Nach Genre filtern

ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี

ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี

Mowakee Forest

นำนั่งสมาธิปฏิบัติภาวนา ธรรมบรรยาย ปุจฉา วิสัชนาโดย พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี

159 - สมอง เงียบจากความคิด Group Sitting 2024-10-27
0:00 / 0:00
1x
  • 159 - สมอง เงียบจากความคิด Group Sitting 2024-10-27

    เมื่อใดโมเมนต์ไหนที่จิตมันอยู่กับปลายลิ้น

    ลมหายใจเนี่ยมันจะหายไปเลย หมายถึงว่าลมจะเบา

    ที่ลมเบาเพราะว่าความคิดไม่ปรากฏ

    ปริมาณความคิดกับปริมาณของลมหายใจจะสัมพันธ์กันเสมอทุกระดับชั้น

    ของสมาธินะ

    เมื่อปริมาณความคิดลดลงด้วยอุบายใดอุบายหนึ่ง

    ลมหายใจก็จะลดลงด้วย

    เป็นไปโดยอัตโนมัตินะ



    ปิยทัสสี ภิกขุ

    ============

    นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม

    Group Sitting 27-10-2024

    พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี

    ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน

    =========


    ปุจฉา : วิสัชนา


    ก่อนที่จะมีสภาวะของวิมุตติญาณทัสสนะปรากฏในระดับการบรรลุธรรมขั้นสุดท้าย

    เรียกว่าอรหัตตมรรคญาณปรากฎ

    แล้วก่อนที่วิมุตติญาณทัสสนะจะปรากฏ

    ก็จะมีธรรมจักร ธรรมจักรก็คือการเห็น

    เอาง่าย ๆ ก็คือสภาวะของวิญญาณธาตุนะ

    วิญญาณธาตุ


    ก่อนที่จะพูดถึงตรงนี้ก็เราก็ต้องไปที่พระสูตรนะ

    ยกตัวอย่างพระสูตรพระองค์ท่านตรัส

    ว่าเมื่อวิญญาณรับรู้อารมณ์แล้ว

    หากว่ามีนันทิความเพลินเข้าไปประกอบกับการรับรู้ ในอารมณ์นั้น

    นั่นคือที่ตั้งแห่งภพ


    พระองค์ท่านไม่ตรัสนะว่า ความเพลินนี้ตั้งอยู่ในเวทนา

    ในสัญญา ในสังขาร !

    พระองค์ท่านตรัสความเพลินนี้เป็นปรากฏการณ์

    เป็นสภาวะที่ วิญญาณรับรู้อารมณ์

    ความเพลินเข้าไปประกอบด้วยนั่นคือที่ตั้งแห่งภพ


    วิญญาณเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์

    กรรมที่กระทําแล้วเปรียบเสมือนพื้นดิน

    แล้วเมล็ดพันธุ์นี้มีพีชะ หากว่ามีความชื้นหรือตกลงบนพื้นดิน

    มันก็พร้อมที่จะงอกเป็นต้นใหม่

    มันมีพีชะอยู่ในนี้ มียางเหนียว มีสิ่งมีชีวิต

    อยู่ในเมล็ดพันธุ์นะ

    อันนี้ก็คือตัว "ตัณหา"




    Mon, 11 Nov 2024 - 59min
  • 158 - สังโยชน์ ๑๐ Group Sitting 2024-10-20

    ...

    ปรากฏว่าเมื่อมันถึงจุดเต็มรอบแล้ว

    พอจิตเคลื่อนเข้าสู่ฌานที่หนึ่ง เคลื่อนไปสู่ฌานที่สอง

    ดํารงอยู่ในฌานที่สาม ยกตัวอย่างนะในฌานที่สาม

    แทนที่จะเคลื่อนขึ้นไปฌานที่สี่ ไม่แล้ว!

    ฌานที่สี่นี้เป็นบาทฐานให้กับการบรรลุ

    คือการดับสิ้นสุดลงของรูปและนามก็ปรากฏนะ

    นั่นแสดงว่า

    อนาคามีมัคคญาณมีตติยฌานเป็นบาทฐาน

    ทํากิจเป็นสัมมาสมาธิเกิดร่วมกับตัวปัญญาพละวิปัสสนาพละ


    หลักโดยสภาวะนั้นมีอยู่ว่า เมื่ออนาคามีมรรคเกิดแล้ว

    เกิดขึ้นเพียงขณะเดียวใช่ไหมอย่าลืมนะเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว

    มีคุรุบางท่านบอกว่ามันเกิดขึ้นเพียงวินาทีนั่นเอง

    แต่ในทางอรรถกถาของทางวิสุทธิมรรคเกิดเร็วกว่านั้นอีก

    เร็วยิ่งกว่าแสงอีก ก็ไม่เป็นไรแต่ว่าเร็วก็แล้วกัน


    อนาคามีมัคคญาณเกิดขึ้นแล้วดับไป

    ญาณทัสสนะจะปรากฏสืบต่อทันทีเลยนะ ทันทีเลย

    ญาณทัสสนะจะเกิดหลังจากที่จิตดวงนั้น

    ได้ดับกามราคะปฏิคะได้แล้ว

    ผู้ที่ยังดับกามราคะดับความยินดีในกามไม่ได้ญาณทัสสนะจะยังไม่เกิดนะ

    เพราะฉะนั้นญาณทัสสนะจะเกิดครั้งแรกก็คือหลังจากที่อนาคามีมัคคญาณดับไป

    เกิดขึ้นปุ๊บแล้วดับไป เพียงขณะเดียวแล้วดับไป อย่าลืมนะ

    มัคคญานซึ่งมี 4 มรรคด้วยกันในสังสารวัฏนี้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น


    ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนั้นเป็นผล อนาคามีผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล โสดาปัตติผล

    ที่เราเคยได้ยินก็คือ ไปเสวยนิพพาน

    ไปเสวยสภาวะที่ตัวเองได้บรรลุแล้วดังปรารถนา

    เรียกว่าผลญาณ ถ้าได้ดังปรารถนาเรียกว่าผลสมาบัติ


    ปิยทัสสี ภิกขุ

    ============

    นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม

    Group Sitting 20-10-2024

    พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี

    ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน

    =========


    ความสัมพันธ์นั้นเป็นกระจกเงาที่สะท้อนภาพลักษณ์ตัวตนของแต่ละคน

    สะท้อนซึ่งกันและกัน อีกอย่างการเติมเต็มนั้นไม่มีที่สิ้นสุดนะ

    แท้ที่จริงมันไม่มีนะตัวตนตัวนี้

    พอไปถึงจุดจุดหนึ่ง

    ความสงสัยเอ๊ะฉันเคยเติมเต็มกับตัวตนในเรื่องนี้ ด้วยวิธีนี้

    ด้วยความสัมพันธ์นี้ด้วยกิจกรรมนี้ ด้วยความเชื่อแบบนี้

    มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยเรื่อย

    พฤติกรรมที่เราหาอุบายวิธี ที่เราไปเติมเต็มเขาเรียกว่า

    ศีลพตปรามาส



    Thu, 31 Oct 2024 - 2h 11min
  • 157 - รู้โดยอาการอย่างไร เพื่อให้รู้ชัดซึ่ง "กาย เวทนา จิต ธรรม" Group Sitting 2024-10-13

    ความรู้สึกที่พึงพอใจที่อิงตั้งอยู่ในสุขเวทนา

    ความรู้สึกที่หงุดหงิดปฏิคะขุ่นเคือง โทมนัสที่ตั้งอยู่ในความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ทุกขเวทนา

    นี้เป็นเหตุ ตัวนี้แหละที่เป็นตัวร้อยละจิตให้ติดอยู่ในอารมณ์ของโลกล่ะ


    ----------------


    วิปัสสนานั้นไม่ว่าจะอยู่กับรูปหรือกับนาม

    หลักสําคัญคือให้เห็นการเคลื่อน

    เห็นการเปลี่ยนแปลงของลม

    ยาวหรือสั้น หยาบหรือละเอียด

    ปรากฏอยู่เพียงชั่วขณะสลายไป

    ขณะใหม่มาแทนที่แล้วสลายไปเห็นความสืบต่อ

    ของลมหายใจเข้าและออกอยู่แบบนี้

    นี่ชื่อว่าเห็นการเกิดเห็นการดับ

    ระลึกรู้เท่าทันเมื่อจิตเคลื่อนออกจากลมหายใจ

    ออกจากฐานกายไปสู่โลกของความคิดนึก

    รู้ชัดว่าในความคิดที่ผ่านไป


    เป็นความคิดที่อิงอารมณ์อดีตหรืออนาคต

    เป็นความคิดที่มีความสุขหรือทุกข์หนึ่งใดมาอิงแอบอยู่มาตั้งอยู่ประกอบอยู่

    หรือว่ามีความคิดที่มันประกอบไปด้วยความพึงพอใจไม่พึงพอใจ

    รู้ชัดอย่างใดอย่างหนึ่ง

    แล้วก็กลับมารู้ชัดที่การเคลื่อนของลมหายใจ

    นี่แหละเค้าเรียกว่า "รู้ชัด"รู้ชัดในมหาสติปัฏฐาน

    ก็คือรู้ซึ่งความเกิดรู้ซึ่งความดับนั่นเอง


    ปิยทัสสี ภิกขุ

    ============

    นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม

    Group Sitting 13-10-2024

    พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสีศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน

    =========

    Mon, 21 Oct 2024 - 52min
  • 156 - นิพพาน เป็นอัตตาหรืออนัตตา Group Sitting 2024-10-06

    " ถ้าท่านไม่เห็นสภาวะของความเป็นอนิจจัง ท่านจะหยั่งลงในอนัตตาได้อย่างไร "

    ชัดเจนนะ อนัตตาไม่มีสภาวะหรอก

    มันบังคับไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ บังคับที่มันไม่เที่ยง ให้เที่ยงได้ไหม ?

    จากสุขให้เป็นสุขอยู่อย่างนี้อย่าให้เป็นทุกข์ได้ไหม ?

    ที่บังคับไม่ได้นี่คือกําลังนิยามคําว่า “อนัตตา”

    แล้วพระสูตรว่า "ภิกษุทั้งหลายสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์"

    อันนี้ชัดมากนะ พระองค์ท่านกําลังโฟกัส

    กําลังพูดถึง ให้ความสําคัญเรื่อง “เวทนา”

    แล้วอะไรเป็นเหตุผลพระองค์ถึงเน้นย้ำเรื่องเวทนา

    สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ​ ?

    คำว่าป็นทุกข์ แสดงว่า

    มันเปลี่ยนสถานะจากอุเบกขามาเป็นทุกข์

    จากสุขเวทนามาเป็นทุกขเวทนา

    เพราะมันเปลี่ยนแปลงไง

    กฏแห่งการเปลี่ยนแปลงที่กําลังไหลไป

    ที่ครอบงํารูปและนาม และสสารพลังงานทุกระดับชั้น

    จะมีใครมั้ยที่จะมีอํานาจไปควบคุมสิ่งเหล่านี้มิให้เปลี่ยนแปลง

    เพราะควบคุมไม่ได้ จึงมิใช่ตัวตนในสภาวะ"อนัตตา"

    ถ้าพูดถึงสภาวะอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา เรากําลังพูดถึงในเนื้อหาของ"ขันธ์"นะ

    ธรรมทั้งปวงเป็นอัตตาหรืออนัตตา ? เราเลยขอบเขตนิยามนี้ไปแล้ว

    ว่าสภาวะนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตานะ ​

    เราอย่าลืมว่า อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตานี้

    พระองค์ท่านสื่อว่าเป็นกฏของ "โลกของรูปและนาม"

    ถ้าข้ามพ้นรูปและนามไป อนัตตาก็ไม่เกี่ยวโยงแล้ว

    ข้ามพ้นรูปและนาม สภาวะที่ไม่มีรูปและนามปรากฏ

    ไม่มีการจุติและอุบัติ จะไม่นิยามว่าเป็นอัตตาหรืออนัตตา

    เพราะข้ามพ้นกาล ข้ามพ้นขอบเขตของของขันธ์ไปแล้ว

    คนที่ไม่เข้าใจสภาวะก็จะมาถกกันเรื่องนี้แหละ

    นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา

    อัตตาหรืออนัตตา พระองค์ท่านนิยาม

    ในขอบเขตของ"รูปและนาม"เท่านั้นนะ อย่าลืม !

    ปิยทัสสี ภิกขุ

    ============

    นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม Group Sitting 06-10-2024

    พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี

    ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน

    =========

    https://youtu.be/qpjqdq7yRRY

    Thu, 17 Oct 2024 - 1h 52min
  • 155 - ปฏิปทากำหนดรู้อาหาร 4 "เพื่อความหลุดพ้น" Group Sitting 2024-09-29

    โดยอาศัยอุบายที่พระอาจารย์บอกไปแล้ว หนึ่งในอุบายนั่นก็คือทําความรู้สึกที่ปลายลิ้น เมื่อเราทําความรู้สึกที่ปลายลิ้น ความเพลินอันเป็นกามฉันทะในรสจะไม่เกิดขึ้น 01:45:03 เมื่อความเพลินไม่เกิด ตัวตัณหาก็ไม่เกิดไม่หยั่งลงเวทนา ยังมีอยู่ไหมนี่ ความสุขความทุกข์ ? ความสุขอันเกิดจากการรับรู้อารมณ์นี้จากการกิน ? มี เป็นการรับรู้โอชารส แต่ไม่มีความเพลินเพราะอะไร อาศัยอุบายปลายลิ้นสัมผัส มีผู้ปฏิบัติบอกว่าความฟุ้งซ่านนี้ ตัวผัสสะ ตัวเจตนา ที่มันหยั่งลงในเวทนา ทุก ๆ กระบวนการของการรับรู้อารมณ์นี้เกิดขึ้นตอนเดินนะ พระอาจารย์ก็บอกเอาเลย แต่ในชีวิตประจําวันของเรา ที่เราเดินอยู่ ขับรถอยู่ อะไรต่าง ๆ น่ะเอาความรู้สึกไว้ที่ปลายลิ้นตลอดเลย เขาบอกเห็นความอัศจรรย์มาก ทุกครั้งที่อยู่กับปลายลิ้น มันจะตัดกระแสของของตัวเจตจํานงนี้ไปเลย เจตจํานงที่มันจิกลง หยั่งลง ที่เกาะเกี่ยวในสุขเวทนานี้อยู่ เรามาอยู่ในภูมิมนุษย์นะ เราทานอาหารหยาบ ซึ่งวันหนึ่งก็ไม่เกิน 5 รอบ บางคนอาจจะมีรอบที่ 6 ที่ 7 นักบวชก็สองมื้อ แล้วความรู้แจ้งเห็นจริงอันเป็นอานิสงส์ ที่เกิดจากการเอาความรู้สึกไว้ที่ปลายลิ้น อันเกิดจากกระบวนการที่เราอาศัยการบริโภคอาหาร เริ่มต้นที่ตรงนี้ แล้วอาหารเหล่าอื่น ผัสสาอาหาร มโนสัญเจตนาหารและวิญญาณาหารจะแจ่มแจ้งไปโดยปริยาย จะแจ่มแจ้งไปโดยอัตโนมัติ จะเป็นไปเอง . ปิยทัสสี ภิกขุ ============ นำนั่งปฏิบัติกลุ่ม Group Sitting 29-09-2024 พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี ศูนย์วิปัสสนาวัดถ้ำดอยโตน =========

    Fri, 04 Oct 2024 - 1h 57min
Weitere Folgen anzeigen

Podcasts ähnlich wie ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี