก่บริวารของ ท่านไม่แพ้ฝ่ายใด ท่านก็อุปถัมภ์ค้ำชูตลอด เพราะท่านเป็นผู้มีสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาล ท่านบริจาคทานอย่างนี้ อัตราการให้ทานนี่แหละที่จะส่งเราให้ไปถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าไม่มีทานจะมีสุขอันยิ่งใหญ่ไพศาลไม่ได้ เพราะไม่มีผลทานส่งให้ จะถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาลไม่ได้
Mon, 25 Sep 2023 - 01min - 552 - วิธีแสวงหาสุขอันไพบูลย์
เมื่อรู้ว่าสุขเช่นนั้นแล้ว ทำอย่างไรต่อไป วิธีจะละตั้งแต่มนุษย์นี่ จะละสุขในมนุษย์หละ เราจะละท่าไหน ต้องแก้ไขวิธีละทีเดียวต้อง ใช้ละด้วยกาย ละด้วยวาจา ละด้วยใจ ต้องใช้ ทาน ศีล ภาวนา เป็นฆราวาสครองเรือนให้หมั่นให้ทาน ให้ละสุขน้อยโดยการบริจาค ทาน ที่ มีสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาลในมนุษยโลกดังนี้ ถึงมีพอประมาณหรือมีเล็กน้อยก็ช่าง อุตส่าห์ละเถิด จงให้ทานให้ความสุขในภพนี้ และภพหน้าต่อไปนับภพไม่ถ้วน ให้อุตส่าห์ให้ทาน ทานนี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก ท่านยืนยันตามตำรับตำราว่ามนุษย์จะได้รับความสุขในมนุษยโลก ก็เพราะอาศัยการให้ทานกัน ด้วยเหตุนี้ พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีมาเกิดในมนุษยโลกก็ย่อมให้ทานในเบื้องหน้า ท่านเป็นผู้เก็บหอมรอมริบ สนับสนุนอุปถัมภ์ค้ำชูแก่บริวารของ ท่านไม่แพ้ฝ่ายใด ท่านก็อุปถัมภ์ค้ำชูตลอด เพราะท่านเป็นผู้มีสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาล ท่านบริจาคทานอย่างนี้ อัตราการให้ทานนี่แหละที่จะส่งเราให้ไปถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าไม่มีทานจะมีสุขอันยิ่งใหญ่ไพศาลไม่ได้ เพราะไม่มีผลทานส่งให้ จะถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาลไม่ได้
Sat, 23 Sep 2023 - 02min - 551 - ๕ อย่างนี้ให้สัตว์โลกจมอยู่ในวัฏฏสงสาร
ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส ออกจากวัฏฏะไม่ได้ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ออกไม่ได้ ออกจากภพสามไม่ได้ ออกจากกามไม่ได้ เพราะสละละสิ่งทั้งห้าไม่ได้ ถ้าสละละสิ่งทั้งห้าอันเป็นสุขน้อยนี้เสียได้แล้ว เมื่อสละละสิ่งทั้งห้าเสียได้แล้ว จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ ต้องประสบสุขอันไพบูลย์แท้ๆ อันไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นไป
Thu, 21 Sep 2023 - 02min - 550 - บัณฑิตละสุขน้อยไปหาสุขอันไพบูลย์
สุขอันน้อยนั่นคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เราใช้สอยอยู่นี้ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ ติดอยู่ในกามภพ ที่ให้เราซบอยู่ในกามภพนี้โงศีรษะไม่ขึ้น ไอ้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั่นแหละ เป็นสุขนิดเดียว สุขเล็กน้อยไม่ใช่เป็นสุขมาก สุขชั่วปรบมือกระพือปีกไก่เท่านั้น มันสุขน้อยจริงๆ ให้ละสุขน้อยนั้นเสีย ให้ละ ๕ อย่างนี้ คือ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ เมื่อละได้แล้วเรียกว่า จาคะ สละสุขที่ยินดีใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนั้นได้ ยินดีใน รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัสนั้นเป็นไฉน เงินทองข้าวของ วิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ เหล่านี้ เรียกว่า รูปสมบัติ ที่เรายินดีในรูปสมบัตินั้นแหละ เรียกว่า ยินดีในรูป เสียงยกย่องสรรเสริญ ยกยอสรรเสริญชมเชยต่างๆ เหล่านี้ ที่เป็นโลกธรรมเหล่านี้นั่นแหละ ยินดีในเสียง ถ้าเราไปยินดีติดอยู่ในเสียงสรรเสริญอันนั้นละ ก็ทำให้เพลินซบเซาอยู่ในโลกเป็นทุกข์ เป็นสุขกับเขาไม่ได้ กลิ่นหอมเครื่องปรุงต่างๆ อันเป็นที่ชื่นเนื้อเจริญใจนั่นแหละ ยินดีในกลิ่น มัวยินดีในกลิ่นอยู่เถิด จะซบเซาอยู่ในมนุษยโลกในกามภพ ดุจคนสลบโงศีรษะไม่ขึ้น ติดรส เปรี้ยวหวานมันเค็มอยู่นี่แหละ ยินดีในรส ถ้าว่าติดอยู่ในรสเช่นนั้นแล้วละก็ หรือติดรสอันใดก็ช่าง ความติดรสอันนั้นแหละ ทำให้โงหัวไม่ขึ้น ยินดีในความสัมผัส ถูกเนื้อต้องตัว
ถ้าเอาใจไปยินดีในสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวเข้าแล้ว เข้าไปอยู่ในเปือกตมทีเดียว โงศีรษะไม่ขึ้นอีกเหมือนกัน
Tue, 19 Sep 2023 - 03min - 549 - พระมงคลเทพมุนี สด จนฺทสโร สมถวิปัสสนา
ทางพระพุทธศาสนามี วิชชา ๒ อย่างนี้เป็นข้อสำคัญนัก บัดนี้ท่านทั้งหลายที่เสียสละเวลามา ก็เพื่อมาเรียนสมถวิปัสสนาทั้งสองอย่างนี้
สมถะเป็นวิชชาเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องเอาใจใส่ คือ แปลความว่า สงบระงับใจ เรียกว่าสมถะ
วิปัสสนาเป็นขั้นสูงกว่าสมถะ ซึ่งแปลว่าเห็นแจ้ง เป็นธรรมเบื้องสูง เรียกว่าวิปัสสนา
สมถะวิปัสสนา ๒ อย่างนี้ เป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกในทางพระพุทธศาสนา
ผู้พูดนี้ได้ศึกษามาตั้งแต่บวช พอบวชออกจากโบสถ์แล้วได้วันหนึ่ง รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็เรียนทีเดียว เรียนสมถะทีเดียว ไม่ได้หยุดเลย จนกระทั่งถึงบัดนี้
บัดนี้ทั้งเรียนด้วย ทั้งสอนด้วย ในฝ่ายสมถะวิปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนี้
สมถะมีภูมิแค่ไหน
สมถะ มีภูมิ ๔๐ คือ
กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐
อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑
อรูปฌาน ๔
ทั้ง ๔๐ นี้ เป็นภูมิของสมถะวิปัสสนามีภูมิ ๖
ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒
อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ธรรมอาศัยซึ่งกันและกันดับไปนี้เป็นภูมิของวิปัสสนา ภูมิสมถวิปัสสนาทั้ง ๒ นี้ เป็นตำรับตำราในทางพระพุทธศาสนาได้ใช้กันสืบมา
แต่ภูมิของสมถะที่เราจะพึงเรียนต่อไปนี้ เริ่มต้นต้องทำใจให้หยุด จึงจะเข้าภูมิของสมถะได้ ถ้าทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เข้าภูมิสมถะไม่ได้
สมถะ เขาแปลว่าสงบ แปลว่าระงับ แปลว่าหยุด แปลว่านิ่ง ต้องทำใจให้หยุด ใจของเรานะ
อะไรที่เรียกว่าใจ ?
เห็นอย่างหนึ่ง
จำอย่างหนึ่ง
คิดอย่างหนึ่ง
รู้อย่างหนึ่ง
๔ อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน นั่นแหละเรียกว่า ใจอยู่ที่ไหน ? อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือ
ความเห็น อยู่ที่ท่ามกลางกาย
ความจำ อยู่ที่ท่ามกลางเนื้อหัวใจ
ความคิด อยู่ท่ามกลางดวงจิต
ความรู้ อยู่ท่ามกลางดวงวิญญาณ
เห็น จำ คิด รู้ ๔ ประการนี้ หมดทั้งร่างกายส่วนเห็น เป็นต้นของรู้
ส่วนจำ เป็นต้นของเนื้อหัวใจ
ส่วนคิด เป็นต้นของดวงจิต
ส่วนรู้ เป็นต้นของดวงวิญญาณ
ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างในอยู่ในกลางดวงจิต
ดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอกอยู่ในกลางเนื้อหัวใจ
ดวงจำ กว้างออกไปอีกหน่อยหนึ่งเท่าดวงตาทั้งหมด
ดวงเห็น อยู่ในกลางกายโตกว่าดวงตาออกไป นั่นเป็นดวงเห็น
ดวงเห็นนั่นแหละ ธาตุเห็นมันอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น นั่นแหละ
เรียกว่าเห็น เห็นอยู่ในธาตุเห็นนั้น
ดวงจำ ธาตุจำมันอยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น
ดวงคิด ธาตุคิดมันอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น
ดวงรู้ ธาตุรู้อยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น
เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละ เอาเข้ามารวมเป็นจุดเดียวกัน เรียกว่า ใจMon, 31 Dec 2018 - 27min - 548 - แตกกายทำลายขันธ์ สมบัติเหล่านั้นก็ไม่ใช่ของเราเสียแล้ว เป็นของคนอื่นเสียแล้ว
สมบัติเงินทองข้าวของที่เป็นวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ที่เราหาได้มา เก็บหอมรอมริบไว้หรือได้มรดกมาก็ดี สิ่งทั้งหลายนั้น เมื่อเรารักษาอยู่ เมื่อเรายังมีชีวิตเป็นอยู่ ก็เป็นของเราอยู่ แต่พอแตกกายทำลายขันธ์เท่านั้น สมบัติเหล่านั้นไม่ใช่ของเรา เสียแล้ว กลายเป็นของคนอื่นเสียแล้ว ไม่ใช่ของเราจริงๆ ในมนุษยโลกเราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่น ทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่สร้างบารมี มาบำเพ็ญทาน ศีล เนกขัมม์ ปัญญา วิริยะ อธิษฐาน ขันติ สัจจะ เมตตา อุเบกขา เท่านั้น
Sun, 17 Sep 2023 - 02min - 547 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๓ สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้
มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขนฺติณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถาแก้ด้วย สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้พึงแสวงหา ยิ่ง ใหญ่นัก ไม่มีใครปฏิเสธทุกทั่วหน้า สุขนี้สมเด็จพระบรมศาสดารับสั่งด้วยพระองค์เอง เพื่อจะให้สัตว์แสวงหาสุขยิ่งขึ้นไป ไม่ใช่สุขเล็กๆ น้อยๆ ให้ละสุขเล็กน้อยเสีย ให้ยึดเอาความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป นี่เพราะเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชายทุกทั่วหน้า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ทุกทั่วหน้าด้วยกันแสวงหาสุขทุกหมู่เหล่า แม้สัตว์เดียรัจฉาน เล่าก็ต้องแสวงหาสุขเหมือนกัน หลีกเลี่ยงจากทุกข์ แสวงหาสุขอยู่เนืองนิตย์อัตรา เพราะว่าสุขจะพึงได้สมเจตนานั้น ผู้แสวงหาเป็นจึงจะได้ประสบสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าแสวงหาไม่เป็นก็ได้รับสุขเล็กๆ น้อยๆ หาสมควรแก่อัตภาพที่เป็นมนุษย์ไม่ เหตุนี้ตามวาระพระบาลีพระองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ แปลเนื้อความว่า ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะละสุขอันน้อยเสีย หรือเพราะละสุขพอประมาณเสีย ผู้มีปัญญาเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็พึงละสุขพอประมาณเสีย นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยาม
Thu, 14 Sep 2023 - 35min - 546 - บัณฑิตถอนแล้วซึ่งความอาลัย ไมมีอาลัย จากอาลัย มุ่งไปพระนิพพาน
บัณฑิตละธรรมดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น เมื่อธรรมขาวเจริญขึ้นแล้ว อาศัยนิพพาน ไม่มีอาลัย จากอาลัย หรือจากอาลัย อาศัยนิพพาน อาลัยนะคือเป็นอย่างไรละ จากอาลัยนะ อาลัยนะซิ มันให้ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม เป็นก้อนอยู่นี่ อาลัยนะซี ถอนมันไม่ออกหนา อาลัยรูป อาลัยเสียง อาลัยกลิ่น อาลัยรส อาลัยสัมผัส อาลัยพร้อมกันไปหมดทีเดียว อาลัยถอนไม่ออก อาลัยนั้นถอนไม่ออก ท่านถึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า
อาลยสมุคฺฆาโต ให้ถอนอาลัยออกเสีย ถ้าถอนอาลัยไม่ได้ ก็ไปนิพพานไม่ได้ ก็เป็น วฏฺฏขานุ เป็นหลักตออยู่ในโลก เท่านั้นไม่ไปไหน ติดอยู่ในโลกนี้ ไปไม่ได้เพราะติดอาลัย อาลัยนั้นแหละมันทำให้ติด เพราะรู้ตัวของตัวอยู่ทุกคนนี่ ติดอยู่ด้วยอะไรอาลัยนี่เอง ทำไมเราจะถอนอาลัยอันนี้ได้ละ อาลัยเป็นอย่างไร นกกะเรียนว่ายน้ำในเปือกตมมันนิยมนักในเปือกตมนั่นนะ นกกะเรียนมันไม่ขึ้นมาจากเปือกตมนะ มันเพลิดเพลินของมันทีเดียว กว่ามันจะขึ้น มันล่องลอยไปทางซ้ายทางขวาทางหน้าทางหลัง วกไปวกมา ๆ เพลินอยู่ในเปือกตมนั่น ชุ่มชื่นของมัน ชุ่มชื่นสบายอกสบายใจของมัน รื่นเริงบันเทิงใจของมัน มันไม่อยากจะขึ้นเลยเทีเดียว มันพิเร้าพิรึงอยู่กับเปือกตมของมันนั่นแหละ นี้แหละฉันใดสัตว์โลกที่ติดอาลัย ก็เหมือนอย่างกับนกกะเรียนติดเปือกตมอย่างนี้แหละ ถอนไม่ได้ ถอนก็ติดโน่นติดนี่ ติดทางนั้นติดทางนี้ ก่อนเราเกิด เขาก็ติดกันอยู่อย่างนี้แหละ
เมื่อเราเกิดมาก็ติดอยู่อย่างนี้แหละ ติดอยู่เหมือนกันทั้งนั้น ก็เมื่อนี้เป็นของเราเมื่อไรเล่า ตัวก็ไม่ใช่ของเรา อ้ายลูกก็ไม่ใช่ของเรา อ้ายผัวก็ไม่ใช่ของเรา เมียก็ไม่ใช่ของเราเหมือนกัน อ้ายหลานว่านเครือก็ไม่ใช่ของเรา เงินทองข้าวของไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ทั้งนั้น เขาสำหรับภพสามของเขาเราก็มาในภพสาม ก็ใช้ของภพสามไป ร่างกายมนุษย์ก็ใช้ของภพสามเขา ไปเกิดในภพทิพย์ก็ใช้ในภพทิพย์เขา เกิดในจาตุมหาราช ดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรินิมมิตวสวัตตี ดีวิเศษขึ้นไปกว่านี้อีก ก็ถึงกระนั้นก็ติดอยู่ไม่ได้
เมื่อรู้จักความจริงเช่นนี้ อย่าได้กริ่งใจอะไร อย่าได้สงสัยอะไร ถ้ารู้จักชัดเสียเช่นนี้ แล้วก็มีธรรมกาย แล้วจะได้เห็นปรากฎหมดทุกสิ่งทุกประการ เห็นแล้วและได้รู้แล้ว ก็จะติดทำไมเล่า เมื่อติดอาลัยหรือก็ปล่อยอาลัยเสีย ฉะนั้นท่านจึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า อาศัยนิพพาน ไม่มีอาลัย จากอาลัย อาลัยอันนั้นไม่เกี่ยวกับนิพพาน ต้องหลุดจากอาลัยอันนั้น จึงจะไปนิพพานได้ บอกชัดอย่างนี้นะ
Sat, 09 Sep 2023 - 05min - 544 - สัตว์เหล่านี้ชือว่าอยู่ในอบายภูมิ
ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา ก็ไปอยู่ในบริวารนรก เรียกว่า อุสสทนรก อยู่รอบมหานรกทั้ง ๔ ด้าน ๆ ละ ๔ ขุม แต่ละมหานรกจึงมีนรกบริวาร หรืออุสสทนรก ๑๖ ขุม มหานรก ๘ ขุม ก็มีนรกบริวารรวม ๑๒๘ ขุม
หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปอยู่ในบริวารนรก ซึ่งอยู่รอบนอกของมหานรกออกมาอีก ทั้ง ๔ ด้าน เรียกว่า ยมโลกนรก แต่ละด้านของมหานรก จะมียมโลกนรกด้านละ ๑๐ ขุม นรกบริวารรอบนอกของมหานรกทั้ง ๘ ขุม จึงมี ๓๒๐ ขุม
มหานรก ๘ ขุม กับนรกบริวารรอบในคืออุสสทนรกอีก ๑๒๘ ขุมและนรกบริวารรอบนอก คือยมโลกนรกอีก ๓๒๐ ขุม รวมเป็น ๔๕๖ ขุม นี่อายตนะนรกดึงดูดอย่างนี้
ไม่ถึงขนาดนั้น ความชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจ ความชั่วด้วยกายวาจาไม่ถึงนรก แตก กายทำลายขันธ์ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ที่เราเห็นตัวปรากฏอยู่นี่ นั่นมนุษย์แท้ ๆ มนุษย์ทั้งนั้น อ้ายสัตว์เดรัจฉานน่ะ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเสีย อ้ายตัวข้างในเป็นมนุษย์ทั้งนั้นแหละ อ้ายกายละเอียดข้างใน แต่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน น่าเกลียดน่าชังจริงนั่น เพราะทำชั่วของตัวไปเกิด มันดึงดูด อายตนะของสัตว์เดรัจฉานดึงดูด ดึงดูดอย่างไรล่ะ อ้าวก็ดึงดูดเข้าไปเกิดในท้องสุนัขน่ะซี ท้องหมูบ้าง ท้องสุนัขบ้างตามยถามกรรมของมันซี ท้องเป็ด ท้องไก่โน้น ดึงดูดเข้าไปอย่างนี้แหละ ดึงดูดเข้าไปได้แรงนักทีเดียว ความดึงดูนั่น ให้รู้จักอายตนะดึงดูดอย่างนี้ อ้ายที่มันดึงดูดในพวกเหล่านี้
ถ้าว่าหย่อนขึ้นมากว่านี้ ไปเกิดเป็นเปรต ไฟไหม้ติดตามตัวไป อสุรกายหย่อนกว่านั้นขึ้นมา นี่พวกอบายภูมิทั้งนั้น
Thu, 07 Sep 2023 - 03min - 543 - อนันตริยกรรมเหล่านี้ อเวจีเป็นที่ไป
อายตนะอเวจี ถ้าจะไปตกนรกอเวจี ก็ฆ่าพระพุทธเจ้า ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น ยุยงให้สงฆ์แตกจากกัน เหล่านี้ ปิตุฆาต มาตุฆาต ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เหล่านี้ แตกกายทำลายขันธ์ ต้องไปตกอเวจี อ้ายนี้อยู่ในภพ ขอบภพข้างล่างขอบภพข้างล่างพอดี อเวจี สี่เหลี่ยม เหล็กรอบตัวสี่ด้าน สี่เหลี่ยมทีเดียว ไปอยู่ในห้องขังนั้น ในห้องขังอเวจีนั้น แดงก่ำเหมือนเหล็กแดงทั้งวันทั้งคืน อะไรไม่ต่างกันหละ ตัวเทวทัตแดงเป็นเหล็กแดงทีเดียว ไหม้เป็นเหล็กแดงทีเดียว แต่ไม่ตาย กรรมบังคับให้ทนอยู่ได้ นั่นไปตกอเวจีหละ ทำถึงขนาดนั้น อนันตริยกรรมเข้า พอแตกกายทำลายขันธ์กุศลอื่นไม่มีกำลัง สู้อเวจีไม่ได้ อเวจีดึงดูดวูบทีเดียว สู่โยคเผด็จของตน ไปเกิดในอเวจีโน่น หย่อนขึ้นมากกว่านั้น ไม่ถึงกับฆ่ามารดา บิดา ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้า ไม่ถึงยุยงพระสงฆ์ ทำลายพระสงฆ์ ยุยงให้สงฆ์แตกจากกัน ปิตุฆาต มาตุฆาต อรหันฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ยังสงฆ์ให้แตกจากกันเหล่านี้ ไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่านั้นลงมาเพียงแต่ว่าเกือบ ๆ จะฆ่ากันแหละ แต่ว่าไม่ถึงกับฆ่า ไม่ถึงตาย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก ไปอยู่มหาตาปนรกโน้น มหาตาปนรกโน่น มหาตาปน่ะ ร้อนเหลือร้อน แต่ว่าหย่อนกว่าอเวจีหน่อยขึ้นมา ถ้าว่าถึงขนาดนั้นทำชั่วไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่ามหาตาปนรก ก็ไปอยู่ตาปนรก นั่นก็ร้อนพอร้อน แต่ว่าร้อนหย่อนกว่านั้นขึ้นมาหน่อย หย่อนกว่านั้นขึ้นมายิ่งกว่าเรื่อยขึ้นไป ถ้าว่าทำหย่อนขึ้นไปกว่านั้น ความชั่วหย่อนขึ้นไปกว่านั้น เข้าไปอยู่ใน มหาโรรุวนรก ร้องไห้ร้องครางกันเถอะ ไม่มีเวลาหยุดกันหละ มหาร้องไห้ทีเดียว ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา อยู่ในโรรุวนรก ก็ร้องไห้ไปเถอะ ไม่มีหยุดเหมือนกัน แต่ว่าหย่อนกว่า ถ้าไม่ถึงขนาดโรรุวนรก หย่อนกว่านั้นขึ้นมา ก็ไปอยู่สังฆาฏนรก ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปกาฬสุตตนรก หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปสัญชีวนรก รวม ๘ ขุม นี่นรกขุมใหญ่ หรือมหานรก
Tue, 05 Sep 2023 - 04min - 542 - ความดีไม่มีเจือปน เท่าปลายผมปลายขน อายตนะโลกันตร์ดึงดูด
ถ้าว่าสัตว์ในโลก มีธรรมดำล้วน ไม่ได้มีธรรมขาวเข้าไปเจือปนเลยเท่าปลายผม ปลายขน ดำล้วนทีเดียว แตกกายทำลายขันธ์ โน่น อายตนะโลกันต์ดึงดูด ต่ำว่าภพสามลงไปนี้ เท่าภพสาม ส่วนโลกันต์เท่ากับภพสามนี้ แต่ต่ำว่าภพสามลงไปอีก ๓ เท่าภพสามนี้ นั่นมันอายตนะโลกันต์ดึงดูด ดึงดูดโน่นไปอื่นไม่ได้ อายตนะโลกันต์มีกำลังกว่า พอถูกกระแสถูกสายเข้าแล้วจะเยื้องยักไปทางอื่นไม่ได้ อายตนะของโลกันต์ก็ดึงดูดทีเดียวไปติดอยู่ในโลกันต์โน่น กว่าจะครบกำหนดออกน่ะมันไม่มีเวลา เวลาน่ะนานนัก ไม่ต้องเวลากันหละเข้าถึงโลกันต์แล้ว กว่าจะได้ออก อจินฺเตยฺโย ไม่ควรคิด ไม่มีกำหนดกัน นั่นแน่นดึงดูดติดขนาดนั้น นั่นอายตนะโลกันต์หนา
Sun, 03 Sep 2023 - 02min - 541 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๒ ติลักขณาทิคาถา ว่าด้วย เครื่องดึงดูดสัตว์ทั้งหลายไปอยู่ในภพต่างๆ
ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงในปกิณกเทศนาตามลำดับ ในสัปดาห์ก่อนมาที่แสดงไปแล้ว วันนี้จะเริ่มต้นในบัณฑิตชนละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น อนุสนธิต่อสัปดาห์ก่อนมา เมื่อละธรรมดำเสียแล้วจะยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น ธรรมขาวเป็นธรรมสำคัญ ธรรมดำเป็นธรรมฝ่ายของพญามารแท้ ๆ ไม่ใช่ของพระ ของพระเป็นฝ่ายธรรมขาวแท้ ๆ ไม่ใช่ธรรมดำ ตรงกันข้ามดังนี้ แต่ว่าผู้ประพฤติปฏิบัติในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ไม่รู้จักชัดว่าปฏิบัติดังนี้เป็นธรรมดำ ปฏิบัติดังนี้เป็นธรรมขาว ไม่รู้ชัด จะรู้จักชัด ต้องขัดกาย วาจา ใจ ออกไปเป็นขั้น ๆ ทุจริยกาย วาจา จิต นั่นเป็นธรรมดำ สุจริตด้วยกาย วาจา จิต นั่นเป็นธรรมขาว ทำใจให้ผ่องใสนั่นเป็นธรรมขาว ถ้าใจมืดมัวขุ่นหมองนั่นเป็นธรรมดำ นี่เป็นธรรมดำ ธรรมขาวมีลักษณะอย่างนี้ ชั่วเป็นฝ่ายดำทั้งนั้น ดีเป็นฝ่ายขาว
ทีนี้ฝ่ายธรรมดำ ใจมนุษย์มี อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี่ฝ่ายธรรมดำ กายมนุษย์ ตลอดกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ มีธรรมดำ โลภะ โทสะ โมหะ ตลอดกายทิพย์ละเอียดนี่เป็นฝ่ายธรรมดำ กายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดมี ราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นฝ่ายธรรมดำ ตลอดจนรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมมีกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ทั้งหยาบทั้งละเอียด นี้เป็นฝ่ายธรรมดำ
ฝ่ายธรรมขาว ให้ทาน เมตตา สัมมาทิฏฐิ นี่กายมนุษย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด กายทิพย์ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่โลภตั้งอยู่ในความให้ ไม่โลกอยากได้ของเขา ให้ของตนแก่เขา ไม่โกรธตั้งอยู่ในเมตตา ไม่หลงตั้งอยู่ในความเห็นชอบ นี่เป็นฝ่ายธรรมขาว ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลงงมงาย ไม่กำหนัดคือคลายกำหนัดเสียแล้ว ไม่มีกำหนัด ไม่ขัดเคืองมีความเมตตา เป็นปุเรจาริก ไม่หลง รู้แจ้งเห็นจริงดังนี้ นี้เป็นธรรมฝ่ายขาว กายรูปพรหม ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา นี้เป็นธรรมฝ่ายขาว ไม่ใช่ฝ่ายดำ ให้รู้จักคลองธรรมดังนี้ นี่คลองธรรมดังนี้นัยหนึ่ง
อีกนัยหนึ่ง คลองธรรมที่เป็นธรรมดำธรรมขาวน่ะ นี่ลึกซึ้งสว่างไสว ปฏิบัติลงไปแล้ว เห็นดวงใสดุจกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียดก็สว่างไสว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายทิพย์ กายทิพย์ก็สว่างไสว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นชัดทีเดียว เห็นชัดดังนั้น นี้เป็นธรรมขาว ถ้าเห็นกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายรูปพรหม กายรูปพรหมก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายอรูปพรหม ๆ ก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ๆ ก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายธรรม ๆ ก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมโสดา กายธรรมโสดาละเอียด กายสกทาคา กายสกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา กายธรรมอนาคาละเอียด กายธรรมพระอรหัตต์ กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด เป็นลำดับขึ้นไปดังนี้ นี่เรียกว่าซีกธรรมขาว ไม่ใช่ซีกธรรมดำ ถ้าไม่เห็นดังนี้ อยู่ในซีกธรรมดำ เป็นธรรมของพญามาร เป็นบ่าวของพญามารไป เป็นทาสของพญามารไป เขาบังคับใช้สอยเหมือนเด็ก ๆ เล็ก ๆ เหมือนทาสกรรมกรไปอยู่ในกำมือของมาร นี้ให้รู้จักหลักฐานธรรมดำธรรมขาวดังนี้
Mon, 28 Aug 2023 - 42min - 540 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๑ ติลักขณาทิคาถา
ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมิกถาว่าด้วยเรื่อง ลักขณคาถา เครื่องหมายลักษณะของความจริง คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ตามสภาพความเป็นจริงนี้ ที่นิยมใช้ในพระพุทธศาสนานัก เพราะแสดงความจริงทุกสิ่งทุกประการ ในลักษณะทั้งสามประการนี้เป็นภูมิของวิปัสสนา เป็นชั้นสูง เป็นธรรมอันลุ่มลึกคัมภีรภาพ เหตุนั้นที่จะแสดงในวันนี้เพราะว่าลักษณะธรรมชั้นสูงนี้ สมควรที่เป็นธรรมที่เป็นไปในปัญญา ไม่ใช่ศีล ไม่ใช่ทางสมาธิ เป็นทางปัญญาแท้ๆ เหตุนี้แลจะแปลเนื้อความตามวาระพระบาลี ที่ได้ยกไว้ในเบื้องต้นว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้คือความหมดจดวิเศษ สพฺเพ ธมฺม อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ อุปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีปกติไปสู่ฝั่งข้างโน้น ชนเหล่าใด ปารคามิโน มีปกติไปสู่ฝั่ง มีปกติถึงซึ่งฝั่ง ชนทั้งหลายเหล่านั้นมีประมาณน้อย อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ ส่วนชนเหล่าอื่นนอกนี้ ย่อมเลาะชายฝั่งนั้นแล เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ชนเหล่าใดนั้นแล ประพฤติตามธรรมในธรรม ที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งฝั่ง คือพระนฤพาน ล่วงเสียซึ่งวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ อันบุคคลข้ามได้ด้วยยากนัก กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต ผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญา ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้นดังนี้
Mon, 07 Aug 2023 - 42min - 539 - ดาบสติดเนื้อเหี้ย
พระดาบสคนหนึ่งแกอยู่ในป่าช้า ป่าชัฏทีเดียว อยู่มาหลาย ๑๐ ปี วันหนึ่ง โลณมฺพิณเสวนตฺถาย ต้องการจะเสพรสเค็ม รสเปรี้ยวเข้ามาแล้ว เข้าไปอยู่ในบ้านใกล้เคียงบ้านเขา ไปแสวงหาอาหารบาตร เหมือนพระบิณฑบาตดังนั้นแหละ ชาวบ้านเขาก็ใส่แกงเหี้ยมาให้ถ้วยหนึ่ง ดาบสคนนั้น มหาโคธา เหี้ยใหญ่ตัวหนึ่งปฏิบัติแกดีอยู่ ด้วยว่าเป็นเหี้ยโพธิสัตว์ พอแกได้ฉันแกงเหี้ยไปถ้วยหนึ่ง รสมันดีเหลือเกิน กลับมาถามเจ้าของในวันรุ่งขึ้นว่า แกงที่ให้ไปนั้นเป็นแกงอะไรรสมันอร่อยนัก ผู้เจ้าของที่เขาใส่แกงไปให้เขาบอกว่า แกงเหี้ยละซิพระคุณเจ้า โอ้ นึกในใจ อ้ายเหี้ยมันมีรสชาติดีขนาดนี้เชียวหรือ อ้ายเหี้ยที่ปฏิบัติเราอยู่ตัวหนึ่งมันคงจะกินได้หลายวัน เราจะฆ่าอ้ายเหี้ยตัวใหญ่เสียเถอะ เราจะไม่เอาไว้ละ นั่นแน่ สำรวมไม่ได้ละ นี่มันสำรวมไม่ได้ มันติดรสเสียแล้วละ ติดรสถึงกับจะฆ่าไอ้เหี้ยเสียนั่นแน่ะ
ไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ ไอ้ที่ฆ่าฟันกันตายอยู่โครมๆ นี่แหละ ฆ่าตัวเองตายบ้าง ฆ่าคนอื่นตายบ้าง ฟันแทงกันตายบ้าง เกิดรบรากันนะ ติดรสทั้งนั้นนะ ไม่ติดรสก็ติดสัมผัส ไม่ติดสัมผัสก็ติดรูป ไม่ติดรูปก็ติดเสียง ไม่ติดเสียงก็ติดกลิ่น ไม่ติดกลิ่นก็ติดรส นี่แหละติดเหล่านี้ทั้งนั้น ที่ฆ่ากันตายร้ายนักทีเดียว ถ้าสำรวมไม่ได้ ร้ายนักทุกสิ่งทุกอย่างละ เป็นภัยนักทีเดียว เหตุนี้ต้องตั้งอยู่ในความสำรวม แต่ว่าวิธีสำรวมบอกไว้แล้วนั้น ใจต้องหยุดอยู่กลางนั่นนะ หยุดนิ่งทีเดียว ต้องคอยระวังรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ใดๆ หรือธัมมารมณ์ใดๆ มันเล็ดลอดเข้าไปถึงที่ใจหยุดละก็ มีรสมีชาติ รู้จักทุกคนแล้วว่ารสชาติมันเป็นอย่างไร พอเวลามันเข้าไปเป็นอย่างไรล่ะ ไอ้รสชอบใจ รูปเป็นอย่างไรเล่า ก็เคยชอบในรูปด้วยกันทุกคนนะ รสมันอย่างไรก็รู้จักกันทั้งนั้นแหละ นั่นแหละมันเข้าไปเสียดแทงใจ
Tue, 01 Aug 2023 - 03min - 538 - ไม่สำรวมตา ชอบดูนั่นดูนี่ อย่างนี้มีโทษ
สำรวมตาไม่ได้ ชอบดู ชอบไปดูโน่นดูนี่ ในการไปดูเป็นอย่างไรบ้าง? เป็นอันตรายรถชนก็มี ไปดูไฟไหม้เหยียบกันเหลวแหลกตายก็มี นี่เพราะอะไร? ชอบดูละซิ ชอบดูนั่นร้ายนักแหละ ในกลางค่ำกลางคืนเขาประหารซึ่งกันและกัน พลาดเนื้อพลาดตัวถึงกับเขายิงตาย ฟันตาย แทงตายกันอเนกอนันต์สุดซึ้งจะพรรณนา มีทุกบ้านทุกช่องไป นี่เพราะระวังการดูไว้ไม่ได้ อยากดูอยากฟัง นี่เป็นข้อสำคัญอยู่ให้สำรวมระวังไว้เถอะ ไม่ไร้โทษนัก ต้องคอยระแวดระวังทีเดียว เพราะการดูเป็นคุณก็มี โทษก็มี ภิกฺขูนํ ทสฺสนาย ดูแลพระภิกษุไม่เป็นโทษ ดูแลหมู่พระภิกษุให้เล่าเรียนศึกษา คันถธุระ วิปัสสนาธุระ ดูแลเหมือนอย่างกับ พ่อแม่ดูแลลูกนั้น อย่างนี้ไม่เป็นโทษ หรือพ่อแม่ดูแลลูกให้เล่าเรียนศึกษาทำความดีต่อไป อย่างนี้ไม่มีโทษ การดูแลอย่างอื่น ดูแลมหรสพต่างๆ เสียเงินด้วย เสียเวลาด้วย ด้วยประการทั้งปวง
Sun, 30 Jul 2023 - 02min - 537 - ไปเป็นลูกมือของพญามาร
หีนวีริยํ มีความเพียรเลว มีความเพียรเลวทำแต่ชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจต่างๆ ความเพียรใช้ไม่ได้ ถึงจะเพียรทำไปสักเท่าใด ก็ให้โทษแก่ตัว ไม่ได้ประโยชน์แก่ตัว ในจำพวกเหล่านี้ ได้ชื่อว่าไม่พ้น มารย่อมรังควานได้ เป็นลูกมือของพญามาร มารจะต้องการอย่างไร ก็ได้สมความปรารถนาของมารทุกสิ่งทุกประการ จะให้ครองเรือนเสียตลอดชาติ ไม่ขยันตัวจำศีลภาวนาได้ ก็ต้องเป็นไปตามอำนาจของมาร จะให้ไปดูมหรสพต่างๆ ตามใจมาร บังคับให้เป็นไปตามอัธยาศัยของมารแท้ๆ เหตุนี้แหละ เหมือนต้นไม้ทุพพลภาพอยู่เต็มทีแล้ว น้ำก็เซาะเข้าไปๆ ใกล้จะพังอยู่เต็มทีแล้ว ร่องแร่งอยู่เต็มทีแล้ว ลมพัดไม่สู้แรงนักหรอก กระพือมาพักหนึ่งค่อยๆ ก็เอนไปแล้ว นั่นฉันใด พวกที่ไม่สำรวม เห็นอารมณ์งาม ไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่มีศรัทธา เป็นคนเกียจคร้าน พวกเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของพญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระ เป็นลูกศิษย์ของพญามาร มารจูงลากไปเสียตามความปรารถนา
Thu, 27 Jul 2023 - 02min - 536 - นอนอืด ไม่มีศรัทธานั้นอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด
กุสีตํ หีนวีริยํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด กุสีตํ เขาแปลว่าคนเกียจคร้าน คนไม่มีศรัทธา มาอยู่วัดอยู่วาก็นอนอืด อยู่บ้านก็นอนอืด ไม่มีศรัทธาไม่เชื่อมั่นเข้าไปในพระรัตนตรัย เป็นคนปราศจากความศรัทธา เป็นคนเกียจคร้าน เช่นนี้แล้วละก็ บัณฑิตเกลียดนัก ท่านถึงได้แปลว่า กุสีตํ ผู้จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด คนมีปัญญาเกลียดนักคนเกียจคร้าน แต่ชอบสรรเสริญนิยมคนขยัน คนหมั่นขยัน คนเพียร คนมีศรัทธาเลื่อมใส นั่นเป็นที่ชอบของนักปราชญ์ ราชบัณฑิตทั้งหลาย คนเกียจคร้านเป็นไม่ชอบ
Tue, 25 Jul 2023 - 01min - 535 - สำรวมระวังในการบริโภค
โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุง ไม่รู้จักโภชนาหาร ไม่รู้จักบริโภคโภชนาหาร ถึงกับเป็นหนี้เป็นข้าเป็นบ่าวเขาเชียวหนา ไม่รู้จักบริโภคในโภชนาหารนะ คือไม่รู้จักประมาณใช้สอย หาเงินเท่าไรก็ใช้ไม่พอ หาเงินเท่าไรก็หมด ใช้ไม่รู้จักประมาณ บริโภคก็ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักประมาณในวันนี้ พรุ่งนี้ต่อไป ไม่รู้จักประมาณ ต้องกู้หนี้ยืมสินเขาบริโภคใช้สอยไป นี่เพราะไม่รู้จักประมาณในการใช้สอยในการบริโภค นี่ก็ร้ายกาจนัก หรือบริโภคเข้าไปแล้ว ไฟธาตุย่อยอาหารไม่สำเร็จ เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น ถึงแก่เป็นอันตรายแก่ชีวิตทีเดียว นี่ต้องคอยระแวดระวัง โภชนาหารต้องระวังมากทีเดียว ถ้าระวังไม่มาก ก็ให้โทษแก่ตัวไม่ใช่น้อย
เรื่องนี้ครั้งพุทธกาลก็ดี หลังพุทธกาลก็ดี ขันแข่งกันนัก แข่งขันกันนักในเรื่องรู้จักประมาณในการบริโภค บางท่านตวง เอาเครื่องตวงมาตวงบ้าง เอาแล่งตวงบ้าง หรือไม่เช่นนั้นก็วัดกำหนดอาหารเท่านั้นเท่านี้บ้าง กำหนดด้วยข้าวสารบ้าง ด้วยข้าวสุกบ้าง บริโภคพอในเขตที่สำรวมของตนๆ ไม่ให้พ้นความสำรวมไปได้ ระวังอยู่ดังนี้ บางท่านเอาท้องเป็นประมาณ อุจฺฉิตปฺปมาณํ ประมาณท้องอิ่มแล้วเป็นหยุดทีเดียว ไม่ให้เกินอิ่มไป สักคำเดียวก็ไม่ให้เกิน หรือหย่อนอิ่มไว้สักคำ เผื่อน้ำไว้เล็กน้อยให้ท้องไม่อืด ให้ท้องไม่เฟ้อ ประสงค์ให้ธาตุย่อยง่ายๆ อย่างนี้เรียกว่ารู้จักสำรวม เช่นนี้แล้วก็รู้จักสำรวม ไม่สำรวมพอดีพอร้าย ของนี่เคยบริโภคไหม? เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแค่ไหน? บริโภคเข้าไปแล้วเป็นประโยชน์แก่ร่างกายให้ความสุขแก่ร่างกายไหม ถ้าสิ่งใดให้ความสุขแก่ร่างกายก็รับสิ่งนั้น พออิ่มเท่านั้น
สิ่งใดให้โทษทุกข์แก่ร่างกาย ก็ไม่รับสิ่งนั้นเด็ดขาด ห้ามสิ่งนั้นทีเดียว เพราะกลัวจะไปประทุษร้ายร่างกาย สิ่งใดที่ให้โทษร่างกายก็งดสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ก็บริโภคสิ่งนั้น การบริโภคไม่ใช่บริโภคทั่วไป ไม่ใช่ดีเสมอไป แม้ชอบใจแล้ว ไปวันหลัง เดือนหลัง ปีหลัง ก็ชอบใจก็ได้ เป็นอย่างคนแก่ชอบมะระ เด็กๆ ไม่ชอบ บอกว่าขม คนแก่ชอบมะระขมนี่
มันไม่เหมือนกันอย่างนี้ มันต่างกันอย่างนี้ อย่างนี้เป็นตัวอย่าง บางท่านชอบอย่างนั้นอย่างนี้ นี่สังกัดหรือจำกัดมิได้ แล้วแต่ธาตุธรรมของตนซึ่งจะเป็นไปอย่างไรเมื่อสะดวกแก่ร่างกายด้วยประการใดแล้ว ก็ให้สำรวมวิถี ให้รู้จักประมาณในการใช้นั้นให้สมควรแก่ร่างกายนั้นๆ ให้ได้รับความสุขพอสมควรแก่ร่างกายของตนๆ อันนี้แหละ ได้ชื่อว่ารู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่ใช่ใช้สอยแต่อาหารอย่างเดียวนะ ผ้าสำหรับใช้สอยก็ต้องรู้จักกระเหม็ดกระแหม่ ต้องรู้จักเปลือง รู้จักเก่า รู้จักเสียหาย ถ้าไม่รู้จัก ก็จักเป็นหนี้ เป็นบ่าวเขาทีเดียวนะ เพราะเหตุว่าใช้ผ้านุ่งห่มไม่เป็น ไม่ใช่แต่ผ้านุ่งเท่านั้น ไม่ใช่ผ้านุ่งอาหารเลี้ยงท้องเท่านั้น อื่นอีกที่จะใช้สอยต่อไป
เสนาสนะ ที่นั่ง นอน บ้านเรือนของตนด้วย เมื่อทรุดโทรมเข้าแล้ว ไม่ซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์ หรือใช้ให้ทำลาย ของถูกน้ำ อย่าเอาน้ำไปราดไปทำเข้า ของนั้นก็ผุเสียหายไป ที่ผุเสียหาย ต้องแก้ทีเดียว ถ้าปล่อยให้ผุเสียหายเสียเงิน ต้องซ่อมแซมปฏิสังขรณ์อีก บ้านสำหรับอยู่พักอาศัย ก็ต้องดูแล และฉลาดในการใช้สอยบ้านช่องของตนนั้นๆ หยูกยารักษาไข้ก็เช่นเดียวกัน จะใช้ก็ใช้ในเวลาเป็นไข้ เมื่อไม่เป็นไข้แล้วไปใช้ยา ก็ลงโทษ เสียค่ายาเสียยาเปล่า ไม่รู้จักประโยชน์ นี่ไม่รู้จักประมาณทั้งนั้น พวกรู้จักประมาณและก็ใช้ถูกกาลถูกเวลาเสมอไป ในผ้าสำหรับนุ่งห่มและเครื่องเลี้ยงท้อง เสนาสนะบ้านช่องสำหรับพักอาศัย หยูกยาสำหรับรักษาไข้ ในปัจจัย ๔ สำรวมระวังเป็นอันดีอย่างชนิดนี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้สำรวม รู้จักใช้สอย รู้จักประมาณกาลควรหรือไม่ควร
Sun, 23 Jul 2023 - 07min - 534 - ภิกษุที่ดี สามเณรที่ดี อุบาสกอุบาสิกาที่ดี
เป็นภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี เมื่อไม่มีความสำรวมแล้ว จะเป็นภิกษุที่ดี ไม่ได้ หรือจะเป็นสามเณรที่ดี ก็ไม่ได้ หรือจะเป็นอุบาสกที่ดี ก็ไม่ได้ เป็นอุบาสิกาที่ดี ก็ไม่ได้ เพราะปราศจากความสำรวม ถ้าว่าสำรวมได้เสียแล้ว ก็เป็นคนดี ภิกษุก็เป็นภิกษุดี สามเณรก็เป็นสามเณรดี อุบาสกก็เป็นอุบาสกดี อุบาสิกาก็เป็นอุบาสิกาดี เพราะความสำรวมเสียได้
ผู้สำรวมได้ไม่ได้เป็นไฉน? ผู้เห็นตามอารมณ์ที่งามอยู่ รูปก็น่าจะชอบใจ น่าปลื้มใจ น่าปีติ น่าเลื่อมใส ไปเพลินในรูปเสียแล้ว เสียง เป็นที่ชอบใจ ก็ชอบใจในเสียง เสียงอันน่าปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบาน สำราญใจ ร่าเริง บันเทิงใจ ไปเพลินในเสียงเสียแล้ว กลิ่นหอม เป็นที่นิยมชมชอบประกอบด้วยความเอิบอาบ ปลื้มปีติปลาบปลื้มในใจด้วยกันทั้งนั้น เอ้าไปเพลินในกลิ่นเสียแล้ว รสเป็นที่ชอบใจ ปลื้มปีติในรสนั้น ชอบเพลิดเพลินในรสนั้นๆ เอ้าไปเพลินในรสนั้นๆ เสียแล้ว สัมผัสเป็นที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไม่อยากทิ้งไม่อยากขว้างไม่อยากห่างไป เหมือนนกกระเรียนตกเปือกตมเพลินอยู่ในสัมผัสนั้น ทิ้งสัมผัสไม่ได้ เพลิดเพลินในสัมผัสเสียแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี่เรียกว่า โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิดกับใจ นอนครึ่งคืนค่อนคืนไม่หลับ เพลิดเพลินอารมณ์ที่ล่วงไปเสียแล้ว คราวนั้นๆ เพลิดเพลินนึกถึงอารมณ์ ก็เพลินไปในเรื่องอารมณ์นั้นๆ อารมณ์ในปัจจุบันละก็เพลิดเพลินเหมือนกัน จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้าเรื่อยทีเดียว จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้าเพลิดเพลินอีกเหมือนกัน ถ้าไปเพลิดเพลินอารมณ์ดังนั้น ได้ชื่อว่าสำรวมไม่ได้ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้ เรียกว่าเพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ที่ชอบใจ หลงใหลในอารมณ์ที่ชอบใจ คลั่งไคล้ในอารมณ์ที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจในอารมณ์ที่ชอบใจ
เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้ เมื่อเพลิดเพลินเสียดังนี้ละก็ อินฺทริเยสู อสํวุโต มันก็ไม่ระวังตา ไม่ระวังหู ไม่ระวังจมูก ไม่ระวังลิ้น ไม่ระวังกาย ไม่ระวังใจ ไม่ระวังอินทรีย์ทั้ง ๖
Thu, 20 Jul 2023 - 04min - 533 - บุคคลที่มารรังควานไม่ได้
อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทริเยสุ สุสํวุตํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุงสทฺธํ อารทฺธวีริยํ ตํเว นปฺปสหติ มาโร วาโต เสลํว ปพฺพตํ มารย่อมรังควานบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะสำรวม เพราะเห็นตามอารมณ์อันไม่งามอยู่ อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ เห็นตามอารมณ์อันไม่งามอยู่ สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ เครื่องใช้สอย กินอยู่ บริโภค มีศรัทธาปรารภความเพียร ไม่คลาดเคลื่อน นั่นแหละมารรังควานไม่ได้ เหมือนลมนั่นแหละ มารรังควานไม่ได้ เหมือนลมซึ่งจะพัดภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหินให้สะเทือนไม่ได้ ฉันนั้นนั่นแหละ
Wed, 19 Jul 2023 - 02min - 532 - 📚 กัณฑ์ที่ ๔๐ สังวรคาถา การไม่สำรวมกายวาจาใจ เป็นลูกน้องพญามาร
สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทริเยสุ อสํวุตํ
โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญํ กุสีตํ หีนวีริยํ
ตํ เว ปสหติ มาโร วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลนฺติ ฯณ บัดนี้อาตมาภาพจักได้แสดงใน สังวรคาถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภความสำรวมระวัง เพราะเราท่านทั้งหลาย ทั้งหญิงและชาย คฤหัสถ์บรรพชิตทุกท่านถ้วนหน้า เมื่อได้มาปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ถ้าปราศจากความสำรวมระวังแล้ว ก็เป็นอันประพฤติดีไม่ได้ ถ้าว่าไม่ปราศจากความสำรวมระวังแล้ว เป็นอันประพฤติดีได้ ปฏิบัติดีได้ เหตุนั้นเราท่านทั้งหลาย ควรตั้งอยู่ในความสำรวมระวัง ความสำรวมระวังนี้พระองค์ทรงรับสั่งนัก ตักเตือนอุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ สามเณรในธรรมวินัย เพื่อจะให้ตรงต่อมรรคผลนิพพานทีเดียว
ถ้าแม้ว่าปราศจากความสำรวมระวังแล้ว จะไปสู่มรรคผลนิพพานไม่ได้ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่รู้จักจบจักแล้ว ต้องเวียนว่ายข้องขัดอยู่ในวัฏฏะ ทั้งสาม คือ วิปากวัฏ กรรมวัฏ กิเลสวัฏ พ้นจากวัฏฏะไปไม่ได้ จะไปจากวัฏฏะได้ต้องอาศัยความสำรวมระวัง ที่พระองค์ทรงรับสั่งตามวาระพระบาลีว่า สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทริเยสุ อสํวุตํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุงกุสีตํ หีนวีริยํ ตํเว ปสหติ มาโร วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลนฺติ ฯ มารย่อมรังควานบุคคลนั้นได้คือ ผู้ไม่สำรวมในอินทรีย์ ผู้เห็นตามซึ่งอารมณ์อันงาม สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ ผู้เห็นตามซึ่งอารมณ์อันงามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ การบริโภคอยู่ กุสีตํ หีนวีริยํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด คือไม่มีศรัทธา เกียจคร้าน จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวีริยํ มีความเพียรเลวทราม นั้นมารรังควานได้ วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ เหมือนลมเมื่อพัดมาแต่เล็กน้อยเท่านั้น ต้นไม้ที่ใกล้จะทลายอยู่แล้ว ไปกระทบลมเข้าจากทิศทั้ง ๔ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็โค่นล้มลงไปง่ายๆ เพราะมันใกล้จะล้มอยู่แล้วนั้น อันนั้นเหมือนกัน อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทริเยสุ สุสํวุตํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุงสทฺธํ อารทฺธวีริยํ ตํเว นปฺปสหติ มาโร วาโต เสลํว ปพฺพตํ มารย่อมรังควานบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะสำรวม เพราะเห็นตามอารมณ์อันไม่งามอยู่ อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ เห็นตามอารมณ์อันไม่งามอยู่ สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ เครื่องใช้สอย กินอยู่ บริโภค มีศรัทธาปรารภความเพียร ไม่คลาดเคลื่อน นั่นแหละมารรังควานไม่ได้ เหมือนลมนั่นแหละ มารรังควานไม่ได้ เหมือนลมซึ่งจะพัดภูเขาอันล้วนแล้วด้วยหินให้สะเทือนไม่ได้ ฉันนั้นนั่นแหละ
Tue, 04 Jul 2023 - 45min
Podcasts similares a คำสอนพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- ฟังธรรมะก่อนนอน ใครชอบนอนฟังธรรมะแล้วหลับ จ Dhamma Lover
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- SONDHI TALK sondhitalk
- TED Talks Daily TED
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) Thammapedia.com
- พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) Thammapedia.com
- อ่านแล้วอ่านเล่า Thananon Domthong
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ