Filtrer par genre
ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- 337 - พระวินัยธร [6745-6t]
“พระวินัยธร” คือ ภิกษุผู้ชำนาญในพระวินัยในสิกขาบทต่างๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี หรือปัจจุบันเรียกว่า “ตำรวจพระ” ซึ่งตำรวจจำเป็นต้องจะรู้และชำนาญในข้อกฏหมายและตนเองก็ต้องรักษาปฏิบัติตามได้อย่างดีด้วย
ในข้อที่ 75-78 กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นพระวินัยธร และในข้อที่ 79-82 ผู้ที่เป็นพระวินัยธรที่สง่างามนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ซึ่งในแต่ละพระสูตรจะมีข้อปฏิบัติที่เหมือนกันและแตกต่างกันเป็นบางข้อ
ข้อที่ #83_สัตถุสาสนสูตรท่านพระอุบาลีได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงข้อปฏิบัติ (คำสอนของพระศาสดา) เมื่อต้องหลีกเร้นอยู่เพียงผู้เดียว
ข้อที่ #84_อธิกรณสมถสูตร กล่าวถึง ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ คือวิธีที่จะระงับหรือดับอธิกรณ์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วินยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 08 Nov 2024 - 56min - 336 - สังเวชนียสถาน [6744-6t]
#115_ฐานสูตร_ว่าด้วยฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ จับคู่สิ่งที่ไม่น่าพอใจหรือน่าพอใจ กับทำแล้วเป็นประโยชน์หรือฉิบหาย บัณฑิตจะทราบว่า 2 ส่วนควรทำหรือไม่ควรทำ ดูที่ประโยชน์หรือโทษเป็นเกณท์ ในขณะที่คนพาลจะมองได้ไม่ขาดทะลุ ตรงนี้อยู่ที่กำลังจิต เปรียบได้เหมือนการเลือกดื่มน้ำมูตร หรือน้ำหวานพิษ หรือประโยชน์ที่จะได้รับในเวลาต่อมา
#116_อัปปมาทสูตร_ว่าด้วยความไม่ประมาท เมื่อรู้ 4 ข้อนี้จะไม่เกรงกลัวต่อความตายที่จะมาถึง คือ ละกายวาจาใจทิฏฐิในทางทุจริต และเจริญกายวาจาใจทิฏฐิในทางสุจริต ไม่กลัวเพราะมีการตั้งตนไว้ในความไม่ประมาทในธรรม 4 ข้อนี้นั่นเอง
#117_อารักขสูตร_ว่าด้วยสติเครื่องรักษา เมื่อมีธรรมนี้แล้วจะไม่เป็นผู้หวั่นไหวสะดุ้งสะเทือนไปตามมงคลตื่นข่าว กล่าวคือ ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ไม่มัวเมาในธรรมที่เป็นเหตุนั้น ๆ เป็นการเบรคจิตด้วยสติได้อย่างน้อยเป็นโสดาบัน
#118_สังเวชนียสูตร_ว่าด้วยสังเวชนียสถาน คนที่มีศรัทธาเมื่อได้ไปสี่สถานที่นี้แล้วควรเกิดความสังเวช สังเวชในการที่จะต้องรีบกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาอย่างเร่งด่วนให้เกดความเปลี่ยนแปลง โดยเร่งทำความเพียรตามมรรคแปด
#119_ปฐมภยสูตร_ว่าด้วยภัยภายใน เป็นภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ได้แก่ ภัยเกิดเพราะความเกิด, ความแก่, ความเจ็บไข้, ความตาย
#120_ทุติยภยสูตร_ว่าด้วยภัยภายนอก เป็นภัยที่อาจยังช่วยกันได้ ได้แก่ ภัยเกิดจากไฟ, จากน้ำ, จากพระราชา, จากโจรจบเกสิวรรค
#121_อัตตานุวาทสูตร_ว่าด้วยอัตตานุวาทภัย ภัย 4 ประการที่ถ้าเรามีหิริโอตัปปะแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวภัยเหล่านี้เลย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เกสิวรรค ภยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 01 Nov 2024 - 57min - 335 - การด่าบริภาษครูทั้ง 7 [6743-6t]
ทบทวน ข้อที่ #72_อัคคิกขันโธปมสูตร_ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟข้อที่น่าสังเกตในพระสูตรนี้ คือ เรื่องของเวทนา ว่า “เวทนาสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะตายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงภพที่กำลังจะไป แต่เป็นเวทนาที่ประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลต่างหากที่เป็นตัวบ่งบอกถึงภพที่จะไป”
#73_สุเนตตสูตร_ว่าด้วยครูชื่อสุเนตตะเป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องของ“ผู้ที่ถูกโทสะเบียดเบียนจิต มีจิตประทุษร้าย ด่าว่า ติเตียนในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นสิ่งมิใช่บุญมีโทษมาก”โดยได้หยิบยกครูเจ้าลัทธิทั้ง 7 ท่านที่ปราศจากความกำหนัดในกามและมีคำสอนเป็นไปเพื่อพรหมโลก ผู้ที่ไม่มีศรัทธาและไปด่าบริภาษในท่านยังประสพสิ่งที่มิใช่บุญ แลัวจะกล่าวไปไยในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่มีศีล สมาธิ ปัญญา จะประสพสิ่งอันมิใช่บุญเป็นอันมาก
#74_ อรกสูตร_ว่าด้วยครูชื่ออรกะ เป็นพระสูตรว่าด้วยการปรารภความเพียร ไม่ควรประมาทในวัยแห่งชีวิต “เพราะชีวิตเป็นของมีประมาณน้อย”
โดย “ครูอรกะ” ได้ยกอุปมาความที่ชีวิตเป็นของมีประมาณน้อยเปรียบไว้กับ น้ำค้างบนยอดหญ้า, ฟองน้ำบนผิวน้ำ, รอยขีดในน้ำ, น้ำที่มีกระแสเชี่ยวไหลมาจากภูเขา, การถ่มน้ำลายทิ้ง, ชิ้นเนื้อในเตาเผา และแม่โคที่จะถูกฆ่า
“ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ”
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 25 Oct 2024 - 56min - 334 - บ่วงรวบรัดแห่งมาร [6742-6t]
#55_มาตาปุตตสูตร ว่าด้วยมารดากับบุตร พูดถึงความสัมพันธ์ต่อกันของเพศตรงข้าม ที่มาตามรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันเป็นที่เกิดความกำหนัด อันเป็นอันตรายต่อนิพพาน โดยยกกรณีของมารดากับบุตร ที่แม้บวชแล้วก็ยังคลุกคลีกันจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ ต้องระวังให้ดี ไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จนแม้กระทั่งตายไปแล้วก็เช่นกัน การอยู่กับเพศตรงข้ามแล้วมีจิตลุ่มหลงจะรอดยากกว่าเจออสรพิษ
#56_อุปัชฌายสูตร ว่าด้วยอุปัชฌาย์ ปรารภภิกษุผู้ที่มีเหตุจะให้สึก การที่มีกายหนัก ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้ง ถีนมิทธะครอบงำ ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรม เหตุเพราะว่า
1) ไม่คุ้มครองในอินทรีย์ แก้โดยมีสติเป็นนายทวาร
2) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค, รู้ประมาณ คือ การพิจารณาจากเวทนาทั้งที่เป็นสุขและที่เป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อระงับเวทนา และไม่เป็นไปเพื่อเวทนาใหม่ที่มากเกินไป ตั้งจิตคอยสังเกตเวทนาที่เกิดขึ้นเหมือนการกินเนื้อบุตร ปรับความคิดเห็นว่าการมีกายที่เบานั้นเหมาะแก่การเจริญภาวนา
3) ไม่ประกอบธรรมอันเป็นเครื่องตื่น, เครื่องตื่น คือ ตื่นตัวอยู่เสมอในความเพียร ไม่ใช่ไม่นอน
4) ไม่เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย แก้โดยให้จับฉวยให้ไวในศีล สมาธิ ปัญญา
5) การไม่ประกอบเจริญในโพธิปักขิยธรรม ถ้าไม่เจริญธรรมนั้นก็จะมีแต่เสื่อมท่าเดียว สามารถนำไปปรับใช้ได้กับสถานการณ์ที่บีบบังคับได้ดี เป็นธรรมที่คุ้มครองให้ผ่านอุปสรรคไปได้
#57_ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ "ความเป็นธรรมดา" นั้น คือ การพิจารณาว่ามันเกิดได้กับทุกคน ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย ความธรรมดาที่ล่วงพ้นไปไม่ได้ ควรพิจารณาอยู่เนือง ๆ ที่เมื่อพิจารณาแล้วจะทำให้ละหรือลดความมัวเมาได้ ได้แก่ ความแก่ลดความมัวเมาในวัย ความเจ็บไข้ลดความมัวเมาในความไม่มีโรค ความตายลดความมัวเมาในชีวิต ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจละความกำหนัดได้ และทุกคนมีกรรมเป็นของตน ความเข้าใจนี้จะทำให้ไม่ไปตามมงคลอื่น ๆ เมื่อเข้าใจทั้ง 5 ประการนี้แล้ว จะทำให้อยู่ในมรรค ก้าวหน้าในธรรม จนเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต นีวรณวรรค ข้อที่ 55-57
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 18 Oct 2024 - 53min - 333 - ข้ออุปมาด้วยกองไฟ [6741-6t]
#70_สักกัจจสูตร ว่าด้วยความเคารพ เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดใคร่ครวญถึงธรรม 7 ประการ ที่เมื่อ “ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยธรรมเหล่านี้อยู่ จะละอกุศล เจริญกุศลได้” ธรรมทั้ง 7 ประการนี้ ได้แก่ เมื่อภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดา / พระธรรม / พระสงฆ์ / สิกขา / สมาธิ / ความไม่ประมาท / ปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
โดยธรรมทั้ง 7 ประการนี้ ได้ถูกจำแนกรายละเอียดเป็นไปตามลำดับและมีนัยยะในการจำแนกใคร่ครวญถึง 3 นัยยะด้วยกัน คือ เป็นไปไม่ได้ ที่เมื่อไม่มีความเคารพพระพุทธ จะมีความเคารพในพระธรรม..ฯ / เป็นไปไม่ได้ ที่เมื่อมีความเคารพพระพุทธ จะไม่มีความเคารพในพระธรรม..ฯ / เป็นไปได้ ที่เมื่อมีความเคารพพระพุทธ จะมีความเคารพในพระธรรม..ฯ.. แล้วพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงรับรองคำของท่านพระสารีบุตร
#71_ภาวนาสูตร ว่าด้วยภาวนา เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาในโพธิปักขิยธรรม 37 อยู่ แม้จะไม่ตั้งความปรารถนาถึงความสิ้นอาสวะ ก็จะถึงความสิ้นอาสวะอยู่ดี เพราะด้วยอาศัยเหตุแห่งการหมั่นประกอบภาวนาในโพธิปักขิยธรรม 37 นี้ โดยได้อุปมากับการกกไข่ของแม่ไก่ รอยจับในด้ามมีด ความผุกร่อนของหวายที่ผูกรั้งเรือ ที่ย่อมอาศัยเวลาและการกระทำอย่างต่อเนื่อง
#72_อัคคิกขันโธปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ได้ทรงกล่าวถึงภิกษุผู้ทุศีล มีความประพฤติไม่สะอาด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ แล้วใช้สอยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใดก็ตาม การใช้สอยของภิกษุผู้ทุศีลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลแก่ภิกษุผู้ทุศีลนั้น โดยได้ทรงยกอุปมาอุปไมยไว้ถึง 7 ประการ หลังจากที่พระผู้มีภาคเจ้าทรงแสดงธรรมจบ ก็มีภิกษุบางพวกกระอักเลือด บางพวกลาสิกขา บางพวกบรรลุธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 11 Oct 2024 - 58min - 332 - การเจริญสัมมาสมาธิ [6740-6t]
หมวดธรรมะ 5 ประการ ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสัมมาสมาธิ ไล่ลำดับไปจนถึงปัญญาเพื่อการหลุดพ้น
ข้อที่ 21-22_ปฐม-ทุติยอคารวสูตร ว่าด้วยความไม่เคารพ มีเนื้อหาคล้ายกัน พูดถึงเหตุปัจจัยที่จะได้สัมมาสมาธิ และเปรียบเทียบส่วนต่างว่า ถ้าทำอย่างนี้จะไม่ได้หรือได้สัมมาสมาธิ
ในข้อที่ #21_ปฐมอคารวสูตร เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วค่อย ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ตามมา นั่นคือเริ่มจากการมีความเคารพยำเกรงในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ก่อให้เกิดอภิสมาจาริกธรรม อภิสมาจาริกธรรมก่อให้เกิดเสขธรรม เสขธรรมก่อให้เกิดศีล ศีลก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิก่อให้เกิดสัมมาสมาธิ ในข้อที่ #22_ทุติยอคารวสูตร เปลี่ยนตรง 3 ข้อสุดท้ายจากศีลเป็นสีลขันธ์ จากสัมมาทิฏฐิเป็นสมาธิขันธ์ จากสัมมาสมาธิเป็นปัญญาขันธ์ เป็นความละเอียดลงไปในแต่ละข้อ ศีลก็เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ สมาธิต่อยอดขึ้นไปก็เป็นปัญญาขึ้นมาข้อที่ #23_อุปกิเลสสูตร ว่าด้วยความเศร้าหมองเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเครื่องเศร้าหมอง 5 อย่าง ของทองกับของจิต ที่เมื่อกำจัดออกไปแล้วจะทำให้ถึงซึ่งนิพพานได้ เครื่องเศร้าหมองของจิตก็คือ นิวรณ์ 5 นั่นเอง จะกำจัดออกไปได้ก็ด้วยสติ ถ้าเรากำจัดนิวรณ์ออกไปจากจิตได้ ความรู้ 6 อย่างจะเกิดขึ้น และจะเป็นตัวที่จะทำให้บรรลุธรรมได้
ข้อที่ #24_ทุสสีลสูตร ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีลเปรียบกับต้นไม้ที่มีกิ่งหัก สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่น จะสมบรูณ์ไปได้อย่างไร เปรียบเหมือนกับผู้ทุศีลจะไม่สามารถมีสัมมาสมาธิได้ เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิ การเห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะศีลเปรียบเหมือนฐานรากของทุกสิ่ง ถ้าศีลสมบรูณ์บริบรูณ์ก่อให้เกิดสัมมาสมาธิที่สมบรูณ์บริบรูณ์ จนทำให้เกิดปัญญาในการเห็นความไม่เที่ยง เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทา วิราคะ ทำวิมุตติให้เกิดขึ้นได้
ข้อที่ #25_อนุคคหิตสูตร ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ ศีล สุตตะ สากัจฉา สมถะ และวิปัสสนา 5 อย่างนี้เป็นองค์ประกอบของสัมมาทิฏฐิ
ข้อที่ #26_วิมุตตายตนสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ บอกถึงลักษณะของบุคคลที่จะบรรลุธรรมได้จากการฟัง การแสดงธรรม การสาธยายธรรม การตรึกตามตรองตามเรื่องที่ได้ฟังมา และการมีสมาธิดีจนเข้าใจธรรม
ข้อที่ #27_สมาธิสูตร ว่าด้วยการเจริญสมาธิเพื่อให้ญาณเกิดขึ้น สมาธิที่เจริญแล้วทำให้เกิดญาณความรู้เฉพาะตนขึ้น สมาธิเราก้าวหน้าหรือไม่นั้น ดูได้จากการเกิดขึ้นหรือไม่ของ 5 ข้อนี้
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 04 Oct 2024 - 57min - 331 - บุคคลผู้รู้ธรรม [6739-6t]
#68_ธัมมัญญูสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ธรรม ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้ ( สัปปุริสธรรม 7 หมายถึง ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี คือ เป็นผู้ที่ประกอบด้วย “สังฆคุณ” ) เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ เป็นผู้ควรรับของที่เขานำมาถวายบูชา ธรรม 7 ประการนี้ ได้แก่อะไรบ้าง คือ
- ธัมมัญญู คือ เป็นผู้รู้จักเหตุ คือ รู้หลักหัวข้อธรรมต่างๆ ( นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ประกอบ 9 อย่าง )อัตถัญญู คือ เป็นผู้รู้จักอรรถ รู้จักผล คือ รู้ความหมายของหลักหัวข้อธรรมนั้นๆ อย่างลึกซึ้งอัตตัญญู คือ เป็นผู้รู้จักตน คือ รู้ว่าตนเองมี “ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ” มีอยู่ในตนประมาณเท่าไร มัตตัญญู คือ เป็นผู้รู้จักประมาณ คือ รู้ประมาณในการบริโภคปัจจัย 4กาลัญญู คือ เป็นผู้รู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน คือรู้ว่านี้คือ “กาลเรียน กาลสอบถาม กาลทำความเพียร กาลหลีกเร้น”ปริสัญญู คือ เป็นผู้รู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มคน รู้ว่านี้ คือ “บริษัทกษัตริย์ บริษัทพราหมณ์ บริษัทคฤหบดี บริษัทสมณะ” และรู้จักกิริยาที่จะประพฤติสงเคราะห์ต่อกลุ่มคนนั้น ๆ ปุคคลปโรปรัญญู คือ เป็นผู้รู้จักเลือกคบคน คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล 2 จำพวก คือ รู้ว่าบุคคลนี้ มีการเข้าหาสมณะ มีการฟังธรรม มีการจดจำและรู้ความหมายของธรรม มีการนำไปปฎิบัติ เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อตนเองและผู้อื่นหรือไม่อย่างไร
#69_ปาริฉัตตกสูตร ว่าด้วยอริยสาวกเปรียบได้กับต้นปาริฉัตรเป็นการอุปมาอุปไมยระหว่างต้นปาริฉัตรและอริยสาวก โดยได้อุปมาอุปไมยไว้ดังนี้
- มีใบเหลืองกำลังจะร่วงหล่น คือ อริยสาวกที่คิดดำริออกจากกามร่วงหล่นผลัดใบ คือ ออกบวชผลิดอกออกใบ คือ ได้ฌาน 1เป็นช่อใบช่อดอก คือ ได้ฌาน 2มีดอกตูม คือ ได้ฌาน 3มีดอกแย้ม คือ ได้ฌาน 4ออกดอกบานสะพรั่ง คือ ทำให้สิ้นอาสวะ คือความเป็นพระอรหันต์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 27 Sep 2024 - 57min - 330 - ธรรมของเจ้าอาวาส [6738-6t]
หมวดว่าด้วยคุณธรรมของผู้ดูแลอาวาสนี้ ไม่ใช่เฉพาะกับเจ้าอาวาสหรือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่หมายถึงเราทุกคน ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมยังอาวาสหรือองค์กรนั้นให้เจริญรุ่งเรืองและงดงามได้
ข้อที่ 231-234 เจ้าอาวาสที่มีคุณธรรมดังนี้ ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพยกย่อง มีอุปการะ ยังอาวาสให้งดงาม มาในหัวข้อที่ต่างกัน สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีมรรยาทและวัตรงาม มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีความประพฤติขัดเกลาดี ยินดีการหลีกเร้น วาจางาม ยังคนให้อาจหาญ ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และอุปการะภิกษุผู้มาจากต่างแคว้นได้ เป็นผู้ได้ฌาน 4 มีปัญญา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
ข้อที่ 235 เจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ คือให้สมาทานอธิศีลและให้เห็นธรรมได้ สามารถอนุเคราะห์คฤหัสถ์ป่วยไข้ และเชิญชวนให้ทำบุญตามกาลสมัยได้ บริโภคของที่เขานำมาถวาย ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ข้อที่ 236-240 มีหัวข้อธรรมที่เหมือนกัน ว่าด้วยเจ้าอาวาสที่เหมือนดำรงอยู่ในนรก สรุปรวมได้ดังนี้ คือไม่พิจารณาไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสหรือไม่ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ในลาภ วรรณะ และทำศรัทธาไทยให้ตกไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาวาสิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 20 Sep 2024 - 58min - 329 - องค์แห่งม้าอาชาไนย [6737-6t]
#259 และ 260_ปฐมและทุติยอาชานียสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย (สูตรที่ 1-2) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอุปมาอุปไมยด้วยม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ซึ่งถ้าเปรียบเป็นคน ก็คือผู้ที่ปฏิบัติดีเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ โดยดูจาก
- วรรณะ คือ ศีล กำลัง คือ ความเพียรที่ทำให้กุศลใหม่เกิดที่มีอยู่แล้วให้พัฒนา และอกุศลเดิมให้ลดที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามาเชาว์ คือ ฝีเท้า (ปัญญา) การรู้ตามความเป็นจริงในอริยสัจสี่ นั่นคือ “การเป็นโสดาบัน” ซึ่งนัยยะของข้อ 260 ดูจากการทำให้แจ้งในเจโต และปัญญาวิมุติ นั่นคือ “อรหัตผล” จะเห็นว่าในระหว่างข้อทั้งสองนี้ ก็คือ อริยบุคคลที่เหลือนั่นเองความสมบรูณ์ด้วยทรวดทรง คือ ความสมบรูณ์ด้วยปัจจัยสี่
นอกจากนี้ยังทบทวนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงในข้อที่ผ่าน ๆ มากับการอุปมาอุปไมยว่าด้วยม้าอาชาไนยนี้ ม้าทุกตัวต้องผ่านการฝึก คนจะเป็นอริยบุคคลได้ก็ต้องฝึกเช่นกัน
#261_พลสูตร ว่าด้วยพละ พละคือกำลัง บุคคลที่ประกอบด้วยพละ 4 นี้ จึงจะมีกำลังใจ คือ วิริยะพละ = ความเพียร 4 / สติพละ = สติปัฏฐาน 4 / สมาธิพละ = ฌานทั้ง 4 / ปัญญาพละ = ชำแรกกิเลส ซึ่งพละ 4 นี้ ต่างจากพละ 5 ตรงที่ไม่มีข้อของศรัทธา
#262_อรัญญสูตร ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรอยู่ป่าและไม่ควรอยู่ป่า ถ้ามี 4 ข้อนี้แล้วไม่ควรอยู่ เพราะไปอยู่แล้วก็ไม่เป็นตาอยู่ หรืออยู่แล้วฟุ้งซ่าน และถ้าขาดกัลยาณมิตรแนะนำจะจิตแตกได้ แต่ถ้าทำเป็นแล้วรู้วิธีการ และไม่มีใน 4 ข้อนี้ ก็สามารถอยู่ได้ คือ ตริตรึกในทางกาม ความพยาบาท ความคิดในทางเบียดเบียน และเป็นคนเซอะ
#264_กัมมสูตร ว่าด้วยกรรมและทิฏฐิที่มีโทษ เปรียบเทียบอสัตบุรุษและสัตบุรุษโดยดูจากกายกรรมที่มีโทษ วจีกรรมอันมีโทษ มโนกรรมอันมีโทษ และทิฏฐิที่มีโทษ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อภิญญาวรรค กัมมปถวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 13 Sep 2024 - 55min - 328 - ธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร [6736-6t]
#67_นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร เป็นการอุปมาเปรียบเทียบระหว่างนครหัวเมืองชายแดนที่มีการสร้างเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ และมีความสมบูรณ์ของอาหาร 4 อย่าง อุปไมยลงในกายและใจที่ประกอบไปด้วยสัทธรรม 7 ประการ และ ฌานทั้ง 4
การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ และ อาหาร 4 อย่าง คือ
1. มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี เปรียบได้กับ เป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้วเป็นอย่างดี
2. มีคูลึกและกว้าง เปรียบได้กับ เป็นผู้มีหิริ (ความละอายต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย)
3. มีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง เปรียบได้กับ เป็นผู้มีโอตตัปปะ (ความกลัวต่อบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย)
4. มีการสะสมอาวุธไว้มาก เปรียบได้กับ ความเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
5. มีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก เปรียบได้กับ การปรารภความเพียร
6. มีทหารยามฉลาด คอยกันคนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เปรียบได้กับ “สติ”
7. มีกำแพงสูงและกว้าง เปรียบได้กับ ปัญญาเห็นทั้งความเกิดและความดับ คอยชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
อาหาร 4 อย่าง ได้แก่ 1) หญ้า ไม้ น้ำ 2) ข้าว 3) อปรัณณชาติ (ธัญพืช) 4) เภสัช เปรียบได้กับ ฌาน 1-4
นครที่มีเครื่องป้องกันนครทั้ง 7 ประการ และได้อาหารทั้ง 4 อย่างนี้แล้วชึ้นชื่อว่า “ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้”เปรียบได้กับอริยสาวกที่ประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการ และได้ฌาน 4 ขึ้นชื่อว่า“มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้”
อีกพระสูตรที่น่าสนใจซึ่งมีเนื้อหาทำนองเดียวกัน คือ กึสุกสูตร หรือ กิงสุโกปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นทองกวาว คือ ช่วงแรก มีการอุปมาเปรียบเหตุที่ทำให้บรรลุธรรมกับลักษณะของต้นทองกวาว และช่วงที่สอง อุปมาเปรียบ “นครกับกาย” ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป 4 (ดิน น้ำ ไฟ ลม) มี 6 ประตู คือ อายตนะภายใน 6 ประการ / นายประตู คือ สติ / ราชทูต 2 นาย คือ สมถะและวิปัสสนา / เจ้าเมือง คือ วิญญาณ / ทางสี่แยกกลางเมือง คือ ธาตทั้ง 4 / พระราชสาส์นตามความเป็นจริง คือ นิพพาน / ทางตามที่ตนมา คือ อริยมรรคมีองค์ 8
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 06 Sep 2024 - 55min - 327 - ดวงอาทิตย์ 7 ดวง [6735-6t]
#65_หิริโอตตัปปสูตร ว่าด้วยผลแห่งหิริและโอตตัปปะ เป็นธรรมที่แสดงถึงความเป็นเหตุและผลเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน คือ “เมื่อมีสิ่งนี้... สิ่งนี้จึงมี และเมื่อไม่มีสิ่งนี้... สิ่งนี้จึงไม่มี”ได้แก่
- เมื่อมี หิริและโอตตัปปะ เป็นเหตุให้มี อินทรียสังวรเมื่อมี อินทรียสังวร เป็นเหตุให้มี ศีลเมื่อมี ศีล เป็นเหตุให้มี สัมมาสมาธิเมื่อมี สัมมาสมาธิ เป็นเหตุให้มี ยถาภูตญาณทัสสนะเมื่อมี ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นเหตุให้มี นิพพิทาและวิราคะเมื่อมี นิพพิทาและวิราคะ เป็นเหตุให้มี ข้อที่ 7. คือ วิมุตติญาณทัสสนะ
เมื่อจะแสดงเหตุแห่งความไม่มี (ความดับ/เสื่อม) ก็ได้แสดงไว้ในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน
#66_สัตตสุริยสูตร ว่าด้วยดวงอาทิตย์ 7 ดวงโลกใบนี้มีการเปลี่ยนแปลง (เกิด-ดับ) อยู่ตลอดเวลา ทุกๆการเกิดขึ้นของสิ่งหนึ่งย่อมมีผลต่อสิ่งหนึ่ง ในพระสูตรนี้ได้กล่าวถึงการกำเนิดของดวงอาทิตย์ทั้ง 7 ดวง ซึ่งเป็นช่วงขาลงของโลกที่จะเสื่อมลงไปเรื่อยๆ (สังวัฏฏกัป) ไปจนถึงต่ำสุดแล้วค่อยดีดตัวขึ้นมา (วิวัฏฏกัป) วนเวียนเกิดดับอยู่อย่างนี้เป็นระยะเวลาที่แสนยาวนานไม่มีที่สิ้นสุด สังขารทั้งปวงจึงเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา มีความไม่เที่ยง มีความไม่ยั่งยืน ไม่มีแก่นสาร ไม่ใช่เราไม่ใช่ของๆเรา จึงเพียงพอแล้วหรือยังที่จะเบื่อหน่าย ที่จะคลายกำหนัด ที่จะปล่อยวางความยึดถือในสังขารทั้งปวง?
ได้ปรารภ “ครูสุเนตตะ” ซึ่งผลจากการที่ได้เคยเจริญพรหมวิหารไว้ หลังจากการตายจึงทำให้ได้ไปเสวยสุขอยู่บนพรหมโลก แต่ก็ยังไม่พ้นจากทุกข์ไปได้อยู่ดี และได้แสดงธรรม 4 ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติที่เมื่อแทงตลอดด้วยดีแล้วจะมีนิพพานเป็นที่หวังได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค หิริโอตัปปสูตร
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 30 Aug 2024 - 53min - 326 - นิวรณ์ 5 ธรรมเครื่องกั้น [6734-6t]
ในข้อ 51 และ 52 เป็นเรื่องเกี่ยวกับนิวรณ์และการแก้ไข "นิวรณ์" หมายถึง เครื่องกั้น เครื่องลวง เครื่องห่อ เครื่องหุ้มเอาไว้ บังเอาไว้ ครอบงำจิต บังจิต หุ้มห่อจิต รัดรึงจิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญญา เหมือนมีสนิมเคลือบที่มีดทำให้ไม่คม องค์รวมของมัน คือทำจิตให้ไม่มีกำลังปัญญา มีนิวรณ์ที่ใดที่นั้นไม่มีสมาธิ นิวรณ์มี 5 อย่าง คือ
- กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม: กามหรือกิเลสกาม คือ ความกำหนัดยินดีลุ่มหลงในวัตถุกาม วัตถุกาม คือ วัตถุที่สามารถทำให้เกิดความกำหนัดยินดี ในแต่ละคนจะไม่เหมือนกันความหยาบละเอียดต่างกันอยู่ที่กำลังจิตของคนนั้นๆ กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม เป็นสิ่งที่เกิดก่อนกามกิเลส กามฉันทะทำให้เกิดกิเลสกามได้ทั้งสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และสิ่งที่กำลังจะมาถึง จึงต้องมีสติอยู่เสมอความพยาบาท คือ ความคิดร้ายผูกเวร ถ้าเราสร้างรติในที่ใด ก็จะมีอรติในอีกที่หนึ่งเสมอ แล้วจะไล่มาเป็นปฏิฆะ โกธะ โทสะ และพยาบาทในที่สุดถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ ความเซื่องซึม แก้ด้วยวิธีทั้ง 8 และสติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ แก้ด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ และการสำรวมอินทรีย์วิจิกิจฉาคือ ความลังเล เคลือบแคลง สงสัย คำถามทุกคำถามไม่ได้จะเป็นวิจิกิจฉาทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ศรัทธา
ในข้อที่ 53 ถ้าเราจะทำความเพียรเพื่อให้เกิดผล คือ สติ และปัญญา ต้องมีคุณสมบัตินี้ คือ มีศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่มีมายา มีความเพียร มีปัญญา
และในข้อที่ 54 เป็นการเปรียบเทียบในสมัยที่จะทำความเพียรได้ผลมากหรือน้อย โดยมีความสัมพันธ์กับข้อที่ 52 คือ สมัยที่เป็นคนแก่ มีอาพาธ ข้าวยากหมากแพง มีการปล้น สมัยที่ภิกษุแตกกัน จะเห็นว่าสมัยเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังโชคดีที่ยังมีช่องให้ผ่านไปได้
พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต: นีวรณวรรค ข้อที่ 51-54
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 23 Aug 2024 - 56min - 325 - บุคคลผู้มักโกรธ [6733-6t]
#62_เมตตสูตร ว่าด้วยการเจริญเมตตาจิต พระผู้มีพระภาคได้ทรงกล่าวถึงอานิสงส์แห่งการเจริญเมตตาจิตว่ามีอานิสงส์มาก โดยพระองค์เองนั้นได้เคยเจริญเมตตาจิตตลอดระยะเวลา 7 ปี และด้วยอานิสงส์นี้ทำให้พระองค์ได้เสวยสุขอยู่ในชั้นพรหมไม่ได้กลับมาสู่โลกนี้อีกตลอด 7 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป ทรงเป็นมหาพรหมเป็นท้าวสักกะและได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีรัตนะ 7 ประการ
#63_ภริยาสูตร ว่าด้วยภรรยา 7 ประเภท โดยปรารภนางสุชาดาซึ่งเป็นน้องสาวของนางวิสาขา นางสุชาดามีอุปนิสัยดื้อรั้น พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งเรียกนางมาและกล่าวถามนางว่า “ ในภรรยาทั้ง 7 ประเภทนี้ นางเป็นภรรยาประเภทไหน ” นางสุชาดาไม่เข้าใจความหมายแห่งภาษิตนั้น จึงได้ทูลขอให้พระผู้ภาคโปรดแสดงธรรมนั้นแก่นาง และหลังจากที่นางได้ฟังธรรมนั้นแล้วทำให้นางตั้งอยู่ในศีลและได้ทูลตอบพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ นางเป็นภรรยาดุจทาสี ” คือ ถูกทำให้โกรธก็ไม่โกรธอดทนได้ สงบเสงี่ยมประพฤติตามอำนาจสามี
#64_โกธนสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ ความโกรธนั้นอาจเริ่มต้นมาจากปฏิฆะ (ความขัดเคือง) เป็นโทสะแล้วเพิ่มระดับขึ้นมาเป็น โกธะ คือ ความโกรธ เมื่อเราโกรธใครแล้วเราย่อมคิดไม่ดีกับบุคคลนั้น ความคิดให้เขาได้ไม่ดีนั้นนั่นแหละมันเป็นพิษร้ายทำลายตัวเราเอง และในทั้ง 7 ประการนี้เราได้ความไม่ดีนั้นก่อนเลยเพราะความโกรธมันเริ่มที่เราอยู่ในเรา ผู้มักโกรธจึงมักมีผิวพรรณหยาบ อยู่เป็นทุกข์ ไม่เจริญ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมยศ เสื่อมมิตร ไปอบาย แก้ไขความโกรธด้วยจิตที่เมตตาหรือมีพรหมวิหาร
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
--------------------------------------------------------------------
Q&A: นิพพานในขณะมีชีวิต / การนับอายุพรรษาของสมณเพศ
นิพพาน คือ ความดับเย็น – ความดับสนิทแห่งกิเลส นิพพานมี 2 ประเภท คือ สอุปานิเสสนิพพาน (ยังมีชีวิต) และ อนุปาทิเสสนิพพาน (ธาตุขันธ์ดับ)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 16 Aug 2024 - 56min - 324 - อุบายแก้ความง่วง [6732-6t]
#58_อรักเขยยสูตร ว่าด้วยฐานะที่พระตถาคตไม่ต้องรักษา ก็เพราะด้วยพระตถาคตนั้นมีความประพฤติทางกาย-วาจา- ใจและอาชีวะที่บริสุทธิ์อยู่แล้วจึงไม่ต้องอาศัยใครให้คอยมาช่วยปิดบังรักษาอะไรให้ และเป็นผู้ที่มีความแกล้วกล้าในธรรมที่ตนได้ประกาศไว้ดีแล้วเพราะตัวเองก็ทำได้ด้วย ผู้ที่ตนบอกสอนก็ทำได้ด้วยและก็มีจำนวนไม่ใช่น้อยแต่มีเป็นจำนวนมากมาย จึงไม่หวั่นกลัวต่อคำพูดหรือคำติเตียนใดๆ เพราะด้วยธรรมที่ตนได้ปรพฤติไว้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
#59_กิมิลสูตร ท่านพระกิมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานและไม่ได้นาน ซึ่งเหตุที่ทำให้ตั้งอยู่ได้นานนั้นคือ การเป็นผู้มีความเคารพยำเกรงในศาสดา / ธรรม / สงฆ์ / สิกขา / สมาธิ / ความไม่ประมาท / ปฏิสันถาร (บอกสอนต่อ) และเหตุที่ทำให้เสื่อมคือ การไม่มีความเคารพยำเกรง...ฯ
#60_สัตตธัมมสูตร ว่าด้วยธรรม 7 ประการ ที่เป็นเหตุให้บรรลุวิมุตติ คือ เป็นผู้มีศรัทธา / มีศีล / เป็นพหูสูต / เป็นผู้หลีกเร้น ทั้งภายนอกและภายใน / ปรารภความเพียร / มีสติ / มีปัญญา
#61_จปลายมานสูตร ว่าด้วยอุบายแก้ความง่วง พระผู้มีพระภาคทรงทอดพระเนตรด้วยตาทิพย์เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังนั่งง่วงอยู่ จึงทรงให้อุบายแก้ง่วงแก่ท่านพระโมคคัลลานะไว้ถึง 7 ลำดับขั้นด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ไม่ให้มนสิการถึงสัญญาที่ทำให้ง่วงนั้น / ให้ตรึกตรองพิจารณาธรรม / สาธยายธรรม / ยอนช่องหูทั้ง 2 ข้าง ใช้มือบีบนวดตัว / ลุกขึ้นยืน ใช้น้ำลูบตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย / นึกถึงแสงสว่างในเวลากลางวัน / เดินจงกรม แต่ถ้ายังละไม่ได้จากที่กล่าวมาแล้วก็พึงสำเร็จสีหไสยา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 09 Aug 2024 - 58min - 323 - ปัญหาของท่านพระอนุรุทธะ [6731-6t]
5 พระสูตรสุดท้ายในกุสินารวรรค ทุติยอนุรุทธสูตร เป็นพระสูตรที่น่าสนใจ ทำไมการหลุดพ้นจึงเกิดขึ้นไม่ได้แม้ในผู้ที่มีสมาธิชั้นยอด ทำไมความสามารถในการตรวจโลกธาตุ 1000 จึงเป็นมานะ มีความเป็นตัวเราอยู่ ในสมาธิถ้าบำเพ็ญเพียรมากไป จึงกลายเป็นความฟุ้งซ่าน ดุจไฟที่มากเกินก็ทำให้ทองสุกเกินควร และทำไมอาสวะไม่สามารถละได้ด้วยสมาธิ แต่จะละได้ด้วยปัญญา การละ 3 ข้อนี้ จึงจะเข้านิพพานได้
ปฏิจฉันนสูตร น่าสนใจตรงที่มนต์ของพราหมณ์ ท่านใช้คำว่ายิ่งปกปิดยิ่งขลัง แต่ในคำสอนตถาคตใช้ว่าเปิดเผยจึงเจริญ ในเลขสูตร รอยขีดบนหินดินและน้ำ ที่เปรียบเหมือนจิตที่มีความโกรธความสะสมต่างกัน จิตที่ฉลาด คือ จิตที่เป็นดั่งน้ำ อดทนมั่นคง เห็นความสามัคคีมีค่ามากกว่าคำด่า
กฏุวิยสูตร ทำไมการมีศีลสมบรูณ์จึงทำให้แมลงวันไม่ตอม แมลงวันคือความดำริที่เกี่ยวด้วยราคะ / ของเน่าคืออภิชฌา (ความโลภ) / กลิ่นเหม็นคาวคือพยาบาท
ปฐมอนุรุทธสูตร ธรรม 3 ประการ ที่ทำให้ผู้หญิงไปอบายภูมิ ได้แก่ มีใจกลุ้มด้วยความตระหนี่ ความริษยา กามราคะ ถ้าละเสียได้จะพ้นทุกข์ ละได้ด้วยการให้สละออก มีมุทิตา และพิจารณาอสุภะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต กุสินาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 02 Aug 2024 - 52min - 322 - เหตุแห่งการหยั่งรู้ว่าใครมีอุปาทานเหลือ [6730-6t]
ติสสพรหมสูตรเทวดา 2 องค์ มาพบพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ภิกษุณีได้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ พระโมคคัลลานะสงสัยว่าเทวดาผู้ใดมีญาณหยั่งรู้ว่าบุคคลผู้ใดมีอุปาทานขันธ์เหลือ จึงไปยังพรหมโลกเพื่อสนทนากับติสสพรหม ติสสพรหมตอบว่าเทวดาชั้นพรหมเหล่าใดที่ยังยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดีของพรหม แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุ ย่อมไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าผู้ใดยังมีอุปาทานขันธ์ ส่วนเทวดาชั้นพรหมเหล่าใดไม่ยินดีและรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าผู้ใดยังมีอุปาทานขันธ์ แบ่งตามประเภทดังนี้ อุภโตภาควิมุติ ปัญญาวิมุติ กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุติ ธัมมานุสารี พระโมคคัลลานะกลับมาทูลพระพุทธเจ้าถึงการสนทนา พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงบุคคลที่ 7 ให้แก่พระโมคคัลลานะว่า ภิกษุผู้เป็นอนิมิตตวิหารี ย่อมบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้
สีหเสนาปติสูตร เป็นพระสูตรที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการให้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงผลแห่งการทำทานที่สามารถเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย ผู้ให้ทานจะเป็นที่รักและพอใจของคนหมู่มาก ผู้สงบจะคบหาผู้ให้ทาน กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานจะขจรไป ผู้ให้ทานจะเข้าไปในบริษัทใด ๆ ด้วยความแกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน หลังจากตายแล้วผู้ให้ทานจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ซึ่งใน 6 ข้อแรก สีหเสนาบดีประจักษ์ด้วยตน ยกเว้นในข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 26 Jul 2024 - 56min - 321 - เรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์ [6729-6t]
อัพยากตสูตร ว่าด้วยเรื่องไม่พยากรณ์ พยากรณ์ก็คือคำตอบ ในข้อนี้ภิกษุทูลถามถึงความแตกต่างของปุถุชนที่มักสงสัยกับอริยบุคคลที่ไม่สงสัยในเรื่องที่ไม่ทรงพยากรณ์ 7 ประการ คือ ทิฏฐิ 10 ตัณหา สัญญา ความเข้าใจ ความปรุงแต่ง อุปาทาน และวิปปฏิสา ในทิฏฐิทั้ง 10 นั้น ที่อริยบุคคลไม่สงสัยเพราะคิดมาในระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้องคืออริยสัจสี่ เดินมาตามมรรค 8 และแต่ละข้อที่ว่าเป็นทุกข์นั้น ถ้าเดินมาตามมรรค มาตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง จะพ้นทุกข์ได้เช่นกัน เพราะการมีโยนิโสมนสิการ
ปุริสคติสูตร ว่าด้วยเรื่องคติของบุรุษ พูดถึงคติ 7 อย่าง ที่คน ๆ หนึ่งจะบรรลุธรรม อนุปาทาปรินิพพานมีลักษณะไปได้อยู่ 7 ทางแบบนี้
- อันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก แล้วดับอันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป แล้วดับอันตราปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ยังไม่ตกถึงพื้น แล้วดับอุปหัจจปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกถึงพื้น แล้วดับอสังขารปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกลงที่กองหญ้ากองไม้เล็กๆ แล้วดับ (หมดเชื้อ)สสังขารปรินิพายี สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกลงที่กองหญ้ากองไม้เขื่อง ๆ แล้วดับ (หมดเชื้อ)อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี สะเก็ดร่อนออกลอยไป ตกลงที่กองไม้ใหญ่ๆลามไปสุดชายเขา สุดชายน้ำ
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 19 Jul 2024 - 53min - 320 - สัญญาพานิพพาน [6728-6t]
ลิจฉวิกุมารกสูตร ปรารภเจ้าลิจฉวี เป็นลักษณะการใช้จ่ายทรัพย์ที่ทำให้เกิดความเจริญในชีวิตไม่มีเสื่อมเลย 5 ข้อนี้เป็นการแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 นัยยะ
ใน ปฐมและทุติยวุฑฒปัพพชิตสูตร เป็นเรื่องของพระบวชเมื่อแก่ ที่มักเรียกว่า “หลวงตา” ที่สำคัญคืออย่าไปเหมารวมว่าไม่ดีหมด ไม่ใช่ แต่ให้มองว่าถ้ามีคุณลักษณะที่ดี 2 นัยยะ นัยยะละ 5 ข้อนี้แล้ว ก็จะสามารถเป็นบุคคลที่ประเสริฐได้
ใน ปฐมและทุติยสัญญาสูตร หมวดว่าด้วยสัญญา สัญญา หมายถึง ความหมายรู้ กำหนดรู้ขึ้น สัญญาไม่ใช่เหมือนกันหมด บางสัญญาก็จะเป็นไปเพื่อความมีกิเลสมาก ขณะเดียวกันสัญญาบางอย่างก็ลดกิเลสได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่ทำให้กิเลสเพิ่มหรือกิเลสลด ต่างก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมรรคกับทุกข์เหมือนกันตรงความไม่เที่ยง ต่างกันตรงหน้าที่ มรรคทำให้มาก ทุกข์ให้เข้าใจ สัญญา 5 ประการได้แก่
- อนิจจสัญญา กำหนดหมายว่ามันไม่เที่ยง ขึ้นอยู่กับเหตุเงื่อนไขปัจจัยไม่ได้อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง เพื่อลดความมัวเมาในอัตตาตัวตน อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งทั้งปวง ทุกสิ่งล้วนมีเหตุมีปัจจัย ไม่ได้เป็นอัตตา (อาศัยเหตุปัจจัยไม่ได้เป็นตัวตนของมันเอง) ละอุปาทานในความเป็นตัวฉัน ความเป็นของฉัน และความเป็นตัวตนของฉัน เพื่อลดความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นของเรามรณสัญญา การกำหนดหมายว่าสิ่งต่าง ๆ มีความตายเป็นธรรมดา เป็นการลดความมัวเมาในชีวิตอาหาเรปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในความไม่น่าดู เพื่อรู้ประมาณในการบริโภค รู้เวทนา เป็นไปเพื่ออานิสงส์ใหญ่ สัพพโลเกอนภิรติสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย แต่มองตามความเป็นจริง เป็นธรรมดา มองผ่านสติ
สัญญา 5 ประการนี้เป็นทางแห่งมรรค ที่เมื่อเจริญแล้ว จะทำความเป็นอมตะให้เกิดขึ้นได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต นีวรณวรรค สัญญาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 12 Jul 2024 - 53min - 319 - ทานที่เหมือนกันแต่ให้ผลที่ต่างกัน [6727-6t]
ผลหรืออานิสงส์แห่งทานนั้นจะมากหรือน้อยย่อมอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นความปราณีตของทาน หยาบหรือละเอียด รวมไปถึงความศรัทธาของผู้ให้ ก่อนให้-ระหว่างให้-หลังให้ และผู้รับที่มีกิเลสเบาบาง หรือกำลังปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส หรือเป็นผู้ที่หมดกิเลสแล้ว
ในข้อที่ #52 ทานมหัปผลสูตรเป็นเรื่องราวที่ชาวเมืองกรุงจำปามีข้อสงสัยในเรื่องผลแห่งทาน ว่า“ทำไมทานที่เหมือนกัน จึงให้ผลที่แตกต่างกัน” โดยมีท่านพระสารีบุตรเป็นตัวแทนในการกราบทูลถามพระผู้มีภาคเจ้า แล้วคำตอบก็คือ“การตั้งจิตของผู้ให้ทานนั่นเอง” โดยได้อธิบายไว้ถึง 7 ระดับด้วยกัน และมีอานิสงส์ให้ไปเกิดในสวรรค์ 6 ชั้น ไล่ไปตามลำดับจนไปถึงชั้นพรหมกายิกา โดยมีรายละเอียดในการให้ทานเพราะ
- หวังผลของทาน - ให้ด้วยความอยากการให้ทานเป็นการดี - ให้เพราะยำเกรงบรรพบุรุษเคยทำไว้ - ให้เพราะละอายกลัวบาปสมณะจะหุงหาอาหารกินเองไม่ได้ - ให้ของดี ๆ ก่อนเป็นทักขิไนยบุคคล - ให้ของที่ควรแก่ทักขิไนยบุคคลให้แล้วจิตผ่องใส เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต - เพื่อให้จิตเกิดสมถะและวิปัสสนา
ข้อที่ #53 นันทมาตาสูตร ความน่าอัศจรรย์ในธรรม 7 ประการของนันทมาตา หรือที่คุ้นเคยในชื่อของนางอุตตรานันทมาตา ซึ่งนางได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะฝ่ายอุบาสิกาในการยินดีในฌาน เป็นเรื่องราวของการสวดปารายนสูตรของนางนันทมาตา แล้วท้าวเวสวัณมหาราชได้มาสดับฟังจนจบอนุโมทนาในบุญกุศล เป็นเหตุให้นางได้พบพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร แล้วได้เล่าถึงความน่าอัศจรรย์ทั้ง 7 ประการของนางให้ท่านทั้งสองฟัง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 05 Jul 2024 - 53min - 318 - การแสวงหาอันประเสริฐ [6726-6t]
ปริเยสนาสูตร ว่าด้วยการแสวงหา 4 อย่างที่ประเสริฐ และไม่ประเสริฐถ้าคุณรู้ว่าเรามีความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย และความเศร้าหมองเป็นธรรมดา แล้วยังคงแสวงหาในสิ่งเหล่านี้ นั่นเป็นการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ พระโพธิสัตว์ทราบถึงโทษในสิ่งเหล่านี้ จึงเริ่มแสวงหาทางอันประเสริฐที่ทำให้ถึงแดนอันเกษม นั่นคือ นิพพาน น้อมเข้ามาดูที่ตัวเรา ด้วยความเป็นฆราวาสยังคงต้องแสวงหา ในการแสวงหานั้นควรจะมีสิ่งประเสริฐแทรกแซงอยู่บ้าง อย่างน้อยทราบถึงกระบวนการที่จะอยู่ในมรรค ดำเนินชีวิตอยู่ในมรรค ใจตั้งไว้ที่นิพพาน เห็นโทษ แล้วอยู่กับมันให้ได้ด้วยมรรค ก็จะเป็นการปูทางสู่นิพพานได้
สังคหวัตถุสูตรเป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวที่ก่อให้เกิดความสามัคคี คือ การให้ทาน เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) และสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ถ้าขาดธรรมนี้ชนนั้นจะเกิดความแตกแยก
มาลุงกยปุตตสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวสอนธรรมะสั้น ๆ เพื่อการหลีกเร้นปฏิบัติเอาจริงต่อมาลุงกยบุตร คือ เหตุเกิดแห่งตัณหา 4 ประการ หรือกิเลสในปัจจัย 4 นั่นเอง “ตัณหาจะละได้ก็ด้วยมรรค 8”ละตัณหาละมานะได้ก็พ้นทุกข์
กุลสูตร ตระกูลใหญ่จะดำรงทรัพย์อยู่ได้ ถ้ามีการแสวงหาวัตถุที่หายไป ซ่อมแซมของเก่า รู้ประมาณในการบริโภค และตั้งสตรีหรือบุรุษที่มีศีลเป็นใหญ่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อภิญญาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 28 Jun 2024 - 57min - 317 - เครื่องสอบพรหมจรรย์ “เมถุนสังโยค” [6725-6t]
Q&A จากคำถามในสัญญาทั้ง 7 ประการ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีลำดับในการเจริญสัญญา คำตอบ ไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ต้นทองกวาวจะบอกว่ามีสีแสด.. ก็ใช่ หรือใบดก.. ก็ใช่ หรือจะมีลำต้นดำ.. ก็ใช่ คือทั้งหมดก็เป็นลักษณะของต้นทองกวาวเช่นเดียวกับสัญญา 7 ประการ เมื่อเจริญสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาอื่น ๆ ก็เจริญขึ้นมาด้วย เปรียบเสมือนทางที่จะขึ้นไปบนยอดเขา (นิพพาน) จะขึ้นจากทิศใดก็สามารถขึ้นไปถึงยอดเขาได้เหมือนกัน
ข้อที่ #50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค 7 ระดับ เป็นเรื่องราวของชาณุสโสณิพราหมณ์ที่มีความสงสัยในพระพุทธเจ้าที่พูดว่าตนเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งที่เคยอยู่ครองเรือนมาก่อน มีปราสาทถึง 3 หลังและแวดล้อมด้วยนางรำ ซึ่งแตกต่างกับลัทธิของตนที่ต้องประพฤติพรหมจรรย์ตามระยะเวลาถึง 48 ปี จึงจะเรียกได้ว่า “บรรลุอรหันต์”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า “เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเราประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์” และทรงได้แจกแจงเมถุนสังโยคทั้ง 7 ระดับแก่ ชาณุสโสณิพราหมณ์จนเกิดความปิติเลื่อมใสปฏิญาณตนขอเป็นอุบาสก
*ถึงแม้ว่าการประพฤติพรมหมจรรย์นั้นจะไม่มีกิจกรรมของคนคู่ก็จริงอยู่ แต่ถ้ายังยินดีในสัมผัสทางกาย ยินดีในการพูดสนุกล้อเล่น ยังยินดีในเสียงที่ได้ยิน ยังยินดีในรูปที่ตาเห็น ยังหวนระลึกถึงรูปเสียงในคนนั้นอยู่ ยังนึกถึงกามคุณ 5 และยังยินดีในกามของเหล่าเทวดาทั้งหลายอยู่ เราเรียกผู้นั้นว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ไปได้
ข้อที่ #51_สังโยคสูตร ว่าด้วยความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง 7 ประการในสตรีและบุรุษ กล่าวคือ เมื่อกำหนดความเป็นตัวตนในตนขึ้นมา ย่อมกำหนดความเป็นตัวตนในบุคคลอื่นได้เช่นกัน เมื่อมีความยึดในตนขึ้นมาได้มันก็สามารถคลืบคลานไปยึดถือในบุคคลอื่นและสิ่งอื่นได้เหมือนกันนี้คือความเกี่ยวข้อง ซึ่งได้แสดงรายละเอียดไว้ในพระสูตรทั้ง 7 ประการด้วยกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 21 Jun 2024 - 55min - 316 - เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ [6724-6t]
ข้อที่ #78_สุขโสมนัสสสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ต่อไปนี้ เป็นผู้ปรารภเหตุแห่งความสิ้นอาสวะและมากด้วยสุขโสมนัสในปัจจุบัน (สุขโสมนัสที่เกิดจากเนกขัมมะสุข คือ สุขที่เกิดจากความสงบในภายใน) ได้แก่
1. เป็นผู้ยินดีในธรรม (ยินดีในกุศลธรรม)
2. เป็นผู้ยินดีในภาวนา (ทำให้เจริญ / พัฒนา) – พัฒนาตรงจุดที่ยังไม่ดี ให้ดีขึ้นมา
3. เป็นผู้ยินดีในการละ (ละสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย)
4. เป็นผู้ยินดีในปวิเวก (สงัดจากเสียงและการคลุกคลีด้วยหมู่)
5. เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท (คิดปองร้ายเพ่งไปที่ภายนอก) เริ่มจากความไม่เพลินไปในปฏิฆะ(ความขัดเคือง) -> โกรธ(คิดอยู่ภายใน) -> พยาบาท (เพ่งไปที่ภายนอก)
6. เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า (นิพพาน) พัฒนากุศลธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น
*ทัศนคติหรือความคิด (mindset) บางอย่างก็เป็นเหตุทำให้เกิดความเนิ่นช้าในกุศลธรรม เราจึงต้องมี “สติ” เพื่อแยกแยะว่า ความคิดใดทำให้เกิดกุศลธรรมก็ควรเจริญ ส่วนความคิดใดที่เป็นเหตุให้เกิดอกุศลก็ควรละ
#79_อธิคมสูตร ธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุหรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้
เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม)เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม)เป็นผู้ฉลาดในอุบาย (วิธีการ / ทางแก้)สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ (ความพอใจในการทำกุศลธรรม)รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ (ทำติดต่อต่อเนื่อง)พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อรหัตตวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 14 Jun 2024 - 57min - 315 - สัญญาพาพ้นภัย [6723-6t]
ในข้อที่ 48_ปฐมสัญญาสูตร และ ข้อที่ 49_ทุติยสัญญาสูตรทั้งสองพระสูตรนี้ ว่าด้วยสัญญา 7 ประการ ที่เมื่อเจริญทำให้มากแล้วจะมีนิพพานเป็นที่หยั่งลง เพราะอาศัยเหตุที่เมื่อเจริญให้มากพอใน
(1) เจริญ อสุภสัญญาแล้ว จะละเมถุนธรรมได้
(2) เจริญ มรณสัญญาแล้ว จะละความติดใจในชีวิตได้
(3) เจริญ อาหาเร ปฏิกูลสัญญาแล้ว จะช่วยละความมัวเมาในรสอาหารได้
(4) เจริญ สัพพโลเก อนภิรตสัญญาแล้ว จะละความไหลหลงในวิจิตรของโลกได้
(5) เจริญ อนิจจสัญญา แล้ว จะละความหลงในลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเยินย่อได้
(6) เจริญ อนิจเจ ทุกขสัญญา แล้ว จะละความประมาทไม่ประกอบในความเพียรได้
(7) เจริญ ทุกเข อนัตตสัญญา แล้ว จะละความยึดถือในตัวตนได้
“สิ่งใดที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยง สิ่งนั้นจึงเป็นทุกข์ (แปรเปลี่ยนทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้) เมื่อเป็นทุกข์เพราะอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดดับ จึงเป็นอนัตตา เมื่อใดรู้เห็นตามความเป็นจริง (เห็นไตรลักษณ์) ในสิ่งที่เป็นทุกข์ (ขันธ์ 5) นี้แล้ว จะไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่เพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์ เพราะเห็นโทษภัยในทุกข์นั้น”
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 07 Jun 2024 - 54min - 314 - กองแห่งไฟ [6722-6t]
การมาทำความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องของจิตว่า “จิต และ วิญญาณ เป็นคนละอย่างกัน” โดยจิตมายึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตน เมื่อวิญญาณไปตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา และสังขาร จิตก็ยึดถือสิ่งเหล่านั้นโดยความเป็นตัวตนขึ้นมา ซึ่งจะเห็นได้ใน สังคีติสูตร ที่ได้กล่าวถึงวิญญาณฐิติ 4 ประการ ตามนัยยะของท่านพระสารีบุตร และในข้อที่ #44_สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตรก็ได้อธิบายถึงวิญญาณฐิติ 7 ประการ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ)โดยประการที่ 1-4 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งตามความละเอียดของรูปและนาม (สัญญา) และประการที่ 5-7 ทรงแบ่งตามอรูปฌาน การมาศึกษาตรงนี้จะทำให้เราเข้าใจอุปาทานขันธ์ 5 และวางความยึดถือลงได้
ข้อที่ #45_สมาธิปริกขารสูตร ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบของมรรคสมาธิ คือ สัมมาสมาธิที่แวดล้อมประกอบไปด้วยมรรคทั้ง 7 อย่าง
ข้อที่ #46_ปฐมอัคคิสูตร และ ข้อที่ #47_ทุติยอัคคิสูตร ว่าด้วยไฟ สูตรที่ 1-2 กล่าวถึง ไฟที่ควรละอยู่ 3 กองได้แก่ ไฟ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ และไฟที่บูชา (การบำรุง) ได้แก่ อาหุเนยยัคคิ คหปตัคคิ ทักขิเณยยัคคิ และไฟที่ต้องจุด คอยดู คอยดับ คอยเก็บตามกาลอันควรได้แก่ กัฏฐัคคิ (ไฟที่เกิดจากไม้)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 31 May 2024 - 57min - 313 - ปรับทิฐิ ด้วยปัญญา [6721-6t]
เมื่อเราเห็นข้อปฏิบัติหรือสิ่งไม่ดีของผู้อื่นแล้ว เราเลือกที่จะใช้ความดีปฏิบัติตอบ ให้เขาได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นคนดีขึ้นมาได้ เป็นการรักษากันและกัน “ด้วยความดี”
จากคำถามใน#ข้อ100 กกุธเถรสูตร“ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” เป็นอุบายการรักษาจิตของสาวก (ลูกศิษย์) ที่เมื่อเห็นอาจารย์ของตนปฏิบัติไม่ดีแล้ว เลือกที่จะรักษาจิตให้มีความดี ให้มีเมตตา
สีลสูตร #ข้อ107 ภิกษุถึงพร้อม (จนสุดถึงขั้นผล) ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ความหมายเหมือนกันกับ อเสขสูตร#ข้อ108ภิกษุประกอบด้วย อริยสีลขันธ์ (ขันธ์ คือ กอง กลุ่มก้อน) สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
จาตุททิสสูตร #ข้อ109 ภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้ง 4 (พระอรหันต์) เป็นผู้มี ศีล พหูสูต สันโดษด้วยปัจจัย 4 ได้ฌาน 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ไส้ในเหมือนกันกับ อรัญญสูตร #ข้อ110 ภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า (พระอรหันต์) ต่างกันประการที่ 3 คือ ปรารภความเพียร มีอาสวะสิ้นแล้ว จะอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ จะไปที่ไหน ก็ไปได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ผาสุวิหารวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 24 May 2024 - 51min - 312 - พ้นแล้วด้วยจิตและปัญญา [6720-6t]
“ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรมขั้นสูง คือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ (การหลุดพ้นด้วยจิตกับปัญญา) ซึ่งเมื่อเจริญให้มากซึ่งสมถะและวิปัสสนา จะเป็นผู้ถอนรากตัณหาและอวิชชาออกได้
#ข้อ71_ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร และ #ข้อ72_ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร เมื่อปฏิบัติร่วมกัน (มีข้อธรรมที่เหมือนกันอยู่ 1 ข้อ คือ อนิจจสัญญา) จนมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ละอวิชชา, การเกิดในภพใหม่, ตัณหา, สังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมดสิ้น
#ข้อ73_ปฐมธัมมวิหารีสูตร การเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมคือ ต่อให้เป็นผู้ที่เรียนธรรมมามากจนเทศนาบอกต่อได้ ท่องจำ และใคร่ครวญในธรรมนั้น แต่ถ้าห่างเหินการหลีกเร้น ไม่ทำความสงบในจิตใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม เน้นมาในเรื่องสมถะ
#ข้อ74_ทุติยธัมมวิหารีสูตร เน้นมาในวิปัสสนา ทำปัญญาให้ยิ่ง คือกิเลสต้องลดลง กำจัดกิเลสออกได้ โดยการนำหลักธรรมที่เหมือนกันกับในปฐมธัมมวิหารีสูตรนี้ นำมาปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจ จนให้ผลเป็นความสงบใจ แล้วให้เกิดปัญญา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 71-74
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 17 May 2024 - 52min - 311 - ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสภิกษุ” [6719-6t]
คำว่า “นิททส”แปลว่า มีอายุไม่ถึง 10 ปี (บวชไม่ถึง 10 พรรษา) เป็นคำที่พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนดครบ 12 ปีแล้วจะสำเร็จเป็นอรหันต์ แต่ถ้าตายลงก่อนที่จะครบกำหนด ก็จะกลับมาเกิดใหม่ในจำนวนปีที่เหลือแล้วได้ความเป็นอรหันต์ในภพนั้น โดยความเป็นอรหันต์จะวัดจากระยะเวลาในการประพฤติพรหมจรรย์ครบ 12 ปี
“นิททสภิกษุ”ตามความหมายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ไว้คือ พระอรหันต์ ไม่มีการกลับมาเกิดอีก และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาในการประพฤติธรรม แต่ขึ้นอยู่กับหลักคุณธรรม 7 ประการ ซึ่งได้ทรงแสดงไว้ 2 วาระด้วยกัน คือ วาระของท่านพระสารีบุตรในข้อที่ #42_ปฐมนิททสสูตร และ วาระของท่านพระอานนท์ในข้อที่ #43_ทุติยนิททสสูตร ว่าด้วยนิททสวัตถุ โดยทั้งสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 นี้ ได้แสดงถึงทางปฏิบัติ (เหตุ) คือ อรหัตมรรค ให้ไปสู่ผล คือ อรหัตผล และในทุติยนิททสสูตรนั้นมีหลักธรรมที่เหมือนกันกับสัปปุริสธรรม 7 ประการ ตามนัยยะของเสขปฏิปทาสูตรซึ่งบรรยายโดยพระอานนท์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 10 May 2024 - 51min - 310 - ผู้ทำ “จิต” ให้อยู่ในอำนาจ [6718-6t]
การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ มีสติปัฏฐาน 4 มีสติรู้ชัดเห็นการเกิด-ดับในทุกสภาวะ จะเป็นผู้ทำจิตให้ตกอยู่ในอำนาจหรือมีอำนาจเหนือจิตได้
ในข้อที่ #40_ปฐมวสสูตร และ ข้อที่ #41_ทุติยวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๒ประกอบด้วยธรรม 7 ประการเหมือนกัน แต่ทุติยวสสูตรจะเป็นนัยยะของท่านพระสารีบุตร ธรรม 7 ประการ คือ
1. เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ - รู้เหตุปัจจัย คุณลักษณะ และคุณสมบัติของสมาธิ
2. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ - รู้เหตุที่ทำให้เข้าสมาธิได้โดยง่าย ความเป็นสัปปายะ และความอดทนต่ออายตนะ
3. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ - มีสติสัมปชัญญะเต็ม เห็นเหตุเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสมาธิ
4. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ - เห็นข้อเสียในสมาธิในจุดที่ตนเองอยู่ ละข้อเสียนั้น เห็นคุณในสมาธิขั้นต่อไป แล้วเลื่อนขึ้น
5. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ - ทำสมาธิโดยเอื้อเฟื้อกัน
6. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ - รู้ความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสมาธิสมถะและวิปัสสนา
7. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ - ผลคืออภิญญา 6 ที่เกิดจากสมาธิ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 03 May 2024 - 43min - 309 - ขึ้นชื่อว่า “มิตร” [6717-6t]
คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด
ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ#37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร หมายถึง กัลยาณมิตรทั่วไป ส่วนในทุติยมิตตสูตร หมายถึง ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์
“มิตร” ที่เรามีอยู่ไม่ว่าจะเป็นมิตรแบบไหน.. จิตของเราจะต้องประกอบไปด้วยกับเมตตา มองกันด้วยสายตาแห่งความรักใคร่เอ็นดู มีจิตไม่คิดปองร้าย ไม่คิดผูกเวรกับใคร ๆ ถ้าเป็นมิตรเทียมก็ให้มีระยะห่างที่จะไม่คบ ไม่ใช่ด้วยการผูกเวร
#38_ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร และ #39_ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร(นัยยะของท่านพระสารีบุตร) ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา (มีปัญญาแตกฉาน) ได้แก่ การมีสติเห็นจิตตามความเป็นจริงว่า จิตหดหู่ ท้อแท้ ฟุ้งซ่านหรือไม่ เห็นเวทนา สัญญา ความวิตกแห่งจิตว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ การรู้อุบายในการเกิดและการดับของสภาวะนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 26 Apr 2024 - 57min - 308 - จุดที่สมาธิเปลี่ยนเป็นปัญญาด้วยองค์ 5 [6716-6t]
ข้อที่ #28_ปัญจังคิกสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิด้วยองค์ 5 ประการ คือ การไล่มาตามลำดับของการได้มาซึ่งฌานทั้ง 4 และปัจจเวกขณนิมิต จะได้ทราบอุปมาอุปไมยของการได้มาซึ่งฌานนั้น ๆ การเห็นอะไรจึงจะเลื่อนขึ้นในฌานที่สูงขึ้นไปละเอียดลงไปได้ ก็ต้องขจัดความหยาบของฌานที่ได้อยู่แล้วจึงจะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อได้ฌานทั้ง 4 บวกกับปัจจเวกขณนิมิต คือ ญาณในการรู้ว่าเรามีเราละอะไรได้ จะทำให้ละเอียดขึ้นได้อย่างไร และการเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในฌานต่าง ๆ ได้ชัดเจน
จิตใจของคนเราถ้ามีสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์ในการกำจัดกิเลสได้ วิชชา 6 จะเกิดขึ้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ นี่คือจุดที่สมาธิจะเปลี่ยนเป็นปัญญา ตลอดกระบวนการต้องมีสติอยู่แล้วจึงจะสามารถรู้เห็นตรงนี้ได้ และปัจจเวกขณนิมิตมีได้ในทุกระดับฌาน เป็นตัวที่จะทำให้ฌานเลื่อนขึ้นได้เร็ว
ข้อที่ #29_จังกมสูตร จังกม แปลว่า การเดิน ทำให้เกิดอานิสงส์ คือ 1) อดทนต่อการเดินทางไกล 2) อดทนต่อการทำความเพียร นี่คืออดทนต่อสิ่งที่อดทนได้ยาก รู้อยู่ว่าทุกข์แต่อยู่กับมันได้ 3) อาหารย่อยได้ง่าย 4) มีอาพาธน้อย นี่คือมีสุขภาพดี มีเวทนาเบาบาง และ 5) สมาธิที่เกิดตั้งอยู่ได้นาน ในอิริยาบถหยาบ ๆ ยังสามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น ยิ่งทุกข์มากยิ่งเห็นธรรมะ มีปัญญาในการแก้ปัญหา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต: ปัญจังคิกวรรคข้อที่ 28 – 29
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 19 Apr 2024 - 54min - 307 - อปริหานิยธรรม-ความเจริญของอุบาสก [6715-6t]
การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อมโดยเน้นมาที่อุบาสกและอุบาสิกา ได้แก่ ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ การฟังธรรมโดยไม่คิดเพ่งโทษ ศึกษาในอธิศีล ได้ให้ทานและมีความเลื่อมใส่ในสงฆ์
ข้อที่ 32-33-34-35 มีเนื้อหาธรรมะเหมือนกันในห้าข้อแรกแตกต่างกันในสองข้อท้าย โดยมีเนื้อหาปรารภถึงเทวดาองค์หนื่งมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง “ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ” โดยประการที่เหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ และที่แตกต่างกันในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท มีปฏิสันถาร (การต้อนรับ) / มีหิริ โอตตัปปะ / เป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 12 Apr 2024 - 55min - 306 - อปริหานิยธรรม – สัญญาที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส [6714-6t]
เมื่อเราลองพิจารณาดูธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลาย) ที่เรารับรู้ได้นั้น ล้วนต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านั้น เมื่อธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงมีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยจึงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือตกอยู่ภายใต้กฏของ “ไตรลักษณ์”
“อปริหานิยธรรม และ ปริหานิยธรรม” ก็เช่นเดียวกัน ล้วนต่างมีเหตุที่ทำให้เจริญและเหตุที่ทำให้เสื่อม ว่าให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ ต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการมีอยู่และดับไปนั่นเอง
ข้อที่ #27_สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม กล่าวคือ สัญญา (การกำหนดหมายรู้) ที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส เพิ่มกุศลธรรมให้เกิดเจริญขึ้นมี 7 ประการ ได้แก่ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร, ความเป็นอนัตตาในธรรมทั้งหลาย, ความไม่งามในกาย, โทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ ละอกุศลวิตก กำหนดหมายวิราคะ (คลายกำหนัด) และนิโรธ (ความดับทุกข์) ว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต
ข้อที่ #28_ปฐมปริหานิสูตรว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม ในหัวข้อนี้เน้นมาที่พระเสขะ (ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่) โดยธรรมประการสุดท้ายได้กล่าวไว้น่าสนใจ เมื่อเห็นพระผู้บวชมานานรับภาระกิจในสงฆ์อยู่ พระผู้เป็นเสขะจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อไม่ให้ถึงความเสื่อม คือต้องอาศัยการวางจิตและการพิจารณาในกิจนั้นว่าเป็นเหตุทำให้กุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 05 Apr 2024 - 50min - 305 - “ผู้นำ” เพื่อประโยชน์สุข [6713-6t]
สิ่งดีงามต่างๆ ถ้าได้ไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้อง เป็น “สัมมาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะเป็นไป “เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น”
และในสิ่งดีงามที่มีอยู่เช่นเดิม ถ้าไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นผิด เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะ “เป็นทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น”
ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร #ข้อ 86 ผู้ที่ประกอบด้วย ปฏิสัมภิทา 4 (ได้แก่ 1. ปัญญาแตกฉานใน อรรถ, 2.ธรรม, 3. นิรุตติ, 4.ปฏิภาณ) และ มีความขยัน ไม่เกียจคร้าน “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง”
สีลวันตสูตร #ข้อ 87 ธรรม “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” ได้แก่ เป็นผู้มีความงามของศีล, เป็นพหูสูต เวลาบอกสอนมีข้อมูลพร้อม, พูดจาไพเราะ, มีสมาธิ, มีปัญญา
เถรสูตร #ข้อ 88 ธรรมที่ไม่เกื้อกูล ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือ เป็นผู้บวชมานาน, มีชื่อเสียง ยศ บริวาร, ร่ำรวยด้วยปัจจัย 4, เป็นพหูสูต, เป็น มิจฉาทิฏฐิ (อกุศลเพิ่ม) และธรรมที่เกื้อกูล เป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก จะเหมือนกันใน 4 ประการแรก แตกต่างกันในประการที่ 5 คือ เป็น สัมมาทิฏฐิ คืออกุศลลด กุศลเพิ่ม วางความยึดถือลงได้
ปฐมเสขสูตร #ข้อ 89 ธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ (ยังต้องศึกษา) คือ ชอบการงาน, พูดคุย, หาความสุขในการนอน, ชอบคลุกคลี, ไม่พัฒนาคุณธรรมให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมา
ทุติยเสขสูตร #ข้อ 90 มีกิจมาก, ปล่อยเวลาล่วงไป, คลุกคลีกับคฤหัสถ์, ออกบิณฑบาตเช้า-กลับสายนัก, ไม่ประกอบด้วยธรรมกถาต่างๆ แล้วละการหลีกเร้น จิตไม่เป็นสมาธิ เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เถรวรรค ข้อที่ 86-90
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 29 Mar 2024 - 56min - 304 - อดทนให้เป็นปัญญา [6712-6t]
ทบทวน #ข้อ 215 - #ข้อ 126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา
“ผู้ใดแล.. เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนพาลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง”
ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ 217 - 218 โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส(ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วกลายเป็นอื่น ไม่ปฏิบัติตามคำสอน คนรุ่นหลังเอาแบบอย่างได้
อัคคิสูตร #ข้อ 219โทษของไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ผิวหยาบกร้าน อ่อนกำลัง เพิ่มการคลุกคลีด้วยหมู่ สนทนาดิรัจฉานกถา
มธุราสูตร #ข้อ 220 นครมธุรา มีโทษคือ พื้นดินไม่เรียบ มีฝุ่นละออง สุนัขดุ มียักษ์ร้าย อาหารหาได้ยาก ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วมีจิตไม่เป็นสมาธิ ละอาสวกิเลสไม่ได้ ไม่ควรอยู่ที่นั่น
ปฐม-ทุติยทีฆจาริกสูตร #ข้อ221 - 222 ผู้จาริกไปนาน ไม่มีกำหนดมีโทษ คือ จะไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟัง เป็นโรคร้ายแรง ไม่มีมิตร
อตินิวาสสูตร-มัจฉรีสูตร #ข้อ223 - 224 การอยู่ประจำที่นานมีโทษ คือ มีสิ่งของ และเภสัชสะสมมาก มีกิจมาก คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ ห่วงใยและตระหนี่ในอาวาส ตระหนี่ในตระกูล ในลาภ วรรณะ และในธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อักโกสกวรรค ทีฆจาริกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 22 Mar 2024 - 53min - 303 - สัญญาในสิ่งทั้งสอง [6711-6t]
อวชานาติสูตร #ข้อ141 บุคคล 5 จำพวก (ปุถุชน) มีปรากฏอยู่ คือ 1) บุคคลให้แล้วดูหมิ่นผู้รับ 2) อยู่ร่วมกันแล้วดูหมิ่นในศีล 3) เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา 4) เป็นคนโลเล ศรัทธาหัวเต่า และ 5) ผู้เขลา ไม่รู้จักธรรมดำธรรมขาว
อารภติสูตร #ข้อ142 บุคคล 5 จำพวก คือ บุคคลจำพวกที่ 1-4 มี ศีล สมาธิ สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์บ้าง และมีปัญญาพอประมาณ เมื่อละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติและวิปปฏิสาร และเจริญซึ่งสมถะกับวิปัสสนา ก็จะทัดเทียมจำพวกที่ 5 คือ อรหันต์
สารันททสูตร #ข้อ143 เจ้าลิจฉวี ได้สนทนากันเรื่อง “แก้ว 5 ประการ ที่หาได้ยากในโลก” โดยมีนัยยะมุ่งไปในทางกาม ส่วนนัยยะของพระผู้มีพระภาคนั้น คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อริยบุคคล และผู้กตัญญูกตเวที เป็นสิ่งหาได้ยากในโลก
ติกัณฑกีสูตร #ข้อ144 พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน ได้ตรัสเรื่อง การกำหนดหมายรู้ในสิ่งที่เป็นปฎิกูลและไม่ปฏิกูลเพื่อ ละความกำหนัด ความขัดเคือง และความหลง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ติกัณฑกีวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 15 Mar 2024 - 55min - 302 - อปริหานิยธรรม – ธรรมของภิกษุผู้เจริญ [6710-6t]
อปริหานิยธรรม 7 ประการ ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย) ซึ่งได้แสดงจำแนกไว้หลายนัยยะ
ข้อที่ 23_ปฐมสัตตกสูตร (สูตรที่ ๑)
- หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม - เลิกประชุม - ทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่บัญญัติไว้ เคารพนับถือภิกษุผู้เป็นผู้ใหญ่ เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้นยินดีในเสนาสนะป่าตั้งสติระลึกไว้ว่า เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก
ข้อที่ 24_ทุติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๒)
- ไม่ยินดีในการงาน เช่น การทำจีวร หรืองานก่อสร้างต่าง ๆไม่ชอบการพูดคุย - ไม่สนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย (เรื่องกาม)ไม่ชอบการนอนหลับ – อันเป็นเหตุแห่งความหดหู่และเซื่องซึมไม่คลุกคลีด้วยหมู่ไม่ปรารถนาชั่วไม่มีมิตรชั่วไม่หยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ
ข้อที่ 25_ตติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๓) คือ ศรัทธา – ศรัทธาอันมั่นคงในพระรัตนตรัย / หิริ / โอตตัปปะ / พหูสูต - สดับฟังธรรม / ความเพียร / สติ / ปัญญา
ข้อที่ 26_โพชฌังคสูตร ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม ก็คือยกโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการมา (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค
......................................................................................
เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่องค์การยูเนสโกให้การยกย่อง (พ.ศ.2566 - พ.ศ.2567) และวาระครบรอบ 124 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ไทย - รัสเซีย คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิ ดร.ธวัช มกรพงศ์ ร่วมกันจัดสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่องพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ อักขระคิริลิซซา สำหรับชนชาติรัสเซีย วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 น. - 16.30.น. ( 12.30 น. เริ่มลงทะเบียนผู้เข้าร่วมสัมมนา ) ณ ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช ชั้น 9 ตึกอเนกประสงค์ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
หัวข้อสัมมนา
- การออกเสียงปาฬิภาสาในพระไตรปิฎกให้แม่นยำสำคัญต่อการบรรลุธรรมอย่างไร นวัตกรรมและมุมมองจากภูมิปัญญาพระไตรปิฎกสากล โดยวิทยากร พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ที่ปรึกษามูลนิธิพระไตรปิฎกสากลการถอดเสียงบทสวดปาฬิภาสา ด้วยอักขระคิริลิซซา โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธเนศ ปุรณสุธีมงคล อาจารย์ประจำของสาขาวิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(การสัมมนาครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 08 Mar 2024 - 57min - 301 - สมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา [6709-6t]
#25_อนุสสติฏฐานสูตร เมื่อตามระลึกถึงอนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล้ว จิตย่อมไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง ทำจิตบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันได้แก่ 1) พุทธานุสสติ 2) ธัมมานุสสติ 3) สังฆานุสสติ 4) สีลานุสสติ 5) จาคานุสสติ 6) เทวตานุสสติ
#26_มหากัจจานสูตร พระมหากัจจานะได้ปรารภการ “บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ” ซึ่งหมายถึง อนุสสติฏฐาน 6 ที่ประกอบด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ คือ ไม่ว่าเราจะถูกบีบคั้นจากอายตนะ 6 อย่างไร ถ้าเราจัดการจิตเราได้อย่างถูกต้องย่อมบรรลุถึงนิพพานได้
#27_#28_ปฐม_ทุติยสมยสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง (สูตร1) และ ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเหล่าภิกษุเถระ (สูตร 2) ถึงสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ซึ่งก็ได้แก่ สมัยที่ถูกนิวรณ์ 5 กลุ้มรุม และไม่รู้นิมิต (เครื่องหมาย) ซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะสำหรับผู้อาศัยมนสิการ (ทำไว้ในใจ) อยู่ เพื่อขอให้ท่านได้แสดงอุบายเป็นเครื่องนำออกจากสิ่งนั้นได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 01 Mar 2024 - 53min - 300 - อปริหานิยธรรม – หลักธรรมของกษัตริย์วัชชี [6708-6t]
อปริหานิยธรรม (ราชอปริหานิยธรรม) 7 ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคีธรรม ซึ่งรัฐคู่อริ (แคว้นมคธ) ยอมรับว่า เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมทางการฑูตหรือยุแยกให้แตกสามัคคีกัน
#22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลถาม..ฯ พระผู้มีพระภาคทรงไม่ตรัสตอบแต่ทรงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามถึง “อปริหานิยธรรม 7 ประการ” ของชาววัชชี จึงทำให้วัสสการพราหมณ์มีปัญญาเห็นกลอุบายที่จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีนั่นคือ “ทำให้แตกแยกสามัคคี” ... จึงได้คิดวางแผนให้วัสสการพราหมณ์ปลอมเข้าไปเป็นไส้ศึก ซึ่งวิธีการที่ใช้ คือ 1. ทำให้ไม่เชื่อใจกัน (ระแวง) 2. ทำให้ไม่พอใจกัน ซึ่งใช้ระยะเวลาอยู่ 3 ปี ก็โค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีได้สำเร็จ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค
.......................................................................................
*อปริหานิยธรรม 7 ประการ
- หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์พร้อมเพรียงกันประชุม - เลิกประชุม – ทำกิจที่พึงทำไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม) ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม (หลักการ) ตามที่วางไว้เดิมเคารพนับถือผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ เคารพสักการะบูชาเจดีย์ ของวัชชีทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย โดยตั้งใจว่า “ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 23 Feb 2024 - 53min - 299 - “ภัย” เป็นชื่อของกาม [6707-6t]
#21_สามกสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามะ ทรงปรารภเทวดาที่มาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม 3 ประการ คือ 1) เป็นผู้ชอบการงาน 2) ชอบการพูดคุย 3) ชอบการนอนหลับ และพระองค์ทรงแสดงปริหานิยธรรมเพิ่มอีก 3 ประการ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย คิอ 4) ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ 5) เป็นผู้ว่ายาก 6) มีปาปมิตร (มิตรชั่ว)
#22_อปริหานิยสูตร อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) คือ ยกเอาธรรมในข้อ #21 ทั้ง 6 ประการ มากล่าวถึงในทางตรงข้ามกัน
#23_ภยสูตรคำว่า ‘ภัย (อันตราย) ทุกข์ (ยึดถือ) โรค (อ่อนกำลัง) ฝี (จิตกลัดหนอง) เครื่องข้อง (บีบคั้น) เปือกตม (จมอยู่)’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะกามทำให้ผูกพัน มีฉันทราคะ ลุ่มหลง ก็จะทำให้เกิด ‘ภัย ทุกข์ โรค ฝี เครื่องข้อง เปือกตม’ ขึ้น ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
#24_หิมวันตสูตรธรรม 6 ประการนี้ ย่อมทำลายอวิชชาได้ คือ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ (สัปปายะ) ในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ ในการออกจากสมาธิ ในความพร้อมแห่งสมาธิ ในอารมณ์แห่งสมาธิ และในอภินิหารแห่งสมาธิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 16 Feb 2024 - 52min - 298 - กิเลส ดุจตะปูตรึงใจ [6706-6t]
จิตที่ไม่นุ่มนวล เพราะถูกกิเลสรัดตรึงไว้ จิตจะไม่ก้าวหน้า ให้เราเอาเครื่องขวางนี้ออก จิตของเราจะมีการพัฒนา บรรลุธรรมได้
กิมพิลสูตร #ข้อ 201 ท่านกิมพิละได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นานเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว นั่นก็คือพุทธบริษัท 4 นี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย ในสิกขา และ ในกันและกัน
ธัมมัสสวนสูตร #ข้อ 202การฟังธรรมจะมีอานิสงส์ 5 ประการ คือ ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว บรรเทาความสงสัยเสียได้ ทำให้มีความเห็นตรง จิตย่อมเลื่อมใส
อัสสาชานียสูตร #ข้อ 203 อุปมาอุปไมยม้าอาชาไนยกับภิกษุ ในเรื่องความตรง ความมีเชาว์ ความอ่อน ความอดทน และความเสงี่ยม
พลสูตร #ข้อ 204 พละ คือ กำลังคือศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา
เจโตขิลสูตร #ข้อ 205 กิเลสเครื่องตรึงจิตดุจตะปู 5 ประการ คือ มีความเคลือบแคลง ไม่ลงใจในพระรัตนตรัย ในสิกขา และเป็นผู้มีโทสะในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์
วินิพันธสูตร #ข้อ 206 กิเลสเครื่องผูกใจ 5 ประการ คือ มีความกำหนัดในกามคุณ 5 ในกาย (อัตภาพ) ในรูป (รูปฌาน) กินอิ่มจนเกินไป และปรารถนาความเป็นเทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ยาคุสูตร #ข้อ 207 อานิสงส์ของยาคู (ข้าวต้ม) คือ บรรเทาความหิว กระหาย ลมเดินคล่อง ดีต่อลำไส้ ย่อยง่าย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กิมพิลวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 09 Feb 2024 - 54min - 297 - ผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจ [6705-6t]
มุณฑราชวรรค หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช เริ่มด้วยข้อที่ 42 สัปปุริสสูตร เพราะมีความเกี่ยวเนื่องด้วยข้อที่ 40 ไส้ในเหมือนกัน หัวข้อและอุปมาต่างกัน ในข้อที่ 42 นี้คือ คนดีเกิดมาเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คนดีดูได้ที่ ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ท่านอุปมาเฆฆฝนที่ตั้งขึ้นย่อมมีคุณต่อชาวนาในการเพาะปลูก
ข้อที่ 41 อาทิยสูตร บุคคลที่มีโภคทรัพย์แล้ว ควรถือประโยชน์จากทรัพย์นั้นให้ครบทั้ง 5 ประการ เพราะแต่ละข้อให้ประโยชน์แตกต่างกัน ควรจะขวนขวายเอาให้หมดจากเงินแม้น้อยหรือมากที่เรามีก็ตาม รู้จักบริหารเป็นสุขอยู่โดยธรรม ด้านบำรุงครอบครัวและมิตรให้พลังมีความเพียร ด้านป้องกันภัยให้มีเงินเก็บรู้จักลงทุน ด้านสละเพื่อสังคมทำให้มีกัลยาณมิตร และด้านที่สละออกแด่เนื้อนาบุญจะทำให้บุญนั้นให้ผล
ข้อที่ 43 อิฏฐสูตร ธรรมะ 5 อย่างที่ใคร ๆ ก็ปรารถนา คือ อายุ วรรณะ ความสุข ยศ สวรรค์ แต่การได้มานั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินไปในสิ่งนั้น ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้มีปฏิปทาที่ให้เกิดผลนั้นอยู่ ถ้าเราสร้างเหตุเฉยๆ ไม่มีความอยาก มีความแยบคายในการปฏิบัติ อริยสาวกย่อมได้รับธรรมะห้าข้อนี้ ที่น่าสนใจ คือ เรามักสร้างเหตุถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าสอน แต่เงื่อนไขเราทำมันไม่ถูกต้อง เพราะทำตามความอยาก มันกลายเป็นอ้อนวอนทันที มันกลายเป็นที่น่าปรารถนาทันที ทั้งๆ ที่ไม่ได้คุกเข่าอ้อนวอนอย่างเดียวสร้างเหตุไปด้วย นั่นแหละผิด ต้องไม่อ้อนวอน ไม่อยาก อย่าไปเพลิน สร้างเหตุที่ถูกต้อง ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่มีปัญหา คนอย่างนี้จะรักษาประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าได้
ข้อที่ 44 มนาปทายีสูตร ผู้ที่ถวายของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ เหมือนกับคฤหบดีนี้ที่เห็นผลเมื่อไปเกิดในสวรรค์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต มุณฑราชวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 02 Feb 2024 - 54min - 296 - อปริหานิยธรรม – ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ [6704-6t]
“อปริหานิยธรรม”หมายถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียวไม่มีความเสื่อมเลย ความเจริญ ในที่นี้หมายถึงความเจริญด้วยคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ซึ่งในข้อที่ 21 และข้อที่ 22 ได้แสดงถึงอปริหานิยธรรม 7 ประการที่เหมือนกัน และมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่องราวของพวกชาววัชชี
โดยในข้อที่ #21_สารันททสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอปริหานิยธรรมแก่พวกเจ้าลิจฉวี และข้อที่ #22_วัสสการสูตร พระเจ้าอชาตศัตรู มีพระประสงค์จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีจึงรับสั่งให้ วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อกราบทูลถาม..ฯ พระผู้มีพระภาคทรงไม่ตรัสตอบแต่ทรงรับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามถึงอปริหานิยธรรม 7 ประการของชาววัชชี จึงทำให้วัสสการพราหมณ์มีปัญญาเห็นกลอุบายที่จะโค่นล้มพวกเจ้าลิจฉวีนั่นคือ “ทำให้แตกแยกสามัคคี”
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค
..............................................................................
Q & A: จากงาน “ขุมทรัพย์แห่งใจ”
Q: ปฏิบัติศีล 8 เฉพาะวันพระได้หรือไม่?
A: ศีล คือข้อปฏิบัติที่เป็นผลดีกับผู้ปฏิบัติเอง ควรปฏิบัติให้เป็นปกติในทุกวัน อาจจะเริ่มจาก ศีล 5 ก่อน แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ละข้อ เป็นศีล 6 -7 - 8 จนเต็มบริบูรณ์
Q: ตั้งจิตแผ่เมตตาให้กับคนที่หวังร้ายได้อย่างไร?
A: ให้ตั้งจิตนึกถึง “จิตของผู้ที่เป็นแม่” ที่มีความรักให้กับลูกได้อย่างไม่มีเงื่อนไข และไม่มีประมาณ ไม่ว่าลูกจะดีหรือร้ายกับเราอย่างไร จิตของผู้เป็นแม่ก็ยังคงรักและมีเมตตากับลูกเสมอ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 26 Jan 2024 - 54min - 295 - ธรรมะรับอรุณ Live 20 ม.ค. 2567 - “สติ” ยารักษาโรคทุกข์ [6703-6t_Live]
Q: ประสบปัญหาสูญเสียดวงตา เคยคิดฆ่าตัวตายแต่ไม่กล้า / คาถา “อะทาสิ เม อะกาสิ เม” ที่ใช้สวดในงานศพมีความหมายอย่างไร?
A: ผู้ที่ประสบปัญหาแล้วแต่มีความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับปัญหานั้น เราเรียกความกล้าหาญของผู้นี้ว่า "เป็นผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม” / “อะทาสิ เม อะกาสิ เม” แปลได้ว่า “ทานที่ให้แล้ว บุญที่กระทำแล้วมีผล” หมายความว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่เราได้กระทำไว้ไม่สูญเปล่าย่อมส่งผลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
Q: เมื่อประสบความทุกข์อยู่ต่อหน้าอะไรคือทางออก?
A: สติคือทางออกอย่างแรกเลย สติจะมีหน้าที่คอยแยกแยะไม่ให้หลงเพลินไปในความทุกข์นั้น ให้มีความอดทนต่อผัสสะต่างๆ สั่งสมปัญญาด้วยการฟังธรรมอยู่เนืองๆ จิตจะคลายความยึดถือลง เบาลง
Q: มีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในระหว่างการทำสมาธิ
A: “สมาธิไม่ได้ด้วยการบังคับ” อย่าบังคับความคิด แต่ให้ดึงสติให้มาสังเกตลมหายใจอยู่ที่จมูก
Q: เรื่องภาษาและเชื้อขาติ กับคำสอนของพระพุทธเจ้า
A: คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับ “ทุกขอริยสัจ” เป็นความจริงบนโลกซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ในทุกชาติทุกภาษา
Q: มักจะเจอคำตอบของปัญหาในการฟังธรรม
A: ทุกข์บนโลกนี้มีมาก และทุกคนก็ประสบความทุกข์เหมือนกัน กล่าวคือ การเกิดเป็นทุกข์ ตัณหาคือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และธรรมของพระพุทธเจ้าคือข้อปฏิบัติทำให้สิ้นทุกข์เพราะฉะนั้น เมื่อได้มีการฟังธรรมแล้วจึงพบคำตอบของกองทุกข์เหล่านั้น
Q: โรคภาวะทางอารมณ์ “ไบโพล่า”
A: ทางกายภาพอาจรักษาด้วยการให้ยาปรับสารเคมีในสมอง แต่ทางด้านจิตใจนั้นปรับรักษาด้วยการ “มีสติ” ดึงสติให้มาระลึกรู้อยู่กับลมหายใจให้ได้อยู่บ่อยๆ เมื่อสติมีกำลังจะไม่เผลอเพลินไปตามความคิด ความแปรปรวนในอารมณ์ก็จะค่อยๆเบาบางและสงบลง
Q: คำว่า “มีสติอยู่กับปัจจุบัน”
A: ไม่หลงลืมลมหายใจแม้จะคิดถึงเรื่องที่เป็นอดีต เรื่องในปัจจุบัน หรือเรื่องที่เป็นอนาคต คือ คิดได้แต่ไม่หลงไม่เพลินไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 20 Jan 2024 - 1h 00min - 294 - ผู้เห็นความเป็นสุขในนิพพาน [6702-6t]
การที่เราจะมาพิจารณาเห็นความเป็นสุขในนิพพานได้นั้น ต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติตามอริยมรรค เพื่อให้เข้าใจทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ และปัญญาที่จะเห็นแจ้งในการดับทุกข์
ซึ่งในข้อที่ #19_นิพพานสูตร ได้เน้นถึงการมีสัญญาเห็นอยู่บ่อย ๆ ใน “ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” ในสังขารทั้งหลายและการดับลงแห่งสังขารทั้งหลายของอนาคามีและอรหันต์ 7 จำพวกซึ่งเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวายฯลฯ.. เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
*การมีสติตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 จะทำให้เราเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในสังขารทั้งหลาย เข้าถึงนิพพานในปัจจุบันได้
#20_นิททสวัตถุสูตร การบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งไม่ได้เกี่ยวเนื่องด้วยจำนวนพรรษา แต่อยู่ที่การปฏิบัติในศีล สมาธิ และปัญญา มีการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ข่มตัณหา อยู่หลีกเร้น ปรารภความเพียร มีสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน แทงตลอดด้วยทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อนุสยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 12 Jan 2024 - 57min - 293 - ชื่อว่าอริยบุคคล [6701-6t]
ขยายความในข้อที่ 14 ให้เห็นถึงลักษณะของโสดาบันในสไตล์การบรรลุที่ต่างกัน ไล่มาตั้งแต่โสดาปัตติมรรคคือธัมมานุสารีและสัทธานุสารีนี้เป็นมรรคให้เกิดผลในกายสักขี ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตติ ส่วนในสองข้อแรกคืออรหันต์
ต่อมาในข้อที่ 15 เปรียบด้วยบุคคลผู้ตกน้ำ เป็นอุปมาอุปไมยการท่วมทับจากกามจนจมน้ำ จนถึงกายแห้งขึ้นบกคืออรหันต์ โดยมีอินทรีย์ 5 เป็นตัววัดในการพัฒนาของบุคคลทั้ง 7 ประเภทนี้ คือ 1) จมแล้ว จมเลย=ดำมืด ไม่มีกุศลธรรม 2) โผล่แล้ว จมลงอีก=มีอยู่แต่ไม่คงที่ 3) โผล่แล้ว หยุดอยู่=คงที่ 4) โผล่แล้ว เหลียวมองดู=โสดาบัน 5) โผล่แล้ว ข้ามไป=สกทาคามี 6) โผล่แล้ว ได้ที่พึ่ง=อนาคามี และ 7) โผล่แล้ว เข้าถึงฝั่ง=อรหันต์
ข้อที่ 16, 17 และ18 มีความต่างกันตรงเหตุที่ทำให้บรรลุคือการพิจารณาความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยมีพื้นฐานเหมือนข้อที่ 14 โดยในสองข้อแรกหมายถึงอรหันต์ ส่วนข้อที่เหลือหมายถึงอนาคามี 5 ประเภท ที่มีเวลาการบรรลุที่แตกต่างกันตามภพที่ไปเกิด คือ อัตราปรินิพพายี มีอายุไม่ถึงกึ่งก็ปรินิพพาน, อุปหัจจปรินิพพายี อายุเลยกึ่งจึงนิพพาน, อสังขารปรินิพพายี บรรลุโดยไม่ใช้ความเพียรมาก, สสังขารปรินิพพายี ใช้ความเพียรมาก และประเภทสุดท้ายคือ อุทธังโสตอกนิฏฐคามี เลื่อนขั้นไปอกนิฏฐภพจึงปรินิพพาน ใช้เวลานานสุด เหตุปัจจัยที่ทำให้บรรลุธรรมคือหมั่นเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดระยะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 05 Jan 2024 - 57min - 292 - อนุสัย - กิเลสความเคยชินของจิต [6652-6t]
อนุสัย หมายถึง ความเคยชิน เป็นกิเลสอย่างละเอียดที่ตกตะกอนนอนแนบนิ่งอยู่ในจิต คือทุกครั้งที่จิตของเราเกิดกิเลสขึ้น มันจะทิ้งคราบคือความเคยชินไว้ให้เสมอ พอมีอะไรมากระทบอารมณ์มันจะแสดงตัวออกมาทันที ยิ่งถ้าเกิดกิเลสขึ้นมาบ่อยๆก็จะยิ่งมีอนุสัยมากขึ้น
ข้อที่ #10_มัจฉริยสูตร สังโยชน์ หมายถึง สิ่งที่ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ ได้แก่ สังโยชน์ คือ ความยินดี, ความยินร้าย, ความเห็นผิด ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความริษยา (ตนเองไม่มี-แต่คนอื่นมี), ความตระหนี่ (ตนเองมี-แต่ไม่ให้)
ข้อที่ #11-12_ปฐม-ทุติยอนุสยสูตร อนุสัย คือ กิเลสที่นองเนื่องในสันดาน ได้แก่ อนุสัย คือ ความกำหนัดในกาม, ความยินร้าย, ความเห็นผิด, ความลังเลสงสัย, ความถือตัว, ความติดใจในภพ, ความไม่รู้แจ้ง
*กิเลสที่ทำให้เกิดอนุสัย 7 และ สังโยชน์ 7 นี้ สังเกตเห็นได้ว่า เป็นกิเลสอย่างละเอียดชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดสะสมอยู่ในจิตแล้วผลคือ ผูกจิตให้ติดอยู่ในภพ สามารถละได้ด้วยศีล สมาธิ ปัญญาอย่างละเอียด
ข้อที่#13_กุลสูตร ตระกูลที่ประด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้ ภิกษุควรเข้าไปหา (ไว้ใช้พิจารณาการเข้าสู่ตระกูล) คือ มีการลุกขึ้นต้อนรับ-ไหว้-ให้อาสนะด้วยความเต็มใจ, ไม่ปกปิดของที่มีอยู่, มีของมาก ก็ถวายมาก, มีของประณีต ก็ถวายของประณีต, ถวายโดยเคารพ
ข้อ#14_ปุคคลสูตร บุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย (อริยบุคคล)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อนุสยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 29 Dec 2023 - 55min - 291 - สังโยชน์ - กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ [6651-6t]
ข้อที่ #7_อุคคสูตร เป็นเรื่องราวของอุคคมหาอำมาตย์ที่ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความเป็นผู้มีทรัพย์มากของมิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานของโรหณเศรษฐี พระผู้มีพระภาคจึงทรงได้แสดงถึงทรัพย์เหล่านั้นว่า เป็นของสาธารณะทั่วไป แล้วได้ทรงแสดงถึง “อริยทรัพย์ 7 ประการ”ได้แก่ ทรัพย์คือ ศรัทธา, ศีล, หิริ, โอตตัปปะ, สุตะ, จาคะ และปัญญา ที่ไม่ใช่ของสาธารณะกับบุคคลอื่น ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม และนำติดตัวข้ามภพชาติไปด้วยได้
*อริยทรัพย์นี้เมื่อเจริญให้มากก็ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อันมากด้วยเช่นกัน นั่นหมายถึงการละสังโยชน์ตัดภพชาติได้
ข้อที่ 8-9-10 ว่าด้วยเรื่องสังโยชน์กิเลสเครื่องผูกใจสัตว์ไว้ในภพ ได้แก่ สังโยชน์คือ
- ความยินดีเพลินในสุข -รักสุข (กามราคะ)ความยินร้ายในทุกข์ -ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ (ปฏิฆะ)ความเห็นผิด -ยึดมั่นในความเห็น (ทิฏฐิ)ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (วิจิกิจฉา)ความถือตัว -เป็นสังโยชน์เบื้องสูง อาศัยความละเอียดในศีล สมาธิ และปัญญาในการละ (มานะ)ความติดใจในภพ -กำหนัดยินดีในภพให้มีอยู่คงอยู่ ยินดีในการเกิด (ภวราคะ) / ความอิจฉาความไม่รู้แจ้ง - ความไม่รู้ในอริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาท, อดีต, อนาคต, ปัจจุบัน (อวิชชา 8) / ความตระหนี่
*การมาปฏิบัติธรรม ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั่นคือ การละสังโยชน์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ธนวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 22 Dec 2023 - 56min - 290 - ทรัพย์ของคนประเสริฐ - อริยทรัพย์ [6650-6t]
ข้อธรรมะ 7 ประการในหมวดธนวรรค ที่ว่าด้วยอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐที่เมื่อมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้วจะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลประเสริฐขึ้นมาได้อย่างแท้จริง ทรัพย์ในที่นี้จึงหมายถึงธรรมะที่ทำให้ผู้นั้นเป็นคนประเสริฐหรืออริยบุคคลได้แก่
ข้อ#1 และ ข้อ#2 ธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักที่พอใจเป็นที่น่าเคารพยกย่อง ได้แก่ 1. เป็นผู้ไม่มุ่งลาภ (สิ่งของ,เงินทอง) 2. ไม่มุ่งสักการะ (ยกย่อง) 3. ไม่มุ่งชื่อเสียง (มีหน้ามีตา) 4. เป็นผู้มีหิริ (ละอายบาป) 5. มีโอตตัปปะ (กลัวบาป) 6. มักน้อย (ไม่โอ้วอวด) / ไม่ริษยา 7. เป็นสัมมาทิฏฐิ / ไม่ตระหนี่
*ถึงแม้จะมีเพียงแค่ข้อใดข้อหนึ่งใน 7 ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้เป็นที่รักได้
ข้อ#3 และ ข้อ#4 ว่าด้วยพละคือกำลังของจิตที่จะทำให้ทรงอยู่ในมรรคได้มากหรือน้อยได้แก่ 1. ศรัทธา (เชื่อมั่นในปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) 2. วิริยะ(เพียรในการเจริญกุศล-ละอกุศล) 3. สติ (สติปัฏฐาน 4) 4. หิริ 5. โอตตัปปะ 6. สมาธิ (ฌาน) 7. ปัญญา (เห็นอริยสัจ เห็นการเกิด-ดับ)
ข้อ#5 และ ข้อ#6 ผู้ใดมีทรัพย์ 7 ประการนี้เป็นคนไม่ขัดสน ได้แก่ ทรัพย์คือ ศรัทธา, ศีล, หิริ, โอตตัปปะ, สุตะ, จาคะ และปัญญา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ธนวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 15 Dec 2023 - 54min - 289 - พละ 5 ธรรมที่ทำให้องอาจ [6649-6t]
มาในพลวรรค ข้อที่ 11 - 14 อธิบายโดยรวมได้ดังนี้ พละ 5 เป็นธรรมที่องอาจ เป็นการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ทำให้เราได้ฟังได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน พละ คือ กำลัง มี 5 อย่าง ได้แก่ ศรัทธา คือ ความมั่นใจความเลื่อมใส ความลงใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้เอ่ยเพียงหนึ่งแต่ให้เข้าใจว่ารวมทั้งหมด “พุทธ ธรรม สงฆ์” เป็นศรัทธาที่ไม่เศร้าหมอง เพราะศรัทธาในสัมมาสัมพุทโธ มีศรัทธาแล้วจะทำให้ไม่ลังเลที่จะทำจริงแน่วแน่จริงมีความกล้าในการเผชิญหน้ากับทุกข์ (วิริยะ) เห็นตามจริง สติเกิดขึ้น สมาธิปัญญาก็ตามมาตามลำดับ ปัญญามีสูงสุดในแต่ละขั้นที่ผ่านไป หิริ โอตตัปปะ และสติ สมาธิสามารถนำมาใช้แทนกันได้สลับไปมาได้ในพละนี้
ข้อที่ 15 จะชี้ให้เห็นว่า สามารถหาคุณธรรมทั้ง 5 ได้จากที่ไหน: ศรัทธาหาได้ในโสตาปัตติยังคะ 4 วิริยะหาได้ในสัมมัปปธาน 4 สติหาได้ในสติปัฏฐาน 4 สมาธิหาได้ในฌาน 4 ปัญญาหาได้ในอริยสัจ 4 ทำไมจึงกล่าวว่าหาปัญญาได้ที่อริยสัจ 4 เพราะอริยสัจ 4 เป็นตัวรวมธรรมะทั้งหมด ปัญญาจะเป็นตัวพาเราไปสู่ดินแดนที่ไม่เคยไป
ข้อที่ 16 เปรียบปัญญาเป็นอันดับสูงสุดของหลังคา ทุกสิ่งต้องอยู่ใต้หลังคานั้น ปัญญาเป็นยอด สมาธิเป็นตัวดัน มีพื้นฐาน คือ ศรัทธา ส่งต่อกันมาด้วยความเพียรด้วยสติ มาตามลำดับแล้วพัฒนาไปด้วยกัน พละ 5 จะทำให้ทรงอยู่ในมรรคได้ อินทรีย์ 5 เป็นตัวที่จะทำให้บรรลุได้เร็วหรือช้า ความหมายเดียวกัน ต่างกันที่บริบทการใช้
ข้อที่ 17 18 19 20 อธิบายรายละเอียดเหมือนกันต่างกันในหัวข้อคุณธรรม 5 อย่างคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ธรรม 5 อย่างนี้เป็นไปเพื่อเกื้อกูลหรือไม่เกื้อกูล ทั้งตนเองและผู้อื่นหรือไม่ และควรพัฒนาไปได้อย่างไร
(พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต : พลวรรค ข้อที่ 11 - 20)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 08 Dec 2023 - 53min - 288 - ธรรมให้แจ้งอมตธรรม [6648-6t]
ข้อที่ #119-139 ได้กล่าวถึงคุณธรรมของอริยบุคคลขั้นผลของคหบดี 20 ท่าน โดยใน 10 ท่านแรกเป็นอุบาสกผู้เลิศ (เอตทัคคะ) ซึ่งคุณธรรมที่จะทำให้เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรม มีอยู่ 6 ประการ คือ มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ (๑) พระธรรม (๒) พระสงฆ์ (๓) อริยศีล (๔) อริยญาณ (๕) และ อริยวิมุตติ (๖)
*ความเลี่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หมายถึง ความเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อมั่นในธรรมข้อปฏิบัติ (อริยศีล) ที่เมื่อปฏิบัติตามแล้วจะเป็นผู้ที่มีปัญญา (อริยญาณ) เห็นแจ้งในวิมุตติ เป็นอริยสงฆ์ขึ้นมาได้
ข้อที่ #140-649 ได้กล่าวถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไล่ไปจนถึงธรรมเพื่อความสละคืนในอุปกิเลสทั้ง 16 อย่าง เป็นธรรมที่แสดงเป็นชุด (Set) ในหนึ่งชุดประกอบด้วย
อนุตตริยะ 6 คือ การได้เห็น.. ได้ฟังธรรม.. การได้ศรัทธา.. ได้รับใช้ดูแล และการระลึกถึงใพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า)
อนุสสติ 6 คือ การมีสติระลึกถึงอยู่เนือง ๆ ในคุณของพระรัตนตรัย ในศีล ในทานการบริจาค และคุณธรรมของผู้ที่มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
สัญญา 6 ได้แก่ อนิจจสัญญา, อนิจเจ ทุกขสัญญา, ทุกเข อนัตตสัญญา, ปหานสัญญา, วิราคสัญญา, นิโรธสัญญา
*ข้อสังเกต ในสัญญา 6 ประการนี้ เมื่อเจริญปัญญาอย่างต่อเนื่องจะเห็นความเชื่อมโยงต่อเนื่องสัมพันธ์กันในความเป็นเหตุเป็นผล (ปฏิจจสมุปบาท) กล่าวคือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง มีสภาพเป็นทุกข์ (แปรเปลี่ยน) เป็นอนัตตา (อาศัยสิ่งอื่นเกิด) เมื่อเห็นด้วยปัญญาอยู่อย่างนี้ เราจะคลายความยึดถือในสังขารทั้งหลายลงได้
#พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สามัญวรรค ราคเปยยาล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 01 Dec 2023 - 56min - 287 - มนต์เครื่องกลับใจ [6647-6t]
มหาวรรคหมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่ พระสูตรที่น่าสนใจ คือ # 193_ภัททิยสูตร: มนต์ใดที่พระพุทธเจ้ากล่าวแล้วทำให้ภัททิยะเปลี่ยนไป ตั้งใจจะมาถามแต่เกรงโดนมนต์เปลี่ยนใจ มนต์นั้นเป็นความจริงหรือ พระพุทธเจ้าได้ตอบให้คิดกลับว่า ในความเชื่อ 10 อย่างที่เขาเชื่อกันอยู่นั้น ให้ละเสีย แล้วให้พิจารณาจากสิ่งใดที่ทำแล้วสามารถละโลภะ โทสะ โมหะ และสารัมภะได้ ควรทำ เพราะจะทำให้เกิดกุศล สิ่งใดที่ทำแล้วก่อให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ หรือสารัมภะ สิ่งนั้นก่อให้เกิดอกุศลธรรมบท 10 อย่าอ้างในนามของความดี ฉันขอทำความชั่ว ไม่ได้
#191_โสตานุคตสูตร: บุคคลใดที่ฟังธรรมแล้ว คล่องปากขึ้นใจแทงตลอด แต่ขณะตายเกิดหลงลืมสติ จะทำให้เกิดอานิสงส์ไปเป็นเทวดาแล้วจะสามารถบรรลุนิพพานในชั้นนั้นโดยสถานะต่างกัน คือ จำได้ด้วยตนเอง จำได้เพราะภิกษุแสดงธรรม (เสียงกลอง) จำได้เพราะเทวดาแสดงธรรม (เสียงสังข์) จำได้เพราะเพื่อนเทวดาเตือน (จำวัยเด็กได้)
#192_ฐานสูตร: รู้บุคคลด้วยสถานะ 4 ประการ คือ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ กำลังจิตพึงรู้ได้ในคราวมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานาน มีมนสิการ และปัญญา การตรวจสอบคนอื่นไม่ใช่หาข้อผิด ให้มนสิการกลับมาพัฒนาตนในข้อที่ยังไม่มี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 24 Nov 2023 - 58min - 286 - เป็นอยู่อย่างไม่ประมาท [6646-6t]
การมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดผลที่ดีงามนั้น ควรจะศึกษาด้วยการปฏิบัติ (สิกขา) คือ ปริยัติและปฏิบัติจะต้องควบคู่กันไป ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติของเรานั้น มีความละเอียดลึกซึ้งขึ้นมาได้
#116_อุทธัจจสูตร ว่าด้วยความฟุ้งซ่าน
•ควรเจริญสมถะ (ความสงบแห่งจิต) เพื่อละ อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) - ความคิดในหลายๆ เรื่องที่เป็นอกุศล
•ควรเจริญสังวร (ความสำรวม) เพื่อละ อสังวร (ความไม่สำรวม)
•ควรเจริญอัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เพื่อละ ปมาทะ (ความประมาท)
*การที่จะให้เกิดความสงบในจิตขึ้นมาได้นั้น ก็เริ่มมาจากการที่เราไม่ประมาท มีสติสำรวมในอินทรีย์ จิตก็จะรวมเป็นอารมณ์อันเดียวเกิดสมถะขึ้นมาในจิตใจได้
#117_กายานุปัสสีสูตร และ #118_ธัมมานุปัสสีสูตร ว่าด้วยผู้ที่ยังละธรรม 6 ประการนี้ไม่ได้
ก็จะทำให้สติปัฏฐาน 4 ให้เกิดขึ้นไม่ได้ และ ถ้าละได้แล้วก็จะทำให้สติปัฏฐาน 4 เกิดขึ้นได้ ได้แก่
1. เป็นผู้ชอบการงาน
2. เป็นผู้ชอบการพูดคุย
3. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ
4. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
5. เป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
6. เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
*เป็นข้อปฏิบัติ (ศีล) ที่เป็นไปเพื่อให้เกิดสมาธิ
จากคำถามใน “ตาลปุตตสูตร” ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำ มีความเห็นผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ตอนหลังจากที่ได้ฟังธรรมแล้วได้ออกบวชมีสัมมาทิฏฐิและได้บรรลุอรหันต์
#119_ตปุสสสูตร และข้อ 120-139 เป็นธรรม 6 ประการที่เหมือนกัน ว่าด้วย เป็นผู้เชื่อมั่นในตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่ คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ / พระธรรม / พระสงฆ์ / อริยศีล / อริยญาณ (ปัญญา) / อริยวิมุตติ (ความพ้น)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ติกวรรค สามัญวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 17 Nov 2023 - 56min - 285 - ความสันโดษและการคบมิตร [6645-6t]
ในติกวรรคนี้แบ่งธรรมออกเป็น 2 หมวด หมวดละ 3 ข้อ โดยใน 3 ข้อแรกจะเป็นฝ่าย “อกุศล” และธรรม 3 ข้อหลังจะแสดงเพื่อละธรรมใน 3 ข้อแรกนั้น
#114_สันตุฏฐิตาสูตร ว่าด้วย ความสันโดษ ธรรมในหมวดนี้ คือ อสันตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ) / อสัมปัชชัญญะ (ความไม่มีสัมปชัญญะ) / มหิจฉตา (ความปรารถนามาก)
• ควรเจริญสันตุฏฐิตา (ความสันโดษ) เพื่อละอสันตุฏฐิตา
• ควรเจริญสัมปชัญญะ (มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม) เพื่อละอสัมปัชชัญญะ
• ควรเจริญอัปปิจฉตา (ความปรารถนาน้อย) เพื่อละมหิจฉตา
*สันโดษ มักน้อย มักจะเป็นวลีที่มาคู่กันเสมอ และมีการเข้าใจผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อนไป “สันโดษ” ไม่ใช่ ความเกียจคร้าน แต่เป็นความยินดีพอใจยอมรับในสิ่งที่ตนมี จะทำให้เกิดการพัฒนา ส่วน “มักน้อย” คือ ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้คุณวิเศษในตน ทำดีได้โดยไม่ต้องโอ้อวด ตรงกันข้ามกับ
“มักมาก” อวดคุณวิเศษที่มีหรือไม่มีในตน เพื่อให้คนยกย่อง จะเป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส
#115_โทวจัสสตาสูตร ว่าด้วยความเป็นผู้ว่ายาก ธรรมในหมวดนี้ คือ ความเป็นผู้ว่ายาก (ไม่ทำตามคำสอน) / ความเป็นผู้มีปาปมิตร (มิตรชั่ว) / ความฟุ้งซ่านแห่งจิต
• ควรเจริญความเป็นผู้ว่าง่าย (เอื้อเฟื้อ เชื่อฟังทำตามสอน) เพื่อละความเป็นผู้ว่ายาก
• ควรเจริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรเพื่อละความเป็นผู้มีปาปมิตร
• ควรเจริญอานาปานสติเพื่อละความฟุ้งซ่านแห่งจิต
*วิธีดูมิตร
• มิตรแท้ ได้แก่ มิตร 4 จำพวก คือ มิตรมีอุปการะ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรแนะประโยชน์ และมิตรมีความรักใคร่
• มิตรเทียม ได้แก่ คน 4 จำพวก ซึ่งควรเว้นให้ห่างไกล คือ คนปอกลอก คนดีแต่พูด คนหัวประจบ และคนชักชวนในทางฉิบหาย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ติกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 10 Nov 2023 - 54min - 284 - ความเพลินในสุข – อัสสาททิฏฐิ [6644-6t]
หมวดธรรมติกวรรคนี้ แบ่งธรรมออกเป็นหมวดละ 3 ข้อ โดยยกธรรม 3 ข้อแรกขึ้นมาก่อน แล้วยกธรรม 3 ข้อหลังขึ้นมาเพื่อละธรรม 3 ข้อแรกนั้น
#112_อัสสาทสูตร ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ (อัสสาทะ หมายถึง ความยินดี ความพอใจ รสอร่อยในกามคุณ / ทิฏฐิ หมายถึง ความเห็น *ในที่นี้หมายถึงความเห็นผิด)
1. อัสสาททิฏฐิ - ความเห็นผิดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความยินดี เพลินพอใจไปในกามคุณ เห็นแต่ข้อดีอย่างเดียว (คือ รสอร่อย) ไม่เห็นโทษอันต่ำทราม คือ ความที่มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา (อาทีนวะ)
- ควรเจริญ “อนิจจสัญญา” (คือ ความหมายรู้โดยความเป็นของไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ
2. อัตตานุทิฏฐิ - ความเห็นผิดว่านี่เป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นของเรา (สักกายทิฏฐิ)
- ควรเจริญ “อนัตตสัญญา” (คือ หมายรู้โดยความเป็นของที่ไม่ใช่ตัวตน) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ
3. มิจฉาทิฏฐิ - ความเห็นผิดไปจากคลองธรรม เช่น บาป-บุญ-วิบากแห่งกรรมไม่มี, การให้-การบูชาไม่มีผล.. ฯ
- ควรเจริญ “สัมมาทิฏฐิ” เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ
*ข้อสังเกต - ทุกสิ่งมีทั้งคุณและโทษ (อัสสาทะ และ อาทีนวะ) ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน ให้เราเป็น “ผู้ที่ฉลาดในคุณและโทษ” คือ ไม่เพลินไปในสุข และเห็นโทษที่มันเป็นของไม่เที่ยง
#113_อรติสูตร ว่าด้วยอรติ คือ ความไม่ยินดีที่ผู้อื่นได้ดี
1. อรติ (ความไม่ยินดี-อิจฉา) – ควรเจริญมุทิตา(ความยินดี) เพื่อละอรติ
2. วิหิงสา (ความเบียดเบียน) – ควรเจริญอวิหิงสา(ความไม่เบียดเบียน) เพื่อละวิหิงสา
3. อธัมมจริยา (การประพฤติอกุศลกรรมบถ 10) – ควรเจริญธัมมจริยา(ความประพฤติกุศลกรรมบถ 10) เพื่อละอธัมมจริยา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ติกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 03 Nov 2023 - 56min - 283 - เจริญธรรม-เพื่อละธรรม [6643-6t]
หมวดธรรมติกวรรคนี้ แบ่งธรรมออกเป็นหมวดละ 3 ข้อ โดยยกธรรม 3 ข้อแรกขึ้นมาแสดง แล้วตามด้วยธรรม 3 ข้อหลังเพื่อการละธรรม 3 ข้อแรกนั้น
#107_ราคสูตร ว่าด้วย ราคะ โทสะ โมหะ
1. ควรเจริญอสุภะ (ความเป็นของไม่งาม-ปฏิกูล) เพื่อละ ราคะ
2. เจริญเมตตาเพื่อละ โทสะ - ลักษณะของเมตตาที่เป็นไปเพื่อละโทสะ คือ 1. ไม่มีเงื่อนไข 2. ไม่มีประมาณ 3. ไม่มียกเว้นใคร
3. เจริญปัญญาเพื่อละ โมหะ - ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดปัญญา คือ กัลยาณมิตร (มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และเลือกคบคนดี) และการโยนิโสมนสิการ
#108_ทุจจริตสูตร ว่าด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ควรเจริญกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
*ข้อสังเกตุ -การฝึกให้มีความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ เป็นกระบวนการที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นเหตุ-ผลในการละ ราคะ โทสะ และโมหะนี้ด้วย
#109_วิตักกสูตรเน้นมาในจิตใจ-ความคิด ว่าด้วย กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก(คิดเบียดเบียน)
1. ควรเจริญเนกขัมมวิตก เพื่อละกามวิตก
2. เจริญอพยาบาทวิตก เพื่อละพยาบาทวิตก
3. เจริญอวิหิงสาวิตก เพื่อละวิหิงสาวิตก
#110_สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญา และ #111_ธาตุสูตร ว่าด้วยธาตุ มีเนื้อหาแบบเดียวกันกับข้อ#109_วิตักกสูตรเพียงเปลี่ยนจากวิตกมาเป็นสัญญา (กำหนดหมายรู้) และเป็นธาตุแทน
*ข้อสังเกต - เพราะมีธาตุ จึงมีสัญญา และสังขารปรุงแต่ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ติกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 27 Oct 2023 - 58min - 282 - การเจริญ “มรณสติ” เส้นทางสู่ความไม่ตาย [6642-6t]
#17_โสปปสูตร พระผู้มีพระภาคทรงตรัสกับพวกภิกษุผู้บวชใหม่ โดยทรงชี้ให้เห็นโทษของ “ผู้ที่หาความสุขจากการนอน” โดยได้ยกตัวอย่างบุคคล 6 ประเภทขึ้นมาเปรียบอุปไมยกับภิกษุ แล้วทรงชี้ให้เห็นคุณของ “การสำรวมอินทรีย์ รู้ประมาณในการบริโภค หมั่นประกอบในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น ให้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพียรเจริญโพธิปักขิยธรรม” ซึ่งจะทำให้ถึงความสิ้นอาสวะได้
#18_มัจฉพันธสูตร พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “การเลี้ยงชีพด้วยการฆ่าเพื่อขาย” ของ คนฆ่าปลา ฆ่าโค ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร พรานนก และพรานเนื้อ กระทำด้วยใจที่เป็นบาป (เจตนาทำซ้ำ ๆ) เพราะกรรมนั้นจึงเป็นเหตุให้ไม่มีโภคทรัพย์มาก ยิ่งผู้ที่ฆ่ามนุษย์ด้วยแล้วย่อมมีทุกข์มากตลอดกาล เมื่อตายไปแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ฯ
#19_#20_ปฐม_ทุติยมรณัสสติสูตร (สูตร 1-2) พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “การเจริญมรณสติ” มีอานิสงส์มาก มีอมตะ (นิพพาน) เป็นที่สุด พึงเจริญมรณสติอย่างแรงกล้า เพราะเหตุแห่งความตายมีมาก เช่น ภัยจากสัตว์ร้าย ลื่นหกล้ม อาหารไม่ย่อย ดี-เสมหะ-ลมพิษกำเริบ จึงพึงตั้งสติมั่นในการละอกุศล เจริญแต่กุศลให้มาก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 20 Oct 2023 - 57min - 281 - ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา [6641-6t]
การมาเห็นสังขารทั้งหลาย (ขันธ์ 5) เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วเห็นอย่างไม่จำกัดขอบเขต จะเกิดอานิสงส์อย่างมาก จิตน้อมไปสู่กระแสนิพพาน “อนุโลมิกขันติ” จะหยั่งลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ “สัมมัตตนิยาม” และจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ข้อที่ 102-104ว่าด้วย เรื่องอานิสงส์ 6 ประการ ที่เกิดขึ้นจากเห็น “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ในสังขารทั้งหลาย เป็นการเห็นอย่างไม่มีขอบเขต
#102_อนวัฏฐิตสูตร เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง “อนิจจสัญญา” อานิสงส์ คือ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงแล้ว จิตจะไม่ยินดี จะถอยออก จะน้อมไปในนิพพาน ก็จะละความยึดถือเครื่องร้อยรัด (สังโยชน์) ทำให้เกิดผลยอดเยี่ยม (สามัญญผล)
#103_อุกขิตตาสิกสูตร เห็นโดยความเป็นทุกข์ “ทุกขสัญญา” อานิสงส์ คือ จะเกิดความเบื่อหน่าย “นิพพิทาสัญญา” จิตก็จะถอยออก จะน้อมไปในนิพพาน ก็จะถอนอนุสัยได้ (กิเลส ความเคยชิน) จะทำตามหน้าที่ มีจิตเมตตาบำรุงพระศาสดา (ปฏิบัติบูชา)
#104_อตัมมยสูตร เห็นโดยความเป็นอนัตตา “อนัตตสัญญา” อานิสงส์ คือ จะไม่มีตัณหาและทิฏฐิ (อตัมมยะ) ก็จะดับอหังการ มมังการได้ (ทิฏฐิและตัณหาว่าเป็นเราของเรา) จะมี “อสาธารณญาณ” เข้าใจในเหตุ-ผล ถอนความยึดถือได้
#105_ภวสูตร ควรละ ภพ 3 (คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ) และควรศึกษาใน สิกขา 3 (คือ ศีลอันยิ่ง จิตอันยิ่ง ปัญญาอันยิ่ง)
#106_ตัณหาสูตร ควรละ ตัณหา 3 (คือ ความอยากในกาม รูป อรูป) และมานะ 3 (คือ ถือตัวว่า ดีกว่าเขา เสมอเขา ด้อยกว่าเขา)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อานิสังสวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 13 Oct 2023 - 54min - 280 - อานิสงส์แห่งโสดาปัตติผล - อนุโลมิกขันติ [6640-6t]
“อนุโลมิกขันติ” คือ กระแสแห่งธรรมที่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน ผู้ที่เข้าถึงกระแสนี้แล้ว ย่อมเห็นความกฏไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย เป็นผู้ที่มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า
#96_ปาตุภาวสูตรการปรากฏขึ้นของเหตุ 6 ประการนี้ หาได้ยากในโลก ได้แก่
1. การปรากฏขึ้นของพระพุทธเจ้า
2. บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้
3. ผู้เกิดในถิ่นที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า
4. ความมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง คือ มีความปกติทางกายและจิตใจ (อินทรีย์ 5)
5. ไม่โง่เขลา
6. พอใจในกุศลธรรม
#97_อานิสังสสูตรอานิสงส์ของผู้ที่ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว คือ มีความเที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน / มีความไม่เสื่อม(ไม่อาจทำเหตุให้ไปตกอบาย) / ทำความดับทุกข์ได้ / มีอสาธารณญาณ (ปัญญาญาณ) / เห็นเหตุ / เห็นผลในธรรมที่เกิดขึ้น
ข้อที่ 98-99-100-101 เป็นธรรมที่ประกอบด้วย “อนุโลมิกขันติ” แต่ละข้อจะว่าด้วย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และ นิพพาน โดยในแต่ละหัวข้อ แบ่งออกได้เป็น 3 คู่ ซึ่งเป็นธรรมที่ตรงข้ามกัน
#98_อนิจจสูตรผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง หยั่งลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้องได้ คือ สัมมัตตนิยาม และ จักทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้ และในธรรมตรงข้าม ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นของเที่ยง...ฯ
#99_ทุกขสูตรผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์... ฯ ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นสังขารว่าเป็นสุข...ฯ
#100_อนัตตสูตรผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นว่าธรรมเป็นอนัตตา... ฯ และในธรรมตรงข้าม ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นว่าธรรมเป็นอัตตา...ฯ
#101_นิพพานสูตรผู้ที่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นนิพพานเป็นสุข... ฯ และในธรรมตรงข้าม ผู้ที่ไม่ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ จะเห็นว่านิพพานเป็นทุกข์...ฯ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อานิสังสวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 06 Oct 2023 - 51min - 279 - ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้-โสดาบัน [6639-6t]
อริยบุคคล คือ บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน มี 8 จำพวก แบ่งได้เป็น 4 คู่ ซึ่งในแต่ละคู่นั้น แบ่งออกเป็นขั้นอริยมรรค และขั้นอริยผล
โสดาบันคือ อริยบุคคลพวกแรกที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพาน
ประเภทของโสดาบัน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เอกพีชี, โกลังโกละ, สัตตักขัตตุงปรมะ
คุณสมบัติที่ทำให้เป็นโสดาบันทั้งในขั้นมรรคและขั้นผลนั้น ก็จะประกอบไปด้วย โสตาปัตติยังคะ 4 (ผู้มีศรัทธาหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย และมีศีลบริบูรณ์) และในขั้นผลก็จะละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการแรกได้ (สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) กล่าวโดยย่อ คือ “เป็นผู้มีศรัทธา และมีศีลเต็มบริบูรณ์ มีสมาธิ และปัญญาพอประมาณ”
ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ของโสดาบัน (ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิ เห็นตามความเป็นจริง) ได้แก่
#94_ตติยอภัพพัฏฐานสูตร(สูตรที่ 3) ไม่อาจจะทำอนันตริยกรรม 5 ได้ และไม่อาจนับถือศาสนาอื่น หรือศาสดาอื่นได้ คือ ไม่เอามาเป็นสรณะ (ที่พึ่ง)
#95_จตุตถอภัพพัฏฐานสูตร(สูตรที่ 4) โดย 3 ข้อแรก คือ ไม่อาจจะยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดจากตนเองทำไว้ / ผู้อื่นทำไว้ / ทั้งตนเองและผู้อื่นทำไว้ และ 3 ข้อหลัง คือ ไม่อาจยึดถือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง (เกิดขึ้นเองลอย ๆ) ที่ตนเองไม่ได้ทำไว้ / ผู้อื่นไม่ได้ทำไว้ / ทั้งตนเองและผู้อื่นไม่ได้ทำไว้
โสดาปัตติผล จะละสักกายทิฏฐิได้ คือ จะละความเห็นว่าเป็นตัวตนได้ จะเห็นตามความเป็นจริงว่า “ ความสุข หรือ ความทุกข์นั้น เกิดจากเหตุ คือ ผัสสะ และเพราะมีผัสสะ จึงมีเวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ มิใช่สุข-มิใช่ทุกข์) เมื่อมีเหตุจึงเกิด - หมดเหตุจึงดับ”
*สิ่งที่จะใช้ละสักกายทิฏฐิได้ คือ ปัญญาเห็นตามความเป็นจริง (สัมมาทิฏฐิ)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สีติวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 29 Sep 2023 - 54min - 278 - ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิ-โสดาบัน [6638-6t]
ในอริยบุคคลนั้น จะประกอบด้วยขั้นมรรคและขั้นผล ผู้ที่ได้อริยบุคคลขั้นผลแล้ว ก็ต้องผ่านการทำเหตุมาก่อน คือ ผ่านขั้นมรรคมาก่อน “มรรค”จึงเป็นทางดำเนิน (แนวทางการปฏิบัติ) ให้ไปสู่ความเป็นอริยบุคคลขั้นผลในระดับต่างๆ
ข้อ 89-91 เป็นธรรมที่มีไส้ในทั้ง 6 ประการที่เหมือนกัน แต่มีนัยยะหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องของโสดาบันที่แตกต่างกันออกไป โดยธรรม 6 ประการนี้ คือ
1. สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นอัตตา) คือ เห็นขันธ์ 5 เป็นตัวตน เที่ยงแท้ ยังยืน จีรัง ถาวร *ตรงข้ามกับ “สัมมาทิฏฐิ”
2. วิจิกิจฉา คือ ความลังเล สงสัยในคุณของพระรัตยตรัย เกิดเคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจ ซึ่งจะเกิดถามลักษณะจับผิด หาเรื่องตามมา *ตรงข้ามกับ “มีศรัทธา”
3. สีลัพพตปรามาส คือ ความถือมั่นศีลพรตนอกพระพุทธศาสนา ความเชื่องมงายที่ผิดไปจากคำสอน *ตรงข้ามกับ “มีศีล”
4.-5. ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุไปสู่อบาย คือ เป็นเหตุให้เราทำผิดศีลแล้วไปสู่อบายได้ *กำจัดได้ด้วย ศีล สมาธิและ ปัญญา
*ขัอ 1-3 เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ข้อแรก ถ้าละได้ จะทำให้ถึงซึ่งความเป็นโสดาปัตติผล
ธรรมทั้ง 6 มาในหัวข้อ #89_อัปปหายสูตรบุคคลที่ยังละธรรมเหล่านี้ไม่ได้ ไม่อาจทำให้แจ้งในโสดาบัน / #90_ปหีนสูตรบุคคลผู้ถึงพร้อมแล้ว จะละธรรมเหล่านี้ได้ / #91_อภัพพสูตร ผู้ที่ถึงพร้อมแล้ว มิอาจทำธรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้นได้
#92_ปฐมอภัพพพัฏฐานสูตรผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิแล้ว (โสดาบัน) เป็นไปไม่ได้ที่จะ
1.-3. ไม่มีความเคารพ ยำเกรงใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
4. ไม่มีความเคารพ ยำเกรงในสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
5. ไม่อาจกลับมาสู่เหตุที่ไม่ควรเข้าถึง (ไม่ไปในอบาย 4 / ทำผิดศีล / มิจฉาทิฏฐิ)
6. ไม่มีการเกิดในชาติที่ 8 เกิดขึ้นได้
#93_ทุติยอภัพพัฏฐานสูตรผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิแล้ว (โสดาบัน) เป็นไปไม่ได้ที่จะ
1.-3. ยึดถือสังขารว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา
4. ทำอนันตริยกรรมได้
5. เชื่อมงคลตื่นข่าว – ความเชื่องมงาย (superstition)
6. แสวงหาเขตบุญนอกศาสนา – ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ใช่คำสอน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สีติวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 22 Sep 2023 - 57min - 277 - ระบบความเห็นที่ถูกต้อง-สัมมัตตนิยาม [6637-6t]
“สัมมัตตนิยาม” หมายถึง ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือ ความเป็นโสดาบันขั้นมรรคหรือผล ชึ่งในพระสูตรข้อที่ 86–88 นี้ เป็นธรรมที่มีหัวข้อเหมือนกัน เปรียบเทียบคู่ตรงข้ามของธรรม 6 ประการ ที่เมื่อบุคคลแม้ฟังธรรมอยู่ จะก้าวลงสู่ระบบความเห็นที่ถูกต้อง คือ สัมมัตตนิยามจะได้หรือไม่ได้นั้น มีธรรมอะไรบ้าง
#86_อาวรณตาสูตร
1.เป็นผู้ไม่มีกรรมเป็นเครื่องกั้น - ไม่ได้ทำอนันตริยกรรม 5 (ฆ่ามารดา บิดา พระอรหันต์ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด ทำสงฆ์ให้แตกกัน)
2. เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น - มีสัมมาทิฎฐิ
3. เป็นผู้ไม่มีวิบากเป็นเครื่องกั้น (ผลที่ได้รับจากการกระทำ) – เกิดในภพที่พอจะบรรลุธรรมได้ เช่น โลกมนุษย์ สวรรค์ถึงชั้นพรหม ยกเว้น อรูปพรหม เพราะด้วยเหตุปัจจัยที่เกิดของสภาวะภพนั้น
4. เป็นผู้มีศรัทธา- มีความลงใจ มั่นใจ
5. เป็นผู้มีฉันทะ -เกิดความพอใจทำให้มีการพัฒนา
6. เป็นผู้มีปัญญา - โยนิโสมนสิการ (ใคร่ครวญธรรม)
#87_โวโรปิตสูตรคือ การไม่ทำอนันตริยกรรม 5 และเป็นผู้มีปัญญา
#88_สุสสูสติสูตร
1. ตั้งใจฟังด้วยดี 2. เงี่ยโสตสดับ 3. ตั้งใจใฝ่รู้ (ข้อ 1-3 เปรียบกับช้าง และม้าอาชาไนย) 4. ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ 5. ทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ 6. ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ (การพิจารณาที่เกื้อกูลแก่การบรรลุอริยสัจ 4)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สีติวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 15 Sep 2023 - 57min - 276 - สภาวะดับเย็น-นิพพาน [6636-6t]
#83_ อัคคธัมมสูตร (เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-ทำให้แจ้งหรือไม่แจ้งอรหัตผล) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้อาจทำให้แจ้งอรหัตผล คือ
1. เป็นผู้มีศรัทธา-ศรัทธาในพระรัตนตรัย (ระดับของศรัทธา คือ “อมูลิกาศรัทธา” เชื่อแบบงมงาย ไม่มีมูลเหตุผล, “อาการวตีศรัทธา” ประกอบด้วยปัญญา เข้าใจเหตุผล-เหตุปัจจัย, “อจลศรัทธา” โสดาบัน ไม่หวั่นไหว)
2. เป็นผู้มีหิริ (ละอาย) 3. โอตตัปปะ (เกรงกลัวต่อบาป)
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร-ทำจริงแน่วแน่จริง อกุศลลดลง-กุศลเพิ่มขึ้น
5. เป็นผู้มีปัญญา-3 ระดับ (สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา)
6. เป็นผู้ไม่ห่วงใยกาย และชีวิต-ปล่อยวางตัวตนด้วยปัญญา
#84_รัตติทิวสสูตร (เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-เจริญหรือเสื่อมในกุศลธรรม) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ จะเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เสื่อมเลย คือ 1. เป็นผู้ไม่มักมาก (สันโดษ)-ยินดีตามมีตามได้ ไม่คับแค้นใจ 2. มีศรัทธา 3. มีศีล 4. ปรารภความเพียร 5. มีสติ 6. มีปัญญา
*เมื่อมีเครื่องทดสอบมากระทบแล้ว ยังนิ่งเฉยอยู่ได้ การรักษาและทำให้เจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย จะทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการพัฒนาปัญญาให้คมขึ้นไปสู่การหลุดพ้นได้
#85_สีติภาวสูตร(เป็นธรรมคู่ตรงข้าม-ทำนิพพานให้แจ้งได้หรือไม่ได้) ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ จะทำนิพพานให้แจ้งได้ คือ
1. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม-ให้เข้าสมาธิ
2. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง-ปรารภความเพียร
3. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง-ทำให้สม่ำเสมอ
4. วางจิตในสมัยที่ควรวาง-อุเบกขา
5. น้อมไปในธรรมที่ประณีต-ทำให้ละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป
6. ยินดียิ่งในนิพพาน-ยินดีในธรรมระงับกิเลส
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อรหัตตวรรค สีติวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 08 Sep 2023 - 57min - 275 - เหตุแห่งการพัฒนา-ความไพบูลย์ในธรรม [6635-6t]
ทบทวนข้อ#79_อธิคมสูตรเป็นธรรมคู่ตรงข้าม หลักธรรมข้อนี้เป็นการสร้างนิสัยที่ดี และกำจัดนิสัยที่ไม่ดีในชีวิตประจำวัน
1. เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม)
2. เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม)
3. เป็นผู้ฉลาดในอุบาย (วิธีการ / ทางแก้)
4. สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ (ความพอใจในการทำกุศลธรรม)
5. รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
6. ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ (ทำให้ติดต่อต่อเนื่องกันไป)
#80_มหัตตสูตรผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ ไม่นานนัก ย่อมบรรลุความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย (เกิดความก้าวหน้าและละเอียดยิ่งขึ้นไป) ได้แก่
1. เป็นผู้มากด้วยแสงสว่าง (ญาณ / ความรู้) – ทำในสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้เกิดความชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
2. เป็นผู้มากด้วยความเพียร (วิริยะ / ความกล้า) – ปรับเพิ่มความเพียร
3. เป็นผู้มากด้วยความปลาบปลื้ม (ปีติและปราโมทย์) - ทำให้เกิดกำลังใจในการทำความเพียร
4. เป็นผู้มากด้วยความไม่สันโดษ (ทำความเพียรยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย) – ขวนขวายมากไม่อิ่มไม่พอในกุศลธรรม
5. เป็นผู้ไม่ทอดธุระ (รับเป็นภาระให้)
6. ทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย (ทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป)
#81_ปฐมนิรยสูตรและ#82_ทุติยนิรยสูตรเป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีหัวข้อแหมือนกันแต่มีไส้ในที่แตกต่างกัน ว่าด้วยผู้ที่ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ย่อมไปสู่นรกหรือสวรรค์ ได้แก่ เป็นผู้ทุศีล (ผิดศีล 5 ข้อ 1-4), มีความปรารถนาชั่ว (อกุศลธรรม), เป็นมิจฉาทิฏฐิ, พูดเท็จ, พูดส่อเสียด (ยุยง), พูดคำหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ, มักโลภ, มีความคะนอง (ประมาท)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อรหัตตวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 01 Sep 2023 - 57min - 274 - ธรรมที่เป็นเหตุให้มีสุขโสมนัส [6634-6t]
#78_สุขโสมนัสสสูตรผู้ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ จะเป็นเหตุให้มีสุขโสมนัส (เนกขัมมะสุข คือ สุขที่เกิดจากการออกจากกาม) และถึงความสิ้นอาสวะ ได้แก่
1. เป็นผู้ยินดีในธรรม
2. เป็นผู้ยินดีในภาวนา(ทำให้เจริญ / พัฒนา)
3. เป็นผู้ยินดีในการละ(ละสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย)
4. เป็นผู้ยินดีในปวิเวก(สงัดจากเสียงและการคลุกคลีด้วยหมู่)
5. เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท(คิดปองร้ายเพ่งไปที่ภายนอก) เริ่มจากความไม่เพลินไปในปฏิฆะ (ความขัดเคือง) -> โกรธ (คิดอยู่ภายใน) -> พยาบาท (เพ่งไปที่ภายนอก)
6. เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า (นิพพาน) พัฒนากุศลธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น
#79_อธิคมสูตรเป็นธรรมคู่เปรียบเทียบ คือ ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ (ธรรมที่เป็นเหตุปรารภความเพียร) จะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุหรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้หรือไม่ได้
1. เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม)
2. เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม)
3. เป็นผู้ฉลาดในอุบาย (วิธีการ / ทางแก้)
4. สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ (ความพอใจในการทำกุศลธรรม)
5. รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว
6. ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ (ทำติดต่อต่อเนื่อง)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อรหัตตวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 25 Aug 2023 - 58min - 273 - ธรรมของผู้ที่จะบรรลุอรหัตผล [6633-6t]
#75_ทุกขสูตร ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เร่าร้อน หลังจากตายแล้ว พึงหวังได้ทุคติ คือ คิดตริตรึกหมายรู้ไปในกาม พยาบาท และเบียดเบียน (วิหิงสา)
และธรรมคู่ต่างกันที่เมื่อประกอบแล้วย่อมอยู่เป็นสุข คือ คิดตริตรึกหมายรู้ออกจากกาม พยาบาท และเบียดเบียน
*วิหิงสา นอกจะมีความหมายว่าเบียดเบียนแล้ว อาจจะมีความหมายได้อีกว่า เป็นการกระทำที่ไร้ผล เปล่าประโยชน์
#76_อรหัตตสูตร ผู้ที่ละธรรม 6 ประการนี้ได้ หรือ ไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้ง หรือมิอาจแจ้งซึ่งอรหัตผลได้ คือ
- มานะ (ความถือตัวว่ามีตัวตน “อัตตา”)โอมานะ (สำคัญว่าด้อยกว่าเขา หรือ แกล้งลดตัว)อติมานะ (ยกตัวขึ้นมาดูหมิ่นเขา)อธิมานะ (ความเข้าใจผิด ถือตัวจัด “มานะ 9”)ถัมภะ (ความหัวดื้อ)อตินิปาตะ (สำคัญตนว่าเลว)
พระอรหันต์กำจัดแล้วซึ่งกิเลสและอวิชชา และเพราะรู้แล้วเพราะเห็นแล้ว จึงไม่สำคัญความเป็นตัวตนขึ้นมา
#77_อุตตริมนุสสธัมมสูตร ผู้ที่ละธรรม 6 ประการนี้ได้ หรือ ไม่ได้ อาจทำให้แจ้ง หรือ มิอาจแจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ได้แก่ ความหลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค การหลอกลวง การพูดป้อยอ หรือจะสรุปกล่าวได้ว่าคือ ความมั่นคง แน่วแน่ ไม่หวั่นไหวในไตรสิกขานั่นเอง (ศีล สมาธิ ปัญญา)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อรหัตตวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 18 Aug 2023 - 56min - 272 - การบรรลุปฐมฌาน [6632-6t]
อุปสรรคที่จะมาเป็นเครื่องกั้นเครื่องขวางทำให้เราเข้าฌานสมาธิไม่ค่อยได้ นอกจากข้อใดข้อหนึ่งในนิวรณ์ 5 แล้ว ยังมีเหตุอะไรอีกบ้าง ที่เป็นเหตุทำให้ได้บรรลุหรือมิอาจบรรลุปฐมฌานได้
ปฐม-ทุติยตัชฌานสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ที่เมื่อละธรรม 6 ประการนี้ได้ หรือยังละไม่ได้ จะเป็นเหตุให้บรรลุ หรือมิอาจบรรลุปฐมฌาน
#73_ปฐมตัชฌานสูตร
1. กามฉันทะ คือ ความพอใจ กำหนัด ยินดีในวัตถุกามที่ทำให้เกิดกามสัญญา และกามวิตกตามมา
2. พยาบาทคือ ความคิดร้าย เริ่มจากความขัดเคืองเล็กน้อยกลายเป็น -> ความโกรธ (ร้อนลุ่มอยู่ภายใน) แรงขึ้นเป็น -> โทสะ (เพ่งไปที่บุคคลข้างนอก) -> พยาบาท -> ผูกเวร
3. ถีนมิทธะ คือ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ คิดมาในทางกาม
5. วิจิกิจฉา คือ ความไม่ลงใจ
6. ไม่เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง
#74_ทุติยตัชฌานสูตรคือ
กามวิตก - กามสัญญา(คิดตริตรึกหมายรู้มาในทางกาม)
พยาบาทวิตก - พยาบาทสัญญา(คิดตริตรึกหมายรู้มาในพยาบาท)
วิหิงสาวิตก - วิหิงสาสัญญา(คิดตริตรึกหมายรู้มาในทางเบียดเบียน)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 11 Aug 2023 - 50min - 271 - ธรรมเพื่อความไม่เสื่อม [6631-6t]
#69_เทวตาสูตรพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย ทรงปรารภถึงเทวดาตนหนึ่งที่เข้ามากราบทูลเรื่องธรรม 6 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม คือ ความเป็นผู้เคารพในพระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, สิกขา, เป็นผู้ว่าง่าย, ความเป็นผู้มีมิตรดี เมื่อท่านพระสารีบุตรได้ฟังจบแล้วก็ได้ทำความละเอียดในธรรมอีก 4 อย่างแต่ละหัวข้อ คือ ตัวเองเป็นเอง / สรรเสริญคนที่เป็น / ชักชวนผู้อื่นให้มาเป็น / ประกาศคุณของผู้ที่ทำได้ขึ้นมา
#70_ สมาธิสูตร ว่าด้วยสมาธิที่มีความสงบ ปราณีต ระงับ เป็นหนึ่ง เป็นผลให้ได้วิชชา 6 คือ มีฤทธิ์, หูทิพย์, รู้ใจผู้อื่น, ระลึกชาติได้, ตาทิพย์, ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป
#71_สักขิภัพพสูตรเหตุที่จะทำให้เกิดปัญญา คือ เห็นธรรมฝ่ายเสื่อม (นิวรณ์), ธรรมฝ่ายคงที่ (มิจฉาสติ), ธรรมฝ่ายคุณวิเศษ (สมาธิที่คล่องแคล่ว), ธรรมฝ่ายชำแรกกิเลส (วิปัสสนาญาณ), เอื้อเฟื้อเอาใจใส่, ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ (สบายแก่มาธิ)
#72_พลสูตร ความมีกำลังในสมาธิ 6 ประการ คือ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ (อดทนต่อผัสสะ), ผู้ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ (สมาธิตั้งอยู่ได้นาน), ฉลาดในการออกจากสมาธิ (เลื่อนสมาธิสู่ขั้นที่สูงขึ้น), ทำสมาธิโดยเอื้อเฟื้อ (สมถะ วิปัสสนา อุเบกขา), ทำโดยติดต่อ (ทุกอิริยาบถ), ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 04 Aug 2023 - 56min - 270 - ตถาคตพละ-อนาคามี-อรหันต์ [6630-6t]
#64_สีหนาทสูตร กำลังของตถาคต 6 ประการ เป็นเหตุให้บรรลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท คือ
1. รู้ชัดฐานะ (สิ่งที่มีได้ เป็นได้) และอฐานะ (เป็นไปไม่ได้ มีขึ้นไม่ได้) ในโลกนี้ตามความเป็นจริง
2. รู้เรื่องกรรมและผลของกรรม
3. สามารถเข้า-ออกฌานวิโมกข์ สมาธิ สมาบัติได้อย่างคล่องแคล่ว
4. ระลึกชาติได้หลายชาติ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
5. เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ)
6. ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ (อาสวักขยญาณ)
และมีความรู้แจ้งในเรื่องทั้งหมดอย่างแท้จริง เมื่อถูกถามก็ตอบได้หมดและที่ทำแบบนี้ได้ก็เพราะจิตเป็นสมาธิ
#65_อนาคามิผลสูตร เมื่อละธรรมเหล่านี้ได้แล้ว จะเป็นเหตุทำให้บรรลุอนาคามิผล คือ ความไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม
#66_อรหัตตสูตร เมื่อละธรรมเหล่านี้ได้แล้ว จะเป็นเหตุทำให้บรรลุอรหัตผล คือ ความหดหู่ เซื่องซึม ฟุ้งซ่าน ร้อนใจ ไม่มีศรัทธา ความประมาท
#67_มิตตสูตร เมื่อมีมิตรดี เสพคบเพื่อนดี ประพฤติตามเพื่อนดี จะบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรม (มารยาทความประพฤติอันดี) เสขะธรรม และศีล ให้บริบูรณ์ได้ เมื่อบริบูรณ์แล้วจะละกามราคะ รูปราคะ และอรูปราคะได้
#68_สังคณิการามสูตร เมื่อไม่คลุกคลีด้วยหมู่แล้ว กายจะสงัดเป็นสมาธิ เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ จะละสังโยชน์ทำนิพพานให้แจ้งได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 28 Jul 2023 - 56min - 269 - ธรรมที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส [6629-6t]
พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน – ปาฬิภาสาที่จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิพระไตรปิฎกสากลได้ทำการตรวจทานเทียบเคียงกับพระไตรปิฎกถึง 13 ฉบับด้วยกัน มีการแบ่งพยางค์และการใช้โน้ตเสียงเข้ามาเพื่อการออกเสียงที่ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดชุดแรกของโลก
............
#63_นิพเพธิกสูตรว่าด้วยธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายโดยให้ทำความรอบรู้-รู้แจ้งในธรรม 6 ประการ ได้แก่ กาม / เวทนา / สัญญา / อาสวะ / กรรม / ทุกข์ และในแต่ละประการก็มีรายละเอียดอีก 6 อย่าง ได้แก่ ลักษณะ / เหตุเกิด / ความต่างกัน / วิบาก / ความดับ / ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ คือ มรรค 8
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 21 Jul 2023 - 53min - 268 - ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล [6628-6t]
สิ่งดี ๆ ที่บุคคลนั้น มีอยู่ เป็นอยู่ หรือที่เราเห็นอยู่ว่าดี เขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นไม่ดีหรืออาจจะดีกว่าเดิมยิ่ง ๆ ขึ้นไปก็ได้ และสิ่งไม่ดีที่บุคคลนั้น มีอยู่ เป็นอยู่ ก็อาจจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็นดีได้เช่นกัน จึงไม่อาจดูรู้ได้เพียงผิวเผินว่า “ข้างในจิตใจ เขาเป็นอย่างไร” นอกเสียจากเรามีญาณเครื่องรู้เห็นในจิตใจของเขาว่า จิตใจของเขามันจะเจริญขึ้น หรือเสื่อมลงจากสิ่งทึ่เราเห็นอยู่ภายนอก
#62_ปุริสินทริยญาณสูตรพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ท่านพระอานนท์ ทรงปรารภเรื่องการพยากรณ์พระเทวทัตว่า จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ โดยทรงได้แสดงญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล 6 ประการ โดย 3 ประการแรก อุปมากับเมล็ดพันธุ์ไม้ และ 3 ประการหลัง อุปมากับถ่านไฟ ซึ่งจะพอสรุปได้ว่า บุคคลจะถึงความเจริญ หรือ ความเสื่อมได้ ต่างอาศัยสิ่งอื่นเป็นปัจจัยและอินทรีย์ คือ กำลังทางจิต ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ว่ามีกำลังแก่กล้าหรืออ่อน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีการเปลี่ยนแปลงได้พัฒนาได้ และไม่ควรประมาทในคุณธรรมที่ทีอยู่แล้วให้เจริญพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 14 Jul 2023 - 56min - 267 - ดับผัสสะ-ดับตัณหา [6627-6t]
#60_หัตถิสารีปุตตสูตร ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรได้พูดสอดขึ้นในระหว่างการสนทนาธรรม จนเป็นเหตุให้ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวถึงผู้ที่มีคุณสมบัติ 6 ประการแต่หากยังคลุกคลีด้วยหมู่จะเป็นเหตุให้เสื่อมจากธรรมนั้น
#61_มัชเฌสูตร หมู่ภิกษุผู้เป็นเถระได้นั่งประชุมสนทนาธรรมเรื่อง “ติสสเมตเตยยปัญหานิทเทส” โดยแต่ละท่านก็ได้แสดงตามความคิดของตนได้ 6 นัยยะ ได้พากันไปเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงตรัสตอบว่า “ผัสสะเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ความดับผัสสะอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด” กล่าวคือ ความดับผัสสะ ก็คือ การดับตัณหาเข้าสู่นิพพานในปัจจุบันนั่นเอง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 07 Jul 2023 - 55min - 266 - อาสวะที่พึงละได้ [6626-6t]
#58_อาสวสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม 6 ประการ คือ อาสวะที่พึงละได้ด้วยการสังวร (การสำรวมอินทรีย์) ด้วยการใช้สอย (พิจารณาปัจจัย 4) ด้วยความอดกลั้น (อดทนด้วยความเข้าใจ) ด้วยการเว้น (หลีกเลี่ยงที่ “อโคจร”) การบรรเทา (ละอกุศลธรรม) และการเจริญ(ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ 7)
#59_ทารุกัมมิกสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมแก่ทารุกัมมิกะคหบดี ทรงปรารภเรื่องการทำทานในเนื้อนาบุญ ยากที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามจะพึงรู้ได้ โดยยกถึง ภิกษุ 6 จำพวก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภิกษุพึงถูกติเตียน และภิกษุพึงได้รับการสรรเสริญ พระผู้มีพระภาคทรงได้แนะนำให้ทำทานในหมู่ภิกษุ (สังฆทาน)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 30 Jun 2023 - 57min - 265 - พระไตรปิฎกเสียงสากล-ชาติกำเนิด [6625-6t]
พระไตรปิฏกสากล ฉบับสัชฌายะถือเป็นพระไตรปิฎก(เสียง)สากลฉบับแรกของโลก โดยมีต้นฉบับจากพระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 โดยตระหนักถึงการออกเสียงปาฬิอย่างถูกต้องก็เพื่อจะรักษาคำสอนเอาไว้ให้สมบูรณ์ที่สุด ซี่งมี 2 ชุด ได้แก่
ชุด ภ.ป.ร.(ต้นฉบับปาฬิภาสา) พ.ศ. 2559 พิมพ์ด้วยอักขระเสียงปาฬิ ซึ่งเป็นนวัตกรรมสัททะอักขะระ-ปาฬิเป็นการเขียนเสียงที่ละเอียดแม่นตรง
ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ) พ.ศ. 2560 พิมพ์ด้วยโน้ตเสียงปาฬิ ซึ่งเป็นชุดสัททสัญลักษณ์ที่เป็นสากลที่สามารถกำหนดจังหวะการแบ่งพยางค์ และระดับเสียงที่ไม่มีวรรณยุกต์สูงต่ำได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และนวัตกรรมการบันทึกเสียงปาฬิรูปแบบนี้ว่า “เสียงสัชฌายะดิจิทัล”
............
#57_ฉฬภิชาติสูตรพระผู้มีพระภาคทรงปรารภคำถามของท่านพระอานนท์เรื่องการบัญญัติชาติกำเนิด 6 ประเภทของปูรณะ กัสสปะ โดยทรงได้บัญญัติทับลงไปถึงบุคคลที่เกิดมาในตระกูลต่ำและในตระกูลสูง ที่มีความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ทุจริต จะมีที่ไปคือนรก และถ้าประพฤติสุจริตจะมีที่ไปคือสวรรค์ และบุคคลที่ได้ออกบวช ละนิวรณ์ 5ได้ มีจิตตั้งมั่นดีในสติปัฏฐาน 4 เจริญโพชฌงค์ 7 ตามความเป็นจริงแล้วได้บรรลุนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 23 Jun 2023 - 55min - 264 - อานิสงส์การฟังธรรม [6624-6t]
พระไตรปิฏกสากล พ.ศ. 2548 “ปาฬิภาสา อักษรโรมัน” (ฉบับมหาสังคีติ) เป็นพระไตรปิฏกฉบับที่จัดทำขึ้นให้มีเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด โดยนำเอาต้นฉบับมาจากการสังคายนาพระไตรปิฎกนานาชาติ พ.ศ. 2500 (ฉบับฉัฏฐสังคีติ) ในประเทศพม่า ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงเป็นหนึ่งในผู้แทนคณะสงฆ์ไทยที่ได้ร่วมทำการสังคายนาในครั้งนั้นด้วย มาขยายผลตรวจทานแก้ไขจุดบกพร่อง โดยมีการคิดค้นระบบอ้างอิง เพื่อที่จะอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มาได้ถูกต้อง
และการที่เราถอดอักษร (Transliteration) จากอักษรพม่ามาเป็นอักษรโรมัน ก็เพื่อความเป็นสากล (นานาชาติ) ที่สามารถใช้แปลกันได้ทั่วโลก แต่เพราะการออกเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น จึงทำให้ต้องมีระบบการถอดเสียง (Transcription) หรือที่เรียกว่า “สัททะอักขระ” ซึ่งเป็นการเขียนเสียงด้วยอักษรเสียง มาพิมพ์เป็นดัชนีเก็บไว้ข้างหลังพระไตรปิฏกอักษรโรมัน เพื่อให้มีการออกเสียงให้ชัดเจนถูกต้อง
#56_ผัคคุณสูตรว่าด้วยพระผัคคุณะผู้อาพาธ มีเวทนาอย่างแรงกล้า แต่เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็มีอาการสงบ และได้ดับขันธ์ลงด้วยมีอินทรีย์ผ่องใส เพราะอานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงธรรม 6 ประการที่เป็นเหตุปัจจัยแห่งการบรรลุธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 16 Jun 2023 - 54min - 263 - ความสมดุลแห่งอินทรีย์สู่การบรรลุธรรม [6623-6t]
พระไตรปิฎก เดิมเรียกว่า “พระธรรมวินัย” (คือ พระธรรม กับพระวินัย) และสาเหตุของการสังคายนาพระไตรปิฎกเนื่องจากมีอธิกรณ์เกิดมากขึ้น จึงจัดให้มีการประชุมของพระสงฆ์เพื่อทำการจัดระเบียบหมวดหมู่หลักคำสอน
ประวัติการทำสังคายนาพระไตรปิฎกเกิดขึ้นหลายครั้ง นับตั้งแต่พุทธปรินิพพานจนถึงปัจจุบัน การนับจำนวนก็ยังไม่มีข้อยุติ
การทำสังคายนาในประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. 433 ได้มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานแทนการท่องจำหรือ “มุขปาฐะ”
ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2020 ที่วัดโพธาราม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระเจ้าติโลกราชเป็นองค์ราชูปถัมภ์ การสังคายนาครั้งนี้ได้จารึกพระไตรปิฎกโดยใช้อักษรไทยล้านนา
............
#55_โสณสูตร ท่านพระโสณะปรารภความเพียรหนักเกินไปโดยเดินจงกรมจนฝ่าเท้าแตก จึงมีจิตฟุ้งซ่านท้อแท้จะบอกลาคืนสิกขา พระผู้มีพระภาคทรงทราบและได้ตรัสสอนท่านพระโสณะให้ตั้งความเพียรแต่พอดี ให้ปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน หลังจากนั้นไม่นานท่านพระโสณะก็บรรลุอรหันต์ แล้วได้พยากรณ์อรหัตตผลในฐานะ 6 ประการ คือ น้อมไปในเนกขัมมะ / ปวิเวก / ความไม่เบียดเบียน / สิ้นตัณหา / สิ้นอุปาทาน / ไม่ลุ่มหลง เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ และโมหะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 09 Jun 2023 - 58min - 262 - การบริภาษเพื่อนพรหมจารี [6622-6t]
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ และปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แทน
............
การทำสังคายนาครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ
การทำสังคายนาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสกากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการ
............
#54_ธัมมิกสูตร พระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “สมณธรรม” ได้ตรัสกับท่านพระธัมมิกะ โดยยกครู 6 ท่านกับเหล่าสาวกที่มีจิตเลื่อมใสและใม่เลื่อมใส จะมีภพที่ไปในเบื้องหน้าแตกต่างกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 02 Jun 2023 - 57min - 261 - ความไม่ประมาท [6621-6t]
จุดเริ่มของการสังคายนาพระไตรปิฎก :
“สังคายนา” หรือ “สังคีติ” คือ การจัดระเบียบหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การจดจำ (ใช้ระบบท่องจำ)
"สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน มีมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่แล้ว โดยท่านพระสารีบุตรมีการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบตามหลักฐานที่ปรากฏในปาสาทิกสูตรและสังคีติสูตร
ความแตกต่างของเถรวาท และ อาจริยวาท :
เถรวาท คือ คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก
อาจริยวาท คือ ถือตามคำสอนของอาจารย์ของตน (นิกายมหายาน)
............
#53_อัปปมาทสูตร พราหมณ์คนหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้งสอง (ในภพนี้ และ ภพหน้า) มีอยู่หรือไม่? โดยพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบธรรมข้อนั้นคือ “ความไม่ประมาท” และได้ยกอุปมา-อุปไมยใน 6 อย่าง
#54_ ธัมมิกสูตร ว่าด้วยท่านพระธัมมิกะเป็นเจ้าอาวาสชอบด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุ อาคันตุกะด้วยวาจา ซึ่งเป็นเหตุให้พวกอุบาสกและอุบาสิกาขอท่านพระธัมมิกะหลีกไปจากอาวาสถึง 7 แห่ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 26 May 2023 - 55min - 260 - ผู้ฉลาดในภาษา รู้เขา และรู้เรา [6620-6t]
สมเด็จฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎก จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ซึ่งโครงการพระไตรปิฎกสากลได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน
6 พฤศภาคม พ.ศ. 2566 นีั รัฐบาลไทยจะเริ่มเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี วันประสูติ และในต่างประเทศ องค์กร UNESCO ณ กรุงปารีส จะประกาศยกย่อง ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก 2023
............
#51_อานันทสูตรท่านพระอานนท์ได้เรียนถามท่านพระสารีบุตรถึงความไม่เลอะเลือนแห่งธรรมมีด้วยเหตุเท่าไร? ท่านพระสารีบุตรยกให้ท่านพระอานนท์ซึ่งเป็นพหูสูต เป็นผู้แสดงธรรมในข้อนี้แทน ซึ่งได้แก่ การเรียนธรรม แสดงธรรม บอกธรรม สาธยายธรรม ตรึกตรองตาม อยู่ในอาวาสที่มีภิกษุเถระผู้เป็นพหูสูต
#52_ขัตติยสูตรได้กล่าวถึง ความประสงค์ ความต้องการในบุคคลแต่ละประเภทได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สตรี โจร สมณะ ว่ามีความประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 19 May 2023 - 52min - 259 - การพยากรณ์ที่ไม่น้อมเข้าสู่ตน [6619-6t]
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ พ.ศ. 2559 เป็นนวัตกรรมการพิมพ์ด้วย อักษรเสียงอ่าน ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ทางเสียง หรือ "สัททสัญลักษณ์" (Phonetic Symbol) โดยคำว่า สัชฌายะ หมายถึง การท่องจำออกเสียงพระไตรปิฎกให้ขึ้นใจ โดยสร้างขึ้นต่อเนื่องจากการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน พ.ศ. 2548
พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ แบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่ 1. ชุด ภ.ป.ร. (ต้นฉบับปาฬิภาสา) 2. ชุด ส.ก. (โน้ตเสียงปาฬิ)
…………..
#49_เขมสูตรท่านพระเขมะ และท่านพระสุมนะ ได้เข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคกล่าวการพยากรณ์อรหัตผลโดยมีลักษณะที่กล่าวแต่ธรรมโดยไม่น้อมเข้ามาหาตน
#50_อินทริยสังวรสูตรอุปมาอุปมัยในธรรม 6 ประการ โดยเริ่มจากต่ำ-สูง คือ อินทรียสังวร -> ศีล -> สัมมาสมาธิ -> ยถาภูตญาณทัสสนะ -> นิพพิทา -> วิราคะ -> วิมุตติญาณทัสสนะ อุปมัยลงในต้นไม้ที่มีกิ่ง และใบวิบัติแล้ว สะเก็ด เปลือก กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 12 May 2023 - 54min - 258 - ธรรมที่พึงเห็นชัดด้วยตนเอง [6618-6t]
ความเป็นมาของพระไตรปิฎกสากล
ปี พ.ศ. 2436 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดให้เปลี่ยนจากการบันทึก ปาฬิภาสา-อักษรขอมที่จารด้วยมือบนใบลาน เป็นการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยของยุคนั้น ตีพิมพ์ชุดหนังสือพระไตรปิฏกปาฬิ-อักขะระสยามชุดแรกของโลก (ฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม) และในปี พ.ศ. 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การเผยแผ่พระไตรปิฎกสากล (อักษรโรมัน) ตามรอยประวัติศาสตร์พระไตรปิฎฉบับ จ.ป.ร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436
#46_มหาจุนทสูตรได้กล่าวถึงภิกษุ 2 ประเภท คือ ฝ่ายสมถะ หรือ ฝ่ายวิปัสสนา ไม่ควรว่ากล่าวรุกรานกัน แต่ควรจะกล่าวสรรเสริญกัน
#47_ปฐมสันทิฏฐิกสูตรโมฬิยสีวกปริพาชกได้ถามพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติพึงเห็นชัดด้วยตนเองมีด้วยเหตุอย่างไร? พระผู้มีพระภาคได้ตอบคำถามแบบถามกลับว่า “เห็นธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปหรือไม่”
#48_ทุติยสันทิฏฐิกสูตรมีนัยยะเหมือนกันกับข้อ 47 และเพิ่มเหตุแห่งการประทุษร้ายทางกาย วาจา ใจ เข้ามา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 05 May 2023 - 55min - 257 - ความเป็นหนี้ [6617-6t]
ปาฬิ คือ เสียงใช้ถ่ายทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันบันทึกเสียงเป็นลายลักษณ์อักษรในพระไตรปิฏกพระพุทธศาสนาเถรวาท (พระไตรปิฎกสากล) โดยอ้างอิงกฎไวยากรณ์กัจจายะนะ-ปาฬิ
..............
#45_อิณสูตร ว่าด้วยความเป็นหนี้ เป็นธรรมที่ยกอุปมาคนจนเข็ญใจ ยากไร้ ย่อมกู้หนี้ เมื่อกู้หนี้แล้ว ย่อมใช้ดอกเบี้ย ถูกทวง ถูกติดตาม ถูกจับคุม ซึ่งเป็นความทุกข์ของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน อุปไมยลงในบุคคลที่ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ในอริยวินัยนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 28 Apr 2023 - 55min - 256 - ความเป็นมาของพระไตรปิฎกสากล และมิคสาลาอุบาสิกา [6616-6t]
รายการธรรมะรับอรุณ โดยมูลนิธิปัญญาภาวนาได้จัดขึ้นมาเพื่อให้ผู้ฟังได้สะดวก และง่ายต่อการเข้าถึงสื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ ของมูลนิธิ จึงได้วางรูปแบบ และระบบไว้เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน และให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
พระไตรปิฎกสากลภาษาที่ใช้ในการสืบทอดคำสอน (บอก) เป็นภาษา “ปาฬิ” เท่านั้น ส่วนคำอธิบายใช้ภาษาอื่นในปัจจุบันได้ เพื่อป้องกันเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอน
#44_มิคสาลาสูตรมิคสาลาอุบาสิกาได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้วได้เรียนถามธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า “คน 2 คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ อีกคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้มีคติเสมอเหมือนกันในสัมปรายภพ” จะพึงรู้ได้อย่างไร? พระอานนท์ได้นำความนี้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค แล้วพระองค์ได้ตอบถึงญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้อินทรีย์แก่กล้าของบุคคลในพระองค์ และได้ยกธรรม 6 ข้อ ที่เป็นคู่เหมือนและคู่ต่างที่ทำให้บุคคลหลังจากตายแล้วไปในที่ต่างกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ธัมมิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 21 Apr 2023 - 53min - 255 - อุบาสิกาผู้อุปัฏฐาก และผู้เพ่งด้วยฌาน [6615-6t]
นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน
ด้วยเหตุที่นางอุตตราเป็นโสดาบัน เมื่อถึงวันเข้าพรรษานางจึงขออนุญาตสามีรักษาอุโบสถศีล แต่สามีไม่อนุญาต บิดาของนางจึงส่งเงินมาให้นางจ้าง นางสิริมา หญิงโสเภณีให้มาทําหน้าที่บำรุงบำเรอสามีแทน ส่วนตนและหญิงบริวารก็จัดหาอาหารเพื่อถวายพระพุทธเจ้า และพระสาวก ฝ่ายนางสิริมาเมื่อเห็นสามียืนมองดูนางอุตตราจัดแจงอาหารอยู่พร้อมรอยยิ้ม จึงเกิดความไม่พอใจ ได้ตักน้ำมันร้อนๆ เทราดไปบนศีรษะของนางอุตตรา แต่ด้วยนางอุตตราได้เข้าฌานเจริญเมตตาจิตเป็นอารมณ์ น้ำมันร้อนๆ นั้น ไม่อาจทำอันตรายใดๆ ได้เลย นางสิริมาเห็นเช่นก็ตกใจ กลับได้สติ จึงวิงวอนขอให้นางอุตตรยกโทษให้ ต่อมานางสิริมาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต
พระนางได้ตั้งครรภ์ถึง 7 ปี 7 วัน จึงประสูติพระสีวลี และในขณะคลอดได้เกิดทุกขเวทนาเป็นอันมาก แต่พระนางอดกลั้นได้ด้วยการตรึกในพระรัตนตรัย
นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้
นางได้พบภิกษุไข้รูปหนึ่งทราบว่าท่านควรได้อาหารที่มีรส (เนื้อ) จึงจะจัดมาถวาย แต่ไม่สามารถหาซื้อปวัตตมังสะ (เนื้อที่ขายกันในตลาด) ได้เลย นางจึงสละเนื้อขาของตนปรุงเป็นอาหารถวายแทน ทำให้เป็นเหตุแห่งต้นบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 14 Apr 2023 - 52min - 254 - อุบาสิกาแสดงธรรม และผู้อยู่ด้วยเมตตา [6614-6t]
นางขุชชุตตราเป็นหญิงรับใช้คนหลังค่อมของพระนางสามาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน เป็นเอตทัคคะผู้เป็นเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งปวงในด้านการแสดงธรรม นางได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแล้วบรรลุโสดาปัตติผล พระนางสามาวดีจึงให้นางเป็นผู้สอนธรรมที่ได้ฟังมานั้นแสดงแก่ตนและหญิงบริวาร 500 คน นางขุชชุตตราเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นพหูสูต จึงมีหน้าที่ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วมาแสดงธรรมต่อ
พระนางสามาวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน ด้วยความที่เป็นผู้มีความเสื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก จึงถูกพระนางมาคันทิยา อัครมเหสีอีกคนของพระเจ้าอุเทน ผู้ซึ่งผูกอาฆาตต่อพระพุทธเจ้า กลั่นแกล้งสาระพัด แต่พระนางก็รอดพ้นมาได้ด้วยอานุภาพแห่งเมตตา สุดท้ายพระนางก็ต้องชดใช้กรรมเก่าที่เคยได้ทำมา ถูกเผาทั้งเป็นพร้อมด้วยหญิงบริวาร
ถึงกระนั้น พระนางก็มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหว ให้โอวาทแก่หญิงบริวาร ให้เจริญเมตตาไปยังบุคคลทั่วๆ ไป แม้ในพระนางคันทิยา ก่อนที่จะถูกไฟเผาถึงแก่กรรม ทำให้บางคนก็บรรลุอนาคามิผล บางคนก็ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 07 Apr 2023 - 54min - 253 - จิตตคฤหบดี ผู้เลิศในฝ่ายธรรมกถึก [6613-6t]
จิตตคฤหบดีเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ เมื่อวันที่ท่านเกิดมีดอกไม้หลากสีตกลงทั่วเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม จึงได้ชื่อว่า จิตตกุมาร
จิตตคฤหบดี ได้มีโอกาสพบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวนชื่อ “อัมพาฏการาม” นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ จนได้บรรลุอนาคามิผล ด้วยความที่เป็นผู้เอาใจใส่พิจารณาธรรมอยู่เนืองๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 31 Mar 2023 - 54min - 252 - อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้เลิศในฝ่ายทายก [6612-6t]
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อได้ยินชื่อของพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกจากเศรษฐีน้องเขย ก็รีบไปเข้าเฝ้าฯ เพื่อฟังธรรม แล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ได้ถวายมหาทานแล้วกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าไปกรุงสาวัตถี ระหว่างการเดินทางกลับนั้นก็สละทรัพย์จำนวนมากพร้อมทั้งชักชวนชาวบ้านสร้างวิหารระหว่างทางทุกหนึ่งโยชน์ ได้ซื้อที่ดินจากเจ้าเชตกุมารราคาเท่าทรัพย์ที่ปูลงในแผ่นดินนั้นสร้างเป็นวัดพระเชตวันถวายพระสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่วัดนี้ถึง 19 พรรษา
เมื่อจะไปสำนักของพระพุทธเจ้าก็ไม่เคยไปมือเปล่า จะมีอาหารของขบฉันตามกาลไปด้วยเสมอ ระหว่างที่เข้าเฝ้าก็ไม่เคยถามปัญหากับพระพุทธเจ้าด้วยเกรงพระองค์จะเหน็ดเหนื่อย ท่านมีจิตคิดให้ทาน ทำแต่บุญไว้ตลอด
เมื่อครั้งที่เศรษฐีป่วยหนัก พระสารีบุตรและพระอานนท์ได้ไปเยี่ยม แสดงธรรม เกิดปิติเป็นอันมาก หลังการตายได้ไปเกิดบนสวรรค์เป็นเทพบุตรที่มีรัศมีกายอันงดงาม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 24 Mar 2023 - 54min - 251 - พระปฏาจาราเถรี ผู้ทรงพระวินัย [6611-6t]
นางปฏาจารา เป็นธิดาของเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี ได้หนีตามชายรับใช้ออกจากเรือนไป เรื่องเกิดขึ้นเมื่อนางก็ตั้งครรภ์บุตรคนที่ 2 ในเวลาใกล้คลอดจึงหนีสามีกลับบ้าน แต่ในระหว่างทางนั้นเองนางได้สูญเสียสามี และบุตรทั้งสองคนไป พอยั้งสติได้เดินร้องไห้เข้าสู่เมืองสาวัตถี ทราบข่าวจากชาวเมืองคนหนึ่งว่า ลมฝนได้พัดเรือนบิดามารดาของนางพังทลายและเจ้าของเรือนก็ตายไปด้วย
นางปฏาจาราสูญเสียทุกอย่างในเวลาใกล้กันไม่อาจตั้งสติได้ นางไม่รู้สึกถึงผ้าที่นุ่งซึ่งได้หลุดลง แล้ววิ่งบ่นเพ้อเข้าไปยังพระวิหารเชตวันในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ผู้คนต่างเห็นนางแล้วร้องห้ามอย่าให้คนบ้านั้นเข้ามา แต่พระพุทธเจ้ารับสั่งปล่อยให้นางเข้ามาเถิด แล้วตรัส อนมตัคคปริยายสูตร เตือนสติ จนนางคลายความโศกเศร้า กลับได้สติดังเดิม และได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า มีกำลังใจขึ้นมา บรรลุโสดาปัตติผล จากนั้นได้ทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี
วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง นางถือเอาน้ำนั้นเป็นอารมณ์ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์ ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 17 Mar 2023 - 55min - 250 - ภิกษุณี ผู้เลิศ [6610-6t]
เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเป็นพระนางน้าและเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้า หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จสวรรคต และเหล่าเจ้าศากยะทั้งหลายออกบวชแล้ว พระนางได้ปลงผมแล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวารประมาณ 500 เพื่อกราบทูลอ้อนวอนขอบวชแต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต
พระอานนท์จึงช่วยทูลขออนุญาตให้ โดยตรัสถามพระพุทธองค์ว่า “สตรีสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับผู้ชายหรือไม่?” จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต แต่ต้องรับปฏิบัติด้วยครุธรรม 8 ประการอันเป็นเงื่อนไขให้สตรีอุปสมบทได้
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญามาก
พระเขมาเถรีเป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นสตรีที่มีรูปงามมาก หลงเมามัวในรูปสมบัติของตน พระเจ้าพิมพิสารจึงคิดอุบายให้พระนางได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ทำให้พระนางเห็นภาพนิมิตซึ่งแสดงความไม่เที่ยงของสังขาร และได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พระนางก็บรรลุอรหัตตผล ณ ที่นั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบความ ทรงอนุญาตให้พระนางออกบวชเป็นภิกษุณีได้
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์มาก
พระอุบลวรรณาเถรี เนื่องจากนางมีความงามมากเป็นที่หมายปองของพระราชาและมหาเศรษฐี เศรษฐีผู้บิดารู้สึกลำบากใจที่จะรักษาน้ำใจของคนทั้งหมดไว้ จึงคิดอุบายให้ธิดาบวช พอบวชได้ไม่นาน ได้เพ่งดูเปลวประทีปแล้วถือเอาเป็นนิมิต ได้บรรลุพระอรหัตผลในเวลานั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 10 Mar 2023 - 54min - 249 - พระกุมารกัสสปะ ผู้เลิศในจิตรกถา [6609-6t]
มารดาของท่านพระกุมารกัสสปะ เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมิรู้ตัวก่อนออกบวช พระบรมศาสดาก็ทรงทราบความจริงในเรื่องนี้ แต่เพื่อจะเปลื้องความสงสัย จึงรับสั่งให้ไปเชิญตระกูลใหญ่ๆ ให้มาพร้อมกันแล้วพิสูจน์ จึงได้รู้ชัดว่า นางมีครรภ์ตั้งแต่ยังไม่ได้บวช ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบเรื่องและทรงรับเอาท่านพระกุมารกัสสปะไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อเติบโตเจริญวัยขึ้น พอได้ทราบในชาติกำเนิดที่แท้จริงของตน เกิดความสลดใจ จึงขอพระบรมราชานุญาตออกบวช
ครั้นเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้ฟังปัญหาพยากรณ์ 15 ข้อจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ท่านมีความสามารถเสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร สมบูรณ์ด้วยข้ออุปมาอุปไมยพร้อมทั้งเหตุผล ให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ฉลาดในวิธีการสั่งสอน จึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศในจิตรกถา คือ แสดงธรรมเทศนาได้อย่างวิจิตร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 03 Mar 2023 - 56min - 248 - พระอนุรุทธเถระ ผู้เลิศในทิพยจักษุญาณ [6608-6t_6212]
ครั้งสมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตร ท่านพระอนุรุทธะได้ตั้งความปรารถนาไว้ในความเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ได้ทำการบูชาด้วยประทีปอันโอฬารด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัย แก่ทิพยจักษุญาณ
ในสมัยของพระพุทธเจ้าโคดมของเรานี้ ท่านพระอนุรุทธะเกิดในศากยราชสกุล เป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ แม้แต่คำว่า “ไม่มี” ก็ไม่เคยรู้จักไม่เคยได้ยินนับตั้งแต่ประสูติมา เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ออกบวชพร้อมกับพระเจ้าภัททิยศากยะ ภัคคุ อานนท์ กิมพิละ เทวทัต และอุบาลีซึ่งเป็นภูษามาลา
เมื่อบวชแล้ว ภายในพรรษาแรก พระอนุรุทธะได้สำเร็จทิพยจักษุญาณ ได้ตาทิพย์ หลังจากนั้นท่านได้เรียนกรรมฐานกับท่านพระสารีบุตร ต่อมาท่านได้ไปเจริญสมณธรรมในป่าปาจีนวังสทายวัน โดยตรึกมหาปุริสวิตก และได้บรรลุพระอรหัตผล
ท่านพระอนุรุทธะ ได้รับการยกย่องจากพระผู้มีพระภาค ให้เป็นเอตทัคคะในด้านเป็นผู้มีทิพยจักษุญาณ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 24 Feb 2023 - 50min - 247 - พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก [6607-6t]
ในสมัยพระพุทธเจ้าอโนมทัสสี ท่านพระสารีบุตรเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีชื่อว่า “สรทมาณพ” ได้บวชเป็นฤาษี ครั้งเมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าอโนมทัสสี และพระนิสภเถระอัครสาวกแล้ว เกิดตั้งความปรารถนาเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ต่อมาในสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานี้เอง ท่านพระสารีบุตร และท่านพระโมคคัลลานะได้เที่ยวชมงานมหรสพ แต่เกิดความเบื่อหน่ายจึงออกบวชแสวงหาโมกขธรรมไปในสำนักของสัญชัยปริพาชก และศึกษาจนจบภายในเวลา 2-3 วัน แล้วได้เที่ยวไปยังนิคมอื่นเพื่อแสวงหาโมกขธรรมต่อ
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้พบท่านพระอัสสชิเถระซึ่งมีกิริยาข้อวัตรที่งดงาม เมื่อมีโอกาสจึงได้สอบถามว่า “ท่านบวชจำเพาะใคร หรือใครเป็นศาสดาของท่าน และศาสดาของท่านมีวาทะอย่างไร” เมื่อท่านพระสารีบุตรได้ทราบความจากท่านพระอัสสชิเถระแล้ว ก็บรรลุเป็นโสดาบัน จึงได้ไปชวนท่านพระโมคคัลลานะไปในสำนักของพระพุทธเจ้าด้วยกัน
ท่านพระสารีบุตรหลังจากบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าแล้วครึ่งเดือน ได้ฟังพระศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของตนแล้ว ก็ได้บรรลุอรหัตผลที่ถ้ำสุกรขาตา แล้วได้สถาปนาพระสารีบุตรเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้มีปัญญามาก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต เอตทัคควรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 17 Feb 2023 - 52min - 246 - สุขที่ไม่สะอาด [6606-6t]
#กิมมิลสูตร_40 ท่านพระกิมมิละ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “เหตุปัจจัยอะไร ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน และไม่ได้นาน เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว” คำตอบคือ การมี และไม่มีคารวธรรม 6 นั่นเอง
#ทารุกขันธสูตร_41 ท่านพระสารีบุตร ได้เห็นกองฟืนจึงได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ ถ้าต้องการจะน้อมจิตบอกว่า กองฟืนนี้ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ว่างาม และไม่งาม ย่อมทำได้” เพื่อเน้นความไม่เที่ยงนั่นเอง
#นาคิตสูตร_42 ชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ราวป่าใกล้หมู่บ้าน จึงจะไปเข้าเฝ้าพร้อมได้ส่งเสียงอื้ออึง ทำให้พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระนาคิตะถึง “สุขที่ไม่สะอาด” ซึ่งพระตถาคตไม่ติดในสิ่งนั้น เพราะได้สุขจากความสงบภายใน และได้ยกความต่างของเสนาสนะใกล้หมู่บ้าน และการอยู่ป่าเป็นวัตร
#นาคสูตร_43 พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอุทายีว่า “คนทั้งหลายเห็นช้าง ม้า โค งู ต้นไม้และมนุษย์ร่างใหญ่เท่านั้น จึงกล่าวว่า นาค แต่เราเรียกบุคคลผู้ไม่ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ผู้ไม่ถึงอคติ และละกิเลสได้แล้ว ว่า นาค”
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 10 Feb 2023 - 57min - 245 - องค์แห่งทักษิณาทาน [6605-6t]
#ทานสูตร_37พระผู้มีพระภาคตรัสถึงการถวายทานของนางนันทมาตาในหมู่ภิกษุมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธาน ซึ่งเป็นบุญมากไม่มีประมาณที่จะวัดได้ คือ ผู้ให้มีศรัทธาน้อมไป เลื่อมใส ปลื้มใจทั้งก่อนให้ ระหว่างให้ หลังให้ และในผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ
#อัตตการีสูตร_38พราหมณ์คนหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงความเชื่อของตนว่า “ไม่มีอัตตการ (ไม่มีตนเป็นตัวการ) ไม่มีปรการ (ไม่มีสิ่งอื่นเป็นตัวการ)” พระผู้มีพระภาคได้ยกธาตุความเพียร 6 ประการ มาอธิบายประกอบความเป็นอนัตตา ทำพราหมณ์เกิดเลื่อมใสเป็นโสดาบัน
#นิทานสูตร_39เหตุให้เกิดกรรม โดยยกเหตุในส่วนของกรรมไม่ดี คือ โลภะ โทสะ โมหะ ผลคือไปนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือทุคติ และในส่วนของกรรมดี คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ผลคือไปเทวดา มนุษย์ หรือสุคติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 03 Feb 2023 - 57min - 244 - ธรรมะรับอรุณ Live 28 ม.ค. 2566 [6604-6t_Live]
Q:ควรจะพิจารณาเรื่องราวในอดีตอย่างไร ให้อยู่กับปัจจุบัน?
A:มีสติอยู่กับปัจจุบัน คือ จะคิดไปในอดีตหรืออนาคตให้มีสติไม่หลงไม่เพลินไปแต่ให้เป็นวิมังสา มีสติไตร่ตรองใคร่ครวญในเรื่องราวนั้นๆ จะช่วยลับปัญญาให้ไวขึ้น
Q:อยู่คนเดียวไม่มีครอบครัว จะปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีความสุข?
A:เราจะหาสาระจากสิ่งที่ไม่มีสาระมันจะไม่ได้ แต่ให้เรามาหาสาระ (ความสุข) จาก ศีล สมาธิ และปัญญา
Q:การฟังธรรมะอยู่เรื่อยๆ เป็นเหตุให้เจริญในธรรม?
A:การฟังให้มากซึ่งธรรมะเป็นเหตุให้ปัญญาเราเจริญ เป็นทางไปสู่อมตะ คือ นิพพาน
Q:เคยคิดฆ่าตัวตาย แต่กลัว
A:หิริโอตตัปปะ ความละอายกลัวต่อบาปเป็นความกลัวชนิดที่เป็นกุศลเป็นสิ่งที่ควรมี
Q:การบูชาพระปัจเจกพุทโธควรสวดบทบูชาใด?
A:พระปัจเจกพุทโธกำลังบำเพ็ญบารมีเพื่อที่จะตรัสรู้ในกาลข้างหน้า จะใช้บทสวดสรรเสริญคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็ได้เหมือนกัน
Q: ในสมัยพุทธกาล คนบรรลุธรรมได้ไวและมีมาก แล้วในปัจจุบันนี้จะบรรลุธรรมได้ไหม?
A: ในปัจจุบันคำสอนยังมีอยู่ ให้เรามั่นใจที่จะปฎิบัติตามก็จะบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน
Q:กราบขอพรวันเกิดจากพระอาจารย์
A:ให้ระลึกถึงคุณของพ่อแม่ ให้ตั้งใจทำความดีเพื่อให้มีกุศลสืบเนื่องต่อไปได้
Q:เป็นอุบาสกยังไม่บวชจะเจริญในธรรมได้ไหม?
A: พุทธบริษัท 4 ให้มีธรรม คือ คารวะ6
Q:เจอมรสุมชีวิตหรือความเจ็บป่วยจะวางจิตอย่างไร?
A:ให้มองเห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นเทวฑูตที่มาเตือนให้เราเร่งทำความดี
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 28 Jan 2023 - 1h 03min - 243 - บ่มสัญญาให้เป็นวิชชา [6603-6t]
#35_วิชชาภาคิยสูตรสัญญา 6 ประการนี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา (ความหมายรู้ให้เกิดปัญญา) คือ 1. อนิจจสัญญา-เห็นความไม่เที่ยง 2. อนิจเจ ทุกขสัญญา-สิ่งไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์ 3. ทุกเข อนัตตสัญญา-สิ่งที่เป็นทุกข์นั้นเป็นอนัตตา 4. ปหานสัญญา–ละกิเลส 5. วิราคสัญญา-คลายกำหนัด 6. นิโรธสัญญา-ดับกิเลส
#36_วิวาทมูลสูตรมูลเหตุแห่งวิวาท 6 ประการ คือ บุคคลใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้, ลบหลู่ ตีเสมอ, ริษยา มีความตระหนี่, โอ้อวด มีมายา, ปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ, ยึดมั่นทิฏฐิของตน บุคคลนั้นไม่มีความเคารพยำเกรงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไป ไม่ใช่สุข ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก ให้พึงพยายามละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้น และพึงกระทำไม่ให้ยืดเยื้อต่อไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 20 Jan 2023 - 57min - 242 - ปัญญารู้ สู่นิพพาน [6602-6t]
#31_เสขสูตรธรรมคู่ตรงข้ามที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้เป็นเสขะ (ผู้ยังต้องศึกษา) ธรรม 6 ประการ คือ เป็นผู้ชอบการงาน การพูดคุย การนอนหลับ การคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย และไม่รู้ประมาณในการบริโภค
#32_33_ปฐม_ทุติยอปริหานสูตร สูตร 1-2พระศาสดาทรงปรารภกับเหล่าภิกษุถึงเทวดาตนหนึ่งมีวรรณะงดงามได้มากราบทูลพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม (คารวะ 6) คือ เป็นผู้มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท และในปฏิสันถาร และ สูตรที่ 2 ต่างกัน 2 ข้อท้าย คือ ความเป็นผู้มีความเคารพในหิริ (อายบาป) และโอตตัปปะ (กลัวบาป)
#34_มหาโมคคัลลานสูตรท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ขึ้นไปในพรหมโลกเพื่อปรารภกับติสสพรหมถึงเทวดาที่มีญาณหยั่งรู้ว่าใครเป็นโสดาบันเข้าสู่กระแสพระนิพพาน ติสสพรหมได้ตอบว่า เทวดาทั้ง 6 ชั้น ที่มีคุณธรรมโสตาปัตติยังคะ 4 ย่อมมีญาณรู้ว่าตนเป็นโสดาบันเป็นผู้เข้าสู่กระแสนิพพานในวันข้างหน้าแน่นอน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เทวตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 13 Jan 2023 - 56min - 241 - ภาวะอันยอดเยี่ยมสู่อมตธรรม [6601-6t]
#29_อุทายีสูตรพระผู้มีพระภาคทรงปรารภเรื่อง “อนุสสติฏฐาน” กับท่านพระอุทายี และท่านพระอานนท์ ซึ่งคำตอบของท่านพระอุทายีเป็นปัญญาการระลึกชาติได้ซึ่งยังเป็นโมฆะอยู่ ส่วนท่านพระอานนท์ได้กล่าวทูลในเรื่องของฌาน 1-2-3 เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และฌาน 4 ย่อมรู้แจ้งธาตุ มนสิการอาโลกสัญญา(ความสว่าง) เพื่อญาณทัสสนะ พิจารณากายนี้โดยความเป็นของปฏิกูล และเป็นซากศพที่ถูกทิ้งไว้ในป่าช้าเพื่อละกามราคะ และถอนอัสมิมานะ และพระผู้มีพระภาคทรงกล่าวเสริมข้อที่ 6 คือ อิริยาบถรู้ตัวทั่วพร้อมเพื่อสติสัมปชัญญะ
#30_อนุตตริยสูตรภาวะบุคคลใดมีศรัทธาตั้งมั่น บรรลุที่สุด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งแล้วไปเพื่อได้เห็น..ได้ฟังธรรม..ได้ศรัทธา..ได้บำรุง..ได้ระลึกถึงตถาคต หรือสาวกของตถาคตแล้วได้ศึกษาในไตรสิกขา ซึ่งเป็นภาวะอันยอดเยี่ยมกว่าภาวะทั้งหลาย เพราะเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งในนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 06 Jan 2023 - 54min - 240 - สมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา [6552-6t]
#25_อนุสสติฏฐานสูตรเมื่อตามระลึกถึงอนุสสติฏฐาน 6 ประการนี้แล้ว จิตย่อมไม่ถูกกิเลสกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรง ทำจิตบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ อันได้แก่ 1. พุทธานุสสติ 2. ธัมมานุสสติ 3. สังฆานุสสติ 4. สีลานุสสติ 5. จาคานุสสติ 6. เทวตานุสสติ
#26_มหากัจจานสูตรพระมหากัจจานะได้ปรารภการ “บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ” ซึ่งหมายถึง อนุสสติฏฐาน 6 ที่ประกอบด้วยจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ คือ ไม่ว่าเราจะถูกบีบคั้นจากอายตนะ 6 อย่างไร ถ้าเราจัดการจิตเราได้อย่างถูกต้องย่อมบรรลุถึงนิพพานได้
#27_#28_ปฐม_ทุติยสมยสูตรพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุรูปหนึ่ง (สูตร 1) และท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกับเหล่าภิกษุเถระ (สูตร 2) ถึงสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ซึ่งก็ได้แก่สมัยที่ถูกนิวรณ์ 5 กลุ้มรุม และไม่รู้นิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ เพื่อขอให้ท่านได้แสดงอุบายเป็นเครื่องนำออกจากสิ่งนั้นได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 30 Dec 2022 - 56min - 239 - “ ภัย ” เป็นชื่อของกาม [6551-6t]
#21_สามกสูตรพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่วิหารโปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามะ ทรงปรารภเทวดาที่มาเข้าเฝ้ากราบทูลถึงธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม 3 ประการ คือ 1. เป็นผู้ชอบการงาน 2. ชอบการพูดคุย 3. ชอบการนอนหลับ และพระองค์ทรงแสดงปริหานิยธรรมเพิ่มอีก 3 ประการ ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย คิอ 4. ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ 5. เป็นผู้ว่ายาก 6. มีปาปมิตร (มิตรชั่ว)
#22_อปริหานิยสูตร อปริหานิยธรรม (ธรรมที่ไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม) คือ ยกเอาธรรมในข้อ #21 ทั้ง 6 ประการ มากล่าวถึงในทางตรงข้ามกัน
#23_ภยสูตรคำว่า ‘ภัย (อันตราย) ทุกข์ (ยึดถือ) โรค (อ่อนกำลัง) ฝี (จิตกลัดหนอง) เครื่องข้อง (บีบคั้น) เปือกตม (จมอยู่)’ นี้เป็นชื่อของกาม เพราะกามทำให้ผูกพันธ์ มีฉันทะราคะ ลุ่มหลง ก็จะทำให้เกิด ‘ภัย ทุกข์ โรค ฝี เครื่องข้อง เปือกตม’ ขึ้นทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า
#24_หิมวันตสูตรธรรม 6 ประการนี้ ย่อมทำลายอวิชชาได้ คือ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ (สัปปายะ) ในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ ในการออกจากสมาธิ ในความพร้อมแห่งสมาธิ ในอารมณ์แห่งสมาธิ และในอภินิหารแห่งสมาธิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อนุตตริยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 23 Dec 2022 - 55min - 238 - มรณสติ มีอมตะเป็นที่หยั่งลง [6550-6t]
#17_โสปปสูตรพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุใหม่ โดยชี้คุณ และโทษของผู้ที่หาความสุขในการนอน แล้วให้ภิกษุตามประกอบใน อปัณณกปฏิปทา เห็นแจ้งในกุศลธรรม เจริญโพธิปักขิยธรรม จะทำให้ถึงความสิ้นอาสวะได้
#18_มัจฉพันธสูตรพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลทรงปรารภชาวประมง แล้วทรงตรัสเรื่อง คนฆ่าปลา ฆ่าโค ฆ่าแกะ ฆ่าสุกร พรานนก และพรานเนื้อ กระทำด้วยใจที่เป็นบาป เพราะกรรมนั้นจึงไม่มีโภคทรัพย์มาก ยิ่งผู้ที่ฆ่ามนุษย์ ย่อมมีทุกข์มากตลอดกาล ตายแล้วย่อมไปเกิดในอบาย ฯ
#19_#20_ปฐม_ทุติยมรณัสสติสูตร (สูตร 1-2)พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ คิญชกาวสถาราม ทรงปรารภการเจริญมรณสติ มีอานิสงส์มาก มีอมตะ (นิพพาน) เป็นที่สุด พึงเจริญมรณสติอย่างแรงกล้า เพราะเหตุแห่งความตายมีมาก เช่น ภัยจากสัตว์ร้าย ลื่นหกล้ม อาหารไม่ย่อย ดี-เสมหะ-ลมพิษกำเริบ จึงพึ่งตั้งสติมั่นในการละอกุศล เจริญแต่กุศลให้มาก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต สารณียวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Fri, 16 Dec 2022 - 58min
Podcasts similaires à 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- 1 สมการชีวิต ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 3 ใต้ร่มโพธิบท ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
Autres podcasts de Religion et Spiritualité
- Noche de Misterio Caracol Pódcast
- DOSIS DIARIA ROKA Roka Stereo
- Dante Gebel Live Dante Gebel
- El Santo Rosario Guadalupe Radio
- ROKA STEREO Podcast Roka Stereo
- Santo Rosario RadioSeminario
- Código Misterio Código Misterio
- Abierta Mente: Conversaciones con Yoga al Alma Ana Isabel Santa María
- Salve María - Podcast Católico Sebastían Cadavid
- Musica cristiana Glorificar a Dios Todopoderoso
- PREDICAS CRISTIANAS ORACION DE LA MAÑANA
- EBC Yeshu'a EBC Yeshu'a
- Dante Gebel MedioLunatico
- Emisora Cristiana Noticias Hispanas
- Música de Relajación para DORMIR Relajación y meditación
- La Biblia La Biblia
- Predicas Cristianas Cortas juan manuel franzia
- Verdad y Vida Verdad y Vida
- Devocionales y Alabanzas Pastor Ariel Alfonso
- Audio Biblia Radiounoencristo