Nach Genre filtern
- 31 - SCP31 1 ชีวิต แลกกับ 5 ชีวิต คุณเลือกทางไหน? ทดสอบจริยธรรมคุณด้วย Trolley Problem
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
ทำไมการบอกว่าอะไรดีหรือไม่ดีจึงยาก แล้วเราควรเลือกทางไหนดี?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง Trolley Problem หรือปัญหารถราง การทดลองทางความคิดเชิงปรัชญา ที่มีสถานการณ์สมมติว่า หากเราเป็นคนขับรถรางแล้วเห็นว่าข้างหน้ามีคน 5 คนอยู่บนราง แต่เราสามารถสับรางเพื่อเปลี่ยนไปอีกเส้นทาง แต่จะทับคน 1 คนแทน เราจะเลือกทางไหน?
จากสถานการณ์สมมตินี้นำมาสู่คำถามสำคัญทางปรัชญาว่า สรุปแล้วความดีคืออะไร เรามีมาตรวัดความดีที่เป็นสากลไหม การกระทำหนึ่งๆ ดีเพราะตัวการกระทำ หรือดีเพราะผลลัพธ์กันแน่ แล้วในชีวิตจริงล่ะ หลักการไหนถึงจะเป็นทางเลือกที่ดีและถูกต้อง?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 22 Nov 2024 - 41min - 30 - SCP30 Burnout Society ถ้าไม่ประสบความสำเร็จก็จงหมดไฟไปซะ!
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
ทำไมเราถึงรู้สึกหมดไฟ?
เป็นเพราะเราเองที่เหนื่อยล้าเกินไป ไม่แข็งแกร่งมากพอสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน หรือเป็นเพราะสังคมยุคนี้กำลังเชื้อเชิญให้เราเดินไปสู่กรงขังอันใหม่ที่มีชื่อว่า ‘ความสำเร็จ’ มากเกินควร จนนำเราไปสู่ภาวะของ ‘การหมดไฟ’
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ชวนอ่านหนังสือ The Burnout Society ของนักปรัชญาเยอรมันเชื้อสายเกาหลี ฮันบยองชอล ไปด้วยกัน เพื่อตอบคำถามว่าทำไมสังคมที่ดูเหมือนจะให้เสรีภาพและความเป็นไปได้อย่างไม่สิ้นสุดกลับทำให้ท้ายสุด…
“...ชีวิตของพวกเขาไม่ต่างจากผีตายซาก คือมีชีวิตเกินกว่าที่จะตาย แต่ตายเกินกว่าจะใช้ชีวิต” ฮันบยองชอล
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 08 Nov 2024 - 1h 02min - 29 - SCP29 วะบิ ซะบิ และคินสึงิ ใจดีกับตัวเองบ้าง ใจดีกับคนอื่นด้วย
“ไม่เป็นไรนะ”
“คุณดีพอแล้ว”
“ไม่ต้องพิสูจน์ตัวเองกับใครอีก”
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ขอปลอบโยนทุกคนด้วยปรัชญาวะบิ ซะบิ และคินสึงิ หนทางรับมือกับการเป็น Perfectionist ด้วยมุมมองที่บอกว่าความไม่สมบูรณ์คือธรรมชาติของชีวิต และชีวิตมีคุณค่าและความงามได้ต่อให้มันไม่สมบูรณ์ พร้อมชวนมองต่อว่าเราจะนำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับตัวเองและสังคมได้อย่างไรบ้าง
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 01 Nov 2024 - 50min - 28 - SCP28 Perfectionism ความสมบูรณ์แบบทำร้ายเราอย่างไร?
“ยังไม่ดีพอ”
“ยังไม่เก่งพอ”
มีใครเคยถูกคำพูดแบบนี้ทำร้ายอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวเราที่พูดกับตัวเอง หรือเป็นคนอื่นพูดให้เราฟัง
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ขออยู่เป็นเพื่อนคนที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ ยังไม่เก่งพอ หรือยังไม่ดีพอ
ความรู้สึกแบบนี้ไม่ผิดโดยตัวมันเอง ถ้าทำให้เราอยากพัฒนาให้ดีขึ้น แต่เพราะอะไรบางครั้งเราจึงถูกความรู้สึกนี้ทำร้าย อีกทั้งมันอาจทำร้ายเรามากกว่าที่เราคิด และหาคำตอบว่า ปรากฏการณ์ Perfectionist ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เมื่อผู้คนในอดีตอาจไม่เคยโหยหาความสมบูรณ์แบบมากเท่ากับเราในทุกวันนี้
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 25 Oct 2024 - 48min - 27 - SCP27 Absurdism รู้แล้วว่าชีวิตเฮงซวย แต่จะอยู่ทั้งที่มันเฮงซวยนี่แหละ!
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
หลังชวนทำความรู้จักกับแนวคิดแบบ Nihilism และ Existentialism กันไปแล้ว
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้อยากแนะนำ ‘Absurdism’ อีกหนึ่งแนวคิดทางปรัชญาที่บอกเราว่า ‘ชีวิตมันเฮงซวย ไร้ความหมาย และฉันจะไม่พยายามหาความหมายอะไรให้มันหรอก’
ผ่านเรื่องราวของซิซีฟัส ชายผู้ถูกเทพเจ้าสาปให้ต้องเข็นหินขึ้นภูเขาทุกวัน
ทำไมซิซีฟัสถึงกลายเป็นผู้ที่ขบถที่สุดในสายตาของ อัลแบร์ต กามูส์ นักคิดนักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบล ทำไมซิซีฟัสจึงกลายเป็น ‘Absurd Hero’ และทำไมการใช้ชีวิตแบบซิซีฟัสถึงเป็นการใช้ชีวิตที่มีคุณค่า?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 11 Oct 2024 - 44min - 26 - SCP26 Existentialism เสรีภาพที่แท้จริงคือการเลือกเอง (ถึงจะเจ็บก็เถอะ)Fri, 04 Oct 2024 - 34min
- 25 - SC25 สุญนิยม (Nihilism) ปรัชญาที่เชื่อว่าชีวิตไร้ความหมาย
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
ตอนเด็กๆ เราอาจคุ้นกับคำถามว่า “โตขึ้นฝันอยากเป็นอะไร”
โตขึ้นอีกหน่อยส่วนใหญ่เราอาจถูกบอกให้เลือกเส้นทาง เลือกเป้าหมาย สอบเข้าโรงเรียนนี้ เรียนต่อคณะนั้น ทำอาชีพนี้ เก็บเงินให้ได้เท่านี้ แล้วเราก็จะพยายามไปให้ถึง เพื่อสุดท้ายแล้วเราจะมี ‘ชีวิตที่ดี’
แต่มันเป็นแบบนั้นจริงไหม ชีวิตที่ดีต้องเป็นชีวิตที่มีความฝันหรือเป้าหมายเท่านั้นจริงไหม?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องความฝัน เป้าหมาย และความหมายของชีวิต ผ่าน 2 แนวคิดหลักคือ Essentialism และ Nihilism ทำไมท้ายสุดแล้วเราต้องยอมรับว่าชีวิตนั้นไร้ความหมาย และถ้าชีวิตไร้ความหมายจริง แล้วเราจะใช้ชีวิตแบบไหนกันต่อไป?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 27 Sep 2024 - 44min - 24 - SCP24 ตอนนี้ต้องได้กี่วิว ฉันถึงจะฮิต KPI?
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
ตอนเรียน สิ่งที่วัดและประเมินผลเราคือเกรด ตอนทำงาน สิ่งที่วัดและประเมินผลเราอาจเป็น KPI ต่างๆ ที่ต้องทำให้ถึงเป้า จำนวนชิ้นงาน ยอดวิว ยอดไลก์ ยอดเอ็นเกจเมนต์ ยอดขาย ยอดกำไรสุทธิ ฯลฯ
อาจมีบางครั้งที่เราเอา ‘คุณค่า’ ของเราไปผูกติดกับตัวชี้วัดเหล่านี้ จนทำให้เรารู้สึกว่า ถ้า KPI ไม่ถึงเป้า ชีวิตเราก็อาจจะไร้ค่า
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง KPI ตั้งแต่ตัวชี้วัดในการเรียน การทำงาน จนถึงตัวชี้วัดของชีวิตเราเอง เมื่อการมี KPI ไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่เราในฐานะผู้ถูกประเมินจากคนดู จากลูกค้า จากหัวหน้า จากบริษัท จากองค์กร หรือกระทั่งจากตัวเราเอง จะมองเรื่องนี้ในมุมไหนได้บ้าง และอะไรคือ KPI ที่สำคัญสำหรับชีวิตเราจริงๆ?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 13 Sep 2024 - 58min - 23 - SC23 ทำงานแทบตาย ชีวิตจะมีความหมายกี่โมง? (2/2)
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
จากเอพิโสดก่อนเราทิ้งท้ายไว้ว่า การมีชีวิตที่ดีอาจไม่ใช่แค่เรื่องการทำงานให้หนัก แต่ไปไกลถึงประเภทของงาน นโยบายของรัฐ และเศรษฐกิจของโลก
เอพิโสดนี้ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราอยากชวนมาสำรวจภาพรวมเศรษฐกิจและนโยบายรัฐแบบคร่าวๆ สักนิด เพิ่มความกระจ่างว่า อ๋อ แบบนี้นี่เอง ทำงานหนักแล้วถึงยังไม่รวยสักที
และถ้าเป็นแบบนั้น อย่างน้อยเราจะหาความหมายจากงานที่ทำได้ไหมนะ งานแบบไหนที่จะทำให้ชีวิตเรามีความหมาย และงานแบบไหนที่นอกจากไม่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น อาจจะยิ่งทำให้เราโง่ลงและมีความเป็นมนุษย์น้อยลงด้วย?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 06 Sep 2024 - 41min - 22 - SCP22 ทำงานหนักแทบตาย สุดท้ายได้อะไรกลับมา? (1/2)
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/gQJr_H1nDso51
ชั่วโมงต่อสัปดาห์คือค่าเฉลี่ยการทำงานของคนไทย ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่สัปดาห์ละ 40-44 ชั่วโมง
สถิติฟ้องว่าเราทำงานหนักแล้ว แล้วเราต้องทำงานหนักอีกแค่ไหน ชีวิตถึงจะดี?
Shortcut ปรัชญา ชวนคุยเรื่อง Work Hard กับ Work-Life Balance ที่เรื่องคุยเยอะจนต้องขอแบ่งเป็น 2 เอพิโสด
เอพิโสดนี้ชวนคุยถึงจุดเริ่มต้นในการสร้างคุณค่าของการทำงานหนัก ทำไมเวลางานจึงพร่าเลือนกับเวลาส่วนตัว และทำไมบางงานต่อให้ทำแทบตายก็อาจไม่ช่วยให้เรามีความสุขหรือมีชีวิตที่ดีขึ้น
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 30 Aug 2024 - 34min - 21 - SCP21 รู้จัก FOMO เพราะ ‘นรกคือคนอื่น’ ในโลกโซเชียล
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
FOMO (Fear of Missing Out) คือการกลัวตกกระแส กลัวพลาดบางสิ่ง กลัวการไม่เป็นที่ยอมรับ กลัวไม่ได้เป็นคนสำคัญ เป็นอาการร่วมของยุคสมัยสำหรับคน Gen Y และ Gen Z
สังคมแบบไหนที่ทำให้เรา FOMO, ทำไมเราจึงเจ็บปวดเพราะ FOMO, อาการ FOMO ที่นำเราไปถึงขั้นการซื้อขาย ‘ตัวตน’ ในโลกออนไลน์เป็นแบบไหน และทำไมนรกจึงคือคนอื่นในความหมายแบบเดียวกับของ ฌ็อง-ปอล ซาร์ตร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนทำความเข้าใจ FOMO ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตในโลกโซเชียลอย่างแยกไม่ขาด เมื่อเราต่างเจ็บปวดจากการเปรียบเทียบชีวิตกับคนอื่นในโลกโซเชียล และสูญเสียอิสรภาพเพราะเอาตัวเองไปตั้งอยู่บนการยอมรับและความคาดหวังของคนอื่น
ทางออกของเรื่องนี้อยู่ตรงไหน? ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 23 Aug 2024 - 43min - 20 - SCP20 ‘Stoic’ เป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีที่สุดเพื่อส่วนรวม
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
สโตอิกคืออะไร
ถ้าลองเสิร์ชเราอาจพบข้อความทำนองว่า คือปรัชญาแห่งชีวิตที่ดี ปล่อยวางสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ใช้ชีวิตเอาชนะอุปสรรค และเป็นตัวเองในแบบที่ดีที่สุด
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือหลักสำคัญของแนวคิดแบบสโตอิก แต่กลับมีอีกหลักสำคัญหนึ่งที่ไม่ค่อยถูกพูดถึง หรือพูดถึงแต่ก็เป็นเพียงความหมายแบบแคบเท่านั้น สิ่งนั้นคืออะไร แล้วทำไมจึงถูกละเลยไป
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนทำความรู้จักกับปรัชญาสโตอิกแบบลงลึก และชวนถกต่อว่าทำไมสโตอิกในสังคมเราจึงถูกตีความเป็นปรัชญาที่สนใจเฉพาะเรื่องของตัวเองเพียงอย่างเดียว
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 16 Aug 2024 - 1h 06min - 19 - SCP19 ‘ชาติ’ ทรงพลัง เพราะมันอยู่มานานกว่าชีวิตเรา คุยกับ ธงชัย วินิจจะกูล (2/2)
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ต่อเนื่องจากเอพิโสดที่แล้ว อยู่กับ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับคำถามที่ค้างไว้ว่า แล้วชาติเกิดขึ้นเมื่อไร
พ่วงกับคำถามสำคัญว่าทำไมชาติจึงทรงพลัง รวมถึงแง่มุมความรู้สึก Sense of Belonging หรือความรู้สึกยึดโยงของมนุษย์ที่อาจทำให้เราไม่อาจไม่มี ‘ชาติ’
ชวนคิด ชวนถาม กับ ธงชัย วินิจจะกูล, ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 02 Aug 2024 - 36min - 18 - SCP18 “บ้านผมไม่ใช่ชาติไทย แต่คือสังคมไทย” คุยเรื่องชาติกับ ธงชัย วินิจจะกูล (1/2)
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนแขกพิเศษ ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ ‘Siam Mapped กำเนิดสยามจากแผนที่’ มาคุยเรื่อง ‘ชาติ’ แบบครบรส
‘ชาติ’ สร้างปัญหาแบบไหน นิยามของชาติเป็นอะไรได้บ้าง ทำไมชาติอาจไม่ใช่บ้าน และทำไมพอเป็นเรื่องชาติ ความรู้สึกรักหรือไม่รักที่ควรเป็นของเรากลับไม่ใช่ของเราอีกต่อไป?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ธงชัย วินิจจะกูล, ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 26 Jul 2024 - 48min - 17 - SCP17 คุณคือใคร รู้จัก ‘ตัวตน’ ที่คุณอาจไม่ได้สร้างเอง?
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/hDrFOlXs08U
เวลาถูกถามว่าเราคือใคร เรามักตอบด้วยชื่อ แต่จริงๆ ‘ชื่อ’ ไม่ใช่เรา เพราะคนชื่อเหมือนกับเราเป๊ะๆ ก็เป็นคนละคนกับเรา หรือถึงเราเปลี่ยนชื่อ เราก็ยังรู้สึกว่าเราเป็นคนเดิม
ถ้าอย่างนั้น ‘ตัวตน’ ของเราคืออะไรกันแน่?
ในทางพุทธศาสนาอาจสรุปได้ทันทีว่า ‘ตัวตนไม่มีจริง’ แต่ถ้าไม่มีจริง แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้เราต่างจากคนอื่น
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ คุยเรื่องตัวตนผ่านแนวคิดของนักปรัชญาอย่าง เดวิด ฮิวม์ และ จอห์น ล็อก รวมถึงชวนคิดต่อว่า แล้วใครบ้างมีผลต่อการสร้างตัวตนของเรา
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 19 Jul 2024 - 55min - 16 - SCP16 คิดกับการจากลา ค้นหาคุณค่าของการอยู่ต่อไป
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/AUKnkAw2GZs
*Trigger Warning เอพิโสดนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความตายและการจบชีวิต โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม
ถ้าความตายต้องมาถึงในสักวัน เป็นไปได้แค่ไหนที่เราจะเลือกฉากจบให้กับชีวิตของตัวเอง?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคิดเกี่ยวกับฉากสุดท้ายของชีวิต ทั้งการการุณยฆาต การจบชีวิตเพื่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง และความรู้สึกของการอยากลาออกจากชีวิต รวมถึงมุมมองสำคัญสำหรับการสร้างคุณค่าใหม่ให้ชีวิต ในวันที่เราอาจมองไม่เห็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่
ชวนคิด ชวนถาม ชวนพักใจ กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 12 Jul 2024 - 1h 11min - 15 - SCP15 สบตาความตาย เรียนรู้ความหมายของชีวิต
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/t0Cd3akpFzw
ทุกคนต้องตายในวันหนึ่ง เรารู้แต่ก็กลัวที่จะตาย
‘ยังไม่ถึงวันของฉันหรอก’ คิดแบบนั้น แล้วเราก็เบือนหน้าหนีจากความตาย
เราจึงไม่ค่อยได้ทบทวนชีวิตในมุมของความตายเท่าไรนัก และการจินตนาการถึง ‘ความตายที่ดี’ บนเตียงอันเงียบสงบที่รายล้อมด้วยคนที่พร้อมดูแลเราจนถึงลมหายใจสุดท้าย ก็ดูเป็นเรื่องไกลเกินเอื้อมในหลายกรณี
เราอาจผลักความตายให้ไกลตัว แต่ลึกๆ เราก็รู้ว่ามันใกล้เพียงหนึ่งลมหายใจ
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องความตาย ทั้งในระดับส่วนตัวและระดับสาธารณะ ทำไมเราจึงกลัวตาย ความตายสวยงามจริงไหม การคิดเกี่ยวกับความตายให้อะไรเรา แล้วความตายที่ดีเป็นอย่างไร?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 05 Jul 2024 - 55min - 14 - SCP14 สำรวจความรัก 4 แบบในมุมมองของปรัชญา
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/jvvwb33LLoU
‘รักคืออะไร ทำไมเราจึงเจ็บปวดเพราะความรัก’
บางคนอาจเคยถามตัวเองแบบนี้ เพราะเมื่อเป็นเรื่องความรัก เราต่างกลายเป็นนักปรัชญาผู้ครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งได้เสมอ
แล้วทำไมเราล้วนแต่เป็น ‘เม่น’ ในความรัก?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้มีเฉลย และอยากพาผู้ชมไปสำรวจนิยามความรัก 4 รูปแบบ เพื่อทำความเข้าใจว่ารักคืออะไร รักที่ดีเป็นแบบไหน และทำไมเราจึงเจ็บปวดเพราะความรัก
ตั้งแต่นิยามที่บอกว่า ‘รักคือการเติมเต็ม’ ตามปรัชญาแบบกรีกโบราณ นิยามที่มองว่า ‘รักคือภาพลวงตา’ แบบนักปรัชญาผู้มองโลกในแง่ร้ายอย่าง อาเธอร์ โชเปนฮาวเออร์ นิยามที่คิดว่า ‘รักคือความเสี่ยง’ แบบ อแลง บาดียู และนิยามที่บอกว่า ‘ความรักที่ดีคือการปฏิบัติ’ แบบ ซีโมน เดอ โบวัวร์
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 28 Jun 2024 - 1h 01min - 13 - SCP13 เจตจำนงเสรีคืออะไร เราต่างอะไรจาก AI?
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด
https://youtu.be/_9p7Wcc-eMU
หลายคนอาจเคยได้ยินข่าว GPT-4o หรือ AI ที่พัฒนาจนสามารถหัวเราะ ร้องเพลง สอนหนังสือ และมองเห็นโลกในแบบเดียวกับมนุษย์
ยิ่ง AI ขยับเข้าใกล้ความเป็นมนุษย์มากเท่าไร เราก็ยิ่งมีคำถามว่า แล้วมนุษย์ต่างอะไรกับ AI?
เมื่อลองถามคำถามนี้กับ AI หนึ่งในคำตอบที่ได้คือ ‘มนุษย์มีเจตจำนงเสรี ในขณะที่ AI ไม่มี’
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ จึงอยากชวนคุยเรื่อง ‘เจตจำนงเสรี’ คำที่ดูเข้าใจยากคำนี้มีความหมายอย่างไร ในแวดวงปรัชญาจนถึงวิทยาศาสตร์เขามองเรื่องนี้ในมุมไหน ตกลงแล้วเรามีหรือไม่มีเจตจำนงเสรี และข้อถกเถียงนี้นำไปสู่ผลสรุปแบบใด?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 21 Jun 2024 - 50min - 12 - SCP12 ทำไมเราเป็นเจ้าของชีวิตได้ไม่เท่ากัน?
ชีวิตเป็นของเราไหม?
บางคนอาจตอบอย่างมั่นใจว่า ‘ใช่สิ ชีวิตเป็นของเรา’ แต่บางคนอาจเริ่มลังเลแล้วคิดว่า ‘เอ๊ะ ชีวิตเป็นของเราแค่ไหนนะ’
ดังนั้นคำถามนี้ไม่อาจมีเพียงคำตอบเดียว และคำถามที่น่าสนใจกว่าอาจเป็น ‘แล้วทำไมแต่ละคนถึงรู้สึกเป็นเจ้าของชีวิตได้ไม่เท่ากัน?’
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ พาลงลึกเรื่อง ‘ชีวิต’ เพื่อตอบคำถามว่าชีวิตเราเป็นของใคร มันเป็นของเราแค่ไหน ทำไมเราจึงรู้สึกเป็นเจ้าของได้ไม่เท่ากัน และปัจจัยอะไรที่ทำให้เราแต่ละคนควบคุมและใช้ประโยชน์จากชีวิตได้แตกต่างกัน
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนาFri, 14 Jun 2024 - 52min - 11 - SCP11 เพื่อนที่ดีเป็นแบบไหน ทำไมเราไม่สนิทกับเพื่อนที่เคยสนิท?Fri, 07 Jun 2024 - 24min
- 10 - SCP10 ความเหงาคืออะไร มีเพื่อนทำไมยังเหงา?
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/obw1f-rX-xI
‘ความเหงา’ เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก อันตรายเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน คือสิ่งที่องค์การอนามัยโลกเคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2023
ความเหงาคือเรื่องสากล ไม่ว่าใครก็อาจรู้สึกเหงาได้ในบางเวลา ยิ่งในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตก็อาจทำให้เรายิ่งเหงาโดยไม่รู้ตัว
ทำไมเราจึงเหงา แล้วทำไมบางครั้งการมีเพื่อนหรือครอบครัวก็ไม่อาจช่วยคลายความเหงาในใจเราได้ กลับกันสำหรับบางคน ทำไมเขาถึงไม่รู้สึกเหงาแม้อยู่คนเดียว?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนทำความรู้จักกับความเหงาในมุมปรัชญา ความเหงาคืออะไร ทำไมในมุมหนึ่งเราจึงเป็น ‘ผู้ถูกกระทำ’ ความเหงา แล้วเราจะรับมือกับความเหงาอย่างไรได้บ้าง?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 31 May 2024 - 28min - 9 - SCP9 เราไม่ได้เป็นของกันและกัน ‘เป็นเจ้าของ’ ไม่ใช่ ‘ทำอะไรก็ได้’ (Part 2/2)
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/1VngiJ3A5fU
รถมอเตอร์ไซค์แต่งท่อดังสนั่นขับซิ่งบนถนนตอนกลางดึก
โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยสารพิษลงน้ำจนผู้คนที่อาศัยอยู่แถวนั้นป่วยเป็นโรคประหลาด
บุคคลที่โดนทำร้ายร่างกายจากคนรัก
ลูกที่ถูกควบคุมบังคับจากพ่อแม่
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราอาจเคยประสบหรือเห็นตามข่าว และถ้าบอกว่าเรื่องเหล่านี้ตั้งต้นมาจากหลักเดียวกัน คือเรื่อง ‘ความเป็นเจ้าของ’
สงสัยไหมว่ามันเกี่ยวกันอย่างไร และเราจะถกเถียงกันอย่างไรในเรื่องนี้?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ต่อเนื่องจากเอพิโสดก่อนหน้า ชวนสำรวจความเป็นเจ้าของใน 2 มุมคือ การเป็นเจ้าของที่อาจกระทบต่อสาธารณะ และการเป็นเจ้าของในความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ทำไมเราอาจไม่ควรเป็นเจ้าของมนุษย์คนไหน และไม่ควรใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เราเป็นเจ้าของอย่างเต็มที่โดยไม่สนใจสิ่งอื่น?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 24 May 2024 - 35min - 8 - SCP8 ‘ความเป็นเจ้าของ’ คืออะไร เราเป็นเจ้าของอะไรได้จริงไหม? (Part 1/2)
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/LA2vPxuGJjQ
เราเป็นเจ้าของอะไรได้จริงไหม?
คำถามเชิงปรัชญาที่ดูเหมือนจะมีคำตอบทางกฎหมาย จำพวกเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของรูปแบบต่างๆ เช่น โฉนดที่ดิน หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์
แต่เรื่อง ‘ความเป็นเจ้าของ’ ยังมีอีกหลายมุมที่ตัดสินทางกฎหมายไม่ได้โดยง่าย และเป็นสาเหตุของปัญหาจำนวนมาก ตั้งแต่ระดับส่วนตัวจนถึงระดับสาธารณะ
ตั้งแต่ปัญหาวัยเด็ก ว่าของเล่นควรเป็นของใครระหว่างเรากับน้อง หรือเมื่อเราเลี้ยงแมว แมวเป็นของเราไหม แล้วเมื่อเราได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ตล่ะ เงินนั้นเป็นของเราจริงหรือเปล่า?
จนถึงปัญหาว่าพื้นที่ทับซ้อนกลางทะเลควรเป็นของประเทศใด หรือผลงานสร้างสรรค์โดย AI เป็นของใครกันแน่ แล้วข้อมูลในอินเทอร์เน็ตล่ะ ใครเป็นเจ้าของ?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ พาไปตั้งต้นตั้งแต่นิยามความเป็นเจ้าของ วิธีวัดความเป็นเจ้าของ ความเป็นเจ้าของในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติที่อาจต่างกัน และวิธีแก้ปัญหาเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของในรูปแบบต่างๆ
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 17 May 2024 - 57min - 7 - SCP7 เพราะไร้ที่พึ่งเราจึงมู? มองสายมูในมุมปรัชญา
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/BJII4JrGkLE
3 ใน 4 ของคน Gen Z เป็นสายมู คือผลสำรวจจาก ABAC Poll
ถ้าลองย้อนสำรวจตัวเอง เราก็อาจเคยเปลี่ยนวอลล์เปเปอร์มือถือเพื่อเสริมดวง ทำบุญแก้ปีชง ใส่เสื้อสีมงคล หรือบนเพื่อขอพรเรื่องความรัก และไปให้สุดกว่านั้น เราอาจเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับลัทธิจำนวนหนึ่งที่ให้กินของไม่ถูกสุขอนามัยต่างๆ เพื่อรักษาสุขภาพ
สิ่งเหล่านี้เป็นแค่เรื่องโง่งมงายไร้สาระ หรือมันสะท้อนอะไรมากกว่านั้น?
ในโลกวันนี้ที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงที่เราไม่อาจคาดเดา ชีวิตที่เราไม่อาจควบคุม และสังคมที่บอกว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่ต้องประสบความสำเร็จในการงาน มีบ้าน มีรถ มีเงินเก็บหลักหลายล้านเพื่อการเกษียณ
ชีวิตที่ดีแบบที่น้อยคนจะไปถึง
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนมองปรากฏการณ์ ‘สายมู’ แบบลงลึก ทำไมเราจึงมู การมูสัมพันธ์กับสังคมที่เราอยู่อย่างไร ทำไมปรากฏการณ์บางส่วนจึงสามารถอธิบายได้ด้วยความเหลื่อมล้ำ?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 10 May 2024 - 19min - 6 - SCP6 ‘การบน’ สู่ ‘สินบน’ เพราะความเชื่อคนไม่เคยเปลี่ยนแปลง?
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/w_TlY8nYah0
‘การบน’ กับ ‘สินบน’ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ชวนตั้งคำถามกับพัฒนาการ ‘ความเชื่อ’ ของมนุษย์ ที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่หากมองดีๆ ความเชื่อบางอย่างอาจเปลี่ยนแค่รูปลักษณ์ภายนอก แต่โดยเนื้อแท้กลับไม่ต่างกันมากนัก (หรือเปล่านะ?)
‘การบน’ เทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กับการให้ ‘สินบน’ แก่ผู้มีอำนาจ แท้จริงแล้วคือเรื่องเดียวกันหรือเปล่า ความเชื่อในแต่ละยุคทำงานอย่างไร มีเพื่ออะไร และทำไมเราอาจเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเชื่อในอะไรบางอย่าง?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 03 May 2024 - 19min - 5 - SCP5 ให้ ‘อริสโตเติล’ ตอบ ทำไมคนถึงหลงกลวาทศิลป์?
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/Sum3_u1TICE
ชีวิตนี้มีใครไหมที่เราเชื่อเขา 100% โดยไม่เคยตั้งคำถาม?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนตั้งคำถามถึงเหล่าคนมีวาทศิลป์คมคาย หรือมีภาพลักษณ์น่าเชื่อถือ จนบางทีเราอาจเผลอเชื่อเขาจากสิ่งเหล่านี้มากกว่าเนื้อหาแท้จริงที่เขาพูด
หรืออีกแบบคือเชื่อเขาเพราะสิ่งที่เขาพูดนั้นตรงใจเรา มากกว่าจะเชื่อเพราะมันเป็นความจริงหรือสมเหตุสมผล
เพราะจะรู้หรือไม่ว่าเขาหลอก แต่เราอาจเต็มใจให้เขาหลอกก็เป็นได้
อะไรทำให้เราหลงกลคนมีวาทศิลป์ เราควรรับมือกับคนเหล่านี้อย่างไร วาทศิลป์ที่ดีควรเป็นแบบไหน? หลัก 3 ข้อของ ‘อริสโตเติล’ อาจมีคำตอบให้คุณ
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 26 Apr 2024 - 27min - 4 - SCP4 ‘โสกราตีส’ นักปรัชญาที่ถามแบบไม่กลัวโง่
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/0LLLJpItAig
ถามไปแล้วจะดูโง่หรือเปล่า?
คำถามที่อาจติดอยู่ในใจใครหลายคนมาตั้งแต่สมัยเรียน เมื่อเรายังมีคำถามค้างคาอยากถามต่อ แต่เอ๊ะ ทำไมเพื่อนๆ ไม่มีใครถามกันเลย หรือเป็นเราเองที่ยังไม่เข้าใจอยู่คนเดียว?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จักกับ ‘โสกราตีส’ นักปรัชญาแห่งเอเธนส์ นักถามในตำนานที่ถามแบบไม่กลัวโง่ ถามจนเทพยกย่องให้เขาเป็นผู้ที่ฉลาดที่สุดในเอเธนส์
โสกราตีสถามอะไร ถามอย่างไร แล้วนักถามอย่างเขาจะอยู่ได้ไหม? เมื่อการถามของเขาในหลายครั้งหมายถึงการสร้างความสั่นคลอนต่อผู้มีอำนาจ
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 19 Apr 2024 - 30min - 3 - SCP3 เหตุผลคือสิ่งก้าวหน้าที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ?
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/_tuL38fhS9Q
ย้อนกลับไปยุคล่าอาณานิคม หนึ่งในเหตุผลที่หลายประเทศในยุโรปใช้อ้างคือ การเข้าไป ‘ศิวิไลซ์’ ผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ
และหากมีใครพูดว่า ทำไมคนเราไม่ควรเท่าเทียมกัน เหตุผลที่เราเคยได้ยินอาจเป็น ‘ขนาดนิ้วมือของคนเรายังไม่เท่ากัน แล้วคนจะเท่าเทียมกันได้ไง’
การให้เหตุผลเหล่านี้อาจเคย ‘ใช่’ ในช่วงหนึ่ง แต่ปัจจุบันล่ะ? มีเหตุผลไหนบ้างที่มนุษย์เคยเชื่อว่าถูกต้อง แต่วันนี้กลับไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปแล้ว
Shortcut ปรัชญาเอพิโสดนี้ ชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเหตุผล เมื่อเหตุผลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทและความรู้ที่พัฒนาของมนุษย์ แล้วเหตุผลแบบไหนบ้างที่เราคิดว่า ‘ไม่ใช่’ แล้วสำหรับเรา ขณะเดียวกันเหตุผลที่ดูเหมือนก้าวหน้าจะเป็นเหตุผลที่ถูกต้องเสมอไปหรือไม่?
ชวนคิด ชวนถาม กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 12 Apr 2024 - 20min - 2 - SCP2 อะไรทำให้ ‘ตรรกะบ้ง’ ยังคงอยู่?
ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด youtu.be/1Lal2ymDfbg
‘ตรรกะบ้ง’ หรือ ‘ตรรกะวิบัติ’ คำที่เราอาจเคยเห็นผ่านตา ได้ยินผ่านหู
เมื่อใครสักคนแสดงความเห็น โต้แย้ง หรือวิจารณ์สิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วเหตุกับผลไม่สัมพันธ์กัน หลุดไปไกลจากประเด็นตั้งต้น ก็เป็นที่เข้าใจกันว่านั่นคือ ‘ตรรกะบ้ง’
เพื่อทำความเข้าใจ ‘ตรรกะบ้ง’ ให้ลงลึกขึ้น เอพิโสดนี้จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับตรรกะบ้งรูปแบบต่างๆ พร้อมตัวอย่างใกล้ตัวที่เราอาจไม่ทันสังเกตว่า เอ๊ะ เราก็บ้งได้เหมือนกัน และความบ้งบางแบบเราก็อาจยอมรับได้ (รึเปล่านะ?)
แม้ความบ้งหลายอย่างอาจไม่ส่งผลกระทบกับใคร แต่ก็มีความบ้งอีกจำนวนหนึ่งที่น่าหยิบมาถกเถียงต่อ รวมถึงคำถามสำคัญที่ว่า อะไรทำให้ความบ้งยังคงอยู่?
ชวนถามชวนคิดในรายการ Shortcut ปรัชญา กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนาFri, 05 Apr 2024 - 27min - 1 - SCP1 วันหนึ่งชีวิตจะทำให้เราเป็นนักปรัชญา?
ปรัชญาคืออะไร ยังจำเป็นอยู่ไหมในยุคนี้?
บางคนอาจส่ายหัว แต่เชื่อไหมว่า ต่อให้เราไม่เคยสนใจปรัชญา ชีวิตก็อาจทำให้เราเป็นนักปรัชญาเข้าสักวัน!
คำถามพื้นๆ ที่หลายคนอาจเคยถาม อย่างเช่น เราทำงานไปเพื่ออะไร? หรือเราเสียภาษีไปทำไม? ก็อาจกลายเป็นคำถามสุดจะปรัชญาได้เหมือนกัน
เอ๊ะ ตกลงแล้วปรัชญาคืออะไรกันแน่? ความเอ๊ะแบบนี้ก็ถือเป็นปรัชญาด้วยไหม แล้วเราจะกลายเป็นนักปรัชญาเข้าสักวันจริงหรือเปล่า ชวนหาคำตอบในรายการ Shortcut ปรัชญา กับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
Fri, 29 Mar 2024 - 41min
Podcasts ähnlich wie Shortcut ปรัชญา
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- พระเจอผี Podcast Prajerpee
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) Thammapedia.com
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- พระไตรปิฎกศึกษา-พระสมบัติ นันทิโก ชมรมผลดี
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ