Filtrar por género
- 159 - สมอง เงียบจากความคิด Group Sitting 2024-10-27
เมื่อใดโมเมนต์ไหนที่จิตมันอยู่กับปลายลิ้น
ลมหายใจเนี่ยมันจะหายไปเลย หมายถึงว่าลมจะเบา
ที่ลมเบาเพราะว่าความคิดไม่ปรากฏ
ปริมาณความคิดกับปริมาณของลมหายใจจะสัมพันธ์กันเสมอทุกระดับชั้น
ของสมาธินะ
เมื่อปริมาณความคิดลดลงด้วยอุบายใดอุบายหนึ่ง
ลมหายใจก็จะลดลงด้วย
เป็นไปโดยอัตโนมัตินะ
ปิยทัสสี ภิกขุ
============
นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม
Group Sitting 27-10-2024
พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี
ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน
=========
ปุจฉา : วิสัชนา
ก่อนที่จะมีสภาวะของวิมุตติญาณทัสสนะปรากฏในระดับการบรรลุธรรมขั้นสุดท้าย
เรียกว่าอรหัตตมรรคญาณปรากฎ
แล้วก่อนที่วิมุตติญาณทัสสนะจะปรากฏ
ก็จะมีธรรมจักร ธรรมจักรก็คือการเห็น
เอาง่าย ๆ ก็คือสภาวะของวิญญาณธาตุนะ
วิญญาณธาตุ
ก่อนที่จะพูดถึงตรงนี้ก็เราก็ต้องไปที่พระสูตรนะ
ยกตัวอย่างพระสูตรพระองค์ท่านตรัส
ว่าเมื่อวิญญาณรับรู้อารมณ์แล้ว
หากว่ามีนันทิความเพลินเข้าไปประกอบกับการรับรู้ ในอารมณ์นั้น
นั่นคือที่ตั้งแห่งภพ
พระองค์ท่านไม่ตรัสนะว่า ความเพลินนี้ตั้งอยู่ในเวทนา
ในสัญญา ในสังขาร !
พระองค์ท่านตรัสความเพลินนี้เป็นปรากฏการณ์
เป็นสภาวะที่ วิญญาณรับรู้อารมณ์
ความเพลินเข้าไปประกอบด้วยนั่นคือที่ตั้งแห่งภพ
วิญญาณเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์
กรรมที่กระทําแล้วเปรียบเสมือนพื้นดิน
แล้วเมล็ดพันธุ์นี้มีพีชะ หากว่ามีความชื้นหรือตกลงบนพื้นดิน
มันก็พร้อมที่จะงอกเป็นต้นใหม่
มันมีพีชะอยู่ในนี้ มียางเหนียว มีสิ่งมีชีวิต
อยู่ในเมล็ดพันธุ์นะ
อันนี้ก็คือตัว "ตัณหา"
Mon, 11 Nov 2024 - 59min - 158 - สังโยชน์ ๑๐ Group Sitting 2024-10-20
...
ปรากฏว่าเมื่อมันถึงจุดเต็มรอบแล้ว
พอจิตเคลื่อนเข้าสู่ฌานที่หนึ่ง เคลื่อนไปสู่ฌานที่สอง
ดํารงอยู่ในฌานที่สาม ยกตัวอย่างนะในฌานที่สาม
แทนที่จะเคลื่อนขึ้นไปฌานที่สี่ ไม่แล้ว!
ฌานที่สี่นี้เป็นบาทฐานให้กับการบรรลุ
คือการดับสิ้นสุดลงของรูปและนามก็ปรากฏนะ
นั่นแสดงว่า
อนาคามีมัคคญาณมีตติยฌานเป็นบาทฐาน
ทํากิจเป็นสัมมาสมาธิเกิดร่วมกับตัวปัญญาพละวิปัสสนาพละ
หลักโดยสภาวะนั้นมีอยู่ว่า เมื่ออนาคามีมรรคเกิดแล้ว
เกิดขึ้นเพียงขณะเดียวใช่ไหมอย่าลืมนะเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว
มีคุรุบางท่านบอกว่ามันเกิดขึ้นเพียงวินาทีนั่นเอง
แต่ในทางอรรถกถาของทางวิสุทธิมรรคเกิดเร็วกว่านั้นอีก
เร็วยิ่งกว่าแสงอีก ก็ไม่เป็นไรแต่ว่าเร็วก็แล้วกัน
อนาคามีมัคคญาณเกิดขึ้นแล้วดับไป
ญาณทัสสนะจะปรากฏสืบต่อทันทีเลยนะ ทันทีเลย
ญาณทัสสนะจะเกิดหลังจากที่จิตดวงนั้น
ได้ดับกามราคะปฏิคะได้แล้ว
ผู้ที่ยังดับกามราคะดับความยินดีในกามไม่ได้ญาณทัสสนะจะยังไม่เกิดนะ
เพราะฉะนั้นญาณทัสสนะจะเกิดครั้งแรกก็คือหลังจากที่อนาคามีมัคคญาณดับไป
เกิดขึ้นปุ๊บแล้วดับไป เพียงขณะเดียวแล้วดับไป อย่าลืมนะ
มัคคญานซึ่งมี 4 มรรคด้วยกันในสังสารวัฏนี้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนั้นเป็นผล อนาคามีผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล โสดาปัตติผล
ที่เราเคยได้ยินก็คือ ไปเสวยนิพพาน
ไปเสวยสภาวะที่ตัวเองได้บรรลุแล้วดังปรารถนา
เรียกว่าผลญาณ ถ้าได้ดังปรารถนาเรียกว่าผลสมาบัติ
ปิยทัสสี ภิกขุ
============
นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม
Group Sitting 20-10-2024
พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี
ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน
=========
ความสัมพันธ์นั้นเป็นกระจกเงาที่สะท้อนภาพลักษณ์ตัวตนของแต่ละคน
สะท้อนซึ่งกันและกัน อีกอย่างการเติมเต็มนั้นไม่มีที่สิ้นสุดนะ
แท้ที่จริงมันไม่มีนะตัวตนตัวนี้
พอไปถึงจุดจุดหนึ่ง
ความสงสัยเอ๊ะฉันเคยเติมเต็มกับตัวตนในเรื่องนี้ ด้วยวิธีนี้
ด้วยความสัมพันธ์นี้ด้วยกิจกรรมนี้ ด้วยความเชื่อแบบนี้
มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยเรื่อย
พฤติกรรมที่เราหาอุบายวิธี ที่เราไปเติมเต็มเขาเรียกว่า
ศีลพตปรามาส
Thu, 31 Oct 2024 - 2h 11min - 157 - รู้โดยอาการอย่างไร เพื่อให้รู้ชัดซึ่ง "กาย เวทนา จิต ธรรม" Group Sitting 2024-10-13
ความรู้สึกที่พึงพอใจที่อิงตั้งอยู่ในสุขเวทนา
ความรู้สึกที่หงุดหงิดปฏิคะขุ่นเคือง โทมนัสที่ตั้งอยู่ในความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ทุกขเวทนา
นี้เป็นเหตุ ตัวนี้แหละที่เป็นตัวร้อยละจิตให้ติดอยู่ในอารมณ์ของโลกล่ะ
----------------
วิปัสสนานั้นไม่ว่าจะอยู่กับรูปหรือกับนาม
หลักสําคัญคือให้เห็นการเคลื่อน
เห็นการเปลี่ยนแปลงของลม
ยาวหรือสั้น หยาบหรือละเอียด
ปรากฏอยู่เพียงชั่วขณะสลายไป
ขณะใหม่มาแทนที่แล้วสลายไปเห็นความสืบต่อ
ของลมหายใจเข้าและออกอยู่แบบนี้
นี่ชื่อว่าเห็นการเกิดเห็นการดับ
ระลึกรู้เท่าทันเมื่อจิตเคลื่อนออกจากลมหายใจ
ออกจากฐานกายไปสู่โลกของความคิดนึก
รู้ชัดว่าในความคิดที่ผ่านไป
เป็นความคิดที่อิงอารมณ์อดีตหรืออนาคต
เป็นความคิดที่มีความสุขหรือทุกข์หนึ่งใดมาอิงแอบอยู่มาตั้งอยู่ประกอบอยู่
หรือว่ามีความคิดที่มันประกอบไปด้วยความพึงพอใจไม่พึงพอใจ
รู้ชัดอย่างใดอย่างหนึ่ง
แล้วก็กลับมารู้ชัดที่การเคลื่อนของลมหายใจ
นี่แหละเค้าเรียกว่า "รู้ชัด"รู้ชัดในมหาสติปัฏฐาน
ก็คือรู้ซึ่งความเกิดรู้ซึ่งความดับนั่นเอง
ปิยทัสสี ภิกขุ
============
นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม
Group Sitting 13-10-2024
พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสีศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน
=========
Mon, 21 Oct 2024 - 52min - 156 - นิพพาน เป็นอัตตาหรืออนัตตา Group Sitting 2024-10-06
" ถ้าท่านไม่เห็นสภาวะของความเป็นอนิจจัง ท่านจะหยั่งลงในอนัตตาได้อย่างไร "
ชัดเจนนะ อนัตตาไม่มีสภาวะหรอก
มันบังคับไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ บังคับที่มันไม่เที่ยง ให้เที่ยงได้ไหม ?
จากสุขให้เป็นสุขอยู่อย่างนี้อย่าให้เป็นทุกข์ได้ไหม ?
ที่บังคับไม่ได้นี่คือกําลังนิยามคําว่า “อนัตตา”
แล้วพระสูตรว่า "ภิกษุทั้งหลายสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์"
อันนี้ชัดมากนะ พระองค์ท่านกําลังโฟกัส
กําลังพูดถึง ให้ความสําคัญเรื่อง “เวทนา”
แล้วอะไรเป็นเหตุผลพระองค์ถึงเน้นย้ำเรื่องเวทนา
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ?
คำว่าป็นทุกข์ แสดงว่า
มันเปลี่ยนสถานะจากอุเบกขามาเป็นทุกข์
จากสุขเวทนามาเป็นทุกขเวทนา
เพราะมันเปลี่ยนแปลงไง
กฏแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กําลังไหลไป
ที่ครอบงํารูปและนาม และสสารพลังงานทุกระดับชั้น
จะมีใครมั้ยที่จะมีอํานาจไปควบคุมสิ่งเหล่านี้มิให้เปลี่ยนแปลง
เพราะควบคุมไม่ได้ จึงมิใช่ตัวตนในสภาวะ"อนัตตา"
ถ้าพูดถึงสภาวะอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา เรากําลังพูดถึงในเนื้อหาของ"ขันธ์"นะ
ธรรมทั้งปวงเป็นอัตตาหรืออนัตตา ? เราเลยขอบเขตนิยามนี้ไปแล้ว
ว่าสภาวะนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตานะ
เราอย่าลืมว่า อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตานี้
พระองค์ท่านสื่อว่าเป็นกฏของ "โลกของรูปและนาม"
ถ้าข้ามพ้นรูปและนามไป อนัตตาก็ไม่เกี่ยวโยงแล้ว
ข้ามพ้นรูปและนาม สภาวะที่ไม่มีรูปและนามปรากฏ
ไม่มีการจุติและอุบัติ จะไม่นิยามว่าเป็นอัตตาหรืออนัตตา
เพราะข้ามพ้นกาล ข้ามพ้นขอบเขตของของขันธ์ไปแล้ว
คนที่ไม่เข้าใจสภาวะก็จะมาถกกันเรื่องนี้แหละ
นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา
อัตตาหรืออนัตตา พระองค์ท่านนิยาม
ในขอบเขตของ"รูปและนาม"เท่านั้นนะ อย่าลืม !
ปิยทัสสี ภิกขุ
============
นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม Group Sitting 06-10-2024
พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี
ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน
=========
https://youtu.be/qpjqdq7yRRY
Thu, 17 Oct 2024 - 1h 52min - 155 - ปฏิปทากำหนดรู้อาหาร 4 "เพื่อความหลุดพ้น" Group Sitting 2024-09-29
โดยอาศัยอุบายที่พระอาจารย์บอกไปแล้ว หนึ่งในอุบายนั่นก็คือทําความรู้สึกที่ปลายลิ้น เมื่อเราทําความรู้สึกที่ปลายลิ้น ความเพลินอันเป็นกามฉันทะในรสจะไม่เกิดขึ้น 01:45:03 เมื่อความเพลินไม่เกิด ตัวตัณหาก็ไม่เกิดไม่หยั่งลงเวทนา ยังมีอยู่ไหมนี่ ความสุขความทุกข์ ? ความสุขอันเกิดจากการรับรู้อารมณ์นี้จากการกิน ? มี เป็นการรับรู้โอชารส แต่ไม่มีความเพลินเพราะอะไร อาศัยอุบายปลายลิ้นสัมผัส มีผู้ปฏิบัติบอกว่าความฟุ้งซ่านนี้ ตัวผัสสะ ตัวเจตนา ที่มันหยั่งลงในเวทนา ทุก ๆ กระบวนการของการรับรู้อารมณ์นี้เกิดขึ้นตอนเดินนะ พระอาจารย์ก็บอกเอาเลย แต่ในชีวิตประจําวันของเรา ที่เราเดินอยู่ ขับรถอยู่ อะไรต่าง ๆ น่ะเอาความรู้สึกไว้ที่ปลายลิ้นตลอดเลย เขาบอกเห็นความอัศจรรย์มาก ทุกครั้งที่อยู่กับปลายลิ้น มันจะตัดกระแสของของตัวเจตจํานงนี้ไปเลย เจตจํานงที่มันจิกลง หยั่งลง ที่เกาะเกี่ยวในสุขเวทนานี้อยู่ เรามาอยู่ในภูมิมนุษย์นะ เราทานอาหารหยาบ ซึ่งวันหนึ่งก็ไม่เกิน 5 รอบ บางคนอาจจะมีรอบที่ 6 ที่ 7 นักบวชก็สองมื้อ แล้วความรู้แจ้งเห็นจริงอันเป็นอานิสงส์ ที่เกิดจากการเอาความรู้สึกไว้ที่ปลายลิ้น อันเกิดจากกระบวนการที่เราอาศัยการบริโภคอาหาร เริ่มต้นที่ตรงนี้ แล้วอาหารเหล่าอื่น ผัสสาอาหาร มโนสัญเจตนาหารและวิญญาณาหารจะแจ่มแจ้งไปโดยปริยาย จะแจ่มแจ้งไปโดยอัตโนมัติ จะเป็นไปเอง . ปิยทัสสี ภิกขุ ============ นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม Group Sitting 29-09-2024 พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน =========
Fri, 04 Oct 2024 - 1h 57min - 154 - การรับรู้ในระดับควอนตัม Group Sitting 2024-09-22
01:02:39
สัญญาในระดับกามภูมิ
"กามสัญญา" คือจิตจะท่องเที่ยวไปในโลกของความทรงจํานะ
อย่างที่เรานั่งอยู่
มีความครุ่นคิดนู่นนั่นนี่ แท้ที่จริงจิตนี้ท่องเที่ยวไปในโลกของความจำ
ไปในโลกของเวลา
ซึ่งพื้นที่ของความจํานั้นก็อยู่ในขอบเขตของ
ความจําในอารมณ์ที่ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
เรียกว่า"กาม" รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส
เขาเป็นกามคุณนะ
แล้วสัญญาความทรงจํานี้เข้าไปจําอารมณ์ที่ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า
เรียกว่ากามะ-สัญญา
ให้เราสังเกตนะต่อให้ฟุ้งระดับไหน
สงบระดับใด สุขระดับไหน ทุกข์ปานใดนะ
การรับรู้นี้จะอยู่ในขอบเขตในอารมณ์ที่ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้าเท่านั้น
เมื่อใดที่จิตได้ถูกฝึกฝนดีแล้วระดับหนึ่ง
จิตจะเคลื่อนจากการรับรู้ในระดับกามสัญญา
ไปสู่รูปสัญญา ตัวนี้แหละ
ในระดับรูปสัญญาที่จะสัมพันธ์กับการรับรู้ในระดับควอนตัม
ถ้าเราได้ยินได้ฟังเป็นผู้ศึกษามาบ้าง
เราก็จะรู้ว่าการรับรู้ในระดับฌานจิตนั้นน่ะ
เราอย่าลืมว่าฌานจิตเนี่ย รูปสัญญาหมายถึงว่าตัวเอกัคคตา เจตสิกตัวนึง
วิตกวิจารณ์ปีติสุขเอกัคคตา
จะทำกิจ ทําหน้าที่ ตรึงจิต ผูกจิต ให้อยู่กับกาย
กายที่เป็นองค์ประกอบจากดินน้ำไฟลมนะ
เมื่อความเป็นหนึ่งตั้งอยู่ เป็นหนึ่งเดียวกับฐานกายแล้ว
ซึ่งมีอยู่ 6 ระดับด้วยกันนะ 6 ระดับก็คือ
ขณิกะสมาธิ อุปจาระสมาธิ สองแล้วนะ
กับอัปปนาสมาธิก็คือ รูปฌานทั้ง 4
ก็จะมี 6 ระดับด้วยกันสภาวะความเป็นหนึ่ง
ความเป็นหนึ่งมีอยู่ 6 ระดับด้วยกันที่จะผูกจิต ตรึงจิตไว้กับจุดต่าง ๆ บนเรือนกาย
ตั้งแต่ปลายสุดของกระดูกก้นกบหรือว่าปลายสุดของกระดูกไขสันหลัง
ใครที่อยากจะทราบรายละเอียดนี่ก็ให้ไปดูในคลิปอื่นที่ผ่านมาที่พระอาจารย์พูดถึง
เรื่องพลังแห่งความเป็นหนึ่งของตัวเอกัคคตา
เมื่อความเป็นหนึ่งได้ผูกจิต จิตจะจดจ่อเป็นหนึ่งเดียวกับรูป กับฐานแต่ละฐาน
นั่นหมายถึงความเป็นหนึ่งก็จะโฟกัสเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับจุดศูนย์กลางของอะตอมนะ
ฌานที่หนึ่ง ฌานที่สอง ฌานที่สาม เมื่อจิตเข้าไปสู่ขอบของอะตอม
เราก็จะเห็นคลื่น เข้าไปสัมผัสกับคลื่น คลื่นของอะไร
บางคลื่น
จะส่งผลให้มีความรู้สึกว่าเป็นปิติ
บางคลื่นสูงขึ้นมาอีกก็จะเป็นสุขอย่างนี้
เมื่อใดที่จิตเคลื่อนเข้าไปสู่จุดศูนย์กลางของนิวเคลียส นิวเคลียสนี่เราไม่ลืมเลือนนะจะอยู่ตรงกลางระหว่างบวกกับลบ
ความรับรู้ตอนนั้นจะเป็นอุเบกขานะ จะเป็นอุเบกขา
อันนี้แหละที่ว่าการรับรู้ในระดับควอนตัมละ
นี่ยังเกี่ยวเนื่องกับลมหายใจอยู่ ยังสืบเนื่องด้วยดินน้ำไฟลมอยู่ซึ่งเป็นธาตุ
ซึ่งธาตูในองค์ความรู้ทางพุทธศาสนาจะมี 6 ธาตุด้วยกัน
มี ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ
เมื่อจิตเคลื่อนเข้าไปสู่ระดับรูปฌานที่ 4 ก็คือฌานที่ 4
ธาตุลมนี้ดับแล้วนะ ธาตุลมหมายถึงว่าลมหายใจเข้าหายใจออกทางช่องจมูกนะ
จิตที่จะรับรู้ลม จิตจะเหนือลมละ
แล้วไปไหนล่ะ จิตก็จะเคลื่อนเข้าสู่ธาตุที่ 5 คืออากาศธาตุ
เข้าไปสู่ขอบเขตของอากาศธาตุ
จากธาตุที่ 5 จิตก็เคลื่อนไปอีกคือธาตุที่ 6 ก็คือวิญญาณธาตุ
เราไม่ลืมเลือนนะองค์ความรู้
ที่เราได้เคยได้ยินได้ฟังมาวิญญาณนั้นเป็นสภาวะที่
ตั้งอยู่อิงอาศัยอยู่ในระดับนิวเคลียสของอะตอม
วิญญาณธาตุนะ วิญญาณธาตุ
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Fri, 27 Sep 2024 - 1h 53min - 153 - ความสุขที่ไม่ต้องแสวงหา Group Sitting 2024-09-15
ความคิดคือกิจกรรมทางสมอง ที่ตอบสนองแรงปรารถนา
เมื่อเราละคลายอารมณ์ ความคิดก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป
.
เราเสพติดในความสุขอันเกิดจากกาม จึงมองไม่เห็นอุเบกขา
.
ผู้ที่ไม่เล่นเกมส์กับชีวิตเลย ไม่เล่นเกมส์กับการหาความสุขในสังสารวัฏเลยก็มีนะ เราอย่าลืมพระโสดาบันก็ยังมีความเผลอ มีความไม่รู้ บางครั้งก็มาเล่นเกมส์กับชีวิตในกามสุขอยู่ แต่ไม่มีความประมาทนะ พระโสดาบันท่านเป็นอริยบุคคล ท่านเข้าสู่กระแส กระแสนิพพาน แม้มีความประมาทอยู่ก็ไม่มีอะไรเบี่ยงเบนจิตของเขาเหล่านั้นได้ พระสกิทาคามี ก็ยังอยู่ในเกมส์การแสวงหาความสุขจากกามอยู่ แต่ความสุขอันเกิดจากฌานจิตก็มีนะ พระโสดาบันพระสกิทาคามีนะ เล่นเกมส์กับความสุขในระดับฌานได้ แล้วนั่นคืออะไร สมาธิสมบูรณ์ จะบรรลุอนาคามีในปัจจุบันในชาตินี้ ศีลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาพอประมาณ สมาธิที่สมบูรณ์แล้ว ไม่แสวงหากิจกรรม ไม่เล่นเกมส์กับความสุขอันเกิดจากกามแล้วโดยสิ้นเชิง กามราคะ ปฏิคะย่อมดับไป เมื่ออนาคามีมัคคญาณปรากฏนะ พระอนาคามีย่อมดับความพึงพอใจในสุขเวทนาอันเกิดจากกาม ปฏิคะขุ่นเคืองอันเกิดจากกาม แน่นอนก็เหลือความสุขความพึงพอใจในฌานจิตล่ะ ความสุขอันอิงอาศัยความพึงพอใจ อันอาศัยสุขเวทนา ความพึงพอใจอาศัยอุเบกขาเวทนา มีพระสูตรหนึ่งที่พระองค์ท่านตรัสกับพระอานนท์ว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกนะอานนท์ เขาเข้าถึงแล้วซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เขาเป็นอัจฉริยะบุคคลในโลกนี้ พระอานนท์ก็ถามว่า บุคคลผู้เข้าถึงแล้วซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เขาจะเข้าถึงนิพพานทุกท่านไหม พระองค์ท่านตรัสว่าบางคนก็เข้าถึงนิพพาน บางคนก็เข้าไม่ถึง อะไรคือความต่าง ! พระองค์ท่านตรัสว่า บุคคลใดก็แล้วแต่เมื่อเข้าถึงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว ออกมาแล้วจากเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ย่อมพร่ำเพ้อ ย่อมรําพึง ย่อมปรารถนา ความรู้สึกอันประณีต ในอุเบกขาเวทนานั้น ผู้ที่มีความเพลินในอุเบกขาเวทนา ในระดับเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น จะไม่ปรินิพพานอานนท์ จะไม่ปรินิพพาน ชัดเจนมากเลยนะ เกมส์ชีวิต เกมส์สังสารวัฏที่สัตว์โลกต้องแสวงหา ไม่มีใครแพ้ไม่มีใครชนะนะ เกมส์อันนี้อย่าลงมาเล่นเลย เสียตัวเปล่า ออกจากวังวนของเวลานะ ออกจากเวลาในสังสารวัฏนี้ ออกไปเลย ข้ามพ้นไปเลย นั่นคือวิมุตติโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องกลับมาเล่นเกมส์อันนี้ คือไม่ต้องกลับมาเกิดอีก หากกลับมาเกิดก็แสดงว่ามาเล่นเกมส์กับชีวิต มาแสวงหาความสุข มาปลดเปลื้องความยึดความติด ความเพลินอันเกิดจากความยึดติดในอุเบกขาเวทนา สุขเวทนา ดับก่อนสิ้นอายุขัยนั้นดับได้เมื่อไหร่ ดับความเพลินในเวทนาทั้งปวง ดับรอบได้เมื่อไหร่ ก็ไม่ต้องกลับมาเล่นเกมส์กับชีวิตในสังสารวัฏนี้อีก เรากําลังเล่นเกมส์กับมันนะอย่าลืม แล้วมีเวลาจํากัดมาก อย่าไปเห็นดีเห็นงาม อย่าไปเห็นสาระอะไร กับเกมส์ของชีวิตในสังสารวัฏมาก เป็นความประมาท ปิยทัสสี ภิกขุ ============ นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม Group Sitting 15-09-2024 พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน ========= https://youtu.be/0tKfYtUNPcs
Fri, 20 Sep 2024 - 2h 01min - 152 - ตัณหา/อุปาทาน เกิด-ดับ ขณะลมหายใจเข้า-ออก Group Sitting 2024-09-08
https://youtu.be/j8Mh8m8i2Kc
" การถูกโปรแกรมด้วยเหตุแห่งทุกข์ จิตมันจะดีดดิ้น
เราจะเห็นการปฏิเสธอารมณ์ ซึ่งเป็นตัวโทสะ
เป็นความขัดแย้งนี่มันรุนแรง มันรุนแรงมาก
ความก้าวร้าว ในโลกของความสัมพันธ์ เห็นพิษเห็นภัยนะ
แท้ที่จริงแล้ว โทมนัสจะมีกําลังแก่กล้าระดับไหน
ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจความยึดติดความเพลินในความรู้สึกที่เป็นสุข
ไปยึดติดมันมากเท่าใดระวังให้ดี
โลกมีสองขั้วเนาะ
กลางวัน-กลางคืน มืด-สว่าง
ธาตุคู่ขับเคลื่อนไปอย่างนี้นะ จิตที่มันเสียรูปคือไปอิงอยู่ขั้วใดขั้วหนึ่ง
ถามว่ามันไปอิงขั้วไหนก่อน แน่นอนต้องอิงขั้วบวกก่อน
สุขเวทนา ตัณหาจะหยั่งลงที่สุขเวทนา
แต่เมื่อเหตุปัจจัยของสุขเวทนาเปลี่ยนแปลงไปดับไป
ทุกข์โทมนัสมาแล้ว มันอยู่ไม่ได้นะ
เพราะทุกข์เป็นสภาวะที่ทนยากนะจิตมันถึงดีดดิ้น
ออกไปเสียจากทุกข์ มันจะออกไปได้อย่างไร ก็ต้องไปแสวงหาสุข
นี่คือจิตที่มีอวิชชา นี้คือปุถุชน
แท้ที่จริงแล้วนะไม่ต้องไปแสวงหาสุขหรอก
จงเห็นนิยามเห็นสภาวะการดิ้นรนของโทมนัสนะ ดูมัน สังเกตมัน แล้วมันจะดับมอดลง อันนี้เป็นจิตตานุปัสสนา
แรงตัณหาเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะของลมหายใจเข้า
อุปาทานก็เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะของลมหายใจออก
อุปาทานความยึดติดเกิดขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่องไม่หยุดเลย ! .. ไม่จริงนะ
มันจะเกิดขึ้นร่วมกับในโมเมนต์ของลมหายใจออกเท่านั้น
แล้วลมหายใจเข้าแล้วออกมันอยู่ตรงไหน .. ?
ก็เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะไง
ถ้าเราเห็นขณะของลมเข้า-ลมออก เราจะเห็นขณะของอารมณ์ที่มันเกิดร่วมกับลมหายใจเข้าออก
ท้ายที่สุดแล้วนะ แรงดึงและแรงผลัก
แรงดึงของโลกและจักรวาล สสารและพลังงาน
จิตที่มีอวิชชาอาศัยแรงดึงตัวนี้
แรงตัณหา แรงดึงจะเข้ามาพร้อมกับลมหายใจเข้า
อุปาทานแรงผลัก จะออกมาพร้อมกับลมหายใจออก
น่าศึกษามากนะ น่าศึกษามาก
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
=========
Mon, 16 Sep 2024 - 1h 56min - 151 - เรา คือผลผลิตของเวลา Group Sitting 2024-09-01
ในชีวิตประจําวัน เราจะรับรู้ในระดับสมมติ มีฉันมีเธอ มีสัตว์มีบุคคลตัวตน แต่พอเราเข้ามาสู่โหมดของวิปัสสนา หนึ่งชั่วโมงนั่นคือเราเข้าไปสู่การรับรู้ในระดับปรมัตถ์ .นี่เป็นเพียงความจํานะ นี่คือความรู้สึกเวทนานะ อันนี้คือคือสังขารคือความรักความชังชอบไม่ชอบ ตัววิปัสสนาจะปลดเปลื้องความยึดความติดในสมมติในโลกบัญญัติ
.
เมื่อจิตรู้ประจักษ์ชัด สภาวะการทํางานของสัญญาและเวทนาในระดับกามภูมิแล้ว ความงดงามของธรรมะก็จะเคลื่อนจากกามสัญญาไปสู่รูปสัญญา เราอย่าลืมนะ ในระดับรูปปสัญญามี ๔ ขั้นใช่มั้ย ขั้นที่ ๓ เหล่าพระอริยเจ้าบุคคลผู้หลุดพ้นโดยสมบูรณ์แล้วท่านเหล่านั้นจะมีความสุขอยู่กับวิหารธรรมก็คือในฌานที่ ๓ ที่เราเคยได้ยินได้ฟังว่า เป็นความสุขที่พระอริยเจ้าทรงสรรเสริญเป็นวิหารธรรม ในระดับรูปสัญญานะ
.
จิตของท่านเหล่านั้นไม่อาศัยกามสัญญาเป็นวิหารธรรม เป็นความสุข ในระดับเนกขัมมะสุข เป็นความสุขในระดับรูปสัญญาระดับที่ ๓พอเลยระดับที่ ๓ ไปแล้วเวทนาก็จะเป็นตัวอุเบกขาไปแล้ว เป็นความอัศจรรย์มากว่าเมื่อจิตได้บรรลุถึงระดับรูปสัญญาแล้ว ข้ามพ้นกามสัญญาไปแล้ว อกุศลธรรมทั้งหลาย ความยึด-ความติดทั้งหลาย สิ่งร้อยรัดทั้งหลายอภิชฌาและโทมนัส ดับไปหมดเลย
.
ในขณะที่จิตดํารงอยู่ในสมาธิจิตแต่ละระดับชั้น นั่นคือเหตุผลว่าทําไมอัปปนาสมาธิทั้ง ๔ ขั้น ฌานทั้ง ๔ถึงนับเนื่องเป็นองค์ประกอบเป็นเครื่องมือสู่การบรรลุธรรม เป็นมรรคเป็นองค์ประกอบองค์สุดท้าย มรรคมีองค์แปดนะ
.
เราจะรับรู้ในส่วนวิบากของอันไหน เมื่อฌานที่ ๔ ดับไป วิบากเนื่องด้วยรูปดับไปแล้ว อาสวะที่อาศัยเรือนกายดับไปหรือยัง อาสวะที่เราเคยได้ยินได้ฟังมามันแล่นไปทั่วเรือนกาย รูปขันธ์นี้ดับ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะดับ
.
แน่นอนทีเดียว อาสวะมันก็ดับไปด้วย พออาสวะดับไปสติสมบูรณ์ในโมเมนท์นั้น อวิชชาดับไป พระองค์ท่านถึงตรัส อวิชชานุสัยย่อมดับไปในจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ลมหายใจเข้าออกดับไปในจตุตถฌาน เป็นผู้มีสติสมบูรณ์.
ปิยทัสสี ภิกขุ
==============
เรา คือผลผลิตของเวลา ที่เข้าไปยึดไปติด
Group Sitting 01-09-2567
Tue, 10 Sep 2024 - 1h 45min - 150 - พรากจิตออกจากบ่วงมาร Group Sitting 2024-08-25
รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสมิใช่กาม แต่ความพึงพอใจในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เรียกว่ากาม
แม้จะผ่านไปแล้ว จิตปรุงแต่งได้ โดยอาศัยสัญญาภาพ เรียกกามสัญญา
จิตที่ท่องเที่ยวไปในกามสัญญา ติดอยู่ในบ่วง เปรียบเหมือนสุขของคนป่วยที่ได้กินของแสลง
จิตที่ตกอยู่ภายใต้บ่วง คือจิตที่มีความคับแค้น
เพราะมีเหยื่อล่อด้วยรสโอชะอันเกิดจากกามนี่เอง
- - - - -
ใครอยากจะรู้ว่าจิตตัวเองนั้นตกอยู่ใต้บ่วงหรือเปล่า
หลับตาอยู่นิ่งนิ่ง
หลับตายืนนิ่งนิ่ง อยู่ในอิริยาบถนั่ง
เราจะเห็นสภาพจิตของเราว่ามันเป็นอิสระจากบ่วงไหม
หรือว่าตกอยู่ใต้อาณัติของบ่วงไปแล้ว ถูกบ่วงร้อยรัดไปแล้ว
จิตที่ตกอยู่ในบ่วงมีแต่ความคับแค้น มีแต่ความทุกข์
มีแต่ความขัดแย้ง เข้าไปเสพเข้าไปข้องเกี่ยว
พัวพันในอารมณ์ อันทำให้เกิดความขัดแย้ง
เกิดความโทมนัส เกิดความคับแค้น นั่นแหละตกอยู่ในบ่วงละ
ใครอยากจะไปอยู่ในบ่วงนั้นล่ะ.. มันไม่มีนะ แต่มันมีเหยื่อล่อไง
รสโอชะความสุขอันเกิดจากกามนั่นเองที่เป็นเหตุให้จิตเกิดความเพลิน
ที่ไปเพลินในสุขอันเกิดจากกามนี่เพราะอะไร เพราะไม่เคยได้ยินได้ฟัง
ไม่เคยศึกษาว่า ยังมีความสุขอีกนัยยะหนึ่ง
อีกประเภทหนึ่งซึ่งไม่ให้โทษเลย
ใครที่ไปอ่านในฌานสูตร ภิกษุทั้งหลายความสุขที่พึงควรกลัวความสุขที่ไม่พึงกลัว
ความสุขที่พึงกลัวก็คือความสุขมันเกิดจากกามสัญญา
ความสุขอันเกิดจากรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส
ความสุขที่ไม่ควรกลัวเลยก็คือความสุขอันเกิดจากสมาธิเกิดจากเนกขัมมะ อันนั้นไม่มีโทษเลย
พระองค์ท่านตรัสแบบนี้
ปิยทัสสี ภิกขุ
Sat, 07 Sep 2024 - 1h 29min - 149 - เวลาในหลุมดำ Group Sitting 2024-08-18
พระอาจารย์เมตตาแสดงธรรมในหัวข้อ
อุบายวิธีในการ "ยืนสมาธิ" และ "นอนสมาธิ"
ปุจฉา:วิสัชนาเรื่อง "เวลาในหลุมดำ"
- - - พลังแห่งความดับที่มีผู้กล่าวไว้ว่า เมื่อมวลของหลุมดํานี้อัดแน่นเข้าไปแล้วนั้น ก็จะระเบิดตัวมันเอง ที่รู้ว่ามันมีอยู่ เพราะว่าทุกสรรพสิ่งเคลื่อนเข้าไป ในวงโคจรหรือในพื้นที่ของของเขานี่ จะหายเข้าไปหมด แม้กระทั่งแสงก็ไม่สามารถจะหลุดรอดออกมาได้ ก็แน่นอนล่ะ เพราะนั่นคือ "ธาตุดับ" ที่เราเห็นทั้งหมดที่เป็นแสง เป็นปรากฏการณ์ทุกอย่างในจักรวาล
อันนั้นคือธาตุเกิด เกิดเท่าไหร่ ก็ต้องดับเท่านั้นแหละ ปุจฉา : แล้วยังมีสัมพัทธกับไทม์อยู่หรือไม่ อย่างไร ? แน่นอนในเมื่อดับไปแล้วนี่ ก็มีพลังที่จะก่อให้เกิดอีก จะมีการเคลื่อนมาเกิดอีก แล้วอะไรหนอมาเกิด ในเมื่อดับไปแล้ว คำตอบก็คือเพราะความเป็น "ธาตุคู่" ถ้าจะมองให้เกื้อกูลต่อการปฏิบัติ เราก็ต้องมองอย่างนี้ ธาตุคู่คือ ธาตุเกิด-ธาตุดับ ที่เรารับรู้ด้วยเครื่องมืออะไรต่าง ๆ มันจะเป็นธาตุเกิด ส่วนตัวธาตุดับนั้นก็จะเป็นตัวของหลุมดําที่มารวมกัน เขาเรียกว่ามวลอันยิ่งยวด หลุมดําอันยิ่งยวด หลุมดําอันใหญ่มาก แน่นอน ! อะไรเกิดแล้ว จะไม่ดับได้อย่างไร "ที่สุดของการเกิดก็คือดับ" จบลงไปตรงนั้นนะ ปิยทัสสี ภิกขุ
Wed, 21 Aug 2024 - 1h 53min - 148 - สมองเงียบจากความคิด Group Sitting 2024-08-11
" พักจากการท่องเที่ยวไปในกาลเวลา โดยอุบายวิธีเหล่านี้
เป็นอุบายที่เพิกถอนจิตออกจากความคิดนึกปรุงแต่ง "
======
แน่นอนทีเดียว.. การที่จะมาฝึกจิตให้เป็นหนึ่งเดียวอยู่กับปัจจุบัน
อยู่กับอารมณ์อันเป็นปัจจุบัน ลมหายใจก็เป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ปัจจุบันนะ
ที่เราฝึกกันมาเสพคุ้นมา คุ้นเคยมา
แต่มีสภาวะหนึ่งที่ไม่อนุญาต ไม่ยอมปล่อยให้จิตอยู่กับปัจจุบัน
ก็คือโลกใบเดิม "ความเคยชิน"
โลกแห่งความคิดนึก โลกแห่งความสัมพันธ์ โลกแห่งความเชื่อ
โลกแห่งลัทธิประเพณี โลกของความรู้ โลกแห่งประสบการณ์ที่เราเคยมีมาก่อน
คอยจะดึงจิตไปร่วมกับโลกใบนั้นอีก โลกใบเดิมที่เราเสพคุ้นอยู่
อุบายวิธีที่จะให้จิตถอยห่างออกมา
คลายออกมาจากพื้นที่ของความคิดนึก ก็คือเราต้องถอนเหตุ
.
อะไรนะเป็นเหตุที่อาจเป็นตัวร้อยรัดจิตให้ติดอยู่ในอารมณ์อดีตอนาคต
เราต้องถอนเหตุตัวนี้ ปลดเปลื้องเหตุตัวนี้
ไม่เช่นนั้นการที่จะมาสัมผัสกับอารมณ์อันเป็นปัจจุบันนี้มันยากมาก
.
อยู่กับลมหายใจ อยู่กับความรู้สึกตัวอันเป็นปัจจุบันไม่กี่ขณะมันดึงไปอีก
ความคิดก็คือสัญญาภาพ
เรารับรู้อารมณ์อดีตผ่านสัญญา เรารับรู้อารมณ์อนาคตผ่านจินตนาการ
.
วิญญาณไปรับรู้อารมณ์ จิตเข้าไปเห็นกระบวนการ
ไปหยั่งลงในกระบวนการของวิญญาณ และธาตุที่ไปหยั่งลงสู่อารมณ์
.
มันมีอีกตัวนึงแทรกเข้ามาก็คือความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจในอารมณ์นั้นๆ
แรงพึงพอใจไม่พึงพอใจ ที่ร้อยรัดจิตให้ติดอยู่ในอารมณ์
ให้ติดอยู่ในโลกของอดีต โลกของอนาคต ในโลกของความคิด
ปิยทัสสี ภิกขุ
Mon, 19 Aug 2024 - 58min - 147 - แรงปรารถนา เจตจำนง เวลา Group Sitting 2024-08-04
เมื่อจิตเป็นอิสระจากกาลเวลาทั้งอดีตอนาคตแน่นอนทีเดียว
ความรู้สึกจะเต็มอยู่กับปัจจุบัน ตัวนี้เรียกว่า "ปราโมทย์ "
มีความอิ่มข้างในอยู่
ไม่กระวนกระวาย ไม่กระสับกระส่าย
ไม่ลุกลี้ลุกลน ไม่โลดแล่น
ไม่ปรากฏอยู่ในอดีตอนาคต
เรียกว่าตัวปราโมทย์ มีความอิ่มเอมภายใน
ปราโมทย์ตัวนี้เกิดจากปัญญานะไม่เหมือนปิติ
ปิติบางประเภทนี้เกิดจากการเพ่งเกิดจากอารมณ์ของฌานก็มี
แต่ตัวปราโมทย์เป็นผลจากปัญญาที่หยั่งลงสู่สภาวะรูปและนามตรงตามความเป็นจริง
อาศัยการฟังบ้างแล้วเอาองค์ความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง
มาสาธยาย มาตรึกตรอง มาพิจารณา มามนสิการ
เมื่อปราโมทย์เกิดแล้ว
จิตที่มีปราโมทย์มีความอิ่มเอม เป็นลักษณะของปีติ
ปีติเกิดแล้ว
กายที่ปิติตั้งอยู่ก็จะเบา
กายเบาจิตเบา
กายเบาจิตเบาเป็นผลให้เป็นพื้นที่ให้ความสุขได้หยั่งลง
สุขภายในนะ
เมื่อความสุขหยั่งลงแล้ว เป็นพื้นที่ให้เกิดสมาธิ
เมื่อสมาธิเกิดแล้ว สัมมาสมาธิย่อมหยั่งรู้ตรงตามความเป็นจริง
ก็คือบรรลุถึงอริยสัจธรรมบรรลุถึงนิพพาน
จะเป็นแบบนี้นะ
ปิยทัสสี ภิกขุ
Fri, 09 Aug 2024 - 1h 31min - 146 - วัตถุประสงค์ในการหยั่งรู้สู่ปัจจุบัน Group Sitting 2024-07-28
จิตที่มันไม่นิ่งเพราะมันไปปรารถนา พอจิตไม่ปรารถนาไม่เลือกอารมณ์จิตมันนิ่ง พอจิตนิ่งปุ้บ พื้นที่ของความคิดในที่สมองก็พลอยนิ่งไปด้วย ระงับไปด้วย ความรู้สึกที่ว่านิ่ง ความรู้สึกที่ว่าเบาเนี่ย ความรู้สึกตัวนี้มันจะไปรวมศูนย์ที่กึ่งกลางสมอง ให้ผู้ปฏิบัติสังเกต มันจะไปตั้งอยู่ตรงนี้ ตรงกึ่งกลางสมอง มันไปของมันเอง ณ กึ่งกลางสมองนี้นะเป็นพื้นที่ เป็นจุดศูนย์รวมของความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวก็คือปัจจุบันอารมณ์ ปัจจุบันขณะ เรารับรู้อารมณ์ปัจจุบันผ่านความรู้สึก เรารับรู้อารมณ์อดีตผ่านความคิด เรารับรู้อารมณ์อนาคตผ่านความนึกจินตนาการ ขณะที่เรารับรู้อารมณ์อดีต ความรู้สึกจะถูกหน่วงไปสมองซีกซ้าย อนาคตก็เป็นสมองซีกขวา แล้วกึ่งกลางระหว่างสมองสองด้านก็คือปัจจุบันขณะนั้นเอง พื้นที่ของปัจจุบันสัมผัสได้รึยัง กึ่งกลางสมองโดยอาศัยอุบายที่ว่า ปลดเปลื้องเหตุ ถอนเหตุ ระงับเหตุ ดับเหตุ เหตุที่ไปกระตุ้นให้ความคิดมันทํางานก็คือตัวนี้ ตัวเลือกอารมณ์แรงปรารถนาอารมณ์ เมื่อเราละเราคลาย ดํารงจิตให้อิสระจากการเลือกอารมณ์ จากแรงปรารถนาอารมณ์ ความคิดก็เงียบลงอย่างอัศจรรย์ "
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Sun, 04 Aug 2024 - 57min - 145 - ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม Group Sitting 2024-07-21
ปฏิบัติร่วมกันในสัปดาห์อาสาฬหบูชา
เป็นวันเกิดขึ้นของพระรัตนตรัย ครบองค์สามในวันอาสาฬหบูชานี้
.
สภาวะสิ้นสุดลงของการสืบต่อของรูปและนาม ไม่ตั้งอยู่ในอายตนะทั้งหก ไม่มีการรับรู้ในพื้นที่ของวิญญาน เป็นการรับรู้ที่ไม่เนื่องด้วยเวลา
.
ภิกษุสามรูปบิณบาตร ภิกษุสองรูปบำเพ็ญเพียร
ภิกษุสองรูปบิณบาตร ภิกษุสามรูปบำเพ็ญเพียร
* รูปใดได้ดวงตาเห็นธรรมก่อนหลัง หรือมีลำดับอย่างไร การบันทึกนี้ตกหล่นไป *
ท้ายที่สุด ปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรมเหมือนกันหมด
พุทธองค์ได้แสดงอนัตลักขณสูตร
ควบคุมไม่ได้ รักษาไม่ได้ สภาวะเป็นอนัตตา มิใช่ตัวมิใช่ตน มิใช่บุคคล
พอได้แสดงอนัตลักขณสูตรแล้ว เหล่าปัจวัคคีย์ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมขั้นสุดท้าย บรรลุขีณาสพ บรรลุอรหัตมรรค
*-การดับสิ้นสุดลงของรูปและนาม สิ้นสุดลงเมื่อใด ขณะนั้นมัคคญานปรากฏ เกิดขึ้นเพียงหนึ่งขณะแล้วดับไป
สภาวะไม่เกิดไม่ดับ ก็เป็นอารมณ์ของจิตต่อไป การเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองเรียกว่าผลญาน
.
.
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Thu, 25 Jul 2024 - 1h 38min - 144 - กายเวทนาจิตธรรมภายนอก กายเวทนาจิตธรรมภายใน Group Sitting 2024-07-07
มันมีนะบางช่วงบางขณะ จิตที่มีอวิชชาตัณหาอุปาทานอยู่เนี่ย
ก็จะมีสมุทัยสัจจะ เคลื่อนเข้ามา
เคลื่อนเข้ามาแทรกในการรับรู้ ในกระแสของการเกิดดับของขันธ์
จิตที่หลุดพ้นแล้วโดยสมบูรณ์
จะมีเพียงการเปลี่ยนแปลงการเกิดดับของขันธ์ล้วนๆนะ
จะไม่มีแรงปรารถนา จะไม่มีความรักและความชัง
เข้ามาเกิดร่วมกับการรับรู้อารมณ์
แต่จิตที่ยังมีอวิชชาอยู่ แน่นอนทีเดียว
ตัณหาอุปทานยังดับไม่หมดใช่ไหม เขาก็จะทํากิจทําหน้าที่ของเขา
ยินดีบ้างในอารมณ์ที่รับรู้
ไม่พึงพอใจบ้างกับอารมณ์ที่รับรู้
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Wed, 10 Jul 2024 - 1h 42min - 143 - ผู้มีราตรีเดียว Group Sitting 2024-06-30
. เราสัมผัสโลกใบนี้ได้เพียงแค่หนึ่งขณะ
เราสัมผัสได้เพียงขณะนี้
ไม่มากไปกว่านี้
---
เวลาได้กลืนกินทุกสรรพสิ่งพร้อมกับตัวมันเอง
แต่ผู้ใดที่เข้ามาถึงจุดต้นกําเนิดของเวลาคือปัจจุบันขณะแล้ว
บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้กลืนกินกาล
แทนที่จะถูกเวลามันกลืนกิน
เป็นผู้กินกาลนะ
ย่อมทําที่สุดแห่งทุกข์ได้
.
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้คือยังไง
ปัจจุบันขณะเห็นการเกิดการดับของรูปและนาม ขณะเกิดดับเกิดดับ
ขณะก็แน่นอน ก็คือขณะแห่งการปรากฏและการเสื่อมสลายไปของรูปและนาม สสารพลังงาน
.
เกิดดับเกิดดับ จนกระทั่งว่าการเกิดดับเนี่ยมันไปถึงจุดเต็มรอบของมันนะ
เต็มรอบคือยังไง สายธารแห่งความเกิดดับเขาเรียกว่าความสืบต่อแห่งสสารพลังงาน-
รูปและนามที่มันอิงปัจจุบันขณะอยู่นี้
ปรากฏตั้งอยู่สลาย ปรากฏตั้งอยู่สลาย หรือว่านิยามว่าเกิดดับเกิดดับ
.
ดับไปแล้วก็มีความเกิดมาปรากฎใหม่แล้วก็ดับไปอีก
แล้วก็มีความเกิดมาสืบต่อความสืบต่อเรียกว่าสันตติ
ท้ายที่สุดของสายธารของเวลาอันเป็นปัจจุบันขณะ เกิดดับเกิดดับมันจะไปสิ้นสุดลง
สายธารนี้นะ มันบรรลุถึงสภาวะที่สิ้นสุดลงมัน จะสิ้นสุดลงที่รอบของความดับ
เขานิยามว่าดับสุดท้าย
เมื่อดับสุดท้าย ทําไมนิยามว่าดับสุดท้าย
เพราะเวลาดับสุดท้ายไปแล้วจะไม่มีสภาวะความเกิดมาสืบต่อ
ตามให้ทันนะ
.
ดับสิ้นสุดลงนะ เวลามันจะดับสิ้นสุดลงพร้อมกับการดับลงของรูปและนามของความเกิดและดับ
ของสสารพลังงาน ของรูปและนามเนี่ย
มันจะสิ้นสุดลงที่รอบดับ
เมื่อสิ้นสุดลงแล้วนั่นคือนิยามว่าไม่มีความเกิดมาสืบต่อเมื่อไม่มีเกิดจะมีดับได้อย่างไร
สภาวะที่ไม่มีเกิดไม่มีดับนะเขาเรียกว่าไม่มีขณะของเวลาอีกแล้ว
พ้นไปแล้วจากกรอบของเวลา
เวลานี่คือกาละนะ
ที่ไม่มีเวลา ไม่ประกอบด้วยเวลาก็คือ “อกาลิโก” เป็นคุณสมบัติของธรรมคุณ
ไม่มีการจุติไม่มีการอุบัติไม่มีการเคลื่อน
ไม่ใช่ความว่างเปล่า
พระองค์ท่านตรัสว่าสภาวะนั้นมีอยู่ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีการมาไม่มีการไป ไม่มีการจุติและอุบัตินั่นเเลคือที่สุดแห่งทุกข์นั่นคือพระนิพพานนั่นเอง
อันนี้เป็นอกาละแล้วนะ
ที่นิยามว่าเมื่อเวลามันมีอยู่จริงแล้วมันมีสภาวะที่ไม่ประกอบด้วยเวลาไหม
ก็อกาลิโกนั่นไง
อันนี้เรากําลังพูดถึงในบริบทของทัศนคติของพุทธะนะ
ใครที่ดํารงได้โดยสมบูรณ์แล้วนะ เข้าไปถึงสภาวะอกาลิโกแล้ว
ผู้นั้นจะเป็นผู้มีราตรีหนึ่งอันเจริญ
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Mon, 01 Jul 2024 - 1h 41min - 142 - กุศลธรรมรับรู้ที่กึ่งกลางสมอง อกุศลธรรมรับรู้ที่ใจ Group Sitting 2024-06-16
ให้ผู้ปฏิบัติสังเกต ไม่ว่าเราหรือเขา
ช่วงใดโมเมนท์ใดที่จิตไปเผลอ มันถูกอกุศลธรรมเนี่ย
เศร้าหมองอีกแล้วขัดแย้งอีกแล้ววิตกกังวลอีกแล้ว
แสดงว่าในโมเมนท์นั้นขณะนั้นให้สังเกตว่า
ความรู้สึกมันจะถูกดูดไปที่ใจ จะถูกดูดไปที่ใจ
.
จะพิจารณาแล้วอะไรแล้วมันก็ถูกดึงไปอีก
กําลังของการพิจารณาไม่มีกําลังพอ ตัวปัญญาญาน
แต่ความยึดความติด ความเศร้าหมองมันดึงความรู้สึกไปร่วมกับหัวใจ
.
ก็มีอุบายง่ายนิดเดียว ! ก็คือ
เอาความรู้สึก
ช่วงที่จิตเศร้าหมองนะ
เราก็ดึงความรู้สึกมาไว้ที่กึ่งกลางสมองนะ
ความเศร้าหมองเหล่านั้นก็ทําอะไรจิตไม่ได้
อันนี้เป็นอุบายในยุคใหม่
.
มีคําบอกว่ากึ่งกลางสมองทําหน้าที่อะไรบ้าง
เป็นฐาน เป็นตําแหน่งการรับรู้อารมณ์ฝ่ายกุศลธรรมมัคคปฏิปทา
เป็นพลังงานแห่งความเกิด
แสงสว่างไม่ได้เกิดที่ใจเลยนะตอนนี้
มันจะเกิดที่กึ่งกลางสมอง
ดุจดั่งดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง
การบรรลุการสัมผัสพลังงานทุกระดับชั้นของฌานจิต
อันนี้เมื่อก่อนนั้นฌานจิตประเภทที่หนึ่งเนี่ยจะผ่านใจ มโนทวารนะ
.
แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว
มันจะต้องผ่านกึ่งกลางสมองน่ะ
ส่วนฌานจิตประเภทที่สองที่ว่า
ตําแหน่งที่ตั้งของเอกัคคตาในระดับขณิกสมาธิอุปจาระสมาธิและระดับจตุตถฌานนั้นเหมือนกัน
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Tue, 18 Jun 2024 - 2h 00min - 141 - ในโลกียะ ธาตรู้(วิญญาณ) คือพื้นที่การรับรู้ของจิต Group Sitting 2024-05-06
เราสัมผัสสังสารวัฏได้เพียงหนึ่งขณะเท่านั้น !
เป็นความเข้าใจผิดที่คิดไปว่าเราจะได้ครอบครองรูปและนามในอนาคต . . ไม่นะ
=========
การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ก็คือวิญญาณทั้ง ๕
ลักษณะใดหรือลักษณะหนึ่ง จะไม่จบลงตรงนั้น
มันจะมาจบลงที่ “มโนวิญญาณ”
เกิดผัสสะขึ้นแล้ว ผัสสะเป็นบวก
ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาใช่มั้ย
สุขเวทนามันตั้งอยู่ในผัสสะที่เป็นบวก
ทุกขเวทนามันตั้งอยู่ในผัสสะที่เป็นลบ
.
เกิดเวทนาแล้วหากไม่รู้ ไม่เท่าทัน ไม่เห็นการเกิดดับ
ตรงนี้แหละตรงนี้แหละ ที่สายปฏิจสมุปบาทมีสองสาย
สายแห่งความเกิดและสายแห่งความดับ
มันจะเชื่อมต่อ
รอยต่อระหว่างเส้นทางสองเส้นน่ะที่มันจะแยกออกจากกัน
มันจะแยกออกตรงที่เวทนา
ถ้าเห็นการเกิดดับของเวทนานะ
ตัณหาก็ดับ ตัณหาดับอุปทานอันดับ
อันนี้พูดถึงสภาวะในปัจจุปันธรรมนะ
แต่ถ้าไม่หยั่งลง ไม่เห็นการเกิดการดับของเวทนา อันนี้มันจะวนละ
เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน
ภพชาติชรามรณะ จะวนไปอย่างนี้นะ
.
แต่ได้เห็นการเกิดดับของเวทนาแล้ว มันจะไม่วน
มันจะออกจากวังวนของสังสารวัฏล่ะ
ออกจากวังวนของปฎิจจสมุปบาท เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทในรอบแห่งการดับ
อันนี้แหละที่มาสนับสนุนตรงกับคุรุอาจารย์ที่ท่านบอกว่า "วิญญาณเป็นที่ตั้งเป็นที่รับรู้ของจิต"
.
มันมีมั้ยว่าจิตมันไปรับรู้นอกเหนือวิญญาณ
มีอีกพระสูตรหนึ่งพระองค์ท่านตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลายวิญญาณนั้นไปหยั่งลงในอารมณ์ใด
{ ๑. วิญญาณ ๒.อารมณ์นะ }
.
อารมณ์มาจากทางไหนล่ะ !
อารมณ์จากการเห็นได้ยินได้กลิ่นลิ้มรสสัมผัส
อารมณ์มันเกิดจากความคิดนึก
อารมณ์มาจากทางอายนะทั้ง ๖
นี่แหละวิญญาณ
.
ภิกษุทั้งหลายวิญญาณตั้งอยู่ในอารมณ์ใด { วิญญาณแล้วก็อารมณ์นะ }
จิตที่มีอวิชชา { ในขณะที่จิตมีอวิชชาไม่มีปัญญาญาน }
ก็จะมีความพึงพอใจไม่พึงพอใจในอารมณ์นั้น
ก็คืออภิชฌาและโทมนัสนั่นล่ะ
.
มันไปเพ่ง มันไปปรารถนา
มันมีความพร่อง
มันมีความยินดีไม่ยินดีในอารมณ์นั้นนะ
นั่นเป็นที่ตั้งแห่งภพ
พระองค์ท่านตรัส " นั่นเป็นที่ตั้งแห่งภพ "
อันนี้คือกระโดดไปเลยนะ เพราะปกติในปฏิจจสมุปบาทที่เป็นโดยลําดับ
วิญญาณเนี่ยก็ต้องเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะใช่ไหม
ธรรมสามอย่างนี้เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
.
ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตัณหาเป็นปัจจัยเกิดอุปาทาน
อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ
พระองค์ท่านมาสรุปตรงที่ภพเลย
นั่นหมายถึงอะไร . .
ความยินดีไม่ยินดี อภิชฌาและโทมนัสนั้น
มันบ่งบอกว่ามันผ่านผัสสะมาแล้ว ผ่านเวทนามาแล้ว อย่างงี้
วิญญาณหยั่งลงสู่อารมณ์ใด จิตที่มีอวิชชาในขณะนั้น
ขณะใดที่จิตมีอวิชชาก็จะมีความยินดีและความไม่ยินดีในอารมณ์นั้น
มีการเพ่งในอารมณ์นั้น
นั่นคือภิกษุทั้งหลายนั่นคือเป็นที่ตั้งแห่งภพ
- ปิยทัสสี ภิกขุ -
Thu, 13 Jun 2024 - 1h 52min - 140 - สภาวธรรมของกาย 6 ระดับ จิต 9 ระดับ Group Sitting 2024-05-26
" จิตที่มีอวิชชาเนี่ยจะมั่นหมายเอาความทรงจํา เอาความรู้สึกสุขทุกข์ เอาความรักความชังมั่นมายว่ามีตัวตนอยู่ ติดสุขทุกข์ ตัวตนก็ตั้งอยู่ อิงอาศัยอยู่ในโลกของอดีตนั้น เมื่อตัวตนตั้งอยู่ในอดีตแล้วหล่อหลอมมาเป็นอัตลักษณ์แล้ว ให้ผู้ปฏิบัติมองย้อนไป มีมั้ยที่อัตลักษณ์หรือว่าตัวตนที่สมบูรณ์ ธรรมชาติของตัวตนนี้มันจะพร่องอยู่เป็นนิดนึง นั่นคือ เติมเต็มให้กับตัวตนในอดีตที่มันต้อง แสวงหาอารมณ์ใหม่ปรารถนาอารมณ์ใหม่ มุ่งหวังอารมณ์ใหม่ จิตที่มีอวิชชาอยู่ก็จะเข้าไปทํา กิจกรรมกระบวนการ 'การเติมเต็มให้กับตัวตนตัวนี้' นี่คือชีวิตประจําวัน อันนี้คือโลก "
Thu, 30 May 2024 - 1h 26min - 139 - สมาธิวิถี วิปัสสนาวิถี มัคควิถี Group Sitting2024-05-12
อาณาปานสติสมบูรณ์ย่อมยังสติปัฏฐานให้สมบูรณ์ //
.
ฌานจิตคือการเกิดดับ ในระดับละเอียด ละเอียดในระดับรูปสัญญา มิใช่กามสัญญา //
.
ธรรมชาติจิตเนี่ยเมื่อมันอยู่กับความรู้สึกมันจะพรากจากความคิดนึกอัตโนมัติ
เพราะในขณะหนึ่งหนึ่ง จิตจะทําหน้าที่รับรู้อารมณ์ได้เพียงขณะเดียวกันอย่างเท่านั้น เมื่อจิตอยู่กับความรู้สึกแนบแน่นอยู่กับความรู้สึกปัจจุบัน แน่นอนทีเดียวโลกของความคิดนึกอดีตอนาคตก็ยุติบทบาท
.
สภาวะใดที่สัญญาทํางานไม่ปกติ
สภาวะนั้นจะไม่รองรับ
ปัญญาจะตั้งอยู่ อิงอาศัยอยู่ไม่ได้
ซึ่งตรงกับพระสูติกับคําพุทธพจน์ที่พระองค์ท่านถามว่า"สัญญาและปัญญาอันไหนเกิดก่อน"
.
แน่นอนทีเดียวสัญญาเกิดก่อนปัญญาเกิดตามหลัง
ถ้าคุณสมบัติของสัญญาไม่เต็มร้อยนะเป็นอาพาธปัญญาก็ไม่เกิด
นั่นคือเหตุผลว่าไฉน เนวสัญญานาสัญญายตนจึงไม่เกิดร่วมกับการบรรลุธรรม
นั่นหมายถึงว่า
สมาธิวิถีหรือว่าฌานจิตก็อยู่อย่างเนี้ยมีตั้งแต่
ระดับที่สองถึงระดับที่ ๗ อันนี้เป็นวิถีของฌาน
.
ส่วนวิถีของปัญญา ๔ ก็เห็นการเกิดแบบของขันธ์ ๕
อยู่ในอรูปฌานทั้ง ๓ ขั้นเบื้องต้นก็เห็นการเกิดแบบของขันธ์ ๔
.
โมเมนต์ใดขณะใดที่ไม่ว่าจะเป็นกามสัญญา-รูปสัญญา
หรืออรูปสัญญา ๓ ขั้นเบื้องต้น
จิตของผู้ปฏิบัติหยั่งรู้ ประจักษ์รู้
แจ่มแจ้งกับการเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการเกิดดับขององค์ประกอบของรูปและนาม นั่นคือเป็นวิปัสสนา
นั่นหมายถึงอะไร
.
เห็นการเกิดดับในระดับไหน
มัคคญานถึงจะปรากฏ การณ์บรรลุธรรมถึงจะปรากฏ
แน่นอนทีเดียวเห็นการเกิดดับในระดับกามสัญญาเนี่ยมัคคญานจึงเกิดไม่ได้
มัคคญาน การบรรลุธรรมจะเกิดได้เมื่อต่อเมื่อเห็นการเกิดดับในระดับรูปสัญญาทั้ง ๔ และอรูปสัญญา ๓ ขั้นเบื้องต้นเท่านั้นนะ เท่านั้น
ที่ว่าการบรรลุธรรม
ก็มีเป็นสุขวิปัสโกเป็นผู้ได้การบรรลุธรรมแบบไม่ต้องอาศัยฌาน
อันนั้นไม่จริง อันนั้นเป็นอรรถกถาในเป็นตําราที่มาทีหลัง
การบรรลุธรรมใดใด ทัศนคติใดที่บอกว่าการบรรลุธรรมนี้
ไม่ต้องอาศัยฌาน แสดงว่าเค้าปฏิเสธมรรคองค์ที่ ๘ “สัมมาสมาธิ”
นั่นหมายถึงอะไร
การบรรลุธรรมนั้นก็อาศัยเพียงแค่มรรค๗
ซึ่งเป็นไปไม่ได้น่ะ
มรรคองค์ที่ ๘ คือสัมมาสมาธิ ก็คือฌานทั้ง ๔ นั่นเอง
เราอย่าลืมนะอรูปฌานหรือว่าอรูปสัญญา ๔ ขั้นน่ะ
เหมือนกันนะ องค์ประกอบเหมือนกันกับจตุตถฌาน
แตกต่างเพียงเปลี่ยนอารมณ์จากรูปเป็นอรูปแค่นั้นเอง
ชัดเจนนะอันนี้คือตอบคําถามกัน
สมถะหรือว่าฌานจิตอยู่ในระดับไหนของอานาปานสติ ๑๖ ขั้น
และวิปัสสนาอยู่ในขั้นไหนบ้าง - วิปัสสนาอยู่ได้หมดเลย
ตั้งแต่กามสัญญา
เห็นการเกิดดับในระดับกามสัญญาก็เป็นวิปัสสนา
เพียงแต่ว่าเป็นวิปัสสนาในระดับที่ยังไม่รองรับการบรรลุธรรมนั่นเอง
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Wed, 15 May 2024 - 1h 14min - 138 - อุปสรรคที่นักภาวนาข้ามพ้นได้ยาก Group Sitting 2024-04-14Fri, 19 Apr 2024 - 1h 08min
- 137 - สภาวธรรมที่อวิชชา ตัณหา อุปาทานอิงอาศัยไม่ได้ Group Sitting 2024-03-31
ในขณะใดที่ความเพลิน ความพึงพอใจอภิฌชานี้เกิดขึ้น
มีการเพ่งในอารมณ์นั้นแล้วเนี่ยนั่นคือภว ภพได้ก่อตัวมาละ
นั่นคือเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งภพ
เพ่งในอารมณ์ใดพึงพอใจในอารมณ์ใดก็คือเพ่งพึงพอใจในวิญญาณธาตุ
วิญญาณธาตไปรับรู้อารมณ์ใดจิตก็จะพึงพอใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้น
เพ่งอยู่ในอารมณ์นั้น นั่นแลเป็นที่ตั้งแห่งภพ
ภพเป็นเป็นปัจจัยให้เกิดชาติชรามรณะจะเป็นแบบนี้
วิญญาณรับรู้อารมณ์หนึ่งใด
ความพึงพอใจความเพลิน
หรือว่าความไม่พึงพอใจโทมนัส
เกิดร่วมกับอารมณ์นั้น ๆ
นั่นแลเป็นที่ตั้งแห่งภพ
นั่นแสดงว่า
ทุกๆกระบวนการ
ของการรับรู้ของวิญญาณธาตุไม่ได้จบสิ้นลงที่ตัวธาตุรู้
จิตที่มีอวิชชาเนี่ยบางครั้งบางขณะมันก็จบที่ผัสสะ บางครั้งบางขณะก็จบที่เวทนา
แต่โดยนัยยะของสภาวะธรรมแล้วจะจบลงที่เวทนานะเพราะเวทนาสัญญาเวทนานี้เป็นวิบาก
แต่เมื่อธาตุรู้มันรู้ทางอายนะทั้ง 6 ช่องเรียบร้อยแล้ว ช่องทางอารมณ์ทั้ง 6 ช่องทางแล้วเนี่ย
ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ สัญญาเกิดขึ้นสัญเจตนา
ผัสสะจบลงที่ผัสสะมั้ย !ไม่ฃ
จบลงที่เวทนา พระองค์ท่านถึงตรัสว่า
"ธรรมทั้งปวงรวมลงที่เวทนา"
แน่นอนทีเดียวจิตที่มีอวิชชาเนี่ย
ขณะใดที่ปัญญาญาณไม่เกิดร่วมในขณะที่จิตมาหยั่งรู้เวทนา
ไม่เห็นการเกิด ไม่เห็นการดับของเวทนา ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของเวทนา
เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
แต่เมื่อใดขณะใดที่จิตได้รู้เท่าทัน
ก็คือตัวปัญญารู้เท่าทันซึ่งความเกิดและความดับของเวทนา
มันจะไม่ต่อยอดไปนะ มันจะดับ มันจะสิ้นสุดลงตรงนั้น
เวทานาดับตัณหาดับ ตัณหาดับอุปทานดับ
สําหรับจิตที่หลุดพ้นแล้วโดยสมบูรณ์ เค้าจะสิ้นสุดลงที่เวทนา
สิ้นสุดลงที่เวทนา จะไม่มีการสืบต่อของตัวสังขาร
ตัวรักตัวชัง ตัวตัวตัณหา จะสิ้นสุดลงที่เวทนา
สภาวธรรมที่
อวิชชาตัณหาอุปาทานหยั่งลงไม่ได้ก็คือสภาวะธรรม
ของกฏแห่งไตรลักษณ์ อนิจจังทุกขังอนัตตา
ที่เรานิยามว่าสภาวะการเกิดและการดับนั่นเอง
Mon, 01 Apr 2024 - 1h 11min - 136 - 3 อุบายวิธีเพื่อเข้าถึงความสงบระงับ Group Sitting 2024-03-24Fri, 29 Mar 2024 - 1h 40min
- 135 - ความแตกต่างองค์ธรรมระหว่าง อนิมิตตเจโตสมาธิกับสัญญาเวทยิตนิโรธ Group Sitting 2024-03-17
https://youtu.be/p5YDIOYDCXc
" แต่ถ้าว่าสมองส่วนนั้นน่ะที่ตัวผัสสะการตีความ
กระบวนการของความคิด คอนเซปต์เนี่ยมันหยุดการทํางานปุ๊บ
อะไรเกิดขึ้น ! มันมีผลทําให้ทุกขเวทนามันดับไปอย่างรวดเร็ว
อันนี้ก็เป็นเรื่องที่อัศจรรย์มาก อนิมิตตเจโตสมาธิ
เพราะฉะนั้นเมื่อผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
ถ้าผัสสะดับหรือว่าผัสสะหยุด
แล้วเวทนาอะไรที่เหลืออยู่ น่าติดตามน่าศึกษามาก
-----
มีศัพท์ศัพท์หนึ่งที่พระองค์ท่านตรัสว่า
"สัญเจตนา"
มีพระสูตรหนึ่งที่ว่า
ธรรมทั้งปวงมีผัสสะเป็นแดนเกิด
อย่างถ้าเราไปดูในปฏิจจสมุปบาท
มีอวิชชามีสังขารวิญญาณมีนามรูป
อายตนะ ผัสสะ เวทนา
ขันธ์ห้ามาครบพร้อม ครบพร้อมมั้ยมันขาดอะไรไป วิญญาณมีแล้วสังขารมีแล้ว
เวทนามีแล้ว รูปนาม รูปมีแล้วอะไรที่ศัพท์ศัพท์หนึ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น “สัญญา”
สัญญาไปอยู่ตรงไหน
ขันธ์เนี่ย สัญญาไปอยู่ตรงไหน
ฉะนั้นมีพระสูตรอีกพระสูตรหนึ่ง
พระองค์ท่านตรัสว่า "ผัสสะก็คือสัญเจตนา" สองศัพท์นั้นติดกันนะ
สมาสกันนะ สัญ-เจตนา
แต่ ณ วันนี้ก็ตอบให้ได้เลยว่าสภาวะของสัญญาเวธยิตนิโรธตอนที่ดับสัญญานะมันมีจุดจุดหนึ่ง
จุดดับสัญญากับจุดดับผัสสะมันคนละจุดนะ มันคนละจุด
เพราะฉะนั้นนี่ตอบแล้วนะตอบให้มากกว่านี้ก็คงไม่ได้
ความแจ่มแจ้งนี้จะต้องเกิดขึ้นจากที่เราได้ไปสัมผัสแล้ว
เป็นประสบการณ์ตรง ประมาณนี้
.
วันนี้ตอบได้ที่สุดของที่สุดก็คือ..
ตำแหน่งของดับสัญญากับตําแหน่งของดับผัสสะซึ่งเป็นตัวอนิมิตตเจโตสมาธินั้นแตกต่างกัน
ไม่ใช่จุดเดียวกัน
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Fri, 22 Mar 2024 - 1h 42min - 134 - พลังงานในโลกยุคใหม่ "ใจเป็นจุดศูนย์กลางแห่งการรับรู้ ในฝ่ายอกุศลกรรมทั้งปวง" Group Sitting 2024-03-10
.เราใช้ความคิดความนึกในการประกอบกิจกรรม
ในชีวิตประจําวันมาเยอะมาก..มาเยอะมาก
นอกจากความคิดนึกที่เราใช้ไปแล้วเนี่ย
มันมีสิ่งที่ตกค้าง
สิ่งที่ตกค้างที่มันเคยเกิดร่วมกับความคิด
.
อะไรที่ตกค้าง !
ความคิดที่ตกค้างจะวนกลับเข้ามาอีก
เวียนเข้ามาอีกหลายรอบหลายครั้ง
อารมณ์ใดที่เรารับรู้ครั้งแรกที่ประกอบด้วยความรู้สึกที่ว่า..
พึงพอใจและไม่พึงพอใจอารมณ์นั่นแหละจะเป็นอารมณ์ที่ตกค้าง
วนกลับเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า
เพื่อให้จิตได้เรียนรู้นะ
เพื่อให้จิตได้เห็น
.
หากเราไม่รู้ไม่เห็น มันเป็นเสมือนหนึ่งบทเรียนที่จะต้องกลับมาซ้ำซาก
แต่ถ้าหากว่าเรารู้เราเห็นตรงตามความเป็นจริงมันจะไม่วนนะมันจะไม่วน
จะไม่มีการพัวพันจะไม่นํามาซึ่งความขัดแย้งจะไม่นํามาซึ่งความกลัว
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Fri, 15 Mar 2024 - 1h 00min - 133 - ร่วมปฏิบัติบูชา มาฆปุณณมีบูชา พ.ศ. ๒๕๖๗ Group Sitting 2024-02-25
Sabbāpapāṇaṃ akaraṇaṃ,
สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
sabbakusalassa sampādanam,
กุสะลัสสูปะสัมปะทาsaccittapariyodapanaṃ
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
- etaṃ buddhāna sāsanaṃ.
เอตัง พุทธานะสาสะนัง*
.
ความไม่ทำบาปทั้งปวงความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ความชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
*เนื่องในวโรกาสวันมาฆะบูชาที่
๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗
ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดถ้ำดอยโตน วัดใหม่มอวาคี วัดขุนป๋วย
Tue, 27 Feb 2024 - 1h 47min - 132 - การดำรงอยู่และการสิ้นสุดลงของรูปและนาม Group Sitting 2024-02-18
เมื่อใดที่จิตไม่ขึ้นอยู่ ไม่ถูกครอบงําด้วยการเลือกอารมณ์
อิสระจากการเลือกทั้งปวง
พื้นที่ของความคิด พื้นที่ของความนึก
พื้นที่ของการปรุงแต่งมันจะยุติบทบาทลงทันที
โลกแห่งความรักช้างโลกแห่งความกลัวโลกแห่งความขัดแย้งมันจะยุติ
...
เมื่อไปถึงจุดจุดหนึ่งสายธารแห่งความสืบต่อระหว่างความเกิดและความดับมันจะสิ้นสุด
มันจะตัดขาดไปจากกัน
จะไม่มีสภาวะความเกิดใหม่ของรูปและนามมาสืบต่อ
เรานิยามว่าดับสุดท้าย ดับสิ้นสุดลงจริงจริง ของความสืบต่อ
ไม่มีความสืบต่ออันใหม่ของรูปและนาม
มาเชื่อมต่ออีกแล้วเมื่อไม่มีความสืบต่อแห่งการเกิด
ก็ไม่มีความสืบต่อแห่งการดํารงอยู่
เมื่อไม่มีความเกิดจะมีความดับได้อย่างไร
สภาวะที่ไม่มีภาวะความเกิดและความดับ
ไม่มีการปรากฏอยู่เลยซึ่งความเกิดและความดับของรูปและนาม
เรียกว่าสภาวะนิพพาน
Wed, 21 Feb 2024 - 1h 47min - 131 - ความแตกต่างระหว่าง สักกายทิฏฐิ กับมานะทิฏฐิ Group Sitting 2024-02-11
จิตเนี่ยมันเริ่มมันรับรู้อารมณ์แล้วเนี่ย
ทางทวารทางช่องทางทั้ง ๖ นะ
มันไปรับรู้วิญญาณ
วิญญาณก็ทําหน้าที่รับรู้อารมณ์แต่ละขณะผ่านช่องทางการเห็นได้ยินได้กลิ่นลิ้มรสสัมผัส
ผ่านความคิดนึกนะ ผ่านความคิด
รู้แล้ว เห็นแล้วเนี่ย มันจบลงตรงนั้นไหม จบลงที่การเห็นทางตาการได้ยินทางหู
กระบวนการรับรู้ไม่ได้จบลงตรงนั้น !
กระบวนการรับรู้จะมาจบที่มโนวิญญาณ
พี่พระพุทธองค์ท่านตรัส ที่พระอาจารย์ยกพระสูตรมาบ่อยครั้ง
.
กระบวนการรับรู้มันมีขั้นตอนยังไงมีสเต็ปยังไง
ตาไม่บอด หูไม่หนวกเนี่ย
ก็จะรับรู้นะรับรู้คือตัววิญญาณธาตุ ก็จะทําหน้าที่ไปรู้อารมณ์ทาง
อายตนะหรือว่าทางช่องทางทั้ง ๖
ได้เห็นได้ยินได้กลิ่นลิ้มรสสัมผัส มันจะจบลงที่ความคิดนึกเสมอ
คืออายตนะภายนอก อายนะภายในกระทบกันแล้ว
วิญญาณไปรับรู้อารมณ์นั้นว่า มีคลื่นของอารมณ์
เข้ามาสัมผัสกับจักขุประสาท มาสัมผัสกับโสตประสาทนี่มีธาตุรู้ขึ้นมา
ตัวธาตุรู้ตัวนี้ก็เรียกว่าวิญญาณ
.
รู้อารมณ์ทางการเห็นทางตานี้เรียกว่าจักขุวิญญาณ
รู้อารมณ์ทางหูนี่ เค้าเรียกว่าโสตะวิญญาณ
อายตนะภายนอก อายตนะภายใน
วิญญาณธาตุรู้ธรรม ๓ อย่างนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
.
มาละโลกแห่งความคิด โลกแห่งความนึก
โลกแห่งการเปรียบเทียบ โลกของข้อมูลมาละ
ก็คือก็คือตัวผัสสะ
ผัสสะตัวนี้ ที่เราเคยได้ยินทั่วไปนะ
ผัสสะทางตา ผัสสะทางหู ผัสสะอันนี้ก็ผัสสะเหมือนกันแต่ว่าไม่ใช่ผัสสะที่เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า "ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา"
ผัสสะในปฏิจจสมุปบาทหมายถึงมโนสัมผัสนะ
มโนสัมผัส หรือในพระสูตรใช้คําว่า "สัญเจตนา"
ก็คือจิตไปสัมผัสกับความต่าง ไปสัมผัสกับความหลากหลายของความจํา
มันจำอะไรล่ะความหลากหลาย
มันจําอารมณ์กับความหลากหลายทางอารมณ์
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Mon, 12 Feb 2024 - 1h 25min - 130 - ลม 6 ฐาน Group Sitting 2024-02-04
ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขา เปรียบเหมือนเรือหรือแพ นำจิตไปสู่งฝั่ง
ขณะนี้เรากำลังดำเนินไปบนเส้นทางแห่งมรรค
.
รูปและนามดำรงอยู่ได้เพราะความสืบต่อ ของลมหายใจ
นาม ก็มความสืบต่อของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
เมื่อการสืบตอ่สิ้นสุดลง สิ้นสุดลงในโมเมนต์การดับ เรียกว่าวดับสุดท้าย
ไม่มีการเกิดของรูปและนามมาสืบต่อ
สภาวะไม่เกิด ไม่ดับ คือสภาวะ นิพพาน
https://youtu.be/WFf6KU2iNis
Wed, 07 Feb 2024 - 1h 29min - 129 - ต รั ส รู้ คือจิตบรรลุถึงสภาวธรรมที่ไม่เนื่องด้วยกาลเวลา (อกาลิโก-นิพพาน ) Group Sitting 2024-01-21
จะมีคําถามว่า ทําไมถึงจะต้องอาศัยกําลัง อาศัยสมาธิระดับอัปปนาสมาธิหรือระดับฌาน เพราะว่าในโลกของกามสัญญา การรับรู้ในระดับรูปสัญญาหรือระดับฌานจิต นิวรณ์ ๕ ได้ดับไปหมดแล้ว จิตมีกําลังมาก อกุศลธรรมทั้งหลาย กามสัญญา ทุกขเวทนา ย่อมดับไปเมื่อจิตบรรลุถึงปฐมฌาน พูดถึงคําว่าบรรลุ เราอยู่ในกามภูมิเนี่ยเราไปบรรลุถึงระดับรูปภูมิ หรือเราอยู่ในระดับกามสัญญาแล้วเราฝึกจิต เข้าไปถึงระดับรูปสัญญา ซึ่งมันไม่ใช่ภูมิของเรานะ พระองค์ท่านนิยามใช้คําว่า"บรรลุถึง" "เข้าถึงบรรลุถึง" เมื่อมรรคมีองค์ ๘ ได้ครบแล้วเนี่ย จิตก็จะบรรลุถึงวิมุตติ อันนี้ก็เรียกว่าบรรลุพระนิพพาน เข้าถึงพระนิพพาน คําที่ใช้กับการบรรลุสองสภาวะคือบรรลุฌานจิตกับบรรลุ โลกุตระ นิพพาน หรือวิมุตตินะ จะเป็นนัยยะแบบนี้นะคำว่า"ตรัสรู้" * ปิยทัสสี ภิกขุ *
Thu, 25 Jan 2024 - 1h 45min - 128 - ความแตกต่างระหว่างจิตกับวิญญาณ Group Sitting 2024-01-07
เมื่อวิญญานนี้ไปต้ังอยู่ในอารมณ์ใด ความเพลินความยินดีในอารมณ์นั้นเกิดขึ้น จิตที่มีอวิชชาไม่รู้เท่าทัน ภพย่อมหยั่งลง
.
วิญญานมันเกิดดับ ที่มันไม่ดับรอบก็เพราะมันมีสันตติตัณหา มันสืบต่อ
-* จิตนี้ต้องมีประสพการณ์เข้าไปดับรอบขณะที่มีชีวิตอยู่ได้ดังปรารถนาบ่อย ๆ ไม่ใช่อะไรอื่นก็คือสภาวะของนิพพานธาตุนั่นเอง *-
Mon, 08 Jan 2024 - 1h 32min - 127 - ของขวัญอันล้ำค่าจากปัจจุบันกาล Group Sitting 2023-12-31
เมื่อจิตอยู่กับกายก็จะเห็นการเคลื่อนของลมหายใจเข้าออก
อันนี้องค์ความรู้ขั้นพื้นฐานนะ
เมื่อจิตอยู่กับความคิดก็จะเห็นการเคลื่อนของสัญญาภาพ
ของเวทนาสุขทุกข์
ของความรักชัง
ที่มันพัวพันในอารมณ์ในสัญญา
.
ชัดแล้วก็กลับมา
ที่การเคลื่อนของลมหายใจ
จิตได้มาสัมผัสกับสิ่งใหม่แล้ว
เป็นรางวัลเป็นของขวัญอันล้ำค่าเลย
มันใหม่อยู่เสมอของขวัญอันนี้
ปัจจุบันนั่นเองเป็นของขวัญอันล้ำค่าสําหรับชีวิต
ใครที่ไม่เห็นคุณค่าไม่เห็นรางวัลอันพิเศษ
ที่ธรรมชาติหยิบยื่นขึ้นมาก็ไปไขว่คว้าไปแสวงหาในโลกอดีตอนาคต.
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Wed, 03 Jan 2024 - 1h 06min - 126 - โลกหวังอะไรจากเรา เราหวังอะไรจากโลก Group Sitting 2023-12-24
ทุกขณะทุกโมเมนต์ที่ความหวังผุดขึ้นมา
นั่นคือจิตจะเคลื่อนเข้าไปสู่มิติของความคิด
สมองก็จะคิด สมองก็จะนึก
จิตก็ปรุงแต่งโดยอาศัยรูปของความคิดนี้ไปปรุง
ปรุงแล้วก็ปรุง
.
ทุกครั้งที่เราหวัง
เราเหน็ดเหนื่อยนะ
จิตเรานี้เหนื่อย ทุกคนบอกว่าเหนื่อยมาก
เหนื่อยกับการเติมเต็มให้กับความหวัง
ไม่หวังก็อยู่ไม่ได้ อยู่ในโลกสังคมไม่ได้
แต่องค์ความรู้สมาธิวิปัสสนานี้
จะให้เราได้พักจากการหวัง
.
ทุกครั้งที่เราหวังนั้น
เราอยู่ในรูปลู่วิ่งละ
ทุกคนมีเวย์มีมีช่องทางมีลู่วิ่งของตัวเอง
มีความหวังแตกต่างกันไป
นั่นคือเรากําลังวิ่งไปบนลู่วิ่งแห่งความหวัง
เหนื่อยเหนื่อยมาก
ชีวิตก็มีรางวัลให้กับมนุษย์กับสรรพสัตว์เหมือนกัน
ในโมเมนต์ที่เราหลับนะความหวังก็ยุติการทํางาน
เราก็บอกว่าเราได้พักแล้ว
ตื่นจากหลับมันก็หวังอีก มันก็เหน็ดเหนื่อยอยู่บนลู่วิ่งอีก จะเป็นเช่นนี้
.
นอกจากการหลับแล้ว ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการพักของจิตวิญญาณ
ผู้ที่มีองค์ความรู้สมาธิและวิปัสสนา เขาจะมีการพักผ่อนที่ดีเลิศนะ
พักจากความเหนื่อยล้าที่เราต้องวิ่งไป
กับกิจกรรมที่ตอบสนองความหวังของเรา
เราเหนื่อยล้ามาก
.
เรามีองค์ความรู้สมาธิวิปัสสนา
มารับรู้กับกฏแห่งความเป็นจริงที่กําลังเปลี่ยนแปลง
โดยไม่ต้องหวังเลย เพราะอะไร
มันหวังไม่ได้ เมื่อใดมาอยู่กับกฏแห่งการเปลี่ยนแปลงอยู่กับการเกิดดับ
ความคุ้นเคยกิจกรรมในการเติมเต็มให้กับความหวัง
มันจะยุติบทบาทเองไม่ต้องปฏิเสธไม่ต้องไปปิดกั้นอะไรมัน
นั่นคือความงดงาม
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Tue, 26 Dec 2023 - 1h 47min - 125 - "ค ว า ม ยึ ด ติ ด" คือต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง อันนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งปวง Group Sitting2023-12-17
* ค ว า ม ส ง บ นั้ น ห ยิ บ ยี่ น ค ว า ม สุ ข ใ ห้ เ ส ม อ *
ทุกคนบอกว่าเหนื่อย เราเหนื่อยล้ากับการที่จะต้องมาแบก
ความคิดความขัดแย้งนี้ไว้
สมาธิและวิปัสสนาจะเป็นศิลปะ เป็นองค์ความรู้
ที่จะทำให้การรับรู้ของเรา ชีวิตของเราเนี่ยได้พักบ้าง ได้พักบ้าง
เมื่อมันได้พัก นั่นคือจิตเข้าไปสัมผัสกับความสงบ
พักจากความคิด สงบจากความคิด ระงับจากความคิด
จากไม่กี่ขณะไปสู่หลาย ๆ ขณะ
จากไม่กี่ชั่วโมงเป็นหลายชั่วโมงจาก
ที่ไม่ได้ดังปรารถนาก็ได้ดังปรารถนา
ความสงบนั้นย่อมหยิบยื่นความสุขมาให้เสมอ
เราจะได้สัมผัสกับ
มิติใหม่ของความสุข
ก็คือความสุขที่อิงอยู่บนความสงบ
แต่ความสุขใดที่ไม่มีความสงบเป็นพื้นฐาน
มันก็เป็นความสุขอย่างที่เราได้สัมผัสนั่นแหละ
เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วก็หายไป
เราต้องมีกิจกรรมเพื่อให้เกิดความสุข
ให้เกิดความบันเทิงแบบนั้นอีก
แต่ความสุขที่เกิดจากความสงบน่ะมันกินช่วงนาน
เราไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับความเคยชินแบบนั้นอีกแล้วนะ
กับโลกที่มันต้องมีการแข่งขัน
ต้องใช้ความคิดนึก
ต้องมีการวางแผน
ใน24ชั่วโมงแล้วนอกจากการหลับแล้ว
จะมีชั่วโมงของการพักจากโลกแห่งความเคยชินน่ะ
เคยชินจากโลกของความคิดนึกปรุงแต่ง
ก่อนนอนหนึ่งชั่วโมง
หลังตื่นนอนหนึ่งชั่วโมง
ให้จิตเราไปเสพคุ้นกับภาวะความสงบนั้นบ้าง
ซึ่งมันมีอยู่แล้วล่ะ
เมื่อใดที่จิตมันยุติการแสวงหา
เมื่อใดที่จิตยุติการเลือกอารมณ์
ความสงบจะมาทันทีเลย
ไม่ต้องใช้อุบายวิธีเทคนิคให้ยากลําบากให้ซับซ้อน
โมเมนต์ใดขณะใดที่จิตอิสระจากการเลือกอารมณ์
เมื่อใดขณะใดที่จิตอิสระจากแรงปรารถนา
จากแรงต้องการ จากเจตจํานงมุ่งหวังในอารมณ์ทั้งปวง
ความสงบจะมาทันที
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Wed, 20 Dec 2023 - 1h 41min - 124 - ปฏิปทาข้ามพ้นกาลเวลา Group Sitting 2023-12-03
* คุณสมบัติของรูปและนามคือการเคลื่อน การเปลี่ยนแปลง *
- - -
" เมื่อเราเอาความรู้สึกตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ เราก็จะรับรู้ เราก็จะไปประจักษ์ กับคุณสมบัติของกาย คือมันมีสภาวะหนึ่ง มีธาตุหนึ่ง กำลังเคลื่อน แท้ที่จริงทุกธาตุมีการเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วล่ะ แต่เห็นการเคลื่อนของธาตุลมได้ชัดกว่าธาตุอื่นนะ เมื่อใดที่จิตอยู่กับความคิด จิตจะเห็นการเคลื่อนขององค์ประกอบความคิด เหมือนกับเมื่อกี้เมื่อจิตอยู่กับกายก็จะเห็นการเคลื่อนของธาตุลม ลมหายใจเข้าออก เมื่อใดที่จิตอยู่กับความคิด จิตก็จะเห็นองค์ประกอบความคิด ในการรู้ ในการเห็น ขององค์ประกอบความคิดน่ะ เป็นอารมณ์ 'อดีต' หรือ 'อนาคต' ความรู้สึกร่วมเป็น 'สุข' หรือ 'ทุกข์' ในสุขและทุกข์นั้นมีความ 'พึงพอใจ' หรือ "ไม่พึงพอใจ' เกิดร่วมไหม
รู้แบบนี้เห็นแบบนี้นั่นแหละคือ
รู้ ตรง ตาม ความเป็นจริง " * ปิยทัสสี ภิกขุ *
Tue, 05 Dec 2023 - 54min - 123 - สัมผัสหยั่งรู้สู่สภาวะ ที่แบ่งแยกไม่ได้ Group Sitting 2023-11-26
เราได้มาร่วมกันสัมผัสรู้ตระหนักรู้หยั่งรู้ประจักษ์แจ้ง
หยั่งรู้สู่ความจริงที่กําลังปรากฏ
เพียงขณะเดียวแล้วสลายไป
ขณะใหม่มาแทนที่แล้วสลายไปอย่างรวดเร็ว
นี่คือกฎแห่งการเปลี่ยนแปลง นี่คือคุณสมบัติของรูปและนาม
นี่คือคุณสมบัติของทุกสรรพสิ่งในสังขตะ ในโลกิยะในโลกของเวลาในโลกของเวลา
เมื่อก่อน..เราไม่เห็นสัจจะของเวลานะ
เพราะอะไร
เพราะเราอยู่ห้วงของอดีตอนาคตไง
ไปอยู่กับเวลาที่ผ่านไปแล้ว
ไปพัวพันกับเวลาที่ยังไม่ปรากฏยังไม่เกิดขึ้น
แล้วเราได้อะไร! นั่นแหละสิ่งที่เราได้
ความยึดความติด
ความฟุ้งซ่าน
ความขัดแย้ง
ความกลัว
ความกังวล
นั่นละของแถมที่เราได้มาจากที่ไปพัวพันในโลกอดีตอนาคต
- - -
ก็มีเด็กมาถาม เอ๊คําว่า
นิพพานในมันซึ่งเป็นสิ่งที่ไกล
ไกลจากการทําความเข้าใจ ไกลจากความเข้าถึงสําหรับผู้ที่ยังไม่ได้ใส่ใจบนเส้นทางนี้
แต่ว่าพอที่จะนิยามเอาความหมายสภาวะ ที่สื่อกันได้ง่ายง่ายเนี่ย
จิตที่ถึงนิพพานแล้วผลของสภาวะนิพพานเป็นเช่นใด
หมายถึงว่าไม่ใช่ว่าอยู่จิตที่เข้าถึงนิพพานแล้วก็อยู่นิพพานตลอดไม่ใช่นะ
จิตที่เข้าถึงนิพพานแล้วตราบใดที่ยังมีวิบากของขันธ์อยู่
จิตก็จะลงมาร่วมกับเวลา มาอยู่กับรูปนาม
มาอยู่กับสมมุติอ่ะ
.
แล้วเมื่อใดที่จิตมาอยู่กับโลกของรูปและนามเนี่ย
จิตของเค้า การรับรู้ของเค้าจะเป็นยังไง
.
มันมีหลายระดับที่จะบ่งบอกชัดว่าสภาวะผลของนิพพานเนี่ยจิตที่เป็นอิสระแล้วเป็นเช่นไร
มันจะตรงกันข้ามกับตัวตัณหาอุปทานนะ
ตัวตัณหาเนี่ยเป็นเหตุแห่งสภาวะเหตุแห่งทุกข์
ที่ว่าจะมาร้อยรัดจิตให้ติดอยู่ในอารมณ์ที่จิตเข้าไปรู้นะ
มีลักษณะความพร่อง
คือจะเห็นแต่ความพร่องเห็นแต่โลกของตัวตนที่ไม่เคยอิ่ม
เมื่อมันไม่อิ่มมันพร่องมันก็ต้องมีการเติมเต็ม
ชีวิตของสัตว์โลกเนี่ยขับเคลื่อนไปเพื่อการเติมเต็ม
ให้กับอัตลักษณ์ให้กับตัวตนให้กับความรู้สึกไม่มีที่สิ้นสุด
เราตกเป็นทาสของสิ่งนี้
.
ปัจจุบันนี้ชาตินี้ยังปลดเปลื้องยังหลงอยู่ในสภาวะการเติมเต็ม
มันก็ต้องไปเติมเต็มในชาติถัดไปแหละ
มันจะยุติตัวมันลงได้ยังไงสภาวะการเติมเต็มนะ
นั่นคือสภาวะของจิตที่พ้นไปจากการเติมเต็มแล้ว
พ้นไปจากความพร่องจากตัณหาแล้ว
ก็คือสภาวะจิตเค้าจะไม่มีความพร่อง
คือมันเต็มอยู่ตลอดเวลา
ความเต็มไม่มีขอบเขตนะ
คุรุอาจารย์บางท่านบอกว่ามันเต็มไปทั่วจักรวาล
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
============
Mon, 27 Nov 2023 - 1h 14min - 122 - ผู้ที่กลืนกินกาล ผู้ที่ถูกกาลกิน Group Sitting 2023-11-19
ความคิดมันจะรับรู้ผ่านตัวตนนะ มีเราเป็นจุดศูนย์กลางในความคิดนั้น เมื่อมีเรา ก็จะมีกระจกสะท้อนว่าภาวะความมีตัวเราก็คือความสัมพันธ์ ตัวเรานี่มันอัตลักษณ์เนี่ยมันจะอยู่โดดโดดไม่ได้นะ มันจะต้องอิงความสัมพันธ์ สะท้อนว่ามีตัวมันอยู่ ดูว่าตัวตนของเราไปอิงความสัมพันธ์กับใคร กับบุคคลไหน ในความสัมพันธ์นั่นอิงความรู้สึกแบบไหน สุขหรือทุกข์ รักหรือชัง ชอบหรือไม่ชอบ มันจะเป็นอย่างนี้ เมื่อก่อนนะ เมื่อใดที่เรารับรู้ผ่านความคิดมันจะผ่านตัวตน แต่ในเมื่อเรามาเรียนรู้องค์ความรู้ของวิปัสสนา เราไม่ได้มองแบบนั้นนะ ฯ
Thu, 23 Nov 2023 - 59min - 121 - จิตเคลื่อนออกจากโลกแห่งความคิดมาอยู่กับความรู้สึก Group Sitting 202-11-05
ให้เราสังเกตปริมาณลักษณะ
ของลมหายใจก็ละเอียดลงลดน้อยลง
จิตละเอียดลมหายใจละเอียด
.
มีอุบายวิธีในการเข้าไปสู่ ณ จุดกึ่งกลางสมอง
เป็นการรับรู้ผ่านความรู้สึกล้วน ๆ
เป็นความรู้สึกที่ไม่แบ่งแยก
ไม่นิยามว่าใครเป็นผู้รู้สึก
.
อัตลักษณฺ์ ภาพลักษณ์ตัวตนที่มันโลดแล่น
ไปในโลกของความคิดมันยุติลงแล้วนะ
เป็นการรับรู้ที่ไม่แบ่งแยก
เป็นการรับรู้ที่ไม่มีการเทียบเคียงไม่มีการเปรียบเทียบ
เป็นการรับรู้ที่ไม่มีเงื่อนไข
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Wed, 08 Nov 2023 - 52min - 120 - สภาวธรรมระดับไหนของ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ที่รองรับการบรรลุธรรม Group Sitting 2023-10-29
การรับรู้นั้นใหม่อยู่เสมอ ที่เราเกิดความเบื่อหน่ายในอารมณ์ เราอยากเปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนความสัมพันธ์ เพราะเราอยู่กับอารมณ์เก่า ๆ เราอยากจะสัมผัสกับสิ่งใหม่ ในนิยามของนักวิปัสสนา เมื่อใดที่เราสำเนียก มาประจักษ์รู้กับขณะ ของกาละ ปัจจุบันขณะ เราจะได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ทันที อัศจรรย์มากนะ . เราได้ละเลยความสดใหม่ของชีวิต ของรูปและนาม ใหม่ทุกขณะ สดทุกขณะ ปรากฏเพียงชั่วขณะเดียวแล้วสลายไป สิ่งใหม่มาอีกละ เราจะไม่เบื่อ จะไม่รุสึกเบื่อหน่าย จะไม่รู้สึกถูกกดดัน ความใหม่ความสดของขณะ จะหยิบยื่นความสมดุลในการรับรู้ของจิต คือภาวะความเป็นกลางนั่นเอง . เราไม่สามารถไปรักษาขณะไว้ได้ สภาวะที่ไม่ถูกควบคุม สภาวะที่ไม่ขึ้นกับแรงปรารถนา เราจะรู้หรือไม่รู้ เราจะปรารถนาหรือไม่ ขณะก็เคลื่อนไปพร้อมกับเวลา จงเห็นความมหัศจรรย์แห่งความเรียบง่ายของรูปและนาม
Thu, 02 Nov 2023 - 1h 45min - 119 - การผุดขึ้นของความเป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) คือนิมิตหมายของฌานจิต Group Sitting 2023-10-22
ก่อนที่จิตจะเข้าถึงอัปปนาสมาธิ
จะผ่านขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ
ขณิกสมาธิก็คือลมหายใจเข้าสั้นออกสั้น
อุปจารสมาธิก็คือ
เป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหรือกายทั้งปวง
รากศัพท์ภาษาบาลีใช้คำว่า "สัพพะกายะสังขาระ"
กายสังขารคืออะไรก็คือ ลมอัสสาสะปัสสาสะ
นั่นหมายถึงว่าเอกัคคตาจิต
หรือความเป็นหนึ่ง จะเริ่มนะ
มันจะผุดขึ้นมา ในระดับที่สองของอานาปานสติ
ก็คือขณิกสมาธินั่นเอง
แล้วภาวะความเป็นหนึ่ง เอกัคคตาก็จะมีกำลังมากขึ้นตั้งมั่นได้นานขึ้น
.
เราอย่าลืมนะ โดยสภาวะเนี่ย
เอกัคคตาจิตตั้งมั่นอยู่ได้นานเท่าใด
ปีติและสุขและอุเบกขาก็ตั้งมั่นอยู่ได้นานเท่านั้น
สภาวะบางสภาวะ อารมณ์บางอารมณ์อาจจะมีปีติ อาจจะมีสุข
อาจจะมีอุเบกขา แต่ถ้าไม่ประกอบ
กับเอกัคคตา นั้นไม่ใช่เป็นปีติและสุขในระดับฌานจิต
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Mon, 23 Oct 2023 - 1h 38min - 117 - "ระสะ สมาธิ" Rasa Meditation อุบายวิธีละความเพลิน ความยึดติดในอารมณ์ Group Sitting 2023-10-15
สุขหรือทุกข์ สมหวังหรือพลาดหวัง รักหรือชัง จะไม่เกิดร่วมกับปัจจุบันขณะ
.
วันนี้ก็จะมีอุบายวิธีใหม่นะ
มาแบ่งปันกับผู้ปฏิบัติที่ยังไม่สัมผัส
กับความสงบระงับจากสังขาร จากตัวปรุงแต่ง
ก็คือทุกครั้งที่จิตเรามีความเพลิน
ในอารมณ์รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสในความคิดนึกนะ
จุดที่ตั้งแห่งความเพลินที่มันดึงจิตไปร่วม ก็คือปลายลิ้นนะ ปลายลิ้น
จุดสัมผัสที่ปลายลิ้น
ใครที่ยังมีความเพลินในอารมณ์อยู่
ยังขัดแย้งในอารมณ์อยู่
ยังพัวพันในอารมณ์อยู่ลองดูนะให้เอาความรู้สึกมา
สัมผัสมาโฟกัสที่ปลายลิ้น
เป็นความรู้สึกล้วนๆนะไม่ใช้คำบริกรรม
ไม่ใช้จินตนาการ
รู้สึกอยู่ที่ปลายลิ้น
.
ผู้ปฏิบัติบางท่านก็โอ้ ! มันมีพลังแทงทะลุเข้าไปบนสมองเลย
แต่สำหรับผู้ที่สัมผัสกับจุดกึ่งกลางของสมองได้แล้ว
ขณะใดช่วงใดวาระใด
ที่จิตมันพยศนะ ความยึดความติดมันมีมาก
มันเพลินมากมันข้องเกี่ยวพัวพันอารมณ์มาก เขาก็จะใช้อุบายนะ
อยู่ตรงกลางระหว่างจุดกึ่งกลางสมองกับปลายลิ้น
ให้เราลากเส้นตรงมาจากกึ่งกลางสมองมาที่ปลายลิ้น
เสร็จแล้วให้เราเอาความรู้สึกไว้กึ่งกลางของเส้นนี้
อ้นนี้ลึกมากนะ เงียบระงับ
หยุดทันทีเลย
นี่เขาเรียกว่ามันเผาแล้ว
เผาความเพลิน
เผาความยึดความติด เผาความฟุ้งซ่าน
แล้วจะอยู่กึ่งกลางระหว่างสมองกับปลายลิ้น
หรือว่าจะอยู่ที่เป็นหนึ่งเดียวกับปลายลิ้นก็ได้นะ
อันไหนที่มันชัด ที่ยังความสงบระงับให้เกิดขึ้น
อยู่ตรงนั้น
ส่วนใครที่เห็นการเกิดการดับ
เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนแล้ว
ก็ไม่ต้องมาใช้วิธีนี้นะ
Tue, 17 Oct 2023 - 1h 17min - 116 - วิชาความสุข Group Sitting 2023-10-01Mon, 02 Oct 2023 - 2h 00min
- 115 - การดับของ วจีสังขาร กายสังขาร จิตสังขาร Group Sitting 2023-09-24
คืออุเบกขากับความเพลินในอุเบกขาเขาไม่ใช่ตัวเดียวกัน ? อ๋อพระองค์ท่านตรัสว่าเป็นเวทนาชั้นเลิศ ก็ไหน ๆ ก็มาถึงตรงนี้แล้วเนาะแท้ที่จริงเนี่ยพอจิตเข้าไปสู่ ระดับรูปสัญญาแม้แต่ปฐมฌานเนี่ยนะ อะไรดับไปรู้มั้ย นิวรณ์ดับ อภิชฌาและโทมนัสดับ อกุศลธรรมดับ แล้วความยินดีในความเพลินมันก็เป็นอกุศลธรรม บางคนก็เอ้ ทำไมการบันทึกคำสอนของพุทธะนั้นมันช่างย้อนแย้งกัน ก็ไหนว่าอกุศลธรรมดับ นิวรณ์ธรรมดับไปในปฐมฌานแล้วเนี่ย กามสัญญาดับไปแล้วทำไมถึงยังมีความเพลินอยู่ อะไรอยู่ คือต้องแยกให้เป็นนะ หมายถึงว่าเมื่อใดที่ออกจากฌานจิต ความเพลินถึงจะเกิดขึ้น ถวิลหาจะเข้าไปอีก ผลของความระงับ ผลของสมาธิมันทำให้กายระงับ จิตสังขารระงับ มันเป็นสุขภายใน แล้วก็เอาล่ะ อันนี้พอออกมาแล้วนี่ก็ชื่นชม ฉันจะกลับเข้าไปอีก ชั้นจะให้เข้าให้มาก เข้าให้บ่อยครั้ง เข้าให้มากเข้าให้บ่อยครั้ง จะเป็นอย่างงี้ แล้วก็จะเป็นที่เรียกว่า เป็นเรื่องของท็อปปิคที่เหล่าอารยะ หรือว่าผู้ที่อารยบุคคลที่ยังไม่ถึงขั้นสุดท้ายที่เขาจะมาแชร์กันนะ วันนี้ท่านอยู่ในฌานที่เท่าไหร่ วันนี้ท่านดับสัญญาเวทยิตนิโรธได้กี่ครั้ง เนี่ยเขาก็จะพูดกันยังงี้ บทสนทนาเขาอ่ะ แต่บทสนทนาคนที่ยังไม่ถึงนะ จะไปกินอะไร จะไปเที่ยวที่ไหน จะไปคุยกับใคร อะไรประมาณนี้เนาะ ความเพลินมันก็คนละอย่าง มันก็เป็นความเพลินเหมือนกันแหละแต่มันละเอียดหยาบต่างกัน
Tue, 26 Sep 2023 - 1h 53min - 114 - เย ธัมมา เหตุปัป ภะวา... ธรรมเหล่าใดเกิดจากเหตุ... Group Sitting2023-09-17
เมื่อเราพูดถึงเวลา ในคำสอนของพุทธะ
อารมณ์และเวลานั้นจะแยกออกจากกันไม่ได้
อารมณ์มี ๓ ประเภท
.
อารมณ์เป็นส่วนอดีตภาษาบาลีก็ใช้คำว่า อะตีตารัมมะณาธัมมา
อารมณ์อันเป็นส่วนอนาคต อะนาคะตารัมมะณา ธัมมา
อารมณ์เป็นส่วนปัจจุบัน ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา
.
เราจะเห็นว่า
อารมณ์กับเวลานั้นมันจะ
เป็นสภาวะที่เนื่องด้วยกัน เกิดและดับร่วมกัน
อย่างนี้ในระดับโลกิยะนะ
ติดอารมณ์ก็คือไปติดเวลา
เพลินในอารมณ์ก็คือเพลินในเวลา
พัวพันอารมณ์ ก็คือพัวพันในเวลาจริงรึเปล่า
.
ก็เพราะเรา มองอารมณ์ผ่านตัวตน
เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติมองอารมณ์ผ่านเวลาไม่ใช่ผ่านตัวตน
เมื่อนั้นแสดงว่าจิตได้มองผ่านทะลุม่านของสมมติ
คือมองปรากฏการณ์นั้น
มองสภาวะธรรมนั้น
ตรงตามความเป็นจริง "
ปุจฉา วิสัชนา
ว่าด้วยสภาวะของ
ฌานสมาบัติ
ผลสมาบัติ
นิโรธสมาบัติ
อนุปาทิเสสนิพพาน
อนิมิตตเจโตสมาธิ
- ปิยทัสสี ภิกขุ -
Tue, 19 Sep 2023 - 2h 07min - 113 - สภาวธรรมระดับรูปฌาน เอกัคคตาจิตตั้งมั่นอยู่จุดไหน Group Sitting 2023-09-10
{ ปุจฉา วิสัชนา ที่เข้มข้นด้วยเนื้อหา
ศโลกที่ตัดมาบางส่วนจะไม่ครอบคลุมความหมายของเนื้อหา
เพื่อมิให้คลาดเคลื่อนจากความเข้าใจที่ถูกต้อง
เชิญท่านสดับรับฟังโดยทั้งหมดเถิด }
------
" ใครที่ได้ดูในหนังสือเล่มสอง "ขอบเขตการรับรู้ของจิต
ก็จะทราบชัดว่า เมื่อไรที่จิตภาวะความเป็นเอกัคคตาถึงจะปรากฏ
เอกัคคตาปรากฏขึ้น ความเป็นหนึ่งจะตั้งมั่นบนฐานกาย ไม่ซัดส่าย
ไม่ไหลไปตามอารมณ์ ความคิด ความนึกในความจำอารมณ์
ที่ผ่านมาทางรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส .ความเป็นหนึ่งปรากฏขึ้นเมื่อใด
นั่นหมายถึงว่า ขณิกสมาธิ ความตั้งมั่นก็เกิดขึ้นเมื่อนั้นก็คือ
เอกัคคตาจิตจะเริ่มตรงนี้นะ เริ่มตรงนี้ "
Mon, 11 Sep 2023 - 1h 53min - 112 - มรณานุสสติ Group Sitting 2023-09-03Tue, 05 Sep 2023 - 49min
- 111 - บุคคลใดล่วงเลยขณะไป ผู้นั้นย่อมทนทุกข์เศร้าโศกอยู่สิ้นกาลนาน Group Sitting 2023-08-27Wed, 30 Aug 2023 - 1h 16min
- 110 - วิปัสสนา คืออุบายวิธี เข้าไปประจักษ์แจ้งกับ สภาวะปกติของรูป นาม Group Sitting 2023-08-20Thu, 24 Aug 2023 - 1h 56min
- 109 - ทะเลไม่เคยหลับ สมองไม่เคยเงียบจากความคิด มนุษย์ตกอยู่ภายใต้กับดักแรงดึงดูด Group Sitting 2023-08-13
เมื่อสภาวะ
ความเป็นจริงของรูปและนามเนี่ย
เกิดและดับอยู่เช่นนี้ ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด
ไม่ว่าทุกข์หรือเหตุแห่งทุกข์
เกิดและดับ อยู่เช่นนี้
เป็นความว่างเปล่าปรากฏอยู่เพียงชั่วขณะ
แล้วตัณหาอุปาทานมันเข้าไปตั้งอยู่ได้ยังไง
มันอาศัยอยู่ได้ยังไง
ในเมื่อสภาวะมันเป็นความว่างเปล่า
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดและดับอยู่ทุก ๆ ขณะ
ไม่มีอะไรตกค้างเลย
เมื่อมีอะไรตกค้างแล้ว
ตัณหาอุปาทาน มันไปตั้งอยู่ได้ยังไง อิงอาศัยอยู่ได้อย่างไร
Mon, 14 Aug 2023 - 1h 52min - 108 - ปฏิบัติบูชาเนื่องในสัปดาห์ อาสาฬหบูชา๒๕๖๖ Group Sitting 2023-07-30
จิตนี้มิได้ท่องเที่ยวไปในรูป !
จิตนี้ท่องเที่ยวไปในกามสัญญา
ความทรงจำอันเนื่องด้วยรูปที่เคยเห็นเสียงที่เคยได้ยินกลิ่นรสสัมผัส
แล้วอารมณ์เหล่านั้น กามสัญญาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสุข
อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความสุขมันหยิบยื่นความสุขให้ตลอดหรือเปล่า
มันมีอยู่จริงไหมความสุขที่เคยเกิดแล้วสัมผัสแล้วชื่นชมแล้ว
สุขสมหวังแล้ว ไม่มีนะ
มันดับไปพร้อมกับเวลานั้นแหละ
เพียงโมเมนต์เดียวก็ดับไป
แล้วจิตหมกมุ่นอยู่ในอะไร
จิตหมกมุ่นอยู่ในสัญญาภาพ
สัญญาความจำใน
อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความสุข
จิตที่ท่องเที่ยวไปในโลกแห่งความคิด ในโลกของกามสัญญาเนี่ยะ
ความรู้สึกสุขทุกข์ก็เป็น "กามสุข"
พระพุทธองค์ท่านตรัสว่าความสุขอันเกิดจากกามคุณนั้นให้ความสุขเพียงเล็กน้อย
ให้ความคับแค้นใจมาก วิตกกังวลมาก
Mon, 31 Jul 2023 - 1h 00min - 107 - อุบายวิธีทำให้เกิดวสีในฌาน Group Sitting 2023-07-23
เมื่อใดที่จิต
เข้าไปถึงสภาวะหนึ่ง อิสระจากกำลังของนิวรณ์
สถานะของลมยาวมันจะเปลี่ยน
มันจะเปลี่ยนไป
ช่วงลมหายใจจะเปลี่ยนผ่าน
จากลมหายใจยาว เป็นลมหายใจสั้น
ช่วงการเปลี่ยนผ่าน จะเปลี่ยนผ่านช่วงลมหายใจออก
ยังไงก็แล้วแต่ มันจะเปลี่ยนผ่านยังไงเมื่อไร
หน้าที่ภารกิจของเราคือ
รู้ชัดประจักษ์ชัดกับการเปลี่ยนแปลง
ของลมหายใจ การเคลื่อนของลมหายใจ
การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนของความทรงจำ
ของความรู้สึกของความรักชัง
ของธาตุรู้
ส่วนการเคลื่อนจากหยาบไปละเอียดก็จะเป็นไปเอง
จะเป็นไปเอง
แม้กระทั่งว่าเคลื่อนจากโลกียะไปสู่โลกุตระก็เป็นไปเอง
Tue, 25 Jul 2023 - 1h 56min - 106 - ลักษณะจิตปรุงแต่ง ลักษณะจิตไม่ปรุงแต่ง Group Sitting 2023-07-16
ส่วนเห็นการเคลื่อนของลมหายใจนั้นเป็นรูปธรรม
ความอัศจรรย์อยู่ที่ว่า
เมื่อใดจิตเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ว่ารูปหรือนาม
เห็นการเปลี่ยนแปลงของสัญญาจากความจำหนึ่ง ไปสู่ความจำหนึ่ง
อย่าลืมนะผู้ที่เห็นความคิดอะ
.
ที่จิตเคลื่อนออกจากฐานกายไปสู่โลกแห่งความคิด
ผู้ปฏิบัติบางท่านก็เห็น เอ้ความคิดนิมีสัญญาภาพนะ มีความจำประกอบ
เขาก็จะเห็นในส่วนของความจำของสัญญา
เอ้ในความคิดมันมีความรู้สึกสุขทุกข์ประกอบร่วมนะอันนี้ก็ผ่านเวทนา
เอ้การรับรู้ความคิดมันมีความรักความชังประกอบด้วยนะอันนั้นก็ผ่านสังขาร
.
เราจะหยั่งลงตัวไหนล่ะ
หยั่งลงตัวไหนก็ได้ทั้งนั้นแหละนะก็เรียกว่าหยั่งรู้
ประจักษ์รู้ตรงตามสภาวะตรงตามความเป็นจริง
อานิสงส์แห่งการรับรู้ตรงตามความเป็นจริงแบบนี้มันจะเพิกถอนเพิกถอนอะไรสิงร้อยรัดไง สิ่งร้อยรัด
ความรักและความชัง
ที่มันอิงเวทนาอยู่อิงสุขอิงทุกข์อยู่
เมื่อเห็นเมื่อประจักษ์ เอ้อนี่คือความจำอันนี้คือความรู้สึก
อันนี้คือสัญญา
นี้คือเวทนา
นี้คือสังขาร
นี้คือวิญญาณในโมเม้นนั้นในขณะนั้น
ความผูกพันความเพลินความรักและความจำจะตั้งอยู่ไม่ได้จะตั้งอยู่ไม่ได้
นิยามว่าย่อมกำจัดเสียซึ่งอภิชฌาและโทมนัส
นิยามหมายถึงตัวนี้อ๋อมันดับไปเพราะนั่นหมายถึงว่ามันไม่มีที่ตั้งไม่มีที่อิงอาศัยนั่นเอง
..
และยิ่งชัดมากนะเมื่อใดที่จิตเห็นการเปลี่ยนแปลงของลม
เห็นการเคลื่อนของลมโมเม้นต์เดียวเท่านั้นสลายไป
โมเม้นต์ใหม่มาแทนที่สลายไป โมเม้นต์การเคลื่อนของลมหายใจอ่ะอันนี้ยิ่งชัดเลย
.
ใครจะไปนิยามว่าลมหายใจเป็นของคนนั้นคนนี้
นิยามไม่ได้ การรับรู้ที่ไม่ผ่านสัตว์บุคคลตัวตน
แล้วผ่านอะไร ก็ผ่านการเคลื่อน ผ่านการเปลี่ยนแปลงนี่ไง ผ่านการเกิดดับนี้ไง
.
นั่นแหละอภิชฌาและโทมนัสถึงไม่มีที่ยังลงไม่มีที่ตั้งลงไม่มีที่อิงอาศัย
ซึ่งพุทธะท่านนิยามบทสรุปว่าย่อมกำจัดเสียซึ่งสิ่งร้อยรัด กำจัดซึ่งสมุทัยนั่นเอง
* ปิยทัสสี ภิกขุ *
Wed, 19 Jul 2023 - 1h 02min - 105 - การสืบต่อของวิญญาณ การดับรอบของวิญญาณ Group Sitting 2023-07-09
เราจะรู้ เราจะเห็นการทำงานของ ปัจจุบันขณะในพื้นที่ของนามธรรมได้อย่างไร
. . . เราไม่ลืมเลือนเวทนาจิตธรรมมันเป็นสภาวะที่อิงอาศัยกัน
ตัววิญญาณตัวขันธ์ 5 เนี่ยเมื่อวิญญาณปรากฏและแน่นอนทีเดียวมันจะมีสัญญาอยู่ในนั้น
มันจะมีเวทนาประกอบในนั้น
เวทนาก็คือความรู้สึก วิญญาณนั้นมันเป็นผลลัพธ์ออกมาจากการผ่านผัสสะ
วิญญาณนั้นก็คือเมื่อรับรู้อารมณ์แล้วเนี่ยนอกในกระทบกันเกิดธาตุรู้ขึ้นเกิดวิญญาณขึ้น
ธรรม 3 อย่างนี้เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ
ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา
ตัวที่พึงพอใจในอารมณ์ที่มันปักลงในวิญญาณนั้นนะ
อันนั้นแหละก็แสดงว่ามันปักลงในอะไร
วิญญาณนั้นจะต้องประกอบไปด้วยสุขเวทนาแน่นอนนะ
สุขเวทนานี่แหละอันเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา อันเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน " - ปิยทัสสี ภิกขุ -
Wed, 12 Jul 2023 - 1h 16min - 104 - ความคิดเป็นกระบวนการของสมองหรือจิต Group Sitting 2023-06-25
ทุกครั้งที่มีกระบวนการเห็นการได้ยินได้กลิ่นลิ้มรส จะไปกระตุ้นกระบวนการตีความที่สมอง นี่ล่ะเรียกว่าธรรมารมณ์ "ผัสสะปัจจะยา เวทะนา " ถ้าตีความเป็นบวกก็เป็นสุข ตีความทุกข์ก็เป็นลบ ----- ผัสสะนี้หล่อหลอมมาจากความสัมพันธ์ จิตทำงานเมื่อเวทนาหนึ่งใดเกิดขึ้น จิตที่มีอวิฌชาจะเข้าไปเพลิน เข้าไปข้องเกี่ยว จะมีตัวเราปรากฏอยู่ในปรากฏการณ์นั้นๆ นี้เรียกว่าปรุงแต่ง ยิ่่งปรุงแต่งมาก คับข้องมาก แรงดึงจะดึงเข้าไปสู่อารมณ์ อันเป็นที่ต้ั้งแห่งความสุข ผลักออกมาสู่อารมณ์อันเป็นทุกข์ อวิฌชาร้อยรัดจิตให้ติดอยู่ในธรรมารมณ์ ไม่ใช่รูปที่เคยเห็น เสียงที่เคยได้ยินนะ เพราะมันผ่านไปแล้ว อาการนี้เรียกว่า ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์คู่กับใจ (มนะ มนายตนะ) ฉะนั้นความคิดจึงเป็นกระบวนการของสมอง เป็นธรรมารมณ์ ส่วนจิตทำหน้าที่รู้ พึงพอใจไม่พึงพอใจ
Tue, 27 Jun 2023 - 1h 46min - 103 - ดับความเพลินในอาหาร ดับทุกข์ Group Sitting 2023-06-18
" จิตที่อิสระจากการพัวพันในอารมณ์
จิตที่ไม่ถูกพัวพันด้วยความ รักความชัง
ไม่ถูกร้อยรัด ด้วยอภิฌชาและโทมนัส
ความรู้สึกจะไปรวมศูนย์ ที่กึ่งกลางสมองใช่ไหม
เบาอยู่ นิ่งอยู่
นี่แหละคือกำลังของปัญญา
จิตจะไม่ขวนขวายสิ่งใด
จะไม่พร่ำเพรียก
จะไม่เรียกหา จะไม่รอคอย
จะไม่คาดหวังในอารมณ์ทั้งปวง
ปัญญาญาณมันเกิดขึ้นแล้ว
เป็นการพักผ่อนทางจิตวิญญาณที่เลิศที่สุด "
Tue, 20 Jun 2023 - 1h 52min - 102 - วิสาขบูชารำลึก Group Sitting 2023-06-04Thu, 08 Jun 2023 - 1h 51min
- 101 - มิติชีวิต4ระดับ Group Sitting 2023-05-28
"สภาวะ" นี้เราไปสัมผัสได้
ซึ่งสภาวะนี้เกิดจากเหตุและปัจจัย
ถ้าเราไม่เข้าใจองค์ประกอบของเหตุและปัจจัย
เราจะเข้าไปปรุงแต่ง เราจะอยู่กับสภาวะที่การปรุงแต่ง
ซึ่งการปรุงแต่งมันก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยอีกอันที่เราสร้างขึ้นมาอีก
ไปสู่สภาวะที่ไม่สร้าง
ศิลปแห่งการไม่กระทำ
ศิลปแห่งการไม่แสวงหา
ศิลปแห่งการไม่เลือก
เป็นมิติที่คนละขั้วกับในชีวิตประจำวัน
ชีวิตประจำวันของเรานี่ต้องอาศัยการแสดง
การกระทำ แรงปรารถนา การเลือก
อันนี้สมมุติของโลก เราต้องอยู่แบบนั้น
ใน24 ชั่วโมงยกเว้นการหลับ
เราควรจะแบ่งเวลามาอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น
ไม่งั้นจิตจะหลงไปในบทบาทที่ตัวเองแสดง
หลงไปในความเพลิน ซึ่งให้ความสุขเพียงเล็กน้อย
ให้ความทุกข์มากเหลือเกิน
Tue, 30 May 2023 - 1h 35min - 100 - อุบายวิธีที่ทำให้พื้นที่สมองปราศจากความคิด Group Sitting 2023-05-21
จิตเอาเครื่องปรุงแต่งนี้ มาเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล
เมื่อใดที่มาแจ่มแจ้งเห็นสายธารแห่ง
จากความจำนึงไปสู่ควมจำนึง
จากสัญญานึงไปสู่สัญญานึง
..
ขณะเดียวเท่านั้นสลายไปขณะใหม่มาแทนที่
การสืบต่อของสภาวะธรรมสั้นนิดเดียว
กฏแห่งความเปลี่ยนแปลงคือสภาวะอนิจจัง
จนถึงเวลาสายธารแห่งการเปลี่ยนแปลงสิ้นสุดลง
ไม่มีการสืบต่อของการเกิดและดับ
ไม่มีการสืบต่อของเวลา เป็นอกาลิโก
บรรลุสภาวะไม่มีการเคลื่อน ไม่มีจุติ ไม่มีอุบัติ นั้นคือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์
Tue, 23 May 2023 - 1h 34min - 99 - อานาปานสติภาคภาวนา Group Sitting 2023-05-14
อภิชฌาและโทมนัสทำหน้าที่ลักษณะอย่างไร
พึงพอใจและไม่พึงพอใจ รักหรือชังชอบหรือไม่ชอบ
พุทธะองค์ท่านตรัสว่าเป็นตัวตัณหาเป็นตัวสมุทัยเป็นเหตุ
อดีตก็ผ่านไปแล้วน่ะไม่หวนกลับมาเป็นความว่างเปล่า อนาคตก็เป็นเพียงจินตนาการ
แล้วไฉนว่าจิตถึงมาข้องมาเกี่ยวมาพัวพัน ในอารมณ์อดีตบ้างอนาคตบ้าง
ภาษาบาลีก็ใช้คำว่ามาปรุงแต่ง ปรุงแต่งยังไงก็คือเอาสัญญาภาพ
ในอารมณ์ที่รักเคยรักเคยชังเคยชอบไม่ชอบ มาปรุงแต่ง
เสมือนหนึ่งว่าเหตุการณ์นั้นมีอยู่เป็นอยู่
ยังมีความรักอยู่ยังมีความชังอยู่
ยังมีผู้รักผู้ชั่งผู้ชอบไม่ชอบก็เรียกว่าปรุงแต่ง
แท้ที่จริงแล้วจิตไม่ได้ติดในอารมณ์อดีตอนาคต
ต่จิตยึดติดในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนะ
Tue, 16 May 2023 - 1h 50min - 98 - อานิสงส์อานาปานสติ ๗ ประการ Group Sitting 2023-05-07
การเคลื่อนไหวก็คือกฎแห่งความเป็นอนิจจังเคลื่อนอยู่เนืองนิจ
และการเคลื่อน เคลื่อนเพียงขณะเดียวเท่านั้นเองก็สลายไป
การเคลื่อนไหวขณะใหม่ก็มาแทนที่นะ
สั้นนิดเดียว ไม่ยากไม่ยากนะ
สั้นนิดเดียว
ภาวะการเคลื่อน ภาวะการเกิดระดับ
สลับกันอยู่อย่างนี้น่ะ
เกิดดับ เกิดดับ
การเกิดขึ้นของสภาวะธรรมคือการเกิดขึ้นครั้งแรก
และมันเป็นการดับครั้งสุดท้าย
โดยสภาวธรรมจริง ๆ แล้วไม่มีอะไรตกค้างเลยนะ เป็นความว่างเปล่า
การรับรู้ในสภาวธรรมคือ"การรับรู้ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย"
ไม่มีอะไรตกค้างเลย
เสมือนนกที่บินไปในอากาศไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้
หากเราไม่มีองค์ความรู้สมาธิวิปัสสนา
การรับรู้ของเรามันจะทิ้งร่องรอยแห่งตัวตนไว้ในกาลเวลา
ในความสัมพันธ์
โดยอาศัยความรักความชังอภิชฌาและโทมนัส
ไปร้อยรัดจิตให้ติดอยู่ในสัญญาภาพ
เมื่อภาวะความเป็นผู้สังเกตชัด
เหมือนบุรุษยืนอยู่บนฝั่ง
ได้เห็นสายธารของการเปลี่ยนแปลง
เห็นสายธารแห่งการเกิดดับนี้ ไหลไป
ฉุดไม่ได้ รั้งไม่ได้ รักษาไม่ได้
เพียงเฝ้ามองและสังเกตุ ดังที่มันเป็นนั้น
#วิปัสสนาธรรม
Fri, 12 May 2023 - 1h 32min - 97 - คลื่นแห่งความคิด Group Sitting 2023-04-30
1. ฐานโพรงจมูก 2. ปลายจมูก บริเวณสามเหลี่ยมเหนือริมฝีปากขึ้นไป 3. กึ่งกลางหน้าอกบริเวณลิ้นปี่ 4. ศูนย์กลางกายเหนือสะดือขึ้นมาสองนิ้ว ฐานใหม่หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลง ทุก ๆ 13,000 ปีจะมีแรงที่กระทำกับสุริยะของเรา ตอนนี้กุศลธรรมที่นับเนื่องด้วยมรรค การรับรู้จะอยู่ที่กึ่งกลางสมอง พื้นที่พลังแห่งการเกิด ในส่วนอกุศลธรรม ใจจะเป็นตัวรับรู้เป็นพลังแห่งความดับ เป็นที่ตั้งแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย 5. ถ้าต้องร้บรู้ลมหายใจเข้ายาว-ออกยาวต้องใช้ฐานบน"โหนกศรีษะขวา"
หลังจากนั้น พอลมหายใจเข้าสั้น-ออกสั้นก็จะไปตามวิถีเหมือนเดิม
Tue, 02 May 2023 - 1h 25min - 96 - ญานทัสสนะสองประเภท Group Sitting 2023-04-23
"ญาณทัสสนะระดับพระอนาคามีจะบ่งบอกว่า
ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีกนะไม่กลับมาสู่กามภูมิอีก
. . .
คำว่าไม่กลับมาสู่โลกนี้ก็คือโลกของกามภูมิ
กามสัญญา่ไม่กลับมาแล้ว
เพราะอะไรไม่กลับมาเพราะเป็นผู้ที่ได้ดับ
นันทิดับความเพลินดับความยินดีในกามธาตุได้แล้วเหลือแต่รูปธาตุ "
* * * *
" ปัจจุบันขณะมาอยู่กับสภาวะที่ไม่สร้าง สักพักนึงกำลังของตัวปัญญา
กำลังของตัวสถิติดร็อปลงลดลง
แรงตัวอุปทานมันก็จะดึงจิตไปอีกอยู่กับสภาวะที่สร้าง
ภาวะที่สร้าง ภพที่สร้าง โดยอาศัยความยินดีความเพลินเนี่ย
แสวงหาอารมณ์ใหม่ #มันจูงจิตกระซิบจิต
ให้เคลื่อนจากสภาวะที่ไม่สร้างไปสู่ สภาวะที่สร้างไม่รู้จบ ไม่รู้จบ
----
ภารกิจของเราก็คือรู้เท่าทัน
อ่าวสร้างอีกแล้ว พึงพอใจอีกแล้ว
ในสุขเวทนา เพลินอีกแล้วในอารมณ์ที่พึงปรารถนา
อย่างงี้
การที่รู้เท่าทันและสร้างอีกแล้วเห็นอีกแล้ว
อันนี้คือ #การปลดเปลื้องเหตุแห่งทุกข์นะ
ไม่ต้องไปหงุดหงิดไม่ต้องไปตำหนิไม่ต้องไป
คาดโทษว่าใครเป็นคนผิดใครเป็นคนถูก "
Wed, 26 Apr 2023 - 1h 52min - 95 - ชีวิตนี้คือภาระ Group Sitting 2023-04-02
ผู้ที่ไม่มั่นหมาย ผู้ที่ไปพ้นแล้วจาก
ความรักชังในสุขเวทนา ในทุกขเวทนา
ที่เกิดขึ้นในโลกียะนี้
สภาวธรรมทั้งปวงมันจะจบลงที่เวทนาใช่มั้ยจบลงที่ความรู้สึก
ใครที่ปลดเปลื้อง
ความพึงพอใจในสุขเวทนา
ปลดเปลื้อง
ความหงุดหงิด
ความเกลียดชัง
ปฏิฆะขุ่นเคืองในทุกขเวทนาได้
และไม่ยึดติดในอุเบกขาเวทนา
ซึ่งเป็นเวทนาชั้นเลิศ
ผู้ข้ามพ้นแล้วไม่มีสิ่งร้อยรัดแล้ว
ไม่มีอภิฌชาและโทมนัสในเวทนาทั้งปวงแล้ว
ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นผู้ "ปลงภาระวางภาระ"
ทั้งหลับและตื่น
ทั้งในสมาธินอกสมาธิ
หากว่าเรายังดับอวิชาตัณหาอุปทานยังไม่ได้
มันมีเทคนิคอุบายวิธี หนึ่ง ในนั้นก็คือ "ดำรงจิตให้อิสระจากการเลือก"
Tue, 04 Apr 2023 - 1h 40min - 94 - กามสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา Group Sitting 2023-03-26Mon, 27 Mar 2023 - 1h 43min
- 93 - ยุคเรืองปัญญา Age of Enlightenment Group Sitting 2023-03-12
องค์ความรู้เรืองปัญญาที่ช่างแตกต่างกันโดยสิ้น เชิงกับเรืองปัญญาในของตะวันออกเมื่อ 500 ปีก่อนคริสต์กาล เรืองปัญญาในที่นี้หมายถึงตัววิปัสสนา ตัว enlightenment ตัวนี้คือตัวสัมมาทิฏฐิ ซึ่งผู้ที่ค้นพบตัววิปัสสนา องค์ปัญญาตัวเนี่ยโดยที่ไม่มี ใครบอกกล่าวหรือไม่ได้รับประสิทธ์ประสาทประสบการณ์จากคนอื่นเลยนั่นก็คือ "สิทธัตถะ"
Wed, 15 Mar 2023 - 1h 45min - 92 - อุบายวิธีการรับรู้ที่ไม่ผ่านตัวตน Group Sitting 2023-03-05
ความคิดหนึ่งใดผุดขึ้นมาเราไม่ได้มองเป็นเนื้อหาของความคิดแต่เราจะมองเห็นองค์ประกอบของความคิด เมื่อใดที่รับรู้หยั่งรู้ ประจักษ์รู้ ระลึกรู้องค์ประกอบของความคิด นั่นคือรับรู้ตรงตามความเป็นจริง เป็นการรับรู้ที่ไม่ผ่านตัวตน ไม่มั่นหมายว่ามีตัวตนอยู่ในความจำในความรู้สึก ในความรักความชัง มีเพียงสภาวะล้วนๆ ความจำก็เป็นสัญญา ความรู้สึกก็เป็นเวทนา ความรักชังชอบไม่ชอบก็เป็นสังขาร นี่ไงตรงตามความเป็นจริงแล้ว รับรู้อยู่เช่นนี้ เห็นอยู่เช่นนี้ประจักษ์แจ้งอยู่เช่นนี้อภิชฌาและโทมนัสไม่มีที่หยั่งลงแล้ว เพราะมันไม่มีตัวตน การรับรู้ที่ไม่ผ่านตัวตนตัวตนไม่มีบทบาท เมื่อไร้ซึ่งตัวตน ความรักความชังที่มันพันธนาการจิตไว้ในอารมณ์ ก็ไม่มีที่หยั่งลง พระองค์ท่านนิยามว่า ย่อมดับเสียซึ่งอภิชฌาและโทมนัส ในโลก(แห่งตัวตน)ออกเสียได้
Mon, 06 Mar 2023 - 1h 00min - 91 - โลกียฌาน โลกุตตรฌาน Group Sitting 2023-02-26
เมื่อจิตไม่รู้เท่าทันสุขเวทนาหนึ่งใดเกิดขึ้น ก็มีความเพลิน มีความยินดี ปรารถนาให้มากยิ่ง
แรงปราถนานี้เกิดบ่อยครั้งมากครั้งบ่อยครั้งมากครั้ง
มันทำให้จิตที่มีอวิชชาอยู่
ไปหลงยึดติดในกระบวนการเหล่านี้ว่ามีตัวตน
นี่ไงฉัน ฉันเพลินได้ ฉันมีความสุขอยู่กับสิ่งนั้น ฉันฉันและก็ฉัน
แทนที่จะมองเป็นเวทนากลับไปยึดติดในเวทนาไปเพลินในสุขเวทนานั่นแหละตัวอุปาทานนะ
------
ความคิดช่างซับซ้อน ความคิดนั้นช่างลึกลับ ความคิดนั้นช่างยากต่อการที่จะปล่อยวาง
ความคิดนั้นอันได้ผูกจิตไว้ พันธนาการจิตไว้ในโลกแห่งการปรุงแต่ง
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะออกจากโลกของความคิด
มิใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะออกจากพันธนาการที่ความคิดมันพันธนาการไว้นะ
จิตถูกพันธนาการไว้ด้วยความคิดนี้แหละ
แต่เมื่อใดที่เราใช้ธัมมวิจยะหรือว่าใช้สัมมาสังกัปปะ
อันเป็นผลจากตัวสัมมาทิฏฐิความเห็นที่ถูกต้อง
Tue, 28 Feb 2023 - 1h 52min - 90 - 2 อุบายวิธีในการหยั่งลงสู่มหาสติปัฏฐาน Group Sitting 2023-02-19Wed, 22 Feb 2023 - 1h 24min
- 89 - อุบายวิธี หยั่งลงสู่ปัจจุบัน Group Sitting 2023-02-12
เมื่อใดที่สภาวะประกอบด้วยกาลสิ้นสุด
ตัวมันลงแล้ว
สภาวะที่ไม่ประกอบด้วยกาลก็ปรากฏ เป็นอากาลิโกเป็นอสังคะตะไม่ปรุงแต่ง
เป็นสภาวะที่ไม่เคลื่อน
จงใช้ความเบา ความนิ่ง ที่เกิดจากการหยั่งลงสู่ความจริง
มาหยั่งลงสู่ปัจจุบันขณะ ไม่พลาดจากปัจจุบันขณะ
ส่วนการเคลื่อนจากหยาบไปละเอียดนั้นเค้าจะเคลื่อนไปเอง จะเคลื่อนไปเอง
Mon, 13 Feb 2023 - 1h 02min - 88 - ขอบเขตของความคิด Group Sitting 2023-02-05Mon, 06 Feb 2023 - 1h 24min
- 87 - กายภายนอก กายภายใน เวทนาภายนอก เวทนาภายใน จิตภายนอก จิตภายใน ธรรมภายนอก ธรรมภายใน Group Sitting 2023-01-29Wed, 01 Feb 2023 - 1h 40min
- 86 - การบรรลุนิพพาน ต้องอาศัยฌานหรือไม่ Group Sitting 2023-01-22
จิตรับรู้อารมณ์นี้ประกอบด้วยความไม่พึงพอใจอยู่
ถูกความไม่พึงพอใจครอบงำอยู่
จิตรู้อารมณ์แบบนี้มีความพึงพอใจ นันทิเกิดความเพลินอยู่
ถูกนันทิถูกความเพลินปรารถนาได้มากยิ่งขึ้นครอบงำอยู่
ก็รู้ชัดประจักษ์ชัด
กับสภาวะที่กำลังดำเนินอยู่เกิดและดับอยู่
อันนี้แหละอันนี้แหละที่ว่า "ย่อมเป็นผู้กำจัดเสียซึ่งอภิชชาและโทมมัส
Thu, 26 Jan 2023 - 1h 35min - 85 - ตายก่อนตาย Group Sitting 2023-01-15
ความตายนั่นคือการสิ้นสุดลงของ ของสิ่งที่เราไปรู้ของสิ่งที่ถูกรู้ ความสืบต่อ ของความรัก ความสืบต่อของความสมหวังผิดหวัง ความสืบต่อของความสัมพันธ์ มันจะสิ้นสุดลง นั่นคือนิยามของความตาย เราจะไม่ได้อยู่กับความสัมพันธ์อีกแล้ว เราก็จะไม่ได้รับรู้กับความรักเราจะไม่ได้รับรู้กับสิ่งที่เราครอบครองอีกต่อไป มันจะสิ้นสุดลง นั่นคือนัยยะนิยามความหมายของคำว่าความตาย เราเป็นนักปฏิบัติจะเห็นการสิ้นสุดลงของความสัมพันธ์ การสิ้นสุดลงของความสืบต่อ ของความรักความชังของโลกใบนั้นที่เราเคยรับรู้ สายธารแห่งความจำ สายธารแห่งความสุขเวทนา โลกใบนี้ที่เรารับรู้มาตั้งแต่เราตื่นจากการหลับแล้ว เราจะเห็นการสิ้นสุดลงในขณะที่เราตื่นอยู่ สัญญาสั้นลง แค่อดีตอนาคตสัญญาสั้นลงมากมีเพียงขณะเดียวเท่านั้น " " ปิยทัสสี ภิกขุ " . . . รับฟังเสียงจาก Podcast : ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี Spotify : https://open.spotify.com/episode/7kDzLFFiTRbN1aR8iD4V7y Anchor.fm : https://anchor.fm/mowakee-forest/episodes/Group-Sitting-2023-01-01-e1t30k8
Wed, 18 Jan 2023 - 1h 18min - 84 - โลก อัตลักษณ์ ความสัมพันธ์ ความคิดและเวลา Group Sitting 2023-01-01
ความคิดไม่ใช่ตัวอุปสรรคหรือปัณหา แต่การไปยึดติดในความคิดนั่นคือปัญหา
ความคิดมาจากความทรงจำ หากไม่มีความจำความคิดก็ผุดขึ้นไม่ได้
.
****
เราจะอิสระจากความคิดได้ (โลกแห่งความสัมพันธ์ โลกอัตลักษณ์ โลกแห่งการปรุงแต่ง)
เราต้องเข้าสู่จุดศูนย์กลาง(ของเวลา)แห่งวงกลม คือปัจจุบันขณะ มันจะไม่เคลื่อนไปอีกละ นั่นก็คือพื้นที่ของสมาธิ 7 ขั้นนั้นเอง
ความสืบต่อของเวลาที่เป็นขณะหนึ่งสู่ขณะหนึ่ง
เมื่อไดที่เราสัมผัสขณะ นั่นคือคือเราสัมผัสต้นทางของเวลา ต้นทางของการรบัรู้
เมื่อการรับรู้เป็นรอบ เป็นรอบ ความสืบต่อของเวลาจะสิ้นสุดลง
***
Wed, 04 Jan 2023 - 1h 58min - 83 - สะพานไหล สายธารหยุดนิ่ง Group Sitting 2022-12-25
วิปัสสนามิใช่การแสวงหา
วิปัสสนาคือ ศิลปะแห่งการเฝ้ามองการเคลื่อนที่กำลังปรากฏในปัจจุบันกาล
"อดีตใดที่จิตไปพัวพันอยู่ อดีตนั้นตั้งอยู่ในขอบเขตแห่งความสัมพันธ์
จิตจะโลดแล่นอยู่ในโลกแห่งความสัมพันธ์เท่านั้น
จิตจะถูกร้อยรัดให้ติดอยู่ในมิติแห่งความสัมพันธ์
สัมพันธ์ในความรักความชัง
ยิ่งความสัมพันธ์ลึกมาก ความยึดติดยิ่งมาก
โดยมี เรา เป็นจุดศูนย์กลางในโลกแห่งความสัมพันธ์นั้นๆ"
Tue, 27 Dec 2022 - 1h 39min - 82 - มรดกธรรม Group Sitting 2022-12-18
เราจะอยู่ตรงกึ่งกลางของสมองหรือกึ่งกลางอุ้งมือซ้ายในสักพักนึง ไม่เกิน 15 นาที
เสร็จแล้วเราก็จะเลื่อนความรู้สึกมาสู่ฐานปกตินะ มาสู่ฐานปกติ
นิ่งอยู่เบาอยู่ กึ่งกลางของสองจุดนี้ จุดใดจุดหนึ่ง
ในขณะที่เราอยู่รู้สึกที่กึ่งกลางของสมองหรือกึ่งกลางอุ้งมือซ่้าย
อาจจะมีการรับรู้ลมหายใจไปด้วย มันเข้ามาแทรกของมันเอง ไม่เป็นไรนะ การรับรู้นี่ไม่ใช่เกิดจากเจตนา
เกิดจากความเคยชิน มันไปรับรู้ก็มันเองแบบนี้ไม่เป็นไรไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปหงุดหงิด
รับรู้ก็รับรู้ไป เพียงแต่ว่าเราไม่เคลื่อนตามลม
จิตยังนิ่งอยู่เป็นหนึ่งเดียว อยู่ที่กึ่งกลางสมองหรือกึ่งกลางอุ้งมือซ้ายนี้
อาจจะมีความรู้สึกเย็นหรือร้อน หนักหรือเบา
อาจมีแสงสว่างเรือง ๆ ยังไงก็แล้วแต่
อะไรที่เกิดขึ้นจากการที่เอาความรู้สึกเราไว้กึ่งกลางสองจุดนี้ ก็เพียงแต่รับรู้ไม่ปฏิเสธ
Wed, 21 Dec 2022 - 1h 36min - 81 - ศักยภาพ 3ใน4 ของจิตที่ทุกคนต้องรู้ Group Sitting 2022-12-11
Choiceless awareness เป็นการตื่นรู้ ในสภาวะที่ไม่เลือก ถ้าไม่เลือกก็แสดงว่าไม่ปรารถนาไม่ต้องการ เมื่อไม่ปรารถนาไม่ต้องการก็แสดงว่า จิตก็ไม่มีการรอคอย ไม่มีการคาดหวังในอารมณ์ทั้งปวง เมื่อเราดำรงจิตแบบนี้ มนสิการแบบนี้ เข้าใจชัดแบบนี้ในการทำจิตให้อิสระจากการเลือกอารมณ์แบบนี้
ลักษณะจิตก็จะเป็นลักษณะมันมีความรู้สึกที่ว่าเบาเบา
เบาเพราะว่าไม่ต้องแบกแรงปรารถนาไม่ต้องคาดหวังไม่ต้องมุ่งหวัง
ความเบาของจิตนี้รวมศูนย์ อยู่ที่ไหนจุดศูนย์รวมของจิตที่เป็นฝ่ายกุศลที่เป็นส่วนวิบากเนี่ย มันจะรวมศูนย์ที่กึ่งกลางสมองใช่ไหม นิ่งอยู่เบาอยู่ ไม่โลดแล่นไปในเวลาอดีตอนาคต
ที่มันโลดเเล่นไปในมิติของเวลาอดีตอนาคตเพราะมันไปเอาเวลาเหล่านั้นมาสรรค์สร้างมาปรุงแต่งเป็นตัวตน เป็นที่ตั้งแห่งแรงปรารถนา
เมื่อจิตอิสระจากแรงปรารถนาจากแรงต้องการก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ความคิด ใช้อดีตน้อยลง ใช้อนาคตน้อยลง
Tue, 13 Dec 2022 - 1h 18min - 80 - ความมหัศจรรย์แห่ง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน Group Sitting 2022-12-04
ตอบคำถามในช่วง ธรรมสากัจฉา "ลักษณะจิตที่จะเข้าไปสู่ความมีภาวะความเป็นกลางในการเห็นการเกิดดับมันไม่มีกำลังพอ
เพราะฉะนั้น ช่วงที่ว่ามันบีบมันเค้นอะไรในตอนนั้นสำคัญมาก
โยมอย่าลืมนะว่ากระบวนการบรรลุธรรมเนี่ยมันไม่ใช่เป็นกระบวนการที่เห็นการเกิดการดับ ไม่ใช่,
กระบวนการบรรลุธรรม คือกระบวนการของตัวธัมมะวิจยะ ที่น้อมลงในไตรลักษณ์ในกฎแห่งความเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา
กระบวนมันจะน้อมเอาสภาวะของรูปนามที่กำลังเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดดับมาลงในไตรลักษณ์
กระบวนการการบรรลุธรรมเนี่ยมันจะเกิดขึ้นช่วงที่ธัมมะวิจยะในการน้อมลงในอนิจจังทุกขังอนัตตาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ว่าอันนี้นะสภาวะที่กำลังปรากฏเนี่ย คือกฎแห่งการเปลี่ยนแปลงนะมันกำลังเกิดและเรารักษาไม่ ยื้อฉุดไม่ได้ รักษาไม่ได้ บังคับไม่ใด้นะ
ในขณะที่เราพิจารณาแบบนี้ม้นก็จะสิ้นสุดลง กระบวนการพิจารณาสภาวะเกิดดับ ลมหายใจ คือขันธ์ท้้งหมด ขันธ์ทั้ง 5 ดับหมดดับรอบ "
Tue, 06 Dec 2022 - 1h 15min - 79 - ความมหัศจรรย์แห่ง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน Group Sitting 2022-11-27Mon, 28 Nov 2022 - 1h 14min
- 78 - ความมหัศจรรย์ของสัมมาสมาธิ Group Sitting 2022-11-20
สุข เป็นเวทนาขันธ์ มีการเปลี่ยนแปลง มีการเกิดดับ
จะไปแสวงความสุขในพื้นที่ของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
. . .
บนพื้นที่แห่งการเปลี่ยนแปลงจะไม่มี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
อวิชชา ตัณหา อุปาทานจะไม่เกิดร่วมกับอารมณ์อันเป็นปัจจุบันขณะ
เพราะอารมณ์นั้นปรากฏเพียงชั่วขณะเดียวแล้วก็ดับไป
ไม่มีพื้นที่ให้ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน หยั่งลงได้
Tue, 22 Nov 2022 - 1h 53min - 77 - สายธารแห่งธรรม จากปัญญาสู่วิมุตติ Group Sitting 2022-11-13Tue, 15 Nov 2022 - 1h 32min
- 76 - ความต่างของ "รู้ชัด" ระหว่างนัยยะของ อานาปานสติ กับมหาสติปัฏฐาน Group Sitting 2022-11-06Tue, 08 Nov 2022 - 52min
- 75 - พุทธประสงค์ในการรับรู้ลมหายใจ Group Sitting 2022-10-30
ในความสัมพันธ์หลากมิติ ความสัมพันธ์เหล่านี้จิตที่ยังมีอวิชชาจะเข้าไปมั่นหมายว่า
มีตัวตนอยู่จริงในโลกแห่งความสัมพันธ์
แม้ในขณะอยู่เพียงผู้เดียว แต่โลกแห่งความสัมพันธ์นั้นมันกึกก้องอยู่ในระบบสัญญาความจำ
แน่นอนว่าในโลกแห่งความสัมพันธ์จะไม่มีมิติเดียว
ที่เราไปสมาทานโลกแห่งความสัมพันธ์เพราะจะเสพความสัมพันธ์เชิงบวก
แต่..จะไม่มีใครสามารถประคองความความสัมพันธ์เชิงบวกได้ตลอด
จิตที่มีอวิชชาจะเรียกร้องเติมเต็มในโลกแห่งความสัมพันธ์
ก็เพราะโลกแห่งความสัมพันธ์คือ "โลกแห่งตัวตน"
พระพาหิยะ ผู้ไม่ปรากฏตัวตนในโลกแห่งความสัมพันธ์
สมาธิจะเกิดขึ้นต่อเมื่อโลกแห่งความสัมพันธ์ โลกแห่งตัวตนที่โลดแล่นไปในกาลเวลายุติตัวมันลง
อุบายวิธีให้จิตอิสระจากโลกความสัมพันธ์ คือทำความรู้สึกให้อิสระจากการเลือก
Mon, 31 Oct 2022 - 1h 26min - 74 - เวลามีอยู่จริงมั้ย...เวลาในมุมมองของพุทธะ Group Sitting 2022-10-16
อารมณ์ที่ตกค้างในชีวิตประจำวันจะอยู่ในรูปของความคิดสัญญาภาพ
อารมณ์ที่เรารับรู้ปรากฏเพียงชั่วขณะเดียวแล้วดับสลายไป
ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด ดีหรือชั่ว สมหวังหรือพลาดหวัง
การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้นดับไปแล้ว
แต่อารมณ์ตกค้างอยู่ในรูปของความทรงจำ
จิตที่มีอวิชชา จะถูกแรงพึงพอใจไม่พึงพอใจ ความรักหรือชังในอารมณ์ที่ผ่านการรับรู้ในประสาทสัมผัสทั้ง 5
แรพึงพอใจไม่พึงพอใจนั้นจะร้อยรัดจิตผูกมัดจิตให้ติดอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ แม้ว่าอารมณ์นั้นจะผ่านไปแล้ว
....
ในอดีตไม่มีเรา เรารับรู้อดีตผ่านความจำผ่านสัญญานี่เรียกว่า รับรู้ตรงตามความเป็นจริง
Thu, 20 Oct 2022 - 1h 30min - 73 - สภาวธรรมอานาปานสติ ระดับที่ 3 " จักรู้ชัดซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า_หายใจออก " Group Sitting 2022-10-09
การเอาความรู้สึกไว้ที่กึ่งกลางสมองหรือที่อุ้งมือซ้าย ไม่มีคำบริการ ไม่มีการสร้างภาพ
กำลังความนิ่งสูงมาก และทันทีโดยไม่มีพิธีรีตรอง
ลมหายใจเข้ายาวออกยาว การรับรู้ความรู้สึกจะชัดนิ่งอยู่จุดนั้น
เมื่อลมหายใจลดลง อาณาปานสติระดับที่ 2 ถึงระดับที่ 6 ลมหายใจจะสั้นลงๆไปเรื่อยๆ
แต่พระองค์ท่านนิยามคำว่าสั้นลงเฉพาะระดับที่ 2
แท้จริงจาก 2 ไป 3 พระองค์ท่านนิยามว่า "จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง"
จาก 3 ไป 4 "จักเป็นผู้กำหนดรู้ชัดซึ่งลมหายใจระงับ"
สภาวะเป็นผู้กำหนดรู้ชัดกายทั้งปวง สัพพะกายะ
สภาวะธรรมเป็นแบบนี้ ไม่ว่าจะเอาความรู้สึกไว้ที่โพรงจมูก ปลายจมูก กึ่งกลางหน้าอก หรือศูนย์กลางกายบริเวณหน้าท้อง
ซึ่งปกติความรู้สึกแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวชัดอยู่เฉพาะจุดนั้น
เมื่อมาถึงสภาวะระดับที่ 3 กายทั้งปวงเสมือนหนึ่งว่าลมหายใจแทรกเข้าไปทุกอณูของเรือนกาย
เวลาหายใจเข้าจะรู้สึกเหมือนว่ากายขยายออก หายใจออกรู้สึกเหมือนกายแฟบลดลงไป
นี่คือนิยามของคำว่ากายทั้งปวง "สัพพะกายะ" รู้สึกตัวทั่วเรือนกายโดยไม่ใช่เจตจำนง
ซึ่งสภาวะนี้ต้องเป็นไปเอง
"ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงความดับของเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น"
การยึดติดในอัตลักษณ์ในตัวตน เป็นทุกข์
จงเป็นประทีปในที่มืด ชลอวงล้อการขับเคลื่อนภาวะความมีตัวตน ให้เบาบางลง
เพราะความขับเคลื่อนนั้นจะนำไปสู่
ความขัดแยังในความสัมพันธ์ล้วนแล้วเกิดแต่ความเข้มข้นของอัตลักษณ์ ความยึดติดในตัวตนทั้งนั้น
Mon, 10 Oct 2022 - 1h 21min - 72 - วิบาก คือกระบวนการคืนเวลาให้กับโลก Group Sitting 2022-10-02Tue, 04 Oct 2022 - 1h 40min
- 71 - จิตอยู่จุดไหนในอาการ ๑๒ ของวงจรปฏิจจสมุปบาท Group Sitting 2022-09-04Mon, 05 Sep 2022 - 1h 49min
- 70 - ลำดับชั้นของลมหายใจ ๗ ระดับ Group Sitting 2022-08-28Mon, 29 Aug 2022 - 1h 49min
- 69 - ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ๒ ประเภท Group Sitting 2022-08-21Mon, 22 Aug 2022 - 2h 04min
- 68 - มหาวิปัสสนา เหตุแห่งความพ้นทุกข์ Group Sitting 2022-08-14Mon, 15 Aug 2022 - 1h 48min
- 67 - สติปัฏฐานสำหรับบุคคล ๓ ประเภท Group Sitting 2022-08-07Tue, 09 Aug 2022 - 1h 58min
- 66 - การสิ้นลงของสิ่งที่เคยรู้ คือนิยามของสมาธิ Group Sitting 2022-07-31Fri, 05 Aug 2022 - 1h 50min
- 65 - กระบวนการบรรลุธรรม(มรรคญาณ) จักไม่เกิดขึ้นในระดับกามสัญญา Group Sitting 2022-07-24Mon, 25 Jul 2022 - 2h 00min
- 64 - สมถยานิก วิปัสสนายานิก Group Sitting 2022-07-17Tue, 19 Jul 2022 - 1h 42min
- 63 - สมาธิ ๗ ระดับ รองรับการบรรลุธรรม Group Sitting 2022-07-03Wed, 06 Jul 2022 - 1h 50min
- 62 - อนุปุพพวิหาร ๙ Group Sitting 2022-06-26Fri, 01 Jul 2022 - 1h 54min
- 61 - จิตเดิมแท้ Group Sitting 2022-06-19Tue, 21 Jun 2022 - 1h 50min
- 60 - สมาบัติ ๓ ประเภท Group Sitting 2022-06-12Fri, 17 Jun 2022 - 2h 07min
- 59 - อานิสงส์สมาธิ 4 อย่าง Group Sitting 2022-06-05Wed, 08 Jun 2022 - 1h 46min
Podcasts similares a ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- สื่อเสียงนิทาน : นิทานเด็กเล็ก Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ