Podcasts by Category
- 456 - สารคดีพิเศษ EP. 76: ทำบุญเลี้ยงพระ (4) การใส่ของถวายพระ เตรียมบาตรน้ำมนต์และสายสิญจน์
ตามประเพณีที่ทำสืบต่อกันมา เครื่องรองรับพระสงฆ์ส่วนใหญ่จะเป็นหมากพลู น้ำร้อน น้ำเย็น และกระโถน และหากเจ้าภาพต้องการให้พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ก็ต้องเตรียมภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ไว้ด้วย โดยจะต้องวางไว้ทางขวามือของพระรูปนั้น ๆ และประเคนตั้งแต่ข้างในออกมา
ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ ใช้หม้อน้ำมนต์ที่มีฝาครอบ (เรียกว่า ครอบน้ำมนต์) บาตร หรือขันทองเหลือง (เว้นขันเงิน ขันทองคำ) มีพานรอง, น้ำที่ใช้ทำน้ำมนต์นั้น นิยมใช้น้ำที่ได้มาจากดิน (ไม่นิยมใช้น้ำฝน) ใส่ประมาณค่อนภาชนะ เทียนน้ำมนต์นิยมใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ ขนาดหนัก 1 บาทเป็นอย่างต่ำ ตั้งเตรียมไว้หน้าโต๊ะบูชา เยื้องมาให้ใกล้พระสงฆ์รูปที่ 1
วงด้ายสายสิญจน์ ควรโยงมาจากฐานพระพุทธรูป วนขวารอบฐานพระพุทธรูป โยงมาที่บาตรหรือภาชนะน้ำมนต์ วนขวาที่ภาชนะน้ำมนต์ วางไว้บนพาน ตั้งใกล้อาสนะพระเถระผู้เป็นประธานในพิธี และไม่ควรข้ามด้ายสายสิญจน์
Sun, 27 Sep 2020 - 13min - 455 - สารคดีพิเศษ EP. 75: ทำบุญเลี้ยงพระ (3) การเตรียมงานและสถานที่
เนื่องจากพิธีทำบุญเลี้ยงพระเป็นพิธีมงคลจึงควรเตรียมสถานที่ให้สะอาด เรียบร้อย ตระเตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชา ควรใช้โต๊ะหมู่ 5 - 7 - 9 ของบนโต๊ะบูชามีพระพุทธรูป ๑, กระถางธูป ๑, เชิงเทียน ๒, แจกันดอกไม้สด ๒, และเพิ่มอะไรที่สมควรให้มากกว่านี้ก็ได้
การตั้งพระพุทธรูปควรตั้งให้อยู่ทางขวามือของพระสงฆ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศเดียวกันกับพระสงฆ์ แต่ถ้าสถานที่ไม่อำนวย ก็จัดตามความเหมาะสม
Sat, 26 Sep 2020 - 13min - 454 - สารคดีพิเศษ EP. 74: ทำบุญเลี้ยงพระ (2) การนิมนต์พระและการบอกกล่าวงาน
เมื่อเจ้าภาพเลือกวันฤกษ์ดี ต้องเตรียมความพร้อมด้วยการขอนิมนต์พระล่วงหน้า ไม่อย่างนั้นพระสงฆ์อาจติดกิจนิมนต์งานอื่นทำให้ไม่สามารถมางานของเราได้ ปกติแล้วการนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญเลี้ยงพระจะนิยมนิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนคี่ เช่น 5, 7 หรือ 9 โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ว่าไม่ต่ำกว่า 5 รูป แต่ไม่ได้กำหนดจำนวนข้างมาก ยกเว้นในงานแต่งที่นิยมนิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนคู่ เนื่องจากแบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวนิมนต์พระมาในจำนวนที่เท่ากันนั่นเอง และในการนิมนต์พระต้องแจ้งรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นพิธีอะไร แจ้งสถานที่จัดงาน จำนวนพระสงฆ์ที่ต้องการนิมนต์ และวิธีการเดินทางว่าจะให้พระสงฆ์เดินทางมาเองหรือมีรถรับ-ส่ง
Sun, 20 Sep 2020 - 13min - 453 - สารคดีพิเศษ EP. 73: ทำบุญเลี้ยงพระ (1) การกำหนดฤกษ์
การทำบุญเลี้ยงพระ เป็นหนึ่งในกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่เราคนไทยคุ้นชินกันมากที่สุด พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัว มี ๒ ประเภท คือ ทำบุญงานมงคลและทำบุญงานอวมงคล
คนส่วนใหญ่มักเลือกทำบุญโดยกำหนดวันจากฤกษ์ดีหรือฤกษ์สะดวก แต่ปกติแล้วจะนิยมเลือกวันทีตรงกับที่เป็นอธิบดีและธงชัย โดยเลี่ยงวันอุบาทว์และโลกาวินาศ
Sat, 19 Sep 2020 - 12min - 452 - สารคดีพิเศษ EP. 72: พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
วันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีเก่าแก่มาแต่โบราณที่เสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ ปัจจุบันคือวันพืชมงคล
พระราชพิธีพืชมงคลได้เริ่มมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชพิธี 2 พิธี รวมกันคือ พระราชพิธีมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่ง กับพระราชพิธีจรด พระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ โดยพิธีสงฆ์จะจัดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสมนามหลว
Sun, 13 Sep 2020 - 13min - 451 - สารคดีพิเศษ EP. 71: วันครู
วันครูได้จัดให้มีขึ้น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลและให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ เห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวัสดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่น หลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือหนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
Sat, 12 Sep 2020 - 13min - 450 - สารคดีพิเศษ EP. 70: วันเด็ก
งานวันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ.2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือน ตุลาคม ถึงปี พ.ศ.2506 และในปี พ.ศ.2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่สอง ของเดือนม.ค. เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้
Sun, 06 Sep 2020 - 14min - 449 - สารคดีพิเศษ EP. 69: คติความเชื่อการลอยกระทงและกิจกรรม
การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เพราะนับวันเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า
การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา
Sat, 05 Sep 2020 - 13min - 448 - สารคดีพิเศษ EP. 68: การทำบุญและการละเล่นในวันสงกรานต์Sun, 23 Aug 2020 - 13min
- 447 - สารคดีพิเศษ EP. 67: นางสงกรานต์และนาคให้น้ำSat, 22 Aug 2020 - 13min
- 446 - สารคดีพิเศษ EP. 66: ประวัติสงกรานต์Sun, 16 Aug 2020 - 13min
- 445 - สารคดีพิเศษ EP. 65: ประเพณีสงกรานต์Sat, 15 Aug 2020 - 13min
- 444 - สารคดีพิเศษ EP. 64: เทศกาลขึ้นปีใหม่Sun, 09 Aug 2020 - 13min
- 443 - สารคดีพิเศษ EP. 63: เทศกาลสารทและพิธีกวนข้าวทิพย์Sat, 08 Aug 2020 - 12min
- 442 - สารคดีพิเศษ EP. 62: พิธีตรุษไทยSun, 02 Aug 2020 - 13min
- 441 - สารคดีพิเศษ EP. 61: หน้าที่สามีภรรยา
เมื่อผ่านขั้นตอนการเลือกคู่แล้ว การอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยา ทั้งคู่จะต้องมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน โดยตามประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อในสมัยโบราณ มีการแบ่งหน้าที่ของสามีและภรรยาดังนี้
สามีมีหน้าที่ 5 ประการ คือ ให้ความนับถือ ยอมรับฐานะแห่งภรรยา ยกย่องให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม มีความซื่อสัตย์ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ หาเครื่องประดับ เครื่องแต่งกายมามอบให้
ภรรยามีหน้าที่ 5 ประการ คือ จัดดูแลงานบ้านให้เรียบร้อย ใส่ใจสงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ซื่อสัตย์ไม่ประพฤติผิดนอกใจ ช่วยประหยัดดูแลรักษาทรัพย์ที่หามาได้
Sat, 01 Aug 2020 - 13min - 440 - สารคดีพิเศษ EP. 60: การฉลองสมรส ปูที่นอน ส่งตัวและเฝ้าหอ
ในการแต่งงานสมัยโบราณ บางทีฤกษ์ส่งตัว อาจจะมีกำหนดหลังจากวันแต่งหลายวัน เจ้าบ่าวจะต้อง มานอนเฝ้าเรือนหอ อาจเป็น 3 คืน 5 คืน หรือ 7 คืน ต้องรอไปจนกว่าจะถึง ฤกษ์เรียงหมอน ส่งตัวเจ้าสาว ในตอนค่ำเจ้าสาว จะส่งผ้านุ่งมาให้เพื่อให้เจ้าบ่าวผลัดนุ่ง เรียกว่า “ผ้าห้อยหอ” ระหว่างที่นอนเฝ้าหอ ผู้ใหญ่ ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาว จะจัดมหาบัณฑิต ผู้รอบรู้มาฝ่ายละ 2 คน เพื่อสวดมาลัยสูตร เป็นการอบรมสั่งสอน ให้เจ้าบ่าวรู้จักหน้าที่ และความประพฤติดีมีน้ำใจ รู้บาปบุญคุณโทษ บางทีเปลี่ยนจากสวดมาลัยสูตร เป็น กล่าวคำสั่งสอน ด้วยทำนองและเสียงอันไพเราะ หรือมีดนตรีปี่พาทย์บรรเลง เป็นการกล่อมหอ การบรรเลง กล่อมหอนี้ บางทีก็ทำกันในคืนส่งตัวก็มี
Sun, 26 Jul 2020 - 13min - 439 - สารคดีพิเศษ EP. 59: สังข์และพิธีหลั่งน้ำ
สาเหตุที่ใช้หอยสังข์ มาเป็นภาชนะใส่น้ำมนต์หลั่งอวยพรให้คู่บ่าวสาวนั้น เพราะถือกันว่า หอยสังข์เป็นหนึ่งใน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 14 อย่าง อันเกิดจาก การกวนเกษียรสมุทร ของเหล่าเทวดาและอสูร
มีตำนานเกี่ยวกับ ความเป็นมาของหอยสังข์อีกหลายนัย เช่น ครั้งหนึ่งสังข์อสูรได้ลักเอาพระเวท ไปซ่อนไว้ ในหอยสังข์ พระนารายณ์ได้อวตารไปปราบและสังหาร แล้วทรงล้วงเอาพระเวทออกมาจากสังข์ ทำให้ปากหอยสังข์ มีรอยพระหัตถ์ของพระนารายณ์ จึงถือว่าสังข์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะเคยเป็นที่รองรับพระเวท การนำมาใส่น้ำมนต์ รดให้คู่บ่าวสาว เชื่อกันว่าเป็นสิริมงคล
Sat, 25 Jul 2020 - 13min - 438 - สารคดีพิเศษ EP. 58: การไหว้ผี พิธีรับไหว้ ทำบุญตักบาตรและรดน้ำสังข์
การไหว้ญาติผู้ใหญ่หรือพิธีรับไหว้นั้น จะไล่เรียงไปตามลำดับอาวุโส ส่วนใหญ่พ่อแม่ของฝ่ายหญิง ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านจะให้เกียรติโดยให้ทางฝ่ายชาย ทำพิธีรับไหว้ก่อน หรือจะไหว้ ปู่ย่าตายายญาติผู้ใหญ่ ของทั้งสองฝ่ายก่อนก็ได้ ไม่ถือเคร่งครัดนัก
หลังจากทำพิธีรับไหว้เสร็จ เงินรับไหว้ทั้งหมดนั้น คู่บ่าวสาวจะเก็บไว้เป็นเงินทุน อาจมีการเพิ่มเงินทุนให้แก่คู่บ่าวสาวก็ได้
สำหรับพิธีร่วมกันทำบุญตักบาตร ของคู่บ่าวสาวนั้น นิยมกระทำกัน หลังจากทำพิธีรับไหว้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว คือเจ้าภาพจะนิมนต์พระ มาสวดเจริญพุทธมนต์ และรับอาหารบิณฑบาต
การตักบาตรนี้ แต่เดิมให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวตักกัน คนละทัพพี ใส่ในบาตรพระทุกองค์ ที่นิมนต์สวดเจริญ พระพุทธมนต์ ต่อมากลายเป็น คู่บ่าวสาวร่วมจับทัพพีเดียวกัน ตักบาตรพร้อมกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นความเชื่อ ว่าหากชายหญิงได้มีโอกาส ทำบุญร่วมชาติ ตักบาตรร่วมกัน ต่อไปจะได้เกิดมา เป็นคู่กันทุกชาติ
Sun, 19 Jul 2020 - 13min - 437 - สารคดีพิเศษ EP. 57: การถอดรองเท้าเรียกค่าไถ่และการตรวจนับขันหมาก
หลังจากผู้กั้นประตูเงิน ตกลง เปิดทางให้ผ่าน เจ้าบ่าวก็ขึ้นบันได ไปสู่ขอประตูทอง เพื่อเข้าไปในตัวเรือน ในช่วงนี้ จะมีคนแย่ง กันถอดรองเท้าให้เจ้าบ่าว เพราะสามารถนำไปซ่อน เพื่อขอค่าไถ่ได้ในภายหลัง คือ เมื่อขึ้นไปทำพิธี บนบ้านเสร็จแล้ว เจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องลงมาข้างล่าง เพื่อทักทายแขก หรือทำการ ปลูกต้นกล้วยต้นอ้อยร่วมกัน ผู้นำรองเท้าไปซ่อน จะเรียก ค่าไถ่จากเจ้าบ่าว จนเป็นที่พอใจ จึงจะนำมาคืนให้ เป็นการหยอกล้อกัน เพื่อความสนุกสนาน
ก่อนขึ้นบ้านน้องเจ้าสาว จะทำหน้าที่ล้างเท้าให้เจ้าบ่าว ซึ่งทำพอเป็นพิธีเท่านั้น และเจ้าบ่าวต้องให้ซองเงิน หรือ ของแถมพกเป็นรางวัล
สำหรับด่านสุดท้ายหรือประตูทองนั้น ของแถมพกหรือซองเงินที่ใช้ผ่านประตูทองนี้ จะมีราคาสูงกว่า 2 ประตูแรก บางครั้งถ้าฐานะดี ฝ่ายเจ้าบ่าว อาจใช้สร้อยทอง หรือแหวนทอง เป็นค่าผ่านก็มี เมื่อได้ของแถมพกแล้ว ผู้ปิดกั้นประตู จึงยอมเปิดทางให้ผ่าน เฒ่าแก่และฝ่ายเจ้าบ่าว พร้อมเครื่องขันหมาก จึงเข้าไป ในเรือนหรือบ้านของฝ่ายหญิง ทันใดนั้นก็มีการลั่นฆ้องสามลา (ถ้ามี) เป็นฤกษ์ขันหมากถึงเรือนหอ หรือบางที ไม่มีการลั่นฆ้อง ฝ่ายพ่อแม่เจ้าสาว ก็จะออกมาต้อนรับ
Sat, 18 Jul 2020 - 13min - 436 - สารคดีพิเศษ EP. 56: การเคลื่อนขบวนขันหมาก
เมื่อขบวนขันหมาก ของเจ้าบ่าวมาถึงเขตบ้าน ฝ่ายเจ้าสาวจะจัดพานใส่หมากพลู สำหรับรับขันหมาก เตรียมไว้ให้เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว เมื่อมีผู้นำพานรับขันหมาก มามอบให้
ในการรับขันหมาก นอกจะให้เด็กยกพาน รับขันหมากแล้วผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวก็จะออกมา ให้การต้อนรับด้วย เพื่อเจรจาต้อนรับเฒ่าแก่ของฝ่ายเจ้าบ่าว พูดคุยอาจใช้ผู้ที่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะคอยควบคุม เรียกว่า นายขันหมาก บางทีเรียกว่า คนเอิ้นหรือผู้ขานขันหมาก ส่วนเฒ่าแก่เป็นเพียงผู้ร่วมมาในขบวนขันหมาก และเป็นผู้ทำพิธีในฐานะผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย นายขันหมาก... มีหน้าที่บอกกับทางผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงว่า บัดนี้ขบวนขันหมาก ได้มาถึงบ้านของฝ่ายหญิงแล้ว
Sun, 12 Jul 2020 - 13min - 435 - สารคดีพิเศษ EP. 55: การจัดขบวนขันหมาก
เมื่อถึงวันแต่งงาน ฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดเตรียมขบวนขันหมากไว้ครบถ้วนแล้ว ผู้ที่ได้รับการไหว้วาน ให้มาช่วยยกขันหมาก ก็พร้อมหน้าพร้อมตา แต่งตัวกันสวยงามดูภูมิฐาน รอจนกว่าจะถึงฤกษ์งามยามดี ตามที่ไปหาหรือไปดูเอาไว้ ก็เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมาก ไปยังบ้านของเจ้าสาว
หากบ้านของฝ่ายเจ้าสาวอยู่ไกล เมื่อใกล้ถึงวันงาน อาจนำข้าวของมาฝากไว้ที่บ้านญาติของเจ้าสาว ซึ่งอยู่ ในบริเวณใกล้เคียงกันก็ได้ หรือมาจัดข้าวของกันที่นี่เลย แต่ถ้าบ้านเจ้าบ่าว อยู่ไม่ไกลมากนัก การจัดขบวนขันหมาก แห่แหนมา จะดูครึกครื้นสนุกสนานกว่า
พอใกล้เวลาได้ฤกษ์ยกขบวนขันหมาก ทางบ้านฝ่ายเจ้าสาว จะจัดสำรับกับข้าวคาวหวาน ๒ คู่หรือ ๔ สำรับ ให้ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว นำหน้าให้คนยกไปยังบ้านเจ้าบ่าว สำหรับกับข้าว คาวหวานนี้ เรียกว่า ของเลื่อนเตือนขันหมาก
เมื่อมีผู้ยก ของเลื่อนเตือนขันหมาก มาแสดงว่า ทางบ้านฝ่ายเจ้าสาว เตรียมตัว พร้อมแล้ว ให้เริ่มเคลื่อนขบวนขันหมากได้
Sat, 11 Jul 2020 - 13min - 434 - สารคดีพิเศษ EP. 54: ขนมและผลไม้ในขบวนขันหมาก
ขนมที่ใช้ในขบวนขันหมาก นิยมจัดเป็นคู่ ในสมัยโบราณใช้ ขนมมากมายหลายอย่าง แต่ที่สำคัญ ๆ มี ขนมกง ขนมทองเอก ขนมชะมด ขนมสามเกลอ ขนมโพรงแสม ขนมรังนก ซึ่งปัจจุบันนอก จากจะหายากแล้ว บางทีเอ่ยชื่อมา หลายคนคงไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินก็มี
ขนมยอดนิยมสำหรับการทำบุญต่าง ๆ ในปัจจุบัน ก็คือ ขนมทองหยิบ ขนมฝอยทอง ขนมเม็ดขนุน ขนมลูกชุบ ขนมชั้น ขนมหม้อแกง ขนมข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ฯลฯ
ผลไม้ที่ใช้ในขบวนขันหมากก็นิยมจัดเป็นคู่ ๆ โดยนำกระดาษแดงมาแปะหรือประดับให้สวยงาม ซึ่งผลไม้นั้นมีหลายอย่าง แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ ส่วนมากจะใช้ มะพร้าวอ่อน ส้มโอ กล้วยทั้งหวี ฯลฯ
Sun, 05 Jul 2020 - 13min - 433 - สารคดีพิเศษ EP. 53: พิธียกขันหมา (ขันหมากเอก - โท)
ขันหมากเอก นิยมจัดเป็นคู่ เวลายกขบวนแห่ขันหมาก จะมีคนถือเป็นคู่ ๆ ดูสวยงามและเป็นมงคล โดยถือเคล็ดจากคำว่า “ คู่ ” เป็นสำคัญ แต่การจะจัดเป็นขันเดี่ยว หรือขันคู่ ก็แล้วแต่ประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น ในขันหมากเอกส่วนใหญ่มีขันใส่หมากพลู ขันใส่เงินทองหรือสินสอด ขันใส่สิ่งของอันเป็นมงคล เช่น ถั่ว งา ข้าวเปลือก ใบเงินใบทอง ฯลฯ
ขันหมากโท ได้แก่ พวกของที่ใช้เป็นอาหารและขนม รวมทั้งบริวารขันหมากอื่น ๆ เช่น ต้นกล้วย ต้นอ้อย นิยมจัดเป็นคู่ ๆ เช่นกัน มีการนำกระดาษสีแดง ประดับตกแต่งให้สวยงาม
อาหารในขบวนขันหมากโท ไม่นิยมอาหารที่ปรุงสุกแล้ว แต่จะเป็นของที่ใช้สำหรับเป็นเครื่องเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ หลังจากเซ่นแล้วจึงนำมาปรุงเลี้ยงดูกัน
Sat, 04 Jul 2020 - 12min - 432 - สารคดีพิเศษ EP. 52: ฤกษ์ยามการแต่งงานและวันห้าม
คนไทยเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่อง ฤกษ์ยาม เคล็ดลาง มาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเฉพาะการทำพิธีอันเป็นมงคลต่าง ๆ การแต่งงานจะต้องดูฤกษ์ยามกันตั้งแต่วันที่ส่งเฒ่าแก่ไปเจรจาสู่ขอ วันหมั้น วันทำพิธีมงคลสมรส รวมถึงฤกษ์ยามในการปลูกเรือนหอ ส่งตัวเจ้าสาวและฤกษ์เรียงหมอน
เกี่ยวกับฤกษ์ยามนั้น เริ่มจากวัน คือต้องเป็นวันดี เช่น วันอธิบดี วันธงชัย ส่วนเดือนที่นิยมแต่งงานกัน ได้แก่ เดือน ๖ เดือน ๙ เดือน ๑๐ เดือน ๒ และเดือน ๔ แล้วแต่ความนิยมเชื่อถืออันซึ่งมีคติที่มาหลายนัย
Sun, 28 Jun 2020 - 13min - 431 - สารคดีพิเศษ EP. 51: การยกขันหมากหมั้นและการนับสินสอด
เมื่อถึงกำหนดฤกษ์ยามตามที่ได้ตกลงกันไว้ ฝ่ายชายจะจัดเตรียมขันหมากหมั้น เพื่อยกไปทำการหมั้นฝ่ายหญิง โดยมอบหมายให้ เฒ่าแก่ฝ่ายชาย เป็นผู้นำไปมอบให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง
เกี่ยวกับตัวเฒ่าแก่ฝ่ายชายนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคนเดียวกับที่ไปทำการเจรจาสู่ขอ หรือจะให้ผู้อื่นทำหน้าที่แทน ก็ได้ เพราะไม่ค่อยถือเหมือนเฒ่าแก่ขันหมากตอนแต่ง ซึ่งควรจะเป็นเฒ่าแก่คนเดียวกับที่ไปเจรจาสู่ขอ
เฒ่าแก่ขันหมากหมั้น นิยมให้สามีภรรยาที่อยู่กินกันมาด้วยความผาสุก โดยไปด้วยกันทั้งคู่ เป็นการ ถือเคล็ดชีวิตคู่ ในบางแห่งอาจเป็นฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง เป็นผู้ทำหน้าที่เฒ่าแก่ขันหมากหมั้น เพียงคนเดียวก็ได้
Sat, 27 Jun 2020 - 13min - 430 - สารคดีพิเศษ EP. 50: การตรวจดูดวงชะตา ผูกดวงสมพงษ์และขันหมาก
หลังจากที่ฝ่ายชาย ส่งเฒ่าแก่หรือพ่อสื่อแม่สื่อ ไปเจรจาสู่ขอกันเป็นที่ตกลงแล้ว บางครั้ง ทางผู้ใหญ่ ต้องการให้ มีการหมั้นกันไว้สัก ระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงทำการแต่งในภายหลัง เพื่อให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสดูใจ หรือศึกษา อุปนิสัยใจคอ กันได้มากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องมีการกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น รวมทั้งกำหนดสินสอดทองหมั้น ที่เรียกว่า ขันหมากหมั้น
Sun, 21 Jun 2020 - 13min - 429 - สารคดีพิเศษ EP. 49: การสู่ขอ
การสู่ขอในงานแต่งงานไทยนั้น ผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้ทำหน้าที่ไปเจรจาสู่ขอ ตามธรรมเนียมประเพณีเรียกว่า “ เฒ่าแก่ ” ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีฐานะดี มีผู้ให้ความเคารพนับถือ และรู้จักพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ของทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้จักอุปนิสัยใจคอของฝ่ายชาย ที่ตนจะเป็นตัวแทนไปสู่ขอด้วยเพราะ ตัวเฒ่าแก่จะต้องเป็นผู้รับรองนิสัย ความประพฤติ ฐานะทางการงาน ฯลฯ ให้แก่ฝ่ายชาย
Sat, 20 Jun 2020 - 13min - 428 - สารคดีพิเศษ EP. 48: การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญบ้านและพิธีมงคลสมรส
เมื่อปลูกบ้านและทำพิธีตั้งศาลพระภูมิแล้วนิยมทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคล จุดประสงค์อื่นๆ ก็เพื่อขอให้เกิดความสุขสวัสดีจำเริญวัฒนา ป้องกันสรรพอุปัทวะ เหตุขัดข้อง และอันตรายทั้งมวล
ครั้นได้ฤกษ์ พระสงฆ์มาสวดเจริญพระพุทธมนต์ รับอาหารบิณฑบาตฉันภัตตาหารเช้า เสร็จแล้วจึงถวายเครื่องปัจจัยไทยธรรม เป็นอันเสร็จพิธี หากจะให้มีการเจิมประตู พรมน้ำมนต์ หรือโปรยทรายรอบๆบ้านทั้ง ๔ ทิศ เพื่อป้องกันอันตรายทั้งมวล ก็นิมนต์ให้พระ ผู้เป็นประธาน กระทำได้หลังจาก ที่ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
Sun, 14 Jun 2020 - 13min - 427 - สารคดีพิเศษ EP. 47: การถอนศาลและทิศตั้งศาลพระภูมิ
หากมีศาลพระภูมิอยู่แล้ว ถ้าต้องการจะตั้งใหม่ ต้องทำพิธีถอนศาลพระภูมิเก่า ออกเสียก่อน โดยสังเวยพระภูมิเก่าไว้ ๓ วัน ถ้ามีนิมิตไม่ดี ให้งดตั้งศาลพระภูมิใหม่ ถ้ามีนิมิตดี จึงค่อยทำพิธีตั้งศาลพระภูมิใหม่
ก่อนอื่นต้องทำพิธีอัญเชิญพระภูมิเก่า ออกก่อน ด้วยคำเชิญ ให้ทำพิธีถอน คล้ายกับถอนสีมา โดยทำน้ำมนต์ธรณีสารรดเสาพระภูมิ และว่าคาถาพอนพร้อมกันไป เสร็จแล้ว ยกเอาพระภูมิ และถนเสาออกเสียก่อน อย่าทำลายเป็นอันขาด ให้ลอยน้ำไป หรือฝากพระไว้ในวัด แล้วจึง ทำพิธียกศาลพระภูมิใหม่ได้ทิศที่เจ้ากรุงพาลีนอน
Sat, 13 Jun 2020 - 13min - 426 - สารคดีพิเศษ EP. 46: เครื่องสังเวยยกศาลพระภูมิ
ศาลพระภูมินิยมตั้งไว้ริมรั้วบ้าน เพื่อพระภูมิจะได้มองเห็นศัตรู หรือภัยอันตรายต่างๆ ได้สะดวก โดยที่นิยมตั้งมีอยู่ ๓ ทิศ คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยสีของศาลพระภูมิจะใช้สีอะไรก็ได้ แต่บางคนนิยมใช้สีตามประจำวันเกิดของตัวเอง ซึ่งข้อควรรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับศาลพระภูมิ มีหลายประการ เช่น ตัวศาล เมื่อฝังดินแล้ว ควรให้เหลือความสูงเพียงตาหรือเกินกว่านั้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องสังเวยสำหรับการบูชาศาลพระภูมิ
Sun, 07 Jun 2020 - 13min - 425 - สารคดีพิเศษ EP. 45: ความเชื่อและพิธีตั้งศาลพระภูมิ
เมื่อปลูกเรือนเสร็จแล้ว ตามธรรมเนียมไทยจะต้องทำพิธียกศาลพระภูมิด้วย เพราะถือกันว่า พระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำบ้าน เป็นเทวาอารักษ์ ผู้คอยปกปักษ์รักษาคนในบ้าน มีความเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอดภัย จากภยันตรายทั้งปวง โดยเจ้าของบ้าน จะต้องเซ่นสรวงบูชาด้วยความเคารพ พระภูมิจึงจะคุ้มครอง แต่หากกระทำในสิ่งตรงกันข้าม คือไม่ให้ความเคารพ และเซ่นสรวงบูชาพระภูมิ ก็อาจจะให้โทษ โดยดลบันดาลให้เกิดทุกข์ภัยได้เช่นกัน
Sat, 06 Jun 2020 - 14min - 424 - สารคดีพิเศษ EP. 44: พิธีสงฆ์ในการปลูกเรือนSun, 31 May 2020 - 12min
- 423 - สารคดีพิเศษ EP. 43: วิธีขุดหลุม โกยดินทิ้งและการแก้เคล็ดเมื่อเจอสิ่งของในหลุมก่อนปลูกเรือนSat, 30 May 2020 - 12min
- 390 - สารคดีพิเศษ EP. 42: วันและเดือนที่เหมาะหรือห้ามปลูกเรือนSun, 24 May 2020 - 13min
- 389 - สารคดีพิเศษ EP. 41: ลักษณะเสาปลูกเรือนที่ไม่ดีSat, 23 May 2020 - 13min
- 388 - สารคดีพิเศษ EP. 40: การเลือกลักษณะเสาบ้าน (เสาอุดมพฤกษ์และเสาไม้ตัวเมีย)Sun, 17 May 2020 - 13min
- 387 - สารคดีพิเศษ EP. 39: พิธีปลูกเรือนSat, 16 May 2020 - 13min
- 386 - สารคดีพิเศษ EP. 38: พระมาลัย ภาคนมัสการพระธาตุเจดีย์จุฬามณีและสนทนาพระศรีอริยเมตไตรSun, 10 May 2020 - 13min
- 385 - สารคดีพิเศษ EP. 37: พระมาลัย ภาคโปรดสัตว์นรกและสนทนากับพระอินทร์Sat, 09 May 2020 - 12min
- 384 - สารคดีพิเศษ EP. 35: อานิสงส์จากการฟังเทศน์มหาชาติSun, 03 May 2020 - 13min
- 383 - สารคดีพิเศษ EP. 36: พระมาลัยกับบทบาทวัฒนธรรมไทยSun, 03 May 2020 - 13min
- 382 - สารคดีพิเศษ EP. 34: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์นครกัณฑ์)Sun, 26 Apr 2020 - 14min
- 381 - สารคดีพิเศษ EP. 33: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์ฉกษัตริย์)Sat, 25 Apr 2020 - 13min
- 380 - สารคดีพิเศษ EP. 32: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์มหาราช)Sun, 19 Apr 2020 - 13min
- 379 - สารคดีพิเศษ EP. 31: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์สักกพรรพ)Sat, 18 Apr 2020 - 13min
- 378 - สารคดีพิเศษ EP. 30: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์มัทรี)Sun, 12 Apr 2020 - 14min
- 377 - สารคดีพิเศษ EP. 29: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์กุมาร)Sat, 11 Apr 2020 - 13min
- 376 - สารคดีพิเศษ EP. 28: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์มหาพน)Sun, 05 Apr 2020 - 15min
- 375 - สารคดีพิเศษ EP. 27: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์จุลพน)Sat, 04 Apr 2020 - 13min
- 374 - สารคดีพิเศษ EP. 26: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์ชูชก)Sun, 29 Mar 2020 - 13min
- 373 - สารคดีพิเศษ EP. 25: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์วนปเวศน์)Sat, 28 Mar 2020 - 13min
- 372 - สารคดีพิเศษ EP. 24: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์ทานกัณฑ์)Sun, 22 Mar 2020 - 14min
- 371 - สารคดีพิเศษ EP. 23: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์หิมพานต์)Sat, 21 Mar 2020 - 12min
- 370 - สารคดีพิเศษ EP. 22: ลีลาและเพลงในการเทศมหาชาติ (กัณฑ์ทศพร)Sun, 15 Mar 2020 - 13min
- 369 - สารคดีพิเศษ EP. 21: การแหล่เทศน์มหาชาติSat, 14 Mar 2020 - 14min
- 368 - สารคดีพิเศษ EP. 20: เทศน์มหาชาติทำนองราษฎร์Sun, 08 Mar 2020 - 13min
- 367 - สารคดีพิเศษ EP. 19: เทศน์มหาชาติทำนองหลวงSat, 07 Mar 2020 - 14min
- 366 - สารคดีพิเศษ EP. 18: เทศน์มหาชาติ (๒)Sun, 01 Mar 2020 - 13min
- 365 - สารคดีพิเศษ EP. 17: เทศน์มหาชาติ (๑)Sat, 29 Feb 2020 - 13min
- 364 - สารคดีพิเศษ EP. 16: ทอดผ้าป่าSun, 23 Feb 2020 - 13min
- 363 - สารคดีพิเศษ EP. 15: ทอดกฐิน (2)Sat, 22 Feb 2020 - 13min
- 362 - สารคดีพิเศษ EP. 14: ทอดกฐิน (1)Sun, 16 Feb 2020 - 13min
- 361 - สารคดีพิเศษ EP. 13: เข้าและออกพรรษาSat, 15 Feb 2020 - 13min
- 360 - สารคดีพิเศษ EP. 12: การถวายเทียนพรรษาและการถวายผ้าอาบน้ำฝนSun, 09 Feb 2020 - 13min
- 359 - สารคดีพิเศษ EP. 11: เข้าพรรษาSat, 08 Feb 2020 - 12min
- 358 - สารคดีพิเศษ EP. 10: อัฏฐมีบูชา สลากภัตและวันอาสาฬหบูชาSun, 02 Feb 2020 - 13min
- 357 - สารคดีพิเศษ EP. 9: การฟื้นฟูวันวิสาขบูชาในรัชกาลที่ 2Sat, 01 Feb 2020 - 13min
- 356 - สารคดีพิเศษ EP. 8: การเดินเวียนขวาและวันวิสาขบูชาSun, 26 Jan 2020 - 13min
- 355 - สารคดีพิเศษ EP. 7: การประกอบพระราชกุศลมาฆบูชาSat, 25 Jan 2020 - 13min
- 354 - สารคดีพิเศษ EP. 6: วันโกน วันพระและวันมาฆบูชาSun, 19 Jan 2020 - 12min
- 353 - สารคดีพิเศษ EP. 5: การเป็นพระและอาบัติปาราชิกSat, 18 Jan 2020 - 13min
- 352 - สารคดีพิเศษ EP. 4: วันอุปสมบทSun, 12 Jan 2020 - 13min
- 351 - สารคดีพิเศษ EP. 3: วันสุกดิบและทำขวัญนาคSat, 11 Jan 2020 - 13min
- 350 - สารคดีพิเศษ EP. 2: พิธีมงคลอุปสมบท (2)Sun, 05 Jan 2020 - 12min
- 349 - สารคดีพิเศษ EP. 1: พิธีมงคลอุปสมบท (1)Sat, 04 Jan 2020 - 13min
- 348 - สารคดีพิเศษ : พิธีบวชลูกแก้ว (ปอยส่างลอง)Sun, 29 Dec 2019 - 13min
- 347 - สารคดีพิเศษ : พิธีโกนจุกและพิธีบรรพชาสามเณรSat, 28 Dec 2019 - 13min
- 346 - สารคดีพิเศษ : ประเพณีสู่วัยรุ่น (1)Sun, 22 Dec 2019 - 12min
- 345 - สารคดีพิเศษ : ทำบุญอายุSat, 21 Dec 2019 - 12min
- 344 - สารคดีพิเศษ : ระเบียบประเพณี (5)Sat, 14 Dec 2019 - 13min
- 343 - สารคดีพิเศษ : ระเบียบประเพณี (4)Sat, 14 Dec 2019 - 13min
- 342 - สารคดีพิเศษ : ระเบียบประเพณี (3)Sun, 08 Dec 2019 - 13min
- 341 - สารคดีพิเศษ : ระเบียบประเพณี (2)Sat, 07 Dec 2019 - 13min
- 340 - สารคดีพิเศษ : ระเบียบประเพณี (1)Sun, 01 Dec 2019 - 12min
- 339 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (9)Sat, 30 Nov 2019 - 12min
- 338 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (8)Sun, 24 Nov 2019 - 12min
- 337 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (7)Sat, 23 Nov 2019 - 12min
- 336 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (6)Sun, 17 Nov 2019 - 15min
- 335 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (5)Sat, 16 Nov 2019 - 15min
- 334 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (4)Sun, 10 Nov 2019 - 15min
- 333 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (3)Sat, 09 Nov 2019 - 15min
- 332 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (2)Sun, 03 Nov 2019 - 15min
- 331 - สารคดีพิเศษ : อารยธรรมไทย (1)Sat, 02 Nov 2019 - 15min
- 330 - สารคดีพิเศษ : พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมSun, 27 Oct 2019 - 15min
- 329 - สารคดีพิเศษ : ศาสนาและความเชื่อ (3)Sat, 26 Oct 2019 - 15min
- 328 - สารคดีพิเศษ : ศาสนาและความเชื่อ (2)Sun, 20 Oct 2019 - 15min
- 327 - สารคดีพิเศษ : ศาสนาและความเชื่อ (1)Sat, 19 Oct 2019 - 15min
- 326 - สารคดีพิเศษ : ค่านิยมไทย (2)Sun, 13 Oct 2019 - 15min
- 325 - สารคดีพิเศษ : ค่านิยมไทย (1)Sat, 12 Oct 2019 - 15min
Podcasts similar to สารคดีพิเศษ
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- สื่อเสียงนิทาน : นิทานเด็กเล็ก Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ