Filtrar por gênero
7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- 386 - อุปกิเลสอยู่ฝ่ายอกุศล [6748-7q]
Q: อุปกิเลส 16 มีปฏิสัมพันธ์กับทาน ศีล และภาวนาอย่างไร?
A: แบ่งเป็นฝ่ายกุศลกับอกุศล อุปกิเลสอยู่ฝั่งอกุศล ทั้งสองฝ่ายจะแปรผกผันกัน ถ้ามีทาน ศีล ภาวนามาก ตัณหา อวิชชา กิเลสก็ลดลง แต่ถ้ามีตัณหา อวิชชา กิเลสมาก การภาวนาก็จะลดลง ทาน ศีล ภาวนา เป็นกระบวนการที่ช่วยกำจัดกิเลสจากหยาบไปละเอียด หรืออีกนัยยะคือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรค 8 เราต้องทำกระบวนการทั้งหมดให้มันเข้ากัน เปรียบดังการปรุงอาหาร
Q: ผู้ที่ประพฤติแต่อุปกิเลส 16 จะไม่บรรลุมรรคผลและไปสู่อบาย?
A: เราต้องสร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัยให้ถูก จะเห็นธรรมได้ก็ต้องมีทาน ศีล ภาวนา จะบรรลุธรรมได้ก็ต้องกำจัดอุปกิเลส 16
Q: ท้อแท้เพราะปฏิบัติไม่ก้าวหน้า
A: ปฏิบัติก้าวหน้าหรือไม่ อยู่ที่เงื่อนไขปัจจัย พละ 5 มีหรือไม่ ความเพียรทำตรงไหนก็สำเร็จอยู่ตรงนั้น ส่วนสมาธิอาจจะยังไม่ออกผลตามที่คุณอยาก ความอยากทำให้ท้อแท้ ถ้าไม่อยากแต่สร้างเหตุก็จะได้ ทำไปตามระบบของการปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา บรรลุเร็วช้าอยู่ที่อินทรีย์ 5 ถ้าไม่อยาก ความท้อแท้ก็เกิดไม่ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 30 Nov 2024 - 55min - 385 - หมายรู้ในทุกข์ [6747-7q]
Q : อนิจเจทุกขสัญญาและสัญญา 10 คืออะไร?
A : อนิจเจทุกขสัญญา คือ เห็นความเป็นของไม่เที่ยงในความทุกข์นั้น สามารถมองได้หลายมุม คือ หมายเอาทุกขสัญญาเป็นหลักแล้วเห็นความไม่เที่ยงในทุกข์นั้น หมายเอาคุณสมบัติของความที่เป็นทุกข์ที่ทนได้ยาก หมายเอาความไม่เที่ยงของสภาวะนั้น หมายเอาความที่ไม่ใช่ตัวตนต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองจากมุมไหน ซึ่ง ในกระบวนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็คือไม่เที่ยงอยู่แล้ว ไม่ใช่ตัวของมัน ต้องอาศัยสิ่งอื่น เปลี่ยนแปลงตามสิ่งนั้น ๆ นี่คือ “ทุกข์” เราต้องเห็นทั้งหมดในกระบวนการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจทั้งสายเกิดและสายดับ เราจึงจะสามารถเข้าใจว่า แม้กรรมเก่าก็ดับได้ เราจะเข้าใจแบบนี้ได้ ด้วยมรรค 8 / สัญญา (ความหมายรู้) 10 ประการ อยู่ในส่วนของมรรค เป็นธรรมะที่ท่านให้พระอานนท์เทศน์ให้พระคิริมานนท์ฟังในขณะที่ป่วย เมื่อได้ฟังแล้ว ก็เกิดปิติปราโมทย์ ทำให้โรคภัยของท่านหายไป ทั้งนี้ในสัญญา 10 ประการ จะไม่มีอนิจเจทุกขสัญญา
Q : หมายรู้ที่เป็นมรรคและส่วนที่เป็นทุกข์
A : สัญญาคือหมายรู้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนของมรรค คือ หมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกิเลสมันลดได้ ความหมายรู้นั้นเป็นมรรค ส่วนของทุกข์ คือ หมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วความยึดถือเกิดได้ ความหมายรู้นั้นคือหนึ่งในขันธ์ 5
Q : กรรมติดจรวดเป็นอย่างไร?
A : คือ ไม่ว่าจะทำกรรมดีหรือกรรมชั่วให้ผลทันที เกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 23 Nov 2024 - 53min - 384 - ด้วยอำนาจของการผูกเวร [746-7q]
Q : ลอยกระทงกับศาสนา
A : ลอยกระทงเป็นประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแนวทางคำสอน คือท่านได้บัญญัติการจำพรรษาของพระภิกษุจะมี 2 ห้วงเวลา คือ 3 เดือนแรกของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากวันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา หรือ 3 เดือนท้ายของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากหนึ่งเดือนหลังจากเข้าพรรษาถึงวันลอยกระทง ซึ่งเป็นวันออกพรรษาของพรรษาหลัง
Q : ผูกเวร ผูกใจ ตัดขาดไม่ข้ามชาติได้หรือไม่?
A : สิ่งที่จะติดตัวเราไปข้ามภพชาติได้คือบุญและบาป ทรัพย์สินเงินทองไม่สามารถข้ามภพชาติได้ ส่วนจะมีภพหน้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด หากมีเหตุปัจจัยให้ไม่เกิดก็ไม่เกิด (พระอรหันต์) การผูกเวร แม้เราจะทำดีแล้วปฏิบัติดีแล้ว เขาก็ยังผูกเวรกับเรานั้น นั่นเป็นเรื่องของวัฏฏะ สิ่งที่เราควรทำ คือเดินตามมรรค 8 รักษาจิตให้เป็นกุศล หากเรายังมีความอยากที่จะไม่เจอเขาอีก นั่นแสดงว่าเรามีตัณหาแล้ว
Q : ฟังธรรมกับการทำมาหากินเกี่ยวกันอย่างไร?
A : ท่านพูดถึงดวงตา 3 ดวง คือ 1) มีดวงตาเห็นช่องทางในการหาทรัพย์ 2) ดวงตาที่หาทรัพย์ด้วยความสุจริต 3) มีดวงตาที่จะเห็นอริยสัจสี่ หากเราเห็นแค่ดวงใดดวงหนึ่งก็ไม่ได้แปลว่าผิด เพียงแต่เป็นการที่เห็นไม่รอบด้าน ซึ่งการทำมาหากินกับการฟังธรรมสามารถทำไปด้วยกันได้ อันไหนที่เราทำได้ให้ทำก่อนแล้วค่อย ๆ ทำเพิ่ม
Q : สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรคืออย่างไร?
A : คือสมัยที่บำเพ็ญเพียรแล้วจะได้ผลน้อย คือ 1) ความแก่ชรา 2) ความอาพาธ 3) อาหารหาได้ยาก คือคนก็จะไปตามที่ที่มีอาหารหาง่าย คนก็จะปะปนกันมาก การจะทำความเพียรทำในใจซึ่งคำสอนก็จะทำได้ยาก 4) มีภัยกำเริบ คือมีกบฏโจรปล้นเมือง 5) การที่มีสงฆ์แตกกัน ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเอาข้อเหล่านี้มาเป็นข้ออ้างในการทำความเพียร ที่ท่านพูดคือเพื่อเตือนถึงภัยในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ให้เราเร่งความเพียรในตอนนี้ เพื่อที่เมื่อเกิดภัยนั้นขึ้นแล้ว เราจะยังเป็นผู้อยู่ผาสุกได้
Q : ทำไมคนดีตายง่าย คนชั่วตายยาก?
A : มันเป็นเรื่องของกรรม หากเราคิดให้เขาได้ไม่ดี เป็นความคิดที่ไม่ดี ให้เราคิดดี พูดดี ทำดี มีเมตตา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 16 Nov 2024 - 57min - 383 - สัมมาทิฐิที่เนื่องด้วยโลกและเหนือโลก [6745-7q]
Q : ความหมายและความต่างระหว่างโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะ
A : เป็นอาบัติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ “โลกวัชชะ” คือ อาบัติที่เมื่อทำผิดพระวินัยแล้วจะเกิดอกุศลในจิตแน่นอน ส่วน “ปัณณัตติวัชชะ” คือ อาบัติทางพระบัญญัติ ที่อยู่ที่จิตขณะนั้น หากจิตขณะนั้นเป็นอกุศลจึงจะมีโทษ
Q : ความหมายของ “พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบนั้น ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ เป็นของหมดจดวิเศษแล้วพระนิพพานนั้นอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ”
A : พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบ หมายถึง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ หมายถึง หมู่ผู้ที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมเห็นนิพพานด้วยญาณคือปัญญา / พระนิพพานอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ หมายถึง บัณฑิตทั้งหลายเขาจะเห็นอย่างนี้เหมือนกัน
Q : เปรียบเทียบการให้ทานด้วยอาหารกับ ศีล สมาธิ ปัญญา?
A : การให้ทานด้วยอาหารให้ผลน้อยเพราะไม่สามารถทำได้ตลอด ไม่เหมือนกับการรักษาศีล ภาวนา ที่สามารถทำได้ตลอดเวลา ทำได้ในทุกอิริยาบถ
Q : ศรัทธากับสัมมาทิฐิอันไหนมาก่อนกัน
A : ทั้งศรัทธาและสัมมาทิฐิ ต่างเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากเรามีศรัทธาที่เป็นสัมมาทิฐิ เราก็จะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มีความเพียร ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาได้
Q : การวางจิตเมื่อแสดงธรรมแก่ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า
A : การที่เราแสดงธรรมไปตามเนื้อหาที่ท่านประกาศไว้ เราไม่ต้องกังวล ถ้าเราศึกษามาเป็นอย่างดี เพียงแต่ระวัง ไม่พูดผิด ไม่พูดกระทบตนเอง ไม่พูดกระทบผู้อื่น ไม่ว่าจะพูดให้ใครฟังก็สามารถทำได้
Q : พระอรหันต์ทำผิดได้หรือไม่?
A : ท่านไม่ได้รู้ทุกเรื่อง เราสามารถแสดงความเห็นต่อท่านได้ ถ้าเราเป็นผู้น้อยก็ขอโอกาสท่าน พูดด้วยจิตที่มีเมตตา ด้วยความเคารพ นอบน้อม สิ่งไหนควรติเตียนก็ติเตียน สิ่งไหนควรยกย่องก็ยกย่อง ให้ดูที่พฤติกรรมไม่ใช่ที่ตัวบุคคล รักษาจิตของเราให้ตั้งอยู่ในกุศล
Q : NO PAIN NO GAIN
A : มี 2 พุทธพจน์ คือ “เห็นทุกข์จึงจะเห็นธรรม” และ “ขึ้นชื่อว่าความสุขความสำเร็จแล้ว ใครๆจะบรรลุได้โดยง่ายเป็นไม่มี ความสุขความสำเร็จเป็นสิ่งที่ใครๆ บรรลุได้ด้วยความลำบาก” การเห็นโทษเป็นการเห็นทุกข์ ถ้าเราเห็นโทษของสิ่งใด เราจะพ้นจากสิ่งนั้นได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 09 Nov 2024 - 55min - 382 - คนต่างกันเพราะกรรม [6744-7q]
Q : เหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกัน
A : กรรมเป็นตัวจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีตกรรมทำให้คนไม่เท่ากันแม้ทำกรรมอย่างเดียวกันก็อาจได้รับผลไม่เท่ากันสิ่งที่เราควรทำ คือทำความดีให้มาก ไม่ว่าในตอนนี้เราจะได้ผลของกรรมอย่างไรให้เราหมั่นสร้างบุญกุศลทำความดี ทั้งทางกาย วาจาใจผลของกรรมที่ไม่ดีมันก็จะเบาลงๆ
Q : การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก
A : ท่านเปรียบดังเต่าตาบอด อยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยน้ำ ทุกร้อยปีจะขึ้นมาหายใจ แล้วเอาหัวซุกเข้ารูได้ ความยากนี้เหมือนคนที่ไปอบายทั้ง 4 แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกนั้นยากมาก
Q : ฆ่าตัวตายเป็นบาป?
A : ไม่แน่ ส่วนใหญ่แล้วถือว่าไม่ดี หากฆ่าตัวตายแล้วสามารถพ้นกิเลสได้ ท่านถือว่าการตายนี้เป็นการตายที่ไม่น่าติเตียน แต่บางกรณีก็ได้รับการติเตียน เพราะไม่แยบคายมีอวิชชา
Q : ความต่างระหว่างฉันทะกับตัณหา
A : ฉันทะ คือ ความพอใจ มีใช้ทั้งในส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ใช้ในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมเท่านั้น เราสามารถสร้างฉันทะที่เป็นกุศล ได้ด้วยการอาศัยศรัทธาและปัญญา พอมีมีศรัทธาก็จะทำให้เกิดความเพียร ฟังธรรม ไคร่ครวญธรรม เกิดปัญญา ก็จะเกิดฉันทะที่เป็นกุศลขึ้น
Q : ขจัดริษยา
A : เราต้องละความอยากคือตัณหา ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเห็นคนอื่นเขาได้ดีแล้วเรายินดีกับเขาเราก็จะละความอิจฉาริษยาไปได้
Q : หลงตนเพราะอะไร?
A : เพราะเราไม่มีวิชชาคือความรู้ ที่จะแยกได้ว่า สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ความรู้สึกที่ว่าตัวเราของเรา มันจึงมาจากอวิชชา เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุ เราจะมีความรู้แยกแยะถูกผิดได้ เราต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เราจึงจะมีวิชชา (ความรู้) และวิมุต (ความพ้น) ได้
Q : ความจริงกับความเชื่อ
A : ตัณหาขันธ์ 5 มรรค 8 ทั้งหมดนี้ ไม่เที่ยงเหมือนกัน เราต้องรู้จักแยกแยะในสิ่งที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน กิจที่เราควรทำคือสิ่งไหนที่เป็นอกุศลเราต้องละ ขันธ์ 5 เราต้องยอมรับ มรรค 8 เราควรทำให้มาก ทำให้เจริญ เพราะมันประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ถ้าเราไม่ทำแล้วมันจะพาเราไปทางเสื่อม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 02 Nov 2024 - 54min - 381 - จิตเกิดได้ดับได้ [6743-7q]
Q : จิตอยู่ที่ไหนในนิพพาน?
A : ท่านกล่าวไว้ว่า หลังจากท่านปรินิพพานไปแล้ว จะไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย เปรียบเหมือนกับเทียน ที่พอเปลวเทียนมันหมด ไส้ก็หมด ดับไปหมดแล้ว เราก็จะไม่เห็นเปลวไฟอีกแล้ว เพราะมันดับไปแล้ว
Q : จิตที่วนเวียนไปเกิดใหม่อยู่นี้ ล้วนมาจากจิตเดิมความเข้าใจนี้ถูกต้องหรือไม่?
A : ไม่ถูก เพราะมันเป็นของเกิดได้ดับได้ หากมันมีเหตุให้เกิดมันก็เกิด หากมีเหตุที่มันจะดับมันก็ดับ ต้องเข้าใจให้ถูก เพราะหากหากเราคิดว่ามันมีอยู่ นั่นคือเราเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอัตตา ซึ่งมันไม่ถูก
Q : การระลึกชาติคือจิตเดิมใช่หรือไม่?
A : เป็นญาณหยั่งรู้อดีต ที่เรียกว่า “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สิ่งที่สำคัญที่เราควรต้องเห็น คือ เห็นโทษของการเกิด หากเรายังยินดีในการเกิด เราก็จะไม่สามารถหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้ได้
Q : จะบรรลุธรรมได้จำเป็นต้องถือศีลแปดหรือไม่?
A : ขึ้นอยู่ว่าเป็นอริยะบุคคลขั้นไหน หากเป็นขั้นโสดาบันหรือสกิทาคามี ศีล 5 ก็ได้ หากเป็นอนาคามีหรืออรหันต์ ต้องศีล 8 ขึ้นไป แต่ไม่ว่าขั้นไหนล้วนดีทั้งหมด เพราะหากเป็นขั้นผลแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน และจะบรรลุมรรคผลนิพพานในชาติสุดท้าย
Q : เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพมีบาปหรือไม่ อย่างไร?
A : ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ว่าใช้เกณฑ์อะไร หากใช้เกณฑ์ของศีล 5 ก็ไม่ผิดศีล เพราะไม่ได้ฆ่า ท่านสอนไว้ถึง"อกรณียกิจ" (กิจที่ไม่ควรทำ) คือ ค้าอาวุธ ค้าสัตว์เป็น ค้าเนื้อสัตว์ ค้าน้ำเมา และค้ายาพิษ ถ้าทำอยู่ควรเลิก ในสังสารวัฏนี้มีการเบียดเบียนกัน ให้เราเร่งปฏิบัติให้หลุดพ้น โดยเริ่มจากศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเรารักษาศีล เราก็จะไม่กังวลไม่ร้อนใจ
Q : อสังขารธรรมมีความหมายว่าอย่างไร?
A : คือ ธรรมที่ไม่ปรุงแต่ง ไม่มีอะไรปรุงแต่งมันได้ คือ อสังขตธรรม คือ นิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 26 Oct 2024 - 55min - 380 - เครื่องหมายของความไม่เที่ยง [6742-7q]
Q : อาฏานาฏิยรักษ์คาถาป้องกันภัย (ยักษ์) ของท้าวเวสสุวรรณ
A : เป็นคาถาที่ท้าวเวสสุวรรณท่านยกย่องพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ เพื่อรักษาป้องกันไม่ให้ยักษ์เบียดเบียนเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย
Q : การมีปิติเป็นภักษาหารเหมือนอาภัสสรเทพนั้น เป็นอย่างไร?
A : อาหาร หมายถึง การที่ให้รูปคงอยู่ดำเนินไปได้ เช่น มนุษย์หากจะให้กายดำเนินต่อไปได้ต้องกินอาหารคือคำข้าว เพราะมนุษย์มีกายหยาบก็ต้องกินอาหารคือคำข้าวที่ประกอบด้วยธาตุ 4 ส่วนอาภัสสรพรหม อยู่ในรูปภพมีอาหารเป็นรูปละเอียดคือปิติ
Q : การนอนอย่างตถาคตคือการนอนแบบใด?
A : การนอนอย่างตถาคตคือการนอนด้วยสมาธิอยู่ในฌานทั้ง 4 เริ่มจากก่อนที่จะนอนไปจนถึงก่อนที่จะตื่น โดยก่อนที่จะนอนให้กำหนดสติสัมปชัญญะน้อมไปเพื่อการนอน ว่าบาปอกุศลกรรมทั้งหลาย อย่าได้ติดตามเราไปผู้ซึ่งนอนอยู่และกำหนดจิตไว้ว่ารู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที
Q : อนุตตริยะ 3 ประการ มีอะไรบ้าง?
A : ประการแรกคือ การเห็นอันยอดเยี่ยม (ทัสสนานุตตริยะ) การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม (ปฏิปทานุตตริยะ) และการพ้นอันยอดเยี่ยม (วิมุตตานุตตริยะ)
Q : ความไม่เที่ยงในผัสสายตนะ 6 เป็นอย่างไร?
A : เราจะดูว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยงได้ด้วยการดู ที่ถ้ามันอาศัยเหตุเกิด เหตุนั้นคือเครื่องหมายของความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เกิดได้ดับได้คือสภาวะที่เป็นทุกข์ไม่เที่ยง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 19 Oct 2024 - 55min - 379 - จิตเป็นอนัตตา [6741-7q]
Q : การวางน้ำให้ผู้ล่วงลับจะได้รับหรือไม่ และมีในคำสอนหรือไม่?
A : การรับอาหาร จะมีเปรตประเภท “ปรทัตตูปชีวิเปรต” ที่จะรับอาหารเหล่านั้นได้ นอกนั้นรับไม่ได้ เพราะสัตว์แต่ละประเภท ก็จะมีอาหารที่แตกต่างกัน อาหารเราควรถวายแด่พระสงฆ์ ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญจะดีกว่า เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ที่ควรรับทักษิณาทาน เกิดบุญแล้วก็อุทิศบุญ ให้กับญาติพี่น้องของเราและเราก็จะได้บุญด้วย
Q : จิตกับความเป็นอนัตตา
A : จิตเป็นอนัตตา หมายถึง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวมันเอง แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัย ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ไม่ใช่สุดโต่ง 2 ข้าง คือ นัตถิตา (ปฏิเสธว่ามันไม่ใช่ของเรา) หรืออัตถิตา (ของเราทั้งหมด) แต่เป็นการยอมรับว่า มันเป็นไปตามเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ถ้ามันมีเหตุเกิด มันก็เกิด พอเราเห็นตามจริง เข้าใจด้วยปัญญา ว่ามันเป็นอนัตตา เราจะละความยึดถือได้ เมื่อเราละได้ ก็จะตัดกระแสความยึดถือ ตัดกระแสความเกิดดับ มันก็จะไม่วน ไม่ไปต่อ คือ ตัดกระแสของจิตที่มันจะไปยึดถือได้
Q : บรรลุธรรมแล้วจะเป็นอย่างไร?
A : เมื่อตัดกระแสความยึดถือได้ ก็จะเหลือร่างกายนี้ที่ยังอยู่ เปรียบดังต้นไม้ที่มันตายแล้ว แต่ยังเหลือซากอยู่ ซึ่งพอกายนี้ แตกดับไปก็จะไม่เจออีก ภพนี้เป็นภพสุดท้าย จะไม่มีการเกิดต่อไป
Q : จิตที่ไปเสวยสุขทุกข์ในสวรรค์ หรือนรกเป็นของเราหรือไม่?
A : การที่คิดว่าจิตเป็นของเรานั้นเป็นการเข้าใจผิด เพราะจิตเป็นกระแสเกิดดับตามเหตุปัจจัย เป็นอนัตตา
Q : ความเข้าใจเรื่องมานะในโลกสมมุติกับวิมุตติ
A : สมมุติกับวิมุตติ เป็นระบบที่ต้องอยู่ด้วยกัน คู่ขนานกัน ในเรื่องของโลก เป็นเรื่องของหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เรื่องเหนือโลกเป็นเรื่องของอนัตตา การปล่อยวาง เราต้องใช้ระบบสมมุติเพื่อให้เข้าถึงวิมุตติ อาศัยการปรุงแต่ง เพื่อให้เข้าถึงการไม่ปรุงแต่ง ซึ่งการปรุงแต่งที่ควรทำให้เจริญคือมรรค 8 เพราะทำแล้วการปรุงแต่งระงับลง กิเลสจะลดลง จะไปถึงวิมุตติหลุดพ้นได้
Q : ช่วงไหนเป็นวิตกหรือสังกัปปะในพระพุทธเจ้าขณะพิจารณาว่าจะแสดงธรรมหรือไม่?
A : อาจเป็นไปได้ทั้งดำริ (สังกัปปะ) และวิตก (ความตริตรึก) ในทางภาษาบาลี จะเรียกหมวดความคิดทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นวิตก วิจาร อยู่ในหมวดของ “สังกัปปะ”
Q : หวังนิพพานในชาตินี้ เป็นไปได้หรือไม่?
A : เมื่อเราปฏิบัติตามมรรค 8 มีศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติไปทำไป กิเลสก็จะหมดไปสิ้นไป ตราบใดที่เรายังอยู่ในเส้นทาง ไม่หยุดเดิน เราจะถึงแน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 12 Oct 2024 - 56min - 378 - ชนะมารด้วยความดี [6740-7q]
Q : บทสวดธรรมจักร
A : เป็นพระสูตรที่ท่านเทศน์ครั้งแรกให้เหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ฟัง เมื่อได้ฟังแล้ว มีท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมเป็นองค์แรก เหล่าเทวดาเปล่งวาจาว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไม่มีใครที่จะหมุนทวนกลับได้” ส่วนบทสวดที่บางเล่มสั้นบางเล่มยาว ต่างกันตรงส่วนที่กล่าวถึงเหล่าเทวดาแต่ละชั้นตั้งแต่ชั้นแรกขึ้นไป ได้เปล่งวาจาร่ำลือกัน
Q : แม่พระธรณี
A : ในคาถาธรรมบท ตอนที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ มารจะไล่ท่านให้หนีจากที่นั่งนั้น ท่านปฏิญาณไว้ว่าจะไม่หนี พอมือท่านแตะธรณี ท่านได้ระลึกถึง ทานบารมี ศีลบารมี ที่เคยทำ พูดถึงว่า พระแม่ธรณีเป็นพยาน น้ำที่เคยกรวดไว้เป็นพยาน ว่าบารมีที่ท่านทำมาเต็มแล้ว ท่านสู้ด้วยความดี ด้วยบารมีที่ท่านทำ จึงเอาชนะมารได้ ไม่แพ้ไปตามอำนาจของมาร
Q : การบวชเณรเป็นพระ
A : ถ้าคนที่มาบวชอายุไม่ถึง 20 ปี จะบวชเป็นพระไม่ได้ เว้นแต่พระพุทธเจ้าบวชให้ และมีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่จะบวชให้คนที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี บวชเป็นพระได้ และท่านไม่เคยบวชเณรให้ใคร
Q : อานิสงส์ของบุญ
A : หากทำอะไรแล้วได้อย่างนั้น เป็นความคิดที่ผิด การประพฤติพรหมจรรย์จะมีไม่ได้การทำที่สุดแห่งทุกข์จะไม่ปรากฏ แต่ที่ถูกคือเมื่อคุณทำอะไรไว้คุณจะได้รับผล (วิบาก) ของการกระทำนั้น กรรมกับวิบากเป็นคนละอย่างกัน เป็นอจินไตย ให้เราตั้งจิตเราเป็นกุศล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วแน่นอน
Q: การให้ทาน
A: ต้องรู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ ไม่เบียดเบียนตนเอง ดูความพร้อมทั้ง 3 ประการของผู้ให้ และ 3 ประการของผู้รับ
Q: มีมือชุ่มอยู่เสมอ
A: การดำเนินชีวิตสมัยก่อนมือเปื้อน พอมีคนมาขออาหารก็ต้องล้างมืออยู่เสมอ จึงเป็นประเพณีที่ว่ามือชุ่มอยู่เสมอเพราะว่าให้อยู่เรื่อย พร้อมที่จะทำบุญอยู่เสมอ
Q : การทำงาน
A : หลักธรรมที่นำมาใช้คืออิทธิบาท 4 ท่านให้เอาสิ่งที่เราจะทำเป็นประธานสังขาร มีสมาธิ และอิทธิบาทสี่ ประกอบเอาไว้ ในลักษณะที่จะไม่ย่อหย่อน ไม่เข้มงวดเกินไป ไม่สยบในภายใน (คือไม่เพลินไปในสมาธิ ไม่เพลินไปในเรื่องของกาม) ไม่ซ่านไปภายนอก (ไม่ฟุ้งซ่าน)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 05 Oct 2024 - 53min - 377 - ความตายไม่เที่ยง [6739-7q]
Q : ทุกสิ่งเป็นไตรลักษณ์ ความตายที่เที่ยงแท้จัดเป็นไตรลักษณ์หรือไม่?
A : พระสูตรปริวีมังสนสูตร ว่า “มรณะคือความตายไม่เที่ยง ความเกิดคือชาติไม่เที่ยง” อะไรก็ตามที่อยู่ในสายของปฎิจจสมุปบาททั้งหมดไม่เที่ยง คำว่า ”ไม่เที่ยง” หมายถึงมันเกิดได้ดับได้ ดับใช้คำว่า “นิโรธ” เกิดใช้คำว่า “อุบัติ” การที่ความตาย|มรณะ อุบัติ|เกิดขึ้นได้ คือ ความตายได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่ความตายดับ มรณะคือตายไม่ใช่ดับ นิโรธคือดับไม่เหมือนกัน จากคำกล่าวที่ว่า ความตายเที่ยงแท้แน่นอน หมายความว่าเมื่อเราเกิดขึ้นมาแล้วจะต้องตายแน่นอน แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ทั้งนี้วันนี้จนก่อนถึงวันที่เราจะตาย ความตายก็อาจจะดับลงไปได้ ถ้าบรรลุพระอรหันต์ เพราะเมื่ออวิชชาดับไป ๆ ตามลำดับของปฏิจจสมุปบาท ชาติคือการเกิด ที่เป็นเหตุแห่งการตายก็จะดับไป ไม่เกิด ไม่อุบัติขึ้นอีก
Q : พระภิกษุในสมัยพุทธกาล เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว แต่กายสังขารท่านยังอยู่ ในทางพุทธศาสนาชี้แจงอย่างไร?
A : ท่านเปรียบไว้ดังต้นไม้ที่ตายแล้ว แม้อย่างอื่นจะร่วงหล่นไปหมด แต่จะยังมีแก่นเหลืออยู่ ทรงอยู่ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ของท่าน ยังเหลืออยู่ อย่างอื่นดับหมดแล้ว
Q : ความสุขปรุงแต่งขึ้นมาได้หรือไม่?
A : ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็นการปรุงแต่ง ท่านได้ให้แนวทางไว้ว่า “การปรุงแต่งที่ทำให้กิเลสเพิ่มการปรุงแต่งนั้นไม่ดี การปรุงแต่งที่ทำให้กิเลสลดการปรุงแต่งนั้นดี” ในบรรดาสังขตธรรมทั้งหลาย มรรค 8 จัดว่าเป็นยอดของการปรุงแต่งทั้งหมด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 28 Sep 2024 - 55min - 376 - เวทนาเป็นอนัตตา [6738-7q]
Q : มีความรู้สึกเหมือนไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง มีแค่ความรู้สึกที่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ อยู่ เหมือนกำลังดูละครโรงใหญ่อยู่ สภาวะแบบนี้คืออะไร?
A : ลักษณะนี้ คือ “สติ” คือ แยกตัวออก ณ จุดนี้เราสามารถเลือกได้ ว่าจะไปตามทุกข์หรือสุขในสภาวะนั้นหรือดูเฉย ๆ หรือเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือไม่ยึดถือในสภาวะแบบนั้น นั่นคือ เรามี “สติสัมปชัญญะ” แล้ว
Q : เมื่อตายแล้ว อะไรที่ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะเอาไปด้วยได้?
A : การกระทำทางกาย วาจา ใจ จะมีการสั่งสมที่จิต ทำสิ่งใดก็จะสะสมสิ่งนั้น หากยังไม่ปรินิพพาน เมื่อตายแล้ว สิ่งที่จะติดตามไปด้วยได้ คือ กุศลและอกุศลที่เราทำ แต่หากปรินิพพานแล้ว ไม่ได้เอาสิ่งใดไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่ได้เอาไปด้วย เพราะสภาวะแห่งการสั่งสมนั้นดับไป คือจิตดับไป มันจึงให้ผลไม่ได้
Q : การบรรลุไม่ได้ขึ้นอยู่กับทุกข์มากหรือน้อย แต่ขึ้นอยู่กับปัญญาเห็นการเกิดดับแห่งทุกข์นั้น ใช่หรือไม่?
A : ทุกข์ที่จะทำให้เห็นธรรมะได้ต้องประกอบด้วยศรัทธาและปัญญา “สุขเวทนา” คือ ทุกข์ที่ทนได้ง่าย “ทุกขเวทนา” คือ ทุกข์ที่ทนได้ยาก สิ่งใดที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ล้วนเป็นทุกข์ พอเราเข้าใจด้วยปัญญา เห็นทุกข์ด้วยปัญญา เราจึงจะเห็นธรรมะนั่นเอง
Q : เวลานั่งสมาธิแล้วจะคอยจ้องว่าเมื่อไหร่ จะสงบนิ่งเข้าสมาธิ ควรแก้ไขอย่างไร?
A : ให้พิจารณาว่าอะไรที่เราทำแล้วสงบ เหตุแห่งความสงบคืออะไร ให้สร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ให้ถูกต้อง เราต้องมีศีล มีกัลยาณมิตร ฟังธรรม ใคร่ครวญโยนิโสมนสิการ อยู่ในเสนาสนะอันสงัดแล้ว หมั่นทำความเพียร ทำให้มาก เจริญให้มาก ทำด้วยศรัทธา ทำด้วยปัญญา พอเราไปถูกทางความสงบจะเกิดขึ้นมาได้
Q : ขณะสวดมนต์อยู่ มีธรรมะผุดขึ้นในใจ ควรทำอย่างไร?
A : ให้ใคร่ครวญธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดปัญญาในการหลุดพ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 21 Sep 2024 - 59min - 375 - เหนือบุญเหนือบาป [6737-7q]
Q : ผู้ที่หยั่งรู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ผู้นั้นต้องเป็นพระอรหันต์ด้วยหรือไม่?
A : พระอรหันต์ย่อมทราบแน่นอนว่าผู้ใดเป็นพระอรหันต์แล้ว
Q : การได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในชมพูทวีป เกิดขึ้นที่พุทธภูมิใด?
A : อานิสงค์ของการเจริญเมตตา คือ 1) เป็นพรหมไม่ได้กลับมาเกิดอย่างโลกมนุษย์ 7 สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป 2) เป็นท้าวสักกะเทวราชหัวหน้าของเหล่าเทวดาในชั้นดาวดึงส์ 3) เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ครองความเป็นใหญ่ทั้ง 4 ทิศ มีแก้ว 7 ประการในโลกมนุษย์
Q :คำสอนใดของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึงศรัทธาโดยไม่ได้กล่าวถึงปัญญา
A : ทั้ง 2 พระสูตรนี้ คือ สีหเสนาปติสูตรและสัทธานิสังสสูตร ถึงแม้จะกล่าวถึงศรัทธาเพียงอย่างเดียว แต่ศรัทธาจะต้องประกอบด้วยปัญญาอยู่แล้ว ทั้งนี้ศาสนาพุทธ ศรัทธาเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเมื่อมีศรัทธาแล้ว จึงเกิดความเพียร สติ สมาธิ และมีปัญญาเป็นอันดับสูงสุด
Q : อธิบายความหมายของคำว่า "เหนือบุญเหนือบาป"
A : คนเราเมาบุญได้ เมาบาปได้ คือ ถ้าเราทำบุญมาก เราอาจจะเมาบญได้ ถ้าเราทำบาปมาก เราอาจจะเมาบาปได้ คำว่า ”เมา” คือ เพลินไป ประมาทไป ท่านจึงสอนไว้ถึงทางสายกลาง หากเราทำความดี แล้วยึดถือในความดี ความยึดถือนั้นไม่ดี เพราะความยึดถือคืออุปาทาน คำสอนท่าน จึงเหนือบุญเหนือบาป เหนือทั้งกรรมดี (บุญ) เหนือทั้งกรรมชั่ว (บาป) ให้ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งการทำจิตให้บริสุทธิ์คือเหนือบุญเหนือบาป ลักษณะคือ ปราศจากความยึดถือ/ไม่สุดโต่ง และเห็นความเกิดขึ้นความดับไปของทั้งบุญและทั้งบาป
Q : ความแตกต่างของการคิดแบบรอบคอบจนมองโลกในแง่ร้าย กับมองในแง่ดีโลกสวยเกินไป จะใช้หลักธรรมใดในการพิจารณา
A : 1) “ความคิด” มาจากภาษาบาลีว่า“วิตก” หมายถึง จิตคิดน้อมไป 2) “ดำริ” มาจากภาษาบาลีว่า “สังกัปปะ” หมายถึง อะไรที่เกิดขึ้นในหัวเรา โดยที่เราไม่ได้คิด เราอาจจะคิด|วิตก หรือ ดำริ|สังกัปปะ ไปได้ทั้งสัมมาหรือมิจฉา หากจิตเรามีมิจฉาสังกัปปะมาก เราก็ต้องวิตกไปในด้านดี เอาวิตกที่เป็นความดีมาแก้
สำหรับคนที่มองโลกในแง่ดีเกินพอดี บางทีเราอาจจะถูกเอาเปรียบจากคนที่ร้าย ๆ กลับกันถ้าเรามองโลกในแง่ร้าย จิตก็จะสั่งสมอาสวะที่ไม่ดีลงไป จึงแก้ด้วยการที่อย่ามองโลกในแง่ร้าย แต่ให้เข้าใจสถานการณ์ ให้รู้จักระมัดระวัง ใครที่เป็นคนพาลก็ไม่คบด้วย จะรักษาตนไปได้
Q : การตัดความกังวลที่ทำให้เราฟุ้งซ่านจะใช้ธรรมะข้อไหน?
A : ความฟุ้งซ่าน เป็นดำริ|สังกัปปะ ลักษณะคือมันเกิดขึ้นมาเอง เราไม่ได้คิดว่าเราจะกังวลเรื่องนี้ เป็นมิจฉาสังกัปปะ ให้ใช้วิตกเข้ามาแก้ โดยเทคนิคที่ครูบาอาจารย์นำมาใช้ คือ ท่องพุทโธหรือดูลมหายใจ จะกำจัดความฟุ้งซ่านได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 14 Sep 2024 - 57min - 374 - เหตุที่ทำให้คนเปลี่ยนไป [6736-7q]
Q : อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ (เปลี่ยนไปในทางไม่ดีเป็นอกุศล)?
A : เมื่อมีผัสสะที่เข้ามากระตุ้น เช่น ลาภ ยศ เงินทอง หากเราไม่มีหิริโอตตัปปะ ไม่ฝึกใจ ไม่มีความเกรงกลัวละอายต่อบาป เมื่อเห็นช่องที่จะทำไม่ดีได้ ที่จะโกงได้ ทำชั่วได้ ก็จะทำสิ่งที่ชั่วสิ่งที่เป็นอกุศลได้
Q : อุปมาเปรียบกับสะใภ้ใหม่ที่มีหิริโอตตัปปะ
A : ท่านเปรียบดังหญิงสะใภ้ใหม่ เมื่อเข้ามาอยู่บ้านสามี แล้วมีหิริโอตตัปปะ มีความละอาย มีความเกรงกลัวต่อบาป เกรงกลัวพ่อและแม่สามี แต่พออยู่นานเข้า หิริโอตตัปปะลดลง ไม่ฝึกสติ ไม่ฝึกใจ จึงทำให้ทำเรื่องไม่ดี ทำสิ่งที่เป็นอกุศลได้
Q : ปัจจัยที่จะมากระตุ้นให้เกิดจุดเปลี่ยน
A : มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายใน คือ ตัวเรามีหิริโอตตัปปะหรือไม่ ถ้ามี มีมากหรือน้อย ถ้ามีน้อย โอกาสให้ทำชั่วก็จะมาก ถ้ามีมาก รู้จักหักห้ามใจ มีสติ พอถึงจุดที่มีโอกาสจะทำชั่ว เราจะไม่ทำ และ 2) ปัจจัยภายนอก คือ ผัสสะที่เข้ามากระทบ ซึ่งปัจจัยภายนอกจะกระตุ้นให้เกิดกิเลสได้หรือไม่ ปัจจัยภายในจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด หากคุณมีหิริโอตตัปปะคู่กันกับสติสัมปชัญญะ เหตุปัจจัยภายนอกจะไม่มามีผลกับเรา
Q : จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเปลี่ยนไปในทางไม่ดีแล้ว?
A : เราต้องตรวจสอบตนเองเป็นประจำ เปรียบเทียบการทำความดีความชั่วของตน ด้วยการใช้เกณฑ์ของกุศลกับอกุศลมาวัด ตรงไหนที่เราทำผิดก็ให้เราแก้ตรงนั้น พอเราทำถูก ศีล สมาธิ ปัญญาของเราก็จะเพิ่ม เราจะตั้งอยู่ในกุศลได้
Q : อะไรที่จะเป็นเครื่องเตือนสติในศรัทธาที่ตั้งไว้ผิดที่
A : ท่านให้มีศรัทธาไว้ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือเป็นศรัทธาอยู่ในจิตใจของเรา ไม่ได้อยู่ภายนอก นี่เป็นโทษของศรัทธาที่ตั้งไว้ผิด ในศาสนาพุทธจึงต้องมีศรัทธาคู่กับปัญญาเสมอ เพราะปัญญาจะเป็นตัวตรวจสอบ ศีลชำระปัญญา ปัญญาชำระศีล ก็จะช่วยเหลือเกื้อกูลเกิดตระหนักรู้ขึ้นมาได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 07 Sep 2024 - 54min - 373 - สู้กับกิเลส [6735-7q]
Q : การใส่บาตรพระอยู่รูปเดียวเป็นการใส่บาตรที่เจาะจงหรือไม่?
A : หากเราตั้งจิตไว้ว่าจะใส่บาตรเฉพาะพระรูปนี้รูปเดียวเท่านั้น เช่นนี้เป็นการเจาะจง สำคัญที่การตั้งจิตของเรา เราควรตั้งจิตไว้ว่า “เราจะให้กับสงฆ์ (หมายถึงหมู่/คณะ) โดยมีภิกษุรูปนี้เป็นตัวแทน” ตั้งจิตไว้แบบนี้ในการให้ทานจะได้บุญมากที่สุด เพราะประโยชน์เกิดขึ้นกับหลายคนและบุญที่มากกว่าการให้ทานขึ้นไปอีกขั้น คือ การรักษาศีล บุญที่มากกว่าการรักษาศีลขึ้นไปอีกขั้น คือการภาวนา เรียงตามลำดับ คือ ทาน ศีล ภาวนา
Q : การเติมพลังในการต่อสู้ชีวิตให้ดำเนินผ่านไปอย่างมีสติ
A : เมื่อเราเดินตามเส้นทางแห่งมรรคแล้ว ก็จะมีเครื่องทดสอบ เข้ามาตรวจสอบ ว่าเราจะยังอยู่ในมรรคหรือไม่ เราจะเผลอเพลินไปกับ ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ เราไม่รู้ว่าพรุ่งนี้หรือชาติหน้าจะมาก่อนกัน ให้เราเป็นผู้ที่ไม่ประมาท มีกำลังใจ มีศรัทธา มีความเพียร ต่อสู้ไม่ไหลไปตามผัสสะ
Q : ถ้าเห็นความผิดปกติของหน่วยงานราชการแล้วไปแจ้งความ จะบาปไหม?
A : การห้ามเสียจากบาป ต้องห้ามด้วยความดี จะห้ามบาปด้วยบาปไม่ได้ ก่อนที่จะแจ้ง ให้เราพิจารณาในเรื่องของสัมมาวาจา ว่าสิ่งที่จะพูดเป็นคำจริง มีประโยชน์ ถูกเวลา เมื่อเขาฟังแล้วจะดีใจหรือเสียใจหรือไม่ หากพิจารณาแล้วว่าเป็นเรื่องจริง เกิดประโยชน์ แจ้งได้ไม่บาป แต่หากเราทำจิตแบบนี้ไม่ได้ ยังปรารถนาให้เขาได้ไม่ดี อันนี้ไม่ดีเป็นบาป
Q : ตั้งจิตอย่างไร เมื่อพบคนไม่ดีทำไม่ดี
A : เราต้องรู้จักอุเบกขาก่อน วางเฉยกับสถานการที่เกิดขึ้น และไม่หยุดที่จะทำความดี หากเราเห็นความชั่วของคนอื่นแล้วเราหยุดทำความดี เราจะเป็นบุรุษคนสุดท้าย ให้เราทำความดีต่อไป อย่าหยุดทำความดี แล้วจิตใจเราจะนุ่มนวล ไม่คิดผูกเวรกับเขา
Q : เพื่อนข้างบ้านให้อาหารนกพิราบ จะวางใจอย่างไรดี?
A : ให้อดทน ลองหาทางออกร่วมกัน ลองพูดคุยกันดูว่าจะปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้าง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 31 Aug 2024 - 57min - 372 - รักษาเหตุได้จึงไม่เสื่อม [6734-7q]
Q : เคยทำกรรมไม่ดีไว้กับงูจึงทำให้กลัวงู
A : ให้เราทำความดี เจริญเมตตาภาวนา ทำให้บ่อยให้มาก จะช่วยให้คลายความร้อนใจ ให้เราหาที่อยู่ให้จิต เช่นมีสมาธิอยู่กับการงานที่ทำฟังเทศน์หรือดูลมหายใจ ก็จะช่วยให้จิตมีเครื่องอยู่ไม่ฟุ้งซ่าน
Q : ใช้การภาวนาคาถาแทนการดูลมหายใจได้หรือไม่?
A : ได้..ใช้วิธีไหนก็ได้ในอนุสติ 10 คำสอนของท่านสามารถปฎิบัติเข้ามาได้โดยรอบ ทุกวิธีที่ท่านสอนจะมารวมลงไปตามทางในมรรค 8
Q : เทคนิคแก้ฝันร้าย
A: ก่อนนอน ให้กำหนดสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อิริยาบถในการนอนแล้วเจริญเมตตา มุทิตา กรุณา อุเบกขา น้อมจิตไปเพื่อการนอน กำหนดจิตว่า รู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ว่า“ขอให้บาปอกุศลอย่าได้ตามเราผู้ที่นอนอยู่” แล้วบาปอกุศลจะไม่ตามเราไป เพราะเราตั้งสติไว้แล้ว
Q : ทิศทางสู่นิพพานในขณะที่ยังเป็นฆราวาสผู้ครองเรือน
A : มรรค8 เป็นทางเดิน ทางเดียว ที่จะไปสู่นิพพานได้
Q : การเจริญมรรคของฆราวาสต้องเจริญแบบไหนจึงจะชื่อว่าทางสายกลาง
A : ให้เอาศีลเป็นหลัก มีกัลยาณมิตรดีที่จะไปทางเดียวกัน มีมรรคเป็นเกณฑ์ ถ้าออกนอกมรรคก็ให้ตั้งสติ ปรับจิตใจ ทำความเพียรให้มาก จะพัฒนาไปได้
Q : ควรจะแก้ไขอย่างไร เมื่อนั่งสมาธิแล้วหงุดหงิด ฟุ้งซ่าน ท้อ ไม่อยากทำต่อ?
A : ถีนมิทธะเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้สงบ ให้ระลึกถึงตรงจุดที่เราทำได้ จดจ่อตรงที่ทำได้ พอเราตั้งสติได้ จิตก็จะมีพลังมากขึ้น ให้เราฝึกทำให้ชำนาญ
Q : สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ ถ้าได้เกิดจากเหตุปัจจัยใด?
A : เสื่อมได้..มรรค 8 เป็นสังขตธรรม คือเป็นธรรมะที่มีการปรุงแต่ง เมื่อมีการปรุงแต่งก็หมายความว่าต้องอาศัยเหตุ ถ้าเหตุที่ทำให้เกิดสมาธินั้นเสื่อมไป สมาธิก็เสื่อมไป เราต้องรักษาเหตุเอาไว้ เหตุของสมาธิ คือสติสัมมาทิฐิโดยมีศีลเป็นพื้นฐานถ้าเหตุเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปสมาธิก็เสื่อมได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 24 Aug 2024 - 56min - 371 - อริยปัญญา [6733-7q]
Q : จะวางจิตอย่างไร ให้ไม่ยินดียินร้ายอย่างถูกต้อง
A : การเสพโซเชียล ดูคลิป ฟังเพลง มันเป็นกับดัก ทำให้เสพติด เพลินไปในอารมณ์นั้น หากเราเสพสิ่งใดแล้ว ราคะ โทสะ โมหะเพิ่มขึ้น นั่นไม่ดี วิธีคลายเครียดทำได้หลายวิธี เช่น ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ฟังธรรม คือให้เราไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่เป็นทางกาม พอเราหลีกออกจากกาม จิตจะมีกำลัง จะไม่ค่อยถูกดึงไป จะมีภูมิต้านทาน ทำเช่นนี้จิตเราจะไม่ไปขัดเคืองกับกาม จะวางจิตให้ไม่ยินดียินร้ายได้อย่างถูกต้อง
Q : ตามปกติแล้วนามรูปมีการดับอยู่เสมอตลอดเวลา จริงหรือไม่?
A : เราต้องเข้าใจว่ามันเป็นของเกิดได้ ดับได้ เข้าใจด้วยปัญญาว่า ตอนมันยังไม่แตก มันเป็นของดับได้ ตอนที่มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็เป็นของดับได้ ตอนที่มันคงอยู่ ก็เป็นของดับได้ ตอนที่มันแตกไป แล้วมันก็เป็นของเกิดได้ เกิดได้ดับได้ เพราะมีเหตุปัจจัย เข้าใจตรงนี้เพื่อที่จะไม่ยึดถือ เราจะเกิดความเข้าใจตรงนี้ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตาม “มรรค 8”
Q : ไม่ต้องใช้มรรค 8 ก็ดับนามรูปได้ จริงหรือไม่?
A : นามรูปเกิดหรือดับได้เพราะวิญญาณ ไม่ว่าโลกนี้จะมีหรือไม่มีมรรค 8 มันก็เกิดดับของมันอยู่แล้ว มรรค 8 เป็นหนทางเอก หนทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าใจการเกิดขึ้น การดับไป และการปล่อยวาง แล้วไม่ยึดถือ ความเข้าใจนี้เป็นอริยปัญญา ซึ่งหากจะบอกว่าไม่ต้องใช้มรรค 8 แล้วจะปล่อยวาง ทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด
Q : เมื่อจำเป็นต้องกำจัดยุงลาย ควรตั้งจิตอย่างไร เพื่อบรรเทาความรู้สึกผิดบาปในใจ
A : บาปกับบุญคนละบัญชีกัน ท่านเปรียบไว้กับเกลือคือบาป ละลายในน้ำ น้ำคือบุญ ผลของความเค็มคือการให้ผล บาปมากน้อยให้เราเอาเกณฑ์ในการพิจารณา 3 อย่าง คือ 1) เจตนา 2) ประเภทของสัตว์ ขนาดเล็กไปถึงใหญ่ มีคุณน้อยไปถึงมีคุณมาก 3) น้ำที่สร้าง (บุญ) การเกิดในวัฏฏะต้องมีการเบียดเบียนกัน ถ้ายังมีการเกิดต่อไปก็ต้องมีทุกข์ เมื่อเราเห็นโทษของการเกิด ถ้าเรามีความสบายใจ เกิดสมาธิ มีการโยนิโสมนสิการ แล้วเกิดปัญญา จะเป็นทางที่จะพ้นทุกข์ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 17 Aug 2024 - 55min - 370 - รับมือกับความเครียด [6732-7q]
Q : วิธีจัดการกับความเครียดกดดัน ?
A : ในการทำงาน หากเราตั้งไว้ด้วยความอยากว่า อยากมีชื่อเสียง อยากประสบความสำเร็จ ความอยากนั้นจะเป็นตัณหา เราควรตั้งไว้ด้วยความเพียรคือวิริยะ ที่เป็นความเพียรที่ไม่ประกอบด้วยความอยาก คือเริ่มจากมีสติจดจ่ออยู่ในงานปัจจุบัน ใช้หลักธรรม คือ “อิทธิบาท 4”มีสมาธิเป็นตัวประสาน มีเมตตาต่อกัน สามัคคีกัน สร้างสิ่งแวดล้อมที่จะสนับสนุนการทำงาน โครงการก็จะสำเร็จได้
Q : คนที่เป็นซึมเศร้าแล้วมีธรรมะใดที่จะทำให้จิตใจดีขึ้นบ้าง?
A : โรคซึมเศร้า เป็นนิวรณ์อย่างหนึ่ง ที่มีกำลังมากเรียกว่า “ถีนมิทธนิวรณ์” ลักษณะคือจิตคิดวนไปในเรื่องที่ไม่พอใจ เศร้าใจ คิดวนไป ๆ จนกระทั่งอารมณ์ทางจิตมีผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ให้เราตั้งสติให้คิดไปในเรื่องอื่น คือให้เอาสิ่งอื่นมาทดแทน เช่น ออกไปข้างนอก ไปทำกิจกรรมที่ไม่เป็นไปในทางกาม เช่น ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อ่านหนังสือ หรือไปเป็นอาสาสมัคร เพื่อให้คิดเรื่องที่หลีกจากกาม พอจิตเราเป็นสมาธิก็จะกำจัดนิวรณ์นี้ออกไปได้
Q : การใส่บาตรให้พระสงฆ์ที่เลือกรับของในบาตรจะได้บุญหรือไม่?
A : ได้บุญ เพราะเราตั้งจิตไว้แล้ว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น เราควรตั้งจิตไว้ว่า “เราถวายพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ตั้งจิตว่าจะถวายพระอริยะเจ้าทั้งหลาย โดยมีพระภิกษุสงฆ์รูปนี้ เป็นตัวแทนในการรับ” พอเราตั้งจิตไว้ถูก บุญที่ได้จะมาก
Q : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราภาวนาเป็นหรือไม่เป็น?
A : การภาวนาคือการพัฒนา เป็นการทำให้เจริญ เมื่อเราภาวนาต้องได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน ท่านได้พูดถึงกำลังของพระเสขะ ที่ประกอบไปด้วยศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ และปัญญา การที่เรานั่งสมาธิแม้จะยังไม่ได้สมาธิ เราก็ได้ความเพียร ความเพียรก็มาจากศรัทธา เรามีศรัทธา มีความเพียร เกิดการลงมือทำจริง ความเพียรเราก็เพิ่ม ศรัทธาเราก็เพิ่ม ให้เราฝึกฝนทักษะ จะพัฒนาก้าวหน้าได้
Q : มีวิธีการจัดการกับความอิจฉาริษยาอย่างไร?
A : ใช้คุณธรรมคือมุทิตา แปลว่า ความยินดีที่เขามีความสุข ยินดีที่เขาได้ความสำเร็จ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 10 Aug 2024 - 58min - 369 - เข้าใจทุกข์จะพ้นทุกข์ [6731-7q]
Q : ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้ม ลืมคำภาวนา ลืมลมหายใจ
A : ลืม เผลอ เพลิน คือการขาดสติ แต่ถ้ารู้ว่าดับ เห็นอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป นั่นคือมีสติ
Q : ขณะกำหนดจิตบริกรรมพุทโธ ระหว่างนั้นครูบาอาจารย์ท่านก็พูดสอนอยู่ด้วย ควรกำหนดสติไว้กับอะไร?
A : ตั้งสติไว้ตรงช่องทางที่เสียง ที่จะเข้ามาสู่หูเรา เอาจิตไว้ที่โสตวิญญาณ คือ การรับรู้ทางเสียงนั้น
Q : ถ้าปฏิบัติจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ (หลุดพ้น) ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติอีก ถูกต้องหรือไม่?
A: คำว่า "ไม่ต้องปฏิบัติอีก" สำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว จะเกิดความรู้ขึ้นมาว่า “การเกิดสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ควรทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” เรียกว่า“วิมุตติญาณทัสสนะ” คือ ไม่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุแล้วเพราะพ้นได้แล้ว แต่ยังคงต้องรักษาศีล เจริญมรรค 8 อยู่ เพื่อรักษาสภาวะนี้ เพื่อให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
Q : เข้าฌาน 1 แล้วพิจารณากายนี้ ถือว่าเป็นวิตกวิจารหรือเป็นวิปัสสนาแล้ว?
A : ฌาน 1 ยังมีวิตกวิจาร หากพิจารณากายบุคคลอื่น ในลักษณะที่เป็นภาพ เสียง ถือว่าเป็น วิตกวิจาร แต่หากพิจารณากายแล้วเห็นความไม่เที่ยงในกาย นั่นเป็นวิปัสสนา คือ เหนือจากฌาน 1 ขึ้นไป
Q : วิธีต่อสู้กับกิเลส ที่เมื่อตื่นนอนขึ้นมาควรลุกทันที แต่ทำไม่ค่อยได้?
A : ให้เราฝึกตั้งแต่ก่อนนอน ขณะที่อยู่ในอิริยาบถนอน แล้วตั้งสติไว้ว่า“รู้สึกตัวเมื่อไหร่ จะลุกขึ้นทันที จะไม่ยินดีในการเคลิ้มหลับ จะไม่ยินดีในการนอน”แล้วน้อมจิตไปเพื่อการนอน ตั้งสติไว้ว่า “บาปอกุศลอย่าตามเราไป ผู้ที่นอนหลับอยู่” ทำบ่อย ๆ จะพัฒนาขึ้นได้
Q : ทุกข์ของพระพุทธเจ้าคืออะไร แล้วทุกข์ที่เราเจอ ใช่ตัวเดียวกันหรือไม่?
A : ทุกข์ของพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นโพธิสัตว์นั้น ก็เป็นทุกข์เดียวกันกับเรา ทุกข์ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากสิ่งที่น่าพอใจ พบเจอกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจไม่น่าปรารถนา พอท่านพบว่า เหตุที่เกิดทุกข์คือการเกิด จะทำให้ทุกข์นี้ดับไป ก็ต้องดับการเกิด ท่านจึงปฏิบัติตามมรรค 8 ทุกข์ก็ดับไป พ้นจากทุกข์ได้ ส่วนหากถามถึงทุกข์ตอนที่ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนั้น ท่านทรงพ้นจากทุกข์แล้ว เพราะค้นพบทางพ้นทุกข์ ทุกข์จึงดับไป
Q : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เสียชีวิตไปแล้ว จะไปดีหรือไม่?
A : จะรู้ข้อนี้ได้ต้องมีจุตูปปาตญาณ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 03 Aug 2024 - 58min - 368 - เพื่อนสอง [6730-7q]
Q : สมาธิแบบไหนที่ก่อให้เกิดปัญญา?
A : ไม่ใช่แค่สมาธิเพียงส่วนเดียว แต่ยังมีอย่างอื่นประกอบกันด้วย การที่จะเกิดปัญญาได้ต้องมีลักษณะความคิดที่เป็นระบบของอริยสัจสี่ มีจิตรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียว แล้วพิจารณากระทำในใจโดยแยบคายคือมีโยนิโสมนสิการ การพิจารณาแบบนี้จะทำให้เกิดปัญญา
Q : ศรัทธากับสัมมาทิฎฐิอะไรมาก่อนกัน?
A : หากพิจารณาจากอินทรีย์ 5 จะเริ่มด้วย ศรัทธา ส่วนสัมมาทิฎฐิอยู่ในหมวดของปัญญา ศรัทธาคือความมั่นใจความโลงใจว่าจะเกิดผลสำเร็จได้ จึงเกิดการทำจริงแน่วแน่จริงคือวิริยะ ลักษณะของปัญญาคือวิธีการที่จะทำ รู้วิธีการแต่ยังไม่ทำเพราะไม่มีวิริยะ ดังนั้นศรัทธาต้องมีปัญญาประกอบด้วยเสมอ
Q : เพื่อนสองคืออะไร มีนัยยะที่มาทั้งทางดีและไม่ดีใช่หรือไม่?
A : เพื่อนสองไม่ได้หมายถึงมิตร แต่หมายถึงการผูกจิตติดอยู่กับอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียง แสง คำพูด หรือภาพก็ตาม ถ้ามีการผูกจิตติดไปกับอารมณ์กับอำนาจความเพลิน นั่นคือคุณมีเพื่อนสอง ให้เราฝึกสติ เมื่อเรามีสติไม่เพลิน เราจะอยู่ได้กับทุกสิ่ง
Q : ทำไมคนที่ปฏิบัติธรรมแล้วยังฉุนเฉียวง่าย?
A : กิเลสทำให้จิตใจคนไม่เป็นตัวของตัวเอง การปฏิบัติธรรมเปรียบดังการจับงู หากเราจับผิดวิธี ไม่มีเครื่องมือ งูก็จะแว้งกัดเรา แต่หากเราจับถูกวิธี มีเครื่องมือที่ถูกต้อง งูก็จะไม่กัดเรา เช่นเดียวกันการปฏิบัติธรรมต้องมีความลึกซึ้งแยบคาย รอบคอบรัดกุม ไม่เช่นนั้นมันก็จะไม่ได้ผล จะให้โทษมากกว่า
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 27 Jul 2024 - 47min - 367 - เข้าพรรษาพัฒนาตน [6729-7q]
Q : เข้าพรรษาพัฒนาตน
A : ในพรรษานี้ ชักชวนบำเพ็ญบารมี ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยการทำข้อวัตรปฏิบัติ ที่พิเศษขึ้นมาจากในเวลาปกติ เช่น ฝึกสวดมนต์ ทานมื้อเดียว แน่นอนว่าจะมีบททดสอบผ่านเข้ามา ให้เรารู้จักปรับตัว แม้จะเจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ก็ให้ตั้งสติ อดทน ให้ฝืนทำ ทำแล้วกุศลธรรมเกิด นั่นจะดี บารมีจะเกิดตอนที่เราเอาชนะกิเลสของเราได้
Q : ปฏิบัติธรรมแล้วยังฮัมเพลงได้หรือไม่?
A : เพลงของพระพุทธเจ้า คือ เพลงขับ เป็นคำกลอน เรียกว่า “คาถา” ท่านให้มากที่สุด คือ สวดหรือร้องในแนวเสียงกลาง สวดทำนองสรภัญญะ สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ เนื้อหาและรูปแบบเสียง หากเสียงสูงต่ำมาก อาจทำให้เกิดความกำหนัด
Q : โกงชาติบ้านเมืองจะตกนรกขุมไหน?
A : การถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้นั้นผิดศีลข้อที่ 2 ผล คือจะไปตกนรก แต่หากเขาแก้ไขปรับปรุง กลับตัวกลับใจได้ ยกตัวอย่างพระองคุลีมาล ที่ท่านเคยทำผิดแต่กลับตัวกลับใจ ปฏิบัติตามธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ กรณีนี้ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่าคนเราจะแก้ไขปรับปรุงไม่ได้ ที่สำคัญคือจิตใจของเรา อย่ายินดียินร้ายไปตาม ให้นำมาเป็นอุทาหรณ์ว่าเราจะไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี เพราะหากเราคิดไม่ดีกับเขา แบบนี้เราผูกเวรกับเขา เราก็จะกลายเป็นคนไม่ดีไปด้วย
Q : ความละอายห้าระดับ
A : กลัวการติเตียนตนเองด้วยตน, กลัวการติเตียนจากคนอื่น, กลัวการถูกลงโทษ, กลัวตกนรก และละอายต่อธรรมะที่เป็นสิ่งดี ๆ แล้วไม่ได้ทำ
Q : ติเตียนที่เป็นไปเพื่อกุศลกรรม
A : พูดตามหลักฐานที่มี ไม่พูดจาให้เขาแตกกัน ไม่ใช้คำหยาบ ส่อเสียด ติเตียน มีทางออกให้แต่ละฝ่าย เหมือนดังศาลพิจารณาคดีความ
Q : คนเนรคุณถือว่าผิดศีลหรือไม่?
A : หากเคยสัญญาว่าจะช่วยเหลือกัน เมื่อถึงเวลาแล้วไม่ช่วยถือเป็นการโกหก ผิดศีล หากเขาเคยมีคุณต่อเรา แล้วเราไม่ตอบแทนคุณเขา เราจะเป็นคนเนรคุณเป็นบาป การเห็นคุณ คือกตัญญู การกระทำตอบคือกตเวที ซึ่งสามารถกระทำตอบได้หลายวิธี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ให้เราคิดดีกับคนอื่น แม้จะถูกเอารัดเอาเปรียบ ท่านสอนให้เรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอด รู้จักระมัดระวังรอบคอบ เราก็จะอยู่ในสังคมได้
Q : บารมีเต็มเป็นอย่างไร?
A : น่าจะหมายถึงบารมีสิบทัศ เราจะรู้ได้ว่าบารมีเต็มเมื่อเราบรรลุธรรม บารมีเต็มในขั้นต้น คือ โสดาบัน และอีกสิ่งหนึ่งที่จะดูได้คืออินทรีย์ บารมีสิบทัศจะมาบ่มอินทรีย์ 5 ให้แก่กล้า แล้วก็จะเกิดการบรรลุธรรมขึ้นมา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 20 Jul 2024 - 56min - 366 - สุขในสมาธิ [6728-7q]
Q : นั่งสมาธิแล้วคิดเรื่องกามบ้าง ไม่กามบ้าง คือหลุดจากสมาธิ?
A : หากยังคิดเรื่องกามอยู่ นั่นยังไม่เกิดสมาธิ สมาธิจะเกิดได้ต้องฝึกสติ ต้องแยกแยะความคิดที่ผ่านมาให้ได้ ว่าเป็นกุศล (คิดมาในการหลีกออกจากกาม ไม่พยาบาทเบียดเบียน) หรืออกุศล (คิดเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน) พยามไม่บังคับกายไม่บังคับจิต ใช้เครื่องมือคือสติ ควบคุม (ไม่ใช่บังคับหรือละเลย) ฝึกสังเกต กำหนดดู ระลึกรู้ ไม่ว่าจะมีความคิดที่ผ่านเข้า-ออก จะตามความคิดไปหรือไม่ตาม จะมีความคิดหรือไม่มีความคิด ก็ไม่ลืมลม พอเราฝึกสติแล้วสติมีกำลัง สมาธิก็จะตามมา
Q : ความสุขในสมาธิ
A : เป็นเรื่องที่รู้ได้ด้วยตนเอง เปรียบดังเราจะรู้ว่าอาหารร้านนี้อร่อยแค่ไหน เราก็ต้องไปทานด้วยตัวเอง สมาธินั้นจะไม่ได้ด้วยความอยาก แต่ได้ด้วยการสงบระงับ ด้วยการะงับการปรุงแต่ง สติจะเป็นตัวแยกแยะ จัดระเบียบ ทำไปเป็นขั้น อย่าข้ามขั้น จะก้าวหน้าตามลำดับ แล้วเราจะรู้เองเห็นเอง เราปฏิบัตินั้นไม่ได้จะเอาเวทนา ไม่ได้จะเอาสุข แต่ปฏิบัติเอาปัญญา เอาการรู้แจ้ง เอาการเข้าใจ สุขเวทนาเป็นทางผ่าน เป็นทางที่เป็นกุศล ให้เห็นว่าสุขเวทนาเป็นของไม่เที่ยง เราก็จะผ่านไปได้
Q : เพลิน กับ ภวังค์
A : เพลินในภายใน คือ ตั้งสยบอยู่ในภายใน สมาธิที่มีปิติสุข คือ ตั้งสยบในภายใน การเข้าภวังค์ คือ เหมือนหลับแต่ไม่ใช่หลับ สติไม่มี คือเพลินไปในสมาธิ ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา ไม่ได้ทำให้เห็นไปตามจริง เหมือนกันตรงที่ไม่มีสติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ภวังค์เป็นกำลังของสมาธิเกินมา น้อมไปในทางขี้เกียจ การแก้ไขถ้าตกภวังค์ สิ่งแรกคือต้องมีสติรู้ตัวอยู่ในทุกที่ หากเราเพลินไปในสมาธิ สมาธิเกินกำลัง เราต้องเพิ่มความเพียร ฝึกเห็นความไม่เที่ยงในสิ่งต่าง ๆ พอเราเห็นตรงนี้ นั่นคือปัญญา
Q : การพิจารณา กับ ฟุ้งซ่าน
A : ถ้าแยกไม่ได้แสดงว่าสติยังไม่เต็มที่ ควรเริ่มจากากรฝึกสติ โดยทำศีลให้ละเอียด รู้ประมาณในการบริโภค สำรวมอินทรีย์ ประกอบในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น มีความสันโดษ ด้วยปัจจัยเหล่านี้จะทำให้สติมีกำลัง เริ่มแยกแยะได้
Q : ประโยชน์จะงดงามเมื่อสำเร็จ
A : สำเร็จแล้วจึงรู้ว่าสิ่งนี้มีประโยชน์อย่างนี้ ตอนทำสมาธิไม่ได้ก็ไม่รู้ประโยชน์ แต่พอได้มาแล้วจึงรู้ว่ามันดีอย่างไร ประโยชน์ไม่ใช่แค่ภพนี้แต่ถึงภพหน้า ประโยชน์ในโลกุตตรธรรม มรรคคือสิ่งที่งดงาม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 13 Jul 2024 - 54min - 365 - ระบบของอริยสัจสี่ [6727-7q]
Q : มีภิกษุที่อยู่ในอรหันตมรรคแต่มรณภาพก่อน จะบรรลุอรหันตผลหรือไหม?
A : มี ภิกษุที่เป็นอาจารย์ของพระโกกาลิกะ ตอนที่เป็นพระสงฆ์อยู่ บรรลุอนาคามีแล้วไปจุติเป็นพรหมชื่อ “ตุทุปัจเจกพรหม” และมีในพระสูตร “ชนวสภสูตร” กล่าวไว้ ถึงการประชุมของเหล่าเทวดา ว่ามีภิกษุที่เป็นสกทาคามี มรณภาพแล้ว ไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา พอเห็นเหตุการณ์นี้รู้สึกละอายว่าต่ำต้อย ด้วยความละอายในข้อนี้ ตั้งจิตไว้ถูก จึงได้เลื่อนขึ้นไปอยู่ในชั้นพรหม เพราะฉะนั้นการไปเกิดโดยการฝึกที่ยังไม่เสร็จนั้น มีแน่นอน เพราะฉะนั้น เราควรทำที่สุดแห่งทุกข์ ให้จบ ให้สิ้น ให้ได้ในชาตินี้จะเป็นการดี
Q : อยากให้เพิ่มรายการออกอากาศช่วงก่อนนอน
A : รายการที่ฟังไปตอนเช้า เราสามารถฟังก่อนนอนอีกรอบหนึ่ง ฟังแล้วตั้งจิตปฏิบัติตาม ฟังแล้วนำมาทบทวนไตร่ตรอง ว่าเราจะปฏิบัติตามได้อย่างไรบ้าง แล้วก็ฝึกทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกให้ละเอียดลงไป
Q : อนิจจังทุกขัง อนัตตา
A : การที่เราฟังเฉย ๆ กับการฟังแล้วใคร่ครวญนั้นต่างกัน เพราะการคิดทั่ว ๆ ไปคือฟุ้งซ่าน เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด ให้คิดเป็นระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง คือระบบของอริยสัจสี่ คิดเป็นระบบด้วยจิตที่เป็นสมาธิ นั่นคือการพิจารณา คือโยนิโสมนสิการ มีความเพียร คือวิริยะ ทำตามความเชื่อคือศรัทธา แล้วลงมือทำ พิจารณาไปใน "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"จดจ่อลงไปตรงจุดที่เรายึดถือ เราจะวางได้ จะพัฒนาได้ / ดวงจันทร์ไม่มีแสงในตน แต่ว่าสว่างขึ้นมาได้ เพราะอาศัยแสงจากพระอาทิตย์ แสงสว่างคือธรรมะ พระพุทธเจ้าคือพระอาทิตย์ เราจะอาศัยแสงจากพระอาทิตย์ ทำตัวเราให้สว่างขึ้นมา ด้วยธรรมะที่ท่านได้บอกสอนไว้ ก็จะครบเป็นองค์แห่งรัตนสามที่ประเสริฐ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ / พระพุทธศาสนาจะยังอยู่ตลอดไปตราบกาลนาน ถ้ายังมีคนปฏิบัติตามมรรค 8 อยู่ มีคนบอกคนสอนอยู่ แต่หากเราไม่สืบต่อ ไม่ปฏิบัติ ปล่อยคำสอนให้จบสิ้นไป เราจะกลายเป็น “อันติมบุรุษ” คือ คนสุดท้าย แต่ถ้าเราทำต่อ คนอื่นเขาเห็น แล้วเขาทำต่อไป มันก็จะต่อไปเรื่อย ๆ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 06 Jul 2024 - 55min - 364 - โทษของศรัทธา [6726-7q]
Q : อตัมมยตา?
A : ท่านตรัสไว้ใน “เสขปฏิปทาสูตร”ว่า บุคคลที่เป็นปุถุชน ปฏิบัติมาจนเป็นเสขะ จนกระทั่งจะมาสุดแล้ว จะรู้แจ้งชัดซึ่งนิพพานและไม่มั่นหมายในนิพพาน เพราะนิพพาน เป็นสิ่งที่ ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ขีณาสพได้รู้รอบแล้ว คำว่า “ตมฺมโย” แปลว่า ยังเกี่ยวเนื่องด้วยอยู่ เกาะอยู่ ยังไม่เป็นอิสระจากสิ่งนั้น (ในที่นี้คือนิพพาน) คำว่า “อตมฺมโย” แปลว่า ภาวะที่ไม่ได้เนื่องด้วยสิ่งนั้น เป็นอิสระจากนิพพานนั้น (อตัมมยตา) อุปมาอุปไมย ดังดอกบัวอาศัยโคลนตมเกิด แต่พอโผล่พ้นน้ำแล้ว ไม่ได้โดนโคลนตมนั้นอีก คือแยกจากกัน ผ่องแผ้วจากกัน
Q : โทษของศรัทธา
A : นี่เป็นโทษของศรัทธา หากบุคคลที่เราศรัทธา มีเหตุเปลี่ยนไปจากเดิม แล้วเราไม่ศรัทธาในภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่คบหาในภิกษุเหล่าอื่น ก็จะไม่ได้ฟังธรรม เมื่อไม่ได้ฟังธรรม ก็จะเสื่อมจากสัทธรรม ศรัทธาเป็นสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นด้วยตัวเราเอง เราต้องรักษาศรัทธาของตัวเราเอง ซึ่งคนที่จะรักษาได้ต้องเป็น“โสดาปัตติผล”คือ มีศรัทธาที่หยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ต้องให้ใครมารับรองรับประกันศรัทธาให้ เราควรตั้งศรัทธาไว้ในภิกษุเหล่าอื่น ฟังความคิดเห็นของท่าน เราจะตั้งอยู่ในสัทธรรมและมีศรัทธาขึ้นมาได้
Q : อะไรเป็นที่ตั้งของศรัทธา?
A : ทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธา ถ้าคนที่มีทุกข์แล้วเห็นไม่ถูก ศรัทธาไม่เกิด เมื่อเจอทุกข์แล้ว จะมี 2 อาการ คือ 1) ร้องไห้คร่ำครวญ ทุบอก ชกตัว ถึงความเป็นผู้งุนงง พร่ำเพ้อ 2) แสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่าใครหนอจะรู้ทางออกของความทุกข์สักหนึ่งหรือสองวิธี
Q : คฤหัสบรรลุธรรมต้องมีสถานอย่างไร?
A : คนที่เป็นอนาคามีมรรคหรือผล พระอรหันต์ จิตของท่านไม่น้อมไปทางกาม ไม่อยากอยู่ในกาม พอไม่อยากอยู่ก็จะมีอันต้องเป็นด้วยความที่ไม่อยากอยู่ ผู้ครองเรือนเป็นผู้ที่อยู่ในกาม เมื่อไม่อยากอยู่ในกามก็ต้องลดกามลง ในระดับศีลที่เป็นไปเพื่อพรหมจรรย์ คือ ศีล 8 การรักษาศีล 8 จะสามารถรองรับคุณธรรมนี้ได้
Q : เพราะอะไรจึงกล่าวว่าการภาวนาเป็นบุญสูงสุด?
A : ท่านสอนไว้ 2 ตัวแปร คือ 1) ทำเอง ผลคือจะมั่งคั่งร่ำรวย 2) ชักชวนผู้อื่นทำ ผลคือจะมีบริวาร ซึ่งทำทั้ง 2 อย่างยิ่งดี ยิ่งบุญมากยิ่งดี บุญเป็นชื่อของความสุข บุญมากหรือน้อย ดูที่ตัวมัน เหตุของมัน และดูที่การให้ผลของมัน ทานเป็นการทำบุญด้วยสิ่งของ ศีลและภาวนา ใช้ตัวเราทำ การ“ภาวนา”เป็นบุญสูงสุดเพราะทำแล้วได้เดี๋ยวนั้น ผลที่ได้ยิ่งใหญ่ พาไปถึงนิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 29 Jun 2024 - 55min - 363 - เห็นความยึดถือด้วยปัญญา [6725-7q]
Q: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตรงไหน?
A: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกสั้น ๆ ว่า “ไตรลักษณ์”เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง คือสิ่งที่เป็นระบบสมมุติทั้งหมด ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ทั้งสิ่งที่จับต้องได้ ทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม ทุกอย่างที่เป็นขันธ์ 5 เป็น อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เรียกว่า “สังขตธรรม” คือ ธรรมที่ยังอยู่ในการปรุงแต่งได้ทั้งหมด จะมีคุณสมบัติของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ทุกที่อยู่แล้ว ไม่ว่าเราจะยึดถือหรือไม่ยึดถือ ลักษณะของสังขตธรรม คือ มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ ส่วนธรรมะที่ไม่มีการปรุงแต่ง (นิพพาน) เรียกว่า“อสังขตธรรม” ลักษณะของอสังขตธรรม คือ ไม่มีการเกิดปรากฏ ไม่มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ไม่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ
Q: จะเห็นปัญญาแท้จริงได้ในสิ่งที่เรายึดถือเราจะเห็นได้อย่างไร? ใครเป็นผู้เห็น ?
A: การที่เราไม่เห็น มี 2 แบบ คือ 1) ไม่เห็นเพราะเราไม่ยึดในสิ่งนั้น 2) ไม่เห็นแล้วเราจึงยึด ยึดเพราะเราไม่เห็น เพราะเราเพลินพอใจ พอเราเพลินเราพอใจในสิ่งใด สิ่งนั้นคืออุปาทาน (ความยึดถือ) การที่เราจะรู้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ก็ต้องตรงที่เราไม่รู้ ตรงที่เรายึดถืออยู่ เราจะเห็นตรงที่เรายึดถือได้ ก็ด้วยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา คือ “ภาวนามยปัญญา” เราจะมีภาวนามยปัญญาได้ ก็ด้วยการที่เรามีศรัทธา อาศัยการฟัง (สุตตมยปัญญา) การฝึกสติ สมาธิ ทำความเพียร (วิริยะ) ทำความเข้าใจ ใคร่ครวญ (จินตมยปัญญา) เราต้องทำตามมรรค 8 เพื่อปัญญาที่เป็น “โลกุตรปัญญา” เกิดขึ้น เราจึงจะเห็นสิ่งที่เป็นนิจจัง ว่าเป็นอนิจจัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็นสุขขัง ว่าเป็นทุกขัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็นอัตตา ว่าเป็นอนัตตา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 22 Jun 2024 - 55min - 362 - เข้าใจทุกข์ด้วยปัญญา [6724-7q]
Q : คิดนึกโกรธด่าว่าอยู่ในใจแต่ไม่ได้พูดออกมา จะถือว่าบาปแต่ไม่ผิดศีลใช่หรือไม่?
A : อยู่ที่ว่าเรานับสัมมาวาจาอีก 3 ข้อ คือ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ เข้ามาเป็นศีลด้วยหรือไม่ การเตือนตนด้วยตนเป็นสิ่งดี ให้เราฝึกปฏิบัติให้ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไป จะเกิดการพัฒนารักษากายวาจาใจได้
Q : จากนิทานพรรณา "ผู้รู้เสียงสัตว์" ถ้าไม่มีญาณวิเศษนี้เราจะดำรงตนในธรรมได้อย่างไร?
A : การพ้นทุกข์ได้จริง ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้เสียงสัตว์ก็ได้ ถ้าเราจะรอดปลอดภัยจากวัฎฎะต้อง “อาสวักขยญาณ” คือญาณในการรู้อริยสัจสี่ เป็นทางเอกเป็นทางเดียวที่จะรอดพ้นจากวัฏสงสารได้
Q : การละวาง การปล่อยวาง การวางเฉย มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
A : สามคำนี้เป็นคนละคำคำว่า “ละวาง” ในที่นี้หมายถึง การละคือปหานะ คือกำจัดทิ้งเสีย ใช้กับตัณหากับสิ่งที่เป็นอกุศลเท่านั้น คำว่า“ปล่อยวาง”(ใช้กับขันธ์ 5) หมายถึง การวิราคะคือวิมุต คือพ้นแล้วก็ปล่อยวาง ซึ่งจะเป็นส่วนของมรรค 8 ใช้ตามสายของมรรค คำว่า “วางเฉย” หมายถึง อุเบกขาเวลามีอะไรมากระทบแล้ววางเฉยได้ / ละวางกับปล่อยวาง การจะละวางขันธ์ 5 ต้องเข้าใจขันธ์ 5 เข้าใจกายโดยความเป็นของปฏิกูล พอเข้าใจกายโดยความเป็นของปฏิกูลแล้วเห็นตามความเป็นจริง จะมีนิพพิทาคือความหน่าย มีวิราคะคือความคลายกำหนัด ปล่อยวางได้ ละได้ ตรงนี้คือวิมุตคือพ้น ระหว่างนิพพิทากับวิมุตก็ต้องมีการปล่อยวางตรงนี้ซึ่งเกิดขึ้นกับขันธ์ 5
Q : "ชวนจิต"มีความสัมพันธ์กับการทำสมาธิและวิปัสสนาอย่างไร ทำไมต้องมี 7 ขณะ?
A : เป็นเรื่องของอภิธรรม
Q : ควรมีความอดทนหรือปล่อยไปตามกรรม?
A : หน้าที่ของพ่อแม่ที่ควรมีต่อลูก คือ ห้ามลูกเสียจากบาป ให้ลูกตั้งอยู่ในความดี หากพ่อแม่ไม่ได้ทำหน้าที่นั้น เมื่อลูกโตขึ้นก็จะบอกยาก ต้นเหตุจริง ๆ ต้องแก้ที่พ่อแม่ ในจุดที่เราเป็นพี่น้อง ให้เรามีพรหมวิหารสี่และหาช่องในการที่จะอุปการะเขา ให้เกิดประโยชน์ทั้งตนและเขา หากเขายังแก้ไม่ได้ ก็ให้มีอุเบกขา ตั้งจิตไว้ อย่าให้จิตมีอกุศล ระมัดระวังความคิด อย่าเอาความอยากเป็นตัวนำ หากเขาโกรธมาให้เราเมตตาตอบ หากเขาด่ามาให้เราอดทน ถ้าเขาไม่ดีมาเราก็ต้องแยกแยะให้เขาเห็น เราจึงจะแก้ได้ ซึ่งอาจต้องใช้เวลา แต่ถ้าเราตั้งจิตไว้ด้วยกับพรหมวิหารสี่ คนรอบตัวเราจะได้กระแสจากเราแน่นอน
Q : หากต้องนอนบนเตียงนาน ๆ เหมือนผู้ป่วยติดเตียง ควรนำธรรมะข้อใดมาปฏิบัติจึงจะผ่านพ้นไปได้?
A : สำหรับผู้ที่เตรียมตัวมา ก็จะอยู่ด้วยความผาสุกได้ คือจิตสงบมีเครื่องอยู่ หากไม่ได้เตรียมตัวก็จะไม่ผาสุก วุ่นวายใจ รับไม่ได้ เมื่อรับไม่ได้ก็เกิดทุกข์ ให้เข้าใจทุกข์ เห็นทุกข์ได้ด้วยปัญญาตามมรรค 8 อยู่กับมันได้ ทุกข์ก็ลดลง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 15 Jun 2024 - 59min - 361 - ตายอย่างผาสุก [6723-7q]
Q : การมีอายุยืน (Longevity) และการตายแบบสบายๆ (Pin Pin Korori)
A : การมีอายุยืน (Longevity) ที่ประเทศญี่ปุ่น บนเกาะโอกินาว่า หมู่บ้านโอกิมิ มีคนที่อายุเกิน 100 ปี อยู่หนาแน่น โดยมีสุขภาพแข็งแรง หูไม่ตึง สามารถทำงานได้ ขี่จักรยานได้ สายตาเห็นชัดเจน / การตายแบบสบาย ๆ (Pin Pin Korori) เป็นการตายไปเฉย ๆ ไม่ใช่อุบัติเหตุ ไม่ทุรนทุรายหรือป่วย เป็นการไหลตายไปเฉย ๆ เป็นท่าที่เขาตายเป็นลีลาการตายในลักษณะนั้น
Q : การตายอย่างผาสุกในทางพุทธศาสนา
A : การตายอย่างผาสุกนั้นไม่เกี่ยวกับลีลาหรือท่าทางการตาย แต่ขึ้นอยู่กับจิตเป็นสำคัญ ที่ว่าเมื่อความตายมาถึงแล้วจะยังเป็นความตายอย่างผาสุกได้ ท่านสอนไว้ถึงเรื่อง “ความเพียร ที่พึงกระทำ ปรารภภัยในอนาคต 5 ประการ” เมื่อความตายมาถึงแล้วธรรมะอะไรที่เราควรที่จะต้องบรรลุควรจะต้องรู้ควรจะต้องเข้าใจควรจะต้องทำให้แจ้งธรรมะนั้นคือ “มรรค 8”
Q : ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
A : ถ้าชีวิตของเราจะอยู่ไม่พ้นคืนนี้ มีราตรีนี้เป็นคืนสุดท้าย สิ่งที่จะรีบทำจิตใจเลยคือ (1) ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว (2) ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง (3) ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมปัจจุบัน พึงพิจารณาธรรมนั้นพึงทำความเพียรเสียในวันนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ว่า“ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ”
Q : จะมีวิธีระงับอารมณ์ไม่ให้ระเบิดความโกรธออกมาโดยเรียกสติกลับมาได้อย่างไร?
A : ถ้าเรารู้ว่าเรามีปัญหาตรงไหน เราจะสามารถแก้ได้แน่ การที่เราสังเกตเห็นนั่นแสดงว่าเรามีสติ ถ้ามีสติตรงไหนจะละได้ตรงนั้น มีสติตรงไหนจะพัฒนาความดีให้เกิดได้ตรงนั้น ให้เราฝึกพัฒนาสติทั้งในรูปแบบนั่งสมาธิให้สติมีกำลัง และฝึกสติระหว่างวันฝึกให้มีสัมปชัญญะอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เมื่อเราฝึกพัฒนาสติแล้วเวลาเราทำสมาธิสมาธิจะละเอียดลงลึก ๆ จะช่วยเกื้อหนุนเกื้อกูลกัน พอเราเผลอเพลินไปในความโกรธเราก็จะรู้ตัวเร็วขึ้น ละความโกรธได้เร็วขึ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 08 Jun 2024 - 56min - 360 - คิดให้ถูก คิดให้เป็น [6722-7q]
Q: ให้ทานกับขอทานที่ยากจน ได้บุญมากกว่าขอทานที่ร่ำรวยใช่หรือไม่?
A: การที่จะได้บุญมากหรือน้อยไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณเงินของผู้ให้หรือฐานะของผู้รับ แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ให้และผู้รับ คุณสมบัติของผู้ให้ คือ ต้องมีศรัทธา ทั้งก่อนให้ ระหว่างให้และหลังให้ คุณสมบัติของผู้รับ คือ เป็นผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะน้อย
Q: ความเศร้าหมองจากการให้ทานเกิดจากอะไร?
A: ความเศร้าหมองของบุญ อยู่ที่ 3 องค์ประกอบ คือ “ผู้ให้” (มีศรัทธาแล้วมีศีลหรือไม่) “ผู้รับ”(มีศีลหรือไม่) และ “สิ่งของ” (หากสิ่งที่นำมาถวาย เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง บุญก็จะเศร้าหมอง)
Q: ทำบุญเอาหน้า จะได้บุญมากหรือน้อย?
A: หากทำบุญอาศัยความโลภ บุญก็จะได้น้อย แต่ทำ ดีกว่าไม่ทำ เราควรสละออก ตั้งจิตให้ดี ทำดี ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
Q: ฝันว่ากระทำไม่ดี จะเป็นบาปหรือไม่?
A: เมื่อเราไม่ได้ลงมือทำจริง ๆ ก็ไม่ได้เป็นบาปของเรา แต่หากเรามีอารมณ์ร่วม คือเราเพลินไปตามแล้ว นั่นเป็นกรรม เป็นมโนกรรม
Q: การที่สามีภรรยาอยู่กันคนละที่ ควรจะพิจารณาและทำให้เป็นไปตามหน้าที่ของทิศเบื้องหลังต่อกันอย่างไร?
A: ฝ่ายภรรยา ควรจัดการงานให้เหมาะสมเรียบร้อย, สงเคราะห์คนข้างเคียงสามี เช่น พ่อ แม่ ลูกน้อง, ไม่นอกใจ, รักษาทรัพย์ที่หามาได้, ขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง ฝ่ายสามี ควรยกย่องภรรยา, ไม่ดูหมิ่น, ไม่นอกใจ, มอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้, ให้เครื่องประดับ ทั้งฝ่ายภรรยาและสามี ควรบริหารจัดการ ป้องกันให้ดี เพื่อไม่ให้ต้องทะเลาะกัน
Q: ในทางธรรมจะอธิบายคำว่า "ต้องคิดเป็น" อย่างไร?
A: ท่านให้แนวทางไว้ว่า ถ้าจะคิด อย่าคิดเบียดเบียนคนอื่น อย่าคิดเบียดเบียนตนเอง ถ้าจะคิด ให้คิดเรื่องที่เป็นกุศล อย่าคิดเรื่องที่เป็นอกุศล ให้เป็นผู้ที่เห็นถูก|สัมมาทิฐิ คือ พ่อแม่มี กรรมดีกรรมชั่วมี สัตว์ที่อยู่ในภพอื่นมี เทวดามี สัตว์นรกมี การบรรลุธรรมมี และคิดมาในแนวทางอริยะสัจ4 นั่นคือ คิดเป็น คิดถูก ต้องทำในใจให้แยบคาย ต้องมีความแยบคายในการปฏิบัติ คือ “โยนิโสมนสิการ”
Q: การปรับใช้ โยนิโสมนสิการ ในชีวิตประจำวัน
A: อะไรที่เป็นบาปนั่นไม่ใช่โยนิโสมนสิการ อะไรที่เป็นบุญ เช่น มีเมตตาต่อกัน นั่นคือ โยนิโสมนสิการ
Q: ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นอย่างไร จะระงับมันได้อย่างไร?
A: ความคิดปรุงแต่งเปรียบดังกระแสน้ำ บางทีกระแสน้ำมันไหลแรง เราไม่สามารถควบคุมกระแสน้ำได้ เราก็อย่าไปอยู่ในน้ำ ให้ออกมายืนริมฝั่ง สติคือริมฝั่ง คือให้เราตั้งสติ จิตเราพอไม่ตริตรึกไปเรื่องไหน เรื่องนั้นก็จะอ่อนกำลัง เราก็จะรักษาจิตไว้ด้วยสติได้ ไม่ใช่ว่าไปห้ามการปรุงแต่ง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 01 Jun 2024 - 56min - 359 - คุณสมบัติของทุกข์ [6721-7q]
Q : ธรรมะ 5 ข้อ ที่เมื่อผู้ฟังอยู่สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ จำเป็นต้องมีครบทั้ง 5 ข้อหรือไม่ ?
A : ธรรมะ 5 ข้อ คือ1) ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด 2) ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด 3) ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน 4) เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน 5) ฟังธรรมมนสิการโดยแยบคาย หากไม่สามารถปฎิบัติได้ทั้ง 5 ข้อ ก็ควรปฏิบัติในข้อที่มีจิตไม่ฟุ้งซ่านคือจิตเป็นสมาธิ และข้อที่ฟังธรรมมนสิการโดยแยบคายคือวิปัสสนา ประกอบกัน 2 ส่วนทั้งสมถะและวิปัสสนา แต่ถ้าหากปฏิบัติได้ครบทุกข้อจะดีที่สุด
Q : คำว่า อีโก้ (Ego) สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง ยึดถืออัตตาตัวตนสูง อุปาทานในขันธ์ 5 มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
A : คำว่าอีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูงในทางคำสอน หมายถึง ความมี“มานะ” คือความรู้สึกเป็นตัวตน “อุปาทาน” หมายถึง ความยึดถือ “ขันธ์ 5”หมายถึง กองของทุกข์ 5 กอง (กองของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) / อุปาทานขันธ์ 5 ไม่ใช่มานะ แต่เพราะมีความยึดถือในขันธ์ 5 จึงเกิดมานะ อุปทานเกิดจากตัณหา อุปาทานก็ตาม ตัณหาก็ตามเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานจึงมีภพ เพราะมีภพจึงมีการเกิด (การก้าวลง) หมายถึง จิตดิ่งปักลงไปว่า “สิ่งนี้มีในตน ตนมีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นตน ตนเป็นสิ่งนั้น” เมื่อมีการก้าวลงจึงมีอัตตาขึ้นมา
Q : ถ้าเรามีอุปาทานความยึดถือควรแก้ไขอย่างไร?
A : ปฎิบัติตามมรรค 8 ถ้าเรามีศีล สมาธิ ปัญญา เราจะไม่เพลินไม่พอใจ เมื่อไม่เพลินไม่พอใจความยึดถือก็จะไม่เกิด เมื่อเกิดไม่ได้ความยึดถือก็ดับไป ความเป็นตัวตนมานะก็ดับไป
Q : วิธีละสักกายทิฏฐิอัตตาตัวตน?
A : ถ้าเรามีสัมมาทิฎฐิมีปัญญาที่จะเข้าใจว่า มันไม่ใช่อัตตาตัวตนของเรา เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่เที่ยง ไม่เป็นของเฉพาะตนคือเป็นอนัตตา ตั้งสติไว้ตรงรอยต่อระหว่างกายใจคือผัสสะ เราจะควบคุมสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ก็ต้องตั้งสติไว้ตรงนั้น ถ้าเราควบคุมได้รักษาไว้ได้ด้วยสติ จะทำให้เราเข้าใจถูกว่าเราไม่มีตัวตน ถ้าเรารักษาผัสสะได้ ความรู้สึกที่เป็นตัวตนจะลดลง ละสักกายทิฎฐิได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 25 May 2024 - 52min - 358 - แก้ความคิดอกุศล [6720-7q]
Q : เมื่อมีความคิดในทางลบทางอกุศล ควรทำอย่างไร?
A : จิตเมื่อตริตรึกไปในสิ่งไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราลืมเผลอเพลินนั่นคือเราไม่มีสติ เราต้องตั้งสติด้วยการเจริญอนุสติ 10 เจริญสติปัฎฐาน 4 เมื่อสติเรามีกำลังก็จะสามารถสังเกตแยกแยะ จะทำให้ความคิดที่ผ่านเข้า-ออกถูกป้องกันให้อยู่ในกุศลธรรมได้ดีมากขึ้น เปรียบดังกับยาม (สติ) จะอยู่ที่ประตู (ใจ) ได้ ก็ต้องมีป้อมยาม (ลมหายใจ) สังเกตดูคนเข้า-ออก (ความคิดที่ผ่านไป-มาดีบ้างไม่ดีบ้าง, กลิ่นอาหารที่ผ่านเข้า-ออกทางรูจมูก, เสียงที่ผ่านเข้าออกทางช่องทางหู) ซึ่งยามจะสังเกตดูได้ก็ในป้อมยามนี้
Q : จิตกับความคิดไม่ใช่อย่างเดียวกัน
A : จิตก็อย่างหนึ่งความคิดก็อย่างหนึ่งใจก็อย่างหนึ่ง เราจะเลือกที่จะให้จิตคิดหรือไม่คิดเราต้องเลือกได้ เราจะคิดหรือหยุดคิดเราต้องเลือกได้ เราต้องตั้งสติสังเกตได้ จุดที่เราตั้งไม่ได้เพราะเราเพลินไป พอเรายับยั้งได้ฉุกคิดได้ตั้งสติได้นั่นคือไม่เผลอไม่เพลิน
Q : โลกียฌานและโลกุตรฌานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
A : ทั้งโลกียฌานและโลกุตรฌานล้วนต้องอาศัยสติมีสมาธิเหมือนกัน ฌานคือการเพ่งการเอาจิตจดจ่อ สมาธิคือการรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียว ส่วนโลกียฌานคือสมาธิที่ยังเกี่ยวเนื่องกับโลกกับของหนักมีทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ โลกุตรฌานคือการนำสมาธิที่เป็นสัมมาทิฐิมาใช้ให้อยู่ในลักษณะเหนือบุญเหนือบาป เห็นโดยความเป็นของปฏิกูล เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เห็นตามอริยสัจสี่แบบนี้คือจะไปสู่ระดับเหนือโลกเหนือบุญเหนือบาป
Q : จิตตั้งมั่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 เหมือนกัน เข้าใจถูกหรือไม่?
A : สัมมาสติคือสติปัฏฐาน 4 จะทำให้เกิดสัมมาสมาธิสมาธิ ทำให้เกิดปัญญาปัญญา ทำให้ไม่เพลินในอาการต่าง ๆ หรือเรียกว่าสัมปชัญญะสติ สัมปชัญญะหมายถึงระลึกรู้ในอาการต่าง ๆ ไม่เผลอเพลินในอาการต่าง ๆ จะเกิดสติสัมปชัญญะได้ต้องปฏิบัติตามมรรค 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 18 May 2024 - 54min - 357 - การระลึกชาติ [6719-7q]
Q : การระลึกชาติได้ มีจริงไหม?
A : การระลึกถึงไม่ว่าจะระลึกถึงอดีตหรืออนาคตก็ระลึกถึงอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเรามีอดีตนั่นก็หมายความว่าเรามีปัจจุบันและอนาคต ในตำราไว้ว่าการระลึกชาติก่อนได้เป็นความสามารถในส่วนของปัญญาเรียกว่า “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” คือปัญญาที่ทำให้ระลึกตามได้ว่าเมื่อก่อนเป็นอะไรอยู่ที่ไหน โดยเหตุแห่งการระลึกชาติได้นั้นคือสมาธิต้องมีสมาธิจึงจะมีปัญญา ในข้อนี้ท่านกล่าวถึง “อภิญญา5” เตือนเอาไว้ว่าหากคนไม่ศรัทธาไม่เชื่อก็จะบอกว่านั่นเป็นเพียงมายากลคือมีปัญญาแต่ไม่มีศรัทธา หากคนที่ศรัทธาอย่างเดียวก็จะถูกหลอกได้ง่ายคือมีศรัทธาแต่ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้นศรัทธาและปัญญาจึงต้องไปด้วยกันสองอย่างต้องพอ ๆ กันเราจึงจะเข้าใจรู้เห็นสิ่งของที่พิเศษนี้ได้
Q : ทำบุญให้ทานเพราะโลภได้บุญหรือไม่?
A : การให้ทานนั้นได้บุญ แต่หากให้ทานแล้วมีความโลภ บุญที่ได้นั้นจะเศร้าหมอง การเดินตามมรรค 8 จะทำให้ความเศร้าหมองลดลง เป็นกระบวนการที่เมื่อเราทำแล้วความอยากก็จะลดลงไปด้วย ดั่งที่พระอานนท์ท่านกล่าวไว้ว่า “เจริญฉันทะเพื่อลดฉันทะ”
Q : สมาธิที่มากเกินไปทำให้เกียจคร้าน ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป จริงหรือไม่ ?
A : สมาธิถ้ามันไม่สมดุลกับความเพียร ความเพียรน้อยไปสมาธิมากไปก็จะทำให้เกียจคร้าน แต่ถ้าความเพียรมากไปสมาธิน้อยไปก็จะทำให้ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นมันต้องประกอบกันทั้งหมดให้เหมาะสม ในลักษณะที่ให้จิตเราละอาสวะกิเลสได้
Q : คนมักใช้คำว่า "อนิจจังไม่เที่ยง" เพื่อปลอบใจให้คลายทุกข์แต่พอสบายใจแล้วก็ปล่อยปะละเลยไป
A : ท่านยกเรื่อง“โลกธรรม 8”เราต้องเข้าใจทั้ง 2 ฝั่ง ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ สรรเสิญ นินทา สุข ทุกข์ หากเราเข้าใจฝั่งเดียว เช่น ได้ลาภแล้วเรายินดีเพลิน พอใจ ไปในลาภยศนั้น ไม่ได้เข้าใจอีกฝั่งว่าลาภก็เสื่อมได้ มัวเพลิน พอใจไปในลาภนั้น ซึ่งความเพลิน ความพอใจนั้น คือ อุปาทาน (ความยึดถือ) เมื่อความยึดถือเกิดขึ้นตรงไหน ตรงนั้นจะเกิดเป็นตัวตนขึ้นทันที ทำให้เราเข้าไปยึดถือในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา ทุกข์จึงเกิดขึ้นทันที
Q : "พระพุทธองค์ทรงย่อโลกให้มาอยู่ในตัวเรา" หมายความว่าอย่างไร?
A : การรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากภายนอก ล้วนรับรู้ด้วยกายของเรา เช่น เราได้ยินเสียงก็ด้วยหูของเรา เราเห็นแสงก็ด้วยตาของเรา ท่านจึงบอกว่าอยู่ในกายของเรา คำว่า “อยู่ในกาย”หมายถึง ธาตุ 4 (ดิน น้ำ ไฟ ลม) อยู่ในกายนี้ ถ้ามองจากข้างนอก ก็คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ข้างในก็จะเป็น เนื้อ เอ็น กระดูก คือ อยู่ในกายนี้ ข้างนอกอย่างไรข้างในก็อย่างนั้น มันไม่เที่ยงเหมือนกัน มันอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งเหมือนกัน ด้วยความเข้าใจตรงนี้ จึงไม่ยากหากเราจะเข้าใจจากข้างใน ก็จะไม่เพลินไปได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 11 May 2024 - 57min - 356 - คาถาชนะมาร [6718-7q]
Q : คาถาใดใช้ขจัดมาร และพระไพรีพินาศ ศัตรูพินาศจริงหรือ?
A : มารคือสิ่งที่จะมาขัดขวางให้เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่สำเร็จ ท่านสอนว่ามารมี 5 ประเภท คือมารที่เป็นคน กิเลสมาร มารที่เป็นขันธ์และกรรมก็เป็นมาร วิสัยของมารคือจะคอยขัดขวางล้างผลาญความดี หากเราไม่ให้อาหารแก่มาร เช่น ใครมาด่ามาว่า เราก็ยังดำรงตนอยู่ในมรรค 8 ได้ ไม่โกรธไม่ขัดใจ ไม่ด่าตอบ นั่นคือจิตเราไม่ไปตามกระแสของมาร มารก็จะทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ใช่ว่ามารไม่มี และหากเราเห็นพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งแล้วเรายังระลึกถึงคำสอนของท่านอยู่รวมลงในองค์ 8 อันประเสริฐ มารทำอะไรเราไม่ได้ก็จะไปเอง
Q : วิธีชนะมารที่ตัวเรา?
A : ชนะมารได้ด้วยการไม่ให้อาหารมารไม่ทำตาม มารพอเราไม่ไปตามอำนาจของมันเดี๋ยวมันก็ไปเอง การชนะมารคือชนะตัวเราเอง พอเราควบคุมจิตเราให้อยู่ในธรรมะได้ ทรงอยู่ในธรรมได้ เราชนะตรงนี้ได้ เราก็จะชนะทุกอย่าง
Q : เพิ่มพลังให้จิต?
A : วิธีเพิ่มพลังให้จิตเรามีกำลัง คือให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นผู้ที่มีกำลังใจสูง เข้าใจว่ามีทุกข์มีสุข ให้ทำความดีต่อไป
Q : นอนสวดมนต์ได้หรือไม่?
A : หากเราทำกิริยาใด ๆ แล้วประกอบด้วยความขี้เกียจ นั่นเป็นบาป เราควรตั้งอยู่ในกิริยาที่สำรวมเหมาะสม
Q : กระดูกกับความดี?
A : การที่เราจะระลึกถึงบรรพบุรุษหรือใครที่ทำดีกับเราเป็นสิ่งที่ทำได้ การระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อเราเรียกว่าเทวตานุสติ
Q : พูดความจริงกับบาป
A : หากมีเจตนาโกหกนั่นเป็น “บาป” เช่น เห็นบอกไม่เห็น ได้ยินบอกไม่ได้ยิน คือมีเจตนาโกหก หรืออีกนัยยะหนึ่งคือพอมีคนถามถึงความไม่ดีของคนอื่นด้วยเจตนาที่จะให้เขาระวัง ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เขาแตกกัน ซึ่งหากเขาแตกกันอันนี้เป็นบาป สิ่งที่เราควรทำคือหากเขาไม่ถามก็ไม่ต้องพูดเลย หรือถ้าเขาถามก็ให้พูดนิดเดียว ถ้าเขาถามจี้ก็ให้พูดหลีกเลี้ยวลดหย่อน พูดให้น้อย พูดจากหนักให้เป็นเบา เราจึงจะเป็นคนดี ถ้าเราทำเช่นนี้ความชั่วจะไม่ขยายผล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 04 May 2024 - 1h 01min - 355 - สิ่งที่เป็นไปได้ยาก 3 สิ่ง [6717-7q]
Q: การยอมรับความจริงเป็นทางออกของหลายปัญหาจริงหรือไม่?
A : ทุกข์ เวทนา นั้น มันไม่ได้เป็นของจริง เปรียบดังพยับแดดที่เหมือนจะมีจริงแต่มันไม่มีจริง พอเราเข้าใจว่ามันไม่ใช่ความจริง ยอมรับด้วยปัญญา เราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป ให้เรานำธรรมะมาทำ มาปฏิบัติ มาใช้ในชีวิตประจำวัน พยามเดินตามมรรค อย่าออกนอกมรรค
Q: การสะสมอาสวะใหม่ให้เข้ามาอยู่ในจิตใจจึงจะได้ผล?
A : ไม่ใช่ว่าเป็นการสะสมอาสวะใหม่ แต่ที่จริงแล้วเป็นอาสวะเก่ามันลอกออก เพราะอาสวะมันเป็นสิ่งสะสม มีกามาสวะ คือ เมื่อเราชอบพอสิ่งใด กามาสวะก็จะเพิ่มพูน ปฏิฆาสวะ คือเมื่อเราไม่พอใจขัดใจ ปฏิฆาสวะก็จะเพิ่มพูน และอวิชชาสวะ คือเมื่อไม่เข้าใจสถานการณ์ ง่วงซึม เห็นแก่ตัว อวิชชาสวะก็จะเพิ่มพูน แต่หากมีสถานการณ์ที่มากระตุ้นให้เกิดอาสวะเดิม แล้วเราไม่ทำตามเดิม เรามาเดินตามมรรค ปฏิบัติตามมรรคได้ อาสวะเดิมมันก็จะหลุดลอกออกทันที
Q: การมีปีติ สงบ มีสมาธิ หรือการไม่ยินดียินร้าย อันไหนดีกว่ากัน สุขจากภายในคือสุขจากสมาธิใช่หรือไม่?
A : สุขในภายในคือสุขจากสมาธิ (สมาธิ 9 ขั้น) สมาธิ มี 2 ส่วน คือสมถะและวิปัสสนา แยกต่อไปอีก ได้ 3 ส่วน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แยกต่อไปอีกได้ 8 ส่วน คือมรรค 8 สมถะและวิปัสสนา เรียกอันเดียวกันว่า “สติ” เมื่อมีสติแล้ว ก็จะทำให้เกิดสมาธิเกิดปัญญาได้ คือทำแล้วจะรวมลง ลงรับกันทั้งหมด ส่วนไม่ยินดียินร้ายน่าจะเน้นมาเรื่องอุเบกขา (สมาธิขั้นที่ 3 ขึ้นไป)
Q: ฝึกที่จะไม่พูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นเป็นอย่างไร?
A: สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องพูด คือ คำโกหก หลอกลวง เพ้อเจ้อ นินทา ไม่มีสาระหาแก่นสารไม่ได้ ส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน รวมถึงคำหยาบทั้งหลาย
Q: การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก?
A: ท่านตรัสไว้ 2 นัยยะ นัยยะแรก ท่านเปรียบเทียบกับเต่าตาบอดอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยน้ำทะเล ทุก 100 ปี จะโผล่หัวขึ้นมาครั้งเดียว แล้วโผล่หัวขึ้นมาพอดีกับรูในแอกไม้ไผ่ที่มีอยู่รูเดียว นั่นเป็นความยากที่จะเป็นไปได้ นัยยะที่สอง การที่สัตว์นรกจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ยากกว่าเต่าตาบอดตัวที่ท่านได้กล่าวมาแล้ว และสิ่งที่ยากกว่านี้อีกประการหนึ่ง คือ การที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น คำสอนของท่านคงอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้น หากตอนนี้เราได้ในสิ่งที่ได้มายาก เราเป็นมนุษย์ มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และคำสอนของท่านยังคงอยู่ นั่นเป็นเรื่องที่ยากที่สุดแล้ว เราสามารถใช้โอกาสที่ได้มายากนี้ ทำตามคำสอนของท่านได้
Q: ทำไมคนเราเกิดมาจึงต่างกัน?
A: สิ่งที่จะจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีต คือ กรรมและวิบาก|ผลของกรรมซึ่งจุดนี้เราสามารถแก้ไขได้ หากมีสิ่งมากระตุ้นแล้วเรายังตั้งอยู่ในมรรคได้ แม้เรามามืดเราก็ไปสว่างได้หรือมาสว่างแล้วไปสว่างได้
Q: ขันติกับอุเบกขาต่างกันอย่างไร?
A: ขันติ คือ ความอดทน อดทนต่อทุกขเวทนา ต่อความลำบาก ต่อความร้อนความหนาว ต่อคำด่าคำว่า เป็นลักษณะการกระทำที่เราแสดงออก ส่วนอุเบกขาพูดถึงเวทนา ถ้าเป็น “นาม” หมายถึงเป็นเวทนาที่นิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่ได้จะสุขหรือทุกข์ ถ้าเป็น “กิริยา” คือ การวางเฉยในสุข ในทุกข์ และในสิ่งที่ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 27 Apr 2024 - 55min - 354 - ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]
Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)
A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า“อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว” หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก
Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา
A : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า
Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร?
A : “ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์” มาจากศัพท์คำว่า“อทุกขมสุข” เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้น “อุเบกขา” คือความวางเฉย เป็นเวทนาที่เป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ “วิมุตติ” คือพ้นไม่เพลิน อยู่เหนือจากอุเบกขาขึ้นไป เมื่อวางได้จึงพ้น / ความต่างของอุเบกขาและวิมุตติคืออุเบกขา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือนก็คือเป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน / เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานสี่ให้มากทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมคือโพชฌงค์ พอมีโพชฌงค์แล้วอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชชาและวิมุตติจะเกิดขึ้น
Q : นั่งสมาธิพอจิตตั้งมั่นแล้วจะเหมือนมีหนอนไต่เป็นเพราะเหตุใด และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?
A : พิจารณากรณีที่ 1 เป็นนิมิตว่าให้เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้คือไม่น่ายินดี ให้รักษาสติเห็นตามจริงอย่าตกใจ หากตกใจให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลังกล้าเผชิญหน้าว่ากายเราเป็นแบบนี้ กรณีที่2 หากเราเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติ อาการนี้คือการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉย ๆ แต่ไม่ตามรู้ ก็สักแต่ว่ารู้ พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีก
Q : การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่?
A : ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้นเรียกว่าการนอนอย่างตถาคต คือตื่นอยู่ในสมาธิ ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับคือง่วง เหนื่อยเพลีย แต่นอนไม่หลับ
Q : การทำสมาธิใกล้คนนอนมีผลกับคนนอนหรือไม่?
A : หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วให้เราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกลก็ได้ประโยชน์ด้วย ได้ทั้งข้ามภพข้ามชาติด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 20 Apr 2024 - 54min - 353 - การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q]
Q : กายคตาสติหรือการตั้งสติไว้ในกายทำอย่างไร?
A : กายคตาสติคือการตั้งสติไว้ในกาย ใช้กายเป็นฐานที่ตั้งของสติ สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นนัยยะของการนั่งสมาธิแล้วพิจารณากาย การพิจารณากายในอิริยาบถ การพิจารณากายในความเป็นปฏิกูล หรือพิจารณากายจากสถานที่ / การตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในกาย คือรู้ตัวทั่วพร้อมรอบคอบในอาการต่าง ๆ ในทุกอิริยาบถ หากเรามีอาการทางกาย เช่น การไอ อย่าให้จิตเราไม่พอใจขยะแขยงเกลียดชังไปกับอาการหรืออิริยาบถนั้น ๆ ให้เรารับรู้อยู่แต่ไม่คิดไปตาม ไม่เพลินไปตามความคิด ไม่เพลินไปตามอาการนั้นอิริยาบถนั้นการปรุงแต่งนั้น ให้รู้ตัวทั่วพร้อมมีสติสัมปชัญญะอยู่กับการไอ
Q : รู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ด้วยตัวเองควรวางใจอย่างไร?
A : หน้าที่ที่เหมาะสมสำหรับลูกที่ควรกระทำคือเลี้ยงดูบิดามารดา การเลี้ยงดูมี 2 รูปแบบ คือการดูแลทางอามิสคือทางกาย และการตอบแทนที่จะพอเหมาะสม คือการให้ท่านมีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา คือมี “โสตาปัตติยังคะ 4” ถึงพอจะเหมาะสมกัน ในเรื่องของการดูแลเราสามารถทำเองก็ได้หรือจัดให้ก็ได้ ในเรื่องของสภาพจิตใจต้องดูแลท่าน หมั่นไปเยี่ยมประดิษฐานท่านให้มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญา ให้เรามองว่าเป็นโอกาสที่เราจะสร้างบุญใหญ่แล้วให้มีความมั่นใจทำจริงแน่วแน่จริง ธรรมะจะคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมแน่นอน
Q : ทำบุญที่ไหนก็ตามเทียบไม่ได้กับทำบุญกับพ่อแม่
A : บุญที่เกิดจากการให้ทานอยู่ที่ลักษณะ 3 อย่างคือ ผู้ให้ผู้รับและสิ่งของที่ให้ผู้ให้คือเราผู้รับคือพ่อแม่หากเปรียบพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้วแต่พ่อแม่ยังมีกิเลสอยู่นัยยะของการเกิดบุญจึงต่างกันอย่างไรก็ตามท่านสอนให้เราทำดีกับพ่อแม่อยู่แล้วเพราะเรามีพ่อแม่เพียงคนเดียวไม่ว่าท่านจะต่อว่าเราอย่างไรเราก็ควรตอบแทนบุญคุณท่านให้เห็นว่าเป็นโอกาสที่เราจะได้ฝึกความอดทนฝึกปัญญาแก้ปัญหาให้เราตั้งอยู่ในความดีทำดีต่อไป
Q : การดูแลผู้ป่วยหนัก เราควรทำจิตใจอย่างไรจึงจะผ่านวิกฤติไปได้?
A : คุณสมบัติของผู้ที่จะพยาบาลได้ง่ายก็คือ 1) รู้ว่าอะไรเป็นความสบาย 2) รู้ประมาณในความสบาย 3) ทานยาตามเวลา 4) บอกอาการตามความเป็นจริง 5) มีความอดทนต่อเวทนานั้น ๆ หากเราต้องจัดคนมาดูแลหรือดูแลเอง ให้พิจารณาว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ ไม่เห็นแก่อามิสสิ่งของ ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระปัสสาวะไปทิ้ง สามารถพูดให้คนไข้มีความอาจหาญ ร่าเริง ทรงอยู่ในธรรมได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 13 Apr 2024 - 56min - 352 - ขายนิพพาน [6714-7q]
Q : คอร์สออนไลน์ที่สอนให้บรรลุธรรมเป็นไปได้หรือไม่?
A : การบรรลุธรรมได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุเงื่อนไขและปัจจัยเหตุแห่งการบรรลุธรรม คือการปฏิบัติตามมรรค 8 และเราจะไม่สามารถบรรลุธรรมได้แม้จะปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วก็ตาม คือมีความเคลือบแคลงเห็นแย้งไม่ลงใจในมรรคในข้อปฏิบัติ หากเราได้ยินได้ฟังเรื่องใดมา เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญเทียบเคียงกับคำสอนของท่าน ศรัทธาและปัญญาต้องไปคู่กันเสมอ
Q : การออกเสียงปาฬิภาษาในพระไตรปิฎกให้แม่นยำสำคัญต่อการบรรลุธรรมอย่างไร?
A : ในวิมุตยายตนสูตร 5 ประการที่เกี่ยวกับการบรรลุธรรมคือการฟัง, การแสดงธรรม, การสวด|สาธยายหมายถึงการสวดการออกเสียง "สัชฌายะ" การตรึกตรองและการทำสมาธิเมื่อเราปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้จิตมีปิติ ปราโมทย์ สุข จิตตั้งมั่นมีความเพียรบรรลุธรรมได้ ดังนั้นการออกเสียงสัชฌายะให้ถูกต้องตามอักขระจึงมาตรงกับการสาธยายโดยพิสดาร จะทำให้เรารู้แจ้งอัตถะรู้แจ้งธรรมะได้ดี จะมีความเข้าใจบางประการเกิดขึ้นจากการได้ยินเสียงนั้น
Q : ฌาน 4 มีคุณสมบัติอย่างไร?
A : คุณสมบัติของฌาน 4 คือ มีแต่อุเบกขาล้วน ๆ การจะไปดูนรกสวรรค์ได้ก็ไปด้วยกำลังของฌานคือสมาธิ จะทำให้เกิดญาณคือความสามารถนี้ ซึ่งกำลังของญานจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าสมาธิน้อยหรือมาก
Q : ลักษณะของการตรัสรู้ธรรมเป็นอย่างไร?
A : โพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ลักษณะธรรมะของท่านเปรียบเหมือนจุ่มแห เมื่อเราปฏิบัติตรงนี้ก็จะดึงส่วนอื่นเข้ามาด้วย เราทำส่วนไหนได้ก็ทำส่วนนั้น ทำจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งหมด ทำธรรมะในจิตของเราให้เข้ากัน ก็จะทำให้เกิดการตรัสรู้ธรรมได้
Q : ต้องเดินอานาปานสติถึงขั้นไหนจึงเกิดปีติสุข?
A : เราฝึกเพื่อให้มีสติ ไม่ได้จะเอาอย่างอื่นจะเกิดอย่างอื่นหรือไม่เราไม่ได้เอาตรงนั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 06 Apr 2024 - 55min - 351 - ตรงผัสสะมีรอยต่อ [6713-7q]
Q : กิเลสมักเกิดขึ้นในใจ ในรูปแบบของความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำใช่หรือไม่?
A : กิเลสเกิดจากจิตที่มีอวิชชาแฝงอยู่แล้วไม่มีสติรักษาเมื่อมีผัสสะมากระทบก็จะปรุงแต่งไปตามสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจออกมาในรูปแบบความคิดคำพูดการกระทำและเมื่อปรุงแต่งออกไปแล้วก็จะมีอาสวะกลับเข้ามาในจิต
Q : มีสติ หมั่นตามเห็นความคิด (สัญญา) ที่ผ่านเข้ามา และเลือกที่จะไม่ตามมันไป จะช่วยให้เราไม่ตามและขูดเกลากิเลสได้ใช่หรือไม่?
A : การที่เราแยกแยะได้รู้ว่าสิ่งนี้ดีสิ่งนี้ไม่ดีความรู้นั้นเป็น “สัมมาทิฐิ” เมื่อเรามีปัญญามีความเพียรมีสติสมาธิกิเลสก็จะอยู่ไม่ได้
Q: แนวทางจากคำถามข้างต้น คือ มรรค8 คือ สัมมาสังกัปปะ ใช่หรือไม่?
A : ล้วนเป็นแนวทางของมรรค8 ตามกันมา เราทำอันใดอันหนึ่งก็จะตามกันมาหมด ซึ่ง มรรค8 คือ ทางเดียว ที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง ไม่ใช่ทาง 8 สาย
Q: การเข้าฌานกับขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เกี่ยวกันอย่างไร?
A : ฌานคือกิริยาการเพ่งจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งส่วนขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ, อัปปนาสมาธินั้นเป็นระดับความลึกของสมาธิถ้าทำได้ไม่นานจัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ถ้าพอจะเป็นที่อยู่ได้จัดเป็น “อุปจารสมาธิ” ถ้าทำสมาธิได้ลึกซึ้งนานจัดเป็น “อัปปนาสมาธิ”
Q : สามารถตั้งสติหรือสมาธิจนถึงรอยต่อที่เราจะหลับไป ได้หรือไม่?
A : ความตายเกิดขึ้นได้ตลอดไม่ใช่แค่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อตรงไหนมีผัสสะตรงนั้นมีรอยต่อเป็นกระแสเกิดและดับสิ่งสำคัญคือเมื่อกระแสดับแล้วจิตเราจะระลึกถึงอะไรคว้าอะไรเราจึงควรทำดีมีสติฝึกทำอยู่ตลอดตรงไหนที่กังวลใจก็ให้กำจัดอาสวะส่วนนี้ออกสมาธิเราก็จะเต็มก็จะไปขั้นสูงขึ้นไปได้อีก
Q : ป่วยด้วยอาการทางสมองปุถุชนกับอริยะบุคคลต่างกันอย่างไร?
A : เหมือนกันที่ทางกายบกพร่องทางสมองต่างกันที่อริยะบุคคลมีอุบายในการออกจากทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกายนั้นท่านจะรักษาจิตไว้ได้ไม่ไปหาความสุขทางกามส่วนปุถุชนนั้นจะกังวลใจอยู่ไม่ผาสุกเพราะไม่มีสติรักษาไม่มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง
Q : ควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้จิตไปอบายภูมิ?
A : เราต้องรักษาจิตเราให้ดีฝึกสติเห็นไปตามจริงอะไรที่ต้องบรรลุต้องทำให้ถึงเมื่อถึงเวลานั้นเราจะเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้
Q : อนมตัคคปริยายสูตรน้ำตาเปรียบด้วยมหาสมุทร
A : เราทุกข์เพราะไม่เห็นอริยสัจสี่ให้เราตั้งสติให้ดีเห็นในความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ให้ระลึกถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์และศีลสี่อย่างนี้จะพาให้เราสู่กระแสนิพพานเป็น “โสตาปัตติยังคะ4” ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 30 Mar 2024 - 56min - 350 - อัปปมัญญา 4 [6712-7q]
Q : ที่มาของ “ข้าวก้นบาตรพระ”
A : คืออาหารที่เหลือจากการพิจารณาของพระได้มาจากสัมมาอาชีวะเป็นอาหารที่เกิดจากบุญจากศรัทธาของผู้นำมาถวายจากผู้รับคือพระสงฆ์พิจารณาแล้วจึงบริโภคอาหารนี้จึงเป็นอาหารทิพย์
Q : รักษาจิตด้วยอัปปมัญญา พรหมวิหาร และทิศทั้ง 6
A : “อัปปมัญญา” คือ การพ้นที่อาศัยพรหมวิหาร 4 ได้แก่ 1) เมตตาเจโตวิมุต จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ในจิตใจเรา ผลคือจะทำให้เกิดความสุขที่หลุดพ้นสุขในภายใน (สุภวิโมกข์) 2) กรุณาเจโตวิมุต จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ผลคือ จะทำให้เกิด “อากาสานัญจายตนะ” 3) มุทิตาเจโตวิมุต จะกำจัดความไม่ยินดีในความสำเร็จของเขา ผลคือจะทำให้เกิด “วิญญานัญจายตนะ” 4) อุเบกขาเจโตวิมุต จะกำจัดราคะในจิตใจเราถ้าเขาได้ไม่ดี ให้เราวางเฉย อุเบกขา ผลคือจะทำให้เกิด “อากิญจัญญายตนะ” จะมีผล มีอานิสงค์ ละธรรมะที่เป็นเสี้ยนหนาม 4 ประการนั้นได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 23 Mar 2024 - 54min - 349 - ปัจจัยในการบรรลุธรรม [6711-7q]
Q : ปัจจัยการบรรลุธรรม?
A : ตัวเราสำคัญที่สุด เพราะการบรรลุธรรมอยู่ที่จิต ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งกัลยาณมิตรและสถานที่ที่มีผลทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นสิ่งที่รองลงมา ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ไม่ดี จิตใจไม่สงบ อาสวะเพิ่ม เราไม่ควรอยู่ตรงนั้น แต่หากอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ดี จิตใจสงบ อาสวะที่ละไม่ได้ก็ละได้ ให้อยู่ตรงนั้นไปตลอดชีวิต
Q : การสร้างศรัทธาขึ้นมาทำอย่างไร?
A : ศรัทธามีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย คนที่ถูกความทุกข์ครอบงำแล้วแสวงหาทางออกของทุกข์ ศรัทธาจะเกิด เมื่อเราแสวงหาทางออกด้วยศรัทธา คือ ศรัทธาใน “ธัมโม” หมายถึง กระบวนการวิธีการคือ มรรค8 ศรัทธาใน “พุทโธ” หมายถึง ผู้ที่บรรลุแล้วมีพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ศรัทธาใน “สังโฆ” หมายถึง การปฏิบัติของตัวเราว่า ถ้าคนอื่นเค้าทำได้ เราก็ต้องทำได้ ศรัทธาแล้วมีความเพียร ทำจริง แน่วแน่จริง เกิดสมาธิ ตั้งทิฐิไว้ชอบ ก็จะทำให้เกิดปัญญา ปล่อยวางได้ บรรลุธรรมได้
Q : มีความคิดปรุงแต่งมากจะเรียกว่าฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ?
A : อยู่ที่ว่าคิดปรุงแต่งแล้วกิเลสเพิ่มหรือลด ทั้งมิจฉามรรคหรือสัมมามรรคล้วนเป็นสังขตธรรม แต่ที่ไปคนละทาง สมาธิไม่ใช่ไม่คิดอะไรเลย มีลำดับขั้นของมัน
Q : ศีล ศรัทธา ไม่ครบไม่มั่นคง จะเริ่มปฏิบัติได้อย่างไร?
A : ศรัทธาจะเกิดเมื่อเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ที่ควบคู่กับปัญญาจึงจะเห็นธรรม ควรมีกัลยาณมิตรแนะทางให้
Q : ใครเป็นอรหันต์
A : เป็นเรื่องยากที่ฆราวาสผู้ชุ่มอยู่ด้วยกามจะพึงรู้ จะดูแต่เพียงภายนอกไม่ได้ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยวาจา กำลังจิตพึงรู้ได้เมื่อมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการตอบ ที่สำคัญ คือ ตอบตัวเองได้หรือไม่ว่าเป็นอรหันต์หรือยัง
Q : เมื่อมีความกังวลใจ แล้วต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีวิธีพิจารณาอย่างไร?
A : ความกังวลจะทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ ควรมีศีล ศรัทธา สติตั้งไว้ พิจารณาปัจจุบัน ด้วยความเป็นของง่อนแง่น คลอนแคลน พอเราไม่กังวล เราจะละความยึดถือได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 16 Mar 2024 - 52min - 348 - พลังสติ [6710-7q]
Q: เป็นคนชอบคิดมาก ควรแก้ไขอย่างไร?
A : ความคิดแยกเป็น 2 นัยยะ นัยยะแรกคือคิดเยอะ เช่น คิดด้านการงาน มีไอเดียในการคิดทำสิ่งต่าง ๆ ส่วนนัยยะที่สองคือคิดมาก เช่น ย้ำคิดย้ำทำ คิดปรุงแต่งมากเกินไป หดหู่ น้อยเนื้อต่ำใจ คิดวนลูป ไปในแนวอกุศล ซึ่งพอคิดมาก ๆ เข้า อาจจะเป็นซึมเศร้าได้ ซึ่งทั้งสองนัยยะนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ คิดมากเหมือนกัน วิธีแก้จึงเหมือนกัน คือ ให้เราตั้งสติ แยกจิตออกจากความคิดให้ได้ ท่านบอกว่า “หู ตา จมูก ลิ้น กาย มีใจเป็นที่แล่นไปสู่” เพราะฉะนั้น ทางใจจึงต้องมีสติเป็นตัวจัดระเบียบ เราจะเพิ่มพลังสติได้ ต้องใช้เครื่องมือ คือ “อนุสติ 10” เพื่อให้สติเรามีกำลัง เมื่อสติมีกำลัง จิตเราจะสามารถแยกออกจากความคิดได้
จิต ใจ ความคิด เป็นคนละอย่างกัน แม้ความคิดจะมีมา มันก็จะไม่เนื่องกัน เปรียบดังน้ำกลิ้งบนใบบัว ความคิดนั้นมันจะมาสะเทือนจิตเราไม่ได้ คือ มีความคิดนั้นอยู่ แต่มันไม่เข้าถึงใจ คือไม่สะเทือนจิต
Q: สติ สมาธิ ความสงบ สัมพันธ์กันอย่างไร?
A : สติ สมาธิ ความสงบ เป็นนามธาตุที่เกิดขึ้นในช่องทางใจ / สติ หมายถึงการระลึกรู้ได้ในนามธาตุต่าง ๆ หรือระลึกรู้ได้ในนิวรณ์ 5 สติจะทำให้นิวรณ์ 5 อ่อนกำลัง เมื่ออ่อนกำลังแล้วจะทำให้เกิดความสงบเกิดขึ้นได้ (สมถะ)
สติจะเกิดขึ้นก่อนสมาธิเสมอ สัมมาสติจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ สมาธิในความหมายที่ท่านทรงกำหนดไว้ จะประกอบด้วยสมถะ (ความสงบ) และ วิปัสสนา (การใคร่ครวญ ให้เกิดรู้แจ้งในสังขารทั้งหลาย)
Q: การวางเฉยต่างจากการไม่ใส่ใจอย่างไร?
A : แตกต่างกันตรงที่ปัญญา ความไม่ใส่ใจ จะมีโมหะเป็นตัวครอบงำอยู่ แต่อุเบกขา จิตจะประกอบด้วยปัญญา มีความ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
Q: การนั่งสมาธิโดยกำหนดอานาปานสติแล้วใคร่ครวญธรรมะไปด้วย ปฏิบัติแบบนี้ถูกหรือไม่?
A : ไม่ผิด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีการสอดรับลงรับกันทั้งหมด อนุสติ 10 จึงเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น
Q: ขณะภาวนาเกิดจิตฟุ้งซ่าน ควรหยุดการปรุงแต่งความคิดหรือปล่อยความคิดไปตามธรรมชาติ?
A: เมื่อสติมีกำลังจะทำให้เกิด สมาธิ สมาธิประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา หากวิปัสสนาเกินกำลังของสมถะจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน และหากสมถะเกินกำลังของวิปัสสนา จะทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อนเกียจคร้าน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 09 Mar 2024 - 53min - 347 - ความต่างของการเสี่ยงทาย/การบนบาน [6709-7q]
Q : ทำไมการเสี่ยงทายหรือการบนบาน จึงเป็นการให้กําลังใจได้?
A : กำลังใจเกิดได้เพราะศรัทธา กำลังใจหมายถึง “วิริยะ” แปลว่าความกล้า วิริยะหมายถึงกำลังใจ การที่จะลงมือทำได้ มีกำลังใจได้ ต้องมีศรัทธา ส่วนการบนบานนั้นเกี่ยวด้วยอามิส การอ้อนวอน ขอร้อง ดังนั้น การที่เราจะมีศรัทธาเรื่องอะไร ต้องมีปัญญามาด้วยเสมอ เพราะถ้ามีศรัทธาแล้ว จะเกิดการลงมือทำ ถ้าศรัทธาที่ไม่มีปัญญามาประกอบ การลงมือทำนั้นจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดพลาดได้ ถ้ามีศรัทธาแล้วมีปัญญาประกอบ การลงมือทำนั้นจะเป็นเรื่องที่ถูกต้อง การลงมือทำคือ “สัมมาวายามะ” ลงมือทำตามมรรค 8 ปัญญาที่เอามาเปรียบเทียบ ก็ต้องเทียบกับอริยสัจสี่, มรรค8 เมื่อปัญญานั้น อยู่ในความเชื่อนั้น การลงมือทำนั้น จึงเป็นเรื่องที่เป็นกุศลธรรม
Q : ศรัทธาเพิ่มกำลังใจ ให้ทำจริงแน่วแน่จริง
A : เมื่อเรามีศรัทธาคือความเชื่อ ทำให้เกิดการลงมือจริงแน่วแน่จริง จะทำให้เกิดปัญญา เป็นกุศลธรรม แต่หากมีความเชื่อ แต่ไม่ลงมือทำ มีเพียงการอ้อนวอน ขอร้อง จะเป็นลักษณะของผู้ที่ประมาทในธรรม คือ การประมาทในเหตุ ถ้าเราต้องการผล แต่เราไม่สร้างเหตุ จะเป็นความขี้เกียจ ที่เอาแต่อ้อนวอนของร้องคือเอาแต่ผลไม่สร้างเหตุ ซึ่งเหตุและผลนั่นคือปัญญา ปัญญาจึงเป็นเหตุผลที่ต้องประกอบกับความเชื่อ ซึ่งความเชื่อ คือศรัทธาที่จะทำให้เกิดการลงมือทำในเหตุ เหตุที่ทำให้เกิดการลงมือทำจริงแน่วแน่จริง ไม่ประมาทในเหตุ ผลจึงออกมาเป็นการบรรลุธรรมได้
Q : การตามหาความจริงตามหลักกาลามสูตร
A : ความเชื่อ การที่เราจะเชื่อว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่จริงนั้น ในการตามหาความจริง เราต้องตั้งจิตไว้ก่อนว่าเรื่องนี้อาจจะไม่จริงก็ได้ หากเราจะตามรักษาซึ่งความจริง อย่าพึ่งปักใจเชื่อว่าสิ่งนี้เท่านั้น สิ่งอื่นเปล่า ทางสายกลาง ไม่ใช่ว่าสุดโต่งไปด้านใด ด้านหนึ่ง เราต้องตามดูเหตุ ประกอบด้วยปัญญา เราต้องมีปัญญาในการเห็น มีปัญญามาจับกับความเชื่อนี้ หากความเชื่อที่ว่าไม่จริงแล้วเกิดกิเลส ความเชื่อว่าไม่จริงก็ไม่ถูก เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญามองเห็นว่าสิ่งนั้นทำให้เกิดกิเลสหรือไม่ เกิด ราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 02 Mar 2024 - 57min - 346 - สังโยชน์ 10 ประการ [6708-7q]
Q : การฝึกสมาธิแบบไม่มีเสียงอะไรเลยกับฟังธรรมะไปด้วย มีผลแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร?
A : เราควรฝึกให้ชำนาญทั้ง 2 แบบ เราทำได้ตรงไหน ให้ทำตรงนั้นก่อน แล้วฝึกให้ชำนาญยิ่ง ๆ ขึ้นไป พอชำนาญแล้ว โอกาสที่เราจะบรรลุธรรมก็จะเพิ่มขึ้น เพราะจุดที่จะบรรลุธรรม คือ จุดที่มีผัสสะ หากมีผัสสะแล้ว เราสามารถรักษามรรค 8 ได้ ตรงนั้นจะเป็นโอกาสที่เราจะบรรลุธรรม
Q : จากข่าวเสื่อมเสียทางพุทธศาสนา ทำให้ทางบ้านคัดค้านเรื่องทำบุญ จะแก้ไขอย่างไร?
A : การทำบุญนั้นไม่ได้มีเพียงการให้ทานเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องทำที่วัด ทำบุญที่ไหนก็ได้ ทำในที่ที่เรามีศรัทธา ให้รอเวลาที่เหมาะสม แล้วค่อยชี้แจงกับเขา ค่อย ๆ อธิบายให้เขาเข้าใจว่า ข่าวที่เสื่อมเสียหมายถึงผู้ปฏิบัติ ส่วนคำสอนนั้นไม่ได้เสื่อม ผู้ทำตามคำสอนต่างหากจะทำตามได้หรือไม่ อย่าเหมาทั้งหมด เมื่อเขาเข้าใจ เป็นการเพิ่มปัญญาให้กับบุคคลอื่น เราก็จะได้บุญด้วย
Q : การบรรลุโสดาบันคืออะไร?
A : โสดาบัน หมายถึง ผู้เข้าสู่กระแส / อุปมาดัง เราออกจากฝั่งที่มีอันตรายเต็มไปด้วยความทุกข์มาถึงกระแสกลางแม่น้ำ สามารถหลบหลีกอุปสรรคเครื่องทดสอบ เกาะกระแสแม่น้ำไปเรื่อย ๆ จนไปสู่ปากน้ำ ซึ่งปากน้ำในที่นี้หมายถึงนิพพาน
Q : นำสังโยชน์ 10 ประการ มาใช้ในชีวิตได้อย่างไร?
A : สังโยชน์คือเครื่องร้อยรัด ให้จิตของเรายังอยู่ในภพ, สังโยชน์ 10 ประการ ได้แก่
1. สักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่าขันธ์เป็นตัวตน/ยึดถือว่าสิ่งนี้เป็นตัวตน
2.วิจิกิจฉา คือความเคลือบแคลง ความลังเล ความเห็นแย้ง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3.สีลัพพตปรามาส คือความยึดมั่นอยู่ในศีลและพรต ที่ไม่ใช่ที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นสิ่งที่ไม่ได้จะทำให้บรรลุ ซึ่งหากละสังโยชน์ทั้ง 3 อย่างนี้ได้ จะเป็นลักษณะของอริยบุคคลขั้น “โสดาบัน”
4.กามราคะคือความพอใจ
5.ปฏิฆะ คือความขัดเคือง ไม่พอใจ หากละสังโยชน์ทั้ง 5 อย่างนี้ได้ จะเป็นลักษณะของอริยบุคคล ขั้น “อนาคามี”
6.รูปราคะ คือพอใจในสมาธิขั้นรูป
7.อรูปราคะ คือพอใจในสมาธิขั้นอรูป (รูปราคะกับอรูปราคะไม่เหมือนกับกามราคะ คนที่ติดสมาธิ จะมาติดอยู่ตรงนี้)
8. มานะ คือความถือตัว
9. อุทธัจจะ คือความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชาคือความไม่รู้ในอริยสัจสี่
หากละสังโยชน์ทั้ง 10 อย่างได้ จะเป็นลักษณะของ “พระอรหันต์”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 24 Feb 2024 - 55min - 345 - สังขตธรรม | อสังขตธรรม [6707-7q]
Q : ได้ฟังสวดอภิธรรม เมื่อตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่?
A : การสวดอภิธรรมพึ่งมีในสมัยนี้ เป็นพิธีของคนเป็น ตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการรักษาจิต ว่าเราระลึกถึงความดีของเราได้หรือไม่
Q : เมื่อข้อปฏิบัติละเอียดขึ้น กิเลสละเอียด ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจก็จะแสดงออกมา เข้าใจถูกหรือไม่?
A : เราจะไม่สามารถเห็นกิเลสอย่างละเอียดได้ หากเรายังไม่กำจัดกิเลสอย่างหยาบ ซึ่งเราจะเห็นกิเลสอย่างละเอียดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติที่ละเอียดลงไป เมื่อข้อปฏิบัติของเราละเอียดลงไป จิตก็จะละเอียดตาม เราก็จะเห็น กิเลสอย่างละเอียด ๆ ที่ซ่อนอยู่ในจิตใจเรา
Q : กฎไตรลักษณ์เรื่องของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใช้กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติเท่านั้นหรือรวมถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วย?
A : เราใช้ “กฎไตรลักษณ์” เป็นการแบ่ง 1. “สังขตธรรม” คือ ธรรมะที่มีการปรุงแต่งได้ ทุกสิ่งที่ปรุงแต่งได้ โดยปรุงแต่งจากรูปแบบหนึ่งให้สำเร็จรูปโดยความเป็นรูปอีกแบบหนึ่ง ทั้งที่มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ ซึ่งก็คือระบบของสังสารวัฏนี้ 2. “อสังขตธรรม” คือ ธรรมะที่ไม่มีการปรุงแต่งแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่มีการเกิดปรากฏ ไม่มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่แล้วไม่มีภาวะอื่นปรากฏ (นิพพาน)
Q : การภาวนาที่เป็นแบบฉบับตนไม่เหมือนคนอื่น จัดเป็นอนุสติเฉพาะตนตามแนวธรรมะของพระพุทธองค์หรือไม่?
A : ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอน ท่านชำนาญวิธีไหน ท่านก็สอนตามวิธีที่ท่านรู้ ให้เราก็นำมาเทียบเคียงกับหลักคำสอน ดูว่าใกล้เคียงกัน ลงรับกันได้ตรงไหน สิ่งที่ท่านตรัสรู้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่ว่าใครจะสอนเรื่องอะไรก็จะจัดเข้าอยู่ใน 4 อย่างนี้ การที่เราบริกรรมเราไม่ได้เอาที่คำบริกรรม แต่เราจะเอาสติ โดยการใช้คำบริกรรมเป็นเครื่องมือ “นิพพาน” มีทางปฏิบัติเข้ามาได้โดยรอบ ไม่ได้มีทางเดียว อยู่ที่ว่าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไหม อย่าสับสน ให้เอาสักทางหนึ่ง
Q : เรามีชีวิตเพื่ออะไร?
A : ไม่ว่าเราคิดเรื่องอะไรก็ตาม ความคิดทั้งหมด มักจะมีอารมณ์ติดอยู่กับความคิดนั้นเสมอ หากเราคิดด้วยอารมณ์ เราไม่เจอทางออก แต่หากเราคิดด้วยปัญญาว่าทำไมจึงเกิด เพราะอะไรมี ความเกิดจึงมี ความเกิดมีได้เพราะอะไร พอเราคิดแบบนี้ เราจะหาวิธีพ้นทุกข์ ซึ่งเราจะพ้นทุกข์ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเข้าใจทุกข์ด้วยปัญญาแล้วเราจะพ้นทุกข์ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 17 Feb 2024 - 57min - 344 - สมาธิ เจริญได้ เสื่อมได้ [6706-7q]
Q : การศึกษาพุทธศาสนามี 2 ด้าน หรือมีด้านเดียว?
A : พิจารณาได้ทั้ง 2 นัยยะ นัยยะแรกพิจารณา 2 ด้านคือ พิจารณาทั้งประโยชน์และโทษ อีกนัยยะหนึ่ง พิจารณาด้านเดียว คือพิจารณาทางสายกลาง/มรรค 8 เมื่อพิจารณาแล้วเข้าใจในข้อที่เป็นทางสายกลาง กิเลสก็จะลดลง
Q : สมาธิเสื่อมได้หรือไม่ เกิดจากเหตุปัจจัยใด?
A : สมาธิเกิดจาก เหตุ, เงื่อนไข, ปัจจัย สิ่งใดที่เกิดจาก เหตุ, เงื่อนไข, ปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สมาธิเมื่อเกิดได้ก็เสื่อมได้ / เหตุแห่งการเสื่อมสมาธิ อาจเพราะกายเมื่อยล้า, คลุกคลีมาก สามารถทำให้เจริญได้ด้วย การไม่ยินดีในการเอนกาย รู้จักหลีกเร้น การปฏิบัติตามมรรค8 จะช่วยปรับให้ไปตามทาง รู้จักเอาประโยชน์ หลีกออกจากโทษได้
Q : ขณะนั่งสมาธิ รู้สึกเคลิ้มจนลืมภาวนา ลืมลมหายใจ ขาดสติหรือไม่?
A : ลืม เผลอ เพลิน คือ ขาดสติ ให้เราตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เห็นความเกิดขึ้น ความดับไป ฝึกให้ชำนาญ ในการเข้า ในการดำรงอยู่และในการออก ทำบ่อยๆ เพ่งอยู่ตรงนี้ เราจะรู้ตัวทั่วพร้อม รู้พร้อมเฉพาะ ในการที่ความคิดนั้นดับไป
Q : ขณะบริกรรมพุทโธ ครูอาจารย์ก็เทศน์สอนด้วย เราควรเอาสติไปจับอยู่กับอะไร?
A : ตั้งสติอยู่กับโสตวิญญาณ (การรับรู้ทางหูด้วยเสียง เกิดในช่องทางใจ )
Q : นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่าน รู้สึกเบื่อท้อ ไม่อยากนั่งต่อ ควรแก้ไขอย่างไร?
A : ให้พิจารณาเอาจิตจดจ่อ ตรงที่เราทำได้ จิตก็จะน้อมไปทางนั้น จิตเราเมื่อ “น้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง” หากเราตริตรึกแต่ตรงที่ฟุ้งซ่าน ท้อแท้ จิตเราจะไปในทางอกุศล
Q : ผู้ปฏิบัติดี มีสมาธิมั่นคง เมื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์คือการหลุดพ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อไปอีก?
A : ท่านยังต้องปฏิบัติอยู่ ยังมีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ แต่เหตุผลในการปฏิบัติ ไม่เหมือนเดิมคือ เหตุที่จะต้องทำเพื่อหลุดพ้น ไม่ต้องแล้ว เพราะหลุดพ้นแล้ว สำเร็จแล้ว
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 10 Feb 2024 - 55min - 343 - จุดที่กลับตัวไม่ทัน [6705-7q]
Q : สุขอย่างไรไม่ประมาท
A : เวลาที่เรามีความสุขความสำเร็จ เราไม่ควรประมาท เพราะจะมีอาสวะบางเหล่า ที่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุณมีชื่อเสียง มีลาภยศสักการะ หากเราเพลินเราพอใจไปในความสุขความสำเร็จ จะเกิด “อกุศล” / ถ้าเรามี “สุขเวทนา” แล้วเรายินดีพอใจ เพลิดเพลิน ลุ่มหลง นี่เป็น “อกุศล” คือเราประมาท ถ้าไม่ประมาท คือ เราจะเห็นด้วยปัญญาตามความจริงว่า “สุข” นี้เป็นของไม่เที่ยง เราก็จะไม่ลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมาในสุขที่เกิดขึ้นนั้น พอเราไม่ลุ่มหลง ไม่เพลิดเพลิน ไม่มัวเมา นั่นคือ “กุศลธรรม”
Q : แยกแยะ ดี ไม่ดี, สุข ทุกข์, กุศล อกุศล
A : “สุข” คนมักจะเชื่อมโยงความสุขกับความดี/กุศล และ “ทุกข์” คนมักจะเชื่อมโยงกับ “ความ ไม่ดี/อกุศล” ซึ่งมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป ซึ่งหากเรามี “ทุกขเวทนา” มากระทบแล้วเราสามารถอดทน มีเมตตา พูดดี ๆ กลับไปได้ ทุกขเวทนานั้นกลับทำให้เกิด “กุศล” หากเรามี “สุขเวทนา” มากระทบแล้ว เราเพลินพอใจลุ่มหลงไปในมัน สุขเวทนานั้นจะทำให้เกิด “อกุศล” ได้ และหากเรามีสุขเวทนาแล้วเราเห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่า “สุขเวทนา มันเป็นของไม่เที่ยง” เห็นด้วยปัญญา จิตเราก็จะเกิดกุศลได้ อยู่ที่เราตั้งสติ พอเรามีสติ เราก็จะไม่ประมาท จะไม่เพลินไปในทุกข์หรือสุข ตั้งอยู่ในกุศลได้
Q : จุดที่กลับตัวไม่ทันแล้ว (Point of No return)
A : จะเป็นจุดหนึ่งที่เรากลับตัวไม่ทันแล้ว คือทำไปมากจนเลยจุดกลับตัวแล้ว ซึ่งจุดนี้แต่ละคนไม่เท่ากัน เช่น เราประมาททำสิ่งที่เป็นความชั่วอยู่เรื่อย ๆ มันจะแก้ยาก มันจะกลายเป็นผิดพลาด แม้จะทำความชั่วเพียงนิดหน่อยก็จะให้ผลเร็วเพราะมันจะถึงจุดที่ว่ากลับไม่ทันแล้วทำชั่วมามากแล้ว สำหรับในบางคนที่ทำความชั่วแล้วความชั่วให้ผลช้า นั่นเป็นเพราะบุญยังรักษาเขา หากคนที่มีบุญน้อยแล้วมุ่งมั่นทำความดี ความดีก็จะให้ผลเช่นกัน ถ้าความดีที่เราทำยังไม่ให้ผล นั่นก็เป็นเพราะความชั่วให้ผลอยู่ เพราะฉะนั้นเราอย่าประมาท
Q : ทางเลือก
A : คนเราเมื่อมีทุกข์เกิดขึ้นแล้ว จะมีทางเลือก 2 ทาง คือ 1) ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุบอก ชกตัว ถึงความเป็นผู้งุนงง พร่ำเพ้อ มีอกุศลกรรมเกิดขึ้น หรือ 2) เขาจะคิดว่าใครหนอที่จะรู้ทางออกจากความทุกข์นี้สักหนึ่งหรือสองวิธี ใครหนอที่จะชี้ทางให้ เป็นกัลยาณมิตรให้ นี่จะเป็นผลของความทุกข์ที่มันจะเกิดขึ้น เป็นกุศลได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 03 Feb 2024 - 52min - 342 - ความเท่าเทียมของบุญและบาป [6704-7q]
Q : คำถามในวันงาน 21 ม.ค. เกี่ยวกับมูลนิธิปัญญาภาวนาและกิจกรรม
A : มูลนิธิปัญญาภาวนาเกิดขึ้นเพื่อความสะดวกในการจัดการระบบการจัดรายการธรรมะ
Q : ค่าของคนไม่เท่ากัน? คนรวยคนจนทำบุญได้บุญไม่เท่ากัน? วัดจากอะไร?
A : พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยะเจ้า ท่านจะไม่คิดว่า คนที่อยู่ในวรรณะสูง เมื่อทำบาปแล้วจะบาปน้อยกว่าคนที่อยู่วรรณะต่ำ หรือคนที่อยู่ในวรรณะต่ำ เมื่อทำบุญแล้วจะได้บุญน้อยกว่าคนที่อยู่ในวรรณะสูง เพราะบาปก็คือบาป บุญก็คือบุญ ท่านมีความเข้าใจเรื่องนี้ จึงไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ นั่นคือบุญและบาปมันก็เป็นของมันเหมือนเดิม ไม่ว่าจะวรรณะสูงหรือต่ำก็ตาม ดังนั้น อะไรก็ตาม ที่เมื่อมีการนำมาเปรียบเทียบกัน แล้วเราจะหาความยุติธรรมในสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นเราจะหาไม่เจอ เราจึงต้องมีแนวทาง ซึ่งท่านให้ไว้เป็น 3 ส่วนคือ
1) การกระทำทางกาย วาจา ใจ
2) กรรมและผลของกรรม ซึ่งกรรมและผลของกรรมนั้นเป็นคนละอย่างกัน คือ หากเราทำกรรมใด เราจะได้รับ ”ผล” ของกรรมอย่างนั้น
3) ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คือ ทำดีได้ดี ดีตรงที่ได้ทำ ได้ผล ซึ่งผลบางทีอาจจะออกตอนนั้น ในเวลาต่อมา บางทีให้ผลช้า ให้ผลเร็ว บางทีให้ผลมาก ให้ผลน้อย ไม่เท่ากัน หากเราทำความดีแล้วถูกสาบแช่ง ความดีก็เป็นของเราอยู่ดี ไม่ใช่ว่าเราจะได้ไม่ดีตามที่เขาสาบแช่ง
ในทางพุทธศาสนาไม่ได้สอนว่าใครเป็นเจ้าของใคร เพราะฉะนั้น คำว่าเจ้ากรรมนายเวรจึงไม่มี มีแต่คำว่า “ผูกเวร” ซึ่งการผูกเวรหรือการให้อภัย ก็เป็นเรื่องของบุคคลนั้นๆ ที่จะปรารภกับบุคคลอื่น แล้วเราจะให้อภัยหรือเราจะผูกเวรเท่านั้นเอง
Q : ชี้แจงอย่างไรต่อข่าวเสื่อมเสียของพุทธศาสนา ต่อศรัทธาที่ไม่ตรงกัน?
A : ความเสื่อมเสียเกิดขึ้นจากการที่ผู้นำไปทำนำไปปฏิบัติ ทำไม่ดี ปฏิบัติไม่ดี ไม่ใช่คำสอนไม่ดี แต่พอมีคนทำแบบนี้ มันจึงเสื่อมศรัทธา เราควรศรัทธาที่ระบบ ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา คือ ศรัทธาในพระพุทธ คือ ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า ศรัทธาในพระธรรม ไม่ใช่ศรัทธาที่เล่มพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ แต่ศรัทธาที่หลักคำสอน ศรัทธาในพระสงฆ์ คือ ไม่ใช่ศรัทธาที่พระนามว่าอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ให้ศรัทธาที่การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และหากได้ยินข่าวที่พระทำเสื่อมเสีย ก็อย่าเหมารวมว่าพระทุกรูปจะไม่ดีอย่างนั้นไปด้วย
Q : ทำใจอย่างไร ถ้ามีคนทักว่า "หมดบุญแล้วจึงนอนติดเตียง"?
A : ความดีอยู่ที่ตัวเรา จะดีหรือชั่ว ไม่ได้อยู่ที่คำพูดของคนอื่น เราควรกระทำกรรม ทางกาย วาจา ใจ ให้ไปทางเดียวกัน เพราะยิ่งเราทำความดีมาก เราก็จะละความไม่สบายใจนี้ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 27 Jan 2024 - 52min - 341 - ธรรมะรับอรุณ Live 21 ม.ค. 2567 - ธรรมะยิ่งปฎิบัติ ยิ่งเจริญ [6703-7q_Live]
Q : กุศลและอกุศลกรรรมบทในปัจจุบัน ?
A : ท่านเคยเทศน์ไว้ว่า ในสมัยต่อมา อกุศลจะเจริญขึ้น กุศลจะเสื่อมลงไป โลกเราจะมีราคะโทสะโมหะเพิ่มมากขึ้น หมายถึงช่องที่จะรอดไปสู่นิพพานก็จะมีน้อยลง มนุษย์ช่วงนี้เป็นขาลง จิตใจจะแย่ลง พระพุทธเจ้าจึงอุบัติขึ้นเพื่อหาทางว่าจะไปยังไง พ้นได้อย่างไร ซึ่งไม่ว่าโลกนี้จะเป็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือ วันนี้เราควรทำความดี เพราะโลกจะดีขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่ได้ทำความดี ซึ่งเมื่อเราทำความดีแล้ว ก็มีแนวโน้มที่เราจะชักนำคนรอบข้างไปทำความดีได้ ทำกุศลให้เกิดขึ้น
Q : ศีล 8 กับ ผู้ครองเรือน ?
A : “ศีล” เป็นไปเพื่อความไม่ร้อนใจ ยิ่งศีลเราละเอียดมากขึ้น กระบวนการที่จะทำให้เราเข้าสมาธิได้ ก็จะง่าย ก็จะช่วยเหลือกัน ซึ่ง ศีล 8 ก็จะมีอานิสงค์มากกว่า ศีล 5 แน่นอน ค่อย ๆ ทำไป ค่อย ๆ เพิ่ม จากศีล 5 เป็นศีล 8 จนทำเป็นปกติ
Q : เข้าใจสุขเวทนาและทุกขเวทนา ?
A : ความสุขความสำเร็จเป็นลักษณะของ สุขเวทนา คือ เป็นความทุกข์ที่ทนได้ง่าย ในขณะที่ ทุกขเวทนา เป็นทุกข์ที่ทนได้ยาก ซึ่งไม่ว่าสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าเราเข้าใจว่าสุขคือสุข ตรงนี้เราจะเพลิน หลงไหล แล้วจะประมาทและสร้างอกุศลได้
Q : ทำไมคำสอนเหมือนกัน แต่ปฏิบัติไม่เหมือนกัน?
A : ในศาสนานี้ มีผู้สอนคนเดียวคือพระพุทธเจ้า การสอนกับการปฏิบัติ คนละอย่าง เปรียบดัง แผนที่กับคนเดินตามแผนที่ ซึ่งคนเดินตามแผนที่ ปัญญาไม่เหมือนกัน การปฏิบัติแตกต่างกัน ให้ดูที่แนวทางการปฏิบัติ ถ้าเป็นไปในแนวทาง ศีล สมาธิ ปัญญา เช่นนี้ก็จะปฏิบัติไปได้ ไม่สับสน
Q : เข้าใจธรรม เข้าใจความเสื่อมของสังขาร
A : คำว่า อุปะ แปลว่า ผู้ที่เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ คำว่า อุบาสก,อุบาสิกา คือ ผู้ที่เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้ เข้าไปฟัง เมื่อเราทำเช่นนี้ เราก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น ความทุกข์เราก็จะลดลง ซึ่งไม่ใช่ว่าเราอาจจะรวยมากขึ้น โรคภัยอาจจะหายหรือไม่หาย แต่เราจะมีความสุขได้ เป็นความสุขที่เหนือกว่า สุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เป็นสุขในภายในได้
Q : ปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยธรรม
A : การนำธรรมะมาทำ นำมาปฏิบัติ จะทำให้เกิดความก้าวหน้า เกิดปัญญาละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
Q : ความเป็นมงคลของเรือนที่มี อาหุเนยยะบุคคล
A : ในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ ชื่อว่าในเรือนนั้นมี “อาหุเนยยะบุคคล” คือ บุคคลที่ควรเคารพกราบไหว้ เป็นมงคลกับเรือน เมื่อเวลาเรามีเมตตา มุทิตา อุเบกขา กรุณา มีจิตใจดีแล้ว สิ่งที่อยู่รอบ ๆ ก็จะดีขึ้น ผัสสะที่น่าพอใจก็จะตามมา
Q : ความขัดแยังในครอบครัว
A : มันเป็นเงื่อนไขการดำเนินชีวิต เมื่อมีการกระทบกัน บางทีเราใช้เครื่องมือของมาร คือ ด่าว่ากัน ลงมือลงไม้กัน เราก็จะเป็นพวกเดียวกับมาร มารก็จะล้างผลาญความดี วิธีที่ดีที่สุดคือใช้เครื่องมือของพระพุทธเจ้า คือ ให้มีเมตตา, มุทิตา,กรุณา, อุเบกขา ต่อกัน เราต้องเอาความดีมาเอาชนะความไม่ดี
Q : ทำอย่างไรจึงจะบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไป ?
A : เส้นทางมีอยู่ คำสอนของท่านยังอยู่ ให้เราปฏิบัติตามทาง ตามคำสอนของท่าน เดินตามทางทำความเพียร จะทำให้เกิดปัญญา ถึงมรรคผลนิพพานในอนาคตได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Mon, 22 Jan 2024 - 59min - 340 - เข้าใจความเกิดดับ [6702-7q]
Q : เหตุใดเมื่อกายดับ จิตจึงไม่ดับตามกาย?
A : จิตกับกายล้วนมีความเกิดและความตายอยู่ทุกขณะ ที่เราเห็นมันต่อเนื่องเพราะมันเป็นความต่อเนื่องของกระแสที่เกิดและดับอย่างรวดเร็ว กายเราประกอบกันขึ้นจากหลาย ๆ เซลล์รวมกันเป็นอวัยวะ มีเซลล์ที่ตายและเซลล์ใหม่เกิดขึ้น ท่านกล่าวไว้ว่า ระหว่างกายกับจิต จิตที่มันเกิดและดับ จะเห็นความแตกต่างไม่ชัดเจนเหมือนกาย เพราะกายหากเซลล์เกิดน้อยกว่าดับ จะเห็นเป็นสภาพของความแก่ ซึ่งพอเราเห็นเช่นนี้ จะทำให้เราคลายกำหนัดในกายได้บ้าง
ส่วนการทอดทิ้งร่าง การสละขันธ์ ความที่ไม่มีอินทรีย์คือชีวิต คือความตาย มันเห็นได้ชัดเจน แต่ตายแล้วก็ไม่ใช่ว่าไม่เกิด ความเกิดในที่นี้ใช้คำว่า “อุบัติ” ความดับใช้คำว่า “นิโรธ” ส่วนความเกิดที่เรียกว่า “ชาตะ” กับความตายที่เรียกว่า “มตะ” จะเป็นอีกคู่หนึ่ง จิตเราที่ว่าไม่ตาย ที่ว่าไปเกิดเรียกว่า “อุบัติ” ดับเรียกว่า “นิโรธ” เกิดดับ ๆ ถี่ ๆ จนเป็นกระแส ในขณะที่กายก็เกิดดับ ๆ ถี่ ๆ จนเป็นกระแส แต่กายจะมีจุดหนึ่งที่ดับมากกว่าเกิด คือ “มตะ” คือตาย ทอดทิ้งร่างนี้ไป และจะมีจุดที่เกิดคือ “ชาตะ” เกิดจากท้องแม่หรือผุดเกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามสภาวะ (ภพ) ของสัตว์เหล่านั้น ๆ แต่ความเกิดที่เกิดขึ้นมานั้น คือ อุบัติขึ้นมา ตามสภาวะแต่ละกรรมที่สร้างมา เพราะฉะนั้น กายนี้ถ้าตายไป ก็เกิดเหมือนกัน คำว่าเกิดนี้หมายถึงมีสภาวะการเกิดเกิดขึ้น จากการที่จิตเกิดดับ ๆ มันต้องมีที่ยึด นามรูปมันต้องเกาะกัน ถ้ารูปนี้เป็นอินทรีย์คือชีวิต เกาะไม่ได้แล้ว นามก็ต้องไปหารูปอื่นเกาะขึ้น พอเกาะก็คือการก้าวลง คือการเกิด ส่วนที่ตายไปก็สละคืนไป ดับไป ทอดทิ้งร่างไป ไม่ใช่ว่าคนตายแล้วจิตไม่ตาย จิตตายแน่นอน (ดับ) ตายในที่นี้คือดับ แต่เราเห็นสภาวะการตายของจิตไม่ชัดเจนเท่ากาย
Q : คนยังไม่ตาย ทำไมจิตตาย?
A : จิตดับหรือจิตตาย หมายถึง จิตที่จะไปเกิดใหม่มันตายไป ดับไป กิเลสที่มันเกาะจิตดวงที่จะไปเกิดมันตายแล้ว แต่คนยังมีชีวิตอยู่ นั่นคือ พระอรหันต์ / อุบัติ (เกิด) กับ นิโรธ (ดับ), ชาติ (เกิด) กับ มรณะ (ตาย) เพราะฉะนั้น มรณะไม่ได้หมายความว่ามันดับ มรณะอาจจะมีความเกิดขึ้น ในที่นี้หมายถึงอุบัติขึ้น ความตายคือความตายอุบัติขึ้น ความตายเกิดขึ้น คือความเกิดอุบัติขึ้น ความเกิดเกิดขึ้น พอเกิดแล้ว ความเกิดก็ดับไป นิโรธไป พอเราแยกส่วนการเกิดดับ คือ อุบัติและนิโรธ แยกส่วน ชาติกับมรณะ ชาติคือความเกิดก็อุบัติ นิโรธได้ มรณะคือความตายก็อุบัติ นิโรธได้ พอเราเริ่มเห็นกระแส เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราจะมีปัญญาเกิดขึ้น เราจะรู้ได้ว่ามันหลอก จะเห็นความเกิดดับเป็นจังหวะเดียว จะเข้าใจว่าที่เราเห็นเป็นกระแส มันเป็นแต่ละตัว จิตก็แต่ละดวง ๆ กายก็แต่ละส่วน ๆ ประกอบกันด้วยเงื่อนไขปัจจัยที่มันคงอยู่ มันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้น เราอย่าไปยึดถือ
Q : จิตสุดท้ายก่อนลาจาก
A : หากมองจากมุมที่เป็นประแส ความตายเกิดขึ้นในความที่เป็นกระแสนั้น มันไม่แน่ ไม่รู้ว่าตอนไหนจะเป็นจิตสุดท้าย เราจึงควรรักษาจิตอยู่ทุกขณะ มีสติไม่ประมาท มีสัมมาทิฏฐิประคองไว้ให้ตลอด จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และถ้าเราดับจิตสุดท้ายตอนนี้ เป็นพระอรหันต์จะดีมาก ๆ
Q : ต้องปฏิบัติธรรมมากแค่ไหน ผลของกรรมชั่วจึงจะตามไม่ทัน
A : ท่านเปรียบดังเอาเกลือ (กรรมชั่ว) 1 ก้อน มาละลายน้ำ (กรรมดี) ในแก้ว และเกลือ 1 ก้อน ละลายในแม่น้ำ ผลของความเค็ม คือ วิบาก (ผล) ก็ต้องทำกรรมดีไปจนกว่าน้ำจะไม่เค็ม คือการปฏิบัติตามแนวทางศีล สมาธิ ปัญญา นั่นคือน้ำที่เราผสมลงไป / มีความเชื่อที่ว่า “ทำกรรมอย่างไร ก็จะต้องได้รับกรรมอย่างนั้น” คำพูดนี้ผิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าแบบนี้เป็นจริง “การประพฤติพรหมจรรย์จะมีไม่ได้ การทำที่สุดแห่งทุกข์จะไม่ปรากฏ”
ทิฏฐิที่ถูกคือ “ทำกรรมอย่างไรก็ต้องได้รับผล (วิบาก) ของกรรมนั้น”/ สัมมาทิฎฐิ มี 2 แบบ คือ แบบที่เป็น “โลกียะ” คือยังเกี่ยวเนื่องด้วยโลก กับแบบที่เป็น “โลกุตระ” คือเหนือโลก ซึ่งทั้ง 2 แบบ ทางไปก็จะคล้าย ๆ กัน ปฏิบัติตาม มรรค 8 เหมือนกัน แต่สัมมาทิฏฐิที่ยังเกี่ยวกับโลก จะเป็นไปในแนวยึดถือ เชื่อเรื่องบุญบาป กรรมดีกรรมชั่ว ส่วนโลกุตระ จะเป็นลักษณะที่อยู่เหนือบุญเหนือบาป จะอยู่เหนือบุญเหนือบาปได้ ต้องมาทางบุญทางความดีก่อน แล้วจึงจะค่อยเหนือบุญเหนือบาปได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 13 Jan 2024 - 56min - 339 - เสขปฎิปทา [6701-7q]
Q : ควรวางจิตอย่างไร สำหรับผู้ที่เริ่มปฎิบัติและผู้ที่รู้สึกว่ายังปฎิบัติแล้วยังไม่ก้าวหน้า?
A : เปรียบดังคนจมน้ำที่ยังขึ้นอยู่ด้วยกาม จะว่ายน้ำเข้าฝั่งได้หรือไม่ ตรงนี้เป็นจุดที่เราจะเข้าฝั่งได้โดยไม่จม คือคุณธรรม 5 อย่างนี้ ได้แก่ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา เรียกว่า "เสขปฏิปทา"หมายถึง กำลังของพระเสขะ เป็นกำลังของคนที่จะต้องทำต่อไป จะเป็นตัวแปรที่จะทำให้เราเกิดความก้าวหน้า ในที่นี้ต้องประกอบกับการมีกัลยาณมิตรด้วย ซึ่งคุณธรรม 5 อย่างนี้ จะทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมีกัลยาณมิตร ในที่นี้คือมิตร คือผู้ที่ทำให้เราเกิด "กัลยาณธรรม"
กัลยาณมิตรจะมี 4 ระดับ คือ 1) คำสอนของพระพุทธเจ้า 2) ฆราวาสผู้ครองเรือน ที่เป็นผู้มีศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา 3) พระพุทธเจ้า 4) พระสงฆ์, ครูบาอาจารย์ พอเรามีกัลยาณมิตรแล้ว คุณธรรม 5 ประการเจริญขึ้น ตรงนี้จะเป็นตรงที่เราพัฒนาได้ ให้เรามองว่าความก้าวหน้ามีอยู่ เข้าถึงแก่นคำสอนให้ได้ เดินไปอย่าหยุด ให้เห็นโทษของกาม เห็นประโยชน์ของสมาธิให้มาก เราต้องตั้งจิตไว้ว่า ทำไม่ได้ก็ต้องทำ ทำได้ก็ต้องทำ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้แล้วไม่ทำ เราจึงควรต้องมีกัลยาณมิตร ซึ่งเมื่อเราเห็นโทษของกามมากขึ้น เราก็จะเห็นประโยชน์ของสมาธิ
Q: อานิสงส์ของการปฎิบัติ?
A: ทำให้เป็นคนเหนือคน เห็นว่าสุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาของโลก จะเข้าใจและรับได้หมด ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดีใจ ทุกข์ก็ร้องไห้ สติปัญญา จึงทำให้เป็นคนเหนือคนขึ้นมา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 06 Jan 2024 - 55min - 338 - ถึงวิมุตติด้วยธรรมะ 5 ประการ [6652-7q]
Q : อธิบายธรรมะ 5 ประการที่ทำให้ถึงวิมุตติ
A : 5 ประการนี้ จะทำให้ได้บรรลุอรหันต์, เป็นอนาคามี, ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ความดับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม นิพพานได้, ทำให้เกิดความสิ้นอาสวะ, ทำให้มีเจโตวิมุตติ, ปัญญาวิมุตติ เป็นอานิสงสได้ เป็นต้น
Q : พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
A : เมื่อพิจารณากายแล้วเห็นความไม่งามในกาย เห็นไปตามจริงด้วยปัญญา จะทำให้เราคลายความยึดถือ ซึ่งการคลายความยึดถือนี้ไม่ใช่คลายเพราะขยะแขยงเกลียดชัง แต่เป็นการคลายความเพลินความพอใจในกาย เมื่อเรายอมรับและเห็นไปตามจริงด้วยปัญญา เราก็จะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์
Q : กำหนดหมายความด้วยความเป็นปฏิกูลในอาหาร
A : พิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหารจากรูป กลิ่น รส เช่น พิจารณาอาหารที่ทานเข้าไปกับตอนออกมาจากกาย พิจารณาอาหารที่หล่นบนพื้น พิจารณาอาหารที่คนอื่นทานเหลือแล้วเอามาให้เราทาน เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว จะทำให้เวลาเราทานอาหาร ก็จะทานเพียงเพื่อให้ชีวิตตั้งอยู่ได้ ระงับเวทนาเก่าไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ทำให้พอดี ๆ เพื่อให้จิตเรามี“มัชฌิมาปฏิปทา”
Q : กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง
A : พิจารณาให้เห็นว่าโลกทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือสิ่งของ ให้เห็นไปตามจริงในความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง คือเห็นโดยความที่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย มันเปลี่ยนแปลงได้ / สังขาร หมายถึง การปรุงแต่ง ซึ่งพอมีการปรุงแต่งใด ๆ แล้ว นั่นคือ ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ มันจะให้ผลเหมือนเดิมไม่ได้
Q : กำหนดจิตอยู่กับมรณะสัญญา
A: “มรณะสัญญา” คือ ความสำคัญหมายในความตาย ว่าความตายมีอยู่ ณ ขณะนี้ เห็นความตายในการเกิด เห็นความตายในการอยู่ / “มรณสติ” คือ การระลึกถึงความตาย ว่าเหตุ ปัจจัยแห่งความตายมีมาก เราควรเข้าใจและยอมรับความจริง ว่าเราต้องตายแน่ เมื่อเราพิจารณามรณะสัญญาแล้วก็ให้เอามรณสติมาพิจารณาต่อ แล้วให้ระลึกถึงกุศลกรรมให้ได้
Q: เวลานั่งสมาธิแบบอานาปานสติ จิตควรคิดเรื่องอะไร?
A: ควรระลึกถึงแค่ลมหายใจเท่านั้น แล้วค่อยเลื่อนขั้นสมาธิขึ้นไป ให้วิตกวิจารมันระงับไปเท่านั้นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 30 Dec 2023 - 53min - 337 - โทษของความรัก [6651-7q]
Q : เมื่อคนรักเปลี่ยนไป ธรรมะข้อไหนที่ช่วยคลายความทุกข์ใจ?
A : ท่านเคยเตือนไว้ เมื่อเรารักสิ่งใด สิ่งนั้นจะมาเป็นทุกข์กับเรา เราจะออกจากทุกข์ได้ เราต้องเห็นด้วยปัญญา คือ เราต้องเห็นโทษของมัน ว่ามันเสื่อมไปได้ หายไปได้ ไม่ยั่งยืน ซึ่งความรักชนิดที่เป็นกาม เป็นตัณหานั้น มันเป็นความรักที่มีเงื่อนไข เป็นรักที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นรักที่มีเกลียด มีทุกข์ปนมา หากเราตัดใจ มีอุเบกขา ให้อภัยด้วยความเมตตา กำจัดความรัก ความยินดีที่เป็นกาม เป็นตัณหา กำจัดความรักในบุคคลนั้นออกไปได้ เราก็จะไม่ทุกข์ เราจะเหลือแต่ความรักที่เป็นเมตตา เป็นอุเบกขา ในจิตใจของเรา ซึ่งเป็นรักที่ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณ แล้วเราจะผ่านมันไปได้
Q : หากคิดถึงแฟนเก่าที่แต่งงานไปแล้ว จะผิดศีลหรือไม่?
A : ไม่ผิดศีล แต่อาจจะทำให้ศีลด่างพร้อย เราจะผิดศีลก็ต่อเมื่อตั้งเจตนาไว้ไม่ถูก เช่น จะไปแย่งชิงเขามาจากครอบครัวเขา มีความคิดไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน ตรงนี้จะทำให้เราทำผิดศีล เราจึงต้องกำจัดความคิดในทางกาม พยาบาท เบียดเบียนนี้ออกไป เมื่อใดที่เรามีความคิดเรื่องกามขึ้นมา แล้วเราไม่มีสติสัมปชัญญะ มันก็จะเติบโตขึ้น จะไปต่อเกิดความกระสันอยาก ไม่มีไม่ได้ จะหงุดหงิด มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เกิดเจตนาที่จะไปเบียนเบียนคนอื่น ซึ่งเจตนาตรงนี้เอง จะทำให้ศีลขาด เพราะฉะนั้น เราต้องหยุดมันตั้งแต่แรก ด้วยการเห็นโทษในสิ่งที่เรารัก เห็นอสุภะในสิ่งที่เราชอบแล้วให้เราใส่ความเพียรลงไป ให้อดทนอดกลั้น เอาตัวเองห่างออกมา เห็นประโยชน์ของการอยู่หลีกเร้น เห็นประโยชน์ของปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ทำไป ๆ ปัญญาก็จะแก่กล้าขึ้น การละวางก็จะเกิดขึ้นได้
Q : เราสามารถสวดมนต์ขอพรให้ครอบครัวได้จริงหรือไม่?
A : การสวดมนต์กับการขอพร พิจารณาจากเหตุและผล ในส่วนของการอ้อนวอนขอร้อง ท่านสอนไว้ว่า “ถ้าลำพังด้วยการอ้อนวอนขอร้องแล้วสำเร็จได้ทุกอย่าง จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไรในโลกนี้” เหตุนี้ไม่ถูก ผลก็จึงไม่ถูก ในส่วนของการสวดมนต์ เป็นการสร้างเหตุที่เป็นสัมมาวาจา ผลของการมีสัมมาวาจา เช่น ไปเกิดบนสวรรค์ การให้ผล จะเป็นไปได้ทั้งในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา ๆ บางอย่างให้ผลหนัก บางอย่างให้ผลเบา ไม่ใด้ให้ผลตามความอยาก เราจึงควรสนใจเรื่องของเหตุ ว่าเราทำดีก็ต้องได้ดี คือได้ดีเดี๋ยวนั้น ตรงจุดที่ทำความดีนั้นเลย แต่หากเราทำความดีแล้วมีความอยาก เช่น อยากจะมีชื่อเสียง อยากรวย เราจะทุกข์ เพราะเรามีความอยากเป็นเหตุ แต่หากเราตั้งจิต“อธิษฐาน” ว่าเราจะสร้างเหตุแห่งความดีนี้ ให้มีผลออกมาแบบนี้ สามารถทำได้ เพราะเป็นการสร้างเหตุที่ถูก ผลก็จะถูก
Q : เราสามารถชนะกรรมได้หรือไม่?
A : เราสามารถชนะกรรม อยู่เหนือกรรม สิ้นกรรมได้ ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 23 Dec 2023 - 56min - 336 - อุปาทานขันธ์ 5 [6650-7q]
Q : นอกจากมรรค 8 แล้ว อะไรที่จะเป็นกัลยาณมิตรได้อีก?
A : กัลยาณมิตร 4 ประการ ได้แก่ 1. มรรค8 2.คฤหัสถ์/ฆราวาส ดูที่คุณธรรม 4 อย่าง ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา 3.นักบวช/พระสงฆ์ ดูที่ 4 อย่าง คือ ดูที่ศีลจากการที่อยู่ร่วมกัน, ดูที่ความสะอาด การพูดทั้งต่อหน้าและลับหลัง, ดูที่สมาธิ คือเมื่อเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น แล้วจะตกใจกลัว อารมณ์เสียหรือไม่ ดูที่ปัญญา ตอนอธิบาย ตอนพูด ว่าสามารถชี้แจงอธิบายได้ละเอียดหรือไม่ 4.พระพุทธเจ้า คือเอาพระพุทธเจ้าเป็นกัลยาณมิตร จะทำให้เรามีความเกรงกลัว ละอายต่อบาป (หิริโอตตัปปะ)
Q : ขันธ์ 5 ใน 7 ประการ | ขันธ์แต่ละอย่างคืออะไร?
A : สิ่งที่เราต้องรู้ ในขันธ์ 5 ทั้ง 7 ประการ คือ รู้ตัวมัน รู้เหตุเกิด รู้ความดับ รู้วิธีที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับ รู้รสอร่อย รู้โทษอันต่ำทรามและรู้อุบายเครื่องสลัดออก / ขันธ์ (กอง) 5 ได้แก่ 1.กองรูป (รูปขันธ์) ได้แก่ธาตุสี่ 2.กองเวทนา (เวททนาขันธ์) คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ อทุกขมสุข 3.กองสัญญา (สัญญาขันธ์) คือ ความหมายรู้ ที่เกิดจากช่องทาง หู จมูก ลิ้น กายและใจ เกิดขึ้นหลังจากมีผัสสะ 4.กองสังขาร (สังขารขันธ์) คือ การปรุงแต่งรูปอย่างหนึ่งให้สำเร็จรูปออกมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ได้หมายถึงรูปอย่างเดียว แต่เป็นการปรุงแต่งทางกาย วาจา หรือใจ 5.กองวิญญาณ (วิญญาณขันธ์) คือ การรู้แจ้ง การรับรู้
Q : รู้เหตุเกิด รู้ความดับ รู้วิธีปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งขันธ์
A : เหตุเกิดของรูป คืออาหาร (ธาตุ 4) การปรุงแต่งให้รูปคืออาหาร สำเร็จรูปโดยความเป็นตัวเราจึงเป็น “สังขาร” เหตุเกิดของเวทนา สัญญา สังขาร คือผัสสะ มีผัสสะจึงมีเวทนา มีผัสสะจึงมีสัญญา มีผัสสะจึงมีสังขาร เหตุเกิดของวิญญาณ คือนามรูป วิญญาณเป็นตัวเชื่อมระหว่างนามรูป / ความดับแห่งขันธ์ คือ จะดับได้ก็ต้องดับที่เหตุของมัน / วิธีปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งขันธ์ คือ การปฏิบัติตามมรรค 8 จะเป็นการกำจัดอุปาทาน (ความยึดถือ) ในขันธ์ 5
Q : รู้รสอร่อยและโทษอันต่ำทรามและรู้อุบายสลัดออกแห่งขันธ์
A : รู้รสอร่อย คือ ทำให้เกิดสุขโสมมนัส ทำให้เราเพลิน พอใจ / รู้โทษอันต่ำทราม คือ ความที่มันไม่เที่ยง แปรปรวน ทำให้เราทุกข์ / รู้อุบายในการสลัดออก คือ ปฏิบัติตามมรรค 8 สลัดออกซึ่งความยึดถือ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 16 Dec 2023 - 54min - 335 - อุปกิเลส 16 [6649-7q]
Q : อุปกิเลส 16 ?
A : ใน “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ที่ท่านได้สอนไว้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ
1.) ส่วนที่เป็นฝ่ายดำ คือ "อวิชชา" (ทุกข์, สมุทัย) สิ่งที่ควรทำคือ เราต้องละ ไม่ทำ และกำจัดสิ่งที่ไม่ดีออก ลักษณะของมันคือ มันจะเหนียวหนืด คืบคลานไป ท่านจะใช้คำว่า “ตัณหา” พอมันหนืด ยืดยาน คืบคลาน ก็จะเกิดความเศร้าหมอง คือ “กิเลส” ซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองจะแยกได้เป็น 3 กองใหญ่ ๆ คือ ราคะ (หิว), โทสะ (ร้อน), โมหะ (มืด/ ไม่แจ่มแจ้ง) ซึ่งจะแบ่งย่อยลงไปอีกได้เป็น 16 อย่าง คือ อุปกิเลส 16
2.) ส่วนดี ที่เป็นฝ่ายขาว (กุศล, นิโรธ, มรรค เราต้องทำให้มี ถ้ามีอยู่ต้องทำให้เจริญ)
Q : อุปกิเลส 16 สัมพันธ์กับทาน ศีล ภาวนา หรือไม่ ?
A : อุปกิเลสจะอยู่ในส่วนของฝ่ายดำ/อกุศล เจาะจงลงคือ ส่วนของสมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นเทือกเดียวกันกับกิเลส ตัณหา อวิชชา ส่วนที่จะตรงข้ามกันคือฝ่ายขาว คือฝ่ายกุศล ฝ่ายธรรมะ ก็จะมีนิโรธและมรรค เกี่ยวข้องกันในลักษณะที่แปรผกผันกันคือ ถ้ามีทาน ศีล ภาวนามาก อุปกิเลส 16 อย่างนี้ ตัณหา อวิชชา ก็ลดลง
Q : ผู้ที่ประพฤติธรรมแต่ยังมีอุปกิเลส 16 จะไม่บรรลุมรรคผลและไปสู่อบาย ?
A : ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ เปรียบดังการสร้างบ้าน หากไม่มีฐานรากแล้วจะไปทำหลังคาเลยมันเป็นไปไม่ได้ มรรคผลนิพพานก็เช่นกัน เหตุ เงื่อนไข ปัจจัยมีอยู่ จะบรรลุนิพพานได้ ก็ต้องกำจัดอุปกิเลส 16 เพราะมันเป็นความเศร้าหมองของจิต
Q : ท้อแท้เพราะปฏิบัติไม่ก้าวหน้า
A : ก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้าอยู่ที่เหตุ เงื่อนไข ปัจจัย การที่เราท้อแท้ แสดงว่า เรามี “ความอยาก” ความอยากนี้เป็นอกุศล ความเพียรเรามีอยู่ เพียงแค่สมาธิยังไม่เกิด การจะบรรลุธรรมได้เร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับว่าอินทรีย์แก่กล้ามากแค่ไหน หากอินทรีย์แก่กล้า ก็จะบรรลุธรรมได้เร็ว อินทรีย์ยังอ่อน ก็จะบรรลุธรรมได้ช้า
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 09 Dec 2023 - 55min - 334 - หน้าที่พระสงฆ์ [6648-7q]
Q : บทบาทของคณะสงฆ์ต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน
A : ท่านได้ให้หน้าที่ที่พระสงฆ์จะต้องทำเอาไว้ 6 หน้าที่ คือ 1) ห้ามเสียจากบาป 2) ให้ตั้งอยู่ในความดี 3) ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง 4) ทำสิ่งที่ได้ฟังให้แจ่มแจ้ง 5) อนุเคราะห์ด้วยใจอันงาม 6) บอกทางสวรรค์ให้ ซึ่งพระแต่ละรูป ความสามารถก็ไม่เหมือนกัน เมื่อเรามีความคาดหวัง ว่าพระจะต้องดีทุกคน แล้วไม่ได้ดังหวังก็จะรู้สึกผิดหวัง เราต้องรักษาจิต ตั้งจิตเราให้ดี อย่าไปคิดไม่ดี เพราะมันจะเกิดอกุศลกับเรา เวลาเราเจอพระไม่ดี (ดีหรือไม่ดี พิจารณาจากสิ่งที่ถูกหรือผิด ไม่ใช่ว่าเอาความพอใจหรือไม่พอใจ) ก็อย่าไปเหมาว่าพระไม่ดีทั้งหมด เพราะพระที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีอยู่ จะเหมาว่าไม่ดีทั้งหมดไม่ได้
Q : เวลาทำบุญกับพระสงฆ์ ควรตั้งจิตอย่างไร?
A : ให้ตั้งจิตถึง “สงฆ์” แปลว่า หมู่ผู้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดยมีพระรูปนี้เป็นตัวแทน และทานที่จะให้กับพระสงฆ์ ก็ต้องให้ถูกต้องตามธรรมวินัย อย่าให้ท่านผิดศีล เวลาจะมอบ ก็มอบปัจจัยสี่ อันควรแก่สมณะจะบริโภค มีค่าเท่ากับเงินหรือทองนั้น โดยให้กับคนที่จะทำหน้าที่แทนพระสงฆ์นั้น / การให้ทานด้วยสิ่งของ ที่สุดของการให้ทานด้วยสิ่งของ คือ การให้เสนาสนะ เช่น โบสถ์ วิหาร กุฏิ แและที่สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น คือ การที่เราสมาทานไตรสรณคมน์ เพราะพอเราถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง จะมีที่สุดจบ คือ “นิพพาน” ไม่ใช่ว่าให้ทานแล้วจะถึงนิพพาน เพราะเหตุเงื่อนไขมันคนละอย่าง ผลของการให้ทานจะทำให้เป็นคนร่ำรวย แต่ถ้ารักษาศีล เจริญภาวนา ตรงนี้จะเป็นทางไปสู่นิพพานได้
Q : พุทธบริษัทสามารถช่วยพัฒนาวงการสงฆ์ได้อย่างไรบ้าง ?
A : ทำได้ด้วยการศึกษา การทำ การปฏิบัติ พอเราศึกษารู้ว่าอะไรผิด ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี อะไรที่งมงาย นอกแนว อย่าทำ ช่วยกันรักษาด้วยการปฎิบัติให้ดี ทำให้ถูก
Q : แง่คิดเกี่ยวกับความเชื่อในสายมู (มูเตลู)
A : ต้องใช้ปัญญา มีทาง 2 ทาง คือ 1. ทางที่วนไป คือ การบูชา ด้วยความงมงาย มันจะไปต่อไม่ได้ บูชาสิ่งนั้นแล้วก็บูชาสิ่งนี้อีก 2. ทางสายกลาง คือ ใช้ปัญญาในการดู มีการโยนิโสมนสิการ “ถ้าใครจะได้อะไรด้วยการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” เพราะฉะนั้น เราต้องตรวจสอบกับผู้รู้ เทียบเคียงกับคำสอน ว่ายังอยู่ในทางไหม ซึ่งทางลัดที่สุด ตรงที่สุดและสั้นที่สุด นั่นคือ มรรค 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 02 Dec 2023 - 57min - 333 - ธรรมะยามป่วยไข้ [6647-7q]
Q: โรคภัยไข้เจ็บเกิดจากกรรมเก่า ใช่หรือไม่?
A: อาจจะใช่หรือไม่ใช่ ถ้าเราเชื่อว่าเป็นเพราะกรรมเก่าอย่างเดียว ความเชื่อนี้เป็นมิจฉาทิฎฐิ เพราะคิดเช่นนี้ จิตเราจะไม่น้อมไปเพื่อที่จะทำอะไร ไม่ทำสิ่งที่ควรทำ ไม่ละสิ่งที่ควรละ คนเราจะได้รับทุกข์หรือสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง มันเนื่องด้วยหลายปัจจัย แบ่งได้ 4 อย่าง คือ 1. กรรมเก่า 2. การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ 3. ผู้อื่นกระทำให้ 4. สุขภาพของเราเอง เมื่อเราป่วยแล้วเราระลึกถึง 1. ศีล และมีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน 2. พระพุทธ 3. พระธรรม 4. พระสงฆ์ ทั้ง 4 อย่างนี้ เป็น “โสตาปัตติยังคะ 4” เป็นเครื่องมือที่ให้ตั้งอยู่ในกุศล ให้เราตั้งสติเอาไว้ รักษาจิตของเราให้อยู่ในมรรค 8 ในขณะที่เรามีทุกขเวทนาอยู่นี้ แล้วเราเห็นด้วยโสตาปัตติยังคะ 4 ด้วยศรัทธาที่เราตั้งมั่น ด้วยมรรค 8 ที่เราเจริญ มันจะเห็นทุกข์ได้ทันที เมื่อเราเห็นทุกข์ก็จะเห็นธรรม ทุกข์มีศรัทธาเป็นที่ตั้งอาศัย ตรงนี้จะเป็นกระบวนการบ่มอินทรีย์ พออินทรีย์แก่กล้าก็จะเกิดการบรรลุธรรมได้
Q: เราทำอะไรไว้เราต้องได้รับสิ่งนั้น?
A: ความเข้าใจนี้เป็น ความเข้าใจผิด เป็นมิจฉาทิฎฐิ ความเข้าใจที่ถูก คือ คุณทำกรรมอะไรไว้จะได้รับผล (วิบาก) อย่างนั้น เช่น ฆ่าสัตว์ไว้เยอะ ๆ ผลคือ สุขภาพจะไม่แข็งแรง อายุสั้น ตกนรก
Q: ความหมายของ ปัญจุปาทานขันธ์ อุปทาน และอุปทานขันธ์ 5?
A: ขันธ์ หมายถึง กอง, ปัญจุ หมายถึง 5, ขันธ์ 5 คือ กอง 5 อย่าง ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกเป็นภาษาบาลีว่า “อุปาทานขันธ์ 5” แปลเป็นภาษาไทย คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ 5 อย่าง อุปาทานกับขันธ์ 5 เป็นคนละอย่างกัน อุปาทาน คือ ความยึดถือ ซึ่งความยึดถือนี้ จะไม่ไปเกิดที่ไหน นอกจากขันธ์ 5 จิตเราติดกับทุกข์ ด้วยกาว คือ ความยึดถือ (อุปาทาน) เราจะทำลายความยึดถือได้ เราต้องใช้มีดคือปัญญา ตัดลงไปตรงกาว เราต้องมีพื้นฐานยืนให้มั่นด้วยศีล ด้วยแรงส่งคือสมาธิ ด้วยความแม่นยำคือสติ เพราะฉะนั้น สติ สมาธิ ปัญญา จึงมาด้วยกัน ทำงานด้วยกัน เราจะให้ความยึดถือดับไปได้ ก็ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 พอตัดความยึดถือที่มันเชื่อมกันระหว่างจิตกับขันธ์ 5 ได้ นี่คือ เราละตัณหา ละอุปาทาน ด้วยปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 25 Nov 2023 - 52min - 332 - เกณฑ์ของความดี [6646-7q]
Q:ทำไมคนที่ทำความดีถึงได้มีคนเกลียด?
A: เราต้องทำความเข้าใจก่อน ดีและเกลียด หมายถึงอย่างไร คำว่าดีหรือไม่ดีแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดีของเขาอาจจะไม่ดีของเรา เพราะฉะนั้น คำว่าดีหรือไม่ดี มันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราอย่าเอาข้อนั้นมาเป็นประมาณ คือ อย่าเอามาใส่ใจ เพราะมันเกิดจากความพอใจหรือไม่พอใจของเขา ซึ่งความพอใจหรือไม่พอใจนั้น ไม่ได้เกิดจากการที่เขาตั้งอยู่ในธรรมะ ในวินัย เราจึงต้องเอาความเห็นของบัณฑิต ของผู้รู้ มาเป็นเกณฑ์ ในที่นี้ คือ พระพุทธเจ้า
เกณฑ์ที่จะวัดว่าดีหรือไม่ดี /แนวทางในการปฏิบัติที่ท่านยกมา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา, มรรค 8 มาเป็นเกณฑ์ จึงจะดีได้
คนเกลียดหรือคนรัก / จะเอาความเกลียดหรือความรักมาเป็นประมาณไม่ได้ รักหรือเกลียด ไม่ใช่เกิดจากการที่พอใจหรือไม่พอใจ แต่เราใช้เกณฑ์ คือ ธรรมวินัย, มรรค 8 และศีล สมาธิ ปัญญา พอเราใช้เกณฑ์ที่ท่านให้ไว้ มันจะไม่ใช่รักหรือเกลียด แต่จะเป็น “หิริโอตตัปปะ” คือ ความเกรงกลัวความละอายต่อบาปแทน ถ้าเราทำถูกศีล มีหิริโอตตัปปะเป็นประมาณ การพัฒนาจะเกิดขึ้นได้
การกระทำตอบ/ เอาชนะความเกลียดด้วยการไม่เกลียด “การกระทำตอบ” สิ่งที่ต้องตอบกลับไป คือ จิตเราต้องมี อุเบกขา รักกับเกลียดเป็นสิ่งที่มีอยู่ในกามโลก ถ้าเราจะเอาชนะ คือ อยู่เหนือจากความเกลียด จะอยู่เหนือโลกที่ประกอบด้วยกาม คือพรหมโลกได้ เราต้องมี “พรหมวิหาร 4” เป็นลักษณะที่จะให้อยู่เหนือจากรักและเกลียดได้ เช่นนี้ จึงจะเป็นการชนะที่อยู่เหนือ
คำให้พรหรือคำสาปแช่ง/ ตัวเราจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนอื่น เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ไม่ใช่ว่าเกิดจากคำของคนอื่น ให้เราอดทน ท่านให้วิธีการไว้ คือ ให้คิดว่า คำชมกับคำแช่ง ไม่ต่างกัน ให้เจริญ “อนัตตสัญญา” ให้เห็นคำชมนั้น ว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตน เห็นความไม่เที่ยงของคำด่า คำชมนั้น แล้วความยึดถือจะเกิดไม่ได้ เพราะพอเราไม่ไม่พอใจในคำด่าคำชมนั้น จะไม่ไปพอใจในคำชมนั้น ได้ด้วยการเห็นความไม่เที่ยง จะไม่ไปไม่พอใจในคำด่านั้น ด้วยการมีพรหมวิหาร 4 เราก็จะมี หิริโอตตัปปะอยู่ได้
Q: ผลกรรมของคนที่มาด่ามาว่าหรือมาพูดยุแหย่
A: หากคนเหล่านั้นมีหิริโอตตัปปะ เขาจะมีความเกรงกลัว ความละอายต่อบาป เขาจะไม่ทำบาป จะทำความชั่วไม่ได้ การกระทำใด คนที่เป็นผู้กระทำ ย่อมต้องได้รับผลของการกระทำ หากไปด่าว่าพระที่ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็จะไปตกนรก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 18 Nov 2023 - 57min - 331 - กำจัดความเบื่อเซ็งด้วยสติ [6645-7q]
Q: อริยทรัพย์ที่ได้จากการฟังธรรม
A: เมื่อเราฟังธรรม แล้วเกิดศรัทธา นำไปทำ นำไปปฏิบัติ เป็นวิริยะ คือ ความเพียร มีสติ เป็นสมาธิขึ้นมาและเกิดปัญญาตามต่อมา ปัญญาในที่นี้ คือ ปัญญาที่จะปล่อยวางความยึดถือ
Q: เป็นทุกข์เพราะมีหนี้สินรุงรัง จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?
A: ท่านเคยสอนไว้ใน “สมชีวิตา” (การแบ่งจ่ายทรัพย์) “รายรับต้องท่วมรายจ่าย รายจ่ายต้องน้อยกว่ารายรับ” ให้เราเป็นผู้ขยันขันแข็ง ไม่เกี่ยงงาน รู้จักรักษาทรัพย์ ไม่เล่นการพนัน ไม่เล่นหวย ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข หากเรามีคุณธรรมเหล่านี้ ไม่ได้แค่ปลดหนี้ได้แต่จะทำให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีได้ด้วย
Q: รู้สึกเบื่อโลก เบื่อหน่ายทุกอย่างในชีวิต ควรวางจิตอย่างไร?
A: “เบื่อเซ็ง” เป็น ลักษณะของโมหะและโทสะ เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ตัวมันจะทำให้เกิดความเร่าร้อน บางทีซึมเศร้า เป็นลักษณะของโทสะและโมหะ เหตุเกิดจาก เรื่องของกรรม ผัสสะ กิเลส ในขณะที่ “เบื่อหน่าย” มาจากคำว่า นิพพิทา (ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด) เป็นลักษณะของปัญญา เหตุเกิดจาก การเห็นไปตามความเป็นจริง เมื่อเห็นไปตามความจริงบ่อย ๆ จะเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนดในสิ่งนั้น ผลคือจะทำให้เกิดความปล่อยวาง ไม่ยึดถือสิ่งอื่นๆ อีกต่อไป จะเบา / เราจะกำจัดความเบื่อเซ็งได้ด้วย “สติสัมปชัญญะ” ให้เราตั้งจิตไว้ให้ดี กำจัดอารมณ์นั้นโดยการนึกถึงเรื่องอื่น ในทางคำสอน ท่านให้ตั้งอยู่ในอนุสติ10 เมื่อจิตเราไม่คล้อยเคลื่อนไปในอารมณ์นั้น สิ่งนั้นก็จะอ่อนกำลัง จิตเราก็จะเริ่มระงับลง ๆ เพิ่มสมาธิเข้าไป เห็นความไม่เที่ยง เกิดปัญญา เห็นซ้ำบ่อย ๆ นิพพิทาจะเกิด นี่เป็นกระบวนการที่เราเปลี่ยนจากเบื่อเซ็งเป็นเบื่อหน่าย ด้วยการเพิ่มปัญญา, สมาธิและสติ เข้าไป เป็นลำดับขั้น ๆ นั่นเอง
Q: เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกคู่ครองที่ดี
A: เครื่องหมายของคนดี ให้ดูที่การกระทำทางกาย วาจา ใจ ว่าอยู่ในฝั่งกุศล อีกนัยยะหนึ่ง คือ ดูที่ศีล, ศรัทธา (ศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า), จาคะ (การให้การบริจาค) และปัญญา (ปัญญาที่จะปล่อยวางความยึดถือ) คือ ศีลต้องเสมอกับเรา
Q: การทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด?
A : กรณีที่เราไม่ยอมรับผิด เพราะไม่รู้ว่าตัวเองผิดอะไร เลยไม่ได้ยอมรับผิด นี่คือไม่มีปัญญาเพราะโมหะมันมาก อวิชชามาก เพราฉะนั้น เราจึงต้องมาศึกษาคำสอน ฟังธรรมะ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดปัญญาและเกิดการยอมรับ เช่น เรื่องทุกข์ใน “อริยสัจ 4” ความผิดพลาดในที่นี้ เราใช้ศัพท์คำว่าทุกข์มาแทน เราต้องกำหนดรู้ในทุกข์ ต้องรู้ว่าเรามีปัญหา ยอมรับว่าทุกข์คือปัญหา คือความผิดพลาดในชีวิตเรา เช่นนี้คือเรามีปัญญาแล้ว พอเรารู้ว่าเรามีปัญหาอะไร เรารอบรู้เรื่องทุกข์ ยอมรับเรื่องทุกข์ เราจะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ อยู่กับปัญหาได้โดยไม่เป็นปัญหา อีกกรณีหนึ่ง รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่ไม่ยอมรับ แบบนี้คือไม่มีหิริโอตัปปะ เราก็ต้องแก้ตรงให้มีหิริโอตัปปะ ต้องมีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป
Q: ใช้แอปแต่งรูปโพสต์ลงโซเชียล เป็นการมุสาหรือไม่?
A: สำคัญที่เจตนา ว่าการที่เราตัดแต่งรูป เรามีเจตนาให้คนอื่นเข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นหรือไม่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 11 Nov 2023 - 57min - 330 - เครื่องเศร้าหมองของจิต [6644-7q]
Q : ช่องทางการรับฟังรายการธรรมะรับอรุณทางสถานีวิทยุ
A : ระบบของวิทยุ การออกอากาศ มี 2 แบบ คือ 1. AM 891 kHz. 2. FM เป็นคลื่นของแต่ละจังหวัด สำหรับคลื่น 92.5 รับฟังได้เฉพาะ กทม. และจังหวัดใกล้เคียง บางจังหวัดสามารถรับได้ทั้ง AM/FM บางจังหวัด FM ก็อาจจะจัดเป็นรายการของท้องถิ่น / ระบบออนไลน์ สามารถรับฟังได้ ผ่านทางเว็บไซต์ https://panya.org, Youtube หรือแอปพลิเคชั่น Podcast หรือ Spotify ได้
Q : อธิบายเรื่องอุปกิเลส : อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ มัจฉริยะ
A : กิเลส หมายถึง เครื่องเศร้าหมองของจิต จิตของเราเมื่อมีเครื่องเศร้าหมองเกิดขึ้น การรับรู้อื่น ๆ ก็จะผิดเพี้ยนไปจากที่ควรเป็น แบ่งเป็นกองใหญ่ ๆ 3 กอง ได้แก่ ราคะ คือ ความหิว, โทสะ คือ ความร้อน ความโกรธ, โมหะ คือ ความมืด ความไม่เข้าใจ มึน ๆ ตึง ๆ
Q : อุปนาหะ ?
A : อุปนาหะคือ การผูกโกรธ เก็บความโกรธเอาไว้ ผูกเวรเอาไว้ เช่น ขณะขับรถแล้วมีคนขับปาดหน้า ก็ผูกโกรธไว้แล้วไปปาดหน้าเขาคืน /การกระทำคืน ที่ถูก ต้องเหมาะสม คือ ควรอดทน มีเมตตา อุเบกขา การที่เราไปกระทำตอบเขา นั่นคือ จิตเรามีความเศร้าหมอง เป็นส่วนเดียวกันกับ โกธะ, โทสะ ซึ่งถ้ามันยังไม่ระงับ ระดับของการผูกโกรธก็จะเพิ่มขึ้น ขยายขึ้นไป โดย สายของความโกรธ เริ่มจาก “ปฏิฆะ” คือ ความขัดเคืองใจ หากเราหยุดไม่ได้ ก็จะขยายไปเป็น “โกธะ” คือ ความโกรธ ขยายขึ้นไปอีกเป็น “โทสะ” คือ คิดประทุษร้ายให้เขาไม่ได้ดี ขยายขึ้นไปอีกเป็น “อุปนาหะ” คือ การผูกเวร ขยายขึ้นไปต่อไปอีก เป็น “พยาบาท” ซึ่งจุดที่จะเริ่มเป็นกรรมแล้ว คือตั้งแต่โกธะขึ้นมา จะเริ่มเป็นการกระทำที่ไม่ดีเป็น “อกุศลกรรม”
Q : มักขะ ?
A : มักขะ แปลว่า ไม่รู้คุณ ความลบหลู่คุณท่าน (ตรงข้ามกับกตัญญู) มีอยู่ 2 นัยยะ คือ นัยยะ 1. ยกตัวอย่างเช่น เห็นเขาให้ทานแล้วลบหลู่ในทานของเขา นัยยะ 2. คนอื่นทำคุณประโยชน์ให้เราแต่เราไม่เห็นคุณความดีของเขา
Q : ปลาสะ | สาเถยยะ ?
A : “ปลาสะ” คือ ยกตนเทียบเท่า, ตีเสมอ “สาเถยะ” คือ การยกตัว โอ้อวด เป็นกองของโมหะ ตรงข้ามกันกับความมักน้อย/ถ่อมตัว/ สันโดษ วิธีแก้ คือ ให้เป็นผู้มีความกตัญญู
Q : มัจฉริยะ ?
A : “มัจฉริยะ” แปลว่า ความตระหนี่หวงกั้น ลักษณะ คือ มีอยู่แต่ไม่ให้ มีก็เหมือนไม่มี ตระหนี่เพราะกลัวหมด กลัวพร่อง วิธีแก้ คือ ให้มีเมตตา มีกรุณาและให้ทาน ให้โดยไม่ต้องกลัวหมด เมตตา มุทิตา กรุณาและอุเบกขา ยิ่งให้ยิ่งได้ ไม่มีหมด ไม่มีประมาณ การฝึกเช่นนี้ จะเป็นการกำจัดความตระหนี่ได้
Q : ยิ่งให้ยิ่งได้
A : การแผ่เมตตา แผ่บุญ เหมือนกับเราจุดเทียนแล้วคนอื่นมาขอต่อเทียน เป็นลักษณะของบุญที่เป็นในทางนาม เป็นบุญกิริยา คนที่มาอนุโมทนาบุญกับเรา เขาได้บุญจากการอนุโมทนา การที่เราแผ่เมตตาให้เขา เขาก็ได้บุญจากเรา เหมือนจุดเทียน เขามีเทียนของเขา มาต่อเทียนจากเราแต่เทียนของเราก็ไม่ได้ดับไป แสงสว่างมันก็จะสืบต่อเนื่องกันต่อไปและต่อไป
Q : สารัมภะ ?
A : สารัมภะ คือ ความแข่งดี แก่งแย่งชิงดีให้ความดีอีกฝ่ายเสียไป ให้เสียศักดิ์ศรี ให้ตัวเองดีขึ้นมา ยื้อแย่งเอามาโดยปราศจากกติกา ปราศจากความยุติธรรม เป็นความแข่งดีที่ไม่ดีเพราะว่า มีอกุศลเข้ามาเกี่ยวข้อง เราต้องมีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ พอใจในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ได้ลบหลู่คุณเขา ไม่ได้เอาความดีของเราไปตีเสมอเขา แต่พอใจในสิ่งที่เรามี ไม่ตระหนี่หวงกั้น แล้วเราก็ทำความดีของเราให้เต็มที่โดยไม่คิดว่าจะไปแข่งขันกับใคร ก็จะเป็นการแข่งดี ในนัยยะ ที่เป็นกุศลธรรม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 04 Nov 2023 - 57min - 329 - โทษของการเกิด [6643-7q]
Q : แม้ว่าชาตินี้เราภาวนาเพื่อสุคติภูมิ แต่ถ้ากรรมเก่ากำหนดไว้แล้ว ว่าเราจะต้องเกิดในอบายภูมิ จะเป็นเช่นนั้นเลยหรือไม่?
A : ไม่แน่ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่แน่นอนเลย มีอยู่ คือ หากเราปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วได้ “โสดาปฎิผล” เราจะไม่มีทางไปเกิดในอบาย (ไม่เกิดในนรก กำเนิดเดรัชฉาน เปรตวิสัย คือ เกิดตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไป) จะปิดประตูอบายภูมิและจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติหรือต่ำกว่า 7 ชาติ นอกเหนือจากนี้แล้ว การเกิดล้วนไม่แน่นอนทั้งสิ้น ความเชื่อที่ว่า ทุกอย่างเกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว กรรมเก่ากำหนดไว้แล้ว เป็น “มิจฉาทิฐิ” ท่านอุปมาไว้ เปรียบดังเกลือ (ความชั่ว) 1 ก้อน ละลายในน้ำ (น้ำคือความดี) 1 แก้ว มีน้ำเป็นตัวแปร หากน้ำมากผล (ความเค็มของเกลือ) ก็จะเบาบาง หากน้ำน้อยผลก็จะหนักคือเค็มมาก ผล คือ “วิบาก” บางทีให้ผลเร็ว บางทีให้ผลช้า บางทีให้ผลตัดรอน ให้เราตั้งมั่นในความดี เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตั้งมั่นทำความดีต่อไป
Q : คนเราเมื่อตายไป แล้วดวงจิตที่ออกจากร่างของเราจะไปเกิดที่ไหน?
A : มี 2 แบบ แบบที่ไปเกิดก็มี แบบที่ไม่ไปเกิดก็มี การที่จะไปเกิดเป็นอะไรนั้น มันอยู่ที่เหตุ ว่าเราทำอาสวะแบบไหน จิตสะสมกิเลสไว้แบบไหน ก็จะทำให้ไปเกิดเป็นแบบนั้น กรณีที่ไม่ไปเกิด เป็นกรณีของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ ที่ท่านละอาสวะได้หมดสิ้นแล้วและจะไม่กลับมาเกิดอีกเลย อีกทั้ง เหล่าพระอริยะบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านจะกลับมาเกิดอีกก็จริง แต่ไม่เกิน 7 ชาติ เพราะอาสวะท่านเบาบางแล้ว ให้เราตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ให้รักษาจิตทำความดีอยู่เสมอ อย่างน้อยถ้าจะต้องกลับมาเกิดอีก ก็จะเกิดในที่ที่ดี อย่าไปหวังเพียงจิตสุดท้าย เพราะนั่นเป็นการประมาทเกินไป
Q : ถ้าเรามักจะจดจำแต่เรื่องร้าย ๆ เราควรทำอย่างไร ?
A : คำว่าจดจำ ในที่นี้ คือ ระลึกได้ ท่านเปรียบไว้กับเงาหรือต้นไม้หรือภูเขาที่พอพระอาทิตย์จะตกแล้ว เงาจะทอดยาวไปไกล คือ ถ้าเราทำความดีมา พอเราแก่ตัวลงไป เราก็จะจดจำความดีนั้นได้ เช่นเดียวกัน ถ้าเราทำความชั่วมา เราก็จะจดจำความชั่วนั้นได้ ขึ้นอยู่กับว่า คุณสะสมอะไรไว้มาก เพราะฉะนั้น เราควรให้ทานเพื่อให้จิตใจสละออก ละความตระหนี่ ทำให้จิตใจเราดีขึ้น เป็นการสั่งสมกุศลธรรมใหม่ลงไป ทำให้จิตเราตั้งอยู่ในฝั่งกุศลได้
Q : ทำอย่างไรจึงจะกำจัดความริษยาในใจของเราไปได้?
A : คำว่าอิจฉาริษยา ว่าด้วยความ “อรติ” คือ ไม่ยินดีกับที่เขาได้ดี ไม่พอใจกับเขา วิธีที่จะจัดการความรู้สึกตรงนี้ ก็คือ ให้เรายินดีกับเขา พอใจที่เขาได้ดี เราก็สุขไปด้วย ลักษณะอารมณ์อย่างนี้ เรียกว่า “มุทิตา” / ความเกลียดเกิดจากความเกลียด เราจะแก้ตรงนี้ได้ ต้องใช้ มุทิตา ก็คือ ยินดีกับสิ่งที่เขามี เขาได้ ท่านอุปมาไว้ดัง ญาติ ที่ห่างเหินกันไปนาน ไม่ได้เจอกันหลายสิบปี แล้วได้เจอกันมันจะดีใจมาก ให้ยินดีแบบนี้ ซึ่งแม้เขาอาจจะไม่ได้เอาอะไรมาฝากเราเลย แต่เมื่อเราเจอเขาเราก็ยินดีแล้ว เช่นนี้จะจัดการความริษยาได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 28 Oct 2023 - 57min - 328 - แยกจิตออกจากกาย [6642-7q]
Q : คนไข้อาการหนัก ควรจะทำจิตอย่างไรให้ระงับความทรมานได้ ?
A : การเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นหนึ่งในอนาคตภัย 5 ประการ ที่ท่านเคยเตือนไว้ ว่าหากเจ็บป่วยแล้วเราจะยังเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกอยู่ได้ไหม กายกับจิต เป็นคนละอย่างกัน เราต้องแยกกายออกจากจิต ความเข้าใจที่ว่า จิตนี้ท่องเที่ยวไป เกาะกายนี้แล้วก็ไปเกาะกายนั้น ความเข้าใจนี้ เป็นความเข้าใจที่ผิด (มิจฉาทิฐิ)เพราะหากคิดอย่างนี้ ก็คือ คิดว่าจิตเป็นตัวเป็นตน ที่ถูก(สัมมาทิฐิ) คือ จิตก็มีเกิด มีดับอยู่ตลอดเวลา หากมีเชื้อแห่งการเกิดมันก็เกิด หากไม่มีเชื้อแห่งการเกิดมันก็ดับ คนที่เจ็บมากแล้วทนอยู่ได้ เพราะเขาแยกจิตกับกายได้ เราต้องฝึกไว้ตั้งแต่ตอนที่เรายังสบายดี ตอนที่ร่างกายยังแข็งแรง เพราะเมื่อวันหนึ่ง ความเจ็บมาถึงแล้ว เราจะเป็นผู้ที่ตั้งสติได้
Q : วิธีแยกจิตออกจากกาย
A : เราจะแยกจิตออกจากกายได้ เราต้องมีศรัทธา เมื่อเรามีศรัทธา มีศีลและอาศัยการฝึกฝนด้วยความเพียร ตั้งสติขึ้น เมื่อตั้งสติได้แล้วก็จะมีสมาธิ พอจิตมีสมาธิแล้วมันก็จะเห็นไปตามความเป็นจริง เมื่อเห็นไปตามความเป็นจริง ว่ากาย เป็นของไม่เที่ยง เป็นอนัตตา จิตก็จะไม่ไปยึดถือในกาย พอไม่ไปยึดถือในกาย ถึงกายจะเจ็บแต่จิตก็จะไม่ได้มีปัญหาไปด้วย
Q : เมื่อเราเจ็บป่วยหนัก เราจะตั้งสติ ทำความเพียรได้อย่างไร ?
A : อย่าพึ่งตกใจ เพราะหากตกใจแล้วจะทำอะไรไม่ถูก ให้เราระลึกนึกถึงอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า คือ 1.ระลึกถึง พุทโธ 2.ธัมโม 3. สังโฆ 4. ศีล ว่า เราเป็นผู้มีศีลไม่ด่างพร้อย ทั้ง 4 ข้อนี้ เรียกว่า “โสตาปัตติยังคะ 4” เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราตั้งสติได้ ซึ่งทั้งวันเราอาจจะมีเจ็บปวดมีทุกขเวทนา แต่จะมีบางช่วงที่เราอยู่สบายได้บ้าง ช่องตรงนี้คือ จิตเราเป็นสมาธิ ให้เราอาศัยช่วงเวลานี้พิจารณากาย เห็นไปตามจริงว่ากายนี้ไม่เที่ยง เราควรปล่อยวางเสีย ตั้งสติไว้ ไม่เพลินไปในมัน ตั้งสติประกอบด้วยสมาธิปัญญา วางได้ เราจะสามารถกำจัดตัณหา อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ เป็นอิสระจากทุกข์ได้
Q : การพิจารณา สุขาปฏิปทาและทุกขาปฏิปทา
A : ทุกขาปฏิปทา ให้พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ พิจารณาตรงที่ปวด จี้จ่อลงไป ว่าใครเป็นคนปวด ทำไมถึงปวด ปวดแล้วอย่างไร คือ พิจารณาเหตุเกิดละเอียดลงไป ๆ หาตัวมาปวด เราจะหาไม่เจอ คือ ไม่มีตัวตน เหมาะสมกับคนที่มีราคะ โทสะ โมหะ กล้า / สุขาปฏิปทา คือ ไม่เอาจิตไปไว้ตรงที่ปวด หาที่สงบจุดใดจุดหนึ่ง ทำด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เหมาะสมกับคนที่ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง
Q : จิตสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
A : เราควรจะตั้งสติไว้อยู่เสมอ ความตายของแต่ละคนไม่แน่นอน ให้เราคิดอยู่ตลอดเวลาว่าตรงนี้คือ จุดสุดท้าย ให้เป็นผู้ไม่ประมาท ให้ฝึกตั้งสติไว้ในความดีอยู่เสมอ เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา สั่งสมบุญและสามารถทำ “โสดาปฏิผล” ให้เกิดขึ้นได้ เราจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติและจะมีนิพพานเป็นเบื้องหน้า
Q : คฤหัสถ์ที่ต้องทำหารค้าจะรักษาศีลข้อมุสาวาทฯให้บริสุทธิ์ได้อย่างไร ?
A : ในการทำธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องโกหกก็ได้ การรักษาศีลเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าเราโกหกแล้วก็จะไม่มีคนเชื่อเรา ไม่มั่นใจในการทำการค้าของเรา
Q : ทำยังไงไม่ให้ถูกหลอก ?
A : เมื่อเรามีราคะ โทสะ โมหะ เราก็มักจะถูกหลอก ให้เราแก้ที่ตัวเราเอง คือ ให้เป็นผู้มีสติ มีสมาธิ พิจารณาให้ดี ใช้ปัญญา อย่าไปตามอำนาจ ราคะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลส มันมีเหตุผล มีข้ออ้างเสมอ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 21 Oct 2023 - 55min - 327 - สุข ทุกข์ เป็นของธรรมดา [6641-7q]
Q : อายุขัยของคนเราถูกกำหนดมาแล้วด้วยกรรม ใช่หรือไม่?
A : เมื่อเราได้ยินสิ่งใดมาแล้วให้จดจำแล้วนำมาเทียบเคียงกับคำสอนของท่านว่าลงรับกันได้หรือไม่ กรณีของพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าจะดำรงอายุขัยให้ได้ 1 กัป ท่านก็ทำได้ แต่ท่านกำหนดอายุไขไว้ที่ 80 ปี แสดงว่าไม่ได้เป็นเรื่องของกรรมกำหนดโดยส่วนเดียว ว่าคนจะมีอายุไขเท่านั้น เท่านี้ หากแต่มีปัจจัยอื่นมาประกอบด้วย ในกรณีของท่าน ท่านมีเหตุคือโรคภัยไข้เจ็บ จากการบำเพ็ญทุกกรกิริยา แม้หากพระอานนท์จะนิมนต์ท่านไว้ สุขภาพท่านก็จะไม่เหมือนเดิมคืออยู่แบบคนป่วย หรืออาจจะเกิดจากการบริโภคและการดูแลตนเอง การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ หรืออาจเกิดจากกรรมตัดรอน คบคนไม่ดีแล้วทำให้ได้ผลไม่ดีกับเรา โดยลักษณะการให้ผลของบุญและบาป มันต่างวาระ ต่างโอกาส ถ้าบาปมันให้ผลอยู่ บุญก็ยังให้ผลไม่ได้ เราจึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ไม่เผลอ ไม่เพลิน ให้มีสัมมาทิฐิว่าบุญมี บาป มี หมั่นสร้างบุญสร้างกุศล ดูแลสุขภาพตนเองไว้
Q: อายุวัฒนกุมาร | กรณีตัวอย่างของการสร้างเหตุยืดอายุขัย
A: เป็นเรื่องของเด็กคนหนึ่ง ชื่อว่า อายุวัฒนกุมาร โดยมีพราหมณ์ทำนายไว้ว่า เด็กคนนี้จะตายภายใน 7 วัน หลังจากวันที่เกิด บิดาจึงไปหาพระพุทธเจ้า แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญที่บ้านเป็นเวลา 7 วัน พระพุทธเจ้าท่านเสด็จมาในวันที่ 7 พอท่านเสด็จมา เทวดาผู้ใหญ่ก็เสด็จมา เทวดาที่เป็นยักษ์ ที่จะมากินเด็ก ก็มาไม่ได้โอกาส จนช่วง 7 วันนั้นสิ้นสุดลงและเด็กคนนั้น ได้มีอายุยืนยาวถึง 120 ปี คนที่มีอายุยืนมักจะเป็นคนที่มีบุญมาก ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความโดยส่วนเดียวว่า คนที่อายุสั้นจะมีบุญน้อย เพราะลักษณะการให้ผลของบุญและบาปนั้น มันต่างวาระ ต่างโอกาสกัน เราจึงควรหมั่นสร้างบุญ สร้างกุศลและตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
Q : คนที่เสียชีวิตกะทันหัน ดวงวิญญาณจะล่องลอยอยู่ ต้องมีตัวตายตัวแทน จึงจะไปเกิดได้
A : คนที่ตายไปแล้ว จังหวะที่เขาเกิดใหม่ เรียกว่า “สัมภเวสี” แปลว่า ผู้แสวงหาที่เกิด ซึ่งจริง ๆ แล้ว เขาได้เกิดใหม่แล้ว คือ เหมือนว่าเขาหลับแล้วฝัน แล้วตื่นขึ้นมา คิดว่าตัวเองเป็นอะไร เมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นอะไร รู้ว่าตัวเองตายแล้ว หากเขาละวางได้แล้ว เขาก็จะไปตามกรรม ซึ่ง คนที่ตายไปแล้ว แล้วเขายังอยู่ตรงนั้น คือ เขาไม่รู้ว่าตัวเองตายไปแล้ว ก็จะต้องบอกให้เขาทราบ ว่าเขาตายไปแล้ว คือ จัดงานศพให้เขา ซึ่ง หากเขาติดตรงไหนมาก ก็มักจะไปตรงนั้น เช่น ติดบ้านก็จะอยู่บ้าน ติดรถก็จะอยู่รถ หากเขาละวางสภาวะที่ยึดถือนั้นได้ เขาก็ย่อมไปตามกรรม
Q : จริงหรือไม่ ที่ว่าดวงจิตของผู้ตายจะสามารถรับผลบุญได้เต็มที่ หลังจากเสียชีวิตภายใน 5 วัน ให้รีบทำบุญ ถ้าหลังจากนั้นจะเขาอยู่สภาวะที่ไม่สามารถรับบุญได้
A : การทำบุญให้กับพ่อแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วนั้น เป็นหน้าที่ของลูกหลานอยู่แล้ว เพื่อเป็นการสื่อสารให้ผู้เสียชีวิตได้ทราบว่า ตนได้เสียชีวิตแล้ว หากรีบทำก่อนจะดี
Q : ชาตินี้มีความทุกข์มาก จะผ่อนกรรมได้อย่างไร?
A : มนุษย์เป็นภพที่สุขกับทุกข์พอ ๆ กัน มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่วกันทุกคน ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ก็จะให้ผลต่างกรรม ต่างวาระกัน ท่านสอนไว้ว่า “ทำกรรมอย่างไร จะได้รับวิบาก(ผล)ของกรรมอย่างนั้น” หากเราเข้าใจว่าสุข ทุกข์ มันก็เป็นธรรมดา แล้วหมั่นสร้างความดี เราก็จะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสบายใจ
Q : เรื่องของสุข ทุกข์ที่ไม่อยู่กับเราตลอด แล้วระหว่างที่เราอยู่ เราต้องทำอะไร?
A : สุข ทุกข์ เป็นเรื่องธรรมดา เราจะอยู่กับทุกข์ เห็นธรรมดาในทุกข์ได้นั้น จิตเราต้องประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 มีพรหมวิหาร 4 เป็นวิหารธรรม จึงจะอยู่กับทุกข์ได้ เราจะอยู่กับสุข เห็นธรรมดาในสุขนั้นได้ เราต้องเห็นว่าสุขนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อไม่ให้จิตเรายึดติด ลุ่มหลงในสุขนั้น เมื่อเราเข้าใจ เห็นสุขและทุกข์เป็นธรรมดา ไม่ขยะแขยงเกลียดชังในทุกข์ ไม่ลุ่มหลงพอใจในสุข เราก็จะสามารถทำความดีต่อไปได้ อยู่ในโลกได้อย่างเข้าใจและผาสุก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 14 Oct 2023 - 58min - 326 - ระงับการปรุงแต่งได้ด้วยสติ [6640-7q]
Q : ทำไมเวลาสวดมนต์ทำวัตรเช้าจึงน้ำตาไหล และเวลานั่งสมาธิก็จะเห็นแสงสีเหลือง ๆ เต็มไปหมด
A : น้ำตาไหลเป็นอาการของปิติ เป็นการปรุงแต่งทางกายอย่างหนึ่ง ซึ่ง การปรุงแต่งจะมีอยู่ 3 ช่องทางคือ ทางกาย (กายสังขาร) ทางวาจา (วจีสังขาร)และทางใจ (จิตตสังขารหรือมโนสังขาร) ซึ่งแต่ละคน การปรุงแต่งก็จะแตกต่างกันไป ที่สำคัญ คือ เมื่อมีอาการปรุงแต่งไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจาหรือใจ ให้เรา “มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก รู้พร้อมเฉพาะซึ่งการปรุงแต่งทางกาย หายใจเข้า หายใจออก” คือ ไม่เผลอ ไม่เพลิน ไม่นึกคิดไปตามการปรุงแต่งทางกายนั้น ให้มีสติ อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เราใช้เป็นเครื่องมือนั้น ในที่นี้คือ ลมหายใจ แล้วการปรุงแต่งทางกายก็จะงับลง จิตก็จะละเอียดลง จากปิติ เป็นสุข เป็นอุเบกขาได้
Q : การเข้าทรง ทรงเจ้า เกิดจากอะไร?
A : ในพระไตรปิฏก มีกล่าวถึงอมนุษย์เข้าสิง คำว่า “อมนุษย์” เมื่อแปลเป็นภาษาไทย คือ ผี แต่จริง ๆ แล้ว อมนุษย์ นั้นมีหลายประเภท นับตั้งแต่เทวดาจนถึงสัตว์นรก พอเข้าสิงแล้วอาจจะทำให้บุคคลนั้นทำผิดตรงนี้ก็มีและในปัจจุบันที่เป็นเรื่องหลอกลวงก็มี ซึ่งเมื่อมีของปลอมปรากฏขึ้น ของจริงจึงเสื่อมค่าลงไป เพราะคนไม่รู้ว่าสิ่งไหนจริง สิ่งไหนปลอม ทำให้ศรัทธาเสื่อมลงไป ท่านจึงได้พูดถึงหลักธรรมอย่างเดียว คือ สอนเรื่องของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ มากที่สุด เพราะสำหรับผู้ที่ยังบริโภคกาม การตรวจสอบคุณวิเศษนั้นตรวจสอบได้ยาก เราควรเอาสาระ ตรงการปฏิบัติและการเข้าใจธรรมะเป็นสำคัญ
Q : การสวดมนต์ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น
A : พึ่งมีมาไม่กี่ร้อยปีมานี้ เป็นการสวดมนต์ คือ การสวด (สัชฌายะ) / พูดตามที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นการสวดขึ้นพร้อมกัน (การสังคายนา) หรือมารวมกันอยู่ที่วัด สวดต่อหน้าพระพุทธรูปหรือพระจะแยกกันสวดที่กุฎิ หรือฆราวาสจะสวด ก็สามารถทำได้ เพื่อเป็นการนำคำสอนของท่านมาทบทวน ก็เลยเป็นการสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น
Q : กดไลน์กดแชร์ธรรมะดี ๆ ให้ ผู้อื่น กลับถูกมองว่าเป็นคนอวดตัวว่าเป็นคนธัมมะธัมโม อย่างนี้เราควรจะทำต่อไปหรือเก็บข้อธรรมะดี ๆ นี้ไว้ในใจคนเดียว ?
A : ให้เรามีเมตตาต่อเขา รู้จักวางเฉย ให้เราปรับจิตเรา ไปตามแบบที่ท่านได้สอนไว้ ปรับวาจาให้เป็นสัมมาวาจา ตั้งมั่นและหนักแน่นในความดี เราจะไม่หยุดทำความดีเพียงเพราะคำพูดของผู้อื่น ให้เราทำความดีต่อไป
Q : การทำบุญให้ได้เป็นประโยชน์สูงคือ การสละสุข ?
A : เวลาเราให้ทาน ให้เราตั้งจิตให้ละเอียดมากขึ้น อย่าหวังเอาแค่ผลฉาบฉวย อย่าหวังเอาแค่ชื่อเสียง “การสละสุขพอประมาณ จะได้สุขที่ยิ่งขึ้นไป” จะไปสู่สวรรค์ นิพพานได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 07 Oct 2023 - 57min - 325 - การบ่มอินทรีย์ [6639-7q]
Q: เวลาไปทำบุญตักบาตรในตอนเช้า สามารถได้เอาเงิน (ธนบัตร) ใส่ลงไปในบาตร ได้หรือไม่?
A: บาตรของพระสำหรับน้ำ และอาหารเท่านั้น พระสงฆ์เป็นผู้ละแล้วซึ่งเงินและทอง แต่หากญาติโยมจะนำเงินมาให้ ท่านให้รับได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องมีไวยาวัจกรเป็นผู้รับทำการแทน และเมื่อรับต้องตั้งจิตไว้ว่า รับปัจจัยสี่ที่ควรแก่สมณะจะบริโภคอันเกิดจากเงินและทองนั้น โดยปัจจัยสี่นั้นต้องเป็นสิ่งที่เป็นกัปปิยะด้วย
Q: ถ้าอ่าน “อนันตลักขณะสูตร” ในปัจจุบันแล้วเข้าใจและมั่นใจพระสูตรนั้น จะสามารถมีดวงตาเห็นธรรม ได้หรือไม่?
A: การมีดวงตาเห็นธรรม หรือบรรลุธรรมนั้นขึ้นอยู่กับเหตุ เงื่อนไข ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งขึ้นอยู่กับปัญญา ว่าเมื่อฟังคำสอนแล้ว สามารถเข้าใจได้มากน้อยเท่าไหร่, ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ คือ กำลังของจิต ว่าแก่ หรืออ่อน หากอินทรีย์แก่กล้าก็จะบรรลุธรรมได้เร็ว หากอินทรีย์อ่อนก็จะบรรลุธรรมได้ช้า และยังขึ้นอยู่กับการบ่มอินทรีย์ คือ บ่มด้วย ทาน ศีล ภาวนา บ่มด้วย ศีล จาคะ ปัญญา หากเราสร้างเหตุ สร้างปัจจัยที่ถูกต้อง เราจะบรรลุธรรมได้แน่นอน ในทางที่เราเดินไปนี้ ไม่ว่าเราจะอยู่ตรงไหนส่วนของเส้นทาง ไม่ว่าอยู่ต้น กลาง หรือปลาย หากเราสร้างเหตุปัจจัยได้ถูกต้อง และเชื่อมั่นศรัทธาในทางที่เดิน เราจะไปถึงนิพพานได้แน่นอน
Q: การดูกาย ดูอสุภะ ดูได้ตลอดเวลาหรือไม่ หากจะทำให้มากขึ้นควรทำอย่างไร?
A: การพิจารณากายก็เป็นกระบวนการหนึ่งในการทำสมาธิ สมาธิมี 2 ส่วน คือ สมถะ และวิปัสสนา ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ต้องไปด้วยกัน หากสมถะมากเกินไปนิ่งเกินไป ก็จะทำให้เกียจคร้าน ให้เราเพิ่มวิปัสสนา หากวิปัสสนามากเกินไปจะเกิดความฟุ้งซ่าน ก็ให้เพิ่มสมถะเข้าไป เราต้องทำทั้ง 2 อย่างนี้ให้สมดุลกัน
Q: หากเรารู้ว่าเรารักษาศีล 5 ได้ไม่เต็ม ควรทำอย่างไร?
A: การที่เรารู้ว่าศีลเราด่างพร้อยนั้น นั่นคือ เรามี “สีลานุสสติ” แล้ว เมื่อเราผิดศีล จะมีอานิสงส์ คือ ความร้อนใจ เช่นนั้น ก็ให้เราสบายใจ ที่ผิดแล้วก็แล้วไป สำคัญที่เจตนา ให้เราตั้งเจตนารักษาศีลขึ้นมาใหม่ ทำได้ด้วยตัวเองเลย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 30 Sep 2023 - 55min - 324 - ตัณหากับฉันทะ [6638-7q]
Q: “อุเบกขา” คือ อย่างไร ต่างจาก “ความเมินเฉย” ตรงไหน?
A: “อุเบกขา” เป็นภาษาบาลี แปลว่า วางเฉย เราจะมีอุเบกขาได้นั้น จิตต้องเป็นสมาธิ จิตเป็นอารมณ์อันเดียว เพ่งเฉพาะจิตที่ตั้งมั่นไว้เป็นอย่างดี อุเบกขาจึงจะเกิดขึ้น ซึ่งในขณะที่จิตเราเป็นสมาธิ อกุศลทั้งหลายมันจะไม่โผล่ออกมา มันจะฝังอยู่ในจิต จะเป็นความสงบนิ่งเย็นอยู่ภายใน เป็นความสุข เป็นปิติ ชนิดที่เป็น นิรามิส คือ สุขที่ไม่อาศัยเครื่องล่อ ส่วน “เมินเฉย” เป็นลักษณะของ “โมหะ” เป็นอวิชชา
Q: ถ้าเมตตามากจนเกินไป จะเกิดอะไรขึ้น หรือมีผลอย่างไร?
A: อุเบกขา เฉยเมย และอทุกขมสุข เป็นคนละอย่างกัน “อทุกขมสุข” คือ ไม่ทุกข์ ไม่สุข สุขที่เป็น “อามิส” คือ สุขที่อาศัยอามิสเครื่องล่อภายนอก ส่วน สุขที่เป็น “นิรามิส” คือ สุขที่เกิดจากในภายใน ละเอียดลงไปอีกก็เป็น “โทมนัส” หรือ “โสมนัส” คือ สุข ทุกข์ทางใจ ถ้าเรากำจัดทุกข์ได้ ทุกข์ก็หมดไป ถ้าเรากำจัดสุขได้ สุขก็หมดไป ถ้าเรากำจัดอทุกขมสุขได้ จะเหลืออุเบกขา เพราะฉะนั้น อุเบกขาละเอียดกว่าอทุกขมสุข / เมตตา มี 3 ช่องทาง คือ ทางกาย วาจา ใจ และในทั้ง 3 ช่องทางนี้ มีทั้งต่อหน้าและลับหลัง เราต้องมีเมตตา มุทิตา อุเบกขา ในทั้ง 3 ช่องทาง เป็นเมตตาที่ไม่มีประมาณ ให้กับทุกคน ให้ชนิดที่ไม่กลัวหมด ไม่เว้นใคร ให้เรารู้จักแยกแยะช่องทางให้ถูก ในทางพรหมวิหารไม่ใช่มีแค่เมตตา แต่ยังมี มุทิตา กรุณา และอุเบกขาด้วย เราจึงควรมี เมตตา มุทิตา อุเบกขา ทั้ง 3 ช่องทาง เลือกใช้ให้เหมาะสมก็จะไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่ในโลกได้อย่างมีความสุข
Q: ความสันโดษทำให้คนขี้เกียจ จริงหรือไม่?
A: “สันโดษ” หรือ “สันตุฏฐี” หมายถึง ความพอใจ ความพอดี สันโดษในบริขารของชีวิต คำที่มักจะมาคู่กันก็คือ “มักน้อยสันโดษ” คือ พอใจและยอมรับในสิ่งที่ตนมีอยู่เป็นอยู่ คำว่า “มักน้อย”ในทางพุทธศาสนา ท่านหมายถึง การไม่อวดตน การเป็นผู้ถ่อมตน จึงมาสอดคล้องกับความสันโดษ ที่มีอิทธิบาท 4 ตั้งเป้าหมายในชีวิตแล้ว ใส่อิทธิบาท 4 ลงไป ให้เหมาะสม เมื่อประกอบกันแล้ว จะทำอะไรก็จะสำเร็จได้ ส่วนความ “ขี้เกียจ” เป็นลักษณะของนิวรณ์ จิตใจไม่สงบ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนมี จึงเอามาเป็นข้ออ้างที่จะขี้เกียจ เพราะฉะนั้น เราต้องสันโดษจึงจะกำจัดความขี้เกียจได้
Q: ตัณหากับฉันทะต่างกันอย่างไร?
A: “ตัณหา” คือ ความทะยานอยาก หากเราตั้งอิทธิบาท4 ไว้แล้วก้าวไปด้วยตัณหา นั่นจะเป็นกับดักของความอยาก ทำให้ก้าวผิดพลาดได้ แต่ถ้าเราต้องใส่ความพอใจเข้าไป ท่านจะ เรียกว่า “ฉันทะ” ซึ่งก็คือ ความอยากเหมือนกัน แต่เป็นฉันทะที่ต้องถูกควบคุมด้วยสมาธิ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ของอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เราต้องตั้งธรรมเครื่องปรุงแต่งเอาไว้ โดยเอาฉันทะเชื่อมกับธรรมเครื่องปรุงแต่งด้วยสมาธิ พอเราปฎิบัติตาม มรรค 8 จะทำให้ฉันทะ ระงับลง ๆ งวดลง ๆ และหายไป ฉันทะก็จะถูกกำจัดด้วยฉันทะ คือ ชำระล้างตัวเองไปในตัว
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 23 Sep 2023 - 55min - 323 - พิจารณาเพื่อปล่อยวาง [6637-7q]
Q : การพิจารณาเกสา (ผม) ทำอย่างไร?
A : เป็นพุทธพจน์ที่ท่านให้พิจารณา ให้จิตตั้งอยู่ใน ปัญจกรรมฐานหรือกรรมฐาน 5 คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยพิจารณาให้เห็นเป็นของปฏิกูล ไม่ใช่ของสวยงาม เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในร่างกายของเรา พิจารณาแล้วน้อมเข้ามาสู่ตัวเรา ว่าตัวเราก็ไม่ควรค่าที่จะยึดถือไว้
Q : การนั่งสมาธิแล้วพิจารณาซากศพ ควรวางจิตและพิจารณาอย่างไร ?
A : พิจารณาให้เห็นเป็นของปฏิกูล เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เพื่อไม่ให้เกิดความยึดถือ เพื่อปล่อยวาง แม้แต่พระพุทธเจ้ายังปรินิพพาน น้อมเข้าสู่ตัวเราว่า ตัวเราจะต้องเป็นอย่างนี้ในสักวันหนึ่ง ไม่อาจล่วงพ้นไปได้
Q : เวลาที่พิจารณากายแล้วเกิดอาการรู้สึกว่ามีโลหิตไหลอยู่ในคอ ทำให้ไอและจาม ควรแก้ไขอย่างไร?
A : ให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี อาการเช่นนี้เป็นการปรุงแต่งของกาย (กายสังขาร) ให้เราฝึกตั้งสติสัมปชัญญะ ทำไปเรื่อย ๆ การปรุงแต่งทางกายก็จะค่อย ๆ ระงับลง ๆ
Q : มีคนกล่าวไว้ว่า "ทำสมาธิตอนนอน" ดีที่สุด ได้บุญมากที่สุด?
A : สมาธิไม่ได้เกิดขึ้นที่กาย แต่เกิดที่จิต ไม่ว่าจะอิริยาบถไหนก็ต้องทำได้หมด ไม่ใช่แค่อิริยาบถนอนเท่านั้น สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ ทำสมาธิอย่างไร พอจิตเราเป็นสมาธิ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ตรงนั้นก็จะเป็นทิพย์ หากอยู่ในอิริยาบถนั่ง ที่นั่งตรงนั้นก็เป็นที่นั่งทิพย์
Q : อานิสงส์ของการเดิน / คำว่า "สมาธิตั้งอยู่ได้นานด้วยการเดิน เป็นอย่างไร ?
A : อานิสงส์ของการเดินจะทำให้สมาธิตั้งอยู่ได้นาน เพราะมีผัสสะมากสมาธิที่ได้จึงตั้งอยู่ได้นาน หากทำสมาธิในอิริยาบถเดินแล้ว จะทำให้อาหารย่อยง่าย เป็นผู้มีความอดทนเดินทางไกล มีอายุยืนยาว
Q : เพราะเหตุใดในข้อธุดงควัตรถึงห้ามเอนกายลงนอนในเมื่อสามารถทำสมาธิได้ในทุกอิริยาบถ ?
A : ธุดงควัตร หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ทำได้ยาก เหมาะแก่การขูดเกลากิเลสอย่างยิ่ง การห้ามเอนกายนอน เป็นการขนาบกิเลสทางหลัง เป็นการทำความเพียรรูปแบบหนึ่ง เพื่อเอาชนะกิเลส ขึ้นอยู่กับว่า กิเลสเราไปออกทางไหน หากเราชอบง่วง ชอบนอน เราก็ต้องเอาวิธีธุดงควัตรมาใช้ ให้เราดูลักษณะจิตของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง นอน ให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะจิตของเรา
Q : เวลานั่งสมาธิได้แล้วจะเกิดความปิติ ปิติแบบมีความสุขมาก ทำอย่างไรมันจึงจะสงบลงได้?
A : ให้เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง ปิติที่เป็น “อามิส” นั้นต้องอาศัยเครื่องล่อ ส่วนปิติที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อ เกิดจากในภายใน เรียกว่า ปิติที่เป็น “นิรามิส” จะเกิดขึ้นเมื่ออกุศลในใจเราลดลง ๆ กุศลในใจเพิ่มขึ้น ๆ จะวางปิติได้ ก็ต้องเห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง จะทำให้ปิติสงบระงับลงได้
Q : สมาธิเวลานอน คือ การที่เราท่องพุทโธ ๆ ไปจนหลับใช่หรือไม่?
A : การกำหนดสติ มีหลายวิธีแล้วแต่เราจะเลือกใช้ หนึ่งในอนุสติ10 ได้หมด โดยมีจุดประสงค์ คือ เพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะแล้วน้อมไปเพื่อการนอน การนอนแบบนี้เป็นการนอนที่เรียกว่ามี สติสัมปชัญญะในการนอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 16 Sep 2023 - 58min - 322 - อนันตริยกรรมฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว [6636-7q]
Q : อนันตริยกรรมคือกรรมหนักฝ่ายชั่ว แล้วกรรมหนักฝ่ายดีมีหรือไม่ อย่างไร ?
A : อนันตริยกรรม ฝ่ายชั่ว มีในพุทธพจน์ มี 5 อย่าง คือ 1.ฆ่าบิดา 2.ฆ่ามารดา 3.ฆ่าพระอรหันต์ 4.ทำพระพุทธเจ้าให้โลหิตเลือด 5. ทำสงฆ์ให้แตกกัน ผลของการทำอนันตริยกรรม คือ ให้ผลเดี๋ยวนี้ (กรณีพระเทวทัต) ให้ผลเลยหลังจากกายแตกตายไป ส่วน อนันตริยกรรม ฝ่ายดี มีในอรรถกถา มี 8 อย่าง คือ ฌาน 1 ถึงชั้น ฌาน 8 คือเมื่อเรานั่งสมาธิแล้วให้ผลเลย ให้ผลเดี๋ยวนี้ ให้ผลทันที ตามอำนาจที่เราได้ทำไป
Q : มีคนกล่าวไว้ว่า "ถ้าสามารถท่องบทปฏิจจสมุปบาทได้ทั้งไทยและบาลี จะเป็นการปิดประตูอบายได้อย่างแน่นอน" จริงหรือไม่ ?
A : การปิดประตูอบาย จะใช้กับคนที่เป็นโสดาบันขั้นผลเท่านั้น คนที่ไม่ผิดศีลและมีศรัทธาหยั่งลงมั่น จะปิดประตูอบายได้ คือ เขาจะไม่สามารถทำกรรมที่เมื่อทำแล้วจะไปสู่ นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย เขาจะทำไม่ได้ ไม่ได้เกี่ยวกับว่าจะสวดมนต์บทไหนหรือไปสถานที่ใด ที่สำคัญคือ คุณมีศรัทธาที่หยั่งลงมั่นหรือไม่ หากเรารักษาศีลได้เต็มเปี่ยม มีศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วนั้น นั่นจึงจะปิดประตูอบายได้
Q : เวทนากับสังขารต่างกันอย่างไร ? ทำไมมีแต่เวทนานุปัสสนา ไม่เห็นมี สังขารานุปัสสนา?
A : สังขาร คือ การปรุงแต่งให้สำเร็จรูป ปรุงแต่ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้สำเร็จรูป เปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกแบบหนึ่ง การปรุงแต่งนั้นเรียกว่า สังขาร / เวทนา คือความรู้สึก สุข ทุกข์และอทุกขมสุข / ท่านบอกว่าในบรรดาการปรุงแต่งทั้งหมด การปรุงแต่งที่ดีที่สุดคือมรรค 8 เพราะมันจะทำให้สังขารระงับลง เป็นการปรุงแต่งที่ทำให้การปรุงแต่งระงับลง เพราะฉะนั้นเวทนาจึงอยู่ในสังขาร และรูป เวทนา สัญญาและวิญญาณต่างก็เป็นสังขารแบบหนึ่ง อวิชชาและสังขารอยู่ด้วยกัน เพราะฉะนั้น เวทนาจึงเป็นจุดที่สำคัญ เพราะความทุกข์ทั้งหมดรวมกันลงในเวทนาถ้าเราเข้าใจเวทนา จะทำให้เราตัดกระแสของตัณหาได้ เพราะว่า เวทนาทำให้เกิดตัณหา ซึ่งถ้าเราเข้าใจเวทนาตัดกระแสของปัญหา ความทุกข์เราก็จะหมดไป เพราะฉะนั้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงเป็นองค์ในการภาวนาอย่างหนึ่ง เป็นจุดสำคัญที่เราต้องตั้งสติไว้ ซึ่ง นอกจากเวทนา ก็ยังมี สติปัฎฐานตั้งไว้ใน กาย จิตและธรรม ตั้งไว้ในอันใดอันหนึ่งก็ได้
Q : การดูลมหายใจหรืออานาปานสติ ในระหว่างกินข้าวหรือพูดคุย ทำอย่างไร?
A: เราอาศัยลม เป็นเครื่องมือทำให้เกิดสติ ไม่ใช่ว่าไม่เห็นลมแล้วไม่มีสติ การที่เราไม่เผลอ ไม่เพลินไปตามสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั่นคือ เรามีสติแล้ว
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 09 Sep 2023 - 57min - 321 - เบื่อหน่ายกับเบื่อเซ็ง [6635-7q]
Q: รู้สึกเบื่อโลก เบื่อทุกอย่างในชีวิต ควรทำอย่างไร?
A: ความเบื่อหน่าย หรือนิพพิทา ในทางพุทธศาสนา เมื่อเห็นไปตามจริงแล้วจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จะปล่อยวาง ไม่ยึดถือสิ่งใดอีก เป็น “กุศล” ส่วนความเบื่อเซ็ง เป็นโมหะ จะเป็นลักษณะที่จะหมดกำลังใจ ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไรทำให้จิตใจเราอ่อนกำลังลง พอเบื่อสิ่งนี้ ก็ไปยึดสิ่งใหม่ เป็น “อกุศล” ท่านเปรียบเทียบกับพราหมณ์ที่บูชาไฟ หากไฟลุกโชนมากก็ให้ใส่ขี้เถ้าลงไป หากไฟจะมอดดับก็ให้เติมเชื้อลงไป ท่านแบ่งโพชฌงค์ ไว้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เติมเชื้อไฟเข้าไป คือ ธัมมวิจยะ, วิริยะและปีติ และส่วนที่เติมขี้เถ้าลงไป คือ ปัสสัทธิ, สมาธิและอุเบกขา ให้เราเลือกใช้ให้ถูก หรือหากเราเบื่อเซ็งมาก ๆ ก็ให้ออกไปหากิจกรรมอะไรทำ เช่น ออกกำลังกาย ร่างกายก็จะหลั่งสารบางอย่างออก มาทำให้เรารู้สึกสบาย แต่หากเรายังอยู่กับความเบื่อ ความหดหู่นั้น ร่างกายก็อาจหลั่งสารบางอย่างออกมา ทำให้เราซึมเศร้า กายเราก็จะป่วยไปตามใจ เพราะตัวเรานั้น มีกายกับใจ มีรูปกับนาม ใจมีผลกับกาย กายก็มีผลกับใจเช่นกัน
Q: อยากจะบวชเป็นแม่ชี แต่มีความเกรงใจกังวลว่าจะไปเป็นภาระของวัด
A: การบวชเป็นแม่ชีโกนผมห่มขาวนั้น ก็เพื่อออกจากวัฏฏะสงสาร นั่นเป็นการ “ปลดภาระ” ส่วนที่เป็น “ภาระ” คือ การที่เรายังวนเวียนอยู่ในวัฎฎะนี้ ซึ่งถ้าเราไม่ได้บวชชี เราก็สามารถทำบ้านให้เป็นวัดได้ เราสามารถถือศีล 8 ดำรงชีพไปได้ตามปกติ เสพกามให้น้อยลง หมั่นปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ลักษณะเช่นนี้ก็สามารถทำได้
Q: บุคคลที่ไม่มีศรัทธาเลยแต่มีปัญญา เขาจะสามารถบรรลุธรรมได้หรือไม่? และบุคคลประเภทไหน ใช้ธรรมะอะไร จึงจะมีปัญญาขึ้นมา
A: หากเขาไม่มีศรัทธา ก็จะไม่มีการทำจริงแน่วแน่จริง จะไม่เกิดการลงมือทำ เมื่อไม่ลงมือทำ ก็ไม่สามารถจะปฏิบัติให้เกิดปัญญาได้ แต่หากเขามีศรัทธา เขาจะมีการลงมือทำจริงแน่วแน่จริง มีวิริยะ คือ ความเพียร มีความตั้งใจจริง เมื่อเขาปฏิบัติแล้ว จะเกิดปัญญาได้ ซึ่ง ปัญญานี้ไม่ได้หมายถึงปัญญาในทางโลก หรือโลกียปัญญา แต่หมายถึง ปัญญาในทางธรรม คือ โลกุตรปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 02 Sep 2023 - 58min - 320 - เกิดมืด เกิดสว่าง [6634-7q]
Q: คนที่อยากมีลูกมากแต่ไม่สามารถมีได้ มันมีผลกรรมอันใดที่ทำให้เป็นเช่นนั้น?
A: เมื่อเรามีความปรารถนา หากเราสมหวัง ก็จะมีความสุข หากเราผิดหวังก็จะเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะไม่ได้ตามที่ตนปรารถนา ซึ่งไม่ว่าจะสมหวังหรือผิดหวัง เรื่องใด เรื่องหนึ่ง มันมีเหตุ มีปัจจัย ได้จากหลายอย่าง ไม่ใช่เรื่องกรรมอย่างเดียว หรืออาจจะเป็นเพราะกรรมที่ทำให้สรีระของเขา ไม่สามารถมีลูกได้ หรืออาจจะเป็นเรื่องของจิตใจ เรื่องของหมอหรือเทคโนโลยี ก็อาจเป็นได้
Q: อธิบายประเด็นมีคำกล่าวไว้ว่า “คนที่มีบุญจะมาเกิดในครอบครัวที่มีฐานะดี นั้นมีน้อย แต่คนที่ไม่ค่อยมีบุญ จะมาเกิดในครอบครัวที่ยากจนเข็ญใจ นั้นมีมาก”
A: ท่านเคยพูดถึงเรื่อง การเกิดมืดและการเกิดสว่าง “เกิดมืด” คือ เกิดในตระกูลที่ยากจน เข็ญใจ “เกิดสว่าง” คือ เกิดในตระกูลที่ฐานะดี มีทรัพย์มาก แต่ไม่ว่าเราจะเกิดมืดหรือเกิดสว่าง สิ่งที่สำคัญ คือ เราจะไปสว่างหรือไปมืด หากเกิดสว่าง แล้ว ประมาท มีทิฐิ มานะ ถึงเกิดสว่างก็จะไปมืด แต่หากเกิดสว่างแล้ว มีการให้ทาน รักษาศีล ละทิฐิ มานะได้ เช่นนี้ ก็จะเกิดสว่างไปสว่าง และหากเราเกิดมืด แล้วหมั่นรักษาศีล ทำบุญ ขยันทำมาหากิน ไม่เบียดเบียนใคร เช่นนี้ แม้เราจะเกิดมืดก็จะไปสว่าง
Q : คนเป็นลูกมีสิทธิ์ที่จะโกรธพ่อแม่ได้บ้างหรือไม่?
A: เราไม่ควรโกรธใครเลย เราควรรู้จักหักห้ามความโกรธ หยุดความโกรธของเราให้ได้ ไม่ว่าจะกับใคร เพราะเมื่อมีความขัดเคือง (ปฏิฆะ) แล้วก็จะมีความโกรธขึ้นมา มีโทสะ คิดประทุษร้ายเขา เป็นพยาบาทขึ้นมา เพราะฉะนั้น เราต้องไม่ยินดีให้จิตเคลื่อนจากการถูกกระทบ ในสิ่งที่ไม่น่าพอใจนั้น เราควรตั้งจิตไว้ให้ดี ให้ยินดีในความไม่พยาบาท (อพยาบาท)
Q: ควรจะทำอย่างไร เมื่อยังไม่ลืมอดีต ยังโกรธไม่พอใจพี่สาวที่ทำไม่ดีกับพ่อแม่มาตั้งแต่ยังเด็ก
A: เราทุกข์ตรงไหน จะละทุกข์ได้ ก็ต้องละตรงนั้น คนเราเปลี่ยนแปลงกันได้ อย่าไปยึดถือในความไม่ดีของเขา หากเรายังพยาบาทไม่พอใจเขาเพราะเขาทำไม่ดี นั่นคือ เรายึดถือในความดี อยากได้ความดี เลยไม่พอใจสิ่งที่ไม่ดี เพราะเรายึดถือ เราจึงยังทุกข์ถึงทุกวันนี้ ให้เราเอาความดีเป็น “ที่พึ่ง” คือ ”สรณะ” เอาธรรมะเป็นที่พึ่ง เอามรรค 8 เป็นที่พึ่ง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 26 Aug 2023 - 57min - 319 - ฉลาดในทางและไม่ใช่ทาง [6633-7q]
Q: สำนวนที่ว่า "ฉลาดในทาง และไม่ใช่ทาง" เป็นอย่างไร?
A: ท่านได้กล่าวถึงการกำเนิด 4 และคติ 5 / กำเนิด 4 แยกตามลักษณะการกำเนิด คือ 1. กำเนิดในไข่ 2. กำเนิดในของโสโครก 3. กำเนิดในครรภ์ 4. ผุดเกิดขึ้น / คติ 5 คือ ทางที่จะให้ไปถึงกำเนิดเหล่านั้น ได้แก่ 1. สัตว์นรก 2. กำเนิดเดรัชฉาน 3. เปรตวิสัย 4. มนุษย์ 5. เทวดา ท่านจะรู้ว่าปฏิบัติแบบไหน จะไปสู่คติอย่างไร ทำแบบไหนจึงจะเดินไปสู่คตินั้น นี่คือ “ฉลาดในทางและไม่ใช่ทาง” ซึ่งแต่ละทางมีเส้นทางที่ไม่เหมือนกัน เส้นทางที่จะนำไปสู่ความเป็นเศรษฐี ท่านได้กล่าวไว้ถึง 1. การลุกขึ้นมาทำงาน ขยันขันแข็ง (อุฏฐานสัมปทา) 2. รู้จักรักษา เก็บเงิน (อารักขสัมปทา) 3. มีเพื่อนดี (กัลยาณมิตตตา) 4. รู้จักทำบัญชี แบ่งเงิน (สมชีวิตา) นี่คือทางที่จะเห็นผลในชาตินี้และทางอันสั้นนี้ จะต้องประกอบกันกับอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วย
Q: ทำอย่างไรคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนจึงจะอยู่อย่างมีความสุข?
A: คนทั่วไปมักจะรักสุขเกลียดทุกข์ เรียกรวม ๆ ว่า “กามสุข” คือ สุขที่เกิดจากความเพลิน ความพอใจ ยินดี ไปใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส (โทษมาก ประโยชน์น้อย) ส่วน “เนกขัมมะสุข” คือ สุขที่เกิดจากภายใน เป็นสุขที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม (โทษน้อย ประโยชน์มาก) สำหรับผู้ครองเรือน ยังบริโภคกาม ความสุขที่เป็น กามสุข ควรบริโภคให้น้อยลงและเพิ่มสุขที่เป็น เนกขัมมะสุข ให้มากขึ้น ซึ่งต้องมีเหตุ มีทางให้พ้นจากทุกข์นั้น คือ 1.สร้างเหตุปัจจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์ 2. เข้าใจโลกธรรม 8 เพื่อให้เป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหน
Q: ฆราวาส ถ้าไปทำผิดศีล 5 ข้อใดข้อหนึ่ง แล้วไปทำการล้างบาป มันจะหมดเวรกรรมหรือไม่?
A: การล้างบาป ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่มีในศาสนาพุธ กิเลสไม่ได้อยู่ที่กาย การชำระล้างอาบกายไม่ได้ช่วยอะไร สิ่งใดที่ทำไปแล้ว สิ่งนั้นก็คือทำไปแล้ว เราควรหมั่นสร้างบุญกุศล ท่านเปรียบไว้ดัง เรานำเกลือ 1 ก้อน ละลายในแก้ว ผลคือจะเค็มมาก และหากนำเกลือ 1 ก้อน ละลายในแม่น้ำ ผลคือ ความเค็มจะเบาบางลง (เกลือ คือ บาป, น้ำ คือ บุญ, ผลของความเค็ม คือ ผลของบาป) การที่จะหมดเวร หมดกรรม คือ เหนือบุญ เหนือบาป สิ่งนั้นคือ “นิพพาน”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 19 Aug 2023 - 58min - 318 - ปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม [6632-7q]
Q: เหตุใดอุบาสก อุบาสิกา จึงนิยมสวมใส่ชุดชาวมาปฏิบัติธรรม และอุบาสก อุบาสิกา ในสมัยพุทธกาลแต่งชุดขาวหรือไม่?
A: ที่นิยมใส่ชุดขาวส่วนหนึ่งอาจมาจาก หนึ่งในมหาสุบินของพระพุทธเจ้า ตอนที่ท่านเป็น พระโพธิสัตว์ ในข้อที่ว่า “มีหนอนตัวสีขาว หัวดำ คลานเข้ามาจากทุกทิศ ทุกทาง แล้วไต่ขึ้นมาตามเท้าถึงเข่าของท่าน” ในมหาสุบินข้อนี้ บอกไว้ว่า จะมีอุบาสก อุบาสิกา ที่นับถือพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต มีมากมาย มาจากทุกวรรณะ ทุกทิศทุกทาง และส่วนหนึ่งอาจมาจาก พุทธพจน์ ที่ท่านได้เล่าให้พระอานนท์ฟัง ถึงตอนที่มารมาทูลขอให้ท่านปรินิพพาน ท่านได้กล่าวกับมารว่า “จะยังไม่ปรินิพพาน ตราบใดที่ อุบาสก อุบาสิกา ผู้นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้ ยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่สามารถแสดงธรรม ข่มขี่ ให้ราบคาบโดยธรรม แล้วแสดงธรรมโดยอัศจรรย์ได้ ถ้ายังไม่เป็นอย่างงั้น ยังไม่ปรินิพพาน” / “จะยังไม่ปรินิพพาน ตราบใดที่ อุบาสก อุบาสิกา ผู้นุ่งขาวห่มขาว ยังบริโภคกาม ยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่ฉลาด ยังไม่สามารถแสดงธรรม ด้วยความอัศจรรย์ ข่มขี่ ปราบปรัปวาทได้ ถ้ายังไม่ได้ ยังไม่ปรินิพพาน” แสดงว่า มีการนุ่งขาวห่มขาวทั้งที่ประพฤติพรมจรรย์ คือ รักษาศีล 8 และทั้งที่บริโภคกาม คือ รักษาศีล 5 ผู้ที่จะเป็นอุบาสก อุบาสิกา อย่างน้อยต้องรักษาศีล 5
Q: อะไรคือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม?
A: มาจากคำว่า “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” หมายความว่า การกระทำที่เหมาะสม กระทำให้จนถึงจุดที่มันจะสำเร็จขึ้นมา นัยยะแรก คือการทำและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จ นัยยะที่สอง คือ การใช้ธรรมะให้ถูกกับเรื่องราว ท่านได้อธิบายไว้ถึงเรื่องของ โพชฌงค์ เช่น หากมีจิตหดหู่ เซื่องซึม แล้วจะมาเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มันไม่ได้ จะยิ่งทำให้หดหู่เซื่องซึมเข้าไปอีก แบบนี้ไม่เหมาะสม เพราะมันไม่ใช่หมวดธรรมที่จะเข้ากัน เราต้องใช้หมวดธรรม ให้เหมาะสม
Q: เราสามารถดูได้อย่างไรว่า พระภิกษุผู้ใดเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ?
A: ดูที่ศีล พระวินัยของพระ คือ ศีลของพระ ถ้าไม่มีศีล แม้จะโกนผมห่มเหลืองก็ไม่ใช่พระ ถ้ามีศีล แม้จะไม่โกนผมไม่ห่มเหลือง ก็เป็นพระได้
Q: พระที่เรียกว่า "พระสุปฏิปันโน" มีลักษณะอย่างไร?
A: อยู่ในบท "สังฆคุณ 9" คือ เริ่มจากปฏิบัติดี (สุปฏิปนฺโน) เริ่มจากศีล สมาธิและปัญญา หมายถึง การปฎิบัติตาม มรรค 8 ปฎิบัติตามทางสายกลาง ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง / ดูจากสมาธิ คือ เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าพอใจ แล้วจะยังเป็นคนดีอยู่หรือไม่ / ดูจากปัญญา คือ ดูได้จากการพูดคุย ว่าสามารถแจกแจงธรรมะได้หรือไม่ ศีล สมาธิ ปัญญา จะเป็นตัวบ่งบอกได้
Q: ผู้ที่บวชมาเป็นพระในพุทธศาสนาแล้ว แต่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเดินจงกรมเลย ท่านจะบาปหรือไม่?
A: ท่านไม่บาป เพราะท่านไม่ได้ทำผิดศีล ผิดพระวินัย เพียงแต่ว่าท่านจะไม่มีสมาธิ ปัญญา บรรลุถึงพระนิพพาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 12 Aug 2023 - 56min - 317 - สำคัญที่รักษาจิต [6631-7q]
Q: หากศีล 5 ที่รักษาอยู่เกิดด่างพร้อยไป จะแก้ไขอย่างไร?
A: การที่เราจะรักษาศีล 5 อยู่ที่เจตนาเรามากกว่า ถ้าเราจะรักษาศีล เราก็ตั้งเจตนาไว้ แล้วทำได้เลย จิตเราน้อมไปทางไหน กาย วาจา ก็จะน้อมไปอย่างนั้นได้ หากศีลด่างพร้อย เราก็ตั้งเจตนาขึ้นมาใหม่ ทำใหม่ ทางแก้ คือ อะไรที่ทำผิดไปแล้วเราแก้ไขไม่ได้ ก็ให้เราทำบุญ กุศล ให้มากขึ้น อุปมาดั่ง เกลือที่ละลายในน้ำ เกลือเปรียบดัง “อกุศล” น้ำเปรียบดัง “กุศล” ความเค็มของเกลือ คือ “ผลที่เราจะได้รับ” เมื่อเรานำเกลือ 1 ช้อน ไปละลายในแก้ว ความเค็มของเกลือจะมีมาก หากเรานำเกลือ 1 ช้อน ไปละลายในแม่น้ำ ความเค็มของเกลือก็จะลดน้อยลงไปมาก
Q: การสมาทานรักษาศีลก่อนนอน จะทำให้ช่วงที่เราหลับ เราจะไม่มีทางละเมิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งจะได้บุญเลย เป็นจริงหรือไม่?
A: ก่อนนอน เรานึกถึงศีล นั้นเป็น “สีลานุสสติ” เป็นหนึ่งใน อนุสติ 10 การที่เราระลึกถึงศีลนั้น ดีแน่นอน เพราะ กาย วาจา ถูกคุมด้วยศีลแล้วจิตเรา ระลึกถึง “สีลานุสสติ” นั้น มีอานิสงส์มาก
Q: เมื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรและขออโหสิกรรม ถ้าเจ้ากรรมนายเวรนั้นอโหสิกรรมให้เราแล้ว เรายังจะได้รับผลกรรมนั้นหรือไม่?
A: ภาษาบาลี คำว่า “อโหสิ” แปลว่า ได้ทำไปแล้ว ผ่านไปแล้ว ถ้าเป็นภาษาไทย คำว่า “อโหสิ” หมายถึง การขอโทษ / อโหสิกรรม คือ กรรมที่ได้ทำไปแล้ว / ในทางคำสอน ไม่มีคำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” ไม่มีใครเป็นเจ้าของใคร เราควรเข้าใจให้ถูกว่า ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว “กรรมใดที่เราทำไว้ เราย่อมได้รับผลของกรรมนั้น” อย่าไปเข้าใจว่า ทำสิ่งใดได้สิ่งนั้น นั่น เป็นการเข้าใจผิด ที่สำคัญ คือ เราไม่ควรไปผูกเวรกับเขา ไม่ควรไปกังวลใจ มันอยู่ที่ว่า เราจะปล่อยวาง เราจะคลายความกังวลใจนั้นได้หรือไม่ เราจึงควรหมั่นสร้างความดี สร้างบุญกุศล ระลึกถึงความดีของเรา รักษาจิตของเราให้ดี
Q: คุณแม่นับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ จะทำอย่างไรให้ท่านมานับถือศาสนาพุทธของเรา?
A: ให้ดู “ศีล” เป็นหลัก หากท่านมีศีล มีการให้ทานอยู่แล้ว นั่นคือดีมาก สิ่งที่ต้องเพิ่มเข้ามา คือ ศรัทธาและปัญญา ในระหว่างศาสนา ตรงไหนที่สมานกันได้ ร่วมกันได้ ให้เอาตรงนั้น แล้วรักษาให้ดี จากนั้น จึงค่อย ๆ พัฒนาไปต่อ / จุดต่างในศาสนาพุธ คือ เรื่องของศรัทธา ศรัทธาจะต้องประกอบด้วยปัญญา โดยศรัทธาในพุทธศาสนานั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคล แต่อยู่ที่ระบบคือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 05 Aug 2023 - 56min - 316 - ความอดทนไม่ใช่เก็บกด [6630-7q]
Q: ควรวางจิตอย่างไร เมื่อต้องอยู่กับบริวารที่มีแต่การใส่ร้าย?
A: ให้อดทนอยู่กับมันให้ได้ ความอดทนไม่ใช่เก็บกด เพราะเมื่อเก็บกดแล้ววันหนึ่งมันจะระเบิดออกมาได้ ความอดทนจะต้องประกอบด้วยเมตตา และปัญญา อดทน คือ ยู่กับมันได้
ลักษณะของความอดทนท่านสอนเรื่องการอดทนไว้ว่า ให้เป็นผู้อดทนต่อเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย, อดทนต่อ อากาศร้อน อากาศหนาวอดทนต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายกาจ และอดทนต่อคำด่า คำว่า ท่านเปรียบไว้กับดัง ช้างอาชาไนย ชั้นเจนสงคราม มีงา งอนงาม ที่มีความอดทน แม้จะถูกแทงด้วยหอก ด้วยหลาว ถูกยิงด้วยลูกศร หรือมีเสียงดัง เค้าจะนิ่งอยู่ได้
เครื่องมือที่เราจะอยู่กับความอดทนคือ ให้รู้จักบรรเทาทุกขเวทนา เช่น ถ้าร้อนมาก ก็หามาอะไรมาบังหรืออยู่ในร่ม ให้เป็นผู้มีพรหมวิหาร 4 คือ ให้มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปให้บุคคลเหล่านั้น เราไม่ควรเอาความสุขไปฝากไว้กับคนอื่น กับคำพูดของคนอื่น อย่าเอาค่าของเราไปฝากไว้กับคนอื่น / ให้เราเป็นผู้มีคุณความดีในตัวเอง ในที่นี้ คือ มีศีล 5 ครบถ้วน จะเป็นความดี ความภูมิใจ ให้เราสบายใจ เมื่อเราอยู่กับความดีที่เรามี เราก็จะไม่คิดเบียดเบียนใคร ไม่คิดร้ายใคร
Q: อย่าสร้างเงื่อนไขที่ไม่ถูก แต่ให้เข้าใจหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล
A: เราอย่าไปสร้างเงื่อนไขของความสุข ความสำเร็จ ยิ่งเงื่อนไขความสุขความสำเร็จที่มาจากคนอื่น เช่นนี้ยิ่งไม่ถูก แต่เราควรเข้าใจให้ถูกว่าวันนี้คุณทำความดีหรือยัง วันนี้ความดีเพิ่มมากกว่าเมื่อวานหรือไม่ ถ้าความดีเพิ่มว่าเมื่อวาน แสดงว่าเราทำสำเร็จแล้ว ให้เราเข้าใจในเงื่อนไข หลักการว่า อะไรเป็นเหตุ เป็นผลของความดี ความชั่ว นี่ก็คือ “สัมมาทิฐิ” การมีเมตตาอย่างไม่มีประมาณ ไม่ว่าเขาจะดีหรือชั่ว เราให้แบบไม่มีเงื่อนไข หากเรายังไปตามคำด่า คำว่า กิเลสมารจะได้ช่อง เราต้องมี พรหมวิหาร 4 เราจะอยู่ได้อย่างสบายใจ
Q: ปัญญาที่จะทำให้อดทนอยู่ได้ | เรื่องของท้าวสักกะ และท้าวเวปจิตติ
A: ผู้ที่เป็นบัณฑิต มีความอดทนเป็นกำลัง มีปัญญา ไม่ควรยุ่ง ไม่ควรตอบโต้ กับคนพาล ท้าวสักกะ ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีใครที่จะทำอันตราย บุคคลอันมีธรรมะคุ้มครองได้เลย”
Q: เปรียบเทียบคนที่ทำบุญให้ทานด้วยวัตถุสิ่งของจำนวนมากกับคนที่ทำจิตใจให้เป็นบุญเป็นกุศล ผู้ใดได้ผลบุญมากกว่ากัน?
A :บุญ 3 ระดับ คือ 1.บุญจากการให้ทานที่ใช้สิ่งของในการทำ จะได้บุญมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าปัจจัยมากหรือน้อย แต่ขึ้นอยู่กับศรัทธาของผู้ให้ และคุณสมบัติของผู้รับ, ศรัทธาของผู้ให้ 3 จังหวะ คือ ก่อนให้ (มีจิตน้อมไป) ระหว่างให้ (เกิดความเลื่อมใส) และหลังให้ (เกิดความปลื้มใจ) 3 อย่างนี้จะทำให้ ผู้ให้เกิดบุญมาก คุณสมบัติของผู้รับ ถ้าผู้รับ มี ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง หรือหมดแล้วจะทำให้เกิดบุญมาก / 2. บุญที่เกิดจากการใช้ตัวเราทำ คือ การรักษาศีล / 3. บุญที่เกิดจากการใช้จิตเราทำ คือ ภาวนา ยิ่งได้บุญสูงขึ้นไปอีก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 29 Jul 2023 - 56min - 315 - รอยต่อ คือ ทางไปต่อ [6629-7q]
Q: พระประพรมน้ำมนต์ผิดพระวินัยหรือไม่?
A: การพ่นน้ำมนต์ (มาจากศัพท์ภาษาบาลี ว่า “อาจมนํ”) คือ การเอาน้ำใส่ในปากแล้วเป่าออกมา และ การรดน้ำมนต์ (มาจากศัพท์ภาษาบาลี ว่า “นฺหาปนํ”) คือ การลงไปแช่ อาบ ในน้ำ ซึ่งทั้ง การพ่นน้ำมนต์และรดน้ำมนต์ นี้เป็นเดรัชฉานวิชา ท่านไม่ให้ทำ แต่ถ้าเป็นการพรมน้ำมนต์ (มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า “อพฺภุกฺกิรฺ”) คือ มีอุปกรณ์ มีไม้สำหรับ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ออกไป สามารถทำได้
Q: จริงหรือไม่ที่ว่าผู้ที่นั่งสมาธิได้ผลเร็วนั้น เพราะเคยสะสมบารมีมาตั้งแต่ชาติก่อน?
A: ได้ผลเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับว่า สมาธิมีกำลังมากหรือน้อย หมายถึง “อินทรีย์ 5” ถ้า อินทรีย์แก่กล้าจะบรรลุธรรมได้เร็ว ถ้าอินทรีย์อ่อนจะบรรลุธรรมได้ช้า หากเราคิดว่าเป็นเพราะการสะสมบารมีจากชาติก่อน โดยส่วนเดียว เช่นนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะการคิดเช่นนี้จะไม่เกิดการลงมือทำ พอเราเชื่อว่านี้เท่านั้นจริง จะทำให้จิตเรามีแนวโน้มที่จะไม่ทำความเพียร ไม่ลงมือทำ จึงไม่ถูก ไม่ดี
Q: เพราะเหตุใด เมื่อนั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนจะหงายหลังตลอด?
A: เพราะการปรุงแต่งทางกายยังไม่ระงับ ให้เราฝึกสติด้วยการสังเกตดู หากใช้ อาณาปาณสติ ก็ให้สังเกตลมหายใจ สังเกตดูอย่างเดียว ไม่บังคับ ไม่เกร็งร่างกาย ปล่อยร่างกายให้สบาย ๆ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งการปรุงแต่งทางกาย ใส่ใจอยู่กับลม พอเราสังเกต อยู่กับลม อาการทางกายก็จะระงับ สติก็จะมีกำลัง
Q: เมื่อเวลาที่เราเข้าสมาธิได้แล้ว ดำดิ่ง นิ่งสงบ ไปเลย แต่มีผู้กล่าวว่าการเข้าสมาธิที่ดี ต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ใช่หรือไม่?
A: ในสมาธิ ต้องมีสติอยู่ด้วย ถ้าเราไม่มีสติ เราจะเพลินไปในสมาธิ การทำสมาธินั้น เราไม่ได้เอาสุขในสมาธิ เราทำสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา ความสงบในสมาธิคือทางผ่าน ทางไปต่ออยู่ตรงรอยต่อ ให้เราสังเกตตรงที่สงบ ว่าเมื่อก่อนเคยมีมาหรือไม่ มันเที่ยงหรือไม่เที่ยง “สิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นั่น ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา” สังเกตสมาธิ ว่าเกิดจาก เงื่อนไข ปัจจัย อะไร เห็นด้วยสมาธิ เห็นด้วยปัญญา จะทำให้จิตเราคลายความยึดถือได้
Q: บางสำนักที่สอนสมาธิ มีการเชิญวิญญาณมาเข้าทรง อย่างนี้ผิดแบบแผนทางพุทธศาสนาหรือไม่?
A: การปฏิบัติเช่นนี้ ไม่ได้ลงรับกับคำสอนทางพุทธศาสนา พุทธศาสนาเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ การกระทำให้เกิดปัญญา ไม่ให้เกิดความงมงาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 22 Jul 2023 - 57min - 314 - ปัญญาเครื่องตัดตัณหาและอวิชชา [6628-7q]
Q : กามตัณหาคืออะไร หากเกิดขึ้นแล้วเราจะระงับได้อย่างไร?
A : ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก ท่านแจกแจงไว้ 3 อย่าง คือ 1) กามตัณหา คือ อยากได้ 2) ภวตัณหา คือ อยากมี 3) วิภวตัณหา คือ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น / ตัณหา หมายถึง กาม คือ ความกำหนัดยินดีพอใจ ผ่านทางวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ใน 5 ช่องทางนี้ ถ้าเรากำหนัดยินดีพอใจ นั่นคือ กามตัณหา กาม กามกิเลส
การกำจัดระงับจิตใจที่มันจะไปตามกามตัณหา สำหรับ ฆราวาส คือ การรักษาศีล 5 ด้วย ศรัทธา หิริโอตตัปปะ และความเพียร สำหรับพระสงฆ์ คือ ใช้รูปแบบของการยืน เดิน นั่ง นอน ทำสมาธิจิตภาวนา สวดมนต์ เพื่อไม่ให้จิตหวนคิดไปในเรื่องอดีตที่ผ่านมา
ตัณหาทำให้มีปัญหา ในเรื่องของกามตัณหา คนที่ถูกบีบคั้นด้วยความอยาก เค้าจะทำอะไรก็ได้ ทั้งนี้ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ข้อเสียมีมากกว่าข้อดี ข้อดีคือมันทำให้เรามีความพยายาม ข้อเสียคือมันทำให้เราทำผิดศีลได้ เมื่อเราผิดศีล ควบคุมความอยากไม่ได้ ปัญหาจึงเกิดจากตรงนี้ คือ มันทำให้เราทำชั่วได้ ไปทางต่ำได้ เพราะถูกบีบคั้นจากตัณหา
Q : ควรวางจิตอย่างไรให้ไม่ทุกข์ เมื่อประสบเหตุร้าย ๆ ในชีวิต?
A : เราต้องทำปัญญาให้เกิด แล้วใช้ปัญญามาเป็นตัวตัดระหว่างตัณหาและอวิชชา โดยแนวทางที่จะทำให้เราเกิดปัญญาได้ ท่านอธิบายถึง“โลกธรรม 8” ว่าในขณะที่เรามีลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสิ่งเหล่านั้นว่าเราไม่ควรจะไปยึดถือมัน ในขณะที่เสื่อม ลาภ ยศ ก็ให้เห็นว่ามันเป็นธรรมดา คือ มันมีความเกิดขึ้นและดับไป เป็นธรรมดา เช่นนี้แล้ววิชชาและความรู้จะเกิด อวิชชาจะดับ เห็นอย่างนี้ ตัดลงไประหว่างตัณหาและอวิชชา เห็นการตัดตัณหาด้วยความไม่เที่ยงในสิ่งที่เป็นสุข เห็นการตัดอวิชชาในความที่เป็นธรรมดาของสิ่งที่เป็นทุกข์ ตัดลงไปครั้งเดียว ฟันทีเดียวดับทั้งตัณหาและอวิชชา ทำให้เราอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์ได้
Q : จากกรณีข้างต้น เขาควรจะเริ่มอย่างไร สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยปฏิบัติมาก่อนหรือเพิ่งเริ่มปฏิบัติ?
A : ให้เห็นโลกทั้งหมด ว่าจะสุขหรือทุกข์มันก็เป็นแบบนี้ ให้ทำความเข้าใจ ฝึกตรงนี้ ฝึกสติ ฝึกปัญญา ตั้งแต่ตอนนี้ เมื่อฝึกแล้ว เราจะพัฒนาขึ้นมาได้
Q : เมื่อเปิดเทปธรรมะ ให้ผู้ป่วยอาการหนักฟัง แล้วเขามีจิตใจสงบ จะสามารถไปสู่สุคติสัมปรายภพได้หรือไม่?
A : ได้แน่นอน เพราะอานิสงส์ของการได้ฟังธรรมะก่อนตาย คือ จะทำให้ตรัสรู้ธรรมในปัจจุบันไม่ก่อนหรือไม่หลังจากการตายนั้น จะเป็นอนาคามี เมื่อมีความทุกข์อยู่เฉพาะหน้า การฟังธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า จะเกิดความเข้าใจบางประการ คือ เกิดปัญญา เข้าใจทุกข์ด้วยปัญญา อินทรีย์เค้าจะแก่กล้าขึ้นมาทันที เพราะทุกข์จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างปัญญาและศรัทธา
Q : การวางจิตใจสำหรับคนรอบข้างของผู้เจ็บป่วยไข้
A : ให้เรารักษาสติ “สติ” สำคัญที่สุด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 15 Jul 2023 - 55min - 313 - การวางจิตเมื่อป่วยไข้ [6627-7q]
Q : ควรจะทำจิตอย่างไร ถ้าเราเป็นคนไข้ที่มีอาการหนัก?
A : เราควรฝึกสติสัมปชัญญะไว้ตั้งแต่เรายังไม่แก่ เรายังไม่ป่วย “ท่านให้เราคิดว่า ความป่วย ความเจ็บไข้ ความแก่ จะมาเยือนเราแน่ ธรรมะอะไรที่เราต้องรู้ ต้องทำให้แจ้งในตอนนี้ เพื่อที่เมื่อเราป่วย เราแก่ เราเจ็บไข้แล้ว เราจะยังอยู่ผาสุกได้” นั่นคือเราต้องมี “สติสัมปชัญญะ” แยกจิตจากกายให้ได้ / สำหรับคนไข้ ที่อาการหนักแล้ว ให้หาจังหวะ ที่เขารู้ตัว แล้วแนะนำเขาให้ตั้งสติสัมปชัญญะขึ้น เพราะ “ทุกข์” จะเป็นตัวที่เชื่อมระหว่างปัญญาและศรัทธา เมื่อมีศรัทธา มีวิริยะ คือ ความกล้าลงมือทำจริงแน่วแน่จริง สติจะมีกำลัง เมื่อสติมีกำลังแล้ว สมาธิก็จะลึกซึ้งลงไป ทำให้เกิดปัญญา คือความรู้แจ้ง เห็นตามความเป็นจริง จะทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้นมาได้ พัฒนาได้
Q : อุบายระงับความโกรธ
A : ความโกรธอาจจะมีมาก็ให้อดทนไว้ ให้เรามีเมตตา กรุณา มุติตา อุเบกขา ( พรหมวิหาร 4 ) ให้เราเห็นมันเป็นความไม่เที่ยง ไม่ยึดถือ ไม่กำหนัดพอใจ อย่าไปเบียดเบียนเขาทั้งกาย วาจา ใจ เราก็จะรักษาตนได้
Q : คนที่ทำธุรกิจการค้า จะมีวิธีรักษาศีลข้อมุสาวาสให้บริสุทธิ์ได้อย่างไร?
A : การทำธุรกิจต้องไม่โกหกจึงจะเจริญได้ หากโกหกจะทำให้ธุรกิจไม่ยืดยาวนาน
Q : เหตุ 3 ประการที่ทำให้ค้าขายได้กำไรน้อยหรือกำไรมาก
A : กรณีที่ 1 ) ค้าขายแล้วขาดทุน คือ กาลก่อนเคยปวารณาตนไว้ต่อพระสงฆ์ ออกตัวให้ท่านขอได้ พอถึงเวลาแล้วท่านไปขอรับเอา แต่โยมให้น้อยกว่าที่ได้ปวารณาไว้ กรณีที่ 2 ) ค้าขายได้กำไรนิดหน่อย คือ กาลก่อนเคยปวารณาตนไว้ต่อพระสงฆ์ ออกตัวให้ท่านขอได้ พอถึงเวลาแล้วท่านไปขอรับเอา แล้วโยมให้ได้ตามที่ปวารณาไว้ กรณีที่ 3) ค้าขายได้กำไรมหาศาล คือ กาลก่อนได้เคยปวารณาไว้ต่อพระสงฆ์ ออกตัวให้ท่านขอได้ พอถึงเวลาแล้วท่านไปขอรับเอา แล้วโยมให้มากกว่าที่ได้ปวารณาไว้
Q : ถ้าทำร้ายคนเพื่อป้องกันตัวจะบาปหรือไม่?
A : ถ้ามีเจตนาในการปลงชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปก็บาป แต่จะบาปมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตนั้น ท่านให้เอาสัตว์ที่มีปราณ ขนาดของสัตว์และเจตนาเป็นหลักเกณฑ์ เช่น ถ้าฆ่าพระอรหันต์ก็จะบาปหนัก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 08 Jul 2023 - 54min - 312 - การเกิดดับของจิต [6626-7q]
Q: เมื่อตายไปแล้วจิตวิญญาณ ดับไปด้วยหรือไม่? ถ้าจิตไม่ดับแล้วจะไปเกิดอย่างไร?
A: จิตและวิญญาณเป็นนามเหมือนกัน แต่ไม่ใช่อย่างเดียวกัน วิญญาณ คือ การรับรู้ จิตวิญญาณ คือ การที่จิตเข้าไปยึดถือวิญญาณ ในความเป็นตัวตน สามารถเกิดได้ ดับได้ ท่านเปรียบไว้ดังกระแสน้ำ, กระแสไฟ ความเห็นที่ว่า “เมื่อกายตายไปแล้ว จิตเดิมเดียวกันนี้แหละ ต้องไปเกิดใหม่นั้น เป็นทิฐิที่ผิด” เพราะ จิต วิญญาณ เป็นของเกิดได้ ดับได้ เป็นของที่เกิดจากเหตุ ปัจจัย จิตมายึดถือ ขันธ์ คือ วิญญาณนี้ โดยความเป็นตัวตน จึงเรียกว่า “จิตวิญญาณ” คนที่เมื่อตายไปแล้ววิญญาณดับ จิตจึงไม่สามารถที่จะรับรู้ ขันธ์ 5 ผ่านทางวิญญาณได้ จิตจะไปเกิดใหม่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า จิตมีอาสวะหรือไม่ หาก จิต สิ้นอาสวะแล้ว จะไม่มีการเกิดอีก หมายถึง “พระอรหันต์” ส่วนจิตที่ยังไม่สิ้นอาสวะ หากมี อาสวะที่สั่งสมไว้เป็นบุญ ก็มักจะไปเกิดในสวรรค์ พรหม หรือมนุษย์ที่มีอันจะกิน ส่วนจิตที่มี อาสวะที่เป็นบาป มักโกรธ มักเบียดเบียน ก็มักจะไปเกิดใน กำเนิดเดรัจฉาน สัตว์นรก เปรตวิสัย
Q: เรื่องของจิตสุดท้าย
A: จิต ที่เกิดดับ ท่านเปรียบไว้เหมือนลิง ปล่อยกิ่งเดิม จับกิ่งใหม่ ไปเรื่อยๆ จังหวะที่ปล่อย หากพลังงานขณะนั้น มีความโกรธ เกลียด ไม่พอใจ มักจะไปเป็น สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน แต่หาก จิต ที่รักษาศีล มีเมตตากรุณา เวลาที่กายดับไป ก็มักจะไปสวรรค์ ไปพรหมหรือเป็นมนุษย์ที่มันจะกิน
Q: สัดส่วนผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในการ ทำบุญ ให้ทาน ปฏิบัติธรรม แต่พระเป็นผู้ชาย?
A: ทุกอย่างล้วนมีเหตุ ปัจจัยของเขา / จิต ไม่ได้แบ่งว่าเป็นหญิงหรือชาย แก่หรือหนุ่ม ธรรมะก็ไม่ได้แบ่ง ว่าเป็นหญิงหรือชาย ล้วนสามารถปฏิบัติได้เช่นกัน
Q: แม้จะมีอายุที่มากขึ้น แต่ยังรู้สึกว่าจิต เป็นดวงเดิม รู้สึกเดิมเหมือนเดิมอยู่ ทิฐิเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่?
A: ที่เรายังรู้สึกเช่นนี้ เพราะมันเป็นสภาวะของความเคยชิน เป็นกระแสความเคยชินที่สืบเนื่องกันมา สั่งสมเป็น “อาสวะ” เพราะฉะนั้น นิสัยอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ควรเลิกเสีย ทำความเคยชินใหม่ คือ สัญญาใหม่ ปฏิบัติตาม “มรรค 8” จะมีผล คือ ให้ความสุขในปัจจุบันและต่อมาๆ เป็นประโยชน์ทั้งในเวลานี้ เวลาหน้า เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นการฝึกจิตนั่นเอง
Q: ประชากรที่เกิดขึ้น มีจำนวนมากจนเรียกว่า จะล้นโลก แล้ววิญญาณที่มาเกิดเป็นมนุษย์เหล่านี้มากจากไหน?
A: ที่สำคัญคือ เราควรหันมาทบทวนว่าเราจะดับทุกข์ของตนเองได้อย่างไร วิธีการมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ที่เมื่อเราทำ เราปฏิบัติแล้ว เราจะรู้จะเห็นได้ด้วยตัวเอง ด้วยการปฏิบัติตาม มรรค 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 01 Jul 2023 - 58min - 311 - วินัยของพระสงฆ์ที่ญาติโยมควรทราบ | การฝาก ถวาย ของให้พระ [6625-7q]
Q : ทำไมจึงต้องมีการเอื้อเฟื้อพระวินัย?
A : เพราะพระวินัยและสิกขาบททุกอย่างพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นมีไว้สำหรับภิกษุสงฆ์ (หมู่ภิกษุ) เมื่อเราคล้อยตามพระวินัย มีความละเอียดรอบคอบ เอื้อเฟื้อตามพระวินัย จะทำให้เราสามารถที่จะมีพื้นฐานที่ดี ทำการภาวนาทางจิตใจให้สูงขึ้นได้
Q: ในศีลบางข้อที่เราไม่มีโอกาสที่จะรักษาแล้ว ถือว่าเรายังจะมีศีลข้อนั้นหรือไม่?
A: คนที่รักษาศีล 5 และไม่คิดที่จะทำผิดศีล 5 ก็คือ เป็นเจตนา ท่านใช้คำว่า “สิกขาบท” คือ จุดที่เรามาศึกษาด้วยการปฏิบัติ จึงเป็นศีลที่ควบคุม กาย วาจา ใจ ของเรา ด้วยเจตนาอันเป็นเครื่องงดเว้น เจตนาจึงเป็นลักษณะที่เราศึกษาด้วยการปฏิบัติ นั่นเอง
Q : ไม่ควรฝากของมีค่าไว้กับพระ
A :ไม่ควรฝากของมีค่าไว้กับพระ เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับพระได้ และถ้าหากของหายหรือมีโจรปล้น พระก็จะถูกครหา เพราะฉะนั้น เงินทอง และของมีค่า ไม่ควรแก่สมณะไม่ว่าประการใดทั้งสิ้น รวมไปถึงไม่ควรฝากของที่เป็นวัตถุอนามาสด้วย
Q : การถวายของให้พระกับถวายให้สงฆ์
A : การถวายของให้สงฆ์กับภิกษุ ไม่เหมือนกัน “ภิกษุ” หมายถึง บุคคล พระแต่ละรูป “สงฆ์” หมายถึงหมู่ การถวายของต่อสงฆ์ ต้องมีตัวแทนของสงฆ์มาเป็นผู้รับ แต่ถ้าตัวแทนสงฆ์จะบอกโยมว่าถวายให้อาตมาก็ได้ ลักษณะเช่นนี้ ผู้ถวาย อย่าทำตาม เพราะสำหรับพระแล้ว ท่านจะผิดพระวินัย จะอาบัติ เพราะการน้อมลาภที่เกิดแก่สงฆ์เข้าสู่ตน เป็นอาบัติและสิ่งนั้นตนก็จะบริโภคไม่ได้ แต่หากพระจะขออาหารให้พระรูปอื่นที่อาพาธ สามารถทำได้ แต่พระที่ขอจะไม่สามารถฉันอาหารชนิดนั้นได้ / วิธีการที่จะถวายให้หมู่สำหรับพระสงฆ์ คือ 1. แบ่งแบบวัดป่า 2. แบ่งแบบจับสลาก/สลากภัต 3. เก็บไว้ในคลัง ใครต้องการก็ไปเบิกได้
Q : วิธีการปลงอาบัติ
A : คำว่า “ปลง” คือเปลื้อง หมายถึง ประกาศความผิดของตนเองออกมา ต้องมีภิกษุอีกองค์หนึ่ง มารับฟัง รับทราบ ว่ามีความผิดอะไร ข้อไหน พระสงฆ์จึงมีการปลงอาบัติ เพื่อให้พัฒนาและปรับปรุงตัว
Q : พระภิกษุปลงอาบัติซ้ำ ๆ ได้หรือไม่อย่างไร?
A :หากผิดซ้ำซา จำเจ พระอุปัชฌาย์ต้องไปเตือน เพราะการผิดซ้ำซาก จำเจ จะทำให้ยิ่งมีความผิดมากยิ่งขึ้นไปอีก ในพระพุทธศาสนาจึงมีการให้แก้ไขตั้งตัวได้
Q : เรื่องการเรียนธรรมะ “อย่าออกเสียงแข่งกันเวลาเรียนธรรมะ”
A : มีสิกขาบท ที่บอกว่า เวลาที่ออกเสียงในการเรียนธรรมะ อย่าไปออกเสียงพร้อมกับพระสงฆ์ อย่าไปออกเสียงดังแข่งกัน ถ้าพระสงฆ์สอนในขณะที่เรียนธรรมะด้วยกัน แล้วเกิดกล่าวสอนให้ผู้ที่เรียนธรรมะออกเสียงพร้อมกันไป การออกเสียงพร้อมกันไป ถือว่าเป็นอาบัติ คำว่า “กล่าวแข่งกัน” คือ พูดบาลี ท่านจึงไม่ให้กล่าวพร้อมกันในบริบทที่ว่าแข่งกัน เพราะฉะนั้น คำพูดที่ว่า “อย่าออกเสียงพระธรรมพร้อมกับพระสงฆ์” หมายถึงบาลี ก็คือจุดนี้
Q : ลักษณะของการกล่าวธรรมแสดงธรรม
A : มี 3 รูปแบบ คือ 1. การบอกพุทธพจน์ที่เป็นบาลี 2. แสดง คือ อธิบายที่บอกนั้น 3. การท่องตาม ออกเสียงตามที่บอกนั้น ซึ่งก็คือสวดมนต์นั่นเอง
Q : การพักร่วมกันกับพระภิกษุ
A : ห้ามฆราวาสที่เป็นผู้ชายหรือสามเณร นอนที่ในมุมบังหรือนอนที่เดียวกับพระเกิน 3 คืน เพื่อรักษาพระวินัยของพระสงฆ์ ถ้าเกินเป็นอาบัติ
Q : การใช้คำพูดที่สมควรแก่ภิกษุ (กัปปิยโวหาร) ในการใช้ฆราวาสไปขุดดินหรือตัดต้นไม้
A : พระต้องใช้คำพูดที่เป็น “กัปปิยโวหาร” (คำพูดที่สมควรแก่ภิกษุ) ในการที่จะให้ฆราวาสไปขุดดินหรือตัดต้นไม้ ท่านบัญญัติข้อนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งศรัทธา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 24 Jun 2023 - 58min - 310 - ปัญญาเพื่อโลกุตรธรรม [6624-7q]
Q: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตรงไหน ใครเป็นผู้เห็น?
A: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกรวมว่า “ไตรลักษณ์” เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง คือ สิ่งที่เป็นสมมุติทั้งหมด เรียกว่า “สังคตธรรม” คือทำอันเป็นเครื่องปรุงแต่ง ด้วยเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ลักษณะของสังคตธรรม คือ มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่นๆ ปรากฏและขันธ์ 5 ก็เป็น สังคตธรรม เมื่อเรามีการรับรู้ผ่านอายตนะทั้ง 6 แล้ว เกิดความเพลิน ความพอใจ แล้วเราไปยึดถือในความเพลินความพอใจนั้น ก็จะมีความเป็นตัวตน (อัตตา) เกิดขึ้น คิดว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นไปตลอด (นิจจัง) คิดว่าทำให้เราสุขไปตลอด (สุขขัง) จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ทำให้เราเข้าใจว่า สิ่งที่สุขนั้น มัน “เที่ยง” ด้วยความเข้าใจผิดของเรา ทำให้เราไม่เห็น ทำให้เราเข้าใจว่าเป็น นิจจัง สุขขัง อัตตา ในสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะอวิชชา บังไว้ เพราะฉะนั้น เราจะเข้าใจ จะรู้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ก็ต้องเกิดตรงที่ไม่รู้ เราจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ ก็ต้องเห็นตรงที่เรายึดถืออยู่
Q: จะเห็นปัญญาแท้จริงได้ในสิ่งที่เรายึดถือ เราจะเห็นได้อย่างไรหรือใครเป็นผู้เห็น?
A: เราจะเห็นสิ่งที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วยปัญญา ด้วยการภาวนามยปัญญา / การพิจารณาสิ่งที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ เห็นไปตามจริง ในสิ่งที่เรายึดถือ ว่า อะไรก็ตามที่อาศัยเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย แล้วเกิดขึ้น ถ้าเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย เปลี่ยนแปลงไป มันก็จะเปลี่ยนตาม เป็นธรรมดา จะขอให้คงอยู่อย่างเดิมไม่ได้ / การที่เราจะเห็นได้ เราก็ต้องเห็นตรงที่เรายึดถือ ในการภาวนานั้น เราต้องมีศีลเป็นพื้นฐาน ให้เราตั้งสติขึ้น มีสมาธิ ทำความเพียร อาศัยการฟังอยู่ (สุตตมยปัญญา) การใคร่ครวญ (จินตมยปัญญา) เป็นประจำ มีศรัทธา ประคับประคอง ลักษณะเช่นนี้คือ มีอินทรีย์ 5 มีพละ 5 คือ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ผลักดันกันทำให้เกิดปัญญา เราต้องทำตาม มรรค 8 เพื่อปัญญาที่เป็น “โลกุตรปัญญา” เกิดขึ้น เราจึงจะเห็นสิ่งที่เป็น นิจจัง ว่าเป็น อนิจจัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็น สุขขัง ว่าเป็น ทุกขัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็น อัตตา ว่าเป็นอนัตตา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 17 Jun 2023 - 55min - 309 - ตัดกิเลสด้วยปัญญา [6623-7q]
Q : คำกล่าวที่ว่า "ทำสมาธิไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ทำกรรมฐาน จะไม่สามารถบรรลุธรรมได้" ถูกต้องหรือไม่อย่างไร?
A : เมื่อเราฟังคำของใคร คนใดคนหนึ่งเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เราจดจำและกำหนดบทพยัญชนะให้ดี แล้วนำไปเทียบเคียงในพระสูตร ตรวจสอบในพระธรรมวินัย หากลงรับกัน เราสามารถนำมาทำ นำมาปฏิบัติได้ ให้ทรงจำไว้ ในที่นี้ สมาธิ ท่านผู้ถาม น่าจะหมายถึง “สมถะ” อย่างเดียว ส่วน กรรมฐาน ท่านผู้ถามน่าจะหมายถึง “วิปัสสนา” ในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งสมถะและวิปัสสนา ต้องเคียงคู่กันไป จึงจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและสามารถปล่อยวางได้ จะมีอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้
Q : บางครูบาอาจารย์บอกว่า ขันธ์เป็นกิเลส กิเลสอาศัยขันธ์ หรือแม้แต่ ขันธ์เป็นกลาง ๆ เป็นเพียงธรรมชาติ ขันธ์นี้เป็นอย่างไรกันแน่ ?
A : ขันธ์ หมายถึง กอง / ท่านบัญญัติขึ้นเพื่ออธิบายความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์ ว่า “ขันธ์ 5” ได้แก่ 1. กองแห่งรูป 2. กองแห่งเวทนา 3. กองแห่งสัญญา 4. กองแห่งสังขาร 5. กองแห่งวิญญาณ ที่เข้าไปยึดถือได้ เมื่อตัณหาเข้าไปยึดถือใน ขันธ์ 5 จึงทำให้เกิด “กิเลส” (ราคะ โทสะ โมหะ) ขึ้น ก็จะทำให้เกิดทุกข์ ขันธ์ 5 ที่ไม่มีความยึดถือจะไม่เป็นทุกข์ เราต้องเอาตัณหา อุปาทาน (ความยึดถือ) ออกจากขันธ์ 5 ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 เราก็จะไม่ทุกข์อีก
Q : การปฏิบัติมีแต่นักพูดเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ค่อยมีการปฏิบัติในเรื่องของศีลห้า ศีลแปด ศีล 227 หรือแม้แต่ศีลในองค์มรรค ศีลเป็นอันเดียวกันหรือไม่?
A : เรื่องการพูดกับการปฏิบัติ เป็นสองส่วนที่สำคัญและต้องไปด้วยกัน 1. “พระธรรม” คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าประกาศตรัสไว้ดีแล้ว จะบอกต่อได้ ก็ต้องมีการพูด ซึ่งการพูด แม้จะยังทำไม่ได้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาคำสอน และหากพูดแล้วนำมาทำ นำมาปฏิบัติ ก็จะได้รู้รสของพระธรรม จะดียิ่ง ๆ ขึ้นไป 2. ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอน คือ “สาวก” เป็นหมู่ผู้ที่ฟังคำสอนของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติตามคำสอนและปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ / เรื่องศีล หากนำไปเทียบเคียงในพระสูตร กองศีลในมรรค 8 สังเคราะห์กันได้ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สังเคราะห์ลงใน “ศีลขันธ์” คือ กองศีล
Q : การเข้าไปรู้แล้วดับกิเลส เราจะเข้าไปดับตรงไหนและเอาอะไรไปดับ?
A : กิเลสมีผัสสะเป็นแดนเกิด เกิดขึ้นที่จิตเอง ไม่ได้มาจากภายนอก หากจะดับก็ต้องดับที่จิต จะดับได้ด้วยการใช้ปัญญา เพราะฉะนั้น เราต้องมี “สติ” กำหนดลงไป หาว่าตรงไหนมันทุกข์ พอเราเห็นว่าทุกข์ตรงไหนแล้ว ให้เอามีด คือ ปัญญา ผ่าลงไป ๆ พิจารณาให้เห็นไปตามความเป็นจริง ทำความเพียรด้วยปัญญา ทำความเพียรคู่กับสมาธิ ปัญญาคู่กับศรัทธา เวลาเราทำความเพียร เราจะต้องเอาศรัทธาและสมาธิประคองไว้ ทำให้สมดุลกัน พอขูดลอกกิเลสออกหมดแล้ว จิตสงบ ให้เราประคับประคองไว้ด้วยสมาธิ ศรัทธา ให้เรารักษาให้ดี ทั้งการสำรวมอินทรีย์ การรักษาศีล 8 เดินตามมรรค 8 เราก็จะมีความพ้น คือ วิมุต ไปสู่นิพพานได้
Q : กิเลสกับจิตเป็นอย่างเดียวกันหรือไม่ ถ้าขันธ์เป็นกิเลส เราจะเอากิเลสไปดับกิเลสได้อย่างไร?
A : ขันธ์ 5 และจิต ไม่ใช่กิเลส จะดับกิเลสต้องอาศัยมรรค 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 10 Jun 2023 - 57min - 308 - ธรรมอันเป็นเครื่องกำจัดกิเลส [6622-7q]
Q : พุทธศาสนาในปัจจุบันนี้เจริญขึ้นหรือเสื่อมลง? และ ทำไมพระพุทธศาสนาเหมือนกันจึงปฏิบัติไม่เหมือนกัน ?
A : คำสอน หากไม่มีคนนำมาใช้ ไม่มีคนนำมาปฎิบัติ ย่อมเสื่อมลง แต่หาก มีคนนำมาใช้ นำมาปฏิบัติและทำอย่างถูกต้อง กิเลสลดลง ๆ ก็จะเจริญขึ้น ๆ เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้งาน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำสอน ท่านกล่าวไว้ว่า “ธรรมะที่จะทำให้เจริญได้ คือ ความไม่ประมาท” เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและต่อไป ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ธรรมะที่จะทำให้เสื่อม คือ ความประมาท / ความแตกต่าง มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว เพราะท่านสอนไว้หลายอย่าง วิธีปฏิบัติก็หลายอย่าง ครูบาอาจารย์ ท่านชำนาญอย่างไหน ท่านก็สอนอย่างที่ท่านชำนาญ เลยทำให้ดูเหมือนว่าการปฏิบัติไม่เหมือนกัน
Q : หลักการในการพิจารณาว่าอะไรเป็นธรรมวินัยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
A ถ้าหากเราได้ยินได้ฟัง จากใครคนใดคนหนึ่ง บอกว่า นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้า เราอย่าพึ่งคัดค้านหรือปฏิเสธ แต่ให้ฟังไว้ก่อน กำหนดบทพยัญชนะและอรรถ ให้ถูกต้อง แล้วนำไปเทียบเคียง ในพระสูตรและพระธรรมวินัย ว่าเข้ากันได้ ลงกันได้หรือไม่ ถ้าไม่ลงกัน ให้ละทิ้งคำเหล่านั้นเสีย เพราะฉะนั้น เราจึงต้องอาศัยตำรานำมาเทียบเคียง ถ้าลงรับกัน คำสอนนั้นก็สามารถนำมาปฎิบัติได้
Q : สายมูกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
A : ให้เรารู้จักแยกแยะ พิจารณา ใคร่ครวญ และนำมาเทียบเคียงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า หากเป็นการให้ทาน นั้นดี ท่านแบ่งไว้ 2 แบบ คือ การให้ทานแบบมีผู้รับและการให้ทานแบบไม่มีผู้รับ หากเป็นการอ้อนวอนขอร้อง อันนี้ไม่ใช่ เพราะหากเราจะได้อะไรมา ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร หากเป็นการตั้งจิตอธิษฐาน แบบนี้มี ให้เราโยนิโสมนสิการ พิจารณาตามมรรค 8 ตามอริยสัจ 4 เราจะสามารถแยกแยะได้
Q : การทำพิธีแก้กรรม สามารถแก้กรรมได้จริงหรือไม่ ?
A : “ทำให้สิ้นกรรม” ทำได้ แต่เราต้องทำด้วยตัวเอง คนอื่นจะทำให้ไม่ได้ การที่เราจะทำให้สิ้นกรรมได้ คือ การทำกรรมดี ทำตามระบบของ “มรรค 8” เราจะอยู่เหนือกรรมดี อยู่เหนือกรรมชั่ว ได้ เรียกว่า “สิ้นกรรม”
Q : ทำไมในสมัยปัจจุบันจึงมีผู้บรรลุพระอรหันต์น้อยกว่าสมัยพุทธกาล ?
A : ท่านเปรียบดัง ทองคำแท้ คือ “สัทธรรม” และทองคำปลอม คือ ”สัทธรรมปฏิรูป” เมื่อไหร่ที่มีทองคำปลอมเกิดขึ้น ทองคำแท้ก็จะลดลง และที่เรารู้สึกลดลง เพราะมีทองคำปลอมอยู่มาก คือ เมื่อมีสัทธรรมปฏิรูปมากขึ้น ๆ ของเดิม ก็จะค่อย ๆ หายไป ดังนั้น เราจะรักษาสัทธรรมได้ด้วย การกลับมาที่คำสอน โยนิโสมนสิการด้วยปัญญา ด้วยการใช้มรรค8 เป็นตัวตรวจสอบ
Q : หลักการพิจารณาที่พึ่งที่แท้จริง / ทองคำแท้ทองคำปลอม
A : ให้เรากลับมาที่คำสอน ใช้ “มรรค 8” มาเป็นเครื่องมือตรวจสอบ พิจารณาใคร่ครวญด้วยปัญญา ประกอบด้วยการทำ การปฏิบัติอย่างเนืองนิตย์ ตอนนี้พระพุทธเจ้าท่านไม่อยู่แล้ว เราต้องเอา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 03 Jun 2023 - 58min - 307 - พระวินัยที่ญาติโยมควรทราบ | อาชีวะของพระภิกษุ [6621-7q]
Q: พระวินัยที่ญาติโยมควรทราบ | อาชีวะของพระภิกษุ
A: การดำเนินชีวิต คือ เรื่องเกี่ยวกับอาชีวะ ในทางพระสงฆ์ มีพระวินัยบัญญัติไว้ว่า ห้ามซื้อขาย แลกเปลี่ยนของ ด้วยรูปิยะ หมายถึง เงิน ธนบัตร ที่ท่านถือมาซื้อด้วยตัวเอง เราไม่ควรขายของให้กับพระภิกษุ หรือสามเณร เพื่อรักษาท่าน ไม่ให้ท่านทำผิดพระวินัย
Q: วัตถุอนามาส
A: สิ่งของที่พระไม่ควรจะแตะต้องหรือจับ เพราะจะทำให้ผิดศีลได้ง่าย มี 6 ประเภท ได้แก่ 1. ศาสตราวุธ 2. เครื่องดักสัตว์ 3. วัตถุของมีค่าหรือโลหะที่มีค่า 4. เครื่องดนตรี เครืองประโคม 5. สัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (รวมไปถึงคนที่เป็นผู้หญิง ผู้ชายที่มีใจเป็นหญิง ตุ๊กตาตัวเมีย เครื่องแต่งกายของผู้หญิง) 6. ข้าวเปลือกหรือผลไม้ที่ออกรวง ออกผลแล้วอยู่ที่ต้น คือ ไม่ควรจับเอา
Q: พระสามารถขับรถยนต์ได้หรือไม่?
A: ในประเทศไทยพระห้ามขับรถ และทำใบขับขี่
Q: พระดูแลพ่อแม่ผู้ชราในลักษณะใกล้ชิด ได้หรือไม่?
A: ท่านอนุญาต เรื่องการดูแล คือ อำนวยความสะดวก เช่น สั่งการให้เกิดขึ้นได้หรือเอาอาหารที่บิณฑบาตให้ สามารถทำได้ เกินกว่านี้ไม่ได้
Q: อาหารสำหรับถวายพระป่วย
A: หลังเที่ยงไปแล้ว อาหารที่ท่านฉันได้โดยไม่ต้องมีเหตุแห่งความหิว ได้แก่ น้ำตาล น้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านความร้อน ไม่เติมน้ำตาล และไม่เติมน้ำอ้อย แต่หากมีเหตุแห่งความหิว หรือมีอาการทางกายฉันเพื่อระงับเวทนา พิจารณาแล้วจึงฉัน ท่านสามารถฉัน อะไรที่ใส่น้ำตาล ใส่น้ำอ้อยหรือเกลือ เปลือกหรือเมล็ดของต้นไม้ที่มีคุณสมบัติเป็นยา เภสัช 5 (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ได้ หากมีเหตุแห่งความป่วย อาหารที่ท่านฉันได้ คือ ข้าวยาคูแค่น และน้ำต้มเนื้อ
Q: ที่นอนหมอนแบบไหนที่ควรถวายพระ
A: ที่นอนที่จะถวายพระ เตียงหรือตั่ง ห้ามสูงเกิน 8-9 นิ้ว พระสุคต คือ ไม่สูงเกินเอว ขนาดไม่เกิน 3.5 ฟุต ฟูก หนาไม่เกิน 3-4 นิ้ว ขนาดไม่เกิน 3.5 ฟุต หมอน ต้องเป็นหมอนหนุนคนเดียว หมอนยาวๆ หนุน 2 คนไม่ได้ หมอนข้างไม่ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 27 May 2023 - 57min - 306 - หิริโอตตัปปะ [6620-7q]
Q: เหตุใดจึงทำให้คนเปลี่ยนไป จากหน้ามือเป็นหลังมือ (เปลี่ยนไปในทางอกุศล)?
A: ท่านเคยเปรียบไว้ดังสะใภ้ใหม่ ที่เมื่อเข้ามาอยู่บ้านสามี แล้วละอาย เกรงกลัว พ่อ และแม่สามี คือ มี “หิริโอตตัปปะ” คือ มีความกลัว ความละอายต่อบาป แต่พออยู่นานเข้า หิริโอตตัปปะ ลดลง ไม่ฝึกสติ ฝึกใจ ทำให้ทำเรื่องไม่ดี หรือสิ่งที่เป็นอกุศลได้
ปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนจากเดิม เกิดได้ทั้งจาก 1. ปัจจัยภายใน คือ “หิริโอตตัปปะ” หากเรามีหิริโอตตัปปะ ฝึกสติ รู้จักหักห้ามใจ พอถึงจุดที่มีโอกาสจะทำชั่ว เราจะไม่ทำ หากเราไม่มีหิริโอตตัปปะ ไม่เคยฝึกสติ ไม่ฝึกหักห้ามใจ ก็จะทำสิ่งที่ชั่ว สิ่งที่เป็นอกุศลได้ 2. ปัจจัยภายนอก คือ ผัสสะที่เข้ามากระทบ เช่น เห็นช่องที่จะทำไม่ดีได้ ที่จะโกงได้ ทำชั่วได้ ตอบแทนความไว้วางใจด้วยความไม่ดี
ให้เรามี “หิริโอตตัปปะ” หมั่นทบทวน และตรวจสอบตนเองอย่างสม่ำเสมอ ว่าเราเดินผิดทางหรือไม่ เปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร เพื่อไม่ให้เราเดินหลงทาง ด้วยการใช้เกณฑ์ของกุศล และอกุศลมาวัด ว่าเราหลงในอำนาจไหม ความดีและความชั่วนั้น หากเราทำสิ่งใด ซ้ำๆ เรื่อยๆ สิ่งนั้นก็จะมีกำลัง เมื่อเราทำความดี ความดีก็จะมีกำลัง เมื่อเราทำความชั่ว ความชั่วก็จะมีกำลัง ให้เรามีหิริโอตตัปปะ หมั่นทบทวน ตรวจสอบตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีสติ รู้จักหักห้ามใจ มีกัลยาณมิตร เราจะตั้งอยู่ในกุศลได้
Q: อะไรที่จะเป็นเครื่องเตือนสติในศรัทธาที่ตั้งไว้ผิดที่?
A: ท่านให้มีศรัทธาไว้ใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่ตั้งไว้ในตัวบุคคล ในศาสนาพุทธ ต้องมีศรัทธามาคู่กับปัญญา เพราะปัญญาจะเป็นตัวตรวจสอบ เกิดความตระหนักรู้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 20 May 2023 - 54min - 305 - เกณฑ์คัดเลือกผู้นำด้วยธรรมของคนดี [6619-7q]
Q: สัปปุริสธรรม
A: คือ ธรรมะของคนดี แยกตามนัยยะ คือ นัยยะที่กล่าวถึงการพูดดี คิดดี ทำดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ นัยยะเรื่องวาจาที่พูดถึงคนอื่น คนดี จะพูดถึงความดีของคนอื่นโดยไม่ต้องถาม ยอมรับความไม่ดีของตนได้ ส่วนคนไม่ดี คือ เรื่องไม่ดีของตนไม่ยอมรับ จะชอบพูดเรื่องไม่ดีของคนอื่นแม้จะไม่มีใครถามก็พูด นัยยะของ สัปปุริสธรรม ตาม “ธัมมัญญูสูตร” นัยยะของสัปปุริสธรรม 7 และนัยยะของสัปปุริสธรรม 8
Q: ธัมมัญญุตา
A: คือ เป็นผู้รู้เหตุแห่งหลักธรรม รู้ว่าสร้างเหตุนี้จะต้องได้ผลนี้ ในการเลือกตั้ง เราต้องเลือกคนดี ไม่ใช่เลือกเพราะอคติ/ลำเอียง เพราะรัก เพราะเกลียด/โกรธ เพราะกลัวภัย หรือเพราะหลง
Q: อัตถัญญุตา
A: คือ เป็นผู้รู้จักผล รู้ความหมาย รู้เนื้อความแห่งคำสอนนั้นว่าหมายความว่าอย่างไร
Q: อัตตัญญุตา
A: คือ รู้จักตนว่ามีศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ หรือไม่ พร่องตรงไหน / ศรัทธา คือ มีความมั่นใจในระบบ, ศีล การรับสินบนถือว่าผิดศีล สุตตะ คือ การฟังที่จะทำให้เกิดความรู้ คลายอคติ จาคะ คือ การให้ การสละออก ทำประโยชน์ให้สังคม ปัญญา คือ ความรู้ที่จะเข้าใจสิ่งต่างๆ ปฏิภาณ คือ ความสามารถ ที่จะแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้
Q: มัตตัญญุตา
A: คือ รู้จักประมาณ รู้ความพอดี พระภิกษุ ท่านต้องพิจารณาแล้วจึงบริโภค ทั้ง อาหาร จีวร เสนาสนะและยารักษาโรค ในการที่จะเลือกตั้งนี้ เราก็ควรพิจารณาเสนาสนะ คือ พิจารณาใคร่ครวญให้ดีแล้วจึงทำ จึงลงคะแนน
Q: กาลัญญุตา
A: คือ รู้จักกาล คือ รู้จักเวลาว่าเวลาไหนควรทำอะไร
Q: ปริสัญญุตา
A: คือรู้จักบริษัท บุคคล กลุ่มคน ชุมชน ว่ากลุ่มไหน มีระเบียบการเข้าไปหาอย่างไร พอใจสิ่งไหน ชอบสิ่งไหนเรื่องใด ต้องเหมาะสมกับบุคคลแต่ละแบบ / ในการเลือกตั้ง เราต้องรู้ว่าคนนี้เป็นอย่างไร พรรคนี้เป็นอย่างไร มีประวัติผลงานเป็นอย่างไร
Q: ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา
A: รู้จักบุคคล ท่านเปรียบเทียบอยู่สองส่วน ต้องรู้ลึกไปถึง วิธีการทำ คิด ปฏิบัติ ของเขา ไม่ใช่แค่ผิวเผิน
Q: สัปปุริสธรรม 7
A: คือ มี 1. ศรัทธา 2. หิริ 3. โอตัปปะ 4. เป็นพหูสูตร 5. เป็นผู้ที่ทำความเพียรในการละอกุศล 7 ทำสิ่งที่เป็นกุศล 6. มีสติ 7. มีปัญญา/ สัปปุริสธรรม 7 ตรงกับพละ7 คือ คนที่เป็นคนดีก็จะมีกำลัง 7 อย่างนี้
Q: สัปปุริสธรรม 8
A: คือ 1. มีสัปปุริสธรรม 7 2. มีความภักดีต่อสัตบุรุษ 3. มีความคิดอย่างสัตบุรุษ 4. มีความรู้ (ปัญญา) อย่างสัตบุรุษ 5. มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ 6. มีการงานอย่างสัตบุรุษ 7. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ 8. มีการให้ทานแบบสัตบุรุษ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 13 May 2023 - 54min - 304 - แก้ทิฐิด้วยทิฐิ [6618-7q]
Q: ความแตกต่าง ระหว่างความร่าเริงอาจหาญในธรรมกับทิฐิมานะขั้นละเอียด?
A: การที่จะมีความร่าเริงอาจหาญในธรรมนั้น ต้องมีเหตุ มีปัจจัย จะมีความกล้า ที่มาจากคำว่า วิริยะ จะไม่สะดุ้งไปตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จะเป็นคนที่มีปัญญา มีการใคร่ครวญ โยนิโสมนสิการ เห็นถึงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ตามอริยสัจสี่ แล้วปล่อยวางได้ หากอยู่ๆ ก็กล้าขึ้นมาเลย นั่นจะเป็นลักษณะของกล้าบ้าบิ่น เป็น “ทิฐิมานะ” คืออาศัยอวิชชา เป็นความบ้าบิ่น ไม่รู้ ไม่เข้าใจสถานการณ์
Q: ทำไมอุรุสกชฎิลที่เชื่อในเรื่องอิทธิฤทธิ์จึงไม่ปลงใจเชื่อ แม้พระพุทธเจ้าจะแสดงปาฏิหาริย์มากมายก็ตาม แต่กลับสลดใจเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสกลับว่า "ท่านไม่ได้เป็นอรหันต์ แม้ทางที่จะไปถึงอรหันต์ท่านก็ไม่มี"?
A: เพราะคิดว่าอิทธิปาฏิหาริย์ไม่มีจริง เป็นเพียงกลลวงเท่านั้น และเพราะทิฐิมานะ ที่คิดว่าตนเองเป็นอรหันต์จริงๆ จึงทำให้เมื่อได้ยินท่านกล่าวเช่นนั้น จึงเกิดความสลดใจ ทิฐิมานะก็ต้องแก้ด้วยทิฐิมานะว่าทิฐิมานะที่มีนั้นไม่ถูก จึงจะเจริญขึ้นได้
Q: อธิบายขยายความใน “อาทิตตปริยายสูตร” ถึงการเปรียบเทียบ สุขเวทนาว่าเป็น “โลภะ” ทุกขเวทนาว่าเป็น “โกธะ” และอทุกขมสุขเวทนาเป็น “ความหลง”?
A: ราคะ โทสะ โมหะ เกิดจากผัสสะ ท่านเปรียบไว้ดังของร้อน เมื่อมีผัสสะจึงมีเวทนา ทั้งเวทนาที่เป็น สุข ทุกข์ และอทุกขมสุข เวทนาที่เป็น “สุข” ก็จะเป็นพื้นฐานให้เกิดความเพลิน ความหลงได้ เวทนาที่เป็น“ทุกข์” ก็จะเป็นพื้นฐานของความขยะแขยงเกลียดชัง ไม่พอใจได้ เวทนาที่เป็น “อทุกขมสุข” ก็จะเป็นที่ตั้งแห่งความหลงได้ ในทางตรงข้ามกัน เวทนาที่เป็นสุข ก็ทำให้เกิดความหลง เกิดความโกรธ ได้เหมือนกัน คือหากเราสูญเสียความสุขไป ก็เกิดความโกรธได้ ก็จะเป็นสุขเวทนาที่อาศัยความไม่พอใจได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดได้จากทั้ง สุข ทุกข์ และอทุกข์ขมสุข ขึ้นอยู่กับเหตุ เงื่อนไข ปัจจัยหากเราปฏิบัติตามมรรค 8 เราก็จะปล่อยวางความยึดถือในสิ่งเหล่าได้
Q: อธิบายขยายความคำว่า "อัตตะมะนา"
A: นัยยะหนึ่ง แปลว่า ยินดีพอใจในภาษิตของพระพุทธเจ้า อีกนัยยะหนึ่ง แปลว่า มีใจเป็นของตน คือ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่สะดุ้งไปตามอำนาจของกิเลส คือตั้งแต่โสดาบันเป็นต้นไป
Q: วิธีที่จะทำให้เราอยู่เป็นปกติสุขได้ในยุคปัจจุบัน?
A: ฝึกเจริญ พรหมวิหาร4 ทำจิตให้สงบ เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งต่างๆ ประกอบด้วยปัญญาแล้วจะไปนิพพานได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 06 May 2023 - 54min - 303 - เผชิญหน้ากับความกลัว [6617-7q]
Q: พระวินัยที่ญาติโยมควรทราบ | เหตุใดพระภิกษุต้องใช้ผ้าย้อมน้ำฝาด?
A: การนุ่งห่มด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด เป็นรูปแบบการปฏิบัติตั้งแต่สมัยพุทธกาล ท่านใช้ผ้าย้อมน้ำฝาด ด้วยเพราะหากเป็นสีขาวจะเปื้อนง่าย สีที่นำมาย้อมก็หาได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำฝาดจากต้นไม้ เปลือกไม้ หรือดิน เหล่านี้ เรียกรวมกันหมดว่า “ย้อมน้ำฝาด” ที่ท่านให้นุ่งห่มเช่นนี้ เพราะเป็นทางสายกลาง ไม่ใช่สุดโต่ง 2 ข้าง คือ ไม่ได้ไม่นุ่งอะไรเลยหรือนุ่งห่มเหมือนพระราชาและเพื่อให้รู้ว่าเป็นนักบวช
Q: แก้ไขจิตผูกโกรธ
A: ความโกรธเกิดขึ้นที่จิต เหมือนสนิมที่เกิดขึ้นที่เหล็ก เราจะให้อภัยเขาได้ จะวางได้ 1. เราต้องเห็นด้วยปัญญาว่าความโกรธเกิดขึ้นที่ตัวเรา จะดับได้ ก็ดับที่ตัวเรา 2. เราจะดับความโกรธได้ด้วยเมตตา เราจะให้อภัยได้ด้วยความกรุณา (คือ ปรารถนาให้เขาพ้นจากความทุกข์) ต่อเขา 3. รักษาเขาและเราด้วยธรรมะ เช่นนี้ เป็นการที่เรารักษาตนเองก็เท่ากับรักษาเขาและการที่เรารักษาเขาก็เท่ากับรักษาตนเอง / การที่เราเห็นตัวมัน เรามีสติ ทำความเข้าใจกับมัน เราจะไม่กลัว ไม่ใช่ว่าโรคไม่ร้ายแรง แต่ความกลัวมันจะหายไป ตามหลักของอริยสัจสี่ ต้องมีโยนิโสมนัสิการ
Q: ความกลัว มันน่ากลัวกว่าสิ่งที่กลัว
A: ความกลัว แบ่งเป็น 1.) ความกลัวแบบสมเหตุสมผล ความกลัวแบบนี้ แก้ได้ด้วยการกล้ายอมรับผิด กล้ายอมรับความจริง การกระทำแบบนี้ แม้ความกลัวจะไม่ได้ลดลง แต่เราต้องยอมรับความจริง เราจึงจะหายจากความกลัวได้ 2.) ความกลัวไม่สมเหตุสมผล เช่น กลัวความมืด โรคกลัว พวกนี้เป็นความกลัวที่เป็นอกุศล ให้เราตั้งสติ โยนิโสมนัสสิการ ใคร่ครวญ ไปในอริยสัจสี่ พอเราเข้าใจความกลัว เราจะเห็น จะถอนจากมันทันที ซึ่งพอเราเห็นมันแล้ว เราก็จะไม่เพลิน ไม่เกลือกกลั้ว ไปในมัน ความกลัวนั้นก็จะหายไป
Q: มีความรู้มาก กับ โยนิโสมนสิการ
A: การที่เรามีความรู้มาก ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่า เราจะมีการพิจารณา ใคร่ครวญ หมายถึง โยนิโสมนสิการ เพราะการที่มีโยนิโสมนสิการ คือ การคิด พิจารณา ใคร่ครวญ ตามกระบวนการของ อริยสัจสี่ เห็นไปตามจริง เพราะหากเรามีความรู้สูงแล้วเราเพลินไปตามความรู้นั้น เราก็จะไม่มีการโยนิโสมนสิการ
Q: หากพิจารณาว่าใครทำกรรมใดก็ได้รับกรรมนั้น จะช่วยบรรเทาความโกรธได้หรือไม่ หรือต้องใช้วิธีใดในการวางจิต?
A: ให้เราอุเบกขา สัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน ใครทำกรรมดีไว้ก็ตาม ใครทำกรรมชั่วไว้ก็ตาม จะได้รับผลของกรรมนั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 29 Apr 2023 - 54min - 302 - แก้ปัญหาได้ด้วยอิทธิบาท 4 [6616-7q]
Q: ทำอย่างไร คิดอย่างไร จิตใจจึงจะไม่เบื่อเซ็ง?
A: เราสามารถใส่ความเพียร ความขยัน ความกระตือรือร้น ลงไปในงาน ด้วย ”อิทธิบาท 4” ความเบื่อเซ็ง คือ “ถีนมิทธะ” เป็นหนึ่งในนิวรณ์ 5 ที่เป็นเครื่องกางกั้นไม่ให้จิตเราเป็นสมาธิ ให้เราตั้งสติ ฝึกทำบ่อยๆ เมื่อสติเรามีกำลัง จิตเป็นสมาธิแล้ว เราจะสามารถนำธรรมเครื่องปรุงแต่ง ที่ปรุงแต่งออกมาด้วยอิทธิบาท 4 เข้าไปเจริญด้วยสมาธิ จะทำให้เกิดการพัฒนา เกิดความก้าวหน้าได้ หรือหากเราอยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก ให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ อย่าจมอยู่อย่างนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Region-beta paradox” (เรื่องยิ่งร้าย ยิ่งกลายเป็นดี) หรือปรึกษาหาความรู้กับผู้รู้ จะช่วยได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 22 Apr 2023 - 52min - 301 - ธรรมะรักษาใจ [6615-7q]
Q: เพราะเหตุเมื่อทำบุญมานานๆ จึงไม่รู้สึกอิ่มใจอีกแล้ว?
A: การเราที่ทำบุญทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ก็เพื่อลดละกิเลส ไม่ได้หวังเอาอะไร ไม่ได้หวังเอาทั้งสุขและทุกข์ คือ เหนือสุขเหนือทุกข์ การที่เรารู้สึกเช่นนี้ คือ เราวางความสุขนั้นได้ เป็นอุเบกขา ต้องแยกให้ออกจากการมีโมหะที่เกิดจากความตระหนี่
Q: ข้อคิดจากเรื่องพระราธเถระ
A: ท่านเป็นเลิศในเรื่องของปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา เป็นพระที่บวชตอนแก่ / ข้อคิดมี 4 ข้อ คือ 1. ถูกลูกทอดทิ้งจนมาอยุ่ที่วัด 2. ความกตัญญูของพระสารีบุตรที่ท่านกตเวทีตอบแทน ด้วยการบวชให้ 3. เมื่อบวชแล้วเป็นผู้บอกง่ายสอนง่าย อดทนฟังรับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น 4. เป็นผู้มีปฏิภาณ
Q: พระพุทธเจ้าทรงจัดการกับภาวะโรคระบาดอย่างไร?
A: ท่านใช้ธรรมะรักษาทั้งโรคทางใจ (ราคะ โทสะ โมหะ รักษาด้วย “มรรค 8”) และโรคทางกาย เมื่อใจสบายก็ย่อมส่งผลต่อกายด้วย จะหาย จะดีขึ้นได้หรือไม่นั้น ก็ตามควรแก่ฐานะที่จะมีจะเป็นได้
Q: พุทธศาสนาสามารถช่วยคนที่เป็นโรคซึมเศร้าได้หรือไม่?
A: โดยควรแก่ฐานะ อาจจะได้หรือไม่ได้ หากเป็นมานานจนกลายเป็นอาสวะจะแก้ได้ยาก แต่หากพึ่งเริ่มเป็น แล้วเราฝึกสติ ตั้งสติ ฝึกจิตใจให้สงบระงับ ปฏิบัติตามมรรค 8 ช่วยได้
Q: เลี้ยงหอยทากเอาไว้ขายจะบาปไหม อาชีพที่กระตุ้นให้เกิดกิเลสเป็นบาป?
A: ในห่วงโซ่อุปทานนี้ ล้วนมีการเบียดเบียนกัน ให้เราดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลาง (มรรค 8) ด้วยการรักษาศีล เมื่อปฏิบัติแล้วจะลดการเบียนเบียนลง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 15 Apr 2023 - 56min - 300 - กิจที่ควรทำในเรื่องของโลก [6614-7q]
Q: เวลาป่วยไข้มี “ทุกขเวทนา” ควรวางจิตอย่างไร?
A: ให้เห็นทุกข์ในทุกข์ เราทุกข์ตรงไหน ทางแก้ก็อยู่ตรงนั้น นำ “ทุกขาปฏิปทา” มาใช้ คือ พอเรามีทุกข์ถาโถมเข้ามาท่วมทับแล้ว ให้ตั้งสติ ยอมรับมัน ดูแลไปเท่าที่ดูแลได้ รักษาจิตให้ดี ทำจิตให้ดี เดินตามทางสายกลาง
Q: บุญจากการบวชแก้บนเป็นการผูกมัดสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือไม่?
A: ผลของกรรมนั้นมีหลายอย่างมาเกี่ยวข้องกัน เป็นเรื่องของวิบาก เป็น “อจินไตย” จะให้บอกว่าได้หรือไม่ได้ หรือได้เมื่อไหร่ก็ไม่สามารถบอกได้ ในที่นี้ให้เราเดินตามทาง “มรรค 8” การบวช คนที่บวชก็ยังมีกิเลสอยู่ หรือไม่ได้บวชเพราะศรัทธา แต่เมื่อบวชมาแล้ว รู้ “อริยสัจสี่” ได้ ปฏิบัติดี มีปัญญาเพิ่มขึ้น มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าเงื่อนไขปัจจัยมีหลายอย่าง จะไปดีต่อไปได้
Q: คำว่า “บุญ” “กุศล” และ “บารมี” แตกต่างกันอย่างไร?
A: ท่านได้กล่าวไว้ว่า "บุญ" เป็นชื่อแห่งความสุข "กุศล" ท่านพูดไว้ในกุศลกรรมบท 10 แยกเป็นทางกาย วาจา ใจ "บารมี" คือ บุญที่สะสมไว้ๆ มากๆ บารมี ท่านกล่าวไว้ถึง บารมี 10 "บุญกุศล" คือ กุศลที่ทำให้เกิดสุข "บุญบารมี" คือ บารมีที่ทำให้เกิดสุข
Q: ทำไมจึงกล่าวว่าวิญญาณเป็นอาหารของนามรูป?
A: ท่านกล่าวไว้ถึง อาหาร 4 อย่าง หนึ่งในนั้น อาหาร คือ วิญญาณ ถ้าเป็นวิญญาณ อาหารของวิญญาณก็เป็นนามรูป นามรูปก็เป็นอาหารของวิญญาณ อาศัยกันและกันเกิดขึ้น คือ ถ้ามันยังมีเชื้ออยู่ มันก็จะอาศัยกันเกิดต่อไป และต่อไป เพราะฉะนั้น เราต้องดับ เพื่อไม่ให้มีอย่างอื่นต่อไปได้อีก ท่านกล่าวไว้ถึง ปฏิปทาในการสิ้นกรรม คือ มรรค 8 ถ้าพูดถึงอาหาร ก็คือ อะไรที่จะทำให้ไปเกิดต่อไปและต่อไป ถ้าพูดถึงวิญญาณอาหารหมายถึง ถ้าดับอาหารนี้ก็จะทำให้เกิดความสิ้นทุกข์ได้
Q: เมื่อเรายังอยู่กับโลก แล้วเราควรจะบริหารอาหารทั้ง 4 นี้ อย่างไร?
A: เราต้องเข้าใจโลก ถ้าเราอยู่กับโลกแล้วเราเข้าใจโลกได้ นั่นคือ บริหารอาหาร 4 ได้ถูกต้อง ความเข้าใจท่านใช้คำว่า ปริญญา เป็น หนึ่งในญาณ 3 ของเรื่องอริยสัจสี่ คือ ญาณ และกิจญาณ กิจญาณ คือ กิจที่ควรทำในเรื่องของโลก เรื่องของทุกข์ คือ เข้าใจในเหตุเกิดของโลก เข้าใจรสอร่อย เข้าใจโทษ เข้าใจความดับ และเข้าใจปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือของโลก แบบนี้คือ เข้าใจบริหารอาหาร 4 ได้ถูกต้อง
Q: นั่งสมาธิไม่ได้เพราะใจฟุ้งซ่าน รู้สึกผิดต่อพ่อ ควรทำอย่างไร?
A: ให้ระลึกถึงศีล และศรัทธา อันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะทำให้เราสบายใจ ละความร้อนใจได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 08 Apr 2023 - 54min - 299 - ทางแห่งนิพพาน [6613-7q]
Q: ถ้าคนเราต้องตายแล้วเราจะเกิดมาทำไม?
A: เราเกิดมาเพื่อที่จะแสวงหาความไม่เกิด คือ ความไม่ตาย นั่นคือ อมตะ ต้องปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา มาตามทางมรรค 8 ก็จะถึง “นิพพาน” คือความไม่เกิด ไม่ตาย
Q: คุณไสย คืออะไร?
A: หากอธิบายเปรียบเทียบ ศาสตร์ ที่หมายถึง องค์ความรู้ ในที่นี้ มีพุทธศาสตร์ และไสยศาสตร์ โดยเอามาเปรียบเทียบกัน พุทธศาสตร์นั้นเมื่อประกอบด้วยสิ่งที่เป็นกุศล ทำแล้วเป็นกุศล อกุศลลด ส่วนไสยศาสตร์นั้นมักจะเจือปนด้วยอกุศล ทำแล้วอกุศลเพิ่ม เราควรเลือกเอาสิ่งดี สิ่งไหนที่ทำแล้วเป็นกุศล ทำแล้วอกุศลลดลง ให้เรารู้จักสังเกต ฝึกสติ มีจิตจดจ่อเป็นสมาธิ เราก็จะรู้จักแยกแยะได้ ละสิ่งที่เป็นอกุศลได้ ด้วยการเดินมาตามทางมรรค 8
Q: คุณพ่อดื่มเหล้า สูบบุหรี่จะทำอย่างไร?
A: คนจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ต้องเห็นโทษ เมื่อเรารู้โทษจริง ๆ แล้ว เราจะเลิกได้ แต่ต้องอาศัยศรัทธาที่ประกอบด้วยการทำจริงแน่วแน่จริงและในทางปฏิบัติ ควรมีกัลยาณมิตร ที่จะคอยบอก คอยเตือน
Q: เรื่องหอบหืด
A: ในทางคำสอน ทุกอย่างเกิดจากเหตุมีเหตุมีปัจจัย ให้รักษาไปตามเหตุ เหตุบางอย่างเกิดจากการเตรียมตัวของเราไม่ดี เกิดจากอุตุ เกิดจากธาตุลม เกิดจากกรรมเก่าหรือเกิดจากอาหาร รักษาไปตามเหตุ กรณีโรคหอบเราควรพบแพทย์เพื่อรักษาและปฏิบัติตามมรรค 8 เพื่อไม่ให้เกิดมาทุกข์อีก เพราะเกิดทุกครั้ง ทุกข์ทุกครั้ง ไม่เกิด ไม่ตาย จึงสิ้นทุกข์
Q: ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
A: ปริวัฏฏ์ 3 รอบ คือ ญาณ 3 คือ 1. สัจจญาณ คือ ญาณที่จะเห็นไปตามความจริง 2. กิจญาณ คือ ญาณที่รู้ว่ากิจที่ควรทำคืออะไร 3. กตญาณ ได้ทำแล้ว / คือเมื่อเราเห็นไปตามความจริง รู้ว่ากิจที่ควรทำคืออะไร และได้ทำแล้วในอริยสัจสี่ ทำข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ อีก 3 ข้อก็จะเข้ากันได้เอง คือ ปริวัฏฏ์ 3 อาการ 12 นั่นเอง
Q: การแผ่เมตตา
A: ความพยาบาทก็ทำงานเหมือนเมตตา กว่าเราจะพยาบาทเขา ก็สะสมมานาน ดังนั้น หากเราจะเมตตาเขา ก็ต้องใช้เวลาด้วยเช่นกัน ให้เราฝึกตนให้มีเมตตาต่อเขา ฝึกตั้งแต่ที่ยังไม่เจอเขา ฝึกไปเรื่อยๆ เราจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ตรงจุดไหนที่เราทำแล้วมีเมตตาต่อเขาได้ ให้ทำตรงนั้น เราต้องมีกำลังใจ ทำให้มาก ทำให้เจริญ เอาชนะด้วยธรรมะ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 01 Apr 2023 - 55min - 298 - สติกับความไม่ประมาท [6612-7q]
Q: เมื่อสุขแล้ว สำเร็จแล้ว อย่าประมาท
A: ทุกข์ สุข กุศล อกุศล ผัสสะที่เข้ามากระทบ จะทำให้เกิดกุศลหรืออกุศลนั้น ขึ้นอยู่กับการวางจิตของเรา ว่าเมื่อมีผัสสะเข้ามากระทบแล้วเราจะทำอย่างไร หากผัสสะที่เป็นทุกขเวทนาเข้ามากระทบ แล้วเราขยะแขยง เกลียดชัง ก็จะกลายเป็น อกุศล แต่ใจขณะเดียวกัน หากผัสสะที่เป็นทุกขเวทนา เข้ามากระทบแล้ว เราอดทน เรามีเมตตาได้ นั่น จะเกิดเป็นกุศล คนมักจะเชื่อมทุกขเวทนาว่าเป็นทุกข์, สุขเวทนาว่าเป็นสุข แต่แท้จริงแล้ว ทั้งทุกข์และสุขนั้น ก็สามารถก่อให้เกิดได้ทั้งกุศลและอกุศลได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการวางจิตของเรา ว่าหากเรามีสุขเวทนาแล้ว เราจะกำหนัด ยินดี พอใจ เพลินไปกับสุขเวทนานั้นหรือไม่ เพราะหากเราเพลิน กำหนัด ยินดี พอใจ นั้นคือ “อุปาทาน” เป็น อกุศล เพราะฉะนั้น ถ้าเราได้ดีในชีวิตอยู่แล้ว ให้รักษาให้ดี ไม่ใช่หวงกั้น ถ้ารักษาไม่ดี กลายเป็นความหวงกั้น นั่นก็จะกลายเป็น “อกุศล” ซึ่งจะทำให้สิ่งดีๆ ที่เรามี กลายเป็นไม่ดีไป กลายเป็นทุกข์ไป ให้รักษากุศลไว้ อย่าประมาท
Q: สุขอย่างไรไม่ประมาท
A: ประมาท คือ พอมีความสุข แล้วยินดี พอใจ ลุ่มหลง เพลิดเพลิน แบบนี้ เป็นอกุศลกรรม ไม่ประมาท คือ เห็นความสุขเป็นของไม่เที่ยง ไม่ลุ่มหลง ไม่เพลิดเพลิน มัวเมา แบบนี้ เป็นกุศล
Q: ตั้งมั่นในความดีด้วยมรรค
A: เมื่อมีสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เราอย่าเพลินไปในมัน ความคิดที่เข้ามา ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นสิ่งที่เกิดจาก เงื่อนไข ปัจจัย อย่าเพลินไปในความคิด เพราะจิตเราเป็นประภัสสรอยู่แล้ว หากเราเพลิน เราพอใจ ไปตามความชอบหรือไม่ชอบ มันจะเป็นอกุศลได้ ท่านได้สอนไว้ ถึงสติปัฏฐานสี่ ให้เรามีสติ อย่าประมาท ให้ระมัดระวังอยู่เสมอ อย่าคิดว่าเล็กน้อยแล้วจะไม่ส่งผล ให้เราเดินไปตามทางมรรค 8 เพราะหากออกนอกมรรคนั่นคือ เราประมาท
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 25 Mar 2023 - 52min - 297 - ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ [6611-7q]
Q: เมื่อมีจิตฟุ้งซ่านไปในเรื่องอกุศล และไปผูกติดในสิ่งนั้นๆ ด้วย จะมีวิธีแก้ไขจิตอย่างไร?
A: ให้เราเรียกสติของเรากลับมา ด้วยการ ใช้คำว่า พุทโธ คือ “พุทธานุสติ”, พิจารณาในความเป็นปฏิกูล คือ “กายคตาสติ”, สอบถามผู้รู้, พิจารณาเห็นโทษของสิ่งที่เป็นอกุศล สวดมนต์ หรือข่มจิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต แล้วอย่าตามภาพหรือเสียงนั้นไป เพราะอาจจะวิปลาสภาพ วิปลาสเสียงได้ อย่างไรก็ดี เมื่อเราเห็นว่าจิตของเราเป็นอย่างไร เราจะแก้ไขได้แน่นอน
Q: ที่ทำงานยุงชุกชุมมากควรจัดการอย่างไรดีจึงจะเป็นการไม่บาป?
A: ทำจิตให้มีความเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนกัน หากเราไม่พอใจ จะเป็นบาป ให้หาวิธีป้องกันก่อนที่จะไปทำงาน เช่น ทายากันยุง จะช่วยได้
Q: ช่วยขยายความประโยคที่ว่า "เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจพ้นวิเศษ ฯ"?
A: ท่านแสดงธรรมให้ นักกายกรรม ชื่อ “อุคคเสน” เห็นโทษของการยึดถือ ในขันธ์ 5 ในที่นี้ ขันธ์ 5 คือ ยึดถือความสามารถในการแสดง ธรรมเครื่องปรุงแต่งทั้งหลาย คือ ขันธ์ 5 “สังขตธรรม” ลักษณะธรรมะที่มีการปรุงแต่ง คือ มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏและถ้าเมื่อตั้งอยู่ก็จะมีภาวะอย่างอื่นปรากฏ ซึ่ง ทางที่จะไปถึงการไม่ปรุงแต่ง มีแค่ “มรรค” เท่านั้น พอเราปฏิบัติตาม ธรรมปรุงแต่ง ก็จะทำให้ถึงความสิ้นทุกข์ ไม่เกิด ไม่แก่ ถึงนิพพาน ถึงฝั่งแห่งภพ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 18 Mar 2023 - 50min - 296 - อนัตตา [6610-7q]
Q: ความหมายของ “อนัตตา”
A: อนัตตา หมายถึง สิ่งใดที่อาศัยเงื่อนไขปัจจัยในการเกิด ไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง อาศัยกันและกันจึงเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเงื่อนไขที่มันมีอยู่ ดับไปหายไป สิ่งนั้นก็ต้องดับไปหายไป เพราะฉะนั้น หากเราเข้าใจว่า สิ่งที่เป็นอนัตตา ว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา เราจะเป็นทุกข์ / คำกล่าวที่ว่า อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา นั้น ท่านได้สอนไว้เป็นพระสูตร แยกกัน จะสลับหน้าหรือหลังก็ได้ เพราะคืออันเดียวกัน
Q: เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างพี่น้อง ควรวางจิตอย่างไร?
A: ให้ละการอาฆาต ด้วยการเมตตาต่อกัน ไม่พูดทิ่มแทงกัน แสดงความปรารถนาดีต่อกัน ทำดีต่อกัน ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่
Q: ความหมายของคำว่า จิต, ใจ, มโน, วิญญาณและธรรมารมณ์?
A: ใจกับมโน คือ สิ่งเดียวกัน, ทั้ง จิต ใจ มโน วิญญาณและธรรมารมณ์นั้นเป็นนาม เหมือนกัน จิต คือ จิต, มโน คือ ช่องทางการรับรู้, วิญญาณ คือ การรับรู้ เช่น การรับรู้ทางเสียง เรียกว่า ”โสตวิญญาณ”, ธรรมารมณ์ คือ ความคิด
Q: ความรักเป็นอมตะ ทางโลกและทางธรรม หมายถึงอย่างไร?
A: ในคำสอนของท่าน คำว่า “อมตะ” คือ ไม่มีเหตุการเกิดจึงไม่มีเหตุของการตาย ไม่ใช่ หมายถึงคงอยู่ตลอดกาล เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะเป็นอมตะได้ คือ “นิพพาน” ในทางโลก ท่านหมายถึง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ทางธรรม ท่านพูดถึง อริยสัจสี่ ส่วนมากจะหมายถึง มรรค 8 คือ ทางที่ดับไม่เหลือของทุกข์ ทางสู่นิพพาน
Q: ปัญญาของมโหสถ เป็นปัญญาชนิดเดียวกับปัญญาที่ใช้บรรลุธรรมใช่หรือไม่?
A ปัญญาของท่านมีมาก แต่ท่านเลือกนำมาสอนเฉพาะในส่วนที่จะเป็นทางไปสู่นิพพาน (มรรค 8) ซึ่งปัญญาของมโหสถ ก็อยู่ในนั้น เป็นส่วนที่สนับสนุนกันมา
Q: เมื่อเข้าสมาธิ เวลาที่จะสงัดจากกามคือเมื่อไร?
A: ต้องดูส่วนประกอบหลายอย่าง ส่วนผสมต้องเข้ากัน รวมถึง ดูจากการเข้า การออกและการดำรงอยู่ ส่วนไหนที่เราทำไม่ครบก็ทำเพิ่ม
Q: ในแต่ละวัน เวทนาอะไรที่เกิดขึ้นมากที่สุดและเร็วที่สุด?
A: แต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยทั่วไป สวรรค์ จะมีสุขมากกว่าทุกข์ มนุษย์ จะมีทุกข์ สุข พอๆ กัน สัตว์นรก มีทุกข์มากกว่าสุข
Q: เมื่อมีเวทนา ย่อมเกิดกิเลสตามมาใช่หรือไม่?
A: อยู่ที่ว่ามีสติคอยรักษาไหม
Q: โมหะไปเพิ่มอนุสัยประเภทอวิชชาใช่หรือไม่?
A: โมหะเป็น “อวิชชานุสัย” อยู่แล้ว
Q: เมื่อมีอุเบกขา กิเลสจะตามมาหรือไม่?
A: อยู่ที่ว่าเรายินดีพอใจในอุเบกขานั้นหรือไม่ จึงต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 11 Mar 2023 - 54min - 295 - การแบ่งจ่ายทรัพย์ [6609-7q]
Q: การเผยแผ่ธรรมะ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ควรวางตัวอย่างไร?
A: การแนะนำ ชักชวน หรือแชร์โพสต์ธรรมะ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ควรจะชักชวนกัน ดีกว่าชวนกันไปกิน ไปดื่ม ไปเล่น ปรารภเรื่องของกาม ในโลกที่ชุ่มอยู่ด้วยกาม พอมีคนพูดเรื่องให้หลีกออกจากกาม การที่จะมีคนว่าแปลกนั้นเป็นเรื่องธรรมดา
Q: มีบางคนพูดว่า “ไม่ต้องให้เงินพระหรอก” การพูดแบบนี้ เรียกว่ามี “มิจฉาทิฏฐิ”หรือไม่ หากมีผลของกรรมเป็นอย่างไร?
A: เมื่อได้ยิน ได้ฟังเรื่องใด ให้นำมาพิจารณา ใคร่ครวญ ว่าผู้กล่าวเป็นผู้ที่ ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ หรือไม่? พระพุทธเจ้า ท่านเป็นผู้ที่ ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ เราควรฟังคำสอนของท่าน ท่านได้สอนเรื่อง “การแบ่งจ่ายทรัพย์” ซึ่งในหน้าที่ ข้อที่ 4 คือ อุทิศให้แก่ สมณพราหมณ์ คือ ผู้ที่หลีกออกจากเรือน เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นเนื้อนาบุญ สมณพราหมณ์ท่านไม่ได้ยินดีใน เงินและทอง แต่ยินดีในปัจจัยสี่ที่เขานำมาถวายได้ ดังนั้น คำว่า “ไม่ต้องให้เงินพระหรอก” เราก็ควรจะทำปัจจัย 4 ที่มีความเหมาะสมกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพื่อให้หน้าที่ที่ 4 ของเรามีความถูกต้อง เพื่อให้ชีวิตของเรา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม เป็นสุขทั้งในปัจจุบัน และต่อไปในภายภาคหน้า
Q: ถามปัญหาธรรมะกับหลายๆ วัด หรือกับพระหลายๆ รูป ดีหรือไม่?
A: เป็นข้อปฏิบัติที่ควรทำอยู่แล้ว การเข้าไปสอบถามกับสมณะว่า “อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล” นั้น เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา เมื่อสอบถามแล้ว ก็ให้พิจารณา ใคร่ครวญ ว่าตรงตามแม่บทคำสอนของท่าน หรือไม่ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ไม่หลงประเด็น แล้วนำมาทำ มาปฏิบัติ จนกระทั่งอยู่ในกาย วาจา ใจ ซึ่งจะดูได้จากการกระทำที่มีศีล สมาธิ ปัญญาของคนๆ นั้น ก็คือ ให้ดูที่ตัวเราเอง นั่นเอง
Q: อาการนอนไม่ค่อยหลับ โดยเฉพาะวันพระ 8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม ควรแก้ไขอย่างไร?
A: ในทางคำสอนของท่าน แยกเป็น 2 อย่าง คือ 1. การตื่นอยู่เสมอ คือ จิตเป็นสมาธิ รู้สึกตัวอยู่ตลอด ตื่นตลอดด้วยจิตที่สว่าง ไม่ง่วง แจ่มใส สดชื่น เพราะได้รับการพักผ่อนในสมาธิ
2. เป็นโรคนอนไม่หลับ คือ จะง่วงอยู่ตลอด แต่นอนไม่หลับ รู้สึกนอนไม่พอตลอดเวลา เพลีย ท่านได้เคยตรัสสอนเรื่องการนอนไว้ว่า ให้น้อมจิตไปเพื่อการหลับ เมื่อหลับแล้วก็ตั้งจิตไว้ว่าจะไม่คิดไปในเรื่องทางกาม พยาบาท และเบียดเบียน รู้สึกตัวแล้วเมื่อไรให้ลุกขึ้นทันที การตั้งจิตอยู่แบบนี้จะการประกอบตนอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่นได้
Q: ปฏิบัติตนอย่างไรในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีธรรมอยู่ในอิริยาบถต่างๆ?
A: ฝึกให้มีสติอยู่กับทุกๆ อิริยาบถ ทุกเวลา ทุกสถานที่ เพราะสติอยู่ที่ใจ
Q: การเขียนชื่อ และฉายาของพระอาจารย์มหาไพบูลย์ฯ อย่างไรจึงถูกต้อง และมีความหมายอย่างไร?
A: เขียนว่า "พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ" ซึ่ง "ไพบูลย์" มีความหมายว่า เต็มเปี่ยม และ "อภิปุณฺโณ" แปลว่า ผู้มีบุญอันยิ่ง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 04 Mar 2023 - 49min - 294 - ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยการสลัดแอก [6608-7q]
Q : จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร ที่จะเปลี่ยนนักการเมืองที่มีมิจฉาอาชีวะมาเป็นสัมมาอาชีวะ ?
A : การที่จะมีสัมมาอาชีวะได้ จะต้องมีสัมมาทิฎฐิ เป็นองค์นำหน้า เพราะหากเราไม่มีสัมมาทิฏฐิแล้ว เราจะไม่รู้ได้เลยว่าการดำเนินชีพอย่างไรจึงจะเป็นสัมมาอาชีวะ การดำเนินชีพอย่างไรเป็นมิจฉาอาชีวะ ซึ่งการดำเนินชีพที่เป็นมิจฉาอาชีวะนั้น จะไม่ใช่ไปในทางหลุดพ้นหรือ”สลัดแอก” ได้
คำว่า “สัมมา” แปลว่า การสลัดแอก ในที่นี้คือ สลัด ละตัณหา กิเลส อวิชชา ให้เบาบางลงลดลง สัมมาทิฏฐิ คือ ทิฏฐิที่เป็นไปด้วยการสลัดแอก ลดกิเลส ส่วน “มิจฉา” คือ การที่เป็นไปเพื่อให้กิเลสเพิ่มพูนมากขึ้น เช่นนี้คือ “มิจฉาทิฏฐิ”
Q : ความหมายของ “อาชีวะ”
A : คือ ศิลปะ ในการหาทรัพย์, ดำเนินชีวิต อาชีพ
Q : ธรรมะกับนักการเมือง
A : คนที่จะมีกำลังที่จะผลักดันจิตใจให้ทำงานเพื่อคนอื่นได้ ต้องมีความดีอยู่ในใจอยู่แล้ว ให้เอามรรค 8 เป็นเกณฑ์ และคนที่จะมาเกี่ยวข้องกับกฎหมาย การปกครอง สิ่งที่ควรมี คือ ความซื่อสัตย์ มีวาจาเชื่อถือได้ ไม่พูดโกหก มีสัมมาวาจา
Q : การเมืองไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต
A : ให้เรานำมรรค 8 มานำชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือการดำเนินชีวิต นำมาใช้ในทุก ๆ ส่วน เริ่มความดีที่เรา แล้วความดีจะส่งต่อไป ไม่ใช่เปลี่ยนที่ตัวเขา แต่เปลี่ยนที่เราก่อน
Q : ฟังให้เกิดประโยชน์
A : หากเรามีศรัทธา แล้วนำธรรมะ ไปทำ ไปปฏิบัติ จะเกิดประโยชน์มาก ซึ่งศรัทธาจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องเห็นทุกข์ เพราะทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธา ให้เราเห็นอกเห็นใจกัน สามัคคีกัน มีเมตตาต่อกัน ก็จะค่อย ๆ เห็นทางออกได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 25 Feb 2023 - 52min - 293 - สุดโต่ง 2 ข้างของกิเลส [6607-7q]
Q: ห่วงความรู้สึกของคนอื่น จนไม่เป็นตัวของตัวเอง ควรจะทำอย่างไร?
A: ความรู้สึกเช่นนี้ คือ ต้องการให้สิ่งภายนอก คือคนในสังคมยอมรับเรา แต่จริงๆ แล้วต้องการหลุดพ้นจากสภาพเช่นนี้ กิเลส มันสุดโต่ง 2 ด้าน ทั้ง ด้านที่เป็นลักษณะของ “ภวตัณหา” คือ อยากมีอย่างนั้นอย่างนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ และ “วิภวตัณหา” คือ ความอยากที่จะไม่มีไม่เป็น ทางแก้ คือ ให้เรารักษาตนเองและรักษาผู้อื่น โดย รักษาตนเองด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมให้มากและรักษาผู้อื่นด้วยการ อดทน ไม่เบียดเบียน เมตตา และรักใคร่เอ็นดู ให้เราตั้งสติขึ้น เจริญสติปัฏฐาน 4 ระลึกถึงลมหายใจ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว เราก็จะเห็นไปตามจริง ว่าสิ่งไหนเที่ยง สิ่งไหนไม่เที่ยง เราก็จะละ จะกำจัดอาสวะได้ ซึ่งการที่เราจะละสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นั้น เราต้องเห็นโทษ เห็นความไม่เที่ยงของมัน เห็นว่า ความคิดทั้งดี และไม่ดีนั้น ไม่ใช่ของเรา แต่หากความคิดไหนเป็นประโยชน์ให้เอาไว้ ความคิดอันไหนไม่เป็นประโยชน์ให้เราละ ให้เอาทางที่เป็นมรรค 8 ไว้ ทางที่ไม่ใช่มรรค 8 ไม่เอา
Q: ขณะบิณฑบาต ฝาบาตรตก จะอาบัติหรือไม่ แก้ไขอย่างไร?
A: ไม่อาบัติ อาจจะผูกฝาไว้
Q: ควรจะพูดอย่างไรให้คนต่างศาสนา ต่างความเชื่อ ได้เข้าใจถึงทางออกที่แท้จริงของการทำแท้ง?
A: เริ่มจากสิ่งที่สามารถลงกันได้เสียก่อน เช่นว่าสิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล เป็นลักษณะของกาม พยาบาท เบียดเบียนหรือไม่ ให้เกรงกลัว ละอายต่อบาปอกุศล จากนั้น ค่อยพูดคุย เรื่องของข้อตกลงร่วมกัน หรือข้อกฎหมายในแต่ละชนชาติ ว่าลงรับกันได้มากน้อยอย่างไร และควรหลีกเลี่ยงการพูดคุย ในสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง หรือผิดขนบธรรมเนียมประเพณี ในแต่ละชนชาตินั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 18 Feb 2023 - 55min - 292 - เรื่องของบุญ [6606-7q]
Q: ทำไมต้องทำบุญ บอกบุญ?
A: “บุญ” ไม่ได้หมายถึง การให้ทานอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การรักษาศีล และการภาวนาด้วย ซึ่งเมื่อเราทำบุญแล้ว เราจะไปยังที่ ที่ดี ไม่ตกต่ำ / การบอกบุญ ก็ไม่ได้หมายถึงการให้ทานอย่างเดียว ยังรวมถึงการเมตตาต่อผู้อื่น หรือคอยเตือนเพื่อนให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ให้รักษาศีล ก็เป็นบุญ
Q: ทำไมต้องอนุโมทนา?
A: การอนุโมทนา เป็น “มุทิตา” คือ ยินดีในความดีของคนอื่น เป็นบุญต่อๆ กัน ทวีคูณกันขึ้นไป ไม่ริษยาในการกระทำของเขา เราจะลดความริษยาได้
Q: ทำไมต้องกรวดน้ำ?
A: การกรวดน้ำเป็นการกระทำทางกาย ที่แสดงถึงการอนุโมทนา ไม่ได้เป็นคำสอนของท่านโดยตรง ซึ่งในทางคำสอนนั้น ท่านสอนเรื่องของจิตใจ สำคัญที่ตั้งจิต จะมีน้ำหรือไม่มีก็ได้
Q: การอธิษฐานเป็นการทำบุญหวังผล?
A: หากเราตั้งจิตอธิษฐาน ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ตั้งอยู่ในมรรค 8 จะทำให้กิเลสลดลง ความยึดถือลดลง จึงจะเป็นการตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยความถูกต้อง
Q: สามารถทำบุญอุทิศให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่?
A: คำว่า “อุทิศ” หมายความว่า เราปรารภเหตุนั้นๆ แล้ว เป็นเครื่องเตือนสติ ให้ระลึกขึ้น แล้วเราจึงทำ สามารถทำได้ทั้ง ทาน ศีล ภาวนา / เมื่อเราอุทิศบุญให้แล้ว ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือล่วงลับไปแล้ว กระแสแห่งบุญ ความดีนั้นจะไปถึงแน่นอน แต่จะรับได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องนึง
Q: ทำบุญด้วยปัจจัยที่มาก ยิ่งได้บุญมาก จริงหรือไม่?
A: อยู่ที่เงื่อนไข 3 อย่าง ของผู้ให้ คือ ศรัทธาก่อนให้ ระหว่างให้และหลังให้ และ 3 อย่างของผู้รับ คือ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลดลงหรือไม่มีแล้ว รวมกันทั้ง 6 อย่าง ส่วนการทำบุญด้วยปัจจัย จะมากหรือน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่ศรัทธา
Q: เมื่อทำบุญแล้วรู้สึกปิติ อิ่มเอมใจมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งก็ยังทำบุญสม่ำเสมอแต่กลับรู้สึกเฉยๆ?
A: การให้ทานแล้วเราดีใจ คือ ”ปิติสุข” ซึ่ง ปิติสุข ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา พอเกิดขึ้นแล้วก็หายไป หรืออาจเกิดจาก ปล่อยวางปิติสุขได้ ไม่ยึดติดในปิติสุขนั้น ทั้งนี้ เราต้องมีศรัทธา ระลึกถึงทานที่ให้ไป เมื่อระลึกถึงแล้ว ก็จะเป็นบุญที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เมื่อมีสติ มีปัญญา อารมณ์ที่จะสุข ทุกข์ ไปตาม ก็จะเฉยๆ ไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 11 Feb 2023 - 53min - 291 - การกระทำเพื่อให้เกิดปัญญา [6605-7q]
การกระทำเพื่อให้เกิดปัญญา "สติ 5 ขั้นตอน"
การที่จะเกิดปัญญาได้ ต้องมีอินทรีย์ที่แก่กล้า การที่จะมีอินทรีย์แก่กล้าได้ ต้องมีสติ / ลักษณะของสติ 5 ประการ คือ 1. สังเกต 2. แยกแยะ 3. แยกตัว 4. ทางเลือก 5. ระลึกถึง พอแยกแยะแล้วจะทำให้เห็นภาพที่จะปฏิบัติชัดเจนขึ้นและเมื่อสติมีกำลังเพิ่มมากขึ้น จากการฝึกทำ จะทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ และเมื่อจิตระงับลงๆ ไม่เผลอ ไม่เพลิน อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ เต็มขึ้น แก่กล้าขึ้น ปัญญา จะมีกำลังขึ้นมา ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการเห็นจริงตามนั้น / เกิดได้จากความเพียร และศรัทธา) ก็จะเกิดขึ้น แก่กล้าขึ้น และเมื่ออินทรีย์เต็มขึ้น ทั้ง 5 อย่าง จะทำให้สามารถบรรลุธรรมได้เร็ว
Q: ควรจะทำอย่างไรถ้ามีความเชื่อ ความศรัทธาที่ขัดแย้งกับหลักคำสอน?
A: ใช้หลักเหตุและผล คือ “สัมมาทิฐิ” ไตร่ตรองด้วยปัญญา ในการที่จะเชื่อ และศรัทธา โดยศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา ต้องมี “โยนิโสมนสิการ” ท่านจึงให้คิดว่า “ความคิดแบบไหน ความเชื่อแบบไหน ที่เป็นทุกข์ มีโทษตลอดกาลนาน ไม่เป็นประโยชน์ ความคิดแบบไหน ความเชื่อแบบไหน ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ มีสุขตลอดกาลนาน” หากใช้หลักสัมมาทิฐิ เราจะไม่ขัดแย้งเลย
Q: ความดีคืออะไร จับต้องหรือรู้สึกได้หรือไม่?
A: ท่านให้เกณฑ์ความดีไว้ คือ “บุญกิริยาวัตถุ10” เมื่อทำแล้วเราจะรู้สึกได้ หากเราใช้คำว่ากุศล หรืออกุศลจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น
Q: “ตัณหา” และ “ฉันทะ” ต่างกันอย่างไร?
A: ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก / ฉันทะคือ ความพอใจ ฉันทะที่ดี ใช้ในส่วนของมรรคในเรื่องของ อิทธิบาท 4 ฉันทะที่ไม่ดี จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือ จะทำให้จิตของเราไปยึดถือ จึงเป็นทุกข์ / นัยยะที่เหมือนกัน คือ ถ้าเอาฉันทะไปตั้งไว้ในกองทุกข์ ก็จะเหมือนกับตัณหา คือ จะอยู่ในส่วนของสมุทัย / นัยยะที่ต่างกัน คือ ฉันทะ หากใช้กับอิทธิบาท 4 จะเป็นฉันทะในส่วนที่ดี
Q: หลักคำสอนเรื่อง "ความสันโดษ" จะทำให้คนขี้เกียจ จริงหรือไม่?
A: “ความสันโดษ” มาจาก คำว่า “สันตุฏฐี” คือ ยินดีตามมีตามได้ สันโดษจะทำให้จิตของเรา ไม่เกียจคร้าน ตรงข้ามกันกับ “ขี้เกียจ” คือ ขี้เกียจจะไม่ทำอะไรเลย เกียจคร้าน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 04 Feb 2023 - 56min - 289 - เหนือเหตุ เหนือผล [6604-7q]
Q : ความหมายของคำว่า "เกิดมาใช้กรรม" และ "ใบไม้กำมือเดียว" ?
A : เกิดมาใช้กรรม ไม่มีในพุทธพจน์แต่ที่ท่านได้กล่าวไว้คือเกิดมาสิ้นกรรม กรรมเป็นเรื่องของเหตุผล ท่านจึงสอนเรื่องการอยู่เหนือเหตุเหนือผล คือมรรค 8 เมื่อเราไปตามทางนี้แล้ว เราจะหลุดพ้น สามารถดับเหตุได้ เมื่อเหตุดับผลก็ดับ
"ใบไม้กำมือเดียว" หมายถึง สิ่งที่สอนเท่ากับใบไม้ในกำมือ สิ่งที่ท่านรู้เท่ากับใบไม้ทั้งหมด ท่านไม่ได้สอนทั้งหมดเพราะไม่ได้เป็นทางหลุดพ้น ไม่ได้เป็นทางตรัสรู้ธรรม
Q : การนำธรรมะไปใช้สอนลูกหลาน?
A : สอนให้เขามีหิริโอตตัปปะ ให้เข้าใจเหตุผล ให้เกรงกลัวละอายต่อบาป โดยอย่าขู่ให้เขากลัว
Q : ฝันถึงคุณพ่อคุณแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วบ่อยๆ ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ เช่นนี้ เป็นเพราะท่านยังไม่ไปเกิดหรือเพราะคิดถึงและวิตกกังวลมากเกินไป?
A : คนเราพอจุติแล้วจะไปเกิดทันที ตามกรรมที่ได้ทำไว้ การที่เราฝัน อาจมาจาก เรากังวลใจ ทุกข์ใจ เราต้องตั้งสติเห็นไปตามจริง ซึ่งการที่จะเห็นไปตามจริงนั้นจิตต้องมีความรู้ เกิดการเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จึงจะสามารถปล่อยวางได้
Q : สอนเด็กอย่างไรให้เขาเชื่อฟัง ?
A : สอนให้เขาตั้งอยู่ในความดี ห้ามเสียจากบาป ใช้ธรรมะโดย ไม่ใช้ความรุนแรง เช่น การตี การด่าการว่า แต่ให้ใช้เหตุผล
Q : เหตุใดการหย่าร้างจึงมีมาก ?
A : เมื่อเราไม่รักษาทิศไหน ทิศนั้นจะเป็นภัย ท่านสอนเรื่องทิศทั้ง 6 ไว้ว่าหน้าที่ของสามีและภรรยา คือ ควรยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ รู้จักจัดการงานและรักษาทรัพย์ เมื่อเรารักษาทิศนี้ทิศนี้ก็จะไม่เป็นภัย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 29 Jan 2023 - 59min - 288 - การบูชาผู้ที่ควรบูชาเป็นมงคล [6603-7q]
Q: ข้อคิดในวันตรุษจีน ว่าด้วยเรื่องของ “การบูชา”
A: การบูชาบรรพบุรุษ เป็นการบูชาผู้ที่ควรบูชา เป็นมงคล ลักษณะการนำสิ่งของ หรืออาหารไปวางไว้หน้าหลุมศพ หรือป้ายบรรพบุรุษนั้น เป็นการบูชายัญ คือ การให้โดยไม่มีผู้รับ แต่หากในเรือนของเรา มีบรรพบุรุษที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ แล้วเราบูชาท่าน เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการบูชายัญ แต่เป็นการให้ทาน เราก็จะได้บุญขึ้นไปอีก เพราะเรามีบุคคลที่ควรบูชา คือ อาหุไนยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล
การจัดเครื่องเซ่นไหว้ เป็นลักษณะของการบูชาเทวดา สามารถทำได้ โดยบูชาความดีของท่านเหล่านั้น ส่วนการบูชาด้วยของหอม การทำความสะอาดบ้านเรือนเป็นการดูแลเสนาสนะ ก็เป็นประเพณีที่ดี
การจัดหิ้งพระ เหล่าเทวดาทั้งหมดจะบูชาพระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์สาวกทั้งหลาย ดังนั้นจึงเริ่มจาก พระพุทธเจ้าอยู่สูงสุด รองลงมา คือ พระโพธิสัตว์ พรหม เทวดา ตามลำดับ
เมื่อเรากระทำทางกาย วาจา ใจ ที่ดี แล้วเข้าใจความเป็นเหตุ เป็นผล ปัญญาจะเกิดขึ้น ไม่ได้ทำด้วยความงมงาย หรือด้วยการอ้อนวอนขอร้อง (สีลัพพัตตปรามาส) ก็จะเป็นประเพณีที่ดี และเมื่อเราทำแล้ว ตั้งจิตให้ดี ความเป็นมงคลก็จะเกิดขึ้นกับเรา
Q: หากต้องทำอาชีพเลี้ยงไก่ขายเนื้อ ต้องจ้างฆ่าไก่ ผลของกรรมนี้มากหรือไม่? หรือมีวิธีใดที่ทำให้อาชีพนี้ไม่บาปเยอะ
A: การค้าขายที่ไม่พึงกระทำ มี 5 ประการ คือ ค้าอาวุธ ค้ายาพิษ ค้าสัตว์เป็น ค้าเนื้อสัตว์ และค้าสุรา ไม่ควรค้า เพราะอาจจะสนับสนุนให้เกิดการผิดศีลได้ ให้เราเอาศีลเป็นเกณฑ์ คือ ไม่ประพฤติผิดศีล 5 แล้วค่อยๆ พัฒนา ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป พอศีลเราละเอียดลงๆ จิตใจก็จะละเอียดตาม ทางจะค่อยๆ เปิดออก และเดินไปตามทางได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 21 Jan 2023 - 56min - 287 - เห็นความไม่เที่ยงด้วยปัญญา [6602-7q]
Q: มีความรู้สึกเหมือนไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง มีแค่ความรู้สึกที่รับรู้เรื่องราวต่างๆ อยู่ เหมือนกำลังดูละครโรงใหญ่อยู่ สภาวะแบบนี้คืออะไร?
A: ลักษณะเช่นนี้ คือ “สติ” ที่เริ่มมีการแยกตัวออกจากสิ่งนั้นๆ โดยเมื่อเห็นเช่นนี้แล้วเราสามารถเลือกได้ว่า จะไปตามทุกข์หรือสุข ในสภาวะนั้น หรือ ดูเฉยๆ หรือเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือ ไม่ยึดถือในสภาวะแบบนั้น นั่นคือ เรามี “สติสัมปชัญญะ” แล้ว
Q: เมื่อตายแล้ว อะไรที่ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบจะเอาไปด้วยได้?
A: ถ้ายังไม่ปรินิพพาน เมื่อตายแล้วสิ่งที่จะติดตามไปด้วยได้ คือ กุศลและอกุศล เพราะการ กระทำทางกาย วาจา ใจ จะสั่งสมมาที่จิต มันจะให้ผลที่สืบเนื่องไป หากเรามีกุศลจิต กุศลจิตที่ไปเกิดใหม่นั้น คือ จะไปยังที่ ที่มีความสุขได้ หากปรินิพพาน ท่านไม่ได้เอา ศีล สมาธิ ปัญญา ไปด้วย เพราะสภาวะแห่งการสั่งสมนั้นดับไป คือจิตดับไป มันจึงให้ผลไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก่อนจะไปถึงนิพพาน เราควร ละอกุศล ทำกุศล และทำจิตให้บริสุทธิ์ มาตามทางศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอริยทรัพย์ที่คนอื่นขโมยไปไม่ได้
Q: การบรรลุไม่ได้ขึ้นอยู่กับทุกข์มากหรือน้อย แต่ขึ้นอยู่กับปัญญาเห็นการเกิดดับแห่งทุกข์นั้น ใช่หรือไม่?
A: ทุกข์ที่จะทำให้เกิดธรรมะได้ ทุกข์นั้นจะต้องประกอบด้วย ศรัทธาและปัญญา / สุขเวทนา คือ ทุกข์ที่ทนได้ง่าย ทุกขเวทนา คือ ทุกข์ที่ทนได้ยาก ทั้งสุขเวทนาและทุกขเวทนาล้วนเป็นทุกข์ เพราะเปลี่ยนแปลงไป ตามเหตุ เงื่อนไข ปัจจัยเหมือนกัน เช่นนี้ เราจะเห็นทุกข์ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา เห็นทุกข์ได้แบบนี้ด้วยปัญญา ให้เรามีสติ ไม่ประมาท มีศรัทธา ไปตามทางมรรค 8 จะทำให้เราพ้นทุกข์ได้
Q: เวลานั่งสมาธิแล้วจะคอยจ้องว่าเมื่อไหร่ จะสงบนิ่งเข้าสมาธิ ควรแก้ไขอย่างไร?
A: อยู่ที่เราสร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ให้ถูกต้อง แล้วทำความเพียรด้วยศรัทธา ด้วยปัญญาคือเข้าใจว่ามันเป็นอนัตตา เราต้องมีศีล มีกัลยาณมิตร ฟังธรรม ใคร่ครวญ โยนิโสมนสสิการ อยู่ในเสนาสนะอันสงัด พอไปถูกทาง ความสงบจะเกิดขึ้นมาได้
Q: ขณะสวดมนต์อยู่ มีธรรมะผุดขึ้นในใจ ควรทำอย่างไร?
A: ใคร่ครวญธรรม ให้เห็นตามความเป็นจริง เพื่อให้เกิดปัญญาในการหลุดพ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 14 Jan 2023 - 54min - 286 - เครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อย [6601-7q]
Q: ถ้าเรามีคุณธรรมความเป็นคนถ่อย ควรแก้ไขอย่างไร?
A: ความเป็นคนถ่อย “วสลสูตร” กล่าวถึงคุณธรรมของคนถ่อย 20 ประเภทไว้ / บุคคลไม่ได้เป็นคนถ่อยด้วยเพราะชาติกำเนิด ไม่ได้เป็นพราหมณ์ด้วยเพราะชาติกำเนิด แต่การที่จะเป็นคนถ่อยหรือเป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม คือ การกระทำ ถ้าเราทำกรรมไม่ดีก็เป็นคนถ่อย ทำกรรมดีก็เป็นพราหมณ์ (พราหมณ์ ในที่นี้ คือ ผู้ที่ลอยบาปแล้ว)
Q: เมื่อจิตไม่สงบ ขี้โมโห ควรแก้ไขอย่างไร?
A: ทั้งความสงบและความโกรธ ล้วนเป็นอนัตตา เมื่อเป็นอนัตตา ก็อยู่ที่ เหตุ เงื่อนไข และปัจจัย ถ้าเราสร้างเหตุเงื่อนไขแห่งความโกรธ ความโกรธก็มีมา ให้เราสร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย คือ รักษาศีล ฟังธรรมเป็นประจำ ปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิทำจิตให้สงบ เพื่อเป็นการให้อาหารใจ คบกัลยาณมิตร ให้มีปัญญารู้จักสังเกต เห็นความเกิดขึ้น เห็นความดับไป เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีทั้งสติ และสัมปชัญญะอยู่ตรงนี้ จะสามารถปล่อยวางได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sat, 07 Jan 2023 - 58min
Podcasts semelhantes a 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 1 สมการชีวิต ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 3 ใต้ร่มโพธิบท ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ
Outros Podcasts de Sociedade e Cultura
- Noche de Misterio Caracol Pódcast
- Humor Voz Populi BLU BluRadio
- Relatos de la Noche Sonoro | RDLN
- Enigmas sin resolver Uforia Podcasts
- La Tertulia RCN Radio RCN Radio
- Música Cristiana Mx Música Cristiana Mx
- Código Misterio Código Misterio
- Javeriana Estéreo 91.9 FM Javeriana919fm
- TED Talks Daily TED
- El Gallo Pódcast Radioacktiva y Caracol Pódcast
- Paranormal Fepo
- BBVA Aprendemos juntos 2030 BBVA Podcast
- EXPEDIENTES PARANORMALES de Esteban Cruz, @Cruzescribiente Cruz Escribiente
- Relatos del lado oscuro Relatos del Lado Oscuro
- Hablemos de vallenato y su historia Jorge Estrada
- Kalimán ramy diaz
- Despertando Dudas Media
- Programa de Música Ranchera con Lalo Catalán Lalo Catalan
- El Antipodcast Dr. Miguel Padilla
- Sex, Love, and Relationships with Chico Martin MOR Entertainment