Filtrar por gênero

คิดก่อนเชื่อ

คิดก่อนเชื่อ

Thai PBS Podcast

คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย จะนำงานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางพิษวิทยา มาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ  เช่นข้อมูลของอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ฯลฯ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่หลงเชื่อคำโฆษณา

332 - คิดก่อนเชื่อ : สารพิษกลุ่มไซยาไนด์
0:00 / 0:00
1x
  • 332 - คิดก่อนเชื่อ : สารพิษกลุ่มไซยาไนด์

    จากข่าวการฆาตกรรมต่อเนื่องโดยใช้สารพิษไซยาไนด์เป็นที่สนใจของประชาชน  
    ไซยาไนด์คืออะไร? มีพิษขนาดไหน? จะแก้พิษได้หรือไม่?
    ต่อไปนี้คงต้องระมัดระวังการรับหรือกินอาหารจากคนอื่นด้วยไหม?

    ฟัง #คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ  นักพิษวิทยาและนักวิจัย
     

    Mon, 01 May 2023 - 19min
  • 331 - คิดก่อนเชื่อ : งานวิจัยผลของกัญชาต่อสมอง

    สารในกัญชามีผลต่อสมองอย่างไร 
    ที่ว่าเสพกัญชาแล้วจะมีอาการทางสมองคือ psychosis ที่แสดงออกได้ทั้งซึมเศร้าและคุ้มคลั่ง จริงหรือไม่ 
    มาดูข้อมูลทางการแพทย์และการวิจัยกัน
     

    Fri, 21 Apr 2023 - 12min
  • 330 - คิดก่อนเชื่อ : มะขามหวานขึ้นรา กินได้ไม่อันตรายจริงหรือ?

    มะขามขึ้นรามีสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่ม 1000 เท่า จริงหรือ?
    มะขามขึ้นราไม่อันตรายเพราะเป็นกลุ่มเชื้อราที่ไม่สร้างสารพิษ จริงหรือ?
    ฟังข้อเท็จจริงด้านพิษวิทยาเกี่ยวกับรา และงานวิจัยเกี่ยวกับมะขามหวานขึ้นรา 
    ใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย

    Sat, 11 Feb 2023 - 21min
  • 329 - คิดก่อนเชื่อ : งานวิจัยสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ที่เกิดจากการคั่วกาแฟ

         จากกรณี Consumer Council Hong Kong (สภาผู้บริโภคฮ่องกง) ได้รายงานผลทดสอบสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ในกาแฟ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคถึงความเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์กาแฟที่วางจำหน่ายในฮ่องกงได้ระมัดระวังในการเลือกซื้อกาแฟ เพราะอะคริลาไมด์ถูกจัดให้เป็นสารพิษก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง   

    สารอะคริลาไมด์เกิดได้อย่างไร และจากอาหารอะไรบ้าง 
         สารอะคริลาไมด์เกิดระหว่างการปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบ เช่น มันฝรั่ง (หรือวัตถุดิบอื่นที่มีกรดอะมิโนแอสปาราจีนสูง) ด้วยความร้อนอุณหภูมิสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส โดยผลิตภัณฑ์อาหารมักพบอะคริลาไมด์ปนเปื้อน ได้แก่ มันฝรั่งทอด แครกเกอร์ บิสกิต มะกอกดำ ลูกพลัมแห้ง ลูกแพร์แห้ง กาแฟคั่ว  
        สำหรับประเทศไทยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำฐานข้อมูลอาหารไทยที่มีการตรวจพบสารอะคริลาไมด์โดยพบว่า พริกป่น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ขนมถุงที่ทำจากแป้งมันฝรั่ง ขนมถุงที่ทำจากมันฝรั่งทอดหรือเฟรนซ์ฟรายด์ กาแฟสำเร็จรูปและเผือกฉาบ แต่เป็นการพบสารพิษในในระดับก่อความเสี่ยงในระดับต่ำกว่าระดับที่จะเกิดพิษต่อร่างกาย 
        ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนของสารอะคริลาไมด์ในกาแฟ จึงจำเป็นต้องอาศัยเกณฑ์ของสหภาพยุโรปที่กำหนดปริมาณอะคริลาไมด์ไว้ไม่เกิน 400 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับกาแฟคั่ว และไม่เกิน 850 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับกาแฟผงสำเร็จรูป

        แต่เพื่อความปลอดภัยในการดื่มกาแฟ เรามีข้อมูลซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการคั่วกาแฟและการเกิดสารอะคริลาไมด์ มาให้ฟัง เพื่อจะได้รู้ทันและคำแนะนำการเลือกซื้อกาแฟ ฟังกันในช่วง คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย  
     

    Mon, 08 Aug 2022 - 13min
  • 328 - คิดก่อนเชื่อ : ใส่กัญชาในอาหาร ทำให้อร่อยมากขึ้นจริงหรือ

    จริงหรือ? ในใบกัญชามีกรดกลูตามิกทำให้อาหารอร่อยขึ้นและ สาร THC ทำให้อาหารหอมขึ้น
    และตำรับยาหมอพื้นบ้านก็มีบันทึกไว้ว่าการใช้ใบกัญชาปรุงอาหารให้คนไข้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้เจริญอาหารและกินข้าวได้มากขึ้นจริงหรือ?  มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง?  

    งานวิจัยใบกัญชากับกรดกลูตามิก
    •   มีบทความวิชาการเรื่อง Phytochemical, proximate composition, amino acid profile and characterization of Marijuana (Cannabis sativa L.) (ไฟโตเคมิคอล การวิเคราะห์องค์ประกอบ รูปแบบของกรดอะมิโน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในกัญชา) ในวารสาร The Journal of Phytopharmacology ปี 2014 ซึ่งเป็นงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวไนจีเรียที่ระบุว่า ในใบกัญชามีกรดกลูตามิกในระดับที่สูงกว่ากรดชนิดอื่นไม่ถึง 10 เท่า คือที่ 10 กรัมต่อ 100 กรัมโปรตีน (กัญชามีโปรตีนประมาณ 24%) ในขณะที่กรดอะมิโนอื่นอยู่ในระดับที่ 1-8 (กรดแอสปาติก) กรัม ต่อ 100 กรัมโปรตีน ดังนั้นจึงไม่น่าระบุว่า ความรู้สึกอร่อยของอาหารใส่กัญชามาจากกรดกลูตามิก

    งานวิจัยใบกัญชา สาร THC ทำให้อาหารอร่อยขึ้นจริงหรือ 
    •   สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol เป็นตัวกระตุ้นให้ตัวรับที่อยู่ในสมองทำงาน ทำให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น เมื่อกินมากขึ้นอาจเข้าใจผิดว่าอาหารอร่อยขึ้น แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่ กัญชาไม่ได้ทำให้อาหารอร่อยขึ้น 

    กินเมนูกัญชาจะเมาแบบสูบไหม
    •   ปัจจัยที่สาร THC จะเพิ่มขึ้นก็คือ ระยะเวลาที่ปรุง ยิ่งปรุงนานยิ่งมีสารมากขึ้น รวมทั้งการปรุงด้วยความร้อนอุณหภูมิสูงหรือต่ำและไขมัน เช่นการนำกัญชาไปผัดน้ำมันหรือทอด จะทำให้สาร THC ซึ่งละลายในไขมันได้ดี จึงถูกสกัดออกมามากขึ้น ดังนั้นถ้าจะรับประทานเมนูกัญชาที่ผ่านความร้อนต้องจำกัดปริมาณ คือไม่ควรกินใบกัญชาทั้งใบ เกิน 5-8 ใบต่อวัน 
    •   กรณีกินอาหารใส่ใบกัญชาสดผ่านความร้อนต่ำเช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ จะไม่น่ากังวลเท่าไร เนื่องจากไม่ค่อยมีสารเมาออกมา (ยกเว้นมีการใส่ดอกกัญชาในถุงผ้าแล้วต้มไปกับน้ำก๋วยเตี๋ยว) แต่หากนำใบกัญชาสดไปปรุงอาหารด้วยการทอด ที่ผ่านความร้อนเกิน 120 องศาเซียลเซียส เป็นเวลานาน ต้องระวังสาร THCA จะถูกเปลี่ยนเป็น THC ส่งผลให้ได้รับสารเมาในปริมาณมากขึ้นได้ เพราการผัดน้ำมันหรือทอด จะทำให้สาร THC ซึ่งละลายในไขมันได้ดี จึงถูกสกัดออกมามากขึ้น
    ฟังรายละเอียดใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ  นักพิษวิทยาและนักวิจัย 
     

    Fri, 17 Jun 2022 - 17min
Mostrar mais episódios

Podcasts semelhantes a คิดก่อนเชื่อ