Podcasts by Category
ดื่มด่ำ ซึมซาม ด้วยการฟังบทพยัญชนะที่มีความงดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด เป็นข้อมูลโดยตรงจากพระสูตรในพระไตรปิฏก เพื่อให้มีการตกผลึกความคิด เกิดเป็นความคลองปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็นได้. New Episode ทุกวันพฤหัส เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- 393 - ความเชื่อเรื่องกรรมเก่าที่ผิด- เทวทหสูตร [6747-4s]
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ ขณะประทับอยู่ที่เทวทหะนิคม ทรงปรารภหลักคำสอนของพวกนิครนถ์ในเรื่องกรรมเก่า และการสิ้นกรรม ซึ่งพวกนิครนถ์เชื่อว่า กรรมเก่าให้ผลแน่นอนไม่มีข้อยกเว้น การหมดทุกข์จะมีได้ด้วยการบำเพ็ญเพียรอย่างแรงกล้า และการไม่ทำกรรมใหม่เพิ่มเติม ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และทรงแสดงความเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม และผลแห่งความเพียร ตามหลักคำสอนในศาสนาพุทธ โดยทรงยกอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบไว้ 3 อย่าง คือ บุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ ขายหนุ่มหลงรักหญิงสาว และช่างศรดัดลูกศรที่คดงอให้ตรง ที่เมื่อใคร่ครวญแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาในพระสูตรนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 20 Nov 2024 - 58min - 392 - ความเห็นผิด- ปาฏิกสูตร ตอนที่ 2 [6746-4S]
เป็นตอนจบของพระสูตรนี้ เป็นตอนที่ปาฏิกบุตร หลอกลวงประชาชน ในลักษณะที่โอ้อวดว่าสามารถแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ได้มากกว่าพระพุทธเจ้าเป็นทวีคูณ แต่พอจะให้เกิดการพิสูจน์ ก็ไม่สามารถที่จะทำความชัดแจ้ง ให้ถึงการตรวจสอบที่ถูกต้องได้ ท่านเปรียบเหมือนสุนัขจิ้งจอกที่เห็นราชสีห์มีความสามารถ มีกำลัง มีการคำราม ตัวเองก็เอาอย่างบ้าง แต่ก็ไม่สามารถคำรามให้เสียงเป็นเหมือนอย่างราชสีห์ได้
เนื้อหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เรื่องกำเนิดของโลก ที่ไม่ได้เกิดจากพรหม หรือพระพุทธเจ้าเป็นผู้สร้างโลก ที่ถ้ามีความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น ๆ รู้ถึงความดับ และไม่ดำเนินไปสู่ความเสื่อมได้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 13 Nov 2024 - 55min - 391 - ความเห็นผิด- ปาฏิกสูตร ตอนที่ 1 [6745-4s]
พระสูตรว่าด้วยนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร ซึ่งเป็นนักบวชเปลือย 1 ใน 3 คน ที่ปรากฏในพระสูตรนี้ เป็นเรื่องราวที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารถแก่ ภัคควโคตรปริพาชก ได้กราบทูลถามเรื่อง เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรลาสิกขา จึงทรงเล่าสาเหตุที่ เจ้าสุนักขัตตะ ลาสิกขาโดยอ้างเหตุผล 2 ประการ คือ (1) ไม่ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้ดู (2) ไม่ทรงประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ซึ่งในตอนท้ายของพระสูตรได้ทรงตรัสเล่าเรื่องทฤษฏีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกในตอนนี้ เป็นตอนที่พระพุทธเจ้า ตรัสเล่าย้อน ตอนที่อบรมภิกษุสุนักขัตตะ ที่ไปเคารพนักบวชเปลือย 3 คน โดยปรารภว่าในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ทรงแสดงให้เจ้าสุนักขัตตะ ขณะนั้นยังเป็นภิกษุทำหน้าที่อุปัฏฐากพระองค์ ดูถึง 3 ครั้ง และเจ้าสุนักขัตตะก็ยอมรับว่าทรงแสดงแล้ว แต่ก็ยังมีความคิดผิดเพี้ยนไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 06 Nov 2024 - 57min - 390 - ต้นกำเนิดของโลก-อัคคัญญสูตร [6744-4s]
อัคคัญญสูตร ทรงแสดงแก่สามเณรชื่อ วาเสฏฐะและภารทวาชะ ทรงชี้แจงให้เข้าใจถึงความเป็นมาของวรรณะ 4 ที่พวกพราหมณ์เข้าใจเรื่องระบบวรรณะผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป ไม่รู้เรื่องความเป็นมาของวรรณะตามความเป็นจริง และทรงแสดงการกำเนิดหรือวิวัฒนาการของโลก ตั้งแต่ตอนต้นแห่งวิวัฏฏกัปที่โลกก่อตัวขึ้นใหม่ จนมีมนุษย์เกิดขึ้นและวิวัฒนาการของระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองไว้อย่างน่าสนใจ และทรงสรุปเน้นย้ำในเรื่อง การประพฤติสุจริต ตรัสสอนให้เจริญโพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมที่จะให้เกิดการบรรลุธรรม และหลุดพ้นได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 30 Oct 2024 - 59min - 389 - เหตุแรกเกิด-มหานิทานสูตร [6743-4s]
มหานิทานสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นต้นเหตุใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอานนท์ ขณะประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุ ปรารภธรรมในหมวดธรรมที่ชื่อ ปฏิจจสมุปบาท เพื่อทรงแก้ความเข้าใจผิดของพระอานนท์ ที่กราบทูลว่า น่าแปลกที่ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ลึกซึ้งสุดคาดคะเน แต่สำหรับท่านกลับเป็นธรรมง่ายๆ พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้พูดเช่นนี้ แล้วทรงอธิบายไล่เรียงในรายละเอียดให้ฟัง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 23 Oct 2024 - 58min - 388 - ใจเขา ใจเรา - อนุมานสูตรและจูฬตัณหาสังขยสูตร [6742-4s]
สูตร#1 อนุมานสูตร พระมหาโมคคัลลานะแสดงแก่ภิกษุจำนวนหนึ่ง ขณะพักอยู่เภสกฬาวัน เขตเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ โดยปรารภปวารณากรรมของภิกษุบางรูปที่เป็นผู้ว่ายาก โดยยกเรื่องธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก 16 ประการ และธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย 16 ประการ มาตั้งเป็นข้ออนุมานตน ได้แก่บุคคลอื่นผู้มีธรรมให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่เป็นที่รักที่พอใจของเรา ฉันใด ถ้าตนเองมีคุณธรรมให้เป็นผู้ว่ายากบ้าง คนอื่นก็ไม่รักไม่พอใจฉันนั้นเหมือนกัน ดังนั้นให้ปฏิบัติธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย และได้ยกข้อธรรมทั้ง 2 ประการนั้น มาตั้งเป็นหัวข้อพิจารณาตนเองแต่ละประการอีกว่า ตนมีธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายากหรือไม่ ถ้ามีก็ควรพยายามละเสีย แต่ถ้าไม่มีในตน ก็ควรศึกษาและปฏิบัติตามกุศลธรรมทั้งหลายอย่างต่อเนื่องต่อไป
สูตร#2 จูฬตัณหาสังขยสูตร ทรงแสดงแก่ท้าวสักกะ ณ บุพพาราม กรุงสาวัตถี เพื่อตอบปัญหาของท้าวสักกะ ที่ได้ทูลถามว่า กล่าวโดยย่อ ข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า ผู้หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตรัสตอบและอธิบายถึงข้อปฏิบัติ ที่ว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น “ ท้าวสักกะชื่นชมพระภาษิตและทูลากลับ
ขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งฟังอยู่ไม่ไกล คิดว่า ท้าวสักกะจะไม่เข้าใจจริง จึงตามไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องความสิ้นตัณหาโดยย่อว่าอย่างไร ท้าวสักกะไม่ตอบ แต่ชวนไปชมเวชยันตปราสาท พระเถระจึงสำแดงฤทธิ์ให้เวชยันตปราสาทสั่นสะเทือน จึงยอมบอกตามที่ทรงได้ฟังมา พระเถระได้กลับมารายงานให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงยืนยันว่าได้ตรัสอย่างนั้นจริง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 16 Oct 2024 - 59min - 387 - พุทธประวัติ ตอน ปัญญาแทงตลอดธรรมธาตุ - มหาปทานสูตร (3) [6741-4s]
มหาปทานสูตร (3) พระพุทธเจ้าทรงเล่าถึงตอนพระปัสสีโพธิสัตว์ตรัสรู้ ทรงแสดงธรรมแก่คู่พระอัครสาวกและมหาชน ซึ่งในการแสดงธรรมนั้นมีผู้บรรลุธรรมตามเป็นจำนวนหลายแสนคน และได้ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ทรงดำริว่า เมื่อเวลาล่วงไปทุกๆ6ปี ภิกษุทั้งหลายควรกลับมายังกรุงพันธุมดี เพื่อแสดงปาฏิโมกข์ ซึ่งท้าวมหาพรหมได้กราบทูลว่าจะหาวิธีให้ภิกษุกลับมา ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงไปหาเหล่าเทพชั้นสุธาวาส และเหล่าเทพชั้นต่างๆ มีเทวดามากมายมาเข้าเฝ้า เทวดาได้เล่าเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในสมัยนั้นๆที่ตนประพฤติพรหมจรรย์ แล้วจึงมาเกิดในที่นี้ ๆ
และทรงสรุปพระธรรมเทศนานี้ว่า ที่ทรงทราบพระประวัติของพระพุทธเจ้าในอดีต 6 พระองค์ ที่มีในกัปนี้และกัปก่อนๆและพระประวัติของพระองค์เอง เป็นเพราะพระองค์มีปัญญาทราบได้เองถึงพระพุทธเจ้าในอดีตและเพราะเหล่าเทวดาบอกเรื่องนั้นให้ทราบ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 09 Oct 2024 - 58min - 386 - พุทธประวัติ ตอน คาถาอันน่าอัศจรรย์ - มหาปทานสูตร (2) [6740-4s]
มหาปทานสูตร(2) ตอนการออกผนวช การตรัสรู้ และการแสดงธรรม เมื่อพระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ทรงเห็นเทวฑูตทั้ง 4 เป็นนิมิต ทรงเสด็จออกผนวช มหาชนทราบข่าวได้ออกบวชตามเสด็จ ต่อมาทรงหลีกออกจากหมู่อยู่เพียงลำพัง ประทับหลีกเร้นในที่สงัด ได้ทรงใคร่ครวญเรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้วทรงบรรลุธรรม ท้าวมหาพรหมได้ทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม ทรงแสดงธรรมแก่คู่พระอัครสาวก และแก่มหาชน ซึ่งได้บรรลุธรรมตามที่ทรงตรัสรู้แจ้งนั้น ตามลำดับ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 02 Oct 2024 - 57min - 385 - พุทธประวัติ ตอนปุพเพนิวาส - มหาปทานสูตร (1) [6739-4s]
มหาปทานสูตร (1) พระประวัติของพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเรื่อง ปุพเพนิวาสญาณของพระองค์ โดยตรัสเล่าพระประวัติโดยสังเขปของพระพุทธเจ้าในอดีต 6 พระองค์ ที่มีในกัปนี้และกัปก่อนๆและพระประวัติของพระองค์เอง แต่เนื่องจากภิกษุยังมีข้อสงสัยอยู่จึงได้เสด็จกลับมาและตรัสเล่าต่อ เฉพาะพระประวัติของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ซึ่งในตอนนี้ เป็นตอนประสูติ ประกอบด้วยเรื่อง กฎธรรมดาของพระโพธิสัตว์ 16 ประการ , ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงมีเหมือนกัน และ การเห็นเทวฑูต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 25 Sep 2024 - 58min - 384 - ปัญหาที่ไม่ทรงพยากรณ์ - จูฬมาลุงกยสูตร และ มหามาลุงกยสูตร [6738-4s]
สูตร#1 จูฬมาลุงกยสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระมาลุงกยบุตร ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับทิฏฐิ 10 ประการ คือจะทรงตอบรับหรือตอบปฏิเสธ ผู้ฟังก็ไม่สามารถเข้าใจ และไม่มีประโยชน์ พระมาลุงกยบุตรรู้สึกไม่พอใจ ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบอัพยากตปัญหา 10 ประการ จึงเข้าไปถามอีกครั้งหนึ่ง แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบปัญหาเหล่านี้ เพราะไม่มีประโยชน์ ไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ แต่ปัญหาที่จะทรงตอบ คือ ปัญหาเรื่องอริยสัจ 4 เพราะมีประโยชน์ และจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อทรงตรัสจบ ท่านพระมาลุงกยบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตนั้น
สูตร#2 มหามาลุงกยสูตร ทรงแสดงแก่พระมาลุงกยบุตรพร้อมกับภิกษุหลายรูป ทรงปรารภเรื่อง โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ (เครื่องร้อยรัดที่ยึดจิตให้อยู่ในภพ) ทรงตรัสถามภิกษุเรื่องสังโยชน์ 5 ประการ ท่านพระมาลุงกยบุตรมีคำตอบที่ถูกต้อง แต่บทพยัญชนะนั้นไม่แยบคาย จะทำให้อัญเดียรถีย์ปริพาชก นำเรื่องเด็กอ่อนที่นอนหงายมาโต้กลับได้ และ เพื่อปรับทิฏฐิของท่านมาลุงกยบุตรให้ละเอียดยิ่งขึ้นไป จึงทรงอธิบายขยายความถึงอุบายในการนำออกและข้อปฏิบัติเพื่อละสังโยชน์ และทรงแสดงว่า รูปฌาณ 4 และอรูปฌาณ 4 เป็นมรรคและปฏิปทาที่ทำให้ละสังโยชน์ทั้ง 5 ประการได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 18 Sep 2024 - 58min - 383 - สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง - มหาสุทัสสนสูตร (ตอนที่ 2) [6737-4s]
มหาสุทัสสนสูตร (ตอนที่ 2) พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงดำริว่า เหตุที่ทรงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ในเวลานี้ เป็นผลเป็นวิบากแห่งกรรม 3 อย่าง คือ (1) การให้ (2) การข่มใจ (3) การสำรวม จึงทรงบำเพ็ญฌาน ได้บรรลุฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 4 , ทรงเจริญพรหมวิหาร 4
จากนั้นเวลาล่วงไปหลายพันปี พระนางสุภัทราเทวีเป็นนางแก้ว ได้เสด็จมาเฝ้า ทรงเห็นว่าพระสวามีจะทรงสวรรคต จึงทรงขอร้องให้อยู่ต่อเพื่อเห็นแก่สมบัติ เห็นแก่ชีวิต แต่กลับตรัสตอบขอให้พระเทวีทรงขอร้องใหม่ในทางตรงกันข้าม เพราะการพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นของธรรมดา การตายของผู้มีความกังวล ห่วงใย เป็นทุกข์ และถูกติเตียน พระเทวีก็ทรงกรรเเสง และทรงตรัสขอร้องใหม่ ตามที่พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงแนะนำนั้น และต่อมาไม่นาน พระเจ้ามหาสุทัสสนะก็สวรรคต เพราะทรงเจริญพรหมวิหาร 4 ประการ หลังจากสวรรคตแล้วจึงไปเกิดในพรหมโลก พระพุทธเจ้าทรงสรุปว่าพระเจ้ามหาสุทัสสนะสมัยนั้น คือพระองค์เอง และทรงชี้ให้เห็นสัจธรรมว่า แม้ทรงพรั่งพร้อมสมบูรณ์ด้วยสมบัตินานาประการ แต่ก็ทรงใช้สอยเพียงบางส่วนเท่านั้น และทรงตรัสว่า สังขารเหล่านั้นทั้งปวงล่วงลับดับไป ผันแปรไปแล้ว สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืน สังขารทั้งหลาย ไม่น่ายินดี ข้อนี้จึงควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรจะหลุดพ้นไปจากสังขารทั้งปวงโดยแท้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 11 Sep 2024 - 55min - 382 - สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ - มหาสุทัสสนสูตร (ตอนที่ 1) [6736-4s]มหาสุทัสสนสูตร (ตอนที 1) ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ขณะประทับใต้ควงไม้สาละคู่ในวันปรินิพพาน ทรงปรารภคำกราบทูลพระอานนท์ว่า อย่าได้ทรงปรินิพพานที่กุสินารา ซึ่งเป็นเมืองเล็กนี้ ขอเสด็จไปในเมืองใหญ่ ทรงตรัสห้ามไม่ให้พูดอย่างนั้น แล้วทรงเล่าเรื่องในอดีตของกรุงกุสินารา เคยเป็นราชธานีของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า มหาสุทัสสนะ ผู้ครอบครองมหาอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาล และมีกรุงกุสาวดี คือกรุงกุสินาราในบัดนี้เป็นเมืองหลวง มีประชากรหนาแน่น เจริญรุ่งเรืองมาก พระเจ้ามหาสุทัสสนะ ทรงมีรัตนะหรือแก้ว 7 ประการ ,ทรงมีสมบัติ 10 ประการ และทรงสมบูรณ์ด้วยพระฤทธิ์ (ความสำเร็จ 4 ประการ) ทรงเพียบพร้อมบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติเหล่านี้ เพราะกรรมดีของพระองค์ คือ ทาน ,การข่มใจ และการสำรวม จากนั้นทรงเจริญฌานสมาบัติ และพรหมวิหาร …(ยังมีต่อ)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 04 Sep 2024 - 57min - 381 - กามและกามคุณ- โปตลิยสูตร และนิพเพธิกสูตร [6735-4s]
สูตร1 # โปตลิยสูตร ทรงแสดงแก่โปตลิยคหบดี ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ แคว้นอังคุตตราปะ โดยทรงปรารภคำกล่าวของโปตลิยคหบดีเรื่องที่ได้ตัดขาดโวหารทุกอย่างแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามถึงการตัดขาดโวหารของเขา แล้วทรงแสดงธรรม 8 ประการที่เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหารในอริยวินัย ทรงอธิบายถึงโทษแห่งกาม (กามาทีนวกถา) 7 ประการ พร้อมทั้งการพิจารณาให้เห็นโทษแห่งกาม ซึ่งจะทำให้บรรลุฌาน 4 และวิชชา 3 เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง โปตลิยคหบดีได้แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
สูตร#2 นิพเพธิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส คือ ทรงสอนให้ภิกษุทั้งหลายทราบสภาวธรรมต่าง ๆ รวม 6 ประการดังนี้ (1) กาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม (2) เวทนา… (3) สัญญา… (4) อาสวะ… (5) กรรม… (6) ทุกข์… ทรงอธิบายขยายความแต่ละประการอย่างพิสดาร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 28 Aug 2024 - 58min - 380 - หนทางสู่พรหมโลก- เตวิชชสูตร [6734-4s]
พระผู้มีพระภาคตรัสแก่มาณพ 2 คน คือ วาเสฏฐะ และภารัทวาชะ ขณะประทับอยู่ ณ อัมพวัน แคว้นโกศล ที่หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อมนสากฏะใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ปรารภเหตุที่มาณพทั้ง 2 ถกเถียงกัน และตกลงกันไม่ได้ว่าทางที่ไปสู่พรหมโลก ทางไหนเป็นทางตรง ซึ่งมาณพทั้ง 2 ต่างอ้างถึงพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทบอกไว้ จึงทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงตัดสินว่าผู้ใดกล่าวถูก จึงทรงซักถาม ไล่เรียง ซึ่งพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทไม่เคยเห็นพรหม และทรงอธิบายสรุปให้ฟังว่า เป็นไปไม่ได้ว่าผู้ที่ไม่เคยเห็นพรหมจะบอกว่าทางนี้เป็นทางไปสู่พรหมโลก เป็นวาทะที่เลื่อนลอยไม่มีหลักฐาน และตรัสถึงคุณสมบัติของพรหมกับของพราหมณ์ที่ต่างกัน และเปรียบเทียบกันไม่ได้ เมื่อตายแล้วจะอยู่ร่วมกับพรหมได้อย่างไร แต่พระองค์ทรงรู้จักพรหม และทางไปสู่พรหมโลก ทรงอธิบายวิธีการที่จะไปอยู่กับพรหม เริ่มตั้งแต่การประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย จนถึงการที่สามารถละนิวรณ์ได้ จนจิตเป็นสมาธิแล้ว และให้อยู่ในพรหมวิหาร 4 ซึ่งจะเป็นเครื่องที่ทำให้ไปอยู่กับพรหมได้ มาณพทั้ง 2 เกิดความเลื่อมใส ประกาศตัวเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 21 Aug 2024 - 55min - 379 - ผู้ชำนาญวิถีทางแห่งวิตก- วิตักกสัณฐานสูตรและเทวธาวิตักกสูตร [6733-4s]
สูตร 1 # วิตักกสัณฐานสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ได้รับตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า วีธีการละอกุศล 5 ประการ โดยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบเพื่อกำจัดอกุศล ที่เมื่อละได้แล้ว จะทำให้จิตตั้งมั่นสงบ เกิดสมาธิขึ้น ตัดตัณหา ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สูตร 2 # เทวธาวิตักกสูตร วิธีการแบ่งความคิดออกเป็น 2 ประเภท คือ อกุศลวิติก และกุศลวิตก ด้วยการมีสติแยกแยะความคิดที่เป็นอกุศลว่าเกิดขึ้นแล้ว และกำจัดความคิดที่เป็นอกุศลออกไป ตั้งดำรงความคิดที่เป็นกุศลไว้ จะทำให้จิตไปตามทางคือ มรรค สามารถทำสมาธิ ปัญญาให้แจ้ง และบรรลุธรรมได้
พระสูตรเพิ่ม # สัจจวิภังคสูตร ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ 4 ได้ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่าพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะสามารถอธิบายความอริยสัจ 4 ได้ ซึ่งพระสารีบุตรได้แสดงธรรมแห่งอริยสัจ 4 นี้ ให้เหล่าภิกษุได้ฟังอย่างละเอียด เมื่อพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 14 Aug 2024 - 57min - 378 - ธรรมผู้ครองเรือน- สิงคาลกสูตรและจัมมสาฏกชาดก [6732-4s]
สิงคาลกสูตร สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ในวันหนึ่ง "เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงเสด็จไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกะ คหบดีบุตร เนื้อตัวเปียกชุ่มไปหมดกำลังไหว้ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน จึงทรงถามสิงคาลกคฤหบดีบุตรกำลังทำอะไร สิงคาลกคฤหบดีบุตรตอบว่ากำลังไหว้ทิศทั้ง ๖ คามคำสั่งเสียของบิดา ได้ทรงตรัสว่าสิ่งที่กระทำนั้นยังไม่ตรงตามคำสั่งเสียของบิดา และได้ทรงอธิบายตรัสกับคหบดีบุตรว่า อริยสาวกละกรรมกิเลส (กรรมเครื่องเศร้าหมอง) ๔ ประการ ได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ ๔ ประการ และไม่ข้องแวะอบายมุข (ทางเสื่อม) ๖ ประการ แห่งโภคะทั้งหลาย อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจากบาปกรรม ๑๔ ประการนี้แล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ปิดป้องทิศ ๖ (หมายถึงปกปิดช่องว่างระหว่างตนกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง คือ มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรสหายเป็นทิศเบื้อง ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องล่าง สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน) ปฏิบัติเพื่อครองโลกทั้งสอง ทำให้เกิดความยินดีทั้งโลกนี้และโลกหน้า หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สิงคาลกะคหบดีบุตรขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จัมมสาฏกชาดก พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ปริพาชกชื่อจัมมสาฏก ได้ตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ ได้ยินว่าปริพาชกนั้นมีหนังเท่านั้นเป็นเครื่องนุ่งและเครื่องห่ม วันหนึ่ง ปริพาชกนั้นออกจากอาราม เที่ยวไปในนครสาวัตถี มีพวกแพะชนกัน แพะเห็นปริพาชกนั้นจึงย่อตัวลงด้วยประสงค์จะวิ่งเข้าชน แต่ปริพาชกไม่หลบแพะด้วยคิดว่าแพะคงแสดงความเคารพ (โดยการย่อตัว) แพะจึงวิ่งมาชนปริพาชกนั้นที่ขาอ่อนทำให้ล้มลง เหตุที่เขายกย่องแพะซึ่งมิใช่สัตบุรุษนั้น (โดยคิดว่าแพะจะทำความเคารพเขา) ได้ปรากฏไปในหมู่ภิกษุสงฆ์ ว่าจัมมสาฏกปริพาชกกระทำการยกย่องอสัตบุรุษ จึงถึงความพินาศ พระศาสดาได้ทรงเล่าเหตุการณ์ในกาลก่อนที่เกิดขึ้นเหมือนกันให้เหล่าภิกษุฟังว่า ปริพาชกนี้ก็ได้ยกย่องอสัตบุรุษจึงถึงความพินาศแล้ว ด้วยการถูกแพะชนโดยเข้าใจว่ามันทำความเคารพ จึงยืนพนมมือ ขณะนั้น พ่อค้าผู้เป็นบัณฑิตนั่งอยู่ในตลาด เมื่อจะห้ามปริพาชกว่าอย่าได้ไว้วางใจแก่สัตว์ ๔ เท้า เพียงได้เห็นมันครู่เดียว มันต้องการจะชนให้ถนัด จึงย่อตัวลง แพะวิ่งมาโดยเร็วชนที่ขาอ่อน ทำให้ปริพาชกนั้นล้มลง ทำให้ได้รับทุกขเวทนา จึงถึงความสิ้นชีวิตไป พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ปริพาชกชื่อจัมมสาฏกในครั้งนั้น ได้เป็นปริพาชกชื่อ จัมมสาฏกในบัดนี้ ส่วนพาณิชผู้บัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 07 Aug 2024 - 54min - 377 - การรักษาอุโบสถให้ประเสริฐ- อุโปสถสูตร อิธโลกสูตร อนุรุทธสูตร [6731-4S]Wed, 31 Jul 2024 - 59min
- 376 - การสนทนาธรรมของท้าวสักกะ–สักกปัญหสูตร [6730-4s]
# สักกปัญหสูตร ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยปัญจสิขะ คันธรรพบุตร และ พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ได้เข้าเผ้าพระผู้มีพระภาคในถ้ำอินทสาละ ที่ภูเขาเวทิยกะ ได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค ในเรื่องที่ท้าวสักกะจอมเทพได้ประจักษ์กับตนว่าผู้ที่เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้าจะถึงความเป็นผู้วิเศษและบรรลุธรรม เช่นเดียวกับศากยธิดา ชาติที่เกิดเป็นมนุษย์เป็นสตรี หลังจากตายแล้วมาเกิดเป็นบุตรชายของตน และคนธรรพ์ 2 องค์ซึ่งเป็นภิกษุในพระพุทธเจ้ามาก่อน เมื่อถูกตักเตือน ระลึกถึงธรรมที่ตนได้ฟัง ได้สติ เห็นโทษของกาม ตัดกามสังโยชน์เสียได้ ก็ก้าวล่วงภพอันต่ำนั้น เข้าถึงกายอันเป็นพรหมปุโรหิต เหนือเทวดาชั้นดาวดึงส์
ท้าวสักกะจึงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม ได้ทูลถามคำถามว่า มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ มีอะไรเป็นเครื่องผูกมัดใจไว้จึงทำให้ไม่มีความสุข ได้ทรงตรัสตอบว่าเพราะความริษยา และความตระหนี่ เป็นเครื่องผูกมัด และได้ทรงไล่เรียงต้นเหตุแห่งความความริษยา และความตระหนี่ เริ่มจาก อารมณ์อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ความพอใจ และความวิตกส่วนแห่งสัญญาอันประกอบด้วยปปัญจธรรม ได้แก่ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ได้ตรงตรัสว่าภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อความสำรวมในปาติโมกข์ 3 ประการ คือ กายสมาจาร วจีสมาจาร การแสวงหา ที่ควรเสพ และที่ไม่ควรเสพ การสำรวมอินทรีย์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมที่ควรเสพและที่ไม่ควรเสพ
ภิกษุผู้ภิกษุทั้งหลายผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาเท่านั้น จึงจะมีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีคือกิเลสปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพและแก่เทวดาอื่นอีก 80,000 องค์
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 24 Jul 2024 - 1h 17min - 375 - การประชุมใหญ่ของเทวดา - มหาสมัยสูตร และสักกปัญหสูตร [6729-4s]
สูตร#1 มหาสมัยสูตร การประชุมครั้งใหญ่ของเทวดาวาระหนึ่ง เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้าและชมปฏิปทาของภิกษุสงฆ์ จำนวน 500 รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ เมื่อเทวดามาพร้อมกันแล้ว ได้มีเสนามารเข้ามาในที่ประชุมด้วยประสงค์ร้าย พระองค์ทรงรับสั่งให้พระสาวกระวังตัว ด้วยพุทธานุภาพ เสนามารไม่สามารถทำอะไรแก่พระสาวกได้ และได้กล่าวสรรเสริญพระสาวกของพระองค์ว่า เป็นผู้ชนะสงคราม ล่วงพ้นความหวาดกลัวแล้ว
สูตร#2 สักกปัญหสูตร(พระสูตรเสริม)
อ่าน "มหาสมัยสูตร ว่าด้วยการประชุมครั้งใหญ่ของเทวดา" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ทีฆนิกาย มหาวรรค
อ่าน "สักกปัญหสูตร" พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 17 Jul 2024 - 53min - 374 - ความประพฤติที่ผู้รู้ติเตียน - พาหิติกสูตร กรรณกัตถลสูตร ฐานสูตร และ ปิยชาติกสูตร [6728-4s]
สูตร#1 พาหิติกสูตร ว่าด้วยการถวายผ้าพาหิติกา (ผ้าที่ทอจากต่างแคว้น) ท่านพระอานนท์แสดงแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ผู้ครองแคว้นโกศล ที่ได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ ทางกาย วาจา ใจ ที่ผู้รู้ติเตียนหรือไม่ พระอานนท์ตอบว่าไม่ทรงประพฤติ และตรัสถามว่า ความประพฤติที่ผู้รู้ติเตียนและผู้รู้ไม่ติเตียนเป็นอย่างไร ท่านพระอานนท์ได้ตอบว่า ความประพฤติที่ผู้รู้ติเตียน คือ ความประพฤติที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น หรือทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งทำให้อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ทรงละอกุศลธรรมทุกอย่าง ทรงประกอบด้วยกุศลธรรมส่วนความประพฤติที่ผู้รู้ไม่ติเตียนมีนัยตรงข้ามกัน เมื่อท่านพระอานนท์แสดงจบ พระเจ้าปเสนทิโกศลเกิดความเลื่อมใสทรงถวายผ้าพาหิติกาเพื่อบูชาธรรมแก่พระอานนท์ ซึ่งท่านได้นำไปถวายพระพุทธเจ้า
สูตร #2 กรรณกัตถลสูตร ทรงแสดงแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะประทับอยู่ ณ กัณณกัตถละ อุทัญญานคร แคว้นโกศล เพื่อทรงสนทนาธรรม เรื่องสัพพัญญู เรื่องวรรณะ 4 เรื่องเทวดาและพรหม โดยได้ทรงพยากรณ์ความเป็นสัพพัญญู , ทรงตรัสถึงวรรณะ 4 จำพวกในสัมปรายภพไม่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับมีหรือไม่มีธรรม 5 ประการ และความเพียร เปรียบเหมือนสัตว์ที่ฝึกกับสัตว์ที่ไม่ได้ฝึก ,ตรัสตอบเรื่องเทวดาและพรหมที่มีความเบียดเบียน มีทุกข์จึงจะมาเกิดในมนุษยโลก
สูตร#3 ฐานสูตร (เพิ่มเติม) พระพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้ มี 5 ประการ คือ อย่าแก่ อย่าเจ็บไข้ อย่าตาย อย่าสิ้นไป และอย่าฉิบหาย
สูตร#4 ปิยชาติกสูตร(เพิ่มเติม) ตอน ลูกชายคนเดียวของคหบดีตาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 10 Jul 2024 - 57min - 373 - ธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ-เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร และนาถกรณสูตร [6727-4s]Wed, 03 Jul 2024 - 58min
- 372 - พุทธบรรยาย และพุทธปฏิภาณ – พหุเวทนิยสูตร วีมังสกสูตร และอภัยราชกุมารสูตร [6726-4S]Wed, 26 Jun 2024 - 58min
- 371 - ปาฏิหาริย์ 3 อย่าง - เกวัฎฎสูตร[6725-4S]Wed, 19 Jun 2024 - 56min
- 370 - แก่นแห่งพรมจรรย์- จูฬโคสิงคสูตร มหาโคสิงคสูตร [6724-4s]
สูตร 1 # จูฬโคสิงคสูตร พระผู้มีพระภาค เสด็จไปยังป่าโคสิงคสาลวัน ได้พบกับท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้ทรงสอบถามถึงความเป็นอยู่ ท่านทั้ง 3 อยู่กันด้วยความสามัคคี มีเมตตาให้กันทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งทางกาย วาจา และใจ พยายามที่จะเก็บจิตของตนเองแล้วทำตามจิตของผู้อื่น จึงสามารถอยู่เป็นสุขได้ พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องพระเถระทั้ง 3 รูป
สูตร 2 # มหาโคสิงคสูตร พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวันพร้อมด้วยพระเถระผู้เป็นสาวกที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระเถระผู้เป็นพระสาวกที่มีชื่อเสียงรูปอื่นๆ ได้พากันหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม แต่ละท่านมีทรรศนะเรื่องป่าโคสิงคสาลวันว่าป่าจะงามด้วยภิกษุเช่นไรตามที่พระสารีบุตรสอบถาม และพระผู้มีพระภาคได้รับรองทรรศนะของพระเถระทั้งหมดว่าเป็นผู้งามสง่าด้วยความเพียร
อ่าน “จูฬโคสิงคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
อ่าน “มหาโคสิงคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 12 Jun 2024 - 1h 02min - 369 - ความเห็นผิดแห่งวิญญาณ - มหาตัณหาสังขยสูตร [6723-4S]Wed, 05 Jun 2024 - 1h 16min
- 368 - ข้อปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา - จูฬตัณหาสังขยสูตร และมหาตัณหาสังขยสูตร [6722-4s]
สูตร#1 จูฬตัณหาสังขยสูตร ทรงแสดงแก่ท้าวสักกะ ณ บุพพาราม กรุงสาวัตถี เพื่อตอบปัญหาของท้าวสักกะ ที่ได้ทูลถามว่า กล่าวโดยย่อ ข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า ผู้หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตรัสตอบและอธิบายถึงข้อปฏิบัติ ที่ว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น “ ท้าวสักกะชื่นชมพระภาษิตและทูลลากลับ
ขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งฟังอยู่ไม่ไกล คิดว่า ท้าวสักกะจะไม่เข้าใจจริง จึงตามไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องความสิ้นตัณหาโดยย่อว่าอย่างไร ท้าวสักกะไม่ตอบ แต่ชวนไปชมเวชยันตปราสาท พระเถระจึงสำแดงฤทธิ์ให้เวชยันตปราสาทสั่นสะเทือน จึงยอมบอกตามที่ทรงได้ฟังมา พระเถระได้กลับมารายงานให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงยืนยันว่าได้ตรัสอย่างนั้นจริง
สูตร#2 มหาตัณหาสังขยสูตร(ข้อ396-403) ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน โดยทรงปรารภความเห็นผิดของภิกษุชื่อสาติ ผู้เป็นบุตรชาวประมง ซึ่งมีความเห็นว่า “ วิญญาณนี้แลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” ซึ่งเป็นทิฏฐิที่ชั่ว แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า วิญญาณอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ถ้าไม่มีปัจจัย วิญญาณก็เกิดไม่ได้ แต่ภิกษุสาติไม่เชื่อ จึงทรงอาศัยเหตุนี้ กำราบท่านสาติ และสอบสวนความเข้าใจของภิกษุทั้งหลายในเรื่องนี้เพื่อสอนพระสาติ ทรงกล่าวถึง ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ,ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งขันธ์ 5 ,ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด (ยังมีต่อ)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 29 May 2024 - 57min - 367 - พุทธประวัติ ตอนหลังการตรัสรู้และแสดงธรรม [6621-4s]
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ # 4 หลังจากตรัสรู้แล้วทรงอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ต้นไทร มีเหตุการณ์ตามลำดับ ดังนี้ ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง ทรงมีความคิดว่า ธรรมใดที่ทรงตรัสรู้แล้ว พึงสักการะเคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยธรรมนั้น ทรงถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ ว่าไม่ทรงอภิวาท ไม่ลุกรับ พราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่า ทรงอธิบายธรรมที่ทำให้คนเราเป็นเถระ มารทูลให้นิพพาน ทรงตรัสว่า จะไม่ปรินิพพาน จนกว่า สาวกของพระองค์จะเป็นผู้ฉลาด ฯลฯ และศาสนานี้ตั้งมั่น รุ่งเรือง แผ่ไพรศาล ฯลฯ ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม จิตน้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อย พรหมอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมีอยู่ ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว 3 เหล่า คือ จมอยู่ในน้ำ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ และโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ทรงแสดงธรรม เพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก คือ พวกที่เมื่อได้เห็น และได้ฟังธรรมจึงเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้ ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ ซึ่งเป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา คือ ปัญจวัคคีย์ ซึ่งอยู่ที่เมืองพาราณสี ทรงเสด็จพาราณสี พบอุปกาชีวก ทรงโปรดปัญจวัคคีย์ และแสดงปฐมเทศนา ทรงประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ครั้งนั้น ท่านโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 22 May 2024 - 57min - 366 - พุทธประวัติ ตอนปฏิบัติตามทางสายกลาง [6720-4S]Wed, 15 May 2024 - 58min
- 365 - พุทธประวัติ ตอนทรงทำทุกรกิริยา [6719-4s]Wed, 08 May 2024 - 57min
- 364 - พุทธประวัติ ตอนก่อนออกผนวช [6718-4s]
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เรื่องเริ่มแต่การเกิดแห่งวงศ์สากยะ การก้าวลงสู่ครรภ์ การประสูติ ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ 32 บุพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ ความรู้สึกที่ถึงกับทำให้ออกผนวช และออกผนวชเมื่อพระชนม์ 29 ปี
อ่าน “อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
อ่าน “ลักขณสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 01 May 2024 - 56min - 363 - การออกบวชที่ชอบธรรม-โฆฏมุขสูตร และ ฆฏิการสูตร [6717-4s]
สูตร# 1 โฆฏมุขสูตร [๔๑๒] เป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านพระอุเทนะแสดงแก่โฆฏมุขะพราหมณ์ ซึ่งเข้าไปสนทนาธรรม ณ เขมิยอัมพวัน ปรารภเหตุที่โฆฏมุขะพราหมณ์ได้แสดงความเห็นของตนว่า การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ท่านพระอุเทนะได้แสดงบุคคล 4 จำพวกและบริษัท 2 จำพวกให้โฆฏมุขะพราหมณ์ฟัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบวชมีผล เพราะผู้ไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนมีมากในนักบวช โฆฏมุขะพราหมณ์ได้ท่านพระอุเทนะเป็นกัลยาณมิตรให้เกิดความเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ และได้สร้างโรงฉันปัจจุบันเรียกว่า ‘โฆฏมุขี’ ถวายแก่สงฆ์เมืองปาตลีบุตร
สูตร# 2 ฆฏิการสูตร [๒๘๒] เป็นสมัยที่พระพุทธเจ้าเกิดเป็นมานพชื่อโชติปาละ ซึ่งเป็นสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า มีกัลยาณมิตรเป็นช่างปั้นหม้อชื่อฆฏิการะ ที่ได้ชักชวนไปฟังธรรม ซึ่งตอนแรกนั้นโชติปาละไม่ยอมไป ต้องชวนถึง 3 ครั้ง และเมื่อฟังธรรมแล้วโชติปาละมานพได้ออกบวช ส่วนช่างหม้อจำเป็นต้องเลี้ยงมารดาผู้ชราและเสียจักษุ จึงไม่ได้ออกบวช
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 24 Apr 2024 - 57min - 362 - ธรรมในธรรม-อลคัททูปมสูตร [6716-4s]
อลคัททูปมสูตรพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ในครั้นนั้นอริฏฐภิกษุมีทิฏฐิชั่วเกิดขึ้นด้วยการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคว่า ได้รู้ทั่วถึงธรรม และธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายนั้นไม่สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ซึ่งเหล่าภิกษุอื่นได้ไปหาอริฏฐภิกษุด้วยความปรารถนาให้ละทิฏฐิชั่ว แต่ก็ไม่สำเร็จ อริฏฐภิกษุยังคงมีความเข้าใจผิดในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ เหล่าภิกษุอื่นได้กราบทูลความนี้ต่อพระผู้มีพระภาค ทรงได้รับสั่งเรียกอริฏฐภิกษุให้มาเข้าเฝ้า และได้ตรัสถามเนื้อความการกล่าวตู่ธรรมของพระผู้มีพระภาคนี้จากอริฏฐภิกษุ ซึ่งยอมรับว่าเป็นความจริง จึงได้ทรงอธิบายว่าการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยทิฏฐิที่ถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง ชื่อว่าประสบสิ่งที่มิใช่บุญ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน และได้รับสั่งเรียกเหล่าภิกษุเพื่ออธิบายว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่อริฏฐภิกษุจะเสพกามโดยปราศจากกาม ปราศจากกามสัญญา และปราศจากกามวิตก และได้ทรงแสดงว่าการเรียนธรรมนั้นให้พิจารณาไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมด้วยปัญญา ธรรมจึงประจักษ์ชัด รวมทั้งทรงแสดงธรรมเปรียบเทียบแพเพื่อการสลัดออกไม่ใช่เพื่อการยึดถือ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 17 Apr 2024 - 1h 08min - 361 - กายภาวนาและจิตตภาวนา-มหาสัจจกสูตร [6715-4s]Wed, 10 Apr 2024 - 59min
- 360 - จิตบริสุทธิ์-อุปักกิเลสสูตรและวัตถูปมสูตร [6714-4s]
สูตร1 #อุปักกิเลสสูตร สืบเนื่องจากพวกภิกษุโกสัมพีเกิดความบาดหมางทะเลาะวิวาท พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอยู่ 3 ครั้ง แต่ภิกษุไม่เชื่อฟัง จึงทรงเสด็จไปยังบ้านพาลกโลณการคาม ท่านพระภคุได้รับเสด็จ แล้วเสด็จต่อไปยังป่าปาจีนวังสทายวัน ซึ่งท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละพักอยู่ที่นั่น โดยอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทรงสนทนาและตรัสถามถึงญาณทัสสนะของพระเถระทั้ง 3 รูป ที่ได้ทูลว่า สามารถจำแสงสว่างและเห็นรูปได้แต่ไม่นาน จึงตรัสเล่าเหตุการณ์การปฏิบัติของพระองค์ก่อนการตรัสรู้ ซึ่งทรงพบอุปสรรคเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ทรงพิจารณาจนเห็นอุปกิเลส 11 ประการ ที่เป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น และเมื่อทรงละอุปกิเลสได้ จึงทรงเจริญสมาธิ 3 ประการได้ ญาณทัสสนะจึงเกิดขึ้นแก่พระองค์
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
สูตร2 #วัตถูปมสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ซึ่งมีสุนทริกภารทวาชปริพาชกนั่งฟังอยู่ด้วย และทรงทราบว่าปริพาชกนี้เชื่อถือลัทธินหานสุทธิ คือเชื่อว่าความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอาบน้ำลอยบาป จึงทรงแสดงธรรมให้เป็นไปตามอัธยาศัยของปริพาชกนี้ จึงทรงตรัสสอนปริพาชกนี้ว่า คนที่ทำกรรมชั่วไว้แล้ว ถึงจะไปอาบน้ำที่ไหนก็หาทำให้เกิดความสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ไม่ แล้วตรัสสอนการอาบน้ำในศาสนาของพระองค์ เมื่อตรัสจบ สุนทริกภารทวาชปริพาชกประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ทูลขอบรรพชาอุปสมบทและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในกาลต่อมา
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 03 Apr 2024 - 58min - 359 - เหตุไม่สะดุ้งกลัว-ภยเภรวสูตร และชาณุสโสณิสูตร [6713-4s]
สูตร 1 #ภยเภรวสูตร ทรงแสดงแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำถามของพราหมณ์ว่า การอยู่เสนาสนะอยู่ลำบาก ทำให้สงบได้ยาก การอยู่โดดเดี่ยวก็หาความรื่นรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายมักจะชักนำจิตของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิให้เกิดความหวาดหวั่นได้ ทรงอธิบายเหตุสะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า 16 ประการของสมณพราหมณ์พวกอื่น เปรียบเทียบกับเหตุไม่สะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่าของพระองค์ และพระอริยะทั้งหลายซึ่งมีนัยตรงข้ามกัน และทรงอธิบายว่าขณะที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงเลือกการอยู่เสนาสนะป่า และเมื่อความขลาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่ทรงอยู่ในอิริยาบถใดก็ทรงพิจารณาความขลาดกลัวให้หมดไปในอิริยาบถนั้น จะไม่ทรงเปลี่ยนอิริยาบถจนกว่าจะทรงกำจัดได้ แล้วทรงบำเพ็ญเพียรต่อไปจนได้ฌาน 4 และวิชชา 3 แม้หลังจากตรัสรู้แล้ว ก็ยังทรงอยู่เสนาสนะป่าเป็นประจำ เพราะทรงเห็นอำนาจประโยชน์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 2) เพื่อการอนุเคราะห์คนรุ่นหลังให้ถือปฏิบัติตาม เมื่อทรงอธิบายจบลง ชาณุสโสณิพราหมณ์เกิดความเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก
สูตร 2 #ชาณุสโสณิสูตร (อังคุตรนิกาย # 20) พราหมณ์เข้าเฝ้าและได้สนทนากันเรื่องวิชชา 3 ของพวกพราหมณ์ ทรงตรัสว่าผู้ได้วิชชา 3 ของพวกพราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง ผู้ได้วิชชา 3 ในอริยวินัยนี้เป็นอย่างหนึ่ง แล้วทรงแสดงในรายละเอียด
สูตร 3 # ชาณุสโสณิสูตร (สังยุตตนิกาย # 16)พราหมณ์เข้าไปเฝ้าแล้วทูลถามว่า สิ่งทั้งปวงมี หรือว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี ทรงตรัสตอบว่า ความเห็นอย่างนั้นเป็นความเห็นสุดโต่ง แล้วทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทอันเป็นทางสายกลางแก่พราหมณ์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 27 Mar 2024 - 57min - 358 - ฌานขั้นสูง-คาวีอุปมาสูตร และตปุสสสูตร [6712-4s]
สูตร1 #คาวีอุปมาสูตร อุปมาด้วยแม่โค ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงเปรียบเทียบภิกษุผู้โง่เขลากับแม่โคที่โง่เขลาและภิกษุผู้ฉลาดกับแม่โคที่ฉลาดว่า ภิกษุผู้โง่เขลาที่ไม่สามารถบรรลุปฐมฌานได้ ก็จะบรรลุทุติยฌานไม่ได้ เหมือนแม่โคโง่เขลาที่ไม่สามารถหากินบนภูเขาขรุขระในถิ่นตนได้ ก็จะไปหากินในที่ต่างถิ่นไม่ได้ ส่วนภิกษุผู้ฉลาดที่สามารถบรรลุปฐมฌานได้ ก็สามารถบรรลุณานขั้นสูงขึ้นไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธได้ เหมือนแม่โคฉลาดที่สามารถหากินบนภูเขาขรุขระในถิ่นตนได้ ก็สามารถไปหากินในที่ต่างถิ่นได้ องค์ธรรมในสูตรนี้ คือ อนุปุพพวิหาร 9 ประการ นอกจากนี้ยังทรงแสดงธรรมอื่น คือ อิทธิวิธญาณ ทิพพโสตะ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ไว้โดยละเอียด
สูตร2 #ตปุสสสูตร ว่าด้วยตปุสสคหบดี ท่านพระอานนท์พาตปุสสคหบดีไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเรื่องที่คหบดีนั้นเล่าให้ฟังว่า พวกเขาเป็นคฤหัสถ์มีความยินดีรื่นรมย์บันเทิงในกาม เนกขัมมะ (การออกบวช) ปรากฎแก่พวกเขาเหมือนเหวใหญ่ จิตของภิกษุหนุ่มๆ ยินดีในเนกขัมมะ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเนกขัมมะเป็นธรรมสงบ ภิกษุมีธรรมที่ต่างกับคฤหัสถ์ คือ เนกขัมมะ พระองค์ตรัสว่าข้อนั้นเป็นความจริง แม้พระองค์เองก่อนตรัสรู้ก็มีความดำริว่า เนกขัมมะเป็นความดี ความสุขเป็นความดี แต่จิตของพระองค์ก็ไม่น้อมไปในเนกขัมมะ เมื่อพิจารณาเห็นว่าเนกขัมมะเป็นธรรมสงบ จึงดำริว่า อะไรเป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น รู้ว่า เพราะยังไม่เห็นโทษในกาม และยังไม่ได้รับอานิสงส์ในเนกขัมมะ ถ้าได้เห็นโทษในกาม และได้รับอานิสงส์ในเนกขัมมะ จิตก็จะน้อมไปในเนกขัมมะ แล้วทรงแสดงว่า พระองค์ทรงบรรลุอนุปุพพวิหาร 4 ทรงสรุปว่า เมื่อใด พระองค์เข้าหรือออกจากอนุปุพพวิหารสมาบัติ 4 ประการนี้ได้ตามปรารถนา ทั้งโดยอนุโลม และปฏิโลม เมื่อนั้นพระองค์จึงกล้ายืนยันว่าได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกทั้งปวง
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 20 Mar 2024 - 58min - 357 - วิธีและผลานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติ-อานาปานัสสติสูตร และอานาปานสังยุต [6711-4s]
สูตร1 # อานาปานัสสติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งประกอบด้วยภิกษุผู้บวชใหม่ และพระเถระผู้มีชื่อเสียงหลายรูป พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ คืนดวงจันทร์เต็มดวง ในวันปวารณา พระผู้มีพระภาคทรงประทับนั่ง ณ ที่กลางแจ้ง มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่ และตรัสว่า ในหมู่ภิกษุนี้ มีภิกษุที่เป็นพระอริยเจ้า และภิกษุผู้ทำความเพียรในการเจริญหลักธรรมต่างๆอยู่ ได้ทรงแสดงหลักการเจริญ หลักธรรม 3 หมวด ที่เมื่อทำให้มากแล้ว มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก คือ อานาปานสติ 16 ขั้น สติปัฏฐาน 4 และโพชฌงค์ 7 ตามลำดับ โดยที่สุดแล้วจึงทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
สูตร2 # อานาปานสังยุตพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับภิกษุเรื่องธรรมอันเป็นเอก ซึ่งคืออานาปานสติ หากทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ได้ทรงแสดงถึงผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ 7 ประการ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Thu, 14 Mar 2024 - 56min - 356 - อานิสงส์แห่งการเจริญกายคตาสติ-กายคตาสติสูตร และอานาปานสังยุต [6710-4s]
สูตร1 # กายคตาสติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำกราบทูลของภิกษุ ผู้กำลังนั่งสนทนาเรื่องกายคตาสติที่ทรงตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุเจริญให้มากแล้ว จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ได้ทรงอธิบายวิธีเจริญกายคตาสติให้ฟังโดยละเอียด ซึ่งมีทั้งหมด 18 วิธี และทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญไว้ 10 ประการ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
สูตร2 # อานาปานสังยุต พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกับภิกษุเรื่องธรรมอันเป็นเอก ซึ่งคือการเจริญอานาปานสติ หากทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ได้ทรงแสดงถึงผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ และได้ตรัสถึงการเจริญอานาปานสติโดยเปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาในทิศใดย่อมกระทบกองดินนั้น ภิกษุก็เช่นกัน ดังนั้นจึงทรงให้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ และเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 06 Mar 2024 - 56min - 355 - คุณสมบัติของผู้เป็นพราหมณ์-โสณทัณฑสูตร [6709-4s]
โสณทัณฑสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะ ที่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้สนทนาถึงคุณสมบัติของพราหมณ์ที่เชื่อกันว่ามี 5 ประการ แต่เมื่อตัดคุณสมบัติบางอย่างออกไปก็ยังพอจะเรียกว่าพราหมณ์ได้ แต่คุณสมบัติสองประการที่มิอาจตัดได้ นั่นคือ ศีลและปัญญา เพราะสองสิ่งนี้ช่วยชำระกันและกัน ต่อมาพระพุทธเจ้าได้ขยายความถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นพราหมณ์ในธรรมวินัยนี้ คือ การที่ได้มาซึ่งศีล สมาธิ และปัญญา ตามลำดับ พราหมณ์ผู้ยิ่งใหญ่ยอมรับ และได้เข้าถึงความเป็นอุบาสก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 28 Feb 2024 - 58min - 354 - ผลแห่งความประพฤติสม่ำเสมอ-อัฏฐกนาครสูตรและสาเลยยกสูตร [6708-4s]
สูตร#1 อัฏฐกนาครสูตร พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ ณ เวฬุวคาม เขตกรุงเวสาลี โดยปรารภคำถามของทสมคฤหบดีที่ว่า "ธรรมอันเป็นเอก ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป ฯลฯ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่ เป็นอย่างไร?" พระอานนท์อธิบายถึงธรรมต่อไปนี้ คือ รูปฌาน 4 อัปปมัญญา 4 อรูปฌาน 3 และการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงและดับไปของธรรมนั้น ซึ่งเมื่อแสดงธรรมจบ ทสมคฤหบดีได้ชื่นชมยินดี กล่าวว่า ตนแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว แต่ได้พบถึง 11 ประตู โดยการฟังเท่านั้น เปรียบเหมือนคนแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์แห่งเดียว แต่ได้พบแหล่งขุมทรัพย์ถึง 11 ขุม ทสมคฤหบดีทำการบูชาพระอานนท์ โดยได้ถวายอาหารอันประณีตด้วยมือของตนแก่เหล่าภิกษุสงฆ์ ได้ถวายผ้าไตรจีวรและสร้างวิหาร 500 หลังถวายแก่พระอานนท์
พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 5 [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
สูตร#2 สาเลยยกสูตร ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลา เหล่าพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้า จึงพากันไปเข้าเฝ้าฯ และได้ทูลถามปัญหา "อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ทำให้สัตว์บางพวกตายแล้วเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก และสัตว์บางพวกตายแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์" พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า พวกที่เข้าถึงอบาย ฯลฯ เพราะประพฤติอธรรม คือ อกุศลกรรมบท 10 และประพฤติธรรมไม่สม่ำเสมอ ส่วนพวกที่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นั้น เพราะประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบท 10 และประพฤติธรรมสม่ำเสมอ และได้ทรงตรัสถึงผลแห่งความประพฤติโดยรายละเอียด เหล่าชาวบ้านสาลาต่างพากันชื่นชมยินดีในภาษิตของพระผู้มีพระภาค และได้แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
พระไตรปิฎกเล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 4 [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 21 Feb 2024 - 52min - 353 - สุขยิ่งกว่าสุขเวทนา- อนุปุพพวิหารสูตร อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตร นิพพานสูตร และอนุปทสูตร [6707-4S]
สูตร1 # อนุปุพพวิหารสูตรว่าด้วยอนุปุพพวิหารสูตร คำว่า “อนุปุพพวิหารธรรม” หมายถึง ธรรมเครื่องอยู่ที่ต้องเข้าสมาบัติตามลำดับมี 9 ประการ คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 และ สัญญาเวทยิตนิโรธ พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า “กามทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกามทั้งหลายได้สนิทอยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความอยาก ดับสนิทแล้ว”
สูตร2 # อนุปุพพวิหารสมาปัตติสูตรว่าด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติมี 9 ประการ คือ รูปฌาน4 และอรูปฌาน 4 และ สัญญาเวทยิตนิโรธ โดยทรงแสดงธรรมถึงการดับของอนุปุพพวิหารสมาบัติ ตามลำดับ โดยทรงกล่าวยกย่องว่าบุคคลผู้เข้าถึงอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง 9 ประการ ว่าเป็นผู้ที่ควรแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้ เข้าไปนั่งใกล้
สูตร3 # นิพพานสูตร ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข ซึ่งเป็นคำที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลาย ณ พระวิหารเวฬุวัน แต่ท่านพระอุทายีแย้งว่า “นิพพานไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “นิพพานไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข” แล้วได้แสดงกามคุณ 5 และสุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 เกิดขึ้นเรียกว่า กามสุข และแสดงว่า ในฌานสมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 แต่ละอย่างยังมีสิ่งกดดัน (อาพาธ) หมายถึง ความบีบคั้น เช่น ในปฐมฌานมีสัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเป็นสิ่งกดดัน แต่ในองค์ธรรมประการที่ 9 คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่มีสิ่งกดดันเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร
สูตร4 # อนุปทสูตรว่าด้วยธรรมตามลำดับบท ทรงแสดงแก่ภิกษุ ณ พระเชตะวัน ทรงตรัสสรรเสริญท่านพระสารีบุตรให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระสารีบุตรมีความฉลาดล้ำ มีปัญญาเลิศ มากกว่าภิกษุอื่น สามารถเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน เห็นแจ้งตามลำดับบท คือ บรรลุรูปฌาน 4, อรูปฌาน 4, สัญญาเวทยิตนิโรธ และความสิ้นอาสวะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Thu, 15 Feb 2024 - 54min - 352 - การปฏิบัติธรรม- จูฬธัมมสมาทานสูตรและมหาธัมมสมาทานสูตร [6706-4s]
สูตร1 # จูฬธัมมสมาทานสูตร [468] ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่าการสมาทานธรรมมี 4 ประการ หมายถึงการนำธรรมมาปฏิบัติ ซึ่งทรงอธิบายการสมาทานธรรม 4 ประการ โดยละเอียด และยกอุปมาโวหารประกอบ ทรงถือเอาความทุกข์และความสุขในขณะปฏิบัติ กับความทุกข์และความสุขที่เป็นผลแห่งการปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ ที่สูงสุดคือความสุขในสุคติโลกสวรรค์
สูตร2 # มหาธัมมสมาทานสูตร [473] ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ตรัสไว้ว่าคนส่วนมากต้องการให้สิ่งที่ไม่พึงประสงค์เสื่อมสิ้นไป ต้องการให้สิ่งที่พึงประสงค์เจริญพอกพูน ทั้งที่หวังไว้อย่างนั้นแต่กลับไม่สมหวัง สิ่งที่ไม่ต้องการกลับเจริญพอกพูน สิ่งที่ต้องการกลับไม่มี ได้ทรงอธิบายโดยยกการสมาทานธรรม 4 ประการ ดังที่แสดงไว้ในจูฬธัมมสมาทานสูตร แต่ทรงแยกอธิบาย คือบุคคลผู้ไม่รู้จักการสมาทานธรรมตามความเป็นจริง ชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป แต่ถ้ารู้การสมาทานธรรมตามเป็นจริง ชื่อว่ามีวิชชา ก็จะเป็นเหตุให้รู้ว่าสิ่งไหนควรเสพ สิ่งไหนไม่ควรเสพ ทำให้ธรรมที่ไม่น่าปรารถนา เป็นต้น เสื่อมไป ธรรมที่น่าปรารถนา เป็นต้น เจริญขึ้น และทรงอธิบายการสมาทานธรรมโดยการปฏิบัติธรรมที่เป็นอกุศลกรรมบท 10 และกุศลกรรมบท 10 หลังจากตายจะได้รับผลเป็นทุคติและสุคติ และทรงยกอุปมาของการสมาทานธรรม 4 ประการ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 07 Feb 2024 - 57min - 351 - การทำจิตให้ว่าง-มหาสุญญตสูตรและจูฬสุญญตสูตร [6705-4s]
สูตร1 # จูฬสุญญตสูตร สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ได้ทรงตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ที่ทูลถามเรื่อง การทำจิตในใจให้ถึงความว่างเปล่า (สุญญตวิหารธรรม) ของพระผู้มีพระภาค ได้ทรงอธิบายและแสดงรายละเอียดในวิธีปฏิบัติสุญญตาวิหารธรรมไว้ 7 ขั้น จากต่ำไปสูง และทรงสรุปว่า ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเข้าสุญญตาผลสมาบัติก็จะเข้าสุญญตาอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น
สูตร2 # มหาสุญญตสูตรสมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์และภิกษุทั้งหลาย ทรงปรารภการอยู่คลุกคลีกันด้วยหมู่คณะของภิกษุหลายรูปในที่นั้น ซึ่งเป็นช่วงจีวรกาล ที่ภิกษุมาร่วมกันทำจีวร ทรงทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะจำนวนมาก ทรงตำหนิว่าการที่ภิกษุพอใจในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะไม่ดีเลย ภิกษุผู้หลีกออกจากหมู่คณะไปอยู่ผู้เดียวเท่านั้น จึงจะได้รับความสุขจากความสงัด ความสงบ การตรัสรู้ และจะบรรลุเจโตวิมุตติได้ และพระองค์ก็อยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมนั้น ได้ทรงอธิบายเหตุผลโดยละเอียด วิธีฝึก และวิธีอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรม ซึ่งการมีสัมปชัญญะ และน้อมจิตไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นขั้นตอนแรกในการทำจิตให้ถึงความว่างได้ และทรงเน้นเรื่องการปฏิบัติกับพระองค์เหมือนกับมิตร อย่าปฏิบัติกับพระองค์เหมือนศัตรู
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 31 Jan 2024 - 58min - 350 - การรักษาศีล 8 และการอยู่ครองเรือน-อุโปสถสูตร อิธโลกิกสูตร อนุรุทธสูตร [6704-4S]
สูตร1 # อุโปสถสูตร (การรักษาศีล 8) สมัยหนึ่ง นางวิสาขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตาในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ได้รับสั่งทักนางวิสาขา ซึ่งได้ทูลตอบว่าจะรักษาอุโบสถ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า อุโบสถ 3 ประเภท ได้แก่ 1) โคปาลอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงคนเลี้ยงโค) เป็นการรักษาศีลไม่จริง 2) นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงนิครนถ์) เป็นการกระทำอย่างพวกนักบวชนอกศาสนาที่เรียกว่านิครนถ์ ชักชวนสาวกให้ต้อนตีสัตว์ไปในทิศทางต่าง ๆ บ้างก็ชักชวนกันให้เมตตาสัตว์บางชนิด บ้างก็ให้ทารุณกับสัตว์บางชนิด บ้างก็ชักชวนให้สลัดผ้านุ่งห่มทุกชิ้นในวันอุโบสถ และ 3) อริยอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงอริยะ)เป็นการสมาทานรักษาอุโบสถของผู้ปรารภความเพียรคือ ทำจิตที่เศร้าหมองนั้นให้ ผ่องแผ้ว โดยระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อระลึกอย่างนี้จิตย่อมผ่องใส เกิดปีติปราโมทย์ ละกิเลสเครื่อง เศร้าหมองของจิต
แล้วตรัสต่อไปว่า อริยอุโบสถนี้ที่บุคคลสมาทานรักษาแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก เปรียบเหมือน พระราชาเสวยราชสมบัติ และอธิปไตยในชนบทใหญ่ ๆ ทั้ง 16 แคว้น สมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง 7 ประการ ถือว่า การเสวยการครองราชย์ของพระราชาพระองค์นั้นยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
สูตร2 # อิธโลกิกสูตร (ธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้) สมัยหนึ่ง นางวิสาขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ได้ตรัสกับนางวิสาขาว่า มาตุคาม(หญิงชาวบ้าน) ที่ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ประกอบด้วย 1. จัดการงานดี (เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงาน) 2. สงเคราะห์คนข้างเคียง (รู้จักการงานคนในบ้านสามี) 3. ปฏิบัติถูกใจสามี (ไม่ล่วงละเมิดสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของสามี) และ 4. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้
มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้านั้น ต้องเป็นผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล จาคะ และปัญญา ดังนั้นธรรมทั้ง 8 ประการนี้มีอยู่แก่สตรีใดสตรีนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่า“ผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม กล่าวคำสัตย์”อุบาสิกาเช่นนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการ 16 อย่างประกอบด้วยองค์ 8 ประการ เป็นผู้มีศีล ย่อมเกิดในเทวโลกชื่อว่า “มนาปกายิกะ”
สูตร3 # อนุรุทธสูตร (พระอนุรุทธและเทวดาเหล่ามนาปกายิกา) สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ท่านพระอนุรุทธะพักผ่อนกลางวัน หลีกเร้นอยู่ มีเทวดาเหล่ามนาปกายิกามากมาย ได้เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ เหล่าเทวดาเหล่านั้นได้กล่าวว่าเป็นเทวดาชื่อ “มนาปกายิกา” ครองความเป็นใหญ่และมีอำนาจ 3 ประการ คือหวังวรรณะ (ผิวพรรณ) เสียง และความสุข เช่นใดก็จะได้เช่นนั้น เหล่าเทวดาทราบความดำริของพระอนุรุทธะ จึงแปลงร่างผิวพรรณ นุ่งผ้าและเครื่องประดับเป็นสีเขียว เหลือง ขาว ต่างขับร้อง ฟ้อนรำ ปรบมือ มีความไพเราะเปรียบเหมือนดนตรี แต่พระอนุรุทธิทอดอินทรีย์ลง (ไม่ลืมตาดู) ได้เข้าเฝ้าและเล่าเรื่องเทวดาให้ฟังพร้อมทูลถามพระผู้มีพระภาคว่ามาตุคามต้องประกอบด้วยธรรมใด เมื่อตายไปแล้วจึงจะไปเกิดร่วมกับเทวดามนาปกายิกา ซึ่งได้ทรงตรัสว่ามาตุคามประกอบด้วยธรรม 8 ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย ของเทวดาเหล่ามนาปกายิ (ชั้นนิมมานนรดี)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 24 Jan 2024 - 1h 05min - 349 - ความเห็นผิด- โลหิจจสูตร (2) [6703-4S]
โลหิจจพราหมณ์ผู้มีทิฎฐิ คือ มีความเห็นผิดที่ไม่เห็นถูกต้อง หลังจากได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการจำแนก แยกแยะประเภทของศาสดาที่ควรถูกทักท้วง 3 ประเภท และศาสดาที่ไม่สมควรถูกทักท้วง โดยได้ทรงแสดงให้เห็นว่าศาสดาที่สาวกได้บรรลุคุณธรรมอันวิเศษยอดเยี่ยมเป็นที่ประจักษ์นั้นไม่สมควรถูกทักท้วง ได้ทรงอธิบายการบรรลุคุณธรรมอันวิเศษต้องเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล การสำรวมอินทรีย์ ฌาณ และวิชชา(ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ) 8 ประการ ประกอบด้วย วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิธญาณ ทิพยโสตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้วโลหิจจพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 17 Jan 2024 - 56min - 348 - ความเห็นผิด- โลหิจจสูตร (1) [6702-4S]
สูตร 1 โลหิจจสูตร #สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป เสด็จถึงหมู่บ้านสาลวติกา ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานให้โลหิจจพราหมณ์ครอบครอง โลหิจจพราหมณ์มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้บรรลุกุศลธรรมแล้วไม่ควรสอนคนอื่น เพราะคนอื่นจะทำอะไรแก่อีกคนหนึ่งได้ การบอกแก่คนอื่น จัดว่าเป็นความโลภ ( ความอยากได้ ) เป็นบาป เปรียบเหมือนคนตัดเครื่องจองจำเก่าออกแล้ว กลับทำเครื่องจองจำใหม่ให้แก่ตัวเองอีก โลหิจจพราหมณ์ได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึงตำบลบ้านชื่อสาลวติกา จึงใช้ช่างกัลบก ชื่อโรสิกะ ให้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ให้มารับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้นเมื่อเสด็จไปฉันเสร็จแล้ว ได้ทรงโต้ตอบกับโลหิจจพราหมณ์ถึงเรื่องความเห็นผิดนั้น ทรงเปรียบเทียบให้เห็นว่า โลหิจจพราหมณ์ซึ่งครอบครองตำบลบ้านสาลวติกาก็ตาม พระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งทรงครอบครองแคว้นโกศลก็ตาม ถ้าบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ปกครองแต่ผู้เดียว ไม่ยอมแบ่งปันให้ผู้อื่นอย่างนี้ จะเชื่อว่าทำอันตรายแก่ผู้ที่เป็นข้าทาสบริวาร ซึ่งโลหิจจพราหมณ์ยอมรับว่าเป็นการทำอันตรายแก่คนเหล่านั้น ทรงเปรียบเทียบว่า การกล่าวว่าผู้ครอบครองบริโภคผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแต่ผู้เดียวไม่แบ่งปันแก่ใครเลย ก็เช่นเดียวกันการกล่าวว่า ผู้บรรลุกุศลธรรมไม่ควรบอกแก่ใคร ๆ ซึ่งเป็นการทำอันตรายเป็นการตั้งจิตเป็นศัตรูต่อผู้ที่ควรจะได้รับ และเป็นการมีความเห็นผิด แล้วทรงแสดงถึงศาสดาที่ควรถูกทักท้วง 3 ประเภท และศาสดาที่ไม่ควรถูกทักท้วง โลหิจจพราหมณ์กราทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
สูตร 2 # จุลศีล
ได้ทรงแสดงภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล คือ จุลศีล มี 26 ข้อ
สูตร 3 # มัชฌิมศีล
ได้ทรงแสดงศีลที่ภิกษุละเว้น มี 10 ข้อ
สูตร 4 # มหาศีล
ได้ทรงแสดงศีลที่ภิกษุเว้นจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด มี 7 ข้อ
สูตร 5 # อินทรียสังวร
ได้ทรงแสดงการสำรวมอินทรียทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ(กาย) รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, ระวังไม่ให้กิเลสครอบงำใจ ในเวลารับรู้อารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๖ นั้นเพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 10 Jan 2024 - 57min - 347 - การระงับความขัดแย้ง และความบาดหมาง - โกสัมพิยสูตรสามคามสูตร [6701-4S]
สูตร1# ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี (โกสัมพิยสูตร) สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นภิกษุในกรุงโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน บาดหมางกัน ทรงตรัสเรียกเหล่าภิกษุที่บาดหมาง และทะเลาะวิวาทกันมาเข้าเฝ้า โดยทรงแสดงสาราณิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมให้ระลึกถึงกันมี 6 ประการ คือทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้ทรงตรัสถึงทิฏฐิอันประเสริฐ เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยทรงอธิบายตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงญาณที่ 7 อันเป็นโลกกุตตระ ( ข้ามโลก )ไม่ทั่วไปแก่ปุถุชนทั้งหลาย ซึ่งทำให้ผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล
สูตร2# เหตุการณ์ในหมู่บ้านสามคาม (สามคามสูตร) สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ ครั้งนั้นนิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นาน ได้เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก เนื่องจากธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พระจุนทะเข้าไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง พระอานนท์จึงนำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลเรื่องราว และแสดงความปรารถนาที่จะเห็นว่าไม่มีการวิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคจึงตรัสแก่พระอานนท์ ทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ (สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8) มูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท 6 ประการ, อธิกรณ์ 7 อย่าง, และในที่สุดได้ทรงแสดงธรรมสำหรับอยู่รวมกัน 6 ประการที่เรียกว่าสาราณิยธรรม อันเป็นไปเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์และมีเมตตาต่อกัน เพื่อสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 03 Jan 2024 - 57min - 346 - คุณธรรมแห่งความสำเร็จ-สังขารูปปัตติสูตร ทักขิณาวิภังคสูตร อิฏฐสูตร [6652-4S]
สูตร1# เหตุสำเร็จความปรารถนา(สังขารูปปัตติสูตร) สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ทรงแสดงธรรมแก่พระภิกษุ เรื่องเหตุสำเร็จความปรารถนา(สังขารูปปัตติ) ว่าธรรม 5 ประการ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ซึ่งเมื่อตั้งจิต อธิษฐานจิต เจริญจิต และเมื่อทำให้มากแล้ว จะเกิดในฐานะนั้น ๆ ได้ตามปรารถนา ตั้งแต่ความเป็นกษัตริย์มหาศาล คหบดีมหาศาล พราหมณ์มหาศาล จนถึงเทพ, พรหม ทั้งรูปพรหมและอรูปพรหม และในที่สุดถึงซึ่งอาสวะ(ไม่เกิดในภพไหนๆอีก)
สูตร2# การจำแนกผู้ควรรับทาน (ทักขิณาวิภังคสูตร)สมัยที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระนางมหาปชาบดีโคตมี นำคู่ผ้าใหม่ซึ่งทรงกรอด้ายเองไปถวายพระผู้มีพระภาค ขอให้ทรงรับเป็นการอนุเคราะห์ พระผู้มีพระภาคตรัสแนะให้ถวายในหมู่สงฆ์ ซึ่งเป็นการบูชาทั้งพระองค์และพระสงฆ์ แม้ว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยืนยันขอถวายพระผู้มีพระภาคตามเดิมเป็นครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 แต่พระผู้มีพระภาคก็ทรงแนะนำตามเดิมแม้ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 พระอานนท์ได้กราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงรับ โดยอ้างอุปการะคุณ ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมีเคยมีต่อพระผู้มีพระภาคในการที่ทรงเลี้ยงดู และอ้างอุปการะคุณที่พระผู้มีพระภาคทรงมีต่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี แล้วทรงตรัสแก่พระอานนท์เรื่องทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิก ที่เจาะจงบุคคล 14 อย่าง อานิสงส์จากการถวายทานที่ไม่เท่ากัน ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ และความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาโดยทรงแสดงรายละเอียดกำหนดความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ทั้งผู้ให้(ทายก)และผู้รับ(ปฏิคาหก) ที่เป็นผู้มีศีล และผู้ทุศีล
สูตร3# ธรรมที่น่าปรารถนา (อิฏฐสูตร)ทรงแสดงธรรมแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ว่าด้วยธรรม 5 ประการ ได้แก่ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ ซึ่งเป็นที่ปรารถนาและหายากในโลก แต่การได้มานั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อ้อนวอน หรือเพลิดเพลิน กับอายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ แต่ควรปฏิบัติฏิปทาเพื่อความเป็นไปด้วยธรรมทั้ง 5 ประการนี้แล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 27 Dec 2023 - 56min - 345 - ความสมบูรณ์แห่งพรหมจรรย์– ปาสาทิกสูตร (2) [6651-4S]
ปาสาทิกสูตร#2 ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในอัมพวันของพวกเจ้าศากยะนามว่า เวธัญญา แคว้นสักกะ พระอานนท์ได้นำพระจุนทะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับและได้กราบทูลเรื่องการถึงแก่กรรมของนิครณฐ์นาฏบุตร (เจ้าลัทธิ) ภายหลังการถึงแก่กรรมไม่นาน เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก ทำให้ธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำ ผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย
พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่าธรรมวินัยของนิครนฐ์ ที่กล่าวไว้ไม่ดี ไม่นำพาให้พ้นทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมทรงตรัสว่าองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา คือ ศาสดา หลักธรรม และสาวก มีส่วนสำคัญทำให้ศาสนามีความบริบูรณ์ครบถ้วน ได้รับคำสรรเสริญ และทรงกล่าวถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ทรงแสดงได้ควรต้องมีการตรวจสอบและสังคายนา เพื่อความดำรงอยู่ได้นาน เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย รวมทั้งทรงตรัสสอนหลักการตอบคำถามที่ถูกต้องหากมีผู้ไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอุปวาณะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 20 Dec 2023 - 54min - 344 - ความสมบูรณ์แห่งพรหมจรรย์– ปาสาทิกสูตร#1 [6650-4S]
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในอัมพวันของพวกเจ้าศากยะนามว่า เวธัญญา แคว้นสักกะ พระอานนท์ได้นำพระจุนทะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ และได้กราบทูลเรื่องการถึงแก่กรรมของนิครณฐ์นาฏบุตร (เจ้าลัทธิ) ภายหลังการถึงแก่กรรมไม่นาน เกิดการแตกกันของลัทธินิครณฐ์ เป็น 2 พวก ทำให้ธรรมวินัยของเจ้าลัทธิที่ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย
พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่าธรรมวินัยของนิครนฐ์ ที่กล่าวไว้ไม่ดี ไม่นำพาให้พ้นทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ และสาวกก็ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทรงตรัสว่าองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา คือ ศาสดา หลักธรรม และสาวก มีส่วนสำคัญทำให้ศาสนามีความบริบูรณ์ครบถ้วน ได้รับคำสรรเสริญ และทรงกล่าวถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ทรงแสดงได้ควรต้องมีการตรวจสอบและสังคายนา เพื่อความดำรงอยู่ได้นาน เพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 13 Dec 2023 - 58min - 343 - ความบริสุทธิ์อันมีวรรณะ 4- อัสสลายนสูตร [6649-4s]
อัสสลายนสูตร ว่าด้วยการโต้วาทะระหว่างพระพุทธเจ้ากับอัสสลายนมาณพ ในเรื่องทิฎฐิความเชื่อของเหล่าพราหมณ์ทั้งหลายที่ว่า 1) พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ วรรณะอื่นเลว 2) พราหมณ์เท่านั้น เป็นวรรณะขาว วรรณะอื่นดำ 3)พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์ คนที่มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ และ 4) พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรพรหม เป็นโอรสพรหม เกิดแต่ปากของพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมนิรมิต เป็นทายาทของพรหม
พระพุทธเจ้าทรงโต้กลับอัสสลายนมาณพ โดยยกถึง 1) การเกิดจากช่องคลอดเหมือนกัน 2) การสลับกลับไปมาระหว่างวรรณะเจ้าและทาส 3) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ผู้มีปกติฆ่าสัตว์...มีความเห็นผิด เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ทั้งหมด 4) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์...มีความเห็นชอบ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์ทั้งหมด 5) แม้กษัตริย์..พราหมณ์..แพศย์..ศูทร..วรรณะ 4 ก็สามารถเจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวรไม่มีความ เบียดเบียนได้ทั้งหมด 6) เปรียบเทียบมาณพสองคน ที่เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคนศึกษาเล่าเรียน แต่เป็นคนทุศีล มีธรรมอันลามก อีกคนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน แต่เป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม ในสองคนนี้พึงเชื้อเชิญคนไหนให้บริโภคก่อน ..(คัดมาบางส่วน)
พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายถึงเรื่องของวรรณะ ที่ไม่ว่าจะวรรณะใด ก็สามารถทำดีหรือทำไม่ดีได้ และถ้ามีคุณธรรมดี มันดีกว่ามีปัญญาความรู้ หรือว่าชาติกำเนิดนั้น ๆ ยังได้ตรัสเล่าถึงวรรณะ 4 จำพวกในอดีตและเรื่องราวของอสิตเทวลฤาษีที่ปราบพราหมณฤษี 7 ตน ทำให้อัสสลายนมาณพย่อมจำนนทั้งเกิดความแจ่มแจ้ง จนกลายเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส กราบทูลสรรเสริญแสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 06 Dec 2023 - 47min - 342 - ธรรมของสัตบุรุษ (คนดี)-จูฬปุณณมสูตร สัปปุริสสูตร และธัมมัญญสูตร [6648-4S]
สูตร1# จูฬปุณณมสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ในบุพพาราม กรุงสาวัตถี ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ในคืนพระจันทร์เต็มดวงขึ้น 15 ค่ำ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ทรงตรัสสอนภิกษุเรื่อง อสัตบุรุษ (คนชั่ว) และ สัตบุรุษ (คนดี)
สูตร2# สัปปุริสสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี รับสั่งเรียกภิกษุเพื่อแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
สูตร3 #วาจาของสัตบุรษ อสัตบุรุษ และหญิงสะใภ้ใหม่ ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุว่าด้วยธรรม 4 ประการของคนดี ให้พึงรักษาความละอายใจและความกลัว เหมือนหญิงที่ออกเรือนใหม่ เข้าสู่ตระกูลสามี
สูตร4 # ธัมมัญญสูตร ผู้รู้ธรรม หากรู้จักธรรม (ธัมมัญญู) 7 ประการ นี้ได้รับการสรรเสริญจากพระผู้มีพระภาคว่าเป็นผู้ควรได้รับการยกย่อง ควรเคารพ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 29 Nov 2023 - 57min - 341 - ความเพียรที่ถูกต้องเพื่อพ้นทุกข์-เทวทหสูตร [6647-4s]
พระผู้มีพระภาค ครั้นประทับอยู่ในนิคมเทวทหะ แคว้นสักกายะ ได้แสดงธรรมกับภิกษุว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะกรรมในชาติก่อน จะหมดทุกข์ได้ต้องบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ตรัสว่าการเชื่ออย่างนั้นเป็นความเชื่ออย่างหลงงมงาย เพราะพิสูจน์ไม่ได้
ทรงแสดงวิธีที่ความพยายาม ความเพียรจะมีผล คือ ไม่ปล่อยตัวให้ทุกข์ครอบงำไม่สละสุขที่ถูกธรรม ไม่ติดอยู่ในสุขนั้น มีปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง ก็จะคลายความกำหนัดยินดีเสียได้ ความทุกข์ก็จะหมดไปได้ ความพยายาม ความเพียร จึงชื่อว่ามีผล
ทรงแสดงในที่สุดว่า พระคถาคตได้เสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะ (ตรงกันข้ามกับนิครนถ์ที่เสวยทุกขเวทนาอันหนัก) จึงได้รับการสรรเสริญ (ตรงกันข้ามกับการพวกสมณพราหมณ์ถูกติเตียน)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 22 Nov 2023 - 58min - 340 - แก่นแห่งพรหมจรรย์-จูฬสาโรปมสูตร และจูฬโคสิงคสาลสูตร [6646-4s]
สูตร#1 จูฬสาโรปมสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน พราหมณ์ได้กราบทูลถามเรื่องสมณพราหมณ์ที่มีชื่อเสียงว่า ท่านเหล่านั้นรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตนหรือไม่ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบ ทรงตรัสแสดงธรรม อุปมานักบวชกับผู้แสวงหาแก่นไม้ เมื่อทรงแสดงธรรมจบ ปิงคลโกจฉพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
สูตร#2 จูฬโคสิงคสาลสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ในคราวที่เสด็จไปเยี่ยมที่ป่าโคสิงคสาลวัน ท่านอยู่กันด้วยความสามัคคี มีเมตตาให้กันทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งทางกาย วาจา และใจ พยายามที่จะเก็บจิตของตนเองแล้วทำตามจิตของผู้อื่น จึงสามารถอยู่เป็นสุขได้ พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องพระเถระทั้ง 3 รูป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 15 Nov 2023 - 1h 00min - 339 - ทำมารให้ตาบอด-นิวาปสูตร เทวาสุรสังคามสูตร และมาคัณฑิยสูตร [6645-4s]
สูตร#1 นิวาปสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสว่า พรานเนื้อที่ปลูกหญ้าไว้ในทุ่งหญ้ามิได้หวังให้ฝูงเนื้อมากินเพื่อจะได้อายุยืน ผิวพรรณดี มีชีวิตอยู่นานแต่ปลูกไว้เพื่อล่อจับเนื้อ ทรงอธิบายว่า มีเนื้ออยู่ 4 ฝูง ฝูงเนื้อที่ 1-3 เป็นเนื้อที่ถูกพรานเนื้อ และบริวารจับได้ ส่วนฝูงเนื้อที 4 พรานเนื้อ และบริวารจับไม่ได้ อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบนักบวช 4 ประเภทกับเนื้อ 4 ฝูง ซึ่งนักบวชประเภทที่ 1-3 นั้น ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบ ส่วนนักบวชประเภทที่ 4 งดเว้นจากการบริโภคกามได้เด็ดขาด และไม่ยึดติดอยู่กับทิฏฐิใด ๆ จึงเป็นผู้ข้ามพ้นโลกามิสได้ จึงพ้นจากเงื้อมมือมาร และทรงตรัสแสดงข้อปฏิบัติ คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ ที่มาร และบริษัทของมารมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาได้
สูตร#2 เทวาสุรสังคามสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยสงครามระหว่างเทวดากับอสูร ที่รบกันถึง 3 ครั้ง และพวกอสูรชนะทุกครั้ง พวกเทวดาที่พ่ายแพ้จึงหนีไปยังเทพบุรี พวกอสูรทำอะไรพวกเทวดาไม่ได้ ต่อมาเทวดากับอสูรรบกันอีก พวกอสูรพ่ายแพ้หนีไปยังอสูรบุรี พวกเทวดาทำอะไรพวกอสูรไม่ได้ ทำให้ต่างได้เครื่องป้องกันภัย ทรงเปรียบเทียบกับภิกษุได้บรรลุธรรมแต่ละอย่าง คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ 1 ทำให้ตนได้เครื่องป้องกันภัย มารทำอะไรภิกษุไม่ได้ ทำให้มารสิ้นสุดปิดตามารจนมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาได้
สูตร#3 มาคัณฑิยสูตร (บางส่วน) ทรงแสดงแก่มาคัณฑิยปริพาชก ทรงเปล่งอุทานว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์ 8 เป็นทางอันเกษม"
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 08 Nov 2023 - 58min - 338 - ปฏิปทาเพื่อความสำเร็จ-อากังเขยสูตร สังขารูปปัตติสูตร และนคโรปมสูตร [6644-4s]
สูตร#1 อากังเขยสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงตรัสเรื่อง ให้สำรวมในปาฏิโมกข์ (ศีลที่เป็นประธาน) เพียบพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร คือ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง และไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ รวมถึงการรู้จักไปในที่อันควร เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
ต่อจากนั้นได้ทรงแสดงว่า ถ้าภิกษุพึงหวังประการใดใน 17 ข้อนี้ เริ่มตั้งแต่ความหวังให้เป็นที่รักเคารพของเพื่อนพรหมจารีขึ้นไปจนถึงความหวังขั้นสูงสุด คือ การทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ คือ เป็นพระอรหันต์ ก็จงทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบความสงบจิตในภายใน หมั่นเจริญฌานประกอบด้วยวิปัสสนา และเพิ่มพูนเรือนว่าง (การเรียนกัมมัฏฐาน คือ สมถะ และวิปัสสนา) ข้อปฏิบัติที่แสดงในที่นี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
สูตร#2 สังขารูปปัตติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงตรัสว่า การที่ภิกษุประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ซึ่งเมื่อเจริญและทำให้มากแล้ว เมื่อปราถนาจะไปเกิดในสิ่งที่ดี ๆ อย่างไร ให้ตั้งจิต อธิษฐานจิต และเจริญจิตนั้น ก็จะเกิดในฐานะนั้น ๆ ได้ตามปรารถนา ตั้งแต่ความเป็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล จนถึงเทพ พรหมทั้งรูปพรหม และอรูปพรหม และในที่สุด ถึงทำอาสวะให้สิ้นได้
สูตร#3 นคโรปมสูตร ทรงแสดงคุณสมบัติของพระอริยสาวก 7 ประการ ที่ทำให้ละอกุศล เจริญกุศลได้ เปรียบเทียบกับเครื่องป้องกันนคร 7 อย่าง ที่ทำให้นครที่ตั้งอยู่ชายแดนปราศจากภัยอันตรายได้ และทรงแสดงฌาน 4 ประการ ที่เป็นคุณสมบัติภายในของอริยสาวกซึ่งทำให้บรรลุคุณพิเศษชั้นสูงได้ เปรียบเทียบกับคุณสมบัติภายในของนครชายแดน 4 ประการ ที่ทำให้ชาวเมืองอยู่ผาสุก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 01 Nov 2023 - 57min - 337 - ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต-พหุธาตุกสูตร และสฬายตนวิภังคสูตร [6643-4s]
สูตร#1 พหุธาตุกสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสว่า ภัย อุปัททวะ และอุปสรรคล้วนเกิดจากคนพาลมิใช่เกิดจากบัณฑิต เหมือนไฟที่ลุกไหม้จากเรือนไม้อ้อ ไหม้เรือนยอดที่มีประตูหน้าต่างปิดสนิทได้ฉะนั้น ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ด้วยเหตุเท่าไร จึงสมควรเรียกว่าภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ตรัสตอบว่า เพราะเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นผู้ฉลาดในอายตนะ เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และเป็นผู้ฉลาดในฐานะ อฐานะ จากนั้นทรงจำแนกธรรมเหล่านี้โดยละเอียด
สูตร#2 สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ 6 ประการ ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี โดยมีพระประสงค์ให้ ภิกษุได้ศึกษาเรื่องอายตนะโดยละเอียดลึกซึ้ง ทรงตรัสอธิบาย เรื่อง อายตนะภายใน 6, อายตนะภายนอก 6, หมวดวิญญาณ 6, หมวดผัสสะ 6, มโนปวิจาร 18, สัตตบท 36 และสติปัฏฐาน 3
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 25 Oct 2023 - 1h 01min - 336 - พราหมณ์ ชื่อ พรหมายุ-พรหมายุสูตร [6642-4s]
สูตร#1 พรหมายุสูตร สมัยหนึ่งทรงเสด็จจาริกไปในแคว้นวิเทหะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ พราหมณ์ชื่อพรหมายุอาศัยอยู่ในกรุงมิถิลา เป็นคนชราอายุ 120 ปี เป็นพราหมณ์ผู้ใหญ่ เชี่ยวชาญไตรเวท รู้จักศาสตร์ ว่าด้วยคดีโลก และมหาปุริสลักษณะ ได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค จึงใช้อุตตรมาณพ (ผู้เป็นศิษย์) ให้ไปติดตามดูมหาปุริสลักษณะ และดูความเป็นไปของพระผู้มีพระภาคทุกอริยาบทตลอดเวลา 7 เดือน แล้วไปแจ้งให้พรหมายุพราหมณ์ทราบ
พรหมายุพราหมณ์จึงได้เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงป่ามะม่วงของพระเจ้ามฆเทพ เมื่อไปถึงได้ใช้อุตตรมาณพเข้าไปกราบทูลก่อน ด้วยถือว่าเป็นมารยาทที่จะเข้าไปเฝ้าต่อเมื่อได้รับอนุญาตหรือเชื้อเชิญ เมื่อมาณพไปเฝ้ากราบทูล และทรงเปิดโอกาสแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ทรงเปิดโอกาสให้เห็นอย่างธรรมดา มี 2 ส่วนที่เห็นยาก คือ (1) พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก (2) พระชิวหาใหญ่ พราหมณ์จึงขอดู ก็ทรงแสดงอิทธาภิสังขาร (แสดงโดยฤทธิ์) ให้เห็น
เมื่อได้เห็นครบทั้งสามสิบสองประการแล้ว จึงทูลถามปัญหา เกี่ยวกับคุณธรรมของพราหมณ์ผู้รู้เวท ฯลฯ ทรงตอบ ทรงแสดงคุณธรรมเหล่านั้น พราหมณ์นั้นเกิดความเลื่อมใส จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา และเรื่องอริยสัจจ์ 4 พรหมายุพราหมณ์ได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน จึงนิมนต์พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ไปฉันในวันรุ่งขึ้น เมื่อเสด็จไปฉันแล้วพักอยู่ในแคว้นวิเทหะนั้นอีก 7 วัน ก็เสด็จจากไป
ต่อมา พรหมายุถึงแก่กรรม ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลถามถึงคติ จึงตรัสตอบว่า เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก
สูตร#2 (เพิ่มเติม) ความเป็นอยู่ก่อนออกบวช และการออกบวช
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 18 Oct 2023 - 57min - 335 - ธรรมอันน่าอัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า-อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร และมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ [6641-4s]
สูตร#1 อัจฉริยยัพภูตธัมมสูตร ทรงรับสั่งให้ท่านพระอานนท์แสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี หลังจากกลับจากบิณฑบาต และฉันภัตตาหารแล้ว ภิกษุจำนวนมาก นั่งสนทนากันที่หอประชุมว่า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏที่พระผู้มีพระภาคทรงมีอานุภาพมาก ทรงสามารถระลึกถึงพระประวัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตได้แจ่มแจ้งทั้งหมด ท่านพระอานนท์ซึ่งร่วมอยู่ในที่ประชุมนั้น ก็ได้กล่าวเสริมว่า พระตถาคตทั้งหลายทรงเป็นผู้น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ และทรงประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ครั้นสนทนาถึงตรงนี้ พระผู้มีพระภาคเสด็จมาสู่ที่ประชุมนั้น ตรัสถามว่า สนทนาเรื่องอะไร เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลให้ทรงทราบ จึงรับสั่งให้ท่านพระอานนท์อธิบายธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฎของพระองค์ให้ภิกษุเหล่านั้นฟัง เพื่อจดจำไว้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลรายงานความน่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฎของพระองค์ 19 ประการที่ได้สดับรับฟังมาเฉพาะพระพักตร์ เมื่อกราบทูลจบ พระองค์ทรงเพิ่มประการที่ 20 ให้ รวมเป็นอัจฉริยัพภูตธรรม 20 ประการ และรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายจดจำไว้
สูตร#2 พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ตอน มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 11 Oct 2023 - 57min - 334 - ภัยคือความแก่ ความเจ็บ และความตาย-ปัพพโตปมสูตร ภยสูตร ฐานสูตร และจุนทสูตร [6640-4s]
สูตร#1 ปัพพโตปมสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตรัสถามถึงกิจที่พระราชาพึงขวนขวาย พระผู้มีพระภาคตรัสถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เมื่อมหาภัยอันร้ายกาจที่ทำให้มนุษย์พินาศบังเกิดขึ้น อะไรที่พระองค์จะพึงทรงกระทำในภาวะแห่งมนุษย์ที่ได้แสนยาก พระเจ้าปเสนทิโกศลตอบว่า สิ่งที่ควรทำ คือ การประพฤติธรรม การประพฤติสม่ำเสมอ การสร้างกุศล การทำบุญ
สูตร#2 ภยสูตร ว่าด้วยเรื่องภัยใหญ่ คือ ภัยที่ปุถุชนเรียกว่า อมาตาปุตติกภัย ได้แก่ ภัยจากไฟไหม้ใหญ่ ภัยจากน้ำท่วมใหญ่ และภัยจากโจรปล้นใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุให้บุตรพลัดพรากจากมารดา แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภัยใหญ่ดังกล่าวยังเป็น สมาตาปุตติกภัย คือ ภัยที่ยังพอมีโอกาสให้บุตรพบกับมารดาได้บ้าง แต่ภัยใหญ่ต่อไปนี้ มารดา และบุตรไม่สามารถจะห้ามมิให้เกิดขึ้นแก่กันและกันได้เลย คือ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย จึงตรัสเรียกว่า อมาตาปุตติกภัย หนทางที่จะให้ล่วงพ้นภัย 2 อย่างนี้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8
สูตร#3 ฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยฐานะที่ใคร ๆ ไม่พึงได้ มี 5 ประการ คือ อย่าแก่ อย่าเจ็บไข้ อย่าตาย อย่าสิ้นไป และอย่าฉิบหาย ทรงแสดงว่า ฐานะแต่ละอย่างเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชน และอริยสาวก แต่ปุถุชนไม่มีปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง ตรงกันข้ามกลับถูกสิ่งเหล่านี้ครอบงำจนเกิดทุกข์กาย และทุกข์ใจ ส่วนอริยสาวกมีนัยตรงกันข้ามกับปุถุชน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 04 Oct 2023 - 1h 07min - 333 - มุนีผู้สงบ-ธาตุวิภังคสูตร และชาณุสโสณิพราหมณสูตร [6639-4s]
สูตร#1 ธาตุวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกธาตุ ทรงแสดงแก่ท่านปุกกุสาติผู้บวชอุทิศต่อพระองค์แต่ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยเห็นพระองค์ เพื่อโปรดท่านให้เข้าถึงธรรม ขณะท่านพักอยู่ที่ศาลาของช่างหม้อชื่อ ภัคควะ เขตกรุงราชคฤห์ ทรงแสดงว่า บุรุษผู้มีธาตุ 6 มีผัสสายตนะ 6 มีมโนปวิจาร 18 มีอธิษฐานธรรม 4 บัณฑิตเรียกว่า มุนีผู้สงบ และทรงแสดงในรายละเอียด ผลจากการแสดงธรรมครั้งนี้ทำให้ท่านปุกกุสาติ ได้ทราบว่า ผู้ที่แสดงธรรมนั้น คือ พระพุทธเจ้าจึงกราบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลขออภัยโทษที่เรียกพระองค์ด้วยวาทะว่า "ผู้มีอายุ" เมื่อพระองค์ทรงยกโทษให้ จึงขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีบาตร และจีวร พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอุปสมบทให้ ท่านจึงไปเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวร แต่ถูกแม่โคขวิดตายเสียก่อน เมื่อภิกษุทั้งหลายเข้าไปทูลถามถึงคติภพของท่าน พระองค์ตรัสว่าท่านปุกกุสาติเป็นพระอนาคามี ไปเกิดในพรหมโลกและจะนิพพานในโลกนั้น
สูตร#2 ชาณุสโสณิพราหมณสูตร (สังยุตตนิกาย #19) ท่านพระอานนท์เห็นชาณุสโสณิพราหมณ์ขึ้นรถเทียมม้าขาว และตกแต่งส่วนต่างๆของรถด้วยสีขาว ออกจากกรุงสาวัตถี และมีคนชมว่ายานประเสริฐ จึงเข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ในธรรมวินัยนี้สามารถบัญญัติยานอันประเสริฐได้หรือไม่ พระองค์ตรัสตอบว่า ได้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเรียกว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามบ้าง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 27 Sep 2023 - 57min - 332 - กามและกามคุณ-โปตลิยสูตร และนิพเพธิกสูตร [6638-4s]
สูตร#1 โปตลิยสูตร ทรงแสดงแก่โปตลิยคหบดี ณ นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปณะ แคว้นอังคุตตราปะ โดยทรงปรารภคำกล่าวของโปตลิยคหบดีเรื่องที่ได้ตัดขาดโวหารทุกอย่างแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามถึงการตัดขาดโวหารของเขา แล้วทรงแสดงธรรม 8 ประการที่เป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหารในอริยวินัย ทรงอธิบายถึงโทษแห่งกาม (กามาทีนวกถา) 7 ประการ พร้อมทั้งการพิจารณาให้เห็นโทษแห่งกาม ซึ่งจะทำให้บรรลุฌาน 4 และวิชชา 3 เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง โปตลิยคหบดีได้แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
สูตร#2 นิพเพธิกสูตร ว่าด้วยธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส คือ ทรงสอนให้ภิกษุทั้งหลายทราบสภาวธรรมต่าง ๆ รวม 6 ประการดังนี้ (1) กาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม (2) เวทนา... (3) สัญญา... (4) อาสวะ... (5) กรรม... (6) ทุกข์... ทรงอธิบายขยายความแต่ละประการอย่างพิสดาร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 20 Sep 2023 - 58min - 331 - ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ-มาคัณฑิยสูตร [6637-4s]
มาคัณฑิยสูตร ทรงแสดงแก่มาคัณฑิยปริพาชก ขณะประทับอยู่ที่โรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ในนิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ มาคัณฑิยปริพาชกเข้าไปขออาศัยโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร และเมื่อปริพาชกทราบว่าทรงประทับอยู่ก่อนแล้ว จึงกล่าวกับพราหมณ์ว่า การเห็นที่นอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอัปมงคล และกล่าวหาว่าพระองค์เป็นผู้ทำลายความเจริญ
ทรงสดับการสนทนานั้นด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ จึงเสด็จกลับมายังโรงบูชาไฟ ทรงตรัสถามมาคัณฑิยปริพาชกเรื่องการสำรวมอินทรีย์ และทรงเล่าถึงเมื่อยังทรงเป็นคฤหัสถ์ เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 ประการ ต่อมาทรงรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากกามทั้งหลาย ละตัณหาได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ มีจิตสงบ เพราะได้รับสุขระดับสุขทิพย์
จากนั้นทรงยกอุปมาอุปไมยเปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน เหมือนคนตาบอด
ทรงตรัสว่า การที่มาคัณฑิยปริพาชกกล่าวว่า ร่างกายที่ไม่มีโรค เป็นความไม่มีโรค เป็นนิพพานนั้น เป็นการกล่าวโดยไม่มีจักษุอย่างที่พระอริยบุคคลมี มาคัณฑิยปริพาชกจึงกราบทูลให้ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตนไม่เป็นคนตาบอด ทรงตรัสแนะนำให้คบสัตบุรุษ ฟังธรรมจากท่านและปฏิบัติตาม เมื่อทรงแสดงธรรมจบ มาคัณฑิยปริพาชกจึงขออุปสมบท และต่อมาท่านพระมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 13 Sep 2023 - 55min - 330 - การปฏิบัติที่ไม่ผิด (ตอนที่ 2)-อปัณณกสูตร อาเนญชสัปปายสูตร และอัคคิวัจฉะโคตรสูตร [6636-4s]
สูตร#1 อปัณณกสูตร (พระสุตตันตปิฏก เล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย ข้อที่ 16) ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด 3 ประการ คือ การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ 6 การรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร และการประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ
สูตร#2 อปัณณกสูตร (พระสุตตันตปิฏก เล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย ข้อที่ 119) ว่าด้วยข้อปฏิบัติที่ผิด และที่ไม่ผิด ได้แก่ วิบัติ 3 คือ สีลวิบัติ จิตตวิบัติ และทิฏฐิวิบัติ และสัมปทา 3 คือ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา และทิฏฐิสัมปทา
สูตร#3 อาเนญชสัปปายสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ นิคมของชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ โดยทรงปรารภกามทั้งหลาย ทั้งวัตถุกาม และกิเลสกามว่า จะเป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติธรรมของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงสอนเรื่องปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่สมาบัติทั้งหลาย มี อาเนญชสมาบัติเป็นต้น
สูตร#4 อัคคิวัจฉะโคตรสูตร (พระสูตรประกอบ)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 06 Sep 2023 - 54min - 329 - ภูมิของผู้ที่ได้รับการฝึก-ทันตภูมิสูตร และภูมิชสูตร [6635-4s]
สูตร#1 ทันตภูมิสูตร ทรงแสดงแก่สามเณรอจิรวตะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ทรงปรารภคำกราบทูลของสามเณรเรื่องที่ ชยเสนราชกุมาร (พระโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร) ไม่ทรงเชื่อว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศกายและใจอยู่ จะบรรลุเอกัคคตาจิต (สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสกับสามเณรอจิรวตะว่า ชยเสนราชกุมารยังบริโภคกาม จักทรงรู้เห็นสภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวได้อย่างไร เหมือนช้าง ม้า โค ที่ไม่ได้ฝึกก็ ไม่สำเร็จภูมิของสัตว์ที่ฝึกแล้ว เหมือนผู้ยืนอยู่ที่เชิงภูเขามองไม่เห็นสิ่งที่ผู้ยืนอยู่บนยอดภูเขามองเห็น แล้วทรงยกอุปมาขึ้นแสดง
สูตร#2 ภูมิชสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระภูมิชะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ โดยทรงปรารภคำกราบทูลของท่านพระภูมิชะ เรื่องวาทะของสมณพราหมณ์พวกหนึ่งที่ชยเสนราชกุมารนำมาตรัสถามท่าน ท่านพระภูมิชะกราบทูลว่า ราชกุมารมาตรัสถามท่านว่า พระผู้มีพระภาคทรงเห็นอย่างไรเกี่ยวกับวาทะของสมณพราหมณ์พวกหนึ่งที่ว่า บุคคลจะตั้งความหวัง ไม่ตั้งความหวัง ทั้งตั้งความหวังและไม่ตั้งความหวัง ตั้งความหวังก็มิใช่ ไม่ตั้งความหวังก็มิใช่ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ พวกเขาก็จะไม่สามารถบรรลุผลอะไรได้เลย
ท่านตอบราชกุมารไปว่า ท่านยังมิได้สดับรับฟังมาจากพระองค์โดยตรง แต่คิดว่าพระองค์คงจะตรัสตอบโดยใช้ “ความแยบคายและความไม่แยบคาย“ เป็นเครื่องตัดสิน ราชกุมารจึงตรัสว่า ถ้าพระองค์ตรัสตอบอย่างนั้น ก็จะทรงมีความรู้เหนือสมณพราหมณ์พวกอื่น พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองว่า ท่านพระภูมิชะตอบถูกแล้ว จากนั้นทรงอธิบายว่าความแยบคาย หมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 ความไม่แยบคายหมายถึงมิจฉามรรคมีองค์ 8 และทรงยกอุปมาขึ้นมาแสดง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 30 Aug 2023 - 1h 03min - 328 - การปฏิบัติที่ไม่ผิด-อปัณณกสูตร [6634-4s]อปัณณกสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์ และคหบดีชาวบ้านสาลา ทรงตรัสถามว่า มีศาสดาองค์ใดที่ท่านชอบใจ เป็นเหตุให้ได้ศรัทธาที่มีเหตุผลมีอยู่หรือไม่ ชาวบ้านสาลากราบทูลว่า ไม่มี จึงทรงแสดงอปัณณกธรรม เพื่อใช้เป็นหลักในการพิจารณาทิฏฐิ คือ ทรงยกทิฏฐิต่าง ๆ ขึ้นมาอธิบายเปรียบเทียบให้เห็นโทษและคุณอย่างชัดเจน แล้วทรงแนะนำวิธีปฏิบัติที่ไม่ผิด ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติตามจะสามารถละอกุศลได้ และจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อจบเทศนา พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาลาได้แสดงตนเป็นอุบาสก ผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 23 Aug 2023 - 1h 01min - 327 - เจ้าสุนักขัตตลิจฉวีบุตร-มหาลิสูตร และมหาสีหนาทสูตร (ตอนที่ 2) [6633-4s]
สูตร#1 มหาลิสูตร ทรงแสดงแก่เจ้ามหาลิหรือเจ้าโอฏฐัทธลิจฉวี ขณะประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ในวันนั้น นอกจากคณะของเจ้ามหาลิแล้ว ยังมีคณะพราหมณทูตจากแคว้นโกศล และคณะพราหมณทูตจากแควันมคธมาเฝ้าด้วย เมื่อคณะพราหมณทูตทั้ง 2 คณะสนทนากับพระพุทธเจ้าเสร็จแล้วก็นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้น ต่อจากนั้น เจ้ามหาลิได้ทูลถามปัญหาเรื่องตาทิพย์ หูทิพย์ เจ้ามหาลิกราบทูลว่า ท่านได้ทราบว่าเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ผู้มาปฏิบัติธรรมอยู่กับพระผู้มีพระภาคถึง 3 ปี ได้คุณวิเศษขั้นตาทิพย์เท่านั้น ยังไม่ได้หูทิพย์ จึงอยากจะทราบว่า ตาทิพย์ และหูทิพย์มีจริงหรือไม่ ตรัสตอบว่า มีจริง ซึ่งการได้ตาทิพย์ และหูทิพย์ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิของแต่ละคน และทรงตรัสว่าภิกษุในพระศาสนานี้มาประพฤติพรหมจรรย์ไม่ใช่เพื่อให้ได้ตาทิพย์ และหูทิพย์เท่านั้น แต่ยังมีคุณวิเศษที่สูงกว่านี้อีกที่ภิกษุในพระศาสนานี้ควรทำให้เกิดมีขึ้นในตน คือ อริยผล 4 และ ข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุคุณวิเศษเหล่านั้น คือ อริยมรรคมีองค์ 8
สูตร#2 มหาสีหนาทสูตร (ตอนที่ 2)ทรงตรัสว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญพรหมจรรย์มีองค์ 4 มาแล้ว ทรงอธิบายวิธีบำเพ็ญพรหมจรรย์เหล่านี้โดยละเอียดพิสดาร แล้วทรงเล่าถึงการทดลองบำเพ็ญธรรมตามลัทธิที่มีอยู่ขณะนั้นโดยละเอียด ขณะที่ทรงตรัสเล่านั้น ท่านพระนาคสมาละซึ่งกำลังยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคอยู่ตลอดเวลา เมื่อทรงตรัสจบลง ได้กราบทูลว่า ท่านเกิดชนลุกชูชันขึ้น ได้ทูลถามว่า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร ตรัสตอบว่าชื่อโลมหังสนบรรยาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 16 Aug 2023 - 58min - 326 - การบันลือสีหนาท-มหาสีหนาทสูตร (ตอนที่ 1) [6632-4s]
มหาสีหนาทสูตร (ตอนที่ 1) ทรงแสดงแก่ท่านพระสารีบุตร ณ ราวป่านอกเมืองด้านทิศตะวันตกของกรุงเวสาลี แควันวัชชี ทรงปรารภคำกราบทูลของท่านพระสารีบุตรเรื่องโอรสของเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ชื่อสุนักขัตตะ กล่าวตู่พระองค์ในที่ชุมชน
สุนักขัตตลิจฉวี ได้กล่าวว่า พระองค์ทรงไม่มีญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถวิเศษยิ่งกว่าธรรมดาของมนุษย์ แสดงธรรมตามที่นึกเดาเอา พิจารณาเอา ตามปฏิภาณของตน แต่ธรรมนั้นก็นำให้ผู้ที่ทำตามพ้นทุกข์ได้ ท่านพระสารีบุตรได้บิณฑบาตในกรุงเวสาลี ได้ทราบเรื่อง จึงนำความมากราบทูล
ทรงตรัสว่า สุนักขัตตลิจฉวีกล่าวด้วยความโกรธ คิดว่าจะกล่าวโทษ แต่ที่กล่าวมา ก็เป็นการกล่าวคุณ แล้วทรงแสดงว่า สุนักขัตตะไม่รู้ซึ้งถึงพระพุทธคุณ 9 และพระญาณ หรือวิชชา 3
จากนั้นทรงแสดง กำลังของพระตถาคต 10 ประการโดยละเอียด ที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงปฏิญญาฐานะที่องอาจบันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัททั้งหลายได้
ทรงแสดงความเป็นผู้แกล้วกล้า (เวสารัชชญาณ) ของพระตถาคต 4 อย่าง, ทรงตรัสถึงบริษัท 8 จำพวก ที่ทรงเข้าสู่บริษัทเหล่านี้หลายร้อยหลายพันครั้ง โดยไม่ทรงรู้สึกสะทกสะท้าน
และตรัสถึงกำเนิด 4 ชนิด และคติ 5 ประการ เพื่อทรงยืนยันว่า ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เรื่องเหล่านี้โดยแจ่มแจ้งไม่ใช่ประมวลมาด้วยความตรึก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 09 Aug 2023 - 55min - 325 - เนื้อนาบุญ-มหาโคปาลสูตร จูฬโคปาลสูตร และนาคสูตร [6631-4s]
สูตร#1 มหาโคปาลสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงปรารภความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนาของภิกษุ ทรงเปรียบเทียบ คนเลี้ยงโคผู้ไม่ฉลาดเปรียบกับภิกษุผู้ไม่ฉลาดเพราะขาดองค์คุณ 11 ประการ จะไม่เจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้ และคนเลี้ยงโคผู้ฉลาดเปรียบกับภิกษุผู้ฉลาดเพราะมีองค์คุณ 11 ประการ จะเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระศาสนานี้
สูตร#2 จูฬโคปาลสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เขตเมืองอุกกเจลา แคว้นวัชชี ปรารภเหตุการณ์ในอดีตเรื่องของคนเลี้ยงโคที่พาฝูงโคลงน้ำว่ายตัดกระแสน้ำ ตรัสเล่าเปรียบเทียบให้ฟัง 2 กรณี 1. คนเลี้ยงโคไม่ฉลาด ไม่พิจารณาฝั่งนี้ฝั่งโน้นให้ดีก่อน ตรงที่ต้อนฝูงโคลงแม่น้ำนั้นไม่ใช่ท่าข้าม ว่ายเข้าไปในวังวนของกระแสน้ำกลางแม่น้ำ ถึงแก่ความตายหมดทั้งฝูง 2. คนเลี้ยงโคผู้ฉลาด ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หมาย ว่ายตัดกระแสน้ำถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดิภาพ เพราะตรงที่ข้ามเป็นท่าน้ำ ซึ่งพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงปล่อยโคข้ามไปตามลำดับ เปรียบเหมือนสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ฉลาดเรื่องโลกนี้ และโลกหน้า รู้ทั่วถึงธรรมทั้งปวง สามารถชักนำผู้อื่นให้ได้รับความสุขพ้นทุกข์ทั้งปวงได้
สูตร#3 นาคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยองค์ของช้างต้น ซึ่งเป็นช้างควรแก่พระราชา จะต้องประกอบด้วยองค์ 4 ประการ จึงนับว่าเป็นพระราชพาหนะโดยแท้ เปรียบเทียบกับภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม 4 ประการ คือ เป็นผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ฆ่าได้ เป็นผู้อดทน และเป็นผู้ไปได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 02 Aug 2023 - 58min - 324 - การบวชที่ให้ผลมาก-จูฬอัสสปุรสูตร และจูฬสีหนาทสูตร [6630-4s]
สูตร#1 จูฬอัสสปุรสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ในอัสสปุรนิคมของเจ้าชายชาวอังคะ แคว้นอังคะ โดยทรงปรารภเรื่องข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ ซึ่งทรงแสดงต่อจากมหาอัสสปุรสูตร ทรงตรัสถึงภิกษุผู้ยังละกิเลสที่เป็นมลทิน เป็นโทษของสมณะ 12 ประการไม่ได้ ทรงเรียกว่า ผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่สมควรแก่สมณะ กิเลสที่เป็นมลทินแก่สมณะ คือ อภิชฌา พยาบาท ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความดีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความโอ้อวด มารยา ความปรารถนาที่เป็นบาป ความเห็นผิด และทรงกล่าวว่าการบรรพชาของภิกษุนั้นเหมือนฝักของอาวุธชื่อมตชะที่คมจัด และการเป็นสมณะไม่ได้วัดกันด้วยเครื่องแบบ และข้อวัตร
แต่ทรงแสดงถึงภิกษุผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบของสมณะ คือละมลทินทั้ง 12 ประการได้ พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นจากบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ผู้เช่นนี้ ตรัสว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันชอบของสมณะ และผู้ที่ออกบวชจากสกุลไหนก็ตาม ทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ ตรัสว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะ.
สูตร#2 จูฬสีหนาทสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเหตุการณ์ในขณะนั้นว่า พระองค์ และภิกษุสงฆ์มีลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก แต่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกลับเสื่อมลาภสักการะ พากันร้องไห้คร่ำครวญไปตามท้องถนน พระองค์จึงตรัสสอนให้ภิกษุบันลือสีหนาทโดยชอบว่า สมณะที่ 1 ถึงที่ 4 (โสดาบันถึงอรหันต์) มีในพระศาสนานี้เท่านั้น จากนั้นทรงอธิบายว่า ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามถึงเหตุผลที่กล่าวอย่างนี้ พึงอ้างธรรม 4 ประการ คือ ความเลื่อมใสในศาสดา ในพระธรรม บำเพ็ญศีลได้บริบูรณ์ และผู้ร่วมประพฤติธรรมทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตเป็นที่รักที่พอใจของเรา จากนั้นทรงแสดงเรื่องทิฏฐิ 2 ประการ อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) 4 อย่าง ในตอนท้าย ทรงอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาท
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 26 Jul 2023 - 57min - 323 - ธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ - มหาอัสสปุรสูตร และ มหาสกุลุทายิสูตร [6629-4s]
สูตร#1 มหาอัสสปุรสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของราชกุมารชาวอังคะ แคว้นอังคะ ชาวนิคมนั้นมีความศรัทธาในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงตรัสสอนภิกษุเรื่อง ธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ และเป็นพราหมณ์ ได้แก่(1) หิริโอตตัปปะ(ความละอายและความเกรงกลัวต่อความชั่ว) (2) กายสมาจารบริสุทธิ์ (3) วจีสมาจารบริสุทธิ์ (4) มโนสมาจารบริสุทธิ์ (5) อาชีวะบริสุทธิ์ (6) การสำรวมอินทรีย์ (7) การรู้จักประมาณในโภชนะ (8) ตื่นบำเพ็ญเพียรอย่างต่อเนื่อง (9) เจริญสติสัมปชัญญะ (10) ละนิวรณ์ 5
หลักธรรมนี้ ทรงแนะนำให้ภิกษุทั้งหลายประพฤติปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน จากต่ำไปหาสูงที่ทรงเรียกว่า กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป จนกระทั่งถึงสมาธิและปัญญา
สูตร#2 มหาสกุลุทายิสูตร ตอน ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพประการอื่นๆ คือ 1. ทรงมีอธิศีล 2. ทรงมีญาณทัสสนะ 3. ทรงมีอธิปัญญา 4. ทรงสามารถตรัสตอบปัญหาเรื่องอริยสัจ 4 ได้ 5. ทรงสามารถตรัสบอกข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญา และอภิญญาบารมี (อรหัตตผล) คือ โพธิปักขิยธรรม 37 วิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8 กสินายตนะ 10 ฌาน 4 และวิชชา 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 19 Jul 2023 - 57min - 322 - เป็นไปเพราะกรรม-วาเสฏฐสูตร และเอสุการีสูตร [6628-4s]
สูตร#1 วาเสฏฐสูตร ทรงแสดงแก่มาณพชื่อ วาเสฎฐะผู้เป็นศิษย์ของโปกชรสาติพราหมณ์ และภารทวาชะผู้เป็นศิษย์ของตารุกขพราหมณ์ ขณะประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละใกล้หมู่บ้านชื่ออิจฉานังคละ มาณพทั้งสองได้สนทนากันเรื่องเหตุที่ทำให้ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ แต่ตกลงกันไม่ได้จึงเข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาค โดยวาเสฏฐมาณพเป็นผู้ทูลถามว่า บุคคลจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะชาติกำเนิด หรือเพราะกรรม ทรงตรัสอธิบายว่า ต้นไม้และสัตว์ต่าง ๆ แตกต่างกันไปตามกำเนิด แต่มนุษย์ไม่แตกต่างกันโดยกำเนิด การเรียกกันในหมู่มนุษย์เป็นการเรียกกันตามบัญญัติ มนุษย์จึงไมใช่พราหมณ์เพราะกำเนิด (ชาติตระกูล) แต่เป็นพราหมณ์เพราะกรรม จากนั้นได้ตรัสถึงคุณสมบัติอีกหลายประการของผู้เป็นพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา และทรงตรัสว่า ตบะ พรหมจรรย์ สัญญมะ และทมะ เป็นคุณธรรมสูงสุดของพราหมณ์ แต่ถ้าบุคคลใด ถึงพร้อมด้วยวิชชา 3 เป็นผู้สงบ สิ้นภพใหม่แล้ว บุคคลนั้นเป็นทั้งพรหมและท้าวสักกะ เมื่อทรงแสดงธรรมจบมาณพทั้งสองแสดงตนเป็นอุบาสกจนตลอดชีวิต
สูตร#2 เอสุการีสูตร ทรงแสดงแก่เอสุการีพราหมณ์ ณ เชตวัน เอสุการีทูลถามข้อบัญญัติเกี่ยวกับการบำเรอ 4 ประการของพวกพราหมณ์ และเกี่ยวกับทรัพย์ 4 ประการของพวกพราหมณ์ ทรงตรัสว่าเป็นการบัญญัติเอาเองโดยที่ชาวโลกไม่ยอมรับ เหมือนการบังคับคนยากจนให้กินเนื้ออาบยาพิษแล้วบังคับให้จ่ายค่าเนื้อ ทรงอธิบายต่อว่า บุคคลจะเป็นผู้ประเสริฐหรือเลวทรามไม่ใช่เพราะเกิดในตระกูลสูง ผิวพรรณดี มีโภคะมาก แต่อยู่ที่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ในเรื่องของทรัพย์ทรงบัญญัติว่า ทรัพย์ของบุคคล คือ โลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะ เพราะไม่ว่าบุคคลจะเกิดในตระกูลกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็สามารถออกบวช เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ได้เหมือนกัน เจริญเมตตาจิต อาบน้ำลอยละอองธุลีได้เหมือนกัน เมื่อเอาไม้มาสีให้เกิดเป็นไฟก็เป็นไฟเหมือนกัน เมื่อทรงแสดงจบเอสุการีพราหมณ์ได้แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 12 Jul 2023 - 56min - 321 - ธรรมที่ไม่มีกิเลส-อรณวิภังคสูตร และธรรมทายาทสูตร [6627-4s]
สูตร#1 อรณวิภังคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่พระเชตวัน กรุงสาวัตถี โดยมีพระประสงค์ให้ภิกษุเหล่านั้นปฏิบัติตามธรรมที่ไม่มีกิเลส เว้นธรรมที่มีกิเลส ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
- ภิกษุไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขในกาม อันทราม เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตน) อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์มัชฌิมาปฏิปทาที่ไม่เอียงเข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนั้น ที่ทรงได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้กิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงธรรมเท่านั้นพึงรู้การตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน สุขนี้เรียกว่า เนกขัมมสุขไม่พึงกล่าวความลับ ไม่พึ่งกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า เมื่อไม่รีบร้อนจึงพูด เมื่อรีบร้อนไม่ควรพูด ไม่พึงยึดภาษาท้องถิ่น ไม่พึงละเลยคำพูดสามัญ (คำที่คนทั่วไปใช้พูดกัน)
แล้วทรงยกตัวอย่าง กุลบุตรผู้มีนามว่าสุภูติ ได้ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเพื่อไม่มีกิเลสแล้ว
สูตร#2 ธรรมทายาทสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภลาภสักการะเป็นอันมากที่เกิดขึ้นแก่พระองค์ และภิกษุสงฆ์ในขณะนั้น จะเป็นเหตุให้ภิกษุบางพวกยึดติดในลาภสักการะเหล่านั้น จึงทรงสอนให้ภิกษุเป็นธรรมทายาทของพระองค์ ไม่ให้เป็นอามิสทายาท เพราะถ้าเป็นธรรมทายาท วิญญูชนจะยกย่องสรรเสริญ จากนั้นท่านพระสารีบุตรได้แสดงธรรมต่อถึงหนทางในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความสงัดขึ้นแก่ตน และอริยมรรคมีองค์ 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 05 Jul 2023 - 58min - 320 - สฬายตนะ-สฬายตนวิภังคสูตร และมหาสฬายตนวิภังคสูตร [6626-4s]
สูตร#1 สฬายตนวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี โดยมีพระประสงค์ให้ ภิกษุได้ศึกษาเรื่องอายตนะโดยละเอียดลึกซึ้ง ทรงตรัสอธิบาย เรื่อง อายตนะภายใน 6, อายตนะภายนอก 6, หมวดวิญญาณ 6, หมวดผัสสะ 6, มโนปวิจาร 18, สัตตบท 36 และสติปัฏฐาน 3
ซึ่งพระสูตรนี้ อยู่วรรคที่ 4 คือ วิภังควรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 พระสุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย อุปปริปัณณาส เล่มที่ 6 ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระสูตรที่ 7 ของวรรคที่ 5 คือสฬายตนวรรค ของเล่มนี้เหมือนกัน แต่มีเนื้อหาสาระแตกต่างกัน จึงควรนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับพระสูตรนั้นด้วย จะช่วยให้เข้าใจเรื่องสฬายตนะดีขึ้นกว้างขวางขึ้น
สูตร#2 มหาสฬายตนวิภังคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงแสดงธรรมเนื่องด้วยอายตนะ 6 ที่สำคัญให้ฟัง และทรงแสดงผลของผู้ที่รู้เห็นตามความเป็นจริง อริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมเจริญขึ้น ธรรมเหล่าอื่นก็เจริญเต็มที่ด้วย สมถะและวิปัสนาของเขาย่อมเคียงคู่กันไป จนสามารถกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้คือขันธ์ 5 ละธรรมที่ควรละ คือ อวิชชา และภวตัณหา เจริญธรรมที่ควรเจริญ คือ สมถะ และวิปัสสนา ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา และวิมุตติ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 28 Jun 2023 - 56min - 319 - อายตนะ และการพัฒนาอินทรีย์-อินทริยภาวนาสูตร ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร และสาเกตสูตร [6625-4s]
สูตร#1 อินทริยภาวนาสูตร ทรงแสดงแก่อุตตรมาณพซึ่งเป็นศิษย์ของปาราสิริยพราหมณ์ ขณะประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ในกัชชังคลานิคม ทรงปรารภคำกราบทูลของอุตตรมาณพเรื่องการเจริญอินทรีย์ของปาราสิริยพราหมณ์ ซึ่งปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวก คือ แสดงว่า อย่าดูรูปทางตา อย่าฟังเสียงทางหู ทรงตรัสว่า ผู้เจริญอินทรีย์ตามคำสอนของปาราสิริยพราหมณ์ จักเป็นคนตาบอด หูหนวก จากนั้นทรงเรียกพระอานนท์มาแล้ว ทรงแสดงเรื่องการเจริญอินทรีย์ตามหลักคำสอนของพระองค์
สูตร#2 ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระสารีบุตร ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ทรงปรารภวิหารธรรมที่ทำให้พระสารีบุตรมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ต้องการอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมนั้นต้องพิจารณาว่า ขณะกลับจากบิณฑบาต มีอกุศลธรรมที่อาศัยอายตนะภายในเกิดขึ้นแก่ตนหรือไม่ ถ้ามีให้พยายามละเสีย ถ้าไม่มี ให้ยินดีศึกษาในกุศลธรรมต่อไป
นอกจากนี้ ผู้อยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมควรพิจารณา กามคุณ 5 นิวรณ์ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 เป็นต้น ทรงสรุปว่า ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน ผู้พิจารณาเช่นนี้ จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้
สูตร#3 สาเกตสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณป่าอัญชนวัน สถานที่พระราชทานอภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ทรงแสดงเหตุที่ทำให้อินทรีย์ 5 ประการอาศัยแล้วกลายเป็นพละ 5 ประการ และเหตุที่พละ 5 ประการอาศัยแล้วกลายเป็นอินทรีย์ 5 ประการ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 21 Jun 2023 - 54min - 318 - อายตนะ 6 ประการ-สฬายตนวิภังคสูตร นครวินเทยยสูตร และมหาสมัยสูตร [6624-4s]
สูตร#1 สฬายตนะวิภังคสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงแสดงธรรมเนื่องด้วยอายตนะ 6 ที่สำคัญให้ฟัง และทรงแสดงผลของผู้ที่รู้เห็นตามความเป็นจริง อริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมเจริญขึ้น ธรรมเหล่าอื่นก็เจริญเต็มที่ด้วย สมถะ และวิปัสนาของเขาย่อมเคียงคู่กันไป จนสามารถกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้คือขันธ์ 5 ละธรรมที่ควรละ คือ อวิชชา และภวตัณหา เจริญธรรมที่ควรเจริญ คือ สมถะ และวิปัสสนา ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา และวิมุตติ
สูตร#2 นครวินทยสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์ และคหบดีชาวบ้านนครวินทะ แควันโกศล ซึ่งพากันมาเฝ้าพระองค์เมื่อทราบว่าเสด็จมาที่หมู่บ้านนั้น โดยทรงประสงค์ให้ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสมณพราหมณ์ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา กับสมณพราหมณ์ที่ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ผลจากการแสดงธรรมครั้งนี้ ทำให้พราหมณ์ และคหบดีเหล่านั้น ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ แสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
สูตร#3 มหาสมัยสูตร ว่าด้วยการประชุมครั้งใหญ่ของเทวดา ทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ 500 รูปขณะประทับอยู่ที่ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ มีเหล่าเทวดาจำนวนมากจาก 10 โลกธาตุมาประชุมกันเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค และเยี่ยมภิกษุสงฆ์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 14 Jun 2023 - 1h 00min - 317 - อดีตพระเจ้าพิมพิสาร-ชนวสภสูตร [6623-4s]
ชนวสภสูตรทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ณ ตำหนักอิฐในนาทิกคาม เขตแคว้นวัชชี เมื่อครั้งเสด็จจาริกแสดงธรรมครั้งสุดท้าย ทรงปรารภคำกราบทูลเลียบเคียงท่านพระอานนท์ เรื่องการที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์คติและอภิสัมปรายภพของพุทธบริษัทผู้ล่วงลับไปแล้ว เช่น ชาวบ้านนาทิกคาม แคว้นวัชชี ฯลฯ (ยกเว้นแคว้นมคธ) ทำให้พุทธบริษัทเหล่านั้นมีความยินดี เกิดปีติโสมนัส แต่การที่ไม่ทรงพยากรณ์พุทธบริษัทชาวมคธผู้ล่วงลับไปแล้วทำให้ดูเหมือนว่า แคว้นนี้ไม่มีพุทธบริษัท ทั้ง ๆ ที่มีเป็นจำนวนมาก การที่ทรงพยากรณ์จะทำให้พุทธบริษัทจำนวนมากในแคว้นนี้เกิดความเลื่อมใส และจะไปเกิดในสุคติภูมิต่อไป ด้วยเหตุนี้ จึงทรงตั้งพระทัยเพ่งพิจารณากำหนดจะทรงทราบคติและอภิสัมปรายภพของพุทธบริษัทชาวมคธผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ทรงทราบชัดตามที่ทรงปรารถนา
เมื่อท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าจึงตรัสเล่าเรื่องที่ทรงทราบให้ฟังว่า ชนวสภยักษ์ คือ อดีตพระเจ้าพิมพิสารมาเฝ้าพระองค์ กราบทูลให้ทรงทราบว่า ท่านไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อชนวสภะในชั้นจาตุมหาราช ท่านบรรลุโสดาบันแล้ว และปรารถนาจะบรรลุเป็นพระสกทาคามีต่อไป โดยประพฤติธรรมคำสอนของพระองค์ตลอดมามิได้เว้น ซึ่งการมาเฝ้าครั้งนี้มาด้วยเหตุ 2 ประการ คือ (1) มาด้วยความเลื่อมใสและปรารถนาจะเข้าเฝ้า (2) มีเรื่องจะกราบทูลให้ทรงทราบคือเรื่องการประชุมของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ที่เทวธรรมสภา ซึ่งในครั้งนั้นท้าวมหาพรหมได้เสด็จมา กล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย แล้วทรงแสดงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงสอน รวม 4 เรื่อง และสนังกุมารพรหมทรงสรุปว่า มีชาวมคธผู้มีความเสื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ จำนวนมาก ที่ล่วงลับดับชีพไปแล้ว เป็นพระโสดาบัน และเป็นพระสกทาคามี
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 07 Jun 2023 - 59min - 316 - มายาเครื่องกลับใจ-อุปาลิวาทสูตร [6622-4s]
อุปาลิวาทสูตร ทรงแสดงแก่นิครนถ์ชื่อทีฆตปัสสี และอุบาลีคหบดี ขณะประทับ ณ ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาลันทา ในตอนต้น ทรงแสดงแก่นิครนถ์ทีฆตปัสสี ที่ได้เข้าไปสนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค ทรงตั้งคำถาม ถามทีฆตปัสสีเรื่อง นิครนถ์ นาฏบุตร บัญญัติกรรมในการทำชั่ว ประพฤติชั่วไว้เท่าไร และอย่างไหนมีโทษมากกว่ากัน ทีฆตปัสสีทูลตอบว่า ไม่ได้บัญญัติเรื่องกรรมแต่บัญญัติทัณฑะ มี 3 อย่าง และกายทัณฑะมีโทษมากกว่า จากนั้นตปัสสี ได้ทูลย้อนถามว่า พระองค์บัญญัติทัณฑะในการทำชั่ว ประพฤติชั่วไว้เท่าไร และอย่างไหนมีโทษมากกว่ากัน ทรงตอบว่า ไม่ได้บัญญัติทัณฑะ แต่บัญญัติ กรรม มี 3 อย่าง และมโนกรรมมีโทษมากกว่า
จากนั้นทีฆตปัสสี ได้นำเรื่องไปเล่าให้นิครนถ์ นาฏบุตร และนิครนถ์บริษัทฟัง ทุกคนเห็นว่าทีฆตปัสสีกล่าวถูกต้อง อุบาลีคหบดีจึงรับอาสานำเรื่องนั้นไปโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงย้อนถามปัญหาอุบาลี 4 ข้อ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหาจบลง อุบาลีคหบดียอมรับว่า มโนกรรมมีโทษมากกว่าจริง และได้แสดงตนเป็นอุบาสกถึง 3 ครั้ง จากนั้นทรงแสดงอนุปุพพิกถา จนอุบาลีคหบดี บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 31 May 2023 - 1h 00min - 315 - นี้เป็นวรรณะสูงสุด-เวขณสสูตร และจูฬสกุลุทายิสูตร [6621-4s]
สูตร#1 เวขณสสูตร ทรงแสดงแก่ปริพาชกชื่อ เวขณสะ ขณะประทับอยู่ พระเชตวัน เขตกรุงสาวัตถี ทรงปรารภคำอุทานของเวขณสปริพาชก ซึ่งทำทีเปล่งอุทานในสำนักของพระองค์ให้ทรงได้ยินว่า “นี้เป็นวรรณะสูงสุด นี้เป็นวรรณะสูงสุด”
ทรงตรัสถามความหมายของวรรณะสูงสุด แต่เขากราบทูลแต่คำเดิม จึงทรงตรัสว่า เวขณสะใช้คำพูดเลื่อนลอย เปรียบเหมือนชายหนุ่มที่รักหญิงงามแต่ไม่รู้ว่านางเป็นใคร ไม่รู้จักชื่อ ตระกูล ลักษณะและที่อยู่
ในที่สุดเวขณสปริพาชกยอมอธิบายว่า หมายถึง อัตตาที่ยั่งยืน หลังจากตายแล้วมีวรรณะเหมือนแก้วไพฑูรย์ ฯลฯ ส่องแสงสว่างเป็นประกาย พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงสิ่งที่ส่องสว่างกว่านั้น และแต่ละอย่างส่องแสงสว่างยิ่งกว่าวรรณะที่เขากล่าวถึง
จากนั้นได้ตรัสกามคุณ 5 กามสุข และความสุขอันเลิศกว่ากามสุข มีเพียงพระอรหันตขีณาสพเท่านั้นที่จะรู้ได้ เวขณสะได้ฟังเช่นนั้นก็โกรธ กล่าวหาว่าทรงตรัสถึงพระอรหันตขีณาสพโดยไม่รู้จริง จึงทรงท้าทายให้เขาเข้ามาปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของพระองค์ ก็จะรู้เองเห็นเอง เวขณสปริพาชก จึงยอมแสดงตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิต
สูตร#2 จูฬสกุลุทายิสูตร ทรงแสดงแก่สกุลุทายีปริพาชก ณ อารามของปริพาชก เขตกรุงราชคฤห์
สกุลุทายีได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาคถึงเรื่องนิครนถ์ นาฏบุตรซึ่งอ้างว่าตนเป็นสัพพัญญู เห็นสิ่งทั้งปวง แม้ขณะเดิน หยุด หลับ และตื่น แต่พอถูกถามปัญหาเรื่องการระลึกชาติในอดีตกลับเอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง ทั้งแสดงอาการโกรธไม่พอใจ ด้วยเหตุนี้ ทำให้เขาระลึกถึงพระผู้มีพระภาคมีแต่พระองค์เท่านั้นที่ทรงทราบเรื่องนี้จริงๆ
จากนั้นทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทให้ฟัง และทรงตรัสถามถึงความเห็นในลัทธิของปริพาชกเกี่ยวกับวรรณะสูงสุด และปัญหาเรื่องโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว (โลกที่ไม่มีทุกข์) ทรงซักไซร้ ไล่เลียงจนสกุลุทายีปริพาชกยอมรับว่า ลัทธิของตนว่างเปล่า และผิดไปหมด
จากนั้นทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว คือ ฌาน 4 และวิชชา 3 เมื่อทรงแสดงธรรมจบสกุลุทายีปริพาชกขอบวชแต่ลูกศิษย์ห้ามมิให้บวช
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 24 May 2023 - 1h 05min - 314 - การแสวงหาที่ประเสริฐ-ปาสราสิสูตร [6620-4s]
ปาสราสิสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุจำนวน 500 รูป ณ อาศรมรัมมกพราหมณ์ เขตกรุงสาวัตถี เนื่องจากภิกษุเหล่านี้ได้เดินทางมาพบท่านพระอานนท์ เพื่อขอเข้าเฝ้าและฟังธรรม พระอานนท์จึงได้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปโปรดภิกษุเหล่านี้
เมื่อทรงเสด็จไปถึง ทรงได้ยินภิกษุกำลังสนทนาธรรมกันอยู่ ทรงประทับยืนรอจนภิกษุเหล่านั้นสนทนาธรรมจบลง จึงเสด็จเข้าไป ทรงตรัสถึงผู้มาประชุม มีกิจที่ควรทำ 2 ประการ คือ 1) การสนทนาธรรม 2) การเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ แล้วทรงปรารภการแสวงหามี 2 อย่าง คือ การแสวงหาที่ประเสริฐ และการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ แล้วทรงอธิบาย ว่า
การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ ได้แก่ การแสวงหากาม การแสวงหาที่ประเสริฐ ได้แก่ การแสวงหาทางเพื่อพ้นไปจากกาม บรรลุถึงพระนิพพาน สำหรับการแสวงหาที่ประเสริฐ ทรงยกการแสวงหาโมกขธรรมของพระองค์เองเป็นตัวอย่าง จึงทรงเล่าพุทธประวัติตอนต้น
และทรงแสดงด้วยอุปมาโวหารเปรียบเทียบให้เห็นโทษของกามคุณ 5 ซึ่งถ้าไม่มีปัญญาสลัดออกจากกามคุณ 5 ได้ จะต้องถูกมารใจบาปทำอะไรๆ ได้ตามชอบใจเหมือนเนื้อป่าที่ติดบ่วง ถูกพรานเนื้อทำอะไรๆ ได้ตามชอบใจ แล้วทรงสอนวิธีสลัดออกจากกามคุณ 5 ด้วยการปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 17 May 2023 - 1h 06min - 313 - ปริพาชกชื่อวัจฉโคตร-จูฬวัจฉโคตตสูตร อัคคิวัจฉโคตตสูตร และมหาวัจฉโคตตสูตร [6619-4s]
สูตร#1 จูฬวัจฉโคตตสูตร ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชก ขณะประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงสาวัตถี ปรารภคำถามของวัจฉโคตรปริพาชกว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญูเห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะในขณะ เดิน หยุด หลับและตื่น เป็นการกล่าวถูกต้องหรือไม่ ตรัสตอบว่าไม่ถูกต้อง เพราะทรงเป็นผู้มีวิชชา 3 แล้วทรงแสดงวิชชา 3 เพื่อให้วัจฉโคตรปริพาชกรู้ว่าลัทธิอื่น นอกจากพระพุทธศาสนาไม่มีใครเป็นสัพพัญญู
สูตร#2 อัคคิวัจฉโคตตสูตร ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชก ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำถามของปริพาชกว่า พระองค์ทรงมีอันตคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นสุดโต่ง) 10 ประการหรือไม่ ทรงตอบว่า ไม่มี แล้วทรงตรัสถึงโทษของทิฏฐิเหล่านั้น ซึ่งทรงกำจัดได้แล้ว และทรงหลุดพ้นจากการยึดมั่นทิฏฐิในเรื่องขันธ์ 5 ปริพาชกมีความเข้าใจ จนได้ประกาศตนเป็นอุบาสก สมาทานไตรสรณคมน์
สูตร#3 มหาวัจฉโคตตสูตร ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชกขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ปริพาชกทูลขอให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมให้ฟัง ทรงแสดง อกุศลมูล 3 กุศลมูล 3 อกุศลกรรมบท 10 กุศลกรรมบท 10 และทรงแสดงผลที่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาจะได้รับ ที่ไม่ได้มีเฉพาะพระพุทธเจ้า หรือเหล่าสาวกเพียงบางคนบางท่านแต่มีกว่านั้นมากนัก จึงทำให้มีศรัทธาเห็นถึงความบริบูรณ์เต็มพร้อมของธรรมวินัยนี้ และได้ขอบรรพชาจนกระทั่งสามารถทำวิชชา 3 ให้เกิดขึ้นได้ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 10 May 2023 - 1h 00min - 312 - ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา-มหาสกุลุทายิสูตร ตอนที่ 2 [6618-4s]
มหาสกุลุทายิสูตร ตอนที่ 2 ทรงตรัสว่า สาวกผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในธรรม 5 ประการนี้ เทียบเท่าหรือยิ่งกว่าพระองค์มีอยู่ ถ้าถือธรรม 5 ประการนั้นเป็นเหตุ สาวกเหล่านั้นก็คงไม่เคารพพระองค์ แล้วทรงแสดงธรรม 5 ประการอื่นอีก คือ
1. ทรงมีอธิศีล
2. ทรงมีญาณทัสสนะ
3. ทรงมีอธิปัญญา
4. ทรงสามารถตรัสตอบปัญหาเรื่องอริยสัจ 4 ได้
5. ทรงสามารถตรัสบอกข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญา และอภิญญาบารมี (อรหัตตผล) คือ โพธิปักขิยธรรม 37 วิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8 กสินายตนะ 10 ฌาน 4 และวิชชา 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 03 May 2023 - 54min - 311 - ธรรมให้เกิดความเคารพเลื่อมใส-มหาสกุลุทายิสูตร ตอนที่ 1 [6617-4s]
มหาสกุลุทายิสูตร ตอนที่ 1 ทรงแสดงแก่สกุลุทายิปริพาชก ณ อารามของปริพาชก เขตกรุงราชคฤห์ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอารามของปริพาชก ขณะนั้น สกุลุทายีปริพาชกกำลังนั่งสนทนาดิรัจฉานกถาอยู่กับปริพาชกบริษัท ทูลเชิญให้พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ได้กราบทูลเรื่องที่สนทนากันว่า มีสมณพราหมณ์มาประชุมกันสนทนากันว่า บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เป็น เจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นเจ้าลัทธิ ในที่ประชุมมีผู้ห็นว่า สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่ 6 ท่านแรก เคยมีเรื่องที่สาวกแสดงความไม่เคารพมาแล้ว
ส่วนท่านที่ 7 คือ พระสมณโคดม เมื่อแสดงธรรมจะไม่มีเสียงจามหรือเสียงไอของพระสาวกเลย ทำให้ผู้ต้องการฟังธรรมฟังได้เต็มที่ แม้สาวกผู้ลาสิกขาไปก็ยังกล่าวสรรเสริญ สาวกผู้เป็นอุบาสกก็พากันสมาทานประพฤติสิกขาบท 5 สาวกสักการะเคารพ นับถือ บูชาพระสมณโคดมอย่างนี้ และยังได้อาศัยพระสมณโคดมด้วย
ทรงตรัสถามสกุลุทายีว่า เห็นธรรมกี่ประการ ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกของพระองค์แสดงความเคารพพระองค์เช่นนั้น เขากราบทูลว่า เห็นธรรม 5 ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สาวกผู้ปฏิบัติเคร่งครัดในธรรม 5 ประการนี้เทียบเท่าหรือยิ่งกว่าพระองค์ มีอยู่ ถ้าถือธรรม 5 ประการนั้นเป็นเหตุ สาวกเหล่านั้นก็คงไม่เคารพพระองค์ แล้วทรงแสดงธรรม 5 ประการอื่นอีก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 26 Apr 2023 - 56min - 310 - มูลเหตุแห่งธรรม-มูลปริยายสูตร [6616-4s]
มูลปริยายสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับ ณ โคนไม้รังใหญ่ ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา ได้ทรงแสดงเรื่องราวอันเป็นมูลแห่งธรรมทั้งปวง (สัพพธัมมมูลปริยาย) มีใจความสำคัญแบ่งออกเป็น 8 ส่วน คือ เนื่องด้วยปุถุชน (คนที่ยังหนาไปด้วยกิเลส) 1 จำพวก เนื่องด้วยเสขะ 1 จำพวก เนื่องด้วยพระขีณาสพ (พระอรหันต์) 4 จำพวก และ เนื่องด้วยพระศาสดา 2 จำพวก คือ
⁃ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมรู้ตามความจำถึงสิ่งต่างๆ แล้วยึดถือว่าเป็นของเรา เพราะไม่ได้กำหนดรู้ตามเป็นจริงซึ่งสิ่งนั้นๆ
⁃ภิกษุผู้เป็นเสขะ รู้ยิ่งด้วยปัญญาซึ่งสิ่งต่างๆ การยึดถือว่าเป็นของเราเพราะสิ่งนั้น พระเสขะควรกำหนดรู้ได้
⁃ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ รู้ยิ่งด้วยปัญญาซึ่งสิ่งต่างๆ ย่อมไม่ถือว่าเป็นของเรา เพราะกำหนดสิ่งนั้นๆ แล้ว เพราะสิ้นราคะความกำหนัดยินดี เพราะสิ้นโทสะความคิดประทุษร้าย เพราะสิ้นโมหะความหลง
⁃พระศาสดา รู้ยิ่งด้วยปัญญาซึ่งสิ่งต่างๆ ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา เพราะกำหนดรู้ในสิ่งนั้นๆ แล้ว และเพราะสิ้นตัญหาด้วยประการทั้งปวง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 19 Apr 2023 - 55min - 309 - การอยู่อย่างผาสุก-นฬกปานสูตร และปุตตมังสสูตร [6615-4s]
สูตร#1 นฬกปานสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ หมู่บ้านนฬกปานะ ทรงปรารภกุลบุตรผู้มีชื่อเสียงจำนวนมากที่บวชด้วยศรัทธา
ทรงตรัสถามกุลบุตรถึงความยินดีในพรหมจรรย์ และการออกบวชเพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ และตรัสถึงหน้าที่ที่ผู้บวชใหม่จะต้องประพฤติปฏิบัติ และได้ทรงพยากรณ์ถึงการบรรลุธรรมของเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จุดประสงค์เพื่อให้คนที่ได้ยินได้ฟังถึงบุคคลที่เขารู้จัก เคยร่วมพูดคุย คบหาสมาคม จะสามารถรู้ถึงศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ และปัญญาของบุคคลต่างๆ เหล่านั้น ทำให้น้อมจิตไปเพื่อศรัทธา เป็นต้น ทำให้มีความอยู่อย่างผาสุกได้
สูตร#2 ปุตตมังสสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงอาหาร 4 อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว (ภูตสัตว์) หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ ผู้แสวงหาที่เกิด (สัมภเวสีสัตว์)
และทรงยกอุปมาโดยลักษณะอาหาร 4 เพื่อให้อริยสาวกกำหนดรู้ได้ ราคะซึ่งเกิดจากกามคุณ 5 เวทนา 3 ประการ ตัณหา 3 ประการ และนามรูป จะกำหนดรู้ได้ด้วย เมื่อกำหนดรู้ได้แล้วจึงเป็นเหตุให้ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 12 Apr 2023 - 56min - 308 - ประทานโอวาทแก่พระราหุล-มหาราหุโลวาทสูตร และจูฬราหุโลวาทสูตร [6614-4s]
สูตร#1 มหาราหุโลวาทสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระราหุล (สมัยยังเป็นสามเณร) เพื่อให้ท่านบรรเทาความพอใจและความกำหนัดเกี่ยวกับเรือนร่าง คือ ขันธ์ 5
ขณะนั้นทรงประทับอยู่พระเชตวัน เขตกรุงสาวัตถี ในตอนเช้าก่อนเสด็จออกบิณฑบาต ทรงแสดงวิธีการเจริญกัมมัฏฐานหลายอย่าง ทรงสอนให้พิจารณาขันธ์ 5 และการเจริญอานาปานสติให้มีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ ให้พิจารณาธาตุ 5 ให้เจริญภาวนาเสมอด้วยธาตุทั้ง 5 นั้น ให้เจริญภาวนา 6 อย่าง และให้เจริญอานาปานสติ 16 ชั้น
สูตร#2 จูฬราหุโลวาทสูตร ทรงแสดงแก่ท่านพระราหุล (สมัยยังเป็นสามเณร) ขณะประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน เขตกรุงราชคฤห์ ทรงปรารภว่า ท่านพระราหุลยังเยาว์อยู่ อาจจะพูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ จึงทรงเสด็จเข้าไปหาท่านพระราหุลซึ่งกำลังพักอยู่ ณ ปราสาทชื่อ อัมพลัฏฐิกา
ขณะที่พระองค์ทรงล้างพระบาท ทรงเหลือน้ำไว้ในภาชนะหน่อยหนึ่ง รับสั่งเรียกท่านพระราหุลมาพิจารณาดูน้ำนั้น แล้วทรงแสดงเปรียบเทียบว่า เป็นสมณะถ้าไม่มีความละอายกล่าวเท็จทั้งที่รู้ ก็เหลือความเป็นสมณะเพียงหน่อยหนึ่งเหมือนน้ำในขัน
ทรงเทน้ำทิ้งแล้วทรงคว่ำขัน และหงายขันขึ้น แล้วทรงเปรียบเทียบให้ฟังว่า ถ้ายังกล่าวเท็จอยู่ก็เหมือนน้ำที่เขาทิ้งแล้ว เหมือนขันที่คว่ำ และว่างเปล่าเหมือนขันที่หงายขึ้น
ทรงยกอุปมาด้วยช้างขึ้นมาเปรียบเทียบว่า ช้างต้นที่ใช้อวัยวะทุกส่วนทำงานให้พระราชาได้
ไม่มีอะไรที่ช้างต้นนั้นจะทำไม่ได้ คนที่ไม่มีความละอายกล่าวเท็จทั้งที่รู้ก็เหมือนกัน ที่จะไม่ทำบาปอะไรเลยไม่มี
จากนั้นทรงสอนให้พิจารณาดูกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมของตน เหมือนคนใช้คันฉ่องส่องดูเงาหน้าตัวเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 05 Apr 2023 - 54min - 307 - ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น-ปฏิจจสมุปบาท [6613-4s]
"ปฏิจจสมุปบาท" คือ ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ วิหารเชตวัน ถึงความหมายในแต่ละข้อ อุปมาอุปไมย และความเกี่ยวเนื่องกับอริยสัจสี่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 29 Mar 2023 - 55min - 306 - โทษแห่งกาม-มหาทุกขักขันธสูตร และจูฬทุกขักขันธสูตร [6612-4s]
สูตร#1 มหาทุกขักขันธสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภคำถามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ที่ภิกษุนำมากราบทูลให้ทรงทราบ า พระองค์ทรงบัญญัติคำสอนเหมือนที่พวกปริพาชกบัญญัติไว้เหมือนกัน คือ เรื่องการละกาม การละรูป และการละเวทนาทั้งหลาย คำสอนเหล่านี้ ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร พระองค์จึงทรงตรัสสอนภิกษุในการตอบโต้วาทะของนักบวชพวกนั้นด้วยการตั้งคำถามย้อนกลับ ดังนี้ 1. อะไรเป็นเหตุแห่งกามทั้งหลาย อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสลัดออกจากกามทั้งหลาย 2. อะไรเป็นคุณ โทษ และเป็นการสลัดออกจากรูปทั้งหลาย 3. อะไรเป็นคุณ โทษ และการสลัดออกจากเวทนาทั้งหลาย ทรงย้ำว่า คำถามเหล่านี้ นอกจากพระองค์และสาวกของพระองค์ ไม่มีผู้ใดสามารถตอบให้ถูกต้องสมบูรณ์ได้ สมณหรือพราหมณ์พวกใดก็ตามถ้าไม่รู้ชัดในคุณ โทษและการสลัดออก ตามความเป็นจริง ก็จะไม่มีทางรอบรู้ กาม รูปและเวทนาทั้งหลายได้เอง หรือชักชวนผู้อื่นให้รู้ได้และปฏิบัติตามจนรอบรู้ได้
สูตร#2 จูฬทุกขักขันธสูตร ทรงแสดงแก่เจ้ามหานามะ ณ นิโครธาราม ทรงตอบข้อสงสัยในธรรมของเจ้ามหานามะ ที่กราบทูลว่า พระองค์ทรงรู้ทั่วถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต แต่บางครั้ง ยังถูกโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ครอบงำพระทัย ธรรมอะไรที่ยังทรงละไม่ได้ในภายใน พระพุทธเจ้าทรงตัสตอบว่า คือธรรมในภายในถ้าทรงละได้ จะไม่ทรงครองเรือน ไม่ทรงบริโภคกาม แล้วทรงเล่าเรื่องของพระองค์ตั้งแต่ยังทรงเป็นโพธิสัตว์ก่อนการตรัสรู้ และทรงแสดงถึงคุณ โทษ และการสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 22 Mar 2023 - 54min - 305 - ปาฏิหาริย์ 3 อย่าง-เกวัฏฏสูตร [6611-4s]
เกวัฏฏสูตร ทรงตรัสแก่เกวัฏฏบุตรคหบดีขณะประทับอยู่ในสวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี หรือที่เรียกว่า ปาวาริกัมพวัน เขตเมืองนาลันทา เกวัฏฎบุตรคหบดีเป็นพุทธศาสนิกชนผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้ชาวนาลันทาหันมานับถือพระพุทธศาสนาโดยทั่วกัน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลให้รับสั่งแก่ภิกษรูปใดรูปหนึ่งผู้ชำนาญทางการแสดงปาฏิหาริย์ไปแสดงปาฏิหาริย์ให้ชาวเมืองนั้นชม พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเทศนาพระสูตรนี้ ทรงตรัสว่า พระองค์มิได้สอนธรรมเพื่อให้ภิกษุแสดงปาฏิหาริย์แก่คฤหัสถ์ แล้วทรงชี้แจงว่า ทรงรู้แจ้งปาฏิหาริย์ 3 อย่างคือ (1) อิทธิปาฏิหาริย์ (การแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์) (2) อาเทสนาปาฏิหาริย์ (การดักทายใจผู้อื่นได้อย่างน่าอัศจรรย์) (3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (การพร่ำสอนที่มีผลอย่างน่าอัศจรรย์) จากนั้นทรงแสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ให้เกวัฏฏะฟัง คือทรงแสดงผลของศีล 3 ชั้น ผลของฌาน 4 และวิชชา 8 ในตอนท้ายทรงเล่าเรื่องภิกษุรูปหนึ่งต้องการทราบว่ามหาภูตรูป 4 ดับสนิทในที่ใด จึงเข้าสมาธิไปเที่ยวถามพวกเทวดาในเทวโลกทุกๆ ชั้นก็ไม่ได้รับคำตอบ จึงไปเที่ยวถามพวกเทพที่เป็นพรหมบริษัทในพรหมโลกจนได้เข้าพบท้าวมหาพรหมที่อ้างว่าเป็นผู้สร้างโลก ท้าวมหาพรหมได้บอกภิกษุรูปนั้นไปว่า ไม่มีใครรู้ นอกจากพระพุทธเจ้า ภิกษุรูปนั้นจึงกลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามข้อข้องใจนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า ดับสนิทในจิตของพระอรหันต์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 15 Mar 2023 - 56min - 304 - ความคิดเห็นชั่วร้าย-โลหิจจสูตร [6610-4s]
โลหิจจสูตร ทรงตรัสแก่โลหิจจพราหมณ์เพื่อแก้ความเห็นผิด ขณะทรงแวะพักในหมู่บ้านสาลวติกา (หมู่บ้านที่มีต้นสาละเป็นรั้ว) แคว้นโกศล ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานเป็นพรหมไทยให้โลหิจจพราหมณ์ปกครอง ทรงตรัสถามโลหิจจพราหมณ์ จริงหรือไม่ที่มีผู้กล่าวว่า โลหิจจพราหมณ์มีความเห็นชั่วร้ายว่า สมณะหรือพราหมณ์ควรบรรลุกุศลธรรม แต่ไม่ควรบอกแก่ผู้ใด เพราะไม่มีใครช่วยใครได้ ผู้ที่บอกถือว่ายังมีความโลภ เหมือนคนที่ตัดเครื่องจองจำเก่า แล้วสร้างเครื่องจองจำใหม่ขึ้นแทน ก็ถือว่ามีความโลภอย่างเดียวกัน ความโลภเป็นความชั่วร้าย จึงไม่ควรมีความโลภ โลหิจจพราหมณ์กราบทูลว่าจริง จึงทรงซักถาม ในกรณีที่โลหิจจพราหมณ์เป็นผู้ปกครองหมู่บ้านและกรณีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองแคว้นโกศลและแคว้นกาสี ไล่เลียงให้โลหิจจพราหมณ์ตอบ จนจบลงที่ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิมีคติ 2 อย่าง คือ ตายแล้วไปเกิดในนรก หรือในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน แล้วทรงสรุปว่า ความเห็นที่ว่า สมณะหรือพราหมณ์ควรบรรลุกุศลธรรมแต่ไม่ควรบอกผู้ใดนั้น ก็ถือว่าไม่แบ่งผลประโยชน์แก่ผู้อื่นจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิเช่นกัน จากนั้นทรงแสดงว่ามีศาสดาอยู่ 3 ประเภทที่สมควรถูกทักทัวง และศาสดาอีก 1 ประเภทที่ไม่สมควรถูกทักทัวง เมื่อตรัสจบ โลหิจจพราหมณ์ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยไปตลอดชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 08 Mar 2023 - 56min - 303 - พึ่งตน พึ่งธรรม-จักกวัตติสูตร [6609-4s]
จักกวัตติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่ที่เมืองมาตุลา แคว้นมคธ ทรงตรัสสอนให้พึ่งตน พึ่งธรรม โดยการเจริญสติปัฏฐาน 4 และให้ประพฤติธรรมอันเป็นที่โคจรที่สืบเนื่องมาจากบิดา เมื่อประพฤติข้อนี้ บุญกุศลจะเจริญยิ่งขึ้น มารจะขัดขวางมิได้ ทรงอธิบายว่า ผู้พึ่งตนพึ่งธรรมจะเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ โภคะ และพละ แล้วทรงตรัสเล่านิทานเกี่ยวกับพระเจ้าจักรพรรดิในอดีต 7 พระองค์ มีพระเจ้าทัฬหเนมิ เป็นต้น ผู้ประพฤติจักรวรรดิวัตรสืบทอดต่อๆ กันมาโดยลำดับ เมื่อกษัตราธิราชทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรนี้โดยบริบูรณ์แล้ว แก้ว 7 ประการ ได้เกิดขึ้น ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอุดมสมบูรณ์ พระเจ้าจักรพรรดิ และประชาราษฎร์ผู้ประพฤติตามมีอายุยืนถึง 80,000 ปี มีวรรณะผ่องใส มีความสุข มีโภคะ และพละ แต่ยังมีกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกพระองค์หนึ่ง ซึ่งนับเป็นองค์ที่ 8 ไม่ทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรสืบทอดจากพระชนก จึงไม่ทรงมีแก้ว 7 ประการ บ้านเมืองของพระองค์จึงไม่เจริญรุ่งเรือง ประชาราษฎร์ประสบความเดือดร้อน อดอยากต้องขโมยเขากิน อกุศลธรรมข้อ อทินนาทาน จึงเกิดขึ้น อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ และพละเริ่มเสื่อมถอย ต่อมา ได้เกิดอกุศลธรรมข้อ ปาณาติบาต มุสาวาท ฯลฯ ขึ้นตามลำดับ เมื่ออกุศลธรรมแต่ละข้อเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลงๆ อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ และพละก็เสื่อมลงๆ
จนถึงสมัยหนึ่งที่มนุษย์มีอายุขัยแค่ 10 ปีตาย ในสมัยนั้นจะเกิดกาลยุคขั้นมิคสัญญีเป็นเวลา 7 วัน คือ คนเห็นคนเข้าใจว่าเป็นเนื้อที่ตนอยากกินเพื่อแก้ความหิวโหย จึงใช้อาวุธประหัตประหารกัน จนผู้คนล้มตายไปเกือบหมดโลก ช่วงเวลานั้น เรียกว่า สัตถันตรกัป คนที่รอดตาย คือ ผู้ที่หลบหนีออกจากหมู่คณะไปหลบซ่อนตัวอยู่ป่า พอพ้น 7 วัน จึงออกจากที่ซ่อน เกิดความรู้สึกสำนึกถึงคุณค่าของธรรม แล้วตั้งใจปฏิบัติธรรม ทำให้ค่อยๆ กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับอีก
และเมื่อมนุษย์มีอายุ 80,000 ปี พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง พระนามว่าสังขะ จะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงประพฤติจักรวรรดิวัตรอย่างเคร่งครัด ทำให้บ้านเมืองของพระองค์เจริญรุ่งเรือง กว้างขวาง อาณาจักรของพระองค์มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงพาราณสี แต่จะมีชื่อว่าเกตุมดีราชธานี มีประชากรหนาแน่น ในสมัยนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า เมตไตรย จะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก จะทรงสั่งสอนธรรมและบริหารการคณะสงฆ์อย่างเดียวกับพระองค์ในบัดนี้ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงสอนให้พึ่งตนพึ่งธรรมโดยการเจริญสติปัฏฐาน 4 และประพฤติธรรมอันเป็นโคจร ซึ่งสืบเนื่องมาจากบิดา ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ โภคะ และพละ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 01 Mar 2023 - 1h 09min - 302 - เห็นตรงตามพระสัทธรรม - สัมมาทิฏฐิสูตร [6608-4s]
ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายไว้ถึงลักษณะของสัมมาทิฏฐิ ที่มีแม่แบบตามนัยยะของอริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ อริยมรรค) โดยอธิบายไล่เรียงมาตามลำดับในแต่ละอาการของหลักปฏิจจสมุปบาท และประเด็นที่เมื่อได้ฟังแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ก็คือแนวทางการอธิบายที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายเอาไว้สุดจบที่อวิชชา โดยได้อธิบายต่อไปจนถึงอาสวะ ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงโดยสัมมาทิฏฐิว่าอาสวะและอวิชชานั้นมีความเกี่ยวข้องกัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 22 Feb 2023 - 58min - 301 - พุทธประวัติ ตอน หลังการตรัสรู้และแสดงธรรม [6607-4s]
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ #4 หลังจากตรัสรู้แล้วทรงอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ต้นไทร มีเหตุการณ์ตามลำดับ ดังนี้ ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง ทรงมีความคิดว่า ธรรมใดที่ทรงตรัสรู้แล้ว พึงสักการะเคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยธรรมนั้น ทรงถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ ว่าไม่ทรงอภิวาท ไม่ลุกรับ พราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่า ทรงอธิบายธรรมที่ทำให้คนเราเป็นเถระ มารทูลให้นิพพาน ทรงตรัสว่า จะไม่ปรินิพพาน จนกว่า สาวกของพระองค์จะเป็นผู้ฉลาด ฯลฯ และศาสนานี้ตั้งมั่น รุ่งเรือง แผ่ไพรศาล ฯลฯ ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม จิตน้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อย พรหมอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมีอยู่ ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว 3 เหล่า คือ จมอยู่ในน้ำ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ และโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ทรงแสดงธรรม เพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก คือ พวกที่เมื่อได้เห็น และได้ฟังธรรมจึงเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้ ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ ซึ่งเป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา คือ ปัญจวัคคีย์ ซึ่งอยู่ที่เมืองพาราณสี ทรงเสด็จพาราณสี พบอุปกาชีวก ทรงโปรดปัญจวัคคีย์ และแสดงปฐมเทศนา ทรงประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ครั้งนั้น ท่านโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 15 Feb 2023 - 1h 01min - 300 - คนเราเปลี่ยนแปลงได้-อังคุลิมาลสูตร และทีฆาวุวัตถุ [6606-4s]
สูตร#1 อังคุลิมาลสูตร พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดโจรองคุลีมาลซึ่งเป็นมหาโจร ผู้โหดร้าย ตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าแล้วร้อยเป็นพวงมาลัยสวมคอไว้ สมัยนั้น ทรงออกบิณฑบาต เมื่อโจรองคุลีมาลเห็นพระพุทธเจ้าคิดจะปลงพระชนม์ จึงถือดาบและธนูติดตามไปเบื้องหลัง ทรงบันดาลอิทธาภิสังขารมิให้โจรองคุลีมารตามไม่ทัน องคุลิมาลหยุดยืนและกล่าวว่า “หยุดก่อนสมณะ หยุดก่อนสมณะ” ทรงตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านต่างหากจงหยุด” โจรองคุลีมาลสงสัยว่า ทรงดำเนินอยู่ แต่กลับตรัสว่าหยุด จึงทูลถามสาเหตุที่ตรัสเช่นนั้น ทรงตรัสว่า ทรงวางอาชญาในสรรพสัตว์ได้แล้วจึงชื่อว่า หยุดแล้วตลอดกาล ส่วนโจรองคุลีมาลไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่า ไม่หยุด องคุลีมาลรู้ว่าทรงเสด็จมาอนุเคราะห์จึงทิ้งดาบและอาวุธ แล้วทูลขอบรรพชา ต่อมาได้หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์
สูตร#2 ทีฆาวุวัตถุ ว่าด้วย ฑีฆาวุกุมาร พระเจ้าพรหมทัต แห่งนครพาราณสี ยกทัพไปตีพระเจ้าทีฆีติ ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีทรัพย์และกำลังพลน้อยกว่า จึงพามเหสีหนีออกมาด้วยการปลอมตัวเป็นปริพาชกแล้วเข้าไปอาศัยอยู่ที่บ้านช่างหม้อที่ชานเมืองแห่งหนึ่งในนครพาราณสี หลังจากนั้น พระมเหสีก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายชื่อว่าทีฆาวุราชกุมาร พระเจ้าทีฆีติส่งบุตรชายไปไว้นอกเมือง ด้วยเกรงว่าหากพระเจ้าพรหมทัตรู้ จะสั่งประหารชีวิตทั้งสามพระองค์
ต่อมา พระเจ้าพรหมทัตจับพระเจ้าทีฆีติและภรรยาได้ ก็สั่งให้มัดประจานรอบเมืองแล้วประหารเสีย ทีฆาวุราชกุมารมาเห็นเข้า พระเจ้าทีฆีติกได้ตะโกนสั่งเสียบุตรว่า “พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาวอย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร” ภายหลัง ทีฆาวุราชกุมารได้เป็นคนสนิทของพระเจ้าพรหมทัต และมีโอกาสที่จะสามารถฆ่าพระเจ้าพรหมทัตได้ แต่นึกถึงคำสั่งเสียของพ่อ ตัดสินใจไม่ลงมือทำ ได้เล่าความจริงให้พระเจ้าพรหมทัตฟัง ทั้งคู่ให้ชีวิตกันและกัน และพระเจ้าพรหมทัตได้ยกแผ่นดินและทรัพย์สินเดิมของพระเจ้าทีฆีติคืนให้ทีฆาวุราชกุมาร พร้อมทั้งยกธิดาของตนให้อภิเษกสมรสด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 08 Feb 2023 - 1h 01min - 299 - ลักษณะของคนพาลและบัณฑิต - พาลบัณฑิตสูตร [6605-4s]
พาลบัณฑิตสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสลักษณะของคนพาล 3 ประการ คือ คิดแต่เรื่องชั่ว พูดแต่เรื่องชั่ว ทำแต่กรรมชั่ว คนพาลจึงได้รับทุกขโทมนัส 3 ประการ ในปัจจุบัน หลังจากตายไป จะไปเกิดในทุคติ วินิบาต นรก หรือไปเกิดในภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน
ส่วนลักษณะของบัณฑิต 3 ประการคือ คิดแต่เรื่องดี พูดแต่เรื่องดี ทำแต่กรรมดี จึงได้รับสุขโสมนัส 3 ประการ ในปัจจุบัน หลังจากตายไป ก็จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ซึ่งเป็นสถานที่น่าปรารถนา หรือถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลสูง มีทรัพย์มาก มีรูปงามน่าดูน่าเลื่อมใส
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 01 Feb 2023 - 59min - 298 - พุทธประวัติ ตอน ปฏิบัติตามทางสายกลาง [6604-4s]
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ #3 ปฏิบัติตามทางสายกลาง เมื่อทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะการทำทุกรกิริยา ทรงระลึกได้ว่า เมื่องานแรกนาแห่งพระบิดา ทรงนั่งอยู่ใต้ร่มไม้หว้า ทรงบรรลุปฐมฌาน นี่คงเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้ จึงทรงหันหาทางสายกลาง กลับพระทัยฉันอาหารหยาบ เมื่อทรงฉันอาหารหยาบ ปัญจวัคคีย์ผู้คอยบำรุงอยู่พากันหน่ายหลีกไป ด้วยคิดว่าทรงเป็นคนมักมาก จากนั้นทรงเล่าเหตุการณ์ขณะทำความเพียรก่อนการตรัสรู้ คือ ทรงเกิดความรู้สึกว่า พึงทำวิตกให้เป็นสองส่วนและคอยควบคุม ได้ทรงทำลายความขลาดกลัว ทรงกลั้นจิตจากกามคุณในอดีต ทรงคิดค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ทรงค้นห่วงโซ่แห่งทุกข์ ทรงเจริญอานาปานสติ ทรงแก้ปัญหาสมาธิเสื่อม ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะเป็นขั้นๆ ได้ทรงฝันครั้งสำคัญ (มหาสุบิน) 5 อย่าง และทรงอธิษฐานทำความเพียร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 25 Jan 2023 - 1h 12min - 297 - พุทธประวัติ ตอนทรงทำทุกรกิริยา [6603-4s]
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ #2 เมื่อทรงบวชแล้ว ทรงแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล ทรงเสด็จสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส เพื่อทรงประพฤติพรหมจรรย์ ทรงได้สมาบัติแปด แต่ทรงไม่พอใจ เบื่อจากธรรมนั้น เพราะธรรมนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ฯลฯ นิพพาน จึงทรงหลีกไป ทรงเสด็จต่อไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงตั้งความเพียร ณ ที่ตำบลนี้ โดยทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค (วัตรของเดียรถีย์ อันประกอบด้วยองค์ 4) คือ การบำเพ็ญความเพียรเพื่อทรมานตนเอง และทำทุกรกิริยา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 18 Jan 2023 - 57min - 296 - พุทธประวัติ ตอนก่อนออกผนวช [6602-4s]
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เรื่องเริ่มแต่การเกิดแห่งวงศ์สากยะ การก้าวลงสู่ครรภ์ การประสูติ ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ 32 บุพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ ความรู้สึกที่ถึงกับทำให้ออกผนวช และออกผนวชเมื่อพระชนม์ 29 ปี
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 11 Jan 2023 - 56min - 295 - ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน-ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และอนัตตลักขณสูตร [6601-4s]
สูตร#1 ตอน ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
สูตร#2 ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ว่าด้วยการประกาศพระธรรมจักร ทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตรัสว่า ที่สุด 2 ประการ ที่บรรพชิตไม่ควรเสพ คือ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค แล้วทรงแสดงมัชฌิมาปฏิทา คือ มรรคมีองค์ 8 ว่าควรเสพ ทรงแสดงอริยสัจ 4 ประการ และญาณทัสสนะมีวน 3 รอบ มี 12 อาการ ตรัสว่า ญาณทัสสนะของพระองค์ในเรื่องอริยสัจ 4 ประการนี้ หมดจดดีแล้วจึงทรงประกาศยืนยันการตรัสรู้ของพระองค์ เมื่อทรงแสดงจบลง ท่านพระโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) เป็นพระอริยบุคคลองค์แรกของโลก
สูตร#3 อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา ทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตรัสว่า ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา เป็นไปเพื่ออาพาธ บังคับให้เป็นไปตามใจไม่ได้ และทรงสอนให้พิจารณาขันธ์ 5 ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง พระปัญจวัคคีย์ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก 6 องค์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 04 Jan 2023 - 56min - 294 - การบันลือสีหนาท-จูฬสีหนาทสูตร และเวรัญชกสูตร [6552-4s]
สูตร#1 จูฬสีหนาทสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงปรารภเหตุการณ์ในขณะนั้นว่า พระองค์ และภิกษุสงฆ์มีลาภสักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก แต่พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกกลับเสื่อมลาภสักการะ พากันร้องไห้คร่ำครวญไปตามท้องถนน พระองค์จึงตรัสสอนให้ภิกษุบันลือสีหนาทโดยชอบว่า สมณะที่ 1 ถึงที่ 4 (โสดาบันถึงอรหันต์) มีในพระศาสนานี้เท่านั้น จากนั้นทรงอธิบายว่า ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามถึงเหตุผลที่กล่าวอย่างนี้ พึงอ้างธรรม 4 ประการ คือ ความเลื่อมใสในศาสดา ในพระธรรม บำเพ็ญศีลได้บริบูรณ์ และผู้ร่วมประพฤติธรรมทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตเป็นที่รักที่พอใจของเรา จากนั้นทรงแสดงเรื่องทิฏฐิ 2 ประการ ที่สมณะหรือพราหมณ์ยึดติด คือ ภวทิฏฐิ (หมายถึง สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง) วิภวทิฏฐิ (หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ) และทรงแสดงอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) 4 อย่าง คือ กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) ทิฏฐุปาทาน (ทิฏฐิ) สีลัพพตุปาทาน (ศีล และวัตร) และอัตตวาทุปาทาน (วาทะว่าอัตตา) ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายมักอ้างว่า รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่ก็ไม่บัญญัติการกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวงจริง บัญญัติไว้เพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้น ในตอนท้าย ทรงอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทเริ่มต้นด้วยอุปาทานว่า อุปาทาน 4 ประการดังกล่าวเกิดจากตัณหา ฯลฯ สังขารเกิดจากอวิชชา เมื่อละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้น อุปาทานทั้ง 4 ประการ ก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่ยึดมั่นก็ปรินิพพานเฉพาะตน
สูตร#2 เวรัญชกสูตร ทรงแสดงแก่พวกพราหมณ์ และคหบดีชาวเมืองเวรัญชาที่มาทำธุรกิจบางอย่างในกรุงสาวัตถี ขณะประทับ ณ เชตวัน ที่มาเข้าเฝ้า และได้ทูลถามปัญหาเรื่องเหตุที่ทำให้สัตว์ไปเกิดในทุคติ และสุคติ ตรัสตอบว่า พวกที่เข้าถึงอบาย ฯลฯ เพราะประพฤติอธรรม คือ อกุศลกรรมบท 10 และประพฤติไม่สม่ำเสมอ ส่วนพวกที่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบท 10 และประพฤติสม่ำเสมอ แล้วทรงแสดงในรายละเอียด เมื่อทรงแสดงจบ ชาวเมืองเวรัญชาขอถึงพระรัตนตรัยไปจนตลอดชีวิต (ทรงแสดงหมวดธรรมนี้ไว้ในสาเลยกสูตร)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 28 Dec 2022 - 54min
Podcasts similar to 4 คลังพระสูตร
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) Thammapedia.com
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ
Other Religion & Spirituality Podcasts
- Noche de Misterio Caracol Pódcast
- DOSIS DIARIA ROKA Roka Stereo
- Dante Gebel Live Dante Gebel
- El Santo Rosario Guadalupe Radio
- ROKA STEREO Podcast Roka Stereo
- Santo Rosario RadioSeminario
- Código Misterio Código Misterio
- Abierta Mente: Conversaciones con Yoga al Alma Ana Isabel Santa María
- PREDICAS CRISTIANAS ORACION DE LA MAÑANA
- Musica cristiana Glorificar a Dios Todopoderoso
- Dante Gebel MedioLunatico
- Salve María - Podcast Católico Sebastían Cadavid
- Emisora Cristiana Noticias Hispanas
- Predicas Cristianas Cortas juan manuel franzia
- Audio Biblia Radiounoencristo
- Estudios Bíblicos, Hna. María Luisa Piraquive, Iglesia de Dios Ministerial de Jesucristo Inter... Maria Luisa Piraquive
- Dr. Armando Alducin Podcast Dr. Armando Alducin
- Música de Relajación para DORMIR Relajación y meditación
- Santo Rosario - Misioneros Digitales Católicos Misioneros Digitales Catolicos
- EBC Yeshu'a EBC Yeshu'a