Filtra per genere
โรงหมอ รายการที่นำเสนอข้อมูลรอบด้านเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งโรคภัย อาการ ยา จิตแพทย์ เพศ ครอบครัว สุขภาพจิต โรคเกิดขึ้นใหม่ และเรื่องสุขภาพอีกมากมาย จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาที่เล่าเรื่องเข้าใจยากให้ง่ายและเข้าใจมากขึ้น ติดตามข้อมูลจากรายการโรงหมอเพิ่มเติมได้ที่ Facebook, Twitter และ Instagram | Thai PBS Podcast
- 6222 - โรงหมอ EP. 1049: มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคของคนมีอันจะกินและกรรมพันธุ์
โรคมีอันจะกิน เป็นชื่อเรียกอีกชื่อของ มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเกี่ยวกับการกินอาหาร มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนที่เป็น โรคอ้วน ไม่เพียงเท่านั้นสำหรับคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และคนที่มีญาติพี่น้องแบบใกล้ชิดเป็นโรคนี้ ซึ่งถือเป็นกรรมพันธุ์ ก็เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน ลำไส้ใหญ่ของเราทำหน้าที่อะไร ความเสี่ยงมีปัจจัยอะไรบ้าง และเราจะเลี่ยงความเสี่ยงนั้นอย่างไร รายการ โรงหมอ
Wed, 13 Nov 2024 - 29min - 6221 - โรงหมอ EP. 1048: ของหมักของดอง กินได้แต่ระวังกันหน่อย กินบ่อยใช่ว่าจะดี
หมักดอง อาหารที่หลาย ๆ คนชอบ เป็นวิธีการถนอมอาหารให้มีอายุยาวนานมากยิ่งขึ้น จริง ๆ แล้วอาหารประเภทนี้มีประโยชน์กับร่างกาย แต่ก็มีโทษได้เช่นกัน
รสชาติส่วนใหญ่ที่เราได้ลิ้มรสจากของหมักดองนั่นคือ เค็ม เพราะมีเกลือเป็นส่วนผสม การกินจึงต้องระวังร่างกายอาจได้รับโซเดียมเกิน หรือแม้กระทั่งสารบางอย่างที่ผู้ผลิตบางเจ้าใส่ลงไปเพื่อยืดอายุยาวนานยิ่งขึ้นนั่นคือ สารกันบูด หากกินมากไปก็เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวเช่นกัน ประโยชน์จากของหมักดอง มีอะไรบ้าง แล้วผลเสียหากกินมากเกินไปเป็นอย่างไร รายการ โรงหมอMon, 11 Nov 2024 - 29min - 6220 - โรงหมอ EP. 1047: คิดว่าตัวเองยังไม่ดีพอ จุดเริ่มต้น "ภาวะเกลียดตัวเอง"
ใครที่มักมีความรู้สึกว่า ทำอะไรก็ยังไม่ดีไม่เป็นที่พอใจสักอย่าง รู้สึกแย่ ชอบเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น มีแฟนก็ยังรู้สึกว่าไม่เหมาะกับเขาหรือเขาดีเกินไป เขาควรได้คบกับคนที่ดีกว่านี้ ฯลฯ ระวังให้ดีนี่อาจกลายเป็น ภาวะเกลียดตัวเอง (Self-hatred)
อาการและความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดจากการคิดว่าตัวเองนั้นยังไม่ดีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลาย ๆ สิ่งจนนำไปสู่การเกลียดตัวเอง ทำไมยังทำไม่ได้ ทำไมยังไม่ดีพอ ในทางการแพทย์ยังไม่ถือว่าเป็นโรคทางจิตเวช เป็นความรู้สึกส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ทำไมเราจึงมีความคิดความรู้สึกแบบนี้ ปรับหรือแก้ไขอย่างไร รายการ โรงหมอFri, 08 Nov 2024 - 29min - 6219 - โรงหมอ EP. 1046: โรคที่เกิดจากปรสิต
ปรสิต เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยและแพร่พันธุ์อยู่ในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น หรือโฮสต์ เพื่อเป็นแหล่งอาหาร เจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ การพึ่งพาในลักษณะนี้ทำให้ปรสิตไม่ทำลายโฮสต์ โดยแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 1. ปรสิตในลำไส้ จำพวกหนอนพยาธิต่าง ๆ 2. ปรสิตภายนอกร่างกาย จำพวกเห็บ เหา หมัด หิด และ 3. โปรโตซัวจำพวกอะมีบา แน่นอนปรสิตทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ รายการ โรงหมอ
Wed, 06 Nov 2024 - 25min - 6218 - โรงหมอ EP. 1045: Love Bombing ถูกหลอกให้รักจนโงหัวไม่ขึ้น
คุณเคยเจอความรักที่สามารถทุ่มเทให้ได้ทั้งชีวิตและจิตใจ ตกหลุมรักแบบโงหัวไม่ขึ้น ผูกพันจนถอนใจหรือขาดเขาไม่ได้ แต่สุดท้ายเราเองกลับสับสนในสิ่งที่เขาชี้นำหรือควบคุมบ้างหรือเปล่า
หากคุณเคยหรือกำลังอยู่ในสถานการณ์นี้เรียกกันว่า "เลิฟ บอมบิง (Love Bombing)" เป็นการทุ่มเทความรักอย่างหนักหน่วงในช่วงต้นของความสัมพันธ์เพื่อให้คนรักประทับใจ ตกหลุมรัก และรู้สึกว่าขาดเขาไม่ได้ เมื่อคนรักได้รับการเอาใจใส่รู้สึกผูกพันจนถอนตัวไม่ขึ้น ฝ่ายที่ทำ Love Bombing จะเริ่มควบคุมชีวิตของคนรักให้เป็นไปตามที่ต้องการ คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้จะรู้สึกสับสน อึดอัดในความสัมพันธ์ และไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้นตอเกิดจากอะไร สัญญาณใดที่กำลังบอกว่าตกอยู่ในสถานการณ์นี้ เสริมเกราะป้องกันหัวใจในความรักอย่างไร รายการ โรงหมอMon, 04 Nov 2024 - 29min - 6217 - โรงหมอ EP. 1044: ตีบ แตก ตัน 3 ภาวะอันตรายจากโรคหลอดเลือดสมอง
เส้นเลือดตีบ แตก หรืออุดตัน ที่เกิดขึ้นภายในสมองเรียกรวมกันว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะอันตรายต่อชีวิตที่ต้องการรับการรักษาอย่างเร่งด่วน
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่เกิดกับหลอดเลือดที่อยู่ภายในสมองจากความเสื่อมสภาพ เนื่องจากหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่นและแข็งแรงจากอายุและวัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่ เป็นโรคเบาหวาน มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งเป็นที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบเรื้อรังหรือเกิดการหนาตัวขึ้น ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมต้องรีบรักษาปล่อยช้าไม่ได้เด็ดขาด โอกาสฟื้นตัวมีมากน้อยขนาดไหน รายการ โรงหมอFri, 01 Nov 2024 - 29min - 6216 - โรงหมอ EP. 1043: เยียยาจิตใจด้วยการกอดตัวเอง
หลายคนตอนนี้กำลังคาดหวังการตอบแทนบางอย่าง ในบางเรื่อง จากบางคน ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะใกล้ชิดในระดับครอบครัวหรือแม้แต่เพื่อนร่วมชีวิตร่วมงาน โดยเฉพาะเรื่องของความรักและความใส่ใจ แต่เมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นตามที่คาดหวังเอาไว้แน่นอนความเสียใจย่อมเกิดขึ้น จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของแต่ละคน แต่สิ่งสุดท้ายลองกลับมากอดตัวเองดูบ้าง รักตัวเองดูบ้าง อยู่กับตัวเองดูบ้าง จะได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วต้องการอะไรกันแน่ การเยียวยาด้วยการกอดตัวเอง ทำอย่างไร ทำไมต้องทำ รายการ โรงหมอ
Wed, 30 Oct 2024 - 28min - 6215 - โรงหมอ EP. 1042: โรคสมองเสื่อม เรื่องใกล้ตัวที่คนสูงวัยต้องรู้
ว่ากันว่า อีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบเต็มขั้น หนึ่งในปัญหาของสังคมนี้คือเรื่องสุขภาพที่โรยราไปตามวัยไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน โดยเฉพาะปัญหาจากโรคสมองเสื่อม
หลายคนยังเข้าใจว่า โรคสมองเสื่อม (Demantia) กับ อัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นโรคเดียวกัน แม้ 2 โรคนี้มีอาการคล้ายกันแต่เป็นคนละโรค อย่างอัลไซเมอร์ คนที่เป็นโรคนี้จะมีความผิดปกติเกี่ยวกับความจำ มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของตัวสมอง หรือโรคประจำตัวบางชนิดที่ทำให้ความจำแย่จนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ส่วนโรคสมองเสื่อม เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสมองโดยตรง ความจำความคิดแย่ลง ส่งผลต่องานและชีวิตประจำวัน เช่น จำคนหรือเหตุการณ์ที่ผ่านไปเมื่อกี้ไม่ได้ พูดซ้ำ ๆ ถามวน ๆ แยกทิศทางไม่ได้ หลง ๆ ลืม ๆ สำหรับโรคสมองเสื่อม ป้องกันหรือชะลอการเกิดได้อย่างไร คนสูงวัยและคนรอบข้างรอบตัวทำอะไรได้บ้าง รายการ โรงหมอMon, 28 Oct 2024 - 30min - 6214 - โรงหมอ EP. 1041: พยาธิภายนอก ที่อยู่กับมนุษย์และสัตว์
เราคิดมาเสมอว่า พยาธิ คือปรสิตชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ เช่น เส้นด้าย, ไส้เดือน, ปากขอ ฯลฯ แต่จริง ๆ ยังมีพยาธิอยู่บนตัวภายนอกของเราและสัตว์ได้เช่นกัน
หนึ่งในพยาธิที่เรารู้จักกันดีคือ เหา สิ่งเล็ก ๆ ที่อยู่บนหัวของเราโดยเฉพาะน้อง ๆ นักเรียน เป็นพยาธิที่กำจัดไม่ยากแต่ทำไม่ง่ายเพราะด้วยจำนวนและปริมาณที่เยอะ หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การติดเหาเป็นเพราะเหากระโดดจากอีกคนสู่อีกคน จริง ๆ แล้วเหากระโดดไม่ได้ แต่ที่ติดกันเพราะการสัมผัส เช่น เด็ก ๆ เล่นกันแล้วเอาหัวไปชนหรือไปซุกใส่กันทำให้ไข่หรือตัวเหาติดมา แต่ทั้งนี้เหามนุษย์กับสัตว์ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ยังมีพยาธิภายนอกชนิดใดอีกบ้างที่สามารถอยู่กับมนุษย์และสัตว์ได้ รายการ โรงหมอFri, 25 Oct 2024 - 28min - 6213 - โรงหมอ EP. 1040: แมลงสาบ อันตรายกว่าเราที่คิด
องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนว่า การกำจัดแมลงสาบด้วยการใช้เท้าหรืออะไรก็ตามไปบดขยี้ให้บี้แบน เป็นวิธีการที่สุ่มเสี่ยงต่ออันตรายมาก เพราะในตัวของแมลงสาบมีเชื้อโรคจำพวก โปรโตซัว ไวรัส และ แบคทีเรีย กว่า 40 ชนิด รวมถึงมูลของมันก็มีไข่พยาธินานาพันธุ์ การเหยียบบดขยี้จะทำให้เชื้อที่อยู่ในตัวฟุ้งกระจายออกมาไปติดอยู่ตามผิวหนัง ลอยเข้าจมูกหรือปาก ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาได้ รายการ โรงหมอ
Wed, 23 Oct 2024 - 30min - 6212 - โรงหมอ EP. 1039: ยาเสพติด สมองถูกทำลาย เสี่ยงกลายเป็นโรคจิต
จริง ๆ ยาเสพติด หรือ สารเสพติด บางชนิดที่ใช้และควบคุมสำหรับการรักษาในทางการแพทย์เป็นเรื่องที่ดี แต่คนที่ขาดความรู้แล้วใช้เพื่อเหตุผลบางอย่างมีแต่เสียกับเสีย โดยเฉพาะสภาวะทางสมองที่ส่งผลต่อจิต การดมเพียงหนึ่งปื๊ดหรือเอาเข้าร่างกายเพียงหนึ่งครั้ง สมองก็จะถูกทำลายแล้ว จริงอยู่ตอนที่ใช้มักทำให้เรารู้สึกเคลิ้ม สบาย แต่เมื่อใช้บ่อยและนานวันเข้า สมองที่ถูกทำลายไปเรื่อย ๆ จะแสดงอาการบางอย่างออกมา โดยเฉพาะอาการทางจิต มีการศึกษาวิจัยพบว่า หากเริ่มใช้ยาเสพติดตั้งแต่อายุน้อย ๆ เรื่อยมา เมื่อถึงระดับหนึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้คน ๆ นั้นเป็น โรคจิต ถาวรได้ ยาเสพติดส่งผลต่อสภาวะทางจิตได้อย่างไร รายการ โรงหมอ
Mon, 21 Oct 2024 - 26min - 6211 - โรงหมอ EP. 1038: เปลี่ยนสุขภาพให้ดีขึ้นด้วยอาหาร
การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐประโยคที่ได้ยินมานานแสนนานซึ่งก็จริง แต่คนที่ไม่มีอาการป่วยก็ไม่ได้หมายความว่าสุขภาพดี เพราะอาจมีภาวะบางอย่างที่ไม่แสดงอาการก็ได้ ภาวะพร่องสุขภาพ (Sub-optimal health) ไม่ได้เป็นโรคนะแต่เป็นอาการของสัญญาณเตือนสุขภาพบางอย่างก่อนนำไปสู่โรค วิธีแก้ไขมีหลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ อาหารการกิน มีอาหารอะไรบ้างที่ช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพแข็งแรง แถมป้องกันการเกิดโรคได้ด้วย รายการ โรงหมอ
Fri, 18 Oct 2024 - 28min - 6210 - โรงหมอ EP. 1037: ฮีลใจในวันที่รู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง
จริงอยู่ที่ความสวยของผู้หญิงแต่ละคน ให้คำนิยามไม่เหมือนกัน หุ่นแบบไหนรูปร่างแบบไหนก็สวยได้ แต่ในความเป็นจริงของความเป็นมนุษย์ "บิวตี้สแตนดาร์ด" (Beauty Standard) ยังคงเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ตัดสินความสวยงามเสมอ เมื่อ Beauty Standard ยังใช้เป็นเครื่องมือตัดสินความสวยงาม สิ่งนี้ส่งผลอย่างมากในด้านจิตวิทยาและสภาพจิตใจ ความไม่มั่นใจในตัวเอง จึงเกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเรื่องรูปร่างและรูปลักษณ์ บางคนบอกไม่แคร์ ใครจะมองอย่างไรก็เรื่องของเขา แต่เมื่อถูกสายตาจับจ้องมองบ่อยมากขึ้นในทุกวัน ใจที่แข็งแกร่งก็อาจพังทลายลงมาได้ เมื่อเกิดความไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง ด้านจิตวิทยาเราทำหรือมองเรื่องนี้อย่างไรได้บ้าง รายการ โรงหมอ
Wed, 16 Oct 2024 - 29min - 6209 - โรงหมอ EP. 1036: คนสูงวัย รู้ทันป้องกันได้จากเหล่ามิจฉาชีพตัวร้าย
ทุกวันนี้คนสูงวัยคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่มิจฉาชีพหลอกลวง ทำให้หลายคนต้องสิ้นเนื้อประดาตัวเอาตอนแก่ กับเงินก้อนสุดท้ายที่จะใช้ในบั้นปลายชีวิต คิดจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ก็คงไม่ทันด้วยพละกำลังที่ถดถอยแล้ว สำหรับคนใกล้ชิดหรือแม้แต่ตัวของคนสูงวัยเองก็ตาม จำเป็นต้องป้องกันและรู้ทันเหล่ามิจฉาชีพอย่างไรบ้าง รายการ โรงหมอ
Mon, 14 Oct 2024 - 29min - 6208 - โรงหมอ EP. 1035: ฝีดาษลิง สายพันธุ์กับวัคซีนจำเป็นต้องฉีดหรือไม่
ฝีดาษลิง (Monkeypox) คือหนึ่งในโรคที่เชื่้อไวรัสมีการพัฒนาสายพันธุ์ โดยคนไปติดสัตว์ แล้วก็ติดจากคนสู่คนผ่านสารคัดหลั่งโดยเฉพาะ เพศสัมพันธ์ มีรายการพบว่า นอกจากลิงเป็นสัตว์แพร่เชื้อหลักแล้ว สัตว์เลี้ยงบางชนิดก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วย เช่น กระรอก (เสี่ยงอันดับที่ 2) หรือแม้แต่ แพรรีด็อก (Prairie dog) สายพันธุ์ที่มาจากทวีปแอฟริกา ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน แต่คำถามสำคัญคือ สายพันธุ์ใหม่ ๆ เราจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ รายการ โรงหมอ
Fri, 11 Oct 2024 - 27min - 6207 - โรงหมอ EP. 1034: ทำไมครอบครัวของเรา (พ่อแม่) จึงมีผลต่อชีวิตคู่ของเรา
ความเหนียวแน่นบนความสัมพันธ์ในครอบครัวของสังคมไทย ได้แทรกซึมอยู่ในทุกมิติของสังคม ผ่านวิถีชีวิต ประเพณี หรือวัฒนธรรม โดยเฉพาะชีวิตคู่ของลูก ๆ ทั้งก่อนและหลังแต่งงาน แม้จะบอกว่า ชีวิตคู่เป็นเรื่องของคนสองคน แต่สุดท้ายคำว่า "ครอบครัว" หรือ "พ่อแม่" ก็มักเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ หลายคนจึงตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ทำไมครอบครัวของเรา (พ่อแม่) จึงมีผลต่อชีวิตคู่ของเรา" รายการ โรงหมอ
Wed, 09 Oct 2024 - 29min - 6206 - โรงหมอ EP. 1033: สภาวะจิตใจเมื่อสูญเสียกะทันหัน
ถูกแฟนหรือคนรักบอกเลิก ได้ยิน รู้ข่าว หรืออยู่ในสถานการณ์คนที่เรารักจากไปอย่างไม่มีวันกลับ "ช็อก" คืออาการแรกที่เกิดขึ้นจากสภาพจิตใจไม่พร้อมสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้น
เดี๋ยวนะ ๆ ไม่จริง เป็นไปไม่ได้ หลอกหรือเปล่า มันเป็นแค่ความฝันไม่ใช่เรื่องจริง ฯลฯ นี่คืออาการถัดมาหลังจากอยู่ในภาวะช็อก ของคนที่ได้ยินหรือเห็นสถานการณ์การสูญเสียที่เกิดขึ้นแบบกะทันหัน การสูญเสียในลักษณะนี้ได้สร้างผลกระทบทางจิตใจไม่มากก็น้อยกับคนใกล้ชิด โดยแบ่งได้เป็น 5 ระยะ คือMon, 07 Oct 2024 - 29min - 6205 - โรงหมอ EP. 1032: อาหารกระป๋อง ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการจริงหรือ ?
อาหารกระป๋องส่วนใหญ่ถูกมองว่า เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่าอาหารสด สารอาหารอาจถูกทำลายไปในขั้นตอนการผลิตสินค้า แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารอาหารในอาหารกระป๋องจำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรด แร่ธาตุ และวิตามิน ที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค ยังคงมีเทียบเท่าอาหารสด และยังพบอีกว่า ความร้อนในกระบวนการผลิตยังช่วยกระตุ้นให้สารต้านอนุมูลอิสระในผักหรือผลไม้บางชนิดสูงขึ้นอีกด้วย แต่อีกด้านสารอาหารบางชนิดก็ถูกทำลายด้วยเช่นกัน อาหารกระป๋องยังมีเรื่องอะไรบ้างที่เราต้องรู้ รายการ โรงหมอ
Fri, 04 Oct 2024 - 29min - 6204 - โรงหมอ EP. 1031: อะไรที่กินแล้วรู้สึกคึกคักดึ๋งดั๋ง
ร่างกายที่แข็งแรง ฟิต แถมรู้สึกคึกคักดึ๋งดั๋ง เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ปรารถนาทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่ใช่แค่ออกกำลังกายเท่านั้น อาหารก็มีส่วนสำคัญในเรื่องนี้
แต่มีอาหารชนิดหนึ่งที่ทำให้สมรรถภาพทางเพศของผู้ชายหย่อนยานขันไม่ขึ้น และมีผลทำให้ฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้หญิงไม่คงที่นั่นคือ น้ำตาล ที่เป็นต้นตอของโรคเบาหวาน ทำให้คนที่เป็นโรคนี้ไม่สามารถเพิ่มเติมความสุขในเรื่องเพศได้อย่างเต็มที่ แต่มีอาหารอะไรบ้างที่ช่วยให้ร่างกายคึกคักดึ๋งดั๋ง รายการ โรงหมอWed, 02 Oct 2024 - 28min - 6203 - โรงหมอ EP. 1030: ทำไมคนเรายอมสูญเสียความเป็นตัวเอง
เคยเป็นกันไหม เวลาไปพบเจอกลุ่มคนใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ สถานที่ใหม่ หรือแม้แต่ แฟนใหม่ อะไรที่ไม่เคยทำก็จะทำ ไม่เคยไปก็ต้องไป ทำไมเราจึงยอมทำสิ่งเหล่านี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเรา สิ่งเหล่านี้เป็นภาวะอารมณ์เชิงลบอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า การสูญเสียความเป็นตัวเอง คนที่อยู่ในภาวะนี้จะรู้สึกเหมือนตกลงไปในหลุมดำของการลงโทษตัวเอง จะเห็นแต่ความผิดพลาดที่ตัวเองก่อไว้ สะสมนานวันเข้าก็จะรู้สึกผิดแล้วติดฝังลึกในใจ ท้ายที่สุดก็จะลามไปถึงขั้นการยอมรับ อะไรบ้างที่ทำให้เกิดการสูญเสียความเป็นตัวเอง รู้แล้วแก้อย่างไร หรือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร รายการ โรงหมอ
Mon, 30 Sep 2024 - 28min - 6202 - โรงหมอ EP. 1029: คนสูงวัย แก่อย่างไรไม่ให้เป็นภาระคนอื่น
คนสูงวัยหลายคน ใจจริงถ้ายังมีแรงทำการทำงานก็ไม่อยากทำตัวเป็นภาระใครแม้แต่ลูกหลาน แต่พอถึงช่วงเวลาหนึ่งก็อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับคนดูแลด้วย ถ้ามีความพร้อมแล้วสบายใจที่จะดูแลก็คงไม่มีปัญหา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายถึงทุกคน สำหรับคนสูงวัยจะทำอะไรได้บ้างเพื่อลดหรือไม่ให้เป็นภาระคนรอบข้างมากจนเกินไป รายการ โรงหมอ
Fri, 27 Sep 2024 - 28min - 6201 - โรงหมอ EP. 1028: สัญญาณที่กำลังเตือนว่า สุขภาพจิตแย่ลง
คนเราไม่ได้มีแค่อาการป่วยทางกายที่แสดงออกเห็นอย่างชัดเจน รู้หรือไม่ว่าสภาพจิตใจก็ป่วยได้เช่นกัน แถมบางครั้งก็เก็บซ่อนไม่แสดงออกให้เห็น !!
คนไทยหลายคนยังคงมีความเชื่อกันว่า คนที่ป่วยจากสภาพจิตใจต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ คือคนที่เป็นโรคจิต นี่เป็นความเชื่อที่ผิดและโบราณมาก เพราะการไปพบจิตแพทย์ ไม่จำเป็นต้องป่วย เพียงแค่อยากได้คำปรึกษาและทางออกของใจในยามที่เราตันและทุกข์ จริง ๆ แล้วเราสังเกตอาการของตัวเองได้ว่าตอนนี้สภาพจิตใจป่วยแล้วหรือยัง ดูเพื่อนหรือสังเกตตัวอย่างอย่างไร รายการ โรงหมอWed, 25 Sep 2024 - 28min - 6200 - โรงหมอ EP. 1027: ความเสียงจากโรคที่มากับโคลนหลังน้ำท่วม
โคลนที่มากับน้ำป่า แล้วติดค้าอยู่ภายในบ้านหรือพื้นที่ชุมชนเมือง เป็นอีกสิ่งที่มนุษย์ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เพราะโคลนเหล่านี้อาจมีเชื้อโรคบางชนิดที่เกิดขึ้นมากจากสัตว์ป่าได้ เช่น โรคเมลิออยด์ หรือ โรคไข้ดิน ติดได้จากการกิน ดื่ม หรือร่างกายสัมผัสน้ำในบริเวณที่มีเชื้อ หรือแม้กระทั่งการสูดหายใจเอาฝุ่นจากดินที่มีเชื้อเข้าร่างกาย โดยเฉพาะเด็ก ๆ ยิ่งต้องระวัง หน้ากากอนามัย รองเท้าบูท ถุงมือ หรือชุดสำหรับลุยน้ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงการกำจัดโคลน หรือช่วงที่โคลนกลายเป็นฝุ่น ยังมีความเสี่ยงจากโรคอะไรบ้างที่เกิดจากโคลน รายการ โรงหมอ
Mon, 23 Sep 2024 - 28min - 6199 - โรงหมอ EP. 1026: ไอเรื้อรัง เป็นอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด
อาการไอ เป็นปฏิกิริยาทางร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ซ่อนอยู่ในระบบทางเดินหายใจ สาเหตุเกิดได้จากอาการง่าย ๆ เช่น ภูมิแพ้ การติดเชื้อที่ทำให้เป็นหวัด หรือปอดติดเชื้อ ถูกกระตุ้นจนสร้างรอยแผลบริเวณหลอดลม ทำให้เกิดอาการไออย่างต่อเนื่องแม้อาการป่วยจะหายไปแล้ว อาการไอจะหายไปก็ต่อเมื่อแผลที่ผนังหลอดลมถูกสมานจนหายสนิท แต่คุณรู้หรือไม่ "#ไอเรื้อรัง" (ไอตั้งแต่ 2-8 สัปดาห์) อาจเป็นมากกว่าแค่ไอเรื้อรังก็ได้ รายการ โรงหมอ
Fri, 20 Sep 2024 - 30min - 6198 - โรงหมอ EP. 1025: สารพัดความลับ โปรตีนที่ได้จากพืช
โปรตีน สารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายที่ขาดไม่ได้ ช่วยซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ ช่วยสร้างพลังงาน เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเรื่องการเจริญเติบโต โปรตีนส่วนใหญ่มากจากผลิตภัณฑ์สัตว์ แต่สำหรับคนที่ต้องการทางเลือกอื่นหรือไม่กินเนื้อสัตว์ พืชก็เป็นอีกทางเลือกที่มีสารอาหารชนิดนี้ ว่ากันว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์อีกด้วย ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น พืชชนิดใดบ้างที่มีโปรตีน รายการ โรงหมอ
Wed, 18 Sep 2024 - 29min - 6197 - โรงหมอ EP. 1024: ชอบคิดไปก่อน จนไม่มีความสุข และติดอยู่กับความวิตกกังวล
วิตกกังวล เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งแก่ชรา แต่เป็นเรื่องที่ไม่ได้สร้างความสุขให้กับชีวิตเลย เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดจากความคิดและการคาดเดาไปก่อนว่า จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าจะเป็นเหมือนอย่างที่คิดหรือไม่ หลายคนติดอยู่กับการคิดไปก่อน ทำให้ตกอยู่ในความวิตกกังวลตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะบรรเทาภาวะนี้ออกจากจิตใจ รายการ โรงหมอ
Mon, 16 Sep 2024 - 27min - 6196 - โรงหมอ EP. 1023: เกษียณแล้ว ทำอะไรดี ?
ในช่วงแรกที่เกษียณอายุ จะรู้สึกมีความสุขกับการได้นอนตื่นสายมากขึ้น ไม่ต้องออไปเจอรถติด มีเวลาคิดทำอย่างอื่น มีเวลาไปเที่ยวในที่ที่อยากไปหากยังเดินไหวและไม่เป็นรองช้ำ แต่หลังจากนั้นจะเริ่มรู้สึกว่า จริง ๆ แล้วตัวเรายังสามารถทำหรือสร้างอะไรบางอย่างให้กับชีวิตได้ เริ่มอยากทำงาน ไม่อยากอยู่ว่าง ๆ เพราะเริ่มเบื่อ การวางแผนก่อนเกษียณว่าจะทำอะไรเป็นอีกเรื่องที่สำคัญนอกจากเงิน เกษียณแล้วทำอะไรได้บ้าง รายการ โรงหมอ
Fri, 13 Sep 2024 - 28min - 6195 - โรงหมอ EP. 1022: ปล่อยสัตว์อย่างไรให้ได้บุญแทนบาป
ทำบุญด้วยการปล่อยสัตว์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยบำรุงจิตใจให้รู้สึกผ่อนคลายสบายขึ้น แต่การปล่อยสัตว์ต้องรู้จุดปล่อยเพื่อให้เขารอดชีวิต แทนที่จะได้บุญอาจได้ "บาป" มาแทนก็ได้
ปลาไหล เป็นหนึ่งในสัตว์ที่นิยมปล่อยมากที่สุด จากความเชื่อที่จะทำให้ชีวิตลื่นไหลไปในทางที่ดี แต่รู้หรือไม่ว่า การปล่อยลงในแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีกระแสน้ำไหลแรง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นการฆ่าเขาโดยที่เราไม่รู้ตัว แม้จิตใจทำไปด้วยความบริสุทธิ์แต่บุญอาจแทนที่ด้วยบาปติดกลับบ้านไปก็ได้ ที่สำคัญสัตว์น้ำหลายชนิดที่ปล่อยทำบุญในแม่น้ำเจ้าพระยา ตายมากกว่ารอด แน่นอน "บาปมากกว่าบุญ" ทำบุญปล่อยสัตว์ควรเลือกชนิดใด ควรทำที่ไหน สภาพแวดล้อมที่ปล่อยควรเป็นอย่างไร รายการ โรงหมอWed, 11 Sep 2024 - 27min - 6194 - โรงหมอ EP. 1021: วิธีจับโกหก
การจะจับได้ว่าคน ๆ นั้นกำลังโกหกเราอยู่หรือเปล่า หากคลุกคลีกันมาอย่างยาวนานจนรู้ไส้รู้พุงหมดแล้ว คงสังเกตได้ไม่ยาก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะหลบเลี่ยงเราด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ พฤติกรรมหรืออาการอะไรบ้างที่มักแสดงออกเมื่อมีการโกหก แล้วเราจะจับโกหกเขาได้อย่างไร รายการ โรงหมอ
Mon, 09 Sep 2024 - 29min - 6193 - โรงหมอ EP. 1020: จะทิ้งก็เสียดาย เก็บไว้อุ่นใจกว่า อาการจากโรคชอบสะสมของ
โรคชอบสะสมของ (Hoarding Disorder) นับเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยรุ่น แต่จะแสดงออกอย่างชัดเจนเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ โรคนี้มักเห็นอยู่ตามหน้าข่าวจากสภาพบ้านหรือที่อยู่อาศัยแทบไม่มีทางเดิน เป็นคนหวงของไม่ยอมทิ้ง จะรู้สึกดีหรืออุ่นใจเมื่อมีของเยอะ ๆ โรคนี้เกิดจากอะไร รักษาหรือแก้ไขได้หรือไม่ รายการ โรงหมอ
Fri, 06 Sep 2024 - 28min - 6192 - โรงหมอ EP. 1019: กินดี กินถูก กระดูกไม่พรุน
กระดูกเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อความแข็งแรงของร่างกายเป็นอย่างมาก แต่เป็นส่วนที่มนุษย์ให้ความสำคัญในการบำรุงรักษาค่อนข้างน้อย ก่อนอายุ 30 ปี เป็นช่วงที่กระดูกซึมซับแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ปัญหาที่ตามาหากดูแลไม่ดีคือ กระดูกพรุน กระดูกบาง ที่นำไปสู่กระดูกหัก ได้ง่ายหากได้รับอุบัติเหตุแม้เพียงเล็กน้อย การบำรุงกระดูกทำได้หลายวิธี แต่ที่ง่ายและอร่อยคือการบำรุงจากอาหาร มีอะไรบ้าง รายการ โรงหมอ
Wed, 04 Sep 2024 - 30min - 6191 - โรงหมอ EP. 1018: ปอดติดเชื้อ ภาวะสุดอันตรายเสี่ยต่อชีวิตจากแค่สำลักอาหารหรือน้ำ
แค่สำลักน้ำ ก็อาจทำให้ปอดติดเชื้อ รักษาไม่ทันหรือปอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นก็เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด อันตรายถึงชีวิตได้
แม้อาการสำลักเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทางสมอง เช่น อัลไซเมอร์ (สมองเสื่อม) หรือผู้สูงวัยที่มีอาการป่วยติดเตียง เพราะหากมีสิ่งแปลกปลอมหรือน้ำที่ไม่ใช่น้ำเปล่าสะอาด อาจทำให้ปอดติดเชื้อได้และหากรักษาไม่ทันเชื้ออาจเข้าสู่กระแสโลหิตเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก อันตรายขนาดไหน ป้องกันอย่างไร รายการ โรงหมอMon, 02 Sep 2024 - 29min - 6190 - โรงหมอ EP. 1017: เอเลียนสปีชีส์อะไรบ้าง ปัจจุบันยังอยู่ในไทย
ไม่ใช่แค่ ปลาหมอคางดำ เท่านั้นที่เป็นเอเลียนสปีชีส์ สัตว์ต่างถิ่นที่มาทำลายระบบนิเวศจนกระทบภาคการประมง ยังมีทั้งสัตว์และพืชอีกจำนวนหนึ่งที่นำเข้ามาตั้งแต่อดีตและมีอยู่จนถึงตอนนี้
แน่นอนว่าเอเลียนสปีชีส์ คือศัตรูทางระบบนิเวศของประเทศไทย แต่รู้หรือเปล่าว่า เอเลียนสปีชีส์บางชนิดบางสายพันธุ์กลับมีประโยชน์ในเรื่องปากท้องและเศรษฐกิจ เช่น ปลานิล มีถิ่นกำเนิดที่ลุ่มแม่น้ำไนล์ (ทวีปแอฟริกา) ไทยได้รับมาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นปลาได้รับความนิยมในการบริโภคภายในประเทศ ปลาทอง สัตว์น้ำที่นำเข้ามาจากจีนและญี่ปุ่น เป็นสัตว์สวยงาม จัดเป็นปลามงคล ปัจจุบันมีการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์จนสามารถส่งออกได้ แต่มีอีกหลายชนิดที่ไม่ได้สร้างประโยชน์แถมบางชนิดอาจนำโรคมาสู่คนได้ด้วย รายการ โรงหมอFri, 30 Aug 2024 - 28min - 6189 - โรงหมอ EP. 1016: 10 วิธีอ้อนแฟน ให้รักให้หลง
ความรักในช่วงโปร การอ้อนของคนที่เป็นแฟนกัน ดูเป็นเรื่องน่ารัก ผ่านไปสักพักกลายเป็นเรื่องน่ารำคาญซะอย่างนั้น กลายเป็นเอาใจยากถึงขั้นปวดหัวกับความสัมพันธ์
การอ้อน เป็นหนึ่งในพฤติกรรมการแสดงออกถึงความรัก โดยเฉพาะคนที่เป็นแฟนกัน แต่ละคนมีวิธีการแสดงออกไม่เหมือนกัน บางคนไม่แสดงออกเลยจนทำให้แฟนของเราเข้าใจผิดได้ว่า "ไม่รักหรือเปล่า" หรือบางคนแสดงออกจนล้นจนกลายเป็นเรื่องรำคาญ ก็ทำให้เข้าใจผิดในความรักได้เช่นกัน แล้วจะอ้อนแบบไหนให้พอดีแถมแฟนยังรักยังหลง กับ 10 วิธีที่รายการ โรงหมอWed, 28 Aug 2024 - 29min - 6188 - โรงหมอ EP. 1015: อาการแบบไหนต้องรักษาทันทีหรือรอได้ แล้วทำไมเราต้องรู้เรื่องฉุกเฉิน
เมื่อเจ็บป่วย ไข้ ไม่สบาย หรือมีอาการบาดเจ็บจากอะไรก็ตามแต่ สำหรับเราคือเรื่องฉุกเฉิน และคาดหวังว่าเมื่อถึงโรงพยาบาลต้องได้รับการช่วยเหลือจากหมอทันที !!
คำว่า "ฉุกเฉิน" ในความเข้าใจของเราที่เป็นหรือเห็นอาการกับสิ่งที่หมอได้ประเมินหรือวินิจฉัย "ไม่เท่ากัน" จึงเป็นเรื่องที่เราจำเป็นต้องรู้อย่างยิ่ง เพราะในทางการแพทย์ได้แบ่งเกณฑ์อาการฉุกเฉินออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ไม่สามารถรอได้ (ฉุกเฉินวิกฤติ) ต้องช่วยเหลือทันทีไม่เช่นนั้นเสียชีวิตแน่นอน จนถึงระดับทั่วไปที่รับการรักษาได้ในเวลาราชการ อาการแบบไหนรอได้รอไม่ได้ เรื่องฉุกเฉินทำไมเราต้องรู้ รายการ โรงหมอMon, 26 Aug 2024 - 29min - 6187 - โรงหมอ EP. 1014: ความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการกินอาหารบุฟเฟ่ต์บ่อย ๆ
ทุกวันนี้การกินข้าวนอกบ้านแน่นอนว่าทุกคนต้องเลือกร้านอาหารที่กินแล้วคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายออกไป หนึ่งในนั้นคือ #บุฟเฟ่ต์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาในทุกวันนี้ แม้อาหารประเภทนี้จะมีความคุ้มค่าที่สามารถเลือกกินได้ในปริมาณมาก หลากหลาย ในราคาไม่สูง ทำให้หลายคนกินแล้วติดใจทำให้กินบ่อย ๆ จึงกลายเป็นความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่อาจไม่คาดคิดกับโรคบางชนิดที่ติดตามมาด้วย เสี่ยงโรคอะไรบ้างหากกินบุฟเฟ่ต์บ่อย ๆ รายการ โรงหมอ
Fri, 23 Aug 2024 - 29min - 6186 - โรงหมอ EP. 1013: พฤติกรรมทำร้ายไต แม้ไม่ได้กินเค็ม
สิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับ #โรคไต คือเกิดจากการกินเค็ม แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมบางอย่าง ไม่จำเป็นต้องเค็มก็เป็นโรคไตได้ แน่นอนว่าการกินเค็มมาก ๆ ส่งผลต่อสุขภาพไตได้โดยตรง รวมถึงอายุที่มากขึ้นตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไปไตจะเสื่อมลงประมาณ 0.5-1% ทุกปี ยังมีพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคไตได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินเค็ม รายการ โรงหมอ
Wed, 21 Aug 2024 - 26min - 6185 - โรงหมอ EP. 1012: บอกหน่อยได้ไหม SEX แบบไหนที่เธอชอบ ?
เราปฏิเสธไม่ได้ว่า SEX เป็นเรื่องที่เกิดมาคู่กับมนุษย์ SEX มีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตคู่สามารถส่งผลต่อความสัมพันธ์ในทุกสถานะ ยิ่งถ้ารู้ว่าคู่ของเราชอบอะไรแล้วตอบสนองได้ ความสัมพันธ์มักยืนยงคงกระพันยาวนาน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคู่ของเรานั้นชอบแบบไหน รายการ โรงหมอ
Mon, 19 Aug 2024 - 28min - 6184 - โรงหมอ EP. 1011: โรคความดันโลหิตสูง ภัยเงียบตัวร้ายมีผลต่อหัวใจเสี่ยงตายได้
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคที่มาแบบเงียบ ๆ ไม่กระโตกกระตากมากมายนัก จุดกำเนิดอีกหลากหลายโรค เวลาแสดงอาการบางครั้งก็เล่นเอาหนัก บางครั้งก็เสี่ยงถึงชีวิต หนึ่งในโรคที่คนไทยเป็นค่อนข้างเยอะ แต่ไม่ค่อยรู้ตัวกันสักเท่าไหร่หากไม่ไปตรวจวัดความดันสม่ำเสมอหรือตรวจสุขภาพประจำปี แม้แต่คนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เมื่ออายุมากขึ้นก็เสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน โรคนี้เป็นภัยเงียบที่มีผลต่อหัวใจ หากไม่สามารถควบคุมโรคนี้ได้ก็ส่งผลให้มีอาการเรื้อรังและรุนแรง เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ตัวเลขบนหน้าจอเวลาไปวัดความดันฯ ต้องไม่เกินเท่าไหร่ ความเสี่ยงอะไรที่ก่อให้เกิดโรคนี้ รักษาและดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกล รายการ โรงหมอ
Fri, 16 Aug 2024 - 29min - 6183 - โรงหมอ EP. 1010: ปลาหมอคางดำ พฤติกรรมและความรับผิดชอบ
ในทวีปแอฟริกา ปลาหมอคางดำ ถูกควบคุมปริมาณจากสัตว์ที่เป็นห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ แต่เมื่อมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมของไทยที่ไร้ศัตรูตามธรรมชาติจึงขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วไร้การควบคุม สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหน่วยงานภาคร้ฐที่มีความหละหลวมในการควบคุม รวมถึงการสั่งการที่ไม่มีประสิทธิภาพต่อผู้ที่ควรต้องรับผิดชอบ ในมุมผู้เชี่ยวชาญ อดีตคณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างไร รายการ #โรงหมอ
Wed, 14 Aug 2024 - 28min - 6182 - โรงหมอ EP. 1009: โรคติดการพนัน โรคที่รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องของลอง (ไปเรื่อย ๆ)
จากแค่ลองเล่น ๆ กลายเป็นติดจริงจัง อยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้เล่นสักตาสองตา คราวที่แล้วเสีย คราวนี้ต้องเอาคืนให้ได้ ฯลฯ สุดท้ายกลายเป็น โรคติดการพนัน ซึ่งเป็นพฤติกรรม #ย้ำคิดย้ำทำ รู้ทั้งรู้ว่าไม่ดี เสียมากกว่าได้ แถมยังมีผลกระทบกับคนรอบข้าง ทำไมพวกเขาออกจากวังวนนั้นไม่ได้ รายการ โรงหมอ
Mon, 12 Aug 2024 - 29min - 6181 - โรงหมอ EP. 1008: โรคลมชัก (ลมบ้าหมู) ทำไมโรคนี้อันตราย
โรคลมชัก (Epilepsy) หรือที่เราเรียกกันว่า ลมบ้าหมู เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองที่ไปกระตุ้นระบบประสาทให้มีอาการชัก เกร็ง กระตุก น้ำตาไหล ไม่รู้สึกตัว พบได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ชักทั่วทั้งตัว หรือชักเฉพาะจุดเฉพาะที่ ความอันตรายของโรคนี้คือ #ภาวะสมองขาดออกซิเจน และอุบัติเหตุบนท้องถนน เนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีอาการชักแบบไม่รู้ตัว ฟังแบบเจาะลึกถึงสาเหตุและอาการ รวมถึงวิธีการให้ความช่วยเหลือ ที่สำคัญยาที่หมอให้มา อาการดีขึ้นแล้วหยุดกินเองได้หรือไม่ รายการ โรงหมอ
Fri, 09 Aug 2024 - 29min - 6180 - โรงหมอ EP. 1007: ประโยคท็อกซิก (Toxic) ที่ไม่ควรพูดใส่กัน
บางคำบางประโยคของคนพูด อาจมีเจตนาหวังดีเพื่อเข้าไปช่วยแก้ไขหรือหาทางออกของปัญหาบางอย่าง แต่ในเวลานั้นอีกคนอาจยังไม่พร้อมหรือยังไม่ต้องการให้เข้าไปยุ่งวุ่นวายข้องเกี่ยว คำพูดนั้นก็อาจกลายเป็นประโยคท็อกซิก (Toxic) ระคายหู บานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้ คำพูดหรือประโยคอะไรบ้างที่เป็นประโยคท็อกซิก ต้องระวังไม่ควรพูด รายการ โรงหมอ
Wed, 07 Aug 2024 - 28min - 6179 - โรงหมอ EP. 1006: สัญญาณบอกโรคจาก "ขี้ตา"
ร่างกายของเรามีสัญญาณการแจ้งเดือนเพื่อบอกโรคที่จะเกิดในอนาคตได้หลากหลายอาการ หนึ่งในนั้นคือ ขี้ตา
ขี้ตาที่เราทุกคนพบเห็นและสัมผัสในตอนเช้าหลังตื่นนอน ทุกคนต้องมีและถือเป็นเรื่องปกติ แต่มันจะไม่ปกติถ้าเกิดวันหนึ่งเราตื่นมาแล้วพบว่า ปริมาณขี้ตาเยอะกว่าปกติ เยอะไม่พอยังเหนียวยืดเปียก ไม่เท่านั้นในบางคนพบว่ามีขี้ตาตลอดทั้งวัน แถมสีเปลี่ยนด้วย ขี้ตาเกิดจากอะไร เป็นสัญญาณบอกโรคอะไรได้บ้าง รายการ โรงหมอMon, 05 Aug 2024 - 28min - 6178 - โรงหมอ EP. 1005: ผักมีเมือก สุดยอดผักช่วยเสริมการระบาย ลดอาการท้องผูก
ผักมีเมือกที่เป็นผักท้องถิ่นซึ่งหาซื้อหากินได้จากการปลูรอบบ้านหรือไปตลาด มีให้เลือกหลายชนิด เช่น กระเจี้ยบเขียว, ผักบุ้ง, บวบหอม, ตำลึง ฯลฯ สามารถช่วยคลายความอึดอัดจากอาการท้องผูกได้ด้วยคุณสมบัติของเมือกที่อยู่ในผักเหล่านี้ บางชนิดเป็นยาระบายอ่อน ๆ บางชนิดช่วยลดสารพิษในลำไส้ หรือบางชนิดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดการดูดซึมน้ำตาลได้ด้วย รายการ โรงหมอ
Fri, 02 Aug 2024 - 29min - 6177 - โรงหมอ EP. 1004: ปลาหมอคางดำ ที่สุดของความอึดถึกทน ตัวร้ายกาจของระบบนิเวศและประมงไทย
ปลาหมอ ขึ้นชื่อว่าเป็นปลาที่มีความอึดอดทนอยู่แล้ว ประเทศไทยเองก็มีปลาสายพันธุ์นี้ซึ่งเป็นปลาท้องถิ่น แต่ ปลาหมอคางดำ ไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่น เป็นเอเลียนสปีชีส์ตัวร้ายจากทวีปแอฟริกา ความร้ายกาจของปลาหมอคางดำ คือ การเข้ามาทำลายระบบนิเวศท้องถิ่นของไทย โดยเฉพาะสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยเฉพาะ ลูกกุ้ง ลูกปู และปลาขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นพันธุ์ปลาที่ขึ้นชื่อว่า ซูเปอร์อึกถึกทน อยู่ได้ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับประเทศไทย ไม่เพียงกระทบกับระบบนิเวศ แต่ยังกระทบกับการประมงน้ำจืดเป็นอย่างมาก ความร้ายกาจของปลาชนิดนี้เป็นอย่างไร #ปลากระพง แก้ไขได้จริงหรือเปล่า ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตคณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รายการ โรงหมอ
Wed, 31 Jul 2024 - 30min - 6176 - โรงหมอ EP. 1003: สำลักอาหาร ภัยเงียบเสี่ยงตายของคนสูงวัย
การสำลักอาหาร เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย แต่วัยที่เสี่ยงอันตรายสุด ๆ ต่อภาวะนี้คือ คนสูงวัย เพราะด้วยลักษณะและประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะบริเวณคอที่เป็นทางเดินอาหารได้เสื่อมสมรรถภาพไปตามกาลเวลา รวมถึงอาจเป็นโรคทางประสาทบางชนิด และอาการทางจิตเวช ก็ทำให้เกิดการสำลักขึ้นได้ ส่วนใหญ่เกิดจากอาหาร ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงหากเศษอาหารไปอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณลำคอ หรือหากเศษอาหารหลุดเข้าไปในปอดก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สาเหตุเกิดจากอะไร ทำไมแค่เศษอาหารกลายเป็นการติดเชื้อแล้วเสี่ยงเสียชีวิตได้ วิธิช่วยเหลือทำอย่างไร รายการ โรงหมอ
Mon, 29 Jul 2024 - 27min - 6175 - โรงหมอ EP. 1002: ทำไมคนที่บ้านต้องคอมเมนต์ให้รู้สึกแย่ในวันที่เราโพสต์เรื่องความสุข
ลูกหลานหลายคนคงสงสัย คนที่บ้านเป็นอะไรมากหรือเปล่า เมื่อใดก็ตามที่โพสต์รูปความสุข แต่ทำไมมักตามมาด้วยคอมเมนต์ที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีบางทีถึงขั้นแย่ โดยเฉพาะคอมเมนต์ของคนที่บ้าน ???????
Fri, 26 Jul 2024 - 28min - 6174 - โรงหมอ EP. 1001: อาการบวม บอกโรคได้
อาการบวมที่มองเห็นได้จากภายนอก ไม่ว่าจะเอานิ้วกดลงไปแล้วเป็นรูบุ๋มหรือไม่บุ๋มก็ตาม ก็สามารถบอกโรคบางอย่างที่คุณอาจเป็นอยู่ได้ อาการบวมสามารถเกิดขึ้นบนร่างกายได้หลายจุด โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะบวมที่เท้า ขา ท้อง คอ และบนใบหน้า การเอานิ้วมือกดลงไปแล้วค้างไว้ประมาณ 10 วินาทีแล้วปล่อย ไม่ว่าบริเวณที่กดจะบุ๋มหรือไม่บู๋ม ก็สามารถบอกโรคบางอย่างที่แตกต่างกันออกไปได้ รายการ โรงหมอ
Wed, 24 Jul 2024 - 30min - 6173 - โรงหมอ EP. 1000: เมื่อมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง
คนเรามักสนใจและให้ค่าความเป็นไปในชีวิตของคนอื่น จนลืมหรือละเลยความรู้สึกและคุณค่าของตัวเอง จนท้ายที่สุดก็กลายเป็นทำร้ายตัวเอง !!
ลองสังเกตตัวเองดูว่า ทุกวันนี้คุณค่าของใครที่เราให้ความสนใจและใส่ใจมากกว่า แน่นอนคำตอบคือ คนอื่น ทั้งที่จริงแล้วตัวของเราก็มีคุณค่าไม่แตกต่างจากใครอยู่ที่ว่าเราเลือกที่จะมองเห็นหรือมองข้าม บางครั้งกว่าเราจะมองเห็นคุณค่าในตัวเองก็ต้องตกอยู่ในสถานการณ์บางอย่างเสียก่อน จึงจะรู้สึกตัว จะทำอย่างไรเมื่อตัวเรามองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง รายการ โรงหมอMon, 22 Jul 2024 - 28min - 6172 - โรงหมอ EP. 999: อาหารดิบ กินอร่อยแต่ต้องเสี่ยง ทั้งติดเชื้อและก่อโรค
กินอาหารดิบต้องดูให้ดี สะอาด ปลอดภัยจริงหรือเปล่า ไม่เช่นนั้นอาจได้เชื้อหรือโรคเป็นของแถมมาก็ได้ !!
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินอาหารดิบของไทยในหลายพื้นที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน รวมถึงการรับเอาวัฒนธรรมการกินจากต่างชาติเข้ามาด้วย แต่อาหารดิบที่ไม่ผ่านการตรวจสอบหรือรับรองมาตรฐาน มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก่อโรค หรือสร้างปฏิกิริยากับร่างกายได้ เช่น ปลาร้า มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหน็บชา จากสารบางชนิดที่ไปสลายวิตามินบี 1 หากกินปลาร้าดิบเป็นประจำ แต่หากนำไปผ่านความร้อนด้วยการต้มจนสุก สารดังกล่าวจะถูกสลายไม่ทำลายวิตามินบี 1 กินอาหารดิบเสี่ยงอะไรบ้าง รายการ โรงหมอFri, 19 Jul 2024 - 29min - 6171 - โรงหมอ EP. 998: ความโดดเดี่ยวในคนสูงวัย
ตลอดระยะ 10 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยและทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นอกจากการอยู่คนเดียวที่เพิ่มขึ้น 18.4% แล้ว ยังพบว่า คนสูงวัยที่เป็นครอบครัวเดี่ยวโดยไม่มีคนวัยอื่นร่วมอยู่ด้วยมากถึง 47% เช่น อยู่กัน 2 คนตายาย โดยที่ลูกหลานปล่อยให้อยู่บ้านเพราะต้องไปทำงานหรือไปอยู่ที่อื่น สภาวะแบบนี้มีผลต่อจิตใจอันบอบบางของผู้สูงอายุไม่มากก็น้อย จะทำอย่างไร รายการ โรงหมอ
Wed, 17 Jul 2024 - 29min - 6170 - โรงหมอ EP. 997: ทำไมบางคนชอบ "ไอ" ตอนกลางคืนจนรำคาญ
อาการไอเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ต้องการนำสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพออกมา แค่เคยสังเกตไหมว่า บางคนตอนกลางวันก็อยู่ดีปกติสุขไม่แสดงอาการอะไรออกมา แต่พอตกกลางคืนหรือเข้านอน ไอลั่นบ้าน อยู่คนเดียวไม่เท่าไหร่ แต่สำหรับคนมีคู่ที่นอนข้าง คงรำคาญและส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาภายหลัง ไอตอนกลางคืนเกิดจากอะไร รายการ โรงหมอ
Mon, 15 Jul 2024 - 32min - 6169 - โรงหมอ EP. 996: อยู่คนเดียวมันเหงาเข้าใจ แต่จะทำอย่างไรเมื่อเจอกับความเหงา
ความรู้สึกเหงา เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะตอนที่เราอยู่คนเดียว แฟนก็ไม่มี มีเพื่อนนะแต่คุยกันน้อยลงเพราะหน้าที่การงานหรือชีวิตส่วนตัว ต้องอยู่ห่างไกลจากบ้านเพราะมาเรียนหรือทำงาน ฯลฯ แต่คุณเคยรู้สึกเหงาทั้ง ๆ ที่มีเพื่อนรายล้อมบ้างหรือเปล่า ความเหงา มันมาจากไหน เกิดจากอะไร เราจะรู้ทันความเหงาได้อย่างไร รายการ โรงหมอ
Fri, 12 Jul 2024 - 28min - 6168 - โรงหมอ EP. 995: สิ่งที่ควรทำและห้ามทำ เมื่อคนสูงวัยหกล้ม
อุบัติเหตุที่เกิดจากการหกล้มในวัยหนุ่มสาว อาจดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ แป็บ ๆ ก็หายได้ แต่สำหรับคนสูงวัย กลายเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโต เพราะสุขภาพความแข็งแรงของร่างกายที่เสื่อมถอยและเปราะบางมากขึ้น การล้มเพียงเล็กน้อยอาจกลายเป็นอาการบาดเจ็บได้เราอาจคาดไม่ถึงก็ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้สูงอายุจะล้มมีอะไรบ้าง หากพบว่าล้มควรทำหรือดูแลอย่างไรไม่ให้บาดเจ็บเพิ่ม รายการ โรงหมอ
Wed, 10 Jul 2024 - 29min - 6167 - โรงหมอ EP. 994: ทะเลาะอย่างไรให้รักกันมากขึ้น
การทะเลาะ เป็นเรื่องปกติและธรรมดามาก เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะคนที่เป็นแฟนกันหรือคู่ชีวิต ต้องไม่ลืมว่าพื้นฐานและการใช้ชีวิตของแต่ละคนมีที่มาแตกต่างกัน เมื่อมาอยู่ร่วมกันความเห็นที่แตกต่างจึงเกิดขึ้นได้ แต่หากต้องทะเลาะกัน ทะเลาะอย่างไรให้รักกันมากขึ้น รายการ โรงหมอ
Mon, 08 Jul 2024 - 29min - 6166 - โรงหมอ EP. 993: คุณค่าที่แตกต่างจากชนิดและสีของกล้วย
รู้หรือเปล่า กินกล้วยทอด 1 ชิ้น กว่าจะเบิร์นไขมันออกหมด ต้องวิ่งรอบสนามฟุตบอล 1 รอบ (400 เมตร) !! เพราะกล้วยทอด มีพลังงานที่สูงมากจากแป้งที่เคลือบ และน้ำมันที่ใช้ทอด ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานและแคลลอรีสูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้วกล้วยมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก แต่ละชนิดแต่ละสีก็มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกัน กล้วยแต่ละอย่างแต่ละสีกินแล้วดีอย่างไร รายการ โรงหมอ
Fri, 05 Jul 2024 - 28min - 6165 - โรงหมอ EP. 992: เมื่อคนสูงวัยป่วยจิตเวช สาเหตุเกิดจากอะไร ดูแลอย่างไร
เมื่ออายุมากขึ้น ควาแก่ชราเริ่มา ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยซึ่งรวมถึงปัญหาสุขภาพก็เพิ่มมากขึ้น มีส่วนในการทำให้คนสูงวัยมีอาการป่วยทางจิตเวชได้ อาการหรือภาวะอะไรบ้างที่ทำให้ป่วยทางจิตเวชได้ คนใกล้ชิดดูแลอย่างไร รายการ โรงหมอ
Wed, 03 Jul 2024 - 28min - 6164 - โรงหมอ EP. 991: โรคของเด็กยุคดิจิทัลMon, 01 Jul 2024 - 29min
- 6163 - โรงหมอ EP. 990: เมื่อคนใกล้ตัว คนในครอบครัว สร้างแต่เรื่อง Toxic
คุณเคยเจอสถานการณ์ที่รู้สึกอึดอัดใจเมื่อคนรอบข้างสร้างแต่เรื่อง หรือบั่นทอนจิตใจกำลังใจจากคำพูดไม่สร้างสรรค์ ที่เปลี่ยนจากพลังบวกให้กลายเป็นลบจนกระทบกับตัวเองบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "คนในครอบครัว"
คนเหล่านี้เรียกกันว่าท็อกซิกเพอซัล (Toxic Person) มักแสดงพฤติกรรมในเชิงลบกับคนใกล้ตัวเสมอทั้งทางร่างกายและจิตใจ แสดงพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้เสียบรรยากาศ คนที่อยู่ใกล้กับคนประเภทนี้จะรู้สึกสับสน วิตกกังวล หรือเครียดซ้ำไปซ้ำมา รู้สึกคุณค่าในตัวเองลดลง สุดท้ายเมื่อใกล้กับคนประเภทนี้จะทำให้ไม่มีความสุข สุดท้ายเมื่ออยู่กับหรืออยู่ใกล้กับคนประเภทนี้มาก ๆ จะเกิดอาการ "ใจพัง"
เรียนรู้พฤติกรรมของคนประเภทนี้มีสาเหตุมาจากอะไร เมื่อเปลี่ยนเขาไม่ได้เราจำเป็นต้องปรับหาเขาหรือไม่ รับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร รายการ โรงหมอFri, 28 Jun 2024 - 27min - 6162 - โรงหมอ EP. 989: เลี้ยงนก รักนก ต้องระวัง 3 โรคเสี่ยงติดสู่คนจากนก
นอกจากสุนัขและแมว ที่เป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมแล้ว สัตว์ปีกอย่างนก กำลังเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่คนเลี้ยงหลายคน หรือคนที่ชื่นชอบนกอาจไม่ได้นึกถึงนั่นคือ โรคหรือเชื้อโรค ที่สามารถติดต่อสู่คนได้
นกพิราบ เป็นหนึ่งในตัวอย่างสัตว์ปีกที่ดูภายนอกเหมือนไม่มีพิษภัย แต่จริง ๆ แล้วซ่อนโรคร้ายอย่าง เชื้อรามูลนก หรือ โรคคริปโตคอกโคสิส (Cryptococcosis) โดยมนุษย์รับเชื้อผ่านการหายใจ เมื่อเกิดการติดเชื้อจะมีอาการคล้ายกับโรคปอดบวม มีอาการไอ มีไข้ และหายใจถี่ อาจมีอาการปวดหัว ปวดคอ บางรายรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้ จึงมีคำเตือนให้งดเล่นหรืองดทำกิจกรรมที่มีนกพิราบเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การถ่ายรูป หรือการให้อาหารในพื้นที่สาธารณะที่มีนกพิราบมารุมล้อมเป็นจำนวนมาก นอกจากเชื้อรามูลนก ยังมีโรคอะไรบ้างที่เสี่ยงต่อคนเลี้ยงนก คนรักนก หรือคนทั่วไปที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับนก รายการ โรงหมอWed, 26 Jun 2024 - 29min - 6161 - โรงหมอ EP. 988: ชะลอวัยให้ดูอ่อนเยาว์ด้วยการกิน กับสิ่งที่ควรทำจากหลัก 3ล
สำหรับคนที่ชอบกินอาหารรสหวาน หรือมีปริมาณน้ำตาลมาก ๆ เสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำให้แก่ก่อนวัย เพราะน้ำตาลถือเป็นสารความแก่ ที่มีผลกระทบต่อผิวพรรณ โดยไปทำลายโครงสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ผิวจึงขาดความยืดหยุ่น เกิดรอยคล้ำ มีจุดด่างดำ มีริ้วรอย ผิวเหี่ยวก่อนวัย ส่วนเรื่องสุขภาพ เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ, เบาหวาน, ตับ, ความดันโลหิตสูง หรือแม้แต่โรคความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์) หากไม่ต้องการให้ดูแก่ก่อนวัย หลักปฏิบัติ 3ล ที่ควรทำมีอะไรบ้าง และควรเลือกกินอาหารอย่างไร รายการ โรงหมอ
Mon, 24 Jun 2024 - 30min - 6160 - โรงหมอ EP. 987: คลำเจอก้อนที่หน้าอก มะเร็งเต้านมหรือไม่ ผู้ชายมีสิทธิ์เป็นหรือเปล่า
การตรวจเต้านมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเต้านมก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายโรคได้เช่นกัน โดยเฉพาะความผิดปกติภายในที่เกิดจากก้อนบางอย่างซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อย หากคลำเจอแล้วมีอาการเจ็บอาจเกิดจากการเป็นซีส หรือถุงน้ำ ซึ่งไม่เป็นอันตราย แต่หากไม่มีอาการเจ็บให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นเนื้องอก หรือมะเร็งเต้านม (ผู้ชายเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่จะพบเพียงแค่ 1% เท่านั้น) การตรวจสอบและวิธีการสังเกตเต้านมทำอย่างไร สีของหัวนมและขนาดของเต้านมที่ไม่เท่ากันต้องกังวลอะไรหรือไม่ อายุเท่าไหร่ต้องตรวจเต้านม รายการ โรงหมอ
Fri, 21 Jun 2024 - 28min - 6159 - โรงหมอ EP. 986: สัตว์มีพิษในหน้าฝน กับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง
สัตว์มีพิษที่เรามักนึกถึงเป็นอันดับแรกคือ งู ซึ่งพบได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และมีหลากหลายชนิด การเรียนรู้เรื่องการปฐมพยาบาลจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดเหตุกับเราหรือคนรอบข้างเมื่อใด แต่ที่แน่ ๆ หากโดนงูกัด ให้ตั้งสติอย่าตกใจ จดจำลักษณะงูให้ได้มากที่สุด อวัยวะส่วนใดที่โดนงูกัดขยับให้น้อยที่สุดหรือไม่ขยับเลยยิ่งดี ที่สำคัญ ห้ามขันชะเนาะ เด็ดขาด ไขข้อสงสัยทำไมต้องตั้งสติอย่าตกใจ ทำไมต้องจำลักษณะงูให้ได้ ทำไมห้ามขันชะเนาะ รวมถึงสัตว์มีพิษชนิดอื่น ๆ ต้องปฐมพยาบาลอย่างไร แบบไหนให้รีบไปหาหมอทันที รายการ โรงหมอ
Wed, 19 Jun 2024 - 29min - 6158 - โรงหมอ EP. 985: วิธีสร้างอารมณ์ SEX ก่อนเบื่อหน่ายจนกลายเป็นบอกเลิก
กิจกรรมรักบนเตียง เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนรักและชีวิตคู่ แน่นอนในตอนที่คบหากันใหม่ ๆ สิ่งนี้เป็นเรื่องร้อนแรงเร้าใจ แต่พอนานวันหากอะไรที่เหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม ท่าทางเดิม ไม่มีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลง ก็เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตคู่ได้ จนอาจกลายเป็น โรคเบื่อเซ็กส์ จนท่ามาตรฐานบางท่า อาจกลายเป็นท่าสิ้นคิดไปแล้ว เราจะสร้างบรรยากาศและอารมณ์กิจกรรมรักบนเตียงได้อย่างไร มีความสำคัญและสัมพันธ์กับชีวิตคู่อย่างไรบ้าง รายการ โรงหมอ
Mon, 17 Jun 2024 - 28min - 6157 - โรงหมอ EP. 984: ถูกทำร้ายและทอดทิ้ง ปัญหาใหญ่ในคนสูงวัย
ปัญหาผู้สูงวัยถูกทอดทิ้งหรือถูกทำร้าย ไม่ได้เกิดขึ้นหรือเป็นปัญหาเฉพาะสังคมไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีหลายปัจจัยมากที่ทำให้ผู้สูงวัยต้องตกอยู่ในสถานการณ์นี้แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการศึกษาพบปัญหานี้นับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การถูกทำร้ายร่างกายสร้างบาดแผลและความเจ็บปวดที่สามารถมองเห็นและหายไปเองได้ การถูกทอดทิ้งก็สร้างบาดแผลและความเจ็บปวดภายในจิตใจได้เช่นกัน แต่ต่างกันที่บางเหตุการณ์ที่พบเจออาจไม่มีวันจางหายจนวาระสุดท้ายของชีวิตก็ได้ มีปัจจัยอะไรที่ทำให้ผู้สูงวัยต้องถูกทำร้ายหรือทอดทิ้ง คนใกล้ชิดจะช่วยเยียวยาหรือทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ รายการ โรงหมอ
Fri, 14 Jun 2024 - 29min - 6156 - โรงหมอ EP. 983: น้ำมันทอดซ้ำ อันตรายที่ต้องเลี่ยง ความเสี่ยงที่ไม่ควรกินอย่างยิ่ง
น้ำมันทอดซ้ำ เป็นภัยเงียบก่อโรคอีกชนิดหนึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ สมองตีบ โรคหัวใจวาย โรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร รวมถึงมะเร็งปอด หากสูดดมไอระเหยน้ำมันทอดซ้ำเป็นเวลานาน ๆ โดยมีสารอันตราย 2 กลุ่มจากน้ำมันทอดซ้ำ คือ สารโพลาร์ และสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอย่างแรง ยังมีอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ การเลือกใช้น้ำมันประกอบอาหาร เรื่องราวสุขภาพเหล่านี้ รายการ โรงหมอ
Wed, 12 Jun 2024 - 30min - 6155 - โรงหมอ EP. 982: ดีท็อกซ์สารพิษโลหะหนัก ด้วยอาหารจากธรรมชาติ
โลหะหนัก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งรูปแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยโลหะหนักที่เราคุ้นชิน เช่น สารหนู ปรอท แคดเมียม ซึ่งเป็นสารอันตรายทำให้เกิดพิษ เกิดโรค รวมถึงการทำลายอวัยวะบางส่วนของร่างกายด้วย ดีท็อกซ์ (Detox) จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยในการขจัดขับล้างพิษเหล่านี้ออกมา สามารถทำได้ด้วยการกินอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยขจัดขับล้างออกไปได้ สารอาหารจากธรรมชาติมีอะไรบ้างที่ช่วยดีท็อกซ์สารพิษจำพวกโลหะหนักออกจากร่างกาย โรงหมอ
Mon, 10 Jun 2024 - 30min - 6154 - โรงหมอ EP. 981: โรคเชื้อราแมว พบได้บ่อย ติดต่อได้ แถมอันตราย
โรคเชื้อราแมว เป็นโรคที่พบได้บ่อยและเป็นอันตรายต่อแมวอย่างมาก โดยเกิดจากการสะสมความชื้นบนร่างกายของแมว โดยเฉพาะพันธุ์ขนยาวมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากที่สุด อาการที่แสดงให้เห็นสังเกตไม่ยาก เช่น ผิวหนังแห้ง แดง ลอกเป็นขุย ขนร่วง และบางตัวอาจมีอาการตกสะเก็ด สามารถติดไปสู่แมวตัวอื่นและติดสู่คนได้ด้วย เพราะอะไรโรคนี้มักเกิดขึ้นกับแมวพันธุ์ขนยาว อาการและการรักษาทำอย่างไร รายการ โรงหมอ
Fri, 07 Jun 2024 - 28min - 6153 - โรงหมอ EP. 980: สภาพจิตติดพนันออนไลน์ แค่ลองทำไมติด ติดแล้วทำไมออกไม่ได้
พนันออนไลน์ เป็นปัญหาระดับชาติของประเทศไทย ไม่เพียงแค่สร้างความเสียหายต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ ยังส่งผลต่อชีวิตของคนติดพนันและคนรอบข้างด้วย แนะนำว่า "อย่าลอง" เพราะลองแล้วติด ติดแล้วออกไม่ได้หรือออกยากมาก
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้พฤติกรรมติดการพนันเป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "พาโธโลจิคัล แกมบลิง (Pathological Gambling)"เป็นพฤติกรรมที่รู้ว่าการพนันเป็นสิ่งไม่ได้ ส่งผลกระทบหลายอย่าง หรือแม้แต่อาจต้องสูญเสียบางสิ่งบางอย่าง แต่อดไม่ได้ที่จะทำหรือเล่น ซึ่งคล้ายกับการติดสารเสพติด จิตใจจดจ่อโหยหาอยากเล่นการพนันตลอดเวลา ไม่สามารถคิดหรือทำอย่างอื่นได้ หนักขึ้นจะมีความคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งมักเกิดหลังจากสูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก พนันออนไลน์ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการพนันที่ง่ายต่อการเข้าถึงของทุกกลุ่มทุกวัย อะไรคือความน่ากลัวต่อสภาพจิตใจ รายการ โรงหมอWed, 05 Jun 2024 - 29min - 6152 - โรงหมอ EP. 979: วิธีชะลอภาวะสมองเสื่อมของคนสูงวัย
สมองเสื่อม เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เป็นภาวะความสามารถทางสติปัญญาลดลง ส่งผลให้คิดหรือจำความไม่ได้ ส่งผลให้มีอาการหลงลืม พฤติกรรมหรืออารมณ์เปลี่ยนไป ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดย #อัลไซเมอร์ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด แม้ปัจจุบันสมองเสื่อมยังไม่ได้มีการสรุปสาเหตุที่แน่ชัดแต่สามารถชะลอการเสื่อมถอยของสมองได้ มีวิธีการใดบ้างที่ช่วยพัฒนาคุณภาพสมองให้กับคนสูงวัย รายการ โรงหมอ
Mon, 03 Jun 2024 - 29min - 6151 - โรงหมอ EP. 978: พ่อแม่เราไม่ยอมรับ แฟนทำอะไรก็ผิดไปหมด ทำอย่างไร
หนึ่งในปัญหาโลกแตกด้านความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างพ่อตากับลูกเขย แม่ผัวกับลูกสะใภ้ หรือแฟนของตัวเราเอง นั่นคือความรู้สึกไม่ชอบตั้งแต่แรกเจอ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในลักษณะนี้คนที่ได้รับความทุกข์หรือรองรับความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายคือ ตัวเรา ในฐานะคนกลางที่คอยประสานเชื่อมความสัมพันธ์และสร้างเส้นทางที่ทั้งสองฝ่ายลงตัวได้ เส้นทางความรักไม่ราบรื่นแถมยังต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น ในสถานการณ์ที่พ่อแม่เราไม่ยอมรับแฟน แฟนทำอะไรก็ผิดไปหมด มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง หากแก้ไขที่พ่อแม่ไม่ได้ ตัวเราและแฟนต้องทำอย่างไร รายการ โรงหมอ
Fri, 31 May 2024 - 27min - 6150 - โรงหมอ EP. 977: สารไซบูทรามีนในอาหารเสริม กินเสี่ยงตายอันตรายมาก
ไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นสารที่ใช้ในการควบคุมความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว และกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ในทางการแพทย์ใช้สำหรับการควบคุมน้ำหนักร่วมกับโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักอื่น ๆ ในคนที่มีดัชนีมวลกาย (บีเอ็มไอ: BMI) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือคนที่มีดัชนีมวลกาย 27 ขึ้นไปแต่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมได้ ซึ่งแพทย์จะควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด แต่สำหรับคนอื่นทั่วไป การกินอาหารเสริมที่มีสารชนิดนี้ "อันตรายเป็นอย่างมาก" เพราะมีผลข้างเคียงเยอะ ที่สำคัญ ไซบูทรามีน ได้ถูกยกเลิกทะเบียนตำรับไปแล้วตั้งแต่ปี 2553 หลังมีรายงานการศึกษาพบว่า มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เกิดผลเสียร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต รวมถึงจัดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดอีกด้วย ไซบูทรามีนในอาหารเสริม อันตรายอย่างไร ผลข้างเคียงร้ายแรงมีอะไรบ้าง รายการ โรงหมอ
Wed, 29 May 2024 - 29min - 6149 - โรงหมอ EP. 976: ไปเที่ยวถ้ำ ต้องระวังเรื่องอะไร
หนึ่งในสถานที่ที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวในลักษณะการผจญภัยที่ได้รับความนิยม คือ ถ้ำ มีลักษณะเป็นโพรงลึกเข้าไปในภูเขา แต่ละที่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสวยงามแตกต่างกันออกไป นอกจากความตื่นเต้นที่ได้ผจญภัยและการได้ชมความสวยงามแล้ว ยังมีเรื่องที่มนุษย์ต้องระวังเมื่อต้องเข้าไปในถ้ำ
นอกจากปริมาณและคุณภาพอากาศที่ใช้หายใจภายในถ้ำแล้ว ยังมีเรื่องที่ส่งผลต่อสุขภาพที่อาจได้รับโดยไม่รู้ตัวนั่นคือ กลุ่มเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากสัตว์ที่อาศัยอยู่ภายในถ้ำ โดยเฉพาะ ค้างคาว สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคระบาดไปทั่วโลกอันโด่งดังเมื่อปลายปี 2562 จากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับมูลค้างคาวที่สามารถลอยฟุ้งกระจายไปในอากาศ สามารถเข้าจมูกจากการสูดดม ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ กับคนที่ภูมิต้านทานไม่แข็งแรง ถ้ำประเภทใดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด ความเสี่ยงจากการได้รับเชื้อโรคมีอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร รายการ โรงหมอMon, 27 May 2024 - 29min - 6148 - โรงหมอ EP. 975: ความโดดเดี่ยวของคนวัย Gen Z
การแพร่ระบาดโควิด-19 เริ่มช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 คนที่เกิดในช่วงต้นของคนวัย Gen Z จะมีอายุตั้งแต่ 21 ปีลงไป ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน บางคนเพิ่งจบการศึกษาใหม่ ๆ เตรียมหางานทำกลับต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเริ่มต้นใช้ชีวิตวัยทำงาน ต้องเจอกับสถานการณ์การเลิกจ้าง ปิดบริษัท ลดจำนวนพนักงาน ลดเงินเดือน ฯลฯ ยังไม่ทันได้หางานก็กลายเป็นคนตกงาน อยู่ในภาวะการแย่งงาน บางคนได้งานแต่กลับโดดเดี่ยว ไม่มีปฏิสัมพันธ์ ไม่มีที่ปรึกษา ไร้เพื่อน ไร้คู่คิด เพราะสถานการณ์บังคับให้ Work from Home มองไปทางไหนชีวิตไม่ลงตัว แถมอาจถูก AI แย่งงานอีก แม้สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายลงแล้ว บางสิ่งบางเรื่องบางอย่างเริ่มกลับมาเป็นปกติ แต่ทำไมคนวัย Gen Z ยังต้องเผชิญกับความรู้สึกโดดเดี่ยว รายการ โรงหมอ
Fri, 24 May 2024 - 29min - 6147 - โรงหมอ EP. 974: โรคและอาการ สัญญาณที่ออกมาจากมือ
มือ เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย มีประโยชน์ในการหยิบ จับ ป้องกันระวังภัย หรือแสดงออกผ่านท่าทางและอารมณ์ได้ บทบาทของมือไม่ได้มีเพียงแค่นี้ ยังเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายที่แสดงให้เจ้าตัวหรือคนรอบข้างรู้ได้เช่นกันสัญญาณเตือนจากมือยังมีอะไรอีกบ้างที่เราจำเป็นต้องรู้ เพื่อป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที รายการ โรงหมอ
Wed, 22 May 2024 - 29min - 6146 - โรงหมอ EP. 973: เผ็ด ไม่ใช่รสชาติ ทำไมคนเรากินเผ็ดได้ไม่เท่ากัน
สิ่งที่ให้ความเผ็ดที่เรารู้จักกันดีนั่นคือ พริก โดยเฉพาะไส้แกนกลางที่มีเมล็ดพริก นี่คือตัวสร้างความเผ็ดร้อนที่เกิดจาก "สารแคปไซซิน" (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่ให้ประโยชน์กับร่างกาย มีส่วนช่วยบรรเทาและรักษาหรือทำให้อาการบางอย่างดีขึ้น เราจะทราบกันดีว่า แคปไซซิน มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดระดับไขมันในเลือด ลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวในและหลอดเลือด แต่สำหรับคนบางกลุ่มก็ต้องระวังการรับประทานพริกหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารแคปไซซินด้วยเช่นกัน เมื่อความเผ็ดไม่ใช่รสชาติ แล้วเราเผ็ดได้อย่างไร ใครต้องระวังการรับประทานอาหารเผ็ด แล้วทำไมคนเราจึงกินเผ็ดได้ไม่เท่ากัน รายการ โรงหมอ
Mon, 20 May 2024 - 29min - 6145 - โรงหมอ EP. 972: บุหรี่ไฟฟ้า เรื่องที่เขาไม่ได้บอกและหลอกให้เราเชื่อว่าดี
เราได้ยินมาตลอดว่า สำหรับคนที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่แบบไม่หักดิบ ก็ให้ลดปริมาณการสูบลงที่ละน้อย หรือเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน เพราะอันตรายน้อยกว่า กลิ่นดีกว่า ฯลฯ นี่เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตพยายามใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสื่อสารข้อดีออกไปโดยเก็บงำซ่อนเงื่อนอันตรายเอาไว้ไม่บอก แน่นอนว่าเด็กก็รับรู้เรื่องนี้ไปด้วย สารเคมีตัวเด่นที่เป็นตัวร้ายที่สุดของบุหรี่มวน และบุหรี่ไฟฟ้า คือ นิโคติน ใช่ อันตรายเหมือนกัน แต่ระดับความรุนแรงต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณนิโคตินที่ของบุหรี่ไฟฟ้าบางแท่งที่เป็นรุ่นใหม่ มีสูงเท่ากับการสูบบุหรี่มวนถึง 20 ซอง และยังพบสารก่อมะเร็ง โลหะหนัก (แคดเมียม, ตะกั่ว, นิเกิล ฯลฯ) สารอินทรีย์ระเหยง่าย รวมถึง PM 2.5 และ PM 1.0
แต่สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ การที่ผู้ผลิตปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ดูน่าสนใจน่าซื้อจึงกลายเป็นการดึงดูดให้คนที่มีอายุน้อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เรื่องและเบื้องหลังอะไรที่เขาไม่ได้บอกหรือหลอกให้เข้าสู่วังวนนี้ รายการ โรงหมอFri, 17 May 2024 - 31min - 6144 - โรงหมอ EP. 971: ฮีทสโตรก อาการและความเสี่ยงจากความร้อน
ฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคลมแดด ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนเริ่มตื่นตัวหลังจากประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดอย่างที่หลายคนบอกว่า "ไม่เคยสัมผัสกับสภาพอากาศที่ร้อนแบบนี้มาก่อน" จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น โรคหรือภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติในร่างกาย เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เช่น การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน
สัญญาณเตือน และปฏิกิริยาที่ผิดปกติทางร่างกายอะไรบ้างที่ตัวเราและคนรอบข้างจำเป็นต้องสังเกต การช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งโรงพยาบาลควรทำอย่างไร เพราะฮีทสโตรก หากช่วยไม่ทันเสี่ยงเสียชีวิต รายการ โรงหมอ
Wed, 15 May 2024 - 29min - 6143 - โรงหมอ EP. 970: ปัญหาและโรคจากลิงที่มนุษย์ต้องระวัง
การจัดการลิงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีกฎหมายคุ้มครองรวมถึงเป็นสัตว์ที่ขึ้นบัญชีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือไซเตส (CITES) โดยมี 12 จังหวัดที่ปัญหาลิงอยู่ในระดับวิกฤต คือ ลพบุรี, เพชรบุรี, กระบี่, ชลบุรี, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์, ภูเก็ต, มุกดาหาร, สตูล, สระบุรี, อำนาจเจริญ และบางส่วนของกรุงเทพมหานคร นอกจากการสร้างความเสียหาย ความหวาดกลัว ความน่ารำคาญแล้ว ยังต้องระวังเรื่องโรคที่มาจากลิงด้วย เพราะลิงไม่ใช่สัตว์สะอาด การศึกษาค้นพบพฤติกรรมธรรมชาติของลิงที่เปลี่ยนไปมีอะไรบ้าง โรคอะไรที่ต้องระวังจากลิงที่เป็นพาหะมาสู่คน รายการ #โรงหมอ
Mon, 13 May 2024 - 29min - 6142 - โรงหมอ EP. 969: เมื่อเด็กเริ่มใช้ความรุนแรงต่อกัน จัดการอย่างไร
หากพูดถึงสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย ย่อมต้องมีการแข่งขัน ต่อสู้ ชิงพื้นที่เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของตัวเอง หรือแม้แต่การขยายเผ่าพันธุ์ ความรุนแรง จึงเป็นหนึ่งในสัญชาตญาณดิบที่ติดตัวมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์
แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างสัตว์กับมนุษย์ คือ พัฒนาการบ้างด้านบ้างอย่างที่ทำให้ความก้าวร้าว ดุร้ายรุนแรงลดลง เช่น ความเจริญทางสมองที่สัมพันธ์กับเรื่องความคิดและสติปัญญา หรือวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ที่มีกฎระเบียบ ขนบธรรมเนียมประเพณี เข้ามาเป็นตัวควบคุม แต่อย่าลืมว่าพื้นฐานของมนุษย์ยังคงมีความก้าวร้าว ความรุนแรง ความดิบ ที่สืบทอดและติดตัวไม่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ แต่มนุษย์จัดการได้ เราสามารถจัดการอย่างไรเพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรง โดยเฉพาะเด็ก หากเห็นว่าเริ่มใช่ความรุนแรงกับเพื่อนหรือคนรอบข้าง คนที่เกี่ยวข้องควรจัดการอย่างไรในเชิงจิตวิทยา รายการ โรงหมอFri, 10 May 2024 - 28min - 6141 - โรงหมอ EP. 968: โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อันตรายถึงชีวิตที่ป้องกันได้
กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบันของประเทศไทยและของโลก เพราะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง โดยประชากรไทยเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 3 รองจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ" ก็เป็นหนึ่งในนั้น คนที่มีความเสี่ยงคือคนที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ไม่ออกกำลังกาย ในครอบครัวมีประวันเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีและผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ที่สำคัญโรคนี้อันตรายถึงชีวิตได้หากรักษาไม่ทันเวลา โรคนี้ต้นตอเกิดจากอะไร รวมทั้งจะป้องกันความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคนี้หรือกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างไร รายการ โรงหมอ
Wed, 08 May 2024 - 27min - 6140 - โรงหมอ EP. 967: อาหารบำบัดภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ โดยกำหนดเอาไว้ที่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ภาวะนี้จะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคร้ายต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ก็ยังพบจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย การลดภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การใช้อาหารเป็นเครื่องมือช่วยในการบำบัด มีอาหารประเภทหรือชนิดใดบ้างที่ช่วยในเรื่องนี้ รายการ โรงหมอ
Mon, 06 May 2024 - 29min - 6139 - โรงหมอ EP. 966: บุหรี่กับผู้หญิง และสิ่งที่อาจยังไม่รู้
สารเคมีในบุหรี่มีมากกว่า 7,000 ชนิด โดยมีตัวเด่นตัวร้ายที่สุดนั้นคือ นิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุข คือ โดปามีน (Dopamine) เมื่อสูบแล้วจึงรู้สึกผ่อนคลาย และพบว่านิโคตินเป็นสารที่ฤทธิ์เสพติดสูงที่สุด เมื่อเทียบกับเฮโรอีน แอมเฟตามีน และโคเคน อีกทั้งยังพบว่าฤทธิ์ที่เด่นที่สุดเฉพาะตัวของสารชนิดนี้ คือ ทำให้หลอดเลือดตีบ หดทั่วร่างกาย ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะทั้งร่างกายได้น้อยลง อาการที่พบได้บ่อยคือ #สมองขาดเลือด ที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต #หัวใจขาดเลือด ทำให้หัวใจหยุดเต้น หัวใจวาย ส่วนปอดซึ่งรับนิโคตินโดยตรง ทำให้ปอดอักเสบ หอบหืด โดยเฉพาะคนที่สูบ #บุหรี่ไฟฟ้า อาการรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 จะมาก 5-7 เท่าของคนปกติที่ไม่สูบบุหรี่ ยังมีข้อมูลที่น่าตกใจอีกมากเกี่ยวกับบุหรี่ โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่มีข้อมูลพบว่า อันตรายกว่าบุหรี่มวนหลายเท่านัก รายการ โรงหมอ
Fri, 03 May 2024 - 28min - 6138 - โรงหมอ EP. 965: โรคลมพิษ
สำหรับใครที่อยู่ดี ๆ แล้วมีผื่นแดงนูน ๆ คัน ๆ ขึ้นตามผิวหนัง ยิ่งคันยิ่งเกา ยิ่งเกายิ่งขึ้นยิ่งลามไปกันใหญ่ นี่เป็น โรคลมพิษ (Urticaria) โรคที่พบได้บ่อยมากในทุกคนทุกกลุ่มอายุ แต่อาการจะรุนแรงมากน้อยก็มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
โรคนี้ดีหน่อยเพราะอยู่กับเราไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นที่ขึ้นตามร่างกายจะค่อย ๆ หายไปพร้อมกับอาการคัน แต่เป็นโรคที่เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ลมพิษชนิดเฉียบพลัน จะมีอาการต่อเนื่องไม่เกิน 6 สัปดาห์ อีกกลุ่มคือ ลมพิษชนิดเรื้อรัง มีอาการต่อเนื่องยาวนานเกิน 6 สัปดาห์ (ในหนึ่งสัปดาห์จะเป็น 2 วันต่อเนื่องนานเกิน 6 สัปดาห์) กลุ่มนี้มักหาสาเหตุไม่ได้ แต่คุณรู้หรือเปล่าว่า เป็นหวัด ฟันผุ นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ อากาศเย็น ก็ทำให้เกิดโรคลมพิษได้ ยังมีสาเหตุอะไรบ้างหากเป็นลมพิษแล้วต้องไปหาหมอเพื่อค้นหาต้นตอของโรคแล้วรักษา ที่สำคัญจะทำอย่างไรในระหว่างรอหมอเรียกรักษาแล้วอาการนี้กลับหายไปเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น รายการ โรงหมอWed, 01 May 2024 - 29min - 6137 - โรงหมอ EP. 964: เลือดออก บอกอาการและโรคได้
มีสัญญาณเตือนหลาย ๆ อย่างในร่างกายของเรา ที่แสดงออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อบอกให้เราตรวจสอบว่าเป็นอะไรกันแน่ หนึ่งในนั้นคือ #เลือด ของเหลวที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ก็เป็นสัญญาณความผิดปกติของร่างกายได้เช่นกัน
จุดที่มีเลือดออกจะมีสาเหตุและอาการแตกต่างกันออกไป เช่น เลือดออกจากจมูก หรือที่รู้จักกันคือ เลือดกำเดาไหล มักเกิดจากเยื่อบุโพรงจมูกฉีกขาดจากการได้รับแรงกระแทก อากาศแห้ง ไอจาม หรือแม้แต่การแคะจมูก หรือเลือดออกจากการไอ ซึ่งเลือดอาจมาจากช่องคอ ช่องท้อง หรือปอด หรือแม้แต่การปัสสาวะเป็นเลือด อาจเกิดได้จากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคไตชนิดอักเสบ นิ่วในไต หรือแม้แต่มะเร็งต่อมลูกหมากก็ได้ เมื่อมีอาการเลือดออกจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยตรวจให้เจอสาเหตุที่แท้จริง เลือดออกบอกอาการและโรคอะไรได้อีกบ้างตั้งแต่หัวจรดเท้า รายการ โรงหมอMon, 29 Apr 2024 - 29min - 6136 - โรงหมอ EP. 963: โรคเสพติดความสำเร็จจากโซเชียลมีเดีย
โรคเสพติดความสำเร็จจากโซเชียลมีเดีย เกิดจากการเปิดเผยด้านความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว ทำให้เรามองเห็นแต่คนที่มีชีวิตสมบูรณ์แบบเต็มไปหมด จนเกิดการนำมาเปรียบเทียบ สร้างความกดดัน และความเครียดให้กับตนเอง ทำให้เกิดความอยากได้อยากมี รู้สึกอิจฉาในความสำเร็จของคนอื่น โดยไม่ได้มองอีกมุมหรืออีกด้านของคน ๆ นั้นว่า เขาก็อาจเป็นเหมือนกับเรา ที่ซ่อนความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวหรือความล้มเหลวเอาไว้ไม่ให้ใครรู้ จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต อยู่ในสภาวะซึมเศร้าจนถึงขั้นทำร้ายตัวเอง โดยเฉพาะการลดคุณค่าและไม่เคารพในตัวเอง จุดเริ่มต้นของโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะรู้หรือมีสติกับโลกจอมปลอมเหล่านี้และมองกลับมาในโลกแห่งความเป็นจริงต้องทำอย่างไร รายการ โรงหมอ
Fri, 26 Apr 2024 - 28min - 6135 - โรงหมอ EP. 962: ความเค็ม ความเสี่ยง กับการเลี่ยง และลดความเค็ม
ปัจจุบันสิ่งที่น่าตกใจจากการบริโภครสเค็มมากเกินไปของคนไทย คือ จากการสำรวจและเก็บสถิติทางการแพทย์พบว่า โรคต่าง ๆ ที่เกิดจาการกินเค็ม เช่น โรคความดันโลหิตสูง พบในคนที่มีอายุน้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่กินเค็มสะสมมาตั้งแต่ตอนเด็ก ๆ และยังพบอีกว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กติดเค็ม เกิดจากพ่อแม่ เพราะพ่อแม่มักเอารสชาติอร่อยของตัวเองเป็นที่ตั้งนั่นก็คือ เค็ม ไปใส่ในอาหารเด็ก ซึ่งมักมาจากผลิตภัณฑ์แปรรูปความเค็ม เช่น ซุปก้อน หรือผงชูรส
จะทำอย่างไรให้ร่างกายสามารถปรับตัวเองไม่ให้กินเค็มจนส่งผลเสียต่อร่างกาย และมีคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารสำหรับเด็กอย่างไรให้หลีกเลี่ยงจากความเค็มมากที่สุด รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะWed, 24 Apr 2024 - 29min - 6134 - โรงหมอ EP. 961: คุกคามทางเพศ จะหลีกเลี่ยงอย่างไร
คุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ก่อนหน้านี้มักหมายถึงการแสดงหรือการกระทำที่เกิดจากฝ่ายชายต่อฝ่ายหญิง แต่ปัจจุบันได้หมายรวมทุกลุ่มทุกเพศ ทั้งการกระทำกับเพศตรงข้าม เพศเดียวกัน ยังรวมไปถึงวัยเด็กและผู้ใหญ่ในลักษณะไม่พึงประสงค์ ผ่านการใช้สีหน้า ท่าทาง พูดจา การแตะเนื้อต้องตัว รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม การคุกคามทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้ทุกสถานการณ์ ส่วนใหญ่แล้วมักกระทำผ่านอะไรบ้าง แล้วจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างไร รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ
Mon, 22 Apr 2024 - 29min - 6133 - โรงหมอ EP. 960: คนวัยทำงาน กินอะไรให้มีแรงมีพลัง
คนวันทำงานเป็นวัยที่ใช้พลังงานอย่างเต็มที่ สารอาหารจึงจำเป็นต่อร่างกายทั้งช่วยให้แข็งแรง เสริมภูมิต้านทาน ฟื้นฟูร่างกาย อาหารที่จำเป็น เช่น วิตามินดี ซึ่งคนไทยจำนวนไม่น้อยได้รับวิตามินชนิดนี้ไม่เพียงพอ ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ได้เมื่อผิวหนังโดนแสงแดด วิตามินบี ช่วยการทำงานของระบบประสาทและสมอง วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ฯลฯ ยังมีสารอาหารและอาหารชนิดใดบ้างที่เหมาะกับคนวัยทำงาน ช่วยเสริมสร้างเพิ่มแรงให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ รายการ โรงหมอ
Fri, 19 Apr 2024 - 29min - 6132 - โรงหมอ EP. 959: นิ่วในถุงน้ำดี
ถุงน้ำดี (Gallbladder) มีขนาดเท่ากำปั้นมือ อยู่ใต้ตับบริเวณช่องท้องใต้ชายโครงขวาบน ทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีที่สร้างออกมาจากตับแล้วปล่อยเพื่อย่อยไขมันตอนที่รับประทานอาหาร ปกติน้ำดีจะมีลักษณะใส แต่เมื่อใดก็ตามที่สารสำคัญในน้ำดีไม่สมดุลกัน น้ำดีจะเริ่มเข้มข้นขึ้นจนกลายเป็นโคลนตะกอน ก่อนจะกลายเป็นก้อนกรวด เมื่อจับตัวกันจะกลายเป็นก้อนหิน ซึ่งขนาดจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ปัจจุบันนิ่วที่พบได้บ่อยคือ นิ่วคอลเลสเตอรอล (Cholesterol Stones) เกิดจากคนที่ชอบกินอาหารไขมันสูง หรือมีไขมันในเส้นเลือดสูง นิ่วจากสารฮีม (Heme) ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง มักเกิดกับคนที่เม็ดเลือดแดงแตกง่าย และการติดเชื้อในท่อน้ำดี ก็ทำให้เกิดนิ่วได้
รายงานทางการแพทย์จากต่างประเทศพบประชากรทั่วไปถึง 20% เป็นนิ่วในถุงน้ำดี แต่รู้หรือไม่ว่า นิ่วในถุงน้ำดี ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ หรือ มีอาการแต่ไม่รู้ว่าเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี อาการชัด ๆ ที่ส่งสัญญาณมีอะไรบ้าง ใครคือกลุ่มเสี่ยง รักษาอย่างไร มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้หรือไม่ รายการ โรงหมอWed, 17 Apr 2024 - 29min - 6131 - โรงหมอ EP. 958: การรับมือภาวะการแข่งขันภายใต้ความกดดัน
เด็กทุกคนที่มุ่งมั่นเพื่อให้ได้เข้าเรียน ต่างมีความหวังว่า จะเป็นหนึ่งในคนที่สามารถผ่านบททดสอบต่าง ๆ แล้วได้เข้าไปเรียน แม้การคัดเลือกจะมีคนได้เพียงแค่ 10% และไม่ได้อีกถึง 90% ก็ตาม ความกดดันไม่เกิดขึ้นจากตัวเด็กเท่านั้น บางครั้งพ่อแม่ก็เป็นฝ่ายกดดันลูกโดยที่พ่อแม่เองไม่รู้ตัว ใด ๆ ก็ตามสิ่งที่น่ากลัวหลังจากนั้นคือ การได้ออกมาใช้ชีวิตจริง ๆ นอกห้องเรียนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปรากฏว่า คนที่เรียนเก่งได้อันดับที่ดีมาตลอด กลับทำงาน ปฏิบัติ หรือใช้ชีวิตได้ไม่ดีนัก ภายใต้แรงกดดันจากการแข่งขันจะรับมือเรื่องเหล่านี้อย่างไร คนเป็นพ่อแม่ควรปฏิบัติแบบไหน รายการ โรงหมอ
Mon, 15 Apr 2024 - 28min - 6130 - โรงหมอ EP. 957: ทำไมผู้ใหญ่และคนสูงวัย ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีน เป็นอีกวิธีทางการแพทย์ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ซึ่งช่วยปกป้อง บรรเทาความรุนแรง และลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคต่าง ๆ การฉีดในวัยผู้ใหญ่หรือคนสูงวัย มีความสำคัญไม่ต่างจากวัยเด็ก เพราะคุณภาพของวัคซีนจะเสื่อมลงตามอายุที่มากขึ้น ในขณะที่อายุมากขึ้นก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้นวัคซีนจึงยังมีความสำคัญกับวัยผู้ใหญ่และคนสูงวัย มีวัคซีนอะไรบ้างที่ควรฉีดในวัยผู้ใหญ่และคนสูงวัย รายการ โรงหมอ
Fri, 12 Apr 2024 - 27min - 6129 - โรงหมอ EP. 956: ทักษะความปลอดภัยที่เด็กต้องมีเกี่ยวกับภัยทางน้ำ
เด็กกับน้ำมักเป็นของคู่กัน ทำให้ในช่วงหน้าร้อนหรือช่วงปิดเทอม จึงมีข่าวการเสียชีวิตของเด็กเล็กและเด็กวัยประถมเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติพบว่า การเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุไม่เกิน 3 ขวบ มักเกิดขึ้นภายในบ้านมากกว่านอกบ้าน
การอาบน้ำให้เด็กเป็นกิจวัตรประจำวันที่ทำกันเป็นประจำ แต่ด้วยความเผลอของคนดูแล อาจกลายเป็นเรื่องเศร้าจากการต้องทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างพร้อมกันจนลืมไปว่า เด็กกำลังอาบน้ำอยู่ โดยระดับน้ำที่สูงขึ้นมาเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้เด็กหน้าคว่ำจมน้ำจนเสียชีวิต แน่นอนว่าการดูแลใกล้ชิดเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กเล็ก ส่วนเด็กโตที่สามารถเรียนรู้ได้แล้ว มีทักษะอะไรบ้างที่เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเอาตัวรอดจากอุบัติเหตุทางน้ำ รายการ โรงหมอWed, 10 Apr 2024 - 28min - 6128 - โรงหมอ EP. 955: Heterosexual รักต่างเพศ รักเพศเดียวกันได้ไหม
หากแบ่งเพศตามเพศสภาพกำเนิดของมนุษย์ โลกนี้มีเพียงแค่เพศชายและหญิงเท่านั้น แต่ปัจจุบันอัตลักษณ์ทางเพศมีค่อนข้างหลากหลายที่เรารู้จักในชื่อ LGBTQ+ ซึ่งเป็นลักษณะความชื่นชอบตามรสนิยมเกี่ยวกับเพศของแต่ละคน ปัจจุบันมีการจัดกลุ่มเพื่อให้ความหมายในความชื่นชอบรสนิยมทางเพศ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบการใช้ชีวิตและการปฏิสัมพันธ์ แต่มีคำถามที่ว่า กลุ่ม Heterosexual ซึ่งเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบเพศตรงข้าม สามารถเปลี่ยนแปลงหรือมีความรักกับเพศเดียวกันได้หรือไม่ รายการ โรงหมอ
Mon, 08 Apr 2024 - 30min - 6127 - โรงหมอ EP. 954: ฟื้นฟูสภาพร่างกายคนป่วยด้วยอาหาร ให้กินอะไรดี
อาการเบื่ออาหารทำให้รับประทานอาหารได้น้อยของผู้ป่วย นำไปสู่ ภาวะขาดสารอาหาร หรือ ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) ซึ่งเป็นสภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย การฟื้นตัวช้าง ง่ายต่อการติดเชื่อหรือภาวะแทรกซ้อน อาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงโดยเร็ว เรียนรู้อาการเบื่ออาหารจากความเจ็บป่วยที่นำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารหรือทุพโภชนาการ และแนะนำอาหารที่จำเป็นต่อการฟื้นฟูร่างกายให้หายป่วยได้เร็วขึ้น รายการ โรงหมอ
Fri, 05 Apr 2024 - 28min - 6126 - โรงหมอ EP. 953: โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก แยกอย่างไรว่าเกิดจากเส้นประสาทหรือหลอดเลือดสมอง
โดยปกติแล้วใบหน้าทั้งสองฝั่ง (ซ้ายและขวา) ของมนุษย์สามารถขยับไปมาพร้อม ๆ กันได้ แต่หากมีปัญหาเกิดขึ้นจะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่า ข้างใดข้างหนึ่งขยับไม่ได้ อมน้ำในปากไม่อยู่ หรือพูดไม่ชัด สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิด โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก มี 2 อย่าง ที่ค่อนข้างแตกต่างกันทั้งเรื่องอาการและวิธีการรักษา คือ เกิดจาก โรคเส้นประสาทใบหน้าอักเสบ (Bell's Palsy) ในเส้นประสาทคู่ที่ 7 และเกิดจาก โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งมาพร้อมกับอาการอื่นร่วมโดยเฉพาะอาการแขนขาอ่อนแรงในฝั่งใบหน้าที่เบี้ยว หน้าเบี้ยวเกิดขึ้นได้ทันทีไม่มีสัญญาณเตือน โรคนี้อันตรายอย่างไร รักษาด้วยวิธีใด ยังมีความเสี่ยงจากกลุ่มไหนหรืออาการใดอีกบ้าง รายการ โรงหมอ
Wed, 03 Apr 2024 - 29min - 6125 - โรงหมอ EP. 952: บาดแผลไฟไหม้ อันตรายไม่เล็ก อาจทำให้เสียชีวิต
แผลไฟไหม้ มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากความร้อน ความเย็น กระแสไฟฟ้า สารเคมี และสารกัมมันตภาพรังสี แผลประเภทนี้เกิดจากเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณผิวหนังถูกทำลาย ซึ่งปกติผิวหนังสามารถทนความร้อนได้ประมาณ 40 องศาเซลเซียส หากอุณภูมิสูงกว่านี้ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนแผลง โดยจะเกิดแผลไฟไหม้ที่ชัดเจนภายใน 3 วินาทีที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส หรือภายใน 1 วินาทีที่อุณหภูมิ 69 องศาเซลเซียสขึ้นไป สำหรับความเย็นที่ทำให้เกิดแผลได้ต้องมีอุณหภูมิติดลบ พบมากจากคนที่ทำงานในโรงงานน้ำแข็ง หรืออุตสาหกรรมไดร์ไอซ์ (Dry Ice) แผลไฟไหม้ชนิดเปียกกับชนิดแห้ง แตกต่างกันอย่างไร ทำไมแผลชนิดนี้หากรักษาไม่ดีอาจเสียงต่อการเสียชีวิตได้ รายการ โรงหมอ
Mon, 01 Apr 2024 - 28min - 6124 - โรงหมอ EP. 951: ประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ ที่เกิดขึ้นกับเด็ก
ปัญหา ความรุนแรงในเด็ก เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ค่อนข้างเห็นได้บ่อยมากขึ้นในสังคมไทย และยังพบความรุนแรงในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกหนึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กแต่ผู้ใหญ่อาจไม่ทันได้คิดนั่นคือ การปล่อยปละละเลย ไม่ได้ให้ความสนใจ ใส่ใจ ดูแล หรือให้ในสิ่งที่เด็กคนหนึ่งควรได้รับ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็ก กลายเป็น ประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ ที่ส่งผลไปถึงอนาคตเมื่อเขาเจริญเติบโต อาจถ่ายทอดประสบการณ์ความนรุนแรงเหล่านั้นไปสู่เด็กในรุ่นต่อ ๆ ไปได้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับเด็กได้ด้วยวิธีใดบ้าง รายการ โรงหมอ
Fri, 29 Mar 2024 - 29min - 6123 - โรงหมอ EP. 950: ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ให้เขามีความสุขรู้สึกปลื้มปริ่ม
เพราะสุขภาพของผู้สูงอายุได้เสื่อมสภาพไม่แข็งแรงเหมือนครั้งตอนเป็นวัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ การดูแลจากลูกหลานหรือคนใกล้ชิด จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้การดำเนินกิจกรรมประจำวันเป็นไปด้วยความปกติ แล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่เพียงแค่สุขภาพทางร่างกายเท่านั้น สุขภาพทางจิตใจก็สำคัญกับคนวัยนี้เช่นเดียวกัน แม้ว่าพวกเขาจะผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นเวลานานแล้ว ความสุขก็ยังเป็นสิ่งที่คนวัยนี้ต้องการ แต่สำหรับลูกหลานจะทำอย่างไรให้คนในวันนี้มีความสุข รู้สึกปลื้มปริ่ม
รายการ โรงหมอWed, 27 Mar 2024 - 29min
Podcast simili a <nome>
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- สื่อเสียงนิทาน : นิทานเด็กเล็ก Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ