Podcasts by Category
นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
- 317 - ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไป
A: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้
1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง
- “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ
= ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม
= ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4
- เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
2. เจริญอิทธิบาท 4
(1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน
(2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ
(3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ
(4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า
- ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้
3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ
- "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา
- “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม
- “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่
(1) กามฉันทะ = ความพอใจในกาม สิ่งของภายนอก
(2) พยาบาท = ความคิดอาฆาต ปองร้าย ให้เขาได้ไม่ดี
(3) ถีนมิทธะ = ความง่วงซึม ความหดหู่ ท้อแท้ท้อถอย
(4) อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกวิจารณ์
(5) วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลง ไม่ลงใจ
4. ลดความเครียดในการทำงาน
- วิธีสังเกตว่ามีความเครียดในการทำงาน คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น
- วิธีคลายความเครียด เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนสายตา ออกกำลังกาย สวดมนต์ นอน เดิน
- วิธีที่ไม่ใช่การคลายความเครียด คือ ไปหากาม เช่น การเล่นโทรศัพท์
- “การเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ” คือ การนำธรรมฉันทะมาเพื่อละกามฉันทะ
- เราต้องมีวิธีการลด ละความเครียดในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
โดยสรุป:
“ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานให้สำเร็จและสามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้ได้ โดยต้องเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง เจริญอิทธิบาท 4 คงไว้ซึ่งสมาธิ และลดความเครียดในการทำงาน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 17 Nov 2024 - 56min - 316 - การเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์ [6746-1u]
Q1: ชีวิตที่พลิกผันกรณี The icon
A: เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เห็น
1. เห็นโลกธรรม ความไม่เที่ยง คือ สุขทุกข์ ได้ลาภเสื่อมลาภ สรรเสริญนินทา
2. เห็นการตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อมีสุข ไม่ได้สังเกตเห็นความไม่เที่ยงของความสุขนั้น เมื่อความสุขนั้นเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดทุกข์มาก
3. ค่านิยมของคนสมัยนี้ คือ ความสำเร็จทางวัตถุ ทางกายภาพ แต่ค่านิยมของคนสังคมที่ควรจะมี คือ ความเป็นผู้มีศีล ซึ่งเครื่องหมายของผู้มีศีลคือ ดูว่าเมื่อถูกกระทำ แนวความคิด การกระทำทางกาย คำพูด เป็นไปในทางที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีโจรเสื้อนอก คือ สร้างภาพภายนอกว่าเป็นคนดีแต่ความจริงกำลังหลอกคนอื่นอยู่ เราจึงต้องป้องกันตัวเราเอง ด้วยการเข้าใจความไม่เที่ยงของสุขทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ได้เร็ว ถือเป็นบทเรียน ไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่อาฆาตใคร
Q2: การเทศน์ของพระสงฆ์
A: ด้านภายนอก: ไม่เทศน์ให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมในการฟังธรรม เช่น ถืออาวุธในมือ สวมหมวก สวมรองเท้า อยู่ในที่สูงกว่า หรือแสดงถึงความไม่เคารพ
- ด้านเนื้อหาในการเทศน์: ไม่พูดเรื่องโลก ให้พูดเรื่องอริยสัจ 4
- การประทุษร้ายสกุล เป็นอาบัติของพระข้อหนึ่งหากมีคนมาโจทก์ คือ การทำให้บุคคลนั้นมาศรัทธาในตัวเองคนเดียวมากกว่าศรัทธาในระบบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- ปัจจุบันมีการตัดคลิปบางช่วงของการเทศน์ จึงควรฟังเทศน์ทั้งหมด ไม่ฟังฉาบฉวย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด
Q3: ฆราวาสติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่
A: ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม ให้ “ยกย่อง” บุคคลที่ควรยกย่อง ในสิ่งที่ควรยกย่อง และ “ติเตียน” บุคคลที่ควรติเตียน ในสิ่งที่ควรติเตียน
- คนเราไม่ได้ดีหรือชั่วโดยส่วนเดียวทั้งหมด มีทั้งเรื่องที่ทำดีและทำไม่ดี ดังนั้น จะเหมาว่าเขาดีหรือไม่ดีไม่ได้ จึงต้องแยกแยะแต่ละเรื่อง
- การติเตียนไม่ใช่การด่าบริภาษ (ด่าด้วยคำหยาบคาย จิตอาฆาต ต้องการให้เขาได้ไม่ดี) การติเตียนจะดูไปตามแต่ละสถานการณ์ ด้วยจิตเมตตา ชี้โทษให้เห็นว่าไม่ตรงตามคำสอนอย่างไร
- การยกย่องไม่ใช่การสรรเสริญเยินยอ การยกย่อง คือ การพูดถึงอานิสงส์ในสิ่งที่เขาทำดีนั้น
Q4: การทำคุณไสย
A: พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้พระสงฆ์ทำคุณไสย เพราะจะเป็นการหลอกผู้อื่นให้ไปทางสุดโต่งทั้งสองข้างที่ไม่ใช่ทางสายกลาง (มรรค) ทำให้หลุดออกจากทางไปสู่นิพพานอันเป็นทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง
Q5: การเลี้ยงสัตว์
A: การเลี้ยงสัตว์อย่าเบียดเบียนเขา อย่าต่อว่าเขา อย่าทำร้ายเขา ส่วนสัตว์จะได้รับการเลี้ยงดูได้ดีแค่ไหนก็เป็นไปตามกรรมของเขา
Q6: เตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์
A: พระพุทธเจ้าเปรียบตัวเราเป็นเมือง ที่มี “จิต” เป็นเจ้าเมือง เพื่อการรักษาเมืองไว้ ต้องกระทำดังนี้
1. มียามเฝ้าไว้หน้าประตู = เปรียบได้กับ “สติ” เป็นนายทวารเฝ้าไว้ เพื่อระวังบาปอกุศลธรรม ที่จะผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเกิดจากผัสสะที่น่าพอใจ (ความเพลินความลุ่มหลง) และผัสสะไม่น่าพอใจ
2. มีเสบียง = เปรียบได้กับ “สมาธิ” เพื่อเลี้ยงดูในเมืองให้เหมาะสม
3. มีกองกำลัง = เปรียบได้กับ “ความเพียร”
4. มีอาวุธ = เปรียบได้กับ “การฟังธรรม”
- เมื่อเตรียม 4 อย่างข้างต้นไว้แล้ว เราจะมีความกล้า ไม่กลัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามา
- โดยสรุป : เราต้องรักษาจิตใจของเราให้เหมือนเมืองกายเมืองใจ เพื่อเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะเข้ามา ผู้ที่มีชีวิตอย่างนี้เรียกว่าเป็น “ผู้ไม่ประมาท”
Q7: นิพพาน กับการไม่แต่งงาน ไม่มีลูก
A: เหตุปัจจัยที่จะไปนิพพาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
- ชีวิตความเป็นอยู่ในโลกไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม หากมีศีล สมาธิ ปัญญา ก็สามารถไปนิพพานได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 10 Nov 2024 - 56min - 315 - ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาดและสมบัติ 3 ประการ [6745-1u]
ช่วงไต่ตามทาง : ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาด
- คุณแม่สมบูรณ์อายุ 80 ปี ทางด้านร่างกายได้รับการดูแลอย่างดีจากลูกหลาน แต่ด้านจิตใจมีความร้อนใจ มีความกังวลใจในลูกหลานมาก จึงให้สมาทานพระรัตนตรัยและสมาทานศีล เมื่อมีศีลแล้วก็จะไม่มีความร้อนใจ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ จึงให้ภาวนา “พุทโธ” เพื่อเป็นหลักกำหนดสติ ให้จิตมีสติตั้งไว้ พร้อมกับให้มีปัญญาร่วมด้วย ศีลกับปัญญาจะทำให้เกิดสมาธิได้
- วิธีขจัดความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ
(1) กังวลใจในสิ่งของ = ให้เข้าใจว่า “สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง”ให้คลายความกังวลผูกพันต่อสิ่งนั้น
(2) กังวลใจในบุคคล = ให้เข้าใจว่า “สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ให้คลายความกังวลในบุคคลนั้น
(3) กังวลใจในกายของตน = ให้เข้าใจว่า“กายนี้เป็นของที่เกิดมาจากธาตุดินน้ำลมไฟ มีความแตกไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา อย่าไปยึดถือกังวล เปรียบเหมือนภาชนะหม้อดินที่เก่าแล้วมีรอยรั่ว หันไปเอาภาชนะทองคำดีกว่าซึ่งเปรียบได้กับกายของเทวดา”
(4) กังวลใจในชาติภพหน้าของตน = ให้เข้าใจว่า “ถ้ามีกรรมดี ก็จะไปในที่ที่ดี”ก็จะไปสวรรค์ได้ ให้นึกถึงทาน นึกถึงศีลที่ตนเคยทำไว้ และหากเจริญ “เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา” ก็จะไปพรหมโลกได้ เมื่อจิตชุ่มเย็นไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว ให้เห็นว่า “กายและใจ รูปและนาม ในตัวของเรา มันไม่ใช่ของเรา ให้ปล่อยวาง”
- การทำความเข้าใจเป็นขั้นตอนในเรื่องเหล่านี้ ผลที่ตามมาคือจะมีธรรมะเป็นเครื่องป้องกันความขลาดทำให้จิตไม่มีความกลัว ไม่มีความกังวลได้
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : สมบัติ 3 ประการ
- ทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ยังมีสมบัติอื่นที่มีคุณค่ามากกว่า และคุณค่านั้นไม่แปรเปลี่ยนไปตามค่านิยมของสังคม ความเข้าใจในเรื่องคุณค่าของสมบัตินี้จะทำให้เราไม่ถูกหลอก
- สมบัติแบ่งเป็น 3 ระดับ
(1) มนุษยสมบัติ (เสื่อมได้) = รัตนะ 7 อย่าง ฤทธิ์ 4 อย่าง ได้มาโดยการทำมาหากินหรือลงทุน
(2) ทิพยสมบัติ (เสื่อมได้) = อาหารทิพย์ อากาศเย็นสบายตลอดเวลา ได้มาโดยการทำทาน รักษาศีล
(3) นิพพานสมบัติ (ไม่มีความเสื่อมปรากฏ) = เป็นสมบัติที่มีคุณค่ามาก ประณีตกว่า และยั่งยืนกว่า ได้มาโดยการเจริญภาวนาเห็นความไม่เที่ยง
- อริยทรัพย์ 7 ประการที่จะนำมาซึ่งทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติ อันเป็นทรัพย์ที่ไม่เป็นสาธารณะกับผู้อื่น ได้แก่
(1) ศรัทธา = ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
(2) ศีล
(3) หิริ = ความละอายต่อบาป
(4) โอตตัปปะ = ความเกรงกลัวต่อบาป
(5) พาหุสัจจะ = การศึกษาเล่าเรียน
(6) จาคะ = การสละออก ซึ่งจะได้รับผลมากหรือน้อย พิจารณาจากทานสมบัติ 3 ประการ คือ 1. ผู้รับมีคุณธรรมดีเป็นเนื้อนาบุญ 2. สิ่งของที่ให้บริสุทธิ์ และ 3. มีจิตตั้งใจให้
(7) ปัญญา
- ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราสามารถสร้างอริยทรัพย์เพื่อเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งทิพยสมบัติและนิพพานสมบัติได้อยู่ตลอด ซึ่งสามารถทำไปพร้อมกับการสร้างมนุษยสมบัติได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 03 Nov 2024 - 57min - 314 - แก้อาการเสพติด Social Media [6744-1u]
Q1: เสพติดการเล่นมือถือ social media แก้อย่างไร
A: อาการเสพติด ไม่ว่าอะไรก็ตาม คือ การเสพติดเวทนา (ความรู้สึกที่เป็นสุข) วิธีแก้ในทางธรรมะ คือ ต้องมีปัญญาเห็นว่า ตัณหาทำให้เกิดความพอใจในเวทนานั้น และเห็นตามความเป็นจริงว่า “เวทนาเป็นของไม่เที่ยง” ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีในเวทนานั้นได้
- การเสพติด Social Media แยกเป็น 2 ระดับ
(1) ระดับความเพลินที่ยังควบคุมตัวเองได้ = แก้โดยวางแผนล่วงหน้าและแบ่งเวลาให้ชัดเจนว่าจะใช้เวลาทำสิ่งใดกี่นาทีโดยไม่เล่นมือถือ การวางแผนล่วงหน้าจะทำให้มีกำลังใจในการทำสิ่งนั้น ณ เวลานั้น ซึ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอก็จะเกิดความมีระเบียบวินัยขึ้นมา
(2) ระดับความเพลินที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ถ้าไม่ได้เล่นจะอารมณ์เสีย ก้าวร้าว = แก้โดยต้องงดการเล่นเลย ร่วมกับปรึกษาแพทย์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยมาทำความเข้าใจว่าเวทนาเป็นของไม่เที่ยง
- การเสพติด Social Media เป็นการเสพติดความรู้สึกที่เป็นสุข อาจมีปัญหาอื่นที่เป็นสิ่งไม่น่าพอใจแฝงอยู่ก็เป็นได้ เช่น ปัญหาครอบครัว การเรียน ความสัมพันธ์ เป็นต้น ก็ต้องหาสาเหตุแล้วตามไปแก้ปัญหาเหล่านั้น
Q2: วิธีสร้างวินัย ไม่ให้ผัดวันประกันพรุ่ง
A: ต้องใช้สมาธิ + อิทธิบาท 4
- ให้สำรวจตัวเองว่าช่วงเวลาใดที่จะมีสมาธิมาก ก็ใช้ช่วงเวลานั้นจดจ่อกับการทำงาน
- อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมให้การงานบรรลุผลสำเร็จได้ ช่วยให้ไม่ผัดวันประกันพรุ่งได้
Q3: วิธีสร้างพลังจดจ่อในงาน
A: ต้องใช้การตั้งเป้าหมายประกอบกับสมาธิ + อิทธิบาท 4
- โดยตั้งเป้าหมายในเรื่องประโยชน์ที่จะได้รับทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่าย ความดี คุณธรรม ปัญญา ความอดทน ความเมตตา เป็นต้น เช่น การมีบ้าน เป้าหมายไม่ใช่บ้าน แต่เป้าหมาย คือ เพื่อความรัก ความเมตตาต่อคนในครอบครัว
- หลีกเลี่ยงการตั้งเป้าหมายทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เพราะสมาธิไม่อาจตั้งอยู่กับสิ่งเหล่านั้นได้
- สมาธิ กับนิวรณ์ (ความสุขที่เกิดจากกาม) ไม่อาจเข้ากันได้
Q4: โดนนินทาลับหลัง ควรทำอย่างไร
A: คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก ให้เอาชนะความเท็จด้วยความจริง
- ถ้าถูกบัณฑิตนินทา เข้าใจผิด = ให้เอาความจริงมาเปิดเผย
- ถ้าถูกคนพาลนินทา เข้าใจผิด = ปล่อยไป ไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องโต้ตอบ แต่ไม่ต้องหนี ให้เรื่องราวนั้นระงับไปก่อนจึงจะค่อยไป ให้เอาชนะความเท็จด้วยความจริง
Q5: พระสงฆ์ถูกลอตเตอรี่
A: พระสงฆ์มีลอตเตอรี่ในครอบครองไม่เป็นไร แต่ถ้าได้มาโดยการใช้เงินซื้อก็ผิดอาบัติปาจิตตีย์
- ถ้าถูกรางวัลได้เงินมา ถ้ายินดีในความเป็นปัจจัย 4 ได้ แต่ถ้ายินดีในเงินทองอันนี้ผิด
Q6: ข้อดีข้อเสียของความอดทน
A: ความอดทนมีข้อดีอย่างเดียวไม่มีข้อเสีย ยิ่งใช้ ก็ยิ่งมีมาก และยิ่งมีมาก ยิ่งดี
- ความอดทน คือ การอดกลั้นต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น ไม่ให้อกุศลธรรมเกิด แต่ถ้าอกุศลธรรมเกิดแล้วต้องมีความสามารถในการละอกุศลธรรมนั้นด้วย
- กิเลสบางอย่างต้องใช้ความอดทน กิเลสบางอย่างต้องใช้การละ เป็นคนละทักษะกัน
- การเก็บกดกับความอดทนไม่เหมือนกัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 27 Oct 2024 - 56min - 313 - ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์ [6743-1u]
ช่วงไต่ตามทาง:
- ผู้ฟังท่านนี้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง เมื่อปี 2560 สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่ได้ปฏิบัติธรรม ตั้งอยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิ จิตเกิดความสงบ ได้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยบุญกุศลของตนขอให้มีงานเข้ามา ผ่านไปไม่ถึงสัปดาห์ มีงานเข้ามาเป็นโครงการใหญ่ หลังจากนั้นชีวิตก็พลิกผันไปในทางที่ดีหลายเรื่อง มีเงินเหลือเก็บ
- คนที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ไม่คดโกง บุญก็จะส่งผล ให้สามารถรักษาตัวได้
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ธรรมะ 14 ประการ เพื่อการบริหารทรัพย์
- ธรรมะ 14 ประการนี้ จะทำให้ผู้ครองเรือนซึ่งยังยินดีด้วยเงินทองไม่ตกเป็นทาสของเงิน รู้จักใช้เงินให้เป็น และกำจัดอะไรที่ไม่ดีเกี่ยวกับเงินทองออกไปได้
1. อาหารของโภคทรัพย์ = ต้องมีความขยัน จะทำให้มีโภคทรัพย์มากขึ้น อย่าขี้เกียจ
2. บริหารจัดการทรัพย์ = สัมปทา 4 ได้แก่ การทำการงานปกติด้วยความขยัน, รักษาทรัพย์ (เก็บออม ลงทุน), มีกัลยาณมิตร (ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา) และมีสมชีวิตา (ใช้จ่ายทรัพย์อย่างเหมาะสม มีความสมดุล รายรับต้องท่วมรายจ่าย)
3. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) บริหาร 3 เวลา = ทำการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเช้า กลางวัน เย็น
4. ผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้า) มีตาดี 3 ตา = เห็นว่าสิ่งใดจะขายได้กำไร, ฉลาดในการซื้อขายสิ่งที่ตนจะพึงซื้อขายได้ และถึงพร้อมด้วยบุคคลที่จะเป็นที่พึ่งได้
5. ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ (ปิดทางน้ำออก) = อบายมุข 6 ได้แก่ ดื่มน้ำเมา, เที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน, การพนัน, คบคนชั่วเป็นมิตร, ความเกียจคร้าน และการเที่ยวดูมหรสพ หรือ อบายมุข 4 ได้แก่ นักเลงเจ้าชู้, นักเลงสุรา, นักเลงการพนัน และคบเพื่อนชั่ว
6. ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ (เปิดทางน้ำเข้า) = มีสัมปทา 4 และปิดทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์
7. ตระกูลที่มีความมั่นคง มั่นคั่ง ตั้งอยู่ได้นาน = มีองค์ประกอบ 4 ข้อ คือ แสวงหาพัสดุที่หายไป, ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า, รู้จักประมาณในการบริโภค และแต่งตั้งบุรุษหรือสตรีผู้มีศีลให้เป็นแม่เจ้าเรือนหรือพ่อเจ้าเรือน
8. โทษของการมีโภคทรัพย์ = โทษ 5 อย่าง ได้แก่ ถูกทำลายได้ด้วยไฟหรือน้ำ ถูกเอาไปได้ด้วยพระราชา โจร หรือทายาทที่ไม่เป็นที่รัก
9. ประโยชน์จากการมีโภคทรัพย์ = เลี้ยงตนให้เป็นสุข เลี้ยงมารดาบิดา เลี้ยงบุตรภรรยา เลี้ยงมิตรสหาย และบำเพ็ญทานแก่สมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นทางสู่สวรรค์หรือนิพพานได้ หรือ บำรุงเลี้ยงคนภายในให้อยู่เป็นสุข บำรุงเลี้ยงคนภายนอก ใช้ป้องกันภัย ทำพลีกรรม และบำเพ็ญบุญกับผู้ที่จะไปนิพพานเพื่อให้ตนได้อานิสงส์
10. การใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ = ใช้เลี้ยงตนและครอบครัว, เก็บ, สงเคราะห์ และให้เพื่อหวังเอาบุญ
11. การสิ้นทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์ = เป็นผลมาจากไม่ใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่
12. ความเป็นผู้ประมาทในการมีทรัพย์มาก = ยกตน ประพฤติผิดศีล
13. โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา แต่จะฆ่าคนมีปัญญาไม่ได้
14. ผู้ที่ยังบริโภคกาม 10 ประการ = กามโภคี 10 ประการ ซึ่งแบ่งผู้ที่ยังบริโภคกามออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หาได้โดยไม่เป็นธรรม กลุ่มที่หาได้โดยเป็นธรรมบ้างไม่เป็นธรรมบ้าง และกลุ่มที่หาได้ตามธรรมเท่านั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 20 Oct 2024 - 56min - 312 - ระบบของกรรมกับ "การขโมยดวง" [6742-1u]
Q1: ขโมยดวง
A: บุญบาป ขโมยกันไม่ได้ ใครทำคนนั้นได้ ทำให้กันก็ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าคงแบ่งบุญให้ทุกคนพ้นทุกข์ไปแล้ว
การเสริมดวง (ดวงดี) = ทำความดี มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นว่า สุขทุกข์เกิดกับตนโดยมีเหตุปัจจัย เช่น กรรมเก่า การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ดินฟ้าอากาศ ผู้อื่นทำร้าย ปัญหาสุขภาพ)การขโมยดวง (ดวงตก) = ทำความชั่ว คบเพื่อนชั่ว มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นว่า สุขทุกข์เกิดจากมีผู้เป็นใหญ่คอยบันดาลให้เกิดกับตนเท่านั้น หรือเกิดจากกรรมเก่าของตนเท่านั้น หรือกรรมเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุปัจจัย)ไม่ว่าจะเป็นการเสริมดวงหรือการขโมยดวง อยู่ที่การกระทำของเราว่าทำดีหรือทำชั่ว ให้มั่นใจในระบบของ “กรรม” ถ้าอยากได้สุข ไม่อยากได้ทุกข์ ก็ต้องสร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะสม โดยการทำดี พูดดี คิดดี ซึ่งเราสามารถทำได้โดยไม่ต้องให้ใครมาพยากรณ์กรณีเจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่น (กายหยาบ กายละเอียด) วิธีอยู่อย่างไรให้ผาสุก ก็ต้องมั่นใจในเรื่องของ “กรรม” ที่ถูกต้องQ2: การแสดงธรรมโดยเคารพเพื่อนผู้ประพฤติธรรม
A: ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หลักการแสดงธรรมให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายมี 5 ประการ
- แสดงไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้ขาดความอ้างเหตุผล = มีที่มา แหล่งอ้างอิงอาศัยความเอ็นดู = อนุเคราะห์ให้เขาพ้นจากความทุกข์ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม = ไม่หวังลาภสักการะจากการแสดงธรรมไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น = ไม่ยกตนข่มผู้อื่น
หากแสดงธรรมไม่ตรงตามหลักการข้างต้น ผู้แสดงธรรมก็จะถูกติเตียน
Q3: บรรลุธรรมโดยไม่ฟังธรรม ได้หรือไม่?
A: พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า“ประตูแห่งนิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้วแก่สัตว์ในยุคนี้ สัตว์เหล่าใดมีโสตประสาท สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด”
การบรรลุธรรม (มรรคผล) มี 3 ระดับ- ระดับสัมมาสัมพุทธเจ้า = บรรลุธรรมได้ด้วยพระองค์เอง ไม่ต้องมีผู้บอกผู้สอน และสามารถสอนผู้อื่นให้บรรลุธรรมตามได้ระดับปัจเจกพุทธเจ้า = บรรลุธรรมได้ด้วยพระองค์เอง ไม่ต้องมีผู้บอกผู้สอน แต่จะสอนผู้อื่นให้บรรลุธรรมตามไม่ได้ ระดับอนุพุทโธ = บรรลุตามที่พระพุทธเจ้าสอน ซึ่งต้องมีการได้ฟังธรรม (ได้ยิน ได้อ่าน) ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอนจึงจะบรรลุธรรมได้
Q4: การนั่งสมาธิ เป็นบุญได้อย่างไร?
A: “บุญ” เป็นชื่อของความสุขความสงบที่อยู่ในจิตใจ
การนั่งสมาธิ = เมื่อจิตสงบจะเกิดความสุขในจิตใจมาก เป็นบุญมาก เป็นบุญที่ละเอียดประณีต ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก คงอยู่ได้นานกว่า สิ่งที่จะมาแปดเปื้อนมีน้อย เป็นเหตุให้เกิดพละ 5 ซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม “พละ 5” ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาQ5: อานิสงส์ของการสวดมนต์
A: การสวดมนต์ เป็นทางแห่งการบรรลุธรรม
หากสวดมนต์แล้ว เกิดปิติปราโมทย์จะทำให้จิตสงบระงับ เมื่อจิตสงบระงับจิตจะเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิจะทำให้เข้าถึงวิมุตติได้การสวดมนต์ไม่ใช่เวทมนต์คาถาที่จะเสกสิ่งใดให้เกิดขึ้นได้ แต่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ให้เรานำไปปฏิบัติจึงจะเกิดผลQ6: เลี้ยงปลาสวยงาม บาปหรือไม่?
A: เอาเรื่องการไม่ฆ่าสัตว์เป็นเกณฑ์ ไม่นำเขามาทรมานเบียดเบียน หรือพรากเขามาจากวิถีการใช้ชีวิตปกติที่ดีอยู่แล้ว คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายในการดูแล ทั้งนี้ มีความสุขอย่างอื่นที่มากกว่าความสุขจากการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น การนั่งสมาธิ การฟังธรรม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 13 Oct 2024 - 52min - 311 - ธรรมะเพื่อการแก้ปัญหาทางการเงิน [6741-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: ปลดหนี้
- ผู้ฟังท่านนี้ถูกเพื่อนชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจเสริมความงาม ตกลงแบ่งกำไรให้ 40% จึงไปกู้เงินเพื่อมาลงทุนเพิ่มเกือบ 10 ล้านบาท ด้วยความเชื่อใจที่เป็นเพื่อนกันจึงไม่ได้ทำเอกสารหลักฐานอะไรไว้ ผ่านไป 2 ปี พบว่าธุรกิจนั้นไม่มีส่วนที่เพื่อนลงทุนเลย แต่ทรัพย์สินของธุรกิจกลับเป็นชื่อเพื่อนทั้งหมด เมื่อกิจการถูกปิด สรุปมีหนี้ 15 ล้านบาทที่ผู้ฟังท่านนี้ต้องชดใช้ให้เจ้าหนี้ ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลา 3 เดือน ติดต่อดำเนินคดีกับอีกฝ่ายแต่ไม่มีวี่แววว่าจะได้รับการชดใช้เงินคืน จึงตัดใจไม่ดำเนินคดีต่อแล้วหันมาตั้งหน้าตั้งตาทำงานใหม่ เจรจากับเจ้าหนี้ ผ่านไปไม่ถึงปี ก็สามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้
- ได้เรียนรู้ว่า เพราะความโลภ ความไม่รอบคอบ และความประมาท จึงเกิดเหตุการณ์นี้ การเป็นคดีความ ใช้เวลามาก แต่เมื่อตัดใจเอาเวลาไปทุ่มเทกับการทำงานด้วยจิตใจที่ไม่มีความโกรธ ไม่มีความอาฆาตคิดร้ายต่อเพื่อนที่โกง มีเมตตา มีอุเบกขา ทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แม้ยังมีหนี้ที่ต้องชดใช้ แต่จิตใจไม่เป็นอะไร สถานการณ์ก็พลิกผันทำงานหาเงินใช้หนี้ 15 ล้านบาท ได้ภายใน 1 ปี
- ผู้ฟังอีกท่านหนึ่ง เรียนจบเป็นหนี้ กยศ. และมีหนี้ทางครอบครัวที่ต้องช่วยชดใช้เป็นล้าน จึงประหยัดค่าใช้จ่าย เอาข้าวไปกินที่ทำงาน เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ลดสิ่งที่ฟุ่มเฟือย เลือกซื้อสิ่งที่จำเป็นมากกว่าสิ่งที่อยากได้โดยใช้ส่วนลด ทำงานอื่นเพิ่ม ใช้เวลา 2-3 ปี ก็ปลดหนี้ทั้งหมดได้และมีเงินเก็บ
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:การแก้ปัญหาทางการเงิน
ในการครองเรือน เงินทองเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงปัจจัย 4 ให้เป็นไปได้ ปัญหาทางการเงิน แก้ไม่ได้ด้วยความอยากหรือความตระหนี่ และไม่อาจสำเร็จได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง
การปฏิบัติตนต่อสถานะทางการเงิน 3 แบบ คือ
แบบที่หนึ่ง : ยามมีเงิน
(1) ต้องแบ่งจ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ = เพื่อป้องกันความตระหนี่ คือ 1. ใช้จ่าย 2. เก็บออม 3. สงเคราะห์ 4. ทำบุญ
(2) อย่าเพลิดเพลิน ลุ่มหลง ยินดีพอใจ ในเงินที่มี (ราคะ) = จะเป็นเหตุให้เกิดความยึดถือและความโลภ ซึ่งจะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นหรือคนเหล่านั้นเข้ามาในชีวิต เมื่อมีคนโลภเข้ามา ความโลภบังตาก็อาจถูกหลอกได้ ให้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงอยู่เสมอ ได้ลาภ เสื่อมลาภได้ จะป้องกันความโลภที่เกิดขึ้นในจิตใจได้
(3) อย่ามีความตระหนี่ หวงแหน (โมหะ) = จะเป็นเหตุให้เกิดความเศร้าหมองในจิตใจ จะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นเข้ามาในชีวิต การประหยัด มัธยัสถ์ เป็นการแบ่งจ่ายทรัพย์ ไม่เหมือนความตระหนี่
แบบที่สอง: ยามไม่มีเงินและเป็นหนี้
- ไม่อ้อนวอนขอร้องหวังรวยทางลัด เป็นความอยาก ความโลภ จะดึงดูดสิ่งนั้นเข้ามา อาจถูกหลอกได้
- ให้ตั้งจิตอธิษฐานที่ถูกต้องเพื่อสร้างเหตุ คือ การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กาย วาจา ใจ ของเราสามารถทำได้ ไม่ใช่การขอผล เช่น ตั้งจิตอธิษฐานให้เรามีปัญญาในการรู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ให้เหมาะสม, ให้เรามีความขยัน มีกำลังใจสูง ไม่ย่อท้อ, ให้เรามีตาในการมองเห็นว่าใครเป็นกัลยาณมิตรหรือปาปมิตร
- คาถา อุ อะ กา สะ, รู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ 4 หน้าที่, ไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่เป็นอบายมุข (ดื่มสุรา ยาเสพติด บุหรี่ การพนัน)
- จิตใจน้อมไปตามสิ่งที่เราคิด จิตเราน้อมไปทางไหนจะดึงดูดสิ่งนั้นเข้ามา ถ้าตั้งจิตไว้ถูกต้องจะดึงดูดกัลยาณมิตรเข้ามา
- กายทุกข์หน่อยก็อดทนเอา แต่ให้ตั้งจิตไว้ให้ดี อย่าตามความอยาก (ตัณหา) อย่าโลภ (โลภะ) อย่าตระหนี่ (โมหะ) มองมิตรให้ออกว่าเป็นปาปมิตรหรือกัลยาณมิตร
แบบที่สาม: ยามกลับมามีเงินอีกครั้ง
- รักษาจิตให้ดีเหมือนเดิม อย่าเพลิดเพลินลุ่มหลงในเงินนั้น อย่าเพลินในความสุข ให้เห็นความไม่เที่ยงในสุขเวทนานั้น ไม่ประมาท
- ด้วยจิตที่ไม่มีความโลภ ไม่มีความตระหนี่ จะเห็นช่องทางในการหาทรัพย์เพิ่มขึ้นได้
- เรียนรู้จากความผิดพลาดที่ผ่านมา
- การเป็นหนี้ด้วยความโลภไม่ดี แต่การกู้เงินด้วยปัญญา รู้จักบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 06 Oct 2024 - 59min - 310 - ปัญญาส่องใจจากภัยน้ำท่วม [6740-1u]
Q1: ปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ
A: การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องไม่เบียดเบียนทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนเรา ส่วนเขา ส่วนร่วม และส่วนรวม การกระทำใดเป็นการเบียดเบียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)
- การขจัดปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ ทำให้นกมาทำรัง มีมูลนก ต้องทำความสะอาดเพิ่ม ลำพังเพียงคาถาบทใดบทหนึ่งจะทำให้สิ่งใดสำเร็จขึ้นมาได้ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ความเข้าใจที่ถูกคือต้องอาศัยทั้งกาย วาจา และใจ ที่เป็นไปในทางเดียวกัน สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงจะสำเร็จขึ้นมาได้
(1) ทางกาย (ทำดี) = ทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้ เหมือนทำงานจิตอาสากวาดลานวัด
(2) ทางวาจา (ปิยวาจา) = พูดคุยทำความเข้าใจกันด้วยปิยวาจา
(3) ทางใจ (สัมมาทิฏฐิ+แผ่เมตตา) = ถ้ามีมุมมองว่าถูกเบียดเบียน ก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองว่าเรามีจิตอาสาทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้เหมือนพระปุณณมันตานีบุตร ก็จะเป็นบุญ จึงต้องปรับที่มุมมองของเรา และเจริญเมตตาแผ่ให้ทั้งเพื่อนบ้านและนกเหล่านั้น จะทำให้เมื่อเรามองเห็นจะไม่ขัดเคืองใจ มีความชุ่มเย็นอยู่ในใจ
- อย่ามองว่าปัญหานี้เกิดจากกรรมเก่าโดยส่วนเดียว ให้ทำสิ่งดีขึ้นมาใหม่ สร้างสิ่งที่เป็นกุศล ละสิ่งที่เป็นอกุศล (ความคิดเบียดเบียน) ด้วยการแผ่เมตตา แม้สถานการณ์จะไม่เปลี่ยนไป แต่เราจะไม่ทุกข์เท่าเดิม ความทุกข์จะผ่อนคลายลง
Q2: ประสบภัยน้ำท่วมเป็นกรรมเก่าหรือไม่
A: สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ทั้ง 3 อย่าง ทั้งจากตัวเราทำเอง กรรมเก่า หรือผู้ที่มีฤทธิ์บันดาล
- มิจฉาทิฏฐิ = ความคิดสุดโต่ง
(1) สุขหรือทุกข์เกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว – จิตจะน้อมไปในทางที่ไม่ทำอะไร
(2) การอ้อนวอนร้องขอต่อสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นจะสำเร็จโดยส่วนเดียว
(3) สิ่งใดสำเร็จได้ด้วยการกระทำของตนเท่านั้น – หากทำแล้วไม่สำเร็จก็จะเกิดความท้อใจ เสียใจได้
- สัมมาทิฏฐิ = ทางสายกลาง ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัย ไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์ สำเร็จก็ไม่ยึดติด มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำสิ่งที่ควรทำ ละสิ่งที่ควรละ
-ในช่วงน้ำท่วม
(1) ช่วยเหลือกัน
(2) เข้าใจโลกด้วยปัญญา มีสติ = เห็นด้วยปัญญาว่าสุขก็มี ทุกข์ก็มี ละความยึดถือ เมื่อยอมรับได้ก็จะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ ทั้งทุกขเวทนาและสุขเวทนาจะแทรกซึมเข้ามาในจิตใจไม่ได้ จะทุกข์แค่ทางกาย แต่ไม่ทุกข์ใจ ให้มีสติตั้งไว้ แก้ปัญหาไปทีละสถานการณ์
Q3: ลูกติเตียนพ่อแม่ที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นบาปหรือไม่
A: คำพูดด่าบริภาษ = คำหยาบ คำพูดเสียดสี ที่ทิ่มแทงจิตให้หลุดออกจากสมาธิ ไม่ว่าทำต่อใคร เป็นบาปทั้งสิ้น ยิ่งทำกับคนที่มีบุญคุณมาก ก็ยิ่งบาปมาก
- คนที่ควรติเตียน หากไม่ติเตียน อันนี้ทำไม่ถูก
- การติเตียน ให้ติเตียนที่พฤติกรรมซึ่งเกิดจากกิเลสบังคับให้ทำ ไม่ใช่ติเตียนที่ตัวบุคคล
- การติเตียน ทำได้โดยไม่พูดเสียดสีที่ทิ่มแทงจิตให้หลุดออกจากสมาธิ ด้วยวาจาอันหยาบคายร้ายกาจ แต่ถ้าพูดเสียดสีแบบที่ทำให้กิเลสหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีหลุดลอกไป อันนี้ถูกต้อง
- การติเตียนพ่อแม่ที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ต้องไม่ใช้คำด่าบริภาษ ดูช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ท่านจะรับฟัง ผู้พูดต้องใจเย็น การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ด้วยการให้ท่านออกจากบาป ตั้งอยู่ในความดี ประดิษฐานให้ท่านมีศีล เป็นสิ่งที่ลูกพึงกระทำตอบ
Q4: ทำชั่ว โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นความชั่ว บาปหรือไม่
A: แยกเป็น 2 กรณี
- กรณีแรก ทำโดยไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด = เป็นโมหะ เป็นบาป เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด ปฏิเสธว่าสิ่งนั้นไม่มี เพราะตนไม่เห็น
- กรณีสอง ทำดีแต่เบียดเบียนผู้อื่น = ต้องแยกส่วน อย่าเหมารวม ให้แยกส่วนดีที่ควรยกย่อง และส่วนไม่ดีที่ควรติเตียน แล้วค่อยกำจัดสิ่งที่ควรติเตียน เพิ่มส่วนที่ควรยกย่อง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 29 Sep 2024 - 54min - 309 - บริหารสมองในวัยเกษียณ [6739-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: ลูกศิษย์ย้อนนึกถึงเมื่อครั้งช่วยสร้างวัด
- ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ดร.สะอาด สมัยเริ่มสร้างวัดป่าดอนหายโศก ได้เคยร่วมสร้างกุฏิ ศาลาปฏิบัติธรรม และมาปฏิบัติธรรมที่วัด แต่ไม่ได้มาวัด 30 ปี จนกระทั่งได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจึงเดินทางมาที่วัด และได้หวนนึกถึงความหลังที่ตนได้สร้างมา จิตใจก็มีความปราบปลื้ม ดีใจ สบายใจ ความระลึกได้นั้นคือ “สติ” ระลึกถึงศีลความดีที่ตนเคยทำมา (สีลานุสติ) ระลึกถึงครูบาอาจารย์ (สังฆานุสติ) ระลึกถึงศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (เทวตานุสติ) ความดีของตนที่ระลึกได้นี้ จะเป็นที่พึ่งของตนในเวลาที่จะจากโลกนี้ไปได้
- ในขณะจิตสุดท้าย ถ้าจิตน้อมไปคิดถึงเรื่องไม่ดี ปองร้าย พยาบาท ทางกาม ก็จะไปไม่ดี เกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: บริหารสมองในวัยเกษียณ
- กาย วาจา ใจ จะปรุงแต่งอย่างไรให้สมองและจิตยังดีอยู่ได้ ไม่แก่ไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ยังมีความผาสุกได้อยู่
- จิตกับสมองไม่เหมือนกัน สมองควบคุมร่างกาย ส่วนจิตควบคุมสมองอีกชั้นหนึ่ง จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดปรุงแต่งการพูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกสมองผ่านทางกาย ทางวาจา จะทำให้สมองไม่แก่
1. ทางกาย (กายสังขาร) = การเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนสำคัญทำให้สมองมีความคมอยู่ ไม่หลงลืม
(1) นอนให้เพียงพอ
(2) ทานอาหารพออิ่ม - ไม่มากไม่น้อยเกินไป มีคุณค่าต่อร่างกาย
(3) ออกกำลังกายพอประมาณ – การเดินช่วยย่อยอาหารได้ดี
(4) จัดตารางเวลาชีวิต - หนึ่งวันจะทำอะไรบ้าง
2. ทางวาจา (วจีสังขาร) = การพูดจะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้อย่างดี
(1) อ่านออกเสียง - กระตุ้นสมองให้ประมวลผลเรื่องคำพูด
(2) อธิบายรูปภาพที่เกิดขึ้นในความคิดออกมาเป็นคำพูด - เช่น จะไปกินข้าวนอกบ้าน ให้อธิบายตามภาพที่เกิดขึ้นในหัวเป็นคำพูดว่า จะกินข้าวผัดอะไร จานเป็นยังไง ปริมาณเท่าไร กินที่ไหน แต่งตัวยังไง ไปกันกี่คน
(3) ตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ หรือ ตอบคำถามคนอื่น – สมองจะได้รับการพัฒนาเมื่อคิดเป็นคำถามในสิ่งที่ยังไม่รู้
(4) สังเกตรูปหรือเสียงต่างๆ – ฝึกอายตนะด้านการรับรู้ ฝึกสติ ช่วยพัฒนาสมอง
(5) ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดวิจารณ์เรา – มีสติ คิดตาม เรื่องที่เราต้องปรับปรุง สมองจะได้ใช้งาน
(6) พูดชื่นชมผู้อื่น - ก่อนพูดจะผ่านกระบวนการประมวลผลในสมอง ไม่มีประโยชน์ที่จะนึกถึงความไม่ดีของคนอื่นแล้วทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง เราต้องรักษาจิตของเราให้สูงก่อน การมองเห็นแง่ดีของคนอื่นจะช่วยพัฒนาความดีของเราให้มากขึ้นได้
(7) พูดเปรียบเปรย ยกอุปมาอุปไมย เทียบเคียง – เส้นประสาทในสมองจะถูกกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยง
3. ทางจิต (จิตสังขาร) = จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการปรุงแต่งออกไปทางกาย ทางวาจา ทางความคิด
(1) ฝึกคิดเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ = ไม่คิดตำหนิผู้อื่น การเขียนอธิบายเป็นตัวอักษร เป็นการทบทวน เป็นการโยนิโสมนสิการอย่างหนึ่ง ไตร่ตรองใคร่ครวญโดยแยบคาย กระชับความคิด ช่วยกระตุ้นสมองให้คิดไปในทางดีได้
(2) ฝึกคิดวางแผนงานล่วงหน้า
(3) ฝึกคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
(4) ฝึกสมาธิ - สำคัญที่สุด ให้จิตได้พักผ่อนจากการปรุงแต่ง โดยให้ตั้งสติขึ้น สติเป็นเครื่องมือในการทำให้จิตสงบ เมื่อจิตสงบ การใช้สมองซึ่งเป็นเครื่องมือของจิตก็จะใช้ได้อย่างดี การฟังเทศน์ฟังธรรมจะทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
โดยสรุป: ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน สิ่งของต่าง ๆ แม้แต่ร่างกายของเรา สิ่งเหล่านี้จะพังทั้งหมด ไม่สามารถเอามาเป็นที่พึ่งได้ แต่สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้ คือ จิตที่มีธรรมะ หากจิตมีที่พึ่งที่มั่นคงแล้ว เวลากายแตกดับ ก็จะมีที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งอันสูงสุด การลับสมองของเราให้คมอยู่เสมอ ด้วยกาย วาจา ใจ จะทำให้จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมองยังดีอยู่ได้ ด้วยจิตใจที่ดี จิตใจที่มีกุศลธรรม จากบุญกุศลที่สะสมไว้นั่นเอง และต้องไปตรวจสุขภาพเช็คระบบประสาทและสมองด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 22 Sep 2024 - 58min - 308 - จริยธรรมของผู้บริหารบ้านเมือง [6738-1u]
Q1: คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารบ้านเมือง
A: ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ต้องเป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า
1. เป็นคนดี = เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณธรรมข้อแรกที่นักปกครองต้องมี มีเกณฑ์วัด 4 ระดับ
(1) ประโยชน์ส่วนตัว = วงกลม 2 วง เห็นประโยชน์ส่วนตัวแยกจากคนอื่น
(2) ประโยชน์ส่วนร่วม = เห็นเฉพาะประโยชน์ส่วนที่วงกลม 2 วงทับซ้อนกัน
(3) ประโยชน์ส่วนเรา = เห็นประโยชน์ของวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งส่วนทับซ้อนและไม่ทับซ้อนกัน
(4) ประโยชน์ส่วนรวม = เห็นประโยชน์ขยายเป็นสี่เหลี่ยมที่ครอบรวมวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งหมด
2. เป็นคนเก่ง = มีทักษะ มีความสามารถ ฝึกฝนได้
3. เป็นคนกล้า = กล้าที่จะยืนหยัดในความดี เมื่อมีอำนาจแล้วไม่ถูกกิเลสดึงให้ความดีลดลง
- ถ้าบกพร่องเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะมีปัญหาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมหรือประสิทธิภาพในการบริหารงาน
- ดี กล้า แต่ไม่เก่ง = มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารงาน
- ดี เก่ง แต่ไม่กล้า = ไม่มีเสถียรภาพในการบริหารงานให้สืบต่อไปอย่างยั่งยืนได้
- เก่ง กล้า แต่ไม่ดี = หาประโยชน์ส่วนตัว เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก
- โดยสรุป “ดี เก่ง กล้า” เป็นเกณฑ์เพื่อเลือกคนมาทำงานบริหารบ้านเมือง จะทำให้บ้านเมืองพัฒนาดีขึ้นได้ ดีและเก่งต้องมาด้วยกัน ถ้าเก่งอย่างเดียวแต่ไม่ใช่คนดี ก็จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม แต่ถ้าคนดีเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมแล้ว ก็สามารถเรียกคนเก่งมาใช้งานได้
Q2: นิมนต์พระรูปเดียวทำบุญขึ้นบ้านใหม่
A: ได้ หรือไม่นิมนต์พระเลยก็ได้ เพราะบุญเกิดจากทาน ศีล ภาวนา แต่คนไทยติดรูปแบบ สมัยพุทธกาล เจ้าลิจฉวีสร้างปราสาทใหม่นิมนต์พระพุทธเจ้ามาใช้สถานที่นี้ก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล ทำให้เป็นทางมาแห่งบุญ 5 ประการ คือ 1. ได้เห็นพระสงฆ์ เป็นการเห็นอันเลิศ 2. ได้กราบไหว้พระสงฆ์ เป็นการบูชาเลิศ 3. ได้ถวายทาน 4. ได้ฟังธรรม 5. ได้ถามปัญหา
- พระสงฆ์เป็นนาบุญ ถ้านิมนต์พระมาแล้วได้ทำ 5 ประการนี้ ถือว่าได้บุญเต็ม ไม่ว่าจะนิมนต์มากี่รูปก็ตาม
Q3: ผู้หญิงเข้าวัดมากกว่าผู้ชาย
A: จิตใจของคนไม่มีเพศหรือวัย จิตก็คือจิต จิตที่ดีก็มักจะคล้อยไปในทางดี จิตที่ไม่ดีก็มักจะคล้อยไปในทางไม่ดี คนชั่วทำความดีได้ยาก คนดีทำความชั่วได้ยาก คนชั่วทำความชั่วได้ง่าย คนดีทำความดีได้ง่าย
Q4: พิธีกรรมบูชาเทพที่วัด และการอุทิศบุญกุศล
A: หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นด้วย “ศรัทธา” และต้องจบที่ “ปัญญา”
- คนที่มีศรัทธาในสิ่งที่ไม่ถูกต้องยังดีกว่าคนที่ไม่มีศรัทธาในอะไรเลย เพราะคนที่ไม่มีศรัทธาในอะไรเลยจะทำความชั่วได้โดยไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด ส่วนคนที่มีศรัทธาในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ยังสามารถเปลี่ยนให้มีศรัทธาที่ถูกต้องได้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- ศรัทธาที่เป็นไปเพื่อปัญญา คือ รู้ตามความเป็นจริง เกิดความปล่อยวาง ตั้งอยู่ในทางศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง
- พิธีกรรมใดที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา แต่เป็นไปเพื่อความงมงาย พิธีกรรมนั้นก็ไม่ถูกทาง
- การอุทิศบุญกุศลให้ผู้ล่วงลับ เป็นสิ่งที่ควรทำ จะทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้ทำบุญ ส่วนผู้ล่วงลับจะได้บุญหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเขาอยู่ในฐานะที่จะรับได้หรือไม่ เฉพาะปรทัตตูปชีวิกเปรตเท่านั้นที่จะสามารถรับบุญที่เป็นอาหารได้
Q5: เนื้อคู่มีจริงหรือไม่
A: ผู้ที่เห็นกันแล้วเกิดความพอใจกัน เกิดจากการเกื้อกูลกันในกาลก่อนหรือในปัจจุบัน เป็นความรู้สึกภายใน การเลือกคู่ครองให้ดูที่ ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ต้องเสมอกัน อย่าไปดูแค่เรื่องกาม ถ้ามีคู่ครองไม่ดี ไม่มีดีกว่า มีความสุขที่เหนือกว่า เช่น ความสุขที่เกิดจากการรักษาศีล สมาธิ ปัญญา
Q6: เตือนพ่อแม่ด้วยคำพูดไม่ดี บาปหรือไม่
A: ไม่ว่าพ่อแม่ด่าลูกหรือลูกด่าพ่อแม่ ก็เป็นบาป เพราะการด่าเป็นมิจฉาวาจา เราจะห้ามเขาจากบาปด้วยบาปไม่ได้ ถ้าลูกด่าพ่อแม่ บาปหนักกว่าเพราะทำต่อผู้มีบุญคุณ อย่าไปเอาเครื่องมือมารมาใช้ ต้องหาเทคนิคในการเตือนพ่อแม่ ให้ตั้งจิตเจตนาไว้ด้วยเมตตากรุณาให้ท่านพ้นจากความทุกข์ พบกับความสุข และให้การกระทำและเจตนาไปในทางเดียวกัน ความดีก็จะไม่ถูกตัด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 15 Sep 2024 - 53min - 307 - สมชีวิตาสู่อิสระทางการเงิน [6737-1u]
ช่วงไต่ตามทาง : นักธุรกิจสายมูเตลู
ผู้ฟังท่านนี้เป็นนักธุรกิจ เคยนิยมการบูชาวัตถุต่างๆ เป็นสายมูเตลู แต่เมื่อเริ่มฟังธรรม นั่งสมาธิ ทำให้เข้าใจว่าการบูชาคนที่ไม่ควรบูชา ได้ผลไม่ดี จึงลดการบูชาวัตถุ หันมาเน้นที่พระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึกเท่านั้น ไม่เอาอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง ปรับเปลี่ยนหิ้งพระใหม่ ตั้งจิตในการบูชาใหม่ เกิดความสบายใจ โล่งใจขึ้น เมื่อมีใจที่สบายแล้ว การพูดหรือการกระทำอะไรก็ปลอดโปร่งโล่งสบายไปด้วย มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ธุรกิจก็ดำเนินไปได้ด้วยดี การทำงานกับลูกน้องหรือลูกค้าก็ไม่มีปัญหา เหมือนดึงดูดกระแสของสิ่งดีดีเข้ามาในชีวิตพุทธพจน์ “ถ้าใครจะสำเร็จอะไรได้ด้วยเพียงการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร”การบูชาอื่นในคุณธรรมที่ผู้นั้นมี เช่น ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา แล้วเราตั้งจิตไว้ตรงนั้น ก็เป็นเทวตานุสติได้ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: การใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง (สมชีวิตา)
“สมชีวิตา” = การรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง
1. รายรับต้องท่วมรายจ่าย อย่าให้รายจ่ายท่วมรายรับ
2. การใช้จ่าย ต้องแบ่งไว้ 4 ประเภทนี้ เท่านั้น
1) เพื่อเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัว
2) เพื่อรักษาทรัพย์ – ลงทุน
3) เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น – ให้ยืม
4) เพื่อหวังเอาบุญ – ทำบุญกับเนื้อนาบุญ, หมู่สงฆ์
“รายรับ” แบ่งคนได้เป็น 3 ประเภท
1) กุฎุมพี = คนมีรายรับ
2) เศรษฐี = คนมีรายรับมากจนท่วมรายจ่าย
3) มหาเศรษฐี = คนมีรายรับมากจนท่วมรายจ่าย โดยมีรายรับหลายทาง
“การใช้จ่าย” แบ่งคนได้เป็น 3 ประเภท
1) คนเข็ญใจ = คนที่มีรายรับ ไม่ท่วมรายจ่าย
2) คนจน = คนที่มีรายรับพอๆ กับรายจ่าย
3) อิสรชน = คนที่มีรายรับ ท่วมรายจ่าย
การใช้จ่ายอย่างถูกต้อง ทำให้เป็นอิสรชน เมื่อเป็นอิสรชนแล้ว เราจะมีกำลังใจสูง มีบุญที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ในแต่ละประเภท การแบ่งจ่ายทรัพย์ที่ถูกต้องในชีวิตประจำวันเป็นบุญทันที เป็นบุญที่สะสมอยู่เรื่อย ๆ ทำให้จิตใจเปิดกว้างอิสรชนที่มีรายรับจนถึงขั้นให้เงินทำงานแทน (Passive Income) เปรียบเหมือนรวงผึ้งหรือจอมปลวก เช่น ซื้ออสังหาปล่อยให้เช่า เงินปันผลจากหุ้น หากท่วมรายจ่ายทั้งหมดได้ ก็จะเกิดภาวะอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom) ไม่ต้องทำงานแบบ active แล้ว ก็ได้โดยสรุป: สมชีวิตา = การรู้จักใช้ชีวิตให้สมดุล รู้จักรายรับ รู้จักรายจ่าย ใช้จ่ายอย่างถูกต้อง ด้วยการกระทำอย่างนี้สามารถสร้าง Passive Outcome ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 08 Sep 2024 - 59min - 306 - วิธีรับมือกับลูกน้องเพื่อพัฒนาองค์กร [6736-1u]
กัลยาณมิตร VS ปาปมิตร
“กัลยาณมิตร” มี 4 ลักษณะ
1. มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ คอยเตือนเรารักษาเราเมื่อประมาทประพฤติไม่ดี คอยรักษาทรัพย์ให้เราเมื่อเราประมาท เมื่อมีภัยจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ในยามมีเหตุจำเป็นเดือดร้อนต่าง ๆ ยิ่งเป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้
2. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้
3. มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้
4. มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน
“ปาปมิตร” มี 4 ลักษณะ
1. ปอกลอก = คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสียให้นิดเดียว แต่เวลาจะเอา เอามาก ไม่ช่วยงาน
2. ดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง
3. คนหัวประจบ = จะทำดี ก็คล้อยตาม จะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา
4. ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนให้ไปเที่ยวตามครอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนให้ไปดูมหรสพ ชวนให้เล่นการพนัน
Q1: เพื่อนร่วมงานที่ถือความคิดตนเป็นใหญ่
A: ให้เราทำตัวเป็นมิตรแนะประโยชน์ 1. ไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง 2. แนะนำให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3. ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา เขาก็จะมีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง
- หากเราไม่ได้ต้องการเกี่ยวข้องกับเขามาก ก็ต่างคนต่างอยู่ก็ได้ เพราะเขาไม่ได้เป็นคนไม่ดี
- ทั้งนี้ การนำธรรมะเข้าสู่องค์กร จะทำให้พฤติกรรมและทัศนคติของคนในองค์กรมีศีล สมาธิ ปัญญา มีจิตใจที่นุ่มนวลลง เป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร
Q2: ลูกน้องขาดงานบ่อย
A: ให้พูดคุยสอบถามลูกน้องว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่
- เจ้านายมีหน้าที่ คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง หากประสิทธิภาพในการทำงานของลูกน้องลดลง ก็ต้องปรับให้เขาทำงานในสิ่งที่เขาทำได้ ทำงานลดลงตามความสามารถ และให้เงินเดือนลดลงตามความสามารถนั้น
Q3: ลูกน้องไม่ทำตามหน้าที่
A: ให้ลูกน้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน และปรับงานของลูกน้องไม่ให้กระทบกระเทือนกับคนอื่น หรือให้ลูกน้องออกจากงาน
- การฝึกสมาธิจะทำให้คนที่มีจิตใจที่แข็งกระด้าง มีจิตใจนุ่มนวลอ่อนลงได้ บางบริษัทจึงจัดให้มีการฝึกสมาธิปีละครั้ง หรือมีการจัดกิจกรรมฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
Q4: ลูกน้องมีปัญหาส่วนตัวกระทบกับงาน
A: ให้พิจารณาก่อนว่าพื้นฐานจิตใจของลูกน้องเป็นคนดีหรือไม่ (เทวดา, พรหมโลก, สัตว์นรก) เกิดมามืดหรือสว่าง เราจะเป็นมิตรมีอุปการะให้เขาไปทางดีหรือไม่ เป็นที่พึ่งให้เขาได้หรือไม่
- สามารถอุปการะเขาได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ = ทางใจให้ได้ไม่มีประมาณ ไม่มีหมด “กรุณา” ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ “อุเบกขา” ไม่ให้จิตเราหวั่นไหวไปกับสิ่งที่ไม่ดีนั้น, มีปิยวาจา พูดดีด้วย หรือแบ่งจ่ายทรัพย์ของเราไว้ช่วยเหลือคนอื่น
Q5: คนชอบนินทา
A: แม้ไม่ได้พูดโกหกหรือคำหยาบ แต่ถ้ามีเจตนาพูดยุยงให้เขาแตกกัน ถ้าทำมาก ๆ โทษหนัก ก็จะไปตกนรก โทษเบา ก็จะทำให้เป็นคนที่แตกจากมิตร ไม่มีใครคบด้วย เราอย่าไปแช่งเขาเพราะโทษจะเกิดกับเราเอง อย่าไปนินทาตอบ ให้เราอดทน ให้เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง เอาชนะคำนินทาลับหลัง ด้วยการพูดอ่อนโยน จะเป็นการเอาชนะได้อย่างยั่งยืน
Q6: เด็กฝากในที่ทำงาน
A: อย่ามีอคติกับเขา บาปกรรมจะให้ผลกับเราได้ ควรรักษาความดีของเราไว้ แนะนำเด็กฝากในทางที่ดี ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 01 Sep 2024 - 52min - 305 - วิธีประคับประคองชีวิตคู่ให้อยู่เป็นสุข [6735-1u]
โสด VS แต่งงาน
- พระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ว่า “ผู้ใดมีสิ่งที่รักหนึ่งร้อย ผู้นั้นก็จะมีทุกข์หนึ่งร้อย ผู้ใดมีรักเก้าสิบ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์เก้าสิบ ผู้ใดมีรักหนึ่ง ผู้นั้นก็จะมีทุกข์หนึ่ง ผู้ที่ไม่มีรัก ก็จะเป็นผู้ไม่มีทุกข์”
- ถ้ายังไม่แต่งงาน = อยู่เป็นโสดดีกว่า
- ถ้าจะแต่งงาน = อย่าเลือกคู่ครองจากสิ่งภายนอก เช่น รูปร่างหน้าตา เพราะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ให้เลือกที่คุณธรรมภายใน ได้แก่ “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา”
- ถ้าแต่งงานแล้ว = ก็อย่าคิดเลิก ให้อยู่กันไป ถ้าไม่เวิร์ค ก็ต้องอดทน ปรับตัวให้อยู่ด้วยกันต่อไปให้ได้
- ตั้งแต่วันแต่งงาน ชีวิตไม่ได้เป็นของเราโดยสิ้นเชิงอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นของกันและกัน ต้องเกี่ยวเนื่องกับครอบครัวของอีกฝ่ายหรือลูก จึงต้องช่วยกันรักษา ถ้าฝ่ายหนึ่งรักษาแต่อีกฝ่ายไม่รักษา ก็จะเกิดความบกพร่องในด้านที่ไม่รักษานั้น แต่ถ้าเรารักษาให้ดี ความดีก็จะเกิดขึ้นแก่เรา
- การอยู่ครองเรือน อย่าอยู่ด้วยความรักแบบฉันชู้สาว ด้วยความพอใจหรือไม่พอใจ แต่ให้อยู่ด้วยคุณธรรม คือ “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา” อยู่ด้วยหน้าที่ของความเป็นสามีภรรยา อยู่ด้วยกิจที่ควรทำ อยู่ด้วยความเมตตา การครองเรือนของเราก็จะไปได้
หน้าที่ของสามีและภรรยาที่มีต่อกัน
- สามีภรรยา เป็นทิศเบื้องหลัง ในหมวดธรรมเรื่อง “ทิศ 6” หากรักษาทิศนี้ไม่ดี ทิศนี้ก็จะเป็นภัย
- หน้าที่ของสามีต่อภรรยา ได้แก่ ยกย่อง, ไม่ดูหมิ่น, ไม่ประพฤตินอกใจ, มอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ และให้เครื่องประดับ
- หน้าที่ของภรรยาต่อสามี ได้แก่ จัดแจงการงานอย่างดี, สงเคราะห์คนข้างเคียงดี, ไม่ประพฤตินอกใจ, ตามรักษาทรัพย์ที่มีอยู่, ขยันขันแข็งในหน้าที่การงานทั้งปวง
ลักษณะภรรยา 7 จำพวก
ไม่ดี = 1. เสมอด้วยเพชฌฆาต 2.เสมอด้วยโจร 3. เสมอด้วยนาย
ดี = 4. เสมอด้วยมารดา 5. เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว 6.เสมอด้วยเพื่อน 7.เสมอด้วยทาสี
10 วิธีดำรงความสัมพันธ์กับพ่อแม่สามีอย่างเป็นสุข
1.ไฟในอย่านำออก 2. ไฟนอกอย่านำเข้า 3. พึงให้กับคนที่ให้เท่านั้น 4.ไม่พึงให้กับคนที่ไม่ให้ 5.พึงให้กับคนที่ทั้งให้และไม่ให้ 6.นั่งให้เป็นสุข 7.บริโภคให้เป็นสุข 8.พึงนอนให้เป็นสุข 9.บำเรอไฟ 10.นอบน้อมเทวดาภายใน
วิธีรับมือเมื่อเจอเรื่องไม่น่าพอใจ
- ในการอยู่ครองเรือน เมื่อเจอเรื่องที่ไม่น่าพอใจ ให้อดทนเอา โดยทำจิตให้เหมือนแผ่นดิน ที่ใครจะมีคนมาขุดให้ไม่เป็นแผ่นดินย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนแม่น้ำ ที่ใครจะมาจุดไฟเผาให้แม่น้ำเดือดย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนอากาศ ที่ใครจะมาเขียนรูปให้ปรากฏบนอากาศย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟู ที่ใครจะเอาไม้มาทุบตีให้มีเสียงย่อมเป็นไปไม่ได้
- ให้เอาชนะความเท็จด้วยคำสัตย์, เอาชนะความไม่เข้าใจด้วยความเข้าใจ, เอาชนะความเกลียดด้วยความรัก, เอาชนะคำโกหกด้วยความจริง
เมื่อคิดจะเลิกกัน
- หากจะเลิกกัน ให้อีกฝ่ายเป็นคนขอเลิก ส่วนเราให้ประคับประคองชีวิตคู่ให้ไปต่อด้วยกันได้และให้เราตั้งอยู่ในการรักษาศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา เมตตา กรุณา ไว้ให้ดี ถ้าอีกฝ่ายมีบุญสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองมารักษาศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ให้เสมอกับเราได้ ก็จะอยู่ด้วยกันต่อไปได้ แต่ถ้าเขาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เขาก็จะแยกจากเราไปเอง เช่น เรารักษาศีล แต่อีกฝ่ายไม่รักษาศีล เขาจะไม่พอใจเรา มีแนวโน้มที่เขาจะไปหาคนอื่นที่ไม่รักษาศีลเหมือนกัน
โดยสรุป :
อยู่เป็นโสดประพฤติพรหมจรรย์นั้นดีกว่า แต่ค่านิยมของสังคมในปัจจุบัน นิยมการมีคู่ครอง เมื่อเลือกที่จะมีคู่ครองแล้ว ก็รักษาให้ดีด้วยวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ก็จะประคับประคองชีวิตคู่นั้นให้มีความราบรื่น มีกำลัง มีความมั่งคั่ง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 25 Aug 2024 - 58min - 304 - ที่พึ่งในยามทุกข์ ที่ไม่ใช่ "พิธีแก้กรรม" [6734-1u]
Q1: ความอยากได้เงินเพิ่ม เพื่อนำไปทำบุญเพิ่มอีก เป็นความโลภหรือไม่
A: ความอยากได้เงินเพิ่มเพื่อนำไปทำบุญเพิ่มอีก จะทำให้บุญที่ทำในครั้งนั้นเศร้าหมองลง
- การระลึกถึงบุญจากการทำทาน เป็นจาคานุสติ เกิดเป็นความสุขใจ แต่เมื่อเกิดความอยากได้เงินเพิ่มเพื่อนำไปทำทานเพิ่มอีก จะทำให้บุญนั้นเศร้าหมองลง ในขณะเดียวกัน ความคิดที่ว่าจะทำบุญเพิ่มอีก ก็เกิดสภาวะจิตสุขใจ เป็นบุญ ดังนั้น จึงเกิดสภาวะจิตที่เป็นบุญบ้าง สุขใจบ้าง เศร้าหมองบ้าง ปะปนกัน สลับกันไป
- วิธีที่ถูกต้อง คือ รักษาสภาวะจิตให้อยู่ในแดนของบุญมาก ๆ ด้วยการภาวนา ซึ่งเป็นบุญที่เหนือกว่าการให้ทาน จึงจะถูกต้อง นอกจากการให้ทานแล้ว ควรยินดีในการรักษาศีล เจริญภาวนาด้วย จึงจะได้บุญเต็มในทุกรูปแบบ
Q2: หากมีบุญมากกว่าบาป เมื่อตายแล้วจะไปสวรรค์ได้เลยหรือไม่
A: ขึ้นอยู่กับว่าในขณะที่ตาย บุญหรือบาปให้ผลก่อนกัน ไม่ใช่ว่าบุญหรือบาปน้อยกว่ากัน
Q3: พิธีแก้กรรม
A: ในทางพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่า “แก้กรรม” มีแต่ “ต้องได้รับผลของกรรม” “ความสิ้นกรรม” “กรรมหนักกรรมเบา”
- การเจริญพุทธมนต์ เป็นการฟังบทสวดที่เป็นพุทธวจนของพระพุทธเจ้า การฟังธรรมได้บุญ
- พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าใครจะสำเร็จอะไรได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” เช่น จะไม่มีคนป่วยหรือคนตาย ดังนั้น สิ่งใดจะสำเร็จขึ้นได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง จึงเป็นความเข้าใจผิด
- ความเข้าใจที่ถูก (สัมมาทิฏฐิ) คือ กรรมดีให้ผล กรรมชั่วให้ผล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว พุทธคุณมี สังฆคุณมี การพ้นทุกข์มี การคิดดีพูดดีทำดีจะได้รับผลดี
- โดยสรุป การเข้าร่วมพิธีกรรมใดก็ตาม ให้ตั้งจิตไว้ให้ถูก โดยตั้งจิตไว้ในกุศล ประกอบด้วยปัญญา ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า การแก้กรรมไม่มี แต่เพิ่มปริมาณกรรมดีได้ ด้วยการฟังบทสวดเจริญพุทธมนต์ ด้วยการคิดดีพูดดีทำดี ตั้งจิตไว้ถูก ปราศจากความงมงาย ไม่อ้อนวอนขอร้อง อย่างนี้สามารถเข้าร่วมพิธีกรรมได้
Q4: ที่พึ่งในยามเจออุปสรรคในชีวิต ที่ไม่ใช่พิธีแก้กรรม
A: ที่พึ่งที่ถูกต้องคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และประกอบด้วย ปัญญาของตน เรียกว่า “พึ่งตน-พึ่งธรรม”
- พระพุทธเจ้าทรงชี้ทางสว่างไว้ว่า “เมื่อเจอความทุกข์ ให้มีสติสัมปชัญญะ ให้อดทน ให้อยู่กับทุกข์ให้ได้ และกำจัดตัณหาที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์นั้น” นี่เป็นปัญญา ช่วยลดความงมงาย สามารถแก้ปัญหาที่แท้จริงได้ จนไปถึงนิพพานได้เลย
- ถ้าสร้างเหตุที่ถูกต้องแล้ว การมูเตลูก็ไม่จำเป็น หากยังมูเตลูอยู่ แสดงว่ายังไม่มีความมั่นใจ
Q5: ผลจากการให้ทาน รักษาศีล แต่ไม่ได้ภาวนา
A: การให้ทาน รักษาศีล ก็จะแก้ทุกข์ได้เฉพาะที่การให้ทาน รักษาศีล แก้ได้ ส่วนทุกข์ที่ต้องแก้ด้วยการภาวนา ก็จะไม่ได้
- การภาวนา คือ การพัฒนาจิต ทำความเข้าใจ ปรับทิฏฐิ คิดเป็นระบบ (โยนิโสมนนิการ) ตามระบบของอริยสัจ 4 หากภาวนาแล้วจิตสงบ ก็จะเป็นปัญญาให้เกิดความเข้าใจ ปล่อยวางได้ ภาวนาจะเป็นตัวแก้ทุกข์ทางใจได้ทั้งหมด
Q6: เนื้อคู่มีจริงหรือไม่
A: คนที่ชอบกัน เป็นเพราะความเกื้อกูลกันที่มีมาในปางก่อน หรือในปัจจุบัน
- เนื้อคู่ในชาติปางก่อน อาจมีหรือไม่มีก็ได้ อาจจะเจอกันหรือไม่เจอกันก็ได้ เพราะเกิดกันคนละภพภูมิ คนละช่วงเวลา
- หากคิดจะครองเรือน การดูเนื้อคู่ ให้ดูในปัจจุบันโดยไม่ต้องอ้อนวอนขอร้องจากใครเลย คือ ตรวจสอบว่ามีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา เสมอกันหรือไม่ ถ้าเสมอกันก็จะอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุข
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 18 Aug 2024 - 55min - 303 - เครื่องมือ “กำจัดความคิดทางลบ” [6733-1u]
วันแม่
เมตตา หมายถึง ความรัก ความปรารถนาดี ที่ไม่มีเงื่อนไข เปรียบเหมือนมารดาย่อมรักลูกที่เกิดจากครรภ์ตัวเองฉันใด ก็ควรเจริญเมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน จะทำให้เกิดกุศลและกีดกันไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตของเราได้วิธีตอบแทนพระคุณของมารดาที่ดีที่สุด คือ ถ้าท่านยังไม่มีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ก็ให้ท่านประดิษฐานตั้งอยู่ในศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา หากท่านมีแล้วก็ให้ท่านพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป แต่ถ้ามารดาล่วงลับไปแล้ว ก็ให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ช่วงไต่ตามทาง: เคยเป็นคนคิดลบ
ผู้ฟังท่านนี้ อายุ 80 ปี เคยเป็นคนหงุดหงิดง่าย ไม่พอใจหลายสิ่งหลายอย่าง มีความคิดลบเยอะ แต่เมื่อได้ฟังรายการธรรมะรับอรุณทุกวัน เป็นเวลาหลายปี สังเกตเห็นว่าตนเองมีความทุกข์ลดลง มีความสุขในใจเพิ่มขึ้น ได้ประโยชน์จากการฟังรายการนี้มาก แนะนำให้ท่านผู้ฟังอื่นติดตามฟังรายการนี้ทุกวันจะได้รับประโยชน์มากการที่มีคนฟังรายการธรรมะรับอรุณ เป็นการสนับสนุนรายการที่ดีที่สุดช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ความคิดทางลบ
พระพุทธเจ้าแบ่งความคิด ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ความคิดในทางกุศลและความคิดในทางอกุศล (กาม พยาบาท เบียดเบียน)ลักษณะความคิด
- มองโลกในแง่ดี แบบโลกสวย = เป็นสุดโต่ง มองแต่แง่ดีเพียงด้านเดียว จะกลายเป็นประมาทเลินเล่อ เผลอเพลิน ถูกหลอกได้ง่ายมองโลกในแง่ร้าย = เป็นสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง จะกลายเป็นหยาบกระด้าง ไม่กล้าเสี่ยง ไม่ก้าวหน้า มีโทสะ มีความกลัว ไม่กล้า ก็ไม่ดีอีกเช่นกัน ความคิดตรงกลางระหว่างโลกสวยกับมองโลกในแง่ร้าย = คนที่มองโลกในแง่ร้าย จะเกิดความรอบคอบ ส่วนคนโลกสวย ก็จะกลายเป็นคนจิตใจดี มีเมตตา สงเคราะห์คนอื่นได้ มีความไว้เนื้อเชื่อใจได้
กระบวนการของความคิดและจิต
เมื่อเราตริตรึกไปในเรื่องไหนมาก จิตเราจะน้อมไปด้วยอาการอย่างนั้นๆ หากจิตเราน้อมไปทางไหน จะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นให้เข้ามา เพราะจิตเราจะไปแสวงหาสิ่งๆ นั้นให้เข้ามา ดังนั้น ให้จำไว้เลยว่า “หากจิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลังขึ้นมาทันที”
“ความคิดทางลบ”เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ (ANTs = Automatic Negative Thoughts) ถ้าไม่กำจัดออกจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ เป็นปัญหาใหญ่ได้ เหมือนกรณีน้ำผึ้งหยดเดียว
อะไรที่เชื่อไปแล้ว มันเป็นจริงสำหรับคนนั้นแล้ว ถ้าเป็นความคิดลบ พลังจิต อารมณ์ ก็จะไปแนวนั้น เกิดความเศร้าหมอง โกรธ อิจฉา ริษยา ไม่พอใจ และหากพูด คิด ทำ อะไรด้วยอารมณ์แบบนี้ ย่อมพูดคิดทำออกมาไม่ดี เป็นเรื่องลบออกมา กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ ไม่รู้จักการมีสติสัมปชัญญะในการหยุดความคิดของตัวเอง พอหยุดไม่ได้ ก็ปรุงแต่งต่อไป ยิ่งเติมเชื้อไฟมากขึ้นไปอีกถ้าเราตริตรึกไปในเรื่องความคิดทางลบ จิตน้อมไปแล้ว ก็จะเห็นแต่เรื่องลบ ก็จะเจอแต่เรื่องไม่ดี เช่น การคิดน้อยเนื้อต่ำใจ อิจฉาริษยา จิตใจตนเองก็เป็นทุกข์แล้ว หากพูดออกไปด้วยความคิดแบบนั้น ผู้ฟังก็รับรู้ได้ว่าเรา Toxic มีความคิดลบ เป็นพิษ ผู้ฟังก็ได้รับกระแสลบจากเราไปด้วย ถ้ามากขึ้นจนไปถึงการลงมือทำร้ายกัน ผิดกฎหมาย ติดคุก ก็ลำบากไปอีก และเมื่อตาย ก็จะไปไม่ดี ถูกคุมขังในนรก กำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ความคิดทางลบ ยังเป็นจุดที่ทำให้ปัญญาถดถอย จิตใจเศร้าหมอง ไม่เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดความขุ่นมัวเครื่องมือกำจัดความคิดทางลบ คือ “3 ไม่” และ “3 ลิง”
3 ไม่ = ไม่ฝืน ไม่ตาม และไม่ให้กำลังกับมัน 3 ลิง = ลมหายใจ (หายใจเข้าลึกๆ) เลือกว่าจะกระทำตอบออกไปอย่างไร และระลึกถึงกระบวนการนั้น (ไว้ใช้รับมือหากความคิดลบแบบเดิมเกิดขึ้นอีก)กระบวนการที่ใช้ “3 ไม่” และ “3 ลิง” นี้ จะเป็นเครื่องมือที่ค่อยๆ ปรับจิตของเราให้มีกำลัง เจาะจงไปที่กำลังสติ เมื่อมีสติมากขึ้น ความคิดทางลบที่เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติจะยิ่งห่างออกไป และหากเข้ามาก็จะน้อย ไม่มาก และจะเข้ามาไม่ต่อเนื่อง จะอ่อนลง สั้นลงโดยสรุป: วิธีการเหล่านี้ เป็นวิธีการฝึกสตินั่นเอง สามารถกำจัดความคิดทางลบออกไปจากจิตใจของเราได้ ให้จิตใจของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา มีความไว้เนื้อเชื่อใจ ประกอบไปด้วยความรอบคอบ ตั้งอยู่ในศีลธรรมได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 11 Aug 2024 - 50min - 302 - การสวดมนต์ สมาทานศีล และผู้ไม่นับถือศาสนา [6732-1u]
Q1: การจำพรรษาของพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษา
A: พระสงฆ์ต้องอยู่เป็นที่ในช่วงฤดูฝน 3 เดือน, อยู่ในบริเวณเนื้อที่ที่กำหนดเอาไว้ เช่น กำแพงวัด, สามารถเดินทางออกนอกบริเวณได้ แต่ต้องกลับมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในวันรุ่งขึ้น, เว้นแต่ เดินทางไปด้วยธุระจำเป็น สามารถไปได้ไม่เกิน 7 วัน
- อาจเปลี่ยนที่จำพรรษาได้ แม้พรรษาขาดแต่ไม่เป็นอาบัติถ้าเข้า 6 กรณี
- ถ้าพระสงฆ์ไม่แสวงหาที่จำพรรษาในช่วงเข้าพรรษา จะเป็นอาบัติ
- อานิสงส์ของการจำพรรษา เช่น สามารถเที่ยวจาริกไปได้โดยไม่ต้องบอกลา, รับกฐินได้
- ระหว่างจำพรรษา พระสงฆ์จะมีการทำความเพียรเพิ่มขึ้นมา เช่น สวดมนต์ นั่งสมาธิ เพิ่มขึ้น
- จึงชักชวนท่านผู้ฟัง ให้มีข้อปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อเร่งทำความเพียรในช่วงเข้าพรรษานี้ เช่น งดเหล้า ฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมากขึ้น
Q2: ในช่วงจำพรรษา พระสงฆ์อยู่กุฏิเดียวกันได้หรือไม่
A: อยู่ในกุฏิเดียวกัน 2-3 รูปได้ แต่ต้องระวังเรื่องการรักษาผ้าครอง (ผ้าสำรับ 3 ผืน ที่ได้มาในวันบวช ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ) ที่จะต้องรักษาเอาไว้ในช่วงที่จะได้อรุณ คือ ตี4 ถึง 6 โมงเช้า ผ้า 3 ผืนนั้นต้องอยู่ใกล้ตัวที่มือเอื้อมถึง
- สมัยก่อนผ้าหายาก สมัยนี้หาง่ายแต่ยังมีการปฏิบัติข้อนี้กันอยู่ เพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อพระวินัยให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานและเป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ
Q3: สวดมนต์เพื่ออะไร
A: การสวดมนต์ คือ การสาธยาย (สัชฌายะ) ท่องให้เหมือนต้นฉบับ, นำคำของพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสไว้ มาพูดซ้ำ (Recitation) ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง (Pray)
- การสวดมนต์ (สัชฌายะ) มีประโยชน์ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน แม้ไม่รู้ความหมายก็ตาม แต่ถ้าเข้าใจความหมาย แล้วเอามาตรึกตรอง พิจารณา ปฏิบัติตาม ก็จะเกิดผลทำให้จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ ได้ลิ้มรสของธรรมะด้วยตนเอง
Q4: คนรุ่นใหม่บางกลุ่มไม่นับถือศาสนา แต่ยังยึดเรื่องการทำความดี ละเว้นความชั่ว
A: คำว่า “ศาสนา” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง “คำสอน” ให้เอาเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ให้ยึดเป็นของตน (อุปาทาน) เช่น เอาการทำความดีตามศีล 5 เป็นที่พึ่ง
- ประเพณี รูปแบบ พิธีกรรม เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลัง หากทำความดีตามศีล 5 ได้ ชาตินี้ไปดีแน่นอน ตัวเราหรือคนอื่น ติเตียนเราไม่ได้ เกิดความสบายใจ แต่ถ้าไม่รักษาศีล 5 จะมีโทษ คือ ตนเบียดเบียนตนเอง คนอื่นติเตียน ถูกลงโทษ ตายแล้วตกนรก ชาติหน้าไปไม่ดี
Q5: พระสงฆ์ออกกำลังกายด้วยการยกดัมเบลแทนการเดินจงกรมได้หรือไม่
A: พระวินัย ให้การเดินเป็นการออกกำลังกาย หลังการกิน ให้คลายความเมาในอาหารด้วยการเดิน
- ในสมัยโบราณแนวคิดเรื่องการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพดียังไม่มี แต่อาจนำเอาพระวินัยมาปรับได้ว่า หากมีญาติโยมปวารณาเครื่องออกกำลังกายนั้นไว้ พระสงฆ์ได้เครื่องออกกำลังกายมาก็ไม่ผิด, การออกกำลังกายเพื่อต้องการให้ร่างกายสวยงาม อันนี้ไม่ถูก, แต่การออกกำลังกายเพื่อคลายเวทนาของร่างกาย ไม่ให้ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันนี้ทำได้, และขณะออกกำลังกาย ต้องมีสติสัมปชัญญะ เพื่อไม่ให้เพลิดเพลิน ลุ่มหลงไปกับการอิริยาบทที่กำลังทำอยู่
Q6: การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล บาปหรือไม่
A: การเล่นการพนัน เป็นอบายมุข ทำให้เมา เพลิน จึงไม่ควรเล่นการพนัน
- การเล่นพนัน แม้ไม่ผิดศีล แต่เป็นที่ตั้งของความประมาท เช่น ทำให้เป็นหนี้สิน ตามมาด้วยการโกหก ขโมยของ อกุศลธรรมหลายอย่างจะตามมา
- การเล่นหวย เป็นการพนัน (อบายมุข) แต่ที่รัฐต้องทำสลากกินแบ่งรัฐบาลมาขาย ไว้สำหรับคนที่ยังเลิกไม่ได้ ผู้ที่ยังมีความเพลินอยู่ หากรัฐไม่ขายก็จะไปซื้อหวยใต้ดินกันอยู่ดี จึงเอาบางส่วนขึ้นมาทำให้ถูกกฎหมาย แล้วเอารายได้นั้นมาแบ่งปันให้สังคม
Q7: สมาทานศีลแล้ว แต่เผลอทำผิดศีล เป็นบาปมากกว่าเดิมหรือไม่
A: เป็นบาปน้อยกว่าการไม่สมาทานศีลแล้วทำผิดศีลด้วยความจงใจ เพราะการสมาทานศีล คือ การตั้งเจตนาว่าจะรักษาศีล 5 ให้ตนเองมีสติสัมปชัญญะ, ช่วงที่รักษาศีลได้ เป็นบุญ แต่ช่วงที่เผลอเพลิน ขาดสติสัมปชัญญะ ทำผิดศีล เป็นบาป
- การผิดศีลทำให้เกิดความร้อนใจ ความรู้สึกผิดนี้เป็นหิริโอตัปปะ ละอายในบาปที่ทำลงไป การร้อนใจตอนนี้ ยังดีกว่าร้อนใจในภายหลัง และดีกว่าทำชั่วแล้วไม่ร้อนใจอะไรเลย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 04 Aug 2024 - 57min - 301 - พึ่งตน พึ่งธรรม ด้วยการใช้ปัญญา [6731-1u]
ช่วงไต่ตามทาง:
- ผู้ฟังท่านนี้ เมื่อตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยคณะวิศวะ มีรุ่นน้องคนหนึ่งสัญญากับแม่ไว้ว่าจะไม่ดื่มเหล้า แต่ถูกรุ่นพี่บอกให้ดื่มเหล้าเพื่อเป็นการให้เกียรติรุ่นพี่ รุ่นน้องคนนี้มีหิริโอตัปปะ ละอายต่อแม่ จึงเอาตัวรอดโดยการต่อรองขอเป็นคนชงเหล้าให้รุ่นพี่ และดื่มเครื่องดื่มอื่นที่ไม่ใช่เหล้าแทน เหตุการณ์ก็ผ่านไปได้ด้วยดี รุ่นน้องก็อยู่ในสังคมได้
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:
- ทำกรรมอย่างไร ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ซึ่งจะให้ผลออกมาเป็นความสุขหรือความทุกข์ การทำดีโดยอยากได้ความดีตอบ อันนี้เป็นความอยาก ส่วนการทำความดีโดยไม่ได้หวังสุขเวทนา แต่ทำไปเพื่อกำจัดความอยาก ความตระหนี่ อันนี้เป็นปัญญา
- คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่ประกอบด้วย “ปัญญา” ต้องพิจารณาโดยแยบคาย ใคร่ครวญให้ลึกซึ้ง ดังนี้
(1) พิจารณาให้ได้ว่าการทำอะไรก็ตาม ให้หวังเอา “ปัญญา” ไม่ใช่หวังเอา “เวทนา”–การทำอะไรก็ตาม อย่าไปหวังให้สุขเวทนาเกิด ไม่อยากให้ทุกขเวทนาเกิด เพราะเป็นตัณหา (ความอยาก) ส่วนการทำอะไรแล้วได้ปัญญา ปัญญาจะเป็นตัวตัดความตระหนี่และความเข้าใจผิด ๆ ว่าทำอะไรแล้วจะต้องได้รับสุขเวทนา
(2) พิจารณาให้ได้ระหว่าง “ตัณหา” (ความอยาก) กับ “ฉันทะ” (ความพอใจ)–การทำอะไรด้วยความอยากเป็นสิ่งไม่ดี แต่การทำด้วยความเพียร ด้วยฉันทะ ความพอใจ ตั้งจิตไว้อย่างแน่วแน่ เป็นหนึ่งในองค์ของอิทธิบาทสี่ ธรรมะแห่งความสำเร็จ
(3) พิจารณาให้ได้ว่า การเอาความดีมาอ้างเพื่อทำความชั่ว เป็นสิ่งไม่ดี เช่น พระเทวทัต ทำความดีเพื่อหวังลาภสักการะ, การพูดความจริงแต่เป็นการเสียดสีผู้อื่นทำให้เขาเสียใจ เป็นต้น หรือ บางคนไม่มีความดีบังหน้าแต่มีความดีซ่อนเอาไว้ เช่น พระปิลินทวัจฉะ ชอบเรียกคนอื่นว่าคนถ่อย แต่จริงแล้วท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีเทวดารัก
(4) พิจารณาไปตลอด ไม่ใช่เพียงช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เพราะดีกลับเป็นไม่ดีได้ และไม่ดีอาจกลับเป็นดีในตอนหลังได้
- โดยสรุป การใช้ปัญญาพิจารณาโดยแยบคาย ใคร่ครวญให้ลึกซึ้ง ไม่มองผิวเผิน และไม่มองเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่ดูไปตลอด เป็นไปเพื่อไม่ให้อาสวะเกิดขึ้นที่จิตของเรา ให้พิจารณามาที่ตัวเราว่า ตัวเรามีกิจอะไรที่ต้องทำ ที่ต้องละ ต้องทำกิจของมรรค 8 ละสิ่งที่เป็นอกุศล ทำสิ่งที่เป็นกุศล เราจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใคร แต่อยู่ที่ตัวเรา เราจึงต้องพึ่งตน พึ่งธรรม โดยใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญโดยแยบคายในลักษณะที่ไม่ให้อาสวะเกิดขึ้น ด้วยการฟังธรรม การศึกษาธรรม ปัญญาก็จะแจ่มแจ้งขึ้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 28 Jul 2024 - 58min - 300 - "การผูกเวร" ละได้ด้วยความดี [6730-1u]
Q1: เจ้ากรรมนายเวรในที่ทำงาน
A: การกระทบกระทั่งกันระหว่างบุคคลเป็นเรื่องธรรมดาในวัฏฏะสงสาร
“ทำกรรมอย่างไร จะได้รับ 'กรรม' อย่างนั้น” เช่น ตบยุง แล้วจะเกิดเป็นยุงโดนตบ-อันนี้ไม่ถูก เป็นมิจฉาทิฏฐิ
“ทำกรรมอย่างไร จะได้รับ 'ผลของกรรม' นั้น" เช่น ตบยุง ทำให้มีโรคภัยไข้เจ็บมาก-อันนี้ถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ
- ในทางพระพุทธศาสนา กรรมดีมี กรรมชั่วมี การผูกเวรมี แต่ความเป็นเจ้าของไม่มี คำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” หมายถึง กรรมไม่ดีกำลังให้ผล เป็นความทุกข์ ความเผ็ดร้อน อยู่ตอนนี้
- เหตุของความสุข ความทุกข์ ไม่ได้เกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากเหตุอื่นได้ เช่น การถูกทำร้าย สุขภาพร่างกาย สภาพดินฟ้าอากาศ การเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอในชาตินี้ ไม่ใช่เรื่องกรรมเก่าจากชาติที่แล้ว
- ในกรณีทุกขเวทนาที่เกิดจากกรรมเก่า มีวิธีแก้โดยการทำความดีให้มากขึ้น แม้ความชั่วที่เคยทำไว้ไม่ได้ลดลง แต่ผลของความชั่วนั้นจะเบาบางลง การทำความดีทำให้เกิดความสบายใจ ความสบายใจนี้ทำให้ความร้อนใจจากกรรมชั่วเบาบางลง เปรียบกับการเจือจางน้ำเค็มจากเกลือด้วยน้ำที่มากขึ้น ปริมาณเกลือเท่าเดิม แต่น้ำที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความเค็มเจือจางลง
Q2: ผลจากการสาปแช่งผู้อื่น
A: การกระทำให้ผลเป็นสุขหรือทุกข์ อุปมาอุปไมยได้ 4 กรณี
1. กินเครื่องดื่มที่หอมหวาน สีสวย รสชาติดี แต่เจือด้วยยาพิษ-ทำไม่ดี ตอนทำได้สุข แต่จะได้รับทุกข์ในภายหลัง
2. กินบวบขม กลิ่นไม่ดี เจือด้วยยาพิษ-ทำไม่ดี ได้ทุกข์ทันที
3. กินยาดองน้ำมูตรเน่า รสขม ฝาด ไม่หวาน แต่กินแล้วจะได้ผลดีภายหลัง หายเจ็บป่วย-ทำดีแต่กลับได้ทุกข์ แต่เมื่อสถานการณ์ผ่านไป จะได้รับสุขในภายหลัง ต้องใช้ความอดทน
4. กินน้ำผึ้งผสมโยเกิร์ตใส่น้ำอ้อย รสชาติดี แก้โรคภัยไข้เจ็บได้-ทำดีแล้วได้สุขทันที
- เมื่อมีคนทำไม่ดีกับเรา หากเราทำความไม่ดีกลับคืนไป เราก็กลายเป็นพวกเดียวกับเขา
- การสาปแช่งให้ผู้อื่นได้ไม่ดี เป็นการผูกเวร เป็นกรรมทั้งทางกายและทางใจ เราได้ความสุขนิดเดียว แต่มีโทษมาก อกุศลกรรมฝังลงในใจเรา
- การถอนการสาปแช่ง ต้องเอาความดีไปชำระล้างความไม่ดี ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ (ทาน ศีล 8 สมาธิ ปัญญา) เพื่อล้างกำจัดชำระความพยาบาท การจองเวร อันมีฐานมาจากโทสะ ซึ่งเป็นกิเลส ยิ่งทำความดีมากขึ้น กิเลสก็จะเบาบางลง เหมือนน้ำที่เพิ่มขึ้น ความเค็มก็จะลดลง
Q3: คนรักพูดทำร้ายจิตใจ
A: ให้ถอนความรักความพอใจในบุคคลนั้น ด้วยการมี “สติ” และใช้ “ปัญญา” ที่แหลมคม ตัดความรักความพอใจนั้นออกไป ด้วยการพิจารณาว่าปัญหาคืออะไร ตัวเราตัวเขาอยู่ตรงไหน เราเจ็บตรงไหน จะพบว่าเจ็บตรงใจ ก็หาเหตุที่เกิดนั้น (ตัณหา อุปาทาน ความยึดถือ) แล้วพิจารณาต่อไปว่า เมื่อตัวเราตัวเขาไม่มีแล้ว ความรักความพอใจในบุคคลนั้นจะมีได้อย่างไร ก็จะละความรักความพอใจนั้นได้ ไม่เจ็บอีก ส่วน “สมาธิ” จะเป็นตัวประสาน ไม่ให้กลับกำเริบอีก ต้องสำรวมอินทรีย์ให้ดี อย่าไปทำสิ่งที่จะทำให้เกิดความรักความพอใจนั้นขึ้นได้อีก
- คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกกาล หยาบคาย ไม่มีประโยชน์ ประกอบด้วยโทสะ ให้เราทำจิตให้เหมือนแผ่นดิน ต่อให้ใครจะขุดดินให้ไม่เป็นแผ่นดิน ยังไงก็ยังเป็นแผ่นดินอยู่ดี หรือทำจิตให้เหมือนแม่น้ำคงคา ใครจะมาเผาให้น้ำในแม่น้ำเดือด ก็ไม่สามารถทำได้ หรือทำจิตให้เหมือนอากาศ ใครจะเอาสีมาวาดรูปให้เกิดขึ้นในอากาศ ก็จะทำไม่ได้ หากเราทำจิตได้อย่างนี้ ไม่ว่าใครจะด่าว่าชมเชยเรา เราก็จะไม่หวั่นไหวไปตามคำด่าคำชมนั้น
Q4: นั่งสมาธิอย่างไรให้ไม่ทรมาน
A: การนั่งสมาธิเป็นการทำความเพียร ต้องเจอทุกขเวทนาอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่การทำทุกรกิริยา แต่เป็นการทำตามสายกลาง เพื่อให้จิตได้รับการฝึก เป็นการอยู่ลำบากแต่เกิดกุศลธรรม และต้องมีสติ มีปัญญา มีการจดจ่อ ถ้าเราตริตรึกไปเรื่องไหน จิตเราก็จะน้อมไปในเรื่องนั้น จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง จึงให้เราตริตรึกไปในช่วงที่เราทำสมาธิได้ อย่าตริตรึกไปในช่วงที่ทำสมาธิไม่ได้ ส่วนที่เราทำสมาธิได้ก็จะมีพลัง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 21 Jul 2024 - 54min - 299 - สุขภาพใจที่ดี มีชัยไปเกินครึ่ง [6729-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: สุขภาพใจไม่ดี เพราะโรคซึมเศร้า
- ท่านผู้ฟังท่านนี้เป็นโรคซึมเศร้า มีกัลยาณมิตรที่ดีแนะนำให้ฝึกสติอยู่กับตัวเอง รู้ทันอารมณ์ ก็ตั้งสติ สังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เศร้า ไม่พอใจ โกรธ เหงา ขี้เกียจ เป็นต้น มีจดบันทึกไว้บ้าง ทำอยู่ประมาณ 6–12 เดือน ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน อารมณ์เหล่านั้นอ่อนแรงลง ความซึมเศร้าลดลงเรื่อย ๆ มีการพัฒนาอุปนิสัยใหม่ มีกิจกรรมใหม่ในทางที่ดีขึ้น ฟื้นฟูจากโรคซึมเศร้า สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
- “เมื่อเราตริตรึกไปทางไหน จิตเราจะน้อมไปทางนั้น จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราไม่ตริตรึกไปทางไหน จิตเราก็จะไม่น้อมไปทางนั้น จิตเราไม่น้อมไปทางไหน สิ่งนั้นก็จะอ่อนกำลัง” ดังนั้น การที่เรามีสติ สังเกตเห็นอารมณ์ตัวเองได้ จะทำให้จิตที่จะคล้อยไปตามอารมณ์นั้นเบาบางลง จิตที่จะเพลินไปตามอารมณ์ซึมเศร้า ฟุ้งซ่าน โกรธ ไม่พอใจ ยินดี ลุ่มหลง นั้น จะอ่อนแรงลง เพราะ สติตั้งอยู่ตรงไหน ความเพลินจะอ่อนกำลังโดยอัตโนมัติทันที
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:สุขภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง จริงหรือไม่
- “สุขภาพดี” ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ การเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารที่ย่อยได้อย่างสม่ำเสมอ พอปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่การทำความเพียร
- หากมีโรคมาก ก็จะมีเวทนามาก ชีวิตก็จะไม่ยืนยาว เวทนานั้นปรับตามอาพาธ อาพาธปรับตามธาตุไฟ (ความร้อน ความเย็น การเผาไหม้ ในร่างกาย) ถ้าธาตุไฟไม่สมดุล ไม่สม่ำเสมอ ร้อนเกินไปบ้าง เย็นเกินไปบ้าง ก็เป็นอาพาธ
- การกินอาหาร ร่างกายต้องใช้ความร้อนในการย่อย ความร้อนนี้เป็นอันเดียวกับความร้อนที่ทำให้แก่ การกินมากไปทำให้แก่เร็ว เพราะเกิดการเผาไหม้ในร่างกายมาก แต่จะไม่กินอาหารเลยก็ไม่ได้ จึงต้องกินแต่พอดี พระพุทธเจ้าจึงสอนหลักเรื่อง “โภชเน มัตตัญญุตา” คือ กินพอประมาณ ให้มีธาตุไฟสม่ำเสมอ ให้มีเวทนาเบาบาง จะแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน
ผล 3 ประการของการมีสุขภาพกายที่ดี ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า :
1. สุขภาพกายดี เป็นองค์ประกอบ 1 ใน 5 ขององค์แห่งผู้สมควรประกอบความเพียร (ปธานิยังคะ)
- คนที่จะทำความเพียรให้เกิดผลสำเร็จได้ มีเหตุ 5 ประการ คือ
(1) มีศรัทธา-มั่นใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
(2) มีอาพาธน้อย-มีธาตุสม่ำเสมอ
(3) ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา-เปิดเผยความผิดตัวเอง แก้ไขปรับปรุงตัว รับฟังคำเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น
(4) เป็นผู้ปรารภความเพียร-ไม่ทอดทิ้งธุระ ละสิ่งที่เป็นอกุศล เพิ่มสิ่งที่เป็นกุศล
(5) มีปัญญา-เห็นความเกิดขึ้น ดับไป สังเกตสิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ
2. การยึดถือร่างกายที่มีสุขภาพดี จะคลายความยึดถือได้ง่ายกว่าการยึดถือทางใจ
- มนุษย์ประกอบด้วยกายและใจ กายคือรูป ใจคือนาม สิ่งที่เป็นนามทั้งหลาย มีธรรมชาติเกิดขึ้น ดับไป ดับไป เกิดขึ้น ตลอดวันตลอดคืน การเห็นความเสื่อมสลายไม่ชัดเจน ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจึงทำได้ยาก ส่วนกาย จะดำรงอยู่กี่ปี ก็เปลี่ยนแปลงไป เสื่อมถอย แตกสลายไป ซึ่งปรากฏให้เห็นได้ง่ายกว่าใจ การคลายความยึดถือในกายจะทำได้ง่ายกว่า
3. การเห็นกายในกาย-เป็นหนึ่งในสติปัฏฐาน 4
- การเห็นกายในกาย คือ พิจารณาให้เห็นกาย (ที่มีสุขภาพดี) นี้ โดยความเป็นของไม่สวยงาม เป็นของปฏิกูล เป็นอสุภะ หรือ พิจารณาลมเข้า-ออก หรือ พิจารณาอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน มีสติสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อมทุกขณะ
- เราใช้ผลของการมีสุขภาพกายที่ดีเพื่อชนะกิเลส โดยพิจารณากายในกาย ตั้งสติปัฏฐาน 4
โดยสรุป: หากเรามีสุขภาพกายที่ดี แล้วได้ผล 1 ใน 3 ส่วนข้างต้น ก็จะได้ผลอย่างอื่นตามมาด้วย อย่างไรก็ตาม แม้สุขภาพกายไม่ดี เช่น พระพุทธเจ้า สุขภาพไม่ดีเนื่องมาจากการทำทุกรกิริยา ก็ยังมีสุขภาพใจที่ดี สามารถบรรลุธรรมได้ หรือ คนป่วยแต่มีสุขภาพใจที่ดี ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง มีกำลังใจสูงก็มี
- ดังนั้น คำว่า “สุขภาพดี” ควรเน้นมาทางด้านจิตใจ ทางกายมีส่วนอยู่ 30% ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่เป็นเรื่องของใจ ถ้าเรารักษาจิตใจได้อย่างดี มีชัยเกินครึ่งแน่นอน ส่วนกายจะเป็นอย่างไรก็ดูแลประคบประหงมไป ความเข้าใจนี้เป็นปัญญา เป็นความรู้ให้เกิดสิ่งที่เป็นความสุขกายสุขใจ ขอให้เกิดสุขภาพดีทางกาย สุขภาพดีทางใจต่อไป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 14 Jul 2024 - 1h 00min - 298 - วิธีรับมือมิจฉาชีพออนไลน์ [6728-1u]
Q1: วิธีรับมือมิจฉาชีพออนไลน์
A: คนที่ตั้งใจหลอกลวงเอาทรัพย์ผู้อื่น เป็นการเบียดเบียน เป็นบาป
เมื่อเจอคนไม่ดี
1. ต้องมี “สติสัมปชัญญะ”: ไม่คล้อยไปตามเสียง รูป คำพูดของเขา
2. ต้อง “โยนิโสมนสิการ”: ใช้ปัญญาไตร่ตรองโดยแยบคาย รอบคอบ คิดเป็นระบบว่า
- อะไรที่จะได้มาโดยง่ายไม่มี - ความสุข ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ได้มาโดยยาก โดยลำบาก
- สิ่งที่ได้รับฟังมา ทนต่อการเพ่งพิสูจน์หรือไม่ - หากเราโดนหลอกครั้งแรก ก็อย่าให้โดนหลอกอีกในครั้งต่อไป
- แม้ถูกหลอกไปแล้ว ก็ไม่ต้องเสียใจ คนที่หลอกจะได้รับผลไม่ดีอย่างแน่นอน แต่ตัวเราต้องไม่ทำสิ่งไม่ดีต่อ เช่น เสียใจ เศร้าโศก เป็นอกุศลกรรม เงินทองเป็นของนอกกาย หาใหม่ได้ หากเรายังมีจิตใจ มีปัญญาที่สามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจ มีความกรุณา อุเบกขา ได้ ให้เรามีอุเบกขา อย่าไปคิดโกรธเคือง จะเป็นบาปแก่เรา
Q2: การโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์กระทบผู้อื่น
A: กรรมทางใจ (มโนกรรม) สำคัญกว่ากรรมทางกาย (กายกรรม)
- ถ้าเราเจตนาโพสต์ให้กระทบคนอื่น ก็เป็นมโนกรรม
- หากเขาทำไม่ดี ความไม่ดีของเขา เคลือบคลานมาถึงตัวเราแล้ว เราก็ไม่ควรทำไม่ดีตอบ ให้ใช้ “อุเบกขา” เพื่อแก้การผูกเวร
- การโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ แม้ไม่มีเจตนาให้กระทบผู้อื่น แต่การเบียดเบียนเกิดขึ้นแล้ว มีกรรมเกิดขึ้นแล้ว มีบาปเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ผิดศีลเพราะว่าไม่มีเจตนา เมื่อไม่ผิดศีลแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะความร้อนใจควรจะเกิดขึ้นจากการผิดศีล เปรียบเทียบกับ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนธรรมะ ก็มีผู้ที่ไม่ชอบใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดความขัดเคืองใจ การเบียดเบียนเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นการเบียดเบียนความชั่วด้วยความดี มีลักษณะขูดเกลา บีบคั้นความชั่ว ให้เห็นว่า ความขัดเคืองที่เกิดขึ้นกับเขาเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความดีที่จะเกิดขึ้นกับเขามันมีมากกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ การบอกสอนเขาย่อมดีกว่า
Q3: ทำอย่างไรให้ผาสุกได้ในทุกสถานการณ์
A: ในสถานการณ์ที่เป็นทุกข์ เรายังผาสุกอยู่ได้ หากมีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (มรรค 8), ศีล สมาธิ ปัญญา, สมาธิ วิปัสสนา หรือสติสัมปชัญญะ
- การฝึกสติ สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ยิ่งฝึกบ่อยๆ สติสัมปชัญญะก็จะมีกำลังขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะสามารถไปถึงสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนาได้
Q4: การบวชทดแทนคุณพ่อแม่
A: เมื่อลูกบวช ปฏิบัติดี ก็จะเป็นบุญกับพ่อแม่ เพราะพ่อแม่จะมีความสบายใจ จิตใจก็ไปสวรรค์ได้
Q5: สมาธิขั้นใด เป็นที่สุดในทางพุทธศาสนา
A: ระดับของความสุข มี 10 ขั้น
1) ความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
2) ความสุขที่เกิดจากฌาน 1 (ปฐมฌาน)
3) ความสุขที่เกิดจากฌาน 2 (ทุติยฌาน)
4) ความสุขที่เกิดจากฌาน 3 (ตติยฌาน)
5) ความสุขที่เกิดจากฌาน 4 (จตุตถฌาน)
6) อากาสานัญจายตนะ (รูปสัญญาดับ)
7) วิญญาณัญจายตนะ (อากาสานัญจายตนะดับ)
8) อากิญจัญญายตนะ (วิญญาณัญจายตนะดับ)
9) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (อากิญจัญญายตนะดับ)
10) สัญญาเวทยิตนิโรธ (สัญญาและเวทนาดับ) เป็นสมาธิขั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา
- แต่สมาธิขั้น 2-10 เป็นฐานในการบรรลุพระนิพพานได้ทุกขั้น ขั้นที่ 2 ก็ทำให้เกิดปัญญาได้แล้ว ซึ่งปัญญาเป็นที่สุดในทางพุทธศาสนา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 07 Jul 2024 - 54min - 297 - คลายความอิจฉาด้วยพรหมวิหาร 4 [6727-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: อดทน คือ ทุกสิ่ง
- ผู้ฟังจาก กทม.-เป็นเด็กกำพร้า ถูกกระทำ และถูกต่อว่าให้เจ็บช้ำน้ำใจมาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยความอดทนทำให้ผ่านเหตุการณ์ทุกอย่างมาได้ จึงเข้าใจดีว่า ความอดทนเป็นทุกสิ่ง และยังเข้าใจอีกว่า การไม่ตอบโต้ ไม่ใช่เพราะความกลัว แต่เป็นเพราะความอดทน ซึ่งเป็นปัญญา แยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ สิ่งไหนเป็นกุศล สิ่งไหนเป็นอกุศล ปัจจุบันมีชีวิตที่มีความสุข ประสบความสำเร็จ
- ผู้ฟังจากฉะเชิงเทรา-เมื่อได้ฟังธรรมะ ทำให้เข้าใจว่า การรบที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือ การชนะกิเลสในจิตใจตนเอง เป็นชัยชนะที่ไม่ต้องออกรบ การอดทน ไม่ใช่เรื่องโง่ เป็นชัยชนะที่ใครก็เอาไปจากเราไม่ได้
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ความอิจฉาในที่ทำงาน
- อารมณ์ 3 ประเภท 1. อิจฉาริษยา 2. เย่อหยิ่งจองหอง 3. ความตระหนี่หวงกั้น มีความเกี่ยวข้องกัน
ตัวอย่าง 1 เมื่อเราได้เลื่อนตำแหน่ง ได้ดีกว่าคนอื่น เราจะมีความเย่อหยิ่งเกิดขึ้น ส่วนเพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้ ก็จะมีความอิจฉาริษยาเราขึ้นมา
ตัวอย่าง 2 เรามีรถ ส่วนเพื่อนไม่มี ต่อมาเพื่อนมีรถเหมือนกับเรา เราเกิดความไม่พอใจ อิจฉาริษยาเขา ทั้งที่เราไม่ได้มีน้อยลง แต่ไม่อยากให้เขามี อย่างนี้เป็นความตระหนี่เกิดขึ้น
- ความดีต่อความดีได้ ความชั่วต่อความชั่วได้ เปรียบกับการต่อเทียน-เทียนที่สว่าง แต่อยู่แวดล้อมไปด้วยเทียนที่ไม่สว่าง (พวกอวิชชาทั้งหลาย) บริเวณนั้นก็จะมืดลง มิตรที่ดี (กัลยาณมิตร) เมื่อต่อความดีกัน ความดีก็จะต่อกันไปอีกเรื่อย ๆ มากขึ้น สว่างขึ้น ส่วนมิตรไม่ดี (ปาปมิตร) ก็จะส่งต่อความไม่ดีมาให้ แม้ว่าตัวเราจะมีแสงสว่าง แต่ถ้ารอบ ๆ ไม่ดี มีแต่ความมืด ความมืดนั้นก็โดนเราบ้าง เราก็ได้รับการเบียดเบียนบ้าง
- การไม่คบคนพาล จึงเป็นมงคลข้อแรกในมงคลสูตร มงคลข้อต่อมา คือ ให้คบบัณฑิต คือ ให้คบกัลยาณมิตร มีความฉลาด มีความรอบรู้ มีปัญญาเห็นตามความจริง เข้าใจว่าสิ่งใดเป็นกุศลให้ทำ สิ่งใดเป็นอกุศลไม่ทำ หากเราอยู่ใกล้บัณฑิต เราก็จะต่อความดีนั้นมาได้
- ไม่ว่าเขาจะดีหรือไม่ดีกับเราก็ตาม “ให้มองกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กันเป็นอยู่ ไม่มองใครโดยความเป็นศัตรูเลย”
- หากเรามองใครว่าเป็นศัตรู การผูกเวรจะเกิดขึ้นทันที เป็นข้าศึกต่อกุศลธรรม
- ที่ถูก คือ ให้เราเห็นสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมโดยความเป็นข้าศึกศัตรู อย่าเห็นบุคคล เป็นข้าศึกศัตรู
- วิธีพิจารณาต่อเพื่อนร่วมงานที่มีอกุศลธรรม คือ คนเราไม่ได้มีดีหรือมีชั่วโดยส่วนเดียว อย่าไปตั้งจิตเป็นศัตรูกับบุคคล แต่ให้ตั้งจิตเป็นข้าศึกศัตรูกับสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม แล้วพิจารณาบุคคลนั้นว่า สิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นกับเขาอยู่ตอนนี้ ถ้าเขาทำต่อไปก็จะมีอกุศลธรรมความไม่ดีเกิดขึ้นกับเขามากขึ้น ถ้าเราไม่ลำบากอาจจะชี้แจงทำความเข้าใจกับเขาให้เขาคลายความอิจฉาลง (เมตตากรุณา) แต่ถ้าเราทำแล้ว เขาไม่พอใจมากขึ้น ให้เราพิจารณาต่อไปว่า ความขัดเคืองใจที่เกิดขึ้นนั้นมันเล็กน้อย ถ้าเขารู้ความจริง เข้าใจธรรมะในส่วนนี้ เขาจะออกจากอกุศลธรรมเหล่านั้นได้ ประโยชน์ของการดำรงอยู่ในกุศลธรรมความดีมันสำคัญกว่า เป็นเรื่องใหญ่กว่า ให้ทำความเข้าใจกับเขาอย่างนี้ (มุทิตา) ถ้าเขายังเปลี่ยนไม่ได้อีก เราก็ต้องตั้งจิตไว้ในอุเบกขา
- เมื่อความอิจฉา อยู่ในวงจรของกาม (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) สิ่งที่เหนือกว่ากาม จิตใจต้องเป็นแบบพรหม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) พรหมวิหาร 4 จะทำให้เราจะชนะทั้งจิตใจตนเอง และจิตใจของผู้อื่นได้
- มิตรที่ควรคบ 7 ประการ คือ ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก อดทนถ้อยคำที่อดทนได้ยาก เปิดเผยความลับแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ทอดทิ้งในยามอันตราย เมื่อเพื่อนสิ้นโภคทรัพย์ก็ไม่ดูหมิ่น
- ให้ตั้งจิตของเราต่อเพื่อนร่วมงานแบบนี้ ก็จะทำให้จิตใจของเรามีความสบาย อยู่ได้อย่างผาสุก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 30 Jun 2024 - 1h 01min - 296 - ความอดทน vs การนิ่งเฉย [6726-1u]
Q1: วิธีทำให้สติอยู่เหนืออารมณ์
A: พระพุทธเจ้าแบ่งไว้ 3 ระดับ
1) สัตว์เดรัจฉาน: ทำตามอารมณ์ ไม่สนใจผิดชอบชั่วดี
2) มนุษย์: มนุษย์ที่มีพฤติกรรมแบบสัตว์เดรัจฉาน มีการผิดศีล ทำตามความพอใจ หรืออารมณ์ของตนเป็นหลัก ไม่สนใจว่าอะไรถูกหรือผิด และมนุษย์ที่มีศีล “ศีล” คือ ความปกติของความเป็นมนุษย์ แม้จะมีอารมณ์ขึ้น-ลงอยู่บ้าง ก็ไม่ผิดศีล
3) เหนือมนุษย์: จิตใจมั่นคง ไม่โกรธ มีเมตตา อุเบกขา อยู่ตลอดเวลา เป็นจิตใจเทวดา เหนือมนุษย์ (อุตตริมนุสสธรรม)
- ธรรมะที่ทำให้เป็นคนเหนือคน
1) รักษาศีล 5-ทางกาย ทางวาจา
2) มีสติสัมปชัญญะ-รู้ผิดชอบชั่วดี
3) ทำศีล-สติ ให้ละเอียดและมีกำลังมากขึ้น-เพื่อเอาไปใช้ทางด้านจิตใจ ทำให้แยกอารมณ์ออกจากจิตใจได้ จิตจะมีความเข้มแข็งขึ้น
- คนที่รู้ตัวว่าจิตใจกำลังแปรปรวน นั่นคือ มีสติแล้ว รู้ตัวแล้ว หากฝึกให้มีสติบ่อย ๆ สติก็จะมีกำลังมากขึ้น
Q2: การนิ่งเฉย VS ความอดทน
A: คนอื่นคิดอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราคิดอย่างไร ไม่ควรให้น้ำหนักกับคำพูดของคนอื่น แต่ให้น้ำหนักกับความคิดหรือสภาวะจิตของเราจะดีกว่า เช่น เมื่อถูกคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนโง่ แต่เรารู้ตัวเองว่าเราไม่ได้โง่ เรากำลังมีความอดทนอยู่ ความอดทนนี้เป็นปัญญา เราเป็นผู้มีปัญญา ดังนั้น คำกล่าวหาว่าเราโง่ จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีน้ำหนักเลย อย่างไรก็ตาม เราต้องทบทวนตัวเองด้วยว่าเรามีข้อบกพร่องจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็ต้องแก้ไข
- เราต้องอาศัยความอดทนต่อผัสสะที่ไม่น่าพอใจ จึงจะสามารถรักษากุศลธรรมให้เกิดขึ้นได้ ทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้น จึงจะถือเป็นกำไรที่เกิดมาในโลก
Q3: จดจำบุญที่เคยทำไว้ไม่ได้
A: ความจำมี 2 ส่วน คือ สติ และความระลึกได้ ความระลึกได้เรียกว่าสติ ถ้านึกถึงเรื่องไม่ดี ก็เป็นมิจฉาสติ ถ้านึกถึงเรื่องดี ก็เป็นสัมมาสติ การกระทำอะไรลงไปก็ตาม ไม่ว่าด้วยกาย วาจา ใจ การกระทำนั้นจะทิ้งร่องรอยเอาไว้แน่นอน จิตของเราก็เช่นกัน ไม่ว่าทำอะไรด้วยกาย วาจา ใจ ก็จะทิ้งร่องรอยไว้ ร่องรอยนั้นเป็นบารมี เป็นอาสวะที่สะสมไว้ในจิตของเรา จนกลายออกมาเป็นนิสัยของเรา
- ให้ชำระอาสวะที่มีอยู่ในจิต ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เดินทางสายกลาง ปฏิบัติตามมรรค 8 จะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้ แต่ก่อนที่จะอยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้ ก็ต้องมาทางบุญก่อน
Q4: การกรวดน้ำอุทิศบุญกุศล
A: สิ่งที่สำคัญ คือ “การตั้งจิต” ว่าจะอุทิศส่วนบุญกุศลให้ ส่วนบทสวดมนต์กรวดน้ำ เป็นรูปแบบที่ครูบาอาจารย์คิดขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถตั้งจิตขึ้นได้
Q5: พิธีลอยอังคาร
A: แม้ไม่มีสิ่งที่จับต้องได้เหลืออยู่ การระลึกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้นึกถึงคุณความดี ระลึกถึงได้โดย “ตั้งจิต” ระลึกถึง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 23 Jun 2024 - 55min - 295 - มองโลกแง่ดี-แง่ร้าย กับ “ทางสายกลาง” [6725-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว
- คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เจอปัญหาสูญเสียรายได้ช่วงโควิดและลูกป่วย แต่เลือกที่จะอยู่กับปัจจุบัน ไม่ส่งจิตออกนอก ไปนึกถึงอดีตหรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง แล้วค่อย ๆ ทำงานที่มีอยู่ ด้วยกำลังใจเต็มที่ ไม่ให้จิตไหลไปในทางอกุศล
- ในสถานการณ์เดิมเดียวกัน เมื่อจิตใจถูกปลอบประโลมด้วยธรรมะ จะทำให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ มองโลกในอีกมุมหนึ่ง ความเข้าใจสถานการณ์นี้ทำให้ความยืดถือในจิตใจน้อยลงและวางได้ จึงไม่หนัก แม้ปัญหาจะยังไม่ได้หายไป แต่ก็ไม่ทำให้จิตใจเกิดความท้อแท้ ท้อถอย เมื่อจิตใจมีความคลี่คลายลง เบาลง (หมายถึง จิตใจมีความหนักแน่นมากขึ้น ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงภายนอก) จะสามารถอยู่กับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ และมองเห็นช่องได้ว่าควรทำอย่างไรกับปัญหาที่เจอ แล้วค่อย ๆ แก้ปัญหาไป ปัญหาก็จะค่อย ๆ คลี่คลายลงได้
- คนที่ประสบทุกข์อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่มีธรรมะอยู่ในจิตใจ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ มีมากมายทั้งในสมัยพุทธกาล และในยุคปัจจุบัน เมื่อเข้าใจธรรมะแล้ว เราจะเห็นทุกข์ และอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ นั่นเอง
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: มองโลกแง่ดี – แง่ร้าย กับ ทางสายกลาง
- การมองโลกในแง่ดี การมองโลกในแง่ร้าย และการมองโลกตรงกลางระหว่างแง่ดีกับแง่ร้าย มีข้อดี และข้อเสียในตัวเอง
ข้อเสีย (แง่ร้าย) = กังวลใจ อิจฉาริษยา หวาดกลัว ระแวง เคลือบแคลง ไม่พอใจ เกิดโทสะ
ข้อเสีย (แง่ดี) = ประมาทเลินเล่อ ลุ่มหลง เพลิดเพลิน พอใจ มีโมหะ มีราคะ
ข้อดี (แง่ร้าย) = รอบคอบ ไม่ถูกหลอก-ถูกโกง ปลอดภัยจากสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อดี (แง่ดี) = จิตใจเย็น มีเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจ
ข้อดี-ข้อเสีย (ตรงกลางระหว่างแง่ดีกับแง่ร้าย) = ต้องพ่วงทั้งข้อดีและข้อเสียของการมองโลกแง่ดี-แง่ร้ายมาด้วย
- ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ได้ยกทางสุดโต่งสองข้าง คือ ทำตัวให้ลำบากชนิดต้องทรมานตนเอง สุดโต่งอีกข้างหนึ่ง คือ เสพกามอย่างมาก ชุ่มไปด้วยกาม ส่วนตรงกลางมีหลายแบบ แบบแรก คือ ทรมานตนเองบ้าง แล้วก็ไปชุ่มอยู่ด้วยกามบ้าง แบบที่สอง คือ ไม่ถึงขั้นทรมานตนเองหรือชุ่มไปด้วยกาม แต่ยังคงกินข้าว ทรมานนิดหน่อย เสพกามบ้างนิดหน่อย ซึ่งไม่ใช่ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
- ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) เป็นตรงกลางแบบที่สาม ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างทางสุดโต่งซ้ายหรือขวา แต่มองครอบคลุมทั้งหมดออกมาจากทางสุดโต่งทั้ง 2 ด้าน โดยพิจารณาสภาวะ 7 อย่าง ของแต่ละสิ่ง
- ฐานะ 7 ประการ (สัตตัฏฐานะ) = สิ่งที่ต้องรู้ 7 อย่าง ในแต่ละแง่มุมของแต่ละสิ่ง
1. สิ่งนั้นคืออะไร
2. สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุเกิดจากอะไร
3. ความดับของสิ่งนั้นคืออะไร
4. ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร (ข้อปฏิบัติ ขั้นตอน วิธีการ)
5. คุณประโยชน์ของสิ่งนั้นคืออะไร
6. โทษของสิ่งนั้นคืออะไร
7. เครื่องสลัดออกจากสิ่งนั้นคืออะไร
- “โลกธรรม 8” เป็นของที่อยู่คู่กับโลก เป็นธรรมดาของโลก ได้แก่ สุข-ทุกข์, ได้ลาภ-เสื่อมลาภ, สรรเสริญ-นินทา, มียศ-เสื่อมยศ ดังนั้น จะหวังให้เกิดแต่สิ่งดี ๆ หรือจะคิดว่าสิ่งแย่ๆ จะอยู่ไปตลอด ไม่ได้
- เมื่อโลกเป็นอย่างนี้ บางทีก็ดี บางทีก็ไม่ดี พระพุทธเจ้าจึงเสนอทางออกไว้ คือ มรรค 8 (ศีล สมาธิ ปัญญา) ให้จิตของเราอยู่ในมรรค 8 เห็นตามความเป็นจริงในเรื่องของโลกธรรม 8 ซึ่งเป็นปัญญา เป็นส่วนหนึ่งของทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) เมื่อเจอเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ สะเทือนใจ กังวลใจ จิตเริ่มคิดไปในทางแง่ร้าย ให้หยุดด้วยสติ ซึ่งสติมีศีลเป็นพื้นฐาน เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็จะเกิดปัญญาเห็นได้ว่าเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อเราเข้าใจโลกธรรม 8 ก็จะไม่เป็นคนมองโลกในแง่ดี-แง่ร้าย แต่จะเป็นคนที่เข้าใจสถานการณ์ สามารถอยู่กับสุข-ทุกข์ได้ โดยไม่เผลอเพลิน ประมาทเลินเล่อ เป็นราคะ เป็นโมหะ กังวลใจ แต่มีความรอบคอบ มีความระมัดระวัง
- โดยสรุป ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) เป็นทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (มรรค 8) ไม่ใช่ทางที่อยู่ระหว่างทางสุดโต่งซ้ายหรือขวา แต่เป็นทางที่สาม ที่ทำให้เราอยู่ในโลกนี้ได้ไม่ว่าจะเจอสุขหรือทุกข์ก็ตาม เมื่อเข้าใจสถานการณ์แล้ว เกิดสุข สุขนี้จะเป็นสุขที่อยู่เหนือกว่าสุขเวทนา เป็นสุขที่ยั่งยืน สามารถรักษาตนให้พ้นจากภัยในวัฏฏะนี้ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 16 Jun 2024 - 57min - 294 - บุญจากการนั่งสมาธิ [6724-1u]
Q1: บุญจากการนั่งสมาธิ
A: แต่ละคนมองเห็นคุณค่าของของแต่ละอย่างไม่เท่ากัน และสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีค่า ขึ้นอยู่กับเวลา สถานการณ์ และเงื่อนไขต่างๆ ส่วนความเห็นของใครจะถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับประโยชน์มากหรือน้อย การนั่งสมาธิทำให้จิตมีความสงบ เกิดความสุขจากในภายใน ก็จะได้บุญมากกว่า เพราะวัดจากความสุขและประโยชน์ที่เกิดขึ้น
- ประโยชน์จากการนั่งสมาธิ 4 ประการ
1) คนอื่นเอาไปจากเราไม่ได้ = ไม่เป็นสาธารณะกับคนอื่น
2) ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม = การนั่งสมาธิ แผ่เมตตา ไม่มีจำกัด
3) ประโยชน์ที่จะเกิดในเวลาต่อๆ ไป = เมื่อจิตเป็นสมาธิ ทุกข์ที่ตามมามีน้อย เห็นทางออกของปัญหา ทำให้ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เทียบกับการอิ่มท้อง ซึ่งยังมีทุกข์อยู่ ต้องไปถ่ายออก มีทุกข์ตามต่อมาอีก
4) ทำให้ถึงนิพพานได้ = เมื่อจิตเป็นสมาธิ เห็นทางออก ปฏิบัติตามมรรค ปล่อยวาง เห็นความไม่เที่ยง จิตสว่าง หลุดพ้น ซึ่งประโยชน์ข้อนี้มีมาก ทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาต่อมา ๆ อีก
- โดยสรุป บุญจากการให้ทาน ได้อยู่ แต่ได้น้อย เมื่อเทียบกับการรักษาศีล เจริญภาวนา ที่เกิดประโยชน์ 4 ข้อ ข้างต้น อันเป็นความเห็นของพระพุทธเจ้า เป็นความเห็นของคนฉลาด การที่เราฟังคนฉลาดที่ทำมาแล้ว พิสูจน์มาแล้วว่ามีประโยชน์อย่างนี้ เราก็ต้องพิสูจน์ว่าเกิดประโยชน์เช่นนั้นจริงหรือไม่ ด้วยการนั่งสมาธิทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ด้วยตัวเอง
Q2: บุญจากการให้ทาน VS บุญจากการนั่งสมาธิ
A: การให้ทานที่ต่อชีวิตผู้อื่น เช่น การใส่บาตร ต้องให้ทุกวัน ไม่จบ ให้แล้วยังต้องให้อีก ประโยชน์จึงเกิดขึ้นแค่วันเดียว แต่การนั่งสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว ตัวเราได้ชื่อว่ารักษาคนอื่น ทั้งทางกาย วาจา ใจ เพราะจะไม่เบียดเบียน มีเมตตา อดทน มีความรักให้กัน ไม่คิดประทุษร้าย
- ใจเป็นหลัก ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน - ถ้าจิตเราดี วาจากับการกระทำก็จะดีไปด้วย
- การให้ทาน (ทางกาย) และการนั่งสมาธิ (ทางใจ) สามารถไปด้วยกันได้ เช่น พระอรหันต์ ต้องกำจัดกิเลสออกให้หมด เป็นเรื่องสภาวะจิต แต่ถ้าไม่ได้ให้ทานมาก่อน ก็จะมีลาภสักการะน้อย ส่วนพระอรหันต์ที่เคยให้ทานมามากในกาลก่อน ก็จะมีลาภสักการะมาก
Q3: การทำบุญโดยการปล่อยสัตว์น้ำ
A: พระพุทธเจ้าเน้นว่า การไม่ฆ่า = เจตนาไม่ทำลายชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป การซื้อและการขายสัตว์เป็น เป็นอาชีพที่ไม่ควรทำ และเป็นกิจที่ไม่ควรทำของอุบาสก อุบาสิกา
- วงจรของบาปจากการฆ่าสัตว์ 1) ลงมือฆ่าเอง 2) สั่งให้ผู้อื่นฆ่า 3) ชักชวนให้ผู้อื่นฆ่า
- การไปซื้อเนื้อสัตว์ที่ตลาด เป็นการส่งเสริมการเบียดเบียน ส่งเสริมให้ฆ่า เข้าลักษณะชักชวนให้ผู้อื่นฆ่า อยู่ในวงจรของบาปจากการฆ่าสัตว์แล้ว ควรหลีกเลี่ยง การซื้อปลาหน้าเขียงเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นจากความตายเฉพาะหน้า เป็นการผิดหลักการข้างต้น
- ให้พัฒนาจิตของเรา ให้หลุดออกจากวงจรของสังสารวัฏที่มีโทษของวัฏฏะ ทำให้ต้องเบียดเบียนกัน ให้ทำสมาธิ ปล่อยวาง บรรลุนิพพาน หรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งให้ได้ เพื่อลดปริมาณการเบียดเบียนให้ได้มากที่สุด
Q4: E-donation
A: ความง่ายกับความสะดวกในการทำบุญไม่เหมือนกัน การทำบุญ (การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา) มีความง่ายมาแต่เดิม ไม่ต้องเตรียมการอะไรให้ยุ่งยาก ส่วนสมัยนี้มี E-donation เป็นการอำนวยความสะดวกในการทำทาน
Q5: บูชาพระพุทธรูปด้วยดอกไม้ธูปเทียน
A: การบูชา เป็นการกระทำเพื่อทำจิตของเราให้มีความละเอียด เป็นการสละออก
- รูปแบบการบูชา ได้แก่
1) อามิสบูชา = บูชาด้วยสิ่งของ เช่น ดอกไม้ ของหอม แสงสว่าง ยานพาหนะ ที่ดิน
2) ปฏิบัติบูชา = บูชาพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติ คือ รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นวิธีบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุน
Q6: กรรมเก่า กับ การมีคู่
A: พระพุทธเจ้าเห็นว่า “การประพฤติพรหมจรรย์” มีประโยชน์มากกว่าการมีคู่ เพราะไม่ใช่แค่ให้ประโยชน์ในปัจจุบัน แต่ยังให้ประโยชน์ต่อไปข้างหน้าชาติหน้าภพหน้า ส่วนการหาความสุขทางกาม ให้ประโยชน์สั้นๆ แค่ชาตินี้ภพนี้ โทษมีมาก
- หากจะมีคู่ ก็ต้องมี “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา” เสมอกัน จึงได้เจอกัน พบกัน รักกัน และเป็นคุณธรรมที่จะทำให้อยู่ด้วยกันได้ รักษาตนได้ และต้องใช้หลักธรรม “ทิศ 6” ประกอบด้วย อีกทั้ง ต้องดำเนินชีวิตไปในทางมรรค 8 เพื่อไม่เป็นการผูกปมกันไปเรื่อย ๆ
- การอยู่คนเดียว (คนโสด) เช่น พระสงฆ์ ก็สามารถหาความสุขที่เหนือจากกาม (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 09 Jun 2024 - 54min - 293 - "ระวังความคิด" เพื่อให้ถึงความสำเร็จ [6723-1u]
ช่วงไต่ตามทาง
คุณแชมป์สังเกตตนเองว่า ยังมีทิฎฐิที่ว่าการปฏิบัติธรรมของตนดีกว่าคนอื่น เก่งกว่าคนอื่น คนอื่นทำผิดหมด จิตใจกระด้าง มีความเศร้าหมอง พูดจาไม่รักษาน้ำใจคนอื่น ทำให้เสียเพื่อน เกิดการเบียดเบียนคนอื่น แต่เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว เกิดปัญญา จิตใจมีความนุ่มนวลอ่อนลง มีความเมตตากรุณา มีปัญญาเข้าใจประวัติพุทธศาสนา ที่มาของคำสอน เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน มีความมั่นคงในธรรมะในกระบวนการของมรรค 8 คนรอบข้างได้รับกระแสแห่งปัญญาและเมตตา นี่เป็นตัวอย่างของคำสอนที่ว่า “อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา”ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด
การปรุงแต่งมีได้ 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย (การกระทำ) ทางวาจา (คำพูด) และทางใจ (ความคิด)เมื่อมีการตั้งเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีการ “พัฒนาทักษะ” เกิดขึ้นเพื่อทำสิ่งนั้นให้เกิด “ความสำเร็จ” ซึ่งจุดที่การพัฒนาทักษะเกิดขึ้นจะเป็นจุดที่ “อุปสรรค” เกิดขึ้นเช่นกัน เปรียบกับเครื่องบิน หากไม่มีลมต้านก็จะไม่มีแรงยกให้บินได้, มรรค หากไม่มีสิ่งมาทดสอบให้หลุดจากมรรคก็จะไม่รู้ว่ากำลังเดินตามทางมรรคอยู่หรือไม่, จะรู้สุขได้ ต้องมีทุกข์เสียก่อน เป็นต้นความคาดหวังว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะสำเร็จด้วยความราบรื่น ปราศจากอุปสรรค เป็นการเข้าใจผิด แต่ควรปรารถนาให้ทักษะ, ความรู้, ความเข้าใจในเรื่องนั้นเกิดขึ้นกับเราอย่างง่ายดาย เพื่อใช้ทักษะนั้นก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย วิธีพัฒนาทักษะ คือ นำวิธีการของคนที่เขาเคยทำสำเร็จแล้ว มาใช้เป็นแผนพัฒนาทักษะของตัวเรา อย่างนี้เรียกว่า “การกระทำโดยแยบคาย” เช่น คนที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ, คนที่เคยสอบผ่านแล้ว, คนที่เคยลดน้ำหนักได้แล้ว“ความคิดของเรา” บางทีก็เป็นตัวที่ขัดขวางสิ่งที่เราต้องการทำให้สำเร็จ เช่น คิดว่าทำไม่ได้ ไม่มั่นใจ แต่ไม่ว่าจะมีความคิดว่าทำได้ (มั่นใจ) หรือทำไม่ได้ (ไม่มั่นใจ) ก็ตาม ความคิดเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ที่สำคัญคือ จะลงมือทำอย่างไรโดยแยบคายต่างหาก “โดยแยบคายนี้” เป็นความคิดอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่า “โยนิโสมนสิการ” = ทำในใจโดยแยบคายถ้าความคิดว่าทำไม่ได้เกิดขึ้นมาแต่แรก ทำให้ไม่เกิดการลงมือทำโดยแยบคาย ก็เป็นลักษณะที่ความคิดของตัวเราเองมาขัดขวางการกระทำของตัวเราเอง ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ส่วนความคิดว่าทำได้ แต่ไม่ได้ลงมือทำโดยแยบคาย แม้จะได้ผลอยู่บ้าง แต่ก็จะได้ไม่เต็มที่ตามที่ต้องการอิทธิบาท 4 กับการระวังความคิด
“ระวังความคิด” ต้องระวังทั้งสองด้าน คือ ด้านที่คิดว่าจะสำเร็จ (คิดว่าตนเก่ง ไม่ฟังใคร) และด้านที่คิดว่าจะไม่สำเร็จ โดยให้เดินทางสายกลาง เจาะจงลงไปในเรื่อง “อิทธิบาท 4” เพื่อพัฒนาวิธีการโดยแยบคายให้เกิดขึ้น เพื่อให้ถึงความสำเร็จของเป้าเหมายที่ตั้งไว้ กล่าวคือ1) ฉันทะ = ความคิดที่มั่นใจว่าเราต้องทำได้
2) วิริยะ = ใช้ความเพียร กำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล ที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ในเรื่องนี้ออกไป และพัฒนาสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นมา
3) จิตตะ = การใส่ใจเป้าหมายอยู่เรื่อย ๆ เป็นการเหนี่ยวนำทักษะที่นำไปสู่ความสำเร็จให้เกิดขึ้นมา
4) วิมังสา = ถ้าทักษะ, โดยแยบคายยังไม่เต็มที่ก็ต้องพัฒนาปรับปรุงทักษะ
เมื่อนำอิทธิบาท 4 มาจับในการงานที่จะต้องทำให้สำเร็จ มันจึงเป็นตัวที่จะระมัดระวังความคิดของเราได้โดยสรุป วิธีระวังความคิด คือ ให้มีธรรมเครื่องปรุงแต่ง (เป้าหมายที่ให้ชีวิตของเราตั้งอยู่ได้) ให้มีอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาวิธีการให้เกิดความแยบคาย เพื่อให้ถึงความสำเร็จของเป้าหมายที่ตั้งไว้ พัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในชีวิตของเรา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 02 Jun 2024 - 55min - 292 - เพื่อนร่วมงานกับความเป็น "มิตร" [6722-1u]
หลักธรรมเกี่ยวกับ “มิตร”
- มิตรมี 2 ประเภท
1) กัลยาณมิตร = เพื่อนดี มี 4 ลักษณะ
(1) มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ รักษาเราเมื่อประมาท คอยตักเตือน รักษาทรัพย์ให้ เมื่อเราประมาท เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นเดือดร้อน เป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้
(2) มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้
(3) มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้
(4) มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน
2) ปาปมิตร = เพื่อนชั่วที่จะนำความไม่ดีมาให้ มี 4 ลักษณะ
(1) มิตรปอกลอก = เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสีย ให้นิดเดียว
(2) มิตรดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้น แสดงความขัดข้อง
(3) คนหัวประจบ = เราจะทำดี ก็คล้อยตาม เราจะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา
(4) มิตรที่ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนไปเที่ยวตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนไปดูมหรสพ ชวนเล่นการพนัน
Q1: เพื่อนร่วมงานที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก ไม่ฟังคนอื่น
A: คนแบบนี้ไม่ใช่คนไม่ดี (ปาปมิตร) เพียงแต่เขาไม่มีทักษะในการทำงานกับผู้อื่น เราอาจต่างคนต่างอยู่กับเขาก็ได้ หรืออาจเป็นมิตรแนะประโยชน์ก็ได้
1) ต้องไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง ไม่หงุดหงิด ไม่พอใจเขา
2) แนะนำวิธีให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
3) ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา ให้เขามีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง
- ถ้าหากว่าเราสามารถนำธรรมะ เข้าไปสู่องค์กรได้ พฤติกรรม และทัศนคติของคนในองค์กรที่มีศีล สมาธิ ปัญญา จะมีจิตใจที่นุ่มนวลลง จะเป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร
Q2: ลูกน้องลางานบ่อย
A: หน้าที่ของเจ้านายอย่างหนึ่ง คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของลูกน้องลดลง เจ้านายก็ต้องปรับงานในสิ่งที่เขาทำได้ ให้ทำงานลดลงตามความสามารถ และให้เงินเดือนลดลงตามความสามารถนั้น, ให้พูดคุยทำความเข้าใจกับลูกน้องว่ามีปัญหาอื่นหรือไม่
Q3: ลูกน้องดื้อรั้น
A: ลูกน้องหากไม่ทำตามหน้าที่ จะเป็นภัยต่อองค์กรทันที และจะมีการกระทบกระเทือนกันตามมาอย่างแน่นอน ก็ต้องให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับงานของลูกน้องไม่ให้กระทบกระเทือนกับคนอื่น ให้ลูกน้องคนนั้นออกจากงาน
- คนที่มีจิตใจที่แข็งกระด้าง จะทำให้มีจิตใจนุ่มนวลอ่อนลงได้ ต้องมีการฝึกสมาธิ ฝึกจิตให้เป็นอารมณ์อันเดียว บางบริษัทจึงมีการให้พนักงานไปฝึกสมาธิปีละครั้ง จัดกิจกรรมฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
Q4: ลูกน้องมีปัญหาส่วนตัวมาก ส่งผลต่อการทำงาน
A: ดูก่อนว่าพื้นฐานจิตใจเขาเป็นคนดีหรือไม่ (เทวดา พรหมโลก สัตว์นรก) เกิดมามืดหรือสว่าง หากเราจะเป็นมิตรมีอุปการะ แนะประโยชน์ให้เขาไปทางดี ทำได้โดย
- ทางกาย – ให้ทรัพย์
- ทางวาจา - พูดดีด้วย
- ทางใจ – มีกรุณา (ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์) และอุเบกขา
Q5: กรรมของผู้ที่ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่น
A: การพูดที่มีเจตนายุยงให้เขาแตกกัน ถ้าทำมาก ๆ ก็จะไปตกนรก โทษเบา ก็จะทำให้เป็นคนที่แตกจากมิตร ไม่มีใครคบด้วย อย่าไปแช่งเขา เพราะโทษจะเกิดกับเราเอง อย่าไปนินทาตอบ ให้อดทน เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง เอาชนะคำนินทาลับหลัง ด้วยการพูดอ่อนโยน จะเป็นการเอาชนะได้อย่างยั่งยืน
Q6: เด็กเส้นในที่ทำงาน
A: อย่ามีอคติกับเขา จะเป็นการไม่ปฏิบัติตามธรรม จะมีช่องให้มารเข้ามาได้ บาปกรรมก็จะให้ผลกับเรา ควรรักษาความดีของเราไว้ แนะนำให้เขาไปในทางดี องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 26 May 2024 - 52min - 291 - ทำชีวิตให้รุ่งเรืองด้วย “จักร 4” [6721-1u]
วิธีแก้ปัญหาทะเลาะกับเพื่อนบ้าน
- ผู้ฟัง 2 ท่าน ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน แต่เมื่อได้ฟังธรรมะ ได้ฝึกแผ่เมตตาให้กับเพื่อนบ้าน และตนเอง ได้ฝึกกรุณา และอุเบกขา อยู่ 6 ปี สถานการณ์ก็ดีขึ้น ไม่มีการเพ่งโทษกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- ถ้าเรามีธรรมะอยู่ในจิตใจแล้ว ลักษณะการแก้ปัญหาจะเป็นไปในลักษณะที่ไม่สุมความแค้นให้กันและกันมากขึ้น วิธีการที่พระพุทธเจ้าแนะนำ คือ ให้เราแผ่เมตตา และวางอุเบกขาเมื่อเขาทำอะไรให้เราไม่พอใจ นั่นประกอบด้วยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญาศาตราในการแก้ปัญหา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จิตใจคนเรามันเปลี่ยนแปลงกันได้ เรียกว่า เป็นการแก้ปัญหาโดยธรรม ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน และเป็นผลดีทั้งสองฝ่าย
- เมื่อถูกทำร้ายหรือถูกเบียดเบียน ให้ตอบโต้ด้วยวิธีการ 4 อย่าง ดังต่อไปนี้ จะเป็นการรักษาทั้งตนเอง และผู้อื่นด้วย
1) อดทน 2) มีเมตตาจิต 3) มีความรักใคร่เอ็นดู 4) ด้วยความไม่เบียดเบียน
“จักร 4” ธรรมที่ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
- จักร 4 เป็นธรรมะ ที่จะทำให้เรารักษาตนในชีวิตประจำวัน ให้มีธรรมะที่ประกอบไปด้วยสัมมาอาชีวะ รักษาให้จิตให้ดีอยู่ได้ หากการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เดือน ปี ของเรา วนอยู่กับ 4 เรื่องดังต่อไปนี้ ชีวิตจะดีขึ้นอย่างแน่นอน
- “จักร 4” เหตุ 4 ประการ ที่จะทำให้คนที่ประกอบถึงธรรมพร้อมแล้ว หมุนไปเรื่อย ๆ ถึงความเป็นใหญ่ ถึงความไพบูลย์ เจริญรุ่งเรืองในโภคะทั้งหลาย (ทรัพย์สินเงินทอง) ต่อกาลไม่นานนัก ได้แก่
1) การอยู่ในถิ่นที่ดี
2) การสมาคมกับคนดี
3) การตั้งตนไว้ชอบ
4) ความเป็นผู้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 19 May 2024 - 57min - 290 - การเชื่อมจิต [6720-1u]
Q1: การเชื่อมจิต
A: ปาฏิหาริย์มี 3 อย่าง
1) อิทธิปาฏิหาริย์ = การเหาะเหินเดินอากาศ ทะลุกำแพง
2) อาเทศนาปาฏิหาริย์ = รู้วาระจิต ลักษณะนิสัย ความคิด
3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถทำตามได้และเกิดผลตามนั้นได้จริง เช่น สมาทานศีลแล้วผู้นั้นรักษาศีลห้าได้ เกิดความสบายใจ ไม่ร้อนใจ การทำสมาธิแล้วเกิดความสงบขึ้นในใจ นี่คือปาฏิหาริย์
- “การเชื่อมจิต” อยู่ในหมวดอาเทศนาปาฏิหาริย์ มี 3 แบบ
1) พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ จะรู้สังเกตดูจากชั้นเชิงของมหาชน = รู้ว่าคนนี้เป็นคนธรรมดา ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เป็นคนพิเศษ ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เหมาะสมกับงานอะไร ต้องการอะไร รู้อุปนิสัย การกระทำ สิ่งที่เขาชอบ ซึ่งสามารถรู้ได้โดยอาศัยการสังเกต
2) รู้วาระจิตของคนอื่น (เจโตปริยญาณ) = รู้ว่าในใจเขาคิดอะไร ทั้งก่อนหน้าและปัจจุบัน ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกลกัน
3) หูทิพย์ = ได้ยินเสียงในที่ไกล เสียงทิพย์หรือเสียงของมนุษย์
- พระพุทธเจ้าเตือนไว้ว่าอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ไม่ให้แสดง เพราะจะเกิดประโยชน์น้อย โทษมาก แต่ทรงสนับสนุนให้แสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์
- ดังนั้น เวลาที่ได้ยินเรื่องราวปาฏิหาริย์เหนือมนุษย์ ก็ให้ฟังไว้ มีทั้งจริงและไม่จริง สิ่งที่ควรสนใจคือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทำให้เราหลุดพ้นได้จริง (อนุสาสนีปาฏิหาริย์) จึงจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา
Q2: ผู้ที่ไม่นับถืออะไรเลย
A: คนมี 3 ประเภท
1) คนไม่มีที่พึ่ง = ไม่สนใจใคร อยากทำร้ายใครก็ทำ
2) คนที่มีที่พึ่งที่ไม่เกษม = มีที่พึ่งแต่ยังไม่ถูกต้อง ยังไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้จริง เช่น พึ่งภูเขา ท้องฟ้า ผ้ายันต์ เครื่องรางของขลัง จะมีความยับยั้งชั่งใจบ้าง มีความกลัวละอายต่อบาปตามที่ที่พึ่งนั้นเขาบัญญัติขึ้นมา แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง หรือผู้ที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้อริยสัจสี่ (สีลัพพตปรามาส)
3) คนที่มีที่พึ่งอันเกษม = มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และเห็นอริยสัจสี่ด้วยปัญญาที่ชัดเจน พ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง
- ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหา คือ ต้องให้ปัญญากับสังคม เพื่อปรับทัศนคติให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้องให้มาในหนทางอันเกษม เช่น บอกต่อธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมา
Q3: บรรลุธรรมจากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว
A: ได้ เพราะจุดที่จะบรรลุธรรม มีเหตุปัจจัย คือ มีสมาธิ (เจโตวิมุตติ) และปัญญา (ปัญญาวิมุตติ) มีลักษณะที่อาสวะจะตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้จาก 5 สาเหตุ 1 ในนั้น คือ การฟังธรรม
- เหตุ 5 ประการที่ทำให้เกิดการบรรลุธรรม
1) เกิดเมื่อได้ฟังธรรม
2) เกิดเมื่อนั่งเงียบๆ แล้วนำสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาใคร่ครวญพิจารณา
3) เกิดขณะกำลังสอนคนอื่น แล้วตนเกิดความเข้าใจเอง
4) เกิดเมื่อได้ท่องธรรมะที่เคยได้ฟังมา (สวดมนต์) จิตใจมีความสงบ
5) เกิดเมื่อได้ตรึกตรองตามธรรมะที่เคยได้ฟังมา
- ถ้าเหตุแห่งการบรรลุธรรมมีอยู่ ผลแห่งการบรรลุธรรมก็ต้องมี เว้นแต่ ได้ทำอนันตริยกรรม 5 อย่าง ก็จะบรรลุธรรมไม่ได้
Q4: การไม่เกิดดีสุด แต่ยังมีการขอพรให้เกิดชาติหน้าเป็นสิ่งที่ดีกว่าชาตินี้ เช่น เทวดา เศรษฐี
A: พระพุทธเจ้าสอนว่า การเกิดเป็นทุกข์ (ชาติปิทุกขา) แต่เป็นเพราะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คิดว่าความเกิดเป็นสุข การเกิดไม่ได้มีสุขอย่างเดียว แต่มีทุกข์มาด้วย ทุกข์จะมาตอนที่ความเกิดแปรเปลี่ยนเป็นความตาย ดังนั้น ทุกข์ที่มาในสุข จึงไม่ใช่สุข
- เหรียญมีสองด้านเสมอ “เวลาเจอ ก็ต้องจาก” “เวลาได้ ก็ต้องเสีย” “เวลาสุข ก็ต้องทุกข์” “เวลาเกิด ก็ต้องตาย” วันหนึ่งเราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, สุขเวทนาวันหนึ่งจะแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
- ถ้าเข้าใจทุกข์ได้อย่างถูกต้อง ก็จะอยู่เหนือความทุกข์ได้
- ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเวลาที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป ก็จะยังเป็นผู้ที่มีความผาสุกอยู่ได้ เป็นผู้อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ได้
Q5: วิธีกำหนดจิตให้เข้มแข็ง
A: เมื่อเจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจ การรักษาจิตให้มีความผาสุกอยู่ได้ ต้องมี “สติ และสมาธิ” เปรียบเหมือนกับเยื่อบาง ๆ ที่หุ้มดอกบัวหรือใบบัว แม้โดนโคลนตมก็ไม่เปื้อนเพราะมีเกราะป้องกัน จิตของเราก็เช่นกันต้องมีเกราะป้องกันด้วย “สติ และสมาธิ”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 12 May 2024 - 55min - 289 - นิสัย 22 อย่าง ที่ควรละ [6719-1u]
อุปนิสัยของคนที่เคยบวชแล้วสึกออกไป (ทิด)
- หลังจากสึกแล้ว ออกไปอยู่ครองเรือน จะมีความรับผิดชอบขึ้น ใจเย็นขึ้น มีอุปนิสัยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าก่อนบวช แต่อุปนิสัยดี ๆ เหล่านั้น อาจจืดจางได้ ขึ้นอยู่กับว่าได้สร้างเหตุเพื่อรักษาความดีนั้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เช่น นั่งสมาธิ การคบเพื่อน เป็นต้น
นิสัย 22 อย่าง ที่ทำให้ชีวิตตกต่ำลง
1) ไม่ยอมตื่น–นอนในเวลาที่ไม่ควรจะนอน
2) เสพความบันเทิงมากเกินไป
3) ไม่เข้าหาบัณฑิต
4) แวดล้อมด้วยคนเทียมมิตร–เอาแต่ได้ มีภัยไม่ช่วย ปอกลอก ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง หัวประจบ ชักชวนไปในทางไม่ดี
5) อยู่กับศพ–อยู่กับคนไม่มีศีล
6) ไม่เปิดทางน้ำเข้า–ปิดกั้นไม่ให้มีทรัพย์สินเข้า ไม่ขยันทำมาหากิน ไม่หาแหล่งรายได้อื่น
7) ไม่ปิดทางน้ำออก–เปิดทางให้ทรัพย์สินไหลออก, อบายมุข 6 (ดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น การพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านในการทำงาน)
8) ไม่ทำงบประมาณ–ไม่มีสมชีวิตา ไม่รู้รายรับรายจ่าย ทำให้ไม่รู้จักสมดุล ไม่รู้จักการใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ (ใช้จ่ายในครัวเรือน รักษาทรัพย์ สงเคราะห์ผู้อื่น ให้)
9) ไม่ฝังทรัพย์–ไม่ทำบุญให้ทาน ไม่บริจาคในเนื้อนาบุญ
10) ไม่จ่ายหนี้–ไม่ดูแลบำรุงเลี้ยงบิดามารดา
11) ไม่ให้คนยืม–ไม่สงเคราะห์ผู้อื่น
12) เติมเนื้อไม้ใหม่–ไม่ศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของตน ศึกษาหาความรู้ที่ไม่ถูกทาง
13) มีตาเดียว–หาแต่ทรัพย์อย่างเดียว โดยไม่สนวิธีการได้มา (ตั้งอยู่ในศีลธรรมหรือไม่ เป็นกุศลธรรมหรือไม่ วิญญูชนติเตียนหรือไม่ ไม่มองเห็นอนาคตทางตรงด้วยสองตาขึ้นไป)
14) หวั่นไหวในโลกธรรม–ทำให้เกิดทุกข์ (ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์)
15) คำนึงถึงแต่สิ่งที่ล่วงไปแล้ว–จมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต
16) มุ่งหวังในสิ่งที่ยังไม่มาถึง–กลัวผิดพลาดในสิ่งที่ยังไม่เกิด ทำให้ไม่ทำอะไร (ต่างกับการตั้งเป้าหมายที่จะต้องใช้สองตา)
17) ไม่รับภาระ–ไม่สนใจใคร อยู่ใน comfort zone ไม่รู้จักพัฒนาตนด้วยการออกจาก comfort zone ทำให้ไม่เกิดความเจริญก้าวหน้า
18) ไม่สนทนาธรรมตามกาล–ไม่ทำข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญา ไม่หาฟังสิ่งที่ดีดี เช่น ธรรมะ และไม่สอบถามคำถาม ชีวิตก็จะพัฒนาได้ยาก
19) ไม่รู้ว่าวันนี้ชีวิตจะทำอะไร–ไม่มีแผนในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้
20) คิดลบอยู่เรื่อย–มองโลกในแง่ร้าย (อิจฉาริษยา ระแวง เคลือบแคลง ขี้เกียจ)
21) มีข้ออ้างทุกอย่าง–(ผัดวันประกันพรุ่ง) ชีวิตจะไม่สำเร็จ ก้าวหน้าไปไม่ได้
22) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค–ไม่รักษาสุขภาพ ไม่ออกกำลังกาย จิตใจจะดีได้ก็ต้องอาศัยร่างกาย
บทสรุป : นิสัยที่ไม่ดี 22 ข้อนี้ ถ้ามีแล้ว ชีวิตจะเสื่อมลง ต่ำลง ถดถอย แต่ถ้าปรับปรุงตัว ละนิสัยไม่ดี 22 ข้อนี้ได้ ชีวิตจะเจริญก้าวหน้า รุ่งเรือง เป็นมงคล มีแสงสว่าง อย่างแน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 05 May 2024 - 59min - 288 - การบรรลุโสดาบันในโลกปัจจุบัน [6718-1u]
Q1: โสดาบัน
A: โสดาบัน หมายถึง ผู้ที่จะไปถึงกระแส อยู่บนกระแส อยู่บนทาง เปรียบเหมือนกับการล่องแม่น้ำให้ออกไปสู่ทะเล คือ ทางที่จะไปสู่พระนิพพาน
- คุณสมบัติของโสดาบัน (โสตาปัตติยังคะ 4)
(1)–(3) มีศรัทธาอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (อจลศรัทธา): โดยศรัทธาจะเต็มได้ต้องควบคู่ไปกับการมีปัญญาพอสมควร รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรไว้ ไม่ทำในสิ่งที่ท่านไม่ได้สอน ไม่งมงาย ตั้งมั่นในเรื่องของกรรม จิตใจจะไม่เคลื่อนคล้อยไปทางอื่น เช่น การอ้อนวอนบูชาขอร้อง เสี่ยงเซียมซี ดูหมอดู แก้เคล็ด เป็นต้น หากไม่สบายใจก็จะหาคำตอบจากในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ไปหาคำตอบนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า
(4) มีศีล 5 ชนิดที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
- ความเป็นโสดาบัน (โสตาปัตติผล)
(1) จะมีศีล ชนิดที่ไม่ใช่สีลัพพตปรามาส-จะไม่งมงาย ไม่ใช่สายมู ทุกอย่างมีเหตุมีผล
(2) จะละสักกายทิฏฐิได้-เข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง
(3) จะละวิจิกิจฉาได้-ละความเคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจไปได้
- ประเภทของโสดาบัน 1. เอกพีชี (เกิดอีก 1 ชาติ) 2. โกลังโกละ (เกิดอีก 2-3 ชาติ) 3. สัตตักขัตตุงปรมะ (เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ)
- การบรรลุโสดาบันในยุคปัจจุบัน แม้คุณสมบัติการเป็นโสดาบันจะไม่ง่าย แต่หากเราใช้ ความเพียรในการสร้างเหตุ ความเป็นโสดาบันก็จะเกิดขึ้นได้ ให้ตั้ง “ความเพียร” ในการสร้างเหตุที่จะเป็นโสดาบัน ก็จะได้โสตาปัตติผลอย่างแน่นอน แม้จะยาก แต่ผลที่จะได้มันมาก ความทุกข์จะลดลงไปอย่างมาก ผู้ที่เป็นโสดาบันแล้ว ท่านเปรียบกับเศษฝุ่นที่ติดปลายเล็บกับปริมาณหินดินบนเทือกเขาหิมาลัย ปริมาณความทุกข์ของโสดาบันที่จะหมดสิ้นไปมากเท่านั้น ที่เหลืออยู่มีเพียงนิดเดียว
- การเป็นโสดาบันจะรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีเครื่องทดสอบให้ทำผิดศีล ให้ออกนอกเส้นทางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ก็จะทำไม่ได้ จิตใจจะไม่น้อมไป เมื่อคุณสมบัติโสดาบันครบตอนไหน ก็เป็นโสดาบันได้ตอนนั้น กรณีที่จะเป็นโสดาบันไม่ได้ คือ ได้ทำอนันตริยกรรม (ฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกกัน ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด)
Q2: ความเห็นไม่ตรงกับคู่ครอง
A: เป็นปัญหาของการใช้ชีวิตคู่ เป็นเรื่องยุ่งของการครองเรือน วิธีการป้องกันไม่ให้วุ่นวายไปกว่านี้ คือ อย่าทำผิดศีลและมีสัมมาวาจา หรือประพฤติพรหมจรรย์
Q3: ให้ทานมากจนไม่เหลือไว้ใช้จ่าย
A: การห้ามไม่ให้ผู้อื่นให้ทาน ไม่ใช่มิตรแท้แต่เป็นคนพาล และการให้ทานแล้วเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นก็ไม่ถูกต้อง
- คนฉลาดในการให้ทาน 1) ด้วยศรัทธา 2) ด้วยความเคารพ 3) ในเวลาที่เหมาะสม 4) มีจิตอนุเคราะห์ 5) ไม่กระทบตนและผู้อื่น หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง บุญก็จะเศร้าหมองลง
- วิธีแก้ปัญหาการให้ทานมากเกินไป ให้จัดทำงบประมาณกันเงินไว้สำหรับการทำทาน เพื่อไม่ให้กระทบตนและเพื่อผู้อื่น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 28 Apr 2024 - 47min - 287 - ชนะกิเลสด้วย "ปัญญาวุธ" [6717-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: ภรรยาพาลูกหนีออกจากบ้าน
- ท่านผู้ฟังรายนี้เจอเหตุการณ์ภรรยาพาลูกหนีมา กทม. โดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดคำถามข้องใจและความเป็นห่วงมาก จิตใจไม่เป็นสุข แต่เมื่อได้ฟังพระสูตร ก็รู้สึกเย็นขึ้น จิตใจสงบลง ระงับความคิดฟุ้งซ่านลงไปได้บ้าง
- เมื่อจิตใจเบา นุ่มนวล เย็นอยู่ในภายใน ก็จะสามารถหาวิธีการอื่นที่เหมาะสม นุ่มนวล ไม่เนื่องด้วยอาชญาศาสตรา เป็นไปด้วยคุณธรรม คือ ความสามัคคี เมตตา ให้อภัย หาทางออกที่เป็นกุศลธรรม ชนะทั้งสองฝ่าย ทั้งตัวเราก็ได้ประโยชน์ คือ มีกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตใจ อีกฝ่ายก็ได้รับความต้องการอย่างถูกต้อง มีกุศลธรรมเกิดขึ้น ด้วยการมีธรรมะเข้าไปแทรกเอาไว้
- สำคัญ คือ “ปัญญา” เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นคุณมี “เครื่องมือ” ที่จะใช้งานเพื่อแก้ปัญหานั้นหรือไม่
- “อาวุธ” ที่จะนำไปใช้เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มันเร่าร้อน กดดัน บีบคั้นในทุก ๆ ด้าน ก็คือ “ปัญญา” พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “ปัญญาวุธ”
- กรณีผู้ฟังท่านนี้ ใช้ธรรมะที่ได้ฟังมาปรับให้เกิดอาวุธ คือ ปัญญาในจิตใจของตน จัดการกับสิ่งที่เป็นอกุศลในใจให้มันออกไป (ความคิดฟุ้งซ่าน ตำหนิติเตียนผู้อื่น) ให้จิตใจยังเย็นสบายอยู่ได้ นี่คือตัวอย่างการใช้ปัญญาวุธ
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ปัญญาวุธ
- ปัญญา คืออะไร? ท่านจัดสัมมาสังกัปปะไว้ร่วมกับสัมมาทิฏฐิ สังเคราะห์ลงในส่วนที่เรียกว่าปัญญา การที่เราคิดเรื่องนั่นนี่ นั่นแหละคือปัญญาแล้ว เช่น วันนี้จะขายของอะไร ที่ไหน จะคุยกับหัวหน้ายังไง ขับรถไปไหน ความคิดทั้งหมด คือ ปัญญา ทุกคนมีปัญญา แค่เรามีความคิดก็มีปัญญาแล้ว จะถูกหรือผิดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
- ถ้าเราตริตรึกไปทางไหนมาก จิตเราจะน้อมไปทางนั้น จิตเราน้อมไปทางไหนมาก สิ่งนั้นจะมีพลัง นี่เป็นเทคนิคหนึ่งที่จะฝึกปัญญาของเราให้มีพลัง คนฉลาดก็กลับเป็นคนโง่ได้ และคนโง่ก็กลับเป็นคนฉลาดได้ ขึ้นอยู่กับแนวคิดของปัญญาว่าไปทางไหน
- ปัญญาควรใช้ไปในทางที่ไม่คิดคดโกง เบียดเบียดผู้อื่น ไม่ใช้ปัญญาไปในทางตระหนี่ ให้รู้จักการแบ่งปัน และควรใช้ปัญญาหาความสงบให้จิตใจด้วย และควรมีมิตรที่ฉลาดมีปัญญา ไม่คบคนพาล
- “ปัญญาวุธ” เป็นปัญญาที่เอาชนะ กำจัดจิตใจที่ไม่ดี กำจัดกิเลส ให้เป็นผู้ที่มีจิตใจที่สงบได้
- ปัญญาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำเนินชีวิตไปในทางต่างๆ โดย “ความคิด” เป็นตัวที่ทำให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาเกิดจากการคิดธรรมดานี่แหละ แล้วคิดต่อเนื่องต่อไปๆ ปัญญาก็จะพัฒนาเติบโต เช่น ปัญญาในการทำมาหากินที่ดี ไม่คดโกง เบียดเบียน จากนั้นพัฒนาไปในการแบ่งปันทรัพย์ที่หามาได้ ต่อมาก็พัฒนาปัญญาไปในทางทำให้จิตใจมีความสงบ เป็นต้น
- เมื่อเรารู้จักคิดไปในทางที่ดี สัมมาทิฏฐิก็จะเกิดขึ้น จะค่อยพัฒนาสัมมาสังกัปปะของเราไป ให้ไปตามทางที่ทำให้มีปัญญามากขึ้นๆ เราจึงสามารถสร้างอาวุธ คือ ปัญญาสุดท้ายในการกำจัดกิเลสที่อยู่ในจิตใจของเรา ให้เราเป็นผู้ที่มีความสงบเย็น มีความพ้นทุกข์ รักษาตนให้พ้นจากภัยในวัฏฏะได้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 21 Apr 2024 - 56min - 286 - ทำชีวิตให้เจริญ ทั้งทางโลกและทางธรรม [6716-1u]
Q1: การสวดมนต์โดยไม่รู้ความหมาย
A: เหตุที่ต้องสวดมนต์เป็นภาษาบาลี เพราะการสาธยายธรรมด้วยภาษาที่เป็นต้นฉบับจะเป็นไปเพื่อรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์ภาษาบาลีแม้ไม่รู้ความหมาย แต่เมื่อบทสวดมนต์ทั้งหลายเป็นพุทธพจน์ ซึ่งเป็นคำดี การเปล่งเสียงพูดออกไปก็ย่อมเป็นสิ่งดี แต่ถ้ารู้ความหมายด้วยและทำให้จิตใจสงบด้วยก็จะดียิ่งขึ้น
- การสวดมนต์มี 3 ขั้นตอน 1. คำพูดที่ออกจากปากเป็นบทสวดมนต์ที่เป็นพุทธพจน์หรือไม่ 2. รู้ความหมายของคำพูดนั้นหรือไม่ 3. ทำให้จิตใจสงบหรือไม่ อาจทำได้ไม่ครบ 3 ขั้นตอน ก็ยังดีกว่าไม่สวดมนต์เลย
- “ทำนองการสวดมนต์” พระพุทธเจ้าไม่ให้สวดด้วยเสียงโดยยาว (เอื้อน สูง-ต่ำ) เพราะจะทำให้เกิดความกำหนัดได้ (เสียงเพลง) ทรงอนุญาตให้สวดเป็น “ทำนองสรภัญญะ” ได้ คือ ท่องสวดเป็นจังหวะ มีลักษณะเป็นคำฉันท์ คำคล้องจอง บทกลอน เป็นเทคนิคให้จำได้ง่ายขึ้น เพื่อสืบต่อคำสอน
Q2: ทำชีวิตให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
A: วิธีทำให้ “เจริญทางโลก” ประกอบด้วย 4 อย่าง
1. มีความขยันหมั่นเพียรในงาน (อุฏฐานสัมปทา)
2. รู้จักรักษาทรัพย์ (อารักขสัมปทา)
3. มีมิตรดี (กัลยาณมิตตตา) - มิตรที่มีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ที่ทำให้เราเกิดกัลยาณธรรม
4. มีสมดุลในชีวิต (สมชีวิตา) - ให้รายรับท่วมรายจ่าย รายจ่ายที่ควร 4 อย่าง คือ (1) เลี้ยงดูครอบครัว (2) ลงทุนหรือเก็บไว้ในวันฝนตก (3) สงเคราะห์ผู้อื่น (4) ทำบุญ
- คาถาเศรษฐี “อุ อา กะ สะ” มีที่มาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า 4 ข้อนี้ ไม่ใช่แค่ท่อง แต่ต้องนำไปทำด้วย
- วิธีทำให้ “เจริญทางธรรม” ประกอบด้วย 4 อย่าง
1. ศรัทธา - ความมั่นใจ ไม่ใช่ความงมงาย ศรัทธาที่ถูกต้องต้องประกอบด้วยปัญญา คือ มีความเชื่อมั่น มั่นใจในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่าทรงตรัสรู้ดีแล้ว, สิ่งที่ท่านตรัสรู้/คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่บอกสอนไว้ดีแล้ว, ใครก็ตามที่ปฏิบัติตามคำสอนนั้นจะต้องดีขึ้นมาได้ ให้มั่นใจในการลงมือปฏิบัติ มีเหตุต้องมีผล
2. ศีล - ศีล 5
3. จาคะ - การให้ การบริจาค รู้จักสละออก (ให้แบบสงเคราะห์ / ให้เพื่อหวังเอาบุญ)
4. ปัญญา - ฝึกให้เห็นความเกิดดับของสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นของไม่เที่ยง
- “ด้วยความขยันหมั่นเพียร รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ มีเพื่อนดี รู้จักรายรับรายจ่าย จะทำให้เจริญทางโลก และด้วยศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา จะสามารถรักษาจิตให้อยู่ในทางธรรม เมื่อแก่ตัวลง สิ่งที่เราสะสมเหล่านี้จะมีกำลังมากขึ้น มีอินทรีย์แก่กล้ามากขึ้น เป็นปัจจัยให้เจริญทางธรรมต่อไปได้”
Q3: หมดไฟในการทำงาน
A: พระพุทธเจ้าอาศัยอิทธิบาท 4 ทำให้งานของท่าน คือ การเป็นพระพุทธเจ้าสำเร็จได้ เหล่าพระอรหันต์ทั้งหลายต่างสำเร็จความเป็นอรหันต์ได้ก็เพราะเจริญอิทธิบาท 4 ดังนั้น งานของเราซึ่งเป็นงานธรรมดา จะสำเร็จได้ก็ด้วยอิทธิบาท 4 เช่นกัน งานที่ถูกเติมด้วยอิทธิบาท 4 จะกลายเป็นมงคลในชีวิตทันที ถ้าตั้งจิตไว้ถูก
- อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย
1. ฉันทะ - ความพอใจ รักในงานที่ทำ
2. วิริยะ - ความแข็งใจทำต่อไป ไม่เลิกแม้เจออุปสรรค วิริยะคือความมีระเบียบวินัย (ทำในสิ่งที่ต้องทำ ไม่ว่าจะอยากทำหรือไม่ก็ตาม)
3. จิตตะ - การเอาใจใส่ ตรวจสอบ ตรวจตรา ว่าทำถูกต้องหรือไม่
4. วิมังสา - การพิจารณา ตรวจตราเพื่อพัฒนาแก้ไขปรับปรุง ใช้วิธีการที่ดีขึ้น
- โดยมี “สมาธิ” เป็นตัวเชื่อม ประคับประคองไม่ให้เข้มงวดเกินไป (ฟุ้งซ่าน) หรือย่อหย่อนเกินไป (ขี้เกียจ) ไม่ให้ส่ายไปในภายนอก ไม่ให้ตั้งสยบอยู่ภายใน ให้งานนั้นมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ขึ้นเป็นประธานด้วยอาศัยสมาธิอยู่ตลอด
Q4: วิธีอยู่ร่วมกันของเจ้านาย และลูกน้อง
A: ลูกน้องเป็นหนึ่งในทิศทั้งหก หัวหน้าต้องบริหารจัดการลูกน้องโดยไม่ใช้อาชญาหรือศาตรา แต่ให้ใช้เมตตากรุณา เป็นโค้ช สนับสนุน แนะนำให้ลูกน้องเกิดการพัฒนา มีความก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ 1. ให้ทำงานตามกำลัง 2. ให้อาหารและรางวัล 3. ให้รักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ 4. แบ่งของที่มีรสประหลาดให้ 5. ปล่อยให้อิสระตามสมัย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 14 Apr 2024 - 51min - 285 - เตรียมจิตด้วยปัญญาก่อนเจ็บป่วยมาถึง [6715-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: Party Girl กับคนบ้างาน
- ท่านผู้ฟังอดีตเคยเป็น Party Girl ชอบสังสรรค์ ดื่มเหล้า ส่วนอีกคนเป็นคนวิศวกร เงินเดือนสูง มุ่งมั่นในการงานและความก้าวหน้าของอาชีพมาก จนกระทั่งได้มีโอกาสไปหลีกเร้น ช่วงที่นั่งสมาธิเกิดความคิดแจ่มแจ้งขึ้นมาว่าการดำเนินชีวิตที่เป็นอยู่ไม่ใช่ “ทาง” จะเอามาเป็นหลักไม่ได้ จึงเลิกสังสรรค์ และลาออกจากงาน แล้วหันมาสนใจปฏิบัติธรรม ทำสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หาทางพ้นทุกข์ ตั้งหลักในการดำเนินชีวิตใหม่ คือ การเป็น “โสดาบัน” ในชาตินี้
- การอยู่หลีกเร้นไม่คลุกคลีกับใคร ทำให้ได้ฝึกสติ เกิดสมาธิ ทำให้จิตสงบ เกิดปีติ สุข จึงเกิดปัญญาว่า การแสวงหาความสุขจากการปาร์ตี้ แต่งตัว กิน ดื่ม ตำแหน่งงานสูง เงินเดือนสูง อันนี้ไม่ใช่ทาง แม้ทั้งสองจะอายุไม่มาก ยังเจอทุกข์ไม่มาก แต่มีปัญญามาตามทางมรรค เริ่มเห็นได้ว่า สุขมันก็ทุกข์เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าการมีเงินทองจะเป็นทางออกให้พ้นทุกข์ได้ ด้วยความไม่ประมาทจึงหันมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้มากขึ้นดีกว่า
ช่วงสมการชีวิต:เตรียมจิตด้วยปัญญาก่อนเจ็บป่วยมาถึง
- สุขภาพกาย สุขภาพใจ ต้องดูแลทั้งสองส่วนคู่กัน
- “สุขภาพกาย” พระพุทธเจ้าให้แนวทางไว้ว่า
1) อาหาร - 1. กินพืชมากกว่าเนื้อสัตว์ 2. กินเป็นเวลา 3. กินพอประมาณ
2) ที่อยู่ - ถ้าอยู่ที่ไหนแล้วยังละกิเลสไม่ได้เหมือนเดิม หรือกิเลสที่เคยละได้แล้วกลับมาอีก ก็ไม่ควรอยู่ที่นั่น
3) น้ำดื่ม - ให้กรองน้ำก่อน ไม่ให้มีตัวสัตว์ ให้น้ำมีความสะอาดเพื่อจะดื่มได้
- “สุขภาพใจ” ใครก็ดูแลไม่ได้นอกจากตัวเรา
- ราคะ โทสะ โมหะ เป็นโรคของจิต ถ้าจิตป่วย กายก็จะป่วยตาม จึงต้องไม่ทำให้จิตใจป่วย คือ อย่าให้มีราคะ โทสะ โมหะ ชนิดที่ควบคุมไม่ให้ผิดศีลไม่ได้
- นอกจากมีศีลแล้ว “สมาธิ” จะรักษาความสงบ รักษาการไม่มีราคะโทสะโมหะให้มันดีอยู่ได้ เช่น ไม่โกรธถึงขนาดด่าคน ซึ่งจะมีสมาธิได้ต้องมี “สติ” ตั้งเอาไว้ “สติ” ช่วยเสริมสร้างพลังจิต ให้จิตของเราตั้งอยู่ในศีลได้ ให้จิตของเราเวลามีอะไรมากระทบแล้วไม่ขึ้นลง ไม่มีราคะโทสะโมหะออกมาจนทำให้ผิดศีล สติเป็นตัวที่จะรักษาสุขภาพจิตใจของเรา วิธีฝึกสติ คือ “สติปัฏฐาน 4” เช่น อาณาปนสติ ดูลมหายใจ การมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกอิริยาบถ เป็นต้น
- นอกจากสติและศีลแล้ว ตอนที่เรายังไม่ป่วย ต้องมี “ปัญญา” เข้าใจธรรมชาติของความป่วย เปรียบเหมือนทหารที่ต้องเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าก่อนมีการประกาศสงครามจึงจะสามารถรักษาบ้านเมืองเอาไว้ได้ เราจึงต้องเตรียมปัญญาไว้ก่อน เพราะวันที่เราเจ็บไข้ได้ป่วยจะมาถึงแน่นอน
- ให้เข้าใจธรรมชาติของความเจ็บป่วยด้วย “ปัญญา” ว่า
1) ความเจ็บป่วยเป็นภัยที่แม่ลูกช่วยกันไม่ได้
2) เราไม่มีความเป็นใหญ่เฉพาะตนในสิ่งนั้น เช่น สั่งให้แบ่งเวทนาจากความเจ็บป่วยให้ผู้อื่นไม่ได้ สั่งให้หมอรักษาตนให้หายไม่ได้
3) เวทนาจากความเจ็บป่วยนั้นเป็นไปตามฐานะ คือ เป็นไปตามเหตุปัจจัย บางทีอาจหายหรือระงับได้ด้วยปีติอันเกิดจากการฟังธรรมะ เช่น พระคิลิมานนท์ พระวักกลิ พระอัสสชิ พระสารีบุตร เป็นต้น
4) เป็นโลกธรรม 8 เป็นสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ คือ สุขทุกข์มีในเจ็บ/ไม่เจ็บ ในสุขเวทนาบางทีก็มีทุกข์มีสุขได้ ในทุกขเวทนาบางทีก็มีทุกข์มีสุขได้ คือ กุศลธรรม/อกุศลธรรม มีได้ทั้งในสุขหรือทุกข์
5) ต้องมีจิตใจที่อยู่ได้ด้วยการมีเป้าหมาย เช่น อิคิไก (ญี่ปุ่น) ความหมายของการมีชีวิตอยู่ ทำตนให้เป็นประโยชน์ ในทางพระพุทธศาสนามีอิทธิบาท 4 ทำให้อายุยืนได้ถึง 1 กัลป์
6) เวลาไปเยี่ยมผู้ป่วย ไม่ควรถามว่าว่าดีขึ้นไหม สบายดีขึ้นไหม เพราะเวทนาเป็นไปตามฐานะอยู่แล้ว สิ่งที่ควรถามคือ อดทนได้อยู่ไหม ไปให้กำลังใจ ด้วย 5 ข้อข้างต้น ไปพูดคุยเพื่อให้ “ผู้ป่วยเกิดความอาจหาญ ร่าเริงในธรรม”
- โดยสรุป : สุขภาพจิตที่ดีเริ่มจาก “สติ” รักษา “ศีล” ทำให้เกิด “ปัญญา” เมื่อมีสติ ศีล ปัญญาเป็นเครื่องมือแล้ว ก็จะรักษาสุขภาพจิตให้ดีได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 07 Apr 2024 - 58min - 284 - อดทน คือ ทุกสิ่ง [6714-1u]
Q1: อานิสงส์ของการสักการะพระบรมสารีริกธาตุ
A: พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สถานที่ที่ควรเห็นเพื่อให้เกิดความสังเวช คือ สังเวชนียสถาน 4 ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ซึ่งมีการสร้างเจดีย์ที่ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้
- การบูชาพระพุทธเจ้า ไม่ได้ทำเพื่อการอ้อนวอนขอร้องให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ทำเพื่อให้เกิดบุญกุศลที่เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งหนึ่งในปัญญาที่ต้องมี คือ การสลดสังเวชใจ คำว่า “สังเวช” ไม่ใช่เรื่องไม่ดี สังเวชเกิดแล้วดีเพราะทำให้เกิดความตื่นตระหนักขึ้น ต่างกับเสียใจที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ ร่ำไห้คร่ำครวญ ส่วนสังเวช (sense of urgency) จะมีความรีบเร่งที่จะดับไฟที่ไหม้ตนอยู่โดยไม่พึ่งพาใครก่อน
- บุญจากการสักการะพระบรมสารีริกธาตุ มี 2 อย่าง (เป็นบุญให้ไปเกิดในสวรรค์ได้)
1. บุญที่เกิดจากอามิสบูชา เช่น การยกมือไหว้ ถวายของ เวียนประทักษิณ เดินจงกรม
2. บุญที่เกิดจากจิตใจที่มีศรัทธา มีปัญญา เกิดความสลดสังเวชใจว่า แม้พระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ปานนี้ก็ยังต้องปรินิพพาน สรีระเหลือเพียงเท่านี้ เกิดความสลดสังเวชใจ ให้เรายิ่งต้องรีบปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ให้เห็นธรรมที่ท่านเห็นแล้ว ให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ธรรมอันใดที่พระพุทธเจ้าเห็นแล้วขอให้เราเป็นผู้ที่มีส่วนแห่งธรรมนั้น” เพื่อจะสร้างเหตุตามท่านไป เพื่อให้มีปัญญาอันเดียวกัน
- ผู้ที่ไม่ได้เดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สามารถทำอามิสบูชาจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ เพียงแค่ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า (พุทธานุสติ) จิตก็ไปถึงเสมอเพราะจิตไม่ถูกจำกัดด้วยระยะทางหรือเวลา
- พระอาจารย์ได้ไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ได้รับ “พลังใจ” “เกิดปัญญา” ว่า แม้พระพุทธเจ้าก็ยังปรินิพพาน เกิดความสลดใจ ทำให้ “ตั้งหลักขึ้นได้ใหม่” “พลังจิตเพิ่มขึ้นมา” เห็นหลักว่า แม้ตัวพระพุทธเจ้าจะไม่อยู่แล้ว แต่เส้นทาง การปฏิบัติตามมรรค 8 หนทางให้พ้นทุกข์ยังมีอยู่ ให้เราเพียรปฏิบัติต่อไป ก็จะตามท่านไปได้
Q2: เมื่อเห็นสัตว์เบียดเบียนชีวิตกัน
A: แนวคิดทางพระพุทธศาสนา คือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” จึงให้ตั้งจิตของเราไว้ด้วยกับ “เมตตา” และ “อุเบกขา”
- เมตตาต้องมาพร้อมอุเบกขา คือ เมตตาทางใจต้องให้ได้อย่างไม่มีประมาณ แต่ให้ไปหยุดอยู่ที่อุเบกขา
- อุเบกขา คือ ความวางเฉยในผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ โดยดูบริบทและความเหมาะสมของสถานการณ์ด้วย อุเบกขาไม่ใช่การปล่อยปละละเลย ไม่สนใจ ไม่แยแส อุเบกขาจะเป็นตัวหยุดความเสียใจ กังวลใจ ฟุ้งซ่าน กำจัดโมหะ
Q3: หนังสือ อดทน คือ ทุกสิ่ง
A: ความอดทนมี 4 ระดับ
1) อดทนได้แบบสบาย (ตีติกขาขันติ)
2) อดทนได้แบบอดกลั้น (อธิวาสนขันติ) – แม้เกิดความไม่พอใจแต่อดกลั้นไม่ให้อกุศลธรรมในใจ (โทสะ การผูกเวร) เกิดขึ้นได้
3) เก็บกด – เกิดอกุศลธรรมในใจ (มิจฉาทิฎฐิ พยาบาท ผูกเวร) แล้ว แต่ไม่ได้แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา
4) อดทนไม่ได้ (ขันแตก)
- “ความอดทน” อยู่ในทุกสิ่งในชีวิตของเรา สามารถเปลี่ยนจิตไม่ให้เกิดอกุศลธรรม กำจัดมิจฉาสังกัปปะ (คิดชั่ว) ทำให้เกิดปัญญาในการปล่อยวางอกุศลธรรมได้
- วิธีแก้ความอดทนไม่ได้ (เก็บกด, ขันแตก)
1. ใช้ปัญญาพิจารณาอนัตตา (ความไม่เที่ยง) เช่น เห็นเป็นเพียงลมที่ทำให้เกิดเสียงมากระทบหูให้ได้ยิน ไม่ได้มีตัวตน
2. ใช้ความเมตตา อุเบกขา คือ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ใครทำอย่างไรก็จะได้รับผลแห่งกรรมนั้น ก็จะปล่อยวางได้ โดยเริ่มจากทำจิตให้เป็นสมาธิ จากนั้นตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา แล้วเอาเหตุการณ์ที่ทำให้เก็บกด, ขันแตก มาแผ่เมตตาให้ตัวเองผ่านไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อจิตเราชุ่มอยู่ด้วยกับเมตตาแล้ว ความเก็บกดก็จะเกาะอยู่ที่จิตไม่ได้ ก็จะต้องถูกปลดปล่อยไป
Q4: ทำบุญกับพระในบ้าน (พ่อแม่) กับทำบุญที่วัด
A: บุญในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ไม่จำกัดว่าต้องไปทำบุญที่วัด หรือกับพระสงฆ์เท่านั้น ปริมาณบุญจากการให้ทานจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ด้วยความมีศีลของผู้ให้และผู้รับ และของที่ให้ทานบริสุทธิ์ ไม่ได้ขโมยมา มีความประณีต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 31 Mar 2024 - 56min - 283 - เข้าใจสุขทุกข์ด้วยพยับแดด [6713-1u]
ช่วงไต่ตามทาง:
- การมองโลกในแง่ดีในทางพระพุทธศาสนา คือ การไม่คิดไปในทางที่เป็นอกุศล ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ประมาท ไม่เผลอเพลิน มีความระมัดระวังอย่างสูงไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจ
- คุณปฐวี เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว พอเจอเรื่องร้าย ก็ไม่ค่อยรู้สึกอะไร ปัญหาที่เคยรู้สึกว่าหนัก ก็กลายเป็นง่ายขึ้น เบาขึ้น มีแสงสว่างเกิดขึ้นในจิตใจ มีความร่าเริงแจ่มใสขึ้น เพราะสติที่ตั้งขึ้นไว้ได้ ทำให้จิตไม่ได้ไหลไปตามอารมณ์ความรู้สึกจิตใจตั้งมั่นอยู่ได้อย่างดี
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:
- เมื่อเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าแล้ว อย่าเอาแต่รักสุขเกลียดทุกข์ แต่ต้องเข้าใจสุขทุกข์ ผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “พยับแดด” พยับแดด ไม่ใช่ “ของจริง” แค่ “ดูเหมือนว่าจริง” คือ แม้เราจะเห็นแต่ไกลว่าข้างหน้าเหมือนมีน้ำอยู่บนถนน แต่เมื่อขับรถไปถึงจุดนั้นแล้วกลับไม่มีน้ำ มันไม่ใช่ของจริง การปรุงแต่งมองเห็นพยับแดดว่าเป็นสิ่งที่มีตัวตนนั้น เปรียบเหมือนกับทุกข์ที่เราปรุงแต่งไปก่อนหน้า ซึ่งเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ณ วินาทีนั้นแล้ว ทำให้ทุกข์ไม่ได้ลดลงและสุขไม่ได้มากขึ้น
- เราจะมาหาของจริง ในสิ่งที่ไม่ใช่ของจริงจะไปเจอได้อย่างไร ในพยับแดดมีแต่แสงแต่ไม่มีตัวตน “เราจะไปหาสุข ในสิ่งที่เป็นความทุกข์ ก็จะหาไม่เจอ เปรียบเหมือนกับการไปหาน้ำในตัวพยับแดด เราจะไม่เจอน้ำ สิ่งที่เจอจะมีเพียงความว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน”
- ผู้ที่เข้าใจเรื่องพยับแดด จะไม่ไปตามหาสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ อย่าไปคาดหวังจากพยับแดดที่จริง ๆ แล้ว มันไม่มีอะไร ก็จะไม่ทุกข์ นั่นคือ “การยอมรับ” พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “ปริญญา” คือ ความรอบรู้เรื่องทุกข์
- เมื่อเข้าใจทุกข์ ก็จะไม่ทุกข์ จะได้ “ความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา” คือ สุขที่เหนือกว่ากามสุข เป็นสุขที่เกิดจากความรู้ยิ่ง รู้พร้อม เย็น คือ นิพพาน เป็นความสุขที่เกิดจากปัญญาที่เหนือกว่าสุขเวทนาทั่วไป เป็นเวทนาที่ละเอียดลงไป พ้นจากทุกข์ที่เกิดจากตัณหา
- ผู้ป่วยที่เกิดทุกขเวทนา ความเจ็บปวดนั้นก็เหมือนพยับแดด ไม่สามารถที่จะเป็นตัวตน ไม่สามารถทำให้จิตใจหวั่นไหวได้ แม้แต่ความตายก็ไม่ใช่การสิ้นสุดจริง ๆ เพราะตายแล้วก็มีการเกิดใหม่ ไม่ว่าจะวิ่งหนีพยับแดด (ความเจ็บป่วย) หรือวิ่งเข้าหาพยับแดด (สิ่งปรุงแต่ง) ก็คืออันเดียวกัน อยู่ที่ว่ามองจากมุมไหนเพราะมันคือสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นธรรมดา
- บทสรุป: ปรากฏการณ์พยัพแดด มีอยู่ทุกขณะในชีวิตของเรา เป็นสิ่งที่คนรักสุข เกลียดทุกข์ ต้องเข้าใจ จะทำให้มีสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนา พ้นจากความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา ได้ความสุขที่เกิดจากปัญญาอย่างแน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 24 Mar 2024 - 57min - 282 - ธรรมะกับการระงับความเครียด [6712-1u]
Q1: การฟังธรรมช่วยจัดการความเครียด จริงหรือไม่
A: เมื่อเกิดความเครียดขึ้น การฟังธรรมย่อมดีกว่าการหาความสุขทางกามแน่นอน แต่ต้องฟังให้ถูก
- วิธีฟังธรรมเพื่อคลายความเครียด
1. ต้องมีศรัทธา โดยเริ่มจากเลือกหมวดธรรมะที่เราพอใจ มีศรัทธาที่จะฟังก่อน
2. ขณะฟังธรรม อย่าเพ่งโทษติเตียน ให้มีจิตนอบน้อมในการฟังธรรม
- การฟังธรรมช่วยให้คลายเครียดได้ เนื่องจากเสียงเป็นเครื่องล่อให้จิตสงบได้ ทุกเสียงที่ได้รับฟังจะมีอารมณ์ติดมาด้วยเสมอ ให้เลือกฟังแต่สิ่งที่ดีดี จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีกำลังเสมอ ถ้าฟังธรรม จิตก็จะมีกำลัง สติปัญญาก็จะเกิดขึ้น ความเครียดก็จะระงับไปเอง
Q2: วิธีรวมสมาธิให้ได้เร็ว
A: ต้องมีสัมมาสติก่อนจึงจะมีสัมมาสมาธิ โดยสัมมาสติเกิดจากการปรารภความเพียร มีศีล มีสัมมาวาจา ทั้งนี้ ต้องมีศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ได้แก่ การรู้ประมาณเพื่อการบริโภค การนอนยามเดียว ไม่นอนกลางวัน การสำรวมอินทรีย์ การอยู่หลีกเร้น การสันโดษในบริขารแห่งชีวิต การอยู่ง่าย กินง่าย การรับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น เป็นต้น สิ่งแวดล้อม สถานที่ คนรอบตัว สิ่งของที่ใช้ การกระทำอื่น ๆ ก็มีผลต่อการนั่งสมาธิ สำหรับพระอาจารย์จะใช้วิธีแผ่เมตตาด้วย สมาธิเป็นทักษะ สามารถฝึกได้ ยิ่งฝึก ยิ่งได้ ให้ใส่ความเพียร การพัฒนาลงไป
Q3: การบังเอิญเจอคนหนึ่งบ่อย ๆ เคยทำบุญร่วมกันมา ใช่หรือไม่
A: อาจเป็นเหตุบังเอิญหรือเกิดจากกรรมเก่าก็ได้ ถ้าคิดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับเราด้วยเหตุแห่งกรรมเก่าทั้งหมด ความคิดนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ คนที่จะรู้อย่างรอบคอบว่าเกิดจากกรรมเก่าหรือไม่ต้องมีความสามารถระดับพระพุทธเจ้า แต่ไม่มีประโยชน์ที่จะรู้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือกรรมเก่า แต่ให้สนใจ และเข้าใจว่า สิ่งนี้คือผัสสะ ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ถ้ามีผัสสะก็จะมีเวทนา ถ้ามีเวทนาก็จะมีความทุกข์ ถ้ามีความทุกข์ก็ต้องแก้ทุกข์ ตรงนี้จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ
Q4: คนไม่ถูกกันในที่ทำงาน เป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือไม่
A: ในสังสารวัฏนี้ ทุกคนเป็นเจ้ากรรมนายเวรกันหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า “อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร” คือ อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก ต้องให้อภัย มีเมตตา ไม่ผูกเวร เมื่อเจอคนไม่ถูกกันในที่ทำงาน เราต้องรักษาตัวเอง โดยตอบโต้ด้วยความอดทน ไม่เบียดเบียน มีเมตตาจิต รักใคร่เอ็นดู การแผ่เมตตาก็ช่วยได้ แก้ความโกรธด้วยเมตตา แก้การผูกเวรด้วยการให้อภัย เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร ก็จะดีขึ้นมา
- วิธีแผ่เมตตา เริ่มจากให้จิตเป็นสมาธิ แล้วตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตาเหมือนมารดาที่มีต่อบุตร แล้วกำหนดบุคคลนั้นเข้ามาในจิต แล้วแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์
Q5: บุญที่นอกเหนือจากการบวช
A: ฆราวาสสามารถบวชนอกเครื่องแบบได้ การบวช คือ การประพฤติพรหมจรรย์ รักษาศีล 8 เป็นอย่างน้อย บุญไม่ได้เกิดจากการบวชเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ด้วย
Q6: การแต่งกายมีผลต่อบุญในการใส่บาตรหรือไม่
A: คนที่มีศรัทธามากจะมีความประณีตออกมาให้เห็นจากอาหารที่ใส่บาตร การแต่งกาย ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
Q7: การสวดมนต์ทำให้ชีวิตดีขึ้น จริงหรือไม่
A: ถ้าสวดมนต์แล้วจิตเป็นอารมณ์อันเดียว จิตเป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวขึ้นลงไปตามสิ่งต่างๆ เจอผัสสะใดๆ แล้วยังรักษาจิตให้ดีอยู่ได้ อันนี้ชีวิตดีขึ้นแน่นอน ไม่ใช่สวดมนต์ด้วยความงมงาย ให้รักษาการกระทำทางกาย วาจา ใจ ของเราให้ดีตลอด แล้วชีวิตก็จะดีขึ้นแน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 17 Mar 2024 - 55min - 281 - ชนะความไม่พอใจในงานด้วยธรรมะ [6711-1u]
การทำงานมักมีปัญหาอยู่เป็นประจำ เวลามีคนโกรธหรือไม่พอใจเรา หากเราตอบโต้กลับด้วยความโกรธความไม่พอใจกลับไป เรื่องราวก็จะยิ่งขยายผล หากเป็นผู้ปฏิบัติธรรม จะชนะความโกรธได้ ด้วยการไม่โกรธตอบ จะเอาชนะความอิจฉาริษยาได้ ด้วยเมตตามุทิตา จะเอาชนะความตระหนี่ได้ ด้วยการให้ จะเอาชนะความเพ่งเล็งหาโทษใส่ความได้ ด้วยความสัตย์ความจริง (ความจริงใจ โอบอ้อมอารี)
เมื่อรู้ว่าตัวเองโกรธ แสดงว่ามีสติแน่ แต่ยังตัดไม่ได้ เพราะสติยังมีกำลังอ่อน ปัญญายังมีกำลังน้อย ก็ต้องเพิ่มสติเข้าไป ด้วยการฟังเทศน์ฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ แล้วตั้งใจใหม่ ตั้งปณิธานในวันใหม่ว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไร จะยิ้มสู้ จะไม่โกรธ จะแผ่เมตตาให้ทุกคนที่พูดด้วย ทุกที่ที่เดินไป ทุกสถานการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงแผ่เมตตาให้ตนเองด้วย”
วิธีตอบโต้ความไม่พอใจในที่ทำงาน 4 อย่าง ได้แก่ เมตตาจิต รักใคร่เอ็นดู ไม่เบียดเบียน และความอดทน ปัญญาก็จะเกิด เมื่อมีสติปัญญาเกิด ก็จะตัดความไม่พอใจ (โทสะ) ได้
ถ้าเราสามารถละความโกรธ ความไม่พอใจในที่ทำงานได้ ไปที่ไหนเราก็จะสบายใจแน่นอน
อย่าไปคิดว่างานมันยาก งานมันหนัก งานมันเหนื่อย แต่ความยาก ความหนัก ความเหนื่อย นี่แหละ มีค่า มีความหมาย มีคุณธรรมที่เราใส่ลงไป หากเราใส่คุณธรรมต่าง ๆ ลงไป ก็จะสามารถเอาชนะได้ เมื่อเราเอาชนะความโกรธความไม่พอใจในที่ทำงานได้ จิตใจเราก็จะเบา
“ฆราวาสธรรม 4 ประการ”
พระพุทธเจ้าเทศน์สอนอาฬวกยักษ์
1. สัจจะ (ความจริง) = ให้เป็นคนดีจริง ๆ มีความจริงใจ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ ไม่เป็นคนหลอกลวงหรือหน้าไหว้หลังหลอก ผลที่ได้รับ คือ ความเคารพจากผู้อื่น ความจริงใจจากผู้อื่น
2. ทมะ (การข่มบังคับใจ) = การฝึกฝนตน ปรับจิตใจตน แก้ไขนิสัยตน ให้มีลักษณะที่ดีขึ้นมา ด้วยสติปัญญา ผลที่ได้รับ คือ ไม่มีเวรกับใคร ยับยั้งตนไม่ให้ทำชั่วทำผิดได้ การงานออกมาดี
3. ขันติ (ความอดทน) = ความอดทน ขยันหมั่นเพียร พยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ทำจริง แน่วแน่จริง ไม่เพลินไปกับสิ่งมาล่อลวง ผลที่ได้รับ คือ การงานสำเร็จ เป็นหลักให้กับผู้อื่นได้
4. จาคะ (การสละออก) = การให้ การบริจาค เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น แสดงถึงการไม่ผูกเวร ผลที่ได้รับ คือ ฝึกจิตให้ละความตระหนี่ เป็นการละกิเลส
ฆราวาสธรรม 4 ประการ นอกจากทำให้ปัจจุบันอยู่เป็นสุข ไม่ผูกเวรกับใคร ฝึกฝนตน รักษาทรัพย์ได้ มีมิตร มีบริวาร แล้ว ยังทำตนให้มีความสุขในโลกหน้าได้อีกด้วย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 10 Mar 2024 - 1h 00min - 280 - วิธีกำจัดความเคยชิน [6710-1u]
Q1: ฝากเงินไปทำบุญ ผู้ฝากได้บุญหรือไม่?
A: ได้ กรณีพระเจ้าปายาสิทำทานเป็นประจำ โดยสั่งลูกน้องให้ไปทำแทน แต่พระเจ้าปายาสิตั้งจิตไม่ถูก ในขณะที่ลูกน้องตั้งจิตอธิษฐานถูกต้องว่า “ใคร มีสิ่งใดต้องการ ก็ขอจงมารับสิ่งนี้ไปให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลนั้น” เมื่อตายไป ลูกน้องได้ไปสวรรค์ในชั้นที่สูงกว่าพระเจ้าปายาสิ
วิธีตั้งจิตอธิษฐานเมื่อทำทาน ต้องเป็นการสละออกแบบไม่ได้ต้องการอะไรกลับมา ไม่อ้อนวอนขอร้อง เวลาให้ทานโดยไม่หวังอะไรตอบแทนจะได้บุญมากที่สุด และเมื่อบุญเกิด เราก็จะตั้งจิตอธิษฐานได้ การตั้งจิตอธิษฐาน หมายถึง การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ตั้งใจมั่นว่าจะคิดดี ทำดี พูดดี เพื่อเป็นเหตุให้สำเร็จอะไรก็ตามขึ้นมา (อธิษฐานสร้างเหตุนั่นเอง) ผู้ฝากทำบุญสามารถตั้งจิตอธิษฐานได้เองโดยไม่ต้องฝากใคร
Q2: ธรรมะที่ช่วยให้นึกถึงเรื่องดี มากกว่าเรื่องไม่ดี
A: ความเคยชินของจิต (อนุสัย) มักจะนึกถึงเรื่องไม่ดีที่ผ่านมาแล้ว เมื่อคิดตริตรึกไปในทางไหน จิตจะน้อมไปทางนั้น จิตน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลังขึ้นมา และจะมีอารมณ์ติดมากับความคิดนั้นเสมอ เช่น เมื่อนึกถึงตอนที่ถูกคนต่อว่า อารมณ์ความขัดเคือง ความไม่พอใจ (ปฏิฆะ) ก็จะติดมาด้วย หากไปตรงกับความเคยชินที่เคยถูกต่อว่ามาก่อน ก็จะเหมือนถูกกรีดซ้ำรอยเดิม (ปฏิฆานุสัย) วิธีที่จะกำจัดความเคยชินต้องตั้งสติขึ้น บังคับให้มันอย่าไปในร่องเดิม บังคับให้ไปทางอื่น ก็จะเป็นการลบรอยเก่า กำจัดแพทเทินเดิม เอาความเคยชินออกไป ต้องหยุดด้วยการตั้งสติ มีเมตตากรุณา ไปทางมรรค 8 คือ ให้ตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา เหมือนแม่รักลูก และเอาเหตุการณ์นั้นขึ้นมา แผ่เมตตาที่เรามีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายผ่านเหตุการณ์นั้น อารมณ์ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นมันจะเบาบางลงด้วยความเมตตา อารมณ์ความเคยชินแบบเก่าก็จะลดลง ต้องทำซ้ำบ่อยๆ ให้เกิดความเคยชินแบบใหม่ขึ้น
Q3: เหตุใดคนถึงสนใจธรรมะน้อยลง
A: บุคคลไม่เห็นทุกข์ก็จะไม่เห็นธรรม ทุกข์มี 2 อย่าง คือ ทุกข์ที่ทนได้ง่ายเห็นได้ยาก (สุขเวทนา) ทุกข์ที่ทนได้ยากเห็นได้ง่าย (ทุกขเวทนา) ผลของความทุกข์มี 2 ทาง ทางแรก คือ ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุบอกชกตัวถึงความเป็นผู้งุนงงพร่ำเพ้อ ทางสอง คือ แสวงหาทางออกว่าใครหนอ จะรู้ทางออกของความทุกข์นี้ สักหนึ่งหรือสองวิธี ซึ่งทางนั้นจะต้องมีองค์ประกอบ 8 อย่าง ตามทางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ จึงจะเป็นทางออกของปัญหาที่ถูกต้องได้ วิธีที่จะทำให้คนมาสนใจธรรมะได้ คือ ต้องให้ปัญญา
Q4: ผู้หญิงสนใจธรรมะมากกว่าผู้ชาย
A: ความเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงไม่ได้มีผลต่อการเห็นธรรมะง่ายหรือยาก มีสิทธิเข้าถึงธรรมะได้เท่ากัน
Q5: การฟังเพลง เล่นดนตรี เป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมหรือไม่?
A: การดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศลธรรมหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความกำหนัด ยินดี ลุ่มหลง เพลิดเพลิน สิ่งนั้นเป็นอกุศล ทำให้จิตมีความเพลินไป ก็จะผิดศีล 8 แต่ไม่ผิดศีล 5 เพลงขับที่พูดเรื่องธรรมะ โลกุตรธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสัมมาวาจา ไม่เป็นข้าศึกต่อกุศลธรรม
Q6: ความสุขในโลกนี้ไม่มี มีแต่ความทุกข์มากหรือทุกข์น้อย
A: ความสุขที่เกษมในโลกนี้ไม่มี สุขเวทนา คือ ความทุกข์ที่ทนได้ง่ายเห็นได้ยาก ทุกขเวทนา คือ ความทุกข์ที่ทนได้ยากเห็นได้ง่าย ที่เห็นว่าในโลกนี้มีแต่กองทุกข์ นั้น ถูกต้องแล้ว เราควรหาความสุขที่เกิดจากความสงบภายในตามทางมรรค 8 เป็นสุขที่อยู่เหนือกว่าสุขเวทนาและทุกขเวทนา
Q7: มีบุตรยาก เกิดจากกรรมเก่าหรือไม่?
A: อาจเกิดจากกรรมเก่า เช่น โพธิราชกุมาร ในอดีตชาติเคยกินไข่นก ลูกนก แม่นก เพื่อเลี้ยงชีวิตเป็นประจำ หรือเกิดจากเหตุปัจจุบัน เช่น ยา อาหาร สุขภาพ สารพิษ ก็ให้ทำความดีตามมรรค 8 ไปเรื่อย ๆ ความสุขหรือความทุกข์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีลูกหรือไม่มีลูก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 03 Mar 2024 - 54min - 279 - ความสมดุลระหว่างทางโลกกับทางธรรม [6709-1u]
เรื่องของนางกาณา ในสมัยพุทธกาล เป็นสตรีที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก แต่ไปแต่งงานไม่ทันเพราะใส่บาตรพระ ทำให้เจ้าบ่าวไปแต่งงานกับผู้หญิงอื่นแทนเพื่อให้ทันฤกษ์ยาม นางกาณาเสียใจมาก ตั้งแต่นั้นมา นางกาณาก็ด่าว่าติเตียนภิกษุ แต่ก็ยังมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาโปรด ปรับจิตใจนางกาณาและแม่ให้ยังมีศรัทธาอยู่ ให้เข้าใจสถานการณ์ อย่าหาบาปเพิ่มให้ตนเอง ให้ดำเนินชีวิตตามทางอริยมรรคมีองค์ 8 นางกาณาและแม่ได้ฟังแล้วก็บรรลุพระโสดาบัน ได้ทรัพย์อันยิ่งใหญ่มากกว่าการได้แต่งงาน
ถ้าเราเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจก็ตาม และเราพยายามรักษาตามมรรค 8 ไว้ได้ กิเลสก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะเราตั้งใจจะทำความดี รักษาจิตใจให้ดีเหมือนเดิม ในขณะที่โลกบีบคั้น ปัญญาก็จะเกิดขึ้นว่า โลกมันเป็นอย่างนี้ มีเกิดและดับ มีลาภ มีเสื่อมลาภ มีสุข มีทุกข์ ปัญญาจะเกิดขึ้นทันที
ความสมดุลระหว่างทางโลกกับทางธรรม ธรรมะมีหลายระดับ เช่น ระดับนักบวช ระดับผู้ครองเรือน การครองเรือนไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความยินดีในกามก็จะได้รับการเบียดเบียนจากกาม ถ้าในการดำเนินชีวิตของเราไม่ได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ได้มีธรรมะสอดแทรกเอาไว้ แล้วต้องเผชิญกับกาม จิตใจก็จะมีความวุ่นวาย มีความทุกข์ระทม
ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ สุขทุกข์ถ้ามีเหตุให้เกิดมันก็เกิด สุขทุกข์เป็นธรรมดา มีเกิดมีดับ เป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ว่าจะได้แต่สุข ไม่เอาทุกข์ ถ้าจิตใจเราแปรปรวนด้วยผัสสะที่มากระทบให้มีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ความสงบตั้งไม่ได้ ก็จะไปตามกระแส มองไม่เห็นทาง
ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา เป็นฆราวาสธรรม ต้องรักษาไว้ เป็นธรรมให้อยู่ครองเรือนได้อย่างเป็นสุข ธรรมะต้องอยู่แทรกไปในทุกการกระทำ ทุกความคิดของเรา เราต้องนำสติสัมปชัญญะมาตั้งธรรมให้ได้ เริ่มจากการมีความเข้าใจที่ถูกต้อง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายะมะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ทุกอย่างอยู่ในชีวิตประจำวันของเราได้แน่นอน ไม่ใช่ว่าต้องแยกกัน ให้เรามีธรรมะสอดแทรกเข้าไปในจิตใจของเรา เราจะสามารถรักษากาย วาจา และจิตใจ ให้อยู่ในทางโลกได้ทุกสถานการณ์ เมื่อมีธรรมะรักษาอยู่ในจิตใจแล้ว ก็จะสามารถปรับตัวแปรแก้สมการให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามทางที่จะมีนิพพานเป็นที่สุดจบได้แน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 25 Feb 2024 - 57min - 278 - วิธีรับมือกับคนเจ้าอารมณ์ [6708-1u]
Q1: วันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนอย่างไร
A: วันมาฆบูชา เป็นวันแห่งความรักของพระพุทธศาสนา เป็นความรักที่เป็นไปด้วยความเมตตาชนิดที่ไม่มีเงื่อนไข คือ ความรักที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1. ไม่มีเงื่อนไข 2. ไม่มีประมาณ ไม่กลัวหมด 3. ไม่เว้นใครไว้ หากเรารักคนอื่นด้วย 3 องค์ประกอบนี้ ไม่มองเห็นใครเป็นศัตรู มองทุกคนด้วยจิตใจที่เป็นมิตร ด้วยจิตใจที่มีความรักความเมตตาแบบนี้ เป็นสิ่งที่ควรเอามาปฏิบัติ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ก็จะทำให้มีจิตใจแบบพรหม อยู่เป็นสุขได้
Q2: วิธีรับมือกับคนเจ้าอารมณ์
A: การเงียบ ไม่ต่อคำด้วย อาจจะไม่จบเดี๋ยวนั้น แต่ในอนาคตก็จะจบ ค่อย ๆ ใช้เวลาระงับลง การพูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่พูด ให้พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในเวลาที่เหมาะสม และให้แผ่เมตตาให้บุคคลนั้นผ่านไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย เขาจะรับกระแสความรักความเมตตาจากเรา อารมณ์ร้อน โทสะของเขาก็จะเบาบางลง
วิธีแผ่เมตตา 1. ทำจิตให้เป็นสมาธิ-ตั้งสติขึ้นโดยใช้พุทโธหรือกำหนดลมหายใจ พอเกิดสติแล้ว จิตจะค่อยระงับลง เป็นสมาธิ สมาธิที่เกิดขึ้นจะเป็นกำลังในการส่งกระแสความเมตตาออกไป
2. ตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา-นึกถึงความรักของมารดาที่มีเมตตาต่อลูกชนิดที่ไม่มีประมาณ
3. ส่งกระแสความเมตตาออกไปให้บุคคลนั้นผ่านไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย-โดยเอาบุคคลนั้นตั้งเป็นอารมณ์ ความขัดข้องในใจของเราก็จะลดลงหรือหมดไปด้วยความเมตตา
4. แผ่เมตตาซ้ำไปเรื่อย ๆ จิตใจเราก็จะไม่มีความขัดเคืองใจ ไม่มีความอิจฉาริษยา จะมีแต่ความเมตตากรุณาให้ไป
Q3: ธรรมะสำหรับคนที่มีอาการนอนไม่หลับ
A: แบบที่ 1 เป็นโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) แบบที่ 2 เป็นคนที่มีจิตเป็นสมาธิตื่นอยู่ตลอดคืน (ตื่นด้วยสติสมาธิ) แบบที่ 2 เมื่อตื่นแล้วจะไม่รู้สึกอ่อนเพลีย ร่างกายได้พักผ่อนอยู่ในสมาธิ แบบที่ 1 นอกจากการรักษาทางการแพทย์และการปรับพฤติกรรมแล้ว ทางด้านจิตใจ พระพุทธเจ้าให้มีสติสัมปชัญญะน้อมไปในการนอน คือ ให้เราตั้งสติไว้ก่อน ไม่ให้จิตเพลินไปตามความคิด ฟุ้งซ่าน ให้ใช้พุทโธตั้งสติขึ้น เมื่อสติมีกำลังตั้งขึ้นได้แล้ว ให้น้อมจิตไปที่การนอน โดยให้ตั้งจิตว่า “ฉันกำลังจะนอน บาปอกุศลทั้งหลายอย่าตามเราผู้นอนอยู่ไป” แล้วน้อมจิตไปเพื่อการนอน
Q4: ทำไมบางคนถึงมีสติสมาธิในทางทำงานมาก
A: คนเราจะเก่งเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ ต้องมีสติสมาธิอย่างแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่านำไปใช้ในทางไหน ถ้าเอาสติ สมาธิ ปัญญา นำไปใช้ในทางที่ทำให้กิเลสเพิ่มขึ้น จะเป็น “มิจฉา” แต่ถ้านำไปใช้ในทางที่ทำให้กิเลสลดลง อันนี้เป็น “สัมมา” มรรค 8 (ศีล สมาธิ ปัญญา) เอาไปปรับใช้ได้ทุกเรื่อง ทั้งการเล่นกีฬา การเรียน การทำงาน โดยต้องฝึกให้จิตของเรามีความเคยชินในเรื่องนั้น ๆ ด้วย
Q5: เหตุใดประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ จึงยังมีปัญหาความรุ่มร้อน
A: ประเทศอินเดีย ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็ยังมีปัญหา มีความไม่ราบรื่น เพราะโลกมันเป็นอย่างนี้ สุข ทุกข์ พอ ๆ กัน ไม่ใช่ว่าจะเป็นที่ ที่มีแต่สุขอย่างเดียว ดังนั้น เราจะคาดหวังว่าเมื่อศึกษาธรรมะแล้ว ทุกอย่างจะราบรื่น อันนี้ไปตามความอยาก (ตัณหา) แล้ว ย่อมมีปัญหาตามมาแน่นอน หากเรามีเงื่อนไขแห่งความสุขมาก ความทุกข์ก็จะมาก เพราะความจริงมันไม่เป็นไปตามเงื่อนไข แต่ถ้าเรามีเงื่อนไขแห่งความสุขน้อย ก็จะมีความสุขมาก เพราะมีความอยากน้อย ดังนั้น เงื่อนไขแห่งความสุขจึงเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่เราควรทำ คือ ให้เราปฏิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเป็นเครื่องรักษาจิตของเราให้มีความผาสุกได้ แม้เผชิญกับความเจ็บป่วย ความชรา ข้าวยากหมากแพง เกิดสงคราม เราก็จะยังเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 18 Feb 2024 - 52min - 277 - โรค Phobia กับการละอาสวะ [6707-1u]
กระบวนการเกิดของพฤติกรรม เกิดจากจิตใจ โดยจิตของคนเราจะเป็นไปตามอารมณ์ เปรียบเหมือนกับลิง โหนตัวไปมา จับกิ่งไม้นี้ โหนตัวไปจับกิ่งไม้อื่น แล้วปล่อยกิ่งไม้เดิม ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จิตของของเราก็เหมือนกันเคลื่อนไปตามอารมณ์นี้ นั้น โน้น ซึ่งอารมณ์ก็เกิดมาจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อจิตไปเสวยอารมณ์ก็จะเกิดสิ่งที่อาสวะผลิตขึ้นมา คือ กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นเมื่อไม่มีสติ หลงเพลินไป อาสวะเป็นของไหลออกเนื่องจากพฤติกรรมของจิตที่ไปเสวยอารมณ์นั้น ๆ เมื่อจิตไปเสวยอารมณ์ อาสวะที่ผลิตออกมาก็จะถูกสะสมไว้ที่จิต (reinforce) คือ การตอกย้ำลงไป พฤติกรรมนั้นก็จะทำง่ายขึ้นในครั้งต่อไป เมื่อจิตเราไปเสวยอารมณ์อย่างนั้นอีก อาสวะเมื่อเราไม่มีสติ หลงเพลินไป ก็จะถูกผลิตขึ้นมาอีก ก็จะเป็นการตอกย้ำอีกว่า การกระทำพฤติกรรมแบบนี้มันก็จะง่ายขึ้น เช่น คนที่ชอบกินผัดกะเพราแล้วมันอร่อย ก็กินผัดกะเพราในครั้งต่อไปก็ยิ่งจะง่าย หรือ คนที่กลัวงู ก็เพราะมีอาสวะสะสมในจิตให้เกิดอารมณ์กลัวจากการได้เห็นงูมาก่อน เมื่อมีผัสสะมากระทบ พฤติกรรมจะออกมาทันทีว่ากลัวงู พอพัฒนามากขึ้นก็จะกลายเป็นโรค Phobia
สำหรับคนที่เป็นโรค Phobia หรือโรคซึมเศร้า ทำให้มีปัญหาในการดำเนินการชีวิต พระพุทธเจ้าสอนว่า “หากเรากลัวสิ่งใด เราจะละความกลัวได้ ก็ต้องละในสิ่งนั้น เราทุกข์ตรงไหน เราจะละทุกข์ได้ เราต้องละทุกข์ตรงนั้น มันติดตรงไหน จะแก้ จะตัดได้ ก็ต้องแก้ที่ตรงนั้น เป็นแผลตรงไหน จะให้หายได้ ต้องใส่ยาลงไปที่ตรงนั้น” เมื่อเรากลัวสิ่งไหน ให้เข้าไปหาสิ่งนั้นด้วยสติปัญญา เมื่อมีความกลัวเกิดขึ้น ให้เข้าใจด้วยปัญญาว่าจริง ๆ แล้ว มันไม่ได้น่ากลัว มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง (โยนิโสมนสิการ) อาสวะความกลัว ก็จะถูกตัดออกทันที แต่ถ้ายังตั้งสติไม่ได้ ก็ให้คิดเรื่องอื่น ไปตั้งสติในเรื่องอื่น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ การมีจุดที่ตั้งสติขึ้น เป็นการเพิ่มกำลังของสติและปัญญา การฟันลงไปก็จะถูกจุดมากขึ้น อาสวะก็จะถูกทำลายได้ตรงจุดยิ่งขึ้น เปรียบเทียบความคมของมีดได้กับปัญญา ขนาดของมีดเปรียบได้กับสมาธิว่ามีกำลังมากแค่ไหน การเล็งลงไปให้ถูกจุด เปรียบได้กับสติ
ความกลัวมี 2 ประเภท 1) ความกลัวที่เป็นกุศล เช่น กลัวต่อบาป (หิริโอตัปปะ) 2) ความกลัวที่เป็นอกุศล เช่น กลัวอื่น ๆ กลัวสูญเสีย กลัวตาย กลัวเจ็บป่วย เป็นต้น หากกลัวความตาย ท่านให้พิจารณาความตายด้วยการเจริญมรณสติ ตั้งสติระลึกถึงความตาย แล้วระลึกถึงความดีของตน ดึงจิตมาจดจ่อไว้ที่ความดีของตน (ฌาน) เป็นสัมมาสมาธิ พอมีสมาธิเห็นด้วยปัญญาว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดาเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกสิ่ง พิจารณาแบบนี้ซ้ำวนไปวนมาหลาย ๆ รอบ เพราะอาสวะที่สะสมไว้มานานมันเหนียว
โดยสรุป “ให้เราสังเกตพฤติกรรมของเราว่าเป็นมาอย่างไร มันแก้ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเรื่องหนัก ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็แก้ไขได้ ราคะ โทสะ โมหะ มันอบรมจิตใจเรามามากแล้ว เราจึงตกเป็นทาสของมันจนทุกวันนี้ ทำให้มีพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ในทางจิตใจเราจึงต้องแก้ที่เหตุปัจจัย โดยใช้สติปัญญา เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาตรงนี้”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 11 Feb 2024 - 1h 00min - 276 - วิธีตัดเวรตัดกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร [6706-1u]
Q1: อโหสิกรรมแล้ว คนนั้นจะไม่ต้องรับผลกรรม ใช่หรือไม่
A: การกระทำทุกอย่างทั้งทางกาย วาจา ใจ ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น ผล คือ วิบาก ความเชื่อที่ว่า “ถ้าเราทำกรรมอย่างไร ก็จะได้รับกรรมอย่างนั้น” เป็นความเชื่อที่ผิด เป็นมิจฉาทิฎฐิ แต่ “ทำกรรมอย่างไร ก็จะได้รับผลของกรรมอย่างนั้น” เป็นความเชื่อที่ถูก “ผลของกรรม” กับ “กรรม” เป็นคนละอย่างกัน “อโหสิ” คือ การกระทำของเรา แม้เราให้อภัยเขา เขาก็ยังต้องได้รับผลของกรรมของเขาอยู่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้อภัยเขาหรือไม่ เพราะแต่ละบุคคลมีกรรมเป็นของตน แต่การให้อภัยจะเป็นประโยชน์กับตัวเรา หากเราไม่พอใจเขา ผูกเวร ก็จะเป็นบาป เป็นอกุศลกรรมของเรา การให้อภัยจะเป็นตัวตัดไม่ให้ความชั่ว หรืออกุศลกรรมเกิดขึ้นกับเรา ตัวเราก็จะได้รับผลของกรรมดีจากการให้อภัยนั้น ตัวอย่าง การผูกเวรของพระเทวทัตที่มีต่อพระพุทธเจ้า
- วิธีการที่จะขอตัดเวรตัดกรรม คือ การปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรม ให้เราทำความดี รักษาศีล เจริญสมาธิ เจริญปัญญา
- พระอาจารย์แนะนำให้เรา “ทำความดีต่อไป ความชั่วไม่ทำเลยดีกว่า ให้อภัยทุกคน ไม่คิดร้ายกับใคร เขาจะดีหรือร้ายอย่างไร เราก็จะทำความดีอย่างเดียว เพื่อให้ถึงนิพพาน จะเป็นที่พ้นทุกข์ให้ถึงความสิ้นกรรมได้”
Q2: ทำบุญให้กับบุคคลที่เสียชีวิตโดยไม่เจตนาของเราและเป็นคนต่างศาสนา จะได้รับบุญที่ทำให้หรือไม่
A: บุญจากการใส่บาตร ทำสังฆทาน เกิดขึ้นที่เราแล้ว เราส่งกระแสจิตไปถึงบุคคลนั้น ให้เขาอนุโมทนา ส่วนเขาจะมาอนุโมทนาหรือไม่ เป็นเรื่องจิตของเขา ในที่นี้ให้เราตั้งหน้าตั้งตาทำความดีต่อไปไม่ว่ารูปแบบใด เพื่อกำจัดความไม่สบายใจ ความกังวลใจของเรา โดยทำบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา การภาวนาจะทำให้จิตใจสงบได้
Q3: พี่สาวเป็นอัลไซเมอร์ อยู่ตัวคนเดียว ลูกไม่ดูแล แต่ต้องรอการตัดสินใจของลูก พี่น้องควรทำอย่างไร
A: สามี ภรรยา ลูก เปรียบเหมือนเสื้อผ้า มีใหม่ได้ แต่พี่น้องเปรียบเสมือนแขนขา มีใหม่ไม่ได้ พี่น้องจึงตัดกันไม่ขาด แนะนำให้พี่น้องช่วยกันดูแลพี่สาว
Q4: ลูกพูดกับพ่อว่า แก่แล้วไม่ทำอะไร ทวงบุญคุณกับลูก พ่อควรทำอย่างไร
A: พ่อควรทำใจ คือ ทำใจของเราให้เป็นกุศล ผาสุกอยู่ได้ แม้ทายาทไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง อย่าคิดในทางที่เป็นอกุศล เศร้าหมอง อย่าไปสาปแช่งลูก เอาเมตตา อุเบกขา เข้าไปใส่ พยายามพึ่งตัวเองให้ได้มากที่สุด
Q5: ตอบแทนคุณพ่อแม่ที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันได้อย่างไร
A: “ทำเอง” หรือ “จัดให้กระทำ” ก็ได้ อาจจะเอาเงินเดือนให้ ทำประกันชีวิตให้พ่อแม่
Q6: ทะเลาะกับพี่น้อง และไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองผิด เป็นบาปหรือไม่
A: ผิด หรือถูก ไม่เหมือนกับสัมมา หรือมิจฉา แม้ถูกแต่ก็อาจเป็นมิจฉาได้ การผูกเวรอยู่ เป็นบาป ให้เจริญเมตตาโดยไม่มีประมาณ ไม่มีเวรต่อกัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 04 Feb 2024 - 54min - 275 - Mindset ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข [6705-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: ประสบความทุกข์ต่อเนื่อง
ช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประสบความทุกข์มาก ทั้งเรื่องเงินทอง คนในครอบครัวเสียชีวิตหลายคน โควิด หน้าที่การงาน สุขภาพร่างกาย เจอบททดสอบหลายอย่าง เครียดมาก บางครั้งไม่รู้จะทำอะไรก่อนดี ถ้าไม่มีธรรมะ ก็อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่ผู้ฟังท่านนี้ มีสติ คอยดึงไว้ ไม่ทำอะไรที่ผิดศีล หรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรุงแต่งให้จิตใจหดหู่ลงไป นึกถึงธรรมะความไม่เที่ยง มีสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาไว้ รักษาจิตให้มีความสงบ หาความสุขในปัจจุบัน เร่งทำความดี ฟังธรรม มีกัลยาณมิตร เดินตามทางมรรค
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: Mindset ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข
กฎเกณฑ์ที่เราตั้งในชีวิต ทำให้เราทุกข์โดยไม่จำเป็น ก็ควรจะเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่ กฎเกณฑ์ความสุขของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน เจอผัสสะมาไม่เหมือนกัน มีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง “รักสุข เกลียดทุกข์” ถูกผลักดันด้วยเวทนา หากเราตั้งกฎเกณฑ์ว่าทุกอย่างจะต้องราบรื่น ไม่มีปัญหาอะไร เราถึงจะมีความสุขนั้น รอไปเถอะ เราจะทุกข์โดยไม่จำเป็น
ทิฏฐิ (Mindset) เกิดจากผัสสะ หล่อหลอมตกตะกอนจนทำให้เป็นกฎเกณฑ์ในชีวิต ในโลกปัจจุบันมีทิฏฐิว่า “ต้องมีเงิน ถึงจะมีความสุข” ทำให้เกิดความเพียรในการหาเงิน ความเพียรเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าความเพียรนั้นทำให้ผิดศีล อย่างนี้ไม่ดี
พระพุทธเจ้ามีกฎเกณฑ์ที่ทำให้ทุกข์ลดลง มีสุขเพิ่มขึ้น คือ มรรค 8 ถ้าเราเปลี่ยนกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขในชีวิตให้น้อยลง หรือให้เป็นไปตามเงื่อนไขความจริงของอริยสัจ คือ ทุกอย่างเกิดขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัย มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ถือว่าเป็นผู้ที่มาตามกระแสแห่งการพ้นทุกข์แล้ว เราจะมีความทุกข์ลดลงมาก ความสุขชนิดที่เหนือกว่าสุขเวทนาจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปัญหาในชีวิตประจำวันจะลดลงมาก
ให้มี “สติ” พิจารณาว่าเราทุกข์เรื่องอะไร แล้วให้เราเอากฎเกณฑ์ของเรานั้นมาตั้งขึ้น แล้วท้าทายมันด้วยความจริง (อริยสัจ) ว่าจริงๆ มันเป็นอย่างนั้นหรือไม่ กฎเกณฑ์ที่ไม่เข้าท่าของเรานั้นก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ ต้องมีสติตั้งอยู่ในความจริง (อริยสัจ) เป็น “สัมมาทิฎฐิ” ซึ่งเป็นตัวกำจัด “มิจฉาทิฏฐิ” ได้
ให้ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ถ้าเรามีกฎเกณฑ์ความสุขในชีวิตมากเท่าไร เป็นไปตามกระแสของโลกมากเท่าไร ความทุกข์ของเราก็จะมากตามกระแสของโลกนั้น คือ มีตัณหามาก ความทุกข์ก็มาก แต่ถ้าเรามีกฎเกณฑ์ความสุขในชีวิตน้อย คือ ไม่ต้องตามกระแสของตัณหา ความทุกข์ก็น้อย แต่ความสุขจะมีมาก ความสุขเกิดจากภายใน ไม่ใช่จากปัจจัยภายนอก เรามีความสุขได้ทันที ด้วยการตั้งจิตของเราใหม่ ให้มาตามทางมรรค 8
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 28 Jan 2024 - 59min - 274 - ธรรมะรับอรุณ Live 22 ม.ค. 2567 - [6704-1u_Live]Mon, 22 Jan 2024 - 59min
- 273 - วิธีทำจิต เมื่อต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย [6703-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: ท่านผู้ฟังป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด และเสียชีวิตแล้ว ความป่วยมี 2 อย่าง คือ ป่วยกายกับป่วยใจ ก่อนเสียชีวิต ท่านไม่มีการร่ำไห้คร่ำครวญ นึกเสียใจ แต่มีพลังจิตพลังใจเข้มแข็งมาก ยังสอนลูกหลานว่าความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ทุกคนต้องตาย ธรรมะที่ทำให้บุคคลนี้ยังมีความผาสุกอยู่ได้แม้มีความตายมาจ่ออยู่ตรงหน้า คือ การตั้งสติไว้ มีการฟังเทศน์อยู่สม่ำเสมอ เมื่อมีทุกขเวทนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่ามี 2 วิธี คือ ใช้สุขาปฏิปทา คือ การหลบจากความเจ็บปวดด้วยการเข้าสมาธิ หรือใช้ทุกขาปฏิปทา คือ การพิจารณาลงไปในความเจ็บปวดทางกายนั้น จิตแยกกับกายได้ ทุกขาปฏิปทานี้ เป็นวิธีการ หรือการพิจารณาชนิดที่เป็นที่สบายต่อการบรรลุนิพพาน คือ เห็นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:วิธีทำจิต เมื่อต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย
Stage 1 ยังไม่ป่วยกาย-หากกายยังไม่ป่วย ก็อย่าให้ใจป่วย ที่ตั้งแห่งความเบาใจ 4 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และศีลของเรา ให้ยึดไว้เป็นสรณะ จิตของเราก็จะมีความเบาใจได้ อย่าเอาจิตของเราไปใส่ไว้ในจุดที่หนักใจ กังวลใจ ดูข่าวพอประมาณ ให้มีความรู้ที่จะทำให้เมื่อป่วยจริงแล้วจะมีความผาสุกอยู่ได้ และต้องฝึกสติให้มีกำลังมากขึ้น และสมาธิต้องเข้าได้ง่าย ตั้งอยู่ได้นาน ต้องฝึกให้มีความชำนาญ
Stage 2 เจ็บป่วย แต่ไม่มาก-ให้ฝึกทำตั้งแต่ตอนที่ยังมีทุกขเวทนาทางกายไม่มาก คือ ให้มีความเพียรตั้งสติเอาไว้ ใคร่ครวญแยกแยะสุขเวทนา ทุกขเวทนา กุศลธรรม อกุศลธรรม และพิจารณาฐานะความเจ็บไข้ ที่จะไม่ได้มาด้วยการอ้อนวอนขอร้อง ถ้ามีเหตุเกิดของโรค โรคก็ย่อมเกิด เป็นธรรมดาที่จะต้องเจ็บป่วยไข้ เมื่อจิตสงบแล้วจะสามารถเห็นความไม่เที่ยงในกาย แล้ววาง ละ ไม่ยึดถือ ไม่กำหนัดยินดีในกาย แล้วเอาความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียวนั้น ตั้งมั่นเอาไว้ เห็นกายในความของไม่เที่ยง ปล่อยเสีย วางเสีย แยกจากกัน เหมือนดึงดาบออกจากฝัก พิจารณาแยกกายกับจิตออกจากกัน
Stage 3 ป่วยหนักมากแล้ว-คนที่หนักปานนี้แล้ว ถ้าตั้งอยู่ในธรรม 5 อย่างนี้ ไม่นานก็จะสามารถบรรลุธรรมขั้นสูงได้ ถ้าจะตาย แล้วเข้าถึงความไม่ตายได้ มันคุ้มกว่านะ ร่างกายแตกสลายตายไป แต่เข้าถึงความไม่ตาย คือ ความอมตะ นิพพานได้ ย่อมดีกว่าการอยู่ในกายเน่าเฟะ ท่านเปรียบเหมือนหม้อดินเก่า รั่ว แตก แต่เห็นถาดทองคำอยู่ จะไปเอาหม้อดินมาใช้ทำไมเล่า ไปเอาถาดทองคำดีกว่า จะได้ถาดทองคำได้ด้วยการรักษาจิต คนที่ป่วยหนักแล้วต้องแยกกายแยกจิตให้ได้เร็ว ให้ได้นาน ให้คงอยู่ได้ตลอด ธรรม 5 ข้อ ที่พระพุทธเจ้าให้พิจารณาเมื่อป่วยหนัก ได้แก่
1. ให้พิจารณาถึงความไม่งามในกาย
2. การให้เห็นความปฏิกูลในอาหาร
3. การเห็นว่าโลกทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่ายินดี
4. พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งหลาย
5. มรณสัญญา กำหนดหมายไว้ในความตาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 14 Jan 2024 - 1h 01min - 272 - แนวทางการสั่งสอนเด็กในปัจจุบัน [6702-1u]
Q1: ทำอย่างไรให้กรรมชั่วที่เคยทำไว้ สิ้นผลไปโดยเร็ว
A: หลักการทั่วไป คือ กรรมชั่วจะให้ผลเป็นความไม่ดี ทุกขเวทนา ส่วนกรรมดี จะให้ผลเป็นความสุข แต่หลักการนี้มีเงื่อนไขตัวแปร 2 อย่าง คือ เวลาและความหนักเบา เวลา: กรรมจะให้ผลในปัจจุบันหรือในเวลาต่อมา และต่อมาอีก, ความหนักเบา: ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือสถานการณ์หลายอย่าง เปรียบเหมือนเกลือกับความเค็ม เกลือเค็มอยู่แล้ว แต่จะเค็มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามีน้ำน้อยหรือน้ำมาก ถ้าน้ำน้อยก็เค็มมาก ถ้าน้ำมากก็เค็มน้อย ตัวอย่าง ท่านองคุลีมาล เป็นต้น สำหรับ “ปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรม” นั้น ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเราทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว อันนี้จะเป็นปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรมได้ เร็วอย่างมากก็ 7 ปี ทั้งนี้ จะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) ว่ามีความแก่กล้าหรือไม่
Q2: การทำความดีกับการทำบุญ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
A: “ความดี” กับ “บุญ” เป็นคำไวพจน์กัน แต่บุญจะหมายเอาในบริบทเรื่องของจิต ส่วนความดีจะหมายเอาในบริบทเรื่องของการกระทำทางกาย วาจา ใจ แต่บางครั้งบุญก็อาจให้ผลเป็นทุกขเวทนาได้ เปรียบกับการกินยาขม ตอนกินมีรสขม แต่เมื่อยาออกฤทธิ์แล้ว อาการเจ็บป่วยก็ดีขึ้น ให้ผลเป็นความสุข ส่วนคนที่ทำชั่วแล้วได้ดี เปรียบกับเครื่องดื่มรสหวาน กลิ่นหอม สีสวย แต่เจือไปด้วยยาพิษ ตอนกินเข้าไปมีรสอร่อย แต่พอพิษออกฤทธิ์ ก็จะเจ็บปวด ให้ผลเป็นความทุกข์
Q3: การสั่งสอนเด็กสมัยนี้ มีแนวทางอย่างไร
A: สำหรับวันเด็ก ให้ทบทวน 2 ส่วน ส่วนแรก สิ่งที่แตกต่างกัน คือ ความต้องการของเด็ก ต้องเข้าใจลูก เข้าใจว่าสังคมมันเปลี่ยนแปลงไป จะสอนเหมือนเดิมไม่ได้ วิธีการสอนต้องเปลี่ยนแปลงไป ส่วนที่สอง สิ่งที่เหมือนกัน คือ ไม่ว่าเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่หน้าที่ของพ่อแม่ คือ ต้องสอน “ให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ห้ามลูกเสียจากบาป” วิธีสอนที่ดีที่สุด คือ การทำเป็นตัวอย่าง พระพุทธเจ้าจะสอนสาวกให้เข้าใจได้ ท่านทรงทำเป็นตัวอย่าง คือ “สอนสิ่งที่ท่านทำ ทำในสิ่งที่ท่านสอน”
เด็กที่ตั้งคำถาม ไม่ยอมทำตามในทันทีไม่ใช่เด็กดื้อ แต่เป็นเด็กที่มีวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงเห็นแย้งยังไม่ลงใจ) จะกำจัดได้ ต้องเอาปัญญาเข้าไปใส่ ซึ่งจะมีปัญญาได้ก็ต้องมีศรัทธา ดังนั้น ให้เอาปัญญา และศรัทธาใส่ลงไปในวิจิกิจฉา อุดรูรั่วตรงนั้น ความเคลือบแคลงเห็นแย้งก็จะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครูอาจารย์ ที่ต้องให้ความรู้ ให้ปัญญา มีความเมตตา และความอดทน ในการสั่งสอนเด็ก
Q4: ขอพรให้เกิดใหม่ชาติหน้าได้รับสิ่งที่ดี ๆ แต่พระพุทธเจ้าสอนว่าการไม่เกิดดีที่สุด ที่ถูกควรเป็นอย่างไร
A: คนที่มีปัญญาสูงจะเห็นว่า การเกิดเป็นทุกข์ ส่วนคนที่มีปัญญาลดลงมาจะเห็นว่า การเกิดยังดีอยู่ ส่วนคนที่ยังไม่เข้าใจจะเห็นว่า การเกิดไม่มี ชาติหน้าไม่มี คำสอนของศาสนาพุทธมีหลายระดับ การจะไปติผู้ที่อยู่ระดับต่ำกว่าเป็นสิ่งไม่ถูก
Q5: พ่อแม่ทำไม่ดีกับลูก เป็นบาปหรือไม่
A: บุคคลที่เป็นอริยชน (คนที่เติบโตมาก่อน) ห้ามกันบุคคลออกจากสิ่งที่ไม่ดี นั่นเป็นการสั่งสอนให้ออกจากอกุศลกรรม ไม่ใช่การผูกเวร อย่างนี้ไม่เป็นบาป เป็นการเปิดโอกาสให้กลับตัว
Q6: ครอบครัวเป็นเครื่องกีดขวางการปฏิบัติธรรม ควรทำอย่างไร
A: ต้องปลดล็อก ขึ้นอยู่กับความยึดถือของแต่ละบุคคลว่ามากหรือน้อย จิตใจมีความมั่นคงสูงหรือไม่ มีปัญญาสูงหรือไม่ เปรียบเทียบเรื่องนกมูลไถกับช้างอาชาไนย จะเปลี่ยนเปลงจิตใจให้มีกำลังจากนกมูลไถเป็นช้างอาชาไนยได้ ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 (ศีล สมาธิ ปัญญา) ให้มาเพ่งตรงนี้ ก็จะกำจัดขวากหนาม สิ่งกีดขวางได้ เป็นช่องทางที่พระพุทธเจ้าเดินลุยเปิดทางมาก่อนแล้ว เพียงแต่เราเดินตามให้ได้ โดยจะมีเครื่องมาทดสอบให้เราหลุดออกจากทางบ้าง ก็ต้องอดทน ค่อย ๆ ปรับ หากุศโลบาย สอบถามครูบาอาจารย์ หาแนวทางที่จะทำให้จิตเรามาตามทางให้ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 07 Jan 2024 - 55min - 271 - วิธีทำให้ "ความหวัง ความมั่นใจ" มีอยู่ตลอดปี 2567 [6701-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: คุณจอย ได้รับทุกขเวทนาทางใจ คือ ถูกสามีนอกใจ และได้รับทุกขเวทนาทางกาย คือ พบว่าตนป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะที่หนึ่ง ในสถานการณ์ที่หมดหวัง ครอบครัวแตกสลาย และยังเจอโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง แต่ด้วยการมีธรรมะรักษาจิตใจไว้ ทำให้ยังมีความหวัง ความมั่นใจที่จะดำเนินชีวิตให้ดีได้ ความหวังความมั่นใจนี้ คือ “ศรัทธา” ที่ตั้งเอาไว้ ทำให้มีการปฏิบัติธรรม มีเมตตา มีอุเบกขา ประกอบด้วยปัญญาในการปล่อยวาง เห็นว่าสุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา จิตใจประกอบด้วยกำลัง คือ อินทรีย์เป็นพละ เหล่านี้ ทำให้ในสถานการณ์ที่สิ้นหวัง ก็ยังสามารถดำรงอยู่ได้ จิตใจมีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ โดยมีเป้าหมายในชีวิต คือ การปฏิบัติธรรมให้ละเอียดสูงขึ้น ให้จิตมีกำลังมากขึ้น ประกอบด้วยความหวัง และกำลังใจ ตอนนี้คุณจอยมีความสบายใจมาก ภูมิใจมากที่ได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ขอบคุณความทุกข์ที่ทำให้เห็นธรรม การฟังธรรมะอยู่เป็นประจำ ได้ฝึกปฏิบัติธรรม ทำให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เกิดปีติอยู่ภายใน ส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ให้เรามีศรัทธา มีความมั่นใจ มีความหวังที่ประกอบด้วยปัญญา ในปี 2567 นี้
ในช่วงใกล้ปีใหม่ คนเรามักจะมีความหวังว่าปีหน้าจะดีขึ้น แต่ถ้าตั้งความหวังไว้ไม่ถูกตั้งแต่แรก ก็จะไปผิดทาง กล่าวคือ คนที่รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะแสวงหาแต่ความสุขแล้วผลักความทุกข์ออกไป แต่สิ่งนี้ไม่ถูกต้องเพราะสุขทุกข์เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา เปรียบเหมือนการตั้งใบเรือ หรือตั้งหางเสือผิด ก็จะไปผิดทาง จึงให้กลับมาตั้งทิศทางใหม่ให้ถูกต้อง คือ ให้ตั้งศรัทธา คือ ความมั่นใจที่ประกอบด้วยปัญญา ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ที่ว่าสุขทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ และดับได้เป็นธรรมดา ซึ่งเป็นความจริงของโลกใบนี้
ความหวัง หรือความอยากได้นั่นนี่ จะให้ปรากฏในโลกความเป็นจริงได้ จะต้องเป็นความหวังที่ประกอบด้วยปัญญา โดยพิจารณาตามหลักอิทธิบาท 4
1. ฉันทะ (ความพอใจ) กำหนดความอยาก ความฝัน ความหวัง ที่ประกอบด้วยปัญญา คือ เข้าใจความจริงว่าสุขทุกข์มีได้เป็นธรรมดา และสิ่งที่อยากนั้นอาจจะสำเร็จหรือไม่ก็ได้
2. วิริยะ (ความเพียร) ต้องเกิดการลงมือทำ ทำจริง แน่วแน่จริง โดยต้องมีการวางแผน ขั้นตอนกระบวนการ (Action Plan) ก่อนลงมือทำ เพียงแค่รู้ขั้นตอนถัดไป ทีละ Step ว่าต้องทำอะไรบ้างก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้ขั้นตอนทั้งหมดในคราวเดียว ถ้าไม่รู้ว่าจะวางแผนอย่างไรก็ให้เข้าสมาธิ ให้เกิดความสงบเย็น หนทางก็จะปรากฏขึ้น
3. จิตตะ (ความจดจ่อ) ให้ตั้งสติสัมปชัญญะเอาจิตมาจดจ่อที่นิสัยใหม่ ที่เราเอาเข้ามาแทนที่นิสัยเดิมที่ไม่ดี
4. วิมังสา (ไตร่ตรองด้วยปัญญา) ต้องมีปัญญา อย่างมงาย คนที่งมงายจะทำให้ความคมของปัญญาลดลง เสื่อมลง อย่าอ้อนวอน หรือขอร้อง แต่ให้เปลี่ยนเป็นการตั้งจิตอธิษฐาน คือ การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งใจที่จะสร้างเหตุให้ได้
ให้เรามีความมั่นใจใน พุทโธ ธัมโม สังโฆ
“พุทโธ” เป็นตัวแทนของการบรรลุความสำเร็จ คือ การตรัสรู้
“ธัมโม” เป็นตัวแทนของวิธีการหรือกระบวนการ คือ การปฏิบัติตามมรรค 8 ที่ทำให้ตรัสรู้ได้จริง
“สังโฆ” เป็นตัวแทนของการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ลงมือทำจริง ทำตามธัมโม คือ ถ้าปฏิบัติตามธัมโม แล้วยังไงก็จะได้พุทโธ
ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ได้แก่ ศีล 5 การสำรวมอินทรีย์ การรู้ประมาณในการบริโภค การประกอบตนอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น การฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ
พระอาจารย์อวยพร “ในปี 2567 ให้ท่านผู้ฟังเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จตามสิ่งที่ตนได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ ที่ไม่ใช่เป็นการอ้อนวอนขอร้อง แต่เป็นการตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าในการที่จะทำให้สำเร็จได้ ด้วยเหตุปัจจัยที่เหมาะสมประกอบด้วยปัญญาที่ตั้งขึ้นไว้จากความมีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นผู้ที่ประกอบด้วยแนวทางในการดำเนินชีวิตที่เป็นไปในทางศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นทางที่จะมีนิพพานเป็นที่สุดจบเพื่อที่จะให้ถึงความสุขที่เหนือความสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา แต่เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบ เป็นความสุขที่เกิดจากความระงับ เป็นความสุขที่เกิดจากความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 31 Dec 2023 - 56min - 270 - ทบทวนตนเองด้วย "สัมมาวายามะ" [6652-1u]
ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมขุมทรัพย์แห่งใจ จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมกองทัพเรือ ลงทะเบียนได้ที่ http://panya.org/newyear หรือ http://linkdd.co/newyear
หลักธรรมที่นำมาใช้สำหรับการทบทวนตนเองในรอบปี คือ “สัมมาวายามะ” โดยแบ่งเป็น 2 หมวด คือ กุศลธรรม (ความดี) และอกุศลธรรม (ความไม่ดี) ให้ทบทวนดูว่าในรอบปี ตัวเรามีอกุศลธรรม เพิ่ม ลด หรือมีเกิดขึ้นใหม่หรือไม่ เช่น พูดชั่ว คิดชั่ว ทำชั่ว ทำผิดศีล ขี้เกียจ เป็นต้น และทบทวนว่ามีกุศลธรรม เพิ่มขึ้นหรือไม่ การตรวจสอบตัวเองก็ต้องไม่เข้าข้างตัวเอง ถ้าพบว่าตนเองกุศลธรรมไม่เพิ่มแต่มีอกุศลธรรมเพิ่ม ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะหากเราทำแบบเดิมแล้วหวังว่าจะได้ผลแบบใหม่ก็จะไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าเราหวังจะให้ผลเปลี่ยนแปลงไป ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การตั้งเป้าหมาย เพื่อนฝูง พฤติกรรมที่เป็นอยู่ เป็นต้น ซึ่งวิธีการ หรือกระบวนการนั้น อยู่ในมรรค 8
การปล่อยวางกับการวางเฉย “การวางเฉย” มาจากคำว่า อุเบกขา อุเบกขา คือ การวางเฉยในสุขเวทนา และทุกขเวทนา เจาะจงลงไปในเรื่องของเวทนาเท่านั้น ส่วน “การปล่อยวาง” มาจากคำว่า วิราคะ (การคลายกำหนัด) การที่วางขันธ์ 5 ได้ทั้งหมด โวสสัคคะ (การสละคืน) หรือ นิโรธ (ความดับ) โดยลำดับขั้นตอนในการปล่อยวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เป็นดังนี้ 1. มีจิตเป็นสมาธิ 2. เกิดปัญญาเห็นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง 3. เกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทา) 4. เกิดความคลายกำหนัด (วิราคะ) 5. เกิดการสละคืน (โวสสัคคะ) หรือความดับ (นิโรธ) ความดับเกิดขึ้นได้ก็ เพราะปล่อยวางได้แล้ว การปล่อยวางไม่เหมือนกับ การไม่สนใจ ไม่แยแส ไม่แคร์ ปล่อยทิ้ง ไม่รับผิดชอบ อย่างนี้ไม่ใช่การปล่อยวาง การด่วนปล่อยวางเกินไป เป็นลักษณะของโมหะไม่ใช่การปล่อยวาง
วิธีอยู่ร่วมกับคน Toxic พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบไว้เหมือนกับช้างที่ต้องเข้าสู่สนามรบที่ต้องถูกแทงด้วยหอก หลาว ลูกศร ต้องอดอาหาร ต้องอยู่กับเสียงดังอึกทึกครึกโครม ช้าง และทหารจะเข้าสู่สนามรบต้องมีชุดป้องกัน เปรียบเหมือนกับมนุษย์ที่ต้องเข้าสู่สนามของผัสสะ ที่มีหนามเยอะแยะไปหมดเมื่อเข้าไปแล้วจะโดนเกี่ยว โดนทิ่มแทง เป็นอุปมาอุปไมย เมื่อเราเข้าสู่สถานที่ที่มีคนคิดร้ายต่อเรา ด่าว่าเราทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน ซึ่งเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอยู่กับคนประเภทนี้ ปัจจุบันเรียกว่าคน Toxic เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ ลำดับแรกที่ต้องมี คือ “ความอดทน” และลำดับที่สอง คือ “เมตตาและอุเบกขา” เมื่อเรามีเมตตา และอุเบกขาแล้ว ก็จะดึงเขาออกจากความคิดร้าย ออกจากมิจฉาวาจาได้ อาจต้องใช้เวลา แต่จิตเราจะไม่เป็นอกุศล และสามารถเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร เปลี่ยนคนชั่วให้เป็นคนดีได้
วิธีทำทานให้เกิดผล การให้ทานจิตเราต้องมี “ศรัทธา” ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ และผู้รับการให้ ต้องเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะน้อย หรือไม่มีเลย หรือเป็นผู้ที่มีบุญคุณกับเราเช่น พ่อแม่ และรูปแบบการให้ ต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยต้องแบ่งจ่ายทรัพย์เป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1. ใช้จ่ายในชีวิต ครัวเรือน 2. เก็บรักษาทำให้งอกเงย 3. สงเคราะห์ผู้อื่น 4. ให้ในเนื้อนาบุญ
ศรัทธากับความงมงาย ต่างกันตรงปัญญา ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต้องประกอบด้วยปัญญา ถ้าศรัทธาโดยไม่มีปัญญา นั่นคือความงมงาย ทุกวันนี้คนเรามักศรัทธาโดยไม่มีปัญญาเพราะทำง่ายกว่า หรือบางครั้งก็มีศรัทธาแต่ไปยึดติดที่ตัวบุคคล ดังนั้น ให้เราศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผลที่เกิดจากศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา จะเกิดการลงมือทำจริงแน่วแน่จริงทำให้ผลที่ปรารถนาปรากฏขึ้น ส่วนศรัทธาด้วยความงมงาย จะทำให้ไม่เกิดการลงมือทำ ผลที่ปรารถนาก็จะไม่ปรากฎขึ้น ก็จะต้องขอวนไปเรื่อย ๆ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 24 Dec 2023 - 53min - 269 - วิธีพัฒนาตนเอง ต้อนรับปีใหม่ [6651-1u]
ช่วงไต่ตามทาง: การที่เรารู้สึกว่าโลกวุ่นวาย นั่นคือ จิตใจของเราเองต่างหากที่มันวุ่นวาย แต่เมื่อจิตของเราได้ฟังธรรม ก็จะรู้สึกได้ว่าโลกมันเปลี่ยน แม้ความเป็นจริงโลกจะไม่ได้เปลี่ยน โลกก็ยังเป็นโลกเหมือนเดิม มันเป็นไปตามเงื่อนไขตามกระแสของมัน แต่จิตของเราที่ถูกชโลมด้วยกระแสแห่งธรรม มีความเย็นอยู่ใต้ร่มแห่งธรรมะของพระพุทธเจ้า จะมีความผ่อนคลาย สบายใจ ทำให้การตอบสนองต่อโลกมันเปลี่ยนแปลงไป
กรณีบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเจอสิ่งมากระทบหลายด้าน ทั้งโรคภัยไข้เจ็บของคนไข้ ญาติของคนไข้ พยาบาล หรือหมอด้วยกัน เรื่องที่ทำให้เกิดความไม่พอใจมีมาก จากที่เคยมีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธ ไม่พอใจ แต่เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว ได้แผ่เมตตา ได้ปรับปรุงตัวเองให้พูดจาดีดี ใจเย็น ก็พบว่ามีจิตใจที่สงบขึ้น ปล่อยวางได้ การวินิจฉัยโรคของคนไข้ก็เห็นได้ชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น คนไข้ และญาติของคนไข้ก็มี Feedback ที่ดีกลับมา
สิ่งมหัศจรรย์ คือ การที่มีการแสดงธรรม มีผู้ฟังธรรม และผู้ฟังธรรมได้รับประโยชน์ เพราะเมื่อมีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ จึงมีการทวนกระแสที่เกิดจากการฟังธรรมะ เจตนารมณ์ของพระอาจารย์ คือ การที่ท่านผู้ฟังได้นำความรู้ ได้นำธรรมะที่ได้รับฟังนำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์
ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ:ทบทวนตนเอง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
ให้ทบทวนตนเอง ทั้ง 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ส่วนใดที่เป็นกุศลกรรม ถ้ายังไม่มีก็ทำให้มี ที่มีอยู่แล้วก็ทำให้ดีขึ้น ส่วนใดที่เป็นอกุศลกรรม ถ้ายังไม่มีก็อย่าให้เกิดขึ้น ถ้ามีอยู่แล้วก็ต้องละเสีย
ความเกี่ยวเนื่องในการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีได้และเป็นได้ทั้งในทางกุศล และอกุศล เช่น มีเจตนาที่ดี อยากให้คนอื่นปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น (มโนกรรม) แต่ใช้วาจาที่ไม่ดี (วจีกรรม) ไม่ได้เจตนาจะฆ่ายุง (มโนกรรม) แต่ตบยุงไปโดยอัตโนมัติ (กายกรรม) ถือว่าการกระทำนั้นได้สำเร็จประโยชน์แล้ว ดังนั้น ถ้าเราด่าคนแบบอัตโนมัติ พูดจาเสียดสี ทิ่มแทง ใช้หอกคือปาก โขกสับด้วยวาจา แม้จะอ้างว่าไม่ได้คิดอะไร แต่วจีกรรมนั้นก็ได้สำเร็จประโยชน์แล้ว มีการเบียดเบียนกันเกิดขึ้นแล้ว เป็นกรรมแล้ว เพียงแต่อาจจะไม่ผิดศีลชนิดที่เจตนาจงใจจะผิดศีล แต่ว่ามันมีความด่างพร้อยแน่นอน การกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่ทำโดยอัตโนมัติ นั้น เกิดมาจากอาสวะที่เราสะสมไว้ ทำให้เราทำอะไรออกไปโดยไม่ได้คิด เป็นไปโดยอัตโนมัติ เมื่อมีอาสวะแล้วเป็นกรรมแน่นอน ตรงจุดนี้ให้ท่านผู้ฟังทบทวนตนเอง การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยอัตโนมัติ ที่ทำให้เราเผลอไป ลืมไป เพลินไป มีอะไรบ้าง ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ส่วนใดที่เป็นกุศลกรรม ถ้ายังไม่มีก็ทำให้มี ที่มีอยู่แล้วก็ทำให้ดีขึ้น ส่วนใดที่เป็นอกุศลกรรม ถ้ายังไม่มีก็อย่าให้เกิดขึ้น ถ้ามีอยู่แล้วก็ต้องละเสีย
เมื่อเห็นความเชื่อมโยงในความแตกต่างนี้แล้ว ให้เรารักษาความดี ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ให้ได้ตลอดทาง อย่าให้กิเลสมาทำให้บิดเบี้ยว ให้ทบทวนตัวเองบ่อย ๆ ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรืออย่างน้อยปีละครั้ง ให้ไปในทางกุศลธรรมให้ได้ เพื่อค้นหาสมบัติในจิต แล้วทำให้มันปรากฏออกมาให้ชัดเจนผ่านทางกายและวาจา ก็จะทำให้ปีนี้ที่เหลือดีได้ และจะทำให้ปีใหม่ที่จะถึงนี้เป็นปีที่ดีที่สุดได้ นี่เป็นคำอวยพร เป็นพรอันประเสริฐที่ได้รับจากพระพุทธเจ้า พระอาจารย์ได้รับมาก็ส่งต่อให้ท่านผู้ฟังทุกท่าน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 17 Dec 2023 - 58min - 268 - ศรัทธากับปัญญา [6650-1u]
Q1: พระพุทธเจ้าตรัสถึงการฆ่าตัวตายไว้อย่างไรบ้าง?
A: การฆ่าโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตัวเองหรือสัตว์อื่น ไม่ดีทั้งนั้น เพราะเป็นการทำชีวิตของบุคคลหรือสัตว์ให้ตกล่วงลงไป เว้นแต่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่ก่อนและไม่หลังจากการตาย การฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความบกพร่องทางสมองหรือทางจิต โดยไม่ได้มีเจตนาทำบาปทำกรรมนั้น ถ้ายังมีราคะ โทสะ โมหะ ยังไงก็เป็นเจตนา
Q2: งานก่อสร้างถือเป็นกิจของสงฆ์หรือไม่?
A: พระพุทธเจ้าตั้งชื่องานก่อสร้างของพระสงฆ์ไว้ว่า “นวกรรม” งานก่อสร้างบางอย่างมันจำเป็น แต่ทรงเตือนไว้ว่า อย่าทำให้มันมาก อย่ายุ่งวุ่นวายกับมันเยอะ เพราะจะเป็น “เครื่องเนิ่นช้า” เป็นเหตุให้ 1. พระวินัยหย่อนยาน 2. ตั้งสติปัฏฐาน 4 ได้ยาก 3. เพื่อนไม่รัก
Q3: บทสวดมนต์ใดที่ทำให้หายเจ็บป่วย
A: พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าคนจะสำเร็จอะไรได้ทุกอย่างเพียงการอ้อนวอนแล้ว จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” ถ้าลำพังการสวดมนต์แล้วทำให้หายเจ็บป่วยได้ โลกนี้ก็จะไม่มีใครตาย การสวดมนต์ในทางพระพุทธศาสนา คือ การพูดกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าได้เคยสอนไว้หรือสัชฌายะ (Recitation) ไม่ใช่การสวดเพื่อขอพร (Pray) การที่เรามีความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ก็เพราะมีกายนี้ เมื่อมีกายก็ย่อมมีเวทนาที่เกิดขึ้นในกาย พอมีเวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็ย่อมมีแก่ มีเจ็บ มีตาย จะไม่ให้มีสิ่งเหล่านี้ ก็ต้องอย่าเกิด การเข้าใจเรื่องโพชฌงค์ 7 สติปัฏฐาน 4 หรือสัญญา 10 ประการ จะทำให้เรากำจัดความเกิดได้ ถ้ากำจัดความเกิดได้ ก็จะกำจัดความเจ็บไข้ได้ป่วยได้ รวมถึงกำจัดความตายได้ นี่ต่างหากที่เป็นแก่นแท้ (Essence) ของบทสวดมนต์นั้น
Q4: การทานเนื้อสัตว์ เป็นบาปหรือไม่?
A: การทานเนื้อสัตว์ มีทั้งรูปแบบที่เป็นการส่งเสริมการฆ่าสัตว์และไม่เป็น การฆ่ามี 3 ระดับ 1. ฆ่าเอง (ผิดศีล) 2. ใช้ให้เขาไปฆ่า (ผิดศีล) 3. ชักชวนให้คนอื่นทำ (ไม่ผิดศีล แต่ได้รับบาป) ถ้ายังต้องประกอบอาชีพค้าขายสัตว์เป็นหรือเนื้อสัตว์อยู่ ก็ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา และให้ตั้งจิตอธิษฐานที่จะเปลี่ยนอาชีพต่อไป
Q5: คนที่ชอบพูดซ้ำเติมผู้อื่น จะได้รับผลกรรมอย่างไร?
A: “ใครทำกรรมอย่างไรไว้ ก็ย่อมได้รับผลกรรมนั้น” เราจะดีจะชั่ว ไม่ได้อยู่ที่ปากของคนอื่น แต่อยู่ที่การกระทำของเรา ให้ทำตามศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราปฏิบัติตามมรรค 8 แล้ว อาจจะมีทุกขเวทนาหรือสุขเวทนา อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา ให้มั่นใจว่าทำดีต้องได้ดี แม้สุขเวทนาอาจจะยังไม่ให้ผลในตอนนี้ก็ตาม การได้ทำความดี นั่นคือดีแล้ว ให้มั่นใจว่าถ้าทำความดีแล้ว ความดีนั้นจะอยู่กับเรา ความดีนั้นจะรักษาผู้ที่ปฏิบัติดี ธรรมะจะคุ้มครองผู้ที่ปฏิบัติธรรมะ ไม่มีใครที่จะทำอันตรายผู้ที่มีธรรมะคุ้มครองได้เลย ให้มั่นใจในข้อนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 10 Dec 2023 - 54min - 267 - มรรค 8 กับการอยู่ครองเรือน [6649-1u]
นักกอล์ฟคนหนึ่ง เป็นตัวแทนขององค์กรไปแข่งขันกอล์ฟ เดิมในช่วงฝึกซ้อมจะเกิดภาวะเครียดมาก เหนื่อยมาก เนื่องจากมีความเพ่ง เกร็ง มีความจดจ่อจนเกินไป กลัวว่าจะทำได้ไม่ดี จึงพยายามบังคับ บีบคั้น ที่จะต้องทำให้ได้ ต่อมา มีการนั่งสมาธิ 2 ชั่วโมง ตอนเช้า ช่วงฝึกซ้อม ก็จะตีกอล์ฟแบบเงียบ ๆ ไม่พูดคุยกับคนมาก บางครั้งก็ใส่หูฟัง ฟังเทศน์ฟังธรรมไปด้วย โดยตีกอล์ฟแบบไม่เพ่ง ไม่บังคับ บีบคั้น ตนเองจนเกินไป เป็นการกำหนดรู้เฉย ๆ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติ มีสัมปชัญญะในการตีกอล์ฟ ก็พบว่าตนเองมีการควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น เมื่อมีการควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ทั้งในขั้นตอนการฝึกซ้อม ในเกมส์การแข่งขัน และต่อทีม ทำให้ผลการแข่งขันออกมาดี ได้รับชัยชนะ ซึ่งการชนะคนอื่นไม่สำคัญเท่ากับชนะใจของตัวเองที่มีวินัยฝึกซ้อม และสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ สติ และสมาธิ สามารถนำมาใส่ในการเล่นกีฬาได้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะอิริยาบถนั่ง หรือเดินจงกรม
การดำเนินชีวิตของฆราวาส มีการงานต้องทำมาก มีความวุ่นวายในการดำเนินชีวิต ใน 1 ปี มี 52 สัปดาห์ เคสแรก ไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม 1 สัปดาห์ ทำได้ดีมาก เห็นความสงบในใจ 2 สัปดาห์ไปเที่ยวพักผ่อน มีจิตใจสงบเย็นสบาย แต่ 49 สัปดาห์ที่เหลือ เป็นทุกข์เรื่องงาน ด่าว่าผู้อื่น คิดอาฆาต มีความกังวลหลายเรื่อง จิตใจไม่เย็นสบาย เคสที่สอง ไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม 1 สัปดาห์ ทำไม่ค่อยได้ จิตใจวุ่นวายไม่สงบ 2 สัปดาห์ไปเที่ยวพักผ่อน มีจิตใจสงบเย็นสบาย และ 49 สัปดาห์ที่เหลือ มีความสุขกับการทำงาน มีจิตใจที่เย็นสบาย เคสที่สองย่อมดีกว่าเคสแรก เพราะมีความสุขมากกว่า มีจิตใจที่เย็นสบายมากกว่า
การที่คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนจะหลีกออกจากการครองเรือนนั้นทำได้ยาก พระพุทธเจ้าจึงให้ธรรมะไว้สำหรับการครองเรือนให้มีความราบรื่น มีความผาสุกในการครองเรือน เมื่อใดที่รู้สึกว่าเกิดทางตัน ความมืด ติดขัด หาทางออกไม่เจอ ไม่รู้จะไปทางไหน ต้องใช้แสงสว่าง ใช้ดวงตา หาทางออก นั่นคือ ปัญญา มีตัณหาอยู่ตรงไหน ความทุกข์มาทับถมเราทันที ถ้าเราไม่มีตัณหาสิ่งนั้นจะไม่มาเป็นทุกข์กับเรา สำหรับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธเจ้าไม่ให้ยึดถือ แต่ให้เอาเป็นที่พึ่ง คือ สรณะ ซึ่งไม่เหมือนการยึดถือ คือ อุปาทาน อุปาทานเป็นเหตุแห่งทุกข์ แต่การเอาเป็นที่พึ่ง เป็นเหตุแห่งมรรค (ทางพ้นทุกข์) ทุกข์กับมรรค เหมือนกันตรงที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน แต่หน้าที่คนละอย่างกัน ผลคนละอย่างกัน เมื่อเกิดความทุกข์ เจอทางตันแล้ว ให้หาให้เจอว่าตัณหามันอยู่ตรงไหน เราก็ต้องเอาปัญญาฉายเข้าไปให้เห็น ซึ่งปัญญาจะอยู่ในมรรค 8 มรรค 8 สามารถทำได้ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอเวลาถ้าทำได้ นั่นคือแสงสว่าง นั่นคือปัญญา นั่นคือดวงตา นั่นคือความรู้ เมื่อไรที่รู้สึกตัน หาทางออกไม่เจอให้กลับมาที่ทางนี้ “ทางของมรรค 8” ให้มีศีล มีการฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เป็นประจำ พูดจากันให้ดี ๆ มีการจ่ายทรัพย์อย่างถูกต้อง ทำหน้าที่ในทิศทั้งหกอย่างดี การภาวนาก็จะอยู่ตรงนั้น ทำบ้านของเรา ทำกายของเรา ทำจิตของเรา ให้เป็นสถานที่ในการภาวนาปฏิบัติธรรม ด้วยการปฏิบัติเรื่องศีล เรื่องการใช้จ่ายทรัพย์ เรื่องทิศทั้งหก เรื่องข้อปฏิบัติในสัมมาอาชีวะต่าง ๆ นั่นคือ การปฏิบัติธรรมแล้ว ในช่วง 49 สัปดาห์ ถ้าเราทำได้อย่างนี้ทั้งหมด ก็จะเยี่ยมมาก ดีมาก ในสัปดาห์ที่เหลือเราจะทำอย่างอื่นเพิ่มเติมเข้าไปก็สามารถทำได้ ความอยากจะลดลงไปโดยอัตโนมัติ ในความที่ว่าเราทำได้ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ความพอใจในจิตใจมันจะเต็มเปี่ยม เต็มอิ่มขึ้นมาทันที เป็นทางออกในการแก้ปัญหา ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องตามกระบวนการนี้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 03 Dec 2023 - 57min - 266 - กฐิน ทาน และการสวดมนต์ [6648-1u]
- กฐิน เป็น 1 ใน 2 พิธีกรรมที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ผ้า” “ทอดกฐิน” คือ การที่ญาติโยมมอบผ้าให้หมู่สงฆ์ “กรานกฐิน” คือ กระบวนการที่พระสงฆ์ร่วมกันทำผ้าขึ้นมา เพื่อมอบให้กับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่อยู่ในอาวาสนั้นครบ 3 เดือน โดยจะต้องทำผ้า (ตัด เย็บ ย้อม) ให้เสร็จภายในวันนั้น โดยกฐินมีกำหนดเวลาให้ทำได้เฉพาะช่วง 1 เดือน หลังจากออกพรรษาเท่านั้น งานกฐินไม่ได้เน้นเรื่องจำนวนเงิน แต่เน้นเรื่องความสามัคคีและความพร้อมเพรียงกันของหมู่คณะ
- ปัจจัยที่ทำให้การทำทานได้บุญมากหรือน้อย ประกอบด้วย
1. ผู้ให้ มีความบริสุทธิ์ในศีล มีศรัทธาเต็ม ทั้งก่อนให้ทาน ระหว่างให้ทาน และหลังให้ทาน
2. ผู้รับ มีความบริสุทธิ์ในศีล มีราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง
3. ตัวทาน (สิ่งของที่นำมาให้) เป็นของที่ได้มาโดยถูกต้อง บริสุทธิ์ ไม่ได้คดโกงใครมา
- การสวดมนต์ที่ถูกต้อง คือ การสาธยาย หรือสัชฌายะ เพื่อให้จำให้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น การสวดมนต์เป็นไปเพื่อให้ตัวเราเกิดปัญญา ให้จิตเรามีความสงบ อย่างนี้ถึงจะได้บุญ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา คำสอนของพระพุทธเจ้าที่อยู่ในบทสวดมนต์ทั้งหมด ไม่ได้เป็นไปเพื่อการอ้อนวอน ขอร้อง หรือเสกเป่าคาถา แต่เป็นพุทธวจนที่พระพุทธเจ้าได้บอกได้สอนไว้ แล้วเอามาซ้ำ เอามาย้ำ เอามาท่อง เป็นการสาธยายหรือสัชฌายะ เพื่อให้เกิดปัญญา การสวดมนต์ได้บุญมาก เป็น 1 ใน 6 ที่ทำให้บรรลุธรรมได้
- ถือศีล 8 เล่นโทรศัพท์มือถือได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าเป็นการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลธรรมหรือไม่ ควรกำหนดเวลาที่ใช้ให้เหมาะสม ควบคุมตัวเองให้ได้ มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอด ถ้าวันไหนรักษาศีล 8 ก็ควรหลีกเลี่ยงแล้วหาสิ่งอื่นทดแทน เช่น การหาความสุขจากสมาธิซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งดีงามมากกว่า
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 26 Nov 2023 - 53min - 265 - การอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก [6647-1u]
- ผู้ชายเคยทำผู้หญิงท้องและให้ไปทำแท้ง เกิดความร้อนใจ แต่แก้ไขด้วยการตั้งจิตตั้งใจใหม่ โดยการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิ และปัญญา ทำทุกวันๆ ก็พบว่าชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
- การอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก ต้องมีการปรับจิตปรับใจให้มีความเมตตาต่อกัน ให้มีธรรมะในจิตใจ ซึ่งการให้ธรรมะซึ่งกันและกัน ไม่จำเป็นต้องพูดหรือทำอะไรให้กัน เพียงแค่ตัวเรานำธรรมะมาปฏิบัติ ก็ชื่อว่าได้ให้ธรรมะแล้ว
- วิธีปรับจิตใจของตนต่อบุคคล 5 กรณี ได้แก่ 1. เขาพูดไม่ดี แต่การกระทำยังดีอยู่ 2. เขาทำไม่ดี แต่วาจายังดีอยู่ 3. เขาทำไม่ดีและวาจาก็ไม่ดีด้วย 4. เขาทำไม่ดี พูดไม่ดี และจิตใจก็ไม่ดีด้วย 5. เขามีการกระทำที่ดี คำพูดที่ดี และมีจิตใจที่ดี ให้เราหาข้อดีของบุคคลนั้นให้เจอ ไม่ใช่เพื่อพัฒนาเขา แต่เพื่อพัฒนาจิตใจของเรา ไม่ให้มีความอาฆาตพยาบาท ให้มีความเมตตาต่อบุคคลนั้น ให้จิตใจของเราไปในทางสว่าง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 19 Nov 2023 - 1h 01min - 264 - มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นยอดธง [6646-1u]
ความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ จะต้องประกอบด้วยปัญญา ให้เรามีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นยอดธง จะทำให้มีความเห็นที่ถูกต้อง
ในที่นี้ยกเรื่อง ข่าวการสักยันต์ที่ฝ่ามือเพื่อเปิดดวงชะตาเสริมดวง การสวดมนต์ด้วยบทสวดที่ช่วยให้เป็นเศรษฐีหรือพ้นกรรม ความอยากต่าง ๆ เช่น อยากเป็นพระอรหันต์ หรือการขอร้องอ้อนวอน ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิ
ดังนั้นเราจึงต้องตั้งสถานะของเราให้ถูก มีศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยเดินตามทางมรรค 8 จะทำให้ตัณหาลดลง และมีนิพพานเป็นที่สุดจบ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 12 Nov 2023 - 55min - 263 - หลักในการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง [6645-1u]
หลักในการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในจังกีสูตร ว่าอย่าเพิ่งปักใจลงไป อย่ายึดถือโดยส่วนเดียว
เข้าใจความจริงอันประเสริฐ คือ สัจจะ
ด้วยการใช้หลักในการตามรักษาไว้ซึ่งความจริง 12 ขั้นตอน ดังนี้
- ปลูกศรัทธาลงไปครั้นมีศรัทธาเกิดแล้วย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้วย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้วย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลงย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้วย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม ครั้นทรงไว้ซึ่งธรรมแล้วใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายอันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่ธรรมทั้งหลาย ย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่ฉันทะ ย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้วย่อม มีอุตสาหะ ครั้นมีอุตสาหะแล้วย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้วย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น ผู้มีตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถสัจจะ (ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) เข้าใจแทงตลอดซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา
โดยมี 3 ขั้นตอนที่จะบรรลุ อริยสัจ คือ
ขั้นที่ 1 การตามรักษาซึ่งความจริง ว่าอย่าพึงปักใจลงไปว่านี้เท่านั้นจริง
ขั้นที่ 2 หาความจริงที่จะเปลี่ยนจาก Fact เป็น Truth (ความจริงอันประเสริฐ คือ สัจจะ) ได้
ขั้นที่ 3 การจะทำให้บรรลุได้ จะต้องทำให้มากเจริญให้มาก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 05 Nov 2023 - 59min - 262 - เหนือวัฎสงสาร โดยมาตามมรรค 8 [6644-1u]
Q1: ทำไมช่วงเข้าพรรษา คนถึงนิยมรักษาศีล จะได้บุญมากกว่าช่วงปกติหรือไม่?
A1: เป็นการเอาคติจากการอยู่ที่ใดที่หนึ่งช่วงเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้มาปรับใช้ในการกำหนดช่วงเวลาในการทำความเพียร รักษาศีล และให้เราทำแบบเป็นอริยะอุโบสถ โดยการระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
Q2: พระพุทธรูปที่หิ้งพระที่บ้าน ควรหันหน้าไปทางทิศไหน?
A2: เราไม่ควรติดในเรื่องของความเชื่อที่ว่าพระพุทธรูปจะต้องหันไปทางไหน แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ให้เรารักษาศีล และพิจารณาตามความเหมาะสม
Q3: ทำไมถึงไม่วางหิ้งพระไว้ใต้คาน
A3: การวางพระพุทธรูปควรวางไว้ในจุดที่สูงสุด และสถานที่ที่มีความเหมาะสม
Q4: ชีวิตหลังความตาย
A4: ให้เราทำเหตุแห่งความตายให้นิโรธ คือ ดับไป ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงมาสอน บอกความรู้นี้เอาไว้ คือ ให้เราทำจิตของเราให้หมดจากตัณหา มีความรู้ คือ วิชชา จะทำให้เราพ้นจากความตายได้
Q5: ทำอย่างไรถึงจะยอมรับการตายของคนในครอบครัวได้?
A5: ต้องมีปัญญาเห็นว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดา เข้าใจถึงเหตุของความตาย ปฏิบัติตามมรรค 8 จะทำให้เราพ้น จาก ความเกิด ความแก่ และความตายได้
Q6: จิตคนก่อนตายเพียงแต่คิดไม่ดี ก็ไปนรกได้ ทั้ง ๆ ที่ทำความดีมาตั้งมาก พอจ.มีความเห็นว่าอย่างไร?
A6: ดังนั้นเราจึงควรรักษาจิตของเราให้ดีเป็นกุศลตลอดเวลา
เราจะพ้นจากทุกข์โทษของวัฎได้ ให้ไปทางสู่นิพพาน
Q7: คนเราเจอกันในชาตินี้ เพราะว่าทำบุญ /กรรมด้วยกันมา เท็จจริงประการใด?
A7: คนเราจะรักหรือเกลียดกัน เพราะว่าเหตุ 2 อย่าง คือ สิ่งที่เป็นมาในปัจจุบัน หรือสิ่งที่เป็นมาในปางก่อน แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นอยู่ที่การกระทำของเราในชาตินี้ โดยให้มาตามมรรค 8 (ศีล สมาธิ และปัญญา) เป็นเส้นทางที่จะทำให้จิตของเราอยู่เหนือดี เหนือชั่ว เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือบุญ เหนือบาป และหลุดพ้นได้
Q8: เวลาทำบุญแล้วอยากได้บุญจะทำให้จิตใจไม่บริสุทธ์ หรือเปล่าครับ?
A8: การทำบุญโดยไม่ปรารถนาอะไรตอบแทน จะทำให้บริสุทธิ์มากขึ้น และเราควรทำบุญให้บริสุทธิ์มากยิ่งขึ้นไปอีก โดยการตั้งจิตอธิษฐาน สร้างเหตุ ไม่ได้ขอเอาผล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 29 Oct 2023 - 54min - 261 - การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ [6643-1u]
1. อย่าเพียงแต่เชื่อ
ความเชื่อ หรือศรัทธา จะต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ประกอบกันให้สมบูรณ์ คือ มีความเพียร มีศีล มีสติ สมาธิ ปัญญา
2. วิธีเสริมสร้างปัญญา
คือการทำสมาธิ พอจิตเป็นอารมณ์อันเดียวแล้วจะเห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผล เห็นช่องทางที่จะนำปัญญาไปใช้งาน เห็นถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปในจุดต่าง ๆ ปัญญาที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้คือให้พ้นทุกข์
3. วิธีเอาตัวรอด ด้วยปัญญา
โดยการเอาชนะกิเลสของตนเอง รอดจากราคะ โทสะ หรือ โมหะ ทั้งจากตัวเรา และของผู้อื่น โดยการตั้งสติของเราให้เกิดขึ้น และต้องมีความอดทนต่อกิเลส อดทนที่จะไม่คิดชั่ว อดทนต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่ให้มิจฉาทางกาย ทางวาจา และใจเกิดขึ้น
4. ระวังคนพาลใกล้ตัว
คนพาลใกล้ตัวคือตัวเราเอง ในขณะที่ถูกครอบงำด้วยราคะ โทสะ โมหะ
ดังนั้นให้เราระวังคนพาลใกล้ตัว รู้จักรักษาตัวรอด เอาตัวรอดจากราคะ โทสะ โมหะโดยการเสริมสร้างด้วยปัญญา ที่ไม่ใช่มีระบบเพียงแค่ความเชื่อ แต่มีหลายๆ องค์ประองค์ประกอบ ทำงานเป็นระบบในทางพระพุทธศาสนา คือ มีความเพียร มีศีล มีสติสมาธิ ปัญญา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 22 Oct 2023 - 45min - 260 - หลักธรรมในการเลี้ยงลูก และการใช้ชีวิต [6642-1u]
Q1: มีหลักธรรมในการเลี้ยงลูก และการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบัน?
A1: หน้าที่ของมารดาบิดา 5 อย่าง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีดังนี้
1. ห้ามลูกเสียจากบาป
2. ให้ตั้งอยู่ในความดี
3. ศึกษาศิลปะวิทยา
4. ให้มีคู่ครองที่สมควร
5. มอบมรดกให้ตามเวลา
Q2: ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะแก้ไขได้อย่างไร?
A2: ความขัดแย้งมีสาเหตุ จากกาม ความกำหนัดยินดีพอใจ ที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น และกาย
การแก้ไข จิตต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ มีความเมตตา เห็นอกเห็นใจ ให้อภัยกัน มีอุเบกขา และอยู่ในศีล
Q3: ทานเนื้อสัตว์จะบาปน้อยกว่าดื่มเหล้าจริงไหม?
A3: การรับประทานอาหารเจด้วยการตั้งเจตนาว่าจะไม่เบียดเบียน จะทำให้มีบุญมาก และหากมีการรักษาศีลด้วย จะทำให้ไม่มีความร้อนใจ ส่งผลให้เวลานั่งสมาธิมีจิตที่สงบ
Q4: การฝึกสมาธิ online กับการไปเข้าวัดแล้วไปฟังสด ๆ ได้บุญต่างกันไหม
A4: ได้บุญเหมือนกัน คือ สามารถบรรลุธรรมได้
ดวงตกเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้เราไม่ประมาท ทำความดี รักษาศีล เจริญภาวนา ทุกเวลาเป็นเวลาดีหมด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 15 Oct 2023 - 54min - 259 - เห็นทุกข์ให้เห็นธรรม เมื่อเจ็บป่วย [6641-1u]
เมื่อตัวเราป่วย หรือคนใกล้ตัวป่วยด้วยโรคร้าย การมีสติสัมปชัญญะ มีศีล สมาธิ เจริญมรณสติ จะทำให้เกิดปัญญายอมรับในความจริง เข้าใจสถานการณ์ ละความยึดถือทำให้อยู่ได้อย่างผาสุก
การมีธรรมะ 5 ข้อ ที่จะทำให้ผู้เจ็บป่วยไข้ผาสุกอยู่ได้
- รู้จักทำความสบาย สัปปายะรู้ประมาณในความสบายรู้จักรับประทานยาบอกอาการไข้จริงตามความเป็นจริงรู้จักอดทนต่อทุกขเวทนาทางกาย
หน้าที่ 5 อย่าง ของผู้ดูแลผู้ป่วย
- สามารถจัดยาให้ถูกต้องได้รู้จักของแสลง และของไม่แสลงดูแลด้วยจิตเมตตากรุณาไม่รังเกียจในการดูแลจัดการปัสสาวะ และอุจจาระพูดให้กำลังใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 08 Oct 2023 - 1h 02min - 258 - หลักการใช้จ่ายโภคทรัพย์ [6640-1u]
Q1: คำสอนของพระพุทธเจ้า มีสอนให้แบ่งจ่ายทรัพย์หรือไม่?
A1: พระพุทธเจ้าทรงสอนนายสิงคาลก เกี่ยวกับหลักการใช้โภคทรัพย์ ไว้ดังนี้
รายจ่ายอย่าให้ท่วมรายรับ รายรับต้องท่วมรายจ่าย โดย cash flow ต้องเป็นบวก ซึ่งทรงสอนให้แบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วน ส่วนที่หนึ่งใช้สอย 2 ส่วนใช้เพื่อการงาน และเก็บไว้ใช้ยามมีอันตราย 1 ส่วน การแบ่งสัดส่วนให้พิจารณาให้เหมาะสมกับตัวเราไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลในเรื่องสมชีวิตา พูดถึงรายรับต้องท่วมรายจ่าย รายจ่ายให้ใช้เพื่อ 4 หน้าที่นี้เท่านั้น เพื่อเป็นการเปิดทางน้ำเข้า ดังนี้
1. ขยันขันแข็ง
2. มีกัลยาณมิตร
3. รักษาทรัพย์ 4 รู้จักกระแสเงินสด เงินเข้าต้องมากกว่าเงินออก
การใช้จ่ายแบ่งเป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1 ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
ส่วนที่ 2 ใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์
ส่วนที่ 3 ให้คนที่มีความจำเป็น ไม่หวังได้คืน
ส่วนที่ 4 ให้เพื่อหวังเอาบุญ
ถ้าเราใช้จ่ายแบบนี้จะหมุนวนเป็นกระแสเงินเข้ามาเรื่อย ๆ อุปมาเหมือนจอมปลวก หรือรวงผึ้ง ที่ค่อย ๆ สะสมโภคทรัพย์ จนสามารถขยับฐานะขึ้นเป็นมหาเศรษฐีได้
Q2: คนสมัยนี้ บรรลุธรรมขั้นโสดาบันได้ง่าย จริงหรือครับ?
A2: โสดาบัน คือ ผู้มีศีล 5 บริสุทธิ์ มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ชนิดที่ไม่หวั่นไหวคลอนแคลน
โสดาบัน แบ่งเป็น 2 ขั้น คือ โสดาปัตติมรรค และโสดาปัตติผล
คนสมัยนี้บรรลุธรรมโสดาบันขั้นมรรคสามารถเป็นไปได้ เนื่องจากมีสื่อต่าง ๆ
แต่ในขั้นบรรลุธรรมโสดาบันขั้นผลนั้น ปัจจุบันไม่มีใครสามารถพยากรณ์ได้
ทั้งนี้ ตัวเราเองสามารถบอกได้ว่าเรามีคุณธรรมขั้นไหน แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการไม่เข้าข้างตัวเองหรือมีโมหะ โดยจะมีคุณสมบัติ และเครื่องทดสอบในแต่ละขั้น ดังนี้
- โสดาบัน คือ ผู้ที่มีศีลเต็ม สมาธิ และปัญญาพอประมาณ มีเครื่องทดสอบให้เราเสื่อมศรัทธา สกทาคามี คือ ผู้ที่มีศีลเต็ม สมาธิ และปัญญาพอประมาณ มีเครื่องสอบ เพิ่มเติม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ทำให้โกรธ ให้หลงอนาคามี คือ ผู้ที่มีศีลเต็ม สมาธิเต็ม มีเครื่องสอบเพิ่มเติม คือ ราคะกับปฏิฆะ ทำให้หงุดหงิดใจ ยินดีเพลิดเพลินไปอรหันต์ คือ ผู้ที่มีปัญญาเต็ม มีเครื่องทดสอบเพิ่มเติม คือ ความมีตัวตน ความเป็นอนัตตา อวิชชา วิชชา
Q3: การฝึกสมาธิแบบ Online หรือไปสถานปฏิบัติธรรม อันไหนดีกว่ากันครับ?
A3: ทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน
Online สามารถทำได้ทุกที่
Onsite หากปฎิบัติแล้วมีปัญหาติดขัด สามารถสอบถามได้ทันที่ (Interactive)
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการปฎิบัติของแต่ละคน
Q4: การตักบาตรกับพระอรหันต์จะได้บุญมากจริงไหมครับ?
A4: ในพุทธพจน์ มีระบุไว้ว่าการตักบาตรกับพระอรหันต์จะได้บุญมาก
แต่เนื่องจากเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าพระรูปใดเป็นพระอรหันต์
ทั้งนี้ หากต้องการทำบุญแล้วได้บุญมาก ให้ทำสังฆทาน ซึ่งเป็นการให้ทานในหมู่สงฆ์ โดยให้เราตั้งจิตถวายพระที่ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ โดยมีพระรูปใดรูปหนึ่งเป็นตัวแทน พอเราตั้งจิตถูก มีศรัทธาก่อนให้ ระหว่างให้ และหลังให้ ทำให้ได้บุญมาก ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้องตามหลักธรรมวินัย
Q5: จะรู้ได้อย่างไรว่า พระรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ สังเกตได้อย่างไร?
A5: เป็นการยากที่จะทราบว่าพระรูปใดเป็นพระอรหันต์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 01 Oct 2023 - 53min - 257 - สัญญาณก่อนเป็นบ้า และวิธีแก้ไข [6639-1u]
Case ของท่านผู้ฟังทางบ้านที่จับได้ว่าสามีมีหญิงอื่น ได้รับความทุกข์ใจเป็นอันมากจนคิดจะฆ่าตัวตายเพื่อจบปัญหา
พระอาจารย์ได้แนะนำวิธีการรับมือ และแก้ไขปัญหาโดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ตั้งสติ ว่าแผลอยู่ตรงไหน ใช้สติเป็นเครื่องเอกซเรย์ที่ตรวจหาหัวลูกศรว่าอะไรเป็นเหตุของความทุกข์ ใน case ของผู้ฟังทางบ้าน ที่สามีมีหญิงอื่น หัวลูกศร คือความรักที่มีต่อสามี เมื่อสามีมีหญิงอื่นจึงนำซึ่งความทุกข์มาให้ใช้ปัญญาเป็นดั่งมีดปาดลงไปที่แผล ทั้งนี้จิตต้องเป็นสมาธิ ถอนความรักออก จนเหลือแต่เมตตา แยกความดีไม่ดี ออกจากสุขหรือทุกข์ แล้วตั้งอยู่ในกุศลธรรมเข้าใจความสุข หรือทุกข์ว่าเป็นธรรมดาใส่ยาเพื่อรักษาแผลที่จิตใจให้หายอย่าให้ลุกลามออกมาภายนอก ด้วย ศีล สมาธิปัญญา อุเบกขา เมตตา ภาวนา และไม่ทำสิ่งที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นมาอีก
สัญญาณที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเราใกล้บ้าแล้ว
- นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไปกินอาหารมากขึ้น หรือเบื่ออาหารใช่จ่ายฟุ่มเฟือยเสพสิ่งเสพติดเล่นโซเชี่ยลมากเกินไปเพ้อคลั่งอาละวาด มีความเครียดอยู่ตลอดเวลาหวาดระแวงทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำได้ตามปกติ เห็นภาพหลอนได้ยินเสียงแว่วไม่สามารถตัดสินใจเรื่องเล็กๆน้อยๆ ได้หลงลืมคิดจะฆ่าตัวตาย หรือคิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย
ในทางพระพุทธศาสนา คนที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ มีโอกาสเป็นบ้าได้ทุกคน โดยมีความวิปัลลาส 4 อย่าง ดังนี้
- เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงเห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขเห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนเป็นอนัตตาว่ามีตัวเราเป็นของเราเห็นสิ่งที่ไม่งามอสุภะว่าเป็นของงาม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 24 Sep 2023 - 58min - 256 - ตั้งมั่นอยู่ในทางที่ถูกต้อง [6638-1u]
Q1: มีคำพูดที่ว่า การสร้างพระประธาน หรือ เจ้าภาพกฐิน ไม่ควรทำคนเดียวถ้าบุญไม่ถึงอาจมีอันเป็นไป ขอสอบถามว่าเป็นอย่างนั้นใช่หรือไม่?
A1: สามารถทำคนเดียวได้ ยกตัวอย่างอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่สร้างวัดพระเชตวันเพียงคนเดียว ทั้งนี้ไม่มีพุทธพจน์ข้อไหนที่บอกไว้ว่าไม่ควรทำบุญใหญ่คนเดียว
ทั้งนี้ เหตุผลที่ห้ามทำคนเดียวเป็นกุศโลบาย เนื่องจากการทำบุญด้วยการให้ทานผลที่จะเกิดขึ้น คือ สำหรับตนจะได้ โภคสมบัติ ถ้าชวนคนอื่นด้วย จะได้บริวารสมบัติ คือ มีหมู่คณะ มีเพื่อนเพิ่มเติมขึ้นมา โดยบุญมี 3 อย่าง คือ ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา
Q2: ถามถึงกิจกรรม Challenge ที่นั่งอันเป็นทิพย์
A2: เป็นกิจกรรมที่ท้าให้ผู้สนใจมาร่วมปฏิบัติการด้วยกัน เป็นเวลา 7 วัน เป็นการสร้างนิสัยเอาชนะความขี้เกียจ ฝึกแบบเป็นระบบด้วยรูปแบบการเรียนออนไลน์ และมีระบบการเก็บแต้ม คนที่ปฏิบัติได้ครบ 7 วันก็จะได้รับรางวัล
เมื่อเราทำ Challenge รับคำท้า จะต้องเจอข้อสอบแน่นอน ให้เรามีปัญญา มีความเพียรตั้งมั่นทำความดีอยู่ในทางที่ถูกต้อง
Q3: พระดูดวงให้กับฆารวาส ทำได้หรือไม่?
A3: ถ้าดูแล้วมีการเรียกเก็บค่าดู ไม่สามารถทำได้เนื่องจากผิดศีลของพระ
Q4: บวชชี 7 วันจะช่วย ชำระกรรมเก่าได้จริงไหม หรือเกิดประโยชน์ไหม?
A4: การบวชชีเป็นสิ่งที่ดี ในที่นี้ยกตัวอย่างการทำความดีเหมือนเป็นการเพิ่มน้ำที่สามารถทำให้ความเค็มที่เกิดจากเกลือลดลง แต่เกลือในที่นี้ คือ กรรมเก่าไม่ได้หายไปทั้งนี้เนื่องจากกรรมนั้นได้ทำไปแล้วสำเร็จแล้ว ผลจะได้รับมากน้อย เร็วช้า มีตัวแปรหลายอย่าง เช่นการทำความดี การบวชชี ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำ
Q5: การบวชภิกษุณี ควรจะไปบวชที่อินเดีย ถูกต้องไหม?
A5: การบวชภิกษุณี ต้องเกิดจากการบวชโดยสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ ภิกษุ และภิกษุณี แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีภิกษุณี จึงต้องไปบวชที่ อินเดีย ศรีลังกา หรือไต้หวัน
Q6: การนับวันในพุทธศาสนา กรณี อยู่คนละประเทศ จะยึดหลักการนับวันอย่างไร การปฎิบัติจะมีความลักลั่นกันไหม ?
A6: การกำหนดวันพระในพระพุทธศาสนามากำหนดภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว สมัยพุทธกาลทุกวันคือวันสำคัญ กรณีอยู่คนละประเทศหลักการนับให้ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ
Q7: ถ้าทำงานติดขัดมีปัญหา ขอคำแนะนำ ควรทำอย่างไรดี?
A7: มีปัญหาตรงไหนให้แก้ตรงนั้น ถ้าทำงานติดขัดแล้วมีปัญหา อย่างน้อยให้รักษาศีลโดยนำหลักการปฎิบัติที่ไม่มีทางผิดมาใช้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 17 Sep 2023 - 54min - 255 - วิธีคิดที่ไม่มีทางผิด [6637-1u]
มีตนมีธรรมเป็นที่พึ่งสามารถที่จะผ่านปัญหาต่าง ๆ ด้วยปัญญาเฉพาะตน คนเราสามารถพัฒนาได้ ด้วยวิธีคิดที่ไม่ผิด ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นแบบไหนก็ตาม
ซึ่งเป็นวิธีคิดที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ใน อปัณณกะ ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
“อะไรที่จะมีประโยชน์ให้เอาไว้ก่อน และหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยง”
2 ส่วนยังไงก็ผิด เป็นความวิบัติ 3 อย่าง
- สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)จิตตวิบัติ (ความวิบัติแห่งจิต)ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
ความถึงพร้อม 3 อย่าง ที่ไม่มีทางผิด คือ
- สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต)ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่งผลให้เจริญแน่นอน
ข้อปฎิบัติ 3 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงตกผลึกมาแล้ว ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรเมื่อปฎิบัติแล้วไม่มีทางเสีย มีแต่จะดีขึ้น คือ
- การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายการรู้ประมาณในการบริโภคการประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ ๆ
ในที่นี้ยกตัวอย่าง 3 เรื่องด้วยกัน ดังนี้เรื่องที่ 1 การถ่วงน้ำหนักลูกเต๋า ซึ่งเป็นกลโกงในการเล่นการพนัน ที่นำเทคนิคนี้มาปรับใช้ในการทำความดี สร้างประโยชน์ ทำความดีได้ตลอดเวลา
เรื่องที่ 2 พระโพธิสัตว์ ครั้นเมื่อเกิดเป็นพ่อค้าบริหารความเสี่ยงด้วยระเบียบวินัย ในเรื่องของการใช้น้ำสำหรับการเดินทางในทางกันดาร โดยใช้ปัญญาคิดมาตรการ และระบบที่จะป้องกันความเสี่ยง และมีความเพียรในการทำตามระบบนั้น ทำให้ไม่ถูกยักษ์ที่แปลงกายมาหลอกให้ทิ้งน้ำกลางทางจนกว่าจะเจอน้ำใหม่
เรื่องที่ 3 คน 2 คน ไปหาสิ่งของมาขาย คนที่มีปัญญาจะคิดว่าอะไรที่จะมีประโยชน์ให้เอาไว้ก่อน เช่น ผ้าไหม มีประโยชน์กว่าเชือกป่าน จึงเลือกที่จะขนผ้าไหม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 10 Sep 2023 - 59min - 254 - ที่พึ่งที่ถูกต้อง [6636-1u]
Q1: การมีบุตรยาก ในพระไตรปิฎก มีบทไหนพูดถึง เหตุของการไม่มีทายาท?
A1: การมีบุตรยากมีสาเหตุจาก 1) เกิดจากกรรมปัจจุบัน เช่น อาหารการรับประทานสุขภาพ และมลพิษ เป็นต้น และ 2) เกิดจากกรรมเก่า ในที่นี้ยกตัวอย่าง 2 case ดังนี้
Case 1 โพธิราชกุมาร เหตุแห่งการไม่มีลูกเนื่องจากทำกรรมเก่า เมื่อครั้งเป็นต้นหนเรือแล้วเรือแตกไปติดเกาะ ประทังชีพตลอดอายุขัยด้วยการกินไข่นก ลูกนก และพ่อแม่นก
Case 2 เศรษฐีที่ร่ำรวย เนื่องจากเคยให้คนใช้นำอาหารไปใส่บาตรพระปัจเจกพระพุทธเจ้า แต่หลังจากเห็นของในบาตรแล้วพบว่ามีแต่ของดี ๆ จึงเกิดความเสียดายของที่ใส่บาตรไป ส่งผลให้ไม่ได้ยินดีในบุญ หรือสมบัติที่ตนมี
และเหตุแห่งการไม่มีลูก มาจากการทำกรรมฆ่าหลาน เนื่องด้วยกลัวมาแย่งมรดก
Q2: อยากจะสร้างบุญสร้างกุศล ให้มีลูกได้ไหม หรือมีวิธีการอย่างไรตามแนวพระพุทธศาสนาที่จะทำให้มีลูกได้?
A2: ในทางพระพุทธศาสนาไม่มีสอนไว้
ทั้งนี้พระอาจารย์แนะนำให้ตั้งมั่นในความดี และตั้งจิตอธิษฐาน โดยอาศัยความดีของเรา เมื่อทำดังนี้แล้วให้วางจิตวางใจไว้ดังนี้ หากจะมีลูกก็ดี หรือไม่มีก็ได้
Q3: หลักการสร้างวัตถุมงคลทางพระพุทธศาสนา มีหลักการอย่างไร?
A3: เรื่องมงคลในพระพุทธศาสนามีอยู่ 38 อย่าง เป็นมงคลที่เราลงมือทำ ปรากฏอยู่ในมงคลสูตร ซึ่งไม่ได้เป็นวัตถุมงคล
การบูชาบุคคลที่ควรบูชาก็เป็นมงคลอย่างหนึ่ง เช่น การนับถือบิดามารดา เจ้านายบุคคลที่มีศีล (พญานาค ท้าวเวสสุวัณ ท้าวสักกะ เป็นต้น)
การบูชาในทางพระพุทธศาสนาทำได้ 2 แบบ ดังนี้ 1) อามิสบูชา คือ ยัญญ (การให้โดยไม่มีผู้รับ) หรือให้ทาน (การให้ที่มีผู้รับ) และ 2) การบูชาโดยไม่ใช่อามิส บูชาด้วยคุณธรรม สิ่งที่บูชา คือ ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา
ความเชื่อที่ถูกต้อง จะต้องประกอบด้วยเหตุและผล มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งสูงสุด พาไปพ้นทุกข์ ซึ่งจะต้องปฎิบัติตามอริยะมรรคมีองค์ 8
Q4: การทำพิธีกรรมต่าง ๆ ต้องมีบทสวด ในทางพระพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่าอย่างไร
A4: คำสอนของพระพุทธเจ้ามีความเป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เกิดปัญญา ปัญญาคือความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี
การสวดมนต์ เป็นสิ่งที่ดี เช่น สวดมนต์แล้วจิตสงบ สงบแล้วมีปิติ มีปราโมทย์ จิตมีสมาธิ เกิดปัญญา ซึ่งเป็นหนึ่งในที่จะทำให้ถึงวิมุตติ 5 ประการ
Q5: การฆ่าสัตว์โดยความจำเป็น จะบาปไหม?
A5: เป็นบาป โดยบาปที่เกิดขึ้นจะมีความละเอียดแตกต่างกัน เช่น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ การฆ่าสัตว์เล็กบาปน้อยกว่าฆ่าสัตว์ใหญ่ ดังนั้นการฆ่าแมลงสาบด้วยความจำเป็นจึงเป็นบาปไม่มาก
ทั้งนี้พระอาจารย์แนะนำให้ทำบุญกุศล และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความดีที่ทำขอให้ได้งานใหม่ ที่ไม่ต้องเบียดเบียนชีวิตสัตว์
Challenge กิจกรรม ท้าให้ทำ
ท้าให้ผู้ฟังนั่งสมาธิตลอด 7 วัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 03 Sep 2023 - 57min - 253 - การตั้งจิตอธิษฐาน [6635-1u]
1.การตั้งจิตอธิษฐาน
การอ้อนวอนขอร้องไม่ใช่หลักการตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่สิ่งที่ให้ทำ คือ การตั้งจิตอธิษฐาน
อธิษฐาน คือ การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือการสร้างเหตุ เพื่อให้ได้ผล เกิดความสำเร็จ
หลักของการตั้งจิตอธิษฐาน จะต้องตั้งจิตให้ถูก ประกอบด้วยปัญญา มีความแน่วแน่ ไม่คลอนแคลนหวั่นไม่ว่าจะมีสิ่งใดมาขัดขวาง
2.การบูชา
การบูชายัญ เป็นมิจฉาทิฐิ ให้บูชาด้วยจิตอธิษฐานที่ตั้งไว้เป็นความดี
3.ศรัทธา
ศรัทธา มี 4 อย่าง ดังนี้
3.1 กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง
3.2 วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
3.3 กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์ มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
3.4 ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือ เราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้
ศรัทธา ที่สามารถยังประโยชน์ให้สำเร็จ ศรัทธานั้นต้องประกอบด้วยเหตุผล และปัญญา อจลศรัทธา คือ มีความศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ที่ตั้งมั่น ไม่คลอนแคลน ไม่หวั่นไหว คือ คุณธรรมของพระโสดาบัน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 27 Aug 2023 - 56min - 252 - สัมมาทิฏฐิ [6634-1u]
Q1: การเลี้ยงสัตว์ / เลี้ยง นก ปลา ต่างๆ ทางพุทธศาสนาจะพิจารณาอย่างไร?
A1: หลักการของพระพุทธศาสนาคือหากเลี้ยงแล้วต้องไม่เบียดเบียนชีวิต และไม่ผิดศีล
ถ้าไม่ฆ่า ไม่ได้สั่งให้ฆ่า คือ ไม่ผิดศีล
และการค้าขาย ที่ควรหลีกเลี่ยง คือการค้าขายสัตว์เป็น และค้าขายเนื้อสัตว์
Q2: ระหว่างแม่ที่ทำแท้งลูก กับแม่ทิ้งลูก อันไหนบาปกว่ากัน?
A2: ทั้ง 2 กรณี มีสาเหตุมาจากการผิดศีล ข้อ 3 คือ ผิดจารีต จึงทำให้ไม่ได้รับการยอมรับ แต่กรณีทำแท้ง เป็นการผิดศีลข้อ 1 ด้วย คือ การฆ่า จึงบาปมากกว่าทิ้งลูก เราควรจะสร้างบุญทำให้ถูก แก้ไขปรับปรุงไม่ให้ทำบาป รับผิดชอบความผิดของตนเองจากการผิดจารีต เมื่อตั้งท้องแล้วก็ให้ยอมรับที่จะรับผิดชอบเลี้ยงดูเด็กให้ดี
Q3: การเก็บร่าง พระเกจิอาจารย์ไว้ ถามว่า สมัยพุทธกาลเคยมีการเก็บแบบนี้ไว้ไหม?
A3: ในพระวินัย และพระสุตตันตปิฎก ไม่มีการระบุว่ามีการเก็บร่างไว้ แม้แต่พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันปรินิพพานก็ดำเนินการเผาภายใน 7 วัน
หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งที่เที่ยงไม่มี ธรรมทั้งหลายเป็นของไม่ใช่ตัวตน สิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ในเรื่องนี้จำแนก ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 การเก็บร่างไว้เพื่อแสดงถึงความยังยืนแน่นอน ผิดหลักการของพระพุทธศาสนา
กรณีที่ 2 เก็บไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง พอได้
ถ้าจะให้ถูกตามคำสอนของพระพุทธเจ้าฌาปนกิจเลย ไม่ควรเก็บไว้เกิน 7 วัน
Q4: การเก็บร่างไว้ ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าไหม?
A4: ที่พระพุทธเจ้าทำให้ดู คือ เก็บไว้ 7 วัน แล้วจึงฌาปนกิจ ดั่งที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร ปัจจุบันก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสม
Q5: หน้าที่ที่พึงปฎิบัติต่อทิศเบื้องหน้าต้องทำอย่างไร?
A5: หน้าที่ของลูกที่พึงปฏิบัติต่อมารดาบิดา มีดังนี้ เมื่อแก่เถ้าแล้วเลี้ยงดูท่านตอบ เมื่อตายไปแล้วทำกาละให้ ดำรงวงศ์สกุล ทำข้อปฎิบัติเป็นอริยวงศ์ คือ ศีล และเป็นทายาท คือ รับมรดก ข้อปฎิบัติในชีวิตที่ดี ๆ มา ดำรงตนเป็นธรรมทายาท
Q6: เด็กรุ่นใหม่บางคน มองว่า พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูตนเพราะเป็นหน้าที่ ตนไม่จำเป็นต้องเลี้ยงดูท่านตอบ
A6: ความเห็นบางอย่างมีแล้วทำแล้วให้เกิดบาป อกุศล เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ
ความเห็นที่มีแล้วทำแล้ว ให้เกิดกุศล กิเลสลดลง เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสัมมาทิฏฐิ เพื่อยับยั้งชั่งใจ เป็นการให้อาหารส่วนที่เป็นกุศล อีกทั้งให้คบกัลยาณมิตรที่จะช่วยทำให้เกิดความดีขึ้นในชีวิตของเรา
Q7: วันพระไทยกับต่างประเทศ ไม่ตรงกัน จะถูกต้องไหม?
A7: วันพระสามารถใช้เวลาตาม location นั้นได้เลย
Q8: การสร้างพระพุทธรูปจะได้บุญใหญ่จริงหรือเปล่า?
A8: การสร้างพระพุทธรูป จัดอยู่ในหมวดการสร้างเสนาสนะเจดีย์ ได้บุญมากสุดในส่วนของการให้ทาน
แต่การรักษาศีลนั่งสมาธิภาวนา ช่วยให้ใกล้นิพพานมากกว่า และได้บุญมากกว่าการให้ทาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 20 Aug 2023 - 54min - 251 - การรักษาศีล 5 [6633-1u]
ไต่ตามทาง
เรื่องเล่าของคุณตาที่สมัยหนุ่มเป็นคนอารมณ์ร้อน พอแก่ตัวลงประกอบกับ อินทรีย์แก่กล้าขึ้นจากการมีกัลยาณมิตร ได้ฟังธรรมะ ทำให้เป็นคนใจเย็นลงสามารถรับมือกับสถานการณ์ตอนเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี
การรักษาศีล 5 อย่างละเอียด
1.การฆ่า
ไม่ปลงชีวิตสัตว์ทั้งหมด ไม่ว่าสัตว์นั้นจะมีคุณมีโทษมากหรือน้อย สัตว์ใหญ่ หรือเล็ก
2.การขโมย
ในที่นี้ยกตัวอย่างเรื่องการค้า การซื้อขายถ้าจะให้เป็นการรักษาศีลอย่างละเอียดให้เอามีนอกมีในออก ให้เป็นไปตามกลไกของตลาด และไม่มีการฮั้วกัน การโกง เป็นต้น
3.การดื่มสุรา และเมรัย
พระพุทธเจ้าให้สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
รวมทั้งละเว้นจากการคบเพื่อนชั่ว เที่ยวตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน และเล่นการพนัน เล่นหวยเล่นเบอร์
4.การประพฤติผิดในกาม
ในที่นี้คือการไม่ทำผิดจารีตประเพณี เช่น หนุ่มสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานกัน แล้วอยู่ด้วยกันถือว่าประพฤติผิดในกาม
5.วาจา
นอกจากการไม่พูดโกหก ไม่พูดโดยมีเจตนาให้เขาเข้าใจเป็นอย่างอื่น การพูดเพ้อเจ้อการพูดยุยงให้แตกกัน พูดคำหยาบ รวมถึงการพูดทิ่มแทงคนอื่น การพูดเสียดสี และการพูดที่กระทบกระเทือนจิตใจผู้อื่น ถือว่าผิดศีล
ถ้าเรารักษาศีลได้ดีละเอียด นอกจากรักษาตัวเรายังช่วยรักษาผู้อื่นที่จะไม่ได้รับการเบียดเบียนจากตัวเรา
การรักษาศีลให้ละเอียดเป็นพื้นฐานสู่โลกุตรธรรม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 13 Aug 2023 - 1h 02min - 250 - พลังใจในพรรษา [6632-1u]
Q1: ที่มาของวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
A1: วันเข้าพรรษา มีที่มาเนื่องจากในสมัยพุทธกาลช่วงฤดูฝนพระสงฆ์ผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้เหยียบย่ำข้าวของชาวบ้านที่ปลูกไว้เสียหาย เมื่อเรื่องทราบถึงพระพุทธเจ้าจึงเกิดการบัญญัติเรื่องวันเข้าพรรษาในพระวินัยให้พระภิกษุอยู่จำพรรษาในช่วงฤดูฝน
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีพระสงฆ์รูปแรกอุบัติขึ้น
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าออกบวช วันเกิดพระราหุล และวันที่ทำสังคายนาครั้งแรก
Q2: ในปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้แล้ว การถวายเทียนจำนำพรรษา พระภิกษุได้ใช้งานจริงหรือไม่?
A2: เทียนจำนำพรรษาไม่ค่อยได้ใช้ แต่ปัจจุบันก็จะมีการประยุกต์เป็นถวายหลอดไฟซึ่งทางวัดสามารถนำไปใช้ได้
* ชักชวนทำข้อปฏิบัติที่ให้เกิดการตั้งมั่นตั้งใจสร้างนิสัยที่ดีในช่วงเข้าพรรษา 3 ข้อ ทุกวัน ดังนี้ 1) เดินจงกรม 2) นั่งสมาธิ และ 3) รับประทานอาหารมื้อเดียวหรือ 2 มื้อ (รักษาศีล 8)
Q3: ขยันทำบุญได้อะไร?
A3: ทำบุญแล้วได้บุญ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ถ้าเราอยู่ในสังสารวัฏ ต้องมีบุญ ที่จะเป็นเสบียงใช้สำหรับเดินทางไกล
อย่าสร้างบาป ให้ทำบุญ ให้อยู่เหนือบุญเหนือบาป เอาความดี เป็นที่พึ่ง ไม่ประมาทมั่วเมาในความสุข และไม่เมาบุญ
Q4: ที่กล่าวว่า ความรักของพ่อแม่นั้นบริสุทธิ์ บริสุทธิ์อย่างไร?
A4: ความรักของพ่อแม่นั้น ไม่มีเงื่อนไข ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ไม่มีหมด เป็นความรักอย่างของพรหม มีเมตตาเป็นที่ตั้ง
Q5: เมื่อถูกเจ้านายสั่งให้ไปจ่ายสินบนแก่ข้าราชการ เราซึ่งเป็นตัวกลางในการส่งมอบผิดบาปหรือไม่?
A5: ผิด และได้บาปมาด้วยส่วนหนึ่ง เนื่องจากมีส่วนร่วมในกระบวนการ
หลักการที่พิจารณาว่าอะไรทำแล้วไม่ผิด หรือไม่บาป คือ ให้มีศีล
ถ้าเอาเงินบาปไปทำบุญ จะได้บุญหรือไม่?
ทำบุญด้วยการให้ทานได้บุญ แต่การเอาเงินบาปมาทำบุญจะมีความเศร้าหมองของวัตถุทานที่ไม่บริสุทธิ์
Q6: เวลาเป็นสังขตธรรมหรือไม่?
A6: สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีการปรุงแต่ง มีลักษณะ ดังนี้ 1) มีการเกิดปรากฏ 2) มีความเสื่อมปรากฎ 3) เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ
เวลามีลักษณะทั้ง 3 อย่าง เวลาจึงเป็นสังขตธรรม
Q7: ทำไมคนจึงนิยมไปทำบุญในตอนเช้าของวันพระ?
A7: กิจของคฤหัสถ์มีมากจึงไม่สามารถมาทำบุญได้ทุกวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้มาทำบุญว่าจะสะดวกมาวันไหน ซึ่งส่วนใหญ่จึงนิยมไปทำบุญในตอนเช้าของวันพระ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 06 Aug 2023 - 53min - 249 - อุปนิสัยแห่งความสำเร็จ [6631-1u]
4 อุปนิสัยที่จะทำให้เราอยู่ในโลกที่มีกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างปลอดภัย สำเร็จ รักษา กายวาจา ใจ ของเราให้ไปตามทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง ประกอบด้วยปัญญา และความเพียร อันจะทำนิพพานเป็นที่สุดจบให้เกิดขึ้นได้
ข้อ 1 เรียนรู้ให้เร็ว หากผิดพลาดให้รีบแก้ไขให้ไว ลงมือทำให้เร็ว ปรับตัวให้ทัน นี่คือ concept การสอนของพระพุทธเจ้าที่จะทำให้เกิดการพัฒนา และทำให้เราอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้ได้สำเร็จ
ข้อ 2 อย่ารักใครมากเกินไป อย่าเกลียดใครมากเกินไป
โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามหลักโลกธรรม 8 หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปเราต้องปรับตัวให้เร็ว
มีสติ สัมปชัญญะ เข้าใจสถานการณ์ จะเห็นประโยชน์ จะเห็นโทษได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรักหรือเกลียดใครมากเกินไป ให้อยู่กันด้วยเมตตา สร้างประโยชน์ให้แก่กัน และช่วยกันระมัดระวังสิ่งที่เป็นโทษ
ข้อ 3 รู้จักปฏิเสธบ้าง Say No
ให้เราจัดลำดับของงาน
งานที่สำคัญ และเร่งด่วน ให้ลดลง
งานที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน ทำให้มากขึ้น
งานที่ไม่สำคัญ แต่เร่งด่วน ให้ say no
ให้จิตใจของเรามาจดจ่อทำงานที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน
ข้อที่ 4 อาหารการรับประทาน
การกินมากมีอาพาทมาก มึนมาก จะทำให้เป็นโรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการกิน เช่น โรคเบาหวาน ความดัน โรคมะเร็งบางประเภท เป็นต้น ดังนั้น ใน 1 วัน ควรกินเพียง 1 หรือ 2 มื้อ กิน 80% ของท้อง ไม่กินจุบจิ๊บ ไม่ดื่มน้ำหวาน และให้เลือกทานอาหาร non process food
เทคนิคในการตื่นนอนตอนเช้า คือ ตั้งนาฬิกาปลุกเวลานอนจะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน และมีประสิทธิผล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 30 Jul 2023 - 59min - 248 - เห็นถูกต้อง ทำให้ถูกทาง [6630-1u]
Q1: ฝึกสมาธิ โดยไม่ต้องนั่งสมาธิทำได้ไหม?
A1: การฝึกสมาธิคือการฝึกจิต ให้มีสติตั้งไว้ ไม่เผลอเพลินไปตามเรื่องราวต่าง ๆ หากมีความคิดในทางพยาบาทเบียดเบียนก็ให้ลดลง ซึ่งสามารถทำได้ในทุกอริยาบท
Q2: การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแบบจดจ่อ เช่น อ่านหนังสือ ถือว่าเป็นการฝึกสมาธิไหม?
A2: การจดจ่ออยู่กับเรื่องหนึ่งเรื่องเดียว ถือว่ามีสมาธิประเภทที่มีความคิด แต่จะให้ดีให้เรามาเจาะจงให้มีสัมมาสมาธิ โดยมีลำดับการพัฒนา ดังนี้
สัมมาสมาธิ เริ่มมาจากสัมมาสติ
สัมมาสติ เริ่มมาจากสัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ คือรู้ผิดรู้ถูก
Q3: ฤาษีกับพระ มีการทำสมาธิหรือปฏิบัติต่างกันอย่างไร?
A3: ฤาษี คือ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์รูปแบบหนึ่ง อาศัยอยู่ในป่า อยู่แบบสันโดษ ไม่คลุกคลีกับใคร ไม่ทานเนื้อสัตว์ ไม่โกนผม นุ่งห่มหนังเสือ หรือผ้าจากหนังสัตว์ ส่วนภิกษุ โกนผม นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด พระพุทธเจ้าทรงเลือกการประพฤติพรหมจรรย์ ในรูปแบบภิกษุ เนื่องจากทรงพิจารณาแล้วเห็นข้อดี ที่จะไม่ต้องมีภาระในเรื่องเครื่องนุ่งห่ม และทรงผม
Q4: วัสดุที่ใช้จดบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำไมต้องเป็นใบลาน?
A4: เนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีกระดาษ จึงต้องนำใบของต้นไม้มาใช้จดบันทึก ปัจจุบันบางวัดก็ยังรักษารูปแบบการใช้ใบลาน หรือใบข่อย โดยนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับกระดาษ
Q5: ผ้าไตรจีวรของพระ ทำไมถึงมีหลายสี?
A5: ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าที่ทิ้งแล้ว นำมาทำให้เสียสีเดิมด้วยการย้อม เหตุที่มีหลายสีเนื่องจากพระพุทธเจ้ากำหนดสีผ้าไตรจีวรไว้กว้าง ๆ เพื่อให้พระภิกษุอยู่ง่ายกินง่าย แต่ปัจจุบันขึ้นอยู่กับการตกลงกันของพระภิกษุแต่ละกลุ่มในการเลือกใช้สี แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้สีที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เช่น สีแดง เป็นต้น
พระวิระชัย ทรงเมตตา อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตั้งใจจะบวชไม่สึก เนื่องจากหลังจากฟังเทศน์ได้สติว่า ตำแหน่งหลังเกษียณก็ต้องคืนเขาไป ในส่วนของเรื่องธุรกิจตายไปแล้วก็เอาเงิน เอาทองไปไม่ได้ การสิ้นเหตุแห่งการเกิดต้องภาวนา และปฏิบัติเท่านั้น อีกทั้งหลังจากบวชแล้วพบว่าการบวชเป็นพระ ปฏิบัติธรรมมีความสุขมากกว่าทางโลก
Q6: ชายสามโบสถ์ คืออะไร
A6: สามโบสถ์ในที่นี้คือ โบสถ์พุทธ โบสถ์คริสต์ และโบสถ์อิสลาม ซึ่งหมายถึงคนที่เปลี่ยนศาสนาไปเรื่อย
Q7: ไปทำบุญแล้วเจออุปสรรคต่าง ๆ ทำให้จิตใจขุ่นมัว แบบนี้จะได้บุญไหม?
A7: ถ้าทำบุญแล้วจิตใจขุ่นมั่ว ได้บุญอยู่ แต่บุญนั้นจะเศร้าหมอง ให้เรารักษาจิตใจของเราให้ดี มีเมตตา อย่าไปคิดไม่ดีกับใคร ให้ตั้งศรัทราของเราให้เต็มที่ จึงจะทำให้ทำบุญแล้วได้บุญมาก การนั่งสมาธิ รักษาศีล ก็เป็นการทำบุญรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ได้ลงทุนด้วยเงินตราแต่เป็นการลงทุนด้วยร่างกาย
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 23 Jul 2023 - 53min - 247 - วิธีคิดของคนมีปัญญาในการฟังข่าว [6629-1u]
คลายเงื่อนปมสมการชีวิตด้วยปัญญา วิธีคิดของคนมีปัญญา ในการฟังข่าวที่มีความฉลาด มีธรรมะในใจ มีวิธีคิดอย่างไร?
คนมีปัญญาจะฟังข่าวแบบมีสติ ไม่ไหลไปตามกระแสดราม่าต่าง ๆ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ จะมีความมั่นคง สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเป็นบัณฑิตได้
ยกตัวอย่างการใช้ปัญญาในการฟังข่าว
- ข่าวการเมือง: ข่าวประธานสภา รองประธานสภา 2 ท่าน มาจาก 3 พรรคการเมือง และมาจากต่างศาสนากัน แต่ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ข่าวสังคม ดาราซื้อไซยาไนด์มากำจัดสัตว์ ได้รับผลกรรมจนทำให้ชีวิตย่ำแย่ลง ผู้มีปัญญาจะใช้ปัญญา เอาตัวรอดโดยไม่ต้องเบียดเบียนใคร ข่าวดาราป่วยโรคซึมเศร้า ทำอัตวินิบาตกรรม และข่าวคนถูกบันไดเลื่อนของสนามบินตัดขาขาด ผลเกิดจากกรรมใหม่ เนื่องจากการเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอข่าวเศรษฐกิจ การตกแต่งบัญชี ของ บริษัท Stark ทำให้ผู้ลงทุนได้รับความลำบาก พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้เราต้องรักษาสติ ถ้าไม่มีสติเจอคนพาล ก็จะทำผิดพลาดได้ การมีสติรักตัวเองก็เท่ากับรักษาผู้อื่น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 16 Jul 2023 - 56min - 246 - พัฒนาจิตในชีวิตประจำวัน [6628-1u]
คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมได้มีกระบวนการพัฒนาอินทรีย์ตามขั้นตอนดังนี้ ต้องมีสติจึงจะมีปัญญา จะมีสติได้ต้องมีศรัทธา มีศรัทธาประกอบด้วยความเพียรแล้ว จึงมีปัญญา
มีความเลื่อมใส จึงมีศรัทธา สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งคนและสัตว์
อยากจะมีจิตใจที่เยือกเย็น ขณะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีได้ ให้พัฒนาจิต ให้หนักแน่นไม่หวั่นไหว โดยการตั้งสติขึ้น เปรียบจิตดังหม้อ มีฐานรองหม้อ คือ มรรค 8 ศีล สมาธิ ปัญญา
วิธีการพัฒนา พระพุทธเจ้าให้ดูว่าเรามีอะไรดีอยู่ ให้ตั้งมั่นอยู่ในสิ่งนั้น เช่น มีศีล ให้เราตั้งมั่นอยู่ในศีล พอมีศีลแล้วแสดงว่ามีสัมวายามะ ก็จะทำให้เรามีสติ สมาธิเกิดขึ้นพิจารณาใคร่ครวญสิ่งที่เห็น เกิดปัญญา มีแค่ปัญญายังไม่สามารถหลุดพ้นได้ ถ้าจะให้หลุดพ้นได้ต้องใช้ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นปัญญาที่แท้จริง เป็นการต่อยอดจาก สุตมยปัญญา และจิตมยปัญญา ซึ่งจะเป็นไปในรูปแบบของการ รู้ คิด ทำ
การที่เชื่อเรื่องดวงเพราะไม่มั่นใจ จึงหาที่พึงทางใจ วิธีแก้ปัญหา คือ พัฒนาศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าให้มั่นคงไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นมาตามทาง จะทำให้เจริญพัฒนารุ่งเรืองได้
พระพุทธเจ้านำเสนอสิ่งที่มีประโยชน์มาก คือ การรักษาศีล เจริญปัญญา อันไหนมีประโยชน์น้อยควรละทิ้ง อันไหนมีประโยชน์มากควรจะเชื่อ และควรทำ
จากข่าวการบวชของพระเจมส์ จิ ซึ่งเป็นดาราดัง มีแฟนคลับมาก่อกวน เวลาใครบวชควรส่งเสริมให้ได้ปฎิบัติได้อย่างเต็มที่ อนุโมทนาร่วมกัน
พระสงฆ์ไม่รับเงินทอง แต่สามารถรับปัจจัยสี่เพื่อการบริโภคได้ ไม่ควรใส่เงินลงในบาตร หากต้องการถวายเงินพระ สามารถให้ไว้กับไวยาวัจกรได้
ดารา ดีเจ พวกฟ้อนรำ ร้องเล่นให้คนบันเทิง ทำให้ราคะของผู้อื่นเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบอาชีพนี้จึงตกนรก ดังนั้นหากดาราบวช จึงควรอนุโมทนา และหากต้องประกอบอาชีพดังกล่าว วิธีแก้คือ ให้มีความเห็นถูก ให้เป็นสัมมาทิฐิ และรักษาศีล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 09 Jul 2023 - 57min - 245 - ขันติ คือ ความอดทน [6627-1u]
หลังแต่งงาน เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ความแตกต่าง ขัดแย้งทางอุปนิสัย การอบรมเลี้ยงดู ปัญหาพ่อผัว แม่ผัว ลูกสะใภ้ เรื่องการเงิน เศรษฐกิจ ทำให้เกิดเป็นปัญหาครอบครัว และนำไปสู่การหย่าร้างในที่สุด ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้นต่อความหนักและความร้ายแรงทั้งหลาย เป็นธรรมะที่นำมาใช้แก้ปัญหา ให้เรามีความอดทน อดกลั้นปรับตัวเข้าหากัน จึงจะสามารถประคับประคองชีวิตคู่ให้ผ่านไปได้ด้วยดี
วิธีการที่จะพิจารณาว่าอะไรดีไม่ดี ให้ดูที่ ประโยชน์ ประกอบด้วย ประโยชน์ใน 3 กาล คือ ประโยชน์ในเวลาปัจจุบัน ประโยชน์ในเวลาต่อมา ประโยชน์ในเวลาต่อมาต่อมาอีกและประโยชน์ใน 3 ที่ คือ ประโยชน์ที่เกิดแก่ตนเอง ประโยชน์เกิดแก่ผู้อื่น ประโยชน์ที่เกิดแก่ทั้ง 2 ฝ่าย
เมื่อต้องประสบกับโลกธรรม ให้ใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริง เพื่อทำความเข้าใจความจริงของโลก พิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 02 Jul 2023 - 1h 03min - 244 - บุญเหนือบุญ [6626-1u]
Q1 เอาของวัดกลับบ้าน แม้พระจะให้แล้ว เราจะบาปไหม?
A1 ได้รับอนุญาตจากสงฆ์แล้ว ไม่บาป
คำสอนของพระพุทธเจ้าเน้นเรื่องการรักษาศีล ให้อยู่เหนือบุญ เหนือบาป อยู่เหนือดี เหนือชั่ว คือ พระนิพพาน
Q2 การนำสิ่งของคนตายมาใช้จะส่งผลต่อชีวิตหรือไม่
A2 สามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น พระสงฆ์นำของคนตายมาใช้ แต่ก็ไม่มีผลต่อชีวิต สามารถทำบุญอุทิศให้คนที่ตายไปแล้ว จะทำให้เราสบายใจ
Q3 พระนำสังฆทานที่รับมาแล้ว มาให้ญาติโยม แล้วญาติโยมเอาไปทำบุญต่อจะบาปไหม?
A3 สังฆทานเป็นทานที่ให้แก่หมู่สงฆ์ ถ้าพระที่เป็นตัวแทนสงฆ์ท่านสละออกแล้ว โดยนำมาให้ญาติโยม สามารถนำมาใช้ทำบุญต่อได้
Q4 มีคนให้ของเรามาแล้วเรานำไปทำบุญต่อกับพระได้ไหม?
A4 สามารถนำมาทำบุญต่อกับพระได้
Q5 ใส่บาตร โดยไม่ใส่น้ำ
A5 การใส่บาตรโดยไม่ใส่น้ำก็ได้บุญ อยู่ที่เจตนาของเราให้เป็นบุญ
Q6 คนที่บ้านชอบทำบุญเกินตัว
A6 การทำบุญจะต้องไม่เบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่น จะทำมากหรือน้อย แต่ศรัทธาเต็มยิ่งจะทำให้ได้บุญมาก ให้เอาตัว และจิตของเราทำบุญ มีปัญญาเข้าใจอริยสัจสี่ จะทำให้เราอยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้
Q7 เมื่อต้องทำงานที่ไม่ชอบ และทำงานกับคนที่ไม่ชอบ ควรปรับจิตปรับใจอย่างไร
A7 ต้องตั้งสติไว้ให้มาก ระมัดระวังอย่างเต็มที่ อย่าทำอกุศลธรรมตอบโต้คนที่ไม่ชอบออกไป ปรับจิตปรับใจของเรา ไม่ให้เพลิน ก็จะทำให้สามารถทำงานที่ไม่ชอบได้
Q8 ทำงานอย่างไรให้มีความสุข?
A8 นำสังคหวัตถุ 4 มาปรับใช้
Q9 ทำอย่างไร ถึงจะ focus กับงานที่ทำได้
A9 เอาอะไรที่จะมาดึงเราไม่ให้ focus กับงานออกไป โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ปัจจัยภายนอก แบ่งเวลาให้เหมาะสม ใช่เทคโนโลยีมาช่วยจัดการ เป็นต้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 25 Jun 2023 - 54min - 243 - ใช้ธรรมนำทาง ให้พ้นภัยจากวัฏฏะ [6625-1u]
คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เลี้ยงลูก 2 คน เจอปัญหาต่างๆ รุมเร้า ได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้สูญเสียรายได้ ลูกก็เจ็บป่วยไม่สบายจำเป็นต้องใช้เงินในการรักษา ใช้ธรรมนำทาง ทำให้มีจิตใจเข้มแข็ง เข้าใจสถานการณ์ ค่อยๆ แก้ไขปัญหา จนคลี่คลายปมปัญหาต่างๆ ลงได้
มุมมองการมองโลก ผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายนั้นมีข้อเสีย คือ เป็นคนขี้กังวล ขี้อิจฉา ขี้กลัว ขี้ระแวง แต่มีข้อดี คือ เป็นผู้ที่มีความรอบครอบ ระมัดระวังตัวในการใช้ชีวิต ไม่ถูกหลอกหรือถูกโกง ส่วนผู้ที่มองโลกในแง่ดีนั้นมีข้อเสีย คือ ทำให้เป็นคนประมาท มีโมหะ ราคะ ลุ่มหลง เผลอเพลิน แต่มีข้อดี คือ เป็นคนมีเมตตา มีน้ำใจ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มองโลกแบบมัชฌิมาปฏิปทา เข้าใจสถานการณ์ รู้เท่าทันโลกธรรม 8 แนวทางการปฏิบัติที่จะให้เราอยู่ในโลกนี้ได้ ให้ดำเนินตามมรรค 8 อยู่กับทุกข์ก็อยู่ได้โดยไม่ทุกข์ อยู่กับสุขก็อยู่ได้โดยไม่เผลอเพลิน เปรียบเหมือนลิ้นงูอยู่ในปากงู จะทำให้รักษาตนให้พ้นภัยจากวัฏฏะนี้ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 18 Jun 2023 - 57min - 242 - เห็นถูกต้อง ทำถูกธรรม จึงพ้นทุกข์ [6624-1u]
Q1 ทำไม นั่งสมาธินั่งเฉยๆ ถึงให้บุญมากกว่าการทำบุญ?
A1 การนั่งสมาธิมีประโยชน์ที่เกิดขึ้นมาก และยาวนาน ดังนี้
1. คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้
2. ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม
3. ทำให้เห็นทางแก้ปัญหา
4. ทำให้ถึงนิพพานได้
Q2 การให้ทาน เทียบกับการนั่งสมาธิ คนมักจะพูดว่านั่งสมาธิ บวกมากกว่า บวกมากกว่าอย่างไร?
A2 การให้ทานให้ชีวิตได้เพียง 1 วัน ให้แล้วยังต้องให้อีก แต่การนั่งสมาธิ พอทำจิตให้เป็นสมาธิ ด้วยสติสัมปชัญญะ ตัวเราได้ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เพราะจะไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีเมตตา อดทน ไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่น
Q3 วัดที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ มีบริการจัดหาปลาให้ปล่อย เป็นพุทธพานิชย์ จะได้บุญไหม?
A3 การค้าขายสัตว์เป็น เป็นอาชีพที่ไม่ควรทำ การไปซื้อสัตว์มาปล่อยไม่ควรทำ
Q4 ไปเข้าโบสถ์แล้วไม่ได้จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ จะผิดหลักการ แล้ว ไม่ได้บุญหรือไม่?
A4 เครื่องบูชาที่มีประโยชน์มาก ที่พระพุทธเจ้าเน้นย้ำ คือ ให้ปฏิบัติบูชา
Q5 การมีคู่ไม่มีคู่ สมหวังผิดหวัง เป็นเรื่องกรรมเก่าหรือไม่?
A5 สามีภรรยาจะอยู่ด้วยกันได้ ต้องมีคุณธรรม 4 อย่างเสมอกัน คือ ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา สำหรับคนไม่มีคู่ ให้ปรับมุมมองหาความสุขที่นอกจากทางกาม ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เล็งเห็นว่าการประพฤติพรหมจรรย์ดีกว่า มีประโยชน์ทั้งปัจจุบัน และภายภาคหน้า จึงออกผนวช
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 11 Jun 2023 - 54min - 241 - 3 วิธี คลายเครียด ด้วยสมาธิ [6623-1u]
"เห็นทุกข์อยู่ แต่ไม่เห็นธรรม ก็เครียดไง"
เอาความเครียดมาใช้ในการพัฒนาชีวิตของเรา ด้วย 3 ขั้นตอนการใช้สมาธิเพื่อคลายเครียด ดังนี้
- สังเกตให้ได้ก่อนว่าเราเครียดแล้วหรือยัง (ให้อยู่กับปัจจุบัน)ถ้าไม่เครียดเลย ไม่ดี ต้องมีเครียดบ้างขั้นบูรณาการ คือ ถ้ารู้ว่าเครียด ให้มีสติเป็นยามเฝ้าประตู คือ รู้ปัจจุบัน ไม่ไปตามอารมณ์ ให้ยามเฝ้าอยู่ที่ป้อมยาม คือ ลมหายใจ เมื่อเครียดให้สูดลมหายให้มีสติขึ้นมา พอจิตเราไม่เพลินไปตามอารมณ์ ความเครียดระงับลง ๆ จึงเริ่มเป็นสมาธิ จะเห็นทุกข์ เอาปัญญามาดู ให้เห็นเพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรมดาเกิดขึ้นได้ ตั้งอยู่ และดับไป พอเราเข้าใจเหตุผล ความมั่นใจ คือ ศรัทธา จะเชื่อมวงจรได้ด้วยทุกข์ทันที เพราะเราเข้าใจเหตุผล วงจรของใช้ตัวแปรเรื่องของอินทรีย์มาบูรณาให้เกิดการคลายเครียด ให้เห็นธรรม เราจึงจะอยู่กับสถานการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ และรับมือกับปัญหาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ การงาน ปัญหาสุขภาพได้โดยไม่เครียด
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 04 Jun 2023 - 1h 01min - 240 - สร้างสุข จากภายใน [6622-1u]
Q1: ทำบุญเสร็จแล้วสามารถ ขอ หรืออธิษฐาน ได้หรือไม่ ดีไม่ดี อย่างไร?
A1: อธิษฐาน หมายถึง การตั้งใจมั่นว่าจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นสิ่งดี ไม่ใช่การขอ ให้อธิษฐานเพื่อเสริมกำลังใจในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น จะตั้งใจทำงานทุกวัน เพื่อให้เลื่อนตำแหน่ง
Q2: ถ้าทำบุญด้วยความเกรงใจ จะได้บุญมากน้อยแค่ไหน?
A2: การสละออกถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ถ้าทำด้วยความเกรงใจ ผลของทานจะได้บุญไม่เต็มที่
Q3: ถ้าใส่ซองกฐินแบบไม่เต็มใจได้บุญไหม?
A3: ได้บุญ แต่ก็จะได้ไม่เต็มที่ เพราะใจเราไม่โน้มไปในสิ่งที่เราทำ แต่อย่างน้อยความตระหนี่จะถูกขูดเกลาออกไป
Q4: คนที่เป็นประธานกฐิน ต้องเป็นคนอายุมาก เท่านั้นจริงไหม?
A4: ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอายุมาก คนอายุน้อยก็เป็นประธาน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนที่จะทำบุญใหญ่มักจะมีอุปสรรคเป็นธรรมดา มารอาจมาขัดขวางได้ ดังนั้น ต้องประกอบด้วย บุญ บารมี และไม่ประมาท
Q5: ทำบุญแล้วไม่ได้กรวดน้ำ คนที่ล่วงรับไปแล้ว เขาได้รับบุญไหม?
A5: เวลาให้ทำบุญให้ตั้งจิตคิดถึงผู้ที่ล่วงรับไปแล้ว ขณะทำบุญ ผู้ล่วงรับจะได้รับบุญนั้น ไม่ต้องกรวดน้ำก็ได้
Q6: อยู่ในกลุ่มคนติดสบายไม่มีความเพียร / ทำงานแบบชิลล์ๆ ไปวันๆ ดีไหม?
A6: เวลาทำงานให้ทำแบบทางสายกลาง ต้องมีความเครียดบ้างถึงจะดี ให้ทำให้ดีที่สุดในระหว่างที่ทำ ทำให้ดี ทำให้เต็มที่ ปฎิบัติตามศีล สมาธิ ปัญญา จะดีที่สุด
Q7: ขอวิธีเริ่มต้น ปฎิบัติในการลดความเครียด?
A7: ต้องมีความอดทน มีสติ สัมปชัญญะ ให้ใส่ความสุขเข้าไปในงานที่เราทำ ความสุขมาจากภายใน มาจากสติ พอเราตั้งสติได้ จิตจะเป็นสมาธิได้ เราก็จะมีความสุขในงานที่ทำได้
Q8: คำที่ว่า เวรกรรมยุติธรรมเสมอ คำนี้ถือว่าถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นไหม? และเราจะรู้ จะวัดได้อย่างไรว่ามันยุติธรรมแล้ว
A8: เวรกรรมเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมอยู่แล้ว เพราะกรรมไม่มีวันจบ สิ่งที่จะจบ คือนิพพาน บทสรุป คือ ต้องสิ้นกรรม ต้องออกจากระบบของกรรม
Q9: ถ้าต้องอยู่กับหัวหน้าที่อารมณ์ร้อน หรืออารมณ์ร้าย ควรทำอย่างไร?
A9: ถ้าเราอยู่กับคนพาล คือ อยู่กับคนที่มีจิตที่มีฝีกลัดหนอง อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ดังนั้นเราต้องระวัง ต้องมีสติอย่างเต็มที่ เวลาจะพูดอะไรให้ระมัดระวัง คือ รักษาหน้าที่ของเราให้ดี ควรทำ 3 อย่างนี้ คือ 1. เอาเกียรติคุณของนายไปร่ำลือ (เพ่งหาข้อดีของคนนั้น) 2. ทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ 3. แผ่เมตตาโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณ
Q10: ทำงานอย่างไรดี ให้ไม่เกิดปัญหา และงานไม่สะดุด?
A10: ทำงานไม่มีอุปสรรคนั้น ไม่มี แต่เราจะผ่านอุปสรรคของงานนั้นได้ ด้วยการเจริญอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ-ตั้งใจ / วิริยะ-ความเพียร / จิตตะ-เอาใจใส่ / วิมังสา-คิดวิเคราะห์ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เป็นทางที่จะแก้ปัญหาให้งานสำเร็จได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 28 May 2023 - 54min - 239 - ธุรกิจสีเทา [6621-1u]
ธุรกิจสีเทา คือ ธุรกิจที่ผิดกฎหมาย มีการเบียดเบียนตัวเองหรือผู้อื่น ธุรกิจที่ผิดศีล เป็นการงานที่มีโทษ เช่น การค้าขายอาวุธ ขายยาพิษ ขายสุรา ขายสัตว์เป็น ขายเนื้อสัตว์ ฟอกเงิน และการพนันทุกรูปแบบ เป็นต้น
อานิสงฆ์ของการไม่ข้องเกี่ยวกับธุรกิจสีเทา ทำให้ไม่มีความร้อนใจ มีคำพูดที่ดีความคิดดี เมื่อมีคำพูดดีความคิดดีก็จะทำให้มีแต่สิ่งดีงามเข้ามาในชีวิต สร้างครอบครัวให้มีความสุข สร้างบริษัทที่มีความสามัคคี ความสุขก็จะมีขึ้นในชีวิตของเรา ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ให้เราดำรงชีวิตเป็นไปเพื่อการไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 21 May 2023 - 58min - 238 - อยู่กับทุกข์ โดยไม่ทุกข์ [6620-1u]
เมื่อชีวิตเดินมาเจอปัญหา ให้ปฏิบัติตาม วิมุตายตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่กล่าวถึงเหตุแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์ ด้วยการทำเหตุแห่งวิมุตติ 5 ประการ ดังนี้
1. สวดมนต์
2. ฟังเทศน์
3. สอนคนอื่น
4. ทำจิตให้สงบ
5. ใคร่คราญธรรมะที่ได้ฟังมา
สำหรับการสวดมนต์ในทางพระพุทธศาสนามีจุดประสงค์เพื่อนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามากล่าวซ้ำ ย้ำ เพื่อให้จำได้ และเป็นการสืบทอดด้วยการบอกต่อ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 14 May 2023 - 55min - 237 - ยาพิษ [6619-1u ]
ข่าวฆาตรกรที่ฆ่าคนด้วยยาพิษ สารไซยาไนด์ จากข่าวจะพบว่ามีเรื่องกามมาเกี่ยวข้อง เช่น เรื่องเงินๆ ทองๆ การเล่นแชร์ มาล่อลวงให้หลงไป สุดท้ายถูกจับได้ เพราะประทุษร้ายกุมารี คือ ไปฆ่าคนที่มีบิดามารดา พี่น้องรักษา จึงสืบเรื่องตามหาสาเหตุการตาย ซึ่งสอดคล้องกับพุทธพจน์ 8 ประการ ของคนชั่วที่จะทำให้ถูกจับได้โดยง่าย มีดังนี้
1. ประหารคนที่ไม่ประหารตอบ (ทำร้ายผู้บริสุทธิ์)
2. ถือเอาสิ่งของไม่ให้เหลือ
3. ลักพาสตรี
4. ประทุษร้ายกุมารี
5. ปล้นบรรพชิต
6. ปล้นราชทรัพย์
7. ทำงานใกล้ถิ่นเกินไป
8. ไม่ฉลาดในการเก็บ
พระพุทธเจ้าอุปมายาพิษเปรียบได้ดั่งอวิชชา คือ ความไม่รู้ ลูกศรเปรียบดังตัณหา (ที่มา: สุนักขัตตสูตร) หากเราไม่ทำจิตของเราให้อยู่เหนือจากผัสสะ ให้พ้นทุกข์ เราก็จะโดนพิษ คือ อวิชชา และตัณหาครอบงำ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 07 May 2023 - 59min - 236 - วิธีเอาชนะกรรมเก่า [6618-1u]
Q1: ควรใช้เงินอย่างไรให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันนี้
A1: บริหารจัดการให้รายรับต้องท่วมรายจ่าย รายจ่ายอย่าท่วมรายรับ โดยการสร้างรายรับเพิ่ม และแบ่งการใช้จ่ายออกเป็น 4 หน้าที่ และตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออก โดยอุดรูรั่ว 4 รู อบายมุข 4 คือ นักเลงสุรา การพนัน นักเลงเจ้าชู้ คบคนชั่วเป็นเพื่อน
Q2: คำว่าเสบียงบุญคืออะไร?
A2: ทำบุญสะสมไว้เพื่อให้ผลในเวลาต่อไป
Q3: รู้สึกว่าชีวิตมีปัญหา ร้อนใจอยู่ตลอดเวลา แก้ไขอย่างไรดี?
A3: ถ้าเราเห็นทุกข์ในอุปสรรคนั้นจะเกิดปัญญาที่จะแก้ปัญหาได้นั่นคือการพัฒนา คำสอนของพระพุทธเจ้ามีวิธีการแก้ปัญหาทุกวิธี
Q4: คนเรามีปัญหาเพราะกรรมเก่า จริงหรือไม่? และเราจะเอาชนะกรรมเก่าได้อย่างไร?
A4: มาจากกรรมเก่า 1 ใน 6 ส่วนสุขหรือทุกข์ ในปัจจุบันมาจากเหตุ 6 อย่าง สามารถชนะกรรมเก่าได้ด้วยปัญญา โดยปฏิบัติตามมรรค 8 เป็นปฏิปทาให้ถึงการสิ้นกรรม
Q5: ถ้าโดนเพื่อนในที่ทำงานแทงข้างหลัง ทำอย่างไรดี?
A5: ไม่ทำชั่วกลับ ต้องรักษาความดีของเราต่อไป ไม่ควรไปด่าหรือว่าเขากลับ จิตใจต้องหนักแน่นอดทนและกว้างขวาง
Q6: ลอยอังคารมีหลักการอย่างไร ไม่ลอยได้ไหม
A6: ในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีหลักการที่บัญญัติไว้ จะทำหรือไม่เอาที่สบายใจ การลอยอังคารคือการเอาเถ้ากระดูกผู้ตายไปทิ้ง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 30 Apr 2023 - 52min - 235 - พรหมลิขิต กำหนดชีวิต [6617-1u]
ให้นำพรหมวิหารสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในจิตใจเรา เราก็จะสามารถที่จะอยู่ใน toxic Environment หรือรับมือกับการโดนหักหลังได้ ให้จิตของเราตั้งอยู่ด้วยพรหมวิหาร ความเจริญ ความพัฒนา จะมีขึ้นมาได้ สัตว์โลกทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม เราจะอยู่เหนือสถานการณ์ และควบคุมสถานการณ์ได้ โดยใช้ความกรุณาเป็นเครื่องป้องกัน มีอุเบกขาที่จะช่วยเบรกไม่ให้จิตของเราไปทางต่ำ การที่เราตั้งมั่นอยู่ในพรหมวิหาร 4 จะช่วยรักษาผู้อื่น และรักษาเราด้วย ไม่มีใครสามารถทำอันตรายคนที่มีธรรมะคุ้มครองได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 23 Apr 2023 - 1h 01min - 234 - สติรักษาจิต [6616-1u]
ให้มีสติรักษาอยู่ตลอด ในขณะเดินทาง หรือเกิดอุบัติเหตุ จะทำให้ไม่หัวร้อน ใจเย็นลง มีสัมมาวาจา เมื่อเจอปัญหาต่างๆ ก็สามารถรับมือจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และฝึกฝนจิตใจให้ตั้งอยู่ในความดี ขึ้นเรื่อยๆ ให้เต็ม 100 ถ้าไม่ชอบก็ให้ใช้อุเบกขา จะทำให้อารมณ์ที่จะกระตุ้นให้เราโกรธ ก็จะระงับลง
เนื่องในโอกาสปีใหม่ไทย วันสงกรานต์ให้ทบทวนว่าหนึ่งรอบปีที่ผ่านมา เราได้ทำความดีไหม ทำความชั่วไหม จะละชั่วได้อย่างไร พัฒนาความดีได้อย่างไร ปีใหม่ให้ทำความดี 3 ทาง คือ ทางกาย วาจา และใจ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 16 Apr 2023 - 53min - 233 - ของจริง ของปลอม [6615-1u]
ประเด็นเรื่อง “ของปลอม” ที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน ไม่จะเป็นข่าวปลอม พระปลอม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องทดสอบเราว่าจะคงอยู่ในธรรมนั้นได้ ดังนั้นเราต้องมีความมั่นใจ และไม่เป็นหนึ่งในสังคมที่ไม่ดี “ของจริง” ที่เราต้องเข้าให้ถึง คือ ความจริง 4 อย่าง นั่นคือ อริยสัจ 4
พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนวิธีดูคนไว้ดังนี้
1. คนมีศีล รู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
2. ความบริสุทธิ์ใจ พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
3. กำลังจิตกำลังใจ พึงรู้ได้เมื่อมีอันตราย
4. ปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 09 Apr 2023 - 57min - 232 - พัฒนากรรม [6614-1u]
สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโดนโกง ถูกเบี้ยวหนี้ ทำคุณคนไม่ขึ้น คนทั่วไปมักจะโทษว่าเป็นผลมาจากกรรมเก่า ซึ่งมีพราหมณ์มาถามพระพุทธเจ้าว่าสุขหรือทุกข์ในชีวิตของเราเกิดจากกรรมเก่าใช่หรือไม่ พระองค์ได้ทรงตอบว่า สุขหรือทุกข์ในชีวิตของเราไม่ได้เกิดขึ้นจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว แต่มีเหตุเงื่อนไข 6 ตัวแปรด้วยกัน คือ กรรมเก่า ดินฟ้าอากาศ โรคภัยไข้เจ็บ และการเตรียมตัวไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อต้องประสบกับปัญหาต่างๆ ให้เราใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา พัฒนาตนในการที่จะทำกรรมดี ทำผลทำความดีให้เกิดได้ ใจเราก็จะเป็นสุขขึ้นมา
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 02 Apr 2023 - 53min - 231 - เปลี่ยนความเศร้าเป็นความสุข [6613-1u]
ความตายไม่ยกเว้นให้กับใครๆ ทุกคนต้องตายหมด ความตายไม่เที่ยงเป็นอนัตตา ความตายไม่ต่อรอง อ้อนวอนได้สิ่งที่ทำให้เราทุกข์ ไม่ใช่ความตาย แต่เป็นความอยาก ที่มาเกาะเกี่ยวกับความตาย
ดังนั้นเราจึงต้องใช้ปัญญาเปลี่ยนความเศร้าใจเสียใจเป็นความสุข ให้ทำความเข้าใจเรื่องของความตายให้ดี เพื่อที่ความตายนั้นจะมาทำให้เราเกิดความทุกข์ในจิตใจเราไม่ได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 26 Mar 2023 - 53min - 230 - “บุญ” เป็นชื่อแห่งความสุข [6612-1u]
1. Q: อยู่คอนโดกรวดน้ำอย่างไร A: ให้ตั้งจิตแผ่ส่วนกุศลขณะที่ทำบุญนั้นเลย
2. Q: อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่เทวดาอารักษ์ได้หรือไม่ A: ได้
3. Q: ถ้าจุดเทียนต่อกันจะทำให้มีสิ่งไม่ดีติดมาด้วย A: สามารถต่อเทียนกันได้ ไม่ได้มีบัญญัติไว้ในพุทธพจน์
4. การกระทำดี/ชั่ว มี 3 รูปแบบ 1) ตัวเราทำเอง 2) สั่งให้เขาทำ และ 3) ชักชวนให้เขาทำ
5. Q: อานิสงส์ของการจุดธูปเทียนบูชาพระ A: การบูชาด้วยของหอม จะทำให้มีศีล การบูชาด้วยประทีปโคมไฟแสงสว่าง จะทำให้มีตาทิพย์
6. Q: วิธีตั้งจิตสำหรับการสวดมนต์ไหว้พระ เมื่อเดินทางไปต่างถิ่น A: ให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทำสมาธิก่อนนอน และให้น้อมจิตไปเพื่อการนอน
7. Q: นอนอย่างไรให้ถูกทิศ & การบูชาทิศในอริยะวินัยนี้ A: คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้มีระบุไว้ว่าจะต้องนอนอย่างไรให้ถูกทิศ แต่มีคำสอนให้บูชาทิศในอริยวินัย
8. Q: ผู้ใหญ่ควรทำตัวอย่างไรให้เด็กเคารพและเชื่อฟัง A: ค่อยๆ พูดค่อยจากัน รับฟัง มีจิตใจที่กว้างขวาง วิธีการฝึกคนใช้วิธีการละมุนละม่อม หรือวิธีการรุนแรง หรือต้องใช้ทำสองวิธีรวมกัน ขึ้นอยู่กับคนแต่ละประเภท
9. การพูดจาจาบจ้วง ล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นมิจฉาวาจา เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
10. Q: กฎแห่งกรรม มีจริงไหม? A: ทำกรรมอย่างไรได้รับวิบากจากผลของกรรมนั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 19 Mar 2023 - 57min - 229 - สุขในงาน เบิกบานในชีวิต [6611-1u]
เวลาที่เราเจอสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการงาน การใช้ชีวิต มีวิธีการรับมือ 5 วิธีด้วยกัน ดังนี้
- เปลี่ยนไปคิดในเรื่องที่จะทำให้สบายใจ ละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นทันที นึกถึงเรื่องที่เป็นกุศล มองต่างมุมในแง่ที่จะทำให้กุศลธรรม อดทนอดกลั้น
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 12 Mar 2023 - 1h 04min - 228 - สมดุลชีวิต [6610-1u]
คำถามที่ 1 การแก้ชงในพระพุทธศาสนา: ทำได้ด้วยการปรับจิตปรับใจ โดยที่เมื่อมีสุขเวทนา ให้มีเมตตา อุเบกขา เห็นความไม่เที่ยง นั้นคือ ดวงดี
เมื่อประสบกับทุกขเวทนา ให้มีความอดทน มีจิตเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นั่นคือ ดวงดี
คำถามที่ 2 ทำไมไหว้พระต้องจุดธูป: การจุดธูป การถวายปัจจัยสี่ เป็นการบูชาภายนอก การบูชาที่ดีที่สุด คือ การปฎิบัติบูชา
คำถามที่ 3 วิธีแก้ความขี้เกียจในการทำงาน: แก้ไขได้ด้วยการตั้งฉันทะให้มีใจรักในสิ่งที่ทำ มีสติตั้งไว้ให้ถูกต้อง และมีความเพียร
คำถามที่ 4 เครียดทั้งงานและคนทำยังไง: ให้มีสติ ใช้ปัญญา แยกแยะว่าอะไรสำคัญที่สุดเอามาทำก่อน วางแผนการทำงาน จัดระเบียบงาน จัดระเบียบคน
คำถามที่ 5 เจ้ากรรมนายเวร: ความเชื่อว่าอะไรก็เกิดจากเจ้ากรรมนายเวรเป็นมิจฉาทิฐิ ให้เรามีปัญญา หาเหตุ เพื่อหาทางในการแก้ไข
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 05 Mar 2023 - 53min - 227 - ครองเรือนให้ผาสุก [6609-1u]
สะสมความดี ขณะใช้ชีวิตในครอบครัว ขณะทำงานให้อินทรีย์แก้กล้า ก็จะช่วยให้บรรลุธรรมขั้นสูงได้
สมการชีวิต 3 ตัวแปร ที่จะทำให้ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่มัวเมาไปในสิ่งต่าง ๆ อันจะช่วยทำให้สามารถครองเรือนให้ราบรื่นผาสุกได้
1) เก่งชำนาญในอารมณ์ความรู้สึกของเราเอง : อารมณ์เสีย ต้องมีที่ระบาย เอาอารมณ์ไปทิ้ง ปรับเปลี่ยนเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องเก็บมาเป็นขยะในหัว
โกธร ให้มีเมตตา กลัว ให้มีความกล้า เห็นตามความเป็นจริง อิจฉาริษา ให้มีมุทิตา ให้มีคนรับฟัง ปรับจิตใจให้มีคุณธรรม มีสติ และอุเบกขา2) การเงินการงาน ทำงานอย่าหวังเอาเงินให้หวังเอางาน ไม่ให้ตกเป็นทาสของเงิน
การเงิน ให้แบ่งจ่ายเป็น 4 หน้าที่ คือ 1) ใช้จ่ายเลี้ยงตัวเอง 2) รักษา เก็บ หรือลงทุน 3) บริจาค 4) ทำบุญและอย่าให้เงินรั่วไหลไปกับอบายมุข
การงาน ให้ทำด้วยความขยันขันแข็งตั้งใจทำอย่างดีที่สุด3) ฉลาดพัฒนาในเรื่องคนรอบตัว ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้กับนายสิงคาลกะ ถึงวิธีการปฏิบัติตนต่อผู้อื่น โดยให้ความสำคัญกับบุคคลต่าง ๆ ที่เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 รอบตัวของเรา ได้แก่ บิดามารดา ครู อาจารย์ คู่ครอง มิตรสหาย เจ้านาย ลูกน้อง ลูกหลาน และพระสงฆ์
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 26 Feb 2023 - 57min - 226 - พุทธวิธีในการแก้ปัญหาทะเลาะวิวาทในครอบครัว [6608-1u]
พระพุทธเจ้าเปรียบการครองเรือนเหมือนการเข้าไปอยู่ในป่า ที่จะต้องเจอกับภัยอันตราย การออกจากเรือนเหมือนอยู่ที่โล่งกว้าง ดังนั้นการที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในครอบครัวได้อย่างเป็นสุข ไม่ตกเป็นเครื่องมือของมาร สมาชิกในครอบครัวต้อง "รักษาศีล 5" "มีพรหมวิหาร 4" อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา เช่น การกระทำบางอย่างไม่ผิดศีล แต่พูดให้เจ็บใจกัน ก็ให้มีสัมมาวาจา คำที่พูดออกมาไม่มีประโยชน์ ทำให้ผิดใจกัน พูดกระแทก มีอารมณ์ อย่าพูดดีกว่า ให้วางอุเบกขา เป็นต้น
พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเรื่องการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท ไว้ใน“กินติสูตร” เพื่อให้ภิกษุสงฆ์ใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดความระลึกถึงกันให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันและกัน โดยทรงยกประเด็นในเรื่องของภิกษุมีความเห็นแตกแยกกันผูกใจเจ็บต่อกันไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันโดยพระองค์ทรงชี้แนะให้หาคนกลางเข้ามาเจรจาด้วยวิธีการประนีประนอม หรือโน้มน้าวใจที่เปี่ยมไปด้วยหลักของความเมตตากับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 19 Feb 2023 - 55min - 225 - อุปนิสัยที่ต้องละ [6607-1u]
นิสัย 22 อย่าง ที่เราไม่ควรมี ที่ดึงชีวิตของให้ต่ำลง
1. การไม่ยอมตื่น
2. บันเทิงเกินไป
3. ไม่เข้าหาบัณฑิต
4. แวดล้อมด้วยคนเทียมมิตร
5. อยู่กับศพ
6. ไม่เปิดทางน้ำเข้า
7. ไม่ปิดทางน้ำออก
8. ไม่รู้จักทำงบประมาณ
9.ไม่ฝังทรัพย์
10. ไม่จ่ายหนี้
11. ไม่ให้คนยืม
12. เติมเนื้อไม้ใหม่
13. มีตาเดียว
14. หวั่นไหวในโลกธรรม
15. คำนึงถึงแต่สิ่งที่ล่วงมาแล้ว
16. มุ่งหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
17. ไม่รับภาระ
18. ไม่สนทนาธรรมตามกาล
19. ไม่รู้ว่าวันนี้จะทำอะไร
20. คิดลบ
21. ตั้งเลท
22. ไม่รู้ประมาณในการบริโภค
ถ้าเราแก้นิสัยทั้ง 22 อย่างนี้ได้ จะทำให้ชีวิตเราก้าวหน้า เจริญ เป็นมงคล
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 12 Feb 2023 - 1h 02min - 224 - รักษาจิตด้วยธรรมะ [6606-1u]
ให้เรามีธรรมะในจิตใจ รักษาจิตของเราด้วยธรรมะให้ได้ตลอดเวลา ดำเนินชีวิตไปด้วยสติ ระมัดระวังเพื่อไม่ก่อให้เกิดการสร้างบาป มีเมตตา กรุณา มุฑิตา เวลามีผัสสะอะไรเข้ามากระทบให้เราตั้งสติไว้ ไม่หลงไปตามกระแส ทำจิตใจของเราให้บริสุทธิ์ ด้วยการรักษาศีล ทำการปฏิบัติบูชา ก็จะทำให้ชีวิตราบรื่นไปได้ หนักก็จะเป็นเบา สุขอยู่แล้วก็จะสุขมากยิ่งขึ้น เป็นกำไรของชีวิต ทำให้ได้ตลอดเวลาทุกวัน ก็จะทำให้เราดำเนินชีวิตของเราไปได้ และมีผล คือ นิพพานเป็นที่สุดจบ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 05 Feb 2023 - 54min - 223 - ธรรมที่เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ [6605-1u_Live]
การตามรอยพระอรหันต์ หรือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ การทำตามคำสอนแล้วเราจะได้ผลตามนั้น และที่เราต้องตามรอยพระอรหันต์ นั้นก็เพื่อที่เราจะได้ฝึกสมาธิปฏิบัติธรรม แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ได้จำเป็น เพราะการตามรอยพระอรหันต์ คือ การที่เราต้องตามรอยทางการปฏิบัติ นั่นก็คือตามมรรค “มรรคแปลว่าทาง” ที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่าง คือ “ศีล สมาธิ ปัญญา” และที่เป็นอย่างนั้น เพราะพระพุทธเจ้าเน้นย้ำมายังจุดที่ว่า “บางทีดูยากว่า ภิกษุรูปไหนเป็นพระอรหันต์และบางทีถูกหลอก”
การที่จะดู “พระอรหันต์” ต้องดูที่ข้อปฏิบัติของท่าน ซึ่งมีขั้นตอนอยู่ และที่สำคัญ คือ เราทำตัวเองดีกว่า “ให้ไปสว่าง หาจุดที่สว่างไป” ทำกาย วาจา ใจ ที่เป็นสุจริต ชื่อว่า “ไปสว่าง” เพราะฉะนั้นถ้าเราสว่างอยู่ เช่น มีเงินทองใช้ ทำอะไรก็โชคดีราบรื่น ฯลฯ คุณอย่าไปมืด ขณะที่เราโชคไม่ดีโชคร้าย ทำอะไรติดขัด แสดงว่าเราอยู่มืดแล้ว เราต้องไปสว่าง ที่ไม่ใช่อะไรที่เป็นโชคลาภ แต่ให้ “คิดดี พูดดี ทำดี” รักษาศีลให้ดี ปฏิบัติให้ดี มาตามมรรคแปด ชื่อว่า “ไปสว่าง”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 29 Jan 2023 - 1h 05min - 222 - ระบบการปฏิบัติตามรอยพระอรหันต์ [6604-1u]
ไม่ใช่การตามหาบุคคลภายนอกว่าใครหนอ ๆ เป็นพระอรหันต์ เอาความเพียรนั้น ทำตนเองให้เป็นพระอรหันต์จะดีกว่า แทนที่จะต้องหาบุคคลใดมาเป็นกำลังใจ เพื่อให้ตนเองสามารถดำเนินไปตามการปฏิบัติ มันไม่จำเป็น เพราะ “ธรรมวินัย” นี้เป็นเรื่องของ “ระบบ - พุทโธ ธัมโม สังโฆ” ที่ไม่ได้ยึดติดกับตัวบุคคล
“พุทโธ” หมายถึง การตรัสรู้ เชื่อว่าความสำเร็จได้ มีอยู่ “สังโฆ” หมายถึง หมู่ที่ปฏิบัติตามธรรมะ “ธัมโม” แล้วสามารถดับทุกข์ได้จริง ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ และทั้งหมดนี้อยู่ที่ว่า “คุณได้อริยมรรคมีองค์แปดอยู่ในจิตใจ” ซึ่งจะเกิดได้ ถ้ามีตัวเรา ถ้ามีคุณธรรมนั้น นั่นก็คือ “พึ่งตนพึ่งธรรม” ใส่ความพยายามเข้าไป คือ “พึ่งตน” ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักธรรม คือ “พึ่งธรรม” สองอย่างรวมกัน จึงเป็นระบบแห่งการปฏิบัติที่ถูกต้องขึ้นมา พัฒนาที่จิตใจของเรา นำหลักธรรมเข้าสู่จิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามระบบของมรรคแปด จิตใจของเรา ก็เข้าสู่ความเป็นอรหันต์ได้นั่นเอง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 22 Jan 2023 - 56min - 221 - คิดเป็นกุศล [6603-1u]
‘จิต’ ใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดนึกสิ่งต่างๆ ความคิดบางอย่างก็ควบคุมได้ บางอย่างก็ควบคุมไม่ได้ หรือบางทีพยายามจะคิดก็คิดไม่ออก และเพราะความคิดที่ดีประกอบด้วยกุศล มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายทั้งต่อตนเองต่อผู้อื่น ขณะที่ความคิดที่ชั่วเป็นอกุศล ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นโทษต่อตนเองต่อผู้อื่น แต่เป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน…แล้วเราจะควบคุมความคิด ควบคุมจิตได้อย่างไร
“ต้องฝีกจิต” วิธีการนั้นต้องรู้จักแยกแยะ เริ่มจากการตั้งสติ “สติเป็นอธิบดี” แยกแยะ สังเกตอาการในจิต “ถ้าเรารู้ว่าเรามีปัญหาอะไร เราแก้ได้ แต่ถ้าไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไร มันแก้ไม่ได้” แก้ตามกระบวนการ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ฝึกสมถะวิปัสสนา ฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ น้อมจิตมาในทางกุศล ฝึกซ้ำฝึกย้ำ จิตใจจะมีความก้าวหน้า พัฒนาเป็นอินทรีย์ที่สะสมเอาไว้ มีกัลยาณมิตร ชวนกันฟังเทศน์ฟังธรรม ฝึกปฏิบัติ ปิดทางที่จะสู่อบายภูมิ ทางที่จะให้เกิดทุกข์โทษ แล้วให้เปิดทางของจิตที่จะไปสู่ความสุขความประเสริฐ “ทำได้ทุกคน ทำได้ในขณะนี้ ตลอดปีนี้และตลอดปีต่อๆ ไป สะสมความดี” อาสวะที่เป็นไปในทางฝ่ายทุกข์โทษ จะหลุดลอกออกไป จิตใจของเราปรับได้แก้ไขได้แน่นอน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 15 Jan 2023 - 59min - 220 - ชีวิตที่คุ้มค่า [6602-1u]
ลักษณะคำถามที่ว่า เกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไม? หรือ What is the meaning in life? เหล่านี้เป็นคำถามประเภทเดียวกัน ซึ่งเป็นคำถามที่ยังไม่ตรง 100% แต่ที่ควรจะเป็นคำถามในที่นี้ก็คือว่า ความหมายอะไรที่เราจะให้ในชีวิต หรือ คุณเกิดมาคุณจะทำอะไร? เพราะลักษณะคำถามแบบนี้มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะให้ความหมายอย่างไรกับชีวิตที่มี ซึ่งก็อยู่กับผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
แล้วอะไรคือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น? ถ้าไปถามนักธุรกิจ นักเที่ยว นักเล่น นักดื่ม เขาก็จะพูดถึงผลประโยชน์ในลักษณะที่เป็นเรื่องของกาม เป็นเรื่องของความสุข เรื่องของอำนาจ เรื่องของเงินทอง แต่ถ้าไปถามผู้รู้ ท่านก็จะอธิบายถึงประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ประโยชน์ตนเอง ประโยชน์ผู้อื่น และก็ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ถึงทางที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ที่จะไม่ใช่เป็นไปเพื่อสุดโต่งสองข้าง
ถ้าเราต้องการมีปัญญา จึงควรเข้าไปหาสมณะผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ถามถึงว่า“อะไรจะเป็นประโยชน์เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน อะไรทำแล้วจะเป็นทุกข์เป็นโทษตลอดกาลนาน” อะไรที่มันจะไม่มีประโยชน์เราก็อย่าทำ อะไรที่จะมีประโยชน์มากเราก็ทำ
สิ่งที่มีประโยชน์มากมีโทษน้อย ก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 (ทางแห่งศีล สมาธิ ปัญญา) ในทางตรงข้ามสิ่งที่มีโทษมากมีประโยชน์น้อย ก็จะไม่ไปตามทางนี้ เช่น ถ้าทำอะไรที่มันจะผิดศีลหรือออกทางอันประเสริฐนี้ แล้วคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์เป็นสุข อันนั้นจะเป็นทางหลอกลวง จะเป็นสุดโต่งพาไปตัน พาไปอ้อม พาไปวน
เพราะฉะนั้น ให้เรามาตรวจสอบดูตัวเองว่า ชีวิตของเราที่เกิดมาจนถึงตอนนี้ มันมีสัดส่วนที่ตรงกันกับเกณฑ์ของทางอันประเสริฐที่มีองค์ประกอบ 8 อย่างนี้มากน้อยเพียงใด ซึ่งถ้ามีมาก จึงขึ้นชื่อว่าเกิดมาแล้วคุ้มค่า ได้ประโยชน์ได้กำไร ไม่เสียชาติเกิด.
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 08 Jan 2023 - 52min - 219 - ทางสู่ความสำเร็จ [6601-1u]
“ใครจะสำเร็จอะไรอย่างไร ถ้าจะเพียงได้ด้วยความปรารถนาแล้วโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร ทุกคนก็จะสำเร็จหมด”...ให้เราลองทบทวนเป้าหมายในปีที่ผ่านมา สิ่งที่เราหวังไว้อยากไว้อ้อนวอนไว้ปรารถนาไว้มันสำเร็จทุกข้อหรือไม่? สิ่งที่เราคิดไว้หวังไว้ปรารถนาไว้ว่าจะทำนั่นทำนี่ให้สำเร็จจะทำอันนั้นอันนี้ให้ได้ นั่นคือแผนที่ แล้วเราจะไปซ้ายหรือขวา แล้วความปรารถนาอะไรที่จะทำให้สำเร็จ ๆ นี้ มันจะไปถูกที่ถูกทางหรือไม่? พระพุทธเจ้าคือผู้ที่สำเร็จแล้ว สำเร็จความปรารถนาสูงสุดในความที่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ท่านตรัสเปรียบไว้กับคนบอกทาง ที่เมื่อเราไปถามทางเขา เขาก็บอกเส้นทางเรามา คนบอกและคนถาม (ผู้เดินทาง) มันคนละส่วนกัน
ทางสู่ความสำเร็จมันมีอยู่ ทางที่จะสำเร็จประโยชน์ที่เราคาดหวังไว้ มันมีทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ประโยชน์เพื่อบุคคลเราเอง ประโยชน์เพื่อครอบครัว ทางที่จะไปสู่ความสำเร็จเหล่านี้ ไม่มีผิดพลาด จะไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อมประโยชน์ จะไม่เป็นไปเพื่อความมีทุกข์โทษ แต่จะเป็นไปเพื่อความสุขความสำเร็จ ทางนี้คืออริยมรรคมีองค์แปด คือ ศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง โดยแบ่งเค้าโครงออกเป็น การละความชั่วก็คือเรื่องของศีล การทำความดีก็คือเรื่องของทางจิตเรื่องของทางสมาธิ และการทำจิตให้บริสุทธิ์เป็นเรื่องของทางปัญญา เพราะการกำหนดเค้าโครงก็คือกำหนดเส้นทาง
ในทางกายทางวาจา เป็นฐานที่มั่นคงด้วยรักษาศีลคือข้อปฏิบัติ ในทางใจ ความคิดนึกของเราจะสำเร็จหรือไม่ จิตเราต้องมีกำลัง ทำอย่างไรจิตถึงจะมีกำลังใจได้?...ถ้ามีอกุศลธรรมอยู่ในปัจจุบันต้องละ มีกุศลธรรมอยู่ในปัจจุบันต้องเพิ่ม คิดแบบนี้เป็นลักษณะของสัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) เป็นหนึ่งในส่วนของการทำดี ซึ่งจะให้จิตของเรามีกำลัง ฉะนั้นอยู่กับปัจจุบัน คิดเรื่องอดีต อนาคตด้วยเหตุผลเป็นการพัฒนาปรับปรุงตัวเอง ซึ่งเป็นส่วนตรงกลางที่ต้องทำให้มาก และในส่วนปลายยอดนั่นคือปัญญาที่ใช้ตัดกิเลส ทำจิตให้บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นเราต้องมีพื้นฐานที่มั่นคงด้วยศีล มีกำลังคือกำลังใจสูงด้วยสมาธิ และมีปัญญาที่คมดั่งมีด เปรียบเหมือนคนเก็บผลไม้ในที่สูง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 01 Jan 2023 - 58min - 218 - การอนุโมทนาและเหตุแห่งโภคทรัพย์ [6552-1u]
เมื่อเราทำบุญ ถ้าเป็นการให้ทาน เรียกว่า ทานมัย การรักษาศีลเรียกว่า ศีลมัย การภาวนาเรียกว่า ภาวนามัย นั่นคือ เราได้บุญต่อแรกแล้ว และถ้าเราบอกบุญคนอื่น เราจะได้บุญต่อที่สอง เรียกว่า “ปัตติทานมัย” และเมื่อเขาอนุโมทนาบุญกับเรา คือเขาแสดงความยินดีกับบุญของเรา เขาจะได้บุญจากการอนุโมทนา เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย
การ “อนุโมทนา” เป็นการกระทำทางใจ บุญเกิดขึ้นที่ใจ การที่มีใจยินดีกับผู้อื่นด้วยใจจริง จะสามารถแก้ความอิจฉาริษยาได้ และผู้ที่มักจะมีโชคหรือมีกำไรจากทำอะไรก็แล้วแต่ เป็นเพราะเขาได้มีการให้ทาน แต่แทนที่เราจะหวังว่าจะถูกหวย 50 ล้าน 70 ล้าน ให้มาหวังว่า ทำธุรกิจแล้วรวยเป็นร้อยล้าน ยังจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าอีก เพราะบุญที่เราเคยทำไว้ เมื่อมันมีช่องทางให้บุญออกผล คือ การค้าขาย การทำงานด้วยความขยันขันแข็ง สุจริต มีปัญญา จะเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เรามีโภคทรัพย์ขึ้นมาได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Sun, 25 Dec 2022 - 51min
Podcasts similar to 1 สมการชีวิต
- นิทานชาดก 072
- พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์ CHANGE2561
- หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม dhamma.com
- People You May Know FAROSE podcast
- เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี karunabuakamsri
- ลงทุนแมน longtunman
- Mission To The Moon Mission To The Moon Media
- ธรรมนิยาย หลวงพ่อจรัญ (สัตว์โลกย่อมเป็นไปตา Ploy Techa
- SONDHI TALK sondhitalk
- คุยให้คิด Thai PBS Podcast
- หน้าต่างโลก Thai PBS Podcast
- หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน Thammapedia.com
- The Secret Sauce THE STANDARD
- THE STANDARD PODCAST THE STANDARD
- คำนี้ดี THE STANDARD
- Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล) watpasukato
- 2 จิตตวิเวก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 3 ใต้ร่มโพธิบท ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 5 นิทานพรรณนา ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
- พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
- พุทธวจน พุทธวจน
- หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ หลวงพ่อจรัญ ทักขญาโณ
Other Health Podcasts
- Sanamente Caracol Pódcast
- Abierta Mente: Conversaciones con Yoga al Alma Ana Isabel Santa María
- Meditación para dormir Noelia García
- ¡Qué locura! Bumbox y La No Ficción
- Relatos Eroticos en Español Relatos Eroticos
- Sonidos para Dormir | Ruido Blanco Sonidos para Dormir
- Relatos eróticos Bali Club
- Música relajante y sonidos naturales Relajación y bienestar - Raquel Tolmo
- El Podcast de Marco Antonio Regil Sonoro | Marco Antonio Regil
- Sleepy Rain Noa Ivanovic
- Despertando Dudas Media
- The House Of Wellness Nine Radio
- La mente y un café Cristi Game
- El Podcast para Dormir Alejandro, Mireia y Bobby Warner
- Inside Health BBC Radio 4
- Brutal Iron Gym brutalirongym
- Salud Mental El Podcast (Podcast) - www.psicoterapias.mx/ Psic. Gus Novelo
- Lives del TEMACH EL TEMACH
- BBH Internal Medicine Conference BBH Faculty and Staff
- WHITE NOISE White Noise For Sleep and Relax