Filtra per genere
- 92 - ASEAN Eyes EP. 47: คริสต์มาส ปีใหม่ และตรุษจีน ความงามแห่งความกลมกลืนในอุษาคเนย์
คริสต์มาส ปีใหม่ และตรุษจีน นำเอาบรรยากาศของความรื่นเริงมาถึงในเดือนธันวาคมปีนี้และมกราคมปีหน้า อุษาคเนย์เฉลิมฉลองเทศกาลที่มาจากหลายวัฒนธรรมไปพร้อมกัน แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลายที่มีมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ บ่งบอกบุคลิกยืดหยุ่นเปิดกว้างของผู้คน อันเป็นความแข็งแกร่งและสวยงามของภูมิภาค
Tue, 27 Dec 2022 - 25min - 91 - ASEAN Eyes EP. 46: คนรุ่นใหม่ในวันนี้
Millennial และ Generation Z คนรุ่นใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทเชิงเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลก เกิดและเติบโตมาในยุคอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีทัชสกรีน และอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย เป็นคนรุ่นที่เชื่อมโยงติดต่อกับโลกทั้งโลกผ่านปลายนิ้ว แต่เหตุใดจึงยังไม่สามารถแสดงพลังขับเคลื่อนทางการเมืองไปในทิศทางที่ก้าวหน้าได้เหมือนคนรุ่นก่อน เวลาเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้
Tue, 20 Dec 2022 - 26min - 90 - ASEAN Eyes EP. 45: คนรุ่นใหม่ในวันนั้น - "คนรุ่น 1998" แห่งอินโดนีเซีย
เมืองไทยมีคนเดือนตุลาฯ อินโดนีเซียก็มีคนรุ่น 1998 หรือนักศึกษาอายุ 20 - 30 ปี และนักกิจกรรมการเมืองที่ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มอำนาจ 32 ปีของประธานาธิบดีซูฮาร์โตใน พ.ศ. 2541 ปิดฉากยุคสมัยของการควบคุมสิทธิเสรีภาพ เริ่มกระบวนการปฏิรูปกองทัพและปฏิรูปการเมือง นำอินโดนีเซียเข้าสู่ยุคใหม่อย่างไม่หันหลังกลับ แต่คนรุ่นใหม่ในวันนั้นบางคน ต้องจ่ายราคาที่แพงถึงชีวิตกว่าจะได้มาซึ่งความสำเร็จ นี่คือเรื่องราวของพวกเขา
Tue, 13 Dec 2022 - 26min - 89 - ASEAN Eyes EP. 44: คนรุ่นใหม่ในวันนั้น - การปฏิวัติพลังประชาชนฟิลิปปินส์
36 ปีที่ผ่านมา นักศึกษาและประชาชนชาวฟิลิปปินส์ 2 ล้านคน ออกเดินขบวนไปตามถนนในกรุงมะนิลาเพื่อต่อต้านประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ผู้นำที่ครองอำนาจเผด็จการยาวนานถึง 20 ปี การเดินขบวนใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ "การปฏิวัติพลังประชาชน" บรรลุเป้าหมายหลังจากที่ต่อสู้มายาวนาน มาร์กอสและครอบครัวขึ้นเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ หนีออกจากประเทศ และเสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกาสามปีให้หลัง ในบรรดาผู้ลุกขึ้นสู้จนประสบความสำเร็จ มีคนหนุ่มสาวในขบวนการนักศึกษาทั่วประเทศที่หลายคนต้องสละชีวิตในวัยสดใสเบิกบานเพื่ออุดมการณ์ที่ตนเองเชื่อมั่น เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และความทรงจำของประเทศ
Tue, 06 Dec 2022 - 24min - 88 - ASEAN Eyes EP. 43: คนรุ่นใหม่ในวันนั้น - อันวาร์ อิบราฮิม แห่งมาเลเซีย
ไม่ว่าเป็นรุ่นไหนก็เคยใหม่มาก่อน อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีใหม่ถอดด้ามของมาเลเซียวัย 75 ปี เคยเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง ผู้นำนักศึกษาเลือดร้อนเมื่อ 40 - 50 ปีมาแล้ว ก่อนจะกลายมาเป็นศิษย์เอกของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด พ่อมดการเมืองผู้มีอำนาจล้นฟ้า ชะตาชีวิตของคนทั้งสองที่ผูกพันกันมาหลายทศวรรษ มีผลกำหนดชะตาสังคมและการเมืองของประเทศ เป็นเส้นทางของอดีตคนรุ่นใหม่ที่ทิ้งวัยเยาว์ไว้เบื้องหลัง ผ่านชีวิตวกวนประหนึ่งนิยาย
Tue, 29 Nov 2022 - 25min - 87 - ASEAN Eyes EP. 42: อ่านนิยาย อ่านอุษาคเนย์ - Ministry of Moral Panic รวมเรื่องสั้นสุดล้ำสะท้อนความปั่นป่วนของสิงคโปร์ยุคเก่าและใหม่
Ministry of Moral Panic หนังสือรวมเรื่องสั้นสัญชาติสิงคโปร์ โดยนักเขียนหญิง อมานดา ลี โค (Amanda Lee Koe) หยิบประเด็นสารพัดมาเคี่ยวปรุง ไม่ว่าจะเป็นความรัก แรงงานอพยพ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือเพศ แล้วเสิร์ฟด้วยลีลาที่ไม่เหมือนใคร สะท้อนภาพสิงคโปร์ยุคนี้และในอดีต จนได้รับรางวัลวรรณกรรมแห่งชาติสิงคโปร์สาขานวนิยายภาษาอังกฤษ
Tue, 22 Nov 2022 - 28min - 86 - ASEAN Eyes EP. 41: อ่านนิยาย อ่านอุษาคเนย์ - Beauty Is a Wound นิยายสัจนิยมมหัศจรรย์อินโดนีเซีย เมื่อเรื่องเหนือจริงเล่าประวัติศาสตร์
บ่ายวันหนึ่งในเดือนมีนาคม เทวี อายู โสเภณีที่สวยที่สุดในจักรวาลผู้ตายไปแล้ว 21 ปี ลุกขึ้นจากหลุมศพแล้วเดินกลับบ้าน เรื่องของเธอและผู้คนในเมืองเล็ก ๆ ริมทะเล บอกเล่าประวัติศาสตร์อินโดนีเซียในศตวรรษที่ 20 ผ่านลีลาการเขียนแนว "สัจนิยมมหัศจรรย์" ของนักเขียนหนุ่ม เอ็กก้า คูร์นิยาวัน (Eka Kurniyawan) ชาวอินโดนีเซีย ผู้ที่นักวิจารณ์อาจหาญเปรียบเขากับ กาเบรียล การ์เซีย มาเกซ (Gabriel Garcia Marquez) นักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบล และ Murakami นักเขียนญี่ปุ่นชื่อดัง นวนิยาย Beauty Is a Wound ของเขาประสบความสำเร็จในการนำงานวรรณกรรมอินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่งอย่างน่าชื่นชม
Tue, 15 Nov 2022 - 23min - 85 - ASEAN Eyes EP. 40: อ่านนิยาย อ่านอุษาคเนย์ - The Symperthizer จุดจบของสายลับเวียดนาม
The Sympathizer นวนิยายสงครามความยาวราว 370 หน้า เขียนขึ้นในปี 2558 โดย เวียด ตัน เหงียน ชาวเวียดนามที่อพยพไปอยู่อเมริกา ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลมากมายและได้รับการยกย่องว่าเป็นนิยายสงครามคลาสสิก ที่ตั้งคำถามต่อทั้งการโฆษณาชวนเชื่อของอเมริกา และผลพวงที่แท้จริงของการปฏิวัติสังคมนิยมเวียดนาม ผ่านคำสารภาพของสายลับเวียดนามเหนือผู้หนึ่ง นอกจากนั้นยังหยิบยกประเด็นร่วมสมัยของผู้อพยพภัยสงครามไปตั้งหลักแหล่งในโลกตะวันตก ด้วยการบรรยายความรู้สึกแปลกแยกและความสิ้นหวังของของผู้อพยพเวียดนามในสังคมอเมริกัน
Tue, 08 Nov 2022 - 24min - 84 - ASEAN Eyes EP. 39: อ่านนิยาย อ่านอุษาคเนย์ - "And the Rain my Drink" กับประวัติศาสตร์บทที่หายไปของมาเลเซีย
ไม่มีสิ่งใดจะถ่ายทอดความรู้สึกได้ดีเท่านวนิยาย ประวัติศาสตร์การเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ใช่เพียงเรื่องของผู้นำเพียงหยิบมือ แต่เกี่ยวพันกับชีวิตและความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดานับล้านมานับแต่ไหนแต่ไร น่าเสียดายที่เรื่องราวของพวกเขามักเลือนหายไปจากความทรงจำ And the Rain My Drink เป็นนวนิยายการเมืองที่เขียนขึ้นกว่า 60 ปีมาแล้ว โดย โรซาลี ชู (Rosalie Chou) นักเขียนลูกครึ่งจีน-เบลเยียมเจ้าของนามปากกา ฮัน ซูหยิน (Han Suyin) เล่าเรื่องราวการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์มลายาภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่ประกาศโดยเจ้าอาณานิคมอังกฤษในทศวรรษ 1950s อย่างมีอรรถรส และแตะประเด็นการเมืองที่เปรียบเสมือนหนามแหลมคอยทิ่มแทงใจผู้คนในมาเลเซียนับแต่ช่วงของการสร้างชาติมาจนถึงปัจจุบัน
Tue, 01 Nov 2022 - 28min - 83 - ASEAN Eyes EP. 38: ศรัทธาลี้ลับแห่งอุษาคเนย์ - เมื่อหมอผี "โบโมห์" เล่นเอาเถิดกับอูลามาในมาเลเซีย
“โบโมห์” (Bomoh) หรือ “ปาวัง” (Pawang) หรือ “ดูคุน” (Dukun) เป็นคำภาษามลายู แปลว่า “หมอผี” ใช้เรียกผู้เชี่ยวชาญในการที่ประกอบพิธีทางไสยศาสตร์โดยมีเป้าหมายต่าง ๆ เช่น การรักษาโรค ทำนายทายทัก ปัดเป่าภัยอันตราย หรือแม้กระทั่ง “ทำของ” เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่สิงสถิตย์อยู่ในคาบสมุทรมลายูมาตั้งแต่ก่อนศาสนาอิสลามจะเดินทางมาถึง
“โบโมห์” ถูกตีตราว่าเป็นพ่อมดหมอผีที่กระทำการขัดแย้งต่อหลักศาสนา ที่บางยุคมีการปราบปรามอย่างรุนแรง แต่ปัจจุบัน “โบโมห์” ยังสืบทอดกันมาในมาเลเซียและสิงคโปร์ ทำงานให้บริการทางไสยศาสตร์แก่ใครก็ตามที่ศรัทธา แม้จะต้องเล่นเอาเถิดกับเจ้าหน้าที่ทางศาสนาศัตรูเก่าแต่ครั้งกระโน้นก็ตามที
Tue, 25 Oct 2022 - 27min - 82 - ASEAN Eyes EP. 37: ศรัทธาลี้ลับแห่งอุษาคเนย์ - ร่างทรง และ "ผีสงคราม" ในเวียดนาม
ในนวนิยายเรื่องหนึ่งของ บ๋าว นิญ นักเขียนชื่อดังชาวเวียดนาม ใช้เสียงร้องไห้คร่ำครวญของ "ผีสงคราม" วิญญาณเร่ร่อนของเหล่าทหารที่ตายอย่างศพไร้ญาติในป่า เป็นสัญลักษณ์แทนความโศกเศร้าจากสงครามเวียดนามในใจของคน ความเศร้านี้มีอยู่จริงในครอบครัวชาวเวียดนามนับพันที่ยังหาศพสมาชิกในครอบครัวที่ออกรบในป่าเขาแล้วไม่กลับมาได้พบ ด้วยความเชื่อว่าถ้าปราศจากการทำพิธีศพที่ถูกต้องแล้ว วิญญาณของพวกเขาจะร่อนเร่น่าเวทนาไปชั่วนิรันดร์ คนจำนวนมากจึงฝากความหวังไว้ที่ร่างทรงผู้มีญานพิเศษให้ติดต่อกับโลกของคนตาย ช่วยชี้ทางให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ส่งดวงวิญญานของผู้เป็นที่รักสู่สุคติ
Tue, 18 Oct 2022 - 27min - 81 - ASEAN Eyes EP. 36: ศรัทธาลี้ลับแห่งอุษาคเนย์ - หมอดู ผู้นำ และอาณัติของดวงดาว
โหราศาสตร์กับดาราศาสตร์คือศาสตร์เดียวกันในยุคพันปีก่อนคริสตกาล ก่อนค่อย ๆ แยกทางเมื่อโลกตะวันตกหันเข้าหาเหตุผลเป็นทางนำของชีวิต แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจเปลี่ยนสังคมสู่วัตถุนิยม ประวัติศาสตร์ชี้ว่าบทบาทของโหรและหมอดูยั่งยืนต่อเนื่องมาในอุษาคเนย์มานับร้อยปี คนทุกฐานะชนชั้นยังมีโหราศาสตร์เป็นหนึ่งในเครื่องปลอบใจยามชีวิตไม่แน่นอน หมอดูปรากฏตัวอยู่ทุกที่รวมทั้งในปราสาทราชวังและศูนย์กลางอำนาจการเมือง อยู่เคียงข้างผู้นำบางคนในการตัดสินใจที่ส่งผลต่อประเทศชาติ
Tue, 11 Oct 2022 - 30min - 80 - ASEAN Eyes EP. 35: ศรัทธาลี้ลับแห่งอุษาคเนย์ - นายทวารแห่งภูเขาไฟเมอราปี
"เมอราปี" หนึ่งในภูเขาไฟที่ดุร้ายที่สุดของอินโดนีเซีย มีตำนานเล่าขานกันมานับพันปีในฐานะภูเขาไฟศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรชวาโบราณ ปัจจุบันแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป เมอราปียังเป็นภูเขาไฟที่มีนายทวาร หรือมนุษย์ผู้ทำหน้าที่สื่อสารทางจิตวิญญาณกับมัน ปกป้องผู้คนจากความโกรธเกรี้ยวของภูเขาไฟด้วยการเซ่นสรวงบูชา ชวนฟังเรื่องของนายทวารผู้พิทักษ์วิญญานของเมอราปีผู้หนึ่งที่ยืนยันทำหน้าที่ของตนจนตัวตาย
Tue, 04 Oct 2022 - 28min - 79 - ASEAN Eyes EP. 34: อาเซียน.. โควิดไปแล้วอย่างไรต่อ?
คำประกาศของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตรายและกำหนดให้เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป สอดคล้องกับทิศทางของประเทศอาเซียนที่พร้อมโบกมือลาฝันร้าย แล้วเปิดประตูรับโอกาสทางเศรษฐกิจให้ประชาชนได้ลืมตาอ้าปากอีกครั้งหนึ่ง แต่การจากไปของโควิด-19 ไม่ได้หมายถึงการจากไปของอุปสรรคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามยูเครน และสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนถ้วนหน้า วัดฝีมือรัฐบาลประเทศอาเซียนว่าจะนำพาประชาชนให้ผ่านพ้นอุปสรรคยุคหลังโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด
Tue, 27 Sep 2022 - 28min - 78 - ASEAN Eyes EP. 33: กว่าจะเป็นประเทศในอาเซียน
ประเทศเอเชียตะวันออกฉียงใต้ส่วนใหญ่ยกเว้นประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตกในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 บางประเทศผ่านสงครามต่อต้านเจ้าอาณานิคมที่โหดร้ายยาวนาน โลกเปลี่ยนไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ลัทธิล่าอาณานิคมตกสมัย ดินแดนใต้อาณานิคมทยอยประกาศเอกราชก่อตั้งประเทศมีระบบการปกครองที่ต่างกันออกไปและเก็บความทรงจำทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ตน ความบอบช้ำมาถึงอีกระลอกพร้อมสงครามเย็นที่แบ่งแยกโลกออกเป็นสองขั้ว ความเติบโตมาถึงเมื่ออาเซียนเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เผชิญความท้าทายของโลกยุคใหม่ไม่จบสิ้น ประวัติศาสตร์การก่อร่างสร้างตัวเป็นประเทศของอาเซียนถูกย้ำเตือนในวันชาติ เพื่อไม่ให้สูญหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นใหม่
Tue, 20 Sep 2022 - 27min - 77 - ASEAN Eyes EP. 32: วิถีทุจริตในอาเซียน
คอร์รัปชันเปรียบเหมือนรูรั่วในกระเป๋า ที่แม้มีเงินมากแค่ไหนก็มักรั่วไหลไปสู่มือลึกลับที่ไม่อาจระบุได้ ดัชนีชี้วัดระดับการทุจริตให้คะแนนสิงคโปร์สูงสุดในฐานะประเทศปลอดคอร์รัปชัน ส่วนกัมพูชาครองแชมป์ยอดแย่ติดกันมาหลายปี ในขณะที่ประชาชนอีกหลายประเทศมองว่าการทุจริตในประเทศของตนเองมีแต่จะเลวร้ายลง ลีลาทุจริตในประเทศอาเซียนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ฟังตัวอย่างของมาเลเซียและกัมพูชา เข้าใจเพื่อนบ้านแล้วย้อนคิดเข้าใจตน
Tue, 13 Sep 2022 - 30min - 76 - ASEAN Eyes EP. 31: Spy Game: จุดจบที่ไม่สวยของสายลับยุคใหม่ ดิ๊กสัน โหยว (Dickson Yeo)
ขณะที่บางอาชีพอาจหายไปตามกาลเวลา แต่อาชีพสายลับยังอยู่ยงคงกระพัน ดูได้จาก "โหยว จุน เว่ย" (Yeo Jun Wei) หรือ ดิ๊กสัน โหยว (Dickson Yeo) นักศึกษาปริญญาเอกชาวสิงคโปร์ ผู้รับจ๊อบหาข่าวกรองให้จีนในวัย 30 กว่า ๆ ใช้ฉากหน้าของความเป็นนักวิชาการล้วงความลับในวอชิงตัน ดีซี แต่พลาดท่าถูกจับติดคุกทั้งในสหรัฐฯ และสิงคโปร์บ้านเกิด ลีลาการสร้างเครือข่ายหาข่าวกรองของเขาชี้ถึงความสำคัญของโซเชียลมีเดียที่กลายเป็นเครื่องทุ่นแรงของแทบทุกอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่สายลับ
Tue, 06 Sep 2022 - 26min - 75 - ASEAN Eyes EP. 30: ภรรยามหาภัย "รอสมาห์ มันโซร์" แห่งมาเลเซีย
รอสมาห์ มันโซร์ (Rosmah Mansor) ภรรยาอดีตนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก แห่งมาเลเซีย เจ้าของฉายา "สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งการชอปปิง" ตกที่นั่งลำบากเมื่อศาลสูงสุดตัดสินจำคุกสามีของเธอเป็นเวลา 12 ปี โดยคดีอื่น ๆ อีกหลายสิบกำลังจะตามมา ตัวเธอเองอาจเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกันจากคดีทุจริตหลายคดี รวมทั้งคดีประวัติศาสตร์ 1MDB ที่สามีเป็นจำเลยใหญ่ ครั้งหนึ่งรอสมาห์มีอำนาจวาสนา ใช้ชีวิตหรูหรา และว่ากันว่าเป็นผู้ไม่รีรอที่จะแสดงอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการเมือง เป็นเหตุผลที่แท้จริงในการนำพานาจิบ ราซัก และเศรษฐกิจมาเลเซียดิ่งลงเหว
Tue, 30 Aug 2022 - 27min - 74 - ASEAN Eyes EP. 29: หัวใจนักเขียน: ปราโมทยา อานันตา ตูร์
ปราโมทยา อนันตา ตูร์ แห่งอินโดนีเซีย เป็นนักเขียน นักต่อสู้ และเป็นตำนาน นวนิยายชุดจตุรภาคเกาะบูรูของเขาส่งให้เขาเป็นนักเขียนอินโดนีเซียและนักเขียนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงผู้เดียวที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรองวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมหลายครั้ง ในขณะที่จตุรภาคเกาะบูรูเล่าเรื่องชีวิตจริงของบิดาแห่งการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ วิธีอันแยบคายที่ปราโมทยาเขียนนวนิยายเรื่องนี้ในภาวะไร้ซึ่งเสรีภาพ ก็ส่งให้ชีวิตเขามีสีสันไม่ผิดกับนิยายอีกเรื่องหนี่ง ย้ำเตือนถึงพลังแห่งการเขียนจากใจที่มุ่งมั่น
Tue, 23 Aug 2022 - 30min - 73 - ASEAN Eyes EP. 28: ทรัพยากรเลือด: แรร์เอิร์ธ กับสภาพถังขยะราคาถูกของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ทรัพยากรชื่อแปลกฉายาไวตามินแห่งโลกสมัยใหม่ คือความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ของโลกยุคไฮเทค แต่อาจมีราคามากกว่าชีวิตคนธรรมดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศ เรื่องของมาเลเซียและเมียนมาเป็นอุทาหรณ์แสดงถึงอำนาจการตัดสินใจของผู้นำที่ผลักให้ประเทศตนกลายเป็นถังขยะและโรงงานราคาถูกภายใต้กำลังทรัพย์ของประเทศร่ำรวย
Tue, 16 Aug 2022 - 30min - 72 - ASEAN Eyes EP. 27: ทรัพยากรเลือด: ทาส
ความร่ำรวยทางทรัพยากรในอุษาคเนย์ทั้งในน้ำ บนบก บนดิน และใต้ดินช่างหลากหลายน่าตื่นตาตื่นใจมาแต่อดีต แต่มีทรัพยากรชนิดหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ นั่นคือ “ทาส” ทรัพยากรมีชีวิตที่ถูกกวาดต้อนและไล่ล่าเพื่อค้าขายทำกำไรมานับพันปี ในยุคก่อนอาณานิคม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่งออกและรับทาสจากกันและกัน แต่ทุกวันนี้การค้าทาสหมดไปแล้วจริงหรือ บัดนี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน
Tue, 09 Aug 2022 - 31min - 71 - ASEAN Eyes EP. 26: ทรัพยากรเลือด: รัฐโบราณ เจ้าอาณานิคม และสงครามพริกไทย
"อาเจะห์" ในยุคโบราณเป็นรัฐอิสลามทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ที่เมื่อ 500 ปีที่แล้วรุ่งเรืองมั่งคั่งจากการส่งออกพริกไทยถึงครึ่งหนึ่งของตลาดโลก ความร่ำรวยที่มาจากพริกไทยได้นำพาสงครามมาด้วยกว่าร้อยปี จนกระทั่งลัทธิล่าอาณานิคมเดินทางมาถึง อาเจะห์เข้าสู่สงครามใหญ่ที่ยืดเยื้อยาวนานก่อนเสียเมือง เช่นเดียวกับชะตากรรมของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทรัพยากรล้ำค่านำภัยมาสู่ตัว
Tue, 02 Aug 2022 - 24min - 70 - ASEAN Eyes EP. 25: ลาว-ศรีลังกา ความใกล้เคียงที่น่าหวาดเสียว
แทบไม่น่าเชื่อว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีประชากรไม่ถึงแปดล้านคนที่ชาวไทยจำนวนมากหลงเสน่ห์ความเรียบง่าย จะมีค่าครองชีพสูงกว่าเมืองไทยจนน่าตกใจ ภาพของยานพาหนะจอดรอเติมน้ำมันจนล้นปั๊มออกนอกถนนเมื่อเร็ว ๆ นี้ กลายเป็นข่าวพาดหัวสื่อมวลชนทั่วโลกว่า โควิด-19 และสงครามยูเครนทำลาวเผชิญวิกฤตน้ำมันไม่ต่างอะไรกับศรีลังกา ประเทศที่ถูกเรียกขานว่ารัฐล้มละลายสมบูรณ์แบบ เช่นเดียวกัน วิกฤตของลาวมีที่มาที่ซับซ้อนลึกซึ้งกว่าปัญหาเฉพาะหน้าเช่นโควิด-19 และสงครามยูเครน จนหลายฝ่ายต้องเอาใจช่วยให้รัฐบาลดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสม ก่อนเสี่ยงนำประเทศสู่แนวทางเดียวกับศรีลังกา
Tue, 26 Jul 2022 - 27min - 69 - ASEAN Eyes EP. 24: ทางเดินของ "แจ๋ว" จากอินโดนีเซียสู่มาเลเซีย
แจ๋ว หรือ แม่บ้าน คืองานสำหรับสตรียากจนที่มุ่งหน้าหาเงินเลี้ยงครอบครัว แม่บ้านจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ข้ามพรมแดนไปเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวคนแปลกหน้าในประเทศที่ร่ำรวยกว่า หญิงยากจนจากชนบทของอินโดนีเซียเดินทัพฝ่าอุปสรรคขวากหนามเข้าเป็นแม่บ้านที่มาเลเซียมานับสิบปี หลายคนกำเงินกลับบ้าน แต่บางคนประสบชะตากรรมน่าเศร้า แต่ล่าสุดเมื่อลมเปลี่ยนทิศ แม่บ้านตัวเล็ก ๆ จากอินโดนีเซียอาจกลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่สะเทือนระบบเศรษฐกิจของมาเลเซียทั้งระบบ
Tue, 19 Jul 2022 - 30min - 68 - ASEAN Eyes EP. 23: วิกฤตเศรษฐกิจอดีตและปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ย้อนรอยหรือธรรมชาติมอบให้?
"วิกฤตเศรษฐกิจสามเด้ง" ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19, สงครามยูเครน - รัสเซีย และการขาดแคลนอาหาร เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2563 สร้างความเดือดร้อนขาดแคลนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะยุติลงเมื่อไหร่ ในอดีตวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลหนึ่ง และการกู้ยืมเก็งกำไรเกินตัวของประชาชนในประเทศหนึ่ง แล้วลุกลามระบาดข้ามพรมแดน สร้างความทุกข์ให้ผู้คนประหนึ่งโรคติดต่อ หนำซ้ำยังเกิดซ้ำแล้วซ้ำเมื่อความโลภบดบังบทเรียนจากประวัติศาสตร์ แต่วิกฤตเศรษฐกิจจากโควิด-19 และสงคราม แสดงให้เห็นสิ่งใหม่ว่าหายนะทางเศรษฐกิจอาจมาจากสาเหตุที่ไม่คาดฝัน และกระทบปัจจัยในการดำรงชีพที่แท้จริง พิสูจน์คำกล่าวของปราชญ์ไทยท่านหนึ่งที่ว่า "เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง" อย่างลึกซึ้ง
Tue, 12 Jul 2022 - 28min - 67 - ASEAN Eyes EP. 22: เข้าใจประวัติศาสตร์ เข้าใจช่องว่างระหว่างวัย
ช่องว่างระหว่างวัยมีมาตั้งแต่คุณปู่เป็นวัยรุ่น แต่เลี่ยงไม่ได้ที่วิกฤตรอบด้านในปัจจุบันทำให้คนรุ่นใหม่ต่างกังวลต่ออนาคต จากช่องว่างทางความคิดระหว่างคนรุ่นพ่อแม่ลุงป้ากับลูกหลานกลายมาเป็น “สงครามระหว่างวัย” อันมีที่มาอันลึกซึ้ง ทำให้คนสองรุ่นเผชิญหน้าอย่างเข้มข้น สงครามระหว่างวัยช่วยใครได้จริงไหม หรือมีวิธีอื่นใดที่ดีกว่านี้ คำตอบอยู่ที่ความเข้าใจความเป็นมาที่กำหนดการมองโลกของคนหลากรุ่น
Tue, 05 Jul 2022 - 29min - 66 - ASEAN Eyes EP. 21: สังคมสูงวัย ใครดูแล?
ผู้สูงอายุมากขึ้นแต่เด็กเกิดใหม่น้อยลง ใคร ๆ ก็รู้ นี่คือกระแสของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีใครขวางได้ ในขณะที่สิงคโปร์นำโด่งก่อนใครเพื่อนมาหลายสิบปี นำไปสู่โครงการ "เรือรัก" (Love Boat) หนุนคนหนุ่มสาวผลิตลูกเป็นข่าวฮือฮา ประเทศไทยตามมาติด ๆ เป็นอันดับสอง ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ ยังขาดความชัดเจนทางนโยบายและคนรุ่นลูกหลานส่วนใหญ่กำลังเผชิญปัญหาความอยู่รอด นำไปสู่คำถาม "ใครจะดูแล"
Tue, 28 Jun 2022 - 29min - 65 - ASEAN Eyes EP. 20: วิกฤตอาหารอาเซียน ตัวใครตัวมันไม่ได้
เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ปิดเขื่อนสะเทือนถึงก้นครัว อินโดนีเซีย ประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลกพบปัญหาน้ำมันปาล์มประกอบอาหารแพง หยุดส่งออกสามสัปดาห์ สร้างความปั่นป่วนทั่วเอเชีย อาหารไก่แพงมาเลเซียผู้ผลิตไก่ระงับส่งออกชั่วคราวทำเอาสิงคโปร์เผชิญ "วิกฤตข้าวมันไก่" ยังไม่จบ จีนกั้นน้ำจากเขื่อนต้นลำน้ำโขง ปลาหายที่ปลายน้ำ โควิด-19 และสงครามยูเครนอาจเป็นเหตุหลักของวิกฤตอาหารโลกครั้งนี้ แต่สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเพียงแค่เปิดแผลเก่าที่หมักหมมมานาน หนึ่งในนั้นคือปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เข้าที ความจำเป็นบังคับให้แต่ละประเทศแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่วิถีตัวใครตัวมันไม่ใช่หลักประกันใด ๆ ว่าวิกฤตอาหารจะไม่รุนแรงขึ้นในอนาคต
Tue, 21 Jun 2022 - 29min - 64 - ASEAN Eyes EP. 19: ไทย - กัมพูชา สวรรค์ของนักปล้นโบราณวัตถุ
การโจรกรรมโบราณวัตถุเก่าแก่เพื่อนำไปขายในต่างประเทศ ไม่ใช่อื่นใดนอกจากการปล้นความทรงจำในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ยุคสงครามเขมรแดงในกัมพูชาถึงราว พ.ศ. 2541 ชายชาวอังกฤษคนหนึ่งใช้เวลาไม่น้อยกว่า 40 ปี ตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยจนเสียชีวิตในวัยชรา สร้างความมั่งคั่งจากการขโมยและลักลอบขายโบราณวัตถุอายุนับพันปีจากกัมพูชาและไทย เขาทำอย่างนั้นเป็นเวลายาวนานได้อย่างไร คำตอบอาจยังอยู่ในสายลม
Tue, 14 Jun 2022 - 28min - 63 - ASEAN Eyes EP. 18: โจรสลัดในอุษาคเนย์
โจรสลัดอยู่คู่น่านน้ำอุษาคเนย์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ในอดีตชุมชนชาวประมงบางแห่งที่เชี่ยวชาญท้องทะเลเหมือนนกที่บินในท้องฟ้า ยึดถือเป็นอาชีพในครอบครัวยามผลผลิตในท้องทะเลไม่เป็นใจ แต่โจรสลัดที่ร้ายกว่าคือแก๊งจัดตั้งมืออาชีพอาวุธครบมือที่โฉบเฉี่ยวเรือเร็วเหมือนฉลามร้ายเข้าปล้นน้ำมันและสินค้ามูลค่ามหาศาลในเรือใหญ่ เรียกค่าไถ่เรือและลูกเรือ ขายน้ำมันที่ปล้นมา ทุกอย่างล้วนทำในทะเล ส่งให้บางเวลาช่องแคบมะละกาและทะเลจีนใต้เป็นน่านน้ำที่ร่ำรวยและอันตรายที่สุดในโลก
Tue, 07 Jun 2022 - 24min - 62 - ASEAN Eyes EP. 17: Love Scam - เผยไต๋ แก๊งหลอกรักออนไลน์ไนจีเรียน
จู่ ๆ หนุ่มใหญ่มาดเท่หรือสาวสวยเซ็กซี่ต่างชาติขอเป็นเพื่อนออนไลน์พาให้ใจเต้นแรง แต่ช้าก่อน.. โปรดนับหนึ่งถึงสิบแล้วหลับตานึกถึงหน้าแก๊งไนจีเรียนแออัดอยู่ในห้องเช่าแถบประเทศเพื่อนบ้าน กำลังก้มหน้าก้มตาตัดแปะข้อความหวานหยดถึงเหยื่อ "ที่รัก.. ผมคิดถึงคุณสุดหัวใจ" ขณะที่ใครบางคนเริ่มชุ่มชื่นในหัวใจ เขาหรือเธออาจไม่รู้ว่ากำลังถูกล่อเข้าสู่วังวนของอาชญากรรมข้ามชาติมูลค่านับพันล้าน แก๊ง love scammers นักต้มตุ๋นให้รักทำงานกันอย่างไร นี่คือเรื่องราวของเหยื่อบางราย และวิธีจับไต๋เพื่อความปลอดภัยของหัวใจและกระเป๋าเงิน
Tue, 31 May 2022 - 29min - 61 - ASEAN Eyes EP. 16: ปริศนาอุษาคเนย์ - "เอสเอส โอรัง เมดาน" เรือปีศาจกับความตายในช่องแคบมะละกา
วันท้องฟ้าแจ่มใส ผืนน้ำช่องแคบมะละกาเงียบสงบ เรือ “เอสเอส โอรัง เมดาน” (SS Ourang Medan) ส่งสัญญานขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน บรรยายสถานการณ์วิกฤติน่าหวาดหวั่น เมื่อลูกเรือจากเรือช่วยเหลือรุดไปถึง ภาพที่เห็นกลับน่าสะพรึงกว่า ไม่มีผู้ใดรอดชีวิตแม้แต่คนเดียว แม้แต่สุนัขของเรือยังตายสยอง เรือ เอสเอส โอรัง เมดาน มีอยู่จริงหรือเป็นเพียงเรื่องเล่า ดูว่าเหมือนผู้เชี่ยวชาญวงการเดินเรือในช่องแคบมะละกาจะเชื่อว่าเรือลำนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่อาจตอบได้ว่าอะไรคือสาเหตุของความตายปริศนานี้ และเหตุใดจึงไม่พบซากเรือ และไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรือนี้อยู่ที่ไหนเลย คำตอบอยู่ใต้ผืนน้ำอันดำมืดของช่องแคบมะละกาที่กลืนกินเรือและเครื่องบินเคราะห์ร้ายมาแต่อดีตจนปัจจุบัน
Tue, 24 May 2022 - 25min - 60 - ASEAN Eyes EP. 15: มาร์กอสกับขุมทรัพย์ยามาชิตะ เรื่องจริงหรืออิงนิยาย?
โทโมยูกิ ยามาชิตะ ฉายา "พยัคฆ์แห่งมลายา" เป็นนายพลของกองทัพญี่ปุ่น ที่นำกองกำลังบุกยึดมลายาจากอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่สอง ตำนานในฟิลิปปินส์เล่าว่า เขานำเอาสมบัติหาค่ามิได้ที่ญี่ปุ่นปล้นมาจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาซ่อนไว้ในป่าเขาของฟิลิปปินส์ สถานที่ซ่อนเป็นความลับที่ตายไปกับตัวเขา มีเรื่องราวสารพัดที่บอกว่าใครได้สมบัติเหล่านี้ไป หนึ่งในนั้นคือประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส เขาได้มันมาอย่างไร ได้มาจริงหรือไม่ หรือช่วงชิงมาจากใคร หลายฝ่ายมีหลายคำตอบ รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวของเขาเอง
Tue, 17 May 2022 - 27min - 59 - ASEAN Eyes EP. 14: ปริศนาอุษาคเนย์ - จิม ทอมป์สัน หายไปไหน?
บ่ายวันหนึ่งเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว นักธุรกิจอเมริกันเจ้าของฉายา "ราชาผ้าไหมไทย" เดินออกจากบังกะโลตากอากาศหลังน้อยชายป่าคาเมรอนไฮแลนด์ในมาเลเซีย แล้วไม่กลับมาอีกเลย จิม ทอมป์สัน ผู้ใช้ชีวิตหรูที่บ้านพักสวยงามในกรุงเทพฯ เขาไม่ใช่นักธุรกิจธรรมดา แต่เป็นผู้มีอดีตที่ผาดโผนมีสีสันประหนึ่งภาพยนตร์ มีเครือข่ายที่ทรงอิทธิพลทั้งในวอชิงตันและเอเชีย เขาหายไปไหน... หายไปได้อย่างไร แม้แต่การจากไปของเขายังทิ้งคำถามใหญ่ไว้จนถึงเวลานี้
Tue, 10 May 2022 - 30min - 58 - ASEAN Eyes EP. 13: ปริศนาอุษาคเนย์ - จุดจบที่ไม่จบของ MH370
หลังเที่ยงคืนของ วันที่ 8 มีนาคม 2557 เที่ยวบิน MH370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์พาผู้โดยสาร 277 ชีวิต บินจากกัวลาลัมเปอร์มุ่งหน้าสู่ปักกิ่ง แล้วหายสาบสูญทิ้งร่องรอยภายหลังว่าอาจแหลกเป็นผุยผงอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งใต้มหาสมุทร ที่ยังไม่มีใครชี้ชัดได้ MH370 ตกเพราะอะไร ใครเป็นคนทำ ผลวิเคราะห์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์บ่งชี้ความน่าสะพรึงที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังหาหลักฐานยืนยันไม่ได้ ทิ้งไว้เป็นปมปริศนาใหญ่ในประวัติศาสตร์การบินโลก
Sun, 01 May 2022 - 27min - 57 - ASEAN Eyes EP. 12: มาตาธิปไตย ความเท่าเทียมหญิงชายเมื่อพันปีที่แล้วSun, 24 Apr 2022 - 27min
- 56 - ASEAN Eyes EP. 11: อาหาร ประวัติศาสตร์ที่กินได้
ขนมปังทาสังขยากินกับกาแฟของอร่อยบ้านเรา เหตุใดจึงไปปรากฏที่เมืองบันดา อาเจะห์ ในสุมาตรา, ข้าวซอยไก่และเนื้อจานเด็ดจากเมืองเหนือดูเหมือนจะเป็นญาติของ "ลักซา เลอมัก" แถว ๆ มาเลเซีย, แล้วเหตุใด "อาโดโบ" อาหารประจำชาติฟิลิปปินส์จึงชื่อเดียวกันกับสตูว์ของสเปนและปอร์ตุเกส เส้นทางของอาหารจานเด็ดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้บอกกล่าวเรื่องราวของสายสัมพันธ์ของผู้คนที่มีมานานนับร้อยปีจากทั้งสนามการค้าและสนามรบสู่ห้องครัว ส่งต่อความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่กินได้ของอุษาคเนย์
Sun, 17 Apr 2022 - 29min - 55 - ASEAN Eyes EP. 10: ภาษาเดียว แต่ใจคนละดวง
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียประกาศผลักดันให้ภาษามลายู (Bahasa Malayu) เป็นภาษาทางการที่สองของประชาคมอาเซียน ให้เหตุผลมีน้ำหนักว่ามลายูเป็นภาษาที่คนกว่า 300 ล้านคนจาก 655 ล้านคนในภูมิภาคใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ฝันนี้อาจไปไม่ถึงฝั่งเมื่ออินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากร 273 ล้านคน กระโดดขวาง บอกว่า “ภาษาอินโดนีเซีย” (Bahasa Indonesia) ซึ่งเป็นภาษามลายูแบบอินโดนีเซียต่างหากสมควรอยู่คู่อาเซียน สองประเทศพูดภาษาเดียวกันแต่ให้ชื่อภาษาคนละชื่อ เบื้องลึกเบื้องหลังของปัญหาคืออะไร ชวนฟังกับ ASEAN Eyes
Sun, 10 Apr 2022 - 29min - 54 - ASEAN Eyes EP. 9: สงกรานต์ในอุษาคเนย์ ความสนุกของประเทศลุ่มน้ำโขง
ประเพณีสงกรานต์ "ของนำเข้า" จากปีใหม่ของอินเดียยุคโบราณ เดินทางสู่ลุ่มแม่นำ้โขงในอุษาคเนย์ผ่านอาณาจักรขอมแล้วอยู่ยงคงกระพันมานับร้อยปี ขยายตัวออกจากพิธีในรั้วในวังมาเป็นวัฒนธรรมร่วมของคนธรรมดาที่สร้างความสดชื่นและสายสัมพันธ์ข้ามเขตแดน สงกรานต์เป็นประเพณีที่มีชีวิตอย่างน่าทึ่ง ได้รับหล่อเลี้ยงด้วยตำนานเรื่องเล่า ปรับตัวให้เข้ากับศาสนาความเชื่อ รอดพ้นการทำลายล้างจากสงคราม สร้างเวลาของความสุขให้คนทุกรุ่นทุกวัยยาวนานมาจนเป็นสมบัติร่วมกันของอุษาคเนย์ในปัจจุบัน
Sun, 03 Apr 2022 - 29min - 53 - ASEAN Eyes EP. 8: การมาถึงของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในมาเลเซีย
การเกิดขึ้นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในมาเลเซียกับความโชคดีที่เริ่มต้นได้ถูกเวลาในช่วงดอทคอมเฟื่องฟู และการเริ่มต้นของขบวนการปฏิรูปการเมืองกว่า 20 ปีที่แล้ว เส้นทางของสื่อที่ต้องต่อสู้กับอำนาจทางการเมืองที่ควบคุมสื่อในมือ กฎหมายที่พยายามปิดกั้นการทำงาน รวมถึงความขัดแย้งด้านเชื้อชาติที่ฝังรากลึกในใจชาวมาเลเซีย การฝ่าด่านรอบด้านของสื่อออนไลน์จนกลายเป็นที่ยอมรับของประชาชนสู่ความหวังของคนรุ่นใหม่ในการนำเสนอข่าวสาร เส้นทางของสื่อออนไลน์ในมาเลเซียมีความท้าทายอย่างไร ชวนฟังกับ ASEAN Eyes
Sun, 27 Mar 2022 - 29min - 52 - ASEAN Eyes EP. 7: ชีวิตที่เลือกไม่ได้ของนักข่าวเมียนมา
“ทำข่าวไป หนีตายไป” คือคำอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันของนักข่าวเมียนมาที่ตรงไปตรงมาที่สุด ตั้งแต่กองทัพนำโดยพลเอกอาวุโสมิน อ่องหล่าย รัฐประหารยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว สื่อมวลชนเมียนมาร์กว่า 100 คนถูกจับกุมคุมขัง นักข่าวและช่างภาพเสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน ส่วนที่เหลือต้องกระจายตัวหนีการปราบปราม บ้างก็ซ่อนตัวเงียบ ๆ บ้างหลบหนีไปชายแดนและต่างประเทศ น่านับถือใจสู้ของพวกเขาจำนวนมากที่ยังทำหน้าที่รายงานข่าวในฐานะสื่อมวลชนอย่างน่าภาคภูมิ
Sun, 20 Mar 2022 - 27min - 51 - ASEAN Eyes EP. 6: กว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปไตย เมื่อนักข่าวอินโดนีเซียตั้งองค์กรลับสู้เพื่อเสรีภาพสื่อ
ก่อนประชาธิปไตยจะผลิบาน นักข่าวอินโดนีเซียทำสิ่งประหลาดที่สื่อมวลชนประเทศอื่นอาจไม่เคยคาดคิดถึง นั่นคือการตั้งองค์กรลับต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อ "พันธมิตรนักข่าวอิสระอินโดนีเซีย" หรือ "อาจี" ใน พ.ศ.2537 ภายใต้กฎเหล็กควบคุมสื่อของรัฐบาลซูฮาร์โตที่เซ็นเซอร์ข่าว ปิดสื่อ และแม้กระทั่งสังหารนักข่าว ยุคเรียกร้องประชาธิปไตยนักข่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการประชาชน จนระบบเผด็จการที่ยืนยาวกว่าสามทศวรรษถูกทำลายลง ส่งผลให้อินโดนีเซียเป็นประเทศสื่อเสรีแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
Sun, 13 Mar 2022 - 23min - 50 - ASEAN Eyes EP. 5: มาเรีย เรสซา นักข่าวที่ต่อสู้เพื่อเสนอความจริงในฟิลิปปินส์
ในโอกาสของวันนักข่าว (5 มีนาคม) และวันสตรีสากล (8 มีนาคม) ASEAN Eyes ขอหยิบยกเรื่องราวของ "มาเรีย เรสซา" (Maria Ressa) นักข่าวหญิงผู้ร่วมก่อตั้งสำนักข่าวอิสระ Rappler ในฟิลิปปินส์ ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพคนล่าสุดร่วมกับ ดิมิทรี มูราทอฟ (Dmitry Muratov) จากรัสเซีย โดยคณะกรรมการรางวัลโนเบลกล่าวว่า เธอได้ใช้เสรีภาพในการแสดงออกเพื่อเปิดเผยการใช้อำนาจโดยมิชอบ การใช้ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในประเทศบ้านเกิดของเธอที่ฟิลิปปินส์
การทำงานข่าวของมาเรีย เรสซา ต้องเผชิญกับการคุกคามสื่อในฟิลิปปินส์ที่รุนแรงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ความท้าทายในยุคของสื่อโซเซียลมีเดียและสงครามข่าวปลอม เธอต้องต่อสู้ในชั้นศาลจากการนำเสนอนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลประธานาธิบดีดูเตอร์เต้ ที่ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่นละเมิดสิทธิมนุษยชนจนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งคดีความนี้ทำให้เธอเกือบไม่ได้เดินทางไปรับรางวัลโนเบลด้วยตัวเองSun, 06 Mar 2022 - 33min - 49 - ASEAN Eyes EP. 4: ความรักของนักการเมืองอาเซียน "ลี กวนยู"
ความรักของ "ลี กวนยู" อดีตนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ และ "กวา ค็อก ชู" ที่ใช้ชีวิตร่วมทุกข์ ร่วมสุขกันตลอดชีวิต ผ่านเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองในการก่อตั้งประเทศสิงคโปร์และพัฒนาประเทศสู่ความเจริญก้าวหน้า
ความรักที่เริ่มต้นในวัยนักศึกษาจากคู่แข่งในการเรียนกลายเป็นความสนใจซึ่งกันและกันอยู่เคียงข้างตั้งแต่ช่วงเวลาประวัติศาสตร์สงครามมหาเอเชียบูรพาจนถึงการประกาศเอกราชจากอาณานิคมของอังกฤษ ความกดดันทางการเมืองและการก่อตั้งพัฒนาประเทศสิงคโปร์ ซึ่ง "ลี กวนยู" และ "กวา ค็อก ชู" อยู่เคียงข้างกันเสมอจนวันสุดท้ายของชีวิตSun, 27 Feb 2022 - 30min - 48 - ASEAN Eyes EP. 3: ความรักของนักการเมืองอาเซียน "ซูการ์โน"
ชีวิตรักของ "ซูการ์โน" ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย เจ้าของความรักที่เหมือนคนที่เลือกเด็ดดอกไม้ในสวน ที่มีภรรยา 9 คน สลับสับเปลี่ยนเข้ามาในชีวิต โดยเฉพาะการพบรักกับ รัตนา ซารี เดวี ซูการ์โน ภรรยาชาวญี่ปุ่น
ความรักที่เปลี่ยนผ่านในทุกช่วงเวลาที่มาพร้อมกับการขับเคลื่อนการเมืองอินโดนีเซีย รวบรวมหมู่เกาะต่าง ๆ ที่ในอดีตมีชื่อ ดัชท์อีสต์ อินดีส หรือ หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ สู่การประกาศเอกราชและก่อตั้งประเทศอยู่ในจุดสูงสุดของอำนาจ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 22 ปี ซึ่งไม่ว่าเขาจะอยู่จุดไหนของชีวิต ซูการ์โนก็มีภรรยาเคียงข้างอยู่เสมอSun, 20 Feb 2022 - 30min - 47 - ASEAN Eyes EP. 2: ความรักของนักการเมืองอาเซียน "อองซาน ซูจี"
เรื่องราวความรักของอองซาน ซูจี กับ ไมเคิล อริส ที่ถูกขวางกั้นโดยการเมือง วัฒนธรรม และระยะทางที่ทำให้ทั้งคู่ต้องแยกจากกัน สู่เส้นทางที่ต้องเลือกระหว่างลูกและสามี กับประเทศ เบื้องหลังการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในเมียนมาที่ต้องยอมแลกกับการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว ทำให้เธอไม่ได้อยู่กับสามีในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตการถูกคุมขังในบ้านพัก แม้แต่จดหมายบอกลาก็ไม่ทันได้ถึงมือสามีของเธอ
Sun, 13 Feb 2022 - 36min - 46 - ASEAN Eyes EP. 1: ความรักของนักการเมืองอาเซียน "มหาเธร์ โมฮัมหมัด"
เริ่มต้นตอนแรกต้อนรับเดือนแห่งความรัก ด้วยเรื่องราวความรักของนักการเมืองอาเซียน กับชีวิตรักของ ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซียสองสมัยวัย 96 ปี กับ พญ.สีติ ฮัสมาห์ โมฮัมหมัด อาลี ภรรยาวัย 95 ปีที่ครองคู่กันมานานกว่า 60 ปี ที่ได้รับการขนานนามว่า “คู่ขวัญแห่งชาติ" อยู่เคียงข้างกันในทุกสถานการณ์
การพบรักของนักศึกษาแพทย์ร่วมชั้นเรียนที่ช่วยกันติวหนังสือสู่การใช้ชีวิตคู่ในช่วงเวลาที่มาเลเซียกำลังก่อตั้งประเทศหลังจากประกาศเอกราช ก่อนที่ ดร.มหาเธร์ จะผันตัวสู่การเป็นนักการเมืองที่พาประเทศก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมอุตสาหกรรมที่มาพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดและการฟาดฟันศัตรูทางการเมือง ซึ่งทุกช่วงเวลามี พญ.สีติ อยู่เคียงข้างเสมอไม่ว่าชีวิตจะขึ้นหรือลงSun, 06 Feb 2022 - 29min
Podcast simili a <nome>
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- สื่อเสียงนิทาน : นิทานเด็กเล็ก Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ