Filtra per genere
เป็นการพูดคุยถึงกิจกรรมการทำงานของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่เป็นหน่วยงานหลัก ในการขับเคลื่อนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของไทยในลักษณะ Soft Power เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่งประเทศในด้านต่าง ๆ และเพื่อให้ประเทศคู่ร่วมมือสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals หรือ SDGs
- 124 - โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยใน ม. ภูมินท์พนมเปญ กัมพูชา” ตอนที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาไทย
🇹🇭🇰🇭 TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยใน ม. ภูมินท์พนมเปญ กัมพูชา” ตอนที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ติดตามการกล่าวสุนทรพจน์ การร้องเพลง และการโต้วาที ของนิสิต ม. ภูมินท์พนมเปญ ใน ญัญติ ”เงินเป็นทุกอย่างในชีวิตจริงหรือไม่“ ผ่านการพูดคุยกับ น้องสน อัครวัฒน์ ฮะอุรา และ น้องหญิง โอบบุญ อินทรักษ์ ทีมประชาสัมพันธ์ของ TICA
#TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #การทูตเพื่อการพัฒนา #TICA #SouthSouthCooperation
Tue, 26 Mar 2024 - 36min - 123 - โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยใน ม. ภูมินท์พนมเปญ กัมพูชา” ตอนที่ 3 พูดคุยกับ น้องเอ้ อาสาสมัครเพื่อนไทย และนิสิตที่เรียนภาษาไทยTue, 26 Mar 2024 - 32min
- 122 - โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยใน ม. ภูมินท์พนมเปญ กัมพูชา” ตอนที่ 2 ภาษาไทยในกัมพูชาTue, 26 Mar 2024 - 28min
- 121 - โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยใน ม. ภูมินท์พนมเปญ กัมพูชา” ตอนที่ 1 ภาพรวมและพิธีมอบรับ
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยใน ม. ภูมินท์พนมเปญ กัมพูชา” ตอนที่ 1 ภาพรวมและพิธีมอบรับอาคารเรียน ติดตามการพูดคุยกับ พี่ป๋อม ปนัดดา ริคารมย์ หัวหน้ากลุ่มงานการศึกษา และน้องอิง อภิญญา อินทรชัยศรี เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการ เกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการและพิธีมอบรับอาคารเรียนที่ปรับปรุงโดย TICA ณ มหาวิทยาล้ยภูมินท์พนมเปญ
Tue, 26 Mar 2024 - 24min - 120 - โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ SEP ที่ จังหวัดเบ๊นแจ ประเทศเวียดนาม
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ SEP ที่ จังหวัดเบ๊นแจ ประเทศเวียดนาม“ ติดตามการพูดคุยกับกลุ่มงาน SEP นำโดย คุณวิทิดา ศิวะเกื้อ หัวหน้ากลุ่มงาน SEP คุณสุดาสิรี พรหมชนะ นักการทูตชำนาญการ และ คุณสุเมธินี แซ่ตั่น เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการ
#TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #การทูตเพื่อการพัฒนา #TICA #SouthSouthCooperation
Wed, 20 Mar 2024 - 25min - 119 - โครงการพัฒนาชุมชน SEP ณ จังหวัดท้ายเหวียน ประเทศเวียดนาม
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการพัฒนาชุมชน SEP ณ จังหวัดท้ายเหวียน ประเทศเวียดนาม” ติดตามการพูดคุยกับ คุณวิทิดา ศิวะเกื้อ หัวหน้ากลุ่มงาน SEP เกี่ยวกับ
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ที่ชุมชนที่ยากจนที่สุดของจังหวัดท้ายเหวียน
รับทราบที่มาที่ไปของโครงการ
รวมทั้งกิจกรรมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านชาร่วมกันของผู้ประกอบการไทยและเวียดนาม
#TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #การทูตเพื่อการพัฒนา #TICA #SouthSouthCooperation
Wed, 06 Mar 2024 - 29min - 118 - หลักสูตรอบรมการเพิ่มผลผลิตข้าวให้แก่กลุ่มประเทศแอฟริกาที่เป็นสมาชิก CARD
TCTP เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการทำงานของ TICA แตกต่างจาก AITC และ TIPP อย่างไร
ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศ ที่ญี่ปุ่นเลือกเป็นพื้นที่ที่ใช้สำหรับการอบรม แล้วอีก 2 ประเทศคือ ประเทศอะไร
แอฟริกา เป็นตลาดส่งออกข้าวของไทย ในอนาคตหากแอฟริกาสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ ไทยจะเสียตลาดส่งออกหรือไม่
ติดตามคำตอบได้ ใน TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน "หลักสูตรอบรมการเพิ่มผลผลิตข้าวให้แก่กลุ่มประเทศแอฟริกาที่เป็นสมาชิก CARD"
#TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #การทูตเพื่อการพัฒนา #TICAรักษ์สิ่งแวดล้อม #SouthSouthCooperation #SEPforSDGs #TCTP
Fri, 01 Mar 2024 - 33min - 117 - โครงการพัฒนาโรงเรียนสีขาวใน สปป.ลาว
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการพัฒนาโรงเรียนสีขาวใน สปป.ลาว” ติดตามการพูดคุยเกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการ Capacity Building for Sports Science and Arts ให้แก่ สปป. ลาว (โรงเรียนสีขาว) กับคุณปนัดดา ริคารมย์ และคุณอภิญญา อินทรชัยศรี กองความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
#TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #การทูตเพื่อการพัฒนา #TICAรักษ์สิ่งแวดล้อม #SouthSouthCooperation #SEPforSDGs
Fri, 01 Mar 2024 - 47min - 116 - โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 14
พบกันครั้งแรกของปี 2567 กับ กิจกรรมส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 14
TICA ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมมาโดยตลอด ทำให้โครงการสำเร็จไปได้อย่างดี มีเครือข่ายในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น N15 Technology แล้วยังมีภาคีเครือข่ายจาก Plaplus และ Wake Up Waste และมีหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมกิจกรรมมากขึ้น รักษ์โลกมากขึ้นนอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมครั้งที่ 14 มีรถของประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 165 คัน น้ำหนักขยะ 4,320 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขยะกำพร้าจากครอบครัวของเจ้าหน้าที่กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ประชาชนทั่วไป และภาคีเครือข่าย โดยเป็นขยะจาก ธพส. จำนวน 2 คันรถ จำนวน 2,282 กิโลกรัม สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (กลต.) และขยะจากประชาชนทั่วไป
พบกันใหม่ ครั้งที่ 15 ในวันที่ 30 มีนาคม 2567 นะคะ
Fri, 01 Mar 2024 - 28min - 115 - ครบรอบ 9 ปี การสถาปนากรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ครบรอบ 9 ปี การสถาปนากรมความร่วมมือระหว่างประเทศ“ ติดตามการพูดคุยเกี่ยวกับความเป็นมาของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ 2 บทบาทการทำงานของ TICA ผ่านการพูดคุยกับน้องนิว ณัฐพิพัฒ ฉัตรมงคลเพ็ญ ถึงพิธีการในวันสถาปนา TICA
#TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #การทูตเพื่อการพัฒนา #SouthSouthCooperation #SEPforSDGs
Fri, 01 Mar 2024 - 25min - 114 - ถอดบทเรียนจากกาญจนบุรีเกมส์ครั้งที่ 18 สู่ นครหลวงเวียงจันทน์เกมส์ ครั้งที่ 12
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ถอดบทเรียนจาก กาญจนบุรีเกมส์ ครั้งที่ 18 สู่ นครหลวงเวียงจันทน์เกมส์ ครั้งที่ 12“ ติดตามการพูดคุยเกี่ยวกับนำคณะผู้บริหารด้านกีฬาของ สปป.ลาว มาดูงานที่ประเทศไทย มีการถอดบทเรียนในเรื่องใดบ้าง และสิ่งที่ต้องเติมเต็มการทำงานในโครงการนี้ จากการพูดคุย กับ คุณปนัดดา ริคารมย์ หัวหน้ากลุ่มงานสาขาด้านการศึกษา
#TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #การทูตเพื่อการพัฒนา #SouthSouthCooperation #SEPforSDGs
Fri, 01 Mar 2024 - 25min - 113 - มุมมองของการกีฬาแห่งประเทศไทยกับความร่วมมือด้านกีฬาไทย - ลาวWed, 31 Jan 2024 - 29min
- 112 - คุยกับ ผศ.ดร.กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์ เกี่ยวกับโครงการเด็กพิเศษที่มัลดีฟส์Wed, 31 Jan 2024 - 25min
- 111 - TICA สวัสดีปีใหม่ 2567
🎉🌐 TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA สวัสดีปีใหม่ 2567” ตอนแรกของปี 2567 ปีมะโรง TICA พัฒนาทั่วโลก ขอบคุณทุก ๆ ท่านที่ติดตามรับชมและรับฟังรายการของ TICA มาโดยตลอด จึงขอมอบความสุขให้กับทุก ๆ ท่าน ที่ร่วมสนุกกับการตอบคำถามท้ายรายการ 3️⃣คำถาม นะคะ
💚🌟 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขอบคุณทุก ๆ คน TICA พัฒนาทั่วโลก ขอเลื่อนกำหนดในการร่วมสนุกในการตอบคำถามจากเดิม เป็นภายในวันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 17.00 น นะคะ อย่าลืม #TICAพัฒนาทั่วโลก และแจ้งด้วยว่ารับฟังจากช่องทางไหนด้วยนะคะ
Wed, 03 Jan 2024 - 22min - 110 - เบื้องหลังของการจัดหลักสูตรอบรมให้นักการทูตแรกเข้าเมียนมาTue, 02 Jan 2024 - 29min
- 109 - ติดตามนักการทูตเมียนมาไปดูงานที่โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาครและเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง
TICA พัฒนาทั่วโลก เชิญชวนทุกท่าน ร่วมเดินทางไปกับนักการทูตแรกเข้าจากเมียนมาไปดูงานที่โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร และเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง ผ่านการพูดคุยกับคุณวิทิดา ศิวะเกื้อ หัวหน้ากลุ่มงาน SEP เกี่ยวกับที่มาที่ไปของการจัดอบรม หลักคิดของการกำหนดหลักสูตรและสถานที่ดูงานในแต่ละพื้นที่คืออะไร ทำไมต้องไปที่โรงพยาบาลที่สมุทรสาคร และอยากชวนทุกท่านไปเที่ยว “เรือนจำ” กับนักการทูตเมียนมา เพื่อเปลี่ยนภาพจำของคำว่าเรือนจำในใจของทุกคน
ติดตาม ใน TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ติดตามนักการทูตเมียนมาไปดูงานที่โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาครและเรือนจำชั่วคราวเขากลิ้ง”
Tue, 02 Jan 2024 - 41min - 108 - การส่งมอบศูนย์เรียนรู้ SEP ที่แขวงอัตตะปือTue, 02 Jan 2024 - 18min
- 107 - โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 13Tue, 02 Jan 2024 - 24min
- 106 - TICA Team BuildingFri, 15 Dec 2023 - 34min
- 105 - ความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในภูฏาน
TICA in Bhutan ตอนที่ 6 “ความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในภูฏาน ความร่วมมือโรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาล JDWNRH ของภูฏาน” ติดตามการพูดคุยเกี่ยวกับ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูกถ่ายไตของโรงพยาบาลราชวิถีให้แก่ Jigme Dorji Wangchuck National Referral Hospital (JDWNRH) และรับทราบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในภูฏาน
Fri, 15 Dec 2023 - 12min - 104 - TICA in Bhutan ตอนที่ 5 "คุยกับน้องมะขาม น้องตาล และน้องพริกไทย อาสาสมัครเพื่อนไทยรุ่นที่ 13 ปฏิบัติงาน ณ ภูฏาน"
TICA พัฒนาทั่วโลก ได้มีโอกาสสัญจรติดตาม นายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ไปปฏิบัติราชการที่ภูฏาน จึงได้จัดทำ ซีรีส์ TICA in Bhutan จำนวน 6 ตอน โดยตอนที่ 1 – 5 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับโครงการ OGOP Model ที่ 2 และตอนที่ 6 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในภูฏาน
สำหรับ TICA in Bhutan ตอนที่ 1 และ 2 "6 หลักทรงงานที่นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP" เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP
TICA in Bhutan ตอนที่ 3 " 10 Highlights ของโครงการ OGOP โมเดลที่ 2"
TICA in Bhutan ตอนที่ 4 "คุยกับน้องอ้อน วราลี ใจจง อาสาสมัครเพื่อนไทย รุ่นที่ 12"
TICA in Bhutan ตอนที่ 5 "คุยกับ น้องมะขาม น้องตาล และน้องพริกไทย อาสาสมัครเพื่อนไทยรุ่นที่ 13 ปฏิบัติงาน ณ ภูฎาน" ติดตามการพูดคุยกับ
(1) ณัฐยาพร แสงเพ็ชร (น้องพริกไทย) อาสาสมัครเพื่อนไทย ตำแหน่ง นักพัฒนาชุมชนและท่องเที่ยวชุมชน
(2) นงนภัส เขมะนุเชษฐ์ (น้องตาล) อาสาสมัครเพื่อนไทย ตำแหน่ง นักพัฒนา/ออกแบบผลิตภัณฑ์
(3) สุกฤษฎ์ ศรีทอง (น้องมะขาม) อาสาสมัครเพื่อนไทย ตำแหน่ง นักพัฒนาชุมชนและท่องเที่ยวชุมชน
เกี่ยวกับที่มาที่ไปของการเป็นอาสาสมัครเพื่อนไทยรุ่นที่ 13 การอบรมมีความท้าทายอย่างไรบ้าง และเมื่อเดินทางถึงภูฏาน
#TICAพัฒนาทั่วโลก#TICAเชื่อมไทยสู่โลก#การทูตเพื่อการพัฒนา#จากOTOPสู่OGOP #SouthSouthCooperation
Fri, 08 Dec 2023 - 22min - 103 - TICA in Bhutan ตอนที่ 4 "คุยกับ น้องอ้อน วราลี ใจจง อาสาสมัครเพื่อนไทย รุ่นที่ 12"
TICA พัฒนาทั่วโลก ได้มีโอกาสสัญจรติดตาม นายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ไปปฏิบัติราชการที่ภูฏาน จึงได้จัดทำ ซีรีส์ TICA in Bhutan จำนวน 6 ตอน โดยตอนที่ 1 – 5 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับโครงการ OGOP Model ที่ 2 และตอนที่ 6 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในภูฏาน
สำหรับ TICA in Bhutan ตอนที่ 1 และ 2 "6 หลักทรงงานที่นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP" เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP
TICA in Bhutan ตอนที่ 3 " 10 Highlights ของโครงการ OGOP โมเดลที่ 2"
สำหรับ TICA in Bhutan ตอนที่ 4 "คุยกับน้องอ้อน วราลี ใจจง อาสาสมัครเพื่อนไทย รุ่นที่ 12" ติดตามชีวิตความเป็นอยู่ของน้องอ้อนในภูฏาน กิจวัตรประจำวันต้องทำอะไรบ้าง และเหตุผลในการขยายระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ออกไปอีก 1 ปี
#TICAพัฒนาทั่วโลก#TICAเชื่อมไทยสู่โลก#การทูตเพื่อการพัฒนา#จากOTOPสู่OGOP #SouthSouthCooperation
Fri, 08 Dec 2023 - 22min - 102 - TICA in Bhutan ตอนที่ 3 "10 Highlights ของโครงการ OGOP โมเดลที่ 2"
TICA พัฒนาทั่วโลก ได้มีโอกาสสัญจรติดตาม นายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ไปปฏิบัติราชการที่ภูฏาน จึงได้จัดทำ ซีรีส์ TICA in Bhutan จำนวน 6 ตอน โดยตอนที่ 1 – 5 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับโครงการ OGOP Model ที่ 2 และตอนที่ 6 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในภูฏาน
สำหรับ TICA in Bhutan ตอนที่ 1 และ 2 "6 หลักทรงงานที่นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP" เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP ได้แก่
(1) การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา
(2) การพัฒนาแบบตาม “ภูมิสังคม” และ
(3) การ “ระเบิดจากข้างใน”
(4) การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาครัฐของภูฏาน
(5) หัวใจสำคัญของการทำโครงการคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การอธิบาย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
(6) ขาดทุน คือ กำไร ในมิติของภูฏาน เป็นอย่างไร
สำหรับ TICA in Bhutan ตอนที่ 3 " 10 Highlights ของโครงการ OGOP โมเดลที่ 2" มีอะไรบ้าง ติดตามรับฟังกันได้
#TICAพัฒนาทั่วโลก#TICAเชื่อมไทยสู่โลก#การทูตเพื่อการพัฒนา#จากOTOPสู่OGOP #SouthSouthCooperation
Fri, 08 Dec 2023 - 12min - 101 - TICA in Bhutan ตอนที่ 2 "6 หลักทรงงานที่นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP (ต่อ)"
TICA พัฒนาทั่วโลก ได้มีโอกาสสัญจรติดตาม นายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ไปปฏิบัติราชการที่ภูฏาน จึงได้จัดทำ ซีรีส์ TICA in Bhutan จำนวน 6 ตอน โดยตอนที่ 1 – 5 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับโครงการ OGOP Model ที่ 2 และตอนที่ 6 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในภูฏาน
สำหรับ TICA in Bhutan ตอนที่ 1 "6 หลักทรงงานที่นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP" เป็นการพูดคุยกับ
1. นายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดี TICA เกี่ยวกับวัตถุประสงค์การเดินทางไปภูฎาน
2. รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกุล รองอธิการบดี ม.ราชภัฎเชียงใหม่ เกี่ยวกับการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP โดยในตอนที่ 1 เป็นการพูดคุยถึง 3 หลักทรงงาน ได้แก่
(1) การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ต้องทำอย่างไร
(2) อะไรคือการพัฒนาแบบตาม “ภูมิสังคม” และ
(3) การ “ระเบิดจากข้างใน” ต้องระเบิดแบบไหน
สำหรับ TICA in Bhutan ตอนที่ 2 "6 หลักทรงงานที่นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP (ต่อ) " เป็นการพูดคุยกับ รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกุล รองอธิการบดี ม.ราชภัฎเชียงใหม่ เกี่ยวกับการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP โดยเป็นการพูดคุยอีก 4 หลักทรงงาน ได้แก่
(4) การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาครัฐของภูฏาน
(5) หัวใจสำคัญของการทำโครงการคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การอธิบาย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
(6) ขาดทุน คือ กำไร ในมิติของภูฏาน เป็นอย่างไร
#TICAพัฒนาทั่วโลก#TICAเชื่อมไทยสู่โลก#การทูตเพื่อการพัฒนา#จากOTOPสู่OGOP #SouthSouthCooperation
Fri, 08 Dec 2023 - 18min - 100 - TICA in Bhutan ตอนที่ 1 "6 หลักทรงงานที่นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP"
หากพูดถึงโครงการ OGOP ภาพจำที่หลาย ๆ ท่านมีคือ ภาพที่ประเทศไทยได้นำแนวปฏิบัติที่ดีของไทยเกี่ยวกับการพัฒนาสินค้า OTOP ของไทยไปประยุกต์ใช้ที่ประเทศภูฏาน ทำให้ภูฏานมีสินค้าเพิ่มขึ้นจำนวนกว่า 100 ชนิด และสามารถนำไปจำหน่ายในร้าน OGOP ทั้ง 3 แห่ง ในภูฏานได้ ซึ่งถือได้ว่า เป็นผลสำเร็จที่มีความเป็นรูปธรรมของโครงการ OGOP Model ที่ 1
สำหรับโครงการ OGOP Model ที่2 นั้น เบื้องหลังของการคิด การทำ และการร่วมมือของไทยและภูฏานนั้น เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยโดย TICA มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และกรมการพัฒนาชุมชน และรัฐบาลภูฏาน คือ QPO (Queen Project Office) ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ในภูฏาน ซึ่งบทสรุปที่ได้คือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางนำไปสู่ความสุขมวลรวมของประชาชนภูฏาน หรือ GNH
TICA พัฒนาทั่วโลก ได้มีโอกาสสัญจรติดตาม นายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ไปปฏิบัติราชการที่ภูฏาน จึงได้จัดทำ ซีรีส์ TICA in Bhutan จำนวน 6 ตอน โดยตอนที่ 1 – 5 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับโครงการ OGOP Model ที่ 2 และตอนที่ 6 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนไตครั้งแรกในภูฏาน
สำหรับ TICA in Bhutan ตอนที่ 1 "6 หลักทรงงานที่นำไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP" เป็นการพูดคุยกับ
1. นายวัฒนวิทย์ คชเสนี รองอธิบดี TICA เกี่ยวกับวัตถุประสงค์การเดินทางไปภูฎาน
2. รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกุล รองอธิการบดี ม.ราชภัฎเชียงใหม่ เกี่ยวกับการน้อมนำหลักทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปประยุกต์ใช้ในโครงการ OGOP โดยในตอนที่ 1 เป็นการพูดคุยถึง 3 หลักทรงงาน ได้แก่
(1) การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ต้องทำอย่างไร
(2) อะไรคือการพัฒนาแบบตาม “ภูมิสังคม” และ
(3) การ “ระเบิดจากข้างใน” ต้องระเบิดแบบไหน
#TICAพัฒนาทั่วโลก#TICAเชื่อมไทยสู่โลก#การทูตเพื่อการพัฒนา#จากOTOPสู่OGOP #SouthSouthCooperation
Fri, 08 Dec 2023 - 31min - 99 - ถอดบทเรียน STEM ไทย สู่ความร่วมมือ STEM ไทย – กัมพูชา
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ถอดบทเรียน STEM ไทย สู่ความร่วมมือ STEM ไทย – กัมพูชา” ติดตามการพูดคุยกับ คุณเสกสรร สรรสรพิสุทธิ์ คุณกานจุลี ปัญญาอินทร์ และ ดร.วชิร ศรีคุ้ม 3 ผู้เชี่ยวชาญไทยที่มีส่วนร่วมในการทำโครงการ STEM Education ที่ประเทศกัมพูชา บทเรียนและความสำเร็จในการทำงานของฝ่ายไทยถูกนำไปประยุกต์ใช้ที่กัมพูชาอย่างไรบ้าง ทำไมกัมพูชาถึงสนใจที่จะร่วมมือกับประเทศไทย และบทสรุปของโครงการนี้ ผลลัพธ์ของโครงการคืออะไร
#TICAaroundtheWorld #การทูตเพื่อการพัฒนา #TICAพัฒนาทั่วโลก #DevelopmentDiplomacy #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #SDGs4 #SDGs17
Sat, 28 Oct 2023 - 30min - 98 - เบื้องหลังของโครงการข้าวลดโลกร้อนของไทย
ทุก ๆ ท่านทราบไหมค่ะว่า ข้าวที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน และกระทรวงการต่างประเทศอยู่เบี้องหลังของ “ข้าวลดโลกร้อน” ติดตามจุดเริ่มต้นและเบื้องหลังของโครงการความร่วมมือ TICA และ GIZ ใน TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “เบื้องหลังของโครงการข้าวลดโลกร้อนของไทย” จากการพูดคุยกับ คุณญาดา หัตถธรรมนูญ นักการทูตชำนาญการ และคุณอรุณี หลักคำ เจ้าหน้าที่โครงการ
Mon, 16 Oct 2023 - 38min - 97 - โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 12
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 12” ครบรอบ 2 ปี ของการจัดกิจกรรมส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ติดตามการพูดคุยกับ น้องสน อัครวัฒน์ ฮะอุรา Mr.-ขยะกำพร้าของ TICA เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมตลอด 2 ปีที่ผ่านมา มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง รวมทั้งร่วมหาคำตอบกันว่า ทำไม ธพส. ถึงได้สนใจเข้าร่วมส่งขยะกำพร้ากับโครงการด้วย
Mon, 16 Oct 2023 - 28min - 96 - โครงการพัฒนากีฬาเป็นเลิศใน สปป.ลาวMon, 16 Oct 2023 - 32min
- 95 - ความร่วมมือไทย-ลาว ด้านนิติเวชศาสตร์
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ความร่วมมือไทย-ลาว ด้านนิติเวชศาสตร์” ติดตามการพูดคุยกับ คุณชัชสรัญย์ เลิศเกียรติวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานสาธารณสุข กองความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านนิติเวชศาสตร์ไทย-ลาว TICA และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เข้าไปเติมเต็มในการทำงานด้านนิติเวชศาสตร์ของลาวอย่างไร
Wed, 04 Oct 2023 - 37min - 94 - การส่งมอบ 5 หัวข้อวิจัย ภายใต้โครงการ Research Management and Capacity Building ให้ สปป. ลาว
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “การส่งมอบ 5 หัวข้อวิจัย ภายใต้โครงการ Research Management and Capacity Building ให้ สปป. ลาว” ติดตามการพูดคุยกับ ซัดดัม สะแต เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการ เกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการ รับทราบนโยบายของรัฐบาล สปป.ลาว เกี่ยวกับโครงการนี้ และผลงานวิจัยทั้ง 5 หัวข้อ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมและผลักดันในการพัฒนาเศรษฐกิจของ สปป.ลาว อย่างไร
Wed, 04 Oct 2023 - 25min - 93 - ส่งมอบโครงการพัฒนาความสามารถด้านการประมงแก่วิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ แขวงจำปาสัก
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ส่งมอบโครงการพัฒนาความสามารถด้านการประมงแก่วิทยาลัยกสิกรรมและป่าไม้ แขวงจำปาสัก” ติดตามการพูดคุยกับ นางสาวปนัดดา ริคารมย์ นักวิเทศสหการชำนาญการพิเศษ เกี่ยวกับการผลสำเร็จของการทำงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยและลาวในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
Tue, 26 Sep 2023 - 33min - 92 - คุยกับน้องโดม ณัฐกานต์ เกี่ยวกับโครงการศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรไทย - เคนยาTue, 26 Sep 2023 - 25min
- 91 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “เปิดตัวโครงการความร่วมมือไตรภาคี TICA – UN”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “เปิดตัวโครงการความร่วมมือไตรภาคี TICA – UN” ติดตามการพูดคุยกับ เมษ สุวรรณตรา นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) เกี่ยวกับ 3 โครงการ ภายใต้ความร่วมมือไตรภาคี TICA – UN รับทราบที่มาที่ไปของทั้ง 3 โครงการ รวมทั้งทำไมประเทศไทยถึงได้เนื้อหอมในเวทีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ที่ทุก ๆ ประเทศสนใจอยากจะมีความร่วมมือกับไทยในประเทศที่สาม
#TICAพัฒนาทั่วโลก #เราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง #การทูตเพื่อการพัฒนา #TICAเชื่อมไทยสู่โลก #ความร่วมมือใต้_ใต้ #SouthSouthCooperation
Tue, 26 Sep 2023 - 28min - 90 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 11
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 11” กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566
#TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAรักษ์โลก #โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน
Tue, 26 Sep 2023 - 17min - 89 - “โครงการเด็กพิเศษใน สปป.ลาว ตอนที่ 4 บทสรุปโครงการและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ ม.สวนดุสิต
🇹🇭🇱🇦 TICA พัฒนาทั่วโลก ได้จัดทำซี่รี่ส์เกี่ยวกับโครงการเด็กพิเศษใน สปป.ลาว ซึ่งมี 4 ตอน โดยตอนนี้ เป็นตอนที่ 4 บทสรุปโครงการและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ ม.สวนดุสิต” เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับบทสรุปของการดำเนินงานโครงการในช่วงสถานการณ์โควิด – 19 ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายให้กับโครงการนี้อย่างไร และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการดำเนินงานโครงการ TICA ควรจะต้องเน้นกิจกรรมในลักษณะใด
ตอนที่ 2 คัมภีร์สำคัญของเด็กพิเศษคืออะไรและสำคัญอย่างไร” เป็นการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ ม.สวนดุสิต เกี่ยวกับกระบวนการทำแผนงานโครงการ รวมทั้งวิธีการติดตามและประเมินผลหลังจากการอบรม online มีวิธีการอย่างไร รวมทั้งการแบ่งประเภทเด็กที่มีความต้องการพิเศษในไทยและลาว
ตอนที่ 3 การใช้ภาษามือของไทยและลาว มีความต่างกันอย่างไร” เป็นการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจาก ม.สวนดุสิต ถึงการใช้ภาษามือของไทยและลาว มีความเหมือนกันกี่เปอร์เซ็นต์ และมีความต่างกันในเรื่องใด รวมทั้งเมื่อไปติดตามผลการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญไทยประเมินจากสิ่งใดว่า การอบรมมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด
Wed, 16 Aug 2023 - 25min - 88 - โครงการเด็กพิเศษใน สปป.ลาว ตอนที่ 3 การใช้ภาษามือของไทยและลาวมีความต่างกันอย่างไร
🇹🇭🇱🇦 TICA พัฒนาทั่วโลก ได้จัดทำซี่รี่ส์เกี่ยวกับโครงการเด็กพิเศษใน สปป.ลาว ซึ่งมี 4 ตอน โดยตอนนี้เป็นตอนที่ 3 การใช้ภาษามือของไทยและลาว มีความต่างกันอย่างไร” เป็นการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจาก ม.สวนดุสิต ถึงการใช้ภาษามือของไทยและลาว มีความเหมือนกันกี่เปอร์เซ็นต์ และมีความต่างกันในเรื่องใด รวมทั้งเมื่อไปติดตามผลการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญไทยประเมินจากสิ่งใดว่า การอบรมมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด
โดยตอนที่ 2 คัมภีร์สำคัญของเด็กพิเศษคืออะไรและสำคัญอย่างไร” เป็นการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ ม.สวนดุสิต เกี่ยวกับกระบวนการทำแผนงานโครงการ รวมทั้งวิธีการติดตามและประเมินผลหลังจากการอบรม online มีวิธีการอย่างไร รวมทั้งการแบ่งประเภทเด็กที่มีความต้องการพิเศษในไทยและลาว
Wed, 16 Aug 2023 - 22min - 87 - โครงการเด็กพิเศษใน สปป.ลาว ตอนที่ 2 คัมภีร์สำคัญของเด็กพิเศษคืออะไรและสำคัญอย่างไร
🇹🇭🇱🇦 TICA พัฒนาทั่วโลก ได้จัดทำซี่รี่ส์เกี่ยวกับโครงการเด็กพิเศษใน สปป.ลาว ซึ่งมี 4 ตอน โดยตอนนี้เป็นตอนที่ 2 คัมภีร์สำคัญของเด็กพิเศษคืออะไรและสำคัญอย่างไร” เป็นการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ ม.สวนดุสิต เกี่ยวกับกระบวนการทำแผนงานโครงการ รวมทั้งวิธีการติดตามและประเมินผลหลังจากการอบรม online มีวิธีการอย่างไร รวมทั้งการแบ่งประเภทเด็กที่มีความต้องการพิเศษในไทยและลาว
Wed, 16 Aug 2023 - 33min - 86 - “โครงการเด็กพิเศษใน สปป.ลาว ตอนที่ 1 คุยกับผู้เชี่ยวชาญ ม.สวนดุสิต”
🇹🇭🇱🇦 TICA พัฒนาทั่วโลก ได้จัดทำเป็น ซีรี่ส์ เกี่ยวกับการทำงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเกี่ยวกับ เด็กพิเศษใน สปป.ลาว โดยได้จัดทำ 4 ตอน โดย
“โครงการเด็กพิเศษใน สปป.ลาว ตอนที่ 1 เป็นการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ม.สวนดุสิต” เกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คืออะไร และ ม.สวนดุสิต ไปแบ่งปันองค์ความรู้ในด้านใดกับฝ่ายลาว
Wed, 16 Aug 2023 - 20min - 85 - 3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ตอนที่ 5 ทักษะภาษาไทยที่ภาคธุรกิจต้องการ
TICA พัฒนาทั่วโลก ขอเชิญทุกท่านรับฟัง Series "3 ทศวรรษภาษาไทยในเวียดนาม" ติดตามรับฟังการสัมมนาในงาน "3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนามและความท้าทายในอนาคต" ซึ่ง TICA ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์ (USSH) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 โดยจะมีทั้งหมด 5 ตอน
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับการเปิดสัมมนา โดยเป็นการประมวลการกล่าวเปิดสัมมนา
ตอนที่ 2 เส้นทางการพัฒนาตลอด 3 ทศวรรษและความท้าทายในอนาคต
ตอนที่ 3 เรียนภาษาไทยอย่างไรให้เก่ง โดยอาจารย์สอนภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเวียดนาม
ตอนที่ 4 รอบรู้เรื่องภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ ผ่านประสบการณ์ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจากการใช้ภาษาไทย
ตอนที่ 5 ทักษะภาษาไทยที่ภาคธุรกิจต้องการ เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับทิศทางความต้องการและการพัฒนาต่อยอดความรู้ภาษาไทยในตลาดแรงงาน ดำเนินรายการโดย นายจักกริช เรืองขจร รองกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ และนักธุรกิจไทยในเวียดนาม:จำนวน 5 คน คือ
(1) นายจาตุรนต์ ทิพย์เพียรศักดิ์ ตำแหน่ง Deputy General-Director, HR Country Manager, SCG
(2) นายสุริจ เกียรติธนากร ตำแหน่ง General Director of AMATA
(3) นายธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ ตำแหน่ง Vice Chairman, Thai Chamber of Commerce and Industry in Vietnam
(4) นายชนินทร์ ฤทัยธนานนท์ ตำแหน่ง Vice President, HR Center of Excellence, CP Vietnam Corporation และ
(5) นายเฉลิมชัย พรศิริปิยกูล ตำแหน่ง Head of Internation Corporate Affairs, Central Retail Vietnam
ภาคธุรกิจได้ให้ความเห็นว่า ชาวเวียดนามที่รู้ภาษาไทยยังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานของเวียดนามโดยเฉพาะภาคใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ปัจจุบันเวียดนามยังเป็นตลาดการค้าการลงทุนที่สำคัญและเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ของต่างชาติรวมทั้งจากไทยและมีแนวโน้มจะขยายตัวไปอีกอย่างน้อย 10 ปี โดยเฉพาะตำแหน่งล่ามในทุกแผนก และผู้ช่วยผู้บริหาร ทั้งนี้ บริษัท CP เวียดนาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ยังต้องการล่าม ผู้ช่วยผู้บริหาร และผู้ขับเคลื่อนโครงการที่จำเป็นต้องสื่อสารกับเกษตรกรท้องถิ่นทั่วเวียดนาม
นอกจากนี้ ธุรกิจไทยหลายแห่งไม่ได้กำหนดให้ผู้บริหารมาจากประเทศไทยหรือเป็นคนไทย ดังนั้น บุคลากรชาวเวียดนามย่อมสามารถเติบโตเป็นผู้บริหารธุรกิจไทยได้ หากสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่น และภาคธุรกิจไทยเรียนรู้ว่า คนท้องถิ่นย่อมเข้าใจคนท้องถิ่นมากกว่า ซึ่งเห็นได้จากการเสนอแนวคิด/การจัดทำโมเดลทางธุรกิจของบุคลากรชาวเวียดนามมักตอบโจทย์ความต้องการของชาวเวียดนามได้ตรงเป้าหมายและภาคธุรกิจไทยในเวียดนาม พร้อมจะสนับสนุนการฝึกงานของนักศึกษาเวียดนามที่เรียนภาษาไทย
Thu, 06 Jul 2023 - 1h 38min - 84 - 3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ตอนที่ 4 รอบรู้เรื่องภาษาไทยเพื่อนำไปประกอบอาชีพ
TICA พัฒนาทั่วโลก ขอเชิญทุกท่านรับฟัง Series "3 ทศวรรษภาษาไทยในเวียดนาม" ติดตามรับฟังการสัมมนาในงาน "3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนามและความท้าทายในอนาคต" ซึ่ง TICA ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์ (USSH) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 โดยจะมีทั้งหมด 5 ตอน
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับการเปิดสัมมนา โดยเป็นการประมวลการกล่าวเปิดสัมมนา
ตอนที่ 2 เส้นทางการพัฒนาตลอด 3 ทศวรรษ และความท้าทายในอนาคต
ตอนที่ 3 เรียนภาษาไทยอย่างไรให้เก่ง โดยอาจารย์สอนภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเวียดนาม
ตอนที่ 4 รอบรู้เรื่องภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ ผ่านประสบการณ์ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการทำงานจากการใช้ภาษาไทย 4 คน คือ Ms. Pham Thi Nhung (ญาดา) ล่ามไทย-เวียดนาม ที่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ (2) Ms. LeThi Phan Linh (ลินดา) ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท Star Print นครโฮจิมินห์ (3) Mr. Chu Van Cong (การิน) ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท Prime Group กรุงฮานอย และ (4) Mr. Vo Thi Xuan Diem (เพชร) ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ CP Vietnam Corporation นครโฮจิมินห์
โดยมีมุมมองในการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ดังนี้
(1) ขอบคุณ TICA และ มศว ที่สนับสนุนตำราการเรียนการสอนภาษาไทยในระหว่างศึกษามหาวิทยาลัย (เป็นช่วงที่ยังค้นคว้าจากสื่อออนไลน์ ได้ไม่มาก) และชื่นชมการจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรภาษาไทยระยะสั้นแบบเข้มให้แก่นักศึกษาเวียดนามระดับปริญญาตรี ณ มศว เนื่องจากเห็นว่าการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวช่วยให้นักศึกษาเวียดนามมีมุมมองและทัศนคติที่ดีต่อคนไทยและช่วยให้มีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมและสังคมไทย (2) ภาษาไทยเปิดโอกาสให้ศิษย์เก่าที่ศึกษาภาษาไทยสามารถประกอบอาชีพที่หลากหลายและสร้างความก้าวหน้าในอาชีพการงาน (3) แนะนำให้นักศึกษาเวียดนามที่กำลังศึกษาภาษาไทยเพิ่มพูนทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานที่นอกเหนือจากทักษะภาษาไทย เช่น ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และทักษะการประสานงาน รวมทั้งต้องเรียนรู้ในสองวัฒนธรรมอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจกับฝ่ายไทยได้อย่างถูกต้อง และ
(4) เสนอแนะให้มหาวิทยาลัยในเวียดนาม ที่เปิดสอนภาษาไทยพิจารณาเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยในมิติต่าง ๆ เพิ่มเติมจากการศึกษาวรรณกรรมและวรรณคดีไทย เช่น ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยวและภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในองค์กร
ตอนที่ 5 ทักษะภาษาไทยที่ภาคธุรกิจต้องการ
Thu, 06 Jul 2023 - 33min - 83 - 3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ตอนที่ 3 เรียนภาษาไทยอย่างไรให้เก่ง
TICA พัฒนาทั่วโลก ขอเชิญทุกท่านรับฟัง Series "3 ทศวรรษภาษาไทยในเวียดนาม" ติดตามรับฟังการสัมมนาในงาน "3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนามและความท้าทายในอนาคต" ซึ่ง TICA ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์ (USSH) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 โดยจะมีทั้งหมด 5 ตอน
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับการเปิดสัมมนา โดยเป็นการประมวลการกล่าวเปิดสัมมนา
ตอนที่ 2 เส้นทางการพัฒนาตลอด 3 ทศวรรษและความท้าทายในอนาคต
ตอนที่ 3 เรียนภาษาไทยอย่างไรให้เก่ง เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับกลยุทธ์การขับเคลื่อนการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนามเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ และทิศทางความต้องการและการพัฒนาต่อยอดความรู้ภาษาไทยในตลาดแรงงาน โดยเริ่มจาก กลยุทธ์การขับเคลื่อนการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนามเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนภาษาไทยอย่างไรให้สำเร็จ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม อดีตอาจารย์สอนภาษาไทยในเวียดนาม
โดยตอนที่ 3 จะเป็นอาจารย์สอนภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเวียดนาม 4 คน คือ Dr. Le Tran Mac Khai จาก USSH (2) Mr. Phan Trong Binh (UFL) (3) Ms. Nguyen Thi Van Chi (ULIS) และ (4) Ms. Phung Thi Huong Giang (HANU) โดยมีมุมมองในการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ดังนี้
(1) นักเรียนส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกเรียนภาษาไทย เนื่องจากมีความชื่นชอบวัฒนธรรมไทยโดยเฉพาะนักแสดงและนักร้องไทย และเมื่อจบการศึกษาแล้ว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่ใช้ภาษาไทยทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม
(2) ศิษย์เก่าจาก USSH นครโฮจิมินห์ได้สร้าง Facebook Page “YÊU TIẾNG THÁI” (รักภาษาไทย) เพื่อสอนภาษาไทยและแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น อาหารไทย และสถานที่ท่องเที่ยวไทย โดยมีผู้ติดตามกว่า 94,000 คน
ตอนที่ 4 รอบรู้เรื่องภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ
ตอนที่ 5 ทักษะภาษาไทยที่ภาคธุรกิจต้องการ
Thu, 06 Jul 2023 - 48min - 82 - 3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ตอนที่ 2 เส้นทางการพัฒนาตลอด 3 ทศวรรษ
TICA พัฒนาทั่วโลก ขอเชิญทุกท่านรับฟัง Series "3 ทศวรรษภาษาไทยในเวียดนาม" ติดตามรับฟังการสัมมนาในงาน "3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนามและความท้าทายในอนาคต" ซึ่ง TICA ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์ (USSH) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 โดยจะมีทั้งหมด 5 ตอน
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับการเปิดสัมมนา โดยเป็นการประมวลการกล่าวเปิดสัมมนา ตอนที่ 2 เส้นทางการพัฒนาตลอด 3 ทศวรรษ และความท้าทายในอนาคต เป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะรู้ 3ทศวรรษที่ผ่านมา มีเส้นทางการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง โดย 2 วิทยากรที่ถือได้ว่าเป็นตำนานของโครงการก็ว่าได้ คือ ผศ.ดร.สุภัค มหาวรากร อาจารย์ผู้ซึ่งเป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญรุ่นแรกที่เข้าไปสอนที่เวียดนาม และได้จัดหลักสูตรภาษาไทยแบบเข้มระยะสั้นให้เยาวชนเวียดนามทุกปี อีก 1 ในตำนาน นางสาวสายัณห์ กองโกย อดีตผู้อำนวยการกองความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ตัดสายสะดือของโครงการก็ว่าได้
ทั้งสองท่านได้พูดถึงเส้นทางของการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ก่อนที่จะเห็นภาพที่ชัดเจน หลายท่านที่อ่านถึงตรงนี้อาจจะมีเครื่องหมายคำถามในใจว่า ทำไมต้อง มศว อยากให้ทุกคนนึกย้อนไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว สถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรในขณะนั้นคงนึกถึงมหาวิทยาลัยไหนไม่ได้ นอกจาก มศว ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รวมวิทยาลัยครูเข้ามาเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อหายสงสัยแล้ว เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน ได้แบ่งการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนามออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคเริ่มต้น ยุคสร้างความเข้มแข็ง และยุคสร้างเส้นทางความยั่งยืนจากงานวิจัยสู่นวัตกรรม
ตอนที่ 3 เรียนภาษาไทยอย่างไรให้เก่ง
ตอนที่ 4 รอบรู้เรื่องภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ
ตอนที่ 5 ทักษะภาษาไทยที่ภาคธุรกิจต้องการ
Thu, 06 Jul 2023 - 36min - 81 - 3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ตอนที่ 1 การเปิดสัมมนา
TICA พัฒนาทั่วโลก ขอเชิญทุกท่านรับฟัง Series "3 ทศวรรษภาษาไทยในเวียดนาม" ติดตามรับฟังการสัมมนาในงาน "3 ทศวรรษการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนามและความท้าทายในอนาคต" ซึ่ง TICA ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์ (USSH) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 โดยจะมีทั้งหมด 5 ตอน
ตอนที่ 1 เกี่ยวกับการเปิดสัมมนา โดยเป็นการประมวลการกล่าวเปิดสัมมนา โดย นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ และมี รศ.ดร. Ngo Thi Phuong Lan อธิการบดี USSH นครโฮจิมินห์ และ รศ. พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ รองอธิการบดี มศว. ร่วมกล่าวเปิด
นอกจากนี้ เป็นการพูดในหัวข้อ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเวียดนาม" โดยนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม
ตอนที่ 2 เส้นทางการพัฒนาตลอด 3 ทศวรรษ และความท้าทายในอนาคต
ตอนที่ 3 เรียนภาษาไทยอย่างไรให้เก่ง
ตอนที่ 4 รอบรู้เรื่องภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ
ตอนที่ 5 ทักษะภาษาไทยที่ภาคธุรกิจต้องการ
Thu, 06 Jul 2023 - 20min - 80 - คุยกับผู้เชี่ยวชาญ APCD เกี่ยวกับโครงการเด็กพิเศษที่มัลดีฟส์” ตอนที่ 2
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “คุยกับผู้เชี่ยวชาญ APCD เกี่ยวกับโครงการเด็กพิเศษที่มัลดีฟส์” ตอนที่ 2
เปิดใจ 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก APCD พี่เจี๊ยบ” วัชรพล จึงเจริญ และ “ณูณู” ศุภอนงค์ ปัญญาสิริมงคล เกี่ยวกับการทำงานกับ TICA ติดตามกันว่า
ความฝันของพี่เจี๊ยบ ที่อยากให้ทุกองค์กรมี คือ D I E คืออะไร
สิ่งที่ ณูณู อยากให้ TICA ช่วยผลักดัน คือ อะไร
เปิดใจพี่เจี๊ยบเมื่อรู้ว่าต้องติดต่อกับเด็ก Gen ใหม่รู้สึกอย่างไร และ
TICA จะสามารถเป็นสะพานเชื่อม APCD ไปสู่ประเทศอื่น ๆ ได้อย่างไรบ้าง
Thu, 06 Jul 2023 - 42min - 79 - คุยกับผู้เชี่ยวชาญ APCD เกี่ยวกับโครงการเด็กพิเศษที่มัลดีฟส์ (ตอนที่ 1 )Thu, 06 Jul 2023 - 32min
- 78 - 24 ชั่วโมงในการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดี TICA ใน สปป.ลาวSat, 24 Jun 2023 - 25min
- 77 - โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 10
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 10” ติดตามการทำงานของจิตอาสาทีม TICA ผ่านการพูดคุยกับน้องสน อัครวัฒน์ ฮะอุรา Mr.ขยะกำพร้าของ TICA ครั้งที่ 10 มีรถของประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมกี่คัน มีขยะบริจาคกี่ตัน นอกจากนี้ ร่วมหาคำตอบกันว่า ทำไม พี่พิณ เลขานุการกรม ถึงต้องแจกลายเซ็นต์ในการทำกิจกรรมครั้งนี้
Sat, 24 Jun 2023 - 20min - 76 - “คุยกับเอ้ยายา เกี่ยวกับความร่วมมือสาธารณสุขชายแดน ศรีสะเกษ – อัลลองเวง”Sat, 24 Jun 2023 - 21min
- 75 - ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาบุคลากรของภูฏานด้าน หู จมูก คอSat, 24 Jun 2023 - 20min
- 74 - ผู้แทนจากหมู่เกาะแปซิฟิกดูงานเกี่ยวกับ SEP ที่จังหวัดเพชรบุรีSat, 24 Jun 2023 - 25min
- 73 - หนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม เล่ม 7 - 8 (ถาม-ตอบ ขุนช้างขุนแผน และ สังข์ทอง)
🇹🇭🇻🇳 TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “หนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม เล่ม 7 - 8 (ถาม-ตอบ ขุนช้างขุนแผน และ สังข์ทอง) ติดตามการพูดคุยกับ ผศ.ดร. สุภัค มหาวรากร และ ผศ.ดร. นิธิอร พรอำไพสกุล คณะมนุษยศาสตร์ มศว ถึงที่มาที่ไปของการทำหนังสือเรียนภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม ทำไมถึงต้องเรียนวรรณคดีไทย และนิทานเวียดนามเรื่องใดที่คล้ายเรื่องสังข์ทองของไทย
Sat, 24 Jun 2023 - 26min - 72 - “การจัดสัมมนา 3 ทศวรรษแห่งความสำเร็จของการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม”
🇹🇭🇻🇳 TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “การจัดสัมมนา 3 ทศวรรษแห่งความสำเร็จของการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม” พบกับการพูดคุยกับ ผศ.ดร.สุภัค มหาวรากร และ ผศ.ดร.นิธิอร พรอำไพสกุล มศว เกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการ ผลสำเร็จของการทำโครงการ และในงานสัมมนา 3 ทศวรรษความสำเร็จของการสอนภาษาไทยในเวียดนาม และความท้าทายในอนาคต วันที่ 13 มีนาคม 2566 จะพบอะไรบ้าง
Sat, 24 Jun 2023 - 22min - 71 - “60 ปีของความร่วมมืออาสาสมัครอเมริกันในประเทศไทยและพิธีสาบานตนของอาสาสมัครอเมริกัน รุ่นที่ 134”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “60 ปีของความร่วมมืออาสาสมัครอเมริกันในประเทศไทยและพิธีสาบานตนของอาสาสมัครอเมริกัน รุ่นที่ 134” ติดตามการพูดคุยกับ คุณไกรโชค อรุณไพโรจน์กุล นักการทูตชำนาญการพิเศษ กองความร่วมมือด้านทุน เกี่ยวกับความเป็นมาของการส่งอาสาสมัครอเมริกันมาปฏิบัติงานในประเทศ ใครเป็นผู้กล่าวนำในการสาบานตน และ 60 ปีของความร่วมมือมีกิจกรรมอะไรบ้าง
Sat, 24 Jun 2023 - 27min - 70 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “การเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้ในเวียดนาม”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “การเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้ในเวียดนาม” ติดตามการพูดคุยกับ คุณวิทิดา ศิวะเกื้อ นักวิเทศสหการชำนาญการพิเศษ เกี่ยวกับความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศเวียดนาม
TICA มีคำถามให้ร่วมสนุกคือ ในรายการได้มีการพูดถึงโครงการที่เบ๊นแจ ว่า เหมือน 2 สถานที่ในประเทศไทย คือ ที่ใดบ้าง หมดเขตร่วมสนุก 5 พฤษภาคม 2566 โดยขอให้ตอบคำถามที่ช่องความเห็น กด Like หรือ Love พร้อมทั้ง แชร์โพสต์รายการไปยังหน้า Facebook ของตัวเองนะคะ (ตั้งค่าสาธารณะด้วยนะคะ)
Tue, 02 May 2023 - 27min - 69 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ครบรอบ 5 ปี การตั้งศูนย์ SEP ที่วิทยาลัยเทคนิคกสิกรรมดงคำช้าง สปป.ลาว”Sun, 23 Apr 2023 - 23min
- 68 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน ผลสำเร็จจากการสัมมนา 3 ทศวรรษแห่งความสำเร็จของการเรียนการสอนภาษาไทยที่เวียดนามและความท้าทายในอนาคตSun, 23 Apr 2023 - 34min
- 67 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “กาแฟดริปเทพเสด็จ”Sun, 23 Apr 2023 - 31min
- 66 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 9Sun, 23 Apr 2023 - 31min
- 65 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “คุยกับทีมศึกษาของ TICA เกี่ยวกับผลการดำเนินงานปี 2565 และแผนงานปี 2566”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “คุยกับทีมศึกษาของ TICA เกี่ยวกับผลการดำเนินงานปี 2565 และแผนงานปี 2566” ติดตามการพูดคุยกับทีม TICA ด้านการศึกษา เกี่ยวกับผลงานที่เป็นรูปธรรมในปี 2565 และแผนงานที่จะดำเนินงานในปี 2566 นำโดย ปนัดดา ริคารมย์ นักวิเทศสหการชำนาญการพิเศษ ณฐ์ชนนท์ ลิ่มบุญสืบสาย นักวิเทศสหการปฏิบัติการ ซัดดัม สะแต และ อภิญญา อินทรชัยศรี เจ้าหน้าที่โครงการ
TICA มีคำถามให้ร่วมสนุก คือ โครงการโรงเรียนสีขาว เป็นโครงการที่ดำเนินการในประเทศอะไร และเป็นโครงการเกี่ยวกับอะไร หมดเขตร่วมสนุก 27 กุมภาพันธ์ 2566 โดยขอให้ตอบคำถามที่ช่องความเห็น กด Like หรือ Love พร้อมทั้ง แชร์โพสต์รายการไปยังหน้า Facebook ของตัวเองนะคะ (ตั้งค่าสาธารณะด้วยนะคะ)
Fri, 03 Mar 2023 - 25min - 64 - 📷📷TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA กับ การทูตสาธารณสุข in action”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA กับ การทูตสาธารณสุข in action” ติดตามการพูดคุยถึงผลงานด้านสาธารณสุขที่เป็นรูปธรรมกับทีมสาธารณสุขของ TICA นำโดย “ตาม” ครองขวัญ ไตรทองอยู่ นักการทูตชำนาญการ และ “ผิง” กษิตินาถ กั่วพานิช เจ้าหน้าที่โครงการ มีนวัตกรรมไทยอะไรบ้างที่ TICA นำไปเผยแพร่ในต่างประเทศ และทำไมต้องพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยในชายแดน
Tue, 14 Feb 2023 - 36min - 63 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “สรุปผลการดำเนินงานปี 2565 และแผนปี 2566 กองความร่วมมือด้านทุน”
เป็นการพูดคุยกับ ผอ. ชิดชนก มาลยะวงศ์ ผอ.กองความร่วมมือด้านทุน เกี่ยวกับภารกิจการทำงานของกอง มี 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การให้ทุนศึกษาและทุนฝึกอบรม ใน 6 สาขาหลัก คือ Sufficiency Economy Philosophy, Agriculture and Food Security, Climate Change and Environmental Issues, Public Health, Bio-Circular-Green (BCG) Economy Model และ Other topics related to SDGs ประกอบด้วย
1. ทุนศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือ เช่น ทุนศึกษาระดับ ป. โท นานาชาติ (Thailand International Postgraduate Programme: TIPP) และทุนศึกษาตามความต้องการ
2.ทุนฝึกอบรมภายใต้กรอบความร่วมมือ เช่น ทุน AITC และทุนอบรมตามความต้องการของประเทศผู้รับ
ส่วนที่ 2 การรับทุนจากต่างประเทศ2.1 หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติ (Annual International Training Courses: AITC)
ปัจจุบัน มีประเทศ/องค์การระหว่างประเทศที่ให้ทุนแก่รัฐบาลไทยผ่านกรมความร่วมมือฯ เพื่อให้แจ้งเวียนทุน/ส่งผู้สมัครเข้าอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ รวม 8 แหล่งทุน ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย อียิปต์ Colombo Plan Secretariat และ SEAMEO Secretariat
ส่วนที่ 3 อาสาสมัครจากต่างประเทศ
ปัจจุบัน มีประเทศต่าง ๆ ที่ส่งอาสาสมัครมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย 3 ประเทศ ได้แก่
1. ญี่ปุ่น Japan Overseas Cooperation Volunteers รวม 10 สาขา อาทิ การพัฒนา SMEs สิ่งแวดล้อม การดูแลผู้สูงวัยและผู้พิการ HRD ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ปีละไม่เกิน 35 คน
2. เกาหลีใต้ Korea Oversea Volunteers รวม 2 สาขา ได้แก่ Korea Language Education และ Beauty & Bakeryปีละไม่เกิน 35 คน
3. สหรัฐอเมริกา Peace Corps Volunteers รวม 2 สาขา ได้แก่ การพัฒนาเยาวชน และการศึกษา ปีละประมาณ 100 คน
Tue, 14 Feb 2023 - 38min - 62 - 📷📷 TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน "TICA อิน Global Festa 2022"Tue, 24 Jan 2023 - 17min
- 61 - 📷📷 TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “9 ภารกิจของอธิบดี TICA ใน สปป.ลาว ตอนที่ 2”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “9 ภารกิจของอธิบดี TICA ใน สปป.ลาว ตอนที่ 2” ติดตามการพูดคุยกับ น้องบี สิกขมา แสงหิรัญ นักวิเทศสหการปฏิบัติการ กลุ่มงานวางแผนความร่วมมือฯ เกี่ยวกับผลการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย-ลาว ครั้งที่ 24 ณ แขวงหลวงพระบาง บรรยากาศการประชุมเป็นอย่างไร และผลสำเร็จของการประชุมเป็นอย่างไร
Fri, 20 Jan 2023 - 25min - 60 - 📷📷 TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “9 ภารกิจของอธิบดี TICA ใน สปป.ลาว ตอนที่ 1”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “9 ภารกิจของอธิบดี TICA ใน สปป.ลาว ตอนที่ 1” ติดตามการพูดคุยกับ น้องโดนัท ฮัซซูน่า ไชยะกุล เจ้าหน้าที่กองความร่วมมือด้านทุน เกี่ยวกับการเดินทางไป สปป.ลาว ครั้งแรกกับอธิบดี TICA โดยเป็นภารกิจในการไปปฏิบัติราชการที่ สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 21-25 สิงหาคม 2565 ในพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงเวียงจันทน์ และ แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว
Tue, 17 Jan 2023 - 27min - 59 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “สรุปผลงานเด่นของ TICA ปี 2565 และแผนงานปี 2566”Wed, 04 Jan 2023 - 27min
- 58 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ยินดีกับความสำเร็จกับผู้รับทุนชาวเวียดนาม และ 1 ปี ในประเทศไทยของผู้รับทุนชาวกัมพูชา”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ยินดีกับความสำเร็จกับผู้รับทุนชาวเวียดนาม และ 1 ปี ในประเทศไทยของผู้รับทุนชาวกัมพูชา” ติดตามการพูดคุยกับคุณชนะภัยและคุณเข็ม ผู้รับทุนชาวเวียดนามที่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกและโท ดุษฎีนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ที่ทำจะสามารถนำไปต่อยอดการเรียนการสอนที่เวียดนามได้อย่างไร และติดตามชีวิตการเรียน 1 ปี ใน มศว ของทีน่าและณรงค์ ผู้รับทุนชาวกัมพูชา
Wed, 04 Jan 2023 - 33min - 57 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “การประชาสัมพันธ์งานของ TICA ใน GSSD Expo 2022 และในประเทศไทย”Thu, 22 Dec 2022 - 21min
- 56 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 7
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ 7 ครบรอบ 1 ปี ของการทำกิจกรรมจิตอาสาของทีม TICA ติดตามการพูดคุยกับ น้องสน อัครวัฒน์ ฮะอุรา Mr.ขยะกำพร้าของ TICA เกี่ยวกับการทำกิจกรรมครั้งนี้
อธิบดี TICA ร่วมโครงการ “ส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน” ครั้งที่ ๗ 🌐♻️ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมมือกับบริษัท เอ็น 15 เทคโนโลยี จำกัด จัดโครงการ “ส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน” ครั้งที่ ๗ ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ โดยมี นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ นางสาวพิณ ศรีดุรงคธรรม เลขานุการกรม และจิตอาสาของ TICA เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ หลักสี่
🚘🚖โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้านเป็นการรับบริจาคขยะกำพร้าแบบ drive thru เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ -๑๒.๐๐ น นอกจากขยะกำพร้าจาก TICA แล้ว มีขยะกำพร้าจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และประชาชนในละแวกใกล้เคียงได้นำขยะกำพร้ามาร่วมบริจาค รวมมีรถเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๘๔ คัน น้ำหนักขยะ ๓,๖๔๐ กิโลกรัม
♻️🥡ขยะกำพร้าที่ได้รับจากการบริจาคครั้งนี้จะถูกนำกลับไปที่บ้าน คือ ที่โรงงานของ บริษัท เอ็น 15 เทคโนโลยี จำกัด เพื่อผ่านกระบวนการ คัดแยก บดย่อย และบีบอัด เป็น “เชื้อเพลิงขยะ” และจะถูกส่งไปใช้เป็นเชื้อเพลิงที่โรงงานผลิตไฟฟ้าและโรงงานปูนซีเมนต์ซึ่งสามารถทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้ และการจัดกิจกรรมครั้งที่ ๗ มีกลุ่ม Plaplus ซึ่งเป็น Startup ที่ทำเกี่ยวกับการ Recycle พลาสติก ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับแก้วพลาสติกแบบ Bioplastic กล่องข้าวไมโครเวฟที่ใช้แล้ว และพลาสติกต่าง ๆ เพื่อนำไปหลอมเป็นเส้นหรือเป็นเม็ดเพื่อขึ้นรูปใหม่ หรือทำเป็นสารบำรุงดิน นำมาผสมกับปุ๋ยใช้ปลูกต้นไม้ มาร่วมรับบริจาคด้วย
📍❤️ สำหรับกิจกรรมครั้งที่ ๗ ถือได้ว่าเป็นการครบรอบ 1 ปี ที่ TICA ได้จัดโครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เริ่มจากกลุ่มคนเล็ก ๆ ในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ TICA ขยายไปสู่หน่วยงานทั้งภายใน-นอกศูนย์ราชการ และประชาชนที่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาการจัดการขยะ นอกจากตระหนักแล้วยังเป็นการลงมือทำเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการขยะที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการส่งต่อข้อมูลและมีการรับขยะที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น แยกแก้ว-พลาสติก หรือถ่านไฟฉาย เพื่อนำไปจัดการอย่างเหมาะสม
❤️🌐 ทั้งนี้ โครงการส่งขยะกำพร้ากลับบ้านเป็นการสนับสนุนการสร้างกลไกให้เกิดการนำทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์ ลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้ BCG Model โดยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะ โดยมุ่งเน้นจัดการ ณ ต้นทาง สร้างมูลค่าในห่วงโซ่การจัดการขยะ สำหรับท่านที่อยากทราบข้อมูล ว่าขยะกำพร้าคืออะไร สามารถดูจากภาพสุดท้ายได้ค่ะ และหากสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน ครั้งที่ ๘ เจอกันเดือนมกราคม ๒๕๖๖ นะคะ #TICAพัฒนาทั่วโลก #TICAรักษ์โลก
Thu, 22 Dec 2022 - 22min - 55 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “หลักสูตรอบรมภาษาไทยแบบเข้มให้นักศึกษาเวียดนาม ปี 2565 ณ มศว” ติดตามการพูดคุยกับ น้องเอิร์น ยศยา แก้วเพชร นักวิเทศสหการปฏิบัติการ
🇹🇭🇻🇳 TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “หลักสูตรอบรมภาษาไทยแบบเข้มให้นักศึกษาเวียดนาม ปี 2565 ณ มศว” ติดตามการพูดคุยกับ น้องเอิร์น ยศยา แก้วเพชร นักวิเทศสหการปฏิบัติการ เกี่ยวกับการจัดหลักสูตรอบรมสำหรับนักศึกษาเวียดนามทั้ง 2 รุ่น รวมทั้ง มศว มีวิธีการจัดอบรมภาษาไทยให้สนุกและได้ความรู้ อย่างไรบ้าง
การอบรมภาษาไทยแบบเช้มให้นักศึกษาเวียดนามเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยกับเวียดนามในการสอนภาษาไทยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในรูปโครงการพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัคร การให้ทุนศึกษา และการจัดหลักสูตรฝึกอบรม โดยในส่วนของหลักสูตรภาษาไทยระยะสั้นแบบเข้มเป็นการสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของเวียดนามมานานกว่า 20 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์การใช้ภาษาไทยในบริบทของสังคมไทย เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และยังเป็นการสร้างโอกาสในการทำงาน การประกอบอาชีพ รวมทั้งมีส่วนช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการภาคเอกชน ตลอดจนการค้าและการลงทุน นอกเหนือจากการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระดับประชาชนกับประชาชน และระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามผ่านวัฒนธรรมทางด้านภาษา ซึ่งมีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นหน่วยงานดำเนินกิจกรรม ซึ่งในปี 2565 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งสิ้น 38 คน โดยแบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 : นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติ นครโฮจิมินห์ และมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยดานัง รวม 20 คน ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 9-23 พฤศจิกายน 2565 โดยนักศึกษาเวียดนามที่เข้าอบรมในกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่เลือกภาษาไทยเป็นวิชาเอก และ มศว จัดให้นักศึกษาได้ออกไปศึกษาดูงานสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของไทย ณ จังหวัดอยุธยา รวมทั้งที่ SCG สำนักงานใหญ่ บางซื่อ ด้วยภาษาไทย ตลอดจนกล่าวแสดงความขอบคุณและความรู้สึกซาบซึ้งใจที่ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว
กลุ่มที่ 2 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติ กรุงฮานอย และมหาวิทยาลัยฮานอย รวม ๑๘ คน มีกำหนดการจัดฝึกอบรมระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม 2565 โดยนักศึกษาเวียดนามที่เข้าอบรมในกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เลือกภาษาไทยเป็นวิชาโท โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าวจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (หน่วยงานดำเนินกิจกรรม) หลักสูตรดังกล่าวเป็นการอบรมภาษาไทยแบบเช้มข้นทั้งในห้องเรียน และมีกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อเสริมทักษะการใช้ภาษาไทย เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระบรมมหาราชวัง พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นอกจากนี้ ยังได้ไปอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (อุทยาน ร.2) ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นักศึกษาได้เยี่ยมชมเรือนไทย เรียนรู้เรื่อง วิถีชีวิตของคนไทย อาหารตำรับชาววังในวรรณคดีไทย และทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมไทย เช่น นุ่งโจงห่มสไบ ทำผ้ามัดย้อม และทำบุญ ตลอดจนได้ศึกษาวิถีชีวิตของชาวอัมพวาจากพิพิธภัณฑ์มรดกทางวัฒนธรรมอัมพวาอีกด้วย
Wed, 14 Dec 2022 - 36min - 54 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน อธิบดี TICA เข้าร่วมพิธีส่งมอบเตียงนวัตกรรมพลิกตะแคงที่ สปป.ลาว ติดตามการพูดคุยกับ น้องโฟน ณฐ์ชนนท์ ลิ่มบุญสืบสาย นักวิเทศสหการปฏิบัติการ
เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เข้าร่วมพิธีส่งมอบเตียงนวัตกรรมพลิกตะแคงและอุปกรณ์การแพทย์ภายใต้โครงการพัฒนาโรงพยาบาลเมืองโพนโฮงให้แก่โรงพยาบาลเมืองโพนโฮง แขวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว โดยมี นายเจษฎา กตเวทิน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ เป็นประธานในพิธีส่งมอบ โดยมีนายสมปะสง สุวงคำจัน เจ้าเมืองโพนโฮง นายแพทย์สิงทอง นุลา หัวหน้าแขนงรักษา แผนกสาธารณสุขแขวงเวียงจันทน์ และผู้บริหารโรงพยาบาลเมืองโพนโฮงเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้มีทีมนักวิจัยไทยที่คิดค้นนวัตกรรมเตียงพลิกตะแคงเข้าร่วมด้วย ได้แก่ ผศ.พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร นโยบายและแผน และหัวหน้าโครงการวิจัยและเตียงนวัตกรรมพลิกตะแคง พญ. สุภาภรณ์ ดิสนีเวทย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา นพ. ธนะรัตน์ บุญเรือง ผู้แทนจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) และคุณมาริต้า รุกพันธ์เมธี กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพครุภัณฑ์เวชภัณฑ์ จำกัดเข้าร่วมพิธีเพื่อเป็นสักขีพยานด้วยเตียงนวัตกรรมพลิกตะแคงนี้ ได้รับการสนับสนุนและเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่คิดค้นโดยทีมนักวิจัยจากคณแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับดำเนิน การวิจัยและพัฒนาจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และร่วมมือกับบริษัท กรุงเทพครุภัณฑ์เวชภัณฑ์ จำกัด ในการดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ซึ่งเตียงดังกล่าวคิดค้นขึ้นสำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่จำเป็นต้องพลิกตัวผ่านการควบคุมด้วยระบบยกที่ออกแบบมาเพื่อลดภาระการดูแลของพยาบาลและญาติผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
การส่งมอบเตียงนวัตกรรมพลิกตะแคงให้แก่ รพ. เมืองโพนโฮง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนภารกิจความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ให้แก่ สปป. ลาว ภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย - ลาว ระยะ ๓ ปี (ค.ศ. ๒๐๒๐ – ๒๐๒๒) สาขาสาธารณสุข ซึ่งความร่วมมือด้านสาธารณสุขนี้เป็นหนึ่งสาขาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่สำคัญและประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรมระหว่างไทย และ สปป.ลาว ตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างการรับรู้และความก้าวหน้าของรัฐบาลไทยในต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล อีกด้วย
ในโอกาสเดียวกัน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศส่งมอบครุภัณฑ์การแพทย์สำหรับห้องเอ็กซเรย์ จำนวน ๖ รายการ (มูลค่า ๗,๔๙๐,๐๐๐ บาท) และชุดเตียงโคมไฟผ่าตัดขนาดใหญ่และตู้อบเด็กทารกแรกคลอด (มูลค่า ๑,๔๙๐,๐๐๐ บาท) รวมมูลค่าทั้งสิ้น ๘,๙๘๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โรงพยาบาลเมืองโพนโฮง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยที่มารับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขของโรงพยาบาลเมืองโพนโฮง ที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนโรงพยาบาลเมืองโพนโฮงมาอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโรงพยาบาลเมืองโพนโฮง เช่น การก่อสร้างศูนย์รองรับผู้ป่วยอุบัติเหตุเบื้องต้นและส่งต่อ ศูนย์บำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด การปรับปรุงอาคารผู้ป่วยนอก และการสนับสนุนครุภัณฑ์ เครื่องมือ วัสดุทางการแพทย์ เวชภัณฑ์และยา และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เป็นต้นโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขระหว่างไทยกับลาวนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างทั้งสองประเทศที่คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าความแน่นแฟ้นของประชาชนทั้งสองประเทศนี้ เป็นประหนึ่งดั่งที่นายกรัฐมนตรีกล่าวไว้ว่าเป็น “กินข้าวร่วมนา กินปลาร่วมน้ำ” การให้การสนับสนุนแก่ สปป. ลาว นี้ เป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์นี้ ที่ไทยและลาวจะสานต่อความร่วมมือนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนของทั้งสองประเทศสืบไป
Thu, 08 Dec 2022 - 17min - 53 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ติดตามโครงการเด็กพิเศษ ที่ มัลดีฟส์”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ติดตามโครงการเด็กพิเศษ ที่ มัลดีฟส์” ติดตามการพูดคุยกับ น้องอิง อภิญญา อินทรชัยศรี เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการ เกี่ยวกับการไปติดตามผลการฝึกอบรมโครงการเด็กพิเศษที่มัลดีฟส์ ไปรับฟังกันว่า การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษที่มัลดีฟส์มีการจัดห้องเรียนอย่างไร และผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
Thu, 01 Dec 2022 - 21min - 52 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรอย่างยั่งยืนไทย – เคนยา”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรอย่างยั่งยืนไทย – เคนยา” ติดตามการพูดคุยกับ น้องโดม ณัฐกานต์ เทพนรินทร์ นักวิเทศสหการปฏิบัติการ เกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการนี้ ทำไมไกลถึงทวีปแอฟริกา TICA ถึงมีโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา นอกจากนี้ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตร ไทย-เคนยา มีฐานเรียนรู้อะไรบ้าง และมีความแตกต่างจากฐานเรียนรู้ของศูนย์เรียนรู้ของประเทศอื่น ๆ อย่างไร รวมทั้งแผนงานโครงการนี้มีอะไรบ้าง
TICA มีคำถามให้ร่วมสนุก คือ ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตร ไทย-เคนยา มีกี่ฐานเรียนรู้ และโครงการนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบกี่ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – เคนยา ❤️ หมดเขตร่วมสนุก 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.00 น. ของรางวัลมีจำนวนจำกัดนะคะ โดยขอให้ตอบคำถามไปยัง email : yuwadee.tica@gmail.com หรือที่ Facebook ของ TICA Cooperation
Tue, 22 Nov 2022 - 21min - 51 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน "ตามอธิบดี TICA ไปดูงานโรงงานไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมแบบไม่อันตราย"
ติดตามการพูดคุยกับ น้องสน อัครวัฒน์ ฮะอุรา Mr.ขยะกำพร้าของ TICA เกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงขยะ หรือ RDF ในโรงงานไฟฟ้า ที่บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ไปรับชมรับฟังกันว่า ปลายทางของขยะกำพร้านำไปสู่การผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร
การไปดูงานครั้งนี้ จัดขึ้นวันที่ 20 ตุลาคม 2565 โดยมี นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประทเศ นำคณะเจ้าหน้าที่ไปดูงานที่บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อยอดจากการที่กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้จัดทำโครงการ “ส่งขยะกำพร้ากลับบ้าน” ร่วมกับบริษัท เอ็น 15 เทคโนโลยี จำกัด เพื่อรับบริจาคขยะกำพร้าเพื่อนำไปแปรรูปเป็นขยะเชื้อเพลิง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ RDF ดังนั้น เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อกระบวนการนำเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน แบบครบวงจร และเพื่อประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เป็นโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย โดยเป็นโรงไฟฟ้าแบบเตาเผา ที่สามารถเผาขยะอุตสาหกรรมได้ถึง 270 - 300 ตันต่อวัน ด้วยเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อให้เตาเผาขยะนี้สามารถทำอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อที่จะเปลี่ยนน้ำให้เป็นไอน้ำ จากนั้นไอน้ำที่ผลิตได้นี้จะนำไปใช้ในการดันกังหันไอน้ำที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 8.63 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะจำหน่ายให้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (20 ปี) โครงการผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก และได้เริ่มดำเนินเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562
โรงไฟฟ้าชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ ก่อตั้งขึ้นจากการร่วมทุนระหว่าง 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท WHA Utilities & Power ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน บริษัท GLOW ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตและจัดส่งพลังงาน และบริษัท Veolia ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ ของเสียและพลังงาน โดยได้ผสมผสานความเชี่ยวชาญของทั้งสามบริษัท เพื่อนำเสนอทางเลือกใหม่ในการกำจัดขยะอุตสาหกรรม (ที่ไม่เป็นอันตราย) โดยเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
Thu, 10 Nov 2022 - 31min - 50 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน "คุยกับ เอ้ยายา เรื่องระบบส่งต่อผู้ป่วยไทย - กัมพูชา"Tue, 08 Nov 2022 - 27min
- 49 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน พิธีปิดหลักสูตรและการมอบวุฒิบัตรแก่นักศึกษากัมพูชา
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน พิธีปิดหลักสูตรและการมอบวุฒิบัตรแก่นักศึกษากัมพูชา ติดตามการพูดคุยกับ ซัดดัม สะแต เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ เกี่ยวกับโครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ ทำไมเยาวชนกัมพูชาสนใจเรียนภาษาไทย และสิ่งที่คาดหวังหลังจากจบการศึกษาไปแล้วอยากจะทำอาชีพอะไร
สำหรับโครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทย ณ มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ (RUPP) โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่ปี 2548 โดยส่งผู้เชี่ยวชาญ อาสาสมัครผู้ช่วยไปสอนภาษาไทยในภาควิชาภาษไทย และสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับการจัดการเรียนการสอน หนังสือ ตำราภาษาไทย และครุภัณฑ์สำหรับห้องเรียนภาษาไทย รวมทั้งสนับสนุนทุนศึกษาระดับปริญญาโท และเอก เพื่อพัฒนาบุคคลากรภายใต้โครงการฯ จำนวนอาจารย์ผู้สอนสาขาภาษาไทย (สำเร็จการศึกษา ป.โท 5 คน ป.เอก 1 คน รวม 6 คน) และกำลังศึกษาต่อ ป.โท 2 คน ป.เอก 1 คน เป็นต้น ม.มหาสารคามเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการฯ
การดำเนินงานโครงการใน ระยะแรกได้เปิดสอนวิชาภาษาไทยขั้นพื้นฐาน ระดับ 1 - 4 โดยเป็นวิชาไม่นับหน่วยกิต ต่อมา ในปี พ.ศ. 2555 ทางมหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรวิชาโทสาขาวิชาภาษาไทยเป็นวิชาเลือกเสรีของหลักสูตรต่าง ๆ และพ.ศ. 2556ได้รับการอนุมัติจากสถาบันภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญให้เปิดสอนหลักสูตรภาษาไทยระยะสั้น ระดับ 1-4 และในปี 2557 กระทรวง ศึกษาธิการ เยาวชนและการกีฬา กพช. ได้อนุมัติให้จัดตั้งภาควิชาภาษาไทย
ณ ม.ภูมินท์พนมเปญและในวันที่ 9 กันยายน 2557 เปิดสอนสาขาภาษาไทยระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 1/2557
Wed, 02 Nov 2022 - 35min - 48 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการ OGOP Model 2 ตอนที่ 5 คุยกับ คุณธัญวรรณ์ ศรี ศรีเดชะกุล ผู้ประสานงานเรื่องกิจกรรมและการบริหารงบประมาณ และ คุณปิลันธสุทธิ์ สุวรรณเลิศ ผู้รับผิดชอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการ OGOP Model 2 ตอนที่ 5 คุยกับ คุณธัญวรรณ์ ศรี ศรีเดชะกุล ผู้ประสานงานเรื่องกิจกรรมและการบริหารงบประมาณ และ คุณปิลันธสุทธิ์ สุวรรณเลิศ ผู้รับผิดชอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชน OGOP ของราชอาณาจักรภูฏาน หรือ Sustainable Community Development Model Based on the Application of Sufficiency Economy Philosophy for the One Gewog[1] One Product (OGOP) Villages in Bhutan (OGOP Model II)
การดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ภายใต้โครงการ OGOP Model II ประจำปี 2563 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับ The Queen’s Project Office (QPO) หน่วยงานคู่ร่วมมือฝ่ายภูฏาน ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ภายใต้โครงการ OGOP Model II ประจำปี 2563 สำหรับพื้นที่เป้าหมายโครงการในภูฏาน โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ (มรภ.ชม.) เป็นผู้ดำเนินการสอนด้านเทคนิครวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นตามแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ใน 6 ชุมชนเป้าหมายของโครงการที่จังหวัด Haa , Tsirang, Wangdue Phodrang, Lhuntse, Trashi YangtseและTrongsa ตามศักยภาพของชุมชนนั้น ๆ โดยแต่ละชุมชนจะได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนละ ๒ ผลิตภัณฑ์ รวม ๑๒ ผลิตภัณฑ์ต่อปี ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 3 ปี (2562 - 2565)
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบให้กำหนดการและรูปแบบการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมฯ ที่กำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ กิจกรรมในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2563 จึงได้ถูกปรับให้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) ระบบทางไกล ฝึกอบรมโดยคณะผู้เชี่ยวชาญจาก มรภ. ชม. สำหรับวิทยากรต้นแบบภูฏาน 5 คน (Training of Trainers - TOT) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ QPO เจ้าหน้าที่ National Post-Harvest Center of Bhutan เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนหรือ SMART leaders หรือเกษตร (2) ในพื้นที่เป้าหมายโครงการทั้ง 6 ชุมชน ซึ่งวิทยากรต้นแบบจะอบรมขยายผลให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง/เกษตรกร/ชาวบ้านในชุมชนรวม 30 คนต่อชุมชน
กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายโครงการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม (participation) และการเป็นเจ้าของ (ownership)ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน จึงได้กำหนดให้ชุมชนดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา “ร่วมกัน” ผ่านกลไกการประชุมชุมชนเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมระหว่างอุปสงค์ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ระดับคุณภาพที่ตลาดต้องการ และอุปทาน เช่น วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เครื่องมือและอุปกรณ์ ระดับศักยภาพในการผลิต ของผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนนั้น ๆ ต้องการพัฒนา
Fri, 28 Oct 2022 - 22min - 47 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการ OGOP Model 2 ตอนที่ 4 คุยกับ ผศ.มานพ ชุ่มอุ่น ผู้เชี่ยวชาญที่รับผิดชอบด้านการตลาดของโครงการ OGOP
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการ OGOP Model 2 ตอนที่ 4 คุยกับ ผศ.มานพ ชุ่มอุ่น ผู้เชี่ยวชาญที่รับผิดชอบด้านการตลาดของโครงการ OGOP ผู้เชี่ยวชาญจาก ม.ราชภัฎเชียงใหม่ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชน OGOP ของราชอาณาจักรภูฏาน หรือ Sustainable Community Development Model Based on the Application of Sufficiency Economy Philosophy for the One Gewog[1] One Product (OGOP) Villages in Bhutan (OGOP Model II)
การดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ภายใต้โครงการ OGOP Model II ประจำปี 2563 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับ The Queen’s Project Office (QPO) หน่วยงานคู่ร่วมมือฝ่ายภูฏาน ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ภายใต้โครงการ OGOP Model II ประจำปี 2563 สำหรับพื้นที่เป้าหมายโครงการในภูฏาน โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ (มรภ.ชม.) เป็นผู้ดำเนินการสอนด้านเทคนิครวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นตามแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ใน 6 ชุมชนเป้าหมายของโครงการที่จังหวัด Haa , Tsirang, Wangdue Phodrang, Lhuntse, Trashi YangtseและTrongsa ตามศักยภาพของชุมชนนั้น ๆ โดยแต่ละชุมชนจะได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนละ ๒ ผลิตภัณฑ์ รวม ๑๒ ผลิตภัณฑ์ต่อปี ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 3 ปี (2562 - 2565)
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบให้กำหนดการและรูปแบบการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมฯ ที่กำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ กิจกรรมในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2563 จึงได้ถูกปรับให้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) ระบบทางไกล ฝึกอบรมโดยคณะผู้เชี่ยวชาญจาก มรภ. ชม. สำหรับวิทยากรต้นแบบภูฏาน 5 คน (Training of Trainers - TOT) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ QPO เจ้าหน้าที่ National Post-Harvest Center of Bhutan เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนหรือ SMART leaders หรือเกษตร (2) ในพื้นที่เป้าหมายโครงการทั้ง 6 ชุมชน ซึ่งวิทยากรต้นแบบจะอบรมขยายผลให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง/เกษตรกร/ชาวบ้านในชุมชนรวม 30 คนต่อชุมชน
กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายโครงการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม (participation) และการเป็นเจ้าของ (ownership)ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน จึงได้กำหนดให้ชุมชนดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา “ร่วมกัน” ผ่านกลไกการประชุมชุมชนเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมระหว่างอุปสงค์ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ระดับคุณภาพที่ตลาดต้องการ และอุปทาน เช่น วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เครื่องมือและอุปกรณ์ ระดับศักยภาพในการผลิต ของผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนนั้น ๆ ต้องการพัฒนา
Fri, 28 Oct 2022 - 28min - 46 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการ OGOP Model 2 ตอนที่ 3 คุยกับ ผศ.ดร.สุพจน์ บุญแรง และ ดร.ทิตา สุนทรวิภาต ผู้เชี่ยวชาญจาก ม.ราชภัฎเชียงใหม่
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการ OGOP Model 2 ตอนที่ 3 คุยกับ ผศ.ดร.สุพจน์ บุญแรง และ ดร.ทิตา สุนทรวิภาต ผู้เชี่ยวชาญจาก ม.ราชภัฎเชียงใหม่ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชน OGOP ของราชอาณาจักรภูฏาน หรือ Sustainable Community Development Model Based on the Application of Sufficiency Economy Philosophy for the One Gewog[1] One Product (OGOP) Villages in Bhutan (OGOP Model II)
การดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ภายใต้โครงการ OGOP Model II ประจำปี 2563 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับ The Queen’s Project Office (QPO) หน่วยงานคู่ร่วมมือฝ่ายภูฏาน ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ภายใต้โครงการ OGOP Model II ประจำปี 2563 สำหรับพื้นที่เป้าหมายโครงการในภูฏาน โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ (มรภ.ชม.) เป็นผู้ดำเนินการสอนด้านเทคนิครวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นตามแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ใน 6 ชุมชนเป้าหมายของโครงการที่จังหวัด Haa , Tsirang, Wangdue Phodrang, Lhuntse, Trashi YangtseและTrongsa ตามศักยภาพของชุมชนนั้น ๆ โดยแต่ละชุมชนจะได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนละ 2 ผลิตภัณฑ์ รวม 12 ผลิตภัณฑ์ต่อปี ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 3 ปี (2562 - 2565)
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบให้กำหนดการและรูปแบบการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมฯ ที่กำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ กิจกรรมในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2563 จึงได้ถูกปรับให้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) ระบบทางไกล ฝึกอบรมโดยคณะผู้เชี่ยวชาญจาก มรภ. ชม. สำหรับวิทยากรต้นแบบภูฏาน 5 คน (Training of Trainers - TOT) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ QPO เจ้าหน้าที่ National Post-Harvest Center of Bhutan เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนหรือ SMART leaders หรือเกษตร (2) ในพื้นที่เป้าหมายโครงการทั้ง 6 ชุมชน ซึ่งวิทยากรต้นแบบจะอบรมขยายผลให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง/เกษตรกร/ชาวบ้านในชุมชนรวม 30 คนต่อชุมชน
กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายโครงการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม (participation) และการเป็นเจ้าของ (ownership)ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน จึงได้กำหนดให้ชุมชนดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา “ร่วมกัน” ผ่านกลไกการประชุมชุมชนเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมระหว่างอุปสงค์ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ระดับคุณภาพที่ตลาดต้องการ และอุปทาน เช่น วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เครื่องมือและอุปกรณ์ ระดับศักยภาพในการผลิต ของผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนนั้น ๆ ต้องการพัฒนา
Fri, 28 Oct 2022 - 34min - 45 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการ OGOP Model 2 ตอนที่ 2 คุยกับ ผศ.ดร.นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญจาก ม.ราชภัฎเชียงใหม่
ตอนที่ 2 เป็นการพูดคุยกับ ผศ.ดร.นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมของโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชน OGOP ของราชอาณาจักรภูฏาน หรือ Sustainable Community Development Model Based on the Application of Sufficiency Economy Philosophy for the One Gewog[1] One Product (OGOP) Villages in Bhutan (OGOP Model II)
การดำเนินกิจกรรมตามแผนงานโครงการในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ภายใต้โครงการ OGOP Model II ประจำปี 2563 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับ The Queen’s Project Office (QPO) หน่วยงานคู่ร่วมมือฝ่ายภูฏาน ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ภายใต้โครงการ OGOP Model II ประจำปี 2563 สำหรับพื้นที่เป้าหมายโครงการในภูฏาน โดยมีคณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ (มรภ.ชม.) เป็นผู้ดำเนินการสอนด้านเทคนิครวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นตามแผนงานโครงการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OGOP ใน 6 ชุมชนเป้าหมายของโครงการที่จังหวัด Haa , Tsirang, Wangdue Phodrang, Lhuntse, Trashi YangtseและTrongsa ตามศักยภาพของชุมชนนั้น ๆ โดยแต่ละชุมชนจะได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนละ ๒ ผลิตภัณฑ์ รวม ๑๒ ผลิตภัณฑ์ต่อปี ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 3 ปี (2562 - 2565)
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบให้กำหนดการและรูปแบบการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมฯ ที่กำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ กิจกรรมในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2563 จึงได้ถูกปรับให้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) ระบบทางไกล ฝึกอบรมโดยคณะผู้เชี่ยวชาญจาก มรภ. ชม. สำหรับวิทยากรต้นแบบภูฏาน 5 คน (Training of Trainers - TOT) ได้แก่ เจ้าหน้าที่ QPO เจ้าหน้าที่ National Post-Harvest Center of Bhutan เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนหรือ SMART leaders หรือเกษตร (2) ในพื้นที่เป้าหมายโครงการทั้ง 6 ชุมชน ซึ่งวิทยากรต้นแบบจะอบรมขยายผลให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง/เกษตรกร/ชาวบ้านในชุมชนรวม 30 คนต่อชุมชน
กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายโครงการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม (participation) และการเป็นเจ้าของ (ownership)ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน จึงได้กำหนดให้ชุมชนดำเนินการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา “ร่วมกัน” ผ่านกลไกการประชุมชุมชนเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมระหว่างอุปสงค์ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ระดับคุณภาพที่ตลาดต้องการ และอุปทาน เช่น วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น เครื่องมือและอุปกรณ์ ระดับศักยภาพในการผลิต ของผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนนั้น ๆ ต้องการพัฒนา
Fri, 28 Oct 2022 - 33min - 44 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ออสเตรเลีย” ผ่านการพูดคุยกับ คุณญาดา หัตถธรรมนูญ กราสโซ่ นักการทูตชำนาญการ
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ออสเตรเลีย” ติดตามการพูดคุยกับ คุณญาดา หัตถธรรมนูญ กราสโซ่ นักการทูตชำนาญการ เกี่ยวกับบทบาทของ TICA ในการเชื่อมโลกสู่ไทย และการเชื่อมไทยสู่โลก ผ่านการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนโครงการ P4I และมุมมองของออสเตรเลียที่มีต่อประเทศไทย
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และนาง Angela Macdonald เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ได้ร่วมลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับโครงการ Project on Expanding Transport Cooperation through Partnerships for Infrastructure and the Ministry of Transport (P4I-MOT) ณ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา โดยนายชีวินท์ ณ ถลาง รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม และสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยเข้าร่วมพิธีด้วย
การลงนามหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับโครงการ P4I-MOT ครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มพูนความร่วมมือภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างไทยและออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๓๒ และ Joint Declaration on the Strategic Partnership between the Kingdom of Thailand and Australia ซึ่งนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้ร่วมลงนามเมื่อเดือน พ.ย. ๒๕๖๓ โครงการ P4I-MOT เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้ข้อริเริ่ม Partnerships for Infrastructure (P4I) ของรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งมุ่งเสริมสร้างบทบาทของออสเตรเลียในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน รวมถึงในกรอบ ACMECS โดยสาขาที่ออสเตรเลียต้องการส่งเสริมความร่วมมือกับไทย อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม พลังงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ digital connectivity การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการส่งเสริม ASEAN Connectivity ผ่านการดำเนินงานใน ๓ รูปแบบ คือ (๑) การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลออสเตรเลียและประเทศคู่ร่วมมือ (๒) การให้คำปรึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ (๓) การแบ่งปันความรู้และสร้างเครือข่ายระหว่างกัน ความร่วมมือภายใต้โครงการ P4I – MOT จะช่วยสนับสนุนการพัฒนานโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับหน่วยงานและบุคลากรของไทย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่ยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาและการเตรียมการเพื่อนำไปสู่การใช้รถโดยสารไฟฟ้าประจำทาง (EV Bus) และการพัฒนาการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะอื่น ๆ (EV Development of Public Transport)
Thu, 20 Oct 2022 - 29min - 43 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน โครงการ OGOP Model 2 ตอนที่ 1 คุยกับ รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกุล รองอธิบการบดี ม.ราชภัฎเชียงใหม่Tue, 11 Oct 2022 - 15min
- 42 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA อิน เพชรบุรี ตอนที่ 4 โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสานตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA อิน เพชรบุรี ตอนที่ 4 โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างแบบผสมผสานตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ติดตามการพูดคุยจาก น้องกี๊ฟ อรุณฉาย น้องสน อัครวัฒน์ และน้องอุ๋มอิ๋ม สุพิชชา ทีม TICA ที่ได้มีโอกาสไปดูงานโครงการนี้ ไปติดตามกันค่ะ ว่า การดูงานครั้งนี้ ใครเป็นหัวหน้าคณะ และที่โครงการนี้ ทีม TICA ได้ไปเรียนรู้อะไรบ้าง
TICA พัฒนาทั่วโลก มีคำถามให้ร่วมสนุกคือ น้ำทะเลผง มีประโยชน์อย่างไร TICA มีหนังสือ การทูตเพื่อการพัฒนา เส้นทางสู่ความยั่งยืน และของที่ระลึกเล็ก ๆ น้อย ๆ แจกให้ทุกคนที่ตอบคำถามถูกต้องนะคะ หมดเขตร่วมสนุก 7 ตุลาคม 2565 สามารถส่งคำตอบไปยัง yuwadee.tica@gmail.com
Tue, 04 Oct 2022 - 18min - 41 - TICA อิน เพชรบุรี ตอนที่ 3 โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA อิน เพชรบุรี ตอนที่ 3 โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ” ติดตามการพูดคุยจาก
น้องกร น.ส.กรกนก ขาวผ่อง น้องมด น.ส.อรุณี หลักคำ น้องกุ๊บกิ๊บ น.ส.สิริยากร จี๋คำ และ น้องผิง น.ส.กษิตินาถ กั่วพานิช ทีม TICA ที่ได้มีโอกาสไปดูงานโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไปติดตามกันค่ะ ว่า การดูงานครั้งนี้ ใครเป็นหัวหน้าคณะ และที่แหลมผักเบี้ย ทีม TICA ได้ไปเรียนรู้อะไรบ้าง
Mon, 03 Oct 2022 - 17min - 40 - TICA อิน เพชรบุรี ตอนที่ 2 อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA อิน เพชรบุรี ตอนที่ 2 อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” ติดตามการพูดคุยจากน้องนิว น้องนุ้ย และน้องฝ้าย ทีม TICA ที่ได้มีโอกาสไปดูงานที่อุทยานสิ่งแวดล้อมฯ ไปติดตามกันค่ะ ว่า การดูงานครั้งนี้ ใครเป็นหัวหน้าคณะ และที่อุทยานสิ่งแวดล้อมฯ ทีม TICA ได้ไปเรียนรู้อะไรบ้าง และสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
เนื่องจากทีม TICA มีจำนวน จนท เยอะมาก เราจึงแบ่งการดูงานเป็น 3 ทีม และ เพื่อให้พี่ๆ น้องๆ ที่ไม่ได้ไปดูงานในพื้นที่อื่นๆ ได้เห็นและเป็นการแบ่งปันความรู้กัน จึงได้ขอให้น้องๆ แต่ละทีมมาพูดคุยในรายการ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์กันและกัน
Fri, 30 Sep 2022 - 20min - 39 - TICA อิน เพชรบุรี ตอนที่ 1 การค้นหาตัวตน และการปลูกป่า
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA อิน เพชรบุรี ตอนที่ 1 การค้นหาตัวตน และการปลูกป่า”
ติดตามการพูดคุยกับ น้องธม ธม เพ็ชรภักดีพงษ์ กองส่งเสริมและประสาบความร่วมมือระหว่างประเทศ น้องหญิง โอบบุญ อินทรักษ์ และ น้องคอปเตอร์ ธนกร สุอรุณ สำนักงานเลขานุการกรม ทีม TICA ซึ่งได้้มีโอกาสไปสัมมนาที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของทีม TICA
ด้วยว่า ทีม TICA เรามีบุคลากรจำนวนมาก และประกอบกับสถานการณ์ของโควิด - 19 ทำให้เราต้องแบ่งทีมในการไปดูงาน 3 ทีม ในตอนนี้จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับภาพรวมของการไปสัมมนาและการปลูกป่าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ไปติดตามกันนะคะว่า การค้นหาตัวตนของทีม TICA เป็นอย่างไรบ้าง และคนใน TICA ส่วนใหญ่ เป็นคนประเภทไหน รวมทั้งป่าที่เราไปร่วมปลูกนั้น เราไปปลูกป่าอะไร กี่ต้น และทำโป่งช้าง กี่โป่ง
Fri, 30 Sep 2022 - 23min - 38 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “TICA ได้รับโล่เกียรติยศ องค์กรคนดี”Thu, 29 Sep 2022 - 23min
- 37 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “บทบาทของไทยในการประชุม The 15th Seoul ODA International Conference”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “บทบาทของไทยในการประชุม The 15th Seoul ODA International Conference” ติดตามการพูดคุยกับ “น้องพลัส” พิสิษฐ์ วงสว่างพานิช นักวิเทศสหการปฏิบัติการ ในแบบพี่อยากรู้ น้องต้องเล่า เกี่ยวกับบทบบาทของไทยใจการประชุมครั้งนี้ รวมทั้ง TICA ได้แลกเปลี่ยนความรุ้และประสบการณ์อะไรบ้างในการประชุมครั้งนี้
Thu, 29 Sep 2022 - 31min - 36 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การติดตามผลการดำเนินงานสาธารณสุขชายแดนไทย – กัมพูชา
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การติดตามผลการดำเนินงานสาธารณสุขชายแดนไทย – กัมพูชา ติดตามการพูดคุยกับ น้องมิ้ว ศิรดา ธีวันดา เจ้าหน้าที่รับผิดชอบความร่วมมือด้านสาธารณสุขชายแดน ตัวจริง เสียงจริง ลงมือทำจริง เกี่ยวกับการเข้าร่วมทีมกับกรมควบคุมโรคในการเดินทางไปติดตามผลการดำเนินงานโครงการ ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการทำโครงการความร่วมมือด้านสาธารณสุขชายแดน
Thu, 29 Sep 2022 - 25min - 35 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “พิธีรับมอบเตียงนวัตกรรมพลิกตะแคงนวัตกรรมจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์”
🌐🛌TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “พิธีรับมอบเตียงนวัตกรรมพลิกตะแคงนวัตกรรมจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ติดตามที่มาที่ไปของงานวิจัยที่นำไปสู่ นวัตกรรมทางการแพทย์ “เตียงนวัตกรรมพลิกตะแคงพร้อมเบาะ Doctor – N Medigel” และ TICA มีบทบาทผลักดันให้มีการใช้งานในประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไร โดย น้องโฟน ณฐ์ชนนท์ ลิ่มบุญสืบสาย นักวิเทศสหการปฏิบัติการ
Thu, 29 Sep 2022 - 23min - 34 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน ความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาของเด็กพิเศษ (ตอนที่ 3 แนวคิดและการออกแบบหลักสูตรสำหรับเด็กพิเศษ)
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน ความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาของเด็กพิเศษ (ตอนที่ 3 แนวคิดและการออกแบบหลักสูตรสำหรับเด็กพิเศษ) ติดตามการพูดคุยกับ 2 วิทยากร คุณสมชาย รุ่งศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาชุมชน และ คุณศิริพร ประเสริฐชาติ เจ้าหน้าที่ประสาน ฝ่ายพัฒนาชุมชน เกี่ยวกับหลักคิดและการออกแบบหลักสูตรสำหรับเด็กพิเศษ และบรรยากาศในการจัดฝึกอบรม online มีความสนุกและท้าทายอย่างไร
Thu, 29 Sep 2022 - 29min - 33 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน ความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาของเด็กพิเศษ (ตอนที่ 2 คุยกับ ท่านพิรุณ ลายสมิต ผอ. ศูนย์ APCD)
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน ความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาของเด็กพิเศษ (ตอนที่ 2 คุยกับ ท่านพิรุณ ลายสมิต ผอ. ศูนย์ APCD) ติดตามการพูดคุยกับ ผอ. พิรุณ เกี่ยวกับการเปิดครัวซีพี และร้าน 60 Plus สาขาทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งการขยายความร่วมมือในการทำงานกับ TICA ที่ประเทศมัลดีลฟ์ ไปติดตามกันนะคะว่า TICA และ APCD จับมือกันพัฒนาโครงการนี้อย่างไร
Thu, 29 Sep 2022 - 25min - 32 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน ความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาของเด็กพิเศษ (ตอนที่ 1 ภาพรวมของความร่วมมือ)
TICA พัฒนาทั่วโลก ซีรี่ส์ไหม่ มาแล้วค่ะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาของเด็กพิเศษ
ตอนนี้ เป็น TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน ความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาของเด็กพิเศษ (ตอนที่ 1 ภาพรวมของความร่วมมือ) ติดตามการพูดคุยกับ ผอ.สายัณห์ กองโกย เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาของเด็กพิเศษ ที่ TICA มีความร่วมมือกับ 3 ประเทศ คือ มัลดีฟ์ส สปป.ลาว และเมียนมา
Thu, 29 Sep 2022 - 26min - 31 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน "กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กับนวัตกรรมตู้คอนเทรนเนอร์ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา - 2019"
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน "กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กับนวัตกรรมตู้คอนเทรนเนอร์ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา - 2019" เป็นการพูดคุยกับ น.สพ.อธิวัฒน์ ปริมสิริคุณาวุฒิ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ออกแบบตู้คอนเทรนเนอร์นี้ฯ ซึ่ง TICA พัฒนาทั่วโลกได้้มีโอกาสไปติดตามคณะกรรมการตรวจรับห้องปฏิบัติการสำเร็จรูปเพื่อมอบให้โรงพยาบาลแขวงบ่อแก้ว ภายใต้แผนงานโครงการความร่วมมือกับ สปป.ลาว เพื่อรับมือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด – 19
ห้องปฏิบัติการสำเร็จรูป (ห้อง Lab) คือ ตู้คอนเทนเนอร์ ใครเป็นคนออกแบบ ก็ทราบว่าเป็นการออกแบบโดยทีมงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นั่นเอง แล้ว ถือว่า เป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ ที่ หนึ่งในทีมงานที่ออกแบบเป็นกรรมการตรวจรับกับเราด้วย คือ น.สพ.อธิวัฒน์ฯ คนนี้เองค่ะ โดย น.สพ.อธิวัฒน์ฯ ออกแบบจากประสบการณ์ในการทำงานของทีมงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และตอบโจทย์ของปัญหาของโรงพยาบาลแขวงบ่อแก้ว ที่ทราบจากการหารือทาง online หลายครั้งว่า โรงพยาบาลมีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ คือ ไม่มีพื้นที่ที่จะก่อสร้างอาคาร และห้องทุกห้องในโรงพยาบาลถูกใช้งานหมดแล้ว แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ หากเราทราบว่าต้นตอปัญหาคืออะไร มีข้อจำกัดอะไรบ้าง และเป้าหมายของเราคืออะไร
หลาย ๆ ท่านคงทราบแล้วว่า สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด – 19 มีการระบาดหลายระลอกแล้วหากต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารเพื่อทำเป็นห้องปฏิบัติการคงต้องใช้เวลานานกว่าจะดำเนินการได้ ดังนั้น น.สพ.อธิวัฒน์ฯ จึงได้เสนอแนวทางการสนับสนุนห้องปฏิบัติการเป็น ห้อง Lab สำเร็จรูป หรือ ทำจากตู้คอนเทนเนอร์ นั่นเอง ถามว่า ห้อง Lab แบบนี้ที่ประเทศไทยมีใช้ไหม น.สพ.อธิวัฒน์ฯ แจ้งว่า มีการใช้งานที่สนามบินดอนเมือง สำนักป้องกันโรคเขตเมือง (สปคม.) โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนบางแห่ง แล้วมาตรฐานละเป็นอย่างไร น.สพ.อธิวัฒน์ฯ แจ้งเราว่า ห้อง Lab แบบนี้เราได้ออกแบบตามแนวทางของ WHO ที่ได้กำหนดไว้ และใช้ประสบการณ์ของทีมงานในการปฏิบัติงานในห้อง Lab จริงมาประยุกต์หรือปรับใช้ ซึ่งในต่างประเทศก็มีการใช้งานกันอยู่แล้ว ดังนั้น ต้องบอกว่า ตู้คอนเทนเนอร์นี้ ออกแบบตามแนวทางการปฏิบัติที่ดีทางห้องปฏิบัติการตามคำแนะนำของ WHO
ห้อง Lab สำเร็จรูปนี้ ใช้เวลาในการประกอบร่าง จำนวน 25 วัน น้ำหนักโดยรวม 2,000 กิโลกรัม หรือ 2 ตัน มีการแบ่งการใช้พื้นที่เป็น 3 ส่วน คือ ห้องเตรียมน้ำยา (Master Mix Room) ห้องสกัดตัวอย่าง (Extraction Room) และห้องอณูชีววิทยา (PCR Room) นอกจากนี้ ยังมีห้องวางเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำอีกด้วย สำหรับอุปกรณ์การแพทย์อื่น ๆ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เรายังไม่ได้จัดวางให้ เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์นี้ต้องถูกส่งไปยังแขวงบ่อแก้วเพื่อทำพิธีมอบรับและเนื่องจากอุปกรณ์การแพทย์มีความละเอียดอ่อนหากกระทบกระเทือนจากการเดินทางอาจจะทำให้อุปกรณ์มีความคลาดเคลื่อน อาจกระทบกับความเที่ยงตรงของเครื่องมือได้ TICA จึงได้ส่งตู้คอนเทนเนอร์ไปก่อน แล้วอุปกรณ์จะส่งไปภายหลัง
นอกจากนี้ ทำให้ได้เห็นว่า การออกแบบห้อง Lab นี้ ได้คำนึงถึงข้อจำกัดของผู้ใช้งานคือ โรงพยาบาลแขวงบ่อแก้วอย่างมาก เช่น ปลั้กไฟ ทำออกมาเป็น 3 สาย เพื่อแก้ปัญหากระแสไฟฟ้าตก หรือไม่เพียงพอ สามารถเปิดใช้ที่ละห้องเพื่อให้การใช้งานเกิดประโยชน์สูงสุดจริง
้ ขอปิดท้ายด้วยคำพูดของ น.สพ.อธิวัฒน์ฯ ที่ได้บอกกับเราว่า หากพิจารณาถึงลักษณะการทำงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว แม้ว่า ประเทศไทยเราจะมีความเข้มแข็งในหลาย ๆ ด้าน แต่ด้านการแพทย์และสาธารณสุขนั้น เราต้องอาศัยการตรวจสอบและความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านของเรา เรามีเพื่อนบ้านอยู่รอบประเทศไทย ดังนั้น เราก็ต้องมีความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งเป็นไปตามแนวปฏิบัติของกฏอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation,IHR) หรือจะสรุปแบบสั้น ๆ คือ เพื่อนบ้านปลอดภัย ไทยก็ปลอดภัย
Thu, 29 Sep 2022 - 29min - 30 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “คุยกับ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เกี่ยวกับการพัฒนาห้องปฏิบัติการในประเทศเพื่อนบ้าน”
🎉🎉รู้หรือไม่ว่า ห้องปฏิบัติการ หรือ Lab ของประเทศไทย และของภูมิภาคอยู่ที่ไหน TICA มีคำตอบ ใน TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “คุยกับ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เกี่ยวกับการพัฒนาห้องปฏิบัติการในประเทศเพื่อนบ้าน”
ติดตามกันว่าในยุค New Normal ที่การเดินทางมีข้อจำกัด แต่ภารกิจของ TICA และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ต้องร่วมมือกันพัฒนาห้อง Lab เราใช้วิธีติดตั้งอุปกรณ์ห้อง Lab กันอย่างไร รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในกรณีที่ไม่มีก่อสร้างห้อง Lab เราทำอย่างไร
Thu, 29 Sep 2022 - 22min - 29 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ภารกิจพิเศษของ TICA ในการจำหน่ายพัสดุภายใต้โครงการความร่วมมือไทย – สหรัฐอเมริกา”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “ภารกิจพิเศษของ TICA ในการจำหน่ายพัสดุภายใต้โครงการความร่วมมือไทย – สหรัฐอเมริกา” ติดตามการพูดคุยกับ คุณปาลิดา ศีลาพัฒน์ นักวิชาการพัสดุชำนาญการ เกี่ยวกับการจำหน่ายน้องหมา เรือตรวจการ เฮลิคอปเตอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย เกี่ยวข้องกับ TICA อย่างไร และ การจำหน่ายพัสดุของโครงการความร่วมมือไทย - สหรัฐอเมริกา หรือ USAID ต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุของทางราชการหรือไม่ รวมทั้งรายได้้จากการขายทอดตลาดต้องส่งคืนให้ใคร ติดตามคำตอบได้นะคะ
Tue, 27 Sep 2022 - 30min - 28 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “มันสำปะหลัง ความหวังของเกษตรกรกัมพูชา”
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน “มันสำปะหลัง ความหวังของเกษตรกรกัมพูชา” ติดตามการพูดคุยกับ ดร.วารีย์ ทองมี จากกรมวิชาการเกษตร และ ดร. นิสา มีแสง จากกรมพัฒนาที่ดิน เกี่ยวการเข้าไปทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังที่ประเทศกัมพูชา และทำให้เกษตรกรกัมพูชามีผลผลิตเพิ่มขึ้นจนทะลุเป้าหมายของโครงการที่วางไว้
Tue, 27 Sep 2022 - 35min - 27 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในเวียดนามและกัมพูชา ตอนที่ 2
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในเวียดนามและกัมพูชา ตอนที่ 2
ติดตามการพูดคุยกับอาจารย์เวียดนามที่ได้รับทุน TICA ศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย วิชาเอกภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 2 คน ได้แก่
Nguyen Thi Loan Phuc ทำปริญญานิพนธ์ เรื่อง กรุงเทพมหานครกับอาหารริมทาง สำหรับนักศึกษาเวียดนาม มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาชาวเวียดนามที่เรียนภาษาไทยได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับอาหารริมทางในกรุงเทพมหานาคร โดยศึกษาจากร้านอาหารริมทางที่ได้รับรางวัลมิชลินไกด์ (Michelin Guide) ประเภทบิบกูร์มองด์ (Bib Gourmand) หนังสือแบ่่งเป็น 8 บท เนื้อหาแต่ละบทประกอบด้วยบทอ่านหลัก ถือสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิดยมเกี่ยวกับอาาหารริมทางที่มีชื่อเสียง และบทอ่านเสริมคือ อาหารริมทางที่เวียดนาม ทั้งนี้ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานตีพิมพ์ลำดับแรกของหลักสูตร
Nguyen Kieu Yen ทำปริญญานิพนธ์เรื่อง "วิถีชีวิตไทยในขุนช้างขุนแผน สำหรับผู้เรียนชาวเวียดนาม" เป็นหนังสือในลำดับที่ 2 ของหลักสูตร สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในหลักสูตรภาาไทยและไทยศึกษา ซึ่งมีการเรียนการสอนภาษาไทยในเวียดนาม ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีไทย ได้ทบทวนเนื้อหาและฝึกทักษณะการคิดอย่างมีวิจารณญาจากแบบฝึกหัดในแต่ละบท ทำให้เข้าใจวิถีชีวิตไทยและความคิดของคนไทย นำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างคนไทยและคนเวียดนาม
Mon, 27 Jun 2022 - 38min - 26 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในเวียดนามและกัมพูชา ตอนที่ 3
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในเวียดนามและกัมพูชา ตอนที่ 3
ติดตามการพูดคุยกับ ผศ.ดร.สุภัค มหาวรากร และ ผศ.ดร.นิธิอร พรอำไพสกุล จากคณะมนุษยศาสตร์ มศว เกี่ยวกับที่มาที่ไปของหนังสือการพูดและการฟังภาษาไทย สำหรับนักศึกษาเวียดนาม โดยหนังสือทั้งสองเล่ม คือ หนังสือการพูดภาษาไทยสำหรับนักศึกษาเวียดนาม และหนังสือการฟังสำหรับนักศึกษาเวียดนาม เป็นการเรียบเรียงจากการสอนวิชา "ภาษาไทยระดับสูง : การฟัง - พูด 2" ผ่านระบบออนไลน์ให้นักศึกษาเวียดนามปีที่ 3 วิชาเอกไทยศึกษา คณะตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ณ นครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนภาาาไทยในสถานการณ์ COVID - 19 ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
Mon, 27 Jun 2022 - 29min - 25 - TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในเวียดนามและกัมพูชา ตอนที่ 5
TICA พัฒนาทั่วโลก ตอน การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในเวียดนามและกัมพูชา ตอนที่ 5
รับฟังการพูดคุยกับผู้รับทุนรัฐบาลไทยชาวกัมพูชา Mr.Narong Sarath (ณรงค์) และ Mr.Thina Khom (ทีนา) ผู้รับทุนภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ เกี่ยวกับการเรียนปริญญาโท หลักสูตรภาษาไทย ที่ มศว การใช้ชีวิตที่ประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง เรียนที่ มศว ยากไหม
Mon, 27 Jun 2022 - 28min
Podcast simili a <nome>
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) Thammapedia.com
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ