Filtrer par genre
- 332 - คิดก่อนเชื่อ : สารพิษกลุ่มไซยาไนด์Mon, 01 May 2023 - 19min
- 331 - คิดก่อนเชื่อ : งานวิจัยผลของกัญชาต่อสมองFri, 21 Apr 2023 - 12min
- 330 - คิดก่อนเชื่อ : มะขามหวานขึ้นรา กินได้ไม่อันตรายจริงหรือ?Sat, 11 Feb 2023 - 21min
- 329 - คิดก่อนเชื่อ : งานวิจัยสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ที่เกิดจากการคั่วกาแฟ
จากกรณี Consumer Council Hong Kong (สภาผู้บริโภคฮ่องกง) ได้รายงานผลทดสอบสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ในกาแฟ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคถึงความเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์กาแฟที่วางจำหน่ายในฮ่องกงได้ระมัดระวังในการเลือกซื้อกาแฟ เพราะอะคริลาไมด์ถูกจัดให้เป็นสารพิษก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง
สารอะคริลาไมด์เกิดได้อย่างไร และจากอาหารอะไรบ้าง
สารอะคริลาไมด์เกิดระหว่างการปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบ เช่น มันฝรั่ง (หรือวัตถุดิบอื่นที่มีกรดอะมิโนแอสปาราจีนสูง) ด้วยความร้อนอุณหภูมิสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส โดยผลิตภัณฑ์อาหารมักพบอะคริลาไมด์ปนเปื้อน ได้แก่ มันฝรั่งทอด แครกเกอร์ บิสกิต มะกอกดำ ลูกพลัมแห้ง ลูกแพร์แห้ง กาแฟคั่ว
สำหรับประเทศไทยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำฐานข้อมูลอาหารไทยที่มีการตรวจพบสารอะคริลาไมด์โดยพบว่า พริกป่น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ขนมถุงที่ทำจากแป้งมันฝรั่ง ขนมถุงที่ทำจากมันฝรั่งทอดหรือเฟรนซ์ฟรายด์ กาแฟสำเร็จรูปและเผือกฉาบ แต่เป็นการพบสารพิษในในระดับก่อความเสี่ยงในระดับต่ำกว่าระดับที่จะเกิดพิษต่อร่างกาย
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนของสารอะคริลาไมด์ในกาแฟ จึงจำเป็นต้องอาศัยเกณฑ์ของสหภาพยุโรปที่กำหนดปริมาณอะคริลาไมด์ไว้ไม่เกิน 400 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับกาแฟคั่ว และไม่เกิน 850 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับกาแฟผงสำเร็จรูปแต่เพื่อความปลอดภัยในการดื่มกาแฟ เรามีข้อมูลซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการคั่วกาแฟและการเกิดสารอะคริลาไมด์ มาให้ฟัง เพื่อจะได้รู้ทันและคำแนะนำการเลือกซื้อกาแฟ ฟังกันในช่วง คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย
Mon, 08 Aug 2022 - 13min - 328 - คิดก่อนเชื่อ : ใส่กัญชาในอาหาร ทำให้อร่อยมากขึ้นจริงหรือ
จริงหรือ? ในใบกัญชามีกรดกลูตามิกทำให้อาหารอร่อยขึ้นและ สาร THC ทำให้อาหารหอมขึ้น
และตำรับยาหมอพื้นบ้านก็มีบันทึกไว้ว่าการใช้ใบกัญชาปรุงอาหารให้คนไข้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้เจริญอาหารและกินข้าวได้มากขึ้นจริงหรือ? มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง?งานวิจัยใบกัญชากับกรดกลูตามิก
• มีบทความวิชาการเรื่อง Phytochemical, proximate composition, amino acid profile and characterization of Marijuana (Cannabis sativa L.) (ไฟโตเคมิคอล การวิเคราะห์องค์ประกอบ รูปแบบของกรดอะมิโน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในกัญชา) ในวารสาร The Journal of Phytopharmacology ปี 2014 ซึ่งเป็นงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวไนจีเรียที่ระบุว่า ในใบกัญชามีกรดกลูตามิกในระดับที่สูงกว่ากรดชนิดอื่นไม่ถึง 10 เท่า คือที่ 10 กรัมต่อ 100 กรัมโปรตีน (กัญชามีโปรตีนประมาณ 24%) ในขณะที่กรดอะมิโนอื่นอยู่ในระดับที่ 1-8 (กรดแอสปาติก) กรัม ต่อ 100 กรัมโปรตีน ดังนั้นจึงไม่น่าระบุว่า ความรู้สึกอร่อยของอาหารใส่กัญชามาจากกรดกลูตามิกงานวิจัยใบกัญชา สาร THC ทำให้อาหารอร่อยขึ้นจริงหรือ
• สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol เป็นตัวกระตุ้นให้ตัวรับที่อยู่ในสมองทำงาน ทำให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น เมื่อกินมากขึ้นอาจเข้าใจผิดว่าอาหารอร่อยขึ้น แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่ กัญชาไม่ได้ทำให้อาหารอร่อยขึ้นกินเมนูกัญชาจะเมาแบบสูบไหม
• ปัจจัยที่สาร THC จะเพิ่มขึ้นก็คือ ระยะเวลาที่ปรุง ยิ่งปรุงนานยิ่งมีสารมากขึ้น รวมทั้งการปรุงด้วยความร้อนอุณหภูมิสูงหรือต่ำและไขมัน เช่นการนำกัญชาไปผัดน้ำมันหรือทอด จะทำให้สาร THC ซึ่งละลายในไขมันได้ดี จึงถูกสกัดออกมามากขึ้น ดังนั้นถ้าจะรับประทานเมนูกัญชาที่ผ่านความร้อนต้องจำกัดปริมาณ คือไม่ควรกินใบกัญชาทั้งใบ เกิน 5-8 ใบต่อวัน
• กรณีกินอาหารใส่ใบกัญชาสดผ่านความร้อนต่ำเช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ จะไม่น่ากังวลเท่าไร เนื่องจากไม่ค่อยมีสารเมาออกมา (ยกเว้นมีการใส่ดอกกัญชาในถุงผ้าแล้วต้มไปกับน้ำก๋วยเตี๋ยว) แต่หากนำใบกัญชาสดไปปรุงอาหารด้วยการทอด ที่ผ่านความร้อนเกิน 120 องศาเซียลเซียส เป็นเวลานาน ต้องระวังสาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็น THC ส่งผลให้ได้รับสารเมาในปริมาณมากขึ้นได้ เพราการผัดน้ำมันหรือทอด จะทำให้สาร THC ซึ่งละลายในไขมันได้ดี จึงถูกสกัดออกมามากขึ้น
ฟังรายละเอียดใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย
Fri, 17 Jun 2022 - 17min - 327 - คิดก่อนเชื่อ : ทำไมบางคนกินมากอย่างไรก็ไม่อ้วน
ทำไมบางคนกินมากอย่างไรก็ไม่อ้วน
บางคนกินนิดเดียวก็อ้วนได้ ในขณะที่บางคนกินเยอะมากแต่ไม่อ้วน ที่น่าประหลาดใจไปกว่านั้นคือ พ่อแม่ ไม่อ้วน อาจเพราะคุมอาหารด้วย แต่ลูกอ้วนเอาอ้วนเอา อะไรคือคำอธิบายปรากฏการณ์นี้
วิทยาศาสตร์พอบอกได้หรือไม่ว่า อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนอ้วนง่ายหรือยาก
• ปัจจุบันพอได้คำตอบคร่าว ๆ แล้วว่า การที่ยีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะไม่ทำงาน ส่งผลให้กินอย่างไรก็ไม่อ้วนมีงานวิจัยอะไรบ้าง
วารสาร Science ของปี 2021 มีบทความที่กล่าวถึงเรื่องของบทบาทของพันธุกรรมต่อโอกาสที่แต่ละคนจะอ้วนหรือไม่ อย่างน้อย 2 บทความคือ
o บทความเรื่อง Finding genes that control body weight กล่าวว่า โรคอ้วนเป็นโรคทั่วไปที่มีผลข้างเคียงที่สำคัญต่อการเจ็บป่วยและการตาย ซึ่งบางปัจจัยทางพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดขอบเขตที่เมื่อร่างกายได้รับพลังงานแล้ว จะเก็บสะสมไว้เป็นไขมันหรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ มีผลกระทบต่อความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน บทความนี้ได้ระบุถึงการกลายพันธุ์ > 20 ยีน ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อดัชนีมวลกาย (BMI)
o บทความงานวิจัยเรื่อง Sequencing of 640,000 exomes identifies GPR75 variants associated with protection from obesity (การอ่านลำดับพันธุกรรมของ exomes จากอาสาสมัคร 640,000 คน ระบุว่ายีน GPR75 เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคอ้วน)ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย
Tue, 08 Mar 2022 - 16min - 326 - คิดก่อนเชื่อ : ออกกำลังกายทิพย์ที่ส่งผลดีต่อร่างกายได้มีจริงหรือ
มีข่าวที่คนที่ไม่ชอบออกกำลังกายอาจสนใจคือ นักวิทยาศาสตร์ได้มีความกระตือรือร้นในการผลิตยาออกกำลังกายทิพย์ เพื่อให้ผู้ที่กินเข้าไปได้ประโยชน์เสมือนได้ออกกำลังกายเรียบร้อยแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเสียเหงื่อจริง
หลักการอะไรที่จะช่วยในการผลิตยาวิเศษนี้
• เนื้อข่าวกล่าวถึงทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) ได้เปิดเผยว่า ได้พบแนวทางของการทำงานของชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลไปยังสมองและมีการผ่านระบบการมองเห็นของดวงตาของมนุษย์เมื่อมีการออกกำลังกาย โดยชีวโมเลกุลนี้มีลักษณะเป็นอนุภาคไขมันที่ส่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง และ
• ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง Running to save sight: The effects of exercise on retinal health and function (วิ่งเพื่อรักษาสายตา: ผลของการออกกำลังกายต่อสุขภาพและการทำงานของจอประสาทตา) ในวารสาร Clinical & Experimental Ophthalmology ของปี 2021 ซึ่งกล่าวว่า ทีมวิจัยกำลังพยายามแยกอนุภาคส่วนนี้ออกมาว่าเป็นอะไร สื่อสารอะไรกับร่างกายและสื่อสารได้อย่างไร แล้วจะนำไปพัฒนาเป็นยาเม็ดแบบรับประทานได้ง่ายๆ เหมือนวิตามินทั่วไป
• วัตถุประสงค์หลักในการพัฒนายาที่ให้ผลดีเสมือนออกกำลังกายนั้น จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นอัมพาต หรือมีปัญหาในเรื่องการเคลื่อนไหวจนไม่สามารถออกกำลังกายได้
• ดังนั้นหากแผนการสร้างยานี้ประสบความสำเร็จ ประโยชน์จะเกิดกับคนจำนวนมากที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เพราะที่ผ่านมามีคำแนะนำว่า การออกกำลังกายช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสันได้
ฟังรายละเอียดต่อใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาMon, 07 Mar 2022 - 12min - 325 - คิดก่อนเชื่อ : การกินยาควบคุมไขมันในเลือด (ยาสแตติน) ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจริงหรือ
เมื่อมีไขมันในเลือดสูง ควรต้องพบแพทย์เพื่อรักษา ซึ่งแพทย์อาจจะให้ยาลดไขมันในเลือด มีบทความเรื่องการใช้ยาที่เป็นสถิติโลก คือ
บทความเรื่องTop10 Prescription Medications in the U.S. (ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ 10 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา (เมื่อพฤศจิกายน 2021)) ให้ข้อมูลว่า ยาแผนปัจจุบันที่มีการใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 1 คือ Atorvastatin (Lipitor) เป็นสแตตินที่ใช้รักษาระดับคอเลสเตอรอลสูง อันดับที่ 2 คือ Lisinopril (Prinivil, Zestril) เป็นยายับยั้ง ACE ที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงและใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ เพื่อรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว อันดับที่ 3 คือ Albuterol ใช้ในการรักษาและป้องกันภาวะหลอดลมหดเกร็ง
ส่วนในระดับโลกนั้นมีบทความเรื่อง The Top 300 of 2019 Provided by the ClinCalc DrugStats Database (300 อันดับแรกของยาในปี 2019 บนฐานข้อมูล ClinCalc DrugStats) ได้ให้ข้อมูลของยาแผนปัจจุบันที่ใช้มาก (จำนวนเม็ดยา) ที่สุดในโลก คือ 1. Atorvastatin (ยาลดคอเลสเตอรอล) 2. Levothyroxine (ยาบำบัดอาการ hypothyroidism) 3. Lisinopril (ตัวยับยั้ง angiotensin-converting enzyme (ACE) และถือเป็นยามาตรฐานทองคำ (gold standard) ในการรักษาความดันโลหิตสูง และยังใช้บำบัดภาวะหัวใจล้มเหลวและให้คนไข้หลังหัวใจวาย) …. 6. Amlodipine (a calcium channel blocker ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ)
มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับยาสแตตินช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างไร ติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อThu, 03 Mar 2022 - 13min - 324 - คิดก่อนเชื่อ : ดื่มน้ำเก๊กฮวยได้สารพิษจริงหรือ
มีเว็บไซต์หนึ่งระบุว่าเป็นเว็บฯให้ความรู้สมุนไพรและโรค เรียนรู้เรื่องสนุกๆ เพื่อการดูแลสุขภาพสำหรับทุกคน มีบทความเรื่องโทษของเก๊กฮวย โดยมีส่วนหนึ่งระบุว่า
- การใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวังคือ ดื่มน้ำเก๊กฮวยที่หวานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดจนเป็นเบาหวานได้
- น้ำมันจากดอกเก๊กฮวย มีสารไพรีทรัม ( Pyrethrum ) ซึ่งเหมือนสารประกอบในสารกำจัดแมลง หากเกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ปาก ตา หรือ จมูก ให้หยุดการใช้ทันที• ประเด็นน้ำมันจากดอกเก๊กฮวย มีสารไพรีทรัม (Pyrethrum) ควรเชื่อหรือไม่
- ดอกเก๊กฮวย เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของดอกเบญจมาศสวน (Chrysanthemum morifolium Ramat.) ที่มีดอกสีขาว และดอกเบญจมาศหนู (Chrysanthemum indicum Linn.) ซึ่งเป็นพันธุ์ดอกสีเหลือง
- ดอกไม้สกุลเบญจมาศที่เรียกชื่อว่า ไพรีทรัม (Pyrethrum) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrysanthemum cinerariifolium มีดอกสีขาว และ Chrysanthemum coccineum มีดอกสีแดง เป็นแหล่งของสารกำจัดแมลงตามธรรมชาติ ดอกไม้จะถูกบดเป็นผง และส่วนประกอบออกฤทธิ์ที่เรียกว่าไพรีทริน ใช้ผลิตเป็นสารแขวนลอยในน้ำหรือน้ำมันหรือเป็นผง ไพรีทรินโจมตีระบบประสาทของแมลงทุกชนิด เป็นอันตรายต่อปลา แต่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนก น้อยกว่ายาฆ่าแมลงสังเคราะห์หลายชนิด ถูกย่อยสลายในสิ่งแวดล้อมได้ไม่ยากนัก
• บทความเรื่อง Insecticidal Activity of Flower and Leaf Extracts from Chrysanthemum Species Against Tribolium confusum (ฤทธิ์ยาฆ่าแมลงของสารสกัดจากดอกและใบจากดอกเบญจมาศชนิดที่ต่อต้านด้วงแป้ง) ในวารสาร Tunisian Journal of Plant Protection ของปี 2008 ศึกษาฤทธิ์ฆ่าแมลงของสารสกัดจากดอกและใบของ Chrysanthemum พืชใน genus หรือสกุลดอกเบญจมาศแปดสายพันธุ์คือ C. segetum, C. coronarium, C. macrotum, C. myconis, C. fuscatum, C. paludosum, C. trifurcatum และ C. grandiflorum ต่อด้วงแป้ง (Tribolium confusum) พบว่า สารสกัด C. segetum มีระดับความเป็นพิษต่ำ สารสกัดที่มีความเป็นพิษสูงได้จากดอก C. fuscatum และ C. grandiflorum
• สรุป สารไพรีทริน มีในดอกไม้ที่เป็นญาติของดอกเก๊กฮวย ส่วนดอกเก๊กฮวยอาจมีน้อยมากจนตรวจวัดไม่ได้ จึงควรดื่มน้ำเก๊กฮวยในลักษณะที่บรรพบุรุษเคยดื่มแล้วไม่เป็นอันตราย
Thu, 03 Mar 2022 - 11min - 323 - คิดก่อนเชื่อ : แผ่นแปะจมูกแก้นอนกรนได้จริงหรือ
แผ่นแปะจมูกแก้นอนกรน (snoring strip) 20 แผ่น ราคา 590 บาท ซื้อดีไหม
มีงานวิจัยเรื่อง The Presence of Snoring as Well as its Intensity Is Underreported by Women (การกรนและความรุนแรงของมันในผู้หญิงที่ไม่ยอมรับว่านอนกรน) ตีพิมพ์ใน The Journal of Clinical Sleep Medicine ของปี 2019 พบว่า
o ผู้หญิงกรนดังพอๆ กับผู้ชาย
o 28% ของผู้หญิง (189/675) คิดว่าตนเองเป็นคนนอนไม่กรน เมื่อเทียบกับผู้ชายเพียง 6.9% ที่คิดว่าตนเองนอนเงียบ ๆ
o ผู้หญิง 36.5% (69/189) ซึ่งระบุว่าตนเองเป็นคนนอนไม่กรนกลับมีอาการกรนสนั่นลั่นโลก ในขณะที่ผู้ชายมีเพียง 11.7% (10/85) เท่านั้นที่เปิดหวูดเป็นรถไฟขณะหลับโดยไม่เคยรู้ตัวมีงานวิชาการเกี่ยวกับแถบลดการกรน
• งานวิจัยหลายชิ้นได้ทดสอบ แผ่นแปะจมูกแก้นอนกรน กับผู้เข้าร่วมการทดสอบได้ผลว่า อาสาสมัครเชื่อว่าแถบดังกล่าวช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับนักกีฬาที่ต้องสวม mouth guard หรือเหงือกปลอม เช่น ในอเมริกันฟุตบอลซึ่งจำเป็นต้องหายใจทางจมูกเพิ่มขึ้นเพราะอ้าปากหายใจยาก มีผลการศึกษาซึ่งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าสมรรถภาพการกีฬาเพิ่มขึ้น แต่ผู้ที่สวมใส่ดูเหมือนจะมีอาการหายใจดีขึ้นขณะแข่งขัน
• บทความเรื่อง Decrease of resistance to air flow with nasal strips as measured with the airflow perturbation device (ลดแรงต้านการไหลของอากาศเข้าจมูกด้วยแผ่นแปะจมูกโดยวัดด้วยเครื่องวัดการรบกวนการไหลของอากาศ) ในวารสาร BioMedical Engineering Online ของปี 2004 กล่าวว่า แผ่นแปะจมูกแก้นอนกรน เป็นอุปกรณ์ช่วยขยายจมูกชนิดหนึ่งที่ทำงานจากด้านนอก เพื่อดึงให้รูจมูกเปิดออก ช่วยให้อากาศไหลเข้าจมูกได้มากขึ้นฟังรายละเอียดได้ใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะนำงานวิจัยมาอธิบาย
Wed, 02 Mar 2022 - 10min - 322 - คิดก่อนเชื่อ : ใบกระท่อมทำให้เมาหรือไม่
กระท่อมเป็นต้นไม้ในตระกูลเดียวกับกาแฟที่เขียวชอุ่มตลอดปี มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา และปาปัวนิวกินี มีการใช้เป็นสมุนไพรตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Mitragyna speciosa
มีงานวิจัยชื่อ Statement from FDA Commissioner Scott Gottlieb, M.D., on the agency’s scientific evidence on the presence of opioid compounds in kratom, underscoring its potential for abuse ในเว็บ US.FDA (เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2018) และบทความเรื่อง Following “the Roots” of Kratom (Mitragyna speciosa): The Evolution of an Enhancer from a Traditional Use to Increase Work and Productivity in Southeast Asia to a Recreational Psychoactive Drug in Western Countries ในวารสาร BioMed Research International ปี 2015 ระบุว่า กระท่อมมีฤทธิ์ต่อจิตประสาทไปในทางเดียวกับฝิ่น (opioid properties and some stimulant-like effects) เนื่องจากมีสาร mitragynine และ 7-hydroxymitragynine รวมถึงพฤกษเคมีอีกมากมาย
และยังมีบทความเรื่อง The pharmacology and toxicology of kratom: from traditional herb to drug of abuse (เภสัชวิทยาและพิษวิทยาของกระท่อม: จากสมุนไพรดั้งเดิมไปจนถึงการใช้ยาในทางที่ผิด) ในวารสาร The International Journal of Legal Medicine ของปี 2015 กล่าวว่า การวิจัยต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงผลของใบกระท่อมในการกระตุ้นระบบประสาทและแสดงฤทธิ์การกล่อมประสาทโดยขึ้นอยู่กับขนาดที่ได้รับ บทความนี้แสดงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของยาและความปลอดภัยจากการใช้งานที่ได้รับความสนใจในระดับชาติและระดับนานาชาติ เนื่องจากการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตเนื่องจากการใช้ใบกระท่อมที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยที่สารอัลคาลอยด์หลักใน kratom, mitragynine และ 7- hydroxymitragynine มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและผลกดประสาทโดยอาศัยตัวรับ monoaminergic และ opioid เป็นหลัก
และเมื่อ 3 เมษายน 2019 www.fda.gov มีบทความเรื่อง FDA and Kratom ซึ่งตอนหนึ่งของบทความระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานว่ากระท่อมนั้นปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคใดๆ ในขณะที่คนอเมริกันบางคนใช้เพื่อจัดการกับอาการปวดเรื้อรัง รักษาอาการถอนยาเมื่อเลิกใช้ยาเสพติด หรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีการระบุว่า เริ่มได้ผลภายใน 5-10 นาทีและมีการออกฤทธิ์นาน 2-5 ชั่วโมง
ฟังรายละเอียดได้ใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา
Tue, 01 Mar 2022 - 14min - 321 - คิดก่อนเชื่อ : สารไดออกซินหรือสารเคมีอื่นจะปนเปื้อนในน้ำหรือไม่ หากเอาขวดน้ำพลาสติกแช่ตู้เย็นจนเป็นน้ำแข็ง
ไดออกซินคืออะไร
ไดออกซินเป็นกลุ่มสารอินทรีย์ที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพราะสลายตัวยาก บางชนิดมีความเป็นพิษสูงที่สุดเท่าที่มนุษย์สร้างขึ้นมาด้วยความไม่ตั้งใจ การได้รับสารไดออกซินในปริมาณที่เกินความสามารถในการทำลายทิ้งได้ในร่างกายสามารถทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า chloracne (มาจากคำว่า chlorine + acne) ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่รุนแรง
ไดออกซินมีความเป็นพิษสูงและสามารถก่อให้เกิดปัญหาการเจริญพันธุ์และพัฒนาการ (เด็กเวียดนามที่เกิดในระหว่างและหลังสงครามเวียดนามจำนวนมากมีความพิการหลายส่วนของร่างกายเนื่องจากแม่รับสาร TCDD ที่ปนเปื้อนใน Agent Orange ที่สหรัฐอเมริกานำมาโปรยเพื่อทำให้ป่าโปร่ง) และที่สำคัญกว่านั้นคือ ไดออกซินส่วนใหญ่ทำลายตับและก่อมะเร็งในลักษณะการกดภูมิคุ้มกันให้ต่ำกว่าปรกติ
ไดออกซินมาจากไหน
• เคยมีการสอนในชั้นเรียนว่า ไดออกซิน เช่น TCDD ซึ่งเป็นสารประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจในระหว่างการฟอกสีเยื่อกระดาษด้วยคลอรีน (ในอดีต) และการผลิตสารกำจัดต้นไม้ที่ไม่ต้องการ (phenoxy herbicides) เช่น Agent Orange (2,4-D และ 2,4,5-T) และอะโรเมติกส์คลอรีนอื่นๆ เป็นแหล่งที่สำคัญ แต่ต่อมามีการพบไดออกซินในตะกอนจากทะเลสาบและมหาสมุทรซึ่งเป็นการเกิดขึ้นก่อนมนุษย์จะมีความสามารถทำอะไรเหล่านี้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า แหล่งที่มาหลักของสารไดออกซินคือ กระบวนการเผาไหม้ต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ไฟป่า และแม้แต่การระเบิดของภูเขาไฟ
• ส่วนแหล่งที่มักถูกละเลยในแง่ของการปล่อยสารไดออกซินสู่สิ่งแวดล้อมคือ เตาเผาขยะ (โดยเฉพาะขยะที่มีพลาสติกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ) ที่ไม่มีการควบคุมกระบวนการเผาให้สมบูรณ์เป็นแหล่งสำคัญถามว่า ถ้าเอาน้ำในขวดพลาสติกแช่เข็ง จะมีสารไดออกซินปนเปื้อนออกมา จริงหรือไม่
• คำตอบคือ ไม่จริง เพราะในพลาสติกไม่มีสารไดออกซิน (ยกเว้นการเอาพลาสติกชนิดที่มีองค์ประกอบของคลอรีนเช่น แผ่นห่ออาหารที่เป็น PVC ไปเผาแบบมักง่าย ควันที่เกิดขึ้นจะมีไดออกซิน) ที่สำคัญไดออกซินเป็นสารที่ละลายได้น้อยมากในน้ำ ดังนั้น ต่อให้ขวดมีไดออกซินปนเปื้อน โดยไม่ทราบสาเหตุ ความเย็นจากน้ำที่แข็งตัว จะไม่ส่งเสริมการละลายออกมาของไดออกซินสู่น้ำติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา
Mon, 28 Feb 2022 - 17min - 320 - คิดก่อนเชื่อ : คาเฟอีนกระตุ้นหรือป้องกันไมเกรน
ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine headache) มีลักษณะการปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง และไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากขึ้น
สาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรนนั้นไม่แน่ชัด แต่ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนมีหลายประการซึ่งอาจผสมกันขึ้นกับแต่ละบุคคล
มีข้อมูลอะไรที่แสดงถึงความพยายามใช้คาเฟอีนในการบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงไมเกรน
• มีเอกสารวิชาการเรื่อง Caffeine as an analgesic adjuvant for acute pain in adults (คาเฟอีนเป็นตัวเสริมผลสัมฤทธิ์ของยาแก้ปวดแบบเฉียบพลันในผู้ใหญ่)• มีงานวิจัยเรื่อง Caffeine in the management of patients with headache (การจัดการผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวด้วยคาเฟอีน) ใน The Journal of Headache and Pain ของปี 2017 ได้พิจารณาการศึกษาต่าง ๆ ในแง่ว่า คาเฟอีนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาแก้ปวดเมื่อพูดถึงการบำบัดอาการปวดหัวได้หรือไม่ ซึ่งผลการพิจารณาพบว่า คาเฟอีนมีนัยสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาแก้ปวดหัว สิ่งที่น่าสนใจคือ การศึกษาเกี่ยวกับคาเฟอีนและอาการปวดหัวส่วนใหญ่เป็นการศึกษาโดยเฉพาอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดและไมเกรนะ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าคาเฟอีนช่วยลดอาการปวดศีรษะแบบอื่นได้หรือไม่
ติดตามรายละเอียดได้ใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา
Sun, 27 Feb 2022 - 13min - 319 - คิดก่อนเชื่อ : งานวิจัยกล่าวว่า ผู้มีมโนธรรมจะมีอายุยืน
ผู้มีมโนธรรม (conscientiousness) ที่แสดงออกเป็นบุคลิกภาพนั้นอาจมีอายุยืนกว่าคนที่ไม่มีมโนธรรม
มโนธรรม (conscience) คือความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เปรียบดั่งเสียงภายในซึ่งบอกว่า สิ่งใดควรกระทำ และสิ่งใดควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะทางด้านศีลธรรม เป็นความรู้สึกที่ช่วยแยกแยะว่า สิ่งใดเป็นสิ่งดีงามและถูกต้อง และสิ่งใดเป็นสิ่งชั่วและผิด
มีบทความเรื่อง Personality and the leading behavioral contributors of mortality. (บุคลิกภาพและพฤติกรรมที่สนับสนุนมีผลต่อการตาย (ว่าช้าหรือเร็ว)) ในวารสาร Health Psychology ปี 2015 ซึ่งให้ข้อมูลสรุปว่า
• พบความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพของผู้มีมโนธรรมเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของระบบภูมิคุ้มกัน และผลลัพธ์ด้านสุขภาพในระยะยาว
• biomarker หรือตัวบ่งชี้ทางชีวภาพชนิดหนึ่งคือ interleukin 6 (IL-6) และโปรตีน C-reactive protein ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน มีบทบาทเกี่ยวกับการอักเสบภายในร่างกาย (ซึ่งต้องอยู่ในระดับเหมาะสมในแต่ละคน) งานวิจัยทั้งสองพบแนวโน้มว่า มีระดับลดลงในคนที่มีพฤติกรรมแบบมีมโนธรรมฟังรายละเอียดคำอธิบายงานวิจัยได้ใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา
Sat, 26 Feb 2022 - 12min - 318 - คิดก่อนเชื่อ : แสงสีแดงช่วยปรับปรุงการมองเห็น
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเราจึงมองเห็นภาพตอนกลางวันชัดเจนเป็นภาพสี แต่พอตอนกลางคืนที่ไม่มีแสงไฟเราจึงมองเห็นเป็นภาพใกล้ขาว-ดำ
• ในดวงตาเรามี เรตินาทำหน้าที่เป็นจอรับภาพซึ่งมีเซลล์รับแสง 2 ชนิดคือ เซลล์รูปแท่ง (rod cell) ซึ่งไวต่อการรับแสงสว่าง แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ ส่วนเซลล์อีกประเภทหนึ่งเป็นเซลล์รูปกรวย (cone cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แยกความแตกต่างของสีได้แต่ต้องการแสงสว่างมากจึงจะบอกสีของวัตถุได้ถูกต้อง ดังนั้นในตอนกลางคืนซึ่งมีแสงธรรมชาติน้อย cone cell จึงทำงานไม่ได้เซลล์ที่เกี่ยวกับการมองเห็นในลูกตานั้นต้องใช้พลังงานอย่างมากในการทำงานหรือ
• เซลล์รับแสงที่จอประสาทตามีความหนาแน่นของไมโตคอนเดรียมากที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพราะต้องใช้พลังงานอย่างสูงในการทำงาน และเสื่อมสภาพค่อนข้างเร็ว ซึ่งดูเหมือนอยู่ที่ประมาณอายุ 40 ปี ซึ่ง 30% ของ rod cell จะค่อยๆ ตาย และในขณะที่แม้ cone cell ยังคงอยู่ แต่ความชัดเจนในการมองเห็นก็ลดลงมีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพลูกตาด้วยแสงสีแดงอย่างไรบ้าง
• การส่องแสงความยาวคลื่นยาว (650–900 นาโนเมตร) สู่ตาสัตว์นั้นช่วยปรับปรุงการทำงานของไมโตคอนเดรียซึ่งเป็นการเพิ่มการผลิต ATP และลดการเกิด ROS เช่นo บทความเรื่อง Recharging mitochondrial batteries in old eyes. Near infra-red increases ATP (การเพิ่มการเก็บพลังงานของไมโตคอนเดรียในสายตาคนแก่ โดยแสงระดับใกล้แสงอินฟราเรดเพิ่มปริมาณ ATP) ในวารสาร Experimental Eye Research ของปี 2014 ได้แสดงให้เห็นว่า แสงที่ความยาวคลื่น 670 นาโนเมตร ช่วยเพิ่มการทำงานของ cytochrome C oxidase ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง ATP และลดการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ไมโตคอนเดรียเสื่อมสภาพ
และมีงานวิจัยอะไรอีกบ้าง ที่จะช่วยทำให้เราถนอมสายตาให้ดีได้ ติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย
Fri, 25 Feb 2022 - 16min - 317 - คิดก่อนเชื่อ : จะดีไหมถ้าจะมีหอมหัวใหญ่ที่ไม่มีสารที่ทำให้แสบตา
ความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาสายพันธ์หอมหัวใหญ่ไม่มีสารที่ทำให้น้ำตาไหล
มีงานวิจัยที่สนับสนุนการพัฒนาหอมหัวใหญ่ไร้น้ำตา อะไรบ้าง
• บทความเรื่อง Silencing Onion Lachrymatory Factor Synthase Causes a Significant Change in the Sulfur Secondary Metabolite Profile (การหยุดยีนสร้างเอ็นไซม์ที่สร้างสารกระตุ้นการหลั่งน้ำตาล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในรูปแบบของสารประกอบกำมะถันที่เคยเกิด)มีการพัฒนาหอมหัวใหญ่ไร้น้ำตาที่ไม่ต้องใช้วิธีการทางการดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่
• มีบทความเรื่อง Great News: Tearless Onions Now Exist ซึ่งกล่าวว่า ต้องใช้เวลาหลายทศวรรษในการพัฒนาหอมหัวใหญ่ที่เรียกกันว่า Sunion ซึ่งมีรสหวานและกรุบกรอบ และไม่เหมือนหัวหอมทั่วไปที่ทำให้คุณร้องไห้ ที่สำคัญไม่ได้เกิดจากการดัดแปลงพันธุกรรมเพราะ Sunion ถูกสร้างขึ้นผ่านการผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติในโครงการที่ใช้เวลานานกว่า 30 ปีถ้าหอมหัวใหญ่ที่พัฒนาสายพันธุ์ไม่มีสารทำให้แสบตา น้ำตาไหลแล้ว รสชาติและคุณค่าทางอาหาร รวมถึงราคาจะเป็นอย่างไร
ติดตามรายละเอียดงานวิจัยใน คิดก่อนเชื่อThu, 24 Feb 2022 - 11min - 316 - คิดก่อนเชื่อ : หอมหัวใหญ่มีสารอะไร ทำไมจึงทำให้แสบตา
การหั่นหอมทั้งหอมหัวใหญ่และหอมแดง ทำไมแสบตาและน้ำตาไหล
หอมหัวใหญ่มีสารอะไร มีประโยชน์อย่างไร
• หอมหัวใหญ่ เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกระเทียม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum ดังนั้นจึงมีหลายอย่างที่คล้ายกัน ที่สำคัญคือ ในกระเทียมมีเอ็นไซม์ ชื่อ Alliinase ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยน Alliin ไปเป็น Allicin ซึ่งในกรณีหอมหัวใหญ่เอ็นไซม์ ที่ Alliinase ทำหน้าที่เปลี่ยน Isoalliin ไปเป็นสารประกอบที่รวมกันทำให้น้ำตาไหล
• หอมหัวใหญ่อุดมไปด้วยสารเคมีสองกลุ่มคือ
- Flavonoids (ฟลาโวนอยด์) ชนิดแอนโธไซยานิน (ในหอมหัวใหญ่ที่มีสีแดงหรือสีม่วงแก่บางชนิด) และ
- Flavonoids (ฟลาโวนอยด์) ชนิดฟลาโวนอล เช่น เควอซิทินและอนุพันธ์ ส่งผลให้หอมหัวใหญ่ส่วนใหญ่มีเปลือกสีเหลืองและสีน้ำตาล• สารประกอบกำมะถันชนิด alkylated cysteine sulfoxides (ACSOs) เป็นสารตั้งต้น ซึ่งเมื่อถูกย่อยโดยเอ็นไซม์ Alliinase แล้ว จะได้สารที่เมื่อถูกย่อยต่อด้วยเอ็นไซม์ชนิดอื่น ทำให้เกิดสารที่ให้กลิ่นฉุนและรสเฉพาะของหอมหัวใหญ่ (รวมถึง thiosulphinates, thiosulphonates, mono-, di- และ tri-sulphides) ซึ่งเป็นสารทำให้น้ำตาไหล (lachrymatory factor) และเป็นปัจจัยที่ยับยั้งหรือฆ่าศัตรูของหอมหัวใหญ่
ติดตามรายละเอียดใน คิดก่อนเชื่อ
Thu, 24 Feb 2022 - 10min - 315 - คิดก่อนเชื่อ : เมื่อนมถั่วเหลืองแบบผงสำเร็จรูปไม่ถูกปาก ทำอย่างไรดี
ในทางวิทยาศาสตร์ทางอาหาร นมถั่วเหลืองคืออะไร
• นมถั่วเหลืองเป็นเครื่องดื่มจากธัญพืชที่ผลิตโดยการแช่และบดถั่วเหลือง ต้มส่วนผสมและกรองอนุภาคที่เหลือออก มันเป็นอิมัลชันที่มีเสถียรภาพของน้ำมัน น้ำและโปรตีน รูปแบบเดิมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ระหว่างการผลิตเต้าหู้ มีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกกลายเป็นเครื่องดื่มทั่วไปในยุโรปและอเมริกาเหนือในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคนิคการผลิตได้รับการพัฒนาเพื่อให้ได้รสชาติและความสม่ำเสมอใกล้เคียงกับนม นมถั่วเหลืองถูกใช้แทนนมสำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติหรือต้องการเลี่ยงน้ำตาลแลคโตส
ผลิตภัณฑ์ในลักษณะนมจากถั่วเหลืองมีอะไรบ้าง
• ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 198) พ.ศ.2543 เรื่องน้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เรียกผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกรองถั่วเหลืองที่บดกับน้ำว่าเป็น นมถั่วเหลือง โดยมีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานไว้
• โดยทั่วไป ผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้อาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่ น้ำถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ และนมถั่วเหลือง
นมถั่วเหลืองแบบผงสำเร็จรูป น่าจะเป็นทางเลือกของคนที่ชอบดื่มน้ำเต้าหู้สามารถชงดื่มได้ง่ายๆ เองที่บ้าน มีผลิตภัณฑ์เป็นแบบใดบ้าง
• ผงถั่วเหลืองบดแท้ ๆ 100% ซึ่งทำมาจากถั่วเหลืองเต็มเมล็ดที่ผ่านกระบวนการอบด้วยความร้อนจนสุก แล้วกระเทาะเปลือกออกและบดทั้งเมล็ด คงไว้ซึ่งจมูกถั่วเหลือง ทำให้สามารถคงคุณค่าโปรตีนและแป้งจากถั่วเหลือง พร้อมไขมันไม่อิ่มตัวเป็นหลักโดยไม่ผสมน้ำตาลและครีมเทียมอีกด้วย
o ผลิตภัณฑ์ลักษณะนี้สามารถติดฉลากว่า นมถั่วเหลืองได้ ตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 198 ซึ่งผู้บริโภคบางคนที่เข้าใจกระบวนการผลิตย่อมรับได้ในเรื่องรสชาติ แต่ผู้บริโภคบางคนที่ซื้อมาโดยไม่อ่านฉลากหรือได้มาในลักษณะเป็นของขวัญอาจรู้สึกได้ว่า เมื่อชงน้ำแล้วไม่มีลักษณะเหมือนนมถั่วเหลืองยูเอชทีที่เคยดื่ม เพราะอาจจะก่อความระคายคอ เนื่องจากเป็นถั่วเหลืองกระเทาะเปลือกบดเป็นผงจะมีวิธีใดที่จะช่วยให้รสชาติเครื่องดื่มนมถั่วเหลืองผงสำเร็จรูปอร่อยขึ้น ติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา
Tue, 22 Feb 2022 - 11min - 314 - คิดก่อนเชื่อ : กาแฟแก้ง่วง ดื่มกาแฟถ้าฤทธิ์ของคาเฟอีนหมดอย่างกระทันหันจะเกิดอะไรขึ้น
การดื่มกาแฟเพื่อแก้ง่วง เพราะในกาแฟมีสารคาเฟอีน แต่ถ้าเกิดสภาวะฤทธิ์ของคาเฟอีนหมดอย่างกระทันหัน หรือ caffeine crash จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอยู่ดี ๆ ขณะขับรถแล้วเกิด caffeine crash
caffeine crash หมายถึง อาการที่พบในคนที่มีภาวะอดนอน (Sleep Deprived) นำมาก่อน แล้วพยายามเพิ่มระดับคาเฟอีนในร่างกาย (เช่นดื่มกาแฟช่วงเช้าๆ) จนเกิดอาการตื่นตัว แต่เมื่อผ่านไปไม่กี่ชั่วโมงระหว่างทำงาน ระดับคาเฟอีนในเลือดและสมองก็ลดลงทันที ทำให้คนๆนั้น แสดงอาการได้แก่
o อาการง่วงนอนๆมาก ราวกับอดนอนติดต่อกันมานาน
o ขาดสมาธิ ไม่สามารถเพ่งโฟกัสกับงานที่ทำได้
o อาการหงุดหงิด อยู่ไม่สุข (Irritability)
o จู่ๆ ก็เผลอหลับไป นั่นคือการหลับในนั่นเองเราสามารถลดความเสี่ยงของ caffeine crash ได้อย่างไร
• กระจายการบริโภคคาเฟอีนของคุณไปตลอดทั้งวัน
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• ดื่มน้ำให้เพียงพอ
• อย่าดื่มกาแฟในขณะท้องว่าง
มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง ติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัยMon, 21 Feb 2022 - 11min - 313 - คิดก่อนเชื่อ : คาเฟอีนคืออะไร เมื่อมีประโยชน์ก็มีโทษได้
คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ของสารกลุ่ม methylxanthine ที่จัดเป็นยาออกฤทธิ์ทางจิตประสาทที่บริโภคกันมากที่สุดในโลก ที่สำคัญคือเป็นสารที่มีผลต่อระบบประสาทที่ถูกกฏหมายและแทบไม่มีการควบคุม ยกเว้นการกำหนดให้มีการเตือนในปริมาณการบริโภคเมื่ออยู่ในอาหาร
• กลไกการทำงานของคาเฟอีนเป็นที่รู้จักดีคือ เป็นสารที่แย่งการเข้าจับตัวรับของอะดีโนซีนในลักษณะที่คาเฟอีนยับยั้งการทำงานของอะดีโนซีนแบบชั่วคราว ด้วยกระบวนการนี้ จึงป้องกันไม่ให้เกิดอาการง่วงนอนที่เกิดจากผลของอะดีโนซีน คาเฟอีนยังถูกจัดเป็นตัวช่วยกระตุ้นบางส่วนของระบบประสาทอัตโนมัติ• มีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา และโคล่า ทั่วโลกในปริมาณมาก แหล่งคาเฟอีนที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือ เมล็ดกาแฟ ซึ่งในปี 2020 มีการบริโภคเมล็ดกาแฟเกือบ 10 ล้านตันทั่วโลก ทั้งที่คาเฟอีนเป็นสารประกอบอัลคาลอยด์ซึ่งมักมีรสขม และมีความสัมพันธ์ทางเคมีกับเบสอะดีนีนและกวานีนของ DNA และ RNA
มีงานวิจัยเกี่ยวกับคาเฟอีนอะไรบ้าง และคาเฟอีนมีผลดีต่อสุขภาพทั้งด้านบวกและด้านลบอย่างไรบ้างติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย
Fri, 18 Feb 2022 - 13min - 312 - คิดก่อนเชื่อ : ทำความเข้าใจเรื่องแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค
เราใช้แอลกอฮอล์กันในชีวิตประจำวันมากขึ้น ตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 ก็เพื่อฆ่าเชื้อโรคป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 ทั้งแอลกอฮอล์แบบน้ำ ใช้ฉีดพ่น แบบเจลแอลกอฮอล์ และก็มีสินค้าแอลกอฮอล์ออกมาขายมากมาย มีโฆษณาเช่น แอลกอฮอล์ฟู๊ดเกรด หรือผสมน้ำหอม ราคาก็แตกต่างกัน ในปริมาณที่เท่ากันแต่ราคาต่างกัน เช่นมีทั้งราคา 25 บาท และ 89 บาท
• แอลกอฮอล์ หมายถึงอะไร
ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล แต่ในชีวิตประจำวันเมื่อพูดถึงแอลกอฮอล์แล้ว ทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง เอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล เท่านั้น ถ้าเป็นแอลกอฮอล์ชนิดอื่นต้องระบุชื่อสามัญให้ถูกต้อง
• แอลกอฮอล์ชนิดใดที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าฆ่าเชื้อ
แอลกอฮอล์ที่นำมาใช้ในการฆ่าเชื้อเท่าที่นิยมกันมี 2 ชนิดคือ เอทานอลและไอโซโปรปานอล (หรือที่รู้จักในชื่อ 2-โปรพานอล) ในรูปของ แอลกอฮอล์ถูมือ เจลทำความสะอาดมือ และแผ่นฆ่าเชื้อ ซึ่งมักประกอบด้วยสารละลายไอโซโปรปานอลหรือเอ็ททานอล 60–70% ในน้ำ โดยน้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการเปิดช่องบนผนังเซลล์ของแบคทีเรีย• การแบ่งเกรดแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค เป็นอย่างไร เช่น แอลกอฮอล์ฟู๊ดเกรด ปลอดภัยหากกินเข้าไปจริงหรือ
• ผู้บริโภคจะมั่นใจได้อย่างไรว่าฆ่าเชื้อโรคได้ ปลอดภัย จะเลือกอย่างไร
ฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา
Fri, 11 Feb 2022 - 16min - 311 - คิดก่อนเชื่อ : ภูมิคุ้มกันอาจถูกปรับเปลี่ยนได้ถ้ากินอาหารผลิตทางอุตสาหกรรมบ่อยเกินไป
อาหารอุตสาหกรรมคืออะไร
• อาหารอุตสาหกรรมคือ อาหารที่ผลิตเป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง โดยแต่ละกล่องหรือห่อหรือกระป๋องมีความใกล้เคียงกันทั้งกายภาพและคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งรวมถึงทั้งรสชาติและปริมาณ ส่วนใหญ่นั้นอาหารอุตสาหกรรมเก็บได้นานในช่วงเวลาหนึ่งและที่ช่วงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ ประเด็นที่น่าสนใจคือ การที่ทำให้ได้อาหารตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้ผลิตจำต้องอาศัยเทคโนโลยีทางอาหารที่มีการเลือกใช้สารเจือปนในอาหารที่เหมาะสมในการทำให้อาหารอยู่ในสภาพที่เมื่อผู้บริโภคเห็นด้วยตาและสัมผัสด้วยลิ้นแล้วถูกใจ อาหารอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องใช้สารเจือปนในอาหารมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งยากที่ผู้บริโภคจะรู้จักเพราะมักระบุเป็นระหัส INS ของ JECFA (Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives) หรือ E ตามที่ทางสหภาพยุโรปกำหนด อย่างไรก็ดีราวร้อยละ 99 ทั้งสองระบบใช้เลขระหัสเดียวกันสารเจือปนในอาหารอะไรที่มีข้อมูลการศึกษาว่า มีแนวโน้มในการปรับระบบภูมิต้านทาน
• BHA (E320) ชื่อเต็มคือ butylated hydroxyanisole เป็นสารต้านการหืนของไขมันซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า antioxidant (ความจริงน่าจะใช้คำว่า anti-rancidity) ประโยชน์ของสารประเภทนี้ในอาหารอุตสาหกรรมคือ ป้องกันการเปลี่ยนสภาพของของกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งโดยธรรมชาติแล้วกรดไขมันไม่อิ่มตัวสามารถถูกออกซิไดส์ตรงตำแหน่งที่เป็นพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนในโมเลกุลไขมันให้แตกหัก ได้สารที่ก่อให้เกิดกลิ่นหืนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มอัลดีไฮด์ (aldehyde) ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กจึงระเหยได้
o มีนักวิจัยระดับปรมาจารย์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสารต้านมะเร็งในอาหารคือ Dr. Lee Wattenberg จาก University of Minnesota เคยทำงานวิจัยที่พบว่า BHA สามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองที่ได้รับสารก่อมะเร็งกลุ่ม PAH ได้กล่าวยกย่องให้เป็นสารเจือปนในอาหารที่มีศักยภาพสูงในการต้านการเกิดมะเร็ง อย่างไรก็ดีในอีกแง่หนึ่งเมื่อมีการศึกษาถึงผลของ BHA ต่อระบบภูมิคุ้มกันของเซลล์ที่ได้จากสัตว์ทดลองซึ่งตีพิมพ์เป็นบทความวิจัยเรื่อง Inhibitory Effect of an Anti-oxidant, Butylated Hydroxyanisole, on the Primary in Vitro Immune Response ในวารสาร Proceedings of The Society for Experimental Biology and Medicine ของปี 1977 แล้วปรากฏว่า BHA นั้นมีผลยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทั้ง B-cells และ T-cells อย่างไรก็ดีมีงานวิจัยที่ตามมาหลายชิ้นที่ศึกษาในสัตว์ทดลองพบประมาณว่า BHA นั้นสามารถกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันได้ในปริมาณต่ำ แต่กลับยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันที่ปริมาณสูง ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกับสารต้านออกซิเดชั่นอื่น เช่น เบต้าแคโรทีน
• tartrazine (E102 สีเหลือง) และ Amaranth (E123 สีแดง) ทั้งสองเป็นสีสังเคราะห์ที่มีการอนุญาตให้ใช้ในอาหารอุตสาหกรรมทั่วไป รวมทั้งอาหารที่ผลิตจากอุตสาหกรรมครัวเรือน ซึ่งประเภทหลังค่อนข้างน่ากังวลในปริมาณที่มีการใช้
o นักวิจัยกรีกกลุ่มหนึ่งได้เผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง Immunological studies on Amaranth, Sunset Yellow and Curcumin as food colouring agents in albino rats ในวารสาร Food and Chemical Toxicology ของปี 2010 ที่แสดงให้เห็นว่าสี tartrazine (E102) และ Amaranth (E123) ยับยั้งระบบภูมิต้านทานโดยศึกษาในเม็ดเลือดขาวของคน (Human peripheral blood lymphocytes) ในหลอดทดลองฟังรายละเอียดต่อใน คิดก่อนเชื่อ
Tue, 05 Oct 2021 - 18min - 310 - คิดก่อนเชื่อ : ชนิดของหน้ากากอนามัย ประสิทธิภาพการป้องกันโควิด-19 และข้อมูลที่ระบุบนฉลาก
หน้ากากอนามัยแบ่งได้เป็นกี่ชนิด
• ข้อมูลจาก อย.กล่าวว่า หน้ากากอนามัยแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
o หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Medical mask) มีส่วนประกอบของคาร์บอน หรือที่มีวาล์วปิด หน้ากากอนามัยชนิด N95 หรือหน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียว ที่มีวัตถุประสงค์การใช้ทางการแพทย์ เช่น กรองหรือฆ่าเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย เฉพาะ Surgical mask เป็นต้น เข้าข่ายเป็นเครื่องมือแพทย์ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ต้องได้รับการอนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนการผลิตและนำเข้า
o หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง (Disposable dust mask) หรือมีส่วนประกอบของคาร์บอน หรือที่มีชนิดวาล์วปิด หน้กากชนิด N95 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันฝุ่นละออง, เกสรดอกไม้, หมอกควัน, หน้ากากใช้ในอุตสาหกรรม (Disposable mask for industry) หน้ากากใช้สวมป้องกันความร้อนและเปลวไฟขณะเกิดเพลิงไหม้ (Firefighter Mask) ไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องมือแพทย์ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ไม่ต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนการผลิตและนำเข้าคำว่า medical mask, surgical mask และ procedure mask มีความหมายเหมือนกันหรือไม่
• คำจำกัดความของ WHO ในบทความเรื่อง Advice on the use of masks in the community, during home care and in health care settings in the context of the novel coronavirus (2019-nCoV) outbreak เมื่อ 29 มกราคม 2020 กล่าวว่า มีความหมายเดียวกันตามสถานพยาบาลนั้น ในทางสากลแล้วควรใช้หน้ากากแบบใด
• หน้ากากมาตรฐานสำหรับใช้ในสถานพยาบาลคือ หน้ากาก N95 ซึ่งออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้สวมใส่โดยการกรองอนุภาคในอากาศขนาด 0.3 ไมโครเมตร (µm) และใหญ่ได้กว่าร้อย 95 แต่หน้ากากชนิดนี้บางครั้งขาดตลาดหรือมีราคาดูแพง จึงเกิดคำถามว่า ประชาชนควรใส่หน้ากากอนามัย (ตามความหมายที่ อย. กำหนด) หรือหน้ากากผ้าได้หรือไม่?
o SARS-CoV-2 มีขนาดแต่ละ particle ที่ 0.05-0.14 ไมโครเมตร (หรือ 50-140 นาโนเมตร) ซึ่งเล็กกว่ารูของ N95 อย่างไรก็ดี เท่าที่รู้กันนั้นไวรัสต้องอยู่กับฝอยน้ำลายเสมอ ไม่ได้อยู่เดี่ยว
o ขนาดของฝอยน้ำลายเดี่ยว ๆ ที่ไอออกมาอยู่ที่ 5-10 ไมโครเมตร ซึ่งใหญ่กว่ารูของ N95
o ดังนั้นหน้ากากที่มีขนาดรูบนวัสดุที่ใช้ผลิตเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร เช่น 0.3 ไมโครเมตร ป้องกันฝอยน้ำลายได้ฟังต่อใน คิดก่อนเชื่อ
Mon, 04 Oct 2021 - 18min - 309 - คิดก่อนเชื่อ : วัคซีนสู้โควิด-19 ที่ฉีดไม่เจ็บ เพราะไม่ต้องใช้เข็มปักแขน
บทความเรื่อง India’s DNA Covid Vaccine Is A First — More Are Coming ในวารสาร Nature เมื่อ 9 กันยายน 2021 ให้ข้อมูลว่า วันที่ 23 สิงหาคม 2021 กระทรวงสาธารณสุขของอินเดียได้อนุมัติการใช้ฉุกเฉินแก่วัคซีนสู้โรคโควิด-19 ชื่อ ไซคอฟ-ดี (ZyCoV-D) ซึ่งผลิตโดยบริษัท ไซดัสคาดิลา (Zydus Cadila) ในอินเดียแก่ผู้มีอายุ 12 ปีขึ้นไป
• ไซคอฟ-ดี ถือเป็นวัคซีนต้านเชื้อโควิด-19 ที่พัฒนาโดยใช้พลาสมิดดีเอ็นเอ (Plasmid DNA) จึงจัดเป็นวัคซีนดีเอ็นเอ (DNA based vaccine) ลำดับแรกของโลกในการสู้กับ SARS-CoV-2 โดยมีประสิทธิภาพต้านไวรัสกลายพันธุ์โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้าถึงร้อยละ 66.6
• ข้อบ่งใช้บนฉลากวัคซีนคือ ต้องฉีด 3 โดส ห่างกันประมาณ 28 วันต่อโดส ซึ่งผลจากการทดลองระยะ 3 ในอาสาสมัครจำนวน 28,000 คน และในจำนวนนี้มีเด็กอายุ 12-18 ปี อยู่ 1,000 คน พบว่า ปลอดภัยดีวัคซีนดีเอ็นเอคือ อะไร
• หลักการผลิตและการทำงานวัคซีนดีเอ็นเอ คือ
o สร้างสารพันธุกรรมที่เป็นดีเอ็นเอ 2 สายพันกัน โดยสายหนึ่งเมื่อถูกถอดระหัส (transcription) ภายในเซลล์มนุษย์แล้วจะได้ m-RNA ที่สามารถถูกแปลระหัส (translation) ไปเป็นหนามโปรตีนของ SARS-CoV-2 ที่ได้ไปเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายรู้จักเชื้อโรคและสร้างภูมิคุ้มกันใหักับร่างกายจากโรคโควิด-19 ซึ่งก็ไม่ต่างจากวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ หรือวัคซีนไวรัลเวกเตอร์ สำหรับดีเอ็นเออีกสายหนึ่งทำหน้าที่เป็นสายประคอง (complementary strand) เพื่อช่วยเพิ่มความเสถียรให้ดีเอ็นเอที่ถูกถอดระหัสได้หนามโปรตีน
o นำดีเอ็นเอสายคู่ที่สังเคราะห์ได้ถูกตัดต่อเข้าสู่การเป็นพลาสมิด (plasmid) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอสายคู่ที่มีสภาพเป็นวงกลมเป็นหลัก เพื่อนำส่งเข้าสู่ภายในเซลล์ของแบคทีเรียเจ้าบ้านที่แบ่งเซลล์ได้เร็วจุดเด่นวัคซีนดีเอ็นเอ ได้แก่อะไรบ้าง
• สามารถกำหนด epitome ของตำแหน่งกระตุ้นแอนติบอดีให้เปลี่ยนได้ตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโรค
• ผลิตได้ในปริมาณมาก เร็วและถูก เพราะอาศัยการเพิ่มจำนวนของพลาสมิดไปตามการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียที่เป็นเจ้าบ้านในลักษณะการหมักเชื้อ (fermentation)
• ในกรณีของ ไซคอฟ-ดี สามารถเก็บได้ที่อุณหภูมิตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียสได้เป็นปี และเก็บที่อุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียสได้นานถึงสามเดือน
• การฉีดวัคซีนไปชั้นใต้ผิวหนังคือ หนังแท้ที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมากในระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยกระตุ้นให้ B cell หรือ T cell ให้ถูกพัฒนาตามลำดับไปทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี หรือกลายเป็นเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 และ CD8 ที่พร้อมสู้กับไวรัส ตลอดถึงการสร้างเซลล์จดจำ (memory cells) นั่นคือชั้นหนังแท้นั้นปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวมากกว่าในชั้นกล้ามเนื้อ
• ข้อดีมาก ๆ คือ วัคซีนดีเอ็นเอเป็นวัคซีนที่ฉีดได้ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันสูง ไม่ต้องใช้เข็มเพื่อส่งวัคซีนให้ซึมเข้าทางผิวหนังซึ่งเป็นใช้ขนาดของวัคซีนเพียง 1 ใน 10 ของขนาดที่มักฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นการลดความวิตกกังวลให้กับผู้ที่มีความกลัวต่อเข็มฉีดยาและกลัวผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน
Fri, 01 Oct 2021 - 16min - 308 - คิดก่อนเชื่อ : ประโยชน์ของหน้ากากผ่าตัดที่พิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาในบังคลาเทศและตีพิมพ์ผลงานเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2021 เรื่อง The Impact of Community Masking on COVID-19: A Cluster-Randomized Trial in Bangladesh ในเว็บ www.poverty-action.org ซึ่งเป็นเว็บทางการขององค์กรเอกชนในสหรัฐอเมริกาชื่อ Innovation for Poverty Action หรือ IPA
o น่าเสียดายที่ผลงานนี้ยังไม่ได้ตีพิมพ์ในวารสารที่มี peer review
o IPA ทำงานด้านการวิจัยแก้ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนที่เกิดขึ้นใน 51 ประเทศทั่วโลก โดยได้ทุนจากหลายแหล่งเช่น Bill & Melinda Gates Foundation, Hewlett Foundation, Ford Foundation, World Bank, USAID เป็นต้นกระบวนการศึกษานั้นน่าสนใจอย่างไร
• การศึกษานี้เป็นแบบการสุ่มตัวอย่างที่ใช้อาสาสมัครเกือบ 350,000 คน ในชนบทของบังกลาเทศ ซึ่งได้ผลการศึกษาว่า หน้ากากผ่าตัด (ไม่รวมถึงหน้ากากผ้า) ลดการแพร่เชื้อ SARS-CoV-2 อย่างมีนัยสำคัญในหมู่บ้านที่ทีมวิจัยแจกจ่ายหน้ากากอนามัยและส่งเสริมการใช้
o การทดลองนี้นำไปสู่บทสรุปว่า ควรสิ้นสุดการถกเถียงในการสวมหรือไม่สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคและก้าวไปอีกขั้นในการกำหนดความเข้มงวดในการใช้หน้ากากอนามัยโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ฟังรายละเอียดใน คิดก่อนเชื่อ
Tue, 21 Sep 2021 - 18min - 307 - คิดก่อนเชื่อ : โฆษณาสินค้ามักมีข้อมูลไม่ครบ
โฆษณาขายคอลลาเจนจริง ๆ ควรซื้อมากินหรือไม่
• ในบทความเรื่อง Do Collagen Supplements Work? ในเว็บ www.healthline.com ของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปี 2020 ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคอลลาเจนที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่า การกินคอลลาเจนจากแหล่งภายนอกร่างกาย ทำให้เราได้กรดอะมิโนในลักษณะเดียวกับที่กินโปรตีนแหล่งอื่น สิ่งที่พิเศษหน่อยคือ เมื่อกินคอลลาเจนแล้วจะได้ hydroxyproline และ hydroxylysine ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ลืมคิดว่า กินแล้วกรดอะมิโนทั้งสองไปไหน
o กรดอะมิโนต่าง ๆ (ยกเว้น hydroxyproline และ hydroxylysine) ที่ได้จากการย่อยคอลลาเจนนั้น ร่างกายนำไปสร้างเป็นโปรตีนตามที่แต่ละอวัยวะต้องการ โดยไม่มีการระบุว่า กรดอะมิโนจากคอลลาเจนต้องถูกนำไปสร้างเป็นคอลลาเจน
o จากการสืบค้นข้อมูลปรากฏว่า ไม่พบว่ามีงานวิจัยใดที่แสดงหลักฐานว่า hydroxyproline และ hydroxylysine จากคอลลาเจนถูกนำไปใช้ในการสร้างคอลลาเจนใหม่ (ซึ่งถ้าต้องการพิสูจน์จำต้องใช้กรดอะมิโนที่ถูกสังเคราะห์ให้มีกัมมันตภาพรังสีเพื่อใช้ในการติดตามได้ว่า เข้าไปอยู่ในคอลลาเจนที่สร้างใหม่หรือไม่) เพราะตามทฤษฎีแล้วหลังการสร้างโปรคอลลาเจนแล้วจึงมีปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เรียกว่า hydroxylation แก่กรดอะมิโน proline และกรดอะมิโน lysine ไม่ใช่เอากรดอะมิโนที่ถูกไฮดรอกซิเลชั่นมาก่อนแล้วไปสร้างเป็นโปรตีนโดยตรง
ถาม การดูดซึมคอลลาเจนที่ได้จากกระป๋อง โดยเฉพาะคอลลาเจนไทป์ทู (type 2 collagen) และคอลลาเจนที่ถูกย่อยแล้วบางส่วน (hydrolyzed collagen) มีการกล่าวถึงเป็นงานวิจัยหรือไม่
• จริงแล้ว มีงานวิจัยที่กล่าวถึงการดูดซึมคอลลาเจนนั้น มักเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการดูดซึมหลังการถูกย่อยไปเป็นกรดอะมิโนอิสระแล้ว เพราะในงานวิจัยนั้นเป็นการตรวจวัดการเพิ่มขึ้นของกรดอะมิโนหลายชนิดในเลือดหลังกินคอลลาเจนเข้าไป ไม่ได้วัดว่ามีคอลลาเจนในร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างไร ตัวอย่างเช่นบทความเรื่อง Plasma Amino Acid Concentrations After the Ingestion of Dairy and Collagen Proteins, in Healthy Active Males ในวารสาร Frontiers in Nutrition ของปี 2019 และบทความเรื่อง Enzymatic Hydrolysis of a Collagen Hydrolysate Enhances Postprandial Absorption Rate ในวารสาร Nutrients ของปี 2019.ฟังต่อใน คิดก่อนเชื่อ
Mon, 20 Sep 2021 - 17min - 306 - คิดก่อนเชื่อ : รูปแบบการฉีดวัคซีนไขว้ ที่ WHO ยังงง ๆ อยู่ ตอนที่ 2
วัคซีนต่างประเภทกัน (เชื้อตาย ไวรัลเวกเตอร์ โปรตีนซับยูนิต เอ็ม-อาร์เอ็นเอ) มีผลต่อระดับหรือประเภทของภูมิคุ้มกันหรือไม่
• แพทย์ผู้หนึ่งให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ทางหนังสือพิมพ์ว่า ระบบภูมิคุ้มกันในตัวเรา จะมีเซลล์ 2 กลุ่ม คือ เม็ดเลือดขาว บีเซลล์ และทีเซลล์
o “บีเซลล์”จะจัดการเชื้อต่างๆ โดยการสร้างแอนติบอดีออกมาคอยจับเชื้อทำให้เชื้อไม่สามารถเข้าไปก่อเรื่องในเซลล์ทำให้เซลล์ไม่ติดเชื้อ โดยวัคซีน mRNA และเชื้อตายจะทำงานตรงส่วนนี้ได้ดี
o ขณะที่ “ทีเซลล์” หน้าที่ คือ เมื่อไหร่มีการติดเชื้อ ทีเซลล์จะไปกำจัดการติดเชื้อ วัคซีนที่ทำให้ทีเซลล์ทำหน้าที่ได้ดี คือ วัคซีนไวรัลเวคเตอร์ (เช่น Ad5-N ซึ่งเป็น adenovirus ซึ่งกระตุ้นให้มีการสร้างโปรตีนเปลือกหรือ viral capsid ของ SARS-CoV-2) ทำให้เซลล์ทำงานได้ดี
o อย่างน้อยในขณะนี้มี 4 โรงเรียนแพทย์กำลังทำการศึกษาวัคซีนไขว้กันหลายคู่ เพราะหากไม่มีงานวิจัยรองรับการสลับวัคซีนก็ไม่เป็นระบบ ซึ่งหากผลออกมาคล้ายคลึงกับในต่างประเทศ นโยบายการฉีดวัคซีนไขว้น่าจะเป็นที่ยอมรับ (ประเด็นสำคัญคือ ถ้าผลออกมาดีจะสามารถอธิบายกระบวนการได้หรือไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง)
o การฉีดเข็ม 3 ในทางทฤษฎี น่าจะเป็นกลุ่มกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน “ทีเซลล์” แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้จีนกำลังศึกษาว่า เข็ม 3 ที่เป็นเชื้อตายจะได้ผลหรือไม่ ทั้งหมดนี้ WHO ยังไม่ได้บอกว่ามีความจำเป็นในเข็ม 3 หรือไม่ อยู่ในดุลยพินิจของแต่ละประเทศในการบริหารจัดการ เพราะการบริหารจัดการไม่ใช่แค่ฉีดแต่อยู่ที่ว่ามีวัคซีนหรือไม่ และมีการเก็บข้อมูลเพื่อจะได้รู้ว่ามีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนฟังต่อใน คิดก่อนเชื่อ
Fri, 17 Sep 2021 - 18min - 305 - คิดก่อนเชื่อ : รูปแบบการฉีดวัคซีนไขว้ ที่ WHO ยังงง ๆ อยู่ ตอนที่ 1
มีข่าวในช่วงการระบาดของโควิด 19 ใหม่ ๆ ว่าฉีดวัคซีนไวรัลเว็คเตอร์ตามผู้ผลิตแนะนำก็สามารถป้องกันโรคได้ นั่นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องสำหรับสายพันธุ์อัลฟ่า แต่กับเดลต้าไม่ใช่แบบนั้นแล้ว ซึ่งงานวิจัยต่างประเทศก็ออกมาพูดเรื่องนี้กันเยอะว่า ฉีดเท่าเดิมไม่เพียงพแล้วอต้องฉีดเพิ่ม ที่สำคัญคือ เมื่อเวลาผ่านไปภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนจะลดลง หากไม่กระตุ้นให้ทันก่อนที่จะลดต่ำมาถึงจุดที่ไม่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ก็จะเกิดอันตรายได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่
• เป็นที่ทราบกันว่า ระดับแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้นนั้นเมื่อไม่ถูกใช้งานก็จะลดลงแน่นอน ดังนั้นถ้าจะให้แอนติบอดีเพิ่มขึ้นอีกก็ต้องมีการติดเชื้อหรือมีการกระตุ้นด้วยวัคซีนเข็ม 2 ข้อมูลเหล่านี้น่าจะอยู่บนพื้นฐานที่ว่า แม้ประชาชนจะใส่หน้ากากอนามัน 1-2 ชั้นแล้วก็ยังมีความเสี่ยงถ้าต้องเข้าไปในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ตลาดนัด จึงต้องพยายามรักษาระดับแอนติบอดีไว้
• แพทย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า ในหลายประเทศได้เริ่มมีการฉีดวัคซีนต่างประเภทกัน ซึ่งถ้าจับคู่ดีๆ ภูมิคุ้มกันอาจดีขึ้นกว่าวัคซีนชนิดเดียว ได้แก่ วัคซีน mRNA กับวัคซีนไวรัลเวคเตอร์, วัคซีนไวรัลเวกเตอร์กับวัคซีนเชื้อตาย และวัคซีนเชื้อตายกับวัคซีน mRNA แต่องค์การอนามัยโลกยังไม่รับรอง เพราะงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในจำนวนคนไข้ไม่เยอะนัก ยังไม่มีใครศึกษาในคนไข้ที่จำนวนมากพอ องค์การอนามัยโรคกำลังเฝ้าติดตาม ซึ่งเมื่อไหร่ที่งานวิจัยหลากหลายแล้วผลออกมาตรงกัน เชื่อว่าองค์การอนามัยโลกจะตัดสินใจออกนโยบายในเรื่องนี้ แต่ตอนนี้องค์การอนามัยโรคยังคงแนะนำแบบทั่วไปว่า เข็มหนึ่งฉีดแบบไหน เข็มสองก็ควรฉีดแบบนั้น”ติดตามเพิ่มเติมใน คิดก่อนเชื่อ
Thu, 16 Sep 2021 - 15min - 304 - คิดก่อนเชื่อ : มีข้อสังเกตในการเลือกซื้อผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าหรือไม่
งานวิจัยเกี่ยวกับผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้าที่ดีนั้น มีการเผยแพร่หรือไม่
• ส่วนใหญ่ที่เป็นการเผยแพร่ทางวิชาการนั้นมักเป็นงานระดับพื้นฐานทางชีวเคมีที่ใช้เฉพาะในงานวิจัยในห้องปฏิบัติการ ส่วนผลการวิจัยที่เกี่ยวกับการซักผ้าในบ้านโดยตรงนั้นดูเหมือนไม่มีการเผยแพร่ คงเนื่องจากเป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าของแต่ละบริษัท
• มีบทความ เรื่อง The Best Laundry Detergents of 2021 Americans spend billions of dollars every year on laundry detergents. ซึ่งกล่าวนำประมาณว่า ชาวอเมริกันใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์ทุกปีเพื่อซื้อผงซักฟอก คนส่วนใหญ่จะซื้อผงซักฟอกเนื่องจากชอบกลิ่น มีคุณสมบัติที่ชอบ หรือบอกตามตรงว่า กำลังลดราคา และจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการทำให้พบว่า น้ำยาซักผ้าบางชนิดสามารถทำความสะอาดได้ดีกว่าแบบอื่นๆ โดยวัดจากความแตกต่างระหว่างการมีคราบเล็กๆ ที่หลงเหลืออยู่บนเสื้อผ้าและความสะอาดแบบไร้ที่ติ
ฟังรายละเอียดเพิ่มเติม ใน คิดก่อนเชื่อWed, 15 Sep 2021 - 15min - 303 - คิดก่อนเชื่อ : คำแนะนำในการเลือกกินผักเพื่อลดอันตรายจากสารพิษ
เคยได้รับการเสนอให้ซื้อคลอโรฟิลล์ผงซึ่งเมื่อละลายน้ำแล้วได้น้ำสีเขียวในลักษณะเดียวกับน้ำใบบัวบกหรือไม่
• คลอโรฟิลล์ผงซึ่งเรียกว่า คลอโรฟิลลิน (chlorophyllin) เป็นสารเคมีกึ่งสังเคราะห์ที่ดัดแปลงมาจากคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ธรรมชาติที่สกัดออกมาจากใบพืช การดัดแปลงนั้นเป็นการตัดส่วนที่เป็นไฮโดรคาร์บอนซึ่งทำให้คลอโรฟิลล์ไม่ละลายน้ำออกไป เปลี่ยนธาตุแมกนีเซียมที่อยู่ในโมเลกุลไปเป็นธาตุทองแดง และมีการออกซิไดส์บางส่วนของโมเลกุลให้มีการจับตัวกับธาตุโซเดียม ทั้งหมดนี้เป็นการทำให้คลอโรฟิลลินที่ได้ละลายน้ำได้ดี ซึ่งต่างกับน้ำใบบัวบกที่เพียงแขวนลอยในน้ำได้พักหนึ่งก็จะแยกตัว ดังนั้นทุกครั้งที่มีการตักน้ำใบบัวบกใส่แก้วจำต้องมีการคนให้เกิดการกระจายตัวชั่วคราว
• ทั้งคลอโรฟิลล์และคลอโรฟิลลินเป็นสารเคมีซึ่งมีโมเลกุลใหญ่และมีอะตอมของโลหะซึ่งมีประจุ จึงไม่สามารถซึมผ่านผนังของทางเดินอาหารได้คลอโรฟิลล์และคลอโรฟิลลิน มีประโยชน์เหมือนกันหรือไม่ และประโยชน์นั้นมาจากอะไร
• ประโยชน์นั้นเหมือนกัน เพราะเกิดเนื่องจากโมเลกุลของสารทั้งสองมีส่วนใจกลางที่เรียกว่า วงพอร์ไฟริน (porphyrin ring) ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมือนกับใจกลางของฮีโมโกลบินในเลือดของคน ต่างกันที่ใจกลางพอร์ไฟรินของคลอโรฟิลล์เป็นแมกนีเซียม คลอโรฟิลลินเป็นทองแดง และฮีโมโกลบินเป็นเหล็ก ส่วนประโยชน์ของโมเลกุลทั้งสามที่เหมือนกันคือ สามารถจับสารพิษที่มีลักษณะโมเลกุลที่แบนราบ (planar form) เช่น โพลีไซคลิกอะโรเมติกไฮโดรคาร์บอน อะฟลาทอกซิน เพราะวงพอร์ไฟรินนั้นเป็นสารอินทรีย์ที่มีรูปสามมิติที่มีลักษณะแบนราบเช่นกัน คุณสมบัติอย่างหนึ่งทางเคมีของสารที่มีลักษณะดังกล่าวนี้คือ มีแรงดึงดูดอ่อน ๆ ทางกายภาพที่สามารถให้สารสองโมเลกุลที่ต่างกันเข้าจับกันในลักษณะประกบกันได้ดีในระดับหนึ่ง งานวิจัยที่อธิบายด้วยกระบวนการนี้มีมากมายทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันฟังต่อใน คิดก่อนเชื่อ
Tue, 14 Sep 2021 - 18min - 302 - คิดก่อนเชื่อ : มันฝรั่งทำอะไรก็อร่อย แต่ปลอดภัยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง
เมื่อซื้อมันฝรั่งมาเก็บไว้ในครัวจนลืม มาพบอีกครั้งคือ มันฝรั่งเริ่มมีสีเขียว ต้นอ่อนเริ่มงอกและมีรากแล้ว สิ่งหลายคนทำคือ ตัดลำต้นและรากทิ้ง จากนั้นก็ปอกเปลือกออกแล้วรีบปรุงเป็นอาหาร พฤติกรรมดังนี้ปลอดภัยหรือไม่
• โดยพื้นฐานแล้วผู้บริโภคไม่ควรกินมันฝรั่งที่เปลือกออกสีเขียว ทั้งที่ความจริงสีเขียวนั้นคือ คลอโรฟิลล์
o ปรกติแล้วมันฝรั่งจะมีเปลือกสีกากี (น้ำตาล) แต่ถ้าเริ่มออกสีเขียวเมื่อใด แสดงว่า มันฝรั่งนั้นกำลังเข้าสู่กระบวนการเริ่มงอกแล้ว ซึ่งช่วงนี้มันฝรั่งจะมีสารพิษกลุ่มหนึ่งชื่อ ไกลโคอัลคาลอยด์ (glycoalkaloid) เพิ่มขึ้น
o คำว่า Glycoalkaloid นั้น glyco คือ กลุ่มน้ำตาล ส่วน alkaloid คือ สารอินทรีย์กลุ่มที่มีธาตุไนโตรเจนอยู่ภายในโมเลกุล โดยทั่วไปอัลคาลอยด์มักมีฤทธิ์ทางยาหรือสารพิษ ในธรรมชาติจะพบอัลคาลอยด์มากในพืชชั้นสูง ตามส่วนต่าง ๆ ของพืชเช่น ใบ ดอก ผล เมล็ด รากและเปลือก แต่ก็มีบ้างที่เป็นสารพิษจากเชื้อรา เช่น ergot alkaloid ที่เกิดจากราชื่อ Claviceps purpurea ซึ่งเกิดบนข้าวไรน์ที่เกี่ยวหนีหิมะไม่ทัน พืชชนิดอื่นที่มีไกลโคอัลคาลอยด์ เช่น มะเขือเทศและมะเขือต่างๆ
• หัวมันฝรั่งที่เริ่มออกสีเขียวนั้น มีสารพิษกลับโคอัลคาลอยด์เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว นอกจากนี้แล้วหัวมันที่ถูกโยนจนช้ำ เก็บในที่อุณหภูมิสูงไป ได้รับแสงแดด หรือมีแมลงเจาะ มักสร้างสารกลัยโคอัลคาลอยด์เพิ่มขึ้น
o สมมุติฐานหนึ่งในการสร้างสารพิษนั้นเป็นการเตรียมตัวเพื่อต่อสู้กับแมลงที่จะเข้าโจมตี ประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อมีสารพิษเกิดขึ้นใต้เปลือกแล้ว สารพิษนั้นจะซึมไปรอบ การตัดต้นหรือรากทิ้งนั้นไม่ได้ช่วยให้สารพิษหมดไป ทดสอบได้จากการลองชิมดูจะรู้สึกถึงรสขมซึ่งเป็นธรรมชาติของอัลคาลอยด์ทั่วไปการให้ความร้อนแก่มันฝรั่งระหว่างการปรุงอาหารสามารถทำลายไกลโคอัลคาลอยด์ได้หรือไม่
• ไกลโคอัลคาลอยด์นั้นเป็นสารที่ค่อนข้างทนความร้อน การปรุงอาหารธรรมดาจึงทำลายได้ไม่มากนัก ในทางอุตสาหกรรม เช่น การทำมันฝรั่งทอดนั้น โดยพื้นฐานแล้วหัวมันจะถูกล้างในเครื่องด้วยน้ำร้อนและลวกไอน้ำ โดยน้ำนั้นอาจมีการปรับให้มีฤทธิ์เป็นด่างเพื่อช่วยในการทำให้เปลือกยุ่ย ง่ายต่อการขัดให้เปลือกหลุดออกไปด้วยเครื่องอัตโนมัติ ดังนั้นสารพิษนี้จึงอาจหลุดละลายไปกับน้ำเป็นบางส่วน แต่ส่วนที่เหลือนั้น จะทอด ต้ม หรือผัดอย่างไร ก็ทำลายไม่ได้มีไกลโคอัลคาลอยด์ในมันฝรั่งดิบสักเท่าไร
• โดยปรกติแล้วมีไม่เกิน 10-20 มิลลิกรัม/กิโลกรัมทั้งหัว โดยส่วนใหญ่อยู่ที่เปลือกซึ่ง มากกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ในมันฝรั่งที่มีสีเขียวแล้วอาจมีไกลโคอัลคาลอยด์ถึง 250–280 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยส่วนเปลือกที่มีสีเขียวอาจมีถึง 1,500 –2,200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
• อาการทั่วไปที่เกิดจากฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์คือ เป็นไข้ ปวดหัว ปวดท้อง ถ่ายท้อง อาเจียน ชีพจรเบาลง หายใจช้าลง ทั้งนี้เพราะไกลโคอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ทำลายผนังเซลล์ทางเดินอาหาร และเป็นสารพิษต่อระบบประสาทในลักษณะเดียวกับยาฆ่าแมลงชนิดออร์กาโนฟอสเฟตคือ เป็น cholinesterase inhibitor แต่อาการไม่หนักถึงขั้นเสียชีวิตแบบเกษตรกรที่ได้รับสารกำจัดแมลงวิธีการเพื่อลดการเพิ่มของไกลโคอัลคาลอยด์เมื่อซื้อมันฝรั่งมา ทำได้อย่างไร
• เก็บมันฝรั่งในที่เย็น (การเก็บที่ 25 องศาเซลเซียสทำให้ไกลโคอัลคาลอยด์เพิ่มเป็น 3 เท่าของการเก็บที่ 7 องศาเซลเซียส)
• อย่าให้โดนแสงแดดหรือแสงไฟโดยไม่จำเป็น
• ต้องขนส่งอย่างเบามืออย่าให้ช้ำ
• ที่สำคัญคือ ต้องอยู่ในภาชนะกันแมลงได้
Mon, 13 Sep 2021 - 16min - 301 - คิดก่อนเชื่อ : วัคซีนโควิด-19 เข็ม 3 ในสหรัฐอเมริกา
องค์การอนามัยโลก (WHO) เคยออกมาบอกว่า ขอให้ประเทศที่มีวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากพอ แบ่งปันให้ประเทศที่ยากจนและขาดโอกาสในการฉีดวัคซีน แต่บางประเทศก็ได้ฉีดวัคซันเข็ม 3 หรือบางทีอาจจะเป็นเข็มที่ 4 แล้ว มาฟังงานวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 3 ของสหรัฐอเมริกาว่า มีกฎหมายระบุว่าอย่างไร
ในคิดก่อนเชื่อ
Fri, 10 Sep 2021 - 18min - 300 - คิดก่อนเชื่อ : ฉีดวัคซีนชนิดเดียวกันแล้วภูมิคุ้มกันทำไมถึงต่างกัน
ทำไม การฉีดวัคซีนลดความรุนแรงโรคโควิด-19 จึงมีข่าว เช่น วัคซีนชนิดหนึ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีกว่าอีกชนิดหนึ่ง วัคซีนลักษณะเดียวกันยี่ห้อเดียวกันฉีดแล้วกระตุ้นภูมิคุ้มกันขึ้นต่างกันเหมือนฟ้ากับเหว ตลอดจนถึงการฉีดวัคซีนไขว้กันไปมาหลายสูตรแบบ ลองแล้วเปลี่ยน-เปลี่ยนแล้วลอง แต่ภูมิคุ้มกันก็ยังขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้าง เลยต้องพยายามหาเข็มสามมาฉีด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เพราะระบบภูมิคุ้มกันนั้นมีระดับแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ
มีบทความวิชาการเรื่องหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ก่อนเกิดการมีวัคซีนสำหรับโรค COVID-19 ชื่อ Factors That Influence the Immune Response to Vaccination (ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการฉีดวัคซีน) ในวารสาร Clinical Microbiology Reviews ของปี 2019 ให้ข้อมูลที่สำคัญในการทำความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ที่พบว่า การฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน เกิดภูมิคุ้มกันในรูปแบบต่างกันคือ ขึ้นช้าบ้าง เร็วบ้าง ระดับตกเร็ว-ช้าต่างกัน เป็นต้น กล่าวคือ
o แอนติบอดีตามธรรมชาติ ในมนุษย์คือ IgM และ IgA ซึ่งสร้างโดยเซลล์ที่เรียกว่า เม็ดเลือดขาว B-1 ในตัวอ่อนและหลังคลอด โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1 ของ immunoglobulins ในเลือด (ซึ่งเริ่มลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น) มีความสำคัญในการป้องกันโรคต่าง รวมถึงโรคแพ้ภูมิตนเอง การอุดตันในเส้นเลือด อาการอักเสบ ตลอดจนถึงมะเร็ง
o แอนติบอดีจากการกระตุ้นเกิดจากสิ่งแปลกปลอม ซึ่งมีความสามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีซึ่งเรียกว่า antigenicity
o ภูมิคุ้มกันแบบเซลล์ ซึ่งได้แก่ T-cells ชนิดต่าง ๆ คือ เซลล์ที่จัดการกับสิ่งแปลกปลอมทั้งที่เป็นเซลล์หรือชิ้นส่วนที่มีคุณสมบัติเป็นโปรตีน เมื่อตรวจพบว่า ลักษณะโปรตีนนั้นไม่ใช่โปรตีนที่ร่างกายผลิต T-cells จะจัดการทำลายทิ้งด้วยวิธีต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของแต่ละคนเมื่อได้รับวัคซีน มีอะไรบ้าง• ความแตกต่างนั้นเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในท้องแม่เพราะมีงานวิจัยที่พบว่า อายุครรภ์ของทารกก่อนคลอดมีบทบาทสำคัญในการกำหนดระบบภูมิคุ้มกันของเด็กเพื่อตอบสนองต่อการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวต่าง ๆ
• ปัจจัยภายในแต่ละบุคคลที่ออกเผชิญโลก ซึ่งได้แก่ อายุ เพศ พันธุกรรม และโรคประจำตัว
• สภาพแวดล้อมที่เด็กเกิดและเติบโตมามีผลอย่างมากต่อการตอบสนองของแอนติบอดีต่อวัคซีนประเภทต่างๆ
• ความแตกต่างในการพัฒนาประเทศ
• พฤติกรรมส่วนตัวมีผลต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย อาหาร การนอน
• ความแตกต่างที่ชนิดของวัคซีน เช่น เชื้อตาย หรือ mRNA ฯ
ติดตามฟังเพิ่มเติม คลิกคิดก่อนเชื่อกับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ ตอนนี้
Thu, 09 Sep 2021 - 19min - 299 - คิดก่อนเชื่อ : งานศพแบบ new normal ของคนที่ตายแบบปรกติ จัดได้อย่างไร
ในกรณีต้องการจัดงานศพแบบ new normal จะต้องทำอย่างไร
• ลดจำนวนผู้เข้าพิธีเพื่อป้องกันการเกิด cluster ของโควิด-19 โดยหลักการป้องกันการติดโควิด-19 คือ สวมหน้ากาก อยู่ห่างกัน ล้างมือให้สะอาด• ขั้นตอนของพิธีพยายามให้รวบรัดที่สุด
งานศพที่จัดแบบ new normal โดยสรุปแล้วมีข้อดีอย่างไรบ้าง
• งานนั้นรวบรัด ทำให้เจ้าภาพไม่เหนื่อยมากนักมีจังหวะเวลาที่จะทบทวนถึงความดีงามของผู้เสียชีวิต เพราะไม่ต้องเสียเวลาดูแลแขกที่มักมาตามมรรยาทสังคม
• ไม่ต้องเลี้ยงอาหารระหว่างการสวดพระอภิธรรม จึงไม่ต้องร้อนหูว่าอาหารไม่อร่อย
• ไม่ต้องจ่ายเงินค่าของชำร่วย ซึ่งไม่ว่าของชำร่วยจากงานไหนมักไม่ค่อยได้ใช้
Mon, 06 Sep 2021 - 18min - 298 - คิดก่อนเชื่อ : โควิด-19 มาจากไหน ตอนที่ 2
อะไรคือ หลักฐานที่นำไปสู่ข้อสงสัยว่า สหรัฐอเมริกาและจีน น่าจะเกี่ยวข้องต่อการเกิดไวรัสก่อโรคโควิด-19
• ในช่วงปลายปี 2019 ทีมของนักวิทยาศาสตร์จีนนำโดย Dr. Shi Zhengli (ฉีเจิ้งลี่) ซึ่งเป็นนักไวรัสวิทยาและรองผู้อำนวยการสถาบันไวรัสวิทยา ที่หวู่ฮั่น ในมณฑลหูเป่ย ทางตอนกลางของจีน ได้ทำถอดระหัสพันธุกรรมของ coronavirus ในค้างคาวถ้ำ (Chinese horseshoe bat) ที่จับได้ในมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและพบว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่Dr. Shi Zhengli กล่าวว่า ตัวอย่างไวรัสที่ศึกษานั้นได้รับในวันที่ 30 ธันวาคม 2019 จากนั้นจึงทำการถอดระหัสพันธุกรรมแล้วตั้งชื่อชั่วคราวว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (novel coronavirus) โดยทางจีนได้แจ้งข้อมูลไปยัง WHO เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2020 และต่อมาในต้นเดือนกุมภาพันธ์จึงเริ่มพบว่า ไวรัสสายพันธ์ใหม่นี้มีความเชื่อมโยงกับอาการปอดบวมอย่างหนักของคนไข้ในของโรงพยาบาลที่หวู่ฮั่น
• นิตยสาร MIT Technology Review ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2021 ได้ให้ข้อมูลย้อนหลังถึงความเกี่ยวข้องของ ดร. แบริค ที่นำมาสู่ความน่าสงสัยเกี่ยวกับต้นตอของ SARS-CoV-2 ในบทความเรื่อง Inside the risky bat-virus engineering that links America to Wuhan (ความเชื่อมโยงให้อเมริกาเกี่ยวข้องกับหวูฮั่นนั้นเกิดเนื่องจากความเสี่ยงของไวรัสในค้างคาวที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรม) ซึ่งกล่าวว่า ดร.แบริค ได้ติดต่อกับ ดร.ฉี เพื่อขอตัวอย่างและข้อมูลพันธุกรรมของไวรัสดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ในการวิจัยและสร้างไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ภายในห้องปฏิบัติการ ที่สามารถแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้
o สุดท้ายมีการตีพิมพ์ข้อมูลความสำเร็จในการสังเคราะห์ไวรัสชนิดใหม่ซึ่ง ดร.แบริคและ ดร.ฉี มีชื่อเป็นผู้ร่วมวิจัยในวารสาร Nature Medicine ของปี 2015 เป็นบทความเรื่อง A SARS-like cluster of circulating bat coronaviruses shows potential for human emergence (ไวรัสโคโรนาที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค SARS ในค้างคาวได้แสดงศักยภาพในการก่อโรคในมนุษย์)
ติดตามเพิ่มเติม ใน คิดก่อนเชื่อFri, 03 Sep 2021 - 16min - 297 - คิดก่อนเชื่อ : โควิด-19 มาจากไหน ตอนที่ 1
ผู้คนทั่วโลกยังสงสัยว่าไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อโรคโควิด-19 มาจากไหน
กลางปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนอเมริกันมากมายกำลังติดเชื้อโควิด-19 อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เริ่มเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) ว่า โควิด-19 หลุดรอดออกมาจากห้องแล็บในหวู่ฮั่น ประเทศจีน ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องส่งทีมงานไปพิสูจน์เรื่องนี้ แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถสร้างความกระจ่างในเรื่องนี้ได้
กลางเดือนกันยายน 2020 มีรายงานข่าวว่า ดร.เหยียน ลี่-ม่อง ซึ่งเป็นแพทย์ (MD.) และนักจักษุวิทยา (Ph.D.) ชาวฮ่องกง ให้สัมภาษณ์ระบุรัฐบาลจีนรู้เรื่องว่า มีการค้นพบ COVID-19 ตั้งแต่ปี 2019 แต่ปกปิดเอาไว้จนเกิดการระบาดไปทั้งโลก เธอบอกว่า ได้เตือนให้ระวังเชื้อไวรัสตัวใหม่ที่ ติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยอ้างรัฐบาลจีนไม่อนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูล ทำให้แพทย์ตามโรงพยาบาลไม่กล้าทำอะไร ส่งผลให้เธอต้องหนีออกมาสหรัฐเพื่อเปิดเผยให้คนทั้งโลกได้รู้ อย่างไรก็ดี กรณีของ ดร. หยาน หลี่-เหมิง ดูจะจบค่อนข้างรวดเร็ว เพราะมีการด้อยค่าในข้อมูลที่ ดร.หยาน อ้างจากบทความวิจัยของเธอเองที่ตีพิมพ์ในวารสารที่เป็น preprint ซึ่งไม่มีการสอบทานถึงความถูกต้องทางวิชาการ
ผ่านมาราว 1 ปี ในวันที่ 15 สิงหาคม 2021 มีบทความชื่อ Conspiracy theory or reasonable skepticism? Why we should demand an investigation into US labs for origins of COVID-19 (ทฤษฎีสมคบคิดหรือความสงสัยที่สมเหตุสมผล? ทำไมเราควรเรียกร้องให้มีการสอบสวนห้องทดลองของสหรัฐฯ เพื่อหาที่มาของ COVID-19) บอกว่าชาวจีนกว่า 25 ล้านคนได้ลงนามเพื่ออุทธรณ์องค์การอนามัยโลกให้มีการสอบสวนห้องปฏิบัติการทางชีววิทยาของ Fort Detrick (ฟอร์ท เด-ทริค) สังกัดกองทัพบกในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสำนักงานข่าวของสหรัฐอเมริกันบางแห่ง ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการที่ Fort Detrick พัวพันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ COVID-19
ในบทความได้ชี้ถึงเบาะแสและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารทางวิชาการและรายงานสาธารณะส่วนหนึ่งจากสื่อของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับ Fort Detrick ซึ่งโยงไปถึงความเกี่ยวข้องกับ ดร. ราล์ฟ แบริค (Ralph Baric) ศาสตราจารย์ในภาควิชาระบาดวิทยาและภาควิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา มหาวิทยาลัย University of North Carolina at Chapel Hill
ดร.แบริค เป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างยิ่งในการปรับแต่งไวรัสให้เปลี่ยนแปลงไปตามต้องการด้วยเทคนิคทางการตัดแต่งพันธุกรรม และถือสิทธิบัตร 13 เรื่องที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับไวรัสที่เป็นอันตราย 3 ชนิด
ในบทความวิจัยเรื่อง Reverse genetics with a full-length infectious cDNA of severe acute respiratory syndrome coronavirus (การทำงานย้อมกลับหน่วยพันธุกรรมทั้งระบบทำให้ได้ cDNA ซึ่งจำลองเป็นไวรัสโคโรนาซึ่งก่อโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันอย่างร้ายแรง)
ดร.แบริค ซึ่งเป็นผู้ร่วมทำวิจัยด้วยได้แสดงศักยภาพของเทคนิคที่คิดค้นชื่อ SARS-CoV reverse genetics system จนสามารถสังเคราะห์ cDNA แบบเต็มความยาวจากหน่วยพันธุกรรม (RNA) ของ SARS-CoV สายพันธุ์ Urbani (SARS มาจากคำว่า Severe Acute Respiratory Syndrome ซึ่งแปลเป็นไทยว่า โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันอย่างรุนแรง)
จากเทคนิคดังกล่าว ทำให้ทีมวิจัยสามารถสังเคราะห์ไวรัสโคโรนาในกลุ่ม SARS ที่มีการกลายพันธุ์ตามตำแหน่งที่ต้องการขึ้นมาได้ และสุดท้ายทั้งหมดได้ยื่นขอสิทธิบัตรในสิ่งที่ค้นพบสำเร็จในปี 2007 เป็นสิทธิบัตร patent code US7279327B2.
จากเทคนิคเฉพาะที่ค้นพบนี้ ดร.แบริค ได้เริ่มสะสมตัวอย่างไวรัสโคโรนาจากทั่วโลก ซึ่งนิตยสาร MIT Technology Review ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2021 มีบทความเรื่อง “Inside the risky bat-virus engineering that links America to Wuhan” (ความเสี่ยงที่เชื่อมโยงให้อเมริกาเกี่ยวข้องกับหวูฮั่นนั้นเกิดเนื่องจากไวรัสในค้างคาวที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรม) ได้กล่าวเป็นเชิงว่า ดร.แบริค ต้องการสร้างไวรัสโคโรนาที่แพร่เชื้อได้ดี เพื่อเป็นต้นแบบนำไปสู่การพัฒนายาและวัคซีนที่ต่อต้านไวรัสโคโรนาทั้งหลายที่ก่ออาการคล้ายโรค SARS ที่ระบาดในปี 2013
Thu, 02 Sep 2021 - 16min - 296 - คิดก่อนเชื่อ : กลิ่นตัวเปลี่ยนเพราะวัคซีน
ทำไมมนุษย์ถึงมีกลิ่นตัว
• โดยปรกติมนุษย์แต่ละคนมีกลิ่นตัวที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่กลิ่นอ่อน ๆ ไปจนถึงกลิ่นฉุน ส่วนมากแล้วจุดที่เกิดกลิ่นตัวมักจะเป็นบริเวณศีรษะ ท้ายทอย ส่วนที่เป็นส่วนข้อพับต่าง ๆ เช่น รักแร้ ขาหนีบ และอาจจะมีบ้างที่เกิดขึ้นจากบริเวณอวัยวะเพศ
อะไรคือปัจจัยที่ทำให้กลิ่นตัวต่างกัน
• กลิ่นตัวมากหรือน้อยมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมเป็นปัจจัยหลัก ส่วนสิ่งแวดล้อมเช่น อาหารนั้นเป็นปัจจัยรอง นอกจากนี้สภาวะทางสรีรภาพเช่น การเจ็บป่วยก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นตัวได้
การฉีดวัคซีนทำให้กลิ่นตัวเปลี่ยนเพราะอะไร มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้อง ฟังใน คิดก่อนเชื่อThu, 05 Aug 2021 - 10min - 295 - คิดก่อนเชื่อ : น้ำประปาที่ LA สหรัฐฯ เคยมีสารก่อมะเร็ง เกิดจากอะไร
อ่างเก็บน้ำซิลเวอร์เลคและเอลิเซียน ใน LA สหรัฐฯ ถูกตรวจพบว่ามี อนุมูลโบรไมด์จากน้ำบาดาล เมื่อมีการเติมคลอรีนเพื่อให้เกิดอนุมูลคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในขณะที่มีแสงแดดที่แรงกล้า ได้มีการก่อตัวเกิดอนุมูลโบรเมต
ในการการขจัดสิ่งปนเปื้อนนั้นใช้เวลา 4 เดือน โดยปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนมากกว่า 2.3 ล้าน ลูกบาศก์เมตร
o ดังนั้นในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2008 LADWP ได้เริ่มทดลองเทลูกบอลพลาสติกสีดำเพื่อปกคลุมพื้นผิวของอ่างเก็บน้ำ Ivanhoe ขนาด 2.2 แสนลูกบาศก์เมตร (น่าจะเป็นคนละอ่างเก็บน้ำที่กล่าวข้างต้น) เพื่อบังแสงซึ่งเป็นการตัดปัจจัยสำคัญที่ทำให้อนุมูลโบรไมด์ที่มีอยู่ในน้ำตามธรรมชาติทำปฏิกิริยากับอนุมูลคลอไรด์จากคลอรีนที่ใช้ในการบำบัดเชื้อ ผลคือน้ำที่อยู่ในอ่างไม่มีโบรเมตฟังเพิ่มเติม ใน คิดก่อนเชื่อ
Wed, 04 Aug 2021 - 15min - 294 - คิดก่อนเชื่อ : การวิจัยวัคซีนต้านโควิด-19 แบบผงและพ่นคอ
• วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ที่ใช้กันปัจจุบันอยู่ในรูปแบบของเหลวซึ่งฉีดผ่านเข็มเข้าสู่กล้ามเนื้อ แต่ล่าสุดทีมนักวิจัยกลุ่มหนึ่งจากสวีเดนก็ได้ทำการพัฒนาวัคซีนสู้ COVID-19 แบบผง ซึ่งใช้งานโดยวิธีสูดเข้าทางปากแทน
• บริษัท Iconovo ตั้งอยู่ในเมดิคอนวิลเลจ ในสตอกโฮล์ม ทางตอนใต้ของสวีเดน กำลังร่วมมือกับบริษัท ISR ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านภูมิคุ้มกันวิทยา เพื่อพัฒนาวัคซีนผงแห้งที่ใช้ต้าน COVID-19 ทางทีมวิจัยหวังว่า วัคซีนที่ได้จะสามารถช่วยให้คนทั่วไปสูดพ่นวัคซีนได้ด้วยตัวเองที่บ้าน โดยผู้ใช้เพียงแค่แกะแผ่นพลาสติกเล็ก ๆ บนอุปกรณ์เรียกว่า vaccine inhaler ออก เพื่อที่อุปกรณ์นี้จะเริ่มทำงานในการพ่นวัคซีนชนิดผง โดยผู้ใช้เพียงแค่นำมันเข้าไปไว้ในปากจากนั้นสูดหายใจเข้าลึก ๆ (น่าจะคล้ายการสูบบุหรี่)
• ผู้ผลิตอ้างว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นวัคซีนที่ใช้ง่ายและมีต้นทุนที่ถูกมาก เพราะถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันกับยาพ่นสำหรับโรคหอบหืด จึงไม่จำเป็นจะต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์เหมือนที่ต้องใช้ในการวัคซีนที่เป็นของเหลว ผลิตภัณฑ์จึงเหมาะกับประเทศที่ขาดระบบ cold chain เช่นใน แอฟริกา และผู้บริโภคที่กลัวเข็มติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมใน คิดก่อนเชื่อ
Tue, 03 Aug 2021 - 17min - 293 - คิดก่อนเชื่อ : หยิบยาเก่ามาสู้โควิด-19
• มีบทความวิจัยชื่อ N-acetylcysteine as a potential treatment for COVID-19 ในวารสาร Future Microbiology ของปี 2020 และบทความชื่อ N-Acetylcysteine as Adjuvant Therapy for COVID-19 – A Perspective on the Current State of the Evidence ในวารสาร Journal of Inflammation Research ของปี 2021 ที่ได้นำเสนอแนวความคิดว่า ยาแผนปัจจุบันที่มีชื่อสามัญว่า อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือ เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-Acetylcysteine) หรือ NAC ซึ่งแพทย์เริ่มใช้ละลายเสมหะคนไข้โรคทางเดินหายใจตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 นั้นน่าจะช่วยลดการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ด้วยกระบวนการที่ดูไม่ซับซ้อน
รายละเอียดเป็นอย่างไร ฟังใน คิดก่อนเชื่อ
Mon, 02 Aug 2021 - 12min - 292 - คิดก่อนเชื่อ : ข่าวดีในการบำบัดโควิค-19
มีบทความเรื่อง ทีมวิจัยอเมริกันพบวิธีใหม่ ใช้ ‘โควิด’ ฆ่า ‘โควิด’ เชื่อใช้รักษาผู้ติดเชื้อได้ โดยเนื้อหาในข่าวเป็นการอ้างถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตท (Penn State) ที่กล่าวว่า ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยนำโดย ดร. มาร์โก อาร์เคตติ รองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาของมหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการทดลองเพื่อพิสูจน์แนวคิดว่า สามารถใช้เชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่สังเคราะห์ขึ้น ให้ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อ SARS-CoV-2 ด้วยกันเองได้ เมื่อผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่า วิธีการนี้สามารถลดปริมาณเชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ในเวลา 24 ชั่วโมง
เรื่องนี้จริงหรือไม่ มีงานวิจัยอะไรสนับสนุนบ้าง ฟังในคิดก่อนเชื่อ
Tue, 20 Jul 2021 - 14min - 291 - คิดก่อนเชื่อ : สารพิษในอากาศมีส่วนในการกลายพันธุ์ของไวรัสหรือไม่
ผู้ฟังรายการช่วง คิดก่อนเชื่อ ท่านหนึ่งได้ตั้งคำถามที่น่าทึ่งมาก หลังจากฟังเรื่องเกี่ยวกับปัญหาการระเบิดของโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกจากสไตรีนโมโนเมอร์ ที่ซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการว่า สารนี้จะมีส่วนเพิ่มในการกลายพันธุ์ของ SARS-CoV-2 ไวรัสที่ก่อโรค COVID-19 เร็วขึ้นหรือไม่
ติดตามคำตอบจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ค้นงานวิจัยมาอธิบายได้
Mon, 19 Jul 2021 - 11min - 290 - คิดก่อนเชื่อ : มีแม่เหล็กอยู่ในวัคซีนต้าน COVID-19 ชนิด mRNA จริงหรือ
หลายข่าวที่เกี่ยวกับโควิด-19 มีทั้งจริง และไม่จริง
เช่น มีข่าวเรื่อง หยุดแชร์! เตือน ‘ข่าวปลอม’ วัคซีนไฟเซอร์-โมเดอร์นา มี ‘แม่เหล็ก’ ผสม ส่งผลกระทบต่อร่างกาย โดยมีเนื้อข่าวว่า โลกโซเชียลได้มีการแชร์คลิปวิดีโอซึ่งอ้างว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA มี “แม่เหล็ก” เป็นส่วนผสม ซึ่งอาจทำอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว แต่จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักข่าวต่างๆ และหน่วยงานตรวจสอบอิสระพบว่าชุดข้อมูลดังกล่าว “เป็นเท็จ” และมีคำยืนยันจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) ออกมาแล้วว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้งานกันอยู่ไม่มีส่วนผสมใด ๆ ที่จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กได้
มีงานวิจัย หรือบทความอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง ฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย
Fri, 16 Jul 2021 - 14min - 289 - คิดก่อนเชื่อ : เด็กยุคใหม่สูงเต็มศักยภาพด้วยอาหารเสริมความสูงได้จริงหรือ
ความสูงของคนนั้น ขึ้นกับพันธุกรรม การกินอาหาร 5 หมู่ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเพื่อเป็นการประกันให้เด็กในวัยเจริญเติบโตสามารถสูงเต็มศักยภาพซึ่งอาจสูงกว่าพ่อแม่นั้น จำต้องกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เหล่าคุณแม่ดาราต่างเลือกเสริมเพิ่มความสูงให้ลูกน้อย ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากต่างชาติที่อ้างว่า เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยสร้างหรือกระตุ้นมวลกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยกินคู่ไปกับอาหารหลัก 5 หมู่
มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวกับสารอาหารที่เสริมให้เด็กสูงขึ้นบ้าง ฟังในคิดก่อนเชื่อ
Tue, 13 Jul 2021 - 14min - 288 - คิดก่อนเชื่อ : ทางเลือกในการใช้วัคซีนป้องกันโรค COVID-19
วัคซีนป้องกันไวรัสก่อโรค COVID-19 นั้น ต่างมุ่งที่จะกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีที่จับหนามโปรตีน (spike protein) ของเชื้อไม่ให้เข้าสู่เซลล์ของมนุษย์
o ถ้าเป็นวัคซีนเชื้อตาย การยับยั้งเชื้อนั้นจะเกิดจากแอนติบอดีหลายชนิด เพราะตำแหน่งบนเปลือก (capsid) ของเชื้อไวรัสที่แสดงความแปลกปลอม (antigenicity) ซึ่งเรียกว่า epitope (ออกเสียงว่า เอ็พ-พิ-โทป) นั้น มีหลายตำแหน่ง
o แต่ถ้าเป็นวัคซีนแบบ viral vector นั้น จะมีการสร้างหนามโปรตีน (spike protein) ของไวรัสออกมากระตุ้นแอนติบอดีของมนุษย์ ซึ่งอาจมีเพียงหนึ่งชนิดหรือไม่กี่ชนิด ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับการทำงานของวัคซีนชนิด mRNA ที่มุ่งเน้นการกระตุ้นแอนติบอดีต่อโปรตีนที่เป็นหนาม
• ข้อด้อยของแวคซีนที่มุ่งกระตุ้นแอนติบอดีต้านตัวไวรัสคือ การกลายพันธุ์นั้น มีผลต่อการทำงานของแอนติบอดี ทั้งนี้เพราะแอนติบอดีจะมีความจำเพาะกับ epitope จากงานวิจัยเรื่อง Computational epitope map of SARS-CoV-2 spike protein ตีพิมพ์ในวารสาร PLoS Computational Biology ของปี 2021 ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสังเกตหาตำแหน่งที่ควรเป็น epitope ของหนามโปรตีนของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งพบว่า น่าจะมี 9 ตำแหน่ง ดังนั้น ถ้าตำแหน่งใดมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการกลายพันธุ์ ประสิทธิภาพของวัคซีนที่มุ่งสร้างแอนติบอดีต่อหนามโปรตีนนี้อาจเกิดปัญหาได้o ที่จริงแล้วภูมิคุ้มกันชนิดที่ไม่ต้องกังวลกับการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคคือ เม็ดเลือดขาวชนิด T-cells มีนักวิจัยหลายคนได้มองที่ประเด็นนี้มานานพอควร ตั้งแต่เริ่มมีข่าวการพัฒนาวัคซีน และได้มีบทความวิชาการในวารสาร Nature ฉบับเดือนกุมภาพันธุ์ ปี 2021 เรื่อง ‘Killer’ T Cells Could Boost Covid Immunity Amid New Variants (Killer' T Cells สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกัน Covid ท่ามกลางสายพันธุ์ใหม่) ซึ่งกล่าวถึงบทบาทสำคัญของ T-cells ในการต่อสู้เชื้อไวรัสโดยไม่สนใจว่าจะกลายพันธุ์หรือไม่
ติดตามรายละเอียดงานวิจัยใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่ค้นงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้วมาอธิบายให้ฟัง
Mon, 12 Jul 2021 - 18min - 287 - คิดก่อนเชื่อ : เครื่องฟอกอากาศกำจัดก๊าซพิษได้ไหม
เครื่องฟอกอากาศ ถ้าเป็นแบบฟอกเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือฟอกเชื้อโรค ก็ฟอกเอาสารพิษออกไม่ได้ เพราะแผ่นกรองอากาศ HEPA Filter หรือ High Efficiency Particulate Air ซึ่งจัดเป็นแผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง ที่มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศมากกว่าแผ่นกรองทั่วๆ ไป โดยแผ่นกรองอากาศ HEPA ทำมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่ถักทอจนความถี่ของเส้นใยมีขนาดเล็กมากๆ ซึ่งตามมาตรฐานอุตสาหกรรม แผ่นกรองชนิดนี้จะต้องสามารถดักจับฝุ่นที่มีอนุภาคเล็ก 0.3 ไมครอนได้ ดังนั้น แผ่นกรองอากาศ HEPA จึงสามารถกรองฝุ่น PM 2.5 รวมถึงเส้นผม ฝุ่นที่เห็นด้วยตาเปล่า เชื้อรา ไวรัส (โดยเฉลี่ย) แบคทีเรีย และละอองเกสรที่ล่องลอยอยู่ในอากาศได้ ส่วนสารพิษที่เป็นก๊าซนั้นมีโมเลกุลเล็กมาก ๆ เครื่องฟอกแบบนี้ไม่สามารถกรองได้
และเครื่องฟอกอากาศแบบไหนที่ฟอกสารพิษได้ ติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อ
Fri, 09 Jul 2021 - 14min - 286 - คิดก่อนเชื่อ : เครื่องสำอางแบบติดทนนานใส่สารอะไร
มีรายงานข่าวเกี่ยวกับเครื่องสำอางมากกว่าครึ่งที่จำหน่ายในสหรัฐฯ และแคนาดา เต็มไปด้วยสารเคมีที่ใช้ทางอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง รวมไปถึงมะเร็งและการที่เด็กน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าปรกติ
และมีงานวิจัยเรื่อง Fluorinated Compounds in North American Cosmetics ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science & Technology Letters ของปี 2021 ได้สำรวจเครื่องสำอาง 231 ตัวอย่าง ที่วางจำหน่ายในสหรัฐและแคนาดา โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณของสาร PFAS (Per- and polyfluoroalkyl substances) พบว่า มีระดับสูงที่สุดอยู่ในมาสคาร่าแบบกันน้ำถึง 82% และในลิปสติกชนิดติดทนนาน 62% และพบว่ามีผลิตภัณฑ์ 29 อย่าง ซึ่งส่อว่ามีสารเคมีกลุ่ม PFAS บางอย่างระหว่าง 4 ถึง 13 ชนิด แต่มีผลิตภัณฑ์เพียงชิ้นเดียวที่ระบุว่ามีสาร PFAS หรือสารเพอร์ฟลูออโรอัลคิล และโพลีฟลูออโรอัลคิล เป็นส่วนผสมไว้บนฉลาก (เครื่องสำอางเป็นสินค้าที่ไม่ว่า อย. ประเทศไหนก็ให้ความสนใจน้อยสุด เพราะเป็นสิ่งที่ใช้ภายนอกของร่างกายและไม่จำเป็นต่อชีวิต)
• สาร PFAS มีใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความทนความร้อนสูงและคงกะพัน เช่น หล่อลื่นในสายไฟ ภาชนะชนิดทอดโดยไม่ต้องใช้น้ำมัน ภาชนะบรรจุอาหาร พรมและเฟอร์นิเจอร์กันน้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการให้น้ำเกาะ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อุปกรณ์หลายส่วนในรถ เครื่องสำอางบางประเภท (ที่ต้องกันน้ำ) รวมถึงแชมพู ยาทาเล็บ มาสคารา และอื่น ๆ ตลอดจนถึงโฟมดับเพลิง
• สารกลุ่ม PFAS ก่อปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มะเร็งบางชนิด ชะลอการเติบโตของตัวอ่อนทำให้น้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ ลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis ซึ่งเกิดเนื่องจากภูมิแพ้ที่สารกลุ่มนี้กระตุ้น IgA และ IgE) ผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ฟังใน คิดก่อนเชื่อ
Thu, 08 Jul 2021 - 14min - 285 - คิดก่อนเชื่อ : ถ้าพืชผลทางการเกษตรโดนน้ำฝนที่ปนเปื้อนสารสไตรีนโมโนเมอร์จะเป็นอย่างไร
ตอบคำถามผู้ฟัง เกี่ยวกับสารสไตรีนโมโนเมอร์ ที่เกิดเหตุการณ์ระเบิดและไฟไหม้โรงงาน ถ.กิ่งแก้ว 21 เมื่อมีการฟุ้งกระจายของสารสไตรีนโมโนเมอร์ ลอยปนเปื้อนในอากาศ และถ้าฝนตกลงมา พืชผลทางเกษตรโดนน้ำฝนที่ปนเบื้อนสารเคมีนี้ จะเป็นอย่างไร จะเกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อมหรือไม่
ฟังข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ด้านพิษวิทยา จาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ใน คิดก่อนเชื่อ
Wed, 07 Jul 2021 - 12min - 284 - คิดก่อนเชื่อ : อย่ากังวลเมื่อหน้ากากอนามัยชื้นเหงื่อ
การใส่หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่ถ้าใส่หน้ากากอนามัยแล้วมันเปียกชื้นเหงื่อ จะสามารถป้องกันได้อยู่หรือไม่
มีงานวิจัยบทความเรื่อง Humidity from masks may lessen severity of COVID-19 ซื่งแปลได้ใจความว่า ความชื้นจากหน้ากากอาจลดความรุนแรงของ COVID-19 เพราะ
• หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผู้ที่สวมหน้ากากไม่ให้แพร่หรือรับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 จากคนสู่คน ผ่านละอองเข้าหรือออกทางเดินหายใจ ละอองเหล่านี้เดินทางไปในอากาศเมื่อไอ จาม หรือพูดคุย
• หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเป็นสิ่งกีดขวางง่าย ๆ ที่ช่วยป้องกันละอองทางเดินหายใจ จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า หน้ากากช่วยลดการปล่อยหรือรับละอองเมื่อสวมทับจมูกและปาก
• งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า การสวมหน้ากากอนามัยอาจช่วยลดความรุนแรงของ COVID-19 หากเกิดการติดเชื้อ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า ความชื้นที่เกิดขึ้นภายในหน้ากากอาจมีบทบาทเนื่องจากความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการขับเอาอนุภาคที่หายใจเข้าไปออกจากปอดติดตามงานวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับหน้ากากอนามัย ใน คิดก่อนเชื่อ
Tue, 06 Jul 2021 - 11min - 283 - คิดก่อนเชื่อ : ตรวจโควิค-19 แบบไม่เจ็บคอเจ็บจมูกหรือถูกเจาะเลือดมีหรือ
หลายคนที่เคยถูกล้วงโพรงจมูกเพื่อตรวจหาไวรัสก่อโรค COVID-19 คงรับรู้ได้ถึงความรู้สึกเสียว, กลัว cotton bud และเจ็บ เป็นอย่างดี
แต่มีงานวิจัยและประดิษฐ์อุปกรณ์การตรวจโควิด-19 ใหม่ๆ โดยที่ไม่ต้องล้วงโพรงจมูก แต่จะใช้วิธีใด
มีบทความเรื่อง Exhalation Technology Updates on Groundbreaking Clinical Trial for CoronaCheck – A Rapid (<5 min) Covid-19 Breath Test ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลถึงอุปกรณ์ขนาดพกพาชื่อ CoronaCheck ของบริษัทชื่อ ETL ที่ใช้ตรวจวัดลมหายใจออกที่จำเพาะในการตรวจเชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19 ภายใน 5 นาที อุปกรณ์ประกอบบางส่วน ที่สัมผัสกับผู้ถูกตรวจสอบต้องใช้แล้วทิ้งเลย
ซึ่ง ETL เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการตรวจสอบองค์ประกอบของลมหายใจออกของมนุษย์ ได้ลองใช้เครื่องมือนี้กับอาสาสมัคร 62 คน ซึ่งพบว่าเครื่องมือมีความจำเพาะ 100% และความไว 100% ในอาสาสมัครที่ติดเชื้อ (ทั้งที่แสดงอาการหรือไม่แสดงอาการ) และอาสาสมัครที่ไม่ติดเชื้อ
อุปกรณ์ดังกล่าวได้กำลังเสนอให้ US.FDA พิจารณาอนุญาตในการใช้แบบฉุกเฉิน นอกจากนี้ CoronaCheck จะได้เครื่องหมาย CE (เคลื่อนไหวสินค้าอย่างเสรีภายในสหภาพยุโรป) เมื่อขายในตลาดของยุโรปมีงานวิจัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ตรวจโควิด-19 อะไรอีกบ้าง ฟังใน คิดก่อนเชื่อ
Mon, 05 Jul 2021 - 14min - 282 - คิดก่อนเชื่อ : มีลูกช่วง COVID-19 ซึ่งไม่รู้จบเมื่อไร ไหวหรือ
ความเครียดที่เกิดในช่วงเวลาที่ตั้งท้อง คือปัจจัยกำหนดชะตาของกลุ่มชนในอนาคต..หรือไม่
มีงานศึกษาเกี่ยวกับคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ว่าจะมีผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ อย่างไร คือ
o ในปี 2005 นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเอดินบะระในสกอตแลนด์และของโรงเรียนแพทย์ Mount Sinai ในนิวยอร์ก พบว่า เด็กที่เกิดจากผู้หญิงที่อายุครรภ์อยู่ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์และเห็นการโจมตีหรือรอดตายจากตึก Twin Towers นั้น มีระดับคอร์ติซอล (ฮอร์โมนที่เป็นตัวบ่งชี้ความเครียด) สูงกว่ากว่าปรกติ เนื่องจากทารกที่ถูกศึกษานั้นมีอายุประมาณ 1 ขวบ ซึ่งควรเป็นวัยที่มักจะไม่พบปัญหาที่ก่อความเครียด (เข้าใจว่าแม่เหล่านี้ไม่ได้มีอาการป่วยซึมเศร้าจากเหตุการณ์)
o อย่างไรก็ดีปัญหานั้น ได้เกิดเช่นกันกับเด็กที่เกิดจากแม่ที่เห็นข่าวจากทางโทรทัศน์ด้วย
o นักวิจัยจึงกล่าวว่าระดับความเครียดสูงในเด็กเหล่านี้ อาจถูกถ่ายทอดโดยแม่ไปยังลูกของเธอในครรภ์หรือเกิดความร่วมกันระหว่างแม่กับลูกที่กระตุ้นการทำงานทางพันธุกรรมให้แสดงผลออกมาเป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความกลัว• เว็บ https://dailygazette.com เมื่อ 9 กันยายน 2016 มีหัวข้อข่าวเรื่อง Moms who were pregnant during 9/11 share stories ซึ่งเนื้อความนั้นมีว่า ผู้หญิงตั้งท้องที่ผ่านเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ในลักษณะสัมผัสกับความโหดร้ายโดยตรงนั้น คลอดลูกก่อนกำหนดและมีลูกที่น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าปรกติ
แต่ถ้าหญิงกำลังตั้งครรภ์ในช่วงการระบาดโควิด-19 ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับลูกน้อย ฟังใน คิดก่อนเชื่อ
Fri, 02 Jul 2021 - 16min - 281 - คิดก่อนเชื่อ : เครื่องเทศในอาหารทำให้หลอนได้
ผงจันทน์เทศหรือ nutmeg เป็นเครื่องเทศที่ใช้กันทั่วไป ราคาไม่แพงนัก (ออนไลน์ กิโลกรัมละ 1,200 บาท) ได้จากเมล็ดของผลจากต้นจันทน์เทศ
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่เกาะบันดา ในหมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซีย เมื่ออังกฤษเข้าครอบครองหมู่เกาะโมลุกกะ จึงได้นำเมล็ดจันทน์เทศไปปลูกยัง สิงคโปร์ เกาะวินเซอร์ ทรินิแดด ปีนัง สุมาตรา เกาะเกรนาดาในอเมริกาใต้ และในศรีลังกา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้มากทางภาคตะวันออกและทางภาคใต้ของไทย เช่นนครศรีธรรมราชและชุมพร
ลูกจันทน์ (เมล็ด) ถูกนำมาทำเป็นผงจันทน์เทศ ใช้ปรุงอาหาร เป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณมากมาย ที่น่าสนใจคือ น้ำมันหอมระเหยใช้เป็นส่วนผสมของขี้ผึ้งที่ใช้ทาระงับความปวด ใช้ขับประจำเดือน อย่างไรก็ดีในปริมาณสูงสามารถ ทำให้แท้งและทำให้ประสาทหลอน
ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีการใช้ลูกจันทน์และดอกจันทน์ (คือ รกหุ้มเมล็ดซึ่งมีลักษณะเป็นริ้วสีแดงจัด รูปร่างคล้ายร่างแห เป็นแผ่นบางมีหลายแฉกหุ้มเมล็ด โดยรัดติดแน่นอยู่กับเมล็ด มีกลิ่นหอม) อยู่ในยาหลายตำรับ เช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ยาธาตุบรรจบ เป็นต้น
ลูกจันทน์เทศ มีสารสำคัญคือ Myristicin ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะถูกร่างกายเปลี่ยนไปเป็นสารเคมีชื่อ 3-methoxy-4,5 methylenedioxyamphetamine (MMDA) ที่มีฤทธิ์คล้ายยาบ้า ทำให้เกิดอาการหลอนหรือ high ได้
Myristicin สามารถกระตุ้นให้ cytochrome C หลุดออกมาจากไมโตคอนเดรียแล้วกระตุ้นกระบวนการเอ็นซัม Caspase ทำให้เซลล์เข้าสู่การฆ่าตัวตายแบบ apoptosis
Myristicin ยับยั้งเอนไซม์ Cytochrome P-450 และ Monoamine oxidase ดังนั้นจึงมีผลต่อยาหลายชนิดที่ต้องขับออกด้วยเอ็นซัมเหล่านี้ อย่างไรก็ดี myristicin ก็กระตุ้นการเพิ่มของ Glutathione-S-transferase ด้วยจึงมีศักยภาพในการต้านมะเร็ง ดังนั้นประโยชน์หรือโทษของ Myristicin จึงขึ้นกับปริมาณที่กินเข้าไป
บทความเรื่อง Low cost, high risk: accidental nutmeg intoxication ใน Emergency medicine journal ปี 2014 รายงานกรณีที่เด็กสาวอายุ 18 ปี มีอาการใจสั่น ง่วงซึม คลื่นไส้ เวียนศีรษะ กระหายน้ำ และปากแห้ง เนื่องจากได้กินผงจันทน์เทศ 50 กรัมที่ใช้ผสมในนมปั่นหรือ milkshake จากนั้นราว 30 นาทีก็เกิดอาการ เหตุผลที่กินคือ ต้องการ high
Thu, 01 Jul 2021 - 12min - 280 - คิดก่อนเชื่อ : อุปกรณ์การออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นเรื่องจำเป็นหรือไม่
การเล่นกีฬาโดยไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสม หากไม่ระมัดระวังเพียงพออาจเป็นอันตรายได้ เกมที่สนุกสนานอาจทำให้ต้องไปโรงพยาบาล การสวมอุปกรณ์ที่เหมาะสมช่วยลดโอกาสได้รับบาดเจ็บหนักให้เป็นเบา ทำให้มีสมาธิกับเกมและไม่ต้องกังวลว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วจะเป็นอันตรายรุนแรง
การใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสมเป็นส่วนสำคัญของการป้องกันการบาดเจ็บในกีฬา (ซึ่งหลายคนไม่เข้าใจ และหลายคนทำไม่ได้เพราะขาดกำลังทรัพย์) หน่วยงานกำกับดูแลกีฬาแห่งชาติในหลายประเทศที่มีความเจริญด้านกีฬา มีหน้าที่วางแนวทางอุปกรณ์เฉพาะสำหรับกีฬาแต่ละประเภท โค้ชของทีมใด ๆ หรือครูฝึกในสถานศึกษามีหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้
หลายครั้งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้ด้วยการสวมอุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้อง ลงทุนในความปลอดภัยเพื่อความแน่ใจต่อการปกป้องอย่างเต็มที่ในขณะที่เล่นกีฬา โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็น การแข่งขัน การฝึกซ้อม หรือแค่ความสนุกสนาน ฟังคำแนะนำในการเลือกอุปกรณ์สวมใส่ขณะเล่นกีฬา เช่น อุปกรณ์ป้องกัน ตา, หัว, กระดูก, ข้อ, หน้าอก, กล้ามเนื้อ, เท้า ว่าควรเลือกอย่างไร
Fri, 25 Jun 2021 - 15min - 279 - คิดก่อนเชื่อ : กลิ่นจากการใช้สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์หรือ pesticide อันตรายหรือไม่
Pesticide มีคำแปลตามราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2529 ว่า สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์
สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ หมายถึง สารหรือส่วนผสมของสารที่ใช้ในการป้องกัน ทำลาย ขับไล่ ดึงดูด ฆ่าเชื้อ ทำให้มึนงง หรือลดจำนวนสัตว์หรือพืชที่มนุษย์ไม่ต้องการ
คำว่า pesticide มาจากคำภาษาละตินว่า pestis
o Pest รวมถึงสัตว์หรือพืชที่เกิดขึ้นอย่างมากมายจนเป็นภัยคุกคามที่ชัดเจนทางเศรษฐกิจ ทางการสาธารณสุข และอื่น ๆ ต่อมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นแมลงต่าง ๆ เชื้อรา วัชพืช หนู แบคทีเรีย ไวรัส ไส้เดือนฝอย และอื่น ๆ ขึ้นกับการตัดสินใจของมนุษย์
o pesticide เป็นสารพิษและมีความเสถียรในระดับหนึ่ง จนมักเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้ยังทำลายความหลากหลายและห่วงโซ่อาหาร ตลอดจนทำให้ระบบนิเวศไม่สมดุล
• โดยทั่วไปเวลามีการใช้ pesticide ชนิดต่าง ๆ คนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น จะได้กลิ่นเหม็น ยกเว้นสารฆ่ายุงในบ้านบางยี่ห้อที่ผสมน้ำหอมเข้าไป ซึ่งจริงแล้วไม่ถูกต้อง
• ประเด็นสำคัญคือ กลิ่นที่ได้นั้น เป็นกลิ่นเฉพาะของสารก่อกลิ่นที่ระเหยออกมาหรือเป็นละอองของ pesticide เช่น กรณีมีการใช้พาราควอตฆ่าหญ้าในหมู่บ้านหรือสถานที่ทำงานต่าง ๆ ที่เป็นปัญหามากคือ กลิ่นจากโรงงานผลิตสินค้าเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งกลุ่มวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์สำเร็จแล้ว และอาจรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพกลิ่นของสารฆ่าแมลงและพืชอันตรายหรือไม่ กำจัดกลิ่นได้อย่างไร ฟังในคิดก่อนเชื่อ
Thu, 24 Jun 2021 - 17min - 278 - คิดก่อนเชื่อ : ไก่ทอดอันตรายเกินกว่าจะกินหรือไม่
จากหนังสือซึ่งกล่าวถึงเรื่องของ อาหารอันตรายจานต่าง ๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ไก่ทอด ว่า การรับประทานไก่ทอดแต่ละชิ้น คุณจะได้รับพลังงานจากมันมากถึง 340 แคลอรีเลยทีเดียว อีกทั้งยังได้รับไขมันที่เกินขนาดจากไก่ทอดและแป้งขนมปังกรอบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และยังมีสารปนเปื้อนประเภทสารอะลูมิเนียมในไก่ทอด ที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อระบบการทำงานของสมองและระบบเมตาบอลิซึมในร่างกาย นอกจากนี้รสชาติที่กลมกล่อมก็อาจต้องแลกมาด้วยการปรุงรสด้วยผงชูรสที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อสะสมอยู่ในร่างกายมากขึ้นจนถึงระดับที่ไม่สามารถกำจัดออกไปได้ คราวนี้ล่ะ...โรคต่าง ๆ ก็จะถามหาคุณแล้ว และแน่นอนโรคมะเร็งคือโรคแรกที่จะมาถามหาคุณ
แล้วข้อมูลวิชาการโภชนาการมีว่าอย่างไร
• งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ เช่น Association of fried food consumption with all cause, cardiovascular, and cancer mortality: prospective cohort study ในปี 2019 และ Fried food linked to increased risk of death among older US women ในปี 2019 เช่นกัน ซึ่งบทความทั้งสองเป็นเพียงตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การกินอาหารทอดน้ำมันนั้นเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคตายเร็วขึ้น ประเด็นไก่ทอดนั้น เป็นเพียงตัวอย่างที่อยู่ใกล้ตัวผู้บริโภคทั่วโลก ที่นิยมกินไก่ทอดซึ่งมีหลายรูปแบบแต่มีลักษณะร่วมคือ การอมน้ำมัน
• จากข้อเท็จจริงที่ว่า อาหารทอดมักอมน้ำมัน ซึ่งน้ำมันนั้นเป็นแหล่งที่ดีของพลังงานที่ร่างกายต้องการ อย่างไรก็ดีการได้รับสารอาหารใด ๆ มากเกินความต้องการนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ไปรบกวนสมดุลของร่างกายในเรื่องปริมาณสารอาหารที่ควรเป็น จึงควรกินไก่ทอดแค่พอรู้รส
• การกินน้ำมันมากเกินไป ส่งผลให้การเผาผลาญน้ำมันเพื่อนำไปสู่การสร้างสารเก็บพลังงานในเซลล์คือ ATP (adenosine triphosphate) มากเกินไป จนส่งผลให้อาจเกิดอนุมูลอิสระขึ้นมามากเกินกว่าที่ระบบทำลายอนุมูลอิสระในเซลล์จะรับไหวมีข้อมูลงานวิจัยอะไรอีกบ้าง พร้อมทั้งคำแนะนำถ้าจะกินไก่ทอด ในคิดก่อนเชื่อ
Wed, 24 Feb 2021 - 14min - 277 - คิดก่อนเชื่อ : แฮมเบอร์เกอร์อันตรายหรือไม่ถ้าชอบกิน
• แฮมเบอร์เกอร์ (hamburger) หรือ เบอร์เกอร์ (burger) เป็นแซนวิชชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเนื้อสัตว์บด (Burger patty) ที่ปรุงสุกทำเป็นแผ่นสอดไส้อยู่ตรงกลางระหว่างขนมปังแผ่นกลม 2 แผ่น พร้อมผักชนิดต่างๆ เช่น มะเขือเทศ ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ เนยแข็งและเครื่องปรุงรสอื่น เช่น มัสตาร์ด มายองเนส ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
• คำว่า แฮมเบอร์เกอร์นั้นมีรากเหง้ามาจากคำว่า Hamburg ซึ่งเป็นเมืองสำคัญในเยอรมัน
• Burger patty ที่ทำจากเนื้อสัตว์จากแหล่งผลิตเนื้อที่ไม่ถูกอนามัยอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์เช่น Escherichia coli O157:H7 ที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารได้ การใช้ความร้อนเกิน 71 องศาเซลเซียสขึ้นไปด้วยเวลาที่เหมาะสมสามารถทำลายเชื้อได้
• วิธีทำเนื้อบดนั้นไม่ยาก ทำโดยเอาเนื้อสัตว์บดที่มีไขมันราวร้อยละ 20 เพื่อความนุ่มนวลและรสชาติดีมานวดให้รวมตัวกัน แล้วแผ่เป็นแผ่นหนาพอประมาณตามต้องการ โรยเครื่องเทศและเกลือตามชอบ อาจผสมไข่หรือเกล็ดขนมปังเพื่อให้การเกาะตัวของเนื้อสัตว์ดีขึ้น จากนั้นนำไปปิ้ง ย่าง ทอดหรือใช้เปลวไฟ ตามความต้องการ การใช้ถ่านที่เหมาะสมทำให้ได้ burger patty ที่มีกลิ่นเฉพาะ ถ้าเป็นการเตรียม burger patty ล่วงหน้าก่อนให้ความร้อนควรห่อกระดาษให้แน่นแล้วเก็บใส่ตู้เย็น จากนั้นเมื่อจะให้ความร้อนควรให้ทันทีที่นำ burger patty ออกมาจากตู้เย็น
• สารพิษที่อาจเกิดจากการให้ความร้อน burger patty นั้น ขึ้นกับแหล่งความร้อน แต่ที่ค่อนข้างแน่เมื่อ burger patty สุก สารพิษที่เกิดระหว่างการปรุงคือ heterocyclic amines ชนิดต่าง ๆ ในกรณีที่การให้ความร้อนมีควันเกิดขึ้น burger patty นั้นจะมีสารพิษกลุ่ม polycyclic aromatic hydrocarbons เกิดขึ้นแล้วลอยขึ้นมาเกาะติดกับ patty อย่างไรก็ดีควันที่มีสารพิษนั้นก็มีสารบางชนิดที่ให้กลิ่นเฉพาะตัวด้วย
ฟังคำแนะนำในการกินใน คิดก่อนเชื่อTue, 23 Feb 2021 - 14min - 276 - คิดก่อนเชื่อ : เบคอน แฮม อันตรายจริงหรือ
หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งกล่าวถึง อาหารอันตรายจานต่าง ๆ ที่คนไทยไม่ควรกิน ซึ่งดูเป็นข้อมูลที่ดี แต่ปรากฏว่าข้อมูลที่ให้นั้นมีทั้งที่ถูกบ้าง กำกวมบ้างหรือผิด ไม่อยู่บนหลักฐานทางวิชาการ จึงเกิดประเด็นว่า ความผิดพลาดหรือไม่ครบของข้อมูลนั้น ควรนำมาอธิบายให้ถูกตามหลักการที่วงการวิชาการยอมรับ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค
จากหนังสือซึ่งกล่าวถึงเรื่องของ อาหารอันตรายจานต่าง ๆ ให้ข้อมูลว่า เบคอนหรือความจริงแล้วก็คือ หมูสามชั้นติดมันที่ถูกสไลด์ให้เป็นแผ่นบางนั่นเอง แน่นอนว่ามันต้องอุดมไปด้วยไขมัน ไขมัน และไขมัน ! ที่คุณอาจมีสิทธิ์อ้วนได้แบบงง ๆ และคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดก็อาจอุดตันจนก่อให้เกิดโรคหัวใจได้โดยที่คุณไม่ตั้งใจ แถมเบคอนยังมีส่วนผสมของดินประสิว ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็น "สารไนโตรซามีน" สารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย ส่วนแฮมก็ใช่ย่อย เพราะมีทั้งไขมัน สารกันบูด และสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นตัวก่อมะเร็ง เช่นเดียวกับเบคอนและไส้กรอก
แล้วข้อมูลไหนถูกต้อง ข้อมูลไหนไม่ถูกต้อง มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อย่างไร
• งานวิจัยเรื่อง Diet and colorectal cancer in UK Biobank: a prospective study ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Epidemiology ของปี 2020 ให้ข้อมูลสรุปว่า ผู้ที่กินเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป (ซึ่งเบคอน/แฮมอยู่ในอาหารกลุ่มนี้) 76 กรัมต่อวัน มีแนวโน้มต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในลักษณะความเสี่ยงเช่นเดียวกับผู้ที่กินแฮมเบอร์เกอร์ที่มีเนื้อวัวราวครึ่งกิโลกรัมต่อวัน ความเสี่ยงนั้นจะสูงกว่าคนทั่วไปที่กินเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป 21 กรัมต่อวัน ราว 20%
• สารก่อมะเร็งในเบคอน/แฮมนั้น อยู่ในกลุ่ม nitrosamines ซึ่งเกิดระหว่างการผลิต (การหมักที่มีเกลือไนไตรท์ปรากฏอยู่) และสารกลุ่ม heterocyclic amines ที่เกิดได้ระหว่างการทอด ยิ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่รมควันด้วย สารพิษที่มากับควันคือ polycyclic aromatic hydrocarbons
• หน่วยงานสากลต่าง ๆ ที่ดูแลด้านสุขภาพของมนุษย์ เช่น WHO ได้กล่าวว่า การกินแม้แต่เนื้อออกสีแดงหรือเนื้อสัตว์แปรรูปในปริมาณหนึ่งอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อย่างไรก็ดีความเสี่ยงนี้ขึ้นกับพฤติกรรมการกินของแต่ละคนว่า กินบ่อยแค่ไหน กินมากหรือไม่ กินกับอะไรฟังคำอธิบายงานวิจัยและคำแนะนำใน คิดก่อนเชื่อ
Mon, 22 Feb 2021 - 15min - 275 - คิดก่อนเชื่อ : Virgin mother มีจริงหรือ
Virgin mother หรือ การตั้งครรภ์บริสุทธิ์ คืออะไร
• ปกติการเกิดตัวอ่อนในสัตว์ชั้นสูงนั้น มักต้องเกิดจากการผสมของโครโมโซมของเซลล์ไข่จากตัวเมีย กับโครโมโซมของเซลล์สเปิร์มจากสัตว์ตัวผู้
• แต่มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งของนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ที่สามารถสร้างลูกหนูจากเซลล์ไข่สองเซลล์ โดยเซลล์ไข่เซลล์หนึ่งถูกทำให้ยีน 2 ตำแหน่งบนโครโมโซมแท่งหนึ่งไม่ทำงาน จนมีการแสดงออกโดยรวมในลักษณะเดียวกับโครโมโซมของอสุจิ
กระบวนการสร้างตัวอ่อนจากเซลล์สืบพันธุ์ชนิดเดียวนั้น เรียกว่าพาร์ธีโนเจนเนซิส (Parthenogenesis) ซึ่งมีผู้นิยามเป็นภาษาไทยว่า "การตั้งครรภ์บริสุทธิ์" เพื่อกล้อมแกล้มให้หมายถึง "การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ"
กระบวนการนี้ เกิดได้ในแมลงบางชนิดที่วางไข่แบบไม่อาศัยการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอ่อนที่เกิดมาจะเป็นตัวผู้และมีโครโมโซมเพียงชุดเดียวตัวอย่างเช่น ผึ้งงาน แมงป่องบางสายพันธุ์ ส่วนในสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นมาก็มีบ้างเช่น สัตว์เลื้อยคลานเช่น จิ้งจกชนิดหนึ่งพบในแถบอเมริกาใต้และเม็กซิโกที่เรียกว่า whiptail มังกร Komodo บางตัว ตุ๊กแกบางสายพันธุ์ และสัตว์ปีกบางชนิดด้วย
น่าสนใจว่า มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บ้าง และมนุษย์จะได้ประโยชน์อะไร
ฟังใน คิดก่อนเชื่อ
Thu, 18 Feb 2021 - 13min - 274 - คิดก่อนเชื่อ : ปัจจัยเสริมอันตรายของ COVID-19 คือฝุ่น PM 2.5 จริงหรือ
สภาวะที่เกิดขึ้นทางสิ่งแวดล้อมเช่น ฝุ่นในอากาศก่อนการระบาดของโรคเช่น COVID-19 นั้น ดูมีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ COVID-19
มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง
• บทความเรื่อง Exposure to air pollution and COVID-19 mortality in the United States. ตีพิมพ์ในวารสาร medRxiv ของปี 2020 ได้อธิบายถึงงานวิจัยที่ดูค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศของช่วงปี 2000 ถึงปี 2016 ของ 3080 counties (ครอบคลุมราวร้อยละ 98 ของพลเมืองในสหรัฐอเมริกา) ต่อจำนวนการตายของประชาชนเนื่องจาก COVID-19 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2020
o งานวิจัยกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM 2.5 ในอากาศเพียง 1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร มีความเกี่ยวข้องในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการตายด้วย COVID-19 ถึงร้อยละ 15 (ของประชากร 60 ล้านคนที่อยู่ในระบบ medicare)
o ผลของงานวิจัยได้มุ่งย้ำว่า การดูแลมลภาวะในอากาศนั้น มีความสำคัญมากต่อการบริหารการป้องกันอันตรายจาก COVID-19 ทั้งปัจจุบันและอนาคต
• ในอดีตครั้งที่มีปัญหาโรคระบาด SARS ในจีนนั้น เมื่อโรคสงบลงได้มีการทำวิจัยถึงความสัมพันธ์ระหว่าง มลภาวะทางอากาศและความเสี่ยงในการตายของคนไข้ SARS ซึ่งผลการศึกษานั้น ได้ตีพิมพ์ในวารสาร BioMed Central ในปี 2003 ในชื่อเรื่อง Air pollution and case fatality of SARS in the People's Republic of China: an ecologic study
o สาระสำคัญของงานวิจัยคือ ในช่วงการระบาดของโรคนั้น มีคน (น่าจะติดเชื้อ SARS) ป่วยราว 5,327 คน แล้วตาย 349 คน ซึ่งสามารถคำนวณได้ว่า คนที่ตายนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีค่า API (air pollution index) ปานกลาง มีความเสี่ยงในการตายสูงกว่าคนที่อยู่ในพื้นที่มีค่า API ต่ำราวร้อยละ 84
แล้วมีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างไรบ้างWed, 17 Feb 2021 - 12min - 273 - คิดก่อนเชื่อ : หนาวเย็นทำให้เป็นหวัดจริงหรือ
ทำไมหนาวสั่นจึงทำให้เป็นหวัด
o ผู้ใหญ่สั่งสอนให้อาบน้ำสระผมแล้วใส่เสื้อผ้าแห้งพร้อมดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ทันทีที่เปียกฝนกลับถึงบ้าน เพราะมีความเชื่อว่า น้ำฝนอาจมีเชื้อหวัดและความหนาวเย็นทำให้ไม่สบายแต่ข้อมูลวิทยาศาสตร์มีว่าอย่างไร
• มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยหยดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าจมูกของอาสาสมัคร 44 คน (ที่ตรวจไม่พบแอนติบอดีไวรัสไข้หวัดใหญ่) แล้วทำให้ร่างกายอาสาสมัครได้รับความหนาวเย็น (อุณหภูมิห้อง 4°C และอ่างน้ำอุณหภูมิ 32°C ในบทความเรื่อง Exposure to cold environment and rhinovirus common cold. Failure to demonstrate effect. ตีพิมพ์ในวารสาร N Engl J Med ของปี 1968.) การทดลองนี้ไม่สามารถแสดงให้เห็นว่า การสัมผัสเย็นเพิ่มความไวของร่างกายต่อการเป็นหวัด
• บทความชื่อ Acute Cooling of the Body Surface and the Common Cold ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Rhinology ในปี 2002 ได้อารัมภบทว่าโดยทั่วไปแล้ว มีความเชื่อกันว่าการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันเป็นผลมาจากการที่ร่างกายหนาวเย็นและได้รับเชื้อก่อโรคหวัด ดังนั้นเมื่อมีงานวิจัยในปี 1968 ที่ทำแล้วไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว ผู้ประพันธ์จึงได้ทำการทบทวนเอกสารว่า มีหลักฐานอะไรหรือไม่ ที่แสดงความสัมพันธ์ในความเชื่อนี้
โดยสุดท้ายจากการทบทวนเอกสารพบว่า มีสมมุติฐานกล่าวว่า การทำให้ผิวของร่างกายเย็นลงอย่างเฉียบพลันส่งผลให้เส้นเลือดในเยื่อบุผิวของจมูกและทางเดินหายใจส่วนบนหดตัว การหดตัวของเส้นเลือดเป็นการลดปริมาณเลือดไปยังทางเดินหายใจ ส่งผลให้ระบบภูมิต้านทานโดยเฉพาะกลุ่มของเม็ดเลือดขาวลดจำนวนลง จนเมื่อได้รับเชื้อหวัดก็ต่อสู้ไม่ได้จึงเป็นไข้ตัวร้อน
มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องอีกบ้าง และจะมีวิธีดูแลป้องกันตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นหวัดอย่างไร ฟังในคิดก่อนเชื่อ
Mon, 15 Feb 2021 - 18min - 272 - คิดก่อนเชื่อ : เด็กเล็กเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 น้อยกว่าผู้ใหญ่จริงหรือ
• มีข้อมูลว่าผู้ป่วย COVID-19 นั้น เป็นเด็กราวร้อยละ 2 จึงทำให้มีการตั้งสมมุติฐานว่าเด็กนั้นเสี่ยงน้อยเพราะการทำงานของยีนที่ควบคุมปริมาณเอนไซม์ Angiotensin-converting enzyme 2 (ACE-2) ยังอยู่ในระดับต่ำอยู่
ต่อมาได้มีบทความประเภท research letter ของกุมารแพทย์ของ Icahn School of Medicine at Mount Sinai เรื่อง Nasal Gene Expression of Angiotensin-Converting Enzyme 2 in Children and Adults ในวารสาร JAMA ของปี 2020 ซึ่งเป็นการย้อยกลับไปดูข้อมูลเก่าที่ได้ทำการเปรียบเทียบการทำงานของยีนสร้าง ACE-2 ของเซลล์เอ็พพิทีเลียวของผนังจมูกจากอาสาสมัคร 305 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 4 ถึง 60 ปี ซึ่งอาศัยในเมืองนิวยอร์ค ระหว่างปี 2015-2018 ก่อนที่จะมี COVID-19
• ในการศึกษานั้น ได้ทำการเก็บเซลล์โดยใช้แปรงเล็ก ๆ กวาดในช่องจมูกแล้วเก็บไว้ทันทีในหลอดบรรจุของเหลวที่ช่วยทำให้ RNA ภายในเซลล์คงสภาพอยู่ได้ที่ -80 °C
• เป็นการวัดหา mRNA ที่จะเป็นแม่พิมพ์ในการสร้างโปรตีน AEC-2
• ผลการศึกษาพบว่า อายุนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดให้ยีนเริ่มทำงานมากขึ้น ซึ่งอธิบายได้ว่า ทำไมเด็ก (4-9 ปี) จึงติดเชื้อน้อยกว่า
• อย่างไรก็ดี ข้อมูลนั้นยังมีความย้อนแย้งกันอยู่ โดยมีบทความเรื่อง Nasal ACE2 Levels and COVID-19 in Children ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA ในปี 2020 เช่นกัน ให้ข้อมูลว่า เคยมีการประเมินพบว่าการติดเชื้อในเด็ก ดูไม่แตกต่างหรืออาจดูสูงกว่าคนอายุ 30-49 ปี แต่ต่ำกว่าคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และในบทความเดียวกันก็ได้กล่าวถึงการศึกษาหนึ่งใน Iceland ซึ่งพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีจำนวน 564 คนติดเชื้อเพียงร้อยละ 6.7 ซึ่งดูน้อยกว่าเด็กอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 8,635 คน ซึ่งติดเชื้อถึงร้อยละ 13.7
• ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า เมื่อเด็กกลับจากโรงเรียนถึงบ้าน มีโอกาสเป็น asymptomatic carrier แก่คนสูงอายุหรือไม่
Fri, 12 Feb 2021 - 13min - 271 - คิดก่อนเชื่อ : ไอไม่หายจึงไปหาแพทย์ให้ฉีดยาแก้หวัดแบบชะงัดนั้น มีจริงหรือ
• การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่นั้นทำให้เกิดความผิดปกติในทางเดินหายใจได้นาน 7-8 สัปดาห์ ซึ่งเมื่อหายแล้วการติดเชื้อมักส่งผลให้ทางเดินหายใจมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น และมีอาการไอได้ตลอดเวลา เนื่องจากระหว่างการติดเชื้อไวรัสนั้นมักเกิดความเสียหายต่อเซลล์ที่บุทางเดินหายใจ
• คนไข้บางคนที่ยังมีอาการไอไม่หาย อาจถึงขั้นขอให้หมอที่คลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชนฉีดยาให้เวลาป่วยเป็นหวัด
• คนไข้นั้น รู้หรือไม่ว่า ยาในหลอดฉีดยานั้นคือ อะไร แล้วยานั้นเพิ่มความเสี่ยงอะไรหรือไม่มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง
Wed, 10 Feb 2021 - 10min - 270 - คิดก่อนเชื่อ : ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเป็นมะเร็งปอดเมื่อสูดควันบุหรี่
• มะเร็งปอดมีสาเหตุหลักคือ การสูบควันต่าง ๆ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ
• ในควัน โดยเฉพาะควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากมาย ที่ส่วนใหญ่ต้องการกระตุ้นหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเพื่อออกฤทธิ์ด้วยเอนไซม์กลุ่มไซโตโครม พี-450 (Cytochrome P-450)
• ไซโตโครม พี-450 เป็นโปรตีนที่มีในเกือบทุกชนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ที่ยกเว้นนั้นเป็นแบคทีเรียบางชนิดที่ยังวิเคราะห์ไม่พบ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่มี
• หน้าที่สำคัญของไซโตโครม พี-450 ในสัตว์ชั้นสูงคือ การออกซิไดซ์ (การเติมออกซิเจนหรือการเอาไฮโดรเจนออก จากโมเลกุลที่เป็น substrate ของเอนไซม์) สารกลุ่มสเตียรอยด์ กรดไขมัน วิตามินเช่น วิตามินเอ และสารแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
• เอนไซม์ไซโตโครม พี-450 ชนิดที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดมะเร็งปอดคือ ไซโตโครม พี 450 ชนิด 2A6 ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นสารก่อมะเร็งชื่อ N-nitrosamine N-nitrosonornicotine (NNN) และ 4-(methylnitrosoamino)-1-(3-pyridyl)-1- butanone (NNK)• ความแตกต่างในแต่ละคนเป็นส่วนกำหนดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ความแตกต่างของปริมาณโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของไซโตโครม พี-450 ในการกระตุ้นสารก่อมะเร็งให้ออกฤทธิ์ได้
มีรายละเอียดงานวิจัยเรื่องนี้ว่าอย่างไร คลิกฟังใน คิดก่อนเชื่อ
Fri, 05 Feb 2021 - 13min - 269 - คิดก่อนเชื่อ : คนไทยควรรู้วิธีกันภัยจากแสงแดดเพียงใด
• ในแสงแดดมีรังสีที่มองไม่เห็นเรียกว่า อัลตราไวโอเลต (ultraviolet) ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ แบ่งเป็น 3 ชนิด
o UVA ในแสงแดดถึง 95% สามารถผ่านทะลุกระจกได้ และเข้าสู่ผิวหนังชั้นลึกคือ dermisของเรา กดภูมิต้านทาน อันส่งผลให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ทำให้ผิวแก่ก่อนวัย เหี่ยวย่น เกิดจุดด่างดำ จึงเกี่ยวกับ Aging
o UVB เป็นรังสีประมาณ 5% ในแสงอาทิตย์ รังสีนี้ไม่สามารถทะลุกระจกเข้ามาได้ การสัมผัสกลางแจ้งก่อให้เกิดผิวไหม้แดด เกรียมแดด จึงเกี่ยวกับ Burning แต่ก็มีส่วนในการช่วยสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง ถ้าได้รับในปริมาณที่พอควร
o UVC ปัจจุบันยังไม่ลงมายังผิวโลกเพราะถูกดูดซึมไปในชั้นโอโซนของบรรยากาศ
• รังสีอัลตราไวโอเลตทำให้คอลลาเจนในผิวหนังเสื่อมสภาพ เกิดริ้วรอยก่อนวัย สามารถแปลงสภาพ DNA จนก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ร่างกายก็ป้องกันได้โดยการสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้นมาจึงทำให้ผิวคล้ำ
• ยูวีเป็นอันตรายต่อดวงตา โดยเฉพาะ UVB ทำให้เป็นต้อกระจก (cataract) ได้
• คนไทยรู้จักดัชนีรังสียูวีดีหรือไม่
o ระดับต่ำกว่า 2 ระดับ 3-5 (เสี่ยงปานกลาง) ระดับ 6-7 (เสี่ยงสูง) ระดับ 8-10 (เสี่ยงสูงมาก) ระดับ 11+ (ไม่อยากนึกถึง) ข้อมูลส่วนนี้สามารถดูได้จาก smartphone
o ต้องมีการปกป้องร่างกายด้วยเสื้อผ้า หมวก แว่นตา รองเท้า เมื่อออกรับแสงแดดที่ทำให้รู้สึกร้อนคลิกฟังรายละเอียดงานวิจัยเกี่ยวกับแสงยูวี และวิธีป้องกันอันตราย
Wed, 03 Feb 2021 - 17min - 268 - คิดก่อนเชื่อ : เครื่องทำน้ำอุ่นใช้แก๊ส (water heater) ในบ้านเรามีโอกาสระเบิดเหมือนในจีนหรือไม่
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2563 เว็บไซต์ข่าวในจีน รายงานข่าวว่าเกิดเหตุช็อกครอบครัวจีน เครื่องทำน้ำอุ่นระเบิดตอนอาบน้ำให้ลูก ลูกน้อยวัย 1 ขวบ 5 เดือน ถูกลวกเป็นแผลสยองเกือบทั้งตัว เจ็บหนักทั้งบ้าน สภาพห้องน้ำพังเละ ซึ่งเครื่องทำน้ำอุ่นที่ระเบิดเป็นเครื่องทำน้ำร้อนที่ใช้แก๊สหุงต้ม เป็นตัวทำความร้อน
ซึ่งในไทยบางจังหวัดในพื้นที่ที่อากาศหนาว ก็มีการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส เช่นรีสอร์ทบนดอย
เพื่อเป็นการระมัดระวัง มาฟังรายละเอียดว่ามีงานวิจัยหรือข้อมูลอะไรที่ระบุถึงการติดตั้งและใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส ให้ปลอดภัยบ้าง
Tue, 02 Feb 2021 - 11min - 267 - คิดก่อนเชื่อ : สูบบุหรี่ลดความเสี่ยงติด COVID-19 ได้จริงหรือ
ข้อความที่นำเสนอทางอินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2020 รายงานว่า เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศเว็บไซต์หนึ่งให้ข่าวว่า ผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่ถูกตรวจพบว่าเป็น “บวก” ต่อ coronavirus น้อยกว่า คนทั่วไป ซึ่งแสดงเหมือนว่าการสูบบุหรี่ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ COVID-19
แต่อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะในตอนแรก ๆ นั้น ข้อมูลมักเป็นในลักษณะว่า การสูบบุหรี่นั้นทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น และในอดีตเคยมีคนอ้างเอาเองว่า การสูบบุหรี่ลดความเสี่ยงต่ออาการ “ไซนัสอักเสบ” มาแล้ว
o จนวันหนึ่งก็มีข้อมูลว่า Does smoking put you at greater risk of the coronavirus? Scientists discover critically ill patients are more likely to be smokers - but one Chinese study finds they are LESS likely to get the killer infection in the first place แปลเป็นไทยว่า นักสูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปที่จะติดเชื้อโคโรนาไวรัส หรือเป็นเพราะนักวิทยาศาสตร์พบว่า ผู้ที่มีอาการป่วยหนักเนื่องจากการติดเชื้อนั้นเป็นนักสูบ
แต่ก็มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งจากจีนที่พบว่านักสูบดูเหมือนจะติดเชื้อน้อยกว่า พร้อมมีข้อมูลสรุปย่อยต่อไปว่า
ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนพบว่าหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรงเป็นผู้สูบบุหรี่
ในการเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยเพียง 11% เท่านั้นที่สูบบุหรี่
การศึกษาอื่นในหวู่ฮั่นที่ซึ่งการระบาดใหญ่เริ่มต้น - ก็พบเช่นเดียวกัน
แต่นักวิจัยอีกทีมหนึ่งพบว่า ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสน้อยที่จะติดเชื้อไวรัสมรณะ
ในขณะที่นักวิจัยอีกทีมพบว่า ผู้สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาแทรกซ้อนในการป่วยรุนแรงกว่า• เมื่อ 12 พฤษภาคม 2020 เว็บไซต์ของ University of California, San Francisco มีข้อมูลจากบทความเรื่อง Smoking Nearly Doubles the Rate of COVID-19 Progression ว่า
o ในการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ของการศึกษาต่าง ๆ ที่รวมจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ได้ 11,590 คน นักวิจัยพบว่าในหมู่คนที่ติดเชื้อไวรัสนั้น ความเสี่ยงของการเกิดโรคในคนที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่ก่อนหน้านี้เป็นเกือบ 2 เท่าของผู้ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่ออาการของโรคแย่ลง ผู้สูบบุหรี่ในปัจจุบันหรือเคยสูบในอดีต จะมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต โดยรวมแสดงว่า การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าคลิกฟังรายละเอียดงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
Mon, 01 Feb 2021 - 10min - 266 - คิดก่อนเชื่อ : น้ำมันจากกัญชง ตอนที่ 4 ถ้าใช้แบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจยุ่งยากได้
• กัญชงเป็นพืชที่มีความใกล้เคียงกับกัญชามากทั้งลักษณะและองค์ประกอบของสารเคมี
• สารเคมีธรรมชาติที่เป็นลักษณะเด่นของใบและต้นกัญชงคือ cannabidiol หรือ CBD ในขณะที่สารธรรมชาติที่เด่นในกัญชาแต่มีน้อยในกัญชงคือ tetrahydrocannabinol หรือ THC
• THC เป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ทำให้ผู้ได้รับสารนี้ มีสภาพเหมือนหลุดไปจากโลกแห่งความเป็นจริง ในขณะที่ CBD ไม่มีฤทธิ์ดังกล่าวแต่สามารถออกฤทธิ์บำบัดอาการผิดปรกติทางสมองเช่น ลมชักในเด็กได้
• US.FDA ได้ให้ทะเบียนยาที่มี CBD เพียงตำรับเดียว (ซึ่งคงพิสูจน์ได้ว่ามีปริมาณ CBD สูงและไม่มี THC) และยังคงไม่ยอมรับให้มีการขาย CBD ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ซึ่งไทยก็ไม่มีการอนุญาตเช่นกัน และไม่ควรสับสนระหว่างน้ำมันซีบีดีที่สกัดจากต้น-ใบกัญชงและน้ำมันจากเมล็ดกัญชง)• เว็บไซต์ของ US.FDA มีบทความเรื่อง What You Need to Know (And What We’re Working to Find Out) About Products Containing Cannabis or Cannabis-derived Compounds, Including CBD ให้ข้อมูลว่า ผลิตภัณฑ์ CBD อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเช่น
o เกิดอันตรายต่อตับ
o รบกวนการทำงานของยาชนิดอื่นจนส่งผลให้เกิดผลข้างเคียง
o เพิ่มความเสี่ยงอันตรายในการง่วงเหงาหาวนอนในคนที่ดื่มอัลกอฮอลหรือยาระงับประสาทหรือยานอนหลับอื่น
o ลดการตื่นตัวระวังภัย
o มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ชาย
o มีผลต่อระบบทางเดินอาหารอาจทำให้ถ่ายท้องหรือเบื่ออาหาร
มีงานวิจัยและข้อควรระวังอะไรบ้างThu, 28 Jan 2021 - 12min - 265 - คิดก่อนเชื่อ : น้ำมันจากกัญชง ตอนที่ 3 เชื่อสรรพคุณได้จริงหรือ
• ข้อมูลจากการวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่าง ๆ ที่กล่าวว่า น้ำมันซีบีดีนั้นมีผลในการบำบัดโรคหรือทุเลาบางอาการนั้น ต้องรู้ว่า เป็นการทดลองในคน หรือสัตว์ทดลอง หรือเพียงแค่ในหลอดทดลอง
ฟังรายละเอียดว่า น้ำมัน CBD มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง เกี่ยวกับการสกัดนำไปบำบัดโรค เช่น พาร์กินสัน, อาการอักเสบต่าง ๆ ,สิว, สะเก็ดเงิน, กระดูกหัก, อาการจากโรควัวบ้า, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง
• และยังมีบทความวิจัยที่รายงานผลการศึกษาการใช้น้ำมันซีบีดีใน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ คลื่นไส้ วิตกกังวล สมาธิสั้น โรคจิตเภท อาการติดยา อาการอยากเหล้า อยากบุหรี่ โรคหัวใจ อาการลำไส้แปรปรวน และความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ซึ่งทำให้เห็นว่าน้ำมันซีบีดีนั้นเข้าข่ายเป็นยา แม้ว่าจะเป็นยาครอบจักรวาล
• การสกัดน้ำมันซีบีดีคุณภาพสูงจากต้นและใบกัญชงมีขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชงมาก
o น้ำมันซีบีดีนั้นมีปริมาณน้อยมาก
o อุปกรณ์และเครื่องมือที่มีราคาแพง ต้องใช้การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลวที่อุณหภูมิต่ำมาก
Thu, 28 Jan 2021 - 14min - 264 - คิดก่อนเชื่อ : น้ำมันจากกัญชง ตอนที่ 2 เชื่อสรรพคุณได้จริงหรือ
ข้อมูลจากการวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่าง ๆ ที่กล่าวว่า น้ำมันซีบีดีนั้นมีผลในการบำบัดโรคหรือทุเลาบางอาการนั้น ต้องรู้ว่า เป็นการทดลองในคน หรือสัตว์ทดลอง หรือเพียงแค่ในหลอดทดลอง
• การสกัดน้ำมันซีบีดีคุณภาพสูงจากต้นและใบกัญชง มีขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการสกัดน้ำมันจากเมล็ดกัญชงมาก
o น้ำมันซีบีดีนั้นมีปริมาณน้อยมาก
o อุปกรณ์และเครื่องมือที่มีราคาแพง ต้องใช้การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลวที่อุณหภูมิต่ำมาก
• แพลทฟอร์มต่าง ๆ ที่มีการขายน้ำมันจากกัญชงได้พยายามโฆษณาให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด (เอง) ว่า น้ำมันเฮมพ์มีศักยภาพคล้ายน้ำมันซีบีดี หรือสินค้าบางยี่ห้อระบุเลยว่า น้ำมันที่ขายนั้นสกัดจากทั้งใบ ต้น ดอกและเมล็ด
• ในอนาคตอีกไม่นานน้ำมันจากเมล็ดกัญชงอาจมีการขายได้ตามกฏหมายในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ต้องเป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดกัญชงที่ถูกทำให้งอกไม่ได้แล้ว ไม่ใช่น้ำมันที่สกัดจากทุกส่วนของต้นแล้วขายในราคาค่อนข้างแพง โดยอ้างสรรพคุณรวมทุกอย่างผสมกันไปฟังรายละเอียดว่าคุณสมบัติที่กล่าวอ้างว่าน้ำมันกัญชงสามารถบำบัดหลายโรคนั้น มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง
Tue, 26 Jan 2021 - 13min - 263 - คิดก่อนเชื่อ : น้ำมันจากกัญชง ตอนที่ 1 รู้ให้ชัดก่อนบริโภค
• พืชที่เป็นพี่น้องของกัญชาคือ กัญชง เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในรูปผลิตภัณฑ์จากกัญชง ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการสันทนาการ คือ ผ้าที่มีเส้นใยที่แข็งแรง ยาที่สกัดจากใบและลำต้นเพื่อบำบัดโรคทางสมองบางชนิด และน้ำมันจากเมล็ดเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือผสมอาหารเพื่อเพิ่มศักยภาพที่ต้องการ
• ในอนาคตอันใกล้ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากกัญชงในรูปของ น้ำมันจากเมล็ดกัญชง โปรตีนสกัดจากเมล็ดกัญชง หรือน้ำมันจากกัญชงในรูปน้ำมันซีบีดี (CBD oil ซึ่งปัจจุบันน้ำมันซีบีดียังไม่ถูกกฏหมาย) อาจเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคอย่างถูกกฏหมาย
• ประเด็นที่น่าสนใจคือ ผู้บริโภคบางคนอาจสับสนเมื่อเข้าไปดูข้อมูลจากการโฆษณาขายน้ำมันที่สกัดได้จากกัญชงซึ่งจริงแล้วมี 2 ประเภทคือ
o ชนิดที่สกัดจากเมล็ดกัญชงหรือน้ำมันเฮมพ์ (Hemp oil หรือ Hemp seed oil)
o ชนิดที่สกัดจากลำต้นและใบกัญชง หรือน้ำมันซีบีดี (CBD oil)• น้ำมันทั้งสองประเภทนั้นมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในด้าน ทั้งการตอบสนองในความต้องการจริงของผู้บริโภค และราคานั้นต่างกันมาก
คลิกฟังรายละเอียดว่า น้ำมันเฮมพ์และน้ำมันซีบีดี สกัดมาจากส่วนใดของกัญชง มีคุณสมบัติอย่างไร และราคาต่างกันมากขนาดไหน
Mon, 25 Jan 2021 - 14min - 262 - คิดก่อนเชื่อ : แว่นตาใช้งานหน้าอุปกรณ์กำเนิดแสงต่าง ๆ ช่วยป้องกันตาจากอันตรายของแสงสีน้ำเงินจริงหรือ
• แสงสีน้ำเงินคือ แสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงสีขาว
o แสงที่เรามองเห็นได้จะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-700 nm โดยแสงสีน้ำเงินอยู่ที่ช่วงประมาณ 380-480 nm จึงเป็นแสงที่อยู่ในช่วงมีพลังงานค่อนข้างสูง
o แสงทั้งหมดมี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
• แหล่งของแสงสีน้ำเงิน
o ดวงอาทิตย์
o หลอด LED ตามบ้านเรือน ไฟหน้าและท้ายรถ ไฟฉายสมัยใหม่ อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่ต้องการให้เห็นตำแหน่งจึงใส่หลอด LED อุปกรณ์ดิจิตอล เช่น นาฬิกา (Smart Watch)
o จอ TV จอคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุค แทบเล็ต ฯลฯ
• แสงสีน้ำเงินที่เราเจอนั้น มี 2 ประเภท คือแสงสีน้ำเงินที่ดี และ แสงสีน้ำเงินที่เป็นโทษ
o มีสมมุติฐานว่า แสงสีน้ำเงินที่ดี ในช่วงสูงกว่า 470 nm ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาช่วยทำให้เรากระฉับกระเฉง รู้ว่าเวลาไหนควรนอน เวลาไหนควรตื่น หรือแม้แต่บอกว่าเราควรกินตอนไหน ถ่ายอุจจาระตอนไหน ซึ่งเป็นการกระตุ้น “นาฬิกาชีวิต” ที่ทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ
o และยังมี สีน้ำเงินที่เป็นโทษ ในช่วงคลื่นที่ 415-455 nm นั้นเป็นแสงที่ส่งผลเสียทำให้จอประสาทตาเราค่อยๆ เสื่อมลงได้ หากรับในปริมาณที่มากเกินไปมีงานวิจัยอะไรบ้างที่ระบุถึงแสงที่อันตรายต่อดวงตาและแว่นตาสามารถตัดแสงได้หรือไม่
Fri, 22 Jan 2021 - 15min - 261 - คิดก่อนเชื่อ : ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมหลังหมดประจำเดือนด้วยอาหารธรรมชาติได้ด้วยหรือ
• มีทฤษฏีหนึ่งกล่าวประมาณว่า เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือนแล้วไม่ควรปล่อยให้ตัวเองอ้วน เพราะปริมาณเอสโตรเจนอาจเพิ่มสูงได้แบบไม่มีการควบคุม ส่งผลให้เสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม
• เอสโตรเจนที่เพิ่มสูงหลังหมดประจำเดือนได้จากการทำงานของเอนไซม์ Aromatase
• Aromatase คือ เอนไซม์ในกลุ่มไซโตโครม พี-450 ซึ่งมีความสำคัญมาก ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในร่างกาย หน้าที่หนึ่งคือเปลี่ยน testosterone และ androstenediol ไปเป็นฮอร์โมนกลุ่มเอสโตรเจน
• เอนไซม์นี้มีมากใน fat cell ดังนั้นผู้หญิงที่เริ่มอ้วนเมื่อหมดประจำเดือนแล้วจึงอาจมีเอสโตรเจนในร่างกายสูง เนื่องจากเอนไซม์ใน fat cell ยังทำงานอยู่ ทั้งที่ corpus luteum ในรังไข่ไม่มีการผลิตเอสโตรเจนแล้ว• แพทย์มักจ่ายยากลุ่ม aromatase inhibitors ให้ผู้หมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
• แต่ยาแผนปัจจุบันกลุ่ม aromatase inhibitors มักทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ กระดูกพรุน ข้อต่อผิดปรกติ มีอาการเจ็บปวด ข้ออักเสบ มีปัญหาตับและไต ผมร่วง
ฟังว่ามีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวกับแหล่งของ aromatase inhibitor ในธรรมชาติ
Thu, 21 Jan 2021 - 17min - 260 - คิดก่อนเชื่อ : พัดลมไอน้ำนั้นช่วยคลายร้อนได้จริงหรือ
• พัดลมไอน้ำ ภาษาอังกฤษควรเป็น misting fan หรือ mist fan
• พัดลมไอน้ำคือ อุปกรณ์สร้างละอองหมอกไอน้ำด้วยปั๊มแรงดัน (pressure pump) และหัวพ่นหมอก (Mist Nozzle) โดยอาศัยหลักการปัมพ์สร้างแรงดันจ่ายน้ำผ่านรูขนาดเล็กมาก ๆ เพื่อให้หยดน้ำที่พ่นออกมามีการแตกตัวเป็นอณูเล็กๆ (Atomization) อาจมีการใช้น้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำเย็นกว่าอุณหภูมิห้อง เป็นอุปกรณ์ที่ควรใช้ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ว่าในร่มหรือกลางแจ้ง ถ้าอากาศถ่ายเทไม่ดีจะทำให้ไอน้ำจับตัวเป็นหยดน้ำ อย่างไรก็ดีถ้าพัดลมมีความแรงพอจะช่วยทำให้โอกาสจับตัวเป็นหยดน้ำเป็นไปได้ยาก (ลักษณะเดียวกับช่องแช่แข็งชนิดที่ไม่ต้องละลายน้ำแข็งในตู้เย็น)
• พัดลมนี้ช่วยให้อากาศรอบตัวเราเย็นลงจริงหรือไม่ มีงานวิจัย 2 เรื่องเป็นอย่างน้อยที่กล่าวถึง
• บทความแรกชื่อ Evaluation of cooling effects: outdoor water mist fan ในวารสาร Building Research & Information ในปี 2015
• บทความที่สองชื่อ Performance evaluation of misting fans in hot and humid climate ตีพิมพ์ในวารสาร Building and Environment เมื่อปี 2010Tue, 19 Jan 2021 - 15min - 259 - คิดก่อนเชื่อ : คลื่นแสงระดับ UVC ที่ว่าร้ายอาจช่วยสู้ COVID-19 ได้จริงหรือ
• แสงระดับอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือ UV นั้น เป็นแสงที่มีระดับความยาวคลื่นที่สั้นเกินกว่าที่ตามนุษย์มองเห็นได้และมีระดับพลังงานสูงกว่าแสงที่มองเห็นได้ กล่าวโดยสรุปคือ เป็นแสงที่มองไม่เห็นแต่ถ่ายทอดพลังงานให้สิ่งที่แสงไปถึง
• แสง UV แบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ระดับคือ UVA (315-400 nm) UVB (280-315nm) และ UVC (100-280 nm) โดย UVA นั้น ไม่ค่อยก่อปัญหาอะไรนักเพียงแค่ทำให้คนที่ผิวคล้ำโดยกำเนิดแล้วคล้ำหนักขึ้น แสง UVB เป็นแสงที่เมื่อส่องผิวแต่น้อยช่วยในการสร้างวิตามินดีแต่ถ้ามากไปก็จะไม่ค่อยดีแล้วเพราะเริ่มร้อนและทำลายผิวหนังชั้นที่เป็นเซลล์มีชีวิตได้ ส่วน UVC นั้นไม่ต้องพูดถึง เป็นแสงที่ฆ่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดีแต่ก็ทำให้ผิวหนังส่วนที่เป็นเซลล์ซึ่งยังมีชีวิตอยู่มีความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้
• ข่าวจากหลายสถานีโทรทัศน์และเว็บไซต์ซึ่งคงซื้อข่าวจากแหล่งเดียวกันกล่าวว่า ได้มีการค้นพบว่า มีแนวความคิดในการใช้แสงที่มีความถี่ในช่วง far UVC (207-222-nm) ช่วยในการฆ่าไวรัส COVID-19 โดยคนที่ได้รับแสงพร้อมกันจะไม่เป็นไร
• แนวความคิดนี้ฟังแล้วดู โหด มัน ฮา เพราะแสง far UVC นั้น มีพลังงานทำลายล้างได้สูงกว่าแสง UVC ที่ก่อมะเร็งผิวหนังเสียอีก ดังนั้นแนวความคิดว่ามันควรฆ่าไวรัสที่ก่อให้เกิด COVID-19 บนวัสดุใด ๆ ได้นั้น จึงถูกต้อง แต่เมื่อวัสดุนั้นอยู่กับมนุษย์แล้ว far UVC น่าจะก่ออันตราย แต่ปรากฏว่า ไม่น่าใช่
Mon, 18 Jan 2021 - 14min - 258 - คิดก่อนเชื่อ : ลดพลาสติกชนิดโพลียูรีเทนในสิ่งแวดล้อมได้จริงหรือ
• พลาสติกซึ่งผลิตจากของเหลือในการกลั่นน้ำมันที่มีการใช้มากที่สุดคือ โพลียูรีเทน (polyurethane)
• โพลียูรีเทนถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อใช้ทดแทนยางธรรมชาติ และยังใช้ในการผลิตกระดาษ การผลิตก๊าซมัสตาร์ด ผ้าใยสังเคราะห์ที่มีความทนทาน เคลือบผิวเครื่องบิน เคลือบโลหะ ไม้ และอิฐ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนและสารเคมี
• ในกลุ่มเครื่องแต่งกาย โพลียูรีเทนได้รับการปรับปรุงและพัฒนาเป็นเส้นใยสแปนเด็ก (spandex fiber) ที่มีความทนทานและยืดหยุ่นได้ดี เป็นวัสดุใส่ในหมอน ที่นอน และเบาะนั่งรถยนต์ โฟมกันกระแทกในกล่องบรรจุภัณฑ์ วัสดุประกอบไม้-พลาสติก กาวและสารผนึกต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังใช้ทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ การต่อเรือ และอิเล็กทรอนิกส์• ในช่วงที่ COVID-19 กำลังระบาด หน้ากากอนามัยที่มักใช้กันทั่วไปทำจากผ้าสปันบอนด์ ซึ่งเป็นใยสังเคราะห์ที่ผลิตจาก Polypropylene มีหลากหลายสีให้เลือกใช้ได้ และก็มีหน้ากากลักษณะหนึ่งซึ่งทำจากผ้าที่สังเคราะห์จากพลาสติกโพลียูรีเทนซึ่งดูสวยกว่าและนักการเมืองชอบใช้เวลาออกข่าวโทรทัศน์ซึ่งเวลาพูดแล้วมักหลุดมาอยู่ใต้จมูกประจำ
• ประเด็นคือ เวลาทิ้งลงถังขยะแล้ว ผู้กำจัดขยะทำลายด้วยวิธีใด (ไม่ว่าจะเป็นผ้าสปันบอนด์และผ้าโพลียูรีเทน)
• โพลียูรีเทนเป็นพลาสติกที่เมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้วมีลักษณะสัมผัสแข็งจนยากต่อการนำกลับมาใช้ซ้ำอย่างปลอดภัย เพราะใช้ความร้อนหลอมให้เหลวไม่ได้ เนื่องจาก โพลียูรีเทนติดไฟได้ง่ายและรวดเร็วมาก และเมื่อไหม้แล้วจะให้ความร้อน และควันหนาแน่นมาก ที่สำคัญคือให้ก๊าซพิษออกมาด้วยได้แก่ ไดออกซิน ไอโซไซยาไนด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น จึงมักพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกชนิดนี้มักจบลงในการทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมแล้วมีการสลายตัวให้สารเคมีที่เป็นพิษออกมาได้เรื่อย ๆ ซึ่งสารเคมีบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็งFri, 15 Jan 2021 - 14min - 257 - คิดก่อนเชื่อ : COVID-19 ก่อปัญหาแค่ระบบทางเดินหายใจจริงหรือ
• โคโรนาไวรัสเป็นไวรัสกลุ่มหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายของระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่น้อยคล้ายเป็นหวัดธรรมดา ไปจนถึงอาการหนักจนตายเนื่องจากความเสียหายของเซลล์ปอด
• โดยทั่วไปแล้วอาการป่วยเนื่องจากโคโรนาไวรัสนั้น ไม่มียาบำบัดโดยตรงและยังไม่มีวัคซีนที่มีคุณสมบัติที่จะหยุดยั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• สัตว์เลือดอุ่นอื่น ๆ เช่น ไก่ ติดเชื้อไวรัสกลุ่มนี้แสดงอาการผิดปรกติของทางเดินหายใจ ในขณะที่หมูและกระต่ายที่ติดเชื้อมีอาการที่ทางเดินอาหารและท้องเสีย เป็นต้น
• เมื่อการระบาดของ COVID-19 ประมาณเดือนที่ 5 ปรากฏว่าอาการป่วยของผู้เคราะห์ร้ายที่ติดเชื้อ SARS CoV 2 นั้น เปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิมที่เคยก่อแค่ปัญหาของทางเดินหายใจคือ ไอ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว และหายใจลำบาก ไปเป็นก่อปัญหาในหลายอวัยวะส่งผลให้เกิดการตายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
• บทความเรื่อง Unusual Symptoms of Coronavirus: What We Know So Far ในเว็บไซต์หนึ่ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2020 ได้บรรยายถึงประเด็นที่ SARS CoV 2 ก่ออันตรายในคนไข้ในหลายรูปแบบ ซึ่งไม่เคยปรากฏว่าเกิดจากไวรัสกลุ่มนี้ในคน มีอาการอะไรบ้าง ฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาThu, 14 Jan 2021 - 17min - 256 - คิดก่อนเชื่อ : สู้ COVID-19 ด้วยวิธีที่เร็วกว่าใช้วัคซีนได้จริงหรือ
• เป็นที่เข้าใจทั่วไปว่า การป้องกันการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 นั้นต้องใช้แอนติบอดีเป็นตัวจับไวรัสตรง spike protein หรือตุ่มโปรตีนบนผิวของไวรัส
• แอนติบอดีในร่างกายเราได้จากหลายวิธีการคือ
o ร่างกายสร้างขึ้นได้เองโดยอาศัยระบบภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
o จากวัคซีนที่พัฒนาได้แล้วฉีดเข้าร่างกายคนที่ยังไม่ติดเชื้อ
o จากน้ำเลือดของคนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 และหายดีแล้ว
o จากแอนติบอดีที่สู้กับไวรัสที่มีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัส COVID-19 ที่ผลิตขึ้นในห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะ
• ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 คือ SARS CoV-2 ส่วนไวรัสใกล้เคียงที่ก่อให้เกิดโรค SARS คือ SARS CoV มีงานวิจัยอย่างน้อย 2 เรื่องที่พบความรู้ที่คล้ายกันซึ่งเป็นการศึกษาที่ใช้แอนติบอดีที่ต่อต้านไวรัส SARS-CoV มาจัดการกับ SARS-CoV-2
o งานวิจัยเรื่อง Cross-neutralization of SARS-CoV-2 by a human monoclonal SARS-CoV antibody เขียนโดย Dora Pinto และคณะจากมหาวิทยาลัยในสวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature 2020 งานวิจัยนี้ใช้ monoclonal antibody ที่ผลิตจากผู้ป่วย SARS เมื่อปี 2003o งานวิจัยเรื่อง A human monoclonal antibody blocking SARS-CoV-2 infection นิพนธ์โดย Chunyan Wang และคณะจากมหาวิทยาลัยในเนเทอร์แลนด์และเยอรมัน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร bioRxiv ปี 2020 งานวิจัยนี้ใช้ monoclonal antibody ที่ผลิตขึ้นเองในห้องปฏิบัติการ
มีงานวิจัยอะไรอีกบ้าง ฟังในคิดก่อนเชื่อ
Wed, 13 Jan 2021 - 17min - 255 - คิดก่อนเชื่อ : อาการของ COVID-19 นั้นดูคล้ายโรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเอง (autoimmune disease) จริงหรือ
• ปัญหาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาวัคซีนต่าง ๆ คือ ความกังวลว่าวัคซีนนั้นก่อให้เกิดอาการของภูมิคุ้มกันต้านตัวเอง หรือ autoimmune disease
• มีแพทย์ท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2020 ว่า ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรค autoimmune disease (ภูมิคุ้มกันต้านตัวเอง) ไม่ควรกังวลถ้าจะต้องฉีดวัดซีนป้องกัน covid-19 เพราะอาการภูมิคุ้มกันต้านตัวเองนั้นแก้ไม่ยาก เพียงแค่มียาพาราเซตามอลก็ช่วยได้แล้ว แต่ประโยชน์ของการได้รับการป้องกัน COVID-19 จากวัคซีนนั้นเหนือกว่า
o ที่กล่าวข้างต้นเป็นการทำ risk/benefit ที่คุณหมอซึ่งไม่ได้เป็นโรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเองกล่าว
• มีบทความเรื่อง COVID-19 Is Looking More and More Like an Autoimmune Disease ในเวปไซต์หนึ่งเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2020 กล่าวว่า ตลอดเวลาที่มีการระบาดของ COVID-19 นั้น แพทย์หลายคนได้สังเกตว่า คนไข้ไม่น้อยที่ติดเชื้อมีอาการ myocarditis (กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนมากมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่บางกรณีอาจเป็นผลกระทบจากการใช้ยาบางชนิด ปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือการอักเสบอื่น ๆ ในร่างกาย) ส่งผลให้ตายได้
Tue, 12 Jan 2021 - 10min - 254 - คิดก่อนเชื่อ : COVID-19 ระบาดในอังกฤษ เป็นไวรัสกลายพันธุ์
การกลายพันธุ์ของ RNA virus ไม่ใช้เรื่องน่าประหลาดใจ...แต่
• เมื่อ 21 ธันวาคม 2020 มีข่าวว่า มี Sar-CoV-2 ในอังกฤษที่กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ซึ่งระบาดเร็วกว่าเดิม กล่าวคือ เข้าสู่เซลล์มนุษย์ได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม
• มีการตรวจพบครั้งแรกในเดือนกันยายน แล้วในเดือนพฤศจิกายนได้พบว่าประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ติดเชื้อในลอนดอนเป็นสายพันธุ์ใหม่นี้ จนสุดท้ายจำนวนผู้ป่วยเกือบ 2 ใน 3 ในช่วงกลางเดือนธันวาคมเป็นสายพันธุ์นี้ ปรากฏการณ์นี้ทำให้นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ต้องออกข้อบังคับรอบใหม่ในหลายพื้นที่ของประเทศป้องกันไวรัสกระจาย
• ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษนั้นมีรหัสว่า VUI-202012/01 (ตามระบบของ the COVID-19 Genomics UK หรือ COG-UK) ซึ่งมีการกลายพันธุ์ 14 ตำแหน่ง ซึ่ง 7 ใน 14 ตำแหน่งเป็นที่บริเวณ spike glycoprotein ที่ทำหน้าที่จับกับ ACE2 receptor (ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์ของ spike glycoprotein กว่า 4,000 ครั้งแล้ว) แต่ยังสรุปไม่ได้ว่า เชื้อมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไม่ในการทำให้คนไข้เสียชีวิต
Mon, 11 Jan 2021 - 13min - 253 - คิดก่อนเชื่อ : สบู่หมดอายุล้างมือป้องกัน COVID-19 ได้หรือไม่
• สบู่มีศักยภาพในการชะล้างเชื้อโรค เพราะทั่วไปเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างด่างและกรดไขมันได้โมเลกุลของสบู่ที่มีองค์ประกอบส่วนหนึ่งเป็นสารที่มีขั้วส่วนหนึ่ง (จากด่าง) และไม่มีขั้วอีกส่วนหนึ่ง (จากกรดไขมัน) ซึ่งส่วนหลังนี้จะจับกับไขมันที่เป็นองค์ประกอบของผนังไวรัสหรือผนังเซลล์ของแบคทีเรีย จริงแล้วสบู่คือ เกลือที่เกิดขึ้นระหว่างกรด (ไขมัน) และ ด่าง (อาจเป็น NaOH ทำให้ได้สบู่แข็ง หรือ KOH ทำให้ได้สบู่เหลว)
• อายุเฉลี่ยของสบู่เหลวอยู่ที่ประมาณ 3 ปี (แบบออแกนิคอาจเหลือเพียง 1 ปีเท่านั้น) โฟมอาบน้ำอยู่ที่ประมาณ 3 ปี สบู่ก้อนอยู่ที่ 18 เดือน – 3 ปี แชมพูประมาณ 2-3 ปี
• ซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อยู่ในกลุ่มสบู่ ต้องดูวันหมดอายุ
Fri, 08 Jan 2021 - 15min - 252 - คิดก่อนเชื่อ : วัคซีน COVID-19 ควรมีมาตรฐานอย่างไรจึงจะกล่าวว่าใช้ได้
• หลักเกณฑ์ต่ำสุดขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับวัคซีน COVID-19
ความปลอดภัย (safety) 25 คะแนน ไม่มีข้อมูลว่าก่อปัญหาในสัตว์ทดลองและในคน เช่น ไม่เพิ่มการเป็นโรคใด
ประสิทธิภาพ (efficacy) 25 คะแนน ขนาดของวัคซีนที่เลือกใช้กระตุ้นระบบภูมิต้านทานในระดับที่ป้องกันโรคได้ ซึ่งหมายถึงทั้ง antibodies และเม็ดเลือดขาว (WHO ไม่ได้ระบุถึงเม็ดเลือดขาวที่เป็น memory cells ซึ่งคงละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
ความพร้อมใช้งาน (availability) 25 คะแนน คือ ความสามารถของการผลิตที่ต้องมากจนตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อได้
การนำไปใช้งาน (implementation) 15 คะแนน ความสะดวกการฉีดซึ่งควรเป็นเพียง 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 มิลลิลิตร และอาจระบุข้อกำหนดพิเศษอื่น ๆ ที่จำเป็น
เสถียรภาพ (stability) 10 คะแนน วัคซีนควรคงสภาพได้จนถึงขณะฉีด (เสถียรอย่างน้อย 2 สัปดาห์ที่ 2-8 ° C มีรูปแบบความเสถียรที่อุณหภูมิอื่น ๆ เช่น -20 ° C และข้อมูลระยะเวลาเก็บอย่างน้อย 12 เดือนที่อุณหภูมิต่ำถึง -60 ถึง -70°C)
Thu, 07 Jan 2021 - 14min - 251 - คิดก่อนเชื่อ : เราควรสงสัยอะไรบ้างไหมเมื่อเสพข่าวเกี่ยวกับวัคซีน COVID-19
การวิจัยวัคซีนป้องกัน COVID-19 วัคซีนชนิดใหม่มีชื่อเรียกว่าวัคซีน mRNA ตามขั้นตอนงานวิจัยแล้ว มีอะไรควรสงสัยว่ามันจะได้ผลหรือไม่
ประเด็นสำคัญที่ 1
• ในการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนั้น กลุ่มที่เป็นยาหลอกหรือ placebo group ซึ่งถูกทำให้เข้าใจว่าได้วัคซีนแต่ไม่ได้ และเมื่อไปสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อ การติดเชื้อในกลุ่ม placebo จึงคงเกิดเพราะอาสาสมัครเข้าใจเอาเองว่าได้รับวัคซีนแล้วนั้นเป็นความยุติธรรมหรือไม่• ในบทความเรื่อง COVID-19 vaccine trials should seek worthwhile efficacy พบได้ในวารสาร The Lancet ตีพิมพ์ออนไลน์ 27 สิงหาคม 2020 นั้น ได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจเลือกมี Placebo control group หรือไม่ โดยการใช้ placebo group นั้น WHO ได้กล่าวว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพิจารณาบทพื้นฐานของจริยธรรมในการทดลองซึ่งดูได้จากเอกสารที่องค์การอนามัยโลกได้ตีพิมพ์ชื่อ WHO Guidelines On Clinical Evaluation Of Vaccines: Regulatory Expectations โดย the WHO Expert Committee on Biological Standardization at its 52nd meeting และมีรายงานเป็นรูปเล่มเมื่อ October 2001 พร้อมกับมีบทความเรื่อง Placebo use in vaccine trials: Recommendations of a WHO expert panel ในวารสาร Vaccine ปี 2004 เอกสารเหล่านี้ไม่สามารถฟันธงว่าต้องใช้ แต่ให้หลักเกณฑ์ว่า วัคซีนในลักษณะใดที่ควรใช้ กลุ่มยาหลอกในการประเมิน มิเช่นนั้นจะไม่ผ่านการขึ้นทะเบียน
ฟังรายละเอียดงานวิจัยเพิ่มเติม คลิกฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะค้นงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้ว มาอธิบายให้เข้าใจแม้ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์
Tue, 05 Jan 2021 - 13min - 250 - คิดก่อนเชื่อ : ผู้ติดเชื้อ SAR-CoV-2 บางคนไม่มีอาการได้จริงหรือ
ทำไมคนที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 หรือ COVID-19 มีอาการต่างกัน หรืออาจไม่มีอาการเสียด้วยซ้ำ
o มีข่าวน่าสนใจที่ตีพิมพ์เป็นงานวิจัยเรื่อง Preexisting and de novo humoral immunity to SARS-CoV-2 in humans ในวารสาร Science ของปี 2020 ที่พยายามให้คำอธิบายว่า ประชากรของโลกบางคนนั้นมีแอนติบอดีที่สามารถจัดการกับไวรัส SARS-CoV-2 ได้ ทั้งที่คนคนนั้นไม่เคยป่วยเพราะรับเชื้อดังกล่าวมาก่อน
o ข้อมูลนั้นได้จากการวิเคราะห์เลือดที่ได้รับบริจาคก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 โดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่สถาบัน Francis Crick Institute ในกรุงลอนดอนที่ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานจาก University College London ของสหราชอาณาจักร
o นักวิจัยกลุ่มดังกล่าวจริงแล้ว ได้ตั้งใจพัฒนาวิธีการทดสอบเพื่อตรวจวัดหาแอนติบอดีในเลือดที่มีปฏิกิริยาต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ให้ไวขึ้นกว่าวิธีเดิม โดยหวังว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีของผู้ป่วยที่ฟื้นจากอาการป่วยว่า มีแอนติบอดีอยู่ในร่างกายได้นานเพียงใดหลังจากหายดีแล้ว ซึ่งในการศึกษานั้น จำต้องมีการตรวจสอบมาปริมาณแอนติบอดีจากน้ำเลือดของคนที่ไม่ได้สัมผัสเชื้อมาก่อนเลย เพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุมชนิดที่เรียกว่า negative control แต่ปรากฏว่าน้ำเลือดจากกลุ่มควบคุมดังกล่าวนั้นบางตัวอย่างถูกตรวจพบว่ามีระดับแอนติบอดีที่ต่อต้าน SARS-CoV-2 ในขนาดที่น่าสนใจต่างจากคนปรกติทั่วไป
o สมมุติฐานคือ การสัมผัสไวรัสกลุ่มโคโรนาไวรัสอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการหวัดธรรมดา (common cold) นั้นเป็นตัวกระตุ้นให้ประชากรบางคนมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่ก่ออาการหวัดธรรมดา แต่แอนติบอดีนั้นไม่ได้มีความจำเพาะแบบ 100% กล่าวคือ สามารถทำปฏิกิริยากับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคอื่นซึ่งรวมทั้ง COVID-19 ด้วย ปรากฏกรณ์นี้เรียกว่า immune cross-reactivity ซึ่งเป็นลักษณะการต้านเชื้อข้ามสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาเพราะเหล่าโคโรนาไวรัสนั้น ต่างก็มีตุ่มโปรตีน (spike protein) บนผิวหน้าของตัวไวรัสที่แม้ต่างสายพันธุ์อาจมีสัณฐานของตุ่มโปรตีนดูคล้ายกันในภาพรวม จนทำให้แอนติบอดีสัมผัสได้ว่าเป็นไวรัสเดียวกัน
คลิกฟังงานวิจัยเพิ่มเติม ใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะค้นงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้ว มาอธิบายให้เข้าใจแม้ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์Mon, 04 Jan 2021 - 14min - 249 - คิดก่อนเชื่อ : COVID-19 กับการใช้ใบผ่านทาง (หรือ Immunity passport) เป็นไปได้หรือ
• องค์การอนามัยโลก WHO แถลงเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2020 ว่าโอกาสที่จะเกิดใบผ่านทางชนิดที่เรียกว่า Immunity passport ซึ่งระบุว่า ใครปลอดภัยจากการติดเชื้อ COVID-19 นั้น เป็นเรื่องยาก
• ยังไม่พบหลักฐานที่ระบุว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายดีแล้ว จะไม่กลับมาติดเชื้อใหม่
• องค์การอนามัยโลก WHO ได้ให้ข้อมูลในวันที่ 26 เมษายนว่า ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อนั้น มีแอนติบอดี้ต่อสู้กับเชื้อไวรัสสูงแค่ในบางคน ส่วนบางคนกลับมีระดับแอนติบอดี้ต่ำในกระแสเลือด
• ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำเตือนว่าอย่าได้เชื่อเกี่ยวกับกระแสข่าวลือว่า บางประเทศจะออก“Immunity passport” แก่ประชากรที่ระบุว่า มีภูมิคุ้มกันต้านไวรัส COVID-19 เพียงเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับไปทำงานหรือเดินทางได้อย่างเสรีมีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ฟังคำอธิบายจาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ที่จะค้นงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้ว มาอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายแม้ไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์
Sun, 03 Jan 2021 - 17min - 248 - คิดก่อนเชื่อ : ออกกำลังกายช่วง COVID-19 ควรใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากบังใบหน้าดี
มีข่าวจากเวปไซต์ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2020 ว่าเด็กนักเรียนจีนเสียชีวิต ระหว่างการออกกำลังกายวิชาพละศึกษา เนื่องจากใส่หน้ากากอนามัย เมื่อวันที่ 24 เมษายน 1 ราย และ 30 เมษายน อีก 1 ราย
ข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
• การออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง ทำให้การหายใจต้องแรงขึ้น เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนสำหรับใช้ในการสร้างพลังงานของเซลล์ต่าง ๆ แต่เมื่อใส่หน้ากากอนามัย ร่างกายจำเป็นต้องใช้แรงเพิ่มในการหายใจเข้าปอดมากขึ้นกว่าปรกติ ส่งผลให้ความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายของคนที่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจโดยไม่รู้ตัวเพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง• ดังนั้นถ้าต้องออกกำลังกายที่ต้องหายใจแรงเช่น เล่นบาสเก็ตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน เทสนิส และอื่น ๆ นักกีฬาควรทำอย่างไร
มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ฟังคำอธิบายจาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ที่จะค้นงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้ว มาอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายแม้ไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์
Sat, 02 Jan 2021 - 14min - 247 - คิดก่อนเชื่อ : เราควรเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังออกไปนอกบ้านในช่วงการระบาดของ COVID-19 หรือไม่
• งานวิจัยเรื่อง Aerosol and Surface Stability of SARS-CoV-2 as Compared with SARS-CoV-1 ในวารสาร The New England Journal of Medicine ปี 2020 กล่าวว่า ไวรัสสามารถอยู่ในอากาศและพื้นผิวต่าง ๆ นานระหว่าง 4 ชั่วโมงถึง 72 ชั่วโมง
• นอกจากนี้งานวิจัยเรื่อง Stability of SARS-CoV-2 in different environmental conditions ซึ่งได้ทุนวิจัยจาก National Institute of Allergy and Infectious Diseases และตีพิมพ์ใน Lancet Microbe ปี 2020 นี้ ได้แสดงให้เห็นว่า ไวรัสสามารถตกค้างอยู่บนเนื้อผ้าได้นานถึง 2 วัน และถ้าเป็นพลาสติกหรือโลหะอาจอยู่ได้ถึง 7 วัน ดังนั้นจึงควรคำนึงว่า เสื้อผ้าชุดที่สรวมไปในสถานที่เสี่ยงนั้นมีองค์ประกอบเป็นอะไร
• ดังนั้นถึงไม่เปลี่ยนเสื้อผ้าเพราะอาจทำได้ยาก การล้างมือบ่อยขึ้นและพยายามไม่ใช้มือขยี้ตาหรือสัมผัสปากและจมูก (โดยอาศัยอุปกรณ์คือ face shield หน้ากากบังใบหน้า) ก็เป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้• เมื่อกลับบ้านควรเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนทำสิ่งอื่น โดยเฉพาะเมื่อในบ้านมีเด็กและผู้สูงวัย
มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกบ้าง ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ใน คิดก่อนเชื่อ
Fri, 01 Jan 2021 - 13min - 246 - คิดก่อนเชื่อ : พันธุกรรมน่าจะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 จริงหรือ
• ทีมนักวิจัยจาก คิงส์คอลเลจ ลอนดอน ของสหราชอาณาจักร เผยแพร่บทความเรื่อง Self-reported symptoms of covid-19 including symptoms most predictive of SARS-CoV-2 infection, are heritable ตีพิมพ์ใน medRxiv ปี 2020 ระบุว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมสามารถใช้อธิบายความแตกต่างในความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิด-19 ที่ผู้ติดเชื้อแต่ละคนแสดงออกมาไม่เหมือนกันได้ถึงราว 50%
o การศึกษาในสหราชอาณาจักรทำในฝาแฝดแท้ซึ่งเป็นเพศเดียวกัน 2,633 คู่ เทียบกับคนที่เป็นฝาแฝดเสมือนประกอบด้วย หญิง 2,288 คนและชาย 345 คน โดยใช้แอป Covid Symptom Tracker ติดตามดูว่า ในแต่ละวันมีอาการของ C-19 Covid คือ ไข้ ไอแห้ง หายใจถี่ หายใจลำบาก เมื่อยล้า
o ทีมผู้วิจัยพบว่า แฝดแท้ซึ่งมีพันธุกรรมเหมือนกัน 100 % มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการป่วยหรือไม่เกิดอาการป่วยจากโรคโควิด-19 เหมือนกัน โดยความเหมือนนี้อยู่ในอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มแฝดเสมือนซึ่งมีพันธุกรรมเหมือนกันเพียง 50% เท่านั้น แสดงว่ามีความเป็นไปได้สูงที่พันธุกรรมจะเป็นปัจจัยกำหนดความแตกต่างในเรื่องนี้
o ตัวอย่างพี่น้องฝาแฝดแท้ชาวอังกฤษ ชื่อ เคทีและเอ็มมา เดวิส เสียชีวิตเพราะโรคโควิด-19 ในเวลาห่างกันไม่กี่ชั่วโมง
o อย่างไรก็ดีมีการแสดงออกของอาการโรคโควิด-19 บางอย่างเท่านั้นที่ถูกกำหนดโดยอิทธิพลของพันธุกรรม เช่นอาการไข้ ท้องเสีย เพ้อและสับสน หรือสูญเสียความสามารถในการรับกลิ่น-รส ในขณะที่อาการอย่างเช่น ไอ เสียงแห้ง เจ็บหน้าอก ปวดท้อง หรือเบื่ออาหาร ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมแต่อย่างใดมีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกบ้าง ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ใน คิดก่อนเชื่อ
Thu, 31 Dec 2020 - 15min - 245 - คิดก่อนเชื่อ : รอดตายจาก COVID-19 แล้วผิวเปลี่ยนสี จะกลับเหมือนเดิมหรือไม่
• CCTV รายงานเมื่อ วันที่ 21 เมษายน 2020 ว่า แพทย์อู่ฮั่นสองคนได้ป่วยหนักจากการติดเชื้อ COVID-19 และต้องต่อสู้กับไวรัสนานพอควรจนรอดพ้นความตาย แต่ก็ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงที่ผิวเปลี่ยนสีเป็นดำคล้ำประกอบกับสภาพการทำงานของตับที่ยังไม่ฟื้นคืนอย่างสมบูรณ์
• ผลข้างเคียงจากการรักษาในช่วงแรกของการติดเชื้อทำผิวของทั้งสอง เปลี่ยนเป็นคล้ำดำ ซึ่งคาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนระดับที่ไม่สมดุลของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นเนื่องจากตับซึ่งได้รับความเสียหายจากไวรัสและยังไม่ฟื้นคืนปกติ• แพทย์ผู้รักษาสุขภาพทั้งสองคนกล่าวว่าผิวหนังของแพทย์สองคนเปลี่ยนไป เนื่องจากการในช่วงแรกของการรักษาได้รับยาขนานหนึ่ง ซึ่งผลข้างเคียงของยานั้นคือทำให้สีผิวคล้ำ
ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ใน คิดก่อนเชื่อ
Wed, 30 Dec 2020 - 11min - 244 - คิดก่อนเชื่อ : ตรวจหาการติดเชื้อ COVID-19 เองที่บ้าน ได้ไหม
การตรวจวัดการติดเชื้อ COVID-19 นั้นทำได้ 2 วิธีคือ
o การตรวจการปรากฏของเชื้อไวรัสหลังติดเชื้อราว 2-3 วันโดยการตรวจสอบหาหน่วยพันธุกรรมด้วยวิธี RT-PCR ในเสมหะที่กวาดจากคอหรือในโพรงจมูก ซึ่งเป็นวิธีที่ WHO รับรอง ปัจจุบันมีการพัฒนาให้การตรวจสอบได้ผลเร็วขึ้นจากเดิม 2-3 วัน เป็น 5 นาทีของ Abbott, 30 นาทีของ Mess Biotech และ 45 นาทีของ Cephied
o การตรวจสอบหาแอนติบอดีทั้ง IgM และ IgG จากหยดเลือด หลังร่างกายได้รับเชื้อเข้าไปประมาณ 5 - 7 วัน ตามหลักการของ Elisa (Enzyme-linked Immunosorbent Assay)
o ปัจจุบันได้เพิ่มเติมการตรวจสอบในน้ำลายของผู้ต้องสงสัยด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเริ่มโดย Rutgers University ร่วมกับ Accurate Diagnostic Labs และ US.FDAได้ รับรองเป็นรายแรก และคงมีตามมาเรื่อย ๆ
o อย่างไรก็ตาม ทุกการตรวจสอบต้องทำให้ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมีข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 เพื่อให้ตรวจได้รวดเร็วของหน่วยงานต่างๆ ออกมามากมาย และมีโฆษณาขายชุดตรวจ คำถามคือมันได้ผลจริงแม่นยำหรือไม่ และถ้าเราไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์หรือนักเทคนิคการแพทย์ จะอ่านค่าแปลผลได้อย่างไร
ฟังข้อมูลงานวิจัยจาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ที่จะไปค้นงานวิจัยมาอธิบาย ในคิดก่อนเชื่อ
Tue, 29 Dec 2020 - 13min - 243 - คิดก่อนเชื่อ : COVID-19 เปลี่ยนพฤติกรรมชาวตะวันตกได้จริงหรือ
• ผู้ที่นิยมชมภาพยนต์จากสหรัฐอเมริกามักสังเกตได้ว่า คนอเมริกัน (ซึ่งรวมถึงชาติตะวันตกอื่น ๆ อีกหลายประเทศ) ไม่ถอดรองเท้าเมื่อเข้าบ้าน ดังนั้นถ้าไปเหยียบน้ำลายของคนที่ติดเชื้อ COVID-19 แล้วใส่รองเท้าเข้าบ้าน อะไรจะเกิดขึ้น
• คนเอเชียที่ใส่รองเท้าเดินในบ้านคือ เกาหลีและญี่ปุ่น แต่เป็นรองเท้าที่เปลี่ยนเพื่อใช้ในบ้านเท่านั้น
• ดังนั้นรองเท้าซึ่งไม่ว่าจะทำจากหนังแท้ หนังเทียมหรือ วัสดุอื่น ๆ ก็สามารถเป็นแหล่งสะสมของ COVID-19 ได้
• มีบทความชื่อ Disinfecting shoes: A how-to for COVID-19 prevention ในเว็บ www.medicalnewstoday.com ได้ให้ข้อมูลสำหรับชาวอเมริกันที่ต้องออกจากบ้านถึงการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่รองเท้าซึ่งใส่ออกนอกบ้าน และแนะนำว่าให้มีรองเท้าสำหรับใส่เฉพาะในบ้านเพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าบ้านมีข้อมูลงานวิจัยอะไรอีกบ้างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมชาวตะวันตกที่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 คลิกฟังในคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะอ่านและอธิบายงานวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ที่ตีพิมพ์แล้ว
Mon, 28 Dec 2020 - 18min - 242 - คิดก่อนเชื่อ : COVID-19 และการวัดอุณหภูมิที่หน้าผากให้ผลแม่นยำหรือไม่
• การใส่สายสวนหัวใจด้านขวา (Pulmonary artery catheter) เป็นการวัดอุณหภูมิร่างกายที่ถูกต้องที่สุด รองลงมาคือ วัดทางทวารหนักและปาก
• แล้วเครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผาก ซึ่งนิยมใช้กันมากในขณะนี้ ได้ผลดีหรือไม่ในการคัดกรองผู้ติดเชื้อ
• เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก (Temporal Artery Thermometer) ถูกพัฒนาขึ้นให้มีเซ็นเซอร์วัดรังสีอินฟราเรดที่ผิวหนังซึ่งแผ่ออกมาจากเส้นเลือดที่หน้าผาก เพื่อลดโอกาสติดเชื้อในการวัดอุณหภูมิเพื่อคัดกรองผู้ป่วยจำนวนมาก มีหน้าจอแสดงผลเป็นตัวเลข
• ข้อดีคือ เร็ว สามารถคัดกรองคนจำนวนมาก ส่วนข้อควรระวังคือ บุคคลากรต้องรู้วิธีใช้เช่น ระยะห่างจากหน้าผากที่ถูกต้อง การปรับเครื่องให้เข้ากับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อมก่อนใช้ตามคู่มือการใช้งานอย่างเคร่งครัด และการตรวจสอบความแม่นยำเป็นระยะ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญในเครื่องมือนั้น (ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร และเครื่องมือแต่ละชิ้นนั้นใครรับรองคุณภาพความเสี่ยงตรง)
• มีผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศเตือนว่า การใช้เครื่องวัดไข้แบบยิงที่หน้าผากอาจเชื่อถือไม่ได้ เพราะอุปกรณ์ด้อยประสิทธิภาพหรือการวัดไม่ถูกวิธี เสี่ยงทำให้ผู้ป่วยที่ติดไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หลุดรอดการตรวจได้
ฟังรายละเอียดการวิจัยเป็นอย่างไร คลิกฟังในคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะอ่านและอธิบายงานวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ที่ตีพิมพ์แล้วSat, 26 Dec 2020 - 16min - 241 - คิดก่อนเชื่อ : การใช้ยาบางชนิดเสริมผลร้ายของ COVID-19 ได้อย่างไร
• ข่าวจากหลายเว็บกล่าวว่า ถ้าเป็นไข้ (จากการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ก็ตาม) อย่ากินยาลดไข้ที่มีตัวยาคือ Ibuprofen เพราะถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับโควิด-19 จะแรงขึ้น
• กรณีของ Ibuprofen นั้น เนื้อข่าวกล่าวประมาณว่า ในวันที่ 18 มีนาคม องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำผู้ที่ป่วยจากโควิด-19 หลีกเลี่ยงการรับประทานยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อลดไข้และลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข่าวกล่าวว่า เป็นการทำตามคำแนะนำของรัฐมนตรีสาธารณสุขของฝรั่งเศส
o โฆษกขององค์การอนามัยโลก คริสเตียน ลินด์มีเออร์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวในเจนีวาว่า ผู้เชี่ยวชาญของหน่วยงานด้านสุขภาพขององค์การสหประชาชาติกำลังตรวจสอบและจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมออกมาในภายหลัง แต่ก็แนะนำว่าระหว่างนี้หากมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ควรใช้พาราเซตามอลเป็นยาขนานแรก
o ต่อมา WHO ลบข่าวดังกล่าวออก แล้วมีข่าวว่า ยังใช้ Ibuprofen ได้ถ้าจำเป็น เพราะข้อมูลต้นตอดูเชื่อยากฟังรายละเอียดการวิจัยเป็นอย่างไร คลิกฟังในคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะอ่านและอธิบายงานวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ที่ตีพิมพ์แล้ว
Tue, 24 Nov 2020 - 10min - 240 - คิดก่อนเชื่อ : อะไรที่ควรเชื่อหรือไม่เชื่อเกี่ยวกับ COVID-19 บ้าง (ตอนที่ 3)
เมื่อ COVID-19 ระบาด ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากทั่วโลกเพราะยังไม่มียารักษาและยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทางที่จะป้องกันได้ที่แพทย์แนะนำคือ การใส่หน้ากากอนามัย การอยู่ห่างกัน ไม่อยู่ในที่ชุมนุมชน การล้างมือบ่อยๆ การใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาด เป็นต้น จึงมีข้อมูลมากมายที่ถูกแชร์ต่อกันมาเกี่ยวกับเรื่อง COVID-19 ซึ่งถูกบ้างผิดบ้าง มาฟังว่าเรื่องไหนจริง ไม่จริง เชื่อได้ ไม่ควรเชื่อ มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับหรือไม่ เช่นเรื่อง ติดเชื้อ coronavirus ง่ายมากจากการกินอาหารจีน, coronavirus แพร่กระจายทางปัสสาวะและอุจจาระได้, ไวรัสจะตายเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อพ้นฤดูหนาว, Coronavirus เป็นไวรัสที่อันตรายที่สุดที่มนุษย์รู้จัก, วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดบวมป้องกัน COVID-19 ได้, Covid-19 มีต้นกำเนิดในห้องปฏิบัติการในประเทศจีน ฯ
Mon, 23 Nov 2020 - 15min - 239 - คิดก่อนเชื่อ : อะไรที่ควรเชื่อหรือไม่เชื่อเกี่ยวกับ COVID-19 บ้าง (ตอนที่ 2)
เมื่อ COVID-19 ระบาด ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากทั่วโลกเพราะยังไม่มียารักษาและยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทางที่จะป้องกันได้ที่แพทย์แนะนำคือ การใส่หน้ากากอนามัย การอยู่ห่างกัน ไม่อยู่ในที่ชุมนุมชน การล้างมือบ่อยๆ การใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาด เป็นต้น จึงมีข้อมูลมากมายที่ถูกแชร์ต่อกันมาเกี่ยวกับเรื่อง COVID-19 ซึ่งถูกบ้างผิดบ้าง มาฟังว่าเรื่องไหนจริง ไม่จริง เชื่อได้ ไม่ควรเชื่อ มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับหรือไม่ เช่นเรื่อง ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือป้องกัน coronavirus, บ้วนปากด้วยน้ำยาฟอกขาวป้องกันเชื้อ covid-19 ได้. ยาปฏิชีวนะฆ่า coronavirus ได้, เครื่องสแกนอุณหภูมิร่างกายสามารถวินิจฉัย coronavirus ได้, กระเทียมช่วยป้องกัน coronaviruses, พัสดุจากจีนเป็นแหล่งแพร่กระจาย coronavirus, ยาสามัญประจำบ้านหรือสมุนไพรป้องกัน COVID-19 ได้
Thu, 19 Nov 2020 - 14min - 238 - คิดก่อนเชื่อ : อะไรที่ควรเชื่อหรือไม่เชื่อเกี่ยวกับ COVID-19 บ้าง (ตอนที่ 1)
เมื่อ COVID-19 ระบาด ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากทั่วโลกเพราะยังไม่มียารักษาและยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทางที่จะป้องกันได้ที่แพทย์แนะนำคือ การใส่หน้ากากอนามัย การอยู่ห่างกัน ไม่อยู่ในที่ชุมนุมชน การล้างมือบ่อยๆ การใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาด เป็นต้น จึงมีข้อมูลมากมายที่ถูกแชร์ต่อกันมาเกี่ยวกับเรื่อง COVID-19 ซึ่งถูกบ้างผิดบ้าง มาฟังว่าเรื่องไหนจริง ไม่จริง เชื่อได้ ไม่ควรเชื่อ มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับหรือไม่ เช่นเรื่อง การฉีดคลอรีนหรือแอลกอฮอล์ลงบนผิวหนังจะฆ่าไวรัสในร่างกาย, ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงมากกว่าคนหนุ่มสาว, เด็กไม่ติดเชื้อ COVID-19, COVID-19 ไม่ต่างจากไข้หวัดใหญ่, ทุกคนที่ติดเชื้อ COVID-19 ต้องตาย, แมวและสุนัขเป็นแหล่งแพร่กระจาย coronavirus, หน้ากากอนามัยหรือผ้าหนาๆ ป้องกัน coronavirus ได้ดี, เป่ามือในห้องน้ำฆ่า coronavirus ได้, SARS-CoV-2 หรือ COVID-19 เป็นเพียงรูปแบบของการกลายพันธุ์ของโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ฯ
Tue, 17 Nov 2020 - 14min - 237 - คิดก่อนเชื่อ : บริการฆ่าเชื้อ COVID-19 เชื่อได้แค่ไหน
• Neeltje van Doremalen นักไวรัสวิทยาแห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) และคณะที่ Rocky Mountain Laboratories ในเมืองแฮมิลตัน รัฐมอนทานาได้ทำการทดสอบพบว่า SARS-CoV-2 สามารถอยู่ได้นานแค่ไหนบน พื้นผิวต่างชนิดกัน แล้วส่งข้อมูลเป็นจดหมายในหัวข้อ Aerosol and Surface Stability of SARS-CoV-2 as Compared with SARS-CoV-1 ไปถึงบรรณาธิการวารสาร New England Journal of Medicine 2020 แสดงให้เห็นว่า ไวรัสสามารถอยู่รอดได้ในฝอยน้ำลายที่ถูกไอออกมานานถึงสามชั่วโมง ฝอยน้ำลายมีขนาด 1-5 ไมครอน ซึ่งสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมงในอากาศนิ่ง
• ดังนั้นไวรัสจึงอาจมีแทบทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่ในบ้านของเราเอง หลายคน (ที่มีสตางค์) เริ่มกังวลว่า ในบ้านหรือสถานที่ทำงานของเรามีเชื้อโรคร้ายอย่าง COVID-19 อาศัยร่วมชายคาจึงหวังให้บริษัททำความสะอาดที่มีบริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ช่วยกำจัดได้ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และโคโรนาไวรัส สร้างความอุ่นใจแก่ผู้ใช้บริการได้แค่ไหน ได้ยินข่าวแว่วว่า ตกครั้งละเป็นหมื่นบาท
• บริษัทที่รับทำความสะอาดเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อ เท่าที่เข้าไปดูในเว็บหรือ facebook มักไม่บอกว่าใช้สารเคมีอะไร
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำยาฆ่าเชื้อที่ฉีดพ่นคือสารอะไร ฆ่าเชื้อได้จริงหรือไม่ ฟังรายละเอียดการวิจัยเป็นอย่างไร คลิกฟังในคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะอ่านและอธิบายงานวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ที่ตีพิมพ์แล้วMon, 16 Nov 2020 - 18min - 236 - คิดก่อนเชื่อ : เลือดกลุ่ม เอ เสี่ยงติด COVID-19 มากกว่ากลุ่มอื่น จริงหรือ
• ในวันที่ 17 มีนาคม 2020 มีข้อมูลจากบทความเรื่อง Relationship between the ABO Blood Group and the COVID-19 Susceptibility ในเว็บ medRxiv.org (อ่าน "med-archive" archive หมายถึง จดหมายเหตุ) ซึ่งเป็นการเผยแพร่ต้นฉบับที่สมบูรณ์แต่ยังไม่ได้เผยแพร่ในวารสารด้าน การแพทย์ การวิจัยทางคลินิก และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีการประเมิน (peer review)
• medRxiv นี้ถูกริเริ่มโดยห้องปฏิบัติการ Cold Spring Harbour Laboratory (CSHL) ในรัฐนิวยอร์ค, วารสาร BMJ และมหาวิทยาลัยเยล ในรัฐคอนเน็คติคัท ว่า คนที่มีเลือดกลุ่มเออาจจะมีความไวต่อการติดเชื้อโควิด-19 กว่าคนกลุ่มเลือดอื่น โดยผลนี้ควรมีการศึกษาต่อไป
• นักวิจัยชาวจีนได้ตรวจสอบเลือดของคนไข้ 2,100 คนที่ติดเชื้อโควิด-19 ในหวู่ฮั่นและเซินเจิ้น ซึ่งเป็นศูนย์กลางการติดเชื้อแล้วพบว่า คนที่มีเลือดกลุ่มเอติดเชื้อง่ายกว่าและอาการหนักกว่าคนที่มีเลือดกลุ่มโอ โดยไม่เลือกเพศและวัย อย่างไรก็ดีงานนี้ต้องการการทำวิจัยต่อเพื่อดูว่า มีผลต่อการบำบัดโรคดังกล่าวหรือไม่
ฟังรายละเอียดการวิจัยเป็นอย่างไร คลิกฟังในคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะอ่านและอธิบายงานวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ที่ตีพิมพ์แล้วTue, 10 Nov 2020 - 14min - 235 - คิดก่อนเชื่อ : COVID-19 ตกค้างในสิ่งแวดล้อมนานไหมและทำความสะอาดอย่างไร
• มีคำถามว่า Covid-19 อยู่บนพื้นผิวใด ๆ เช่น โลหะ แก้ว หรือ พลาสติก นานเท่าไร คำตอบคือ ยังไม่มีใครรู้ แต่ถ้าดูจากไวรัสอื่นในตระกูล Corona เช่น SARS และ MERS แล้ว คาดว่าคงไม่เกิน 9 วัน เมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่ที่อยู่ราว 2 วัน
• มีบทความวิจัยใหม่ (ตีพิมพ์ 31 January 2020) คือ Persistence of coronaviruses on inanimate surfaces and its inactivation with biocidal agents ในวารสาร Journal of Hospital Infection ที่นักวิจัยได้วิเคราะห์บทความเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคในคนก็พบว่า ไวรัสนั้นอยู่บนพื้นผิวได้ราว 1 อาทิตย์ โดยที่บางส่วนของไวรัสหมดความสามารถในการรุกรานมนุษย์แล้ว ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส
• ที่น่าสนใจคือ น้ำยาทำความสะอาดในบ้านต่าง ๆ เช่น เอ็ททิลแอลกอฮอล์ 62-71% ไฮโดรเจนเปอร็อกไซด์ 0.5% น้ำยาฟอกผ้าขาวหรือโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1 % สามารถฆ่าไวรัสชนิดเก่าได้ภายใน 1 นาที ซึ่งนักวิจัยก็หวังว่า สารเหล่านี้จะฆ่า Covid-19 ได้เช่นกัน
• สำหรับองค์การอนามัยโลกก็ได้แนะนำว่า สารที่ใช้ทำความสะอาดซึ่งมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ก็ควรช่วยป้องกันไวรัสนี้ได้ เมื่อไม่แน่ใจว่าได้ไปสัมผัสพื้นผิวใด ๆ ที่อาจปนเปื้อนได้ ซึ่งเป็นการป้องกันที่เสริมไปจากการไม่ใช้มือสัมผัส ตา ปากและจมูก เมื่อออกนอกบ้าน
Mon, 09 Nov 2020 - 12min - 234 - คิดก่อนเชื่อ : แผ่นฆ่าเชื้อโรคบนประตูใช้ได้จริงหรือ
หลักการฆ่าเชื้อโรคของฟิล์มทองแดงคอปเปอร์พลัส โดยฟิล์มจะปล่อยประจุอิออนออกมาทำลายลิพิดเมมเบรน (Lipid membrane) และช่วยหยุดการขยายพันธุ์ของเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคตายไปในที่สุด การออกฤทธิ์ของ copper ion คือ กระตุ้นให้เกิด reactive oxygen species ทำลายระบบต่าง ๆ ภายในเซลล์ของเชื้อโรค ซึ่งรวมถึง viral particle
Mon, 02 Nov 2020 - 16min - 233 - คิดก่อนเชื่อ : ใยอาหารอาจช่วยให้สมองคนแก่เสื่อมช้าลงจริงหรือSat, 31 Oct 2020 - 11min
Podcasts similaires à คิดก่อนเชื่อ
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) Thammapedia.com
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ