Filtrar por género
เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- 565 - ขันธ์ 5 แบบแจกแจง และการทำงานของขันธ์ (ตอนที่ 2)
ขันธ์ แปลว่า หมู่หรือกองของรูปกับนามที่แยกออกได้เป็น 5 กอง ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป, เวทนา ,สัญญา, สังขาร ,วิญญาณ จัดอยู่ใน “ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ และกิจที่ต้องทำคือ กำหนดรู้ทุกข์
การทำงานของขันธ์ 5 แต่ละขันธ์ เป็นการอาศัยกันและกันเกิดขึ้นของนามรูป และวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ -> ให้เกิดการปรุงแต่ง คือ สังขาร -> สัญญา -> เวทนา -> วิญญาณ และจิตก็เข้าไปยึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตนและก้าวลงตามต่อไปในขันธ์ต่างๆ เพราะด้วยอำนาจความเพลินแห่งนันทิราคะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Wed, 27 Nov 2024 - 59min - 564 - ขันธ์ 5 โดยรวม (ตอนที่1) [6747-3d]
“ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐ คือ “ทุกข์” อุปาทาน (ความยึดถือ) ในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสุข หรือ ทุกข์ ต่างอาศัยเหตุเกิด ย่อมเป็นทุกข์ เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
ขันธ์ 5 คือ กองทุกข์ แบ่งออกได้เป็น 5 กอง ได้แก่
“รูป” คือ สิ่งที่แตกสลายได้ เปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“เวทนา” คือ ความรู้สึกที่เกิดจากผัสสะ เปรียบเหมือนต่อมนํ้าเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“สัญญา” คือ ความจำได้หมายรู้ เปรียบเหมือนพยับแดดย่อมไหวยิบยับ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“สังขาร” คือ การปรุงแต่งให้สำเร็จรูป เปรียบเหมือนการหาแก่นไม้ในต้นกล้วย ไม่พบแม้แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร
“วิญญาณ” คือ การรับรู้ เปรียบเหมือนนักแสดงกล กลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้
Time stamp 6747-3d:
(00:35) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
(08:40) ขันธ์ 5
(09:37) "ทุกข์"
(18:10) แจกแจงทุกข์
(20:46) รูปขันธ์
(21:52) กองที่หนึ่ง รูป
(22:02) กองที่สอง เวทนา
(23:05) กองที่สาม สัญญา
(26:18) อธิบาย อุปาทานขันธ์ 5
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 19 Nov 2024 - 57min - 563 - ฐานะที่พึงรู้ได้ [6746-3d]
การที่เราจะรู้จักใครสักคนอย่างดีพอนั้น… ไม่ใช่จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่น หรือ จากสิ่งที่เราได้ยินได้เห็นเพียงแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น แต่ต้องอาศัยเวลาในการอยู่ร่วมกันนานพอสมควร รวมถึงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และปัญญา
ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ เราจะรู้ได้ว่าบุคคลนั้น มีศีล สมาธิ และปัญญาจะพิจารณาได้จาก
“ศีล”คือความปกติ พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วจะรู้ถึงความมีศีลเป็นปกติหรือมีศีลด่างพร้อยของบุคคลนั้น
“ความบริสุทธิ์” คือความสะอาดในการดำเนินชีวิตในการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ กล่าวคือ เมื่อมีการสนทนาพูดคุยตัวต่อตัว สอง-สามคนบ้าง..ฯ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้อยคำพูดคราวหลังก็ไม่ต่างจากพูดคราวก่อน
“กำลังใจ” คือสมาธิคือจิตที่มีพลัง พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กล่าวคือ เมื่อประสบกับโลกธรรม 8 แล้ว มีปัญญาเห็นสภาวะทุกข์นั้นตามความเป็นจริง
“ปัญญา” พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา กล่าวคือ เมื่อสนทนากันแล้วรู้ว่า ท่านผู้นี้มีการตระเตรียมปัญหาที่ตนปรารถนาจะรู้ และสามารถที่จะบอก แสดง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นทั้งโดยย่อหรือโดยพิสดาร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 12 Nov 2024 - 56min - 562 - เหตุให้อายุยืน [6745-3d]
เหตุให้อายุยืน ได้แก่
1. รู้จักทำความสบายแก่ตนเอง คือรู้จักสิ่งที่เป็นสัปปายะ รู้จักสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตน
2. รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย
3. บริโภคอาหารที่ย่อยง่าย รวมถึงการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดด้วย
4. ประพฤติเหมาะสมในเรื่องเวลา คือ ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลาอย่างสม่ำเสมอ เช่น นอนให้เป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ออกกำลังให้สม่ำเสมอเป็นเวลา
5. ประพฤติพรหมจรรย์ สามารถทำให้อายุยืนได้เพราะเป็นการฝึกจิตคือจิตใจเมื่อเว้นจาการเสพเมถุน ไม่ได้หาความสุขจากตา หู ลิ้นและกายแล้ว ก็ให้มาหาความสุขทางใจ ความสุขที่เกิดจากการสงบระงับ ความสุขจากนิพพาน จะเป็นความสุขที่นิ่งๆเย็นๆ สุขแบบนี้จะมีผลให้อายุยืนได้
6. มีศีล ผู้ที่มีศีลถือว่าเป็นผู้ไม่ประมาท จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่างๆลงได้
7. มีกัลยาณมิตร การมีมิตรดีจะช่วยดูแลอันตรายต่างๆให้แก่กัน
พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยอีกอย่างที่จะทำให้บุคคลอายุยืน คือ การเจริญอิทธิบาท4 นอกจากนี้ยังมีธรรมะอีกอย่างที่จะทำให้อายุยืนคือ อารยวัฒิ 5 (ธรรมแห่งความเจริญ 5 ประการ)ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา
การสร้างเหตุปัจจัยเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในชีวิตของเราจะทำให้เราเป็นผู้มีอายุยืน มีความสุขและสุขภาพแข็งแรง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 05 Nov 2024 - 55min - 561 - นิวรณ์ 5 [6744-3d]
“นิวรณ์ 5” กิเลสที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิประกอบด้วย 5 อย่างดังนี้
1. กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ
2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ
3. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาความซบเซาเซื่องซึม, ความหดหู่
4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านรำคาญใจ, ความกระวนกระวายคิดไปในกาม พยาบาทเบียดเบียน
5. วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงเห็นแย้ง
การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร 4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์ 7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้ เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อให้จิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญา ได้อีกด้วย
Time stamp 6744-3d:
(00:38) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
(10:27) ความหมายของนิวรณ์
(12:42) กามฉันทะ
(23:35) ความพยาบาท
(31:25) ถีนมิทธะ
(37:15) อุทธัจจะ กุกกุจจะ
(41:12) วิจิกิจฉา
(44:47) วิธีแก้ นิวรณ์ 5
(53:50) โพชฌงค์ 7 ระงับ นิวรณ์ 5 ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 29 Oct 2024 - 56min - 560 - นาถกรณธรรม 10 ประการ [6743-3d]
ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่าให้พึ่งตน พึ่งธรรมนั้น หมายถึง พึ่งธรรมของพระองค์
ในตอนนี้จึงจะยกธรรมเป็นที่พึ่ง หรือคุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้
คือนาถกรณธรรม 10 ประการ มากล่าว ดังนี้
- ศีล คือ ความประพฤติดีงามสุจริต รักษาระเบียบวินัย ผู้มีศีลถือว่าเป็นผู้มีที่พึ่งแล้วพาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งในธรรมกัลยาณมิตตตา คือ ความมีกัลยาณมิตร, การคบเพื่อนดี หากแม้หาเพื่อนที่ดีไม่ได้ มรรค8 เป็นกัลยาณมิตรได้โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รับฟังเหตุผล กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความเอาใจใส่ช่วยขวนขวายในกิจใหญ่น้อยทุกอย่างของเพื่อนร่วมหมู่คณะ รู้จักพิจารณาไตร่ตรอง สามารถจัดทำให้สำเร็จเรียบร้อยธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ใฝ่ความรู้ใฝ่ความจริง รู้จักพูดรู้จักฟัง ทำให้เกิดความพอใจ น่าร่วมปรึกษาสนทนา ชอบศึกษา ยินดีพอใจมีความปราโมทย์ในหลักธรรมหลักวินัยที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปวิริยารัมภะ ความขยันหมั่นเพียร คือ เพียรละความชั่ว ประกอบความดีมีใจแกล้วกล้าที่จะทำความดี กล้าที่จะลงมือทำในสิ่งดีๆ ปรารภความเพียรและไม่ทอดทิ้งธุระสันตุฏฐี ความสันโดษ คือ ยินดี มีความสุขความพอใจด้วยปัจจัย 4 ที่หามาได้ด้วยความเพียรอันชอบธรรมของตน มีลักษณะ 3 อย่างคือ ยถาลาภสันโดษ คือความสันโดษตามมีตามได้ ได้มาอย่างไรก็พอใจอย่างนั้น , ยถาพลสันโดษคือความสันโดษตามกำลังในสิ่งที่ควรจะใช้, ยถาสารุปปสันโดษคือ รู้จักพอเป็น อิ่มเป็น และแบ่งปันส่วนที่เกินเลยไปเอื้อเฟื้อผู้อื่นตามสมควรสติ คือเป็นผู้ความมีสติ เป็นผู้ระลึกการที่ทำคำที่พูดไว้แม้นานได้ คือไม่ให้เพลินไป ไม่ให้เผลอไป ไม่ประมาทไป ตามผัสสะต่างๆที่มากระทบ ปัญญา ความมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้จักคิดพิจารณา มีปัญญาที่จะกำจัดกิเลส เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
นาถกรณธรรมนี้ เป็นธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นกำลังหนุนในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวาง
Time stamp 6743-3d:
(00:34) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ
(05:10) นาถกรณธรรม 10 ประการ
(10:34) ศีล ความประพฤติดีงามสุจริต
(12:36) พาหุสัจจะ
(18:35) กัลยาณมิตตตา
(22:17) โสวจัสสตา
(28:40) กิงกรณีเยสุ ทักขตา
(29:32) วิริยารัมภะ
(35:30) ธัมมกาโม
(39:38) สันตุฏฐี
(48:15) สติ
(50:54) ปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 22 Oct 2024 - 57min - 559 - ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุก [6742-3d]
ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ 2 กรณีคือ
กรณีที่ 1 คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น 2 นัยยะ ได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่า ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน 1/ ฌาน 2/ ฌาน3/ ฌาน4 / การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ
ส่วนนัยยะที่ 2 ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัตติยังคะ 4 เป็นธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามแล้วหยั่งลงสู่อมตะธรรมได้ ได้แก่ มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระพุทธเจ้า /มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระธรรม / มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระสงฆ์ / มีศีลสมบูรณ์
โดยทั้ง 2 นัยยะนี้ พระพุทธเจ้าหมายถึงตัวเราเองเท่านั้น
กรณีที่ 2 คือธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกของผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ คือ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการ ได้แก่ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง / เข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/ เข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีศีลที่สมบูรณ์ไม่ทะลุด่างพร้อยเป็นศีลที่เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีทิฏฐิอันเป็นอริยะหมายถึงความเห็นที่ประเสริฐให้เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 15 Oct 2024 - 58min - 558 - วิธีพิจารณาหลักธรรมคำสอนเพื่อสุขในปัจจุบัน [6741-3d]
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะไว้อย่างดีและรัดกุมรอบคอบไม่ละหลวม ในที่นี้จะนำธรรมมะที่กล่าวถึงวิธีคิดวิธีไตร่ตรองพิจารณาในแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อนำทางแห่งความสุขในปัจจุบัน โดยจะนำธรรมะหลายหัวข้อมากล่าวดังนี้
ประการแรก “โคตรมีสูตร” เป็นธรรมง่ายๆย่อๆที่พระพุทธเจ้าบอกแก่นางโคตรมี ที่ได้ขอข้อธรรมที่จะนำไปปฏิบัติเมื่ออยู่คนเดียว หลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้คือ 1.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด 2.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อคลายความยึดถือ 3.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความมักน้อย 4.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความสันโดษ 5.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความสงัด 6.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเพียร 7.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย 8.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องมีทั้ง 8 ประการนี้เป็นเกณฑ์ แต่ต้องไม่ยึดถือในหลักเกณฑ์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ชาวกลามโคตร ใน“เกสปุตตสูตร” ไว้ว่าอย่าได้ยึดถือโดยได้ยินได้ฟังมา, โดยอ้างตำรา, โดยคาดคะเน, โดยความตรึกตามอาการ... แต่หลักการที่ถูกต้องดูว่า กุศลเพิ่ม อกุศลลด หรือไม่
ประการที่สอง กล่าวถึงการพิจารณาถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ควร-ไม่ทำ โดยจะนำ “เตวิชชสูตร” มากล่าวโดยกล่าวถึงข้อปฏิบัติของพราหมณ์ที่จะให้ได้ไปอยู่กับพรหม ให้พิจารณาว่าพิธีกรรมที่ทำนั้นเป็นไปอย่างไร เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวร้อยรัดหรือไม่ จองเวรหรือไม่ เบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่ เศร้าหมองหรือไม่ ฟุ้งซ่านหรือไม่ หากพิธีกรรมต่างๆเป็นไปเพื่อสิ่งเหล่านี้ก็ต้องเว้นการปฏิบัติเสีย
ประการที่สาม ข้อปฏิบัติอันใดที่เราควร-ไม่ควรกระทำ สูตรที่จะนำมากล่าวคือ“อนุมานสูตร” กล่าวถึงอุปกิเลส 16 ประการ ที่มาประกอบในการพิจารณาที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ พิจารณาถึงคนอื่น ว่าหากเราทำสิ่งไม่ดีกับบุคคลอื่น เขาคงจะไม่ชอบ แล้วมองกลับกันว่าหากเขาทำสิ่งนี้กับเรา เราก็คงจะไม่พอใจ ดังนั้นเราก็ต้องพิจารณาว่าเราไม่ควรทำอย่างนั้นกับคนอื่น พิจารณาที่ตัวเองว่าเรามีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจตนหรือไม่ หากมีแล้วจะทำสิ่งที่เป็นอกุศลนั้นกับคนอื่น ก็จงรีบละมันเสีย
ประการที่สี่ วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ควร-ไม่ควรทำ นำหลักธรรมจาก สาเลยกสูตร มาพิจารณาเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวกับชาวบ้านสาเลยกะ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ จะทำให้เข้าถึง อาบาย ทุคติ วินิบาตนรกหรือสุคติโลกสวรรค์ เกณฑ์ที่ท่านได้นำมาพิจารณาคือใช้เกณฑ์ความดีของวิญญูชน คนดีทั่ว ๆ ไปที่เขาเป็นกัน โดยนำเรื่องศีล ทิฏฐิความเห็นต่างมาพิจารณา ว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำHosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 08 Oct 2024 - 58min - 557 - คู่ธรรมต่างทิศ [6740-3d]
บางครั้ง..คนเรานั้น ก็มักจะสับสนในธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน จนแยกไม่ออกว่า “ ผลผลิตของธรรมนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไร ”
จึงขอยกธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กันขึ้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมาย และคุณลักษณะของธรรมนั้นๆ อย่างแยบคาย และเพื่อก่อให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิไปสู่พระนิพพานได้
โดยธรรมที่หยิบยกมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลธรรม และ ฝ่ายอกุศลลธรรม เช่น ฉันทะ / ตัณหา, ความเพียร / ความโลภ, ความเมตตา / ความรัก, ปล่อยวาง / ขี้เกียจ, อุเบกขา / ความเฉยเมย, พูดตรงจริงใจรู้กาล / พูดตรงไม่มีมารยาท, ความเห็นอกเห็นใจ / ความเศร้าเสียใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 01 Oct 2024 - 56min - 556 - ภัยอันตรายที่พึงพิจารณา [6739-3d]
พระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งภัยในโลกนี้ไว้ 2 อย่างคือ ภัยที่ช่วยเหลือกันได้ และภัยที่ช่วยกันไม่ได้
1.ภัยที่พอช่วยเหลือกันได้ ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม 2.ภัยเกิดจากไฟไหม้ 3.ภัยเกิดจากโจรขโมยและสงคราม ภัยเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังพอช่วยเหลือให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ตามสถานการณ์
2.ภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็น พ่อ แม่ ลูก ที่รักและห่วงใยกันแค่ไหนก็ไม่สามารถช่วยกันได้เลย ได้แก่ 1. ภัยจากความแก่(ชราภัย) 2.ภัยจากความเจ็บไข้(พยาธิภัย) 3. ภัยจากความตาย(มรณะภัย) ภัยเหล่านี้เป็นภัยที่หากเกิดขึ้นแก่ผู้แล้วไม่มีใครที่จะสามารถช่วยแบ่งเบา หรือรับเอาภัยนั้นมาแทนกันได้เลย พระพุทธองค์ทรงชี้ทางออกไว้ให้ว่าหากผู้ใดเป็นผู้ที่มีอริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบอยู่ในจิตของตน ผู้นั้นก็จะสามารถพ้นจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจาก ความแก่ ความเจ็บ และความตายในอนาคตได้อย่างแน่นอน โดยอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ได้แก่ 1.ศีล คือสัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ 2.สมาธิ คือสัมมาวายามะ,สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ 3.ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ
ภัยต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประสบภัยนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงหมวดธรรมที่ทำให้เห็นว่าสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นสิ่งใดทำให้เกิด โดยจะกล่าวหมวดธรรม 3 ข้อที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้แก่
1.สุข ทุกข์ เกิดจากผู้อื่นทำให้
2.สุข ทุกข์ เกิดจาก กรรมเก่า
3.สุข ทุกข์ เกิดจาก ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย
หากผู้ใดมีมิจฉาทิฐิทั้ง 3 ข้อนี้ ก็จะเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ไม่ได้ละในสิ่งที่ควรละ จะทำให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตใจได้ และเมื่อใดก็ตามที่อกุศลเกิด แต่กุศลไม่เกิดในจิตใจ เมื่อนั้นก็จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 24 Sep 2024 - 57min - 555 - สังคหวัตถุ 4 [6738-3d]
ธรรมะที่ช่วยประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคี ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ให้เกิดความสงเคราะห์กัน เข้าใจกันลงกันได้ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม หมวดธรรมที่ว่านี้นั่นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” อันประกอบไปด้วย
1. ทาน คือ การรู้จักให้ รู้จักเสียสละ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน ไม่พูดหยาบคาย และมีความจริงใจ ไม่โกหกเสแสร้ง ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เตกร้าว พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์
3. อัตถจริยา คือ การทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย หนักแน่น ให้ความเสมอภาคกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 17 Sep 2024 - 58min - 554 - เบญจศีลและเบญจธรรม [6737-3d]
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง หลักคำสอนและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสำคัญว่าไว้ 3 ขั้น คือ ให้ละเว้นความชั่ว ให้ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นี่คือเส้นทางที่จะนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ ซึ่งในครั้งนี้จะกล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นขั้นของการชี้แนวทางแห่งโลกุตระ นั่นคือเบญจศีลและเบญจธรรม
เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ
เบญจศีล คือ ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกายและวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการเสพสุรา
เบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี 5 ประการ ได้แก่
- เมตตากรุณา คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ เมตตากรุณาจึงเป็นจิตที่สามารถเพิ่มพูนพัฒนาได้จากการเว้นจากการฆ่า สัมมาอาชีวะ คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดี และมีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ลักขโมยของผู้อื่นกามสังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ ระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้ ความใคร่ในกามคุณ คือ การติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่ประพฤติผิดในกามสัจจะ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท สติสัมปชัญญะ คือ การรู้สึกตัว การไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เช่น สุราที่เมื่อคนดื่มกินก็ทำให้มึนเมาและขาดสติ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 10 Sep 2024 - 57min - 553 - กถาวัตถุ 10 ประการ [6736-3d]
คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ
และ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื่น ๆ
ส่วน ‘กถาวัตถุ 10’ เรื่องที่สมควรพูด ได้แก่ ถ้อยคำให้เกิดความมักน้อย คือ ไม่โอ้อวด ความสันโดษ เกิดความสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ
ซึ่งการพูด ‘กถาวัตถุ 10’ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาได้นั้น นอกจากจะเป็นสัมมาวาจาแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ ไปตามทางมรรค 8 พร้อมกันอีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 03 Sep 2024 - 58min - 552 - ปัจจัย 24 ประการ [6735-3d]
คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่ใช้สวดในงานศพ ได้แก่ 1.ธัมมสังคณี 2.วิภังคปกรณ์ 3.ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6.ยมกปกรณ์ และ 7.มหาปัฏฐาน โดยบทสวดมหาปัฏฐาน เป็นบทสวดที่กล่าวถึง ปัจจัย 24 ประการที่แสดงความเป็นไปของสภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน หรือเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยปัจจัย 24 ประการได้แก่
1.เหตุปัจจะโย (ปัจจัยโดยเหตุ) 2.อารัมมะณะปัจจะโย( ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์) 3.อธิปะติปัจจะโย (ปัจจัยความเป็นใหญ่) 4.อนันตะระปัจจะโย (ปัจจัยโดยความต่อเนื่อง) 5.สะมะนันตะระปัจจะโย( ปัจจัยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที ) 6.สะหะชาตะปัจจะโย( ปัจจัยที่เกิดร่วมกัน) 7.อัญญะมัญญะปัจจะโย (ปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกัน) 8.นิสสะยะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย) อาศัยอะไรจีงจะดีหรือชั่วขึ้นมาได้ 9.อุปะนิสสะยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเเป็นเครื่องหนุนให้เกิดอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า) 10.ปุเรชาตะปัจจะโย (ปัจจัยที่เกิดก่อน) 11.ปัจฉาชาตะปัจจะโย (ปัจจัยที่เกิดทีหลัง) 12.อาเสวะนะปัจจะโย (ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน) 13.กัมมะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง) 14.วิปากาปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นวิบาก) 15.อาหาระปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นอาหาร) คือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง 16.อินทริยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นเจ้าของการเป็นใหญ่) 17.ฌานะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นภาวะจิตที่เป็นฌาน) 18.มัคคะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นมรรค) 19.สัมปะยุตตะปัจจะโย (ปัจจัยโดยประกอบกัน) เช่นความคิด อารมณ์ 20.วิปปะยุตตะปัจจะโย (ปัจจัยโดยแยกกันแตกต่างกัน) เช่นนามกับรูป 21.อัตถิปัจจะโย ( ปัจจัยโดยความมีอยู่ ) 22.นัตถิปัจจะโย ( ปัจจัยโดยความไม่มีอยู่) 23.วิคะตะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยปราศไปคือสิ้นไป) 24.อะวิคะตะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยไม่ปราศไปคือไม่สิ้นไปยังมีเชื้ออยู่)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 27 Aug 2024 - 59min - 551 - อธิษฐาน4 พละ4 [6734-3d]
การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ต้องอาศัยความตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า ในทีฆนิกาย กล่าวถึง ‘อธิษฐาน’ ซึ่งไม่ใช่การร้องขอ แต่หมายถึง ธรรม 4 ประการ ที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจ ได้แก่ ปัญญา (ใช้พิจารณา) สัจจะ (ทำให้เกิดขึ้นจริง) จาคะ (สละความเคยชินที่ไม่ดีออก) และอุปสมะ (ความสงบ) ซึ่งสัมพันธ์กับหมวดธรรมในอังคุตรนิกาย ที่กล่าวถึง ‘พละ 4’ คือ กำลัง ได้แก่ ปัญญาพละ (ปัญญา) วิริยพละ (ความเพียร) อนวัชชพละ (กรรมที่ไม่มีโทษ) และสังคหพละ (การสงเคราะห์)
กล่าวคือ ‘อธิษฐาน 4’ และ ‘พละ 4’ นั้น เริ่มจากปัญญาเหมือนกัน อาทิ เห็นสิ่งที่เป็นกุศล-อกุศล คุณ-โทษ เกิด-ดับ เป็นต้น โดยสามารถตั้ง ‘อธิษฐาน’ เป็นวิริยพละ หรือนำ ‘พละ’ ไปเกื้อหนุนอธิษฐานในการทำสิ่งนั้น ที่เป็นกุศลด้วยกาย วาจา และใจ ให้สำเร็จเป็นจริงขึ้นมาได้ ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีพละ 4 นี้ จะทำให้ไม่หวั่นไหวต่อภัย 5 ประการในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 20 Aug 2024 - 58min - 550 - ปาฏิปุคคลิกทาน (6733-3d]
ปาฏิปุคคลิกทาน 14 อย่าง คือทานที่ให้จำเพาะบุคคล เรียงตามอานิสงส์ที่ได้จากน้อยไปหามากได้ดังนี้
- ให้ทานแก่สัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐ เท่า
- ให้ทานแก่ผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑,๐๐๐ เท่า
- ให้ทานแก่บุคคลผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐ เท่า
- ให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนาพุทธ ที่ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐โกฏิ เท่า
- ให้ทานแก่บุคคลที่จะทำโสดาบันให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นโสดาบัน พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำสกทาคามีให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นสกทาคามี พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำอนาคามีให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นอนาคามี พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำอรหันต์ให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นอรหันต์ พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
- ให้ทานแก่พระพุทธเจ้าพึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้
ปาฏิปุคคลิกทานนั้น พระพุทธเจ้ากล่าวว่ามีผลไม่มากเท่าทานที่ให้ในหมู่สงฆ์ (สังฆทาน)
สังฆทาน 7 ที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้คือรูปแบบของการให้ทานดังนี้
1. ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
2. ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
3. ห้ทานในหมู่ภิกษุสงฆ์
4. ให้ทานในหมู่ภิกษุณีสงฆ์
5. ขอให้จัดตัวแทนภิกษุและภิกษุณี แล้วให้ทาน (ให้ทานโดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้เลือกพระภิกษุและพระภิกษุณีที่จะรับถวายทานเอง)
6. ขอให้จัดตัวแทนภิกษุ แล้วให้ทาน
7. ขอให้จัดตัวแทนภิกษุณี แล้วให้ทาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Aug 2024 - 57min - 549 - บทสวดแด่ผู้ล่วงลับ [6732-3d]
บทสวดที่นิยมสวดในงานทำบุญบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับนั้น มักจะมีเนื้อหาที่กล่าวให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้เกิดการปล่อยวาง ให้เห็นถึงความสังเวช ปลงได้ ให้เห็นถึงความละเอียดลงไป ให้เห็นถึงอริยทรัพย์จะมีบทหลักๆที่สวดอยู่ประมาณ 3-4 บท ในที่นี้จะกล่าวถึงบทหลักๆ 4 บท โดยบทสวดทั้ง 4 นี้มีทั้งที่เป็นคาถาและพระสูตร คือ
ปัพพโตปมคาถา เป็นคาถาที่กล่าวถึงภูเขาหินใหญ่ คาถาบทนี้อุปมาถึงภูเขาหินใหญ่ที่กลิ้งบดขยี้ทุกสิ่งอย่างมาทั้ง 4 ทิศ เราจะทำอย่างไรก็ไม่ได้ เปรียบกับความแก่ความตายที่ครอบงำเราอยู่ไม่เว้นผู้ใดเลย ผู้เป็นบัณฑิตเท่านั้นที่จะรู้ว่าต้องมีพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่งจึงจะผาสุกอยู่ได้แม้ภัยนี้มาถึง
อริยธนาคาถา อริยทรัพย์อันประเสริฐเป็นบทสวดที่กล่าวถึงทรัพย์ 5 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ถ้าเราตายจากไปจะเอาทรัพย์อะไรติดตัวไปไม่ได้เลย ยกเว้นอริยทรัพย์ทั้ง 5 นี้
ธัมมนิยามสุตตุง บทแสดงธรรมนิยามเป็นบทที่นำเอาพระสูตรที่มีชื่อว่าธัมมะนิยามะสุตตัง บทสวดที่แสดงถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งต่างๆ ของธรรมะต่างๆ ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะมาอุบัติขึ้นหรือไม่ จะมีคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ก็ตาม ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตาก็มีอยู่
ภัทเทกรัตตคาถา ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เป็นบทสวดที่กล่าวถึงความที่เราไม่ควรคิดถึงอดีต อนาคต แต่ให้อยู่กับปัจจุบันถ้าจะมีชีวิตเหลืออยู่แค่วันเดียวถ้าได้ทำความดีก็ถือว่าคุ้มแล้วในชีวิตนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 06 Aug 2024 - 57min - 548 - อุนุปุพพิกถา เรื่องของ เนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม [6731-3d]
เนกขัมมะ ธรรมข้อสุดท้ายในอนุปุพพิกถาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเพื่อเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระได้
‘เนกขัมมะ’ หมายถึง การหลีกออกจากกาม ได้แก่ ฌานสมาธิในขั้นต่างๆ
การจะทำให้จิตน้อมไปในทางหลีกออกจากกามได้นั้น ต้องฝึกจิตให้พิจารณาเห็นบ่อยๆ ถึงคุณและโทษของกามว่า มีคุณน้อยแต่โทษมากขนาดไหนเมื่อเทียบกับเนกขัมมะที่มีคุณมากแต่โทษน้อยนิดเดียว
อย่างไรก็ตาม สมาธิแม้ว่าจะได้บ้างไม่ได้บ้าง การตั้งจิตดำริ ‘คิดที่จะหลีกออกจากกาม’ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตั้งไว้เสมอ
“เนกขัมมะ” ทางสายกลาง เป็นหนึ่งในบารมี 10 ทัศ เป็นทางออกทางเดียว เพื่อการดับโทษของกาม เพื่อความสงบสุขจากในภายใน เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อม ถึงสัมโพธิญาณได้
Timestamp
[00:01] พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ทรงดำริออกจากกาม
[08:58] เนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม
[10:44] เนกขัมมะ ทางสายกลาง
[22:44] ความสุขจากกาม กับ เนกขัมมะ
[25:27]ฌาน ๑
[27:22] ทุกข์ของสมาธิ
[30:19] อานิสงค์ของเนขขัมมะ
[35:05] โยนิโสมนัสสิการ
[48:14] ฌานที่ ๒-๓
[50:34] ฌาน ๔
[52:39] ความดำริ คิดนึกที่จะออกจากกาม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 30 Jul 2024 - 58min - 547 - กามโภคีบุคคล : บุคคลผู้บริโภคกาม [6730-3d]
กามโภคีบุคคล:บุคคลผู้บริโภคกาม เป็นผู้ที่ยังอยู่ในกระแสโลกจะเป็นผู้ที่ถูกบีบคั้นด้วยกามเสมอ ในการกล่าวถึงเรื่องของทางโลกนั้นก็ใช้คำว่ากามมาอธิบายเป็นหลักโดยในที่นี้จะกล่าวถึง กาม 2 อย่าง กาม 5 อย่าง และกามโภคีบุคคล 10 อย่าง
กาม 2 อย่างได้แก่ 1.กิเลสกาม 2.วัตถุกาม
กาม 5 อย่าง คือ กามคุณ 5 ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี 5 อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ
กามโภคี 10 แบ่งกลุ่มตามการแสวงหา ดังนี้
กลุ่มที่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม
1.ได้ทรัพย์มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์ทำความดี
2.ได้ทรัพย์แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่จ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี
3. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี
กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง
4.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี
5.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี
6.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี
กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรม
7.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี
8.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี
9. ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์ทำความดี แต่ยังติดยังหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์
กลุ่มพิเศษ: แสวงหาชอบธรรม และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มิจิตใจเป็นอิสระ
10.ผู้ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดีไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษทางดีทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ ประเสริฐ สูงสุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 23 Jul 2024 - 58min - 546 - กามโภคีสุข 4 : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี [6729-3d]
สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมีหรือความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ คือ กามโภคีสุข 4 ได้แก่
1.อัตถิสุข : ความสุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม
2.โภคสุข : ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์
3.อนณสุข : ความสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร
4.อนวัชชสุข : ความสุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
บรรดาความสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด
การจะเกิดความสุขประการที่4 คืออนวัชชสุข นั้นมีธรรมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ธรรมที่ว่าด้วยการค้าขายที่ไม่ควรค้าขาย 5 ประการตามนัยยะที่มาในวนิชชสูตร คือ 1.ค้าอาวุธ 2.ค้าสัตว์เป็น 3.ค้าเนื้อสัตว์ 4.ค้าสุรา 5.ค้ายาพิษ การค้าขาย 5 ประการนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นอกรณียกิจ ไม่ควรทำ
นอกจากนี้ยังมีธรรมอีกหนึ่งหมวดที่นำมาปฏิบัติแล้วจะส่งเสริมให้เกิดสุขอันชอบธรรมแก่ผู้ครองเรือนได้ คือ
กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 : หลักธรรมที่ทำให้ครอบครัวเจริญมั่งคั่งอยู่ได้นานได้แก่ 1.หาของที่หายไป 2.ซ่อมแซมของที่ชำรุดเสียหาย 3.ประมาณตนในการบริโภค 4.ดำรงชีพด้วยการมีศีลธรรม
Time stamp
[00:56] ปฏิบัติภาวนา อานาปานสติ และแผ่เมตตา
[12:51] คฤหัสถ์ คือ ผู้ครองเรือน
[13:29] กามโภคีสุข 4 : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี
[15:07] อัตถิสุข : สุขเกิดจากความมีทรัพย์
[23:31] โภคสุข : สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
[29:05] อนณสุข : สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
[33:54] อนวัชชสุข : สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ
[41:51] กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 : หลักธรรมที่ทำให้ครอบครัวเจริญมั่งคั่ง
[49:19] เปรียบเทียบความสุขของ คฤหัสถ์ กับ นักบวช
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 16 Jul 2024 - 55min - 545 - วิมุตติสู่นิพพาน [6728-3d]
การที่จะนำธรรมะมาปฏิบัติจนเกิดเป็นผลขึ้นทางปัญญาได้นั้น มีขั้นตอน และกระบวนการในการปฏิบัติ โดยได้ยกหัวข้อธรรม “วิมุตติสูตร” มาอธิบายประกอบการปฏิบัติ เพื่อให้เห็นขั้นตอน และกระบวนการในการหยั่งลงสู่อมตธรรม
ในวิมุตติสูตรนั้นจะประกอบไปด้วยธรรม 5 ข้อ ที่แตกต่างกัน แต่มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นวิมุตติสู่นิพพานได้เหมือนกัน ธรรม 5 ข้อนั้นได้แก่ 1. การได้ฟังธรรม 2. การอธิบายบอกสอน 3. การสัชฌายะ 4. การใคร่ครวญธรรม 5. การทำสมาธิ
กระบวนการสู่การหลุดพ้น มีอยู่ 6 ขั้นตอน เริ่มจาก เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม แทงตลอดด้วยดี -> เกิดปราโมทย์ -> เกิดปีติ -> กายสงบระงับ -> เสวยสุข -> จิตย่อมตั้งมั่น (ฌาน) และเมื่อมาถึง 6 ขั้นตอนนี้แล้วก็เข้าสู่วิมุตติ คือ ความพ้นจากผัสสะ พ้นจากกิเลส เกิดความรู้เป็นวิชชา และวิมุตติ มีปัญญาปล่อยวาง สู่นิพพาน
Timestamp
[00.22] ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ จาคานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ
[12.37] ความสำคัญของสมาธิ
[14.38] เหตุ 5 ประการ สู่ความหลุดพ้น
[14.45] การได้ฟังธรรมะ
[17.39] การอธิบาย บอกสอนข้อธรรมะ
[17.59] การสัชฌายะ
[19.15] การได้ไตร่ตรองข้อธรรมะ
[20.01] การทำสมาธิ
[42.58] วิชา วิมุตติ
[45.38] นิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 09 Jul 2024 - 53min - 544 - ธรรมเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า [6727-3d]
หมวดธรรม 4 ประการ 2 อย่าง ที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ได้แก่
สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า
1.สัทธาสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือความมั่นใจในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
2.สีลสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยศีล คือศีล 5 ที่ตั้งขึ้นด้วยเจตนางดเว้น
3.จาคสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ คือสละสิ่งของ สละกิเลส
4.ปัญญาสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือปัญญาที่เข้าใจในความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ
บางครั้งการจะพัฒนาจิตใจให้ก้าวหน้านั้นอาจต้องพบเจออุปสรรค มีธรรมอีกหมวดหนึ่งที่เรานำมาใช้ร่วมกันแล้วจะสนับสนุนให้ชีวิตเราเจริญ คือ อปัสเสนธรรม 4 คือธรรมดุจเป็นพนักพิง ธรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย ได้แก่
1.พิจารณาแล้วเสพ ได้แก่ สิ่งของปัจจัย 4
2.พิจารณาแล้วอดทน อดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์ต่างๆ มีหนาว ร้อน และทุกขเวทนาเป็นต้น
3. พิจารณาแล้วเว้นเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษก่ออันตรายแก่ร่างกาย และ จิตใจ
4. พิจารณาแล้วบรรเทาเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษและเกิดขึ้นแล้ว เช่น อกุศลวิตก มีกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เป็นต้น
หมวดธรรม 4 ข้อ ของ 2 นัยยะที่ยกมานี้คือธรรมที่จะสนับสนุนเกื้อกูลให้การพัฒนาจิตของเรานั้นก้าวหน้าขึ้นมาได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 02 Jul 2024 - 57min - 543 - กิจจญาณ : กิจที่ควรทำในอริยสัจ4 [6726-3d]
ความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลา
กิจในอริยสัจ 4 (กิจญาณ) คือ หน้าที่ที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ
1. ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หน้าที่คือ “ปริญญา” ควรรอบรู้ เข้าใจ ยอมรับมัน
2. สมุทัย คือ ตัณหา หน้าที่คือ “ปหานะ” ควรละ กำจัด ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา
3. นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “สัจฉิกิริยา” ควรทำให้แจ้ง
4. มรรค คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “ภาวนา” ควรเจริญ พัฒนา ทำให้มาก
การแยกแยะสิ่งต่างๆ ตามหลักอริยสัจ 4 คือ เมื่อเราเจอสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเรา ให้เรารู้จักแยกแยะสิ่งนั้นก่อนว่าคืออะไรในอริยสัจ 4 เมื่อแยกแยะแล้วก็ทำกิจให้ถูกต้อง กระบวนการแยกแยะนี้ เมื่อทำให้เกิดขึ้นได้อยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดญาณหยั่งรู้หรือญาณทัสสนะ (สัจจญาณ, กิจจญาณ, กตญาณ)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 25 Jun 2024 - 55min - 542 - ธรรมเพื่อการพัฒนาตนเอง [6725-3d]
ภาวนา คือ การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกด้าน คนเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ให้เจริญงอกงาม หมวดธรรมะที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่
วุฑฒิธรรม 4 : ธรรมเป็นเครื่องเจริญงอกงามแห่งปัญญา 4 ประการ
1.สัปปุริสังเสวะ: การคบหาสัตบุรุษ
2.สัทธัมมัสสวนะ: ฟังสัทธรรม,เอาใจใส่เล่าเรียน
3.โยนิโสมนสิการ: การทำในใจโดยแยบคาย
4.ธัมมานุธัมมปฏิบัติ: ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
วัฒนมุข 6 ธรรมอันเป็นประตูแห่งประโยชน์ที่จะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าได้เคยกล่าวไว้ในครั้งที่เป็นโพธิสัตว์ ได้แก่
1.อาโรคยะ : ความไม่มีโรค
2.ศีล : ความมีระเบียบวินัย
3.พุทธานุมัต : ศึกษาแนวทางแบบอย่างจากผู้เป็นบัณฑิต
4.สุตะ : การใฝ่ฟังศึกษาหาความรู้
5.ธรรมานุวัติ : การดำเนินชีวิตในทางชอบธรรม
6.อลีนตา : ความเพียรพยายามไม่ย่อหย่อน
อธิษฐานธรรม 4 คือ ธรรมเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล เป็นธรรมที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จสูงสุดที่หมายไว้ได้ ได้แก่
1.ปัญญา : หยั่งรู้ชัดในเหตุผล
2.สัจจะ : พูดอย่างไรทำอย่างนั้น
3.จาคะ : การสละความไม่ดีออก
4.อุปสมะ: ความสงบ
ธรรม 3 หมวดนี้เป็นธรรมที่เป็นไปในแนวเดียวกัน ที่เมื่อได้นำไปประพฤติปฏิบัติแล้วก็จะเกิดการพัฒนา ก้าวหน้า และนำไปสู่ความเจริญงอกงามในชีวิตได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 18 Jun 2024 - 56min - 541 - อปริหานิยธรรม : ธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม [6724-3d]
อปริหานิยธรรม คือธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นธรรมที่อาศัยการรักษาเหตุปัจจัยแห่งความไม่เสื่อมและเหตุปัจจัยแห่งความเจริญ โดยแบ่งเป็นหลายนัยยะได้แก่
นัยยะแรก
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. พร้อมเพรียงกันประชุม
3. ศึกษาและไม่ล้มล้างสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
4. เคารพภิกษุผู้เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก
5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น
6. ยินดีในเสนาสนะป่า
7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก
นัยยะที่ 2 คือคุณธรรมในตนเองจะเจริญขึ้นหรือถอยลงด้วย 7 ประการนี้ คือ ไม่ยินดีการงาน ไม่ยินดีการคุย ไม่ยินดีความหลับ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่คบมิตรชั่ว ไม่ถึงความท้อถอยในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อย
นัยยะที่ 3 อริยะทรัพย์ 7 ประการได้แก่ เป็นผู้มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นพหุสูต ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญา
นัยยะที่ 4 เจริญโพชฌงค์ 7ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
นัยยะที่ 5 เจริญสัญญา 7 ประการ ได้แก่ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา จวิราคสัญญา นิโรธสัญญา
นัยยะที่ 6 คือเจริญสาราณียธรรม 6 ประการ
นี่คือนัยยะต่างๆของ อปริหานิยธรรม ถ้าเรามีเหตุเงื่อนไขปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะมีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ความเสื่อมจะไม่ปรากฎขึ้นเลย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 11 Jun 2024 - 58min - 540 - สาราณียธรรม [6723-3d]
บทสวด สาราณียะธัมมะสูตตัง เป็นบทที่กล่าวถึงสาราณียธรรม6 ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน คือธรรมแห่งการสร้างความสามัคคี เป็นบทสวดที่มาจากพระสูตรที่พระภิกษุจะมักสวดกันในวันเข้าพรรษา บทสวดนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุไว้ที่เมืองสาวัตถี ณ วัดเชตวัน โดยกล่าวถึงธรรม 6 ประการ ที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะเป็นธรรมเครื่องก่อให้เกิดอานิสงส์ 7 ประการ คือ
1.สาราณียา(ระลึกถึงกัน)
2.ปิยะกะระณา(เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รักกัน)
3.คะรุกะระณา(เป็นที่เคารพซึ่งกันและกัน)
4.สังคะหายะ(เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล)
5.อะวิวาทายะ(ไม่วิวาทกัน)
6.สามัคคิยา(เกิดความพร้อมเพรียงกัน)
7.เอกีภาวายะ(ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)
โดยองค์ประกอบของสาราณียธรรม 6 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงคือ
1.เมตตาทางกายทั้งต่อหน้าและลับหลัง
2.เมตตาทางวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
3.เมตตาทางใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง
4.การแบ่งปันลาภที่ได้มาโดยธรรม
5.มีศีลเสมอกัน ศีลไม่ทะลุไม่ด่างพร้อย
6.มีทิฏฐิอันประเสริฐ คือรู้เจาะจงในอริยสัจ 4
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 04 Jun 2024 - 57min - 539 - ความฉลาดในธาตุ และอายตนะ [6722-3d]
การทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา(ญาณ)รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้น
วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ คือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆจนเหลือหน่วยเล็กที่สุดและพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ่ขึ้น
วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ คืออายตนะภายใน และภายนอกเชื่อมต่อกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น โดยพิจารณาจากการที่อาศัยเหตุปัจจัยอื่นปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์
เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆจะเกิด “กุสลตา”คือ ความฉลาดรู้แจ้งชัดซึ่งธาตุ และอายตนะ จะเป็นผลทำให้คลายกำหนัด และปล่อยวาง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 28 May 2024 - 57min - 538 - ฐานะที่พึงพิจารณาเพื่อการหลุดพ้น [6721-3d]
ปัญญาการรอบรู้ในทุกข์ของผู้ถึงซึ่งพระนิพพานหรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งได้ว่าเป็นปัญญาของพระอรหันต์นั่นเองโดยได้ยก “สัตตัฎฐานสูตร” ว่าด้วย ผู้มีปัญญาฉลาดรอบรู้ขันธ์ 5 ในฐานะ 7 ประการได้แก่
1. รู้ชัดซึ่ง (รู้ลักษณะ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
2. รู้ถึงเหตุเกิดขึ้น ของ รูป...ฯ คืออาศัยเหตุเกิด
3. รู้ถึงความดับ ของ รูป...ฯ คือ เมื่อเหตุดับ-ผลย่อมดับ
4. วิธีข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ของ รูป..ฯ คือ มรรค 8
5. รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย/ข้อดี) ของ รูป...ฯ คือ สุขที่เกิดขึ้น
6. รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษ/ข้อเสีย) ของ รูป...ฯ คือ ไม่เที่ยง
7. รู้ชัดซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องสลัดออก) จาก รูป...ฯ คือ ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 21 May 2024 - 56min - 537 - นิวรณ์ 5 [6720-3d]
“นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิ
การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อจิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญาได้อีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 14 May 2024 - 56min - 536 - แก้ปัญหาด้วยสัญญา 7 ประการ [6719-3d]
ตัณหา ได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเป็นที่มาของปัญหาต่างๆในชีวิตของคนเรา การมาเจริญภาวนาในสัญญา 7 ประการนี้ คือเมื่อมีการพิจารณาให้มากในสัญญาเหล่านี้ จิตจะไม่หวนกลับกำเริบและมีนิพพานเป็นที่สุด
ปัญหาของตัณหาและกิเลสแก้โดยสัญญา 7 ประการ ดังนี้
ยินดีในเพศตรงข้าม(เมถุนธรรม) แก้โดย พิจารณา อสุภสัญญา
รักตัวกลัวตาย (รักชีวิต) แก้โดยพิจารณา มรณสัญญา
ติดในรสอาหาร แก้โดย พิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญา
ความวิจิตรแห่งโลก แก้โดย พิจารณา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
ลาภสักการะ และความสรรเสริญ แก้โดย พิจารณา อนิจจสัญญา
ความเฉื่อยชา เกียจค้าน ท้อถอย ประมาท ไม่ประกอบความเพียร แก้โดย พิจารณา อนิจเจทุกขสัญญา (ความเห็นทุกข์เป็นสิ่งไม่เที่ยงทั้งหลาย)
ทิฐิ และมานะ แก้โดย พิจารณา ทุกเขอนัตตสัญญา (เห็นความเป็นอนัตตาในความทุกข์นั้น)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 07 May 2024 - 57min - 535 - บทสวดธชัคคสูตร [6718-3d]
ธรรม 4 ประการที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป หรือ สัทธรรมปฏิรูป คือ
1.บทพยัญชนะ อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี
2. ภิกษุเป็นคนว่ายาก
3.ผู้เป็นพหูสูต ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ทายาท
4.พระเถระเป็นผู้เดินในทางทราม
หากมีการสืบทอดบทพยัญชนะ กันมาอย่างดีคือจำเนื้อหาได้ถูกต้อง ออกเสียงอักขระชัดเจน รู้ความหมายอย่างถูกต้องก็จะทำให้พระสัทธรรมแท้ยังคงอยู่และเจริญขึ้นได้ โดยการกล่าวสวดบทพยัญชนะนี้จะต้องแม่นยำทั้งบท(ตัวหนังสือ) และพยัญชนะ(การออกเสียง) การสวดมนต์นี้จึงเป็นรูปแบบของการรักษาศาสนาอย่างหนึ่ง
บทสวดธชัคคสูตร(ธะชัคคะสุตตัง) เป็นบทสวดที่กล่าวถึงวิธีระงับความกลัว โดย พระพุทธเจ้ากล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้วที่เทวดารบกับอสูรโดยท้าวสักกะได้บอกกับเหล่าเทวดาว่า หากเกิดความกลัวหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าขึ้น ให้มองไปที่ยอดธงของหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 จะทำให้ความกลัวหายไป แต่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าความกลัวของเหล่าเทวดาก็ยังมีอยู่ เหตุเพราะหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 ยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวต่อภิกษุว่าหากภิกษุไปอยู่ป่า อยู่โคนไม้ อยู่เรือนว่าง หากระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภัยความกลัว ความสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าจะไม่มี เหตุเพราะผู้มีกิเลสสิ้นไปแล้ว ก็จะไม่สะดุ้งหวาดกลัวภัยอันตรายใดๆเลย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 30 Apr 2024 - 47min - 534 - หิริ โอตตัปปะ : ธรรมคุ้มครองโลก [6717-3d]
“โลกบาล” เป็นหลักคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือหิริและโอตตัปปะ “หิริ” แปลว่าความละอายต่อบาป และ “โอตตัปปะ” แปลว่าความกลัวต่อบาป
บุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 23 Apr 2024 - 57min - 533 - โอกาสดี 4 ประการเพื่อการบรรลุธรรม [6716-3d]
ขณะ หรือเวลา หรือโอกาส ใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ การที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น การที่ได้เกิดในพื้นที่หรือประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) และการที่มีอายตนะ 6 อย่างครบสมบรูณ์ (ไม่พิการ)…โอกาสดีทั้ง 4 ประการ ที่ได้ยากขนาดนี้เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปรีรอ อย่าให้ล่วงเลยไปเสีย โอกาสนี้ไม่ได้มีอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโมชั่น ครั้งนึงครั้งเดียวคือตอนนี้แหละ ตรงนี้แหละ ช่องที่เราอยู่ในกัปนี้ ที่ยังมีคำสอนพระพุทธเจ้าโคตมอยู่ในตอนนี้ เพราะมันไม่แน่ว่าชาติหน้าที่เราเกิดมาอาจจะไปเบียดเสียดยัดเยียดอยู่ในนรก เกิดเป็นสัตว์ที่เกิดในของโสโครก เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเป็นสัตว์ในอรูปพรหม หรือแม้แต่ไปเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่… มันไม่แน่ไม่นอนว่าโอกาสหน้าที่จะมาต่อไป มันจะมีหรือไม่ แต่ถ้ามีอยู่ตอนนี้ รีบเลย คือให้เป็นโสดาปัตติผลให้ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 16 Apr 2024 - 54min - 532 - มรรค ผล นิพพาน [6715-3d]
บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ ผลที่จะพึงหวังได้ คือความผาสุก ซึ่งจะปรากฏเป็นความเบาบางของกิเลส นำไปสู่การสิ้นสุดของการเวียนว่ายตัดภพชาติให้น้อยลงไปตามลำดับ การเดินตามทางนั้นเป็นมรรค เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางแล้วเรียกว่าผลและมีนิพพานเป็นที่สุดแห่งการประพฤติปฏิบัติ
พึงเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี พึงเห็นคุณของพระธรรมคำสอน ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ และน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติเพื่อที่สุดแห่งพรหมจรรย์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 09 Apr 2024 - 57min - 531 - วิธีละกิเลส [6714-3d]
"กิเลส" เป็นเหตุแห่งทุกข์ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในหมวด 6 ว่าด้วยวิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้ กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ
ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความปราโมทย์ ปีติ ทำให้กายระงับ และจิตเป็นสุข มีสติและสมาธิตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว ซึ่งจิตที่มีสติตั้งมั่นนี้เองเป็นเหตุปัจจัยหมวด 6 ว่าด้วยการละกิเลส คือการสำรวม การพิจารณาก่อนเสพสิ่งต่าง ๆ การงดเว้นสิ่งควรงด การอดทน การละเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน รวมถึงการภาวนาเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ด้วย จะเห็นว่าธรรม 2 หมวดนี้ สอดคล้องรับกัน เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์หรือมรรค 8 นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 02 Apr 2024 - 59min - 530 - ความมั่นคงและไม่หวั่นไหวแห่งจิต [6713-3d]
อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น ต่างมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หากจะเปรียบเทียบ สติ ย่อมเทียบได้กับหัวธนู วิริยะ คู่กับ สมาธิ ช่วยพยุงธนูไว้ ศรัทธา คู่กับ ปัญญา พยุงด้านปลายของธนู หากอินทรีย์หรือพละตัวใดมากไป ธนูนั้นย่อมขาดความสมดุล ไม่สามารถแล่นตรงสู่เป้าหมายได้
กล่าวได้ว่าอินทรีย์ 5 และพละ5 นั้น เหมือนกันโดยองค์ธรรมเพียงแต่ใช้อธิบายคนละนัยยะ คือความเป็นใหญ่ และความไม่หวั่นไหวเปรียบเสมือนแม่น้ำใหญ่ที่มีเกาะอยู่กึ่งกลาง แบ่งแม่น้ำออกเป็นสองสาย แม่น้ำทั้งสองที่ถูกแบ่งนั้น ย่อมเป็นสายน้ำเดียวกัน และไหลบรรจบกันในที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 26 Mar 2024 - 59min - 529 - คุณสมบัติของคนดี [6712-3d]
“สัตบุรุษหรือสัปปบุรุษ” หมายถึง คนดี เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ตามจูฬปุณณมสูตร คือผู้มี “ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสุต ความเพียร สติมั่นคง และปัญญา” โดยทั่วไปเราจะพิจารณาว่าใครเป็นคนดี ก็โดยเทียบกับคุณธรรมที่กล่าวนี้ จากมิตรสหายที่บุคคลนั้นคบหา จากความคิด การให้คำปรึกษา วาจา4 การกระทำ ทิฐิความเห็น และทานที่ให้
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “อุบาสกธรรม7” คือคุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี และ”กัลยาณมิตรธรรม7” คือคุณสมบัติของมิตรแท้ และ “สัปปุริสธรรม7” ในธัมมัญญสูตร อันเป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ ที่เปรียบดั่งคุณธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิ
คุณธรรมเหล่านี้ ศึกษาเพื่อเป็นบรรทัดฐาน พัฒนาจุดที่ยังมีน้อยอยู่ หรือหากมีคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ก็รักษาคงไว้เพื่อความดีงาม และความเจริญต่อไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 19 Mar 2024 - 58min - 528 - มงคลชีวิต35 # จิตที่ไกลจากกิเลส (6711-3d]
มงคลชีวิต 4 ข้อสุดท้ายนี้เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือ
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
จิตไม่โศก คือจิตที่หลุดจากบ่วงสิเน่หา เพราะความโศกเกิดจากความรัก จะไม่ให้โศกก็อย่าให้มีความรัก ความรักเปรียบเหมือนยางเหนียวทำให้จิตติดอารมณ์นั้น พอความรักหายไปก็เศร้าโศก จิตพระอรหันต์ท่านไม่มีรักเพราะฉะนั้นจึงไม่โศก
จิตปราศจากธุลี ธุลี คือความเศร้าหมองของจิตที่เกิดจากเทือกของกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) จะกำจัดกิเลสได้ด้วย อริยมรรคมีองค์8 จิตหมดธุลี คือจิตที่พ้นแล้วจากกิเลส
จิตเกษม เป็นจิตที่ถึงแดนเกษมคือแดนที่ปลอดภัยจากกิเลสเครื่องกวนใจ ตัดเครื่องผูกรัด คือกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ พ้นแล้วจาก ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 12 Mar 2024 - 56min - 527 - มงคลชีวิต 34 #เห็นอริยสัจและทำให้แจ้งในนิพพาน [6710-3d]
ในทางปฏิบัติเราจำเป็นต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้เห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้ว
พระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากทุกข์ ความแก่ ความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ค้นพบนี้เรียก “อริยสัจ 4”
การเห็นอริยสัจ (ญาณในอริยสัจ 4) ที่แท้จริงนั้นต้องมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 จึงจะเป็นความพ้นทุกข์ที่แท้จริง คือเป็นจิตที่พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นความแจ้งในนิพพาน
นิพพานธาตุ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังมีชีวิตอยู่ อินทรีย์ห้ายังอยู่ เสวยเวทนาอยู่ และอนุปาทิเสสนิพพาน คือการดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 05 Mar 2024 - 57min - 526 - มงคลชีวิต32 # ความเพียรเผากิเลส [6709-3d]
ในคำสอนของพระพุทธเจ้า การบำเพ็ญตบะ คือการเพียรเผากิเลส เพียรกำจัดกิเลสออกไป จะมุ่งเน้นมาในจิตใจ
ชนิดของกิเลสนั้นมีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล คือกิเลสอย่างละเอียดทำให้เกิดโมหะเช่นบุญ ทำให้เกิดการยึดถือเมาบุญได้ และฝ่ายอกุศลได้แก่ ราคะ โทสะ กิเลศทั้งสองนี้ ทำให้เราเวียนไปสูง-ไปต่ำ วนอยู่ในวัฏฏะนี้
การบำเพ็ญตบะจึงจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างยิ่งในการเผากิเลสที่อยู่กับเรามานานให้หลุดลอกออกไป ถ้าเราอดทนไม่ได้ก็คือ “ตบะแตก”การอดทนนั้นต้องประกอบด้วยปัญญา
วิธีทำตบะ คือข้อปฏิบัติทั้งหมดที่ฝืนความต้องการของกิเลส ได้แก่ สัลเลขธรรม-การขัดเกลากิเลส และธุดงควัตร13-การกำจัดกิเลส ตบะในชีวิตประจำวันทำได้ด้วยการมีสติ สำรวมอินทรีย์ มีหิริโอตตัปปะจะเป็นเหตุให้เกิดอินทรีย์สังวร มีศีล สมาธิ ปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 27 Feb 2024 - 56min - 525 - มงคลชีวิต28 # ความอดทน [6708-3d]
“ขันติ” ความอดทน คือ การรักษาภาวะปกติไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบอย่างไรก็ตาม เช่นเมื่อถูกกระทบให้ลุ่มหลงก็ไม่ลุ่มหลงไปตามหรือถูกกระทบให้ไม่พอใจขยะแขยงก็อดทนอยู่ในภาวะเดิมไว้ได้
ความอดทนนั้นจะมีลักษณะของความอดกลั้นไว้ไม่คิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่นและตนเองก็มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ด้วย ซึ่งความอดทนไม่เหมือนกับดื้อด้าน หรือเก็บกด เพราะความอดทนนั้นจะประกอบด้วยปัญญา มีความเพียรชำระสิ่งที่เป็นอกุศลออกจากจิตใจของเรา
ความอดทนแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ 1.จากภายนอกกระทบ เช่นอากาศร้อน หนาว จากทุกขเวทนาในกาย เช่น เจ็บป่วย
3.อดทนต่อความเจ็บใจ เช่น คำพูดล่วงเกิน 4.อดทนต่ออำนาจของกิเลส ซึ่งหมายเอา 2ข้อหลังนี้มาเป็นอุบายในการฝึกความอดทน ให้ดูคุณธรรมจาก เตมิยชาดก ปุณโณวาทสูตร เวปจิตติสูตร
เรื่องของความอดทนคือขันตินั้นจะทำให้จิตใจของเรามีความก้าวหน้าขึ้นไป เป็นเหมือนการบ่มให้คุณธรรมดีๆเติบโตได้มากยิ่งขึ้น เป็นคุณธรรมของนักปราชญ์บัณฑิตที่เมื่อรักษาแล้วจะเป็นมงคลในชีวิตเรานั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 20 Feb 2024 - 57min - 524 - มงคลชีวิต 20 #การงดเว้นจากบาป [6707-3d]
มงคลชีวิตข้อ19 “อารตี วิรตี ปาปา” การงดเว้นจากบาป คำว่า “บาป”ตรงกันข้ามกับ “บุญ” บุญท่านเคยบอกว่าเป็นชื่อของความสุขแสดงว่าบาปนั้นก็จะเป็นชื่อของความทุกข์ แต่ต้องดูให้ลึกซึ้งคือให้ดูถึงภายในจิต บุญหรือบาปนั้นสะสมไว้ภายในจิต ไม่ได้สะสมไว้ในอาการของจิต ดังนั้นบาปคืออกุศลต่างๆที่ทำให้จิตเสีย ทำให้จิตตกต่ำ ทำให้จิตเกิดทุกข์นั่นเอง
การจะงดเว้นจากบาปได้นั้นต้องอาศัยหลักธรรมคือ “หิริ” ความละอาย รังเกียจบาป และ“โอตตัปปะ”ความกลัวต่อบาป หากมีหิริและโอตตัปปะแล้วก็จะยังผลให้เรางดเว้นจากการทำบาปได้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Feb 2024 - 59min - 523 - มงคลชีวิต 15 #ทำงานไม่คั่งค้าง [6706-3d]
“งาน” คือ อะไรก็ได้ที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีวิธีการปฏิบัติ และจะเกิดความเป็นมงคลได้นั้น คุณธรรมในการทำงานให้สำเร็จ คือ อิทธิบาท 4
การเจริญอิทธิบาท 4 ต้องเข้าใจให้ถูก ต้องมีองค์ประกอบอีก 2 อย่าง คือ “ธรรมเครื่องปรุงแต่ง” หรือเป้าหมาย และประกอบด้วย “สมาธิ” ที่จะมาเชื่อมกับกิจแต่ละอย่างๆ คือ
“ฉันทะ” ความพอใจความเต็มใจ ที่ทำให้เริ่มลงมือทำ
“วิริยะ” ความเพียร ความกล้า ความกระตือรือร้น ความมีระเบียบวินัย ทำให้งานสำเร็จได้
“จิตตะ” ความใส่ใจ ถูกต้อง ตรวจสอบ ทำให้งานมีความต่อเนื่อง
“วิมังสา” การพินิจพิเคราะห์ แยกแยะพิจารณา เปลี่ยนแปลงให้งานนั้นๆ ดีขึ้น
ด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ตั้งไว้แล้ว จะทำให้การทำการงานนั้น ไม่ย่อหย่อน ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สยบในภายใน แต่สำเร็จ “การงานไม่อากูล” ลุล่วงไปได้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 06 Feb 2024 - 1h 00min - 522 - มงคลชีวิต 7 # “ตั้งตนไว้ชอบ” [6705-3d]
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ หมายถึง ตั้งตนไว้ชอบ ในที่นี้คือ การตั้งจิตเพื่อรักษากายและจิตใจให้อยู่ในทางที่เป็นกุศลธรรมในปัจจุบันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางที่ปลอดภัยไว้ให้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์8 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา การตั้งจิตไว้ถูกไม่ว่าจะเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นจึงเป็นมงคล ท่านยังทรงตรัสให้เรานึกถึงศีล นึกถึงโสตาปัตติยังคะ4 ให้มีปีติสุข อันเกิดจากศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งจะช่วยให้ชนะอุปสรรคได้เช่นกัน
ทั้งนี้หากตั้งจิตไว้ชอบแล้วก็จะสามารถไปถึงเป้าหมายทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสูงสุดได้อย่างแน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 30 Jan 2024 - 1h 02min - 521 - ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ [6704-3d]
ธรรมของสัตบุรุษ มีสัทธรรม 3 อย่างคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
ปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนในระบบคำสอนที่เรารวบรวมมาโดยรอบแล้วนั่นคือคำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 (นวังคสัตถุศาสน์)ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูติธรรม เวทัลละ
ปริยัติแบ่งตามรูปแบบการศึกษาได้ 3 อย่างดังนี้
1.อลคัททูปริยัติการศึกษาแบบเป็นงูพิษคือศึกษาธรรมเพื่อลาภสักการะ เพื่อข่มผู้อื่น
2.นิสสรณัตถปริยัติการศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการออกไปจากทุกข์ คือศึกษาเจาะจงลงไปในเรื่องที่จะออกจากทุกข์ได้
3.ภัณฑาคาริกปริยัติการศึกษาแบบขุนคลังคือการศึกษาเพื่อที่จะเก็บรักษาองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้เสื่อมสูญไป
ปฏิบัติ คือ นำความรู้มาลงมือทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างที่ต้องการ การลงมือทำนั้นต้องไม่ยกตนข่มผู้อื่น การปฏิบัตินั้นมีได้หลายรูปแบบ การปฏิบัติต้องถูกต้องกับสิ่งนั้น ๆ
ปฏิเวธคือ การรู้ธรรมเป็นขั้นๆไป รู้ว่าธรรมนี้เป็นอย่างนี้ รู้แทงตลอดในธรรมเป็นขั้นเป็นขั้นขึ้นไป ในส่วนของปฏิเวธนี้ก็จะหมายถึงการบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งด้วย
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธนี้ ต้องมาด้วยกันจะมีผลแทงตลอดได้จะต้องลงมือปฏิบัติจะปฏิบัติได้ต้องรู้วิธีการว่าต้องทำอย่างไรไม่ให้เกิดความข้องความกังวลผลที่จะเกิดขึ้นก็จะเป็นขั้น ๆ ไป หมุนวนไปแบบนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 23 Jan 2024 - 55min - 520 - ตัณหา [6703-3d]
ตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้
1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสียงผ่านทางหู กลิ่นผ่านทางจมูก รสผ่านทางลิ้น และโผฏฐัพพะผ่านทางกาย และความอยากได้กามคุณคือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า
2.ภวตัณหา คือ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ความอยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป
3.วิภวตัณหา คือ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา ความไม่อยากเป็น อยากดับสูญ
ส่วนตัณหา 108 นั้นมาจากคำว่าตัณหาวิจริตคือความนึกที่แผ่ซ่านด้วยอำนาจของตัณหาคือความเพลินซ่านไปแผ่ไป โดยแผ่ซ่านกระจายไปในขันธ์อันเป็นภายใน 18 อย่าง ขันธ์อันเป็นภายนอกอีก18อย่าง ทั้ง 2 นี้ รวม 36 อย่าง X 3 กาลคือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 16 Jan 2024 - 57min - 519 - จรณะ 15 [6702-3d]
จรณะคือข้อปฏิบัติให้ถึงปัญญาข้อปฏิบัติที่ทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้ ข้อปฏิบัตินี้มี 15 อย่าง
จรณะมีความหมายเดียวกันกับเสขะปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังต้องฝึกต้องปฏิบัติต่อ ข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นสูง บุคคลที่ต้องการบรรลุธรรมจึงต้องปฏิบัติตามเสขะปฏิปทา ดังนั้นจรณะ15 ก็คือเสขะปฏิปทาที่มีเนื้อหาแจงออกเป็น 15 ประการ ตามนัยยะของเสขะปฏิปทาสูตร ประกอบด้วย 4 หมวดคือ ศีล1, อปัณณกปฏิปทา3,สัปปุริสัทธรรม 7 และฌาน4 ซึ่งแจกแจงได้ดังนี้
1.ศีล ได้แก่ ศีล5 ศีล8 ศีล10 และศีล227
2.อปัณณกปฏิปทา3 คือข้อปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม ได้แก่ 1.อินทรีสังวร(สำรวมอินทรีย์) 2.โภชเนมัตตันญุตา(รู้จักประมาณในการบริโภค) 3.ชาคริยานุโยค(การประกอบความเพียรอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น)
3.สัปปุริสัทธรรม7 ได้แก่ 1.มีศรัทธา 2.มีหิริ 3.มีโอตตัปปะ 4.เป็นพหูสูต 5.มีความเพียรอันปรารภแล้ว 6.มีสติ7. มีปัญญา
4.ฌาน4 คือการเพ่ง,สมาธิ ได้แก่ 1.ปฐมฌาน(วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา) 2.ทุติยฌาน(ปีติ สุข เอกัคคตา) 3.ตติยฌาน(สุข เอกัคคตา) 4.จตุตถฌาน(อุเบกขา เอกัคคตา)
จรณะ 15 อย่าง คือข้อปฏิบัติที่เจาะจงลงมาสำหรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุธรรม เมื่อนำธรรมนี้ไปประพฤติปฏิบัติก็จะสามารถทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 09 Jan 2024 - 54min - 518 - พร 9 ประการ สมปรารถนาด้วยธรรม [6701-3d]
ขึ้นชื่อคำว่า “พร” เป็นสิ่งที่ใครๆก็ปรารถนาเพื่อต้องการให้เกิดความสุขความสมหวังในชีวิตทั้งนั้น ในที่นี้ได้รวบรวมพรดีๆ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจากสูตรต่างๆอันได้แก่ จักกวัตติสูตร อิฏฐสูตร และจูฬกัมมวิภังคะสูตร ได้ 9 ประการดังนี้
1.มีอายุยืน 2.วรรณะงาม 3.มีความสุข 4.มีโภคะเงินทอง 5.มีสุขภาพแข็งแรงมีโรคน้อย 6.มียศถาบรรดาศักดิ์มีอำนาจใหญ่โต 7.การเกิดในตระกูลสูง 8.มีปัญญามีความฉลาดหลักแหลม 9.ตายแล้วได้เกิดในสวรรค์ ถ้า ใครได้รับพร 9 ข้อนี้ แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องดีต่อจิตใจแน่ แต่หากเราทำความเข้าใจในความหมายที่ลึกซึ้งลงไปตามนัยยะคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระสูตร พรทั้ง 9 ประการนี้ก็จะดีต่อเรายิ่งขึ้นไปอีก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 02 Jan 2024 - 59min - 517 - วิธีเลือกครูบาอาจารย์ [6652-3d]
กัลยาณมิตร หมายถึงบุคคลที่ปรารถนาดีและนำสิ่งดีงามและเป็นกุศลมาสู่เรา กัลยาณมิตรมีหลายแบบได้แก่
1.กัลยาณมิตรที่เป็นองค์ความรู้อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 2.เพื่อนที่ดีคือฆราวาสผู้พร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา 3.พระสงฆ์ครูบาอาจารย์ 4.พระพุทธเจ้า ในครั้งนี้จะกล่าวรายละเอียดถึงกัลยาณมิตรแบบที่3 คือพระสงฆ์ครูอาจารย์ เราจะเลือกเอาพระสงฆ์ครูอาจารย์แบบใดมาเป็นกัลยาณมิตรที่ควรคบหาควรเข้าใกล้ถึงแม้ว่าจะถูกไล่หนีก็ตาม พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ควรเข้าใกล้ไว้ 7 ประการดังนี้
1.เป็นผู้มีความน่ารักใคร่พอใจ (ปิโย) คือเป็นลักษณะมีความเมตตา แผ่มาให้เกิดความรักใคร่พอใจ
2.เป็นที่เคารพ (ครุ) คือเป็นผู้ที่มีความหนักแน่น มีหลักเกณฑ์หลักการ คุ้มครองให้ในทิศทั้งปวง
3.เป็นผู้ควรสรรเสริญ (ภาวนีโย) คือ เป็นผู้มีความรู้จริง มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอควรเอาเป็นแบบอย่าง
4.เป็นผู้ฉลาดพูด (วตฺตา) คือรู้จังหวะรู้เวลาที่จะพูดที่จะสอนได้ และเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีได้
5.เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ (วจนกฺขโม) คืออดทนที่จะพูดซ้ำๆในเรื่องเดิมๆได้โดยไม่เบื่อหน่าย
6.เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ (คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา) คือสามารถแจกแจงคำสอนได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง
7.เป็นผู้ไม่ชักนำไปในอฐานะ (จฎฺฐาเน นิโยชเย) คือไม่ชักนำไปในทางที่ไม่ดีทางที่เสื่อมเสีย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 26 Dec 2023 - 56min - 516 - โพธิปักขิยธรรม 37 องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ [6651-3d]
โพธิปักขิยธรรมคือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ มี 7 หมวด 37 ประการได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 มรรคมีองค์8 องค์ธรรมทั้ง 7 หมวดนี้ คือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมเหมือนกัน ในครั้งนี้จะกล่าวให้เห็นความเหมือนและต่างกันขององค์ธรรมเหล่านี้ คู่แรกคือ “อินทรีย์5” กับ “พละ5” เหมือนกันโดยองค์รวม คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แต่อธิบายคนละนัยยะ คือความเป็นใหญ่และความไม่หวั่นไหว พระพุทธเจ้าได้อุปมาธรรม 2 หมวดนี้ เปรียบเหมือนแม่น้ำสองสายที่แบ่งโดยเกาะกลางแต่ก็เป็นแม่น้ำสายเดียวกันและย่อมจะมาบรรจบกัน “สติปัฏฐาน”คือฐานที่ตั้งให้เกิดการระลึกถึงคือตั้งจิตเกาะติดไว้ให้มั่นที่กาย เวทนา จิต ธรรม ส่วน“สัมมัปปธาน”คือความเพียร เป็นลักษณะของการต้องขูดเกลาต้องพัฒนา กำจัดอกุศลธรรมรักษากุศลธรรมให้มีมากขึ้น สัมมัปปธานก็คือสัมมาวายามะนั่นเอง “อิทธิบาท” คือฐานที่ตั้งแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา “ โพชฌงค์” ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์ก็คือสติปัฏฐาน4 พอมีสติแล้วก็จะเห็นตามจริงทำให้เกิดธัมมวิจยะ ให้เกิดวิริยะ เกิดปิติ เกิดความสงบ เกิดสมาธินำสู่อุเบกขาได้ ทางทั้งหลายที่เดินมานี้ท่านเปรียบเหมือนรอยเท้าของสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดคือรอยเท้าช้าง เปรียบธรรมะทั้งหมดที่กล่าวมานี้อยู่ใน “มรรค8”ทั้งหมดเลย มรรค8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง ดังนั้น โพธิปักขิยธรรม จึงเป็นธรรมะที่จะนำพาจิตของเราให้ไปสู่นิพพานได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 19 Dec 2023 - 54min - 515 - อุปมาจิต 9 อย่าง [6650-3d]
สตินี่แหละจะเป็นตัวช่วยจัดระเบียบจิตใจของเรา สติที่ท่านพระสารีบุตรอธิบายเจาะจงลงไป คือเครื่องมือที่ชื่อว่ากายคตาสติ โดยท่านอุปมาลักษณะของจิตไว้ 9 อย่าง คือ
1 จิตเสมอด้วยดิน จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับดินไม่ว่าใครจะทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด ดินก็ยังเป็นดินเสมอ
2 จิตเสมอด้วยน้ำ จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับน้ำไม่ว่าใครจะทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาด น้ำก็ยังเป็นน้ำเสมอ
3 จิตเสมอด้วยไฟ จิตที่มีสติตั้งไว้จะเหมือนกับไฟจะไม่อึดอัดเปลี่ยนแปลงตามสิ่งที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ จะกว้างขวางเสมอกัน
4 จิตเสมอด้วยลม จิตที่มีสติตั้งไว้ก็จะเหมือนกับลมเมื่อมีสิ่งใดมากระทบกับอารมณ์ไม่ว่าดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมเสมอกันหมด
5 จิตเปรียบด้วยผ้าเช็ดธุลี จิตที่มีสติตั้งไว้จะเป็นจิตกว้างขวางรับทั้งสิ่งดีและไม่ดีโดยไม่รังเกียจเหมือนผ้าขี้ริ้วที่เช็ดได้ทุกอย่าง
6 มีจิตเหมือนเด็กจัณฑาล ถ้ามีสติตั้งไว้แล้วก็จะมีจิตเหมือนจิตเด็กจัณฑาลที่นอบน้อม อดทน
7 มีจิตเหมือนโคเขาขาด จิตที่มีสติตั้งไว้จะเหมือนโคที่เขาขาดจะเจียมตัวและระมัดระวังเสมอ
8 มีจิตเหมือนคนรักสวยรักงามที่มีซากศพ ซากงู มาแขวนคล้องคอไว้ จิตที่มีสติตั้งไว้จะไม่ยึดถือกายว่าเป็นของเรา
9 มีจิตเหมือนภาชนะที่ก้นทะลุใส่น้ำมันไว้ต้องคอยประคับประคองไม่ให้น้ำมันล้นออก จิตที่มีสติตั้งไว้จะบริหารกายอย่างระมัดระวัง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 12 Dec 2023 - 55min - 514 - ชนะด้วยปัญญา [6649-3d]
ปัญญาจัดเป็นอันดับสูงสุด จะลับปัญญาให้แหลมคมได้ต้องมีคุณธรรมต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งคุณธรรมที่ท่านกล่าวถึง คือ เวสารัชชกรณธรรม 5 (คุณธรรมที่จะทำให้เกิดความแกล้วกล้า ความกล้าหาญ ) ได้แก่
1.ศรัทธา ความเชื่อใจ ความมั่นใจ ความลงใจ ในการตรัสรู้ของพระพุทธ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า และในหมู่สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
2.ศีล ความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ศีลถือเป็นพื้นฐานสำหรับทุกอย่าง ศีลเป็นความปกติ ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นนิสัย
3.พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีทั้งเป็นรูปแบบและไม่เป็นรูปแบบ
4.วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร คือ การที่ได้เริ่มลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้นๆ อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง จนเป็นเหตุให้เกิดความชำนาญ
5.ปัญญา ความรอบรู้ เข้าใจซึ้งในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ อันเกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง
และปัญญาที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดผลสะท้อนกลับ ( feedback loop) พิจารณาว่าสิ่งที่เราทำมามันใช่ไหม ถูกไหม เป็นผลสะท้อนกลับให้เราไปปรับ ศรัทธา ศีล ปรับองค์ความรู้ ปรับการลงมือทำ ปรับเป็นวงกลมหมุนไปวนไป เพื่อให้ปัญญาของเราแหลมคมยิ่งขึ้น เห็นตามความเป็นจริง จนถึงที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 05 Dec 2023 - 57min - 513 - ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุก [6648-3d]
ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ ๒ กรณี
กรณีที่ ๑ คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น ๒ นัยยะได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่าธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน ๑/ ฌาน ๒/ ฌาน๓/ ฌาน๔ /การทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ ส่วนนัยยะที่ ๒ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัตติยังคะ ๔ เป็นธรรมะที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามแล้วหยั่งลงสู่อมตะธรรมได้ ได้แก่ มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระพุทธเจ้า /มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระธรรม / มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระสงฆ์ / มีศีลสมบูรณ์ โดยทั้ง ๒ นัยยะนี้พระพุทธเจ้าหมายถึงตัวเราเองเท่านั้น
กรณีที่ ๒ คือธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกของผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ คือ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการ ได้แก่ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง /เข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลังเข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง / เป็นผู้มีศีลที่สมบูรณ์ไม่ทะลุด่างพร้อย เป็นศีลที่เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง / เป็นผู้มีมีทิฐิอันเป็นอริยะหมายถึงความเห็นที่ประเสริฐให้เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 28 Nov 2023 - 58min - 512 - กรรมดับได้ด้วยทางสายกลาง [6647-3d]
พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับสหัมบดีพรหมไว้ที่ใต้ต้นไทรว่า ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะเราเปิดไว้แล้ว ทางที่ท่านบอกไว้ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ‘‘สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้จงปลงศรัทธาลงไปเถิด’’ ทางสายกลางอันประเสริฐ 8 อย่าง (อริยอัฏฐังคิกมรรค) คือ ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง ขวาสุด คือ ชุ่มด้วยกามยึดถือยินดีในกามคุณ ซ้ายสุด คือ ไม่เอาอะไรสักอย่างปฏิเสธหมดทุกอย่าง อย่างไรจึงจะเรียกว่ากลางพอดี นั่นคือ มัชฌิมาปฏิปทา ช่องทางนี้แหละ คือ เส้นทางที่จะออกไปได้ รอดไปได้ โดยต้องอาศัยศรัทธาที่มากพอทุ่มลงไป
พระพุทธเจ้าทรงเรียกทางสายกลางอีกหลายชื่อ ได้แก่ สามัญญะ ใครที่ปฏิบัติแล้วได้ผลเหมือนกัน/พรหมมัญญะ/พรหมะจริยะ การประพฤติพรหมจรรย์/สัมมัตตะ มี สัมมัตตะ 8, สัมมัตตะ 10/กุศลธรรมะ/สัมมาปฏิปทา/สัมมาปฏิปัตติ/สมถะวิปัสสนา/มัชฌิมาปฏิปทา
มรรค 8 มี 2 ลักษณะ คือ ผู้ที่ยังไม่ถึง ยังไม่บรรลุธรรมต้องปฏิบัติตามมรรค 8 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้ามฝั่งให้ได้/ผู้ถึงแล้วจะต้องปฏิบัติตามมรรค 8 ต่อไปแต่ทำไปในลักษณะที่ไม่ต้องถึงอะไรแล้ว เพราะว่ากิจที่จะต้องทำด้วยความไม่ประมาทนี้มันหมดแล้ว มันจบแล้ว เพราะฉะนั้นหนทางที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 8 อย่าง คือ อริยอัฏฐังคิกมรรคสามารถที่จะดับกรรมได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 21 Nov 2023 - 57min - 511 - เรื่องของ "กรรม" ตอนที่ 3 (จบ) [6646-3d]
กรรม คือ เจตนาที่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ออกไปทางกาย วาจา ใจ เมื่อมีการปรุงแต่งกระทำออกไปแล้ว ย่อมมีผลหรือมีวิบากของกรรมนั้นอย่างแน่นอน
เรื่องของกรรมเป็น “อจินไตย” คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะถ้าคิดแล้วอาจจะทำให้เป็นบ้าได้ ในที่นี้หมายถึง เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน (ตามนัยยะ อจินติตสูตร) ตราบใดที่เมื่อยังมีการปรุงแต่งกรรมอยู่ การให้ผล (วิบาก) ของกรรมนั้น ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของกรรมนั้นเสมอ ผลของกรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ความคิดที่ว่า “ผลของกรรม เกิดจากรรมเก่าอย่างเดียวเท่านั้น” ความคิดอย่างนี้ยังไม่ถูกต้อง เพราะผลของกรรมไม่ได้เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของสังขารนาม-รูปในปัจจุบัน (ตามนัยยะ 8 อย่างใน สีวกสูตร)
ประเภทผลของกรรม แบ่งออกเป็น 4 หมวด แต่ละหมวดแยกเป็น 4 ประเภท (รวม 16 ประเภท)
1.แบ่งโดยหน้าที่ คือ กรรมที่ให้ไปเกิด (ยังวิบากให้เกิดขึ้น-มีสภาวะการเกิด) / อุปถัมภ์สนับสนุนให้กรรมนั้นมีพลังมากยิ่งขึ้น / เบียดเบียนกรรมนั้นให้อ่อนกำลังลง / ตัดรอนกรรมนั้นไม่ให้ส่งผล
2.แบ่งตามลำดับการให้ผล คือ ให้ผลในลำดับแรกก่อน / ให้ผลเวลาใกล้ตาย / กรรมที่กระทำบ่อยๆ สั่งสมไว้ ให้ผลในชาติต่อมา / กรรมที่ผู้กระทำไม่มีเจตนา แต่ย่อมให้ผล (ในห้วงของสังสารวัฏ)
3.แบ่งตามเวลา คือ ให้ผลรวดเร็วปัจจุบันทันด่วน / ให้ผลในชาติหน้า / ให้ผลในชาติต่อๆ มา / ไม่มีโอกาสให้ผล
4.แบ่งตามฐานะการให้ผล คือ ให้ผลไปเกิดในอบายภูมิ / สุคติภูมิ / รูปพรหม / อรูปพรหม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 14 Nov 2023 - 57min - 510 - เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 2)-กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ [6645-3d]
กรรม (กัมมะ) คือ เจตนาของจิตที่เมื่อมีผัสสะมากระทบแล้วเกิดการปรุงแต่งออกไป ทางกาย (กายกรรม) วาจา (วจีกรรม) และใจ (มโนกรรม) เป็นอกุศลกรรมบ้าง หรือกุศลกรรมบ้าง หรือเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม (อริยมรรคมีองค์ 8)
กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ - ทำความเข้าใจกรรมผ่าน “นิพเพธิกสูตร”
· เรากล่าวซึ่ง “เจตนา ว่าเป็นกรรม” เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ หมายถึง เจตนาที่อยู่ในจิตที่ประกอบไปด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ (กิเลส) จากมากไปจนถึงเบาบาง (อกุศล-กุศล) หรือจนไม่เหลือ จึงพ้นจากกรรม คือ “สิ้นกิเลส สิ้นกรรม” ด้วย อริยมรรคมีองค์ 8
· เหตุเกิดแห่งกรรม คือ ผัสสะ (อาศัยผัสสะเป็นแดนเกิด)
· ความมีประมาณต่าง ๆ แห่งกรรม คือ กรรมที่ทำให้ไปเกิดในอบาย, มนุษยโลก, เทวโลก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 และกุศลกรรมบถ 10
· วิบากคือ ผลแห่งกรรม มีระยะเวลาการให้ผล คือในปัจจุบันทันควัน / ในเวลาต่อมา / ในเวลาต่อ ๆ มา
· ความดับไม่เหลือแห่งกรรมคือ ความดับแห่งผัสสะ (เมื่อมีผัสสะกระทบแล้วไม่เข้าถึงจิต)
· ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8
การเข้าถึงกระบวนการสิ้นกรรม คือ ให้เราปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จนครบจนเต็มรอบ ผลแห่งความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จะทำให้เราพ้นจากกรรมได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 07 Nov 2023 - 57min - 509 - เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 1) [6644-3d]
“กรรม” คือ การกระทำที่เกิดจากเจตนาของจิตที่ถูกกระตุ้นผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วปรุงแต่งออกไป ทาง 3 ช่องทาง คือ 1. ทางกาย เป็น กายกรรม 2. ทางวาจา เป็น วจีกรรม 3. ทางใจ เป็น มโนกรรม
ทำความเข้าใจเรื่องของ “กรรม” ผ่านพุทธพจน์ที่ว่า..
“เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” หมายถึง เมื่อมีเหตุแล้ว ย่อมมีผล
“เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์” คำว่า “เผ่าพันธ์” หมายถึง ผลของการกระทำนั้น
“เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้” คำว่า “ที่พึ่งอาศัย” หมายถึง ลักษณะที่สะสมอยู่ในจิต หรือ “อาสวะ”
“เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม” คือ กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม
“เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น”คือได้รับผลของการกระทำนั้น
“เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล” ผลของการพิจารณา คือ เกิดปัญญา และ มีอุเบกขา
กรรม 4 อย่าง
1. กรรมดำ มีวิบากดำ - กรรมชั่ว การปรุงแต่งไปในทางเบียดเบียน ผลคือ เข้าถึงความเป็นสัตว์นรก
2. กรรมขาว มีวิบากขาว - กรรมดี ปรุงแต่งไปในทางไม่เบียดเบียน ผลคือ เข้าถึงสวรรค์
3. กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว - ปรุงแต่งไปในทางเบียดเบียนบ้างไม่เบียดเบียนบ้าง เสวยเวทนาสุขและทุกข์เจือปน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางพวก
4. กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8
การทำที่สุดแห่งทุกข์ปรากฏขึ้นได้ เพราะการกระทำ
กรรมเรากำหนดได้จากการกระทำของเรา อยู่ที่ว่าจะตั้งเจตนาของจิตให้ปรุงแต่งไปในทางไหน ไปในทางสิ้นกรรม คือ ไม่มี ราคะ โทสะ และโมหะประกอบอยู่ในกรรม กรรมจึงอยู่ตรงที่เราเลือก เราจะอยู่เหนือกรรมได้ก็เพราะการกระทำของเราตรงนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 31 Oct 2023 - 57min - 508 - เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา [6643-3d]
การมาศึกษาปฏิบัติธรรม เปรียบเสมือน ”การจับงูพิษ” ถ้าจับไม่ถูกต้อง ไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะเกิดอันตรายกับตนเองและผู้อื่นได้ แทนที่จะละวางความยึดถือลงแต่กลับยึดถือขึ้นมาแทน
“ธรรม” ที่ดูเหมือนจะเป็น “เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดานี้” หมายถึง เรื่องพื้นฐานแต่มีความสำคัญ จึงต้องหยิบมาทำการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียด โดยได้ยกพุทธพจน์ คำอุทาน พระสูตร มาประกอบ พอจะสรุปได้ดังนี้
1. สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
2. สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
3. ฐานะ 5 ประการ ที่ใครๆ ก็ไม่พึงได้ คือ ขอสิ่งที่มีความแก่- เจ็บ- ตาย- ความสิ้นไป-ฉิบหายไป ว่า อย่าแก่เลย…ฯ
4. เราจะมาได้ตามความปรารถนาใน “สิ่งที่มีความแตกดับเป็นธรรมดา” ว่า อย่าเสื่อม อย่าสิ้นไป มันจะไม่ได้
5. มาพิจารณาอยู่เนืองๆว่าเรามีความแก่ / ความเจ็บ / ความตาย / ความพลัดพราก / กรรมของตน
การมาพิจารณาอยู่เนือง ๆ ให้เห็นตามความเป็นจริงในสังขารทั้งหลาย จะทำให้เราเกิดปัญญา วางความยึดถือด้วยเรื่องพื้นฐาน สูงขึ้นจนถึงระดับโลกุตระได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 24 Oct 2023 - 57min - 507 - “ขันติ” ความอดทนคือทุกสิ่ง [6642-3d]
ปฏิปทาอันยิ่งยวดอย่างหนึ่งใน “ทศบารมี” นั้นก็คือ “ขันติ” คือ ความอดทนอดกลั้น เป็นตบะแผดเผากิเลสอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม จะสามารถรักษาความเป็นปกติเอาไว้ได้ ผู้ที่ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ย่อมทำคุณธรรม “ขันติ” ให้ปรากฏขึ้นเป็นของแจ่มแจ้งแก่ตนเองได้ด้วย “ปัญญา” และถ้าพิจารณากันให้ดี ๆ จะเห็นว่า คุณธรรมที่ทำให้มีความอดทนนั้น มีอยู่มากมาย จึงอาจกล่าวได้ว่า “ขันติ” ความอดทนคือทุกสิ่ง
ความอดทนแบ่งตามเหตุที่มากระทบได้แก่อดทนต่อความลำบากตรากตรำ อดทนต่อทุกขเวทนาทางกาย และทางใจ อดทนต่อกิเลส
เปรียบความอดทนไว้กับทางไปสู่นิพพาน ถ้าคุณเจอสิ่งกระทบในระหว่างทาง คุณยังจะอดทนรักษามรรคไว้ได้อยู่ไหม? หรือจะเลือกเดินออกนอกมรรคไปไม่ถึงนิพพาน
ขันติแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- อธิวาสนขันติ คือ ยังมีอารมณ์โกรธอยู่ แต่อดกลั้นไว้ได้ ไม่แสดงสิ่งที่เป็นอกุศลทางกาย วาจา ใจ ออกไปตีติกขาขันติ คือ ปฏิบัติได้เป็นปกติใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพราะผ่านการฝึกฝน ทำซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ อยู่บ่อย ๆ ในขั้น “อธิวาสนขันติ”
คุณธรรมความอดทนตัวอย่างในเรื่องของท่านพระปุณณะ พระสารีบุตร และท้าวสักกะ เป็นคุณธรรมที่แสดงให้เห็นการบ่ม อินทรย์ พละ ศีล สมาธิ ปัญญา พรมหมวิหาร
อานิสงส์ของความอดทน คือ ย่อมเป็นที่รักของคนเป็นอันมาก เป็นผู้ไม่มากด้วยเวรไม่มากด้วยโทษ เป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 17 Oct 2023 - 56min - 506 - อยู่กับทุกข์ โดยไม่ทุกข์-อนาคตภัย [6641-3d]
ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากภัยในอนาคต 5 ประการ คือ ความแก่ชรา ความเจ็บไข้ ทุพภิกขภัย-อาหารหายาก ภัยจากโจร-สงคราม และสมัยที่สงฆ์แตกกัน เรายังจะผาสุกอยู่ได้ไหม และสิ่งใดที่เราต้องรีบทำก่อนที่ภัยนั้นจะมาถึง
ท่านพระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ เราควรร้อนใจในการเร่งทำความเพียรตอนนี้ ด้วยการเจริญมรรค 8 เพื่อให้เกิด “ปัญญา” เป็นอันดับสูงสุด ซึ่งจิตจะมีปัญญาได้ ต้องมี ‘สติรักษาจิตให้เป็นสมาธิ’ ไม่ให้ไปเสวยอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งสุขหรือทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ พิจารณาเห็นเวทนาเป็นของไม่เที่ยง ไม่ควรยึดถือ ตัดความยึดถือ คือ อุปาทาน นั้นด้วยปัญญา “แยกกายแยกจิตออกจากกัน”
อนาคตเมื่อร่างกายเกิดทุกข์ เพราะความชรา เจ็บป่วยบ้าง ยากต่อการอยู่อย่างสงบ เพราะอาหารขาดแคลน หรือสงครามบ้าง หรือเพราะสงฆ์ และคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปบ้าง เราก็จะยังอยู่ผาสุกได้ด้วย “จิตที่มีปัญญา” นี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 10 Oct 2023 - 58min - 505 - ธัมมะนคร–นครแห่งธรรม [6640-3d]
การนำเอาหัวข้อหลักธรรมะต่างๆ มาอุปมาเชิงเปรียบเทียบกับการสร้าง “นคร” ซึ่งองค์ประกอบของ ธัมมะนคร หรือ นครแห่งธรรม ได้กล่าวบรรยายไว้ 2 นัยยะ คือ นัยยะของท่านพระอุบาลี และ นัยยะของพระพุทธเจ้า
ธัมมะนครตามนัยยะคาถาของ “ท่านพระอุบาลี” เป็นคาถาเปล่งอุทานหลังจากที่ท่านพระอุบาลีได้บรรลุอรหันต์ โดยใจความของพระคาถาได้กล่าวถึงการได้เข้ามาอยู่ใต้ร่มโพธิ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบได้กับความเจริญใจเมื่อได้เข้ามาสู่นครแห่งธรรม โดยเปรียบธัมมะนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ดังนี้ว่า :-
1. พระองค์ มี “ศีล” เป็น กำแพง
2. พระญาณ (ปัญญา) = ซุ้มประตู
3. ศรัทธา = เสาระเนียด
4. สังวร (สำรวมระวัง) = นายประตู
5. สติปัฏฐาน = ป้อม
6. ปัญญา = ทางสี่แพร่ง
7. อิทธิบาท = ทางสามแพร่ง
8. ธรรมวิถี = ถนนหนทาง
9. พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และ นวังคสัตถุศาสน์ = ธรรมสภา (ที่ประชุม)
10. วิหารธรรม (ฌาน) = ธรรมกุฏิ
ธัมมะนครตามนัยยะ “นคโรปมสูตร” ของพระพุทธเจ้าเปรียบไว้กับหัวเมืองชายแดนที่สำคัญ ที่จะคอยป้องกันนคร โดยได้อุปมาเปรียบไว้ดังนี้ :-
1. เสาระเนียด = ศรัทธา (หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย)
2. คู (ร่องน้ำ) = หิริ (ความละอายต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย)
3. เชิงเทินเดินรอบ = โอตตัปปะ (ความสดุ้งกลัวต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย)
4. อาวุธ = พหูสูต (แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ)
5. กองกําลัง = ความเพียร (ละอกุศล / เจริญกุศล)
6. ทหารยาม นายประตู = สติ (สติปัฏฐาน)
7. กําแพง = ปัญญา (เป็นที่สูงสุด)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 03 Oct 2023 - 55min - 504 - ว่าด้วยเรื่องของ "ลม" [6639-3d]
วาโยธาตุ หรือที่เราเรียกว่า “ธาตุลม” เป็น 1 ใน มหาภูตรูป 4
ธาตุลมประกอบไปด้วย :-
ลมภายนอก คือ ธรรมชาติที่พัดไปมาอยู่นอกกาย เช่น ลมร้อน ลมหนาว ลมมีฝุ่น หรือ ลมไม่มีฝุ่น ลมตะวันออก..ฯลฯ
ลมภายใน คือ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย เช่น ลมในกระเพาะ ลมในลำไส้ ลมหายใจเข้า-ออก
ลมภายในแบ่งได้เป็น :-
ลมปราณ คือ ลมหายใจเข้า-ออก
1. ลมหายใจต่อกาย-ทิ้งกาย หมายถึง ลมทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงร่างกาย และทำลายร่างกายไปในกระบวนการเดียวกัน (มีการเผาผลาญในกาย)
2. ลมหายใจต่อจิต (การมีสติสัมปชัญญะรู้ลมหายใจ) / ทิ้งจิต (ปล่อยสติเผลอเพลิน)
ลมปาก คือ ลมที่ผ่านหลอดเสียง ที่ออกจากกายไปสู่ภายนอก เป็นลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปตามการปรุงแต่ง (สังขาร) และสื่อออกมาทางลมปาก ได้แก่
1. ลมเหม็น (คูถภาณี) คือ ผู้มีวาจาภาษาพูดเหมือนคูถหรืออุจจาระ เกิดจากจิตที่เป็นอกุศลที่ปรุ่งแต่งออกมาทางวาจา เป็น “วจีทุจริต” ได้แก่
1.1 การพูดเท็จ พูดปด พูดไม่จริง พูดบิดเบือน ไม่เกิดประโยชน์
1.2 พูดส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน บาดหมาง พูดใส่ร้าย-ป้ายสี
1.3 พูดคำหยาบ ได้แก่ “คำหยาบคาย” คือ พูดทิ่มแทงให้เจ็บใจ แดกดัน เสียดสี เหน็บแนม /“คำหยาบโลน” คือ พูดภาษาใต้สะดือ ใช้สรรพนามของสัตว์แทนคน
1.4 พูดเพ้อเจ้อได้แก่ “พูดพล่าม” คือ คำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้ง ไร้สาระ หาประโยชน์ไม่ได้ (พูดเยอะแต่ไม่เกิดประโยชน์) / “พูดเหลวไหล” คือ คำพูดเลอะเทอะ ไม่มีหลักฐานอ้างอิง หาประโยชน์ไม่ได้ เช่น คำพูดมุกตลก
2.ลมหอม (ปุปผภาณี) คือ ผู้มีวาจาพูดภาษาดอกไม้ ได้แก่ พูดคำจริง ไม่พูดเท็จ
3. ลมหวาน(มธุภาณี) คือ ผู้มีวาจาพูดภาษาน้ำผึ้งได้แก่ พูดความจริงไพเราะจับใจ ประกอบไปด้วยพรหมวิหาร เป็นผู้ละเว้นคำหยาบ
3.1 พูดจริง ดี มีประโยชน์ รู้กาลที่เหมาะสมแล้วจึงพูด / เว้นคำพูดจริงแต่ไม่มีประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยกาล
3.2 พูดสมานไมตรี ให้เกิดความสามัคคีกันมากยิ่งขึ้น
3.3 พูดไพเราะ เป็นคำพูดที่ “อ่อนหวาน” สุภาพ มีถ้อยคำที่สละสลวย ฟังแล้วลื่นหู / “คำพูดดื่มด่ำดูดดื่ม” มีคติธรรม ฟังแล้วจับใจ
3.4 พูดมีประโยชน์ มีหลักฐานอ้างอิง เป็นคำจริง ประกอบด้วยกาลเทศะ
*ลักษณะคำพูดที่หอมหวานนั้นคือ เป็นมงคล เป็นวาจาสุภาษิต ฟังแล้วเกิดความรู้สึกซาบซึ้งเบิกบาน เป็นวาจาที่หาโทษมิได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 26 Sep 2023 - 58min - 503 - กิจญาณ - กิจที่ควรทำในอริยสัจ 4 [6638-3d]
ความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง (fact) ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง (truth) ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลา
กิจในอริยสัจ 4 (กิจญาณ) คือ หน้าที่ที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ
1. ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หน้าที่คือ “ปริญญา” ควรรอบรู้ เข้าใจ ยอมรับมัน
2. สมุทัย คือ ตัณหา หน้าที่คือ “ปหานะ” ควรละ กำจัด กว้างทิ้ง ไม่ถือเอา
3. นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “สัจฉิกิริยา” ควรทำให้แจ้ง
4. มรรค คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “ภาวนา” ควรเจริญ พัฒนา ทำให้มาก
การแยกแยะสิ่งต่างๆ ตามหลักอริยสัจ 4คือ เมื่อเราเจอสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเรา ให้เรารู้จักแยกแยะสิ่งนั้นก่อนว่าคืออะไรในอริยสัจ 4 เมื่อแยกแยะแล้วก็ทำกิจให้ถูกต้อง กระบวนการแยกแยะนี้ เมื่อทำให้เกิดขึ้นได้อยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดญาณหยั่งรู้หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 19 Sep 2023 - 58min - 502 - ศรัทธาด้วยปัญญา-อาการวตีสัทธา [6637-3d]
ศรัทธาที่มีอาการประกอบไปด้วยเหตุผล จะทำให้เกิดการทำจริงแน่วแน่จริงในกุศลธรรมทั้งหลาย คิดใคร่ครวญเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นศรัทธาที่ประด้วยอาการของปัญญา “อาการวตีสัทธา”
ลักษณะของศรัทธาที่ประกอบไปด้วยอาการ “อาการวตีสัทธา”
1. มี 2 มิติ คือ
(1.1) ระดับสมมุติของโลก - ความจริง/ข้อเท็จจริง (fact / fake) สมมุติว่าจริง สมมุติว่าเท็จ
(1.2) ระดับเหนือสมมุติของโลก - สัจจะความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ 4)
*ทั้ง 2 มิตินี้ ต้องปรับให้ตรงกัน อย่าให้มีกิเลส อย่าให้เป็นมิจฉา ให้มีสัมมาทิฐิ / สัมมาสังกัปปะ / สัมมาวาจา
2. ศรัทธานั้นต้องให้เกิดการลงมือปฏิบัติ ทำจริงแน่วแน่จริง
3. ศรัทธาที่มีอาการต้องประกอบไปด้วยปัญญาจากการคิดใคร่ครวญโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ในกาลมสูตร 10 และตามหลักของ “อปัณณกธรรม” ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดจากความเป็นอริยะ คือ ให้ละ วิบัติ 3 ประการ และให้ถึงพร้อมด้วยสัมปทา 3 ประการ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 12 Sep 2023 - 57min - 501 - ปฏิจจสมุปบาท (ตอนจบ)–ปัญญาจักษุ [6636-3d]
สำนวน “ตาบอดคลำช้าง” เป็นคำสอนเชิงเปรียบเทียบไว้กับผู้ที่มีความเข้าใจในบางสิ่งบางอย่างที่อาจยังไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง แล้วอาจทำให้เกิดการพูด วิจารณ์ ทุ่มเถียงกันไปตามความคิดเห็น ความเข้าใจผิดของตน
ส่วนผู้ที่เข้าใจในปฏิจจสมุปบาทนั้น จะไม่มายึดถือในทิฐิของตน จะเข้าใจถึง ความเป็นเหตุ-เป็นผล ความที่อาศัยเหตุปัจจัย แล้วจึงเกิดขึ้น ว่า “บุคคลสามารถที่จะเรียนรู้ แก้ไข เปลี่ยนแปลง ไปตามเหตุและผลผู้ที่มีดวงตาที่มืดบอดมา ก็สามารถพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ทำให้ละเอียด เกิดมีดวงตาที่สว่างเห็นธรรมขึ้นมาได้”
อาการแต่ละคู่ในปฏิจจสมุปบาทนั้น สามารถเกิดขึ้นและดับลงได้ในแต่ละคู่ และเมื่อจะแสดงอาการให้ครบทั้ง 12 อาการ และ 11 คู่นั้น ก็จะแสดงให้เห็นถึงความที่มันเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจนเป็นทั้งสายเกิดและสายดับปฏิจจสมุปบาท
เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกและวุ่นวายอยู่ในขณะนี้ ล้วนเป็นเรื่องราวที่เกิดจากการหวงกั้น ซึ่งมีเหตุเกิดมาจาก <- ความตระหนี่ <- ความจับอกจับใจ <- ความสยบมัวเมา <- ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ <- ปลงใจรัก <- มีการได้มา <- มีการแสวงหา <- มีตัณหา <- เวทนา *ซึ่งถ้าจะไม่ให้มีตัณหา ก็ต้องดับที่เวทนา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 05 Sep 2023 - 57min - 500 - ปฏิจจสมุปบาท–การเกิด และการดับอาสวะ (ตอนที่ 9) [6635-3d]
พระผู้มีพระภาคทรงได้เคยตรัสกับท่านพระอานนท์ไว้ว่า “ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง” ที่มิอาจจะพึงรู้ได้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องอาศัยการพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ให้เห็นด้วยปัญญาเท่านั้น... และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำพระองค์เกิดความท้อใจในการที่จะแสดงธรรม
อย่างไรก็ตาม..เราสามารถปฏิบัติให้มีปัญญาที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นมาได้ด้วยการปฏิบัติตาม “อริยมรรคมีองค์ 8” จะมีนิพพานเป็นที่สุดจบได้
นาฬิกาแห่งปฏิจจสมุปบาท จิตเปรียบเสมือนเข็มนาฬิกาตรงกลางที่ไปทำหน้าที่เข้าไปรับรู้อาการต่าง ๆ ถ้าเราสามารถกำหนดเห็นภาพนี้ปรากฎขึ้นในใจเราได้ เราก็จะเข้าใจกระบวนการทำงานของจิตกับอาการต่าง ๆ ในปฏิจจสมุปบาทได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
การเข้าถึงปฏิจจสมุปบาทเพื่อเข้าถึงการดับอาสวะหรือการทำอาสวะให้สิ้นไปนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติของการเกิดทุกข์ และการดับทุกข์เสียก่อน นั่นก็คือ “อริยสัจ 4” เมื่อจิตที่ประกอบด้วยปัญญา (ปฏิบัติตามมรรค 8 เกิดเป็นมรรคสามัคคีขึ้น) เห็นอริยสัจ 4 ด้วยอาการ 12 แล้ว จะยอมรับ และเข้าใจ เกิดความหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ จะทำอาสวะให้สิ้นไปได้ด้วยกระบวนการนี้ ด้วยการทำย้ำ ๆ ทำซ้ำ ๆ (ทำให้เกิดวิมุตติขึ้นมาบ่อยๆ)
ตัวอย่างการเกิดอาสวะ-ดับอาสวะเช่น:- กลิ่นเหม็นและหอม, ดูซีรี่ย์หนังละคร, การเมือง ล้วนเกิดจากมีผัสสะเป็นเหตุเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาที่เป็นสุข หรือทุกข์ และเกิดตัณหา (อยาก/ไม่อยากได้เวทนานั้น) เพลินไปในสังขาร (การปรุงแต่ง) และวิญญาณ (การรับรู้) ไปเรื่อย ๆ ในแต่ละคู่อาการของปฏิจจสมุปบาทจนเชื่อมโยงเป็นสายเกิดอาสวะ เพราะอาศัยอวิชชาอาสวะจึงเกิด และกระบวนการดับอาสวะคือ เมื่อเกิดเวทนาขึ้นแล้ว เห็นเวทนานั้นด้วยปัญญา ไม่เพลินไปในสังขาร (การปรุงแต่ง) ด้วยการมี “สติ” ในอนุสติ 10 -> สติปัฏฐาน 4 -> โพชฌงค์ 7 อาสวะก็ดับลง “อาสวะเกิดขึ้นได้ก็ตรงเวทนา จะดับอาสวะได้ก็ตรงที่เวทนา”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 29 Aug 2023 - 57min - 499 - ปฏิจจสมุปบาท–ญาณเพื่อความเป็นโสดาบัน (ตอนที่ 8) [6634-3d]
ทุกชีวิตล้วน “รักสุข เกลียดทุกข์” เวทนาจึงเป็นตัวผลักดันให้เกิดการกระทำที่อยาก และไม่อยาก ล้วนมีเหตุเกิดมาจากเวทนาต่าง ๆ “เพราะอาศัยเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา และเพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ” ซึ่งในแต่ละคู่ของปฏิจจสมุปบาทนั้น จะดับที่คู่ไหนก่อนก็ได้คู่ปัจจัยอย่างอื่นที่ต่อเนื่องกันเป็นสายก็จะดับตามกัน
“เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ”ในพระอริยบุคคลที่ยังดำรงธาตุขันธ์อยู่นั้น ยังคงมีเวทนาอยู่เหมือนกัน เพียงแต่มีสติไม่เพลินไปตามเวทนาที่เสวยอยู่นั้น (เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญาในอริยสัจ 4) เมื่อไม่เพลินไปตัณหาจึงไม่เกิดขึ้น สัญญา สังขาร และวิญญาณก็ดับไปตาม
ญาณวัตถุ 44คือ การเอาอริยสัจ 4 ไปใส่ไว้ในปฏิจจสมุปบาทในแต่ละอาการทั้ง 11 อาการ รวมได้ 44 อย่าง เกิดญาณในธรรม (ธัมมญาณ) และ ญาณในการรู้ตาม (อันวยญาณ) คือ การนำธัมมญาณไปสู่นัยยะอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน และกับทุกคน
ญาณวัตถุ 77 คือการนำเอาเหตุเกิดและเหตุดับ 2 ทั้งในอดีต 2 และอนาคต 2 และ ธัมมัฏฐิติญาณ 1 (ความเสื่อม จางคลาย ดับไป) ใส่ไว้ใน 11 คู่ของปฏิจจสมุปบาท รวมได้ 77 อย่าง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 22 Aug 2023 - 58min - 498 - ปฏิจจสมุปบาท–ทางพ้นทุกข์มีซ้อนอยู่ในทุกข์ (ตอนที่ 7) [6633-3d]
วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท และ ในขันธ์ 5ความหมายจะเหมือนกัน แปลว่า การรับรู้ การที่จิตไปทำหน้าที่ในการรับรู้
วิญญาณในขันธ์ 5อยู่ในช่องทางใจ ซึ่งไปทำหน้าที่รับรู้ รูป (อายตนะ) เวทนา สัญญา สังขาร เป็นกองทุกข์ อยู่ในทุกขอริยสัจ
วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทจะเป็นอาการที่แสดงถึงความเป็นเหตุปัจจัยเอื้อต่อกันเป็นคู่ต่อเนื่องกันไปเป็นสายใน 12 อาการ จัดเป็น “อริยสัจที่สมบูรณ์” (คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นได้ทั้งสายเกิดทุกข์ และสายดับทุกข์
จิตในปฏิจจสมุปบาท
เปรียบปฏิจจสมุปบาทได้กับหน้าปัดของนาฬิกามี 12 อาการอยู่ในตัวเลขนั้น และ “จิต” ก็เปรียบได้กับเข็มนาฬิกาที่อยู่ตรงกลางวิ่งไปรับรู้ตามอาการต่างๆ
ปลดล็อก 2 ทาง - เหตุของวิชชา
1. โพชฌงค์ 7 ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ (สติ, ธัมมวิจยะ, วิริยะ, ปิติ, ปัสสัทธิ, สมาธิ, อุเบกขา) มีเหตุเกิดมาจาก <- สติปัฏฐาน 4 <- อนุสติ 10 <- สติ
2. ทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัยของศรัทธา เกิดปัญญา “ภวนามยปัญญา” (ปัญญาที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ) -> ปราโมทย์ -> ปิติ -> ปัสสัทธิ -> สุข -> สมาธิ -> เห็นตามความเป็นจริง -> นิพพิทา(หน่าย) -> วิราคะ(คลายกำหนัด) -> วิมุตติ(พ้น) -> นิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 15 Aug 2023 - 52min - 497 - ปฏิจจสมุปบาท–เหตุเกิดวิชชา และวิมุตติ (ตอนที่ 6) [6632-3d]
พระผู้มีพระภาคเจ้าหลังจากตรัสรู้ได้ใหม่ ๆ ทรงคิดใคร่ครวญในปฏิจจสมุปบาทโดยเริ่มจากทุกข์ว่า “เพราะอะไรหนอมี..ทุกข์จึงมี” ไล่หาเหตุไปเรื่อยๆ จนเจอ “อวิชชา คือ ความไม่รู้” และเมื่อจะบอกสอนต่อก็ได้เรียบเรียงบทพยัญชนะเพื่อให้เกิดความรัดกุมรอบคอบ โดยเริ่มจากสิ่งสำคัญที่สุดคือ “อวิชชา” ไล่ไปเรื่อย ๆ ใน 12 อาการ จะมีลักษณะคล้ายหน้าปัดนาฬิกาที่วนไปเรื่อยๆ อยู่อย่างนั้น (วัฏฏะ)
เหตุเกิดของวิชชา และวิมุตติ
เมื่อใคร่ครวญมาว่า “เพราะอะไรมี อวิชชาจึงดับ” นั่นก็คือ วิชชา “เพราะมีวิชชา อวิชชาจึงดับ” และอะไรเป็นเหตุเกิดวิชชา คำตอบก็คือ วิมุตติและอะไรเป็นเหตุเกิดวิชชา และวิมุตติ นั่นก็คือ“โพชฌงค์ 7”องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม
สติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิดโพชฌงค์
กระบวนการเกิดโพชฌงค์แต่ละข้อเริ่มมาจาก “สติ” เป็นเงื่อนไขปัจจัยต่อกัน เพราะอาศัยสติจึงเกิด -> ธัมมวิจยะ(เฟ้นธรรม) -> วิริยะ -> ปิติ (อิ่มใจ) -> ปัสสัทธิ (สงบระงับ) -> สมาธิ -> อุเบกขา (วางใจเป็นกลาง เห็นตามเป็นจริง) และเหตุเกิดสติปัฏฐาน 4 ก็คือ อนุสติ 10 เป็นกระแสแห่งการ “เกิดวิชชา-ดับอวิชชา”
ทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัยของศรัทธา
ทุกข์มีผล 2 อย่าง คือ จมอยู่กับทุกข์ เพราะมีความหลงไหลเป็นเหตุ หรือ แสวงหาทางออกที่พึ่งภายนอก คือ มีศรัทธาเพื่อให้เกิดการปฏิบัติทำจริงแน่วแน่จริงเป็นกระแสไปจนถึงการดับทุกข์ “ทุกข์จึงเป็นที่ตั้งอาศัยของศรัทธา”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 08 Aug 2023 - 58min - 496 - ปฏิจจสมุปบาท–สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน (ตอนที่ 5) [6631-3d]
“ปฏิจจสมุปบาท”หรือ“ปัจจยาการ”คือ อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันหรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของทุกข์ และการดับทุกข์
ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีองค์ประกอบอยู่ 12 หัวข้อที่เป็นปัจจัยเนื่องอาศัยสืบต่อกันไปเหมือน “หน้าปัดนาฬิกา”นับตั้งแต่อวิชชาถึงชรามรณะ (คือ อวิชชา -> สังขาร -> วิญญาณ -> นามรูป -> สฬายตนะ -> ผัสสะ -> เวทนา -> ตัณหา -> อุปาทาน -> ภพ ชาติ -> ชรามรณะ) การแสดงอาจจะเริ่มต้นที่องค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดในระหว่างก่อนก็ได้ และไม่จำเป็นต้องครบ 12 หัวข้อ
ระบบของปฎิจสมุปบาท
โดยยกองค์ประกอบหัวข้อ นามรูป -> วิญญาณ / วิญญาณ -> นามรูปมาทำความเข้าใจในรูปแบบของทฤษฎี Quantum mind เพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นอยู่ที่ว่าเราหยิบมุมไหนขึ้นมามอง ยกตัวอย่างเช่น :- เหรียญมี 2 ด้าน (หัว-ก้อย) และคนตาบอดคลำช้าง “เมื่อจิตจดจ่ออยู่ตรงไหน นามรูปก็ปรากฎอยู่ตรงนั้น” อย่างในตัวอย่างที่เห็นได้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น :- พ่อแม่และลูกเพราะมีพ่อแม่จึงมีลูก และ Demand & Supply เพราะมีการซื้อจึงมีการขาย
มีนามรูปและวิญญาณจึงมีการการปรุงแต่งเรียกว่าสังขารและเพราะมีความไม่รู้ คืออวิชชา(นามรูป -> วิญญาณ -> สังขาร -> อวิชชา) จึงมีการปรุงแต่งต่อไปเรื่อยๆ การปรากฎแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 01 Aug 2023 - 54min - 495 - ปฏิจจสมุปบาท–ธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น (ตอนที่ 4) [6630-3d]
“ปฏิจจสมุปบาท” ธรรมอันเป็นธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น คือ
เป็นตถตา คือ ความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
เป็น อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,
เป็น อิทัปปัจจยตา คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อาการของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ :-
“เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป และเพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ”
วิญญาณ คือ การเข้าไปรับรู้การกระทบกันของสฬายตนะ
เปรียบกับไม้อ้อสองกำเอามาพิงกันเอาไว้ เมื่อหยิบกำหนึ่งออกย่อมตั้งอยู่ไม่ได้, เปรียบกับการตกกระทบของแสงกับวัถตุ ที่เมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุย่อมเห็นว่ามีแสงและวัตถุ, เปรียบกับกฏของ Quantum mind คือ สิ่ง ๆ เดียวเป็นได้หลายสภาวะอยู่ที่เราจะสังเกตุมองมุมไหน วิญญาณ คือ ผู้สังเกตุ
“เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ และเพราะสังขารดับ วิญาณจึงดับ”
สังขารคือ การปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ
“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร และเพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ”
อวิชชาคือ ความไม่รู้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 25 Jul 2023 - 57min - 494 - ปฏิจจสมุปบาท–ธรรมที่อาศัยกัน (ตอนที่ 3) [6629-3d]
“สรรพสัตว์ล้วนรักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น” จึงแสวงหาแต่ความสุขและไม่อยากได้ทุกข์ แท้ที่จริงแล้วสุขนั้นก็ไม่มี เป็นเพียงแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้น และดับลงแค่นั้นเอง เวทนาทั้งหลายจึงรวมลงที่ทุกข์ คือ ความเป็นไตรลักษณ์
การมาพิจารณาคิดใคร่ครวญอาการของปฏิจจสมุปบาทในแต่ละอาการ แต่ละคู่จนต่อเนื่องสัมพันธ์กันเป็นสาย จะทำให้เรามีความเข้าใจและเห็นถึงความเป็นเหตุ–เป็นผลของธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วจึงเกิดขึ้น จะทำให้เราเกิดปัญญาเป็นวิชชา (ญาณ-ความรู้) ดับอวิชชาได้ (ความไม่รู้ในอริยสัจ 4)
ปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ:- ได้กล่าวถึง 6 อาการแต่ละคู่ไปกันแล้ว คือ ชรามรณะ-ชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา และจะขอกล่าวถึงอาการที่เหลือ ได้แก่
“เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา และเพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ”
ผัสสะ คือ การกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน
เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ใช่สุข-ไม่ใช่ทุกข์ ทางกายและใจ
“เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ และเพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ”
สฬายตนะคือ อายตนะภายนอก และอายตนะภายใน
“เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ และเพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ”
นามรูปคือ กายและใจ
“เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป และเพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ”
วิญญาณคือ การเข้าไปรับรู้การกระทบกันของสฬายตนะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 18 Jul 2023 - 57min - 493 - ปฏิจจสมุปบาท-แต่ละอาการ (ตอนที่ 2) [6628-3d]
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเน้นสอนเรื่องเกี่ยวกับ “ความทุกข์และความดับทุกข์” ดั่งพุทธภาษิตที่ว่า “ภิกษุ ท. ก่อนแต่นี้ก็ดีบัดนี้ก็ดี ตถาคตบัญญัติ (เพื่อการสอน) เฉพาะเรื่องความทุกข์กับความดับแห่งทุกข์เท่านั้น” ปฏิจจสมุปบาท จึงจัดว่าเป็นหัวใจชองศาสนาและเป็นอริยสัจโดยสมบูรณ์เพราะแสดงให้เห็น ”ทุกข์” ด้วยลักษณะเป็นธรรมชาติที่ต่างอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นหรือดับลง กล่าวคือ ต่างอาศัยเหตุเกิด และเหตุดับ
ความหมายของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ :-
“เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ และเพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ”
ชราคือ ความแก่ ความมีผมหงอก หนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ในสัตวนิกายทั้งหลาย
มรณะ คือ การตาย การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย
ชาติ คือ การเกิด การบังเกิด
“เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ และเพราะภพดับ ชาติจึงดับ”
ภพคือ ความเป็นสภาวะ (time & space) ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ
“เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ และเพราะอุปาทาดับ ภพจึงดับ”
อุปาทานคือ ความยึดมั่นในกาม ในทิฏฐิ ในศีล–วัตร และในวาทะของตน
“เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน และเพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ”
ตัณหาคือ ความทะยานอยากในสัมผ้สทั้ง 5 แบ่งเป็น กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
“เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา และเพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ”
เวทนาคือ ความรู้สึกที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 11 Jul 2023 - 57min - 492 - ปฏิจจสมุปบาท (ตอนที่ 1) [6627-3d]
ถ้าเรามีความเข้าใจในทุกข์ ว่า ทุกข์นั้นต่างอาศัยเหตุปัจจัยทำให้เกิดมีขึ้น เราก็จะเข้าใจถึงกระบวนการขั้นตอนในการดับทุกข์ได้เช่นกัน ฉะนั้น เราจึงควรรู้แจ้งว่าความทุกข์นั้นเกิดมาแต่เหตุปัจจัยใดบ้าง
การมาพิจารณาใคร่ครวญธรรมในหัวข้อ “ปฏิจจสมุปบาท” หรือ “อิทัปปัจจยตา” เป็นธรรมที่อาศัยกันแล้วจึงเกิดมีขึ้น คือ “เมื่อมีสิ่งนี้..สิ่งนี้จึงมี และ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี..สิ่งนี้จึงไม่มี” เป็นธรรมที่แสดงกฏของธรรมชาติถึงความเป็นเหตุเป็นผล และความเนื่องสัมพันธ์กัน เป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกันเป็นวงจร เป็นผลให้เกิดความทุกข์ (อนุโลมปฏิจจสมุปบาท) และเหตุที่ทําให้ทุกข์ดับลงไปได้ (ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 04 Jul 2023 - 57min - 491 - ความฉลาดในธาตุ และอายตนะ [6626-3d]
การทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อย จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆ ซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา (ญาณ) รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้น
วิธีการพิจารณใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุคือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆ จนเหลือหน่วยเล็กที่สุด และพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ่ขึ้น
วิธีการพิจารณใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ คือ อายตนะภายใน และภายนอกเชื่อมต่อกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น โดยพิจารณาจากการที่อาศัยเหตุปัจจัยอื่นปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์
เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆ จะเกิด “กุสลตา” คือ ความฉลาดรู้แจ้งชัดซึ่งธาตุ และอายตนะ จะเป็นผลทำให้คลายกำหนัด และปล่อยวาง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 27 Jun 2023 - 58min - 490 - ฐานะที่พึงพิจารณาเพื่อการหลุดพ้น [6625-3d]
ปัญญาการรอบรู้ในทุกข์ของผู้ถึงซึ่งพระนิพพานหรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งได้ว่าเป็นปัญญาของพระอรหันต์นั่นเอง โดยได้ยก“สัตตัฏฐานสูตร” ว่าด้วย ผู้มีปัญญาฉลาดรอบรู้ขันธ์ 5 ในฐานะ 7 ประการ ได้แก่
1. รู้ชัดซึ่ง (รู้ลักษณะ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
2. รู้ถึงเหตุเกิดขึ้นของ รูป...ฯ คือ อาศัยเหตุเกิด
3. รู้ถึงความดับของ รูป...ฯ คือ เมื่อเหตุดับ - ผลย่อมดับ
4. วิธี ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของ รูป...ฯ คือ มรรค 8
5. รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย/ข้อดี)ของ รูป...ฯ คือ สุขที่เกิดขึ้น
6. รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษ/ข้อเสีย)ของ รูป...ฯคือ ไม่เที่ยง
7. รู้ชัดซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องสลัดออก)จาก รูป...ฯ คือ ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 20 Jun 2023 - 56min - 489 - ฐานะที่พึงพิจารณาด้วยกำลังของบัณฑิต [6624-3d]
เมื่อต้องพบเจอสิ่งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ คนพาลย่อมไม่รู้ชัดซึ่งประโยชน์ แต่บัณฑิตจะสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์หรือมีโทษ แล้วกระทำในสิ่งที่ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์นั้น
ได้กล่าวถึงฐานสูตรต่างๆ กล่าวคือ
ฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ 4 ประการ คือ ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจและน่าพอใจเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อโทษหรือประโยชน์
บุคคลมีศรัทธาเลื่อมใสโดยฐานะ 3 ประการ คือ เป็นผู้ใคร่จะเห็นท่านผู้มีศีล ปรารถนาจะฟังพระสัทธรรม ปราศจากความตระหนี่
ฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้ 5 ประการ คือ ขอสิ่งที่มีความแก่, ความเจ็บ, ความตาย, ความสิ้นไป, ความฉิบหายเป็นธรรมดา ว่าอย่าแก่...ฯ เป็นฐานะที่ใครๆ ไม่พึงได้
ฐานะที่ควรพิจารณาเนืองๆ5 ประการ คือ พิจารณาเนื่องๆว่า เรามีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากของรัก เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นไปได้ เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดไว้ ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 13 Jun 2023 - 59min - 488 - ฐานะที่พึงรู้ได้ [6623-3d]
การที่เราจะรู้จักใครสักคนอย่างดีพอนั้น... ไม่ใช่จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่น หรือ จากสิ่งที่เราได้ยินได้เห็นเพียงแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น แต่ต้องอาศัยเวลาในการอยู่ร่วมกันนานพอสมควร รวมถึงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และปัญญา
ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ เราจะรู้ได้ว่าบุคคลนั้นมีศีล สมาธิ และปัญญาจะพิจารณาได้จาก
“ศีล”พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วจะรู้ถึงความมีศีลเป็นปกติหรือมีศีลด่างพร้อยของบุคคลนั้น
“ความบริสุทธิ์”พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ กล่าวคือ เมื่อมีการสนทนาพูดคุยตัวต่อตัว สอง-สามคนบ้าง..ฯ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้อยคำพูดคราวหลังก็ไม่ต่างจากพูดคราวก่อน
“กำลัง”พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กล่าวคือ เมื่อประสบกับโลกธรรม 8 แล้ว มีปัญญาเห็นสภาวะทุกข์นั้นตามความเป็นจริง
“ปัญญา”พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา กล่าวคือ เมื่อสนทนากันแล้วรู้ว่า ท่านผู้นี้มีการตระเตรียมปัญหาที่ตนปรารถนาจะรู้ และสามารถที่จะบอก แสดง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นทั้งโดยย่อหรือโดยพิสดาร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 06 Jun 2023 - 56min - 487 - แก้ปัญหาด้วยสัญญา 7 ประการ [6622-3d]
ตัณหาได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเป็นที่มาของปัญหาต่างๆ ในชีวิตของคนเรา การมาเจริญภาวนาในสัญญา 7 ประการนี้ คือ เมื่อมีการพิจารณาให้มากในสัญญาเหล่านี้ จิตจะไม่หวนกลับกำเริบและมีนิพพานเป็นที่สุด
ปัญหาของตัณหา และกิเลสแก้โดยสัญญา 7 ประการ
ยินดีในเพศตรงข้าม (เมถุนธรรม)แก้โดย พิจารณา “อสุภสัญญา”
รักตัว กลัวตาย (รักชีวิต) แก้โดย พิจารณา “มรณสัญญา”
ติดใจในรสอาหาร แก้โดย พิจารณา“อาหาเรปฏิกูลสัญญา”
ความวิจิตรแห่งโลก แก้โดย พิจารณา“สัพพโลเกอนภิรตสัญญา”
ลาภสักการะ และความสรรเสริญ แก้โดย พิจารณา “ อนิจจสัญญา”
ความเฉื่อยชา เกียจคร้าน ท้อถอย ประมาท ไม่ประกอบความเพียร แก้โดย พิจารณา “อนิจเจทุกขสัญญา” (เห็นความเป็นทุกข์ ในสิ่งที่ไม่เที่ยงทั้งหลาย)
ทิฐิ และมานะ แก้โดย พิจารณา “ทุกเขอนัตตสัญญา”(เห็นความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์นั้น)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 30 May 2023 - 57min - 486 - ประสงค์เพื่อให้สมความปรารถนา [6621-3d]
ได้นำเอา ขัตติยสูตรที่ว่าด้วยความประสงค์ 5 อย่างของบุคคล 6 ประเภท มาอธิบายขยายความ เพื่อให้ทราบถึงความต้องการที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันของบุคคลแต่ละประเภท เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาความเข้าใจ และสานสัมพันธภาพที่ดีในระหว่างบุคคล
เริ่มจากความประสงค์เพื่อให้สมตามสิ่งที่ปรารถนาในบุคคลแต่ละประเภทนั้น ย่อมมีความประสงค์ต้องการเพื่อให้สมความปรารถนาสูงสุด อย่างเช่น
กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี มีความประสงค์โภคทรัพย์ และนิยมปัญญาเหมือนกัน แต่สิ่งที่เสริมกำลังความมั่นใจเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ และให้ถึงความเป็นที่สุดแตกต่างกัน
สตรีนิยมประดับตกแต่งเพื่อประสงค์บุรุษ มีบุตรเป็นกำลัง และไม่ต้องการหญิงอื่นร่วมสามี มีความเป็นใหญ่ในบ้านเป็นที่สุด
โจรนิยมที่เร้นลับเพื่อประสงค์ลักทรัพย์ มีอาวุธเป็นกำลัง และต้องการที่มืด ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นล่วงรู้
สมณะนิยมปัญญา มีความประสงค์ขันติ และโสรัจจะ มีศีลเป็นกำลัง และต้องการความไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีนิพพานเป็นที่สุด
ข้อสังเกตุความต้องการที่เป็นไปเพื่อดับความต้องการมีความเป็นอิสระพ้นจากอำนาจกิเลสเครื่องร้อยรัดมีในบุคคลผู้ที่มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 23 May 2023 - 56min - 485 - ขันธ์ 5 แบบแจกแจง และการทำงานของขันธ์ (ตอนที่2) [6620-3d]
ขันธ์ แปลว่า หมู่หรือกองของรูปกับนามที่แยกออกได้เป็น 5 กอง ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ จัดอยู่ใน “ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ และกิจที่ต้องทำคือ กำหนดรู้ทุกข์
การทำงานของขันธ์ 5 แต่ละขันธ์ เป็นการอาศัยกันและกันเกิดขึ้นของนามรูป และวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ -> ให้เกิดการปรุงแต่ง คือ สังขาร -> สัญญา -> เวทนา -> วิญญาณ และจิตก็เข้าไปยึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตนและก้าวลงตามต่อไปในขันธ์ต่างๆ เพราะด้วยอำนาจความเพลินแห่งนันทิราคะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 16 May 2023 - 59min - 484 - ขันธ์ 5 โดยรวม (ตอนที่ 1) [6619-3d]
“ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐ คือ “ทุกข์” อุปาทาน (ความยึดถือ) ในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสุข หรือ ทุกข์ ต่างอาศัยเหตุเกิด ย่อมเป็นทุกข์ เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา
ขันธ์ 5คือ กองทุกข์ แบ่งออกได้เป็น 5 กอง ได้แก่
“รูป”คือ สิ่งที่แตกสลายได้ เปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“เวทนา”คือ ความรู้สึกที่เกิดจากผัสสะ เปรียบเหมือนต่อมนํ้าเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“สัญญา”คือ ความจำได้หมายรู้ เปรียบเหมือนพยับแดดย่อมไหวยิบยับ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้
“สังขาร”คือการปรุงแต่งให้สำเร็จรูป เปรียบเหมือนการหาแก่นไม้ในต้นกล้วย ไม่พบแม้แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร
“วิญญาณ”คือ การรับรู้ เปรียบเหมือนนักแสดงกลกลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 09 May 2023 - 57min - 483 - วิมุตติสู่นิพพาน [6618-3d]
การที่จะนำธรรมะมาปฏิบัติจนเกิดเป็นผลขึ้นทางปัญญาได้นั้น มีขั้นตอน และกระบวนการในการปฏิบัติ โดยได้ยกหัวข้อธรรม “วิมุตติสูตร” มาอธิบายประกอบการปฏิบัติ เพื่อให้เห็นขั้นตอน และกระบวนการในการหยั่งลงสู่อมตธรรม
ในวิมุตติสูตรนั้นจะประกอบไปด้วยธรรม 5 ข้อ ที่แตกต่างกัน แต่มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นวิมุตติสู่นิพพานได้เหมือนกัน ธรรม 5 ข้อนั้นได้แก่ 1. การได้ฟังธรรม 2. การอธิบายบอกสอน 3. การสัชฌายะ 4. การใคร่ครวญธรรม 5. การทำสมาธิ
กระบวนการสู่การหลุดพ้น มีอยู่ 6 ขั้นตอน เริ่มจาก เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม แทงตลอดด้วยดี -> เกิดปราโมทย์ -> เกิดปีติ -> กายสงบระงับ -> เสวยสุข -> จิตย่อมตั้งมั่น (ฌาน) และเมื่อมาถึง 6 ขั้นตอนนี้แล้วก็เข้าสู่วิมุตติ คือ ความพ้นจากผัสสะ พ้นจากกิเลส เกิดความรู้เป็นวิชชา และวิมุตติ มีปัญญาปล่อยวาง สู่นิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 02 May 2023 - 53min - 482 - คู่ธรรมต่างทิศ [6617-3d]
บางครั้ง..คนเรานั้น ก็มักจะสับสนในธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน จนแยกไม่ออกว่า “ ผลผลิตของธรรมนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไร ”
จึงขอยกธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กันขึ้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมาย และคุณลักษณะของธรรมนั้นๆ อย่างแยบคาย และเพื่อก่อให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิไปสู่พระนิพพานได้
โดยธรรมที่หยิบยกมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลธรรม และ ฝ่ายอกุศลลธรรมเช่น ฉันทะ / ตัณหา, ความเพียร / ความโลภ, ความเมตตา / ความรัก, ปล่อยวาง / ขี้เกียจ, อุเบกขา / ความเฉยเมย, พูดตรงจริงใจรู้กาล / พูดตรงไม่มีมารยาท, ความเห็นอกเห็นใจ / ความเศร้าเสียใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 25 Apr 2023 - 56min - 481 - ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจ-สังคหวัตถุ 4 [6616-3d]
ธรรมะที่ช่วยประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคี ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ให้เกิดความสงเคราะห์กัน เข้าใจกันลงกันได้ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม หมวดธรรมที่ว่านี้นั่นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” อันประกอบไปด้วย
1. ทาน คือ การรู้จักให้ รู้จักเสียสละ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน ไม่พูดหยาบคาย และมีความจริงใจ ไม่โกหกเสแสร้ง ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เแตกร้าว พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์
3. อัตถจริยา คือ การทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย หนักแน่น ให้ความเสมอภาคกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 18 Apr 2023 - 59min - 480 - สติแก้นิวรณ์ [6615-3d]
“นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิ
การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร 4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์ 7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้ เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อให้จิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญา ได้อีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 11 Apr 2023 - 57min - 479 - ผัสสะเครื่องสอบอริยมรรค [6614-3d]
เมื่อเรายังคงมีชีวิต และยังคงอาศัยอยู่บนโลก เราคงหลีกเลี่ยงเรื่องของโลกไม่ได้ กล่าวคือต้องเจอเรื่องราวผัสสะต่างๆ ทั้งสุข และทุกข์เป็นธรรมดา แต่เมื่อเจอผัสสะที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจแล้ว เรามีสติแยกแยะเห็นความไม่เที่ยงในผัสสะต่างๆเหล่านั้นได้หรือไม่ เรายังคงรักษาจิตให้อยู่ในมรรคได้หรือไม่?
ผัสสะจึงเป็นเครื่องทดสอบของนักปฏิบัติที่จะมาเดินตามมรรค ตราบใดที่ยังคงมีสฬายตนะย่อมมีผัสสะเป็นธรรมดา และเมื่อมีผัสสะแล้วก็ย่อมมีเวทนาทั้งสุขและทุกข์ เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นคุณจะหลงเพลินไปกลับเวทนานั้นไหม จะมีอกุศลเกิดขึ้นไหม จะเดินตามมรรคได้หรือไม่
และแน่นอนผัสสะย่อมอาศัยอยู่คู่กับอายตนะนี้ไปตลอดชีวิต และเราก็ย่อมเจอผัสสะไปตลอดชีวิตนี้ด้วยเช่นกัน แต่เราจะอยู่เหนือผัสสะได้ ด้วยการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ใช้สติ สมาธิ และปัญญาใคร่ครวญเห็นตามความเป็นจริงในผัสสะต่างๆ ทั้งหลายที่อาศัยกายนี้เป็นแดนเกิด จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงได้ด้วยปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 04 Apr 2023 - 58min - 478 - วิชชาดับอวิชชา [6613-3d]
ธรรมชาติของมรรค 8เมื่อเราปฏิบัติตามมรรค จะทำให้คลายความยึดถือไปในตัวอยู่แล้ว ความยึดถือ คือ อุปาทานที่มีเหตุมาจากตัณหาที่ถูกอวิชชาปิดบังเอาไว้ อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 เราจะดับอวิชชาได้ ก็ต้องทำวิชชาให้เกิดมี คือ ความรู้แจ้งในอริยสัจ 4 และเส้นทางสู่ความรู้แจ้ง หรือระบบสู่ความดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประกาศชี้ทางไว้ให้แล้ว นั่นคือ “อริยมรรคมีองค์ 8” คือ เส้นทางให้เราหลุดออกจากอ่างวังวนของวัฏฏะนี้ คือ เส้นทางสู่พระนิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 28 Mar 2023 - 51min - 477 - ประตูแห่งอมตะธรรม 11 บาน [6612-3d]
พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคหฤบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ โดยมีเนื้อความดังนี้ว่า “บุคคลเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ มีจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้“
ธรรมอันเป็นประตูแห่งอมตะธรรมที่เมื่อเข้าถึงแล้ว อันได้แก่ รูปฌาน 4 อัปปมัญญา 4 และอรูปฌาน 3 (แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง) ที่เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 21 Mar 2023 - 54min - 476 - มงคลชีวิต 36 #สรุปส่งท้ายชุดมงคลชีวิต [6611-3d]
มนุษย์เรา ล้วนแต่ต้องการสิ่งที่ดีงาม เป็นมงคลแก่ชีวิตของตนทั้งสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ามงคลคืออะไร และอะไรที่เป็นมงคล
มงคล 38 ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นจนถึงเบื้องปลายสูงสุด เมื่อเราน้อมเอามาปฏิบัติย่อมเป็นมงคลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของตน นำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ชีวิต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 14 Mar 2023 - 58min - 475 - มงคลชีวิต 35 #จิตที่ไกลจากกิเลส [6610-3d]
เป็นมงคลชีวิตเบื้องสูงที่เดินทางมาถึง 4 ข้อสุดท้าย เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือ
จิตที่ไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์กระทบก็ไม่ไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพึงพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์กระทบก็ไม่หวั่นไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบไปด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์
จิตไม่โศก(จิตที่บรรลุนิพพานแล้ว) “ความโศกเกิดจากความรัก เพราะมีรักจึงมีโศก” ความรักเปรียบเหมือนยางเหนียวทำให้จิตติดอารมณ์นั้น พอความรักหายไปก็เศร้าโศก จิตของพระอรหันต์ท่านไม่มีรัก เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่โศก
จิตหมดธุลีธุลี คือ ความเศร้าหมองของจิตที่เกิดจากเทือกของกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) จะกำจัดกิเลสได้ก็ด้วย อริยมรรค 8จิตหมดธุลี คือ จิตที่พ้นแล้วจากกิเลส
จิตเกษมเป็นจิตที่ถึงแดนเกษมคือแดนปลอดภัยจากกิเลสเครื่องกวนใจ ตัดเครื่องผูกรัด คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฎฐิโยคะ อวิชชาโยคะ พ้นแล้วจาก ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 07 Mar 2023 - 56min - 474 - มงคลชีวิต 34 #เห็นอริยสัจและทำให้แจ้งในนิพพาน [6609-3d]
ในทางปฏิบัติเราจำเป็นจะต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้หรือเห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้ว
พระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากความทุกข์ความแก่และความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ทรงค้นพบนี้เรียกว่า “ อริยสัจ 4 ”
การเห็นอริยสัจ(ญาณในอริยสัจ 4)ที่แท้จริงนั้นต้องเห็นโดยมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 จึงจะเป็นความพ้นทุกข์ที่แท้จริงคือเป็นจิตที่พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นความแจ้งในนิพพาน
นิพพานธาตุ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอุปาทิเลสนิพพาน คือ ยังมีชีวิตอยู่ อินทรีย์ห้ายังคงอยู่ เสวยเวทนาอยู่ และ อนุปาทิเลสนิพพาน คือ การดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 28 Feb 2023 - 57min - 473 - มงคลชีวิต 33 #การประพฤติพรหมจรรย์ [6608-3d]
มงคลข้อนี้ เป็นการเดินทางจากโลกียะไปสู่โลกุตระ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจครั้งยิ่งใหญ่ เปรียบเหมือนท่าอากาศยานต่อแดนระหว่างภาคพื้นดินกับภาคพื้นเวหา
จิตของคนเราแบ่งภูมิชั้นของจิตได้เป็น 2 ระดับ 4 ภูมิ คือ ระดับโลกิยภูมิ (วนเวียนอยู่ในโลก) ได้แก่ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และ ระดับโลกุตรภูมิ คือ ภูมิจิตของพระอรหันต์
ความสุขจากภูมิ 2 ระดับนี้ก็แตกต่างกัน คือ ความสุขในภูมิโลกีย์เป็นสุขระคนด้วยทุกข์เหมือนจะมีสุขแต่ไม่มี เป็น “จิตวิ่งวุ่น” เปรียบได้กับพยับแดด ส่วนความสุขโลกุตรภูมิเป็นสุขคงที่ ผู้ที่เข้าถึงก็มี “จิตคงที่” เพราะเจอสุขที่เข้าถึงได้
การประพฤติพรหมจรรย์ คือ พยายามกำจัดความรู้สึกทางเพศเป็นการประพฤติตัวอย่างพรหม ในศาสนาอื่นเพื่อเข้าถึงพรหมโลก ส่วนในทางพุทธไปได้สูงกว่านั้น คือบรรลุถึงโลกุตระ
ข้อวัตรพรหมจรรย์มี 10 อย่าง 4 ชั้น คือ ชั้นต่ำ กลาง สูง และชั้นพรหมจรรย์ (สำเร็จอธิสิกขา 3 ) แต่ละขั้นจะมีการรักษาศีลและการปฏิบัติควบกันไปเป็นระยะๆ และเข้มข้นขึ้นตามชั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 21 Feb 2023 - 56min - 472 - มงคลชีวิต 32 #ความเพียรเผากิเลส [6607-3d]
ในพุทธศาสนา การบำเพ็ญตบะ คือ การเพียรเผากิเลส จะมุ่งเน้นมาในจิตใจ ซึ่งศาสนาอื่นนั้น มุ่งเน้นมาในทางกาย
ชนิดของกิเลสนั้น มีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล คือ กิเลสอย่างละเอียด ทำให้เกิดโมหะ เช่น บุญ ทำให้เกิดการยึดถือเมาบุญได้ และฝ่ายอกุศลราคะ โทสะ โมหะ กิเลสทั้งสองชนิดนี้ ทำให้เราเวียนไปสูง-ไปต่ำ วนอยู่ในวัฏฏะ
การบำเพ็ญตบะ จึงจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างยิ่งในการเผากิเลสที่อยู่กับเรามานานให้หลุดลอกออก ถ้าเราอดทนไม่ได้ก็คือ “ตบะแตก” การอดทนนั้นจึงต้องประกอบไปด้วยปัญญา
วิธีทำตบะคือข้อปฏิบัติทั้งหมดที่ฝืนความต้องการของกิเลส ได้แก่ สัลเลขธรรม-การขัดเกลากิเลส และธุดงควัตร 13-การกำจัดกิเลส
ตบะในชีวิตประจำวัน ทำได้ด้วยการ “มีสติ” สำรวมอินทรีย์ มีหิริโอตตัปปะจะเป็นเหตุให้เกิดอินทรียสังวร มีศีล สมาธิ และปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 14 Feb 2023 - 56min - 471 - มงคลชีวิต 31 #การสนทนาธรรม [6606-3d]
ธรรมสากัจฉา หรือแปลกันว่า สนทนาพูดคุยธรรมะ จะต้องมีสองฝ่ายผลัดกันฟัง-ผลัดกันพูดให้เหมาะสมกับกาละ “ผู้พูด”จะต้องมีสัมมาวาจา เป็นวาจาสุภาษิต “ผู้ฟัง”ต้องควบคุมใจให้ฟังเอาธรรมะเข้าสู่ใจ “การสนทนาธรรมะ”จึงต้องรู้จังหวะที่จะพูดที่จะฟัง ต้องระมัดระวัง และต้องคอยควบคุมใจไม่ให้กิเลสออกมาตีกัน
วิธีสนทนานั้น ใช้หลักอยู่ 3 อย่าง คือ สนทนาในธรรม - เรื่องที่สนทนาให้อยู่ในวงธรรมะ ไม่ออกนอกวง สนทนาด้วยธรรม –ไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ มีธรรมะอยู่ในใจ สนทนาเพื่อธรรม – เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้ฟัง และผู้พูด ได้ความรู้ในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
การที่เราจะเข้าถึงธรรมะได้สะดวกนั้น ต้องไม่ติดสมมุติของโลก คือ ใช้หลัก “ธรรมวิจยะ” การเลือกเฟ้นธรรมในการแยกธรรมดี และไม่ดีออกจากกัน เลือกธรรมที่เหมาะสมมาปฏิบัติ และรู้ว่าอะไรเป็นโลกบัญญัติ และอะไรเป็นสัจธรรม จะได้ปล่อยวางบัญญัติโลกได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 07 Feb 2023 - 58min - 470 - มงคลชีวิต 30 #การพบเห็นสมณะ [6605-3d]
สมณะ คือ ยอดคนดีทางธรรม เป็นผู้ที่สงบจากการทำบาป (กิเลส)
การเห็นสมณะจะมีได้ก็ต่อเมื่อเรารู้จักสมณะ ถ้าไม่รู้ ถึงจะเห็นก็เหมือนไม่เห็น อย่างในเรื่องกามนิตที่เที่ยวตามหาพระพุทธเจ้า เมื่อได้พบแต่กลับไม่รู้จักท่าน การเห็นจึงไม่เกิดผล
สมณะจะมีความ “สงบตัว” คือ ไม่แสดงกิริยาร้าย เช่น ทุบตี ทำร้าย ฆ่าฟัน ชิงดีชิงเด่น ไม่ก่อความวุ่นวายไม่ว่าจะเพื่ออะไร,“สงบปาก”คือ ไม่เป็นคนปากร้าย ไม่นินทาว่าร้าย ไม่ตีกันด้วยปาก, “สงบใจ” คือ ใจสงบจากบาป จิตใจเต็มไปด้วยเมตตาไม่เป็นภัยต่อผู้ใด
สมณะนั้น ย่อมไม่ทําอันตรายใคร, ไม่เห็นแก่ลาภ, ฝึกตน กิจวัตรของพระ, บําเพ็ญตบะ ละกิเลส
การเห็นสมณธรรมในสมณบุคคล (เห็นด้วยปัญญา) เป็นทัสสนานุตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) คือ ทำให้เกิดศรัทธา เป็นทางไปสู่พระนิพพาน การเห็นสมณะอย่างถูกต้องแบบนี้จึงจะเป็นมงคล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 31 Jan 2023 - 56min - 469 - มงคลชีวิต 29 #เป็นผู้ว่าง่าย [6604-3d]
“โสวจสฺสตา” ความเป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย บอกง่าย ฟังเหตุผลกัน เหล่านี้เป็นประตูด่านแรกที่มีความสำคัญ ที่จะให้คำสอนอื่นๆ ธรรมะดีๆ เบื้องต้นเข้ามาได้หรือได้ หรือถ้านำมาใช้งานในระดับธรรมะขั้นที่สูงขึ้นไป เช่น ในลักษณะของมงคลที่อยู่ในลำดับท้ายๆ จะเป็นการปรับสภาพเตรียมใจให้พร้อมนำเอาธรรมะเบื้องสูงเข้าสู่จิตใจของเรา
ซึ่งถ้าหัวดื้อแล้วอะไรที่มันจะสอนสั่งอธิบาย มันทำได้ยากไปหมดเลย แต่ก็ไม่ใช่จะทำไม่ได้ เพราะมันจะมีสักเวลาใดเวลาหนึ่งที่เขาจะบอกได้สอนได้ มันเปลี่ยนแปลงกันได้ คือจะมีบางครั้งที่บอกได้ง่าย ถ้าบอกง่ายแล้ว สิ่งดีๆ ความฉลาด มันก็จะเข้าไปภายในได้ ให้เป็นผู้ที่อดทนทำ รับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น มงคลความเป็นผู้ว่าง่ายนี้จึงต่อจากคุณธรรมที่ชื่อว่า“ขันติ” คือ ความอดทนทำตามคำสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนที่บางทีมันก็ทำได้ยาก
ลักษณะของคนที่มีคุณสมบัติของความเป็นผู้ว่าง่าย ดูจากภายนอกที่พอจะเห็นได้ คือ 1) รับคําสอนด้วยดี 2) รับทําตามด้วยดี 3) รู้คุณของผู้ให้โอวาท) ซึ่งบอกง่ายหรือสอนง่ายมันก็ต้องมีการพูดคุย เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการใช้เหตุผลในสิ่งที่บอกหรือสอนนั้น และในการที่จะให้เขามาติเตียน บอกกล่าวบอกสอน ก็ต้องมีเงื่อนไข ซึ่งในธรรมวินัยนี้เราเรียกว่า “การปวารณา”คือ ออกตัวให้บอกสอนได้
ส่วนวิธีการทําให้เป็นคนว่าง่ายนั้นก็คือ การเห็นโทษของความว่ายากและเหตุที่ทําให้ว่ายาก 16 อย่าง และการทำในมงคลข้อต่างๆ ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาทั้ง 27 ข้อ จะทำให้เราเป็นคนว่าง่ายแน่นอน และซึ่งยิ่งถ้าเราเพิ่มสัดส่วนการว่าง่ายในจิตใจของเรา มันก็เป็นการเปิดประตูให้ความฉลาดคือปัญญา ให้คุณธรรมความดีอื่นๆ ต่างๆ เข้ามาได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 24 Jan 2023 - 56min - 468 - มงคลชีวิต 28 #ความอดทน [6603-3d]
ขันติ คือ ความอดทนนั้น คือ การรักษาภาวะปกติไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบอย่างไรก็ตาม เช่น เมื่อถูกกระทบให้ลุ่มหลงก็ไม่ลุ่มหลงไปตาม หรือถูกกระทบให้ไม่พอใจขยะแขยง ก็อดทนอยู่ในสภาวะแบบเดิมไว้ได้
ความอดทนนั้นจะมีลักษณะของความอดกลั้นไว้ไม่คิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่น และตนเองก็มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ด้วย ซึ่งความอดทนไม่เหมือนกับดื้อด้าน หรือเก็บกด เพราะความอดทนนั้นจะต้องประกอบด้วยปัญญา มีความเพียรชำระตัดสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมออกไปจากจิตใจของเรา
ประเภทของความอดทนแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ 1. จากภายนอกกระทบ เช่น อากาศร้อน หนาว 2. จากทุกขเวทนาในกาย เช่น เจ็บป่วย 3. อดทนต่อความเจ็บใจ เช่น คำพูดล่วงเกิน 4. อดทนต่ออำนาจของกิเลส *ซึ่งหมายเอา 2 ข้อหลังนี้
อุบายในการฝึกความอดทน ให้ดูคุณธรรมจาก เตมิยชาดก ปุณโณวาทสูตร เวปจิตติสูตร
เรื่องของความอดทน คือ ขันตินั้น จะทำให้จิตใจของเรามีความก้าวหน้าขึ้นไป เป็นเหมือนการบ่มให้คุณธรรมดีๆ เติบโตได้มากยิ่งขึ้น เป็นคุณธรรมของนักปราชญ์บัณฑิตที่เมื่อรักษาแล้วจะเป็นมงคลในชีวิตของเรานั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 17 Jan 2023 - 56min - 467 - มงคลชีวิต 27 #ฟังธรรมตามกาล [6602-3d]
การฟังอะไรที่ฟังแล้ว ทำให้จิตใจสูงขึ้น ดีขึ้น หมายถึง มีความสงบขึ้น ฟังแล้วทำให้เกิดกุศลธรรมได้เพิ่มขึ้น ดีขึ้น นั่นเป็น การฟังธรรม ซึ่งดูจากประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราเอง กับผู้อื่น และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันนี้ และในเวลาต่อๆ ไป
ฟังธรรมแล้วเข้าใจอรรถะ เข้าใจในธรรมะแล้ว จะบรรลุธรรมเป็นวิมุตติหรือไม่ ก็จะต้องมีปราโมทย์ มีปีติ จิตสงบ มีกายสงบแล้ว มีความสุขในภายใน จิตตั้งมั่น บุคคลที่มีจิตตั้งมั่นมาตามกระบวนการนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว จิตที่ไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นยังละไม่ได้ ย่อมสิ้นไป ย่อมถึงการละได้ ย่อมได้บรรลุธรรมอันเป็นเครื่องเกษมจากโยคะ หมายถึง นิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 10 Jan 2023 - 54min - 466 - มงคลชีวิต 26 #ความกตัญญู [6601-3d]
กตัญญู หมายถึง การรู้คุณ ซึ่งต้องเห็นด้วยปัญญา ส่วนกตเวที หมายถึง การแสดงออก กระทำตอบ แต่ความกตัญญูในที่นี้ เป็นเรื่องของในภายใน คือ รู้คุณ เห็นคุณค่า ของธรรมะในหัวข้อต่างๆ ที่ลึกซื้งลงไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Tue, 03 Jan 2023 - 59min
Podcasts similares a 3 ใต้ร่มโพธิบท
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 1 สมการชีวิต ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ
Otros podcasts de Sociedad y Cultura
- Noche de Misterio Caracol Pódcast
- Humor Voz Populi BLU BluRadio
- Relatos de la Noche Sonoro | RDLN
- Enigmas sin resolver Uforia Podcasts
- La Tertulia RCN Radio RCN Radio
- Música Cristiana Mx Música Cristiana Mx
- Código Misterio Código Misterio
- Javeriana Estéreo 91.9 FM Javeriana919fm
- TED Talks Daily TED
- El Gallo Pódcast Radioacktiva y Caracol Pódcast
- Paranormal Fepo
- BBVA Aprendemos juntos 2030 BBVA Podcast
- EXPEDIENTES PARANORMALES de Esteban Cruz, @Cruzescribiente Cruz Escribiente
- Relatos del lado oscuro Relatos del Lado Oscuro
- Hablemos de vallenato y su historia Jorge Estrada
- Kalimán ramy diaz
- Despertando Dudas Media
- Programa de Música Ranchera con Lalo Catalán Lalo Catalan
- El Antipodcast Dr. Miguel Padilla
- Sex, Love, and Relationships with Chico Martin MOR Entertainment