Filtrar por género

มองอดีต

มองอดีต

Thai PBS Podcast

ฟังเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทยและเพื่อนบ้าน ที่มาที่ไปของบางสิ่งที่อยากรู้ บางอย่างที่ต้องหาคำตอบกับ ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาตร์หน่วยวิชาอารยธรรมไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

560 - มองอดีต EP. 83: ช้างในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลัง พ.ศ. 2475
0:00 / 0:00
1x
  • 560 - มองอดีต EP. 83: ช้างในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลัง พ.ศ. 2475

    หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลคณะราษฎร ได้ฟื้นฟูการทูตสวนสัตว์โดยในปี 2478 โดยได้ส่งช้างไปสานสัมพันธ์ตามคำขอของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ชื่อ พังวันดี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น พังฮานาโกะ แต่ในเวลาไม่นานเกิดอาการป่วยและล้มในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามมหาเอเชียบูรพา) และในยุคที่ญี่ปุ่นกำลังฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลก รัฐบาลไทยได้ส่งตัวแทน คือ ร.อ.สมหวัง สารสาส นำช้างที่มีชื่อว่า พังคชา ไปให้ญีปุ่น จัดแสดงที่สวนสัตว์อุเอโนะ โดยชาวญีปุ่นให้ชื่อว่า พังฮานาโกะ ตัวที่ 2 โดยเดินทางไปในเดือนกันยายน พ.ศ. 2492 และได้ล้มลงในปี 2559 รวมอายุ 69 ปี

    Sat, 30 Oct 2021 - 26min
  • 559 - มองอดีต EP. 82: รัชกาลที่ 5 และ 7 กับการใช้ช้างสื่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

    ในคราวที่สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้มีการสร้างช้างสำริดขึ้นบริเวณอัฒจรรย์ทางขึ้นพระที่นั่ง โดยรัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์เป็น 2 นัยคือ 1. เพื่อทบทวนอดีตของตำแหน่งที่ตั้งของพระที่นั่ง โดยตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 เคยเป็นโรงช้างเผือก 2. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของบ้านเมืองและพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรูปปั้นช้างไปที่ไซ่ง่อน อีกด้วย

    Sat, 23 Oct 2021 - 26min
  • 558 - มองอดีต EP. 81: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการทูตสวนสัตว์

    ในขณะนั้นกลุ่มประเทศตะวันตกได้จัดให้มีการตั้งสวนสัตว์ขึ้น โดยรวบรวมสัตว์จากต่างประเทศทั่วโลกไปจัดแสดง รัชกาลที่ 4 ทรงทราบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีช้างเป็นสัตว์ประจำถิ่น พระองค์มีพระราชหัตถเลขาถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่จะส่งช้างไป 1 คู่ เพื่อจัดแสดงในสวนสัตว์รวมทั้งเพาะขยายพันธุ์ โดยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ได้ตอบปฏิเสธและให้เหตุผลว่า ภูมิอากาศไม่เหมาะกับช้าง รวมถึงพลังเครื่องจักรไอน้ำเริ่มเจริญมากขึ้น นอกจากนี้รัชกาลที่ 4 ยังได้ติดต่อสัมพันธ์กับทางอังกฤษและฝรั่งเศสอีกด้วย

    Sat, 16 Oct 2021 - 27min
  • 557 - มองอดีต EP. 80: พระมหากษัตริย์ ช้างและความสัมพันธ์สมัยต้นรัตนโกสินทร์

    การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติผ่านเรือสินค้าไปยังต่างประเทศ สิ่งที่ยืนยันความเป็นรัฐของเรือแต่ละลำคือการประดับด้วยธง สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้นำรูปช้างเผือกสีขาวติดลงบนธงสีแดง ถือเป็นสัญลักษณ์ของสยาม นอกจากนี้ยังติดต่อค้าขายกับประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 3 มีนโยบายติดต่อการค้ากับสยาม ได้ส่งนายเอดมันต์ โรเบิตส์ มาเป็นทูต พร้อมทั้งนำสารของประธานาธิบดีและเครื่องบรรณาการเข้ามาถวายรัชกาลที่ 3 โดยหนึ่งในเครื่องบรรณาการคือ ดาบและฝักทองคำ โดยฝักทองคำแกะสลักเป็นดวงดาว ด้ามดาบทำเป็นรูปสัตว์ 2 ชนิดคือ นกอินทรีและช้างเผือก ทำให้ทราบว่าขณะนั้นในโลกตะวันตกรู้ว่าสัญลักษณ์สำคัญของสยามคือ ช้างเผือก

    Sat, 09 Oct 2021 - 27min
  • 556 - มองอดีต EP. 79: ช้างกับความสัมพันธ์ต่างรัฐในสมัยอยุธยา

    ช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของชนชาวภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ที่มีความสำคัญโดยได้รับความเชื่อมาจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยเฉพาะช้างเผือก ถือว่าเป็นสัตว์ที่ส่งเสริมพระบารมีของพระมหากษัตริย์ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก เพราะทรงมีช้างเผือกครอบครองจำนวนมาก ความทราบถึงพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์แห่งพม่า พระองค์จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือก แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เหตุผลเชิงปฏิเสธ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองไม่พอพระทัย จึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ท้ายที่สุดแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง โดยได้มอบช้างเผือก พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงครามให้แก่พม่า เหตุการครั้งนี้เรียกว่า สงครามช้างเผือก 

     

    Sat, 02 Oct 2021 - 27min
Mostrar más episodios

Podcasts similares a มองอดีต