Filtra per genere

ธรรมรส โดย ฐานชโย ภิกขุ

ธรรมรส โดย ฐานชโย ภิกขุ

Thanajayo Bhikkhu

“ธรรมรส” - รายการที่แบ่งปัน"ความสุข"และ"ปัญญา"ให้กับท่านผู้ฟัง เป็นการสรุปเนื้อหาธรรมะ และองค์ความรู้ที่น่าสนใจ จากพระสูตรต่างๆในพระไตรปิฎก แบบสบายๆ ให้เข้าใจง่าย กระชับ มุ่งสู่การนำไปใช้งาน เหมาะสำหรับทุกท่าน ที่สนใจศึกษาธรรมะแต่ไม่ค่อยมีเวลา

23 - EP2- ปฏิจจสมุปบาท แก่นธรรมที่ต้องรู้ (Dependent origination): ต้นกำเนิดของธรรมะนี้มาจากไหน
0:00 / 0:00
1x
  • 23 - EP2- ปฏิจจสมุปบาท แก่นธรรมที่ต้องรู้ (Dependent origination): ต้นกำเนิดของธรรมะนี้มาจากไหน

    EP 2 ต้นกำเนิดของธรรมะนี้มาจากไหน มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกว่าพระพระพุทธองค์ทรงค้นพบอะไรดังนี้ “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ สำหรับหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วย อาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา” พรหมยาจนกถา (วิ.ม. ๔/๗/๑๑)  จะเห็นได้ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบนั้นคือกฏธรรมชาติที่ลึกซึ้ง ที่เกี่ยวกับ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน ปฏิจจสมุปบาท (Pratītyasamutpāda) หรือ “การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน”  เป็นธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ต้องมาตรัสรู้และสั่งสอนสรรพสัตว์ถือว่าเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง สมกับเป็นแก่นกลางคำสอนของพระพุทธศาสนายิ่ง น่าเสียยดายที่ชาวพุทธส่วนมากไม่ค่อยได้ให้โอกาสตนเองในการศึกษาธรรมะดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นเพราะยากมากต่อการเข้าใจ อีกทั้งไม่มีเวลาอ่านพระไตรปิฎก จึงไม่ได้เข้าถึงความรู้สำคัญดังกล่าว แม้จะเป็นสิ่งที่ยาก เหนือตรรกะจะคิดตรองให้เข้าใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะศึกษาอะไรไม่ได้เลย ตรงกันข้าม เราทั้งหลายควรจะใส่ใจศึกษาหลักแก่นธรรม ข้อนี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้นำประโยชน์จากสุดยอดของธรรมะนี้มาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข ตามสติปัญญาของเราเท่าที่จะศึกษาได้  “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท” (มหาหัตถิปโทปมสูตร ม.มู.

    สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้น โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ ประทับนั่งโดยบัลลังก์เดียว๓- เสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์เป็นเวลา ๗ วัน ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมตลอด ปฐมยามแห่งราตรีว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสจึงมี กองทุกข์ทั้งมวลนี้มีการเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ โพธิกถา (วิ.ม. ๔/๑/๑) ๑๒/๓๐๖/๓๓๘)

    ธรรมบรรยายโดย ฐานชโย ภิกขุ September 2020

    Thu, 01 Oct 2020 - 26min
  • 22 - การให้ทานที่มีผลและอานิสงส์มากเป็นอย่างไร (ทานสูตร): หลักการทำทานที่ชาวพุทธไม่ส่วนมากไม่เคยได้ยิน

    "ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสีย ประเพณี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้ หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร ไม่ได้ให้ทานด้วย คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาช- *ฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้ ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและ โสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกร สารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบาง คนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ"  (ทานสูตร องฺ.สตฺตก. ๒๓/๕๒/๘๙ - ๙๒)

    ธรรมบรรยายโดย ฐานชโย ภิกขุ

    25 September 2020

    Sat, 26 Sep 2020 - 29min
  • 21 - Ep1- ชวนคุยเรื่องปฏิจจสมุปบาท แก่นธรรมที่ต้องรู้ (Dependent origination) : ความหมายและที่มา

    EP 1 ความหมายและที่มา: มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกว่าพระพระพุทธองค์ทรงค้นพบอะไรดังนี้ “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ สำหรับหมู่ประชาผู้รื่นรมย์ด้วย อาลัย ยินดีในอาลัย เพลิดเพลินในอาลัย ฐานะอันนี้ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท ถึงแม้ฐานะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยากนัก กล่าวคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และผู้อื่นจะไม่เข้าใจซึ้งต่อเรา ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา” พรหมยาจนกถา (วิ.ม. ๔/๗/๑๑)  จะเห็นได้ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบนั้นคือกฏธรรมชาติที่ลึกซึ้ง ที่เกี่ยวกับ หลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน ปฏิจจสมุปบาท (Pratītyasamutpāda) “การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยกัน”เป็นธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ต้องมาตรัสรู้และสั่งสอนสรรพสัตว์ถือว่าเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง สมกับเป็นแก่นของพระพุทธศาสนายิ่ง น่าเสียยดายที่ชาวพุทธส่วนมากไม่ค่อยได้ให้โอกาสตนเองในการศึกษาธรรมะดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นเพราะยากมากต่อการเข้าใจ อีกทั้งไม่มีเวลาอ่านพระไตรปิฎก จึงไม่ได้เข้าถึงความรู้สำคัญดังกล่าว แม้จะเป็นสิ่งที่ยาก เหนือตรรกะจะคิดตรองให้เข้าใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะศึกษาอะไรไม่ได้เลย ตรงกันข้าม เราทั้งหลายควรจะใส่ใจศึกษาหลักแก่นธรรม ข้อนี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้นำประโยชน์จากสุดยอดของธรรมะนี้มาใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข ตามสติปัญญาของเราเท่าที่จะศึกษาได้

    “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท” (มหาหัตถิปโทปมสูตร ม.มู. ๑๒/๓๐๖/๓๓๘)

    ธรรมบรรยายโดย ฐานชโย ภิกขุ

    Fri, 25 Sep 2020 - 21min
  • 19 - หลักคิดเรื่องทานและการทำบุญกฐินที่ชาวพุทธควรรู้

    พระพุทธองค์ทรงแนะนำ หลักการใช้ทรัพย์ให้กับฆราวาสดังนี้ 1.บำรุงเลี้ยงตนเอง บิดา มารดา บุตร ภรรยาและ บ่าวไพร่ให้มีความสุข ไม่อดยาก  2.เลี้ยงดูมิตรสหายให้อิ่มหนำสำราญ  3.ป้องกันอันตรายในยามคับขัน 4.ทำพลี คือบูชา หรือบำรุงในที่ ๕ สถาน คือญาติพลี บำรุง ญาติ อติถิพลี ต้อนรับแขก ปุพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ราชพลี บำรุงราชการมีการเสียภาษี อากรเป็นต้น และเทวตาพลี ทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เทวดา 5.บำเพ็ญทักษิณาทานที่มีผลเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบาก เป็นสุข ไว้ในสมณะพราหมณ์ผู้เว้นจากความประมาท มัวเมา ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะเป็นผู้หมั่นฝึกฝนตนให้ สงบระงับจากกิเลส (อาทิยสูตรที่ ๑)  นอกจากจะใช้ทรัพย์ในการดูแลตนเองและผู้อื่นให้เหมาะสมแล้ว ท่านยังแนะนำให้รู้จักการทำทานอีกด้วย คำถามก็คือว่า จะทำทาน ควรทำอย่างไร ทำกับใคร ทำที่ไหน จึงจะได้บุญมาก พบกับหลักคิด คำแนะนำในการทำทานที่ถูกวิธี และอานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐิน ที่มีมาในพระไตรปิฎก  ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์ ณรงค์ชัย ฐานชโย  21-September-2020

    Wed, 23 Sep 2020 - 40min
  • 18 - อะไรคือตัวชี้วัดความเจริญของชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม?

    ความเจริญอันประเสริฐ ๑๐ ประการ (อริยวัฑฒิธรรม)ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความเจริญของชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมปรากฏอยู่ในพระสูตรชื่อ วัฑฒิสูตร ดังนี้  “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเมื่อเจริญด้วยความเจริญ ๑๐ ประการ ชื่อว่าเจริญด้วยความเจริญอันประเสริฐ " 1.เจริญด้วยนาและสวน (อสังหาริมทรัพย์) 2.เจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก (สังหาริมทรัพย์) 3.เจริญด้วย บุตรและภรรยา  4.เจริญด้วยทาส กรรมกร และคนใช้  5.เจริญด้วยสัตว์สี่เท้า  6. เจริญด้วยศรัทธา (Faith) 7. เจริญด้วยศีล (Ethical Conduct) 8. เจริญด้วย สุตะ (Knowledge) 9. เจริญด้วยจาคะ (Giving) 10. เจริญด้วยปัญญา (Wisdom)  (วัฑฒิสูตร ๒๕/๗๔/๑๖๒)  ธรรมบรรยาย โดย ฐานชโย ภิกขุ 18-September-2020

    Sat, 19 Sep 2020 - 34min
Mostra altri episodi

Podcast simili a <nome>