Filtra per genere

1 สมการชีวิต

1 สมการชีวิต

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org


Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

319 - การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า [6749-1u]
0:00 / 0:00
1x
  • 319 - การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า [6749-1u]

    เหตุปัจจัยแห่งความตาย

    - เหตุปัจจัยแห่งการตายมีมาก เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่ใช่เรื่องยาก ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอน

    - การรักหรือพอใจในสิ่งใดมาก หากไม่ได้สิ่งนั้นมา “จะตาย” ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่การตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ “ความอยาก (ตัณหา)”

    - เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน (ความยึดถือ)

    เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (สภาวะ)

    เพราะมีภพ จึงมีความเกิด

    เพราะมีความเกิด จึงมีความตาย


    ความตายไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากทุกข์

    - ความตายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ความตายไม่ใช่ตัวแก้ปัญหา เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ความอยาก ดังนั้น แม้จะตายแต่ถ้ายังมีตัณหาหรืออวิชชาอยู่ ก็เป็นเหตุให้ไปเกิดใหม่ เมื่อเกิดใหม่ก็ต้องเจอปัญหาอีก ต้องเจอสิ่งที่เป็นทุกข์อีก ต้องตายอีก ซึ่งความทุกข์ที่จะต้องไปเจอปัญหาใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน

    - ความตายเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากความทุกข์ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ คือ ให้รู้ว่าเหตุปัจจัยของความตายคือการเกิด การเกิดมาจากภพ ภพมาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากตัณหา ถ้ามีตัณหามากมีอุปาทานมาก ความทุกข์ก็จะมาก

    - การฆ่าตัวตายเป็นบาป (ยกเว้นบางกรณีในสมัยพุทธกาล) การฆ่าตัวตายด้วยทิฏฐิที่ไม่ถูกต้องอาจต้องไปเกิดในนรก ซึ่งเป็นภพที่มีความทุกข์มาก ความสุขน้อย


    ผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีบุญ

    - ภพของมนุษย์มีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนกันไป ไม่ใช่มีแต่ทุกข์เพียงอย่างเดียว ต้องมีสุขบ้างอย่างแน่นอน อยู่ที่เราจะมองเห็นหรือไม่

    - การเห็นความจริงเพียงครึ่งเดียวว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์เท่านั้น แล้วรับความจริงไม่ได้ จิตใจก็จะตกต่ำลง แต่หากจิตมีกำลังพอ จะมองเห็นอีกด้านหนึ่งของสุขและทุกข์ การคิดวนแต่เพียงด้านเดียวจะมองไม่เห็น ต้องเงยหน้าขึ้นมามองไปรอบ ๆ ถึงคนที่ยังมีความรักในเราอยู่ เช่น คนในครอบครัว ให้ตั้งสติไว้ ก็จะค่อย ๆ เห็น


    ทางออกของปัญหาในโลกนี้

    - ปัญหาในโลกนี้มีทางออกหลายทาง ซึ่งความตายไม่ใช่ทางออกของปัญหา

    - “หากลำพังเพียงการตายแล้วจะทำให้ปัญหาจบลงตรงนั้น โลกนี้จะไม่มีปัญหาอะไร” แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ปัญหาในโลกนี้ยังคงมีอยู่

    - ตัณหา (ความอยาก) คือ ต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ จึงต้องกำจัดตัณหา

    - จิตใจเราต้องมีเมตตา ให้อภัย ทั้งต่อตัวเราและผู้อื่น จิตใจจะเริ่มเบาขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นตามความเป็นจริงของชีวิตว่า สุขก็มี ทุกข์ก็มี ความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่องดี ๆ ในชีวิต ยังมีอยู่

    - หากไม่เหลือใครในชีวิต ก็ยังมีพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยังมีคำสอนของท่านอยู่


    การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า

    - การมีชีวิตอยู่ด้วยความดี ด้วยความเมตตากรุณา ด้วยการให้อภัย ด้วยความเห็นตามความเป็นจริงว่าสุขก็มีทุกข์ก็มี วินาทีนั้นการมีชีวิตอยู่ของเราก็จะมีคุณค่า มีความหมาย

    - ชีวิตเรามีค่า ตรงที่เราสามารถใส่ปัญญา ใส่ความดี ความเมตตากรุณา ความอดทน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเห็นตามความเป็นจริงในสุขทุกข์ ลงไปในชีวิตได้ การที่เราใส่สิ่งใดลงไปในชีวิต ชีวิตเราก็จะมีค่ามีราคาตามสิ่งนั้นขึ้นมา ชีวิตเรา เราเลือกได้ การเลือกได้นั้นคือการตั้งสติ ระลึกให้ได้ มองให้เห็น ทำความเข้าใจชีวิต ชีวิตในโลกนี้ยังมีโอกาสอยู่เสมอ

    - เหตุการณ์ในชีวิตต่าง ๆ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้เราตั้งสติเห็นว่าชีวิตมีสองด้านทั้งสุขและทุกข์ แล้วตัดสินใจดำรงชีวิตของเราให้มีคุณค่า มีราคา ด้วยปัญญา ด้วยความดี ด้วยเมตตากรุณา ด้วยการให้อภัย ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยการเห็นตามความเป็นจริง ด้วยการเข้าใจชีวิต ให้ทำในขณะที่มีชีวิตอยู่ ทำชีวิตของเราให้มีคุณค่าด้วยสิ่งเหล่านี้



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 01 Dec 2024 - 56min
  • 318 - เครื่องหมายแสดงการได้สมาธิ [6748-1u]

    Q1: เมื่อมรณภาพ ทรัพย์สินของพระสงฆ์ตกแก่ใคร

    A: ของส่วนตัวของพระสงฆ์ ถ้ามีการระบุว่าให้แก่ใครก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าไม่ระบุก็จะตกเป็นของพระอุปัฏฐาก ถ้าไม่มีพระอุปัฏฐากก็จะแบ่งกันในหมู่สงฆ์แล้วแต่ตกลงกัน

    Q2: ฟังข่าวแล้วเกิดความคิดให้คนทำผิดได้ไม่ดี เป็นบาปหรือไม่

    A: บาป เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย

    - เวลาที่เห็นคนอื่นทำไม่ดี ให้เราเรียนรู้ว่าความดีจะเกิดได้แบบไหน ความดีไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการทำไม่ดีต่อ ทำร้ายต่อ หรือตอบโต้ด้วยสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม เปรียบได้กับพื้นบ้านสกปรก ไม่อาจสะอาดได้ด้วยสิ่งปฏิกูลแต่ต้องใช้น้ำสะอาดมาชะล้าง ความสกปรกจึงจะหายไปได้ ดังนั้น ความดีจึงจะเอาชนะความไม่ดีได้

    - สื่อควรจะลงข่าวดีๆ มากกว่าข่าวไม่ดี เพราะคนจะได้เอาไปเป็นตัวอย่างได้

    Q3: เพ่งโทษผู้อื่น ปั่นให้คนอื่นเกลียดตาม

    A: ลักษณะคนดี 4 อย่าง และคนไม่ดี 4 อย่าง

    - คนพาล (คนไม่ดี)

    1. เพ่งโทษ = เห็นแต่ความไม่ดีของผู้อื่น, โทษของผู้อื่นเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก

    2. ลบหลู่คุณท่าน = ดูแคลนด้อยค่าสิ่งที่ผู้อื่นทำดี

    3. ยกตน = ตนทำดีเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก

    4. ปกปิดโทษของตน = ถ้าไม่มีใครถามก็ไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว

    - คนดี (บัณฑิต)

    1. ไม่เปิดเผยโทษผู้อื่น = ถ้าไม่มีใครถามก็จะไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว

    2. เปิดเผยความดีผู้อื่น = แม้ไม่มีใครถาม

    3. เปิดเผยความผิดของตนเอง

    4. ปกปิดความดีของตน = ถ้าไม่มีใครถามก็จะไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว

    - การเป็นศัตรูกับคนไม่ดี ไม่ค่อยฉลาด เพราะเขาจะทำชั่วกับเราได้ตลอด แต่การเปลี่ยนมิตรที่ไม่ดีให้เป็นคนดีจะดีกว่า ห้ามเขาเสียจากบาป ให้ตั้งอยู่ในความดี เราจะเป็นผู้มีอุปการะต่อผู้นั้น ต้องอาศัยเมตตาและปัญญา สังคมนั้นก็จะพัฒนาได้ การอยู่ร่วมกันแบบนี้ ได้ชื่อว่า รักษาตัวเราด้วยและรักษาผู้อื่นด้วย

    Q4: เครื่องหมายที่แสดงถึงการได้สมาธิ

    A: หากความคิดในทางอกุศลดับ ไม่คิดเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน นั่นคือ จิตเป็นสมาธิแล้ว หากจิตเผลอไปคิดเรื่องเหล่านั้นก็ต้องตั้งสติขึ้นใหม่ โดยให้จิตกลับมาอยู่กับฐานที่ตั้ง (กรรมฐาน เช่น การฟัง ลมหายใจ พุทโธ) ยับยั้งจิตไม่ให้ไปในทางอกุศลด้วยอำนาจของสติ เมื่อมีสติแล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้นได้

    - สัมมาทิฏฐิ (รู้ว่า กาม พยาบาท เบียดเบียนเป็นสิ่งไม่ดี) สัมมาวายะ (ความพยายามระลึกถึงสิ่งที่ดี) และสัมมาสติ (ความระลึกถึงสิ่งที่ดีนั้น) ต้องประกอบกันจึงจะทำให้เกิดสมาธิขึ้นได้

    - ระดับของสมาธิ

    ฌาน 1 มีความคิดอยู่ แต่หลุดจากเรื่อง กาม พยาบาท เบียดเบียน

    ฌาน 2 มีความคิดเพียงเรื่องเดียว

    ฌาน 3 มีอุเบกขา ความวางเฉยในเรื่องเดียวนั้น

    ฌาน 4 วางสุขที่เกิดจากอุเบกขา ให้เหลือแต่อุเบกขาล้วน ๆ

    - การฝึกสมาธิ สามารถทำได้ทุกอิริยาบถ

    Q5: สวดมนต์หรือนั่งสมาธิ เพียงอย่างเดียว

    A: ได้ เพราะทางแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ทาง ได้แก่ 1. ฟังธรรม 2. แสดงธรรม 3. ใคร่ครวญธรรม 4. สาธยายธรรม (สวดมนต์) และ 5. นั่งสมาธิ

    Q6: อานุภาพของบทสวดมนต์

    A: ให้ตรวจสอบก่อนว่าบทสวดมนต์นั้นมีในพระไตรปิฎก ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ ถ้าลงกันไม่ได้ เข้ากันไม่ได้ เทียบเคียงแล้วไม่มี ก็ให้ยกออกไป แต่ถ้าเทียบแล้วมี ก็นำเอามา

    Q7: พระพุทธเจ้าทรงใช้ขันติกับเรื่องไหนมากที่สุด

    A: ทุกรกิริยา เพราะอีกนิดเดียวจะเสียชีวิตแล้ว

    Q8: การบวชชี

    A: ภิกษุณีไม่มีในประเทศไทย แต่จะมีอุบาสิกาห่มชุดขาวประพฤติพรหมจรรย์

    - สมาคมแม่ชีไทย ช่วยในการประพฤติพรหมจรรย์ของผู้หญิง

    Q9: ขอหวยจากศาลพระภูมิที่บ้าน

    A: พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าคนเราจะสำเร็จอะไรขึ้นมาสักอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยเหตุเพียงการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร”

    - การเล่นหวย เป็นความเมาในโภคทรัพย์ เมาในความหวัง ในสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เป็นการพนัน เป็นอบายมุขควรหลีกเลี่ยง



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 24 Nov 2024 - 56min
  • 317 - ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u]

    ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไป

    A: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น

    ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

    วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้

    1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง

    - “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ

    = ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม

    = ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4

    - เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

    2. เจริญอิทธิบาท 4

    (1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน

    (2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ

    (3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ

    (4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า

    - ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้

    3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ

    - "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา

    - “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม

    - “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่

    (1) กามฉันทะ = ความพอใจในกาม สิ่งของภายนอก

    (2) พยาบาท = ความคิดอาฆาต ปองร้าย ให้เขาได้ไม่ดี

    (3) ถีนมิทธะ = ความง่วงซึม ความหดหู่ ท้อแท้ท้อถอย

    (4) อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกวิจารณ์

    (5) วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลง ไม่ลงใจ

    4. ลดความเครียดในการทำงาน

    - วิธีสังเกตว่ามีความเครียดในการทำงาน คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น

    - วิธีคลายความเครียด เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนสายตา ออกกำลังกาย สวดมนต์ นอน เดิน

    - วิธีที่ไม่ใช่การคลายความเครียด คือ ไปหากาม เช่น การเล่นโทรศัพท์

    - “การเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ” คือ การนำธรรมฉันทะมาเพื่อละกามฉันทะ

    - เราต้องมีวิธีการลด ละความเครียดในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

    โดยสรุป:

    “ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานให้สำเร็จและสามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้ได้ โดยต้องเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง เจริญอิทธิบาท 4 คงไว้ซึ่งสมาธิ และลดความเครียดในการทำงาน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้”



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 17 Nov 2024 - 56min
  • 316 - การเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์ [6746-1u]

    Q1: ชีวิตที่พลิกผันกรณี The icon

    A: เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เห็น

    1. เห็นโลกธรรม ความไม่เที่ยง คือ สุขทุกข์ ได้ลาภเสื่อมลาภ สรรเสริญนินทา

    2. เห็นการตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อมีสุข ไม่ได้สังเกตเห็นความไม่เที่ยงของความสุขนั้น เมื่อความสุขนั้นเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดทุกข์มาก

    3. ค่านิยมของคนสมัยนี้ คือ ความสำเร็จทางวัตถุ ทางกายภาพ แต่ค่านิยมของคนสังคมที่ควรจะมี คือ ความเป็นผู้มีศีล ซึ่งเครื่องหมายของผู้มีศีลคือ ดูว่าเมื่อถูกกระทำ แนวความคิด การกระทำทางกาย คำพูด เป็นไปในทางที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีโจรเสื้อนอก คือ สร้างภาพภายนอกว่าเป็นคนดีแต่ความจริงกำลังหลอกคนอื่นอยู่ เราจึงต้องป้องกันตัวเราเอง ด้วยการเข้าใจความไม่เที่ยงของสุขทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ได้เร็ว ถือเป็นบทเรียน ไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่อาฆาตใคร

    Q2: การเทศน์ของพระสงฆ์

    A: ด้านภายนอก: ไม่เทศน์ให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมในการฟังธรรม เช่น ถืออาวุธในมือ สวมหมวก สวมรองเท้า อยู่ในที่สูงกว่า หรือแสดงถึงความไม่เคารพ

    - ด้านเนื้อหาในการเทศน์: ไม่พูดเรื่องโลก ให้พูดเรื่องอริยสัจ 4

    - การประทุษร้ายสกุล เป็นอาบัติของพระข้อหนึ่งหากมีคนมาโจทก์ คือ การทำให้บุคคลนั้นมาศรัทธาในตัวเองคนเดียวมากกว่าศรัทธาในระบบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    - ปัจจุบันมีการตัดคลิปบางช่วงของการเทศน์ จึงควรฟังเทศน์ทั้งหมด ไม่ฟังฉาบฉวย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด

    Q3: ฆราวาสติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่

    A: ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม ให้ “ยกย่อง” บุคคลที่ควรยกย่อง ในสิ่งที่ควรยกย่อง และ “ติเตียน” บุคคลที่ควรติเตียน ในสิ่งที่ควรติเตียน

    - คนเราไม่ได้ดีหรือชั่วโดยส่วนเดียวทั้งหมด มีทั้งเรื่องที่ทำดีและทำไม่ดี ดังนั้น จะเหมาว่าเขาดีหรือไม่ดีไม่ได้ จึงต้องแยกแยะแต่ละเรื่อง

    - การติเตียนไม่ใช่การด่าบริภาษ (ด่าด้วยคำหยาบคาย จิตอาฆาต ต้องการให้เขาได้ไม่ดี) การติเตียนจะดูไปตามแต่ละสถานการณ์ ด้วยจิตเมตตา ชี้โทษให้เห็นว่าไม่ตรงตามคำสอนอย่างไร

    - การยกย่องไม่ใช่การสรรเสริญเยินยอ การยกย่อง คือ การพูดถึงอานิสงส์ในสิ่งที่เขาทำดีนั้น

    Q4: การทำคุณไสย

    A: พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้พระสงฆ์ทำคุณไสย เพราะจะเป็นการหลอกผู้อื่นให้ไปทางสุดโต่งทั้งสองข้างที่ไม่ใช่ทางสายกลาง (มรรค) ทำให้หลุดออกจากทางไปสู่นิพพานอันเป็นทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง

    Q5: การเลี้ยงสัตว์

    A: การเลี้ยงสัตว์อย่าเบียดเบียนเขา อย่าต่อว่าเขา อย่าทำร้ายเขา ส่วนสัตว์จะได้รับการเลี้ยงดูได้ดีแค่ไหนก็เป็นไปตามกรรมของเขา

    Q6: เตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์

    A: พระพุทธเจ้าเปรียบตัวเราเป็นเมือง ที่มี “จิต” เป็นเจ้าเมือง เพื่อการรักษาเมืองไว้ ต้องกระทำดังนี้

    1. มียามเฝ้าไว้หน้าประตู = เปรียบได้กับ “สติ” เป็นนายทวารเฝ้าไว้ เพื่อระวังบาปอกุศลธรรม ที่จะผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเกิดจากผัสสะที่น่าพอใจ (ความเพลินความลุ่มหลง) และผัสสะไม่น่าพอใจ

    2. มีเสบียง = เปรียบได้กับ “สมาธิ” เพื่อเลี้ยงดูในเมืองให้เหมาะสม

    3. มีกองกำลัง = เปรียบได้กับ “ความเพียร”

    4. มีอาวุธ = เปรียบได้กับ “การฟังธรรม”

    - เมื่อเตรียม 4 อย่างข้างต้นไว้แล้ว เราจะมีความกล้า ไม่กลัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามา

    - โดยสรุป : เราต้องรักษาจิตใจของเราให้เหมือนเมืองกายเมืองใจ เพื่อเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะเข้ามา ผู้ที่มีชีวิตอย่างนี้เรียกว่าเป็น “ผู้ไม่ประมาท”

    Q7: นิพพาน กับการไม่แต่งงาน ไม่มีลูก

    A: เหตุปัจจัยที่จะไปนิพพาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    - ชีวิตความเป็นอยู่ในโลกไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม หากมีศีล สมาธิ ปัญญา ก็สามารถไปนิพพานได้



    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 10 Nov 2024 - 56min
  • 315 - ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาดและสมบัติ 3 ประการ [6745-1u]

    ช่วงไต่ตามทาง : ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาด

    - คุณแม่สมบูรณ์อายุ 80 ปี ทางด้านร่างกายได้รับการดูแลอย่างดีจากลูกหลาน แต่ด้านจิตใจมีความร้อนใจ มีความกังวลใจในลูกหลานมาก จึงให้สมาทานพระรัตนตรัยและสมาทานศีล เมื่อมีศีลแล้วก็จะไม่มีความร้อนใจ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ จึงให้ภาวนา “พุทโธ” เพื่อเป็นหลักกำหนดสติ ให้จิตมีสติตั้งไว้ พร้อมกับให้มีปัญญาร่วมด้วย ศีลกับปัญญาจะทำให้เกิดสมาธิได้


    - วิธีขจัดความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ

      (1) กังวลใจในสิ่งของ = ให้เข้าใจว่า “สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง”ให้คลายความกังวลผูกพันต่อสิ่งนั้น

      (2) กังวลใจในบุคคล = ให้เข้าใจว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ให้คลายความกังวลในบุคคลนั้น

      (3) กังวลใจในกายของตน = ให้เข้าใจว่า“กายนี้เป็นของที่เกิดมาจากธาตุดินน้ำลมไฟ มีความแตกไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา อย่าไปยึดถือกังวล เปรียบเหมือนภาชนะหม้อดินที่เก่าแล้วมีรอยรั่ว หันไปเอาภาชนะทองคำดีกว่าซึ่งเปรียบได้กับกายของเทวดา”

      (4) กังวลใจในชาติภพหน้าของตน = ให้เข้าใจว่า “ถ้ามีกรรมดี ก็จะไปในที่ที่ดี”ก็จะไปสวรรค์ได้ ให้นึกถึงทาน นึกถึงศีลที่ตนเคยทำไว้ และหากเจริญ “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ก็จะไปพรหมโลกได้ เมื่อจิตชุ่มเย็นไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว ให้เห็นว่า “กายและใจ รูปและนาม ในตัวของเรา มันไม่ใช่ของเรา ให้ปล่อยวาง”

    - การทำความเข้าใจเป็นขั้นตอนในเรื่องเหล่านี้ ผลที่ตามมาคือจะมีธรรมะเป็นเครื่องป้องกันความขลาดทำให้จิตไม่มีความกลัว ไม่มีความกังวลได้ 

     

    ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : สมบัติ 3 ประการ

    - ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ยังมีสมบัติอื่นที่มีคุณค่ามากกว่า และคุณค่านั้นไม่แปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม ความเข้าใจในเรื่องคุณค่าของสมบัตินี้จะทำให้เราไม่ถูกหลอก

    - สมบัติแบ่งเป็น 3 ระดับ

      (1) มนุษยสมบัติ (เสื่อมได้) = รัตนะ 7 อย่าง ฤทธิ์ 4 อย่าง ได้มาโดยการทำมาหากินหรือลงทุน

      (2) ทิพยสมบัติ (เสื่อมได้) = อาหารทิพย์ อากาศเย็นสบายตลอดเวลา ได้มาโดยการทำทาน รักษาศีล

      (3) นิพพานสมบัติ (ไม่มีความเสื่อมปรากฏ) = เป็นสมบัติที่มีคุณค่ามาก ประณีตกว่า และยั่งยืนกว่า ได้มาโดยการเจริญภาวนาเห็นความไม่เที่ยง 


    - อริยทรัพย์ 7 ประการที่จะนำมาซึ่งทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติ อันเป็นทรัพย์ที่ไม่เป็นสาธารณะกับผู้อื่น ได้แก่

      (1) ศรัทธา = ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

      (2) ศีล

      (3) หิริ = ความละอายต่อบาป

      (4) โอตตัปปะ = ความเกรงกลัวต่อบาป

      (5) พาหุสัจจะ = การศึกษาเล่าเรียน 

      (6) จาคะ = การสละออก ซึ่งจะได้รับผลมากหรือน้อย พิจารณาจากทานสมบัติ 3 ประการ คือ 1. ผู้รับมีคุณธรรมดีเป็นเนื้อนาบุญ 2. สิ่งของที่ให้บริสุทธิ์ และ 3. มีจิตตั้งใจให้

      (7) ปัญญา

    - ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราสามารถสร้างอริยทรัพย์เพื่อเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติได้อยู่ตลอด ซึ่งสามารถทำไปพร้อมกับการสร้างมนุษยสมบัติได้




    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Sun, 03 Nov 2024 - 57min
Mostra altri episodi

Podcast simili a <nome>