Filtra per genere
2 จิตตวิเวก
รูปแบบการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ (Guided Meditation) ฟังไปด้วย, นั่งสมาธิไปด้วย เพื่อทำจิตที่ประภัสสรให้ผ่องใส ด้วยการเจริญสมถวิปัสสนา นำธรรมะเข้าสู่จิตใจให้ชุ่มเย็นอ่อนเหมาะควรแก่การงาน. New Episode ทุกวันอังคาร เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- 388 - หยุดจิตไว้กับสติ [6744-2m]
“บางคนนั่งเฉย ๆ ไม่ได้ไปหาใครพูดกับใคร แต่เบียดเบียนคนอื่นได้ เบียดเบียนตัวเองได้ ตรงความคิดไง ตัวไม่ขยับแต่จิตมันขยับ”
หยุดจิตให้ได้ อย่าให้จิตไหลไปตามผัสสะ ควบคุมจิตไม่ให้คิดเรื่องต่างๆ ด้วยสติ ด้วยลมหายใจ
จิตสงบ ระงับ เกิดสัมมาสมาธิ, แล้วใช้ปัญญาพิจารณา จิต เดี๋ยวผ่องใส เดี๋ยวขุ่นมัว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามเหตุการปรุงแต่ง
จะเห็น จิตก็ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา, วาง ละ จิตที่ไม่เที่ยงนั้น.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 28 Oct 2024 - 57min - 387 - ใช้กายชำระจิต [6743-2m]
เจริญสติโดยการพิจารณากาย ใช้กายเพื่อชำระจิต ให้เห็นกาย ตามความเป็นจริง
ให้เห็นกายนี้ว่า เป็นทั้งสิ่งปฏิกูล และเป็นสิ่งไม่ปฏิกูล และให้อยู่อุเบกขาในสิ่งนั้น
ทำอย่างต่อเนื่อง, จิตจะแยกออกจากกาย จิตไม่ไปยึดถือ ยึดมั่นในกายว่าเป็นตัวตนของเรา,
กิเลสในจิต จะค่อยๆ หลุดออกไปๆ ด้วยความเพียร ในการพิจารณากายซ้ำๆ ปัญญาจะเกิดขึ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 21 Oct 2024 - 56min - 386 - ผู้เชี่ยวชาญในความคิด [6742-2m]
ระงับความคิด ด้วยการตั้งสติ ด้วยการระลึกสังเกตอยู่กับลมหายใจ สังเกตดูเฉยๆ ฝึกบ่อยๆจนเกิด สัมมาสติ จิตตั้งมั่นได้ ไม่ตามไปกับสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามา
ไม่ตามความคิด อารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ,
จิตแยกออกจากความคิด ความรู้สึกได้มากขึ้น มากขึ้น, เกิดความสงบ ระงับ, จิตเริ่มเป็นสมาธิ เรียกว่าสัมมาสมาธิ,
ใช้สัมมาสมาธิเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เชี่ยวชาญในความคิด แก้ปัญหาสิ่งต่างๆได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 14 Oct 2024 - 1h 00min - 385 - พุทธ ธรรม สงฆ์ คือธงชัย [6741-2m]
ตั้งสติให้มั่น ด้วยพุทโธ ธัมโม สังโฆ ประดิษฐานอยู่ในใจเราตลอดเวลา จิตตั้งมั่นขึ้นได้ ไม่ไหลไปตามผัสสะที่เข้ามา เราจะมีความสุขเย็น ที่เกิดจากความสงบ ระงับ จากภายใน เกิดสติสัมสัมปชัญญะ จิตมีกุศลธรรมเกิดขึ้น มีเมตตา กรุณา
อกุศลธรรมลด เบาบางลง มีความเพียร กล้าในการเผชิญหน้า แผ่เมตตาใหญ่ออกไป ความกังวลใจหายไป จากการมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เป็นธงชัย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 07 Oct 2024 - 57min - 384 - สังโฆคือการปฏิบัติ [6740-2m]
สังโฆคือผู้ปฏิบัติจนรู้แจ้ง ให้เราระลึกถึงคุณของสังโฆ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลก เห็นทุกข์ คือเห็นธรรม เข้าใจอริยสัจสี่ เหมือนปัจจันตนครที่มีเครื่องป้องกัน
โดยมีนายทวารที่ฉลาด คือ มีสติ เพื่อแยกแยะไม่ให้อกุศลจิตแทรกผ่านประตูเข้ามา อนุญาตให้เฉพาะคู่ราชฑูต คือ สมถและวิปัสสนา ถือสาสาส์นเรื่องการเห็นตามความเป็นจริงคือนิพพาน สู่เจ้าเมืองหรือวิญญาณ โดยผ่านทางมรรคแปด
เมื่อผัสสะมากระทบผ่านประตูทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สติที่มีกำลัง มีความละเอียด จะสังเกตเวทนาในช่องทางใจของเรา แยกแยะสิ่งดีหรือไม่ดี และเกิดสมถวิปัสสนาเข้าสู่จิต เห็นความเป็นของไม่เที่ยง ทั้งรูป นาม ขันธ์ทั้งห้าเป็นกองทุกข์ ควรแล้วหรือที่จะยึดถือว่าเป็นตัวตนของเรา
วิญญาณเมื่อได้รับข่าวสารที่เป็นวิชชาเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆพ้นออก คือ วิมุตติ โดยมีนิพพานแล่นไปสู่จิตซึ่งไม่ใช่ตัวตน
จิตดับไป หลุดพ้นแล้ว จิตพ้นจากผัสสะต่างๆ คือ นิพพานนั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 30 Sep 2024 - 1h 00min - 383 - จินตนาการไปในพุทธะ [6739-2m]
รู้ลมแล้วจินตนาการไปในพุทธะ นึกถึงเหตุการณ์หลังการตรัสรู้ ครั้งที่สหัมบดีพรหมเกิดความร้อนใจ มานิมนต์ให้พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรม จินตนาการแล้วก็ไม่ลืมลม เป็นการเจริญทั้งพุทธานุสสติและอานาปานสติไปพร้อมกัน ทำให้เกิดความเห็นความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เดินไปตามทางอันประเสริฐ เส้นทางเดียวกับพระพุทธเจ้า เราเดินตามท่านไป ตริตรึกใคร่ครวญตามไป เกิดสัมมาสังกัปปะ บุคคลที่ทำเช่นนี้ถือว่ามีความเพียร ความสำเร็จผลตามพระพุทธเจ้าย่อมเกิดได้แน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 23 Sep 2024 - 56min - 382 - อกุศลวิตก เจ้าจงหยุด เจ้าจงถอยกลับ [6738-2m]
ก่อนปฏิบัติธรรมถอดหัวโขนทั้งทางกาย วาจา ใจ และเมื่อมีผัสสะมากระทบอายตนะ 6 รับรู้ได้อยู่คือวิญญาณทั้ง 6 ทั้งส่วนกายและใจ มีเครื่องทดสอบว่าจะกำหนดความคิดให้หลีกออกจากวิตกทั้งสาม คือกามวิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกได้หรือไม่ ถ้ามันจะเกิดขึ้นในช่องทางใจของเรา จงหยุด จงถอยกลับ ไม่เอาเข้าไป ต้องรู้จักใคร่ครวญแยกแยะให้เข้าได้เฉพาะกุศลธรรม จะแยกแยะได้ต้องมีสติสัมปชัญญะ คือการระลึกรู้นั่นเอง พระพุทธเจ้าท่านใช้อานาปานสติ พระเจ้ามหาสุทัสสนะท่านใช้พรหมวิหาร 4 ตั้งจิตน้อมไปทางนั้น สิ่งนั้นก็มีพลังมาหุ้ม นั่นคืออาสวะที่ประกอบด้วยส่วนแห่งบุญ ชำระอาสวะเก่า จิตสะอาดขึ้น เจริญสัมมาสติให้มาก ย่อมทำสัมมาสมาธิให้เกิดขึ้นได้ จะอยู่เหนือความคิดได้พิจารณาแยกแยะความคิด ดี/ไม่ดี เห็นคุณเห็นโทษ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 16 Sep 2024 - 1h 01min - 381 - วิตกและสังกัปปะไปในพุทธานุสสติ [6737-2m]
สังกัปปะ กับ วิตก เป็นความคิดเหมือนกัน แต่มีธรรมชาติที่ต่างกัน คือถ้าเราต้องน้อมจิตเรียกว่าความคิดตริตรึกหรือวิตก แต่ถ้าความคิดโผล่ขึ้นมาเรียกความคิดนี้ว่าสังกัปปะหรือความดำริ ทั้ง 2 ประเภท มีทั้งคิดในทางกุศลหรือสัมมา และอกุศลหรือมิจฉา เราต้องฝึกตริตรึกไปในทางที่ละกาม พยาบาท และเบียดเบียน เพื่อให้เกิดความดำริหรือสังกัปปะที่เป็นกุศล นี่เป็นการทำงานร่วมกันของวิตกและสังกัปปะ
ฝึกได้เริ่มจากวิตกสู่สังกัปปะโดยพุทธานุสสติ เราต้องน้อมจิตไปคิด นึกถึงพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นพระโพธิสัตว์เดินข้ามแม่น้ำเนรัญชราถือหญ้าคาปูนั่งใต้ต้นโพธิ์ จิตแน่วแน่ในการที่จะบรรลุสัมมาโพธิญาณให้ได้ ตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ จิตเป็นสมาธิอยู่ตลอด ตริตรึกและดำริไปในญาณทั้งสาม แผ่เมตตาทั่วทุกทิศ ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ละอาสวะ รู้อริยสัจ 4 ขึ้นมาอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ให้เราคิดด้วยการนึกน้อมจิตไปในเรื่องของพระพุทธเจ้านี้ ให้สะสมจนเป็นสังกัปปะคือความดำริ ที่มันเกิดขึ้นได้เองเป็นธรรมชาติของจิตของเราเอาไว้อย่างนี้ให้ดี รักษาให้ได้ตลอดทั้งวัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 09 Sep 2024 - 53min - 380 - ”มรณสติ“ ความตายที่ต้องทำความเข้าใจ [6736-2m]
ความตายจะเป็นจุดสูงสุดของความทุกข์ที่เราต้องเจอ ต้องเข้าหาระลึกถึงความตายอย่างถูกต้อง เตรียมตัวตาย โดยเข้าใจว่าความตายเกิดขึ้นกับตัวเราแน่ และให้ได้ประโยชน์จากความตาย คือเจริญมรณานุสติ จะเกิดอานิสงส์ใหญ่เป็นธรรมที่ลงสู่อมตะ คือความไม่ต้องตายอีก ทำได้โดย
- ปล่อยวางในสิ่งของรักของหวงละความยึดถือตัวตนซึ่งเป็นแค่ธาตุทั้งสี่ละความอยากได้
หลังความตายเอาอะไรไปไม่ได้ นอกจากความดี เร่งทำความดี พิจารณาบาปทั้ง 3 ช่อง ได้แก่ กาย วาจา และใจ โดยระลึกถึงบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง การที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอากุศลธรรมขึ้นเป็นหลักก่อน ตั้งฉันทะไว้ตรงนี้ ไปให้ได้ด้วยความเพียรพยายาม สู้ด้วยสติสัมปชัญญะ สู้ไม่ถอยไม่เลิกไม่แพ้ ปฏิบัติตามมรรคแปด ทุกข์หายไปทันที กุศลธรรมเพิ่มขึ้น ละอาสวะได้ จะบรรลุจะเห็นได้ด้วยตนเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 02 Sep 2024 - 59min - 379 - การคิดพิจารณาปัจจัยสี่ [6735-2m]
คิดเป็นระบบด้วยการพิจารณาโดยอาศัยปัจจัย 4 เป็นพื้นฐาน เริ่มจากเครื่องนุ่งห่มให้พิจารณาว่าจะใส่เพื่ออะไร ดังนี้ ปะฏิสังขา โยนิโส จีวะรัง ปะฏิเสวามิ หมายถึงการพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงนุ่งห่ม. ถัดไปเป็นอาหารพิจารณาเพื่อไม่ให้เกิดเวทนาใหม่หรือระงับเวทนาเก่า พินิจเพ่งจดจ่อ มีสติ ไม่เผลอเพลิน ไม่ยึดติดเกิดความหวง
ปัจจัยที่ 3 คือ เสนาสนะ พิจารณาการเข้าสู่เสนาสนะ หรือออกจากเสนาสนะด้วยสติสัมปชัญญะ ต่อไปเรื่องของปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับคนป่วย จะใช้ยาหรือสิ่งของอะไรต้องพิจารณามีสติมีสมาธิ นั่นเป็นธรรมะโอสถไปในตัว เพื่อที่จะระงับทุกขเวทนา การมีเงื่อนไขเยอะ จะอยู่ยาก แต่หากเงื่อนไขแห่งความสุขน้อย สุขยิ่งมากเพราะจะทุกข์น้อย
เกิดปัญญาด้วยการคิดที่เป็นระบบนั้นคือการโยนิโสมนสิการ หมายถึงการทำในใจ โดยแยกกายเห็นโดยความเป็นธาตุ เป็นปฏิกูล เกิดปัญญา สิ่งที่เป็นอกุศลธรรมลดลง ความยึดถือทั้งหลายลดลง ปล่อยวาง เจริญก้าวหน้าในธรรมะของพระพุทธเจ้ายิ่งๆขึ้นไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 26 Aug 2024 - 57min - 378 - คิดให้เป็นขณิกสมาธิ [6734-2m]
คิดให้เป็นขณิกสมาธิด้วยการระลึกถึงพุทธประวัติ โดยจินตนาการเป็นภาพพระโพธิสัตว์ทำความเพียรไล่ตั้งแต่จากดงคสิริสู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา ความระลึกได้ถึงความสงบที่เคยพบครั้งเป็นเด็กที่เกิดจากการวิเวกกายวิเวกจิตจนเกิดปิติสุข จึงพบทางสายกลาง เพราะคิดจึงรู้ ตัวเราเองคิดนึกตามจนสามารถเกิดปิติสุขมีความสบายใจแบบนั้นได้หรือไม่ สามารถพยากรณ์วาระจิตตนได้หรือไม่ ถ้าได้จึงจะถือว่าขณิกสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิได้เกิดขึ้นแล้ว ควรทำให้ชำนาญ เพื่อเป็นฐานในการค้นพบเส้นทางแห่งการตรัสรู้เช่นพุทธะต่อไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 19 Aug 2024 - 55min - 377 - ธรรมะบทแรกของพระพุทธเจ้า [6733-2m]
ธรรมะบทแรก ‘ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร’ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นปฐมเทศนากับภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ท่านทรงสอนไว้อย่างไร
ใคร่ครวญธรรมในธรรมในคำสอนของ ‘พุทธะ’ ว่าอะไรคือหลักคำสอนที่มีความสำคัญสูงสุด เป็นความจริงอันประเสริฐ อะไรคือสิ่งที่แล่นไปดิ่งไปสุดโต่ง 2 อย่างที่ไม่ควรข้องแวะ อะไรคือขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่เมื่อทำกิจแต่ละข้อ ใน ‘อริยสัจ’ ได้แล้ว จะมีความรู้ยิ่ง อยู่เหนือจากความทุกข์ทั้งมวลได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 12 Aug 2024 - 59min - 376 - พิจารณานามรูปตามระบบที่ถูกต้อง [6732-2m]
พิจารณานามรูปตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดปัญญา มี 7ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 นามคือความรู้สึกที่เรารับรู้ทางวิญญาณได้ รูปคือธาตุ4ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟและลม
ประการที่ 2 นามรูป มีเหตุเกิดจากวิญญาณ ซึ่งมาจากการมีสฬายตนะ
ประการที่ 3 ความดับของนามรูปคือ ต้องดับวิญญาณ
ประการที่ 4 องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับของนามรูป
เปรียบได้ระบบของอริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จึงเป็นระบบคิดที่จะเป็นการใคร่ครวญโดยแยบคาย ให้เกิดปัญญา
ประการที่ 5 ประโยชน์จากนามรูป ทำให้เกิดสุขโสมนัส
ประการที่ 6 โทษของนามรูปคือความไม่เที่ยง ทำให้เราเป็นทุกข์
ประการที่ 7 นิสสรณะเป็นอุบายออกจากนามรูป คือนำออกซึ่งความกำหนัดยินดีพอใจในนามรูป โดยการปฏิบัติตามมรรค 8 พิจารณาด้วยความคิดที่เป็นระบบ ในธรรมะทั้ง7ประการ ปัญญาเกิด ปล่อยวางได้ อยู่กับทุกข์แบบสุข
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 05 Aug 2024 - 59min - 375 - “ตื่นท่ามกลางผู้หลับ หลับท่ามกลางผู้ตื่น"[6731-2m]
บุคคลที่มีการสำรวมระวังนี้ได้ชื่อว่า ไม่ประมาท ตื่นอยู่ เริ่มต้นด้วยการตั้งสติตามทางสติปัฏฐาน4 โดยใช้พุทโธเป็นเครื่องมือให้เกิดสติ เรียกว่าเจริญพุทธานุสติ แต่ยังมีความคิดนึกผ่านทางช่องทางใจ ดังนั้นต้องมีการสำรวมระวังจากสติที่ตั้งขึ้น จิตสงบระงับลง ปรุงแต่งทางกายวาจาใจเบาบางลง ราคาโทสะโมหะระงับลง แม้คำว่าพุทโธก็หายไป เหลือแต่จิตที่อยู่กับธรรมารมณ์ในที่นี้คือสติ จิตอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น สติอยู่ตรงไหนจิตก็อยู่ตรงนั้น สติจึงรักษาจิตด้วยการสำรวมระวัง บุคคลที่มีสติตั้งมั่นแบบนี้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ ไปตามสายเส้นทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ทำให้รู้ถึงความตื่นอยู่เป็นขั้นๆ มีการพัฒนาทางจิตวิญญาณ มีการพัฒนาทางปัญญา เห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงปล่อยวางได้
<< Timestamp >>
[00:01]: ฝึกจิตด้วยสัญญมะและทมะเหมือนการฝึกสัตว์
[13:52]: เป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยพุทโธ
[23:46]: สติรักษาจิต ด้วยการสำรวมระวัง และการข่มใจ
[42:33]: หลับอย่างตื่นรู้ สู่การตื่นอย่างไม่หลับ
[51:06]: ใช้ปัญญาเห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงปล่อยวางได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 29 Jul 2024 - 59min - 374 - ธรรมสองอย่างที่เป็นส่วนแห่งวิชชา [6730-2M]
สมถะวิปัสสนาเป็นธรรมที่คู่กัน เจริญโดยใช้อานาปานสติ สมถะที่เมื่ออบรม ทำให้มากแล้วจิตจะเจริญ ไม่คล้อยเคลื่อนไปตามอารมณ์ ละราคะโทสะโมหะได้ แต่ก็ยังกำเริบได้ จิตต้องมีความเพียรต้องด้วยองค์ประกอบ 7 ประการ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ จึงมีกำลังขึ้น จิตเป็นสมาธิ
วิปัสสนาเกิดเริ่มจากการโยนิโสมนสิการคิดตามระบบของอริยสัจสี่ คือความเห็นที่ถูกต้อง และพิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ มีความสงบทั้งขบวนการนี้เรียกว่าการทำวิปัสสนา ปัญญาจะเกิดที่จิตของเรา ปัญญาคือความรู้ให้เห็นความจริง ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ปัญญาเมื่อเจริญแล้วจะ ละอวิชชาได้ ทำนิพพานให้แจ้ง เห็นความไม่เที่ยง ตัดแม้กระทั่งราก วิชชาเกิด
<< Timestamp >>
[00:01]: จากลมหายใจสู่สมถะวิปัสสนา
[09:43]: สมถะที่เมื่อเจริญแล้ว จิตจะเจริญ
[14:24]: สมถะวิปัสสนา ธรรมที่มาคู่กัน ก่อเกิดมรรค
[21:43]: วิปัสสนาที่เมื่อเจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ
[40:07]: โยนิโสมนสิการคิดมาตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง
[44:27]: ปัญญาที่เมื่อเจริญแล้วจะทำนิพพานให้แจ้งได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 22 Jul 2024 - 59min - 373 - รู้ทุกข์ด้วยปัญญาอันยิ่ง [6729-2m]
กำหนดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจากทุกข์ นั่นคือขันธุ์ 5 ว่ามีสภาวะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเงื่อนไขปัจจัย ไม่เที่ยง ให้ละเสีย ไม่ควรยึดถือ เริ่มจากวิญญาณการรับรู้ ไม่เพลินไปตามอารมณ์ มีสติ สังเกตและวิริยะ ดำเนินตามระบบแห่งความเข้าใจที่ถูกหลัก หมายถึงระบบของความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ทุกข์ที่เราต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแท้คืออภิญญา สมุทัยคือเหตุเกิดทุกข์ต้องละ นิโรธต้องทำให้แจ้ง และมรรคคือทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจต้องทำให้เจริญ ด้วยความมีอภิญญาในจิตใจของเรา ความมีปัญญาอันยิ่ง รู้วาระจิตของตัวเอง ชนะตนเองจากความชั่วที่อยู่ในจิต จิตจะเกิดความสงบระงับ คืออุปสมายะ จิตมีความรู้ยิ่งคืออภิญญายะ จิตมีความรู้ดีมีความรู้พร้อมคือสัมโพธายะ และจิตมีความเย็น ความนุ่มนวลนั่นคือนิพพานายะ
<< Timestamp >>
[00:01]: กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เริ่มที่วิญญาณ
[18:22]: ระบบแห่งความจริงอันประเสริฐ
[27:07]: สังเกตดูเฉยๆ แยกแยะสามสิ่งที่ห่อหุ้มจิตได้ด้วยสติ
[36:05]: สามสิ่งคือ ปรุงแต่งจิตเพื่อ อุปสมายะ อภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ
[44:29]: ความรู้อันยิ่งในทุกข์ : ละความยึดถือในขันธ์ห้า
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 15 Jul 2024 - 55min - 372 - จิตนี้ฝึกได้ [6728-2m]
การฝึกจิตซึ่งป็นนาม เป็นของว่าง ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ โดยเริ่มจากใช้ลมหายใจเป็นฐานที่ตั้งของสติ ฝึกให้สติมีกำลังจะระลึกได้ ไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะมาทำให้เกิดโทษ จิตจะไม่เผลอไม่เพลิน รับรู้และเข้าใจธรรมชาติของทุกข์คือขันธ์5 ยอมรับและเข้าใจ สมุทัยคือตัณหา ให้กำจัดเสีย นิโรธคือความดับไม่เหลือของตัณหา ต้องทำให้แจ้ง
ให้ดับ มรรคคือองค์ประกอบอันประเสริฐ8อย่าง ต้องมีและพัฒนาให้ดีขึ้น เริ่มจากสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่เป็นส่วนของปัญญา เข้าใจทุกข์ให้ดี ทำชีวิตให้เป็นปกติ มีศีล สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ อยู่ในศีลธรรม รักษาศีลให้ดี ไปฝึกจิตให้มีกำลัง มีสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ประกอบเข้าอยู่ในจิตของเรา ผนังความเป็นตัวตนของเราถูกทำลายเพราะตัณหาหมดไป จิตที่ฝึกดีแล้วด้วยมรรค8 ทำอริยสัจ4ให้เข้าไปในใจของเรา จะนำความสุขมาให้ นั่นคือนิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 08 Jul 2024 - 57min - 371 - เห็นธรรมในธรรม [6727-2m]
เห็นธรรมในธรรมโดยเห็นลมผ่านทางกาย ในความเหมือนกันของลมและกาย เห็นส่วนที่ต่างกันจากการปรุงแต่งของการเปลี่ยนแปลงของกายที่ทั้งเหมือนและต่าง เห็นวัฏจักรสู่ความระงับ ฝึกฝนโดยมีสติอยู่กับลม จิตจะสงบระงับเป็นอารมณ์อันเดียว เห็นธรรมชาติที่จิตนั้นปรุงแต่งได้แต่ปลดเปลี้อง และแยกกันคนละส่วน จะเกิดลักษณะของจิตที่จะน้อมเข้าไปเพื่อยึดกิเลสอีกแต่จะเบาบางลงคือการสละคืน ดังนั้นจิต ลม สติให้อยู่ด้วยกัน เห็นกายในกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม คือสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เห็นตามสภาพความเป็นจริง ไม่ยึดถือ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ คือเห็นอริยสัจ 4
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 01 Jul 2024 - 57min - 370 - พุทธะ ธัมมะ สังฆะ สามสิ่งในสิ่งเดียว [6726-2m]
ระลึกถึงคุณของแก้วสามประการ คือพุทโธ ธัมโม สังโฆ จิดเป็นสมาธิเกิดสติ ทำสติให้มีกำลังและพัฒนาเกิดปัญญา
พุทโธแก้วประการที่1 คือผู้รู้ รู้วิธีกำจัดกิเลสออกไปจากใจ ไม่ถูกบีบคั้นด้วย ราคะ โทสะ โมหะ พุทโธมีสามระดับ คือ สัมมาสัมพุทโธ อนุพุทโธ ปัจเจกพุทโธ ธัมโมแก้วประการที่2 คือ ธรรมะที่ทำให้พ้นทุกข์ มีความงดงามในเบื้องต้น คือมีความชอบที่สอดคล้องกัน,ท่ามกลาง คือฟังแล้วทำตามได้ผล และในที่สุด ซึ่งเป็นปัญญา วิชชา กำจัดอวิชชากิเลสตัณหาไม่ต้องกลับมาเกิดอีก สังโฆแก้วประการที่3 ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก้วรัตนะ เป็นสายเส้นแห่งการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปด เกิดความรู้อริยสัจสี่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 24 Jun 2024 - 58min - 369 - เห็นกายในกาย [6725-2m]
มีสติให้รู้ชัด ว่าหายใจเข้าหรือออก ไม่ต้องตามลม ให้ตั้งสติไว้จุดที่สัมผัสลมได้ การเห็นลมคือการเห็นกายอย่างนึง เป็นหนึ่งในที่ตั้งของสติ สติคือความไม่เผลอไม่เพลิน แต่เราต้องเห็นกายในกายให้ถูกต้อง คือเห็นด้วยสัมมาสติ เห็นกายเป็นของปฏิกูล
ขั้นตอนที่หนึ่ง เห็นลมเราไม่ต้องตามลม
ขั้นตอนที่สองไม่เผลอไม่เพลินไปตามสิ่งที่ได้รับรู้และสัมผัส
ต้องคิดเป็นระบบ เรียกว่าการพิจารณา พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เรียกว่า ทำวิปัสสนา พิจารณาไล่เรียงไปทีละส่วนก็ได้ พิจารณาเป็นของปฏิกูล เพื่อละความยึดถือ ให้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ยึดถือก็ไม่ทุกข์ จิตที่ไม่เกิด ความตายก็ไม่เกิด ปัญญาเกิดขึ้น อวิชชาดับ ตัณหาก็ดับ ความยึดถือก็ดับไปด้วย ไม่มีการเกิดอีก ให้รักษาสภาวะ สมถะ วิปัสสนานี้ไว้ให้ดี
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 17 Jun 2024 - 57min - 368 - ศึกษาฝึกฝนจากลมหายใจ [6724-2m]
เจริญอานาปานสติ เกิดความรู้ตัว พร้อมเฉพาะคือ มีสติ สัมปชัญญะรู้ลมหายใจ, ให้เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม, โดยสังเกตุลมหายใจเข้า-ออกในกาย คือ เห็นกายในกาย, สังเกตุเวทนาในกาย เวทนาในจิตคือ เห็นเวทนาในเวทนา, จิตสงบตั้งมั่นจากสมาธิ คือเห็นจิตในจิต, เกิดปัญญา เห็นทุกขลักษณะ เห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงวางความยึดถือในจิตว่าเป็นตัวตน เกิดความดับคือเห็นธรรมในธรรม เห็นอย่างนี้จะเกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นแน่นอน.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 10 Jun 2024 - 57min - 367 - สติกับอนุสัย [6723-2m]
หายใจแรง ๆ สองสามครั้ง กำหนดรู้ถึงลมรับรู้ถึงสัมผัสได้ที่ตรงไหน เอาจิตมาจดจ่อตั้งเอาไว้ที่นี่และหายใจธรรมดา กำหนดอยู่กับลม ณ ตรงตำแหน่งที่เราสัมผัสได้ตอนแรก มีสติสัมปัญชัญญะ เมื่อสติมีกำลังมากขึ้นตามกระบวนการของการเจริญอานาปานสติ จิตจะมีกำลังมากขึ้น การรับรู้เกิดขึ้นได้แต่ไม่ตามไป รู้สึกพอใจก็เป็น ราคานุสัย รู้สึกไม่พอใจก็เป็นปฏิฆานุสัย กำจัดอนุสัยออกด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะเห็นตามความเป็นจริง มีวิชาเกิดปัญญา ละอวิชานุสัยได้ เห็นว่าไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ สิ่งใดไม่เที่ยงไม่ควรไปยึดถือ นิโรธมีได้ความดับเกิดขึ้นได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 03 Jun 2024 - 55min - 366 - การพิจารณาปัจจัยในภายใน [6722-2m]
เมื่อเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ความหลง ความไม่รู้ ให้ใคร่ครวญธรรมโดยการพิจารณาปัจจัยในภายใน เข้าใจเหตุให้ถูกต้องจะสาวไปถึงปัจจัยต้นตอเงื่อนไขของมันได้ ตามระบบอริยสัจ4 และลงมือปฏิบัติตามมรรค8 ซึ่งมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างเป็นหลัก แต่ถ้าเราหลงไปยึดถือ เกิดความรู้สึกและตัณหามากมายรวมเรียกว่า อุปธิ ก็จะพาให้ทุกข์ จึงต้องมีสติตั้งไว้เสมอ ไม่ตามตัณหาไป เห็นในความเป็นอนัตตา เห็นโทษของมัน ใช้หลักธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญให้ถูกทาง ต้องมาจบที่มรรค 8 และควรทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งเป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 27 May 2024 - 53min - 365 - อุบายในการนำออกจากขันธ์ทััง 5 [6721-2m]
สร้างฐานให้จิตด้วยการระลึกถึงพุทโธ คือเจริญพุทธานุสติซึ่งสงบชั่วคราว ดังนั้นพอจิตเป็นสมาธิแล้วก็มาเจริญธรรมานุสติด้วย โดยการพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีทั้งรสอร่อยและโทษ โทษจากความเพลิดเพลิน พอใจไปในรสอร่อยคือมีอุปทานขันธ์ และยึดเอาไว้ รู้แล้ววาง ไม่ยึดถือ เพราะไม่เที่ยง แปรปรวนเป็นทุกข์
อุบายที่จะนำออกจากความยึดถือในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ มรรค8 เป็นทางออกให้เห็นตามความเป็นจริง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 20 May 2024 - 52min - 364 - วิธีทำจิตให้สงบ [6720-2m]
หลักการที่ควรรู้ทำให้ละเอียดลงไปคือ เมื่อตริตรึกไปในอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ เมื่อเข้าใจหลักการนี้ ก็สามารถเริ่มวิธีการทำจิตให้สงบจากความฟุ้งซ่านได้ โดยผูกจิตไว้ที่สติดุจผูกสัตว์ทั้ง 6 ไว้ที่เสา ไม่ให้ไปตามช่องทางของสิ่งที่มากระตุ้น รับรู้แต่ไม่ตามไป ไม่เพลินไปตามทั้งในสิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ สติจะเป็นตัวแยกจิตออกจากการรับรู้ จิตไม่ใช่ความคิด ลิงกับป่าเป็นคนละอันกัน เมื่อมีสติย่อมไม่ลืมไม่เพลินไม่เผลอ ความรู้จะค่อยปรากฎขึ้นว่าจิตนี้ไม่ใช่ของเรา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 13 May 2024 - 1h 00min - 363 - หยุดอวิชชาด้วยอนัตตา [6719-2m]
จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติคือเพื่อไม่ยึดถือ เริ่มการปฏิบัติได้โดยตั้งสติและมีศีลเป็นพื้นฐาน ตั้งสติเอาไว้ให้เห็นจิตในจิต เห็นการปรุงแต่งของจิต สติจะระงับจิตตสังขารลงเรื่อยๆ ทำจิตให้สงบด้วยสติ เมื่อจิตที่เป็นประภัสสร พบว่าแม้แต่จิตก็เปลี่ยนแปลงตามสิ่งต่างๆที่เร้าทั้งมรรคและสมุทัย เห็นตามความเป็นจริงช้อนี้คือเรื่องของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงเพราะการปรุงแต่ง เกิดวิชชาหยุดอวิชชาด้วยอนัตตาเป็นประตูสู่นิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 06 May 2024 - 58min - 362 - เห็นกายด้วยปัญญาผ่านลมหายใจ [6718-2m]
เห็นกายด้วยความน่าอัศจรรย์ผ่านลมหายใจ สังเกต ณ จุดเดียว นั่นคือกายคตาสติ ฝึกฝนให้ระงับการปรุงแต่งกายและใจที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสโดยปฏิบัติตามมรรคแปด จิตลมสติอยู่ด้วยกันจะไกลจากกิเลสแต่เมื่อใดที่สติและสมาธิอ่อนกำลังลงจะไปยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นอนัตตา จึงต้องทำปัญญาขั้นที่2 ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เพื่อความหลุดพ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 29 Apr 2024 - 57min - 361 - อย่าเป็นผู้ร้อนใจในภายหลัง [6717-2m]
ตั้งจิตไว้ตรงจุดเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเรียนรู้จากประสบการณ์ เจริญพุทธานุสติ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลสซึ่งมีอยู่รอบทิศทาง ทำความเพียรอย่างเร่งด่วนจะเกิดกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ เดินตามทางมรรคแปด จะไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลัง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 22 Apr 2024 - 54min - 360 - นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร [6716-2m]
เจริญวิราคสัญญานิโรธสัญญา ผ่านพุทธานุสสติ จิตเป็นสมาธิ ละเอียดขึ้น ๆ จนเหลือแต่อุเบกขา ไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มีปีติสุข ทำสมาธิให้มีความชำนาญจะเห็นอาพาธ ของวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จึงปล่อย คลายกำหนัดสิ่งนั้นเสียนั่นคือวิราคสัญญา จึงนำมาซึ่งความดับคือนิโรธสัญญา เมื่อปล่อย คลายออก จึงเป็นความดับ เมื่อดับจึงเป็นสุข เป็นนิพพานได้อย่างนี้ ความไม่มี หรือมีน้อยลง น้อยลง จึงนำมาซึ่งความเจริญได้ อย่างนี้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 15 Apr 2024 - 58min - 359 - ทางแห่งความพ้น [6715-2m]
เริ่มจากศรัทธาว่ามีทางที่จะพ้นทุกข์ได้ กำหนดสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกด้วยความเพียร จิตจะรวมลงเป็นสมาธิซึ่งยังต้องอาศัยศีลเป็นตัวผลักดัน กิเลสจะลดลง ไม่ยึดถือขันธ์5 ยึดถือตรงไหนทุกข์อยู่ที่ตรงนั้น คิดเรื่องอะไรมากๆ จิตนั้นจ่อเข้าสิ่งนั้นมีพลังทันที เอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยจดจ่ออยู่กับลมหายใจ สติเราก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น เดินตามทางอันประเสริฐ8อย่าง ละความยึดถือได้ ดับเหตุแห่งทุกข์ ความเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 สุดทางนี้มันคือทางให้พ้นจากความทุกข์นั้นคือนิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 08 Apr 2024 - 59min - 358 - ผู้ข้ามถึงฝั่ง [6714-2m]
การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นธรรมในธรรม เราควรหนีจากงูพิษ ซึ่งคือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม หนีจากเพชฌฆาตคืออุปทานขันธ์ 5 สิ่งใดมากระทบผ่านอายตนะทั้ง6
ก็เห็นด้วยปัญญาว่าเป็นความว่างเปล่า จะหนีจากงูพิษและเพชฌฆาตดังที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์ท่านได้นำไปก่อนแล้ว โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดด้วยความมั่นใจ เลื่อมใส
และใช้ความเพียรให้เป็นกำลังของเราตั้งสติไว้ จะข้ามสังสารวัฏนี้ไปให้ถึงนิพพาน พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ไม่ควรยึดสิ่งใดๆแล้ว
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 01 Apr 2024 - 57min - 357 - สติปัฏฐานสี่หนทางแห่งการดับทุกข์ [6713-2m]
เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือระลึกถึงในความที่ท่านเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้มีปัญญา มีความเพียร เป็นการเจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะทำอะไรให้ระลึกถึงพุทโธ ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เกิดสัมมาสติคือความระลึกชอบ เมื่อจิตไม่คล้อยไปตามอารมณ์ จิตเรามีพลัง จิตได้รับการรักษาด้วยสติ เกิดสัมมาสมาธิ ให้จิตอยู่เหนือ พ้นจากความทุกข์ได้ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในกาย เห็นความไม่เที่ยงได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 25 Mar 2024 - 53min - 356 - ฉลาดในขันธ์ทั้ง 5 [6712-2m]
ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ด พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้า จึงจะเกิดความพ้นได้ จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้ง ความรู้ซึ้ง ความมีปัญญาหลากหลาย จะกระจายเราให้รู้ถึงความเป็นปฏิจจสมุปบาทได้ ทำให้เราพ้นจากความทุกข์ ถึงนิพพาน อันเป็นบรมสุข
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 18 Mar 2024 - 56min - 355 - หนทางสู่ความสำเร็จ [6711-2m]
เมื่อเราพบปัญหา ความทุกข์ ความท้อใจ ความผิดหวัง นั่นแหละคือโอกาสให้เกิดความสุข กำลังใจ ความหวัง โดยการเจริญพุทธานุสติระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าในด้านความเพียรและการใช้ปัญญาบนพื้นฐานของสมาธิ มีศีลเป็นบาทฐานและหลักมัชฌิมาปฏิปทา เห็นอริยสัจ 4 นั่นคือหนทางสู่ความสำเร็จ โอกาสที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในช่วงที่ได้ฟังธรรมะคำสอนของพระองค์เป็นเรื่องยากมาก หากเราได้มีโอกาสพบความมหัศจรรย์ 3 อย่างนี้ หนทางความสำเร็จยังเปิดอยู่ ให้เร่งความเพียร ความสำเร็จเกิดได้ด้วยการมีศรัทธา วิริยะปฏิบัติตามแนวทางอริยมรรคมีองค์ 8 คือ ศีล สติสมาธิ ปัญญา ทางแห่งความสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 11 Mar 2024 - 59min - 354 - พิจารณากายด้วยสติปัญญา [6710-2m]
ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุทั้ง4 (ดินน้ำไฟลม) มีการรับรู้คือวิญญาณ ทำให้เราตอบสนองในรูปแบบการกระทำ ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่มากระทบ ผ่านทางอินทรีย์ต่างๆเหล่านั้น เมื่อเกิดความเพลิน ความพอใจไปในสิ่งใดนั้นๆ เราจะยึด และทำให้เกิดทุกข์ แก้ไขด้วยการตั้งสติโดยเจริญกายคตาสติ ผ่านธาตุทั้งสี่คือ ลมไฟน้ำดิน เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเกิดปัญญาเห็นทางออกของปัญหา คือการไม่ยึดถือ ก็จะไม่ทุกข์ ดังนั้นเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานให้มาก เป็นอานิสงส์ไพศาล เป็นความเคยชินที่เป็นกุศล สะสมเป็นอาสวะที่ดีงาม สู่เส้นทางนิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 04 Mar 2024 - 53min - 353 - พ้นภัยจากวัฏฏะด้วยคุณสาม [6709-2m]
“สติ” เป็นองค์ธรรมสำคัญที่ทำให้เราหลุดออกจากทุกข์ในวัฏฏะของความแก่ ความเจ็บ ความตายได้ และเป็นทักษะที่ฝึกได้ ด้วยการระลึกถึงคุณของพุทโธ ธัมโม สังโฆ จะช่วยทำให้จิตเราตั้งอยู่ในกุศลธรรม ปัญญา ความเพียร ความอดทน ต่างๆ จะมาครอบงำจิตใจของเรา และทำให้อกุศลธรรมออกไป เมื่อมีสติอย่างต่อเนื่อง เกิดสัมมาสมาธิ และปัญญามองเห็นความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นเรื่องปกติ เห็นความไม่เที่ยง ทั้งกาย เวทนา ความรู้สึก ความคิดต่างๆ รวมถึง จิตก็ไม่ใช่เรา เห็นอย่างนี้แล้ว วางความยึดถือ ยึดมั่น ด้วยสติ เกิดความรู้ คือ เกิดวิชชา อวิชชาก็ดับ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 26 Feb 2024 - 1h 00min - 352 - ยึดกายดีกว่ายึดจิต [6708-2m]
ยึดจิตเป็นตัวตนไม่ดีเลย ให้จิตของเราอยู่ที่โสตวิญญาณ เอาสติมาจับไว้ อย่าเอาจิตไปไว้ที่อายตนะทั้ง6 อย่าไปตามความรู้สึกเวทนา ให้จิตตั้งอยู่กับโสตวิญญาณ ระลึกถึงตรงนี้อยู่เรื่อยๆ คือมีสติ
ความคิดนึก สัญญา สังขาร เวทนามีได้ แต่ไม่ตามไป ให้จิตมาอยู่กับการฟัง ให้เข้าใจธรรมะ ไม่เผลอไม่เพลิน ให้ใคร่ครวญโดยที่มีสติสัมปัญชัญญะอยู่ สิ่งใดที่เป็นนามธรรมทั้งหลายจะซ่อนหลบในกายนี้ ซึ่งกายเป็นการประชุมลงของธาตุทั้งสี่ ประกอบกันมาเป็นตัวเรา จิตเข้าไปยึดถือและเกิดการปรุงแต่ง ยึดถือกายเพราะเป็นรูปที่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนกว่าจิต แต่จิตเองก็ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดถือเป็นของเรา เห็นความเป็นอนัตตา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 19 Feb 2024 - 58min - 351 - กิเลสเกิดจากจิต [6707-2m]
กิเลสเกิดแต่จิต ในใจเราเองไม่ใช่จากสิ่งภายนอก ซึ่งราคะโทสะโมหะทำให้จิตเศร้าหมองเป็นทุกข์ โดยมีผัสสะเข้าสู่ช่องทางอายตนะทั้ง6 ได้แก่ ตาหูจมูกลิ้นกายและใจ ผ่านวิญญาณการรับรู้ เกิดเวทนาเขื่อมด้วยตัณหา มากระทบจิตมีการปรุงแต่งและตอบสนองแตกต่างกันไป ตามอาสวะที่สั่งสมมา ตั้งสติด้วยการกำหนดอานาปานสติ อาจเผลอลืมลมบ้างก็ให้กลับมากำหนดเอาไว้ที่เดิม ทำอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียรยึดตามทางสายกลาง สติจะมีกำลังมากขึ้น เกิดสมาธิและปัญญาตามมา ใส่วิชชาและสัจจะเข้าไป ปราศจากอวิชชา ตัณหาและอาสวะดับ กิเลสสิ้นไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 12 Feb 2024 - 1h 02min - 350 - ยอดธงแห่งผู้ประพฤติธรรม [6706-2m]
ฝึกปฏิบัติภาวนาด้วยการระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ ปักเป็นยอดธงเอาไว้ และปราศจากวิจิกิจฉา สติห่อหุ้มจิตเป็นเยื่อบางๆ ไว้ ไม่แปดเปื้อนกับผัสสะ สติมีกำลัง ความระงับของอายตนะค่อยๆ เกิดขึ้น เกิดอารมณ์อันเดียวเพื่อให้จิตเราเจริญสติปัฏฐาน4 และพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ด้วยหนทางเครื่องไปทางเดียวคือ มรรค8 เกิดสัมมาสมาธิ
จิตจะเห็นตามความเป็นจริง ความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วยปัญญาแทงตลอด ละกิเลส ละอาสวะ ทำนิพพานให้แจ้งได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 05 Feb 2024 - 57min - 349 - สมาธิภาวนาเพื่อผล 4 [6705-2m]
จิตเราสามารถฝึกได้ เริ่มจากการตั้งสติด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เกิดสมาธิภาวนา 4 ประเภท ไล่จากเพื่อสติสัมปชัญญะ เพื่อความสุขสงบในธรรม ภาวนาชนิดที่นำมาปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตเกิดญาณทัสสนะ
เห็นตามความเป็นจริง เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นภาวนาชนิดที่ให้สิ้นอาสวะ โดยการปฏิบัติมี 4 รูปแบบ คือการใช้สมถะเป็นเบื้องหน้าเป็นตัวนำแล้วเจริญวิปัสสนาให้ครบถ้วนขึ้นมาในลักษณะที่ทำให้อาสวะสิ้นไป รูปแบบที่ 2 คือวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าเป็นตัวนำ เอาสมถะตามมาให้ครบถ้วนในลักษณะที่ทำให้อาสวะสิ้นไป รูปแบบที่ 3 คือให้สมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป รูปแบบที่ 4 คือทำจิตให้ประภัสสรเป็นอารมณ์อันเดียวเห็นในความเป็นของไม่เที่ยง กำจัดความฟุ้งซ่านในธรรม ละอาสวะได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 29 Jan 2024 - 1h 00min - 348 - ระบบแห่งความเพียรที่มีผล [6704-2m]
ระบบความเพียรมีอยู่ 2 อย่างคือ ระบบความเพียรที่ไร้ผลคือการหาทุกข์มาทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ และเพลิดเพลินยินดีในความสุข ระบบความเพียรที่มีผลคือระบบของการประพฤติพรหมจรรย์ คือทางสายกลาง ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา แจกแจงออกได้เป็นทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง มีสิ่งที่ช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น การสำรวมอินทรีย์ คบกัลยาณมิตร ประมาณในการบริโภค การอ่านหนังสือธรรมะ ความอยู่อย่างสันโดษ เสริมให้การปฏิบัติดีขึ้น ฝึกอานาปานสติระลึกรู้ถึงลมหายใจคือมีสติ ใช้ปัญญาเห็นกุศลธรรมเพิ่มขึ้น อกุศลธรรมลดลง เกิดความยินดี มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในทุกทิศทาง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 22 Jan 2024 - 56min - 347 - สุขด้วยพรหมวิหาร [6703-2m]
มีสติอยู่กับลมหายใจ เกิดสัมมาสมาธิและเจริญพรหมวิหารสี่ตั้งไว้ในใจของเรา เมตตาหมายถึงความรักและปรารถนาดี กรุณาคือความปรารถนาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ มุทิตาหมายถึงความยินดีพอใจที่ได้พ้นจากความทุกข์หรือมีความสุข อุเบกขาคือความวางเฉยทั้งความสุขและความทุกข์เพราะเอาจิตจดจ่อตั้งไว้อยู่กับสมาธิ จากนั้นแผ่ไปทุกทิศ ไม่เว้นใคร ไม่มีขอบเขต เราไม่มองใครเป็นศัตรู ตนเองเป็นเสาอากาศตั้งแต่สมองศีรษะจนถึงพื้นเท้า เนื้อเยื่อทุกส่วนกระดูกทุกชิ้นให้แผ่กระแสไปถึงสรรพสัตว์ทั้งหลาย ปฏิบัติเมตตาเจโตวิมุตให้มากอย่างสม่ำเสมอจะเกิดอานิสงส์ 11 อย่าง 1.หลับเป็นสุข 2.ตื่นเป็นสุข 3.ไม่ฝันร้าย 4.เป็นที่รักของมนุษย์ 5.เป็นที่รักของพวกอมุษย์ 6. เทพยาดารักษา 7.ไฟ ยาพิษหรือศาสตรา ไม่ทำอันตราย 8. จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว 9.มีสีหน้าผุดผ่อง 10. ไม่หลงใหลทำกาละ 11.เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมอันวิเศษทียิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 15 Jan 2024 - 54min - 346 - ชีวิตนี้มีค่ามาก [6702-2m]
ชีวิตมนุษย์เป็นของน้อย อาจจะแตกตายไปด้วยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ทำให้มีค่ามากได้ด้วยก่อนนอนทำความเพียรนั่งสมาธิตามหลักอานาปานสติ หลังตื่นขึ้นในยามสุดท้ายแห่งราตรีก็พิจารณาใคร่ครวญด้วยการเจริญกายคตาสติ มีสติสัมปชัญญะตั้งไว้อยู่ในกายของเรา ให้เห็นกายของเราตามความเป็นจริง ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนัตตา จะเกิดปัญญาอย่างใหญ่ ทำความดีด้วยการเจริญพรหมวิหารสี่และปฏิบัติตามมรรคแปด
ทำความเพียรอยู่ตลอดทั้งวัน การเป็นอยู่แบบนี้จะเป็นการอยู่ที่มีค่ามาก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 08 Jan 2024 - 57min - 345 - ผู้เห็นจิตในจิต [6701-2m]
สู่โพชฌงค์เจ็ดด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ คือเห็นจิตในจิตจากการปรุงแต่ง หมายถึงสังเกตดูว่าจิตของเราเป็นอย่างไร เกิดเป็นสติที่ตั้งไว้
สังเกตทีละน้อยทีละน้อย และใช้ความรู้ที่เป็นกุศลในการแยกแยะจิตออกจากการปรุงแต่งของจิต ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อทำสติของเราให้มีกำลังเพิ่มขึ้น เกิดเป็นสมาธิซึ่งก็คือความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ตั้งมั่น เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์และเกิดปัญญาที่เป็นความรู้ความเข้าใจ เป็นสัมมาทิฎฐิในที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 01 Jan 2024 - 56min - 344 - ผู้มีจิตเที่ยงตรงต่อเวทนา [6652-2m]
เพราะรักสุขเกลียดทุกข์ ทำให้คนทั่วไปไม่เข้าใจต่อเวทนาอย่างแท้จริง เข้าใจเพียงด้านเดียว ความไม่เข้าใจนี้คืออวิชชามีความยุ่งเหยิงเป็นตัณหา แต่สัตบุรุษจะมีความเข้าใจว่าเวทนาไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์หรือแม้แต่อทุกขมสุข
ล้วนสามารถบรรเทาซึ่งกันและกันได้ ดังเช่นความหิวเป็นทุกขเวทนา บรรเทาด้วยความสุขจากการลิ้มรส เมื่ออิ่มสุขนั้นก็บรรเทาไปด้วยอทุกขมสุข เวทนาเกิดจากผัสสะและเป็นไปตามเงื่อนไขปัจจัย มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ สุขเองก็ชื่อว่าทุกข์ เพราะเปลี่ยนแปลงได้ พระพุทธเจ้าชี้ทางออกที่พาพ้นจากสุขทุกข์คือมรรคมีองค์แปด เข้าใจและพัฒนาไปตามกิจในอริยสัจสี่ เป็นผู้ที่มีจิตเที่ยงตรงต่อสุขและทุกข์ ชื่อว่าอยู่เหนือเวทนา
ทั้งหมดนี้เริ่มมาจากการทำจิตให้ระงับด้วยกายคตาสติ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 25 Dec 2023 - 56min - 343 - ความสุขสี่ระดับ [6651-2m]
ปฏิบัติตามหลักของพระพุทธเจ้า ศีล สมาธิและปัญญา คือได้รับพรจากพระพุทธเจ้า เบื้องต้นสู่เนกขัมมะด้วยอานาปานสติ ตั้งสติขึ้นจากการใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ สติกำจัดนิวรณ์เกิดเป็นสมาธิ ฝึกสติบ่อยๆเพื่อให้มีกำลังแยกแยะอย่างละเอียด และใคร่ครวญโดยแยบคายด้วยโยนิโสมนสิการ เห็นคุณเห็นโทษของแต่ละขั้นของฌาน 4 ขั้น จะพัฒนาไปได้ตามลำดับ ดังนี้
ปฐมฌาน มีวิตก วิจารปีติและสุขเกิดวิเวกอยู่และตั้งอยู่ในธรรมได้
ทุติยฌาน วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ตติยฌาน ปีติสิ้นไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
จตุตถฌาน ละสุขละทุกข์ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 18 Dec 2023 - 55min - 342 - อปฺปฏิวาณี ความไม่ถอยกลับ [6650-2m]
เจริญพุทธานุสสติ ตามระลึกถึงความเพียรที่ไม่ถอยกลับของพระพุทธเจ้า
ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ได้ตั้งไว้ซึ่ง อปฺปฏิวาณี หมายถึง ความไม่ถอยกลับ คือไม่สำเร็จจะไม่เลิกกลางคัน ดำเนินตามกระแสเรียกของจิตใจให้ไปตามทางสายกลาง อธิษฐานสร้างกำลังใจด้วยจิตตั้งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้มีกองทัพมารมาขวาง ทรงตั้งสติสัมปชัญญะไว้ไม่หลุดจากความเพียร เกิดวิชชา 3 ดำรงไว้ด้วยอิทธิบาทสี่ ตั้งคำถามให้ถูกจะมีคำตอบเกิดขึ้น ทำให้เห็นรูปแบบแห่งความสำเร็จ คืออริยสัจสี่ รื้อถอนวัฏฏะ เหมือนตาลยอดด้วน เป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาจากความเพียรที่ไม่ถอยกลับของพระองค์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 11 Dec 2023 - 1h 03min - 341 - นิวรณ์เป็นปัจจัยทำให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง 2 [6649-2m]
นิวรณ์ 5 คือเครื่องกางกั้น ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ได้กล่าวถึงกามฉันทนิวรณ์และพยาบาทนิวรณ์ไปแล้ว
อีก 3 ข้อ ได้แก่ ถีนมิทธะนิวรณ์ คือ ความหดหู่และความเคลิบเคลิ้ม
อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ คือความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ
วิจิกิจฉานิวรณ์ คือความเคลือบแคลง ทั้งภายในและภายนอก
กำจัดนิวรณ์โดยขจัดทุจริต3
สร้างสุจริต3 ด้วยการรักษาศีล และระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดสติปัฎฐาน 4
ในที่นี้เราเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน จิตมีกำลังมากขึ้นและถอนมาอยู่กับการรับรู้ เป็นสมาธิ เกิดโพชฌงค์ 7 กำจัดนิวรณ์ออกไป ทำจิตของเราให้สงบทำประโยชน์ให้ถึงตน หรือผู้อื่นหรือทั้งสองฝ่าย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 04 Dec 2023 - 51min - 340 - นิวรณ์เป็นปัจจัยทำให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง 1 [6648-2m]
นิวรณ์ 5 เป็นเครื่องกางกั้นทำให้จิต และปัญญาถอยกำลัง หรือเกิดไม่ได้ ซึ่งขออธิบายเรื่องของกามฉันทะ หมายถึง จิตมีความพอใจไปในกาม และ ความพยาบาท คือ การคิดปองร้าย การคิดอาฆาต ทั้งภายในและภายนอก สามารถสังเกตการมีอยู่ของนิวรณ์โดยใช้สติระลึกรู้ และจะไม่ให้มีนิวรณ์เพิ่มขึ้นโดยไม่ให้อาหาร นั่นก็คือ ทุจริต 3 ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เครื่องมือที่จะทำให้เรากำจัดนิวรณ์ 2 ตัวนี้ คือ สติสัมโพชฌงค์ โดยยึดหลักสติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิดโพชฌงค์ 7 และนิวรณ์ดับไป สู่การเกิดปัญญาในที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 27 Nov 2023 - 53min - 339 - เพราะน้อยจึงมีค่ามาก [6647-2m]
กิจโฉ มนุสสะปฏิลาโภ ความที่จะได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก จึงต้องทำประโยชน์ให้ได้มาก คือ พัฒนาเป็นอริยะบุคคล โดยการรักษาศีล มีสติสัมปชัญญะ ทำจิตให้สงบด้วยการเจริญพุทธานุสสติ ปฏิบัติตามอริยะมรรคมีองค์แปด โดยยึดสติปัฏฐานสี่ เป็นหลัก พัฒนาให้เกิดเป็นสมาธิสงบในอันเดียว และเกิดเป็นปัญญา มีค่ามากตรงที่เห็นด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง จะเห็นอริยสัจสี่ ทางดำเนินนั้นจะไปสู่ความดับเย็น คือ นิพพาน รู้แล้ว ปฏิบัติแล้ว รักษาจิตของเราด้วยสติทั้งวันให้เห็นปัญญาเกิดความเข้าใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 20 Nov 2023 - 59min - 338 - ผาสุกเพราะรอบรู้ทุกข์ [6646-2m]
ผาสุกได้เมื่อมีทุกข์ โดยการปฏิบัติตามทางอันประเสริฐแปดอย่าง ด้วยการเข้าใจเริ่องทุกข์, ไม่มีสิ่งใดในโลกที่ไม่ทุกข์, มีเพียงแต่ทุกข์มาก หรือทุกข์น้อย,
ทุกข์คือสภาวะที่ถูกบีบคั้น เกิดขึ้นได้เพราะตัณหา, เราอย่าเอาตัวเราไปอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบคั้น, นั่นคืออย่ามีความอยาก, ให้เห็นด้วยปัญญาว่า, ทุกข์นั้น มันเป็นของมันอย่างนี้ ก็อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ ด้วยปัญญา, แยกจากกันได้, เราจึงมีความผาสุกได้ แม้มีทุกขเวทนา, ให้สะสมสิ่งดีคือมรรคมีองค์แปด, อาสวะจะถูกลอกออก ถอนออก, เราก็จะแจ่มใสขึ้นคือปัญญาจะเกิด, ก็จะละวางกำจัดความยึดถือได้ เป็นขั้นเป็นตอน.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 13 Nov 2023 - 58min - 337 - ที่พึ่งอื่น ไม่มี [6645-2m]
เจริญรัตนะสามประการ คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ, ยึดพุทโธ ธัมโม และสังโฆ เป็นที่พึ่งอันสูงสุด, พุทโธ หมายถึง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, หมายถึง จิตใจที่ตื่นรู้แล้ว, ธัมโม คือ องค์ความรู้ที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง ที่จะต้องนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นพุทโธขึ้นมาได้, สังโฆ หมายถึง การปฏิบัติของตัวเราเองที่อยู่ในจิตใจของเราเอง,
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ตั้งไว้ในจิตใจของเรา,
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้า ไม่มี, บ่มอินทรีย์ของเราให้มีความแก่กล้า, แก่กล้าแล้วจะทำให้การตรัสรู้ธรรมบรรลุธรรมของเรารวดเร็วขึ้นมาได้.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 06 Nov 2023 - 57min - 336 - คนมีสติย่อมได้รับความสุข [6644-2m]
ฝึกจิตโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ, ให้ลมหายใจของเราทำทางไปสู่อมตะ คือ ความไม่ตาย, ขณะที่เราใส่ใจสังเกตดูลมหายใจ นั่นคือ เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ขึ้นแล้ว, พอเราทำสมาธิฝึกตั้งสติ เกิดสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะทันที, ตั้งไว้จากศีลทางกาย วาจาที่เรามี, สติที่มีกำลังมากขึ้น จะผลักดันให้เกิดสัมมาสังกัปปะ, สัมมาอาชีวะก็เกิดขึ้น, จิตเราจะระงับลง, การปรุงแต่งทางกาย ทางจิตระงับลง นั่นคือ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิ, ครบองค์ประกอบแปดอย่างทันที, คือ ศีล สมาธิ ปัญญา, คือ สมถะ วิปัสสนา หรือคือสติอย่างเดียว, คนมีสติจึงได้รับความสุข คนมีสติจึงมีความเจริญในการพัฒนา คนมีสติจึงได้เป็นคนดี สามารถหลุดพ้นจากเวร มีการไม่เบียดเบียน มีเมตตา มีความรักใคร่เอ็นดู เป็นเส้นทางที่จะนำจิตของเราไปสู่ความหลุดพ้นได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 30 Oct 2023 - 55min - 335 - ธาตุกรรมฐาน [6643-2m]
เจริญธาตุกรรมฐาน คือ การแยกแยะธาตุในร่างกายของเรา เพื่อไม่ให้ยึดถือในตัวตนของเรา
ตัวเราเป็นเพียงธาตุทั้งหกประกอบขึ้นมาเป็นชีวิต
ธาตุทั้งหกจึง ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา, เป็นของภายนอกที่เข้าประกอบกันเท่านั้น, เราจะคลายความยึดถือได้ในตัวตนนี้, เราต้องอยู่เหนือผัสสะที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจเหล่านั้น, โดยเมื่อมีผัสสะเข้ามา, ให้เราทำจิตของเราให้เสมอด้วยแผ่นดิน เสมอด้วยน้ำ เสมอด้วยไฟ เสมอด้วยลม, ทำจิตของเราให้ว่าง ๆ เหมือนอากาศ, เพราะเราเองเป็นเพียงธาตุ เป็นของธรรมชาติ, ไม่ใช่ของเรา, ให้เห็นด้วยปัญญาอย่างนี้ เราจะคลายความยึดถือในตัวตนได้.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 23 Oct 2023 - 54min - 334 - พ้นจากธรรมชาติสาม ด้วยพุทโธ [6642-2m]
ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือ พุทธานุสสติ, ให้สติ จิต และพุทโธอยู่ด้วยกัน, จับจิตเพื่อฝึกจิต, ฝึกจิตเพื่อให้จิตมีกำลัง, ให้จิตของเรามีความรู้ คือ วิชชาเกิดขึ้น ว่า “จิต เธอไม่ต้องไปปรุงแต่งก็ได้”, จะทำได้ต้องก็มีปัญญา, จะให้มีปัญญาเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม คือ สติ สมาธิ ปัญญา สัมมาทิฏฐิ เห็นความเกิดขึ้น-เห็นความดับไปว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แม้จิตก็ไม่ใช่ของเรา, จิตเราก็จะอยู่เหนือการปรุงแต่ง, มีสติ ทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ, เราก็จะพ้นจากธรรมชาติสามอย่าง คือ ความเกิด ความแก่ และความตาย ได้, พระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นเพื่อนำพาเราให้พ้นจากธรรมชาติสามอย่างนี้.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 16 Oct 2023 - 54min - 333 - พลัดพรากให้เป็นธรรม ธรรมสังเวช [6641-2m]
พลัดพรากให้เป็นธรรม ด้วยการมีสติ,
พอเราเจอเรื่องทุกข์แล้ว ให้มี “สติ สัมปชัญญะ”, จะอดกลั้นเวทนาได้ด้วย “ธรรมสังเวช” หมายถึง ความร้อนใจที่พัฒนาจนอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้, ให้ตระหนักถึงสิ่งที่ควรรีบทำ, รู้ถึงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ให้เร่งรีบปฏิบัติ ให้มีความกล้าเผชิญความจริง ไม่เผลอเพลินไป, รีบดับไฟ, ไฟ คือ ความเกิด ความเจ็บ ความแก่ ความตาย, ไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มันเผาเราอยู่แล้ว เราต้องรีบดับไฟนี้เสีย
สมาธิ สติ ปัญญา ใช้ในการพัฒนาจิตของเราให้หลุดพ้นจากสังขาร การเปลี่ยนแปลง ความยึดถือต่าง ๆ, ให้อยู่กับทุกข์ ก็ไม่ทุกข์ หรืออยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้ นั่นเอง.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 09 Oct 2023 - 1h 00min - 332 - ชน ผู้ฝึกจนประเสริฐ [6640-2m]
“การฝึก” จะทำ จิตของมนุษย์ทุกคนที่ได้ฝึกนั้น, ให้เป็นผู้ที่ประเสริฐขึ้นมาได้.
ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ คือ บุคคลผู้ที่ฝึกแล้ว ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย.
ตั้งสติ โดยการใช้อานาปานสติ ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ, ปิดช่องทั้งห้า ตา หู จมูก ลิ้น กาย, เหลือแต่ช่องทางใจ, ขุดลงไปในจอมปลวก ในช่องทางใจ คือ การทำความเพียร, เมื่อมีสติ จะเกิดสมาธิ และเกิดปัญญา, เราใช้ปัญญาทำความเพียร ขุดลงไป, เราจะเจอจิต, จิตมีความเป็นประภัสสร นั่นคือ สมาธิ, เพ่งเฉพาะซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อุเบกขา ความวางเฉยจะเกิด, แล้วเอาอุเบกขานั้นมาพิจารณาให้เกิดปัญญา, เราจะเห็น สมาธิก็ไม่เที่ยง จิตก็ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนของเรา, ฝึกบ่อย ๆ, ฝึกด้วยปัญญา, วางซะ วางความยึดถือในจิตนี้, ฝึกด้วยสติ จะมีวิมุตติเป็นที่แล่นไปสู่ วิมุตติก็จะมีนิพพานเป็นที่แล่นไปสู่.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 02 Oct 2023 - 57min - 331 - มุนี ผู้อยู่กับปัจจุบัน [6639-2m]
เจริญอานาปานสติ กำหนดสติให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่เพลินกับสิ่งที่ผ่านเข้ามาในปัจจุบัน, ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว แต่เก็บไว้เป็นประสบการณ์ ปล่อยวาง ให้อภัยได้, ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง แต่วางแผนได้โดยไม่ไปยึดถือ, นี่คือการกำหนดสติอยู่กับปัจจุบัน ด้วยกำลังสติ สัมปชัญญะ เห็นแจ้งในธรรมปัจจุบัน, สร้างความเคยชินใหม่ อย่างเร่งด่วน,
เพราะ เหตุแห่งความตายมีมาก, การอยู่แบบนี้มีคุณค่ามาก, แม้เพียง วันเดียวคืนเดียว, ท่านเปรียบว่า เป็นผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เป็นมุนี, ให้เราสามารถเห็นทางออก, ทำความเพียร, เราจะพ้นจากเงื้อมมือของมัจจุราชได้, ไม่เกิด คือ ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 25 Sep 2023 - 53min - 330 - ชราและมรณะเป็นประดุจภูเขา [6638-2m]
เจริญมรณสติ พิจารณาถึงความตาย ว่าความตายเป็นเหมือน ภูเขาหินศิลาใหญ่ กลิ้งบดปวงสัตว์มาโดยรอบทั้งสี่ด้าน ไม่มีใครรอดพ้นไปได้, ในช่วงเวลาที่เหลือ, เราจะอยู่ด้วยการ ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ สร้างกุศล บำเพ็ญบุญ นั่นคือ อริยมรรคมีองค์แปด หรือศีล สมาธิ ปัญญา, ซึ่งเป็น ปฏิปทาในการดับอุปาทาน ดับตัณหา ดับ อวิชชา เพื่อให้มี วิชชาเกิดขึ้น นั่นคือ มีปัญญา, เมื่อ “ไม่มีเกิด ก็ไม่มีตาย”, เราจึงพ้นจาก ความตาย ได้นั่นเอง.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 18 Sep 2023 - 55min - 329 - พิจารณาปัจจัยสี่เพื่อการพัฒนา [6637-2m]
พิจารณาปัจจัยสี่ โดยแยบคาย, เพื่อไม่ให้เผลอเพลิน ไปในการใช้สอยปัจจัยสี่ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน,
เริ่มจากกำหนดตามดูลมหายใจ, “จิต ลมหายใจ สติ” อยู่ด้วยกัน เพื่อให้สติมีกำลัง แล้วจะเกิดเป็นสมาธิขึ้น,
พิจารณาโดยแยบคายในปัจจัยสี่: เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย เภสัช ให้เป็นการภาวนา,
โดยใช้ ปัจจัยสี่ เพื่อบำบัดความหนาว บำบัดความร้อน ป้องกันเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน บรรเทาอันตรายอันพึงจะมีจากดินฟ้าอากาศ, บริโภคอาหารแต่พออิ่ม เพื่อระงับเวทนา พิจารณาอาหารเป็นของปฏิกูล, สร้างกุศลในเสนาสนะ เป็นที่อยู่ พอที่จะหลีกเร้นบำเพ็ญภาวนา อย่าใช้เป็นที่ที่จะเสพกาม, บริโภคยาเพื่อบำบัดเวทนา, พัฒนาจิต เพื่อลดละกิเลส ภาวนาได้ตลอด 24 ชั่วโมง.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 11 Sep 2023 - 56min - 328 - ผู้ฉลาดในวาระจิตตน [6636-2m]
เราพึงเป็นผู้ฉลาด ในวาระจิตแห่งตนเถิด
เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นจิตในจิต เพื่อตรวจดูจิตของตนเอง, เพื่อทำความฉลาดในวาระจิตของตนเอง,
1. ตรวจดูจิตเราสงบ มาก-น้อยแค่ไหน,
โดยใช้ “สติ” ตั้งขึ้น เพื่อให้จิตมีกำลัง, ลดการฟุ้งซ่าน ลดความคิดนึก, ลดความโกรธ, ทำอย่างต่อเนื่อง จิตจะระงับลง, มีอารมณ์อันเดียว, รักษาสมาธิด้วยสติ ให้ตั้งมั่นอย่างต่อเนื่อง, สำรวจดูบ่อย ๆ
2. ตรวจสอบ ดูจิตของเราว่า เรายังมีความยึดถือ ในสิ่งต่าง ๆ มาก-น้อยแค่ไหน,
โดยใช้ “ปัญญา” ให้เห็นตามความเป็นจริง, พิจารณาสิ่งต่าง ๆ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ไตรลักษณ์) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ลดความยึดถือในตัวตน, แม้แต่ ตัวจิตเองก็ไม่เที่ยง, มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา, เป็นทุกข์, ไม่ใช่ตัวเราของเรา, วิชชาเกิด อวิชชาดับ, จิตจึงพ้น คือ วิมุตติ, แล้วจิตจึงดำรงอยู่ด้วยสติ, จิตนั้น คือ จิตที่เป็นประภัสสร.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 04 Sep 2023 - 58min - 327 - ละสุขจึงพบสุข [6635-2m]
เจริญอานาปานสติ เพื่อให้ สติ, จิต, ลมหายใจ อยู่ด้วยกัน, บางครั้งเราอาจเผลอ เพลินไปกับสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่าง ๆ, หากแต่ท่านบอกว่าให้สละสุขออก เพื่อเอาสุขที่ละเอียดยิ่งขึ้น ประณีตกว่า, ให้เราค่อย ๆ สละ สุขออก, ลักษณะแบบนี้ คือ การพัฒนา หรือภาวนา, สติ-สมาธิมีขึ้น, จากนั้นใคร่ครวญเพื่อให้เกิดปัญญาว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีความไม่เที่ยง อาศัยเงื่อนไขปัจจัย ปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงไป, ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา, เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ได้ยาก, ไม่ควรที่เราจะไปยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา, พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา, เพื่อละความยึดถือในตัวเราของเรา, ทำซ้ำ ทำย้ำลงไป “สละสุขพอประมาณ เพื่อให้ได้สุขอันไพบูลย์ ละเอียดประณีตกว่า”, จะ ละ สักกายทิฏฐิ, ละ วิจิกิจฉา, ละ สีลัพพตปรามาสได้ คือโสดาบัน และมุ่งสู่พระนิพพานอย่างเดียว, วิปัสสนา ที่เรากระทำแล้ว, ปัญญาจะเจริญ, เกิดปัญญาแล้ว, จะ ละ อวิชชาคือความไม่รู้, เกิด “วิชชา”ได้.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 28 Aug 2023 - 57min - 326 - วิปัสสนาพาพ้นทุกข์ [6634-2m]
เมื่อมีสติ จิตจะแยกแยะ และไม่เพลินไปตามการรับรู้ที่ผ่านเข้ามา,
จิตเราก็จะไม่สะดุ้ง สะเทือนไปตามผัสสะที่เข้ามากระทบ, รู้สักแต่ว่า “รู้”,
หากแต่จิตที่มีอวิชชา ตัณหา จะไปเชื่อมติดกันกับสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านทางวิญญาณ (การรับรู้) เกิดความเพลิน คือ นันทิ, เชื่อมความอยาก (โลภะ), ความไม่พอใจเป็นโทสะ, ความไม่เข้าใจด้วยเป็นโมหะ, เกิดเวทนา เกิดความยึดถือ คือ อุปาทาน เกิดเป็นตัวตน คือ อัตตา, จิตเข้าไปก้าวลง เกิดสภาวะ, เกิดทุกข์ ไม่สิ้นสุด,
เราทำวิปัสสนา เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง พิจารณา ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา,
ทุก ๆ สิ่ง มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ เพราะเปลี่ยนแปลงตลอด, ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัย จึงไม่มีความเป็นตัวตน คือ เป็นอนัตตา,
พิจารณา กายเป็นเพียงธาตุสี่ ไม่ใช่ตัวเราของเรา, พิจารณาอย่างนี้ ตลอดเวลา แม้ในชีวิตประจำวัน,
ปัญญา แสงสว่าง ที่ทำให้เจริญอยู่อย่างต่อเนื่อง, จะเกิด “วิชชา” ความรู้ขึ้นมาได้, อวิชชาก็ต้องดับไป.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 21 Aug 2023 - 56min - 325 - สมถะเพื่อพัฒนาจิต [6633-2m]
ฝึกสติโดยการเจริญอานาปานสติ โดยเริ่มจากเสนาสนะอันสงัด คู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง,
ตั้งจิตให้สงบด้วยสัมมาสติ คือ ระลึกถึงสิ่งที่เป็นกุศล ด้วยลมหายใจเข้า-ออก ของเราเอง สติก็จะมีกำลังมากขึ้น,
สติที่มีกำลังมากขึ้นนั้น เปรียบเหมือนเสา และเชือกที่แข็งแรง ไม่ล้ม ไม่ขาดไปตามแรงสัตว์หกชนิด หรืออายตนะทั้งหก, สติที่มีกำลังนั้น เปรียบเหมือนกระดองเต่าที่ป้องกันภัยจากสุนัขจิ้งจอก หรือผัสสะต่าง ๆ ที่เข้ามา ตลอดเวลา ๆ, เก็บจิตรักษาจิตของเราไว้ด้วยสติ เหมือนเต่ารักษาอวัยวะไว้ในกระดอง,
พอจิตเรามีกำลังสติเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น, สมาธิก็เกิดขึ้นได้เอง เป็นสมถสมาธิ เป็นของประณีต, ทำให้มาก เจริญให้มาก, พัฒนาสมถะให้มาก, จิตเรา “ละ” ราคะได้.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 14 Aug 2023 - 58min - 324 - มหาบุรุษผู้พ้นด้วยสติปัญญา [6632-2m]
กำหนดจิตไว้ที่ลมหายใจ ตั้งสติไว้, สติก็เป็นตัวแยกวิญญาณ ออกจากจิต
“ผู้ใดรู้ชัดซึ่งส่วนสุดทั้งสองด้าน ไม่ยึดติดในท่ามกลางเราเรียกผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ, ผู้นั้นชื่อว่า ล่วงพ้นเครื่องร้อยรัด”
มีสติระลึกอยู่ตลอด, จิตไม่เผลอ คือ รับรู้เฉย ๆ กับผัสสะที่เข้ามากระทบ, ไม่เอานาม ไม่เอารูป, ในขณะนั้นจิตก็ไม่มีอวิชชา, ไม่มีตัณหา ความอยาก, อุปาทาน ความยึดถือก็จางคลาย, ความเป็นสภาวะ ภพ ก็ดับไป, เพราะไม่ไปยึดถือในส่วนสุดสองข้าง, อยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ อยู่เหนือการปรุงแต่ง อยู่เหนือนามอยู่เหนือรูป อยู่เหนือวิญญาณ อยู่เหนือสังขาร, อยู่เหนือ อวิชชา, อวิชชาตัณหากิเลสไม่เอา, จิตเราจะเข้าสู่ความเป็นอมตะ คือ ไม่ตายเพราะ ไม่เกิด นั่นคือ เป็นมหาบุรุษ.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 07 Aug 2023 - 55min - 323 - การบูชาไฟ [6548-2m]
เจริญอานาปานสติ ใคร่ครวญธรรม หมวดเรื่องของการบูชาไฟ “ไฟที่ควรละ ไฟที่ควรบูชา” ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ
มีไฟอยู่สามกองที่ควรละ ควรเว้น เพราะเป็นไฟแห่งอกุศล คือ ไฟแห่งราคะ ไฟแห่งโทสะ ไฟแห่งโมหะ
ไฟอีกสามประการที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา จะต้องบริหารให้อยู่เป็นสุข คือ ไฟคืออาหุไนยบุคคล ไฟคือคหบดี ไฟคือทักขิไณยบุคคล
ไฟคืออาหุไนยบุคคลได้แก่ มารดา บิดา
ไฟคือคหบดี คือ คนรอบข้างตัวเรา ทั้งคู่ครอง ทั้งครอบครัว ทั้งญาติพี่น้อง คนงานและ
ไฟคือทักขิไณยบุคคล คือ สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ใช้กาย วาจา ใจเป็นเครื่องบูชาที่จะประคับประคองไฟ คือ อาหุไนยะ คหบดี ทักขิไณยะ ได้โดยเริ่มจากให้มีสติ ตั้งขึ้นไว้ คือ มีสัมมาสติ, สัมมาวายามะ ตามมา คือ มีความเพียรพยายามเพิ่มกุศลธรรมตั้งจิตให้ดี รักษาจิตให้ถูก มีเมตตา มีอุเบกขา ก่อให้เกิด, สัมมาทิฐิ หมายถึงความรู้ หมายถึงปัญญา ที่เราจะต้องใคร่ครวญ ไตร่ตรอง โยนิโสมนสิการ, มีสัมมาวาจา, เกิดสัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ เราจะควบคุมความคิดของเรา ทำสิ่งที่เป็นกุศลทั้งกาย วาจา ใจ, เกิดสัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ดำเนินชีวิตการกระทำทางกาย การกระทำที่ถูกต้อง อาชีพที่ถูกต้อง เพราะกิเลสลดลง
เมื่อเราประคับประคองบูชาไฟที่ถูก จิตของเราจะเป็นอารมณ์อันเดียว นี้คือสมาธิ เกิดเป็นสัมมาสมาธิ เมื่อครบองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง จิตสว่าง จิตนิ่งดิ่ง สงบเป็นประภัสสร แม้จิตประภัสสรก็ไม่เที่ยง ไม่ควรที่เราจะไปยึดถือ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เห็นด้วยปัญญา วิชชาเกิด อวิชชาดับ นิพพาน คือ ความเย็นก็เกิดขึ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 28 Nov 2022 - 1h 02min - 322 - อปฺปฏิวาณี ความไม่ถอยกลับ [6547-2m]
เจริญพุทธานุสติ ตามระลึกถึงความเพียรชนิดที่ไม่ถอยกลับของพระพุทธเจ้า
ในตอนก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ท่านได้ตั้งจิตไว้ซึ่ง อปฺปฏิวาณี หมายถึง ความไม่ถอยกลับ คือ ไม่สำเร็จ ไม่เลิกกลางคัน
คือ ภายหลังที่พระองค์กลับมาปฏิบัติตามทางสายกลาง อยู่ตามลำพัง แม้ว่ามีความเพียรในการปฏิบัติตามทางสายกลางอย่างสูง หากแต่ ก็มีหลายครั้งที่สมาธิก็เสื่อมไป จิตใจมีความสงบบ้าง ไม่สงบบ้าง เกิดมีความท้อแท้ พระองค์จึงต้องการกำลังใจอยู่บ้าง พระองค์จึงทรงตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อสร้างกำลังใจให้ตัวเองว่า ฉันต้องบรรลุธรรมให้ได้ เราจะต้องไม่ถอยกลับในการทำความเพียรนี้ อธิษฐานลงไปอีก ตั้งใจลงไปอีก แม้ว่ามีกองทัพมารมากวน พระองค์ก็ทรงมีจิตแน่วแน่ จะไม่ลุกจากที่นั่ง ถ้าไม่บรรลุธรรม
อธิษฐานเอาไว้ตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำสิ่งนี้ให้สำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จไม่เลิกกลางคัน นั่นคือ จิตตะ วิมังสา คือ การพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญแก้ไขปรับปรุง มีฉันทะ มีวิริยะ คือ ความกล้า กล้าในการที่จะเผชิญหน้า กล้าที่จะลงมือทำ คือ อิทธิบาทสี่
จนเกิดปัญญา เห็นรูปแบบของการเกิด การดับ เห็นเหตุ ปัจจัย อาสวะ เห็นอริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พิจารณาจนกิเลสหมดไปจากจิตท่าน เหมือนตาลยอดด้วน คือ ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปแล้ว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาจากความเพียรที่ไม่ถอยกลับของพระองค์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 21 Nov 2022 - 1h 03min - 321 - ธรรมที่คู่กัน [6631-2m]
เจริญธัมมานุสสติ พิจารณาธรรมที่คู่กัน คือ
อินทรีย์หก คือ ความเป็นใหญ่ของช่องทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ
อินทรีย์ห้า หรือพละห้า คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
โดยจิตที่มีกำลังจาก “อินทรีย์ห้า หรือพละห้า” จะทำให้เราไม่ไหลไปตามกระแสของตัณหาที่ไหลเชี่ยว
จะช่วยให้เราทวนกระแสของ อินทรีย์หก โดยมี “สติ” เป็นตัวปรับจูน เพื่อให้กระแสน้ำของเรา ไหลไปตามกระแสแม่น้ำเดียวกัน ที่จะไปออกสู่ทะเลได้ คือ นิพพาน นั่นเอง.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 31 Jul 2023 - 54min - 320 - ประตูแห่งประโยชน์ [6630-2m]
เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณธรรมของพระพุทธเจ้า
เพื่อไปตามทางที่ท่านพาดำเนินไป เปิดประตูแห่งประโยชน์,
ใคร่ครวญธรรมะชื่อว่า ประตูแห่งประโยชน์,
ท่านให้แนวทางไว้ หกประการ เพื่อใช้ตัดสินใจ แล้วได้ประโยชน์มากที่สุด
หนึ่ง คือ ความไม่มีโรค, สอง คือ ศีล, สาม คือ การคล้อยตามผู้รู้, สี่ คือ การสดับรับฟัง, ห้า คือ การประพฤติธรรม และหก คือ ความไม่ท้อถอย, หกประการเหล่านี้เป็นประตูแห่งประโยชน์, เราจะมีความแจ่มแจ้งมีความเข้าใจ, จะรู้ทางไปที่ดีได้ จะเป็นประโยชน์ในชีวิตของเรา.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 24 Jul 2023 - 56min - 319 - ทางไปต่อ อยู่ตรงรอยต่อ [6629-2m]
ช้างของพระราชาที่ควร ช้างสั่งให้ไปสู่ทิศใด ที่เคยไปหรือไม่เคยไป ก็ย่อมไปสู่ทิศนั้นโดยพลันท่านเทียว,
เจริญอานาปานสติ เพื่อฝึกพาจิตของเราไปตามทางอันเกษม ทางอันมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ไปตามทางที่เราไม่เคยไป คือ นิพพาน,
เปรียบเราเหมือนช้างที่ออกจากป่า คือ มีสัมมาทิฏฐิ เพื่อมาฝึกแสวงหาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า (คนฝึกช้าง), เพื่อให้จิตสงบ ไม่เผลอเพลิน จึงจำเป็นต้องผูก “จิต” ไว้กับ “สติ” ด้วย “ลมหายใจ” เปรียบเหมือนผูกช้างไว้กับเสาด้วยโซ่ตรวน
เมื่อสติมีกำลัง มากขึ้น, ควาญช้างจะสั่งให้ไปสู่ทิศใด ที่เคยไปหรือไม่เคยไป ก็ต้องไปสู่ทิศนั้น
เปรียบเราฝึกจิต ให้รับคำสอนของพระพุทธเจ้า นอบน้อมเดินตามทาง, ที่เราไม่เคยไปในสังสารวัฏ, ให้จงไปตรงนั้น คือ นิพพาน,
จุดทางเข้านิพพาน, คือ เราต้องเห็นรอยต่อ, รอยต่อ คือ เห็นความไม่เที่ยง, เห็นการเกิดขึ้น การดับไป ของทุกอย่างที่เราเห็น ได้ยิน ได้สัมผัสนั้น, ณ ปัจจุบัน, นั่นจะเป็นประตู,
แล้วเคาะประตู คือ น้อมเข้ามาสู่ตัวเราว่า, จิตเราก็ไม่เที่ยง, ใคร่ครวญว่า ไม่เที่ยง คือ ทุกข์, ไม่ใช่ตัวตนของเรา, เราไม่ควรจะยึดถือ, ให้วางความยึดถือนั้นเสีย, วางด้วยปัญญานั้นคือ เปิดประตูเข้าไปเลย,
จิตจึงดำรงอยู่ด้วยดี
มีความร่าเริงอยู่ด้วยดี ตั้งอยู่ด้วยดีด้วยสติ,
ชื่อว่ารับเอาปัญญาที่พระพุทธเจ้าท่านมอบไว้,
ให้เป็นผู้มีส่วนแห่งปัญญาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 17 Jul 2023 - 58min - 318 - หนทางแห่งการไม่เกิดอีก [6628-2m]
เจริญธัมมานุสติ คือ การระลึกถึงธรรมะ, ใคร่ครวญบทแห่งธรรมในชื่อที่ว่า อชาตสูตรคือการไม่เกิดอีก,
ตั้งสติให้เกิดขึ้น จากการปรุงแต่ง คำว่าธัมโม, จนจิตระงับลง, อาจมีความคิดนึกนั่นคือ มีวิตก วิจารอยู่บ้าง นี่คือฌานหนึ่ง,
นั่นคือ จิตเป็นสมาธิแล้ว, เกิดเป็นสัมมาสมาธิ, องค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างได้เกิดขึ้นแล้ว,
สติก็พัฒนาขึ้นไปอีก, ให้มีความละเอียดลงละเอียดลง, ความคิดนึก วิตกวิจาร ระงับ, เข้าสู่ฌานสอง, สติตั้งไว้ตลอด ต่อเนื่องๆ, ความระงับลงก็มากขึ้น ละเอียดลงไปอีก, จะเหลือแต่อุเบกขาสุข คือ วางเฉย แต่ยังมีสุขเจืออยู่ คือ ฌานสาม, สติเราตั้งไว้ไม่เผลอ ความระงับลงก็ลึกซึ้งไปอีก, เหลือแต่อุเบกขาล้วน ๆ คือ ฌานสี่, ฝึกทำอย่างนี้เข้า ๆ ออก ๆ อยู่เรื่อย ๆ, จนอินทรีย์แก่กล้า,
ใคร่ครวญ ธรรมะพระพุทธเจ้า “สิ่งที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่ถูกอะไรทำ ไม่ถูกอะไรปรุง นั้นมีอยู่”,
ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ถ้าว่า “การเกิด การปรุง มีอยู่, การดับ การไม่ปรุงก็ต้องมี”,
แล้วจะให้ดับ นั่นคืออย่าไปสร้างเหตุ, นั่นคือ ให้เหตุดับ, ด้วย
“การปรุงแต่ง ที่ลดลง ระงับลง, เป็นปัจจัยเงื่อนไขให้เกิด ความมี ความเป็น ลดลง ลดลง”,
ปฏิบัติไปตามทางนี้ ให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้น, จนจิตระงับลง ระงับลง เข้าสู่สภาวะที่ไม่เกิด, ไม่มี, ไม่ถูกอะไรทำ, ไม่ถูกอะไรปรุงแล้ว, มาตามทางนี้, ทางอันมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง, แล้วเราจะอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 10 Jul 2023 - 55min - 317 - ห้านาที่ที่มีสุขด้วยมรณสติ [6627-2m]
พิจารณาให้เห็นว่า “เหตุปัจจัยแห่งความตายนั้นมีมาก”,
จึงควรอยู่ด้วยการไม่ประมาท ด้วยการเจริญมรณสติ,
การเจริญมรณสติไม่ได้คิดถึงความตาย,
แต่ให้คิดว่า ช่วงที่เราอยู่ เราจะอยู่อย่างไร,
เราจะตัดกระแสนี้ได้ โดยการตั้งสติไว้, ให้คิดเรื่องที่ดี, อย่าให้มีอกุศล กาม พยาบาท เบียดเบียน, ทั้งทางกาย และความคิด,
ถ้าจะคิด, ให้คิดอุเบกขา-วางเฉย, คิดมุทิตา-ยินดี, คิดกรุณา-ปรารถนาให้พ้นทุกข์, คิดเมตตา-ปรารถนาให้มีความสุข,
พูดแต่เรื่องที่เป็นกุศล เรื่องที่จะเป็นความอ่อนน้อม ประนีประนอม,
อย่าฆ่าสัตว์ ไม่โกหก ไม่ขโมย ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น แบ่งปัน ให้ทาน, ไม่ประมาท
อยู่แบบนี้มีอานิสงส์มาก มีผลมาก เป็นทางที่จะไปสู่นิพพาน.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 03 Jul 2023 - 55min - 316 - ลุกขึ้นเถิด จงตื่นจากความหลับ [6626-2m]
เจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ
ลุกขึ้นทำความเพียร ให้เห็นด้วยปัญญาว่า จิตนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเราของเรา,
สติจะควบคุมจิตไว้ ไม่ให้สะดุ้งสะเทือนตามผัสสะที่เข้ามากระทบ, นั่นคือ บรรลุสันติธรรม คือ ความสงบจากสิ่งภายนอก, หากแต่ความสงบนี้ก็ไม่เที่ยง,
เนื่องจากจิตมีความเป็นประภัสสร คือ เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ตามการรับรู้, หากเราไม่มีสติควบคุมไว้ สิ่งนั้นก็กลายเป็นสิ่งที่มีอำนาจเหนือจิตขึ้นมาทันที, เกิดความเป็นตัวตนขึ้นมาอีก,
ปัญญาจากการระลึกถึงพุทโธ ธัมโม สังโฆ, จะฉายให้เห็นว่า, จิตไม่เที่ยง, จิตไม่ใช่ตัวเรา, จิตเป็นเพียงกระแสของวัฏฏะ, ที่มีความต่อเนื่องๆ เกิด-ดับ เกิด-ดับ สืบต่อมา, ไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา, วางความยึดถือใน “จิต” นั้นเสีย, ให้มาทางมรรคมีองค์แปด, ทางกายให้เป็นไปด้วย สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ, ทางวาจาให้เป็นไปด้วยสัมมาวาจา, ทางใจก็ให้เป็นไปด้วยสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ,
วางความยึดถือใน “จิต”, ปฏิบัติตามทางมรรคมีองค์แปด, มีสติสัมปชัญญะ, มีปัญญา, มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุด.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 26 Jun 2023 - 54min - 315 - พิจารณาปัจจัยสี่โดยความเป็นธาตุ [6625-2m]
เจริญอานาปานสติ คือ เพื่อให้เกิดสติ สมาธิ ปัญญา
พิจารณาสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย คือ ปัจจัยสี่, อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค นั้นเป็นไปตามธรรมชาติของเขา,
ให้เห็นว่า “ธาตุมัตตะโก คือ สักว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติ, ธาตุมัตตะเมเวตัง คือ เป็นของมันอยู่อย่างนี้ มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนี้, ยะถาปัจจะยัง คือ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมันอยู่แล้ว, นิสสัตโต ไม่ได้เป็นสัตวะอะไรที่ยั่งยืน, นิชชีโว ไม่ได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล ตัวตนเราเขา, สุญโญ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน”
พิจารณาปัจจัยสี่ อาหาร ยา ที่ทานเข้าไป ไม่มีชีวิต, ก็เป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ ธาตุรู้, ถูกย่อยแล้วไปเสริมให้กายเราคงอยู่ได้ชั่วคราว คือ นิสสัตโต ไม่ได้เป็นอะไรที่ยั่งยืน, เป็นนิชชีโว ไม่ใช่เป็นตัวตน แต่อยู่ชั่วคราวตามเงื่อนไขปัจจัย, เป็นอย่างนี้ ด้วยความเป็นธาตุของเขาตามธรรมชาติ คือธาตุมัตตะโก, พิจารณาเจาะลึกเข้าไปถึงระดับโมเลกุล จะมีช่องว่างอยู่เต็มไปหมด, เป็นสุญโญคือว่างเปล่า ไม่ได้เป็นตัวตน,
พิจารณาซ้ำๆ ย้ำๆ ตามแนวทางของอริยสัจสี่ อริยมรรคมีองค์แปด ตามความจริงที่ปรากฏขึ้น จะเกิดปัญญาในขั้นโลกุตระ, พิจารณาธาตุสี่ ปัจจัยสี่ ให้เห็นถึงความไม่ใช่ตัวตน, เพื่อเกิดปัญญาปล่อยวางกายนี้ได้.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 19 Jun 2023 - 58min - 314 - ความจริงที่แท้จริง คือ อิทัปปัจจยตา [6624-2m]
ทุกอย่างในโลกล้วนเป็น “อิทัปปัจจยตา คือ ความที่สิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย แล้วจึงเกิดสิ่งนี้สิ่งนี้ขึ้น ไม่ได้เป็นของตัวมันเอง”
พิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอนิจจา เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้แต่ลมหายใจเข้า-ออก ก็มีเหตุปัจจัยของเขา เกิดขึ้น ดับไป หรือตัวเราก็เป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ หรือธาตุรู้ ประกอบกันขึ้นเท่านั้น หรือแม้จิตเราก็เกิด-ดับตามผัสสะที่มากระทบโดยมีกายเป็นสื่อเท่านั้น
นี่คือความจริง เป็นสัจจะ
เราจะเห็นความจริงนี้ได้ด้วยสติ เมื่อมีสติ สมาธิก็เกิด มีสมาธิแล้วใคร่ครวญจึงเกิดปัญญาขึ้น สติ สมาธิ ปัญญา ก็คือ สติปัฏฐานสี่ ก็คือ อานาปานสติ
เมื่อมีปัญญาที่ “ต่อ” มาจากพระพุทธเจ้า ตามแนวที่พระพุทธเจ้าพิจารณาเอาไว้,
เราจะเห็นความจริงด้วยปัญญาว่า จิตของเราก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ควรที่จะไปยึดถือ
“เมื่อปัญญาหรือวิชชาเกิด อวิชชาก็ดับ”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 12 Jun 2023 - 57min - 313 - อานาปานสติเพื่อความเป็นอาชาไนย [6623-2m]
เจริญอานาปานสติปัฏฐาน เพื่อฝึกตนให้เป็นบุคคลอาชาไนย,
เอาจิตเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ การเพ่งมีสองแบบ คือ เพ่งแบบกระจอก และเพ่งอย่างอาชาไนย,
เพ่งแบบกระจอก คือ เพ่งไปในเรื่องที่จะให้เกิดนิวรณ์ ในเรื่องของความเศร้าหมองแห่งปัญญา จิตที่เพ่งกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น จะเพลินไปตามอารมณ์ จะสะดุ้งสะเทือนตลอดเวลา นั่นคือ บุคคลไม่อาชาไนย,
หากแต่บุคคลอาชาไนย คือ ผู้ที่ใช้จิตจดจ่อ เพ่ง (ควบคุม) อยู่ที่ลมหายใจ เพื่อให้เกิดสติ เพื่อให้เกิดสมาธิ ไม่เพ่งไปตามนิวรณ์ ไม่เพลินไปตามผัสสะ จิตก็จะไม่สะดุ้งสะเทือน และพร้อมที่จะฝึกให้ยิ่งๆ ขึ้นไป,
เมื่อจิตมีสติ เป็นสมาธิแล้ว เราใช้สมาธิเป็นเครื่องมือให้เกิดปัญญา ด้วยการ “น้อมจิต” ไป พิจารณากายเรา เป็นเพียงธาตุสี่ “ดิน น้ำ ไฟ ลม” เป็นธาตุสี่ที่เหมือนกับ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่อยู่ภายนอกเรานั่นเอง, จะเห็นว่ากายเราเป็นเพียงของที่ยืมเขามา, ไม่เที่ยง เพราะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย, เมื่อเปลี่ยนแปลง จึงเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้, เมื่อเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย นั่นคือ เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา,
เข้าใจอย่างนี้ จึงเรียกว่าเข้าใจถูก แบบบุคคลอาชาไนย,
การเพ่งแบบนี้จะได้รับการนอบน้อมสูงสุด จะได้รับการบูชาสูงสุด เพราะเป็นบัณฑิตขั้นสูงสุด สูงสุดแบบพระอรหันต์.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 05 Jun 2023 - 57min - 312 - การภาวนาในขันธ์ทั้งห้า [6622-2m]
เจริญธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญธรรมะเรื่อง ขันธ์ห้า, ภาวนาพิจารณาอริยสัจสี่ หรือมรรคแปด ลงไปในขันธ์ทั้งห้าเพื่อให้เกิดปัญญา
พิจารณาใคร่ครวญ ขันธ์ห้า ที่มีเพียงรูปและนาม ด้วยจิตที่สงบให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนคือเป็นอนัตตา เปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขปัจจัย มีเกิด มีดับ อยู่ตลอดเวลา
หากแต่เมื่อใด เราเผลอเพลินพอใจ ลุ่มหลงตามสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา, ความเพลินความพอใจนั้นคืออุปาทาน คือความยึดถือ เกิดขึ้นในสิ่งที่เป็นอนัตตา, จึงเผลอเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา เป็นเรา, เกิดเป็นอัตตาขึ้นมา, ทุกข์จึงเกิดขึ้น ไม่สิ้นสุด
จะดับทุกข์ได้ ต้องเห็นขันธ์ทั้งห้าด้วยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเราของเรา ด้วยสติ, ด้วยมรรคแปด, ปราศจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน, ศีล-สมาธิ-ปัญญา ก็รักษาจิตของเรา ให้มีความสงบ สติตั้งมั่น,
พิจารณาความไม่เที่ยงในช่องทางใจของเรา, เห็นด้วยความเป็นอนัตตา, ละความยึดถือ, ความทุกข์ สะดุ้งสะเทือนไม่เกิด, ปัญญาซึ่งเป็นส่วนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็เกิดกับเราทันที และได้ชื่อว่า เราเป็นผู้มีส่วนแห่งปัญญาของท่าน.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 29 May 2023 - 58min - 311 - พุทธกิจห้าประการ ต้นแบบการบริหารเวลา [6621-2m]
เจริญพุทธานุสติเพื่อเข้าใจพุทธกิจ ห้าประการของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นต้นแบบการบริหารจัดการเวลาของเรา
พุทธกิจที่หนึ่ง ตอนเช้าบิณฑบาตด้วยปลีแข้ง โปรดสัตว์ให้ได้ให้ทาน, พุทธกิจที่สอง ตอนเย็นแสดงธรรมต่อคฤหัสถ์, พุทธกิจที่สาม ยามแรกแห่งราตรี อบรมภิกขุสงฆ์, พุทธกิจที่สี่ ยามกลางแห่งราตรี ตอบคำถามเทวดา, พุทธกิจที่ห้า ยามท้ายแห่งราตรี ตรวจอุปนิสัยสัตว์ใดมีอินทรีย์แก่กล้าที่จะบรรลุธรรม
น้อมเข้ามาสู่ตัวเรา ในการแบ่งเวลา อย่างมีประสิทธิภาพ, ไม่ให้สิ่งที่เป็นมิจฉาสมาธิมาดึงเวลาของเราไป ด้วยการปิดช่องทางนั้นเสียเช่นจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม, ใช้สติสัมปชัญญะจากภายในของเราเอง, รวมถึงการทำแบ่งเวลาให้ทิศทั้งหกอย่างเหมาะสม หรือใช้ปัญญาพิจารณาว่า วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่
ด้วยการทำอย่างนี้ การแบ่งเวลาของเราจะมีประสิทธิภาพ
ให้เวลากับทุกด้านของชีวิตอย่างเหมาะสม นี่คือ การภาวนาในชีวิตประจำวัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 22 May 2023 - 58min - 310 - ธรรม และวินัย คือ ศาสดา [6620-2m]
เจริญพุทธานุสติด้วยการตามระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระถึงถึงเหตุการณ์ถึงตอนที่พระพุทธเจ้าใกล้ปรินิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ธรรมะ และวินัยใดที่เราตถาคตแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ธรรมะ และวินัยนั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
สติตั้งไว้อยู่กับพุทโธ ธรรรมะนี่แหละที่เป็นศาสดา คือ ผู้สอนแทน จะเป็นสิ่งที่เราเคารพบูชา เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึกได้ รวมถึงคำสอนที่ออกมาในรูปของวินัย คือ ศีล ที่เป็นระบบแนวทางแห่งความสำเร็จ
พระศาสดา คือ ผู้สอน คำสอน คือ ธรรมะ สังโฆ คือ ผู้ปฏิบัติ นั่นคือ อยู่ที่ตัวเรา
ตราบใดที่เรามีสติตั้งไว้ มีคำสอนตั้งไว้ มีพุทโธ ธัมโม สังโฆอยู่ที่นี่
คำสอน คือ ธรรม และวินัยยังมีอยู่ ศาสนา คือ คำสอนก็ไม่ได้สูญหายไปไหน
ให้ระลึกว่า เราเป็นหนึ่งในผู้ที่รักษาคำสอน เป็นหนึ่งในผู้ที่ปฏิบัติตามโอวาท ยังระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า ผู้ที่บอกสอนเอาไว้อยู่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 15 May 2023 - 56min - 309 - อุบายสู่ความวิเวกตามกาลอันควร [6619-2m]
“พึงเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวก อยู่ตามการอันควรด้วยอุบายอย่างไร”
ด้วย “ลมหายใจ”เป็นเครื่องมือที่จะหาความวิเวกในจิตของเรา ให้เข้าถึงความอิ่มเอิบใจ ความสบายใจที่อยู่ในภายใน
ให้ยินดีในความสุข,ความปีติ, ความสงัด ให้หาจุดนี้ให้เจอ ด้วยความเพียร
แล้วใช้ความเพียร ตรวจหาสมาธิให้เจอ, ตรวจหาคือสติ, พอมีความสงบ นั่นคือ สมาธิ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ เกิดขึ้นแล้ว, สะสมสติ สะสมความเพียร สะสมปัญญา ทีละน้อยๆ
จิตสงบ-ระงับ ที่เกิดขึ้นจากในภายใน ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นๆ เป็นเครื่องล่อ นั่นคือปีติอันเกิดจากวิเวก หรือ นิรามิสสุข
ความสะดุ้งสะเทือนหวั่นไหวไปตามการเปลี่ยนแปลง มันจะลดลงหรือมันถึงกลับไม่มีเลย, อกุศลดับไป ไม่เกิด กาม พยาบาท เบียดเบียน, ก็เหลือแต่กุศลอย่างเดียว,
รู้จักแยกแยะได้, มีสติเป็นเครื่องสังเกต, มีปัญญาเป็นเครื่องรู้, มีสมาธิเป็นเครื่องอยู่, มีความเพียร มีศรัทธาเป็นกำลัง,
อินทรีย์ห้า ก็เจริญขึ้นมา, อินทรีย์ห้า เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้, อินทรีย์ห้าเจริญมีความแก่กล้าขึ้นมาก็ตรัสรู้ธรรม.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 08 May 2023 - 56min - 308 - สุขต้องสร้าง [6618-2m]
การรอ-การหาความสุขจากผู้อื่น ท่านเปรียบเหมือนว่า เรายืมรถเขามาขับ ยืมเงินเขามาใช้ ถึงเวลาเราต้องคืนเขา
หากแต่เราสามารถสร้างสุขของเราเองได้ ด้วยลมหายใจของเราเอง
คือ การเจริญอานาปานสติ กำหนดสติอยู่กับลมหายใจอย่างต่อเนื่อง กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมลด นั่นคือ ความเพียร ทำจริง แน่วแน่จริง
จะเกิดความเพียรได้นั้น คือ เราต้องมีศรัทธา ศรัทธานั้น คือ ความมั่นใจว่า 1. เราต้องทำได้ 2. มั่นใจในกระบวนการที่ทำ 3. มั่นใจในผลสำเร็จของการกระทำที่ได้
จะมีศรัทธาได้ เราต้องเห็นทุกข์ เห็นปัญหา เห็นความไม่เที่ยง
เห็นทุกข์จึงทำให้เกิดศรัทธา ผลักดันให้เราลงมือทำนั่นคือมีความเพียร
เมื่อสติจดจ่ออยู่กับลมหายใจ จะทำให้เราเกิดสมาธิ สะสมทีละนิด ทีละนิด จนเกิดเป็นปัญญา
ปัญญาเป็นผลของการที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียวผสมกับสมาธิ ผสมกับความเพียร ผสมกันแล้วเกิดปัญญา
ปัญญาที่เกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดความมั่นใจ คือ ศรัทธา เกิดความเพียร ลงมือทำ สติก็ยิ่งมีกำลัง จิตก็ยิ่งเป็นสมาธิ ปัญญาก็ยิ่งเกิด เห็นตามความเป็นจริง วนไปๆ เป็นวงจรแห่งความสำเร็จ ตามแนวทางของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะ “ไม่เป็นผู้ร้อนใจ ในภายหลัง”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 01 May 2023 - 54min - 307 - พิจารณาสังขารผ่านอนิจจสัญญา [6617-2m]
เจริญอนิจจสัญญา คือ ความหมายรู้โดยเห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆ เห็นได้ด้วยปัญญา
ปัญญาจะเกิดได้ด้วยมาจากสัญญา คือ ความหมายรู้ ซึ่งมีสองอย่าง คือ 1. สัญญาที่เป็นสมาธิ จิตรวมเป็นอารมณ์อันเดียว และ 2. สัญญาที่เป็นความรู้ ความจำ
ส่วนสังขารก็มีสองอย่าง คือ 1. การปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงจากสัญญาแบบหนึ่งเปลี่ยนแปลงเป็นสัญญาอีกแบบหนึ่ง และ 2. พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง“สิ่งทุกๆอย่างเป็นสังขาร (ปรุงแต่ง) หมด” เพราะอาศัยเงื่อนไขปัจจัยปรุงแต่งมา ทุกๆ สิ่งจึงมีความไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความพร่องตลอด จึงเป็นทุกข์ เรียกว่าทุกขอริยสัจ
ให้พิจารณาตามแนวทางของอริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่มีเจ้าของ
ทุกข์ก็ไม่เที่ยง ต้องทำความเข้าใจสมุทัย หรือตัณหาก็ไม่เที่ยง ต้องละ ต้องดับ มรรคแปดก็ไม่เที่ยง แต่ต้องทำ หรือเจริญให้มากๆ
จะเห็นว่าสังขารไม่เที่ยง
เพราะมีเงื่อนไขปัจจัยอาศัยกันมา ไม่ใช่ของเรา
ไม่มีสาระแก่นสารอะไรที่จะเข้าไปยึดถือด้วยความเป็นตัวตน ปัญญา แสงสว่าง เกิดขึ้น ปล่อย ละ วาง ความยึดถือ เหลือแต่ สติ ศีล สมาธิ ปัญญา
ฝึกทำอย่างต่อเนื่อง ปัญญาจะเกิดขึ้นให้เราเห็นสิ่งต่างๆด้วยความเป็นของไม่เที่ยง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 24 Apr 2023 - 56min - 306 - ระลึกถึงความตายเพื่อความอยู่ดี [6616-2m]
“เจริญมรณสติ คือ การยอมรับความจริงถึงความตาย แล้วตั้งใจที่จะอยู่ ด้วยความดี คือ อยู่อย่างดีนั่นเอง”
พิจารณามรณสติ เพื่อให้เกิดปัญญา เกิดความไม่ประมาท ไม่เพลิน
พิจารณาโดยเฉพาะ “รอยต่อ” ว่ากายเรามีรอยต่อมาก ตายได้ตลอดเวลา กายเป็นเพียงธาตุสี่มาประกอบกัน เมื่อตายไปแล้วภพนี้พังลง กายนี้แตกลง ธาตุทั้งสี่ก็แยกจากกันไป ไม่เหลืออะไร
จิตก็เหมือนกัน ตายได้ มีเกิด มีดับตลอดเวลา เกิด-ดับอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าเป็นกระแส
เราจึงเข้าใจคลาดเคลื่อนคิดว่า กระแสนั้น เป็นตัวตน และคิดว่ามี “ตัวเรา” คงอยู่ตลอดเวลา
จิตเราที่ตายแล้วจากภพก่อนๆ จะสะสมๆ เป็นอาสวะ แล้วไปยึดถือสิ่งอื่นๆ ทั้งนามและรูป เกิดในภพต่อๆ ไป ตามสภาวะการสะสมของเราเอง แล้วยังมี “รอยต่อระหว่างภพ” เราจะได้รับผลกรรมของเราเอง สุขหรือทุกข์ ขึ้นอยู่กับ สิ่งที่เราทำ
ดังนั้น จึงต้องอยู่ด้วยความไม่ประมาท อยู่ด้วยความดี เร่งสร้างกุศล ละอกุศล ด้วยการรักษาศีล มีสัมมาวาจา มีการแบ่งปันมีการให้ มีเมตตา มีกรุณา มีอุเบกขา อยู่อย่างนี้
“อยู่อย่างมีปัญญา” ปัญญาเป็นดั่งแสงสว่างที่จะนำทางเรา ไปตามทางความดี ก็จะสู่ที่เกษมที่ปลอดภัยได้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 17 Apr 2023 - 58min - 305 - เหตุต้นผลปลาย แจ้งได้ด้วยปัญญา [6615-2m]
“ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วงเครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว” ถ้าส่วนสุดข้างหนึ่งเป็นเหตุ ส่วนสุดข้างหนึ่งเป็นผล ความดับจึงมีตรงกลาง คือ เหนือเหตุเหนือผล เพราะมีอวิชชาจึงมีสังขาร อวิชชาเป็นตัวที่ล็อคเชื่อมสิ่งต่างๆ อยู่ในโลกนี้ มีอวิชชาแล้วมีตัณหาด้วย ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เหตุผลต่างๆ ให้เกิดขึ้น เข้าหากัน แค่เรารู้เราเข้าใจ ตรงกลางมันเป็นตัณหา เป็นอวิชชา วิชชา คือ ความรู้ เกิดขึ้นทันที…
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 10 Apr 2023 - 59min - 304 - ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง [6614-2m]
เริ่มจากจุดที่มีปัญหา อย่าเริ่มที่คนนั้นมีปัญหา สิ่งนั้นมีปัญหา เรื่องนั้นมีปัญหา แต่ปัญหาทั้งหมด สุมรุมอยู่ในจิตใจเรา เริ่มที่ช่องทางใจของเรา..ตรงความกลุ้มใจกังวลใจ ความโกรธ ความไม่พอใจ จับได้ตรงไหน เล็งไปตรงนั้น เล็งให้ถูกจุด มันอยู่ตรงที่เรายึดถือ ถ้าตัดผิด แทนที่จะใช้ปัญญา ดันไปใช้กายวาจาใจตัด พูดทิ่มแทงพูดบังคับ ใช้กำลังขู่เข็ญ ความคิดนึกพยาบาทเบียดเบียนมุ่งปองร้าย นั่นคือ ไม่ถูก เป็นอกุศล ถ้าใช้ปัญญาในการตัด ปัญญาเกิดตรงที่เราสร้าง ตรงสมาธิสร้างปัญญา…
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 03 Apr 2023 - 58min - 303 - นิโรธสัญญา [6613-2m]
“หากสิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง จะไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ ความรอดออกไปได้ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง จะไม่มีเลย เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุงนั่นเอง จึงได้มี ความรอดออกไปได้ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุงนั้น จึงปรากฎอยู่” เข้าใจธรรมชาติของความเกิดขึ้นความดับไปของสิ่งต่างๆ ด้วยเงื่อนไขปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่เพราะลูกศรมันยังมีอยู่ตลอด ดับไปแล้วเชื้อมันยังมี ก็เกิดขึ้นได้อีกทันที ลูกศรคือสังขารการปรุงแต่ง เชื่อมกันเพราะมีตัณหา ต่อไปแล้วก็ต่อไป ทำอย่างไรที่จะจบ ทางรอดมีอยู่…จะเข้าใจได้ จิตต้องสงบเป็นสมาธิ ในที่นี้เริ่มด้วยการเจริญอานาปานสติ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 27 Mar 2023 - 54min - 302 - ธรรมที่เป็นส่วนแห่งวิชชา [6612-2m]
“สมถะ…เมื่ออบรมแล้ว จิตจะเจริญ จิตเมื่อเจริญแล้ว จะละราคะได้
วิปัสสนา…เมื่ออบรมแล้ว ปัญญาจะเจริญ ปัญญาเมื่อเจริญแล้ว จะละอวิชชาได้”
เพราะเกินกำลังของสติ ‘ความฟุ้งซ่านความง่วงซึม’ ถ้ามีสติเห็นแล้ว อย่ากังวลอย่าบังคับจิต แต่เห็นเป็นเครื่องหมายแล้วใช้ ‘สมถะวิปัสสนา’ ทำจิตให้สงบเป็นอารมณ์อันเดียว เห็นตามความเป็นจริงในความเป็นของไม่เที่ยงเป็นอนัตตาของสิ่งต่างๆ ที่มากระทบ จะปรับสมดุลมาตรงกลางได้ วางได้ สามารถละอาสวะที่เป็นรากเหง้าของอวิชชาได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 20 Mar 2023 - 58min - 301 - ยึดถือสิ่งใด ทุกข์โทษในสิ่งนั้น [6611-2m]
“ในโลกไม่มีสิ่งใดๆ เลย ที่เมื่อเรายึดถืออยู่ จะเป็นผู้หาโทษไม่ได้”
มีไหมในโลกนี้สักสิ่งหนึ่งที่ถ้าเมื่อเรายึดถืออยู่ มันจะหาโทษไม่ได้ ‘โทษในที่นี้ หมายถึง ความที่มันไม่เที่ยง ความที่มันเปลี่ยนแปลงไป’ เป็นไปตามอย่างที่เรายึดถือ ยิ่งยึดถือมากยิ่งมั่นคง มันจะมีความเป็นไปอย่างนั้นเหมือนเดิม ตามที่เราปรารถนาตามที่เรายึดถือเอาไว้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ให้มันเที่ยงแท้เหมือนเดิมเป็นปกติ เป็นอย่างนี้อยู่ตลอด ยิ่งถ้ายึดถือมาก ยิ่งมั่นคงมาก ยิ่งเที่ยงแท้มาก เป็นอย่างนั้นไหม มีไหม เราลองคิดดู
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 13 Mar 2023 - 58min - 300 - พิจารณาขันธ์ห้าตามความเป็นจริง [6610-2m]
ถึงเวลาที่จะปลดแอกตัวเราจากความยึดถือได้แล้ว ที่ไปยึดได้ คือ อุปาทาน เพราะเพลินพอใจในสิ่งใด มันติดกับสิ่งนั้นทันที โทษของมันก็มาด้วยเพราะความที่มันไม่เที่ยง จะกำจัดมันก็ละความยึดถือ อย่าให้เกิดความเพลินความพอใจ คือ เห็นโทษในความที่ไม่มีสาระไม่มีแก่นสาร เห็นบ่อยๆ จะเป็นอุบายเครื่องนำออกจากความยึดถือในสิ่งนั้น แต่ถ้าเห็นโทษอย่างเดียวไม่เห็นรสอร่อยไม่เห็นเหตุเกิดไม่เห็นสิ่งต่างๆ ครบถ้วน บางทีไปยึดกับการปฏิเสธทุกอย่างปฏิเสธสิ่งนี้ไม่เอาสิ่งนั้นด่าทอขี้บ่น มันก็ไม่ได้เรื่อง กิเลสมันเอาเราสองทางเสมอ สิ่งที่ไม่เป็นสาระ คือ ความที่มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนได้ แล้วเอาสิ่งที่เป็นสาระ คือ อะไรที่ทำให้เราเห็นความไม่เที่ยง มีปัญญามีสติมีสมาธินั่นคือ มรรค เห็นตามความเป็นจริงโดยความเป็นของไม่เที่ยงของขันธ์ห้า เจริญเกาะอยู่กับมรรคแปด จะทำให้สามารถที่จะเห็นขันธ์ห้าตามความเป็นจริงได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 06 Mar 2023 - 52min - 299 - พระคาถาเยธัมมา [6609-2m]
“ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะ มีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้” ธรรมะนี้นั้น เมื่อมาถึงหูของเราแล้ว จะเข้าสู่จิตใจของเราได้ไหม อยู่ที่จิตของเรามีความวิเวกหรือไม่ เพราะคนส่วนใหญ่ถ้าเผลอเพลินไป ที่ไม่ใช่แค่ความพอใจแต่ความโกรธความไม่พอใจด้วย จึงเห็นแต่ความดำรงอยู่ของมันด้านเดียว ไม่เห็นเหตุและความดับ
แต่อะไรก็ตามที่มีเหตุเกิด ถ้าเหตุเกิดมันก็เกิด ถ้าเหตุดับมันก็ดับ ไม่ใช่มีอยู่ดำรงอยู่เท่านั้น จะเข้าใจได้ ในที่นี้จึงเริ่มด้วยการตั้งสติตามกระบวนการของพุทธานุสสติ จะไม่เพลิน แต่เห็นตามความเป็นจริง จะทำให้เราปล่อยวาง ละความยึดถือในจิตใจของเราได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 27 Feb 2023 - 59min - 298 - ผู้มีราตรีเดียวเจริญ [6608-2m]
เวลามันพัดตัวเราจากปัจจุบันกลายเป็นอดีตไปเรื่อยๆ สู่ความตาย แต่จิตที่มักคำนึงยึดถือยินดีพอใจถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว หรือคืบคลานต่อไปในอนาคต เห็นสิ่งต่างๆ โดยความเป็นของมั่นคงยั่งยืนเที่ยงแท้ มีความเพลินความพอใจ นั่นคือ ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่มีหลัก ไม่มีเกณฑ์ ถูกพัดไปตามกระแส แต่จะเป็นผู้ฉลาด มีปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง แยกกายแยกใจ เห็นขันธ์ห้าโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบันด้วย “วางแม้ในสิ่งที่เป็นธัมม์ปัจจุบัน” เริ่มต้นด้วยการตั้งสติ “สติอยู่ตรงไหน ปัญญาอยู่ตรงนั้น” ตั้งสติไว้แล้ว สิ่งต่างๆ มันจะแยกจากกัน ทำไปเรื่อยๆ ตามกระบวนการของมรรค มันจะดับได้เอง “วางความยึดถือแม้ในจิต”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 20 Feb 2023 - 56min - 297 - ชัยชนะอันไม่กลับแพ้ [6607-2m]
ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติ เริ่มจากการตั้งสติ เพื่อให้เราฝึกทักษะการสังเกตอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ลมหายใจ สังเกตุทั้งกายและจิต เพื่อการแยกแยะ มีสติแล้วสมาธิก็ตั้งมั่น จนเกิดปัญญาวุธ คือปัญญาที่เห็นทุกสิ่งในโลกนั้น เป็นสมมติ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา พิจารณาซ้ำๆลงไปก็จะเห็นตามความเป็นจริง
เมื่อเกิดปัญญาวุธ เราจึงเห็นทุกสิ่งๆ มีแค่ “ธาตุ” เป็นองค์ประกอบ หาใช่ตัวเราไม่ หากแต่เรามีอุปาทานไปยึด ไปเกาะที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เราจะกำจัดอุปาทานได้ เราต้องพิจารณาขันธ์ทั้งห้า ว่าไม่เที่ยง เป็นอนัตตา พิจารณาย้ำ ซ้ำลงไปอีก จนจิตคลายกำหนัด คลายความยึดถือ อุปาทานก็จะลอกออกๆ กิเลสจะลดลงๆ
แต่เรายังไม่สามารถถอนราก เหง้าของกิเลสนั่น คือ “ตัณหา และอวิชชา” ซึ่งอยู่ใน “จิต” ของเราได้ จนกว่าเราจะพิจารณาเห็น “ความไม่เที่ยงของจิต” บางทีก็เป็นประภัสสร บางทีก็เศร้าหมอง เมื่อไม่เที่ยง แม้แต่จิตเราก็ไม่เอา อวิชชา ตัณหาก็ดับ ความดับเย็นนั้นคือนิพพาน นั้นคือ “ชัยชนะอันไม่กลับแพ้”
รักษาความชนะที่ชนะแล้วได้ดี ไม่มีความอาลัย เป็นผู้ไม่ติดถิ่นที่อยู่ (กิเลส) ด้วย “ปัญญาวุธ”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 13 Feb 2023 - 58min - 296 - หนทางเอกในการล่วงทุกข์ [6606-2m]
ปฏิบัติภาวนาด้วยการเจริญธัมมานุสติ
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสัมผัสทั้งหมด ทั้งรูป-นาม ล้วนแต่มีเหตุ มีปัจจัย มีเงื่อนไข ต้องอาศัยสิ่งนี้ ต้องอาศัยสิ่งนั้นเกิด เป็นกฏธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว จึงมีความเป็น“อนัตตา” ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือ ความทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก เกิดทุกข์ที่ทนได้ยาก คือ ความทุกข์ และทุกข์ที่ทนได้ง่าย คือ ความสุข
เหตุของทุกข์ คือ ตัณหา ความทะยานอยาก เมื่อเกิดผัสสะ ก็เกิดเวทนาความรู้สึก ยินดี ยินร้าย และเกิดตัณหา จิตเกิดความอยากมี ความอยากไม่มี จิตจึงเข้าไปยึดถือคืออุปาทานในสิ่งนั้น เกิดทุกข์ลงที่ “ขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” ไม่ได้เกิดที่ไหน จนเราคิดว่าเป็นตัวเรารู้สึกทันที เกิดเป็นภพ เป็นสภาวะ
ผัสสะเกิดที่ไหน จิตอยู่ที่นั่น จิตอยู่ที่ไหน ความทุกข์เกิดที่นั่น ความทุกข์เกิดเพราะ มีความทะยานอยาก ตัณหา มีความยึดมั่นถือมั่น อุปาทานในสิ่งที่เป็นขันธ์ห้าทั้งหมด เกิดเป็นตัวตน คือ สภาวะ สภาวะแห่งการสั่งสม เหตุเกิด เพราะอวิชชา ความไม่รู้ครอบงำจิต เข้าใจว่าทุกสิ่งเป็นอัตตา เป็นสุข เที่ยง จึงเกิดเป็น “สังสารวัฏ” เปรียบเสมือนกรงขังเราอยู่ ที่ไม่รู้เวลาออก ถูกรัดตึงด้วยตัณหา ครอบงำด้วยอวิชชา วนไปวนมานับไม่ถ้วน
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบสิ่งที่มีอยู่ ความตั้งอยู่เป็นธรรมดา “ธัมมัฏฐิตตา” ความตั้งอยู่เป็นธรรมชาติ “ธัมมนิยามตา” ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น “อิทัปปัจจยตา”
พระพุทธเจ้าทรงใคร่ครวญทางพ้นทุกข์ ในธรรมะ คือ สติปัฏฐานสี่ คือ สติสัมโพชฌงค์ หนึ่งในองค์ธรรมตรัสรู้ เกิดสัมมาสติ มีความเพียรคือสัมมาวายามะ ตั้งจิตไว้ในจิตที่ถูกต้องมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัมปะ ศีลครบก็เกิดสัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา จิตเริ่มระงับลงๆ จนเกิดเป็นสัมมาสมาธิ เกิดพร้อม ถึงพร้อมองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง ที่เป็นทางสายกลางไม่แล่นไปสุดโต่งสุขหรือทุกข์ เป็นคำสอนที่เราปฏิบัติได้ มีอยู่ตามธรรมชาติ ปฏิบัติตามเพื่อความถึงพร้อม รู้พร้อม คือ มัชฌิมาปฏิปทา ทางเอกในการเข้าสู่พระนิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 06 Feb 2023 - 58min - 295 - ความจริงที่พระพุทธเจ้าสอน (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) [6605-2m]
เจริญอานาปานสติ เพื่อให้เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา เป็นทางแห่งพระนิพพาน
เดิม...เพราะเรามีอวิชชาครอบอยู่ คือ ความไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าตัวเราเองเป็นอนัตตา (ไม่มีตัวตน) คิดว่าตัวเราเป็นอัตตา (มีตัวตน) พอไม่รู้ ไม่เห็นตามความเป็นจริง จึงได้โอกาสนายช่างผู้สร้างเรือน คือ ตัณหา ความทะยานอยาก ในสิ่งที่เราพอใจ ไม่พอใจ เพลินไป จัดสร้างโครงเรือนขึ้นมา ประกอบเป็นตัวตนด้วย ราคา โทสะ โมหะ (กิเลส) จึงให้ เกิดความรู้สึกว่านี่เป็นตัวตน เป็นตัวฉัน เกิดภพ เกิดชาติ ไม่สิ้นสุด...
หากแต่พอเราให้กำลังกับ ปัญญา มรรค สมาธิ วิชชาด้วยการพิจารณาวิปัสสนา จะเกิดญาณปัญญา คือ เห็นตามความเป็นจริงว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” เห็นว่ากายเราเป็นเพียงธาตุสี่ เปลี่ยนแปลงตลอดด้วยเหตุ ปัจจัย ห็นเป็น “ทุกขลักษณะ” เห็นด้วยภาวนามยปัญญา จะเกิดความเบื่อหน่าย นิพพิทา จะคลายกำหนัด เห็นอยู่บ่อยๆ จะไม่ยึดถือ และวางกายนี้ได้ ว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา
หากแต่ล็อกชั้นที่สอง คือ ยังคิดว่า “จิตเป็นของเรา” พิจารณาต่อไปว่า จิตก็เป็นของไม่เที่ยง มีผ่องใส มีสุข มีทุกข์ แม้จิตก็ไม่ใช่ตัวตนของเรา เปลี่ยนแปลงได้ เป็นอนัตตา (ไม่มีตัวตน) เหมือนกัน อนิจจัง (ไม่เที่ยง) เหมือนกัน เป็นทุกข์เหมือนกัน ไม่ควรเห็นว่าเป็นจิตของเรา
เห็นบ่อยๆ จะปล่อยวางจิตได้ ทำซ้ำๆ ย้ำๆ ทำจนวิมุตติไม่ย้อนกลับ วางๆๆ จนเหลือแต่ “ความว่าง” คือ เย็น คือ นิพพาน ทำย้ำ ทำซ้ำไปเรื่อยๆ ละเอียดแล้วละเอียดอีก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 30 Jan 2023 - 55min - 294 - ระวังสมาธิเป็นพิษ [6604-2m]
“ฐานะ 2 อย่าง คือ ทั้งเกิด และทั้งดับ ไม่ว่าจะในกุศลหรืออกุศล ก็เกิดเวทนาได้”
เจริญพุทธานุสสติ ระลึกถึงวาระที่พระพุทธเจ้าหลีกเร้นแล้วสำรวจสมบัติในเรื่อง “เวทนา” พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่า เวทนามีในทุกสิ่ง ทั้งในมิจฉาสมาธิ ทั้งการเข้าไปสงบระงับแห่งมิจฉาสมาธิ ทั้งในสัมมาสมาธิ และการเข้าไปสงบระงับแห่งสัมมาสมาธินั้นด้วย สมาธิทั้งหมดนั้นมีการเสวยอารมณ์ คือ เวทนาแน่นอน แม้แต่ในขณะที่พยายามที่จะบรรลุ หรือบรรลุแล้ว เพียงต่างกันตรงที่ชนิดของเวทนา
เมื่อมีเวทนาแล้วจึงเพลินไปหลงไปเข้าไปยึดถือในเวทนา ถูกจิตหลอก ทำให้สมาธิกลายเป็นพิษ แม้ในสัมมาสมาธิก็มีกับดักให้ไปยึดถือได้ ในทีนี้ยกตัวอย่างบุคคลที่ได้รับผลจากสมาธิที่เป็นพิษ คือ ท่านพระเทวทัต อาฬารดาบส และอุทกดาบสผู้รามบุตร เวทนาเข้าไปยึดถือได้ด้วยจิตของเรา ไม่ว่าเวทนานั้นจะเกิดจากอะไรก็ตาม มันเป็นกับดักของจิต จิตหลอกให้ยึดถือ มีความเป็นอัตตา
วิธีแก้คือการอุดรูรั่ว ให้เห็นด้วยปัญญา ปัญญาเห็นไม่ใช่ตัวเราเห็น เห็นถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นำมรรคมาใช้ ขณะเดียวกันก็ให้ระวังรูรั่วในมรรค รูรั่วในมรรค คือ การเข้าไปยึดถือ และความไม่เที่ยงของมรรค เพราะมรรคก็คือการปรุงแต่ง เวทนาก็คือการปรุงแต่ง เห็นความจริง มีความหน่ายแล้ว ปฏิบัติกิจตามหลักอริยสัจสี่ จะอุดรูรั่ว พาแพถึงฝั่งได้ วางแพวางความยึดถือปล่อยวางได้ ดับเย็น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 23 Jan 2023 - 58min - 293 - กำจัดจุดอ่อน คือ เวทนา [6603-2m]
“เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา แต่เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นเทียว จึงมีความดับแห่งอุปาทาน นี่แหละ คือ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์”
ปฏิบัติสมถะ วิปัสสนา โดยอานาปานสติ คือ ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือเพื่อให้เราเกิดสติขึ้น
เมื่อมีสติ รับรู้ลมหายใจเข้า-ออก เกิดสมาธิ จิตสงบ ระงับลงๆ คือ เป็นสมถะ
จากนั้นพิจารณาให้เห็นว่า ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เกิดจากผัสสะที่เข้ามากระทบ เกิดเวทนา คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ จึงเกิดตัณหา จึงเกิดอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เกิดภพ สภาวะ เกิดชาติ ชรา หมุนวนไป ไม่จบสิ้น
จะดับทุกข์ได้ “จิตต้องเห็นเวทนาเป็นของไม่เที่ยง อนิจจัง เห็นเวทนาเป็นของสิ้นไปเสื่อมไป เป็นธรรมดา”
เห็นอย่างนี้บ่อยๆ สะสมๆๆ เป็นปัญญา ตัณหาจะค่อยๆ จางคลาย จนจิตปล่อยวาง คลายความยึดมั่นถือมั่น ตัณหาดับ อุปาทานดับ ทุกข์จึงดับ นั่นเอง.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 16 Jan 2023 - 57min - 292 - ศรัทธาเกิดได้ด้วยปัญญาสาม [6602-2m]
ศรัทธาของใครก็ตาม จะต้องเป็นศรัทธาที่มีทรรศนะ คือ มีความเห็น เห็นด้วยตา ด้วยปัญญาอย่างนี้ เป็นมูลเป็นเหตุอย่างนี้ จะเรียกว่า เป็นศรัทธาที่มั่นคง คือ “มีศรัทธาถึงพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว “
จะมีศรัทธาที่มั่นคง ไม่คลอนแคลนได้ ต้องเกิดจากปัญญาสามอย่าง คือ
- ปัญญาที่เกิดจากการฟังเรียกว่า สุตมยปัญญา คือ ควรเลือกฟังจากผู้เป็นกัลยาณมิตร หากแต่ความศรัทธายังคลอนแคลนอยู่ได้ จึงต้องเพิ่มในปัญญาที่สอง คือปัญญาที่เกิดจากการใคร่ครวญคิดพิจารณาเรียกว่า จินตามยปัญญา คือ มีวิมังสา ตรวจสอบ พิจารณาเหตุผลคือมีมูลราก แล้วให้เกิดศรัทธา คือ ความเชื่อ ความมั่นใจ ความเลื่อมใส ที่มั่นคงกว่าสุตมยปัญญา หากแต่ยังสามารถเลื่อนไหล ไม่มั่นคง จึงต้องเพิ่มในปัญญาที่สาม คือปัญญาที่เกิดจากการพัฒนา เห็นแจ้งด้วยตัวเองจริงๆ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา มีวิริยะ ลงมือทำความเพียร คือ ปรารภกุศล ละอกุศล สติระลึกถึงแต่สิ่งที่เป็นกุศล เกิดโวสสัคคารมณ์ คือ จิตที่มีการปล่อยวางอารมณ์ เกิดสมาธิ จิตตั้งมั่น สามารถรู้ชัดได้ใน สังสารวัฏ เห็นการหมุนวนไปของสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป วนไป ภาวนาจนตัณหาจางคลายไป เป็นความคลายกำหนัด เป็นความเย็น คือนิพพาน คือ เห็นด้วยปัญญา รู้ได้ด้วยปัญญา เกิดความรู้ คือ วิชชาขึ้น เรียกว่าเป็นปัญญา เกิดที่จิตเรา
ศรัทธาที่เกิดแบบนี้เรียกว่า เป็นศรัทธาที่มั่นคง มีมูลรากแล้วลงมือทำ เกิดวิชชา เกิดปัญญา จาก “ภาวนามยปัญญา”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 09 Jan 2023 - 58min - 291 - ศรัทธาได้ด้วยปัญญา [6601-2m]
ใคร่ครวญมาในธรรมในหัวข้อศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้วอย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นการได้อันยอดเยี่ยม ศรัทธาเป็นแรงผลักดันให้มีการลงมือกระทำ และเป็นตัวประสานสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ในขณะที่ศีลจะเป็นพื้นฐานที่หนักแน่นให้ยืนอยู่ได้ ศรัทธา คือ ความเชื่อ ปสาทะ คือ ความเลื่อมใส เกิดได้จาก 3 ทาง คือ
ประการที่ 1: ศรัทธาที่เกิดจากปัญญา ปัญญาจะเกิดได้ต้องมาจากการศึกษา การศึกษามาจากการฟัง ศรัทธาจึงฟัง ฟังจึงศึกษา ศึกษาจึงเกิดปัญญา ปัญญานั้นก่อให้เกิดศรัทธา ศรัทธาต้องเป็นระดับนิวิฎฺฐสทฺโธ ปสาทะต้องเป็นระดับนิวิฏฺฐเปโม คือ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ต้องเป็นศรัทธาในระบบ ไม่ใช่ศรัทธาที่ตั้งไว้บนความรักความพอใจ เพราะศรัทธาต่อตัวบุคคลจะก่อให้เกิดโทษแห่งความเลื่อมใสนั้นได้ ศรัทธาในพุทโธ พุทโธไม่ใช่บุคคล แต่เป็นระบบของการตรัสรู้ ธัมโม คือ สิ่งที่จะเข้ามาสู่ใจ เป็นธรรมที่มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ไม่ใช่แค่ตัวอักษร สังโฆ คือ กลุ่มที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สุปฏิปัณโณ จึงจะไม่เป็นการประทุษร้ายต่อสกุล
ประการที่ 2: ศรัทธาเกิดจากกัลยาณมิตร และการโยนิโสมนสิการ กัลยาณมิตร คือ กัลยาณธรรมจะทำให้ได้ฟังธรรม เป็นการให้จากภายนอก โยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยแยบคาย เป็นจุดเชื่อมสมองเข้าสู่ใจ เป็นการรับเข้าภายใน
ประการที่ 3: ทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัยของศรัทธา ทุกข์จะทำให้เห็นธรรมก็ต่อเมื่อเลือกทางออกจากทุกข์นั้นได้ถูกต้อง ไม่จมลงในทุกข์ เพราะจิตนั้นตริตรึกไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง จะถูกยกสูงขึ้นทันที เป็นการนำสถานการณ์มาใช้ ใช้ทุกข์ให้เกิดปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 02 Jan 2023 - 1h 01min - 290 - พัฒนาวิเวกสามเพื่อความดับเย็น [6552-2m]
บุคคลเมื่อให้ทานแล้ว ควรพัฒนาตนเอง และปฏิบัติตามกาลอันควรด้วย “วิเวกสามประการ”
วิเวกสาม ประกอบด้วย
1. กายวิเวก วิเวกทางกาย กายที่ไม่มีอะไรมารบกวน
2. จิตตวิเวก วิเวกทางจิต จิตที่ไม่มีอะไรมารบกวน ด้วยสติที่ตั้งมั่นระลึกถึงจาคานุสสติ ทานที่สละออก เว้นจากกาม พยาบาท เบียดเบียน นิวรณ์ต่างๆ ด้วยจิตที่เป็นกุศล “สุขโสมนัสที่ประกอบด้วยกุศลธรรมจึงเป็นฐานะที่มีได้ในจิตบุคคล ผู้มีจิตตวิเวก”
3. อุปธิวิเวก วิเวกทางอุปธิ คือ จิตที่สงบระงับจากสังขารทั้งปวง ปราศจากการปรุงแต่ง การปรุงแต่ง นั้นคือ อุปธิ
กิเลส ขันธ์ห้า กุศล อกุศล บุญ บาป นิวรณ์ กายวิเวก จิตตวิเวก และต่างๆ ก็เป็นอุปธิ เหมือนกันหมด ให้เห็น การปรุงแต่ง เปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยงเพราะอาศัยการปรุงแต่งกันและกันแล้ว จึงเกิดขึ้น มีเกิด มีดับ มีเกิด เรียกได้ว่า “เห็นอุปธิ เห็นกระแสแห่งการปรุงแต่งแล้ว ด้วยความวิเวก”
ก็จะมีความคลายกำหนัด คือ วิราคะ จิตน้อมไปในความหน่าย
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความดับได้เป็นธรรมดา สิ่งนั้น ก็ไม่ควรค่าที่จะยึดถือเอาไว้”
จิตก็น้อมไปเพื่อการปล่อยวาง ด้วยสติ ปัญญา ให้เราเข้าถึงอุปธิวิเวก เดินตามทางมรรคมีองค์แปดเพื่อความดับเย็น คือ นิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 26 Dec 2022 - 59min - 289 - การดับปปัญจสัญญา [6551-2m]
เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ให้เกิดสติขึ้น เพื่อที่จะดับ ปปัญจสัญญา
ปปัญจสัญญา คือ อนุสัย หรือกิเลส อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า เป็นเครื่องครอบงำ อุปนิสัย สันดาน หรือความเคยชิน
ที่เกี่ยวเนื่องกับความชอบใจ คือ ราคานุสัยที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดเคือง ไม่พอใจ คือ ปฏิฆานุสัยที่เกี่ยวเนื่องกับความคิดผิด คือ ทิฏฐานุสัยที่เกี่ยวเนื่องกับในลักษณะที่ตั้งคำถาม เคลือบแคลง ไม่ลงใจ คือ วิจิกิจฉานุสัยชนิดที่ถือตัว หมิ่นท่าน เรียกว่า มานานุสัยชนิดที่เป็นตัวตนขึ้นมา คือ ภวราคานุสัย คือ การกำหนัดติดในภพ การพอใจในฐานะ ตำแหน่งความไม่รู้ ไม่เห็นจริงตามความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลาย คือ อวิชชานุสัยเมื่อมีผัสสะเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเกิด เวทนา และเกิดอนุสัย ความเคยชินต่างๆ ต่อเวทนานั้น ไม่ว่าเป็นความ พอใจ ไม่พอใจ ความถูก ความผิด ความขัดเคือง ความสงสัย เกิดความเป็นตัวตน เหล่านี้ ถือเป็น มิจฉา คือ มีกิเลสเพิ่มขึ้น จิตไม่สงบ “การดับปปัญจสัญญานี้ได้ ก็คือ ดับตามเหตุของมัน” นั่นเอง
คือ ต้องมี “สติ” ทีจะแยกแยะสิ่งที่มากระทบ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน
เมื่อไม่เกิดเวทนาใดๆ เพราะเห็นตามความเป็นจริง ก็ไม่เกิดเวทนาที่จะไป เนิ่นช้า ไปแช่ให้ถูกครอบงำ อนุสัยก็ไม่เกิด ปปัญจสัญญาก็ดับ
ก็จะอยู่เหนือเวทนา เหนือสุข เหนือทุกข์ คือ พ้น หรือแยกจากกัน คือ วิมุตตินั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 19 Dec 2022 - 54min
Podcast simili a <nome>
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- รุ่นเก๋า...เล่าเกร็ด Hoy Apisak
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- 1 สมการชีวิต ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 3 ใต้ร่มโพธิบท ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
Altri podcast di Religione e Spiritualità
- Noche de Misterio Caracol Pódcast
- DOSIS DIARIA ROKA Roka Stereo
- Dante Gebel Live Dante Gebel
- ROKA STEREO Podcast Roka Stereo
- El Santo Rosario Guadalupe Radio
- Santo Rosario RadioSeminario
- Código Misterio Código Misterio
- Abierta Mente: Conversaciones con Yoga al Alma Ana Isabel Santa María
- Radio María Colombia Radio María Colombia
- Salve María - Podcast Católico Sebastían Cadavid
- Musica cristiana Glorificar a Dios Todopoderoso
- Música de Relajación para DORMIR Relajación y meditación
- EBC Yeshu'a EBC Yeshu'a
- PREDICAS CRISTIANAS ORACION DE LA MAÑANA
- Padre José Arturo López Cornejo José Arturo López Cornejo
- 🎙️ Podcast de los Caballeros | Heraldos del Evangelio - Caballeros de la Virgen Caballeros de la Virgen
- Dante Gebel MedioLunatico
- Meditaciones católicas Meditaciones católicas
- La Biblia La Biblia
- Estudios Bíblicos, Hna. María Luisa Piraquive, Iglesia de Dios Ministerial de Jesucristo Inter... Maria Luisa Piraquive