Podcasts by Category
- 560 - มองอดีต EP. 83: ช้างในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลัง พ.ศ. 2475
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลคณะราษฎร ได้ฟื้นฟูการทูตสวนสัตว์โดยในปี 2478 โดยได้ส่งช้างไปสานสัมพันธ์ตามคำขอของรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ชื่อ พังวันดี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น พังฮานาโกะ แต่ในเวลาไม่นานเกิดอาการป่วยและล้มในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามมหาเอเชียบูรพา) และในยุคที่ญี่ปุ่นกำลังฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลก รัฐบาลไทยได้ส่งตัวแทน คือ ร.อ.สมหวัง สารสาส นำช้างที่มีชื่อว่า พังคชา ไปให้ญีปุ่น จัดแสดงที่สวนสัตว์อุเอโนะ โดยชาวญีปุ่นให้ชื่อว่า พังฮานาโกะ ตัวที่ 2 โดยเดินทางไปในเดือนกันยายน พ.ศ. 2492 และได้ล้มลงในปี 2559 รวมอายุ 69 ปี
Sat, 30 Oct 2021 - 26min - 559 - มองอดีต EP. 82: รัชกาลที่ 5 และ 7 กับการใช้ช้างสื่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ในคราวที่สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้มีการสร้างช้างสำริดขึ้นบริเวณอัฒจรรย์ทางขึ้นพระที่นั่ง โดยรัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์เป็น 2 นัยคือ 1. เพื่อทบทวนอดีตของตำแหน่งที่ตั้งของพระที่นั่ง โดยตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 เคยเป็นโรงช้างเผือก 2. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของบ้านเมืองและพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรูปปั้นช้างไปที่ไซ่ง่อน อีกด้วย
Sat, 23 Oct 2021 - 26min - 558 - มองอดีต EP. 81: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการทูตสวนสัตว์
ในขณะนั้นกลุ่มประเทศตะวันตกได้จัดให้มีการตั้งสวนสัตว์ขึ้น โดยรวบรวมสัตว์จากต่างประเทศทั่วโลกไปจัดแสดง รัชกาลที่ 4 ทรงทราบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีช้างเป็นสัตว์ประจำถิ่น พระองค์มีพระราชหัตถเลขาถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่จะส่งช้างไป 1 คู่ เพื่อจัดแสดงในสวนสัตว์รวมทั้งเพาะขยายพันธุ์ โดยประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ได้ตอบปฏิเสธและให้เหตุผลว่า ภูมิอากาศไม่เหมาะกับช้าง รวมถึงพลังเครื่องจักรไอน้ำเริ่มเจริญมากขึ้น นอกจากนี้รัชกาลที่ 4 ยังได้ติดต่อสัมพันธ์กับทางอังกฤษและฝรั่งเศสอีกด้วย
Sat, 16 Oct 2021 - 27min - 557 - มองอดีต EP. 80: พระมหากษัตริย์ ช้างและความสัมพันธ์สมัยต้นรัตนโกสินทร์
การติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติผ่านเรือสินค้าไปยังต่างประเทศ สิ่งที่ยืนยันความเป็นรัฐของเรือแต่ละลำคือการประดับด้วยธง สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้นำรูปช้างเผือกสีขาวติดลงบนธงสีแดง ถือเป็นสัญลักษณ์ของสยาม นอกจากนี้ยังติดต่อค้าขายกับประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสัน ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 3 มีนโยบายติดต่อการค้ากับสยาม ได้ส่งนายเอดมันต์ โรเบิตส์ มาเป็นทูต พร้อมทั้งนำสารของประธานาธิบดีและเครื่องบรรณาการเข้ามาถวายรัชกาลที่ 3 โดยหนึ่งในเครื่องบรรณาการคือ ดาบและฝักทองคำ โดยฝักทองคำแกะสลักเป็นดวงดาว ด้ามดาบทำเป็นรูปสัตว์ 2 ชนิดคือ นกอินทรีและช้างเผือก ทำให้ทราบว่าขณะนั้นในโลกตะวันตกรู้ว่าสัญลักษณ์สำคัญของสยามคือ ช้างเผือก
Sat, 09 Oct 2021 - 27min - 556 - มองอดีต EP. 79: ช้างกับความสัมพันธ์ต่างรัฐในสมัยอยุธยา
ช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของชนชาวภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ที่มีความสำคัญโดยได้รับความเชื่อมาจากวัฒนธรรมอินเดีย โดยเฉพาะช้างเผือก ถือว่าเป็นสัตว์ที่ส่งเสริมพระบารมีของพระมหากษัตริย์ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงได้รับการขนานพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก เพราะทรงมีช้างเผือกครอบครองจำนวนมาก ความทราบถึงพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์แห่งพม่า พระองค์จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือก แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เหตุผลเชิงปฏิเสธ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองไม่พอพระทัย จึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ท้ายที่สุดแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง โดยได้มอบช้างเผือก พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงครามให้แก่พม่า เหตุการครั้งนี้เรียกว่า สงครามช้างเผือก
Sat, 02 Oct 2021 - 27min - 555 - มองอดีต EP. 78: พระสยามเทวาธิราช กับ เทพีบริทาเนีย และพระป้ายรัชกาลที่ 4
การสร้างพระสยามเทวาธิราช ของรัชกาลที่ 4 มีต้นแบบของความเชื่อเกี่ยวกับการเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในราชอาณาจักรมาจาก เทพีบริทาเนีย (Britannia) แห่งราชวงศ์อังกฤษ แต่ในขณะนั้นการจะพูดถึงการเป็นศูนย์รวมจิตใจกับประชาชน คงเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจ รัชกาลที่ 4 จึงได้นำความเชื่อเกี่ยวกับการปกปักษ์รักษาเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยได้ยกสถานะพระสยามเทวาธิราชเป็นเทพคุ้มครองปกป้องเมือง ที่อยู่เหนือเทพยดาหลักเมืองและเทพารักษ์ทั้ง 5 คือ เจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี
Sat, 25 Sep 2021 - 27min - 554 - มองอดีต EP. 77: ศาสนาพราหมณ์ - พุทธ กับการยกสถานะผีบ้านผีเมืองในสยาม
ก่อนที่ศาสนาจะเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนอุษาคเนย์ ผีที่ได้รับความเคารพนับถือยังไม่มีการแบ่งชนชั้นหรือลักษณะของผีสาง เมื่อศาสนาและความเชื่่อเกี่ยวกับเทพเทวดาเข้ามามีบทบาทในพื้นที่แห่งนี้ ผีบ้านผีเมืองที่มีลักษณะ หรืออภินิหาญคล้ายคลึงกับเทพ จึงได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นเทพเทวดาปกปักษ์รักษาคุ้มครองป้องกันภัย โดยได้จำแนก 4 - 5 ประเภท
Sat, 18 Sep 2021 - 28min - 553 - มองอดีต EP. 76: ผีบ้านผีเมืองในกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไต-ไทSat, 11 Sep 2021 - 27min
- 552 - มองอดีต EP. 75: กำเนิดความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ
ความเชื่อเกี่ยวกับผีและวิญญาณ เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้น เมื่อความตายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดคำถามว่า “ตายแล้วไปไหน” จึงเกิดเป็นความเชื่อการมีตัวตนของโลกหน้า ส่งผลให้เกิดวิธีปฏิบัติด้วยการนำข้าวของเครื่องใช้หรือเครื่องประดับใส่ลงไปในหลุมศพ ซึ่งจริง ๆ แล้ว สาเหตุนั้นเกิดจากความกลัวและความไม่รู้
Sat, 04 Sep 2021 - 26min - 551 - มองอดีต EP. 74: ชาวต่างชาติกับการแย่งชิงราชสมบัติSat, 28 Aug 2021 - 27min
- 550 - มองอดีต EP. 73: ชาวต่างชาติในอยุธยาพัฒนาเป็นเมืองท่านานาชาติSat, 21 Aug 2021 - 27min
- 549 - มองอดีต EP. 72: อยุธยายุคเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกSat, 14 Aug 2021 - 27min
- 548 - มองอดีต EP. 71: ชาวต่างชาติในศตวรรษแรกของกรุงศรีอยุธยาSat, 07 Aug 2021 - 27min
- 547 - มองอดีต EP. 70: การกัลปนากับความสัมพันธ์เชิงการเมือง
แม้การกัลปนา จะเป็นเรื่องการทำบุญทำทานแต่ยังแฝงไปด้วยการเมืองอีกด้วย ดังเช่นการทำนุบำรุงหรือกัลปนาวัดบริเวณทะเลสาปสงขลา ด้วยการส่งทาสจากเมืองหลวงไปยังพื้นที่ดังกล่าว ทำให้เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชและสงขลา ต่างหวาดหวั่นจนถึงขั้นนอนไม่หลับ เนื่องจากทาสที่ได้จากการกัลปนาจากพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานมา ถือเป็นสิทธิ์ขาดของเจ้าอาวาส ผู้อื่นจะเข้ามายุ่งเกี่ยวไม่ได้ ที่สำคัญทาสเหล่านี้บางส่วนอาจส่งมาในฐานะผู้หาข่าวติดตามความเคลื่อนไหวก่อนจะส่งข่าวกลับไปยังเมืองหลวง
Sat, 31 Jul 2021 - 27min - 546 - มองอดีต EP. 69: การกัลปนากับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ในด้านเศรษฐกิจแล้ว การกัลปนาในที่วัดต่าง ๆ ถือว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากปริมาณในการเพาะปลูกที่มีอยู่จำนวนมาก นอกจากจะใช้เลี้ยงนักบวชและข้าทาสต่าง ๆ แล้ว ยังเหลือที่จะส่งเป็นส่วยเข้าไปในวังหลวง เพื่อเป็นเสบียงใช้ในยามศึกสงครามและนำไปค้าขายกับต่างเมืองได้อีก โดยทรัพย์ที่ได้จากการค้าขายจะมีส่วนหนึ่งที่ส่งกลับไปทำนุบำรุงศาสนสถานนั้น ๆ อีกด้วย
Sat, 24 Jul 2021 - 27min - 545 - มองอดีต EP. 68: การกัลปนาในรัฐบ้านเมืองคนไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18
ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ถือเป็นการเริ่มต้นของรัฐบ้านเมืองที่เป็นคนไทย ธรรมเนียมปฏิบัติที่พระมหากษัตริย์ต้องปฏิบัติคือ การสร้างวัด ไม่ว่าจะสร้างภายในเขตเมืองหรือชายขอบของเมือง จะต้องมีการกัลปนาด้วย ตามปกติแล้ววัดที่สร้าง ณ จุดใด พื้นที่โดยรอบวัด พระมหากษัตริย์จะอุทิศให้ แต่หากภายในเมืองที่สร้างวัดจนแน่น จะใช้วิธีการให้ที่ดินที่อยู่นอกตัวเมืองแทน
Sat, 17 Jul 2021 - 27min - 544 - มองอดีต EP. 67: การกัลปนาในรัฐอาณาจักรโบราณเอเชียอาคเนย์
ในพื้นที่เอเชียอาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดน และยังคงเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ รัฐอาณาจักรเขมร เป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดในการทำกัลปนา โดยพระมหากษัตริย์อาณาจักรเขมรในขณะนั้นนิยมสร้างเทวสถานขึ้น เมื่อสร้าแล้วจะมีการกัลปนา ทั้งที่ดินโดยรอบ สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ และทาส เพื่อปฏิบัติรับใช้ภายในเทวสถานและทำไร่นาเพื่อบำรุงนักบวชและส่งกลับไปยังพระนคร แต่การสร้างวัดเป็นจำนวนมาก ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาได้เช่นที่เมืองพุกาม (เมียนมา) มีการสร้างวัดและเจดีย์จำนวนมาก จนทำให้พระสงฆ์ร่ำรวยกว่าพระมหากษัตริย์ ทำให้ต้องออกพระราชบัญญัติริบทรัพย์คืนท้องพระคลัง เนื่องจากทรัพย์ในท้องพระคลังหมดเกลี้ยง
Sat, 10 Jul 2021 - 27min - 543 - มองอดีต EP. 66: การกัลปนา คืออะไร
การกัลปนา คือการทำมหาทานหรือการอุทิศที่พระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองเมือง เจ้าขุนมูลนาย หรือผู้ที่มีทรัพย์ถวายแก่วัดหรือเทวสถาน เช่น ที่ดินโดยรอบหรือพื้นที่อื่น ๆ พืชพันธุ์ธัญญาหาร สัตว์เลี้ยง หรือแม้กระทั่งทาส ซึ่งกัลปนา เกิดขึ้นมาเป็นเวลาช้านานนับย้อนไปตั้งแต่สมัยอียิปต์ หรือดินแดนเมโสโปเตเมีย ในวัฒนธรรมอินเดียก็มีการทำกัลปนา เช่นกัน
Sat, 03 Jul 2021 - 27min - 542 - มองอดีต EP. 65: สงครามสยามกับเวียดนาม และ รัฐไทยกับบริบทในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
เป็นระยะเวลา 13 ปี กรณีพิพาทการเข้าปกครองกัมพูชาของสยามและเวียดนามในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดความสูญเสียอย่างมาก จึงมีการเจรจาตกลงแบ่งพื้นที่การปกครองกัมพูชาจึงยุติการทำสงคราม ต่อมาในรัชกาลที่ 6 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แม้เหตุการณ์นี้จะเกิดในในทวีปยุโรปแต่สยามเลือกอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร จนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทย โดยเจรจาขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าและหัวเมืองในแหลมลายู อินโดนีเซีย สุดท้ายไทยเข้าร่วมสงครามในครั้งนี้โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่น ในระหว่างนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอักครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และพรรคพวกได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทย เมื่อสิ้นสุดสงครามทำให้ไทยไม่อยู่ในข่ายประเทศแพ้สงครามและไม่ต้องเสียค่าปฏิกรณ์สงครามอีกด้วย โดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาที่ให้การรับรองไทย แม้อังกฤษและฝรั่งเศสไม่เห็นด้วย
Sat, 26 Jun 2021 - 28min - 541 - มองอดีต EP. 64: สงครามกับรัฐมหาอำนาจในแผ่นดินอาคเนย์ (พม่า)
ธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้าผู้ครองนครของรัฐต่าง ๆ อย่างหนึ่งคือ การแสดงแสนยานุภาพและอำนาจของผู้ครองนครนั้น ๆ ต่อเมืองอื่น ๆ โดยรอบ ซึ่งสยามกับพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการทำศึกสงครามกันบ่อยครั้ง การเสียกรุงของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้งมีความแตกต่างกัน โดยการเสียกรุงครั้งที่ 1 นั้น แนวคิดของพม่า ไม่ต้องการทำลายบ้านเมือง เพียงแต่ย้ายเจ้าผู้ครองนครนั้น ๆ กลับไปพร้อมกับทัพพม่า แต่การเสียกรุงครั้งที่ 2 พม่าเริ่มมีแนวคิดการไม่รุกรานแต่หากเป็นปฏิปักษ์ต่อพม่าจะต้องทำลายเมืองนั้นให้สิ้น
Sat, 19 Jun 2021 - 27min - 540 - มองอดีต EP. 63: สงครามของรัฐไทยในยุคต้นและสงครามระหว่างรัฐ
กรุงสุโขทัย เกิดขึ้นได้จากอำนาจการปกครองของอาณาจักรเขมรเสื่อมลง ประกอบกับแนวคิดของการปกครองที่ผ่านไปหลายรุ่นทำให้เกิดการสร้างบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ การทำสงครามในช่วงนี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจากบ้านเมืองที่อยู่โดยรอบ โดยเฉพาะเหตุการณ์สู้รบกับเจ้าเมืองฉอดที่ยกกองทัพล้อมเมืองตากไว้ ทำให้เจ้าเมืองตากต้องขอความช่วยเหลือจากกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกทัพพร้อมด้วย เจ้าราม (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) ไปรบในครั้งนี้ด้วย สุดท้ายแล้วกรุงสุโขทัยก็ถูกรวบเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาแบบเบ็ดเสร็จในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งกรุงศรีอยุธยา
Sat, 12 Jun 2021 - 27min - 539 - มองอดีต EP. 62: ร่องรอยและลักษณะการทำสงครามในยุคก่อนมีบ้านเมืองไทย
การทำสงครามของมนุษย์นั้นเริ่มมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากการศึกษาค้นคว้าทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า การทำสงครามในสมัยโบราณเป็นไปในลักษณะการแย่งชิงหรือครอบครองพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์รวมถึงกลุ่มคนในพื้นที่นั้น ๆ โดยมีปัจจัยมาจากการพัฒนาการของสังคมมนุษย์ เมื่อมีจำนวนมากขึ้น ความต้องการอาหารและพื้นที่ที่อยู่อาศัยจึงมีความต้องการมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการทำสงครามย่อม ๆ
Sat, 05 Jun 2021 - 27min - 538 - มองอดีต EP. 61: วัฒนธรรมการท่องเที่ยวตากอากาศชลบุรี
หากพิจารณาสถานที่ท่องเที่ยวทะเลที่ใกล้ที่สุด คงหนีไม่พ้นจังหวัดชลบุรี นี่จึงเป็นเหตุผลที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย หรือผู้ที่อยู่ในระดับชนชั้นทางสังคมที่สูง มักนิยมมาท่องเที่ยวตากอากาศที่จังหวัดแห่งนี้ แต่ในสมัยนั้น กิจกรรมการท่องเที่ยวไม่เป็นที่นิยมนักสำหรับประชาชน โดยในช่วงการทำสงครามเวียดนาม ทหารจากสหรัฐอเมริกาที่กลับมาผลัดเวรพักสู้รบ มักจะมาท่องเที่ยวพักผ่อนในแถบพื้นที่พัทยาเช่นกัน
Sat, 29 May 2021 - 26min - 537 - มองอดีต EP. 60: จากเมืองท่าโบราณสู่ฐานทัพเรือ ท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรม
ด้วยจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางทะเล รัชกาลที่ 6 มีพระราชดำริให้สงวนพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีซึ่งปัจจุบันเป็นฐานทัพเรือสัตหีบ เนื่องจากเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในด้านการป้องกันประเทศ สืบเนื่องจากเหตุการณ์ในอดีตที่กองทัพเรือฝรั่งเศสเคยปิดอ่าวไทย รวมถึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการค้า เช่นท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรม
Sat, 22 May 2021 - 27min - 536 - มองอดีต EP. 59: ชลบุรีเมืองท่าทางทะเลสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์
หากมองย้อนกลับไป พื้นที่จังหวัดชลบุรีถือเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการติดต่อค้าขาย โดยพื้นที่แห่งนี้มีการทำอุตสาหกรรมเหมืองทอง ป่าไม้ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเขา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าขุนมูลนายได้มีการตั้งกิจการค้าไม้เกิดขึ้นอีกด้วย เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล การค้าขายกับต่างชาติถือว่ามีความสำคัญ โดยได้ค้าขายกับจีน อินเดีย และชาติตะวันตก
Sat, 15 May 2021 - 27min - 535 - มองอดีต EP. 58: อารยธรรมเมืองในเขตจังหวัดชลบุรีปัจจุบัน
ในช่วง 1,000 ปีต้น ๆ ถึง 800 ปี หรือในยุคทวารวดี บริเวณที่ราบลูกฟูกได้เกิดชุมชนต่าง ๆ ขึ้น หลังจากที่ระดับน้ำทะเลได้ลดระดับลง โดยมีการติดต่อกันระหว่างชุมชนเขตภูเขากับทะเล โดยใช้แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำพานทองและแม่น้ำคลองหลวง ในการสัญจรติดต่อค้าขาย โดยในช่วงนี้พบว่าชุมชนแถบนี้เริ่มรับวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาใช้เช่น ระบบการปกครองที่มีกษัตริย์ หรือผู้นำชุมชน แต่ไม่ได้เลือกนำระบบวรรณะมาใช้
Sat, 08 May 2021 - 26min - 534 - มองอดีต EP. 57: พัฒนาการชุมชนมนุษย์ยุคเริ่มแรกในพื้นที่จังหวัดชลบุรี
จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่ราบลูกฟูกและป่าเขา แต่หากย้อนกลับไปในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือยุคสมัยหินใหม่ ชายฝั่งทะเลลึกเข้าไปไกลถึงเขตภูเขา การศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า ชุมชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่เริ่มมีการระบบการปกครองโดยมีชนชั้นทางสังคม เช่น ผู้นำชุมชน คนร่ำรวย ซึ่งชุมชนโคกพนมดี เป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการค้นพบโครงกระดูก “เจ้าแม่โคกพนมดี” ซึ่งสามารถบอกสถานะชนชั้นทางสังคมในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
Sat, 01 May 2021 - 27min - 533 - มองอดีต EP. 56: สงกรานต์ในโลกของชาวอุษาคเนย์
ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อุษาคเนย์ ที่ไม่ใช่หมู่เกาะ ยังคงมีหลายประเทศที่มีเทศกาลสงกรานต์ ได้แก่ ประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, ภาคเหนือของเวียดนาม, มณฑลยูนนาน ประเทศจีน, กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มของเมียนมา และทางตอนเหนือของมาเลเซียที่มีชุมชนชาวไทย โดยในแต่ละพื้นที่จะมีช่วงเวลาของเทศกาลแตกต่างกันไประหว่างวันที่ 13 - 17 เมษายน ของทุกปี
Sat, 24 Apr 2021 - 28min - 532 - มองอดีต EP. 55: พระราชพิธีสงกรานต์ในราชสำนักไทย
การเข้าวัดทำบุญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนนิยมทำบุญในวันที่ 13 เมษายน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเข้าสู่วันปีใหม่ไทยคือวันที่ 15 เมษายนของทุกปี ดังนั้นพระมหากษัตริย์ไทยจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันปีใหม่ไทยในวันดังกล่าว โดยพระราชพิธีนั้นจะมีขั้นตอนที่พระสงฆ์สวดธรรมคาถาตลอดคืนตลอดวันในช่วงปีใหม่ไทย พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ในช่วงเช้าอีกด้วย ธรรมเนียมในราชสำนักดังกล่าว จึงนำมาสู่ประชาชนในการสวดมนต์ข้ามปีในปัจจุบัน
Sat, 17 Apr 2021 - 26min - 531 - มองอดีต EP. 54: ตรุษและสงกรานต์ สู่เทศกาลสงกรานต์
คำว่าตรุษ หมายถึงการสิ้นสุด นั้นคือการสิ้นสุดของปี จึงเรียกว่าวันตรุษ ตรงกับเดือนมีนาคม สอดคล้องกับทางภาคเหนือของประเทศอินเดียซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูหนาว ก่อนจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิในเดือนเมษายน ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ของปี ประเทศไทยรับขนบธรรมเนียมนี้มาด้วยเช่นกัน แต่เนื่องด้วยวันตรุษและวันสงกรานต์ เป็นวันที่มีการเฉลิมฉลองที่ใกล้เคียงกัน พระมหากษัตริย์ไทยจึงมีพระราชดำริให้รวมวันตรุษและสงกรานต์เข้าด้วยกัน เป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์
Sat, 10 Apr 2021 - 27min - 530 - มองอดีต EP. 53: เมษา สังกรันติ คติพระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษ
เวลา เป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ ปัจจุบันมีเครื่องบอกเวลาในหลายรูปแบบ แต่หากย้อนกลับไปในอดีต เครื่องสำหรับการบอกเวลานั้น ต้องดูจากธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์, หมู่หรือกลุ่มดาวที่เทียบเป็นราศีต่าง ๆ และ ฤดูกาลที่เกิดขึ้น ในความเชื่อทางโหราศาสตร์การเข้าสู่ราศีเมษจะดูดวงอาทิตย์เป็นสำคัญ เพราะราศีนี้ถือเป็นการขึ้นต้นปีใหม่ ในเดือนเมษายน ซึ่งวันอาจจะมีการคลาดเคลื่อนในแต่ละปี โดยคำว่า สงกรานต์ ที่ใช้กันในประเทศไทย เพี้ยนคำมาจากคำว่า สังกรันติ อีกด้วย
Sat, 03 Apr 2021 - 26min - 529 - มองอดีต EP. 52: ดอกบัวเลี้ยงชีวิต ธุรกิจสังคมไทยสมัยใหม่
ดอกบัว ไม่เพียงเป็นดอกไม้ที่ไว้บูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังสามารถเป็นอาชีพที่ทำเงินได้อีก เนื่องจากปัจจุบันความต้องการดอกบัวมีเพิ่มขึ้น ทำให้มีกลุ่มเกษตรกรหันมาทำนาบัวกันมากขึ้น เป็นการตอกย้ำถึงความต้องการและแรงศรัทธาของผู้บริโภคที่ต้องการนำดอกบัวไปทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ไหว้พระ หรือประดับตกแต่งสถานที่ ทำให้มูลค่าของดอกบัวเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการของผู้บริโภค
Sat, 27 Mar 2021 - 27min - 528 - มองอดีต EP. 51: ดอกบัวในขนมธรรมเนียมประเพณีไทย
การใช้ดอกบัวในขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย มีหลากหลายโอกาสซึ่งเริ่มตั้งแต่การนำดอกบัวไปร่วมกับการตักบาตรในยามเช้า การนำไปวัดเพื่อบูชาสักการะพระพุทธรูป การใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานบวชนาค นอกจากนี้แล้ว ยังทำให้เกิดประเพณีที่สำคัญของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการด้วย นั้นคือ ประเพณีรับบัว ปรากฎการณ์เหล่านี้ทำให้ดอกบัวมีผลต่อการปฏิบัติและการรับประเพณีวัฒนธรรมของสังคมพุทธในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
Sat, 20 Mar 2021 - 27min - 527 - มองอดีต EP. 50: ดอกบัวกับงานพุทธศิลป์ของไทย
เมื่อกล่าวถึงงานพุทธศิลป์ หรือศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศานาแล้ว มักจะเห็นการนำสิ่งของอันเป็นมงคลหรือตามพุทธประวัติมาประดิษฐ์หรือก่อสร้างออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ดอกบัวก็เป็นหนึ่งในงานที่ช่างศิลป์ต่าง ๆ นำมาทำเป็นงานศิลปะในแนวพุทธศิลป์ ประดับตกแต่งตามคติความเชื่อ หรือเขียนเป็นเรื่องราวผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยมีดอกบัวมาเกี่ยวข้องด้วย
Sat, 13 Mar 2021 - 26min - 526 - มองอดีต EP. 49: ดอกบัวกับความเชื่อของศาสนาในโลก
ดอกบัว เป็นพืชน้ำที่เกิดขึ้นได้มากในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีหลากหลายสายพันธุ์ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพอากาศ เมื่อศึกษาเพิ่มมากขึ้นพบว่า พื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำไนล์ในวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ มีการนำบัวมาประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะพิธีกรรมศพ เพราะมีความเชื่อว่าการนำบัวไปใส่ไว้ในโลงศพที่ทำมัมมี่ จะทำให้ผู้นั้นกลับมาเกิดใหม่ในเร็ววัน ส่วนสังคมพุทธศาสนามีการพูดถึงบัวในพุทธประวัติเกี่ยวกับบัวสี่เหล่าเช่นกัน
Sat, 06 Mar 2021 - 27min - 525 - มองอดีต EP. 48: ความสัมพันธ์ไทย - จีน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการยอมรับระบบทุนนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยและจีนยังคงมีความสัมพันธ์กันเรื่อยมา แม้ในบางช่วงจะห่างหายกันไปบ้าง เนื่องจากเป็นช่วงที่ไทยมีค่านิยมในความรักชาติ เช่นเดียวกับจีนในขณะนั้น ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งมาเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดย เหมา เจ๋อตง จีนมีการปฏิวัติการพัฒนาด้วยการนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยมภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์จีน โดย เติ้ง เสี่ยวผิง ทำให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกในปัจจุบัน (2564) โดยขณะนี้จีนมีแนวคิดในการเป็นราชอาณาจักรกลางของเอเชีย โดยมองว่าประเทศรอบข้าง โดยเฉพาะโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องพึ่งพาจีนได้หลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจหรือเงินลงทุน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดเดิมในสมัยที่จีนยังปกครองในระบบจักรวรรดิอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด
Sat, 27 Feb 2021 - 26min - 524 - มองอดีต EP. 47: ความสัมพันธ์ไทย - จีน สมัยรัชกาลที่ 5 กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีน
รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดคนจีนอพยพ เนื่องจากขยันขันแข็ง หนักเบาเอาสู้ เมื่อคนจีนเข้ามาในสยามมากขึ้น ทำให้เกิดการก่อตั้งชุมชน โรงเรียน ศาลเจ้า และอื่น ๆ อีกมากมายที่อยู่ร่วมกับคนไทย ในช่วงเวลานั้นจีนกำลังประสบปัญหาทางความคิดและการปกครอง ดร.ซุน ยัดเซ็น เข้ามาปราศรัยหาผู้ร่วมอุดมการณ์จากชาวจีนในสยามย่านเยาวราช เพื่อระดมทุนในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งภายหลังก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นประเทศสาธารณรัฐจีนได้
Sat, 20 Feb 2021 - 26min - 523 - มองอดีต EP. 46: ความสัมพันธ์ไทย - จีน สมัยรัชกาลที่ 4
ในรัชกาลที่ 4 เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค้า โดยได้มุ่งเน้นไปที่การค้ากับชาติตะวันตกมากขึ้น เนื่องจากขณะนั้นราชวงศ์ชิงอยู่ในสถานะเสื่อมถอย ทำให้รัชกาลที่ 4 ทรงงดส่งเครื่องบรรณาการให้กับราชวงศ์ชิงของจีน โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัยกับราชทูตที่เผชิญกับโจรสลัด ซึ่งในขณะนั้นจีนกำลังประสบปัญหาทุกภิกขภัยอย่างหนัก ทำให้ผู้ชายจีนต้องอพยพหนีความอดอยากมาเป็นแรงงานสยามในลักษณะ “เสื่อผืนหมอนใบ” เป็นจำนวนมาก ทำงานเพื่อส่งเงินให้ครอบครัวที่จีน แรงงานจีนบางคนสามารถตั้งตนจนกลายเป็นเจ้าของกิจการโรงงานต่าง ๆ ในสยามอีกด้วย
Sat, 13 Feb 2021 - 27min - 522 - มองอดีต EP. 45: ความสัมพันธ์ไทย - จีน สมัยรัชกาลที่ 1 - 3
ในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงเพิ่งก่อร่างสร้างเมือง สยามประสบกับปัญหาการจัดเก็บงบประมาณที่ไม่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่าย การค้าขายกับจีนจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 2 และ 3 สามารถทำการค้าผ่านเรือสำเภาได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ถึงเป็นช่วงหนึ่งที่เศรษฐกิจของสยามทุกชนชั้นมีรายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ศิลปะของจีนมีอิทธิพลอย่างมาก รัชกาลที่ 2 และ รัชกาลที่ 3 จึงมีพระราชนิยมจัดสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ ในรูปแบบผสมผสานระหว่าศิลปะของไทยและจีนอีกด้วย
Sat, 06 Feb 2021 - 28min - 521 - มองอดีต EP. 44: ความสัมพันธ์ไทย - จีน ยุคกรุงธนบุรีSat, 30 Jan 2021 - 26min
- 520 - มองอดีต EP. 43: ความสัมพันธ์ไทย - จีน ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
กว่านับพันปีของประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กับพื้นที่ยลอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีบทบาทในการแผ่ขยายอำนาจตั้งแต่ปฐมบรมราชวงค์เรื่อยมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งในตอนนี้จะเล่าถึงการค้าขายกับจีนที่เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากพระมหากษัตริย์ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาได้ลดความสัมพันธ์การค้ากับชาติตะวันตก จนกระทั่งเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่ 2 ทำให้การค้ากับจีนต้องหยุดลง
Sat, 23 Jan 2021 - 26min - 519 - มองอดีต EP. 42: ความสัมพันธ์ไทย - จีน ยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
กว่านับพันปีของประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กับพื้นที่ยลอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีบทบาทในการแผ่ขยายอำนาจตั้งแต่ปฐมบรมราชวงค์เรื่อยมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งในตอนนี้จะเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสยามจากสุโขทัยสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งจีนได้เข้ามามีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ของ 2 ราชวงศ์คือ ราชวงศ์สุพรรณภูมิและราชวงศ์อู่ทอง ในการก่อร่างสร้างกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีการค้าขายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
Sat, 16 Jan 2021 - 26min - 518 - มองอดีต EP. 41: ความสัมพันธ์ไทย - จีน ยุคกรุงสุโขทัย ล้านนาและราชวงศ์หยวน
กว่านับพันปีของประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กับพื้นที่ยลอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีบทบาทในการแผ่ขยายอำนาจตั้งแต่ปฐมบรมราชวงค์เรื่อยมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งในตอนนี้จะเล่าถึงความสัมพันธ์ของราชวงศ์หยวนกับกรุงสุโขทัยและอาณาจักรล้านนา ที่มีเรื่องการเมืองแทรกแซงเข้ามาจากจีน โดยเฉพาะปัญหาข้อพิพาทต่าง ๆ
Sat, 09 Jan 2021 - 28min - 517 - มองอดีต EP. 40: ความสัมพันธ์ไทย - จีน ยุคก่อนกรุงสุโขทัย
กว่านับพันปีของประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ กับพื้นที่ยลอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีบทบาทในการแผ่ขยายอำนาจตั้งแต่ปฐมบรมราชวงค์เรื่อยมา ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งในตอนนี้จะเล่าถึงความสัมพันธ์ของราชวงศ์จีนที่มีอิทธิพลในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคก่อนเกิดกรุงสุโขทัย
Sat, 02 Jan 2021 - 28min - 516 - มองอดีต EP. 39: บทบาททางการเมืองกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ถือเป็นเกียรติประวัติแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล ที่สำคัญกลับมีบทบาททางการเมืองและความสัมพันธ์ในหรือระหว่างประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ใกล้ชิดในระดับราชวงศ์หรือรัฐบาลของประเทศหนึ่งต่ออีกประเทศหนึ่ง ซึ่งการมองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลต่าง ๆ ย่อมแสดงถึงระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและทางการเมืองได้อีกด้วย
Sat, 26 Dec 2020 - 27min - 515 - มองอดีต EP. 38: ศิลปะกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
พัฒนาการของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีมาอย่างยาวนาน ที่มีต้นแบบมาจากทวีปยุโรปแล้ว สิ่งหนึ่งที่สามารถพบเห็นถึงความแตกต่างของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่ละประเทศ นั้นคือ ศิลปะในการออกแบบเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะการนำค่านิยม ความเชื่อหรือสัญลักษณ์สำคัญของแต่ละประเทศมาออกแบบ ศิลปะที่ใช้ในเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีความสำคัญอย่างไร
Sat, 19 Dec 2020 - 27min - 514 - มองอดีต EP. 37: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในรัชกาลที่ 9
การจัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่รัชสมัย มีทั้งการสืบทอดต่อเนื่องในการจัดสร้าง และสร้างขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับธรรมเนียมหรือค่านิยมในสมัยนั้น ๆ ดังเช่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นใหม่ในรัชกาลของพระองค์เช่นกัน
Sat, 12 Dec 2020 - 26min - 513 - มองอดีต EP. 36: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในรัชกาลที่ 6Sat, 05 Dec 2020 - 26min
- 512 - มองอดีต EP. 35: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในรัชกาลที่ 5
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงรับธรรมเนียมปฏิบัติการจัดสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประเภทต่าง ๆ ตามแบบต่างประเทศแล้ว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดสร้างเช่นกัน ถือเป็นธรรมเนียมการปฏิบัติที่สืบทอดมาแต่รัชกาลก่อน
Sat, 28 Nov 2020 - 27min - 511 - มองอดีต EP. 34: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในรัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเข้าพระทัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวตะวันตกอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ทรงทราบว่าพระมหากษัตริย์ของชาวยุโรปมีประเพณีการประดับเครื่องหมายแสดงพระเกียรติยศที่ฉลองพระองค์ พระองค์จึงทรงมีพระราชดําริที่จะทรงสร้างเครื่องหมายแบบตะวันตกจากรูปแบบของสิ่งที่เป็นมงคลดั้งเดิมของไทย เช่น พลอย 9 ชนิด หรือนพรัตน์ และจากแบบอย่างของตราประทับหนังสือราชการ ซึ่งแสดงถึงเครื่องหมายแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเครื่องประดับสําหรับยศอื่น ๆ เป็นลําดับ
Sat, 21 Nov 2020 - 27min - 510 - มองอดีต EP. 33: วิวัฒนาการเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นเครื่องหมายที่รัฐหรือประเทศที่เป็นราชอาณาจักรหรือสาธารณรัฐ ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบจากการทำคุณประโยชน์แก่รัฐ มีต้นกำเนิดครั้งแรกในทวีปยุโรป โดยย้อนรากฐานไปจนถึงยุคกรีกโรมัน สมัยนั้นใครที่ได้รับเครื่อง จะถือว่าเป็นบุคคลที่มีเกียรติในสังคมนั้น ๆ สำหรับประเทศไทยได้รับธรรมเนียมปฏิบัติแบบนี้ผ่านการติดต่อค้าขายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
Sat, 14 Nov 2020 - 27min - 509 - มองอดีต EP. 32: ทวารวดี เป็นชื่ออะไรกันแน่Sat, 07 Nov 2020 - 28min
- 508 - มองอดีต EP. 31: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่ดินให้เป็นเขตวิสุงคามสีมา พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตร อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และเพื่อแสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์ ต่อมา พระองค์ได้ถวายที่ดินซึ่งพระองค์ขนานนามว่า ดุสิตวนาราม ให้เป็นที่วิสุงคามสีมาเพิ่มเติมแก่วัดเบญจมบพิตร และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เรียกนามรวมกันว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
Sat, 31 Oct 2020 - 27min - 507 - มองอดีต EP. 30: รัชกาลที่ 5 กับวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์
โบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีความสำคัญในการศึกษาเรื่อราวความเป็นมาในสิ่งต่าง ๆ ทั้งวิวัฒนาการทางการเมือง ส้งคม เศรษฐกิจ การโยกย้ายถิ่นฐานของประชากร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเล็งเห็นประโยชน์จากการศึกษาในศาสตร์แห่งนี้ เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างเช่นชาติตะวันตก รวมถึงอีกหลากหลายเหตุผลที่ทรงให้ความสำคัญกับศาสตร์ประเภทนี้
Sat, 24 Oct 2020 - 28min - 506 - มองอดีต EP. 29: รัชกาลที่ 4 กับพระราชดำริการบูรณปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จธุดงค์ไปยังหัวเมืองทางใต้ได้ผ่านและพบองค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อพระองค์ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงมีพระราชดำริให้บูรณปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพระปฐมเจดีย์มีขึ้นมาอย่างยาวนาน สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ในยุคสมัยอาณาจักรทวารวดีอีกด้วย
Sat, 17 Oct 2020 - 27min - 505 - มองอดีต EP. 28: พระเจ้าอู่ทอง นามนี้คือใคร สำคัญอย่างไร
หากเอ่ยพระนาม พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หลายคนจะรู้จักว่า พระองค์คือองค์ปฐมบรมกษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์อู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา แต่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีการค้นพบว่า คำว่า “อู่ทอง” มีการใช้คำนี้อย่างหลากหลายในทุกสารทิศ จึงเป็นคำถามว่า ทำไมคำนี้จึงเป็นที่นิยมในการใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ รวมถึงชื่อบุคคล
Sat, 10 Oct 2020 - 26min - 504 - มองอดีต EP. 27: คลองภาษีเจริญและคลองดำเนินสะดวก
คลองภาษีเจริญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด ใช้เงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นเงิน 112,000 บาท พระราชทานนามว่า “คลองภาษีเจริญ” แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองในปีพ.ศ. 2415
คลองดำเนินสะดวก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) ที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการขุดคลอง ที่เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนจังหวัดสมุทรสาคร กับแม่น้ำแม่กลองจังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ควบคุมดูแล รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นคลองที่มีเส้นตรง ได้รับความสะดวกในการสัญจร จึงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า คลองดำเนินสะดวก
Sat, 03 Oct 2020 - 27min - 503 - มองอดีต EP. 26: คลองสุนัขหอน
คลองสุนัขหอน เป็นคลองที่มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับต่าง ๆ มากมาย แต่เป็นเส้นทาในการเดินเรือที่สำคัญอีกเส้นทางหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จพระราชดำเนินผ่านคลองแห่งนี้ไปยังอัมพวา และยังเป็นเส้นทางที่เดินเรือไปยังจุดต่าง ๆ ของหัวเมืองตะวันตกและทางใต้โดยไม่ต้องออกทางทะเล จึงมีบทประพันธ์นิราศต่าง ๆ มากมาย
Sat, 26 Sep 2020 - 27min - 502 - มองอดีต EP. 25: คลองสนามชัยและคลองโคกขาม
คลองสนามชัย เป็นคลองที่ขุดขึ้นใหม่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากคลองเส้นเดิมมีลักษณะคดเคี้ยว เดินเรือได้ลำบาก เมื่อขุดคลองนี้ขึ้นมา ทำให้การเดินเรือเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น ในอดีตเคยเป็นเส้นทางสำหรับการนำกองทัพไปรบทางเมืองต่าง ๆ ฝั่งตะวันตก สำหรับคลองโคกขาม ในอดีตเป็นคลองที่มีความคดเคี้ยวอย่างมาก เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือสำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญเส้นทาง คลองแห่งนี้มีความสำคัญกับประวัติศาสตร์ของไทย นั้นคือ พันท้ายนรสิงห์
Sat, 19 Sep 2020 - 27min - 501 - มองอดีต EP. 24: คลองบนเส้นทางจากแม่น้ำเจ้าพระยาถึงแม่น้ำแม่กลอง
บริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางของประเทศไทย ไม่ได้มีเพียงแค่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเท่านั้น ยังมีแม่น้ำอื่น ๆ ไหลผ่านด้วย แต่ความพิเศษของแม่น้ำในลุ่มน้ำแห่งนี้คือ แม่น้ำแต่ละแห่งไม่ได้ไหลเป็นเอกเทศ แต่มีการเชื่อมต่อกันระหว่างแม่น้ำผ่านคลองต่าง ๆ ซึ่งมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนั้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่อผ่านคลองระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลอง ที่มีความสำคัญด้านการค้าขาย การเดินทาง และการสู้รบ
Sat, 12 Sep 2020 - 27min - 500 - มองอดีต EP. 23: ผ้าไหมไทย
ผ้าไหม ปัจจุบันเป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งกรรมวิธีในการผลิตเส้นไยและการทอผ้า จนได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในฐานะผู้ผลิตได้อย่างดี ผ้าไหมของไทยมีประวัติมาอย่างยาวนานก่อนจะมีการส่งเสริมการผลิตและการส่งออกอย่างจริงจัง และมีความแตกต่างกับผ้าไหมของประเทศอื่น ๆ ด้วย
Sat, 05 Sep 2020 - 27min - 499 - มองอดีต EP. 22: รูปราชสีห์หรือสิงห์ในงานศิลปะไทยSat, 29 Aug 2020 - 28min
- 498 - มองอดีต EP. 21: เครื่องทรงพระแก้วมรกต
ปัจจุบันพระพุทธรูปไม่ว่าจะองค์เล็กหรือใหญ่ จะไม่มีการประดับเครื่องทรงใด ๆ เว้นแต่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียในการทรงเครื่องตามฤดูกาลต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นพระมหาจักรพรรดิ์ ตามพุทธประวัติที่มีการกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่พระมหากษัตริย์ผู้ทรนงว่าเก่งและดีที่สุดในพื้นปฐพี
Sat, 22 Aug 2020 - 27min - 497 - มองอดีต EP. 20: อิทธิพลศิลปะต่างชาติในศิลปะไทยSat, 15 Aug 2020 - 27min
- 496 - มองอดีต EP. 19: การเมืองเรื่องพระพุทธรูป
ถึงแม้เรื่องศาสนาจะเป็นเรื่องทางธรรม เรื่องการเมืองจะเป็นทางโลก แต่ทั้ง 2 เรื่องกลับแยกจากกันไม่ได้ นับตั้งแต่สมัยโบราณกาล พระมหากษัตริย์หรือเจ้าผู้ปกครองบ้านเมืองแต่ละเมือง เมื่อขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติจะมีการสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์หรือเมือง เพื่อเกิดศึกสงครามระหว่างเมืองหากฝ่ายที่มารุกรานเป็นฝ่ายชนะ ก็สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปประจำพระองค์หรือเมือง ไปประดิษฐาน ณ เมืองของผู้ชนะ หรือเรื่องราวการก่อสร้างพระพุทธรูปที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น พระทรมานมิจฉาทิฐิ ที่สร้างขึ้นหลังจากเรือต่างชาติที่จะเข้ามารุกรานสยามเกิดล่มบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา
Sat, 08 Aug 2020 - 27min - 495 - มองอดีต EP. 18: อโรคยาศาล สถานพยาบาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
จากพุทธศตวรรษ 12 ซึ่งเป็นยุคแห่งการสร้างชุมชนที่มีเทวาลัยในศาสนาฮินดูเป็นศูนย์กลางเมือง มาถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้ทรงนับถือพุทธศาสนามหายาน จารึกปราสาทตาพรหมกล่าวไว้ว่าพระองค์ทรงโปรดให้มีการก่อสร้าง อโรคยศาลา ซึ่งเป็นสุขศาลาหรือโรงพยาบาลไว้ 102 แห่งทั่วราชอาณาจักร และปัจจุบันได้พบจารึกมากกว่าสิบหลักทั้งในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา
Sat, 01 Aug 2020 - 27min - 494 - มองอดีต EP. 17: ภูมิปัญญาสุขอนามัยครัวเรือนของไทยในอดีตSat, 25 Jul 2020 - 28min
- 493 - มองอดีต EP. 16: ปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์แบบผีบอกในสังคมไทย
ประวัติศาสตร์ เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่ทำให้เราสามารถรับรู้เรื่องราวในอดีตผ่านหลักฐานต่าง ๆ เช่น ศิลาจารึก โบราณสถาน พระราชพงศาวดาร ฯลฯ ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว แต่ในสังคมไทย ยังคงปรากฏประวัติศาสตร์อีกรูปแบบที่ไม่มีความน่าเชื่อถือนั้นคือ ประวัติศาสตร์แบบผีบอก ที่เกิดมาจากความฝัน จินตนาการ แล้วนำบุคคลสำคัญในประว้ติศาสตร์มากล่าวอ้างเพื่อความน่าเชื่อถือ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเรื่องราวเหล่านี้มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก
Sat, 18 Jul 2020 - 28min - 492 - มองอดีต EP. 15: การควบคุมโรคติดต่อและโรคระบาดในอดีตSat, 11 Jul 2020 - 27min
- 491 - มองอดีต EP. 14: ปัญหาการทำลายโบราณสถาน
จากกรณีการรื้ออาคารประวัติศาสตร์ บอมเบย์เบอร์มา ที่จังหวัดแพร่ นำไปสู่การวิพากย์วิจารณ์ในสังคมอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับกรณีการทำลายสถานที่ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จากความไม่รู้ ไม่ชำนาญ หรือเพียงแค่ต้องการพัฒนาแต่ไม่รู้หลักการจัดการกับสถานที่โบราณแห่งนั้น ปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขได้อย่างไร เพื่อให้ทุกคนเข้าใจหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับโบราณสถานและโบราณวัตถุ
Sat, 04 Jul 2020 - 27min - 420 - มองอดีต EP. 13: โรคระบาดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและพระราชพิธีอาพาธพินาศ
ประวัติศาสตร์การระบาดของโรคที่เกิดขึ้นในอดีตของไทย นอกจากเกิดในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ในช่วงต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว อีกครั้งที่เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่คือสมัยต้นรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ครั้งนั้นเกิดอหิวาตกโรคระบาดไปทั่วพระนคร มีคนเสียชีวิตจำนวนมากถึงขนาดเผาศพไม่ทันและนำศพไปทิ้งที่ป่าช้าเป็นจำนวนมาก ทำให้พระสงฆ์อยู่วัดไม่ได้ต่างหนีไปจำพรรษาที่อื่น แม่น้ำเจ้าพระยาและคลองสาขาเต็มไปด้วยศพลอยเกลื่อน เหตุการณ์นี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ต้องกำหนดมาตรการควบคุมโรค พร้อมสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนด้วยพระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง แล้วแห่ไปในขบวนพระราชพิธีรอบพระนคร พระราชพิธีนี้แตกต่างจากการสวดไล่โควิด-19 หรือไม่ มาตรการควบคุมโรคแตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร สมัยนั้นมีการล็อกดาวน์พระนครหรือไม่
Sat, 28 Mar 2020 - 28min - 419 - มองอดีต EP. 12: ประวัติศาสตร์โรคระบาดสมัยพระเจ้าอู่ทอง กรุงศรีอยุธยาตอนต้นSat, 21 Mar 2020 - 28min
- 418 - มองอดีต EP. 11: อดีตการบริโภคน้ำแข็งของสังคมไทยSat, 14 Mar 2020 - 27min
- 417 - มองอดีต EP. 10: การบริโภคผักและผลไม้เมืองหนาวในสังคมไทยในอดีตSat, 07 Mar 2020 - 27min
- 416 - มองอดีต EP. 9: เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครSat, 29 Feb 2020 - 28min
- 415 - มองอดีต EP. 8: ห้องครัวหลวง (พระเครื่องต้น)Sat, 22 Feb 2020 - 28min
- 414 - มองอดีต EP. 7: ทำไมประเทศไทยจึงมีปราสาทหินแบบขอมSat, 15 Feb 2020 - 28min
- 413 - มองอดีต EP. 6: การเรียนสายสามัญ อาชีวะ สุขศึกษาและกีฬา สมัย ร.5-ร.6Sat, 08 Feb 2020 - 28min
- 412 - มองอดีต EP. 5: เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีกับการศึกษาไทยSat, 01 Feb 2020 - 28min
- 411 - มองอดีต EP. 4: ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชSat, 25 Jan 2020 - 28min
- 410 - มองอดีต EP. 3: งานบันทึก นิพนธ์ พงศาวดารเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชSat, 18 Jan 2020 - 27min
- 409 - มองอดีต EP. 2: สะท้อนประวัติศาสตร์ ผ่านคำขวัญวันเด็กSat, 11 Jan 2020 - 28min
- 408 - มองอดีต EP. 1: ประวัติศาสตร์อักษรเบรลล์Sat, 04 Jan 2020 - 27min
- 407 - มองอดีต : สมเด็จพระเจ้าตากสิน การสืบทอดโดยชอบธรรมจากราชวงศ์บ้านพลูหลวงSat, 28 Dec 2019 - 27min
- 406 - มองอดีต : แม่น้ำน่านSat, 21 Dec 2019 - 27min
- 405 - มองอดีต : แม่น้ำปิงSat, 14 Dec 2019 - 28min
- 404 - มองอดีต : รัฐธรรมนูญกับการรับรู้ของคนไทยก่อนรัชกาลที่ 7
การรับรู้ของคนไทยเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตย กฎหมายและรัฐธรรมนูญ เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ในหมู่ชนชั้นสูง จากการที่พระมหากษัตริย์เริ่มเปิดประเทศจากการค้าขายกับชาติตะวันตก รวมถึงการส่งพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ แต่คนไทยในสมัยก่อนรัชกาลที่ 7 (ก่อนการปฏิวัติโดยคณะราษฎร) รับรู้เรื่องนี้หรือไม่ อย่างไร
Sat, 07 Dec 2019 - 28min - 403 - มองอดีต : วัดราชสิทธารามราชวรวิหารSat, 30 Nov 2019 - 27min
- 402 - มองอดีต : กองทัพเรือไทยSat, 23 Nov 2019 - 28min
- 401 - มองอดีต : พระคฑาจอมทัพและตำแหน่งจอมทัพไทยSat, 16 Nov 2019 - 27min
- 400 - มองอดีต : พระเจ้าบุเรงนองSat, 09 Nov 2019 - 29min
- 399 - มองอดีต : การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์ไทยSat, 02 Nov 2019 - 28min
- 398 - มองอดีต : งานบุญกฐินในสังคมไทยSat, 26 Oct 2019 - 27min
- 397 - มองอดีต : ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ของไทย หนึ่งในพระราชพิธีที่สำคัญนั้นคือ การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร ก่อนหน้านี้ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครผ่านขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคแล้ว ยังคงต้องเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครผ่านขบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่แม่น้ำเจ้าพระยาด้วย สำหรับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร กับ การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร Credit:Host : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Guest : ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรมRadio Producer & Sound Engineer : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Graphic : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Sat, 19 Oct 2019 - 27min
- 396 - มองอดีต : วิวัฒนาการหอสมุดไทยSat, 12 Oct 2019 - 28min
- 395 - มองอดีต : หอสมุดไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา - รัตนโกสินทร์Sat, 05 Oct 2019 - 27min
- 394 - มองอดีต : 100 ปี ถนนสุขุมวิทถนนสุขุมวิท ถนนหลวงหมายเลข 3 ของประเทศไทยเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร ถึง อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด 100 ปีที่ผ่านมาของถนนสายนี้มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ใครเป็นผู้บุกเบิก แล้วก่อนจะชื่อสุขุมวิท มีชื่อว่าอะไร Credit:Host : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Guest : ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรมRadio Producer & Sound Engineer : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Graphic : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Sat, 28 Sep 2019 - 28min
- 393 - มองอดีต : 333 ปี ความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส (ถนนสยาม)ประเทศไทยกับฝรั่งเศส มีความสัมพันธ์อันยาวนานถึง 333 ปี รัฐบาลฝรั่งเศสจึงตั้งชื่อ #ถนนสยาม ที่เมืองแบร็สต์ แคว้นเบรอตาญ ถนนสายนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อความสัมพันธ์ที่ยาวนานของทั้ง 2 ประเทศ Credit:Host : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Guest : ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรมRadio Producer & Sound Engineer : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Graphic : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Sat, 21 Sep 2019 - 26min
- 392 - มองอดีต : 333 ปี ความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส (โกษาธิบดี (ปาน))ความสัมพันธ์ที่ดำเนินมาตลอด 333 ปี ระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศส มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะการเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เรื่องราวการเดินทางที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)จะเป็นอย่างไร และเหตุใดกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสจึงทรงพอพระทัยเป็นอย่างมากกับคณะทูตนี้ Credit:Host : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Guest : ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรมRadio Producer & Sound Engineer : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Graphic : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Sat, 14 Sep 2019 - 28min
- 391 - มองอดีต : เหตุการเมืองผลัดแผ่นดิน ร.1-ร.2 กบฏเจ้าฟ้าเหม็นเหตุการณ์ในช่วงผลัดแผ่นดินในรัชกาลที่ 1 สู่รัชกาลที่ 2 มีเหตุการณ์หนึ่งที่ถูกกล่าวถึงคือ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนกษัตรานุชิต หรือ เจ้าฟ้าเหม็น พระองค์ถูกกล่าวหาว่าเป็น #กบฏ จากนั้นถูกถอดยศและถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทร์ที่วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ส่วนพระโอรสถูกนำไปถ่วงน้ำที่อ่าวไทยบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่เจ้าฟ้าเหม็นเป็นถึงพระราชนัดดาของรัชกาลที่ 2 และเหตุการณ์นี้ส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับคำว่า #กาคาบข่าว Credit:Host : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Guest : ผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรมRadio Producer & Sound Engineer : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Graphic : เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์Sat, 07 Sep 2019 - 28min
Podcasts similar to มองอดีต
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- สื่อเสียงนิทาน : นิทานเด็กเล็ก Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ